You are on page 1of 13

วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 1

Received : 20 กุมภาพันธ์ 2565


Revised : 16 พฤษภาคม 2565
Accepted : 31 พฤษภาคม 2565

เหม เวชกร : ศิลปินต้นแบบของไทย


Hem Wechakorn : Role Model Thai artist

วัฒนะ จูฑะวิภาต
Wattana Chudhavipata
คณะศิลปะและการออกแบบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Art and Design Chulalongkorn University
Corresponding author e-mail : Wattana_Chuthawipak@hotmail.com

บทคัดย่อ
บทความวิ ช าการนี ้ ผู ้ เ ขี ย นต้ อ งการนำเสนอเกี ่ ย วกั บ ผลงานของศิ ล ปิ น ชั ้ น ครู ข องไทย
“เหม เวชกร” เป็นศิลปินสำคัญในยุคศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทยได้รับการยกย่องให้เป็นบรมครู
ต้นแบบการทำงานด้วยจิตวิญญาณ มีผลงานแพร่หลายมากมายทั้งชุด พุทธประวัติ และภาพวรรณคดี
ซึ่งเป็นภาพทีม่ ีความเป็นเอกภาพที่สวยงาม ด้วยน้ำหนัก แสงเงาชัดเจน สร้างบรรยากาศให้โดดเด่น มีมิติ
และมีลายเส้นประกอบภาพได้อย่างมีเอกลักษณ์ “เหม เวชกร” เป็นทั้งนักเขียนหนังสือที่เขียนเล่าเรื่อง
ด้ ว ยภาพที ่ ม ี จ ั ง หวะผสานด้ ว ยดนตรี มี บ รรยากาศของอดี ต และยั ง เป็ น ศิ ล ปิ น วาดภาพลายเส้ น
ที่มีลักษณะทางกายภาพพิเศษเฉพาะตัวที่โดดเด่น สามารถวาดภาพออกมาได้อย่างกลมกลืน มีมิติ
ด้วยน้ำหนัก แสงเงา และลายเส้นประกอบเน้นสร้างน้ำหนักให้เกิดจังหวะที่สวยงาม

คำสำคัญ : ครูต้นแบบ, ภาพลายเส้น, แสงเงา, มิติ

Abstract
In this article, the writer want to present about the work of a Supermodels Thai
artist, “Hem Vechakorn is an important artist in the modern art era of Thailand. It has
been regarded as a model master teacher for working with spirituality. There are many
works in the series, Buddhist history, and literature. which is a picture that has a beautiful
unity with weight, clear shadows, creating a distinctive atmosphere, having dimension
and having uniquely drawings. Rhythm mixed with music has the atmosphere of the past

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 2

and is also a line with unique physical characteristics that stand out Able to draw a
picture that is harmonious, dimensional, with weight, shadows and lines, emphasizing
the weight of creating beautiful strokes.

Keyword : Role model , Drawings , shadow, dimension

1. บทนำ
หัวข้อ อิทธิบาท 4 เป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดในชีวประวัติของศิลปินไทยที่มีใจรัก แรงบันดาลใจที่
เข้มข้นและชัดเจน เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญนี้ ซึง่ ส่งให้ศิลปินสามารถพัฒนาผลงานออกจากตัวตนภายใน
จนก่อให้เกิดผลงานต้นแบบที่ดีอย่างเป็นธรรมชาติ ถ่ายทอด เรื่องราวสื่อความรู้สึกที่ซับซ้อนในวรรณคดี
ไทยที่ทั้งผู้ประพันธ์นั้นมี ความเป็นปัจเจกเฉพาะตนและมีผู้รับไม้ต่อก็สามารถถ่ายทอดแสดงอารมณ์
ความรู้สึก และแนวคิดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อย่างเหมาะเจาะงดงาม สมเป็นศิลปินวาดภาพประกอบ
ยุคบุกเบิกในประวัติศาสตร์ การทำงานของศิลปินวาดภาพประกอบ นอกจากการเป็นนักวิชาการที่ไม่มี
ใครกล่าวถึงเลย คือ การเขีย นตำรา กายวิภ าคเล่มแรกของไทยทำให้นึกถึงพุทธวจนะ ที่กล่าวถึง
“ไตรสิกขา” คือ ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวช ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้สรุปไว้นั้น คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา
นั้นคือ ขั้นตอนการทำงาน ก่อนอื่นจึงขอนำเสนอประวัติพอสังเขป เพื่อประจักษ์คำครูของ ศาสตราจารย์
ศิลป์ พีระศรี ที่พูดสั้น ๆ ว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”

2. เนื้อหาของเรื่อง
เหม เวชกร เป็นศิลปินสำคัญในยุคศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทย ได้รับการยกย่องให้เป็นบรม
ครูต้นแบบของบุคคลที่ทำงานด้วยจิตวิญญาณ มีผลงานแพร่หลายมากมายทั้งชุด พุทธประวัติ และ
ภาพในวรรณคดีต่าง ๆ อาทิ ภาพปฐมสมโพธิ์ ภาพชุดชาดก (รูปที่ 1) ภาพชุดกากี (รูปที่ 2) ราชาธิราช
(รูปที่ 3) อิเหนา (รูปที่ 4) กามนิต วาสิฎฐี (รูปที่ 5) ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการเล่นดนตรี
โดยเฉพาะการเล่นไวโอลิน

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 3

ภาพเหมือน เหม เวชกร

รูปที่ 1 ภาพวาดลายเส้นชุดชาดก เรื่อง ภูริทัต


ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 4

รูปที่ 2 ภาพวาดลายเส้นเรื่องกากี ลักษณะภาพวาดมีน้ำหนักและแสงเงา ทำให้ภาพมีมิติที่สวยงาม


ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 5

รูปที่ 3 ภาพวาดลายเส้นเรื่องราชาธิราช
ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

รูปที่ 4 ภาพวาดลายเส้นเรื่องอิเหนา
ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

เหม เวชกร เกิดเมื่อ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2446 มารดาชื่อ ม.ล.สำริด พึ่งบุญ บิดาของ
เหม คนทั่วไป เรียกว่า “หุ่น” ด้วยมีรูปร่างหน้าตาดี ราวกับหุ่น เมื่ออายุได้ 8 ปี บิดา มารดา ของเหม
แยกทางกัน เหม และ มารดา ได้ไปอยู่กับลุง คือ ม.ร.ว.แดง ทินกร ชีวิต วัยเด็กของ เหม เป็นเด็กที่

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 6

ขาดความอบอุ่น เนื่องจาก พ่อแม่ แยกทางกัน เมื่ออายุ 10 ขวบ ได้มีโอกาสพบ และเป็นผู้ช่วยของ


“คาร์โล ริ โกลี” จิตรกรชาวอิตาเลียน ที่มาเขียนภาพบนเพดาน โดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม และเป็น
ครูสอน เหม เวชกร ให้วาดเส้นและลวดลายต่าง ๆ เนื่องจากเห็นฝีมือและทักษะในการวาดภาพ
“คาร์โล ริ โกลี” ได้ชวน เหม ให้เป็นผู้ช่วยเขียนรูปในพระที่นั่ง อนันตสมาคมในครั้งนั้นด้วย แต่ชีวิต
ของเหมก็เปลี่ยนไป เนื่องจาก พ่อ แม่ ทราบ เรื่องจึงได้พาลูกไปหลบซ่อน ทำให้สูญเสียโอกาสที่จะได้
เรียนในสิ่งที่ตนเองรัก จนต้องหลบหนีออกจากบ้านไปเป็นลูกจ้างที่อู่ต่อเรือของชาวจีนกวางตุ้ง ทำงาน
อยู ่ ไ ม่ น านก็ ถ ู ก เกณฑ์ ทหารไปรั บ ใช้ ช าติ แ ละปลดออกจากราชการไปเป็ น ทหารกองหนุ น ในปี
พ.ศ. 2470
ในอดีตกิจการสิ่งพิมพ์เป็นที่นิยม เหม จึงมีโอกาสไปทำงานที่สำนักงานทำบล็อก และได้เขียน
ภาพ จากนั้น ปี พ.ศ. 2473 เหม ได้รับคัดเลือกให้เขียน ซ่อมภาพจิตรกรรม เรื่องรามเกียรติ์ ห้องที่ 69
ตอนพระรามแผลงศร ล้าง มังกร กัณฐ์ ณ ระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วยผลงานดังกล่าว จึงทำ
ให้เริ่มมีชื่อเสียง และตัดสินใจมาทำงานเขียนภาพเป็นอาชีพต่อไป
พ.ศ. 2478 เหม เวชกร ได้ตั้งสำนักพิมพ์ส่วนตัว ชื่อ “คณะนายเหม” พิมพ์หนังสือรายสิบวัน
ออกจำหน่าย โดยมี นายเหม เวชกร เป็นบรรณาธิการ สุมทุม บุญเกื้อ (กิ่ง พึ่งบุญ) เป็นผู้พิสูจน์อักษร
โพยม บุณยศาสตร์ เป็นผู้จัดหน้า เข้าเล่ม ผู้เขียน นวนิยาย คือ ก้าน พึ่งบุญ ซึ่งรู้ จักในนามปากกา
“ไม้เมืองเดิม” ทำอยู่ไม่นาน สำนักพิมพ์ประสบภาวะขาดทุน เนื่องจากเก็บเงิน ค่าหนังสือจากตัวแทน
ไม่ได้จึงต้องเลิกกิจการไป ในที่สุด พระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ “น.ม.ส.” ได้ชวน
เหม มาทำงานฝ่ายศิลป์ เขียนภาพประกอบวรรณคดี เรื่อง ต่าง ๆ ให้กับหนังสือพิมพ์ประมวญ วัน
ต่อมาเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์ถูกทิ้งระเบิดจนต้องเลิกกิจการ เหม เวชกร จึงอพยพจากฝั่ง
พระนครไปอยู่บ้านสวนฝั่งธน และรับงานเขียนภาพให้กรมประชาสัมพันธ์ โดยเขียนภาพวิจิตร เรื่อง
กามนิต (ภาพที่ 5) ตามต้นฉบับของ เสถียรโกเศศ และ นาคะประทีป ตีพิมพ์ในหนังสือสร้างตนเอง
และได้เขียนภาพส่งเสริมวัฒนธรรม ของสามัคคีไทยในยุคสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 7

รูปที่ 5 ภาพวาดลายเส้นเรื่อง กามนิต วาสิฎฐี


ภาพเขียนลายเส้นประกอบวรรณคดีตามต้นฉบับของ เสถียรโกเศศ
ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

ปี พ.ศ. 2486 ได้รับราชการเป็นครูสอนวาดเขียนที่โรงเรียนเพาะช่าง และมีลูกศิษย์มาก จากนั้น


ลาออกจากราชการไปเข้าร่วมคณะทำหนังสือโบว์แดง รายสัปดาห์ ของอุดม ชาติบุตร โดยมี “สันต์ เทว
รักษ์” เป็นบรรณาธิการ ซึ่ง เหม เวชกร เป็นบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ รับเขียนภาพวิจิตร ภาพปก ได้แก่
นิตยสาร สำนักพิมพ์ทั่วไป หลังจากนั้น 4 ปี ต่อมา หนังสือโบว์แดงปิดกิจการ และเริ่มออกหนังสืออุดม
สาร รายปักษ์ โดยมี ประหยัด ชาติบุตร เป็นบรรณาธิการออกได้ 46 ฉบับ ก็ต้องปิดกิจการอีก ต่อมา
สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ ที่ เหม เวชกร เคยร่วมงานได้ฟื้นฟูกิจการต่อ เหม เวชกร จึงได้เขียนภาพปก และ
ภาพประกอบให้ ทำให้ ม ี ผ ลงานต่อ เนื่ อ งมาจนปี พ.ศ. 2490 นายเปลื ้อ ง ณ นคร บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์ วิทยาสาร และชัยพฤกษ์ของสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ได้ชวน เหม เวชกร มาร่วมงาน
เขียนภาพวิจิตรประกอบเรื่องราวในวรรณคดีลงตีพิมพ์ในหนังสือชัยพฤกษ์
งานของ เหม เวชกร มีหลายลักษณะ เช่น ชุด ผี ใช้เทคนิคผสมผสานในโทนสี ขาว ดำ สร้าง
บรรยากาศหลอน น่ากลัว มีความหลากหลายอารมณ์ สถานที่ใกล้เคียง ความจริงมาก ได้รับรู้ถึง

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 8

จินตนาการรูปทรงวิญญาณที่ล่องลอย ชัดบ้างไม่ชัดบ้างให้ความลึกลับสยองขวัญให้กับผู้อ่าน ผู้ติดตาม


จากเรื่องราวและภาพอย่างไรได้ผลสุดคาดคิด (ภาพที่ 6)

รูปที่ 6 ภาพวาดลายเส้นเรื่องผี ใช้เทคนิคผสมผสานในโทนสี ขาว ดำ สร้างบรรยากาศหลอน น่ากลัว


ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

ภาพชุดขุนช้างขุนแผน เขียนบนกระดาษสีขาวและพื้นสีหม่นมีการแต่งแต้ม ส่วนที่เป็นแสงสว่าง สี


หน้าท่าทางของตัวละคร สื่อให้เห็นสภาวะอารมณ์ บ่งบอกเหตุการณ์ที่ปรากฏได้อย่างสมเหตุสมผล
(รูปที่ 7)

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 9

รูปที่ 7 ภาพวาดลายเส้นเรื่อง ขุนช้าขุนแผน


ภาพวาดสตรีในลักษณะห่มสไบเปลือยช่วงบ่า อวบอิ่ม น้ำหนัก แสงเงา สวยงามกลมกลืนมีมิติ
ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

ภาพในชุดวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน แสดงรูปร่างสตรีในลักษณะห่มสไบเปลือยช่วงบ่าอวบ
อิ่ม กลมกลืน สวยงาม ซึ่งภาพลักษณะดังกล่าวได้ให้น้ำหนักด้วยแสงเงาชัดเจนเพื่อสร้างบรรยากาศให้
โดดเด่น มีมิติและมีลายเส้นประกอบเล็กน้อยเพื่อสร้างความรู้สึกจากพื้นผิวของภาพ แสดงให้เห็นว่า เหม
เวชกร เข้าใจ เรื่องแสงเงาและสรีระของสตรีเพศ ได้อย่างดี แม้ว่าในประวัติจะไม่ได้เรียนเขียนภาพจาก
สถาบันใดเลย
การเขียนภาพของเหม เวชกร ในลักษณะสร้างบรรยากาศด้วยแสงเงา เป็นการเขียนที่พบใน
ภาพวาดในอดีต เช่น การเขียนภาพเหมือนของบุคคลไทย บุคคลต่างชาติ มีทั้งเทคนิคลายเส้นอย่าง
หยาบละเอียด ผสานกับการใช้เส้นปากกาขนาดเล็ก ขีดเป็นเส้นเล็ก ๆ คล้ายจุด ก่อร่างเป็นรูปทรงของ
สิ่งต่าง ๆ เทคนิคเหล่านี้ผู้เขียนได้เห็นจากงานต้นฉบับ การใช้เทคนิควาดเส้นและงานภาพพิมพ์ ของ
เรมปรันท์ Rembrandt (1606–1669) ศิลปินชาวดัชท์ ในศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีชื่อเสียงระดับโลก(รูปที่ 8)

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 10

รูปที่ 8 ภาพวาดแรมบรังด์
ผลงานวาดและภาพพิมพ์ของ แรมบรังด์ ที่โดดเด่นด้านการจัดแสงได้เหมือนจริง มีมิติ
จนเป็นที่ยกย่องของช่างภาพในปัจจุบันและเป็นที่มาของการจัดแสงแบบแรมบรังด์
ที่มา : True ปลูกปัญญา https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/25201

ภาพพระปรางค์ที่สร้างในรูปแบบขอม ประติมากรรมขนาดเล็กตั้งเรียงรายเป็นแถวสองข้าง
ทางเดิน ภาพขบวนทัพหลังเสร็จศึก รวมทั้ง ภาพประตูเมือง ซึ่งเป็นลักษณะของภาพที่ แสดงมุม
กว้างไกลสุดสายตา เสมือนมองจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง เป็นภาพที่มีเอกภาพและสวยงาม (รูปที่ 9)
ผลงานของ เหม เวชกร จึงเป็นงานที่น่าสนใจทั้งเทคนิค ความบันดาลใจ รวมทั้งประวัติศาสตร์ งานวาด
เส้น ในประเทศไทยว่ามีการพัฒนาเป็นมาอย่างไร

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 11

รูปที่ 9 ภาพลายเส้นขบวนทัพหลังเสร็จศึก ลักษณะของภาพแสดงมุมกว้างไกลสุดสายตา


มีภาพบรรยากาศประตูเมืองประกอบเป็นฉากหลังสวยงาม
ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

3. บทสรุป
เหม เวชกร จึงมิใช่นักเขียนเรื่อง ที่เล่าเรื่องในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มิใช่แต่ความคิดที่สั่งมือ
ได้ แต่เป็นใจที่สั่งมือด้วยเทคนิคธรรมดาที่ทุกคนสัมผัสได้ เรื่องทุกเรื่องที่คิดและวาดในคนเดียวกัน
โดยเฉพาะแนวการเขียนหนังสือที่เหมือนการเล่าเรื่องด้วยภาพที่มีจังหวะผสานด้วยดนตรี มีบรรยากาศ
ของอดีต ปัจจุบันที่ผู้สนใจรุ่นต่อมาได้ยึ ดถือเป็นแบบอย่าง ผลงานของ เหม เวชกร มีทุกภาพที่แสดง
ลักษณะทางกายภาพของทั้งเพศหญิง เพศชาย มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่โดดเด่น สามารถวาดภาพ
ออกมาได้อย่าง พอดี พองาม น่านับถือ ความสามารถที่ให้รู้สึกร่วมไปในทางสร้างสรรค์
ปัจจุบันมีผลงานทัศนศิลป์มากมาย หลากหลายที่สร้างขึ้นมาท้าทาย ขนบเดิม ทิ้งกฎระเบียบ
จารีตทางสังคม แต่ควรมีเป้าหมายให้คิดดีด้วยหลั ก พุทธ วัจนะ “คิดดี ทำดี” สร้างสรรค์ สิ่งดี ๆ มี
คุณธรรม อำนวยประโยชน์สำหรับชีวิตเป้าหมายของมนุษย์ที่เกิดมาเพื่อทำสิ่งดี ๆ ให้แก่มวลมนุษย์ชาติ
เพราะศิลปินนั้นเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่ช่วยกันจรรโลงคุณค่าความเป็นมนุษย์ให้มีความหมายสมกับที่
เกิดมาเป็นคน

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 12

สิ่งที่ เหม เวชกร มีความภูมิใจมากที่สุด คือ การได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เขียนภาพถวายงาน


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เหม เวช
กร เข้าเฝ้าและทรงรับเป็นจิตรกรในพระบรมราชานุเคราะห์ นับเป็นเกียรติประวัติ อันสูงสุดในชีวิตของ
เหม เวชกร (รูปที่ 10)

รูปที่ 10 ถวายงานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9


นำภาพเขียนถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่โรงเรียนจิตรลดา
ก่อนเปิดแสดงงานนิทรรศการภาพเขียน เหม เวชกร และคณะ ที่โรงเรียนเพาะช่าง
ที่มา : คณะศิษย์ เหม เวชกร (2512)

4. เอกสารการอ้างอิง
คณะศิษย์ เหม เวชกร. (2512). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ นายเหม เวชกร. กรุงเทพฯ :
(ไทยสัมพันธ์).
Artist Plagiarized French Photographer for Noked Sculpture,Court Rules. (2561, กุมภาพันธ์).
https : //Petapixel.Com/2017/03/11/artist–plagiarized–French–photographer–
naked–sculpture–court–rules

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565) ห น ้ า | 13

Inspiration in Visual Art : Where Do Artists Get Their ldea?. (2561, มกราคม). https://
www.sophia.Org/tutorials/inspiration–in–visual–art–where–doartists–getthe
Learning Through Visuals visual imagery in the classroom. (2561, กุมภาพันธ์). https://www.
Psychologytoday.Com/blog/get–psyched/201207/learning–through.Visuals
True ปลูกปัญญา. (2564, กุมภาพันธ์). Rembrandt van Rijn (แรมบรังด์) จิตรกรระดับโลก:
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/25201

Journal of Fine Arts Research and Applied Arts : Vol.9 No.1 (January-June 2022)

You might also like