You are on page 1of 11

รายงาน

เรื่อง โรคซึมเศร้า
วิชาแนะแนว: การศึกษาอิสระ

โดย
เด็กชาย พันธ์ศักดิ์ รหัส 28751

เสนอ
คุณครู ธนิดา ทองอิม่

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 2 ปีการศึกษา 2566


โรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ
คำนำ
สังคมไทยในปัจจุบันเกิดโรคซึมเศร้ามากขึ้นด้วยปัญหาต่างๆเช่นปัญหาความเครียด ปัญหา
ครอบครัว ฯลฯ
ผู้จัดทำเล็งเห็นประโยชน์ในการจัดทำความรู้เกี่ยวกับ
โรคซึมเศร้าให้มีความเข้าใจในโรคนี้มากขึ้น
จึงจัดทำรายงานนี้เพื่อไขข้อสงสัยดังนี้
 โรคซึมเศร้าคืออะไร
 สาเหตุของการเกิดโรค
 มีแนวทางการรักษาอย่างไร
 ปฏิบตั ิกับผู้ปว่ ยโรคนี้อย่างไร
 สิ่งที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
ด้วยเหตุผลนี้ผ้จู ัดทำจึงได้จัดทำรายงานเพื่อตอบคำถามเหล่านั้น หากมีข้อแนะนำหรือ
ข้อผิดพลาดประการใด ผูจ้ ัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

เด็กชาย พันธ์ศักดิ์
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ 2
โรคซึมเศร้า คืออะไร 4
อาการของโรคซึมเศร้า 4
สาเหตุของโรคซึมเศร้า 5
แนวทางการรักษา 6
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า 7
การปฏิบัติตนกับผู้ปว่ ยโรคซึมเศร้า 8
โรคซึมเศร้า คืออะไร

โรคซึมเศร้า
เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากหลายสาเหตุ ส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก
พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย กอใหเกิดความทุกขทรมานทั้งกับตัวผูปว ยและจากอาการของ
โรคโดยเฉพาะทางด้านความคิดด้านลบเป็นสำคัญ คือ การตำหนิตนเองโทษตนเอง มีความคิดที่
บิดเบือนไปจากความจริง รูสึกไมมีคุณคา การตัดสินใจแยลง เศรา ทอแท้ สิ้นหวัง สมาธิลดลง
ขาดแรงจูงใจ บกพรองในการสรางสัมพันธภาพ

อาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่

1) มีอารมณซึมเศรา
2) ความสนใจความเพลินใจในกิจกรรมตางๆ แทบทั้งหมดลดลงอยางมาก
3) น้ำหนักเพิ่มขึ้นและลดลงมาก
4) นอนไมหลับ หรือหลับมากไป
5) เคลื่อนไหวช้าลง
6) อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
7) รู้สึกไร้ค่า
8) สมาธิลดลง ใจลอย
9) มีความคิดอยากตาย
หากปล่อยไว้ไม่รักษาและสภาวะจิตใจ ผู้ป่วยสามารถเป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆได้เช่น โรคอ้วน
โรคหัวใจ จนนานเข้า จนสภาวะจิตใจย่ำแย่ถึงที่สุด ผู้ป่วยจะทำการฆ่าตัวตาย
สาเหตุของการเกิดโรค

โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่ผู้ป่วยแต่ละคน เป็นโรคซึมเศร้าจากปัจจัยที่ไม่เหมือนกัน มีอยู่ 4 ด้าน


หลักๆ ได้แก่

1) ความผิดของสารสื่อประสาทในสมอง
ในผูปว ยโรค ซึมเศรา จะมีความผิดปกติของสารสื่อประสาท มีการลดลงของสารสื่อ
ประสาท ไก้แก่ Acetylcholine Norepinephrine Serotonin และ Dopamine

2) กรรมพันธุ์
พันธุกรรมมีบทบาท สําคัญตอการเกิดโรคซึมเศรา ยิ่งมีสมาชิกในครอบครัวปวยดวยโรค
ซึมเศรามากเทาใดก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่บุตรจะปวยดวยโรคซึมเศรามากขึน้ เท่านั้น

3) เครียดสะสม
อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตที่ตึงเครียด บางรายมีความกดดันมาก และมีความคาดหวังใน
ชีวิตสูงซึ่งพอไม่ได้เป็นไปตามที่คาดหวัง ทำให้มีอาการเครียดสะสมโดยไม่ร้ตู ัว

4) เหตุการณ์เลวร้าย
เหตุการณ์เลวร้ายที่ต้องเผชิญ ในบางครั้งการที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ส่งผลเสียต่อ
สภาพจิตใจเป็นเวลานาน และบ่อยครั้ง จนทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า และสิ้นหวังก็
สามารถทำให้เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
แนวทางการรักษา
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีหลายวิธี ก่อนที่จะรักษาให้ผู้ป่วยกับจิตแพทย์เป็นอันดับ
แรกเพื่อที่จะพูดคุยเกี่ยวกับลักษณะอาการและการรักษา ว่าจะเป็นวิธีใด เพื่อที่จะช่วยให้
ผู้ปว่ ยหายขาดจากโรคนี้แต่โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ จาก
เหตุการณ์ในชีวิตที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจเป็นตัวกระตุ้น
1. การรักษาด้วยยา
เป็นการรักษาด้วยการทานยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทให้สมดุล ใช้เวลาออกฤทธิ์
ประมาณ 3-4 สัปดาห์ โดยตัวยาแต่ละชนิดจะมีผลข้างเคียงต่างกัน ผู้ป่วยต้องกินยา
ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนหรือมากกว่า ถึงจะหาย
2. การรักษาด้วยจิตบำบัด
เป็นการบำบัดระยะสั้น ได้แก่ การบำบัดทางความคิด
การบำบัดพฤติกรรม จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลมีรากฐานมาจากทฤษฎี
จิตวิเคราะห มีเปาหมายเพื่อเปลี่ยนโครงสรางทาง บุคลิกภาพของผูปว ยเพิ่มความ
ใกลชิดสนิทสนมและความไววางใจระหวางบุคคล ดังภาพ

3. การรักษาด้วยไฟฟ้า เปนการรักษาโดยมีการกระตุนดวยไฟฟาชวงสั้นๆเพื่อให
เกิดการชักของสมองภายใตภาวะที่มีการควบคุมดูแล มีจุดมุงหมายเพื่อรักษา โรค
จิตเวชที่รุนแรง
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
1. โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องไกลตัว
ความจริงแล้วโรคซึมเศร้าอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด จากผลประเมินสุขภาพจิตของคน
ไทยในปี 2564 พบว่าคนไทย มีอัตราความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า มากถึง 12.38 %
12.38%นี้อาจรักษาหายได้70% อีก30% อาจเป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้รักษาที่อาจเกิดการ
สูญเสียและผู้ป่วยที่หายเอง โดยการหายเองของโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ จาก
กำลังใจจากคนรอบข้าง การใส่ใจ แต่อาจใช้เวลานาน

2. โรคซึมเศร้าเป็นแค่ข้ออ้างไม่ต้องรักษาก็หาย
โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยจริงๆ เป็นตัวโรคที่ต้องมีการรักษา โดยธรรมชาติ
สามารถหายได้เองแต่ใช้เวลานานมากๆและหากปล่อยไว้นานอาจเกิดได้ 2 อย่าง
1.ความสูญเสีย 2.การหายจากโรคนี้เอง

3. โรคซึมเศร้าคือโรคจิต
โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคจิตและผู้ป่วยซึมเศร้าก็ไม่ใช่คนบ้าควรหลีกเลี่ยงการเรียก
เหมารวมผู้ที่มีความไม่สบายทางจิตว่าเป็น "คนบ้า" เพราะคำๆนี้คำเดียวทำให้คน
มากมายไม่กล้าเข้าแผนกจิตเวชของโรงพยาบาลเพื่อที่จะรักษาโรคที่ตัวเองเป็น

4. โรคซึมเศร้าคือคนที่อ่อนแอ
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ได้แปลว่าคนๆนั้นเป็นคนอ่อนแอหรือขี้แพ้ และไม่ได้เกิด
จากการเรียกร้องความสนใจ โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถทำให้คนที่เคย
แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ กลายเป็นคนที่มีความคิดด้านลบทั้งต่อตนเอง
และผู้อื่น
การปฏิบัติตนกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การปฏิบัติตนกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นไม่ยาก ผู้ป่วยโรคนี้แค่
ไม่ต้องการการอยู่ตวั คนเดียว อยากให้มีคนคอยอยู่ข้างๆ
ต้องการการให้กำลังใจ พลังงานด้านบวก
ต้องการความเข้าใจในโรคนี้วา่ ไม่ได้เป็นการเรียกร้องความสนใจ
ต้องการพื้นทีแ่ ละเวลา สำหรับการรักษาโรคนี้ เราก็มีหน้าที่อยู่ข้างๆสู้ไปด้วยกันไม่
ทอดทิ้งกัน
ต้องการผู้รับฟังการระบายความรู้สึกภายในใจ
ไม่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ แค่ต้องการใส่ใจจากคนรอบข้างทำให้ผ้ปู ่วยรู้สึกว่ายังมี
คนที่รักเราอยู่นะ
บรรณานุกรม
พันธ์ศักดิ์ . (2566) โรคซึมเศร้า.สืบค้น 28 พฤศจิกายน 2566 จาก

หน้า 3
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/depression
https://www.thaidepression.com/2020/web/index.php?r=news%2Fdownload&id=240&file=72
5bf8b67a3f22b6379c007057c6497f.pdf&file_name=full+report.pdf
https://www.sikarin.com/health/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E
0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B
8%B2-depression
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017
หน้า 4
https://www.thaidepression.com/2020/web/index.php?r=news%2Fdownload&id=240&file=72
5bf8b67a3f22b6379c007057c6497f.pdf&file_name=full+report.pdf
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/depression
https://www.hfocus.org/content/2018/05/15877
หน้า 5
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017
https://www.theoasiscare.com/post/blog19
https://www.thaidepression.com/2020/web/index.php?r=news%2Fdownload&id=240&file=72
5bf8b67a3f22b6379c007057c6497f.pdf&file_name=full+report.pdf
หน้า 6
https://www.thaidepression.com/2020/web/index.php?r=news%2Fdownload&id=240&file=72
5bf8b67a3f22b6379c007057c6497f.pdf&file_name=full+report.pdf
หน้า 7
https://web.facebook.com/D2JED/photos/a.774274969372405/774279846038584/?type=3&lo
cale=th_TH&_rdc=1&_rdr
https://checkin.dmh.go.th/dashboards
หน้า 8
https://web.facebook.com/photo?fbid=617885869726648&set=a.783639861769249&l
ocale=th_TH

You might also like