You are on page 1of 1

&

โรค & การดูแล

ภาวะสับสน ของผู้สูงวัย
โดย พญ. วชิราภรณ์ คูณรังษีสมบูรณ์ · 22 กุมภาพั นธ์ 2018

ภาวะสั บ สนเฉี ย บพลั น ในผู ้ ส ู ง อายุ

“คุณหมอครับ อาม่าของผมเพิ่ งออกจากโรงพยาบาล


จู่ ๆ ก็สับสน พู ดเพ้ อไปเรื่อย มองเห็นภาพหลอนที่คน
อื่นไม่เห็น ไม่หลับไม่นอน เอะอะโวยวาย จําลูกหลานไม่ได้
ตอนเช้าผมจะพามาหาคุณหมอ ก็หายดีกลับเป็นคนเดิม
อาม่าของผมเป็นโรคอะไรครับ”

อาการผิดปกติน้เี รียกว่า ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูง


อายุ (Delirium) เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกตัว ระดับ
ความรู้คิดและความสามารถของสมองโดยรวมอย่าง
เฉียบพลัน ผู้สูงอายุมักไม่ให้ความสนใจกับการตอบ
คําถาม ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย อาจจะวุ่นวาย
หรือซึมหลับมากก็ได้ อาการมักเป็น ๆ หาย ๆ มักเป็น
ช่วงพลบคํา่ หรือกลางคืน ภาวะนี้เป็นภาวะเร่งด่วน ควร
รีบไปพบแพทย์เพื่ อสืบค้นสาเหตุและรักษาทันที
เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทําให้สูญเสียหน้าที่การ
ทํางานของสมองถาวร นําไปสู่ภาวะสมองเสื่อม และ
เพิ่ มอัตราการตาย

พยาธิ ส รี ร วิ ท ยา

ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดถึงพยาธิสรีรวิทยา
ที่ทําให้เกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน แต่เชื่อว่าเกิดจาก
กลไก 4 ประการดังนี้

1. ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท ได้แก่
acetylcholine และ dopamine โดยพบว่า
cholinergic activity ที่ลดลงน่าจะเป็นสาเหตุท่ี
สําคัญ เนื่องจากมีหลักฐานว่ายากลุ่ม
anticholinergics เป็นสาเหตุท่พ
ี บบ่อยของภาวะ
สับสนเฉียบพลัน
2. กระบวนการอักเสบ ภาวะสับสนเฉียบพลันมัก
สัมพั นธ์กับการเจ็บป่วยทางกาย สึ่งมีการหลั่งสาร
ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เช่น tumor necrosis
factor-alpha, interleukin-1 รวมถึง cytokine
และ chemokine อื่นๆ ทําให้เลือดไหลสู่สมองลด
ลง จากการที่มีเซลล์เม็ดเลือดและไฟบรินไปอุดตัน
หลอดเลือดขนาดเล็ก ร่วมกับมีการกระตุ้นการหด
ตัวของหลอดเลือด
3. ปฏิกิริยาออกซิเดชันในสมองลดลง ทําให้เมแทบอลิ
ซึมในสมองลดลง
4. การเปลี่ยนแปลงระดับกรดอะมิโน ได้แก่ ทริปโต
แฟน และ ฟีนิลอะลานีน พบว่ากรดอะมิโนทั้ง 2 ชนิด
มีมากกว่าปกติ ทําให้ระดับสารสื่อประสาท
dopamine และ norepinephrine ในสมองสูงผิด
ปกตินําไปสู่การเกิดภาวะสับสนเฉียบพลัน

ภาวะสั บ สนเฉี ย บพลั น เกิ ด จากอะไร

ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ลดนํา้ มูก ยาแก้ปวด


ยาคลายกล้ามเนื้อ ยานอนหลับ ยารักษาโรคซึม
เศร้า ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยารักษาโรคจิตเภท
ยิ่งได้รับยาหลายชนิดยิ่งมีความเสี่ยงสูง
หยุดสุราหรือหยุดยาบางชนิดกะทันหัน (กรณีติด
สุราหรือติดยานั้น ๆ แล้ว)
มีการติดเชื้อ หรือการเจ็บป่วยเฉียบพลันอื่น ๆ เช่น
โรคหลอดเลือดในสมอง ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะ
ช็อก ภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ ภาวะนํา้ ตาลใน
เลือดสูงหรือตํา่ เกินไป ภาวะซีด หรือภาวะขาดนํา้
สาเหตุอ่น
ื ๆ เช่น ความเจ็บปวด ท้องผูก การใส่สาย
สวนปัสสาวะ การใช้อุปกรณ์เหนี่ยวรั้งผู้ป่วย การ
เปลี่ยนสถานที่ หรือ เปลี่ยนผู้ดูแล การอดนอนนาน
ๆ เป็นต้น

ใครบ้ า งที ่ ม ี โ อกาสเกิ ด ภาวะสั บ สน


เฉี ย บพลั น ได้ บ ่ อ ย

ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
มีภาวะสมองเสื่อม หรือโรคสมองอื่น ๆ
เคยมีอาการสับสนเฉียบพลันมาก่อน
มีอารมณ์ซึมเศร้า
มีการมองเห็น หรือการได้ยิน ผิดปกติ
สูญเสียความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวัน
ด้วยตนเอง
ติดสุรา
มีโรคประจําตัวรุนแรง หรือเจ็บป่วยในระยะสุดท้าย

ควรดู แ ลผู ้ ส ู ง อายุ อ ย่ า งไรไม่ ใ ห้ เ กิ ด


ภาวะสั บ สนเฉี ย บพลั น

รักษาโรคประจําตัวให้ดีท่ส
ี ุด
ไม่ควรซื้อยาให้ผู้สูงอายุทานเอง โดยเฉพาะ ยาหวัด
ยานอนหลับ ยาแก้ปวด
ดูแลการทานอาหาร การดื่มนํา้ สะอาดอย่างเพี ยง
พอ ดูแลการขับถ่าย ระวังไม่ให้เกิดการท้องผูก
ควรจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสม โดยผู้สูง
อายุรู้สึกคุ้นเคย รวมถึงไม่ควรเปลี่ยนผู้ดูแลบ่อย
คอยกระตุ้นเตือนวันและเวลา และควรจัดตาราง
กิจวัตรประจําวันให้ผู้สูงอายุทําเป็นปกติ ไม่ควร
เปลี่ยนแปลงกิจกรรมบ่อย เพื่ อไม่ให้ผู้สูงอายุสับสน
ส่งเสริมให้ใช้แว่นสายตาหรือเครื่องช่วยฟัง ในผู้ท่ม
ี ี
ปัญหาทางสายตาหรือการได้ยิน
ควรได้รับแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงกลางวัน มีการ
ออกกําลังกายอย่างเหมาะสม
หลีกเลี่ยงการนอนกลางวันนาน ๆ จัดห้องนอนให้
มืด เงียบ อุณหภูมิเหมาะสม เพื่ อช่วยให้นอนหลับดี
หลีกเลี่ยงการผูกมัดผู้ป่วยโดยไม่จําเป็น
หากผู้สูงอายุมีอาการผิดปกติ เช่น สับสน ซึมหลับ
เอะอะโวยวาย มีไข้ ควรรีบพามาพบแพทย์

Tag: ความรู้พื้นฐาน

แชร์บทความนี้: ! " # $

พญ. วชิราภรณ์ คูณรังษีสมบูรณ์


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้
สูงอายุ

คุณหมอแพร หลังจากที่เรียนจบ
อายุรแพทย์ ก็สนใจงานด้านผู้สูงอายุ จึงได้
ศึกษาต่อด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ที่ศิริราช
ปัจจุบันคุณหมอแพร อยู่ท่ี Longevity
Center รพ.กรุงเทพ

Related Posts

การวัดสัญญาณชีพ ทักษะพื้ นฐานที่คุณควรรู้

การเลือกอาหารเสริมสําหรับผู้สูงอายุ

วิธีการดูดเสมหะ ผู้ป่วย

บริษัท เฮลท์ แอท โฮม จํากัด


849/40-42 โครงการสเตเดี้ยมวัน
ซอยจุฬา 6 ถนนพระราม 4
วังใหม่ ปทุมวัน กทม. 10330

ติดต่อ

เกี่ยวกับเรา

คําถามที่พบบ่อย

ทิปส์การดูแล

สมัครเป็นผู้ดูแล

เนิร์สซิ่งโฮม

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
สาขาแจ้งวัฒนะเปิดใหม่!

ดูศูนย์ดูแล

You might also like