You are on page 1of 92

เปรตในพระไตรปิฎ ก

พระมหา อุท ิศ ศึร ิว รรณ

วิท ยานิพ นธ์น ี้เ ป็น ส่ว นหนึ่ง ของการศึก ษาตามหลัก สูต รปริญ ญ าอัก ษรศาสตรมหาบัณ ฑ ิต
ภาควิช าภาษาตะวัน ออก
บัณ ฑ ิต วิท ยาลัย จุฬ าลงกรณ ์ม ห าวิท ยาลัย
พ.ศ. ' ๒ ๖
ISBN 974-582-338-4

ลิข สิฑ ธึ๋ข องบัณ ฑิต วิท ยาลัย จุฬ าลงกรณ ์ม ห าวิท ยาลัย

01913 ’
i ไ ' า ไ . ' ม ’ใ า ไ
THE PETA IN BUDDHIST CANONICAL TEXTS

PHRAMAHA UTIT SIR1VUN

A Thesis Submitted in Partial Fulfilment of the Requirements

for the Degree of Master of Arts

Department of Eastern Languages

Graduate School

Chulalongkorn University

1993

ISBN 974-582-338-4
หัว ข้อ วิท ยานิพ นธ์ เปรตในพระไตรปิฎ ก
โดย พระมหา อุท ิศ ดีร ิว รรณ
ภาควิช า ภาษาตะวัน ออก
อาจารย์ท ี่ป รึก ษา รองศาส ตราจารย์ ดร. ศักดิ’ศรี แย้ม นัด ดา
ผู้ช ่ว ยศาส ตราจารย์ ฐานิส ร์ ชาครัต พงศ์

บ ัณ ฑ ิต วิท ยาลัย จุฬ าลงกรณ ์ม ห าวิท ยาลัย อนุม ัต ิใ ห้น ับ วิท ยานิพ นธ์ฉ บับ นี้
เป็น ส่ว นหนึ่ง ของการสืก ษาตามหลัก สูต รปริญ ญามหาบัณ ฑิต

............................................คณ บ ดีบ ัณ ฑ ิต วิท ยาลัย


(ศาส ต ราจารย์ ดร. ถาวร วัช ราภัย )

คณ ะกรรมการสอบวิท ยานิพ นธ์

ว ั/ โ i ประธานกรรมการ
; ■
(ศ าส■ต ราจารยวิ
■ ■ ■ ■ ■ ■ t
ส ุท ธ บุษ ยกุล ) r
'] ............
............ (fÿfypV?.. . กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร. ศัก ดิ'ศรี แย้ม นัด ดา)
.................... < = พ ' . กรรมการ
(ผู้ช ่ว ยศาส ต ราจารย์ฐ าน ิส ร์ ชาครัต พงศ์)
..................? y ะ โ . . . .< 7 ^ 7 1 ^ ^ กรรมการ
(ผู้ช ่ว ยศาส ตราจารย์ ดร. ปราณี ฬาพ.านิ'ช)
□ ร ิ. . . กรรมการ
(อ าจารย์ ดร. ประพจ่'น อัศ ววิร ุฬ หการ)
1 . I l เ i

พระมหา อทิศ คิรีวรรทJ : เปรตในพระไตรปิฎก (THE PETA IN BUDDHIST CANONICAL TEXTS)


อ. ที่ปรึกษา : รศ. คร. สักที่ศรี แย้มนัดตา, «ศ. ฐานิสร์ ชาครึ'ตพงศ์, 8 3 หน้า. ISBN 974-582-338-4

วิทยานิพนธ์นื้มีจฺคมุ่งหมายเพื่อคิกษาความหมายยองคาว่า "เปรต,, ในแต่ละยุคเพื่อจะได้เย้าใจความแตกต่าง


หรึอคล้ายคลีงในสมัยต่าง ค อย่างแจ่มสัด แนวความคิด และความเพื่อเรึองเปรตที่ปรากฎในพระใตรปิฎกเทรวาท และอรรถกถา
ตลอดจนอิทธิพลความเพื่อเรึองเปรตที่มีต่อพื่ธิกรรม และประเพรไทย

ผลของการวิจัยได้พบว่า ความหมายยองคาว่า "เปรต,, ในพระไตรปิฎก และอรรถกถามี 2 ความหมาย กล่าวคิอ


หมายถีง คนผู้ล่วงลับไปแล้ว หรึอคนตาย ความหมายหนี่ง และคนผู้ล่วงลับไปสู่โลกหน้าที่เรียกว่าเปรตวิลัยหรึอเปรตโลก
อิกความหมายหนง เปรตวิลัยหรีอเปรต'โลกนนหมายอิง แดนเสวยผลกรรมของผู้ทาบาปที่มีโทษเบากว่าทาเนิคตินัจฉาน และนรก
จัดเป็น 1 ใน 5 คติแดนไปหลังความคายยองลัคว์ผู้เวียนว่ายตายเกิด ได้แก่ เทวดา มนุษย์ เปรตวิลัย กาเนิดตินัจฉาบ
และนรก

ใน,รนอรรทกถาส่วนใหญ่อธิบายคา "เปรต,, ไว้ว่าหมายลีงคนผู้ตายไปเกิดในเปรตวิลัย มีผลให้ความหมายของคาว่า


"เปรต" ใน รนฏกา และวรรณกรรมพุทธศาสนาที่รจนาในประเทศไทย หมายถึงคนตายไปเกิดในเปรตวิลัยทงล้น เปรตที่ปรากฎ
ในวรรณกรรมยองไทย จึงมีรูปร่างน่ากลัว อดอยากทิวโหย ชูบผอม ปากเห่ารูเพื่ม ฯลๆ

ความเพื่อเรึองเปรต มีอิทธิพลต่อพิธีกรรม คตินิยม และประเพ.วิต่าง ค ยองชาวไทย เช่น พิธีศพ พิธีถวายลังร/ทาน


พิธีอนุโมทนา ประเพณิสงกรานค์ และประเหวิสารทไทย เป็นการส่งเสริมความกดัฌูณุ ความเกรงกลัวต่อบาป ความมิน้าใจ
ความผกพ้นระหว่างวงศาคณาญาติ วัดกับบ้าน รวมหงลันติสุขยองผู้คนในลังคมไทย อย่างเด่นสัด

/
ภ า ค ว ิช า ว ิ™ ^ ™ . อ. ก .. . . . . ล า ย ม ิอ ช อ น ิส ิต . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . :jrrrr^....
ส า ข า ว ิช า ....ภาษา!ทลิ-ลันสกอุ»ว. ล า ย ม ิอ ช อ อ า จ า ร ย ์' แ ป ร ก พ า น
ป ก า ร ศ ก ษ ใ .2535........................ ล า ย ม ิอ ช อ อ า จ า ร ย ์ท ี่ป ร ก พ า ร ่ว ม Ç r ^ ร ึ. . . . . ^ ว ิ. ',
# # c 410807 : MAJOR PALI AND SANSKRIT
KEY WORD: THE PETA / BUDDHIST / CANONICAL TEXTS
PHRAMAHA UTIT SIRIVUN ะ THE PETA IN BUDDHIST CANONICAL TEXTS. THESIS ADVISOR ะ
ASSO. PROF. SAKSRI YAMNADDA, P h.D ., ASSIST. PROF. THANIT CHAXARATAPONGSE
83 pp. ISBN 974-582-338-4

It is the purpose of the present thesis to study the meaning of Prêta in its

development in the Theravada Buddhist Canon, its Commentaries and the influence of the

concept on Thai beliefs and customs.

The research reveals that Prêta has two meanings : a dead man and a man who is

gone to the Preta-realm, an existence where the dead reaps the result of their bad deeds,

which is on a higher plane than animal-birth and hells.

This Preta-realm is one of the five realms of beings in their cycle of rebirths,

namely, the realm of gods, of man, of prêta, of animals and of hell denizens.

In the Commentaries, there is an obvious tendency to interpret Prêta as

the denizen of the Preta-realm. As a result, the Prêta in sub-commentaries and in Thai

Buddhist literature is often described as a suffering being with frightful and

deformed appearance.

This Prêta belief has direct influence on Thai beliefs and customs, as seen in

the funeral ceremony, in the layman's offering to the Buddhist Order, the monks' acceptance

of charity, water-throwing ceremony (Mesasamkranti), and Thai Sarada Festival, for instance.

It is a direct encouragement on the Thai values with respect to gratitude, conscience,

generosity and the close ties existing within Thai families. It also refects the close

relation between Buddhist Order and Thai laymen from a longtime past.

/ v /
ภาค'วิชา. J?.ไ1,.]!’^ 3.?ท..... ลายมือ ชื่อ นิส ิต .j f e z ? ... .............. J ...........
สาขาวิช า ฟ ้ ไ ! . ร ? ลายมือ ชือ อาจารย์ท ปรึก ษา.......
ป ีก า ร ส ืก ษ า ............... ลายมือ ชื่อ อาจารย์ท ี่ป รึก ษาร่ว ม..c=^ - ' ...y .! ‘ร .วิ:;zzrrT
กิต ติก รรมประกาศ

ขอถวายเป ็น พ ระราช กุศ ลแด่ พ ระบ าท ส ม เด ็จ พ ระป ก เก ล ้า เจ้า อ ยู่ห ัว และ

สมเด็จ พระนางเจ้า รำไพพรรณี ขอถวายพระพร


พระเดชพระคุณ หลวงพ่อ พระธรรมมหาวีร านุว ัต ร วัดไร่ขิง สามพราน ผู้ม ี
เมตตาช่ว ยเหลือ ทุน การดีก ษาตลอดหลัก สูต ร ท ่า น เจ้า ค ุณ อ าจารย์ พระธรรมกิต ติว งศ์
(ทองดี ป.ธ. ๙) ผู้ม ีเ มตตาให ้ย ืม ห นัง ลือ หายาก คอมพิว เตอร์แ มคอิน ฑอช แ ล ะ เครื่อ ง
พ ิม พ ์เ ลเซ อร์ ในการพิม พ์ต ้น ฉบับ ผู้เ ขีย นกราบขอบพระคุณ และขอกล่า วนามไว้ ณ ท ี่น ี้
ด้ว ยความเคารพและน้อ มรำลึก ถึง พระคุณ เป็น อย่า งสูง
รองศาส ตราจารย์ ดร. ศัก ดี๋ศ รี แย้ม นัด ดา และผู้ช ่ว ยศาสตราจารย์ ฐานิส ร์
ชาครัต พ งศ์ ไต้ม ีเ มตตารับ เป็น ที่ป รึก ษา เอาใจใส่ด ูแ ลหมั่น สอบถามความก้า วหน้า
แ ล ะ เสีย ส ล ะ เวลาอัน มีค ่า ตรวจแก้I ฃวิฑ ยานิพ นธ์จ นพร้อ มที่จ ะสอบในวัน ที่ ๑๐ มีน าคม ไอ<£'๓๖

ขออนุโ มทนาขอบคุณ ในอิท ธิบ าทธรรมของท่า นอาจารย์ท ั้ง ๒ อย่า งยิ่ง


ศาส ต ราจารย์ วิส ุท ธ์ บุษ ยกุล แล ะอ าจารย์ด ร. ประพจน์ อัศ ววิร ุฬ หการ ไต้
เอาใจใส ่ช ่ว ยเห ลือ ดูแ ลท ้ว งดิง วิจ ารณ ์เ ส น อแน ะป รับ ป รุง ตรวจแกไขจน ส ำเร็จ เรีย บ ร้อ ย
ศ าส ต ราจารย์ ม.ล. จิร ายุ นพวงศ์ ผู้ช ่ว ยศาส ตราจารย์ ดร. ปราณ ี ฬ าพานิช ผู้ถ วาย
ความรู้ว ิช าการ และข้อ คิด อัน เป็น ประโยชน์อ ย่า งยิ่ง ในการวิจ ัย ครั้ง นี้ ผู้ว ิจ ัย 'ขออนุโ มทนา
ขอบคุณ ในพรหมวิห ารธรรมของท่า นอาจารย์ท ี่เ อ่ย นามทุก ท่า นด้ว ยความยิน ดีย ิ่ง
ผู้ช ่ว ยศาส ตราจารย์ ท ัศ น ีย ์ สิน สกุล อาจารย์ท ี่ป รึก ษาผู้ม ีน ี้า ใจช่ว ยเหลือ ให้
คำแนะนำการเตรีย มตัว เรีย น การสอบ ทุน การดีก ษา ทุน วิจ ัย ด่า ง ๆ ติด ตามสอบถาม
ความก้า วหน้า ในการทำวิจ ัย อย่า งเอาใจใส่ และถวายอุป ถัม ภในการทำวิจ ัย เป็น บางส่ว น
ผูว ิจ ัย ขออนุโ มทนาขอบคุณ ในกุศ ลเจตนาของท่า นอาจารย์อ ย่า งยิ่ง
คณะกรรมการมูล นิธ ิพ ระบรมราชานุส รณ์พ ระบาทสมเด็จ พระปกเกล้า เจ้า อยู่ห ัว
และสมเด็จ พระนางเจ้า รำไพพรรณี บัณ ฑ ิต วิท ยาลัย จุฬ าลงกรณ ์ม ห าวิท ยาลัย เจ้า หน้า ที่
ห้อ งสมุด คณ ะอัก ษรศาสตร์ อาจารย์แ ละเจ้า ห น้า ที่ศ ูน ย์ก ารแปล คณ ะอัก ษรศาสตร์
คุณ แม่ม ยุร ี ศรีส ำอาง คุณ ปัา เรณ ู เดชประเสริฐ พ ี่ช าคร-ถาวิน ี จารุพ ิส ิฐ ธร อาจารย์พ ร
รัต นสุว รรณ ค ุณ รัต ต ิย า-ถ น อ ม ศ ัก ต ิ้ จงพิพ ัฒ น์ย ิ่ง แห่ง โรงพิม พ์เลี่ย งเชีย ง พระมหาคิร ี
ทุม เสน พระมหาการะเวก จำปาสัก และโยมพ่อ โยมแม่ ผู้1 ห่โ อกาสไต้เกิด มาในโลก
หน้า
บ ท คัด ย่อ ภ าษ าไท ย........................................................................................................................ ง
บ ท คัด ย่อ ภ าษ าอัง กฤ ษ .................................................................................................................. จ
กิต ติก รรมประกาศ........................................................................................................................... ฉ

บฑที่

๑. บทนำ.............................................................................................................................................. ๑
ความเป็น มาของปัญ หา.................................................................................................. ๑
วัต ถุป ระสงคํใ นการวิจ ัย .................................................................................................. ๑
ขอบเขตของการวิจ ัย ........................................................................................................ ๒
วิธ ีด ำเน ิน การวิจ ัย ............................................................................................................. ๒
ประโยชน้ท ี่ค าดว่า จะได้ร ับ จากการวิจ ัย ...................................................................... ๒
๒. ความหมายของคำว่า เปรตในพระไตรปิฎ ก อรรถกถา ฎีก า
และวรรณกรรมพุท ธศาสนาที่ร จนาในประเทศไทย........................................................ ๓
วิเ คราะห ์ค วามห มายตามรูป ศัพ ท ์............................................................................... ๓
วิเ คราะห์ค วามหมายของคำว่า เปรตที่ป รากฎในพระไตรปิฎ ก อรรถกถา ฎีก า
และวรรณกรรมพุท ธศาสนาที่ร จนาในประเทศไทย................................................ ๕
ก. พระไตรปิฎ ก..................................................................................................... ๕
ข. อรรถกถา........................................................................................................... ๗
ค. ฎ ีก า..................................................................................................................... ๘

หนา
ง. วรรณกรรมพุท ธศาสนาที่ร จนาในประเทศไทย...................................... ๑๒
๓. แนวความคิด และความเชื่อ เรื่อ งเปรตในพระไตรปิฎ ก และอรรถกถา......................... ๑๘
ความเป็น มาของแนวความคิด เรื่อ งเปรต.................................................................. ๑๘
ก. แนวคิด ว่า “ เปรต” คือ คนตายผู้ล ่ว งลับ จากโลกนี๋ไ ป.......................... ๑๘
ข. แนวคิด ว่า “ เปรต” คือ คนตายผู้ล ่ว งลับ จากโลกนี้
ไปเกิด ในเปรตวิส ัย .......................................................................................... ๒๐
๑. แนวคิด เรื่อ งโลกหน้า ............................................................................... ๒๕'
๒. แนวคิด ทางคืล ธรรม............................................................................... ๒๖
๓. แนวคิด เรื่อ งทำบุญ ถวายทานแก่พ ระสงฆ์
เพื่อ อุท ิศ ผลบุญ ไปให้แ ก,ผู้ล ่ว งลับ ......................................................... ๒๘
ความเชื่อ เรื่อ งเปรต.................................................................................................................. ๓๐
ก. ความเชื่อ ว่า “ เปรต” คือ ผู้ต ายไปเกิด ในโลกหน้า ที่เรีย กว่า
“ เปรตวิส ัย ”........................................................................................................ ๓๑
ข. ความเชื่อ ว่า “ เปรต” คือ ผู้ร ับ ผลกรรมชั่ว อัน เกิด จาก
ประพฤติผ ิด คืล ธรรม..................................................................................... ๓๓
ค. ความเชื่อ ว่า “ เปรต” คือ ผู้ท ี่ม นุษ ย์พ ึง ทำทาน ล่ง ไปให้. ...................... ๓๖
สาเหตุท ี,เกิด เป็น เปรต.............................................................................................................. ๔๐
ก. บ าป ท างก าย..................................................................................................... ๔๗
ข. บ าป ท างวาจา..................................................................................................... ๔๑
ค. บาปทางใจ........................................................................................................... ๔๒
๔. อิท ธิพ ล และความเชื่อ เรื่อ งเปรตที่ม ีต ่อ พิธ ีก รรม และประเพณีไ ทย.......................... ๔๖
พิธ ีท ำบุญ อุท ิศ ส่ว นกุศ ลให้ผ ู้ด าย.................................................................................. ๔๗
คติน ิย มว่า ด้ว ยการกรวดน ํ้า ............................................................................................ ๖๐

หน้า
พิธ ีอ นุโ มทนา..................................................................................................................... ๖๕
ประเพณีส งกรานต์........................................................................................................... ๖๗
ประเพณีส ารทไทย........................................................................................................... ๖ ๙
๕. สรุป และข้อ เสนอแนะ........................................................................................................... ๗๓
สรุป .................................................................................................. ๗๓

ข้อ เสนอแนะ.................................................................................................................... ๗๔
รายก ารอ้า งอิง .......................................................................................................................... ๗๔
ประว้ต ผู้เขีย น............................................................................................................................. ๘๓
ความเป็นมาของปัญหา

แนวคิดเรื่อง “เปรต” โดยเฉพาะอย่างยิง เปรตในคัมภีร์เปตวัตถุบ ั้น เป็น


ที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท ในประเทศไทยจะเห็นได้จาก
คัมภีร์บาลีรุ่นแรกที่แต่งขึ้นในประเทศไทย คือ โลกัปปฑีปกสาร และคัมภีร์บาลีที่แพร่
หลายในระยะต่อมา เช่น มังคลัดถทีปบี จักกวาฬฑีปนี รวมทั้งวรรณกรรมที่เป็น
ภาษาไทย เช่น ไตรภูมิพระร่วง ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา สังคีติยวงศ์ พระปฐมสมโพธิกถา
ภูมิวิลาสินี และอื่น ๆ ล้วนระบุถึงเรื่องของอมนุษย์ที,เรียกว่า “เปรต” นี้ทั้งสิน มีข้อ
ความอ้างถึงพระไตรปิฎก อรรถกถา ฯลฯ อยู่หลายแห่ง นอกจากนี้ พิธีกรรม และ
ประเพณีไทย ตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันก็มีการกล่าวถึง เช่น การกรวดบั้า
อุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ พิธีอนุโมทนาให้พร อาทิเช่น ติโรกุฑฑกัณฑคาถา ซึ่งพระ
สงฆํใข้สำหรับอนุโมทนาการทำบุญอุทิศถึงผู้ที่ล่วงสับไปปรโลกแล้วอย่างเดียว ประเพณี
ทำบุญ พิธีตรุษ พิธีสารท ปรากฎเรื่องราวของเปรตทั้งบั้น ในสมัยหลังโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในประเทศไทยปรากฏว่าใช้คำว่า “เปรต” ในความหมายภูดผีปีศาจ ซึ่งมีพฤติกรรมลึกสับ
รูปร่างแปลกประหลาดน่าเกลียดน่าสะพรึงกลัว จนถึงกับมีข้อความกล่าวไว้ว่า “สูง
เหมือนเปรต” บ้าง “เปรตขอส่วนบุญ” บ้าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า “เปรต” น่าจะมิความ
หมายหลายอย่างตามสมัยและลักษณะวัฒนธรรมในสังคม ดังบั้นจึงควรนำข้อมูลเกี่ยวกับ
“เปรต” มาสืกษาวิเคราะห์ดูอย่างละเอียด

ว ัต ถ ุป ร ะ ส ง ค ํใ น ก า ร ว ิจ ัย

๑. เพื่อสืกษาความหมายของคำว่าเปรตในแด,ละยุค ตั้งแต่ความหมายแรกที่

ปรากฏในพระไตรปิฎกตลอดจนถึงความหมายที่ปรากฏในคัมภีร์อื่น ๆ และวรรณกรรม
พุทธศาสนาที่รจนาในประเทศไทย เพื่อจะได้เข้าใจความแตกต่างหรือคล้ายคลึงของคำว่า
เปรตในสมัยต่าง ๆ อย่างแจ่มชัด
๒. เพื่อศึกษาแนวความคิด และความเชื่อเรื่องเปรตที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
และอรรถกถาเถรวาท
รา. เพื่อศึกษาอิทธิพลและความเชื่อเรื่องเปรตที่มีต่อพิธีกรรมและประเพณีไทย

ขอบเขตของการวิจัย

ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะศึกษาวิเคราะห์เรื่องเปรตใน ๔ ประเด็นหลัก คือ


๑. ความหมายของคำว่าเปรต
๒. แนวความคิดเรื่องเปรต
รา. ความเชื่อเรื่องเปรต
๔. อิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตที่มีผลต่อพิธีกรรมและประเพณีไทย

วิธีดำเนินการวิจัย

๑. รวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ และทุติยภูมิใหได้ครบถ้วนตามที่ด้องการ
๒. นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาสาระในการนำไปวิจัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

ผลจากการศึกษาจะทำให้!ด้ความผู้หม่ที่ชัดเจนในเรื่องความหมาย แนวความคิด
และอิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตที,ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ซึ่งจะเป็นประโยชน์
อย่างยิ่งแก,ผู้สนใจพระพุทธศาสนา พิธีกรรม และประเพณีไทย
Gfl

บทที่ ๒

ความหมายของคำว่าเปรตในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา


และวรรณกรรมพุทธศาสนาที่รจนาในประเทศไทย

วิเคราะห์ความหมายตามรปศัพท์

คำว่า “เปรต”ในภาษาบาลีใช้รูปศัพท์ว่า “เปต” ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสน


จึงขอให้เช้าใจตรงกันว่า “เปรต” หรือ “ฟต” คือคำเดียวกัน การที่ภาษาไทยไม่ใช้รูป
ศัพท์ว่า “เปต” เพราะเราใช้คำ “เปรต” ตามรูปศัพท์[นภาษาสันสกฤต
ความหมายของคำว่า “เปด” ตามรูปศัพท์ สร้างขึ้นจากส่วนประกอบสำคัญ
๓ ส่วนคือ ป-อีธาตุ-ด นักปราชญ์ภาษาบาลีตั้งวิเคราะห์อธิบายคำ “ฟต” ไว้หลายนัย
ดังนี้
คำว่า “ฟต” เป็นคำนามกิตก์ ประกอบด้วย “ป” เท่ากับ ปรโลก ที่แปลว่า
โลกหน้า จึงหมายถึง ผู้!ปส่โลกหน้า ดังข้อความว่า “ปรโลก เอติ คจฺฉดีติ เปโต. อี คติย*,
โต, รโลโป. [สัตว์ที่ชื่อว่า เปดะเพราะไป คือดำเนินไปส่โลกหน้า. อี ธาตุในความไป, ลง ต
ปัจจัย, ลบ ร อักษรทิ้ง]” (พระสุภูติมหาเถระ, ไอ(£'๓๕) และข้อความว่า “ปรํ โลก* เอติ
คจฺฉดีติ เปโต, ปเรโต จ, โต, ปุพุเพ รโลโป. [สัตว์ที่ชื่อว่า เปตะ และปเรตะ เพราะไป
คือดำเนินไปส่โลกหน้า, ลง ต ปัจจัย, ลบ ร อักษรในบทหน้าทิ้ง]” (จตุรังคพลมหาอำมาตย์,
'๒๕๒๗)
บางมติเห็นว่า คำว่า “ฟต” เป็นคำนามกิตก์เซ่นกัน แต่ดีความ ป เท่ากับ
ปากฎร ซึ่งแปลว่า ฐานะห่างไกล ดังนั้นเมื่อถือดามมตินี้ คำว่า “ฟด” แทนที่จะแปลว่า
ผู้!ปส่โลกหน้า ท่านก็แปลไว้อีกนัยหนึ่งว่า “ผู้ถึงฐานะห่างไกลจากความสุข” ดังข้อความ
ที่ท่านตั้งวิเคราะห์!ว้ว่า “สุขสมุสฺสย'โต ปากฎรํ เอนฺดีติ=เปตา สัตว์ ที่ชื่อว่าเปตะ
เพราะย่อมถึงซึ่งฐานะอันห่างไกลจากความสุขทั้งหลาย” (พระสัฑธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ,
๒๕๓๕)
บางมติถือว่า “ฟด” เป็นคำสมาส โดยตีความ “ป” เท่ากับ ปกฎร ที่แปลว่า
สิงที่ดียิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ คำว่า “เปด” ตามทรรศนะนี้จึงหมายถึง ผู้พ้นไปจากความสุข
อันดียิ่ง ดังข้อความว่า “ขุปปิปาสิตปรทตตปชีวินิซฺฌามตณฺหิกาฑโย ทุกขพหุลตาย
ปกฎรสุขโต อิดา วิคตาติ เปตา [สัตว์ทั้งหลายมีขุปปิปาสิตเปรตปรทัตตูปชีวีเปรต และ
นิซฌามดัณหิกเปรตเป็นดัน ไปแล้ว คือพ้นไปแล้วจากความสุขอันดียิ่ง เพราะเป็นผู้มี
ความทุกข์มาก เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงชื่อว่าเปตะ]” (พระธัมมปาละ, ไร๕ราราก)
“ปกฎเรน สุขโต อิตา คดาติ เปตา [สัตว์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่าเปดะ เพราะอธิบายว่าดำเนินไป
คือไปแล้วจากความสุขอันดียิ่ง]” (พระสุมังคละ, ๒๕๑๖)
จากการตั้งวิเคราะห์คำ “เปต” ตามรูปศัพท่ในทรรศนะของนักปราชญ์ภาษา
บาลี จะเห็นว่าท่านวิเคราะห์คำนี๋ไว้ ฅ ความหมาย ความหมายที่หนึ่ง “เปต” คือ ผู้
ไปส่โลกหน้า ความหมายที่สอง “ฟต” คือ ผู้ถึงฐานะห่างไกลจากความสุข และความ
หมายสุดท้าย “เปด” คือผู้พ้นไปจากความสุข
ผู้วิจัยเห็น'ว,า ถึงแม้ว่าท่านจะตั้งวิเคราะห์คำ “ฟต” ตามรูปศัพท่ไว้ถึง ฅ นัย
แต่เมื่อถือเอาใจความสำคัญแล้วมีเพียง ๒ ความหมาย คือ หมายถึง ผู้!ปส่โลกหน้า
และผู้พ้นจากความสุข เพราะเมือพิจารณาดูความหมายของคำแล้ว การถึงฐานะห่าง
ไกลจากความสุขก็ดี การพ้นไปจากความสุขก็ดี ทั้ง ๒ อย่างนี้ แม้จะตั้งวิเคราะห์แตกต่าง
กัน แต่โดยใจความแล้วก็เหมือนกัน มีประเด็นที่น่าวิเคราะห์ดังนี้

๑. กรณีท่แี ปลว่า ผู้!ปส่โลกหน้า ผูว้ ิจ ัย เห็นว่าเพราะท่านผูร้ ้ภู าษาบาลีเคร่ง


ครัดกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ จึงแปลไปตามความหมายเติม หรืออาจจะได้รับอิทธิพล
ความคิดเรื่องนี้จากศาสนาพราหมณ์ที่มือยู่ก่อนหน้านั้น เพราะทางศาสนาพราหมณ์ถือ
ว่าเปรตคือคนตายผู้ล่วงสับจากโลกนี้!ป
๒. กรณีที่แปลว่า ผู้ถึงฐานะห่างไกลจากความสุข หรือผู้พ้นไปจากความสุข
ผู้วิจัยเห็นว่าเพราะท่านอาจารย์ผู้ตั้งวิเคราะห์เน้นเรื่องอธิบายคำสอนทางพุทธศาสนา
เกี่ยวกับสภาพเป็นอยู่อดอยากหิวโหยของเปรตที่เข้าใจกันดีว่าเป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่งที่
มีภพภูมิแตกต่างจากมนุษยํโดยตรง ลักษณะการแปลเพื่อให์!ดํใจความธรรมะโดยไม,
ต้องคำนึงถึงรูปศัพท์นี้ เป็นสิ่งที่นิยมกันมากในวรรณคดีบาลีรุ่นหลัง
ส ร ุป แ ล ้ว ค ำ ว ่า “ เป ร ต ” ต า ม ร ูป ศ ัพ ท ์ ท ี่แ ป ล แ ล ะ อ ธ ิบ า ย ว ่า ค น ผ ู้จ าก ไป ส ่
โล ก ห น ้า ห ร ือ ค น ผ ู้พ ้น ไป จ าก ค ว าม ส ุข น ั้น ผ ู้ว ิจ ัย ม ีค ว า ม เห ็น ว ่า น ่า จ ะ ห ม า ย อ ย ่า ง ก ว ้า ง ๆ
ว ่า “ ค น ผ ัจ า ก ไ ป ส ่โ ล ก ห น ้า ” เท ่า น ั้น เอ ง เพ ร า ะ ค ว า ม ห ม า ย ว ่า ผ ้พ ้น ไ ป จ า ก ค ว า ม ส ข ไม ใช ่

การอธิบายภาษา แด่เป็นการแปลมุ่งอธิบายข้อธรรมะเพื่อให็ได้ความหมายตรงกับเบื้อหา
ที่ด้องการ ที่เรียกว่า สัฑฑนยะเทียม (Pseudo-etymological Analysis)

วิเคราะห์ความหมายของคำว่าเปรตที่ปรากภใน พระไตรปีภก อรรถกถา


ฎีกา และวรรณกรรมพุทธศาสนาที่รจนาในประเทศไทย

ก. พระ'1ตรู่ปีกก
ถึงแม้ว่าเรื่องราวของ “เปรด” จะมีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง แด่เมื่อ
ทำการตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดแล้ว ได้พบว่า ความหมายของคำว่า “เปรต” มี ๒
ความหมาย
ความหมายที่หนึ่ง คำว่า “เปรต” หมายถึง คนตายผู้ล่วงลับจากโลกนี๋ใป
ความหมายที่สอง หมายถึง คนตายผู้ล่วงลับจากโลกนี๋ไปเกิดในคติด่าง ๆ ตามความ
เชื่อทางพุทธศาสนา แด่ส่วนใหญ่แล้วจะไปเกิดในเปรตวิสัยทั้งสิ้น
ความหมายของคำว่า “เปรต” ที่หมายถึงคนตายนั้น พบในพระไตรปิฎก
หลายแห่ง ดังจะเห็นได้จากข้อความต่อไปนี้ “อฑฺฑสา โข ภิกฺขเว วิปสฺสี กุมาโร เปตํ
กาลกตํ ทีสฺวา สารถึ อามนฺเตสิ กึ ปนายํ สมฺม สารกิ กาลกโต นามาติ” (สุยามรฎรสุส
เตปิฎกํ เล่มที่ ๑๐, ๒๕'๒๕: ๒๙) แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระวิปัสสีราชกุมารได้ทอด
พระเนตรคนตายไปแล้ว ได้ตรัสเรียกนายสารถีมารับสั่งถามว่า นายสารถีผู้สหาย นี้หรือ
เรียกว่าคนตาย” (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๑๐, ๒๕'๓๐: ๒๙)

ปณฺจหิ โข คหปติปุตฺต ราเนหิ ปุตฺเตน ปุริมา ทีสา มาดาปิดโร


ปจจปฎราตพุพา ภโต เนสํ ภริสุสามี กิจฺจํ เนสํ กริสุสามี กุลวํสํ รเปสุสามี
ทายชฺชํ ปฏิปชฺซามี อถวา ปน เปตานิ กาลกดานํ ทกฺขิณํ อนุปฺปฑสุสามีติ
(สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที่ ๑๑, ๒๕๒๕: ๒๐๓)
แปลว่า
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึงบำรุงด้วย
สถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจไว้ว่าท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับ
ทำกิจของท่าน ๑ จักดำรงวงศ์สกุล ๑ จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรันทรัพย์
มรดก ๑ ก็หรือเมื่อท่านล่วงลับละไปแล้ว จักทำบุญอุทิศให้ท่าน
(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๑๑1๒๔๓๐: ๒๐๔)
เพราะฉะนั้น สรุปความหมายในพระไตรปิฎกของคำว่า “เปรต,, มุ่งถึงความ
หมายว่า คนดาย ในทำนองเดียวลันนี้ มีปรากฎใน สฺยามรฎรสฺส เตปิฎก0 (๒๔๒๔)
แต่ละเล่มดังน ๑๒: ๕ (Si. ๑๔: ๘๗1๓๐๐. ๒๐: ๑๙๗-๑๙๘. ๒๑: ๓๓๑. ๒๒: ๔๖. ๒๔:
๑๔๒. ๒๔: ๔๔๙, ๔๙๒. ๒๖: ๑๔๐. ๒๗: ๑๖๗, ๑๘๓, ๒๒๙, ๒๔๘, ๒๙๓, ๔๓๙. ๒๘:
๒๔๓, ๓๓๙. ๒๙: ๑๔๑-๑๔๓ ผู้สนใจสามารถค้นคว้ารายละเอียดเพิ่มเดิมได้จากเล่ม
และหน้าดังกล่าว ผู้วิจัยจะไม่นำมากล่าวไว้โดยละเอียดทั้งหมด เพราะคำว่า “เปต,,
ตามหลักฐานที่สรุปไว้ข้างดันนี้ หมายถึง “คนตาย” ทั้งสิ้น
ส่วนความหมายที่สอง คำว่า “เปรต” หมายถึง คนตายผู้ล่วงลับจากโลกนี้ไป
เกิดในแดนเปรต มีปรากฎในพระไตรปิฎกหลายแห่งเซ่นกัน ดังจะเห็นได้จากหลักฐานต่อไปบี้
“มย0 ภฑนฺเต เปตมหา ฑุคฺคตา ยมโลกิกา ปาปกมุม0 กริตฺวาน เปตโลก0 อิโต คตาติ,,
(สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที่ ๒๖, ๒๔๒๔: ๒๔๔) แปลว่า “[เปรตทั้งหลายตอบว่า] ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวยทุกข์ เกิดในยมโลกเพราะทำกรรมชั่วไว้ จึงไป
จากมนุษยโลกมาล่เปตโลก” (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๒๖, ๒๔๓๐: ๒๔๒) และ
ข้อความว่า “นมหิ เทโว น คนฺธพฺโพ นาปี สกฺโก ปุรินฺทโฑ เปโต อห0 มหาราช สุรฎท
อิธมาคโต,, (สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที่ ๒๖, ๒๔๒๔: ๒๔๓) แปลว่า “[นันทิกา
เปรดกราบทูลว่า] ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองคํไมใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไมใช่ท้าว
สักกปุรินททะ ข้าพระองค์เป็นเปรต จากประเทศสุรัฎฐ์มาอยู่ที่นี้,, (พระไตรปิฎกภาษาไทย
เล่มท ๒๖, ๒๕๓๐: ๒๓๒)
ความหมายของคำว่า “เปรต” ในทำนองเดียวกันนี้มีปรากฎใน สุยามรฎรสุส
เดปฎกํ (๒๔๒๔) แต่ละเล่มดังต่อไปนี ๑: ๑๐๘, ๑๔๓, ๒๑๗. ๓: ๖, ๒๐, ๔๐, ๑๑๒, ๑๑๔-
๑๑๔, ๑๑๗, ๑๙๔ ๘: ๙๘. ๒๔: ๑๐. ๒๖: ๑๔๗-๑๔๘, ๑๖๐, ๑๖๙, ๑๘๔, ๑๘๗, ๑๘๙,
๑๙๙, ๒๐๔, ๒๐๗, ๒๔๒, ๒๔๔-๒๔๔, ๔๖๐, ๔๐๒. ๓๔: ๔๔๔. ๓๗: ๔๒, ๓๗๗-๓๗๘,
๓๘๙.

นอกจากความหมายของคำว่า “เปรต,, ที่พบในพระไตรปิฎกดังที่ยกมาแสดง


นี้แล้ว ผูวิจัยจะขอกล่าวถึงความหมายที่ปรากฎในวรรณคดีบาลีอื่น ๆ ต่อไป
ข. อรรถกถา

จากการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการอธิบายคำ “เปรต” ในอรรถกถาทั้งหมด


ได้พบหลักฐานที่น่าสนใจดังนี้
มีคำอธิบายว่า “เปรต” หมายถึงคนดายจากโลกนี้ มตินี๋ใม่ระบุว่า “เปรต”
ตายแล้วจะไปบังเกิดในที่ไหนโดยเห็นว่า “เปรต”มีความหมายเท่ากับคนตาย ด้งข้อความว่า
“เปตาบีติ มตานิ โภตีติ ต0 อาลปติ. ปุตฺตานีติ ลิงฺควิปลฺลาเสน วุดฺตํ1 เปเต ปุตฺเดติ
อตฺโถ. [บทว่า เปตานิ แปลว่า ตายแล้ว บิดาเรียกนางด้วยคำว่า แน่ะนางผู้เจริญ คำว่า
ปุตฺตานี บิดานั้นกล่าวด้วยการเปลี่ยนเพศ อธิบายว่า บุตรทั้งหลาย ผู้ล่วงลับไปแล้ว]”
(พระธัมมปาละ, ๒๕'๓๓ค) “เปตาติ เปจฺจภาวํ คตา. [เหล่าสัตว์ผู้!ปเกิดในโลกหน้า ซื่อว่า
เปดะ]” (พระพุทธโฆสาจารยั, ๒๕'๓๒ข) “เปตนฺติ อิโต ปฎิคดํ [บทว่า เปคํ แปลว่า
ผู้ล่วงลับไปจากโลกนี้]” (พระพุทธโฆสาจารย์, ๒๕'๓๒ง) “เปตาติ กาลกตา วุจฺจนฺติ
[คนที่เสียชีวิตพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า เปตะ]” (พระพุทธโฆสาจารยั, ๒๕'๓๓ง)
หลักฐานด้งกล่าวปรากฏในหลักฐานชั้นอรรถกถาต่าง ๆ ด้งนี้คือ ขุทฺทกนิกาย
ชาตกฎ?กถา จตุตฺถภาค ดิก-ปณจกนิปาด'วณฺณนา ๒๕'๓๕': ๔๓๖. ขุทฺฑกนิกาย
ชาตกฎ?กถา สตฺตมภาค วิสติ-จตุตาลีสนิปาดวณุณนา ๒๔๓๕: ๗๔, ๑๔๙. ขุทฺทกนิกาย
ชาตกฎ?กถา นวมภาค มหานิปาตวณฺณนา ๒๔๓๔: ๑๔๗. สทฺธมุมปฺปชฺโชติกา ขุทฺฑก-
นกายฎ?กถา มหานิฑฺเฑสวณฺณนา ๒๕๓๔: ๒๔๐.
นอกจากนี้แล้ว ยังได้พบคำอธิบาย “เปรต”ไว้ว่าหมายถึง ผู้เสียชีวิตแล้วไปเกิด
ในแดนที่เรียกว่า “เปรตวิสัย” หรือโลกของเปรต ด้งจะเห็นได้จากข้อความว่า “เปตุติวิสเย
อุปปนฺนาปี กาล0 กตุวา ตสฺมึเยว อตุตภาเว นิพฺพตุตาปี จาตุมหาราชิกาทโย เทวาปี
สพฺเพ เปตาเตุวว สงขยํ คตา [เหล่าสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัยก็ดี ผู้ทำกาละแล้วบังเกิด
ในเปรตวิสัยนั้นเองก็ดี เทพทั้งหลาย มีเทพชั้นจาตุมหาราชเป็นด้นก็ดี เรียกว่า “เปรต”
ทั้งนั้น]” (พระ'พุทธ'โฆสา'จารย์, ๒๔๓๔) “อถวา ปิตุติวิสเย นิพฺพตุดา เปตา นาม
[อีกนัยหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายผู้บังเกิดในแดนเปรต ชื่อว่าเปตะ]” (พระพุทธโฆสาจารย์,๒๔๓๓ง)
“ตตุถ ต0 เปตา ปริภุณฺชนฺตีติ ทายเกน เปเต อุฑฺทิสฺส ฑาเน ทินฺเน ยถาวุตุตเขตุตกสิพีช­
ลมุปตุติยา อนุโมทนาย จ ย0 เปตาน0 อุปกปฺปติ ต0 ทานผล0 เปตา ปริภุณฺชนฺติ
[บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ตํ เปตา ปริภุณฺชนฺติ ความว่า เมื่อทายก
ถวายทานอุทิศให้เปรตแล้ว เปรตทั้งหลายย่อมได้บริโภคผลทานซึ่งสำเร็จแก,เหล่าเปรต
เพราะเพีย บพร้อ มไปด้ว ยนาการไถหว่า นและพืช ตามที่ก ล่า วไว้แ ล้ว รวมทั้ง การอนุโ มทนา]”
(พระธรรมปาละ, ๒๕ฅ ฅ 1ข)
จากหลัก ฐานข้า งด้น สรุป ได้ว ่า ความห มายของคำว่า “ เปรต” ในชั้น อรรถกถา
เริ่ม มีก ารจำกัด ความไว้ว ่า หมายถึง ผู้ท ี่ต ายไปเกิด ในแดนเปรตวิส ัย หรือ ที่เ รีย กกัน ว่า ถิ่น
ที่อ ยู่ข องเปรต หลัก ฐานด้ง กล่า วยัง มีป รากฎในอรรถกถาแต่ล ะเล่ม ดัง นี้ มโนรถปูร ณี
องฺค ุต ฺต รนิก ายฎรกถา ปณ ฺจ กาฑ ิน ิป าดวณ ฺณ นา ดดิโย ภาโค ๒๕๓๓: ๓๕๘. ปรมตฺถ ทีป นี
ขุท ฺท กนิก ายฎรกถา อุท านวณฺณ นา ๒๕๓รา: ๑๔๕. ปรมตฺถ ฑีป นี ขุท ฺท กนิก ายฎรกถา
อิต ิว ุต ฺต กวณ ฺณ นา ๒๕๓๓: ๑๔๕. ปรมตฺถ โชติก า ขุฑ ฺท กนิก ายฎรกถา ขุท ฺท กปารวณ ณ นา
๒๕๓๒: ๑๘ ๙. ธมฺม ปฑฎรกถา (ปรโม ภาโค) ๒๕๓๓: ๙ ๓ -๙ ๕ . ธมฺม ปทฎรกถา (ดติ'โย
ภาโค) ๒๕๓๒: ๑๕ ๔ -๑๕ ๙. ธมฺม ปฑฎรกถา (ปณฺจ โม ภาโค) ๒๕๓๑: ๕๕. ธมฺม ปฑฎรกถา
(สตฺต โม ภาโค) ๒๕๒๗: ๖ ๕ -๖ ๖ , ๑๒๓-๑๒๔. ธม.มปฑฎรกถา (อฎรโม ภาโค) ๒๕๓๓:
๖๕. ปรมตฺถ ฑีป นี ขุฑ ฺฑ กนิก ายฎรกถา เปตวตฺถ ุว ณ ฺณ นา ๒๕๓๓: ๙ , ๑ ๙ , ๓๑, ๘๕, ๑๓๐,
๒๘๗, ๒๙๒. ขุฑ ฺท กนิก าย ชาดกฎรกถา ส ตฺต มภ าควีส ติ- จตุต าลีส น ิป าตวณ ฺณ น า ๒๕๓๕:
๑๓๙.
จาก ค ำอ ธ ิบ ายข อ งพ ระอ รรถ ก ถ าจารย‘ใน อรรถกถาท ี' กล่า วมาแส ดงให ้เ ห ็น
ความหมายของคำ “ เปรด” ว่า มีค วามห มาย ๒ อย่า ง อย่า งแรก ห มายถึง คนตาย
อย่า งหลัง หมายถึง คนตายผูไ ปเกิด ในเปรตวิส ัย ซึ่ง ความหมายทั้ง ๒ อ ย่า งน ี้ ไม่แ ตกต่า ง
ไปจากความหมายที่ป รากฎในพระไตรปิฎ ก แต่เป็น ที่น ่า ลัง เกดว่า ความหมายของคำ “ เปรด”
เฉพาะประเด็น ที่ห มายถึง ผู้ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย นี้ นำมาอธิบ ายไว้อ ย่า งละเอีย ดมากใน
อรรถกถาเปตวัต ถุ แสดงให้เห็น ว่า ความคิด และความเชื่อ เรื่อ งเปรตว่า มีอ ยู่จ ริง หลัง
จากตายไปแล้ว เป็น เรื่อ งที่เพื่อ งฟูม ากในวรรณคดีย ุค อรรถกถา ในขณะที่ค วามหมายที่แ ปลว่า
“ คน ตาย” มีอ ธิบ ายน ้อ ยมาก แต่ถ ึง กระนั้น เพื่อ ที่จ ะเข้า ใจความหมายของคำ “ เปรต”
ให้ช ัด เจนยิ่ง ขึ้น จึง ควรคิก ษาคำอธิบ ายเกี่ย วกับ เรื่อ งนี้จ ากหลัก ฐานชั้น ฎีก าต่อ ไป เพื่อ
จะนำไปส่บ ทสรุป ว่า ความห มายของคำว่า “ เปรต” ในแต่ล ะยุค นั้น ใซ!นความหมาย
อย่า งไรบ้า ง

ค. ภีก า

ฎีก าคือ หนัง สือ อธิบ ายพระไตรปิฎ กหรือ อรรถกถาให้เ ข้า ใจชัด เจนยิ่ง ขึ้น เพราะ
หลัก ฐานชั้น อรรถกถาเองยัง มีค ำห ลายคำที่อ ธิบ าย “พระไดรปีฎ ก” ไม่ช ัด เจน หรือ ยากที่
จะเข้า ,ไจ จึง เกิด มีว รรณ คดีบ าลีท ี่เ รีย กว่า “ฎ ีก า” เพ ื่อ อธิบ ายความ “พระไตรปิฎ ก” และ
“ อรรถกถา” ยุค ของฎีก าประมาณ กัน ว่า เริ่ม ด้น ราวพุท ธศตวรรษที่ ๑๗
ใน ยุค ฎ ีก าน ี้ ความหมายของคำว่า “ เปรด” ที่ห มายถึง คนดาย มีก ารดี
ความวิพ ากษ์ว ิจ ารณ ์น ้อ ยมาก จากการคืก ษาข้อ มูล ในวรรณคดีบ าลีช ั้น ฎีก าทั้ง หมดได้พ บ
หลัก ฐานเพีย ง ๒ แห่ง เท่า นั้น ดัง ข้อ ความว่า “ เปตาติ วิค ตชีว ิต า มดา [บทว่า เปตา แปลว่า
ผู้!รัช ีว ิต คือ ผู้ต าย]” (สํย ุต ฺต ฎีก า ปรมภาค ๒๕๓๖: ๑๖๘) และข้อ ความว่า “ เปตาดี
เปจฺจ ภาว0 คตา. เต ปน ยสฺม า อิธ กดกาลกิร ิย า กาเลน กตชีว ิต ุจ ฺเฉทา โหนฺต ิ ดสุม า
วุตฺต’ กาลกดา วุจ ฺจ นฺด ีต ิ มตาติ อดโถ [เหล่า สัต ว์ผ ู้! ปเกิด ในโลกหน้า ชื่อ ว่า เปรต อนึ่ง
เพ ราะเห ตุท ี่พ วกเขาเป็น ผู้ถ ึง แก,กรรมแล้ว คือ เลีย ชีว ิต ตามระยะเวลา เพราะฉะนั้น พระ
อรรถกถาจารย์จ ึง กล่า วคำว่า กาลกตา วุจ ฺจ นติ แปลว่า ตายแล้ว .]” (องฺค ุต ฺด รฎีก า
ท ุต ิย ภ าค ๒๕๓๖: ๔ ๙๑) จากข้อ ความที่อ ้า งมานี้ จะเห็น ได้ว ่า ความหมายของคำว่า
“ เปต” ที่แ ปลว่า คนตาย น ำมาตีค วามเพ ีย ง ๒ ครั้ง เท่า นั้น
ส่ว นความหมายของคำว่า “ เปรต” ที่ห มายถึง ผู้ต ายไปเกิด ในแดนเปรต มี
หลัก ฐานแสดงให้เ ห็น ว่า ใน ยุค ฎ ีก าน ี้ ความคิด และความเชื่อ ว่า เป รตคือ ชีว ิต ให ม่ห ลัง
ความตายผู้อ ยูใ นแดนที่เ รีย กว่า “ เปรตวิส ัย ” อัน เป็น แดน พ ิเ ศษแตกต่า งจากมน ุษ ย์ ได้
รับ การยอมรับ กัน โดยกว้า งขวาง ดัง จะเห็น ได้จ ากคำอธิบ ายในชั้น ฎีก าที่อ ธิบ ายว่า “ เปรต”
หมายถึง ผู้ท ี่ถ ือ กำเนิด เกิด เป็น เปรต ด้ง ข้อ ความว่า “ เปจุจ ภวํ คตาติ เปตูป ปตฺด ีว เสน
นิพ ฺพ ตฺต ึ อุป คตา [สองบทว่า เปจฺจ ภวํ คตา แปลว่า ผู้เ ข้า ถึง ความบัง เกิด คือ เกิด เป็น
เปรต]” (องฺค ุด ฺด รฎีก า ตติย ภาค, ๒๕๓๖: ๕๒๕) จะเห็น ว่า ท่า นได้อ ธิบ ายว่า การเกิด
ในโลกหน้า นั้น หมายความว่า ตายไปเกิด เป็น เปรต นอกจากนี้แ ล้ว ยัง พบการอธิบ ายคำ
“ เปรต” ไว้ว ่า หมายถึง เปรตผู้ม ีฤ ฑธี๋ม าก แสดงให้เห็น ว่า คำว่า “ เปรต” เริ่ม เป็น ที่เข้า ใจ
กัน ว่า ห มายถึง อมน ุษ ย์จ ำพ วกห น ึ่ง ท ี่ม ีภ พ ภูม ิแ ตกต่า งจากมน ุษ ย์ ดัง ข้อ ความว่า “ เปตาติ
เปตมหิท ฺธ ิก า [เปรตผู้ม ีฤ ทธึ๋ม ากทั้ง หลาย ชื่อ ว่า เปตะ]” (ปาถิก วคฺค ฎีก า, ๒๕๓๖: ๓๖๒)
จากท ี่ก ล่า วมาท ั้ง ห มดน ี้ แสดงให้เห็น ชัด เจนว่า ความห มายของคำว่า “ เปรต”
เท่า ที่ป รากฏในพระไตรปิฎ ก ในระยะแรกมีค วามหมาย ๒ ความห มาย คือ เปรต หมายถึง
คนดาย และ หมายถึง คนตายผู้! ปเกิด ในเปรตวิส ัย ต่อ มาในยุค อรรถกถาราวพุท ธศตวรรษที่
๑๐ ความหมายของคำว่า เปรตก็ย ัง คงมี ๒ ความหมายเซ่น กัน และในยุค สุด ท้า ยคือ ยุค
ฎีก าราวพุท ธศตวรรษที, ๑๗ ความหมายของคำว่า “ เปรต” ก็ม ีป รากฏเพีย ง ๒ ความ
๑๐

หมายเช่น กัน ดังนั้น,1นซบต้น นี้ จากหลัก ฐานที่ป รากฎในพระไตรปิฎ ก อรรถกถา และฎีก า


แสดงให้เ ห็น ว่า มีก ารอธิบ ายความหมายของคำว่า “ เปรต” ไว้ ๒ นัย นัย แรก หมายถึง
คนตายผู้ล ่ว งลับ จากโลกนี๋ไ ป นัย หลัง หมายถึง คนตายผู้ล ่ว งลัน จากโลกนี๋ไ ปเกิด ในเปรต
วิสัย
สรุป การวิเ คราะห์แ ยกเป็น ๒ ประเด็น ประเด็น ที่น ่า สนใจควรวิเ คราะห์ค ือ
ประเด็น ที่ว ่า “ เปรต” คือ ผู้ท ี่ล ่'วงลับ 'จาก'โลกนี๋ไ ปเกิด ,1นเปรตวิส ัย ผู้ว ิจ ัย เห็น 'ว่า ความ
ห มายของคำว่า “ เปรต” คือ ผู้ล ่ว งลับ ไปเกิด ในเปรตวิส ัย นี้ มิใ ช่ค วามหมายดั้ง เดิม ใน
พระไตรปิฎ ก แต่เ ป็น สิ่ง ที่พ ระธรรมลัง คาหกาจารย์ ผู้ส ัง คายนาพระธรรมวิน ัย ตรวจชำระ
พระไตรปิฎ กรวบรวมจัด ขึ้น ภายหลัง ฑ ั้ง น ี้ผ ู้ว ิจ ัย ถือ เอาต าม แห ล ่ง ข ้อ ม ูล ท ี่ป ราก ฎ ค วาม
หมายของคำว่า “ เปรต” ๔ แหล่ง คือ วิน ีต วัต ถุใ นมหาวิภ ัง ค์ ลัก ขณ ลัง ยุต ค์ เปตวัต ถุ
และชาดก ห ากเราถือ ว่า คาถาชาดกคือ พ ระพ ุท ธพ จน ์ หรือ พระดำรัส ที่พ ระพุท ธเจ้า
ตรัส เองแล้ว เราจะพบว่า พระพุท ธเจ้า ตรัส ถึง คำ “ เปรต” ไว้ห ลายครั้ง และหาก
พิจ ารณ าความหมายของคำ “ เปรต” ที่พ ระองค์ต รัส ไว้น ั้น จะพบว่า หมายถึง “ คน ต าย”
เท่า นั้น ไม่ม ีเ น ี้อ ความท ี่บ ่ง ขึ้เ ลยว่า “ เปรต” ในชาดกจะหมายถึง ผู้ท ี่เ กิด ในเปรตวิส ัย
ดัง ข้อ ความว่า . .โรทิเตน หเว พรเหฺม มโด เปโด สมุฎ รเห สพฺเพ สงฺค มุม โรทาม
อณุณ มณฺณ สฺส ณ าตเก. . .” (สุย ามรฎรสุส เตปิฎ ก0 เล่ม ที่ ๒๗, ๒๕๒ ๕: ๑๘๓) แปลว่า
“ . . .ดูก ่อ นผู้ป ระเสริฐ ผู้ท ี่ต ายไปแล้ว ละไปแล้ว หากจะพึง กลับ เป็น ขึ้น ได้เพราะการร้อ งไห้
เราก็จ ะประชุม กัน ทั้ง หมดร้อ งไห้ถ ึง พวกญาติข องกัน และกัน . . .” (พระไตรปิฎ กภาษาไทย
เล่ม ที่ ๒๗, ๒๕'๓๐: ๒๒๕') นอกจากนี้แ ล้ว เวลาจะเปรีย บเทีย บเรื่อ งหนึ่ง กับ อีก เรื่อ งหนึ่ง
สำนวน “ เห มือ นคนตาย” จะพบในชาดกเสมอ ๆ เช่น “ . . .ยถา เปโต ตเถวห0”
(สุย ามรฎรสุส เตปิฎ ก0 เล่ม ที่ ๒๗, ๒๕๒๕': ๒๔๘) ข้อ ความนี้ แปลเป็น ไทยอย่า งชัด เจนคือ
เราก็เ หมือ นคนตาย อนึ่ง มีพ ระดำรัส เปรีย บเทีย บถึง วิถ ีท างโคจรพระอาทิต ย์พ ระจัน ทร์
ว่า ปรากฎให้เ ห็น ชัด เจน แด,คนที'ล่ว งลับ ไปแล้ว จะไม่ป รากฎให้เห็น เช่น นี้เลย ข้อ ความ
ต ร งน ี้จ ะ เห ็น ว ่า ห ม าย ถ ึง “ ค น ต าย ” แน่น อน ดัง ที,ป ร าก ฎ ใน ม ัฎ ฐ ก ุณ ฑ ล ีช าด ก ว ่า
“ คมนาคมนมฺป ิ ทีส ุส ติ วณ ุณ ธาตุ อุภ เยตฺถ วีถ ิโ ย เปโด ปน เนว ทีส ุส ติ. . .”
(สุย ามรฎรสุส เตปิฎ ก0 เล่ม ที, ๒๗, ๒๕๒๕: ๒๙๓)
แ ต ่เ ป ็น ท ี่น ่า ส ัง เก ต ว ่า ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง ค ำ ว ่า “ เป ร ต ” ท ี่ป ร าก ฎ ใน ว ิน ีต ว ัต ถ ุ
ใน ม ห า ว ิภ ัง ค ์ ล ัก ข ณ ล ัง ย ุต ค ์ แ ล ะ เป ต ว ัต ถ ุ ก ล ับ เป ็น เร ื่อ ง ข อ ง เป ร ต ท ี่ต าย แ ล ้ว ไ ป เก ิด ใบ
แ ด น เป ร ต อ ย ่า ง เด ่น ช ัด ถ ึง ก ร ะ น ั้น เป รต ท ี,ป ร า ก ฏ ใน ว ิน ีต ว ัต ถ ุใ น ม ห า ว ิภ ัง ค ์ ล ัก ข ณ ล ัง ย ุต ค ์
G)G)

หรือ เปตวัต ถุ อาจมิใ ซ่ เปรตที่ไ ปเกิด ในเปรตวิส ัย ทั้ง หมด ข้อ นี้เราอาจสัน นิษ ฐานได้ว ่า
เป็น การกล่า วถึง เรื่อ งของเปรตที่พ บเห็น โดยมาก ด้ง จะเห็น ได้จ ากเปรตบางประเภทที่ไ ม่
ใช่เ ปรตในเปรตวิส ัย เสมอไป ทั้ง ที,ปรากฎใน วิน ิต วัต ถุใ น มห าวิภ ัง ค์ และเปตวัต ถุ เช่น
เรื่อ งพระเห็น คนตายจึง พิจ ารณ าหยิบ เอาผ้า บนเรือ นร่า งคนดายเป็น ผ้า บัง สุก ุล แต่ร ่า งนั้น
ยัง ม ีเ ป รตส ิง อยู่ด ้ว ยความ เส ีย ดายผ้า มัน จึง ขอร้อ งพระไมไห้เอาผ้า ไป แต่พ ระเห็น ว่า ร่า ง
นั้น เป็น ซากศพคนตายแล้ว จึง ไม่ค ืน ให้ ร่า งเปรตนั้น จึง ลุก ขึ้น วิ่ง ไล่พ ระตามไปจนถึง วิห าร
เรื่อ งนี้ป รากฎในวิน ิต วัต ถุใ นมหาวิภ ัง ค์ จะเห็น ว่า เปรตตนนี้น ่า จะเป็น “ ผ ี” มากกว่า เป็น
คนตายธรรมดา หรือ เปรตในเปรตวิส ัย หรือ อย่า งเช่น เวม'านิก เปรต เปรตที่เ ป็น เทวดา
และเปรตในร่า งเดีย วกัน ซึ่ง ก็ม ีป รากฎในเปดวัต ถุ นี่ก ็ม ิใ ช่เปรตในเปรตวิส ัย เลยทีเ ดีย ว
ตัง นั้น ผูว ิจ ัย จึง เห็น ว่า ความหมายของคำว่า เปรตในระยะแรกที่ป รากฏใบพระ
ไตรปิฎ กนั้น หมายถึง คนตายผู้ล ่ว งสับ จากโลกไปแล้ว ต่อ ม าความห มายจึง เป ลี่ย น เป ็น
คนตายผู้! ปเกิด ในคติต ่า ง ๆ ซึ่ง อาจจะเป็น มนุษ ย์ เทวดา ดิร ัจ ฉาน เปรต หรือ นรก แต่
เรื่อ งของเปรตที่ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย นั้น มีม ากกว่า ไปเกิด ในกำเนิด อื่น ๆ พระธรรมลัง
คาห กาจารย์ท ่า น จึง จัด เรื่อ งของเป รตขึ้น เป ็น ตอน สำคัญ ตอน ห น ึ่ง เรีย กว่า เปตวัต ถุ ซึ่ง
แสดงให้เห็น เรื่อ งของเปรตทั้ง หมด
สำหรับ ความหมายว่า เปรตหมายถึง ผู้ด ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย นี้ ผู้ว ิจ ัย เห็น 'ว่า
คงเป็น การมุ่ง แสดงให้เห็น ความ สำค ัญ ของพระสง ฆ8ในการเป็น เนี้อ นา บ ุญ ที่คนทำบ ุญ ทำทาน
แล้ว สามารถนำผลนั้น ไปให้แ ก'เปรตได้ ในตอนนี้ผ ูว ิจ ัย เห็น ว่า ความหมายดั้ง เติม แท้จ ริง
ของเปรตนั้น ควรมีเ พีย งประการเดีย วคือ คนผู้ล ่ว งสัน ไปแล้ว ส่ว นความหมายว่า คนล่ว ง
สับ ไปเกิด ในเปรตวิส ัย เป็น ความห มายที่พ ระธรรมลัง คาห กาจารย์แ ละพ ระอรรถกถาจารย์
น ำม าอ ธ ิบ าย ข ย าย ค ว าม เพ ื่อ ผ ล ท างธ ร ร ม ะ แล ะเพ ื่อ ส ะท ้อ น ให ้เ ห ็น ถึง ก ฎเก ณ ฑ ์ท าง
คืล ธรรมในการสั่ง สอนประชาชนให้เ ห็น ถึง ผลดีผ ลชั่ว ของกรรมโดยยกตัว อย่า งของผู้ท ำ
กรรมชั่ว ต่า ง ๆ แล้ว จะต้อ งตายไป เกิด เป ็น เป รตจน ท ำให ้เ กิด ภาพ พ จน ์ว ่า เปรต คือ
อมนุษ ย์ห รือ ผีจ ำพวกหนึ่ง ที่น ่า เกลีย ดน่า กลัว น่า ขยะแขยงมีค วามเป็น อยู่อ ด ๆ อยาก ๆ
หิว โหยเร่ร ่อ นไม,มีท ี่อ ยู่แ น่น อน นอกจากนี้ผ ูว ิจ ัย ยัง เห ็น ว่า การท ี่ค วามห มายของคำว่า
เปรดหมายถึง ผีน ั้น น่า จะเกิด จากอิท ธิพ ลของเรื่อ งเปรตในวิน ิต วัต ถุใ นมหาวิภ ัง ค์ส ัก ขณสัง ยุต ต์
และเปตวัต ถุใ นพระไตรปิฎ กที่ส ่ง ผลถึง วรรณคดีบ าลีร ุ่น หลัง ทั้ง อรรถกถา และฎีก า จึงทำ
ให้ค วามหมายของคำว่า เปรดที่ห มายถึง ผีเ ป็น ที่เ ข้า ใจกัน โดยกว้า งขวาง และรับ รู้ก ัน ทั้ว
ไปมากกว่า จะเข้า ใจว่า “ เปรต” ห มายถึง คน ดายเท ่า น ั้น แต่ถ ึง กระนั้น ขอให้ท ราบว่า
ความหมายของคำว่า “ เปรต” ที่ป รากฏในพระไตรปิฎ กนั้น อาจแบ่ง ออกเป็น ได้๒ ความหมาย
คือ ห มายถึง คนดาย และ หมายถึง คนตายผู้เ,ปเกิด ในเปรตวิส ัย
ข้อ ท ี่บ ่า วิเ คราะห ์อ ีก ป ระการห น ึ่ง คือ ค วาม ห ม ายข อ งค ำว่า “ เปรต” ที่
ปรากฏในวิน ีต วัต ถุใ นมหาวิภ ัง ค์ สัก ขณสัง ยุด ด์ และเปตวัต ถุน ั้น มีอ ิท ธิพ ลต่อ วรรณ คดี
บาลีใ นรุ่น หลัง มาก ทั้ง ในยุค อรรถกถา ฎีก า หรือ แม้ก ระทั้ง วรรณคดีร ่ว มสมัย อรรถกถา
เช่น มิล ิน ทปัญ หา ก็ย ัง มีก ารอธิบ ายความหมายของคำ “ เปรต” ในทำนองเดีย วกับ เปต
วัต ถุ แสดงให้เห็น ว่า ความหมายของ “ เปรต” ที่ห มายถึง ผู้ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย นั้น
เป็น สิง ที่ไ ด้ร ับ การยอมรับ ในสมัย พุท ธกาลแล้ว ประเด็น ปัญ หาที่เ กิด แนวคิด และความ
เชื่อ ว่า เปรตคือ คนตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย นั้น ผูว ิจ ัย จะคืก ษาวิเคราะห์I นบฑที่ ๓

ง. วรรณกรรมพุท ธศาสนาที่ร จนาในประเทศไทย

ความห มายของคำว่า “ เปรต” ในวรรณกรรมพุท ธศาสนาที่ร จนาในประเทศ


ไทยนั้น จากการตรวจสอบหลัก ฐานต่า ง ๆ ดูโ ดยละเอีย ดแล้ว ได้พ บว่า หมายถึง ผู้ท ี่ล ่ว ง
สับ ไปเกิด ในเปรตวิส ัย ทั้ง สิน ด้ง จะเห็น ได้จ ากข้อ ความในคัม ภีร ์โ ลภัป ปทีป กสารซึ่ง ถือ
ว่า เป็น วรรณกรรมบาลีร ุ่น แรกของไทย (ปริท รรศน์ ศรีร ัต นาลัย , ๒ ๕ ๒๓) มีก ารอธิบ ายถึง
“ เปรต” ไว้น ่าสนใจยิ่ง ข้อ ความนั้น มีว ่า

. . .อสํว ิภ าคสิล า เย ยถาสติ ยถาพล0


อิส ฺส าลุก า มจฺฉริโน เต เปเตสุ ปชายเร ๒
อเนกานิ หิ ทุก.ขานิ อนุภ ุต ฺว าปิ สณฺซ ิต า
โลภาฑิค ฺค หิต า อนุเต ยทิ เปตภาวาวห า ๓
อตฺถ า อดฺถ าติ เต โลโก กิม ตฺถ มภิช ปฺป ติ
อาทิม ชฺฌ นุต ภาเวสุ เย อนตฺถ าวหา อิเม ๔
สกมุม วาริต า ป าน า- อาหารตฺถ มตนฺท ิต า
อิโต ตโต จ ปยโต อิต ิ เปตาติ สมุม ตา ๕
(พระเมธัง กร อ้างถึงใน ปริท ัศ น์ ศรีร ัด นาลัย , ๒๕'๒๓)
แปลว่า

. . .ผู้ท ี่โ ดยปกติไ ม่ช อบให้ท านตามสติต ามกำลัง มีใ จริษ ยา ตระหนี่ ย่อ ม
บัง เกิด เป็น เปรต (๒) เพราะถูก ความโลภครอบงำจิต เสวยความทุก ข์เป็น อัน
มาก จึง เป็น ผู้พ ่า ยแพ้เ กิด เป็น เปรตในที่ส ุด («ท) คนทั้ง หลายที่ค ำนึง ถึง
ท รัพ ย์ท ั้ง ห ล าย ย่อ มไปล่ค วามไร้ท รัพ ย์ใ นทุก สภาพ ทั้ง ในตอนต้น ตอน
กลางและตอนปลาย ทำไมเขาแสวงหาแด่ท รัพ ย์ (๔) ผู้ถ ูก การกระทำของ
ตนขวางทั้น เพ ีย รพ ยายามอยู่เ พ ื่อ น ํ้า และอาห าร รอนแรมไปดามที่ด ่า ง ๆ
เขาเรีย กว่า เปรต (๔)
(ปริท ัศ น์ ศรีร ัต นาลัย , ผู้แ ปล, ๒๔๒๓)

จ าก ข ้อ ค ว าม ท ี่ย ก ม าแ ส ด งให ้ด ูเ ป ็น ต ัว อ ย่า งข ้า งต ้น น ี้ เราจะเห ็น ว่า ท ่า น


อธิบ ายคำว่า “ เปรด” โดยกล่า วรวม ๆ ไว้ว ่า หมายถึง คนที่ไ ม,ทำบุญ ให้ท าน อิจ ฉาริษ ยา
ตระหนี่เ พราะโลภมากอยากได่ไ ม,สิ้น สุด ดัง น ั้น เมื่อ ตายลงจึง ไปเกิด เป็น เปรต เพราะ
ฉะนั้น ความหมายของคำ “ เปรต” ในวรรณกรรมบาลีย ุค แรกของไทยจึง ได้แ ก่ อมนุษ ย์จ ำ
พวกหนึ่ง ที่ม ีโ ลกอยู่แ ตกด่า งจากมนุษ ย์ นอกจากนี้แ ล้ว ในวรรณกรรมบาลีส มัย ลานนา
ท ่า น ก็อ ธิบ ายเกี่ย วกับ เป รตไว้ว ่า ห ม ายถึง ผู้ต ายไป เกิด ใน เป รตวิส ัย เช ่น กัน ดัง จะเห็น ไต้
จากข้อ ความในจัก กวาฬฑีป นีว ่า “ เปตาปี เขตฺต วดฺถ ูป มเปตอฎริส งฺข ลิก เปตาทิว เสน อเนกา
โหบฺต ิ. เด สพฺเพปี เปตวตฺถ ุล กฺข ณสํย ุต ฺด วิน ีด วตฺถ ูส ุ อาคตาว. [แม้เปรตทั้ง หลายก็ม ีไ ม,
น้อ ย คือ เขตตวัต ถูป มเปรต และอัฎ ฐิล ัง ขลิก เปรตเป็น ต้น . เปรตเหล่า นั้น แม้ท ั้ง หมด มาแล้ว
ใน เปตวัต ถุล ัก ขณ ลัง ยุด ต์แ ละวิน ีต วัต ถุแ ล.]” (พระสิร ิม ้ง คลาจารย์, ๒๔๒๓) หรือใน
ม้ง คลัด ถทิป บีซ ึ่ง แต่ง โดยท่า นพระสิร ิม ้ง คลาจารย์เ ช่น กัน ก็ม ีก ารอธิบ ายเรื่อ งราวของเปรต
ไว้ล ะเอ ีย ด โด ยยก เรื่อ งราวข อ งเป รต ใน อ รรถ ก ถ าเป ต วัต ถ ุม าพ รรณ น าช ี้ใ ห ้เ ห ็น ว่า เป รต
หมายถึง ผู้ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย ผู้ส นใจพึง ค้น คว้า ข้อ มูล เพิ่ม เดิม ได้จ ากหนัง สือ มงฺค ลตฺถ ทิป บี
(ปร่โม ภาโค) ๒๔๒๘: ๓๑๒-๓๔๑
การที่ผ ู้แ ต่ง “โลกัป ปทิป กสาร” อธิบ ายความหมายคำ “ เปรต” ไว้ว ่า หมายถึง
คนผู้ต ายไปเกิด ในแดนเปรตนี้ แสดงว่า ได้ม ีก ารยอมรับ แนวคิด ความเชื่อ จากอรรถกถาแล้ว
วรรณ กรรมพุท ธศาสนาของไทยอื่น ๆ ที่อ ธิบ ายเรื่อ งราวของเป รตล้ว น บ รรยายรูป ร่า ง
ลัก ษณะของเปรตให้เห็น เด่น ซัด ว่า เปรต หมายถึง คนตายแล้ว ไปเกิด ในเปรตวิส ัย เช่น กัน
มีห ลัก ฐานด่า ง ๆ ปรากฎดัง ต่อ ไปนี้
ในไตรภูม ิพ ระร่ว ง พระญาสิ,ไทย (๒๔๐๖) ทรงพระราชนิพ นธ์ไ ว้ว ่า
. . .ยัง มีเ ปรตจำพวก ๑ เล่า แลมีเปลวไฟพุ่ง ออกแด,อกแลลิ้น แต่ป ากแห่ง
เขาแล้ว ๆ เปลวไฟนั้น ลามไหม้ท ั้ง ตัว เขาทุก แห่ง แล เปรตจำพวกนี้เ มื่อ ชาติ
ก่อ นโพ้น ไล้ เขาได้ด ่า แลสบประมาทพระสงฆ์เจ้า อัน หนึ่ง เขากล่า วคำมุส าวาท
แก,พระสงฆ์ผ ู้เ ฒ่า ผู้แ ก่ ผู้ม ีค ืล ด้ว ยคำอำพ รางท่า นก็ด ี ครั้น ตายไปเป็น เปรต
อยู่ด ้ว ยบาปกรรมเขา อัน เขาได้ด ่า ทอไล้ แลกล่า วประมาทแลกล่า วใส่ค วาม
แก,ท่า น แลพรางท่า นผู้ม ีค ืล ด้ง นั้น . . .

จาก ต ัว อ ย่า งน ี้ จะเห็น ว่า ท่า นอธิบ ายลัก ษณ ะของเปรตในความหมายที่ว ่า ผู้


ล่ว งลับ ไปเกิด ในเปรตวิส ัย เฉพาะในไตรภูม ิพ ระร่ว งนี้ เป็น ที่น ่า สัง เกตว่า ท่า นไม่อ ธิบ าย
ความหมายของคำ “ เปรด” ที่ห มายถึง ผู้ล ่ว งลับ ไปแล้ว ที่เ รีย กว่า คนตายเลย ข้อ นี้แ สดง
ให ้เ ห็น ว่า ความหมายที่เ คยใช้ค วบคู่ก ัน ในพระไตรปิฎ กเมื่อ ตกมาถึง วรรณ กรรมที่ร จนา ใน

ประเทศไทยแล้ว ส่ว นใหญ ่ท ่า นจะนำมาใช้เ พีย งความหมายเดีย วเท่า นั้น ด้ง จะเห็น ได้จ าก
คำอธิบ ายเกี่ย วกับ “ เปรต” ในวรรณกรรมสมัย อยุธ ยาคือ คัม ภีร ์โ ลกสัณ ฐานโชตรณคัณ ฐี
มีช ้อ ความเกี่ย วกับ “ เปรต” ด้ง นี้ว ่า “ .. .ตณ;หาย มจฺเฉเรน โทเสน เปจฺจ โลเก เปตา ภวนฺต ิ
เต จ เปตา หีน ปุณ ฺเณน หีน โภคา โหน.ติ” (อ้างถึงในทองคำ สุธ รรม, ๒๕ฅฅ) แปลว่า
“ . . . เปรตทั้ง หลายย่อ มมีใ นโลกหน้า เพราะตัณ หา ความตระหนี่แ ละโทสะ และเปรต
เหล่า นั้น เป็น ผู้ล ิ้น โภคทรัพ ย์เพราะลิ้น บุญ ” (ทองคำ สุธ รรม, ผู้แ ปล, ๒๕๓รา) แสดงให้
เห็น ว่า เปรตในโลกหน้า ตามความหมายของท่า นผู้ป ระพัน ธ์เกิด จากสาเหตุส ำคัญ ๓ ประการ
คือ ตัณ หา ความตระหนี่ และโทสะ กิเลสทั้ง ๓ อย่า งนี้เป็น สาเหตุท ี่ท ำให้ต ายไปเกิด ใน
เปรตวิส ัย ซึ่ง จะได้ก ล่าวต่อ ไปช้างหน้า หากเราพิจ ารณาวรรณคดIฑยในสมัย อยุธ ยา เช่น ขุนช้าง
ขุน แผน จะพบว่า มีก ารพรรณ นาถึง เปรตไว้เ หมือ นกัน ด้ง ข้อ ความในเสภาเรื่อ งขุน ช้า ง
ขุน แผนว่า

. . .ครานั้น นางเปรตอสุร กาย แยบคายเชิง ดีไ ม่ม ีส อง


เห็น ลูก ชายและเลีย มเทีย มคะนอง ก็โ ผนผาดแผดร้อ งระงมไพร. . .
ว่า แล้ว เผ่น โผนโจนทะยาน เลีย งสะท้า นทั้ว ฑ้อ งพนาวัน
สูญ หายกลับ กลายไปตามเพศ เป็น เปรตสูง เยี่ย มเทีย มสวรรค์
ไม่ม ีห ้ว ตัว ทะมึน ยืน ยัน เห็ย นห้น หายวับ ไปกับ ตา
พระไวยหวั่น หวาดอนาถนัก เห็น ประจัก ษ์ว ่า แม่แ น่ห นัก หนา
สยดสยองพองหัว กลัว มารดา น ั้า ตาพ รากพ รากลงพ ร่า งพ ราย
โอ้แ ม่เจ้า ประคุณ ของลูก แก้ว สิ้น ซากศพแล้ว ไม่ส ูญ หาย
ลูก ทำบุญ ล่ง ให้! ปมากมาย ยัง ไม่ว ายความชั่ว ที่ต ัว ทำ
เอาเพศเป็น เปรตอสุร กาย กลับ กลายตามมาเวลาคํ่า
สั่ง สอนวอนบอกให้ล ูก จำ มีพ ระคุณ เช้า ค4าแต่เป็น คน
แม่ต ายหายลับ ไปหลายปี พึ่ง มาเห็น วัน นี่ใ นไพรสณฑ์
ห้า มลูก มิใ ห้! ปประจญ จะเส ีย ต น ด ายด ้ว ยป ีม ือ ม อ ญ .. .
(กรมคิล ปากร, ไอ๕๑๗)
จะเห็น ได้ว ่า ความหมายของคำว่า “ เปรต” ในที่น ี้เป็น เรื่อ งของภูต ผีป ีศ าจมีร ูป
ร่า งน ่า เก ล ีย ด น ่า ก ลัว ยิ่ง การบ รรยายรูป ร่า งเป รตว่า ส ูง เยี่ย ม เทีย มส วรรค์น ั้น คือ การ
อธิบ ายลัก ษณะของเปรตที่ห มายถึง คนตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย แสดงว่า ความห มาย
ของเปรตตามที่ค นไทยเช้า ใจกัน นั้น หมายถึง คนผู้ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย อย่า งเด่น ชัด
วรรณ กรรมสมัย รัต น โกสิน ท ร์บ างเล่ม กล่า วถึง “ เป รต” โด ยอ ธิบ ายค วาม
หมายของเปรตไปใบทำนองที่ว ่า เปรต คือ คนตายผู้! ปเกิด ในเปรตวิส ัย แทบที่ง สิ้น ด้ง
จะเห็น ได้จ ากข้อ ความในไตรภูม ิโ ลกวิน ิจ ฉัย ว่า

ทุว าทส เปตกุล านิ แลตระกูล เปรตนั้น มี ๑๒ ตระกูล คือ วัน ตาสาเปรต
ตระกูล ๑ กุณ ปขาทกเปรตตระกูล ๑ คูถ ขาทกเปรตตระกูล ๑ อัค คิช าลมุข -
เปรตตระกูล ๑ สูจ ิม ุข เปรตตระกูล ๑ ตัณ หาชิต าเปรตตระกูล ๑ น ิช ฌ ามก-
เปรตตระกูล ๑ สัต ลัง คเปรตตระกูล ๑ ปัพ พด้ง คเปรตตระกูล ๑ อชครัง ค-
เปรตตระกูล ๑ เวมานิก เปรตตระกูล ๑ มหิท ธิก เปรตตระกูล ๑ เป็น ๑๒
ตระกูล ฉะนี้

วัน ตาสาเปรตนั้น อสิว ิร ู,ป า มีร ูป อ้น ชั่ว วิก ลวิป ริต ยิ่ง นัก ปิป าสา อยากป ้า
อยู่เ ป็น นิจ มิ’ไ ด้ก ิน นาเลย ซึ่ง อยู่ก ับ น ั้า ก็ม ิอ าจกิน ได้. . .
(พระยาธรรมปรีช า, ๒๕๒๑)
จ าก ท ี่ย ก ม าน ี้จ ะ เห ็น ได ้ว ่า ท ่า น อ ธ ิบ าย เร ื่อ ง เป ร ต ด าม ล ัก ษ ณ ะ ท ี่ป ร าก ฏ ใน เป ต ว ัต ถ ุ
ค ว า ม เช ื่อ ว ่า เป ร ต ห ม า ย ถ ึง ค น ผ ู้ด า ย ไ ป เก ิด ใ น เป ร ต ว ิส ัย น ี้ ม ีอ ิท ธ ิพ ล ถ ึง ว ร ร ณ ก ร ร ม ย ุค
ป ัจ จ ุบ ัน เช ่น ก ัน ย ก ต ัว อ ย ่า ง เช ่น ใน ภ ูม ิว ิล า ส ิน ีม ีค ำ อ ธ ิบ า ย ต ่อ ไ ป น ี้ว ่า

01913.1
เหล่า สัต ว์ท ี่ไ ปอุบ ัต ิเกิด ในโลกเปรตนี้แ ล้ว ถึง แม้จ ะมีค วามท ุก ข์น ้อ ยกว่า สัต ว์
นรกทั้ง ห ลายก็จ ริง ถึง กระนั้น ก็ย ัง นับ ได้ว ่า เป็น ผู้ห ่า งไกลจากความสุข อยู่
เป็น อัน มาก เพราะฉะนั้น โลกเปรตนี้ จึง มีช ื่อ ว่า เปดติว ิส ยภูม ิ = โลกที่อ ยู่ข อง
สัต ว์ผ ู้ห ่า งไกลจากความสุข
(พระธรรมธีร ราชมหามุน ี, ๒๕๓๕)
จากข้อ ความข้า งด้น แสดงให้เ ห ็น ว่า ความหมายของ “ เปรต” ในความเข้า ใจ
ของคนไทย เป็น ที่ย อมรับ กัน โดยกว้า งขวางว่า เปรต หมายถึง คนตายผู้I ปเกิด ในเปรตวิส ัย
จะเห็น ได้ว ่า เมื่อ เอ่ย คำ “ เปรต” แล้ว คนไทยจะนึก ถึง ภาพของผีท ี่ร ูป ร่า งสูง เก้ง ก้า งน่า
เกลีย ดน ่า กลัว คอยาว ปากเท่า รูเ ข็ม ท้อ งป่อ ง กินอะไรไม่ได้ บ้า งก็น ึก ถึง สภาพของผีท ี่
เที่ย วเร่ร ่อ นขอส่ว นบุญ ให้ช ่ว ยทำบุญ ทำทานส่ง ไปให้ นอกจากนี้แ ล้ว ในภาษาไทยเรายัง
มีก ารนำเอาลัก ษณะไม,ดีข องเปรตมาเปรีย บเทีย บก้น คน ยกตัว อย่า งเช่น เมื่อ เห็น ใครมี
รูป ร่า งสูง มากก็ม ัก เปรีย บว่า “ สูง เหมือ นเปรต” หรือ เห็น ใครผอมโซมีแ ด่ห นัง ทุ้ม กระดูก ก็
เปรีย บว่า “ ผอมเหมือ นเปรต” หรือ “ อดอยากเห มือ นเปรด” เห็น ใครตะกละกิน มูม มาม
ก็ว ่า “ กิน เหมือ นเปรต” ล้า ร้อ งกรี้ด ๆ หรือ วิด ๆ เป็น เสีย งแหลมก็ว ่า “ร้อ งเหมือ นเปรต”
เวลาทำบุญ ทำทาน เช่น พลี เขามัก แบ่ง ส่ว นบุญ อุท ิศ ไปให้เปรต เพราะฉะนั้น ล้า ใครมาร
บกวนขอแบ่ง สิง ที่เราได้ม าโดยที่ด นไม,มีส ่ว นที่จ ะได้ก ็พ ูด ว่า “ เหมือ นเปรตขอแบ่ง ส่ว นบุญ ”
ซึ่ง คาที่ใ ซในภาษาไทยนี้ ล้ว นเป็น คำที่ห มายถึง คนตายผู้I ปเกิด ในเปรตวิส ัย ทั้ง สิน
อีก สาเหตุห นึ่ง ก็ค ือ การอธิบ ายความหมายเพื่อ ใชในการอบรมสั่ง สอนคืล ธรรม
เนื่อ งจากคำสอนทางพุท ธศาสนาเน้น การสอนคนให ้เ ป็น คนดี จึง ต ้อ งม ีก ารยก ต ัว อ ย่า ง
ของผู้ท ำชั่ว แล้ว ได้ช ั่ว เพื่อ ให้ผ ู้ฟ ัง เกิด ความสลดหดหู่ห ัว ใจละอายเกรงกลัว ต่อ บาป ความ
หมายของ “ เปรด” ที'หมายถึง คนตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย สามารถนำมาเป็น หลัก อ้า งให้
เห็น โทษของการทำบาปได้ช ัด เจน และสาเหตุส ุด ท้า ยคือ ความหมายของคำ “ เปรต” นี้
ใกล้เ คีย งก้น ความหมายของผีส างที่บ รรพบุร ุษ ไทยนับ ถือ ก้น มาข้า นาน จึง มีก าร'ประยุก ต์
เรื่อ งเปรตให้เป็น ไปในแนวเดีย วกับ ผีท ี่ค นไทยเคารพกราบไหว้ด ้ง จะเห็น ได้จ ากคำว่า “ ผีเ ปรต”
ซึ่ง เรานำมาใช้ค ู่ก ้น ในภาษาไทย
ส่ว นความหมายของคำว่า “ เปรด” ที่ห มายถึง คนตายนั้น เป็น ที่น ่า สัง เกต
ว่า วรรณกรรมพุท ธศาสนาในประเทศไทยแทบจะไม่ก ล่า วถึง เลยหรือ กล่า วถึง ก็เพีย งเล็ก น้อ ย
ทั้ง นี้ผ ู้ว ิจ ัย เห็น ว่า เป็น เพ ราะไม1มีแ นวคิด หรือ ความเชื่อ ที่แ ฝงเร้น อยู่ใ นล้อ ยคำ หรือ อาจ
เป็น เพราะว่า ความหมายในทำนองนี๋ไ ม่ม ีอ ิท ธิพ ลต่อ วรรณ คดีร ุ่น หลัง เหมือ นอรรถกถาฎีก า
ดัง น ั้น วรรณ คดีพ ุท ธศาสน าของไทยซึ่ง รับ อิท ธิพ ลจากวรรณ คดีด ัง ที่ก ล่า วมาน ี้อ ยู่ม ากจึง
ไม่น ำมาอธิบ ายไว้
จาก ท ี่ก ล ่า วม าน ี้ ผู้ว ิจ ัย เห็น ควรสรุป ว่า วรรณ กรรมพุท ธศาสนาที่ร จนาใน
ประเทศไทย รับ เอาความหมายคำ “ เปรต” ที่ห มายถึง คนตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย มาใช้
ม าก ก ว่า ค วาม ห ม ายท ี่ห ม ายถ ึง คนตาย ฑั้ง นี้เพราะอิท ธิพ ลความเชื่อ เรื่อ งเปรตในชั้น
อรรถกถาได้อ ธิบ ายความพระไตรปิฎ กตอนว่า ด้ว ยวิน ีต วัต ถุใ นมหาวิภ ัง ค์ สัก ขณ สัง ยุต ต์
และเปตวัต ถุ จนกระทั่ง “ เปรต” เป็น ที่ท ราบภัน ดีว ่า มีร ูป ร่า งลัก ษณ ะน่า เกลีย ดน่า กลัว
รวมทั้ง การอธิบ ายความหมายเพื่อ นำไปใชในการสั่ง สอนคืล ธรรมให้ค นในสัง คมอยู่ก ัน ได้
ด้ว ยความสงบสุข และประการสุด ท้า ยคือ การประยุก ต์ค วามหมาย “ เปรต” ให้เช้า กับ เรื่อ ง
“ ผี” ซึ่ง คนไทยนับ ถือ อยู่ก ่อ นหน้า นั้น แล้ว
เมื่อ เราทราบความหมายของคำ “ เปรต” ตั้ง แต่ท ี,ปรากฎในพระไตรปิฎ ก
อรรถกถา ฎ ีก า ตลอดจน ถึง ความห มายที่ป รากฎใน วรรณ คดีพ ุท ธศาสน าที่ร จน าใน
ประเทศไทยอย่า งชัด เจนแล้ว ผู้ว ิจ ัย จะได้ก ล่า วถึง แนวความคิด และความเชื่อ เรื่อ งเปรต
ในพระไตรปิฎ ก และอรรถกถาต่อ ไป

บทที่ ๓

แนวความคิด และความเชื่อ เรื่อ งเปรต


ในพระไตรปิฎ ก และอรรถกถา

ค วาม เป็น ม า ของแนวความคิด เรื่อ งเปรต

ในบฑที่ ๒ เราได้ท ราบว่า คำว่า “ เปรต” มี ๒ ความห มาย กล่า วคือ หมายถึง
ค น ผู้ล ่ว งลับ ไปล่โ ลกหน้า และคนผู้ถ ึง ฐานะห่า งไกลจากความสุข ข้อ น ี้ เป็น ประเด็น
สำคัญ น่า สนใจค้น คว้า ตรวจสอบหลัก ฐานในชั้น พระไตรปิฎ ก และอรรถกถา เพ ื่อ จะ
คืก ษาดูว ่า มีแ นวคิด และความเชื่อ ต่า ง ๆ เกี่ย วกับ ความห มายท ั้ง ๒ ประการนี้ม ากน้อ ย
เพีย งใด อัน จะเป็น ประโยชน์อ ย่า งยิ่ง สำหรับ การคืก ษาเรื่อ งเปรตนี๋โ ดยตรง
ความเป ็น มาของแน วความคิด เรื่อ งเป รตน ี้เ มื่อ พ ิจ ารณ าห ลัก ฐาน ท ี่ป รากฎใน
พระไตรปิฎ กและอรรถกถาโดยละเอีย ดแล้ว ข้อ มูล ชื้1 ห้เห็น ว่า มีแ นวคิด เรื่อ ง “ เปรต” ที่
เป็น ประเด็น สำคัญ ปรากฎอยู่ ๒ แนว คือ ๑. แนวคิด ว่า “ เปรต” คือ คนตายผู้ล ่ว งลับ
จากโลกนี๋ใ ป ไอ. แนวคิด ว่า “ เปรต” คือ คนตายผู้ล ่ว งลับ จากโลกนี๋ใ ปเกิด ในเปรตวิส ัย ทั้ง
๒ ประเด็น นี้ มีป ระเด็น สำคัญ ที่น ่า สนใจยิ่ง ด้ง ผู้ว ิจ ัย จะได้ก ล่า วถึง รายละเอีย ดต่อ ไปตาม
ลำดับ

ก. แนวคิด ว่า “ เปรต” คือ คนตายผ้ล ่ว งลับ จากโลกนี้,ป

การตายป ระเภท น ี้ ไม่ร ะบุแ น่ช ัด ว่า ดายแล้ว จะไปเกิด เป็น อะไร ดัง จะเห็น ได้
จากข้อ ความว่า “ กดมา จ ภิก ฺข เว เป ตเส ยฺย า เยภ ุย ฺเ ยน ภิก ฺข เว เปตา อุต ุต านา เสนุต
อย’ วุจ ฺจ ติ ภิก ฺข เว เป ด เส ยยา” (สุย ามรฎรสุส เต'ปิฎก’ เล่ม ที่ ๒๑, ๒6าอ ๕: ฅ ฅ ๑) แปลว่า
“ ดูก ่อ นภิก ษุท ั้ง หลาย ก็เปตไสยาเป็น ไฉน คนตายโดยมากนอนหงาย นี้เราเรีย กว่า เปตไสยา”
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๑, ๒๔๓๐: ๓๓๔) นอกจากนี้แ ล้ว ใน “ ติโ รกุฑ ฑกัณ ฑ์”
หรือ “ ติโ รกุฑ ฑสูต ร” ซึ่ง ถือ ว่า เป็น แนวคิด สำคัญ เกี่ย วกับ “ เรื่อ งเปรต” ก็ย ัง ปรากฎ
หลัก ฐานแสดงให้เห็น ว่า “ เปรต” ห มายถึง คน ตาย จะร้อ งไห้เศร้า โศกเสีย ใจบ่น เพ้อ ครื่า
ครวญ ฟ ูม ฟ ายไป ก็แ ค่น ั้น ไม่ม ีผ ลกระท บ ถึง คน ตายเลยดัง ข้อ ความว่า “ ...น หิ รุณ ฺณ ํ วา
โสโก วา ยา วฌ ฺณ า ปริเทวนา น ตํ เปตานมตุถ าย เอวํ ติฎ รนฺต ิ ณาดโย. .
(สุย ามรฎรสุส เตปิฎ กํ เล่ม ที่ ๒๕, ๒๕๒๕: ๑๐)
ในส่ว นของอรรถกถานั้น แนวคิด เรื่อ ง “ เปรต” ที่ห มายถึง คนตายส่ว นใหญ่
จะเน้น การอธิบ าย “ ความ ห ม าย” ตามรูป ศัพ ท์เ ท่า นั้น เข่น คำว่า “ เปรต” หมายถึง คน
ผู้ล ่ว งลับ ไปจากโลกนี้ ดัง ข้อ ความในชาดกัฎ ฐกถาเล่ม ๗ ว่า “ เปเตติ อมฺพ ปกฺก ํ อลภิต ุว า
ปรโลก* คเต มเดติ อตฺโถ [บทว่า เปเต ได้แ ก่ [ครั้น เมื่อ เรา] ไม่ไ ด้ผ ลมะม่ว งสุก จึง ไปส่
โลกหน้า ห ม ายความ ว่า ตายแล้ว ]” (พระพุท ธ'โฆสา'จารย์, ๒๕๓๕ข) และข้อ ความใน
ลัท ธัม มัป ปิช โชติก าว่า “ เปตนฺต ิ อิโต ปรโลก0 คตํ [บทว่า เปตํ แปลว่า คนผู้จ ากโลก
นี๋ใ ปส่โ ลกหน้า ]” (พระอุป เสนะ, ๒๕๓๔) จากตัว อย่า งที่ย กมาแสดงนี้จ ะเห็บ ว่า พระ
อรรถกถาจารย‘ไม่อ ธิบ ายเรื่อ ง “ เปรต” ในแนวคิด ที่ว ่า คนตาย ไวโดยละเอีย ดเลย
จากท ี่ก ล่า วม าน ี้ อาจวิเ คราะห็ไ ด้ว ่า เป็น เพราะภาษาของผู้ค นในสมัย นั้น
ใช้ค ำว่า “ เป ต” ในความห มายว่า “ คน ดาย” ซึ่ง ถ้า หากกล่า วว่า “ เปต” แล้ว คนจะเข้า ใจ
ตรงกัน ว่า หมายถึง “ คน ดาย” คงจะเข่น เดีย วกับ ในสมัย นี้ เม ื่อ เอ ่ย ค ำว่า “ ต าย ” แล้ว ยัง
มีค ำพูด อื่น ๆ ที่ห มายถึง “ ด าย ” เหมือ นกัน เข่น คำว่า “ เสีย ชีว ิต ” “ สิ้นใจ” “ หมดลม”
ฯลฯ ผู้ว ิจ ัย เห็น 'ว่า แนวคิด ว่า “ เปรต” หมายถึง “ คน ต าย” นี้เป็น เรื่อ งที่ผ ู้ค นในสมัย นั้น
คิด ตรงกัน เพราะการใช้ภ าษาสื่อ ความหมายเหมือ นกัน อีก ประเด็น หนึ่ง อาจเป็น ไปได้ว ่า
คำว่า “ เปต” ได้ต ายไปจากภาษาดั้ง เดิม ซึ่ง การตายของคำ “ ฟ ต ” อาจไม่ไ ด้เกิด ขึ้น ใน
ส ม ัย พ ุท ธ ก าล น ่า จะเป ็น ช ่ว งห ล ัง พ ุท ธก าล การที, ก ล่า วเข ่น น ี้เ พ ราะพ ระไต รป ิฎ ก ม ี
วิว ัฒ น าการมาดามลำดับ จากเติม บัน ทึก ใน ระบบ “ มุข ปาฐะ” ท ่อ งป ากเป ล่า ดั้ง แต่ส มัย
พระพุท ธเจ้า ปริน ิพ พานได้แ ล้ว ประมาณ ๗ วัน ระบบนี้ค งอยู่ป ระมาณ ๕๐๐ ปี ต่อ มา
ราวพุท ธศตรวรรษที่ ๕ ได้เปลี่ย นแปลงเป็น “จารึก ด้ว ยตัว อัก ษร” มีห ลัก ฐานที่แ สดงให้
เห็น ว่า ใบพระไตรปิฎ กเองก็ไ ด้ม ีก ารดีค วาม “ เปรต” ปรากฎอยู่แ ล้ว ด้ง จะเห็น ได้จ ากข้อ
ความต่อ ไปนี้ว ่า . .เปตา วุจ ฺจ นฺต ิ มตา ก าล ก ต า.. .” (สุย ามรฎรสุส เตปิฎ ก0 เล่ม ที่ ๒๙,
๒๕๒๕: ๑๕๒) แปลว่า “ชนผู้ต าย คือ ทำกาละแล้ว เรีย กว่า ผู้จ ากไปแล้ว ” (พระไตร
ปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๙, ๒๕๓๐: ๑๕๗) ข้อ ความด้ง กล่า วนี้แ สดงให้เ ห็น ว่า แม้
กระทั่ง ในตัว พระไตรปิฎ กเองยัง มีก ารดีค วาม “ ฟ ต ” ให้เ ข้า ใจว่า หมายถึง “ คน ต าย” หรือ
“ คนผู้ท ์า กาละเสีย ชีว ิต ลง”
๒๐

ข .แ น ว ค ิด ว ่า “ เปรต” คือ คนตายผ้ล ่ว งสับ จากโลกนี๋ไ ปเกิด ในเปรตวิส ัย

แนวคิด นี้ถ ือ ว่า เปรต ห มายถึง คนตายผู้ล ่ว งลับ ไปเกิด ในโลกของเปรต มี


ความเป ็น อยู่อ ดอยาก หิวโหย แดนนี้เรีย กว่า “ เปรตวิส ัย ” ถือ ว่า เป็น แดนเสวยผลกรรม
ชั่ว ของคนผู้ท ำชั่ว ในทางพุท ธศาสนาถือ ว่า สัต ว์ท ั้ง หลายทั้ง ปวงถ้า ยัง ไม่ถ ึง à งพระนิพ พาน
แล้ว จะต้อ งเวีย นว่า ยตายเกิด อยู่ใ นคติต ่า ง ๆ ๔ คติ โดยยึด เอาผลกรรมดี และกรรมชั่ว
เป็น เครื่อ งจำแนกสถานที,จะไปเกิด คติข องผู้ท ำดีท ำชั่ว นี้แ บ่ง ออกเป็น ๒ กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ
๑. สุค ติ หมายถึง แดนไปของผู้ท ำดี มี มน ุษ ย์ และ เทวดา
๒. ทุค ติ หมายถึง แดนไปของผู้ท ำชั่ว มี นรก กำเนิด ติร ัจ ฉาน และเปรตวิส ัย
จากที่ก ล่า วมานี้เ ราจะเห็น ว่า “ เปรตวิส ัย ” จัด เป็น ทุค ติ แดนไปล่โ ลกหน้า ของผู้ท ำชั่ว
แนวคิด นี้จ ะเกิด ขึ้น ก่อ นสมัย พุท ธกาลหรือ ในสมัย พุท ธกาลเอง หรือ เป็น สิง ที่
คิด สัน ขึ้น มาภายหลัง ประเด็น ปัญ หาต่า ง ๆ เหล่า นี้เ มื่อ ผูว ิจ ัย ตรวจสอบเอกสารต่า ง ๆ
ในพระไตรปิฎ กเกี่ย วกับ “ เปรต” โดยละเอีย ดแล้ว ไต้พ บว่า แนวคิด เรื่อ งเปรตคือ คน
ตายไป เกิด ใน เป รตวิส ัย น ี้ เป็น สิ,งท ี่ม ีม าก ่อ น ส ม ัย พ ุท ธ ก าล จะเห็น ไต้จ ากข้อ ความใน
ชาณุส โสณิว รรคตอนว่า ด้ว ยปัญ หาของชาณุส โสณิพ ราหมณ์ ที่เข้า ไปเฝืา พระพุท ธเจ้า แล้ว
ท ูล ถ าม ถ ึง ก ารท ำบ ุญ อ ุท ิศ ส ่ว น ก ุศ ล ไป ให ้ญ าต ิพ ี' น ้อ งผ ู้ล ่ว งส ับ พ ระพ ุท ธ เจ้า ได ้ต รัส
พ ยากรณ ์โ ดยท รงอธิบ ายว่า ท าน จะถึง แก,เปรตหรือ ไม,น ั้น ขึ้น อยู่ส ับ ว่า ญ าติท ี,ตายไปจะไป
เกิด ในคติแ บบไหน ถ้า ไปเกิด เป็น สัต ว์น รก สัต ว์ต ิร ัจ ฉาน มน ุษ ย์ หรือ เทวดา ก็จะไม,ไ ต้ร ับ
ผลบุญ ที่ท ำล่ง ไปให้ แต่ถ ้า หากว่า ตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย ก็จ ะไต้ร ับ ผลบุญ แน่น อน ถึง
แม้พ ระพ ุท ธเจ้า จะตรัส ยืน ยัน ไว้อ ย่า งนี้ แต่พ ราหมณ ์ก ็ย ัง ไม่แ น่ใ จจึง ดั้ง ปัญ หาถามต่อ ไป
อีก ว่า ถ้า ญาติพ ี่น ้อ งที่ล ่ว งสับ ไม่ไ ปเกิด ในแดนเปรตนั้น ใครจะไต้ร ับ ผลทานนั้น พระพุท ธเจ้า
จึง ตรัส ยืน ยัน ต่อ ไปว่า ญาติพ ี่น ้อ งผู้ล ่ว งสับ อื่น ๆ ที่จ ะไปเกิด ในแดนเปรตนั้น มีอ ยู่แ น่น อน
ญาติป ระเภทนี้จ ะไต้ร ับ ผลทานนั้น ถึง แม้ว ่า พระพุท ธเจ้า จะตรัส ยืน ยัน อย่า งนี้พ ราหมณ ์ก ็
ยัง ไม่แ น่ใ จทูล ถามชํ้า อีก ว่า ถ้า ญาติพ ี'น้อ งผู้ล ่ว งสับ จะไม่ไ ปเกิด ในแดนเปรตนั้น รวมทั้ง
ญ าติร ่ว มสายเลือ ดอื่น ๆไม,ไ ปเกิด เป็น เปรตใครจะไต้ร ับ ผลบุญ พระพุท ธเจ้า จึง ตรัส ตอบว่า
เป ็น เรื่อ งเป ็น ไป ไม 'ได ้ท ี'จะไม ่ม ีญ าต ิพ ี' น ้อ งร่ว ม ส ายโลห ิต ต ายไป เก ิด ใน แด น เป รต น ั้น
(สุย ามรฎรสุส เตปิฎ กํ เล่ม ที่ ๒๔, ๒๔๒๔: ๒ ๙๐-๒ ๙๓ )
อีก เรื่อ งหนึ่ง คือ บทสนทนาระหว่า งพระสารืบ ุต รสับ พราหมณ ์ซ ื่อ ว่า ธนัญ ชานิ
พ ร าห ม ณ ์ค น น ี้ม ีค ว าม ส งส ัย ใน เร ื่อ งข อ งก าร เว ีย น ว ่า ย ต ายเก ิด อ ย ่า งม าก ม ีค ำถ าม
๒๑

ม ากม ายห ลายข้อ ประเด็น ที,น่า สนใจคือ ถามเปรีย บเทีย บระหว่า ง “ คติ” ต่า ง ๆ โดยพระ
สารีบ ุต รเริ่ม ถามเปรีย บเทีย บระหว่า งนรกกับ กำเนิด ดิร ัจ ฉานว่า อะไรดีก ว่า พ ราห มถท ด้
ตอบตามความเข้า ใจของตนว่า แดนเปรตดีก ว่า กำเนิด ดิร ัจ ฉาน พระสารีบ ุต รจึง ถามต่อ
ไปว่า ระหว่า งแดนเปรตกับ มนุษ ย์ อะไรจะดีก ว่า พ ราหมณ !ดัด อบว่า มนุษ ย์ด ีก ว่า แดน
เปรต พระสารีบ ุต รมิไ ดัค ัด ค้า นพราหมณ ์จ ึง ถามเรื่อ งคติต ่า ง ๆ ต่อ ไปเรื่อ ย ๆ ดัง ข้อ ความ
ว่า . .ด, ก มณฺณ สิ ธนญชานิ กตมํ เสยโย ดิร จฺฉ านโยนิ วา ปิต ุด ิวิส 'โย วาติ ฯ
ติร จฺฉ านโยนิย า โภ สารีป ุต ุต ปิต ุด ิว ิส โย เสยโยติ ฯ ต ํก ึ มณฺณ สิ ธนณซานิ กตมํ เสยโย
ปิต ุต ิว ิส ่โ ย วา มนุส ฺส า วาติ ฯ ปิต ุต วิส ยา โภ สารีป ุต ุต มนุส ฺส า เสยโยติ ฯ . .
(สุย ามรฎรสุส เตปิฎ กํ เล่ม ที่ ๑๓, ๒ ๕ ๒๕: ๖๓๗)
จากหลัก ฐานข้า งดัน นี้ แสดงให้เห็น ว่า แนวความคิด เรื่อ ง “ เปรต” ในฐานะที่
เป็น ผู้! ปเกิด ในเปรตวิส ัย เป็น เรื่อ งที่ผ ู้ค นคิด กัน อยู่แ ล้ว แต่ย ัง ไม่แ น่ใ จว่า สิง ที่ค ิด นั้น จะ
พิส ูจ น่ไ ดัห รือ ไม่ ข้อ นี้พ ึง เห็น ได้จ ากพระพุท ธเจ้า เอง แม้จ ะทรงยอมรับ แนวคิด ว่า เปรต
คือ ผู้ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย แต่พ ระองค์ก ็ท รงนิ่ง มิไ ดัต รัส พระดำรัส ใด ๆ เกี่ย วกับ เปรต
แม้เ มื่อ จะตรัส เกี่ย วกับ เรื่อ ง “เปรต” ก็ต รัส ด้ว ยทรงระมัด ระวัง ยิ่ง โดยทรงอธิบ ายว่า ที่
ไม่ท รงพยากรณ์เพราะทรงเกรงว่า คนที่ไ ม่เชื่อ ฟัง จะไม่ไ ด้ป ระโยชน์อ ะไร ดัง ข้อ ความต่อ ไปนี้ว ่า

อถโข ภควา ภิก ฺข ู อามนฺเ ตสิ จกขภูต า วต ภิก ฺข เว สาวกา วิห รนฺต ิ
ณ าณ ภ ูต า วต ภิก ฺข เว สาวกา วิห รนฺด ิ ยตุร หิ นาม สาวโก เอวรูป ณสุส ติ
วา ฑกฺข ติ วา สกฺขึ วา กรีส ุส ติ ปุพ ฺเ พ ว เม โส ภิก ฺข เว สตุโด ทิฎ โร
อโหสิ อปิจ าหํ น พ ุย ากาส ึ อหณ ฺเจดํ พ ุย าก เรยฺย ํ ปเร จ เม น สทฺท เหยฺย ุ
เย เม น สฑฺฑ เหยฺย ุ เตสนฺด ํ อสุส ทีฆ รตุด ํ อหิต าย ฑุก ฺข าย. . .
(สุย ามรฎรสุส เตปิฎ กํ เล่ม ที่ ๑, ๒ ๕๒๕': ๒ ๑๑-๒ ๑๒ )
แปลว่า

ครั้ง นั้น พระผู้ม ีพ ระภาคเจ้า รับ สั่ง กะภิก ษุท ั้ง หลายว่า ดูก ่อ นภิก ษุท ั้ง หลาย
สาวกทั้ง หลายย่อ มเป็น ผู้ม ีจ ัก ษุอ ยู่ ย่อ มเป็น ผู้ม ีญ าณ อยู่ เพราะสาวกได้ร ู้! ดัเห็น
หรือ ได้ท ำสัต ว์เซ่น นี๋ใ ห้เป็น พยานแล้ว ดูก ่อ นภิก ษุท ั้ง หลาย เมื่อ กาลก่อ นเรา
ก็ได้เห็น สัต ว์'นั้น แต่เ ราไม่ไ ด้พ ยากรณ ์ ถ้า เราพยากรณ ์ส ัต ว์น ั้น และคนอื่น ไม่
เชื่อ เรา ข้อ นั้น ก็จ ะพึง เป็น ไปเพื่อ ไม่เป็น ประโยชน์เกื้อ กูล เพื่อ ทุก ข์ แก,เขาเหล่า
บ ั้น ส ิน ก าล น าน .. .
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๑, ๒๕๓๐: ๕๖๔)
จากข้อ ความข้า งด้น น ี้ จะเห็น ว่า พระพุท ธเจ้า ทรงยอมรับ แนวคิด เรื่อ งเปรต
โดยตรัส ยืน ยัน ว่า “ เปรต” นี้ม ีอ ยู่จ ริง นอกจากนี้แ ล้ว เราจะเห็น ว่า พระองค์ต รัส ถึง แนว
คิด เกี่ย วกับ เรื่อ ง “ เปรต” ในทำนองนี้อ ีก หลายครั้ง เฉพาะที่ส ำคัญ คือ “ เปรต” ที่ป รากฎใน
“ ติ'โรกุฑ ฑกัณ ฑ์” หรือ “ ติโ รกุฑ ฑสูต ร” พระองคิไ ด้ต รัส ถึง “ เปรต” ที่ม าบ้า นเรือ นของ
ตนเองแล้ว พากัน ยืน นอกฝาเรือ น ทาง ๔ แยก ทาง ๓ แยก ประตูเรือ นเพื่อ จะขอส่ว น
บุญ ส่ว นกุศ ลให้ญ าติพ ี่น ้อ งช่ว ยทำทานล่ง ไปให้ เมื่อ ญ าติ ๆ ช่ว ยกัน ทำบุญ ทำทานให้
แล้ว ก็จ ะพากัน อนุโ มทนารับ ส่ว นบุญ ด้ง ข้อ ความว่า

ติโ รกุฑ ฺเฑสุ ติฎ รนุต ิ สนฺธ ิส ิง ฆาฎเกสุ จ


ทวารพ าหาสุ ติฎ รนุต ิ อาคนฺต ฺว าน สก0 ฆรํ ฯ
ปหุเ ต อนฺน ปานมฺห ิ ขชฺซโภซฺเซ อุป ฎริเต
น เตสํ โกจิ สรติ สตฺด าน่ กมฺม ปจฺจ ยา ฯ
เอว* ฑทนฺต ิ ณาตีน ํ เย โหนฺติ อนุก มฺป กา
สุจ ึ ปณีต0 กาเลน กปปิย ํ ปานโภชนํ
อิท ํ โว ณ าตีน ่ โหตุ สุข ิต า โหนุตุ กกตโย ฯ
(สุย ามรฎรสุส เตปิฎ กํ เล่ม ที่ ไ
แปลว่า

(๑) พวกเปรตมาเรือ นของตนยืน อยู่น อกฝาเรือ น ที,ทาง ๔ แพร่ง


ทาง ๓ แพร่ง และใกล้บ านประตู
(๒) เมื่อ พวกญาติต ั้ง ข้า วนํ้า ของเคี้ย วและของบริโ ภคไว้เป็น อัน มาก
ญาติบ างคนของพวกเปรตบั้น ลืม นึก ถึง เพราะสัต ว์เหล่า บั้น มีก รรม
เป็น บ้จ จ้ย
(๓) เหล่า ชนผู้อ นุเ คราะห์ พากัน ให้ข ้า วนํ้า ที่ส ะอาด ประณีต เป็น ของควร
แก,หมู่ญ าติ ตามกาล ด้ว ยเจตนาอุท ิศ อย่า งนี้ว ่า ขอผลทานนี้จ งสำเร็จ
แก่ห มู่ญ าติ ขอหมู่ญ าติจ งเป็น สุข ๆ เถิด
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๕, ๒๕๓๐: ๑๐)
ข้อ ความดัง กล่า วนี้ ซี่ให้เห็น 'ว่า แนวคิด เรื่อ ง “ เปรต” หมายถึง คนตายไป
เกิด ในเปรตวิส ัย หลัก ฐานในชั้น “ อ รรถ ก ถ า” ซ ึ่ง อ ธิบ ายความ ห ม ายพ ระไตรป ิฎ ก
ปรากฎแนวคิด เรื่อ ง “ เปรต” อยู่ห ลายแห่ง เช่น “ เปตวัต ถุ” ในพระไตรปิฎ กมีห นัง สือ
อรรถกถาอธิบ ายแนวคิด เรื่อ ง “ เปรต” ปรากฎให้เห็น อยู่ห ลายเรื่อ ง ดัง เช่น เรื่อ งเปรต
ญ าติพ ระเจ้า พิม พิส ารไม่ไ ด้ร ับ ผลทานจึง พากัน ส่ง เสีย งร้อ งโหยหวนน่า กลัว ยิ่ง พระองค์
ทรงดกพ ระท ัย จึง เส ด็จ ไป เฝัา พ ระพ ุท ธเจ้า แต่เ ช้า ตรู่เ พ ื่อ ท ูล ถามถึง ส าเห ตุพ ระพ ุท ธเจ้า จึง
ตรัส แนะนำให้อ ุท ิศ ผลให้เปรตเหล่า นั้น ดัง ข้อ ความว่า

ราชา ทาน0 ฑตฺว า กตฺถ นุ โข ภควา วิห เรยฺย าติ ภควโตวิห ารฎราน เมว
จิน ฺเ ตสิ, น ต0 ทาน0 กสฺส จิ อุท ฺท ิส ิ. ตถา ตํ ฑานํ อลภนุต า เปตา ฉิน ุน าสา
หุต ฺว า รตฺติย0 รณโณ นิเวสเน อติว ิย ภึสนก0 วิส ฺส รมก0สุ. ราชา ภยสบ ุต าส­
ลัว ค0 อาปชฺช ิต ฺว า วิภ าต าย รดฺต ิย า ภควโต อาโรเจสิ เอวรูป ๋ สทฺฑ ํ อสฺโสสี,
กึ นุ โข เม ภนุ»ต ภวิส ฺส ตี” ติ. ภควา มา ภ ายิ มหาราช น เต กิณ ฺจ ิ
ปาปก0 ภวิส ฺส ติ, อปิจ โข สนุต ิ เต ป ุร าณ ณ าตกา เปเตสุ อุป ฺป นุน า
เต เอก0 พุฑ ฺธ นุต รํ ตเมว ปจฺจ าสึส นุด า ‘พุฑ ฺธ สฺส ทาน0 ฑตฺว า อมหาก0
อุท ฺท ิส ิส ฺส ตี’ติ วิจ รนุต า ตยา หิยฺ'โย ทาน0 ทตฺว า น อุฑ ฺท ิส ิต ตฺต า ฉิบ ุน าสา
หุต ฺว า ดถารูป ๋ วิส ฺส รมก0สู” ติ อาห. [พระราชาทรงถวายทานแล้ว ทรงดำริ
ถึง แต่ส ถานที่พ ระผู้ม ีพ ระภาคเจ้า จะประทับ เท่า นั้น ว่า พระผู้ม ีพ ระภาคเจ้า จะ
พึง ประทับ ที่ไ หนตีห นอ จึงไม,ทรงอุท ิศ ทานนั้น ให้ใ คร ฯ เปรตทั้ง หลายเมื่อ ไม,
ได้ผ ลทานนั้น สิ้น หวัง จึง พากัน ส่ง เสีย งร้อ งน่า กลัว เหลือ เกิน ใกล้ว ัง หลวงยาม
ราตรี ฯ พ ระราชาทรงตกพ ระทัย กลัว เมื่อ ฟ ้า ส างจึง กราบ ท ูล ให ้พ ระผู้ม ี
พ ร ะ ภ าค เจ ้า ท ร งท ร าบ ว ่า ไ ด ้ท ร งส ด ับ เส ีย งเช ่น น ั้น จัก ม ีอ ะ ไรเก ิด ข ี้น แ ก ,
หม่อ มฉัน หรือ ไม่ห นอ ฯ พระผู้ม ีพ ระภาคเจ้า ตรัส ว่า อย่า ทรงกลัว ขอถวาย
พระพร ไม่ม ีอ ะไรที่น ่า กลัว เกิด แก,พระองค์ แต่ท ว่า พระองค์ท รงมีญ าติแ ต่ช าติ
ปางก่อ นที่เ กิด เป็น เปรต พวกเขารอคอยพระองค์ต ลอด ๑ พุท ธัน ดร หวัง ว่า
พ ระเจ้า พ ิม พ ิส ารครั้น ท รงถวายท าน แด,พระพ ุท ธเจ้า แล้ว จัก อุท ิศ ส่ว น บ ุญ ให ้
พ วกเรา แต่แ ล้ว ก็ส ิ้น ห วัง เพ ราะเมื่อ วาน น ี้พ ระองค์ถ วายท าน เส ร็จ แล้ว มิไ ดั
ทรงอุท ิศ ส่ว นบุญ ให้เลย จึง พากัน ส่ง เสีย งร้อ งน่า สะพรึง กลัว ]”
(พระธัม มปาละ, ๒๕๓๙ข)
ข้อ ความดัง กล่า วนี้พ ระอรรถกถาจารย์แ ต่ง ขึ้น เพื่อ อธิบ ายคาถา “ ติโ รกุฑ ฑกัณ ฑ์,,
น อกจากน ี้ย ัง มีเ รื่อ งเป รดอื่น ๆ เซ่น คนที'ตายไปเกิด ในนรกไหม้อ ยู่ใ นนรกนั้น ตลอด
พุท ธัน ดรหนึ่ง เมื่อ พ้น จากนรกนั้น จึง มาบัง เกิด เป็น เปรตผู้ม ีค วามหิว กระหายตลอดเวลา
เพ ราะเศษกรรมที่ย ัง เหลือ อยู่ ณ บริเวณเชิง เขาคิช ฌกูฏ เปรตตนนี้ม ีร ่า งกายเป็น ทอง แด่
ปากเหมือ นสุก ร ดัง ข้อ ความว่า

. . .โส กาลํ กตฺว า นิร เย นิพ ฺพ ตฺโ ต เอกํ พุท ฺธ นฺต รํ ดตฺถ ปจฺจ ิต ฺว า ตโต
จวิด วา อิม สฺม ี พุฑ ฺธ ุป ุ'ปาเท ราชคหสมีเป คิช ฺฌ กูฏ ปพฺพ ตปาเท ตสฺเลว
กมฺม สฺส วิป ากาวเสเสน ขุป ุป ีป าสาภิภ ูโ ต เปโต ทุต ุ,วา นิพ ฺพ ดฺต ิ ตสฺส กาโย
สุว ณฺณ วณฺโ ณ อโหสิ, มุข0 สูก รมุข สทีส ํ
(พระธัม มปาละ, ๒(£'๓ราข)

นอกจากนี้ย ัง มีเรื่อ งของเปรตที่ม ีร ่า งกายเป็น ทอง แด่ม ีห นอนไต่ย ั้ว เยี้ย เจาะกิน ปาก
ดัง ข้อ ความว่า “ เปสุณ ิโ ก ภิทข เอก0 พุฑ ฺธ นฺด รํ นิร เย ปจิต ฺว า ธิม สฺม ี พุท ธ'ปุป าเท
ราชคหสฺส อวิท ูเร ปูต ิม ุข เปโต หุต ฺว า นิพ ฺพ ตุต ิ,, (พระธัม มปาละ, ๒(£'๓๓ข) ฯลฯ
เรื่อ งราวของเปรตในทำนองนี้ มีป รากฎในหนัง สือ “อรรถกถาขุฑ ฑกนิก าย ปรมัต ถทีป นี
ต อ น พ รรณ น าค วาม เป ต วัต ถ ุ” ห ล ายเร ื่อ งด ้ว ยก ัน ผ ู้ส น ใจพ ึง ค ้น คว้า เพ ื่ม เติม ได้จ าก
หนัง ลือ เล่ม นี้ จากตัว อย่า งที่น ำมากล่า วไว่โ ดยย่อ ข้า งดัน นี้แ สดงให้เห็น ว่า ในชั้น อรรถกถา
มีแ นวคิด เรื่อ ง “ เปรต” หมายถึง คนตายผู้! ปเกิด ในเปรตวิส ัย ปรากฏอยู่อ ย่า งเห็น ได้ซ ัด
จากท ี่ก ล่า วมาท ั้ง ห มดน ี้ สรุป ได้ว ่า แนวคิด เรื่อ ง “ เปรต,, ในพระไตรปิฎ ก
และอรรถกถา มี ๒ แนวคิด คือ
๑. แนวคิด ว่า “ เปรต” คือ คนตายผู้ล ่ว งสับ จากโลกนี๋ไ ป
๒. แนวคิด ว่า “ เปรต” คือ คนตายผู้ล ่ว งสับ จากโลกนี๋ใ ปเกิด ในเปรตวิส ัย

เกี่ย วกับ แน วคิด ท ั้ง ๒ นี้ ผูว ิจ ัย เห็น ว่า มีป ระเด็น ด่า ง ๆที่ค วรกล่า วถึง ดัง ต่อ ไปนี้
ป ร ะ เด ็น ท ี่น ่า ส น ใจ ป ร ะ ก าร แ ร ก ค ือ ค ว าม ส ัม พ ัน ธ ์ก ัน ร ะ ห ว ่า ง แ น ว ค ิด ท ั้ง ๒ ว ่า
ม ีค ว า ม เก ี่ย ว ข ้อ ง ส ัม พ ัน ธ ์ก ัน ม า ก ห ร ือ น ้อ ย เพ ีย ง ใด เม ื่อ น ำ ข ้อ ม ูล ใน พ ร ะ ไ ต ร ป ิฎ ก แ ล ะ
อ ร ร ถ ก ถ า ม า ส ืก ษ า ว ิเ ค ร า ะ ห ์ด ูแ ล ้ว จ ะ พ บ ว ่า ม ีแ น ว ค ิด ย ่อ ย ๆ แ ท ร ก อ ย ู่ ๓ ป ร ะ เด ็น ค ือ
๑. แนวคิด เรื่อ งโลกหน้า
๒. แนวคิด ทางคิล ธรรม
(ท. แนวคิด เรื่อ งทำบุญ ถวายทานแก่พ ระสงฆ์เพื่อ อุท ิศ ผลบุญ ไปให้แ ก่ผ ู้ล ่ว งลับ

รายละเอีย ดปลีก ย่อ ยของประเด็น ทั้ง ๓ นี้ ผูว ิจ ัย เห ็น ว่า มีค วามสำคัญ อย่า งยิ่ง
ต่อ แนวคิด เรื่อ งเปรตในพระไตรปิฎ กและอรรถกถา ดัง จะได้ก ล่า วต่อ ไปตามสำดับ

๑. แนวคิด เรื่อ งโลกหน้า

ในทางพุท ธศาสนาถือ ว่า คนเราจะต้อ งเวีย นว่า ยตายเกิด อยู่ใ นลัง สารวัฎ เรื่อ ยไป
จนกว่า จะลุถ ึง พระนิพ พาน “ คติ ๔” คือ การเวีย นว่า ยตายเกิด ไปตามคติต ่า ง ๆ อัน ได้แ ก่
นรก กำเนิด ดิร ัจ ฉาน เปรตวิส ัย มน ุษ ย์ และเทวดา แนวคิด นี้ถ ือ ว่า “ แดนเปรต” เป็น โลก
หน้า กล่า วคือ สถานที่อ ย่า งหนึ่ง ที่ม นุษ ย์จ ะต้อ งไป ดัง ข้อ ความต่อ ไปนี้ว ่า “ . . .ปญ'จ โข
อิม า สารีป ุต ฺต คติโย กดมา ปณฺจ นิรโย ติร จฺฉ าน'โยนิ ปิต ุต ิว ีส โย มนุส ฺส า เทวา ฯ
(สุย ามรฎรสุส เต'ปิฎก’ เล่ม ที่ ๑๒, ๒ ๕๒๕: ๑๔๘) แปลว่า “ ดูก ่อ นสารีบ ุต ร คติ ๕
ประการเหล่า นี้แ ล ๕ ประการเป็น ไฉน คือ นรก กำเนิด ติร ัจ ฉาน เปรตวิส ัย ม น ุษ ย์ เท วดา”
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๑๒, ๒๔๓๐: ๑๓๙) และข้อ ความว่า “ปณ ฺจ ิม า ภิก ฺข เว
คติโย ฯ กดมา ปณฺจ นิรโย ติร จฺฉ านโยนิ ปิต ุต ิว ีส โย มนุส ุส า เทวา ฯ อิม า โข ภิก ฺข เว
ปณฺจ คติโย ฯ อิม าสํ โข ภิก ฺข เว ปณฺจ นฺน ํ คดีน ํ ปหานาย อิเม จตุต าโร สติป ฎรานา
ภาเวต พ ุพ าต ิ ฯ” (สุย ามรฎรสุส เตปิฏ กํ เล่ม ที่ ๒๓, ๒๔๒๔: ๔ ๘ ๐-๔ ๘ ๑) แปลว่า
“ ดูก ่อ นภิก ษุท ั้ง หลาย คติ ๔ ประการ ๔ เป็นไฉน คือ นรก ๑ กำเนิด สัต ว์ต ิร ัจ ฉาน ๑
เปรตวิส ัย ๑ มน ุษ ย์ ๑ เทวดา ๑ ดูก ่อ นภิก ษุท ั้ง หลาย คติ ๔ ประการนี้แ ล ดูก ่อ นภิก ษุ
ทั้ง หลาย เธอทั้ง หลายพึง เจริญ สติป ิฎ ฐาน ๔ นี้ เพื่อ ละคติ ๔ ประการนี้แ ล” (พระไตรปิฎ ก
ภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๓, ๒๔๓๐: ๔๒๔)
ค ต ิ๔ นี้บ างทีท ่า นก็เ รีย กว่า “ภพ ๔” ดัง ข้อ ความว่า “ . . . เนรยิก านํ นิรโย ภวนํ
ติร จฺฉ านโยนิก าน่ ติร จฺฉ านโยนิ ภวน่ ปิต ุต ิว ิส ยิก านํ ปิต ุต ิว ิส โย ภวนํ มบุส ุส านํ
มบุสุสโลโก ภวนํ เทวาน่ เทวโลโก ภวน่ ฯ” (สุย ามรฎรสฺส เตปิฎ กํ เล่ม ที่ ๒ ๙, ๒๔๒๔:
๑๔ ๙) แปลว่า “ . . .นรก เป็น ภพของพวกสัต ว์ท ี่เกิด ในนรก กำเนิด ติร ัจ ฉาน เป็น ภพ
ของพวกสัต ว์ท ี่เกิด ในกำเนิด ดิร ัจ ฉาน เปรตวิส ัย เป็น ภพของพวกสัต ว์ท ี่เกิด ในเปรตวิส ัย
มนุษ ยโลก เป็น ภพของพวกมนุษ ย์ เทวโลกเป็น ภพของพวกเทวดา” (พระไตรปิฎ กภาษา
ไทย เล่ม ท '๒๙, ๒<£'๓๐: ๑๖๕)
จากข้อ ความข้า งต้น นี้ จะเห็น ว่า มีก ารจัด “ แดนเปรด” เป็น ภพที่ส ัต ว์จ ะ
ต้อ งเวีย นว่า ยตายเกิด เรื่อ ยไป แนวคิด เรื่อ ง “ คติ ๕” นี้ มีส ่ว นสำคัญ ในการเกิด แนวคิด ว่า
“ เปรต” คือ คนตายไปเกิด ในปรโลกที่เรีย กว่า แดนเปรตวิส ัย และยัง มีส ่ว นสัม พัน ธ์ก ับ เรื่อ ง
“จัก รวาลวิท ยา” ในวรรณคดีบ าลีย ุค ต่อ มา ดัง จะเห็น ไต้จ ากวรรณคดีบ าลีแ นว “โลกศาสตร์”
ทั้ง ปวง เช่น จัก กวาฬฑีป นี โลกบัญ ญัต ิ โลกัป ปทีป กสาร โลกสัณ ฐานโชตรณคัณ ฐี ฯลฯ
วรรณ คดีด ัง กล่า วมาน ี้ ล้ว นได้ร ับ อิท ธิพ ลแนวคิด เรื่อ ง “ คติ ๕" ทั้ง นั้น

๒. แนวคิด ทางคืล ธรรม

แนวคิด นี้ถ ือ ว่า ผู้ท ี่ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย นั้น สาเหตุเกิด จากประพฤติผ ิด คืล ธรรม
กล่า วคือ ทำบาปที่เป็น เหตุใ ห้ผ ู้อ ื่น ได้ร ับ ความเดือ ดร้อ น อาทิเช่น ทำลายทรัพ ย์ล ีน ล่ว น
รวม สั่ง สมเงิน ทองโดยมีช อบธรรม พ ูด เท็จ ห รือ พ ูด ล่อ เสีย ดว่า ร้า ยผู้อ ื่น เห็น แก,ตัวไม่
ยอมเลีย สละแบ ่ง บ ัน ช่ว ยเห ลือ ส่ว น รวม ดัง จะเห็น ได้จ ากเรื่อ งราวของเปรตที่ป รากฎใน
“ มห าวิภ ัง ค์” “ สัก ขณ สัง ยุต ค์” และ “ เป ตวัด กุ” ล้ว นเป็น เรื่อ งของเปรตที่ป ระพฤติผ ิด
คืล ธรรมตั้ง แต่ส มัย ยัง มีช ีว ิต อยูใ นโลกมนุษ ย์ท ั้ง สิ้น เช่น เรื่อ งของหญิง ๔ นางขณะที่ย ัง มี
ชีว ิต อยู่ไ ด้พ ากัน รวบรวมทรัพ ย์ส ิน เงิน ทองโดยผิด ทำนองคลองธรรม เมื่อ ตายลงจึง ไปเกิด
เป็น เปรต ด้ง ข้อ ความว่า “ มย0 โภเค สํห ริม ฺห สเมน วิส เมน จ เต อณ ฺเ ณ ปริภ ุณ ฺช นฺต ิ
มย* ทุก ฺข สฺส ภาคิน ีต ิ ฯ” (สุย ามรฎรสุส เตปิฎ ก0 เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕๒๕: ๒๕๗) แปลว่า
“ [ในเวลาราตรี หญิง เปรต ๔ คน ถูก ทุก ข์ค รอบงำ จึง พากัน ร้อ งไห้ร ำพัน ด้ว ยเลีย งด้ง น่า
กลัว ว่า ] พวกเรารวบรวมโภคทรัพ ย์I วิโ ดยชอบธรรมบ้า ง โดยไม,ชอบธรรมบ้า ง แต่ค น
อื่น ๆ พากัน ใช้ส อยโภคทรัพ ย์เหล่า นั้น ส่ว นพวกเรากลับ มีส ่ว นแห่ง ทุก ข์” (พระไตรปิฎ ก
ภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕๓๐: ๒๔๖) หรือ เรื่อ งของคนผู้ท ำลายทรัพ ย์ส ิน ส่ว นรวม
สาธารณ สมบัต ิ เมื่อ ดายลงก็ไ ปเกิด เป็น เปรตเช่น กัน ด้ง ข้อ ความว่า

. . .วิป าโก นตฺถ ื ทานสุส ส0ยมสุส กุโต ผล*


โปกขรณฺโ ณฑปานานิ อารามานิ จ โรบิ]เต
ปปาโย จ วิน าเสสึ ทุค ฺเ ค สงฺก มนานิ จ ฯ
สุว าหํ อกตกลุย าโณ กดปาโป ดโต จุโต
อุป ฺป นฺโน ปิด ฺด ิว ิส ยํ ขุป ฺป ิป าสสมปฺป ิโ ด
ปณฺจ ปฌฺณ าสวสุส านิ ตโต กาลกโต อหํ ฯ
นาภิช านามิ ภุต ฺต ํ วา ปีต ิ วา ปน ปานีย ํ. . .
(สุย ามรฎรสุส เตปีฏ กํ เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕ทอ๔: ๑๘๔)
แปลว่า

[เปรตนั้น ตอบว่า ]

. . .[ด้ว ยคำว่า ] ผลแห่ง ทานไม่ม ี ผลแห่ง การสำรวม จัก มีแ ด่ท ี่ไ หน ได้
ทำลายสระนั้า บ่อ นั้า ที่เ ขาขุด ไว้ สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ศาลาน ั้า และ
สะพานในที่เดิน สำบากที่เขาปลูก สร้า งให้พ ิน าศ ข้า พเจ้า นั้น ไม่ไ ด้ท ำความดีไ ว้เลย
ทำแด่ค วามชั่ว ไว้ จุต ิจ ากชาติน ั้น แล้ว เข้า ถึง ปิต ติว ิส ัย เพีย บพร้อ มไปด้ว ย
ความหิว กระหายตลอด ๔๕ ปี ตั้ง แต่ต ายแล้ว ข้า พเจ้า ยัง ไม่ไ ด้ก ิน ข้า วและ
น ั้า เลยแม้แ ด่น ้อ ย. . .
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๖, ๒๔๓๐: ๑๘๑)

จากข้อ ความข้า งด้น น ี้ จะเหิน ว่า ชีว ิต ของเปรตนั้น คือ ชีว ิต ที,ต้อ งเสวยผล
กรรมชั่ว ที่เ คยกระทำไว้เ มื่อ สมัย ที่เ กิด เป็น มนุษ ย์ แดนของเปรต จึง เป็น สถานที่เ สวยผล
กรรมชั่ว แนวคิด ด้ง กล่า วมานี้เป็น เรื่อ งของ “ ศีล ธรรม” หรือ กฎแห่ง กรรมข้อ ที่ว ่า “ทำ
ชั่วได้ชั่ว” จัด เป็น ประเด็น สำคัญ อย่า งหนึ่ง ที่ม ีล ่ว นสัม พัน ธ์ก ับ แนวคิด ว่า “ เปรต” หมายถึง
คนตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย
แนวคิด ว่า เปรตหมายถึง โลกหน้า และแนวคิด ทางศีล ธรรม ทั้ง ๒ ประเด็น นี้
มีส ่ว นทำให้เ กิด แนวคิด เรื่อ งทำบุญ ถวายทานแก,พระสงฆ์เพื่อ อุท ิศ ผลบุญ ไปให้แ ก,ผู้ล ่ว งสับ
อัน เป็น อีก แนวคิด สำคัญ อีก แนวคิด หนึ่ง ที่ม ีส ่ว นเกี่ย วข้อ งกับ แนวคิด เรื่อ งเปรดในพระไตรปิฎ ก
และอรรถกถา ดัง จะได้ก ล่า วต่อ ไปตามสำคับ
๓. แนวคิด เรื่อ งทาบณถวายทานแก่พ ระสงฆ์เ พื่อ อุท ิศ ผลบุณ
ไป1ให้แก,ผล,ว งลับ

แนวคิด นี้ถ ือ ว่า การทำบุญ ถวายทานแก่พ ระสงฆ์ จะมีผ ลทำให้ผ ู้ล ่ว งลับ จาก
โลกนี๋ไ ปได้ร ับ ผลบุญ มาก โดยเฉพาะอย่า งยิ่ง “ เปรต” จะได้ร ับ ผลบุญ โดยตรง ดังจะ
เห็น ได้จ ากคาถาใน “ ติ'โรกุฑ ฑกัณ ฑ์” ที่ก ล่า วถึง ทัก ษิณ าทานที่ท ายกจัด เตรีย มไว้ถ วาย
พระสงฆ์ซ ึ่ง สำเร็จ ประโยชน์แ ก1ผู้ล ่ว ง ลับ ไปแล้ว นั้น โดยพลัน ชั่ว กาลนาน ได้พ ากัน แสดง
ออกถึง กิจ ที่ค วรท ำเพ ื่อ ญ าติก ารบ ูช าผู้ล ่ว ง ลับ ไปแล้ว ที่ท ่า นทั้ง หลายพากัน ทำมีผ ลอย่า งยิ่ง
ได้เ พิ่ม กำลัง พระภิก ษุท ั้ง หลาย อีก ทั้ง ได้ส ั่ง สมบุญ ไว่ไ ม่น ้อ ย ดัง ข้อ ความว่า

อยณ ฺจ โข ทกฺข ิณ า ฑํน ฺ,น า สงฆมฺห ิ สุ,ป ติฎ ริต า


ทีฆ รตฺด ํ หิต ายสฺส รานโส อุป กปฺป ติ

โส ณาติธ มฺโ ม จ อย0 นิฑสฺสิโต


เปตานปูช า จ กตา อุฬ ารา
พลณ ุจ ภิก ฺฃ ูน มนุป ฺป ทิน ฺน ํ
ดุม.เหหิ ปุณ ฺณ ํ ปสุต ํ อนปฺป กน.ติ ฯ
(ลุย ามรฎรลุส เต,ปิฎก’ เล่ม ที่ ๒๕, ๒๕๒๕: ๑ ๐ -๑ ๑ )
แปลว่า

ก็ท ัก ษิณ าทาน น ี้แ ลที่ต ั้ง ใจถวายไว้ด ีแ ล้ว ใน สงฆ ์ย ่อ มสำเร็จ ประโยชน ์เ กื้อ กูล
แก,เปรตนั้น โดยฉับ พลัน ตลอดกาลนาน
ท่า นได้แ สดงญาติธ รรมให้ป รากฏ ได้ท ำการบูช าที่ย ิ่ง ใหญ่แ ก่ห มู่ญ าติท ี่ล ่ว งลับ
ไปแล้ว และได้เ พิ่ม กำลัง ให้แ ก่พ ระภิก ษุท ั้ง หลาย ชื่อ ว่า เป็น ผู้ข วนขวายบุญ
มิใ ช่น ้อ ยเลย
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๕, ๒๕๓๐: ๑๑)

นอกจากนี้ย ัง มีข ้อ ความที่ก ล่า วเปรีย บเทีย บพระอรหัน ต์เ ป็น เหมือ นเนื้อ นาบุญ
ผู้ถ วายทาน เปรีย บด้ว ยชาวน า ทานที่จ ัด ถวายเปรีย บเหมือ นพืช ผลทานเกิด ขึ้น เพราะ
การถวายไท ยธรรมของท ายก และพระอรหัน ต์เ ป็น ผู้ร ับ พืช คือ ทานที่ห ว่า นลงในบา
ย่อ มเกิด ผลแก่เ ปรตและทายก เปรตทั้ง หลายได้บ ริโ ภคผลทานนั้น ท ายกก็เ จริญ ด้ว ยบ ุญ
ด้ง ข้อ ความว่า

เขตฺต ูป มา อรหนุโด ท ายก า กสฺส กูป มา


พีซ ูป มํ เท ยฺย ธมฺม ํ เอตฺโ ต นิพ ฺพ ตฺต เต ผลํ
เอตํ พืช ํ กสิเขตฺต ํ เปตาน0 ทายกสฺส จ
ตํ เปตา ปริภ ุฌ ฺซ นุต ิ ท าตา ปุณ ฺเ ณน วฑฺฒ ติ
(สุย ามรฎรสุส เตปิฎ กํ เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕๒๕: ๑๕๗)
แปลว่า

[พระผู้ม ีพ ระภาคเจ้า ได้ต รัส พระคาถาเหล่า นี้ค วามว่า ]

พระอรหัน ต์ท ั้ง หลายเปรีย บด้ว ยนา ท ายกทั้ง ห ลายเปรีย บด้ว ยชาวน า
ไท ยธรรม เป รีย บ ด ้ว ยพ ืช ผล ท าน ย่อ ม เก ิด จาก ก ารบ ริจ าค ไท ยธรรม ข อ ง
ทายกและปฎิค คาหก
พืช ที่บ ุค คลหว่า นลงในนานั้น ย่อ มเกิด ผลแก'เปรตทั้ง หลายและทายกทั้ง หลาย
เปรตทั้ง หลายย่อ มบริโ ภคผลนั้น ท ายกย่อ มเจริญ ด้ว ยบ ุญ . . .
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕รา๐: ๑๕๑)

จากท ี่ก ล่า วม าน ี้ จะเห็น ว่า แนวคิด การถวายทานแก,พระสงฆ์เพื่อ อุท ิศ ส่ว น


กุศ ลใหัผ ู้ล ่ว งลับ เป็น แนวคิด อย่า งหนึ่ง ที่ส ืบ เนื่อ งมาจากแนวคิด ทั้ง ๒ และมีส ่ว นสัม พัน ธ์
กับ แนวคิด ว่า “ เปรต” หมายถึง คนผู้ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย ผลของแนวคิด เรื่อ งการ
ถวายทานแก,พระสงฆ์เพื่อ อุท ิศ ผลบุญ ให้แ ก่เปรตนี้เ ป็น สาเหตุส ำคัญ ที่ท ำให้เกิด “พิธ ีก รรม”
ทำบุญ อุท ิศ ให้เปรตขึ้น ด้ง จะได้ก ล่า วต่อ ไปในบฑที่ ๔
การที่แ นวคิด .รื่อ ง เปรต ที่ห มายถึง คนผู้ล ่ว งสับ ไปส่โ ลกหน้า กับ แนวคิด ว่า
เปรต ที่ห มายถึง คนผู้ล ่ว งสับ ไปส่โ ลกหน้า คือ เปรตวิส ัย มีส ่ว นสัม พัน ธ์ก ัน นั้น ผู้ว ิจ ัย เห็น
ว ่า เก ิด จ าก แ น ว ค ิด เร ื่อ ง ค ต ิ ๕ แ น ว ค ิด ว ่า เป รต ว ิส ัย เป ็น ส ถ าน ท ี่เ ส ว ยก ร รม ช ั่ว ข อ งผ ู้
ประพฤติผ ิด คืล ธรรม และแนวคิด เรื่อ งการถวายทานแก่พ ระสงฆ์เ พื่อ อุท ิศ ผลให้แ ก,เปรต
6า๐

แนวคิด ทั้ง ๓ น ี้ เป็น เหตุใ ห้แ นวคิด ว่า เปรตหมายถึง คนตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย มีค วาม
สำคัญ กว่า แนวคิด ว่า เปรตหมายถึง คนตายผู้ล ่ว งสับ ไปสู้โ ลกหน้า ทั้ง นี้เพราะถ้า ไม่ม ีแ นวคิด ทั้ง
ฅ น ี้ เรื่อ งของ “ เปรต” ก็จ ะเป็น เรื่อ งของคนผู้ล ่ว งสับ ตายจากไปสู้โ ลกหน้า เท่า นั้น แต่ท ี่
“โลกหน้า ” ปรากฎชัด เจนจนกลายเป็น “ เปรตวิส ัย ” หรือ “ เปรตโลก” สถานที่อ ยู่ข อง
“ เปรต” ผู้ท ่า กรรมชั่ว ประพฤติท ุจ ริต ผิด คิล ธรรมที่ม นุษ ย์จ ะต้อ งท่า บุญ อุท ิศ ผลทานไปให้
เพราะไต้ร ับ อิท ธิพ ลของแนวคิด ทั้ง ฅ นี้
สรุป แล้ว แนวคิด แรก กล่า วคือ เปรตวิส ัย เป็น โลกหน้า สถานที่ส ัต ว์ผ ู้ท ำกรรม
ชั่ว จะต้อ งไปเกิด แนวคิด สอง กล่า วคือ เปรตหมายถึง ผู้ป ระพฤติผ ิด คืล ธรรมต้อ งใช้ช ีว ิต
อยู่อ ย่า งสำบากอดอยากห ิว โห ย ทั้ง ๒ แนวคิด นี้ม ีผ ลทำให้เกิด แนวคิด สุด ท้า ย กล่า วคือ
การถวายทาบแก'พระสงฆ์เพื่อ อุท ิศ ผลทานไปให้แ ก่ผ ู้ล ่ว งสับ
ทั้ง ต แนวคิด นี้ผ ู้ว ิจ ัย เห็น ว่า เป็น สาเหตุส ำคัญ ที่ท ำให้แ นวคิด ว่า “ เปรต” หมายถึง
คนตายผู้ล ่ว งสับ ไปเกิด ในเปรตวิส ัย เป็น ที่น ่า สนใจมากกว่า แนวคิด ว่า “ เปรต” ห มายถึง
คนตายผู้ล ่ว งสัน จากโลกนี๋ไ ป ดัง จะเห็น ไต้จ ากเมื่อ เกิด แนวคิด ว่า เปรตหมายถึง คนตายผู้
ล ่ว งส ับ ไป เก ิด ใน เป รต วิส ัย แล้ว ไ ด ้เ ก ิด ค ว าม เช ื่อ ว ่า เป ร ต ว ิส ัย เป ็น โ ล ก ห น ้า ท ี, ส ัต ว ์ผ ู้
ประพ ฤติผ ิด คืล ธรรมเมื่อ ตายลงจะต้อ งไป เกิด และมน ุษ ย์จ ะต้อ งท ำบ ุญ ถวายท าน แก1พระ
สงฆ์เพื่อ อุท ิศ ผลบุญ ล่ง ไปให้แ ก,เปรตเมื่อ เราท ราบ ความเป ็น มาของแน วคิด เรื่อ งเป รตตาม
สำดับ แล้ว ต่อ ไปผู้ว ิจ ัย จะขอกล่า วถึง ความเชื่อ เรื่อ งเปรต และผลที่เกิด จากความเชื่อ เรื่อ งเปรต

ความเชื่อ เรื่อ งเปรต

ความเชื่อ เรื่อ งเปรต มีผ ลต่อ พฤติก รรมการแสดงออกต้า นต่า ง ๆ ของชาว


พ ุท ธผ ู้น ับ ถ ือ พ ุท ธศ าส น าฝ ่า ยเถ รวาท ซึ่ง สะท้อ นให้เ ห็น ว่า ความเชื่อ เรื่อ งเปรตเข้า มามี
ส่ว นสัม พัน ธ์ก ับ วิถ ีช ีว ิต ของชาวพุท ธหลายอย่า งด้ว ยกัน อาทิเช่น วรรณ กรรมต่า ง ๆ ที่
ใช้ใ บการสั่ง สอนคืล ธรรม รวมทั้ง พิธ ีก รรม และประเพณีต ่า ง ๆ ที่เ กี่ย วข้อ งกับ ความเชื่อ
เรื่อ งเปรต
ดัง นั้น ในตอนนี้ผ ู้ว ิจ ัย จะไต้ส ืก ษาความเชื่อ เรื่อ งเปรตเพื่อ จะไต้ท ราบแน่ช ัด ว่า
ความเชื่อ เรื่อ งเปรตในพระไตรปิฎ กมีป ระเด็น หลัก ๆ กี่ป ระเด็น และประเด็น ต่า ง ๆ นั้น มี
ส่ว นสัม พัน ธ์ก ับ พิธ ีก รรม และประเพณีต ่า ง ๆ ของไทยอย่า งไรบ้า ง ดัง จะไต้ก ล่า วต่อ ไป
ตามสำดับ
๓๑

ความเชื่อ เรื่อ งเปรตในพระไตรปิฎ ก และอรรถกถา ผูว ิจ ัย เห็น ว่า มีป ระเด็น สำคัญ
๓ ประเด็น คือ
๑. ความเชื่อ ว่า เปรต คือ ผู้ต ายไปเกิด ในโลกหน้า ที่เ รีย กว่า “ เปรตวิส ัย ”
ไอ. ความเชื่อ ว่า เปรต คือ ผู้ร ับ ผลกรรมชั่ว อัน เกิด จากประพฤติผ ิด คืล ธรรม
๓. ความเชื่อ ว่า เปรต คือ ผู้ท ี่ม นุษ ย์พ ึง ทำทานอุท ิศ ส่ง ไปให้
ทั้ง ๓ ประเด็น นี้ มีร ายละเอีย ดปลีก ย่อ ยที่น ่า สนใจสืก ษาดัง ต่อ ไปนี้

ก. ความเชื่อ ว่า “ เปรต” คือ ผ้ต ายไปเกิด ในโลกหน้า ที่เรีย กว่า “ เปรตวิส ัย ”

ความเชื่อ ว่า “ เปรต” คือ ผู้ต ายไปเกิด ในโลกหน้า ที่เ รีย กว่า “ เป รตวิส ัย ”
ความเชื่อ ดัง กล่า วนี้ส ะท้อ นให้เห็น ว่า “ เปรตวิส ัย ” เป็น โลกหน้า ที่ส ัต ว์จ ะต้อ งไปเกิด หลัง
จากเลีย ชีว ิต ลง มีห ลัก ฐานปรากฎในพระไตรปิฎ กดัง จะเห็น ได้จ ากข้อ ความว่า

อิธาห0 สารีป ุต ฺต เอกจฺจ ํ ปุค ฺค สํ เอวํ เจตสา เจโต ปริจ ฺจ ชานามี ตถ ายํ
ปุค ฺค โล ปฎิป นฺโน ตถา จ อิร ิย ติ ตณฺจ มคฺค ํ สมารูโ ฬฺห ยถา กายสฺส
เภท า ปรม.มรถท ปิต ฺต ิว ิส ยํ อุป ปซฺช ีส ฺส ติต ิ ตเมนํ ปสฺส ามิ อปเรน สมเยน
ทิพ .เพน จก.ขุนา วิส ุท ฺเธน อติก ฺก นฺต มานุส เกน กายสฺส เภท า ปรม.มรณา
ปิต ุต ิว ิส ย0 อุป ปนฺน ่ ทุก .ขพหุล า เวทนา เวทิย มาน่. . .
(สุย ามรฎรสุส เตปิฏ กํ เล่ม ที่ ๑ไอ, ๒๕๒๕: ๑๕๑)
แปลว่า

ดูก ่อ นสารีบ ุต ร เราย่อ มกำหนดรู! จบุค คลบางคนในโลกนี้ด ้ว ยใจอย่า งนี้ว ่า


บุค คลนี้ป ฏิบ ัต ิอ ย่า งนั้น ดำเนิน อย่า งนั้น และขึ้น ล่ห นทางนั้น เบื้อ งหน้า แต่
ตายเพ ราะกายแตก จัก เข้า ถึง เปรตวิส ัย โดยสมัย ต่อ มา เราย่อ ม.ห็น บุค คลนั้น
เนี้อ งห น้า แต่ต ายเพ ราะกายแตก เข้า ถึง แล้ว ซึ่ง เปรตวิส ัย เสวยทุก ขเวทนา
เป็น อัน มาก ด้ว ยทิพ ยจัก ษุอ ัน บรีส ุท ธิ้ ล่ว งจัก ษุข องมนุษ ย์. . .
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๑๒, ๒๕าอ ๕: ๑๔๒)
จากข้อ ความดัง กล่า วข้า งด้น จะเห็น ว่า ความเชื่อ ว่า “ เปรตวิส ัย ” เป็น แดน
ที่ส ัต ว์ผ ู้ฑ ำชั่ว จะไปถึง หลัง จากเสีย ชีว ิต ลง มีห ลัก ฐานอ้า งอิง ปรากฏชัด เจนในพระไตรปิฎ ก
โดยเฉพาะอย่า งยิ่ง ในเปตวัต ถุ มีเรื่อ งราวของ “ เปรตวิส ัย ” ปรากฏอยู่ห ลายเรื่อ ง ดังเช่น
เรื่อ งพระสารีบ ุต รได้พ บเปรตผอมเหลือ แต่ซ ี่โ ครงเปลือ ยกายรูป ร่า งน่า เกลีย ดยืน อยู่ต รงประตู
ดัง ข้อ ความว่า . .อหนุเต สกีย า มาตา ปุพ ฺเ พ อณุณ าสุ ชาตีส ุ อุป ฺป นุน า ปิตุติวิสย*
ขุป ฺป ิป าสา สมปุป ิต า. . .” (สุย ามรฎรสุส เตปิฏ กํ เล่ม ที่ ๒ ๖1 ๒๕!๒๕: ๑๗๒) แปลว่า
. .[นางเปรตนั้น ตอบว่า ] ข้า แต่ท ่า นผู้เ จริญ เมื่อ ก่อ นดิฉ ัน เป็น มารดาของท่า น ในชาติ
เหล่า อื่น ดิฉ ัน เข้า ถึง เปรตวิส ัย เพีย บพร้อ มไปด้ว ยความหิว กระหาย. . .” (พระไตรปิฎ ก
ภาษาไทย เล่ม ที่ ๒ ๖1 ๒๕๓๐: ๑๖๘)
เมื่อ ในพ ระไตรปิฎ กปรากฏหลัก ฐานแสดงให้เ ห็น ว่า “ เป ร ต วิส ัย ” คือ โลก
หน้า ที่อ ยู่ข องผู้เ สวยผลกรรมชั่ว อย่า งเด่น ชัด แล้ว ในส่ว นของอรรถกถานั้น ไดัม ีห ลัก ฐาน
อธิบ ายความเชื่อ เรื่อ ง “ เปรตวิส ัย ” ปรากฏอยู่ห ลายแห่ง เช่น กัน ดัง จะเห็น ได้จ ากอรรถกถา
“ เปตวัต ถุ” ซึ่ง น ำเอาคาถา “ ติโ รกุฑ ฑกัณ ฑ์” ในพระไตรปิฎ กมาเขีย นอธิบ ายสรุป ว่า
ส าเห ตุท ี่พ ระพ ุท ธเจ้า ตรัส คาถาน ี้เ พ ราะญ าติข องพ ระเจ้า พ ิม พ ีส ารตายไปเกิด เป็น เปรตได้
พ ากัน มาส ่ง เส ีย งร้อ งขอส ่ว น บ ุญ ดัง น ั้น จึง เรีย กเปรตน ี้ว ่า “ ติโ รกุฑ ฑ เปรต” ราย
ละเอีย ดมีป รากฏใน ติโ รกุฑ ฺฑ เปตวตุถ ุว ณฺณ นา, ๒๑-๓๓ (พระธัม มปาละ, ๒๕๓๓ข)
เรื่อ งของเปรตญ าติพ ระเจ้า พีม พีส ารนี้ ยัง มีป รากฏในอรรถกถาธรรมบทเรื่อ ง “ สัญ ชัย ”
ด้ง ข้อ ความว่า “ เด สงฺฆ สุส ทิน ุน ํ วฎฏํ ขาทิต วา กายสุส เภทา เปตุต ิว ิส เย นิพ ฺพ ตฺต ึส ุ
[คนเหล่า นั้น พากัน รับ ประทานอาหารที่จ ้ด เตรีย มถวายพระสงฆ์ เมื่อ ดับ ขัน ธ์ล งจึง บัง เกิด
ในเปรตวิส ัย ]” (พระพุท ธโฆสาจารย์, ๒๕๓๓ก)
จากที่ก ล่า วมานี้จ ะเห็น ได้ว ่า ความเชื่อ เรื่อ ง “ เปรตวิส ัย ” มีส ่ว นสัม พัน ธ์ก ับ
แนวคิด ว่า เปรต หมายถึง คนตายผู้! ปเกิด ในเปรตวิส ัย ตรงนี้เราจะเห็น ว่า พระ
อรรถกถาจารย,ได้อ ธิบ ายค วาม เช ื่อ เรื่อ งเป รต ไว้ว ่า ห ม ายถ ึง ค น ต ายไป เก ิด ใน เป รต วิส ัย
และอธิบ ายไว้ช ัด เจนว่า “ เปรตวิส ัย ” หมายถึง แดนเสวยผลกรรมชั่ว ของเปรตซึ่ง ญาติพ ี่
น้อ งจะต้อ งทำบุญ อุท ิศ ส่ว นกุศ ลส่ง ไปให้
มีป ระเด็น ท ี่น ่า วิเ คราะห ์ค ือ ความเชื่อ เรื่อ ง “ เป รตวิส ัย ” ผู้ว ิจ ัย เห ็น ว่า
ความเชื่อ ในทำนองนี้เกิด ขึ๋น จากแนวคิด “เปรต” หมายถึง คนตายไปเกิด ในโลกหน้า ที่เรีย กว่า
“ เปรตวิส ัย ” ซึ่ง ได้ร ับ อิท ธิพ ลจากแนวคิด เรื่อ ง “ คติ ๕” การยอมรับ เรื่อ งการเวีย นว่า ย
ต ายเก ิด เป็น สาเหตุส ำคัญ ที่ท ำให้เ กิด ความเชื่อ ว่า “ เปรตวิส ัย ” คือ โลกหน้า ที่ส ัต ว์จ ะต้อ ง
๓๓

เดิน ทางไปถึง ถ้า หากทำกรรมชั่ว อัน เป็น สาเหตุใ ห้ต ายไปเกิด เป็น เปรตซึ่ง จะได้ก ล่า วถึง ใน
ตอนต่อ ไป
จากที่ก ล่า วมานี้แ สดงให้เห็น ว่า ความเชื่อ เรื่อ ง “ เปรตวิส ัย ” ในชั้น อรรถกถานั้น
หมายถึง โลกหน้า อย่า งหนึ่ง อัน เป็น ที่อ ยู่ข องอมนุษ ย์ผ ู้อ ดอยากหิว โหย จนต้อ งมาร้อ งขอ
แบ่ง ส่ว น บุญ จากมน ุษ ย์ แสดงให้เ ห็น ว่า ในชั้น อรรถกถาได้ย อมรับ กัน ว่า “ เปรดวิส ัย ”
เป็น สถานที่อ ยู่ข องผู้ร ับ ผลกรรมชั่ว อัน เกิด จากประพฤติผ ิด คืล ธรรม
ด้งนั้น ผู้ว ิจ ัย 'จะ'โด้ค ืก ษาความเชื่อ เรื่อ งเปรต ในประเด็น ที่ว ่า เปรต คือ ผู้ร ัน
ผลกรรมชั่ว อัน เกิด จากประพฤติผ ิด คืล ธรรมต่อ ไปตามลำดับ เพื่อ ความเข้า ใจความเชื่อ
เรื่อ งเปรตอย่า งแจ่ม ชัด

ข. ความเชื่อ ว่า “ เปรต” คือ ผู้ร ับ ผลกรรมชั่ว อัน เกิด จากประพฤติผ ิด คืล ธรรม

ความเชื่อ เซ่น นี้ เกิด จากแนวความคิด ที่ว ่า เปรตโลก เป็น สถานที่เ สวยผล
กรรมของคนทำชั่ว ต่า ง ๆ ในพระไตรปิฎ กตอนเปตวัต ถุม ีเ รื่อ งราวของเปรตผู้เ สวยผล
กรรมช ั่ว ป รากฎ อยู่ห ลายเรื่อ ง ยกตัว อย่า งเซ่น นางน้น ฑ าที่ต ายไปเกิด เป็น เปรตเพราะ
เป็น คน ดุร ้า ยห ยาบ คาย ไม่เคารพเชื่อ ฟัง ใคร เมื่อ ตายลงจึง ไปเกิด ในเปรตโลก ด้งข้อ
ความว่า

กิน ฺน ุ กาเยน วาจาย มนสา ทุก.กฎ0 กตํ


กิส ฺส กมุม 'วิป าเกน เปตโลก0 อิโด ค ต าต ิฯ
จณฺฑ ี จ ผรุส า จาสิ ตยิ จาสิ อคารวา
ดาหํ ทุร ุต ฺต ํ วตฺว าน เปตโลก0 อิโด ค ด าต ิฯ
(ลุย ามรฎรลุส เตปิฎ ก0 เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕าอ ๕: ๑๗ ๙)
แปลว่า

[น้น ทเสนถามว่า ]

ท ่า น ท ำ ก ร ร ม ช ั่ว อ ะ ไ ร ไ ว ้ด ้ว ย ก าย วาจ า ใจ เพ ร าะ ว ิบ าก แ ห ่ง ก ร ร ม อ ะ ไ ร
ท่า นจึง ไปจากโลกนี้ส ่เปต!ลก

[นางเปรตนั้น ตอบว่า ]

เมื่อ ก่อ นฉัน เป็น หญ ิง ดุร ้า ย ห ยาบ คาย ไม,เคารพท่า น พูด คำชั่ว หยาบกะท่า น
จึง ไปจากโลกนี้ล ่เ ปดโลก.. .
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕ฅ ๐: ๑๗๕)

ข้อ ความดัง กล่า วนี้ช ี๋ใ ห้เ ห็น ว่า คนตายไปเกิด เป็น เปรตนั้น เป็น เพราะได้ท ่า
กรรม ช ั่ว เอาไว้แ ต ่เ ม ื่อ ค รั้ง เป ็น ม น ุษ ย์ ดัง น ั้น จึง ต้อ งไปเกิด เป็น เปรตเพื่อ รับ ผลกรรมนั้น
ความเชื่อ ในทำนองนี้ มีป รากฎอยู่ห ลายแห่ง ดังเช่น เรื่อ งที่อ ุบ าสกคนหนึ่ง ไปพบนาง
เปรตเสริน ีน างสารภาพว่า สมัย เป็น มนุษ ย์ม ีค วามตระหนี่ไ ม,เคยทำบุญ เมื่อ ตายลงอดอยาก
หิว โหยจึง ออกปากขอร้อ งให้อ ุบ าสกช่ว ยไปแจ้ง ข่า วให้ม ารดาช่ว ยทำบุญ อุท ิศ ส่ว นกุศ ลมาให้
ดัง ข้อ ความว่า “ สาธูต ิ โส ตสฺส า ปฎิส ุณ ิต ฺว าคนฺต ฺว าน หตฺถ ิน ีป ุร ํ ตสฺส า อโวจ มาดรํ
ธีต า จ เต มยา ทิฎ รา ทุค ฺค ตา ยมโลกิก า ปาปกมุม ' กรีต ุ'วาน เปตโลก่ อิโต
คตา. . .” (สุย ามรฎรสุส เตปิฎ ก0 เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕๒๕: ๒๑๗) แปลว่า “ อุบ าสกนั้น รับ
คำของนางเปรตเสรีน ีแ ส้ว กลับ ไปล่ห ัต กิน ีน คร บอกแก่ม ารดาของนางว่า ข้า พเจ้า เห็น
นางเสรีน ีธ ิด าของท่า น เขาตกทุก ข์เกิด ในยมโลก เพราะได้ท ำกรรมชั่ว ไว้ จึง'ไป'จากโลกนี้ล ่
เปดโลก” (พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕๒๕: ๒๑๒)
นอกจากนี้แ ล้ว ในส่ว นของอรรถกถานั้น ความเชื่อ ว่า “ เปรต” คือ ผู้ไ ปเกิด
ในแดนเปรตเพื่อ รับ ผลกรรมชั่ว ปรากฎให้เห็น เด่น ซัด หลายเรื่อ ง เช่น อรรถกถาธรรมบท
มีเ รื่อ งของเปรดที่ม ีร ่า งเป็น งูแ ต่ห ัว เป็น คนลำตัว ยาวถึง ๒๕ โยชน์* ไฟลุก ไหม้ท ่ว มตัว ตั้ง
แต่ห ัว จรดหาง มีเ รื่อ งเล่า ส รุป ความได้ว ่า เคยท ุบ ท ำลายข้า วของเผาบ รรณ ศาลาส ถาน ท ี่
บ ำเพ ็ญ ภาวน าของพ ระป ัจ เจกพ ุท ธเจ้า จึง ถูก คน รุม ป ระชาท ัณ ฑ ์ค รั้น เส ีย ชีว ิต ก็ไ ป เกิด ใน
นรกอเวจีเ มื่อ วิบ ากกรรมเบาบางลงจึง มาเกิด เป็น เปรตร่า งงูเ ชิง เขาคิช ฌ กูฏ ดัง ข้อ ความว่า
“โส อวีจ ิม หิ นิพ ฺพ ตุต ิต ุว า ยาว ายํ ปรวิ โยชนมตุต ํ อุส ุส นฺน า ดาว นิร เย ปจิต วา

*โยชน ์ค ำน าม ชื่อ มาตราวัด ๔ ๐ ๐ เส้น = โยชน์ (ทวิศ ัก ดิ''ญาณประทีป และคณะ, ๒๕ ๔:


๑ รา

๔ รา๗ )
ปก.กาวเสเสน คิช ฺฌ กูเ ฎ อหิเปโต ทุต ฺ,ว า นิพ ฺพ ตฺต ิ [ชายคนนั้น บัง เกิด ในอเวจีน รก ไหม้
ใน นรกจนแผ่น ดิน ห นาขึ้น ราวโยชน์ห นึ่ง จึง บัง เกิด เป็น เปรตงูเ ซิง เขาคิช ฌ กูฏ เพราะวิบ าก
กรรมที่ย ัง เหลือ อยู่] ” (พระพุท ธโฆสาจารย์ ๒๕๓๒ก) และอีก เรื่อ งคือ เรื่อ ง เปรตกาลิ้น ยาว
๕ โยชน์ คืร ษะใหญ่ถ ึง ๙ โยชน์ ร่า งกายสูง ถึง ๒๕ โยชน์ มีเรื่อ งเล่า ประกอบด้ว ยสรุป
ค วาม ได ้ว ่า อ ด ีต ช าต ิเ ค ยข โม ยอ าห ารท ี,ประชาชนนำไปถวายพ ระสงฆ ์ส าวกพ ระกัส สป
สัม มาส้ม พ ุท ธเจ้า ด้ง นั้น เมื่อ ตายลงจึง ไปเกิด เป็น เปรตที,เซิง เขาคิช ฌกูฏ เพื่อ ชดใช้ผ ลกรรม
ด้ง ข้อ ความว่า “ อถสฺส ฝโด อาจิก ฺข นฺโ ต อหํ ภนฺเ ต โมคฺค ล.ลาน กสฺส ปสฺส มเหสิโบ
สง.ฆสฺส าภิห ฏํ ภตฺต ํ อาหเรสึ ยถิจ ฺฉ กนฺด ิ คาถํ วต.วา อาห. . . [ลำดับ นั้น เปรตได้
กราบเรีย นให้ท ่า นพระมหาโมคคัล ลานะนั้น ทราบว่า ช้า แต่ท ่า นโมคคัล ลานะ กระผมเคย
กลืน กิน ภัต ตาหารที่เ ขานำไปเจาะจงถวายสงฆ ์ข องพระกัส สปสัม มาส้ม พุท ธเจ้า จนสมใจ
อยากด้ง นี้แ ล้ว ได้เล่า ต่อ ไปว่า . . .” (พระพุท ธโฆสาจารย์, ๒๕๓๒ก) ความเชื่อ ว่า คนตาย
ไปเกิด เป็น เปรตเพื่อ ชดใช้ก รรมนี้ มีป รากฏในอรรถกถาหลายแห่ง เช่น อรรถกถาธรรมบท
อรรถกถาเปตวัต ถุ

จากข้อ ความด้ง กล่า วมาน ี้ แสดงให้เห็น ว่า “ เปรตวิส ัย ” เป็น สถานที่เ สวยผล
กรรมชั่ว อย่า งเบาที่ส ุด ของสัต ว์ผ ู้ท ำบาป หลัก ฐานในพระไตรปิฎ กและอรรถกถาได้แ สดง
ให้เ ห็น ว่า คนที บาปเมื่อ เสวยกรรมในนรกเสร็จ สิ้น แล้ว พอกรรมเบาบางลงจะเลื่อ นชั้น
'ท ำ

ขึ้น มาเกิด ในเปรตวิส ัย เสีย ก่อ น (ดูว ิท ยานิพ นธ์เ ล่ม นี้ หน้า ๓๔) และคำถามเปรีย บเทีย บ
ระหว่า ง เปรตวิส ัย กับ กำเนิด ดิร ัจ ฉาน (ดูว ิท ยานิพ นธ์เ ล่ม นี้ หน้า ๒๑) จากหลัก ฐานด้ง
กล่า วม าน ี้ แสดงให้เห็น ว่า “ เปรตวิส ัย ” มีค วามสัม พัน ธ์! กส้ช ิด มนุษ ย์ม ากกว่า ทุค ติอ ื่น ๆ
โดยเฉพาะในประเด็น เรื่อ ง “ ผลท าน ” เราจะเห็น ว่า ทานที,มนุษ ย์ใ ห้จ ากโลกนี้จ ะถึง แก1
เปรตเท่า นั้น (ดูว ิท ยานิพ นธ์เ ล่ม นี้ หน้า ๒๙) ด้ง ได้ก ล่า วมาแล้ว ว่า “ท ุค ติ” นั้น มี ๓ อย่า ง
คือ
๑. นรก
๒. กำเนิด สัต ว์ต ิร ัจ ฉาน
๓. เปรตวิส ัย

ส่ว นสุค ติน ั้น มิ ๒ คือ


๓๖

๑. ม น ุษ ย์
๒. เทวดา
ถ้า นำข้อ มูล ดัง กล่า วนี้ม าเขีย นเป็น แผนภูม ิ “ เปรตวิส ัย ” จะอยู่ต รงกลางระหว่า ง
“ท ุค ติ” กับ “ สุค ติ”

๑. เทวดา
๒. มน ุษ ย์ (สุค ติ ๒)

๓. เปรตวิส ัย (ทุค ติ ๓)

๔. กำเนิด ติร ัจ ฉาน


๔. นรก

จากแผนภูม ิข ้า งต้น นี้ จะเห็น ว่า “ เปรตวิส ัย ” เป็น ทุค ติอ ย่า งหนึ่ง ที่ผ ู้ป ระพฤติ
ผิด คืล ธรรมเมื่อ ตายลงจะต้อ งไปเกิด เพื่อ ชดใช้ก รรม ความเชื่อ ดัง กล่า วนี้ส ะท้อ นให้เห็น ว่า
“ เปรตวิส ัย ” เป็น แดนเสวยผลบาปของผู้ฑ ำชั่ว ที่ใ ห็โ ทษเบากว่า ทุค ติอ ื่น ๆ อีก ๒ ทุค ติ คือ
กำเนิด ติร ัจ ฉาน และนรก เป็น ที่น ่า สัง เกตว่า “ เปรตวิส ัย ” อยู่ต รงกลางระหว่า ง “ สุค ติ” กับ
“ท ุค ติ” ฉะนั้น จึง มีผ ลทำให้เกิด ความเชื่อ ในประเด็น สุด ท้า ยกล่า วคือ เชื่อ ว่า เปรต เป็น ผู้'ที่
มนุษ ย์พ ึง ทำทานอุท ิศ ล่ง ไปให้ ซึ่ง ผูว ิจ ัย จะไต้ก ล่า วถึง รายละเอีย ดต่อ ไปดามลำดับ

ค. ความเชื่อ ว่า “ เปรต” คือ ผ้ท ี่ม นษย์พ ึง ทำทานส่ง ไปให้

ความเชื่อ ว่า เปรต คือ ผู้ท ี่ม นุษ ย์พ ึง ทำทานส่ง ไปให้ เป็น ความเชื่อ ที่ม ีผ ลสืบ
เนื่อ งมาจากความเชื่อ ๒ ประการดัง กล่า วมาแล้ว จากการคืก ษาข้อ มูล ในพระไตรปิฎ ก
และอรรถกถาแล้ว ไต้พ บความเชื่อ การทำทานอุท ิศ ผลบุญ ให้แ ก่เ ปรตปรากฎอยู่ห ลายแห่ง
ดัง จะเห็น ไต้จ ากเรื่อ งสัง สารโมจกเปรตซึ่ง เป็น เรื่อ งของสตรีผ ู้ต ายไปเกิด เป็น เปรตแล้ว มา
ปรากฎกายขอร้อ งให้พ ระสารีบ ุต รช่ว ยทำทานแก'พระสงฆ์แ ล้ว อุท ิศ ผลบุญ ส่ง ไปให้ ซึ่ง
พระสารีบ ุต รกิร ับ คำและช่ว ยทำทานถวายข้า วนํ้า ผ้า แก่พ ระสงฆ ์ เมื่อ ท่า นอุท ิศ ส่ว นกุศ ล
ไปให้แ ล้ว เปรตได้ร ับ ผลบุญ ก็ห ลุด พ้น จากทุก ข์ท ัน ที ด้ง ข้อ ความว่า

วนฺฑ ามิ ต* อยฺย ปสนฺน จิต ฺต


อนุก มฺป ม* วีร มหานุภ าว
ทดวา จ เม อาทิส ยาหิ กิณ ฺจ ิ
โมเจหิ ม* ท ุค ฺค ติย า ภฑนฺเตติ ฯ

สาสูต ิ โส ดสฺส า ปฎิส ุณ ํต ฺ,วา สารีป ุต ฺโ ต อนุก มฺป โก


ภิกฺขูน* อาโลป้ ทตฺว า ปาณ ิม ตฺด ณ ฺจ โจลก*
ถาลกสฺส จ ปานีย* ตสฺส า ฑกฺข ิณ มาฑิส ิ
สมนนฺต รา อนุท ีฎ เร วิป าโก อ ุ ป ป ช ฺ ซ ถ ฯ . . .
(สุย ามรฎรสุส เดปิฎก* เล่ม ที่ ๒๖, ๒<£๒๕: ๑๗๑)
แปลว่า

[นางเปรตนั้น ตอบว่า ]

ข้า แด่พ ระผู้เ ป็น เจ้า ดิฉ ัน มีจ ิต เลื่อ มใสจะขอไหว้ฟ าน ข้า แด่ท ่า นผู้แ กล้ว กล้า
มีอ าน ุภ าพ มาก ขอท่า นจงอนุเ คราะห์แ ก่ด ิฉ ัน เถิด ขอท่า นจงให้ท านอย่า ง
ใดอย่า งหนึ่ง แล้ว จงอุท ิศ กุศ ลมาให้ด ิฉ ัน บ้า ง ขอท่า นจงเปลื้อ งดิฉ ัน จากทุค ติ
ด้ว ยเถิด

ท่า นพระสารีบ ุต รผู้ม ีใ จอนุเ คราะห์ รับ คำนางเปรตนั้น แล้ว จึง ถวายข้า วคำหนึ่ง
ผ้า ประมาณ เท่า ฝ่า มือ ผืน หนึ่ง และนํ้า ดื่ม ข้น หนึ่ง แก่ภ ิก ษุท ั้ง หลายแล้ว อุท ิศ
ส่ว นบุญ ไปให้น างเปรตนั้น พอท่า นพ ระสารีบ ุต รเถระอุท ิศ ส่ว นบุญ ไปให ้
ข้า วนั้า และเครื่อ งนุ่ง ห่ม ก็บ ัง เกิด ขึ้น ทัน ที นี้เป็น ผลแห่ง ทัก ษิณ า. . .
(พระไตรปิฎ กภาษาไทย เล่ม ที่ ๒๖, ๒๕๓๐: ๑๖๗)

ความเชื่อ เรื่อ งเปรตในประเด็น การทำบุญ ถวายทานแก,พระสงฆ์เพื่อ อุท ิศ ส่ว น


บุญ ไปให้แ ก'เปรต มีป รากฏในพระไตรปิฎ กตอนอื่น ๆ อีก อย่า งเช่น เรื่อ งของนางดิส สา
ที่เ ห็น เปรตปรากฎร่า งมายืน ตรงประตูอ ้อ นวอนให้น างนิม นต์พ ระสงฆ ์ฉ ัน ภัต ตาห ารแล้ว
อุท ิศ ส่ว นบุญ ส่ง ไปให้ นางจึง ทำตามความประสงค์ข องเปรต จากนั้น จึง อุท ิศ ส่ว นกุศ ลไป
ให้เปรต ข้า วนั้า และเครื่อ งนุ่ง ห่ม ของทิพ ย์อ ้น เป็น ผลเกิด จากการทำบุญ ได้เ กิด ขึ้น แก,เปรต
ใบทัน ที ดัง ข้อ ความว่า

. . .สาธูต ิ สา ปฎิส ุต ุ'วา โภชยิต ฺว า อฎร ภิกฺฃโว


วตฺเ ถหิจ ฺฉ าฑ ยิต ฺว าน ตสฺส า ฑกฺข ิณ มาทิส ิ ฯ
สมนนฺต รานุท ิฎ พ วิป าโก อุป ปชฺช ถ. . .
โภชนจฺฉ านทนปานีย ํ ฑกฺข ิณ าย อิท ํ ผล0. . .
(สยามรฎรสฺส เตปิฎ ก0 เล่ม ที่ ๒๖, ๒ ๕๒๕: ๑๗๘)

ในส่ว นของอรรถกถานั้น ความเชื่อ เรื่อ งการทำบุญ ให้ท านเพื่อ อุท ิศ ให้แ ก่เปรตนั้น
มีป รากฏเป็น เรื่อ งเป็น ราวชัด เจนกว่า ในพระไตรปิฎ ก ดัง จะเห็น ได้จ ากอรรถกถาเรื่อ งเขต
ตูป มเปรตในเปตวัต ถุ ม ีก ารน ำเอาคาถา “ เขดฺต ูป มา อรหนุโ ต” เป็น ด้น จากพระไตรปิฎ ก
มาแต่ง พรรณ นาความแสดงให้เ ห็น ผลของการทำบุญ ให้ท านแก,พระสงฆ์ผ ู้เ ป็น เนื้อ นาบุญ
แล้ว เปรตจะได้บ ริโ ภคผลทานนั้น ด้ง ข้อ ความว่า “ ตดฺถ ต0 เปตา ปริภ ุณ ฺช นุต ิ ท ายเกน
เปเต อุท ฺท ิส ฺส ทาเน ทิน ุเน ยถาวุต ฺต เขตฺต กสิพ ีช สมปตฺต ิย า อนุโ มทนาย จ ย0 เปตาน0
อุป กปฺป ติ, ต0 ทานผล0 เปตา ปริภ ุณ ฺซ นุต ิ [บรรดาบทเหล่า นั้น บ าท ค าถาว่า ต0 เปตา
ปริภ ุฌ ฺช นุต ิ ความว่า เมื่อ ทายกถวายทานอุท ิศ ให้เ ปรตแล้ว เปรตทั้ง หลายย่อ มได้บ ริโ ภค
ผลท าน ท ี่ส ำเร็จ แก,เป รตเพ ราะส มบ ัต ิค ือ น าการไถน าและพ ืช ตามท ี่ก ล่า วแล้ว และการ
อนุโ มทนา]” (พระธมมปาละ, ๒๕๓๙ข)
อีก เรื่อ งคือ เรื่อ งนางบัน ฑาที่ต ายไปเกิด เป็น เปรตแล้ว สามีท ำทานล่ง ไปให้จ ึง ได้
รับ ผลบุญ ดัง ข้อ ความว่า “ อหํ นนุท า นบุท ิเสน ภริย า เต ปุเร อหุ0 ปาปกมุม 0 กริต ฺว าน
เปตโลก0 อิโต คตา ดว ทิน ุเนน ทาเนน โมฑามิ อกุโ ตภยา จิร ํ ชีว คหปติ สห สพฺเพหิ
ณ าติภ ิ. . .” (พระธัม มปาละ, ๒๕'ฅฅข) และยัง มีเ รื่อ งราวเกี่ย วกับ การทำบุญ ให้ท านแก่
เปรตปรากฎอยู่ห ลายเรื่อ งในอรรถกถาเปตวัต ถุ ข้อ นี้แ สดงให้เห็น ว่า ความเชื่อ “ การทำ
บุญ ให้ท านแก่เปรต” เป็น ผลสืบ เนื่อ งมาจากความเชื่อ ๒ ประการดัง ได้ก ล่า วมาแล้ว ใน
ประเด็น นี้ ผู้ว ิจ ัย เห็น 'ว่า ความเชื่อ ประเด็น นี้เ กิด ขึ้น เพราะสาเหตุส ำคัญ ๒ ประการ
ประการแรก การรับ เอาคติค วามเชื่อ เรื่อ งการทำบุญ อุท ิศ ให้ผ ู้ล ่ว งลับ ซึ่ง เป็น
ความเชื่อ ของพ ราห มณ ์ม าดัด แป ลงให ้เ ข้า กับ คติท างพ ุท ธโดยเน ้น เรื่อ งการถวายท าน แก,
พระสงฆ์โ ดยยกพระสงฆ์ข ึ้น เป็น เนื้อ นาบุญ ที่ย อดเยี่ย มไม่ม ีน าบุญ อื่น ยิ่ง ไปกว่า
ประการที่ส อง ความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งพระกับ ชาวบ้า น การทำทานอุท ิศ
ส่ว นกุศ ลให้แ ก่เปรต นอกจากจะเป็น ผลดีแ ก,ผู้ล ่ว งลับ ไปแล้ว ยัง เป็น ผลดีแ ก,พระสงฆ์ผ ู้
ยัง มีช ีว ิต อยู่ ดัง เป็น ที่ท ราบกัน โดยทั่ว ไปว่า พระสงฆ์ค ือ ผู้ส ละเรือ นออกมาบวชโดยไม่ท ำ
งานอื่น ใด ท่า นเหล่า นื้จ ะยัง ชีพ อยู่ไ ม่ไ ด้ หากไม่ม ีค นถวายสิ่ง ของที่จ ำเป็น แก่ส งฆ์ เราจะ
เห็น ว่า ในการถวายทานตามที่ป รากฏในหลัก ฐานที่ย กมาอ้า งอิง จะมีส ิ่ง ของสำคัญ ต อย่า ง
คือ ข้า ว บา และผ้า ปรากฏอยู่เ สมอ แต่ถ ึง กระนั้น การกล่า วถึง ความเชื่อ เรื่อ งเปรตเพีย ง
๒ อย่า งนื้ก ็ย ัง ไม่อ าจสรุป ภาพที่ช ัด เจนของความเชื่อ เรื่อ งเปรด จึง สมควรทราบความ
เชื่อ เรื่อ งเปรตประการที่ ๓ ต่อไป
จาก ท ี่ก ล่า วมาทั่ง หมด ผูว ิจ ัย เห็น ควรสรุป ว่า ความเชื่อ เรื่อ งเปรต มี ฅ
ประการ
ประการแรก เชื่อ ว่า เปรตวิส ัย คือ โลกหน้า ที่ค นจะต้อ งไปถึง ทั่ง นื้เ พราะอิท ธิ
พลของแนวคิด เรื่อ งคติ ๕
ประการที่ส อง เชื่อ ว่า เปรต คือ ผู้เสวยผลกรรมชั่ว ในเปรตโลก ทั่ง นื้เพราะ
ประพฤติผ ิด คืล ธรรมอัน ดีง ามของมนุษ ย์
และป ระการสุด ท ้า ย เชื่อ ว่า เปรต คือ ผู้ท ี,เสวยผลกรรมชั่ว ในเปรตโลกที่
มนุษ ย์พ ึง ทำทานอุท ิศ ผลบุญ ส่ง ไป ใ ห ้ ทั่ง นี้ เป็น ผล ส ืบ เนื่อ งมาจากความเชื่อ ไอ ประการ
ขางตน
ความเชื่อ ทั่ง ฅ ประการนี้ ได้ส ะท้อ นให้แ นวคิด ว่า “ เปรด” หมายถึง คน ตาย
ไปเกิด ในเปรตวิส ัย ปรากฏชัด เจนกว่า แนวคิด ว่า “ เปรต” หมายถึง คนตายผู้ล ่ว งลับ ไปสู่
โลกหน้า ดังนั้น จึง ส่ง ผลให้ว รรณกรรมเกี่ย ว ก ับ เรื่อ งเปรตในระยะหลัง อธิบ ายเรื่อ ง
เปรตในแนวคิด ว่า เปรตหมายถึง คนตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย ม าก ก ว่า จะอธิบ ายตาม แน ว
คิด ว่า เป รตห มายถึง คน ตายผู้ล ่ว ง ลับ ไปสู่โ ลกหน้า และมีผ ลให้เกิด พิธ ีก รรม และประเพณี
ต่า ง ๆ เกี่ย วกับ เปรต ดัง จะได้ก ล่า วถึง ต่อ ไปใน บ ฑ ท ี่ ๔
เมื่อ เราทราบความเชื่อ เรื่อ งเปรตในพระไตรปิฎ กโดย ล ำ ด ับ แล้ว ประเด็น ที่
น่า คืก ษาต่อ ไปคือ สาเหตุท ี่เ กิด เป็น เปรต
สาเหตุที่เกิดเป็นเปรต

สาเหตุที่เกิดเป็นเปรตนี้ เป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่ง เพราะมีราย


ละเอียดปรากฎอยู่มากในหลักฐานชั้นพระไตรปิฎก และอรรถกถา แสดงให้เห็บว่า ผู้ที่
ดายไปเกิดเป็นเปรต ต้องมีสาเหตุสำคัญที่ทำให็ได้รับผลกรรมเช่นนั้น ดังนั้นผู้วิจัยเห็น'ว่า
ควรคืกษาสาเหตุที่เกิดเป็นเปรตเพื่อจะได้เข้าใจอย่างแจ่มซัดถึงสาเหตุที่แท้จริงอัน
ปรากฏเป็นหลักฐานตามลำดับ
ตามคติความเชื่อของคนไทยโดยทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่จะคิด และเชื่อกันว่า ผู้ท
ตายไปเกิดเป็นเปรตนั้น คือ ผู้'ที่'ขโมยของ'วัด ลักของสงฆ์ หรือผู้ที่มีความตระหนี่ถี่เหนียว
หวงแหนฑรัพย์สมบัติไม่ยอมกินยอมใช้
ดังนั้นเมื่อตายลงจึงไปเกิดเป็นเปรตนี่เป็นแนวคิดและความเชื่อทั่วไปของคนไทย
ซึ่งอาจสรุปไต้ว่า เมื่อเอ่ยถึงสาเหตุเกิดเป็นเปรต ส่วนใหญ่จะเชื่อกันว่ามี ๒ สาเหตุ นั้นคือ
ลักของสงฆ์ อันเป็นบาปทางกาย และความโลภ อันเป็นบาปทางใจ
ประการแรกนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าเพราะเรารับเอาแนวคิด และความเชื่อเรื่อง
เปรตพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากชั้นอรรถกถา และวรรณกรรม
พุทธศาสนาในประเทศไทยไต้นำเอามาอธิบายขยายความซํ้าอีกครั้งหนึ่ง
ประการต่อมา ผู้วิจัยเห็นว่าเนื่องจากได้ฟังพระท่านเทศน์เรื่องคนโลภหวง
แหนสมบิตในที่สุดเมื่อสีชีวิตลงก็ไปเกิดเป็นเปรตซึ่งส่วนใหญ่เป็นหลักฐานที่พบในเปตวัตถุ
จากการคิกษาข้อมูลเรื่องเปรตในพระไตรปิฎก และอรรถกถาดูโดยละเอียดแล้ว
ไต้พบว่าผู้ที่เกิดเป็นเปรตนั้น คือผู้ล่วงละเมิดจริยธรรมพื้นฐานของมนุษย์ อันไต้แก่การ
การทำบาปทางกาย วาจา และใจ ผลของการทุจริตผิดคืลธรรม จึงเป็นสาเหตุส ำค ัญ ที่
ทำให้ตายไปเกิดเป็นเปรต และผู้ทำบาปหนักถึงชั้นตกนรก เมื่อเสวยผลกรรมใบนรกจน
วิบากกรรมเบาบางลงแล้ว จึงจะไต้เลื่อนชั้นขึ้นมาเป็นเปรตเพื่อซดใช้กรรมที่ยังเหลือต่อไป
คำสอนทางพุทธศาสนาถือว่า ความสุจริตของบุคคลแบ่งออกเป็น ฅ อย่าง
คือ สุจริตทางกาย วาจา และใจ คำว่า “สุจริต” นี้ แปลว่า ประพฤติดี ถ้าหากเรา
ประพฤติชั้ว ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือใจ ก็ย่อมจะตายไปเกิดเป็นเปรตไต้ทั่งนั้น
ดังจะเห็นไต้จากพระดำรัสเกี่ยวกับสาเหตุที่ตายไปเกิดเป็นเปรตที,พระพุทธเจ้าตรัสไว้
สรุปความได้ว่า ผู้ที่ทำบาปทางกาย วาจา ใจ ด่าว่าพระอริยสงฆ์ ผู้หมดจดปราศจากกิเลส
มีความเห็นผิดไม่เชื่อโลกนี้ โลกหน้า ไม,เชื่อผลของการทำบุญให้ทาน ประเด็นที่กล่าว
มานี้เป็นสาเหตุให้ดายไปเกิดเป็นเปรตได้ทั้งสิ้น ด้งข้อความว่า

ภควา เอตฑโวจ เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว เฑฺว อคารา สทวารา ฯ ตตฺร จกขมา


ปุริโส มชฺเฌ ริโต ปสฺเสยฺย มนุสุเส เคหํ ปวิสนฺเตปิ นิกฺขมนุเดปิ
อนุสณฺจรน.เตปี อนุวิจรนุเตปิ เอวเมว โข อห0 ภิกฺขเว ฑิพฺเพน จกข-นา
วิสุฑฺเธน อดิกฺกนุตมานุสเกน สต.เต ปสุสามิ จวมาเน อุปปชฺชมาเน หีเน
ปณีเต สุวณฺเณ ทุพฺพณฺเณ สุคเต ทุคฺคเด ยถากม.มูปเค สตฺเต ปชานามิ
. . .อิเม วด โภนุโต สตฺตา กายทุจฺจริเตน สมนุนาคตา วจีทุจฺจร ิเดน
สมน.นาคตา มโนทุจฺจริเดน สมนุนาคตา อริยาน่ อุปวาทกา มิจฺฉาทิฎริกา
มิจฉาทิฎริกมุมสมาทานา เต กายสุส เภทา ปรม.มรณา ปีตฺติวิสยํ
อุปปนุนา. . .
(สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที, ๑๔1 ๒๔๒๕: ๓๓๔-๓๓๔)

แปลว่า

พระผู้ม ีพ ระภาคเจ้าตรัสด้งนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลัง มีประตูตรงกัน บุรุษผู้มื


ดาดียืนอยู่ระหว่างกลางเรือน ๒ หลังนั้น พึงเห็นคนกำลังเดินเข้าบ้าง กำลัง
เดินออกบ้าง กำลังเดินมาบ้าง กำลังเดินไปบ้าง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกันแล เราย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุฑธี๋ลวงจักษุ
วิสัยของมนุษย์ ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า. . .สัตว์ผู้
กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน
พระอริยะ เป็นมิจฉาทิฎฐิ เชื่อนั้นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฎฐิ เมื่อดายไปแล้ว
เข้าถึงเปรตวิสัยก็มื. . .
(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๑๔, ๒๔๓๐: ๓๓๔)
จะเห็นว่า ผู้ที่จะเข้าถึงเปรตวิสัยกล่าวคือตายไปเกิดเป็นเปรตนั้น หมายถึง
คนที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฐิ คำว่า
“ทุจริต” มีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “ความไม่สะอาด [อโสเจยยะ]” และความไม่สะอาดนี้
มี ๓ อย่าง คือ ไม่สะอาด กาย วาจา และใจ
ความไม่สะอาดกายวาจาใจนี้ ในพระพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
อกุศลกรรมบถ แปลตามรูปศัพท์ว่า ทางแห่งกรรมไม่ตี มี ๑๐ อย่าง คือ การฆ่าสัตว์ สัก
ทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ฅ อย่างนี้เรียกว่ากายทุจริต การพูดเท็จ พูดล่อเสียด พูดคำ
หยาบ และพูดเพ้อเจ้อ ๔ อย่างนี้เรียกว่าวจีทุจริต และการเพ่งเล็งโลภอยากได้ของผู้อื่น
พยาบาทมุ่งจะให้ผู้อื่นวิบัติ และเห็นผิดว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล ผลกรรมดีกรรมชั่วไม,มี
โลกนี๋ไม่มี โลกหน้าไม่มีเป็นด้น เรียกว่ามโนทุจริต ความหมายของอกุศลกรรมบถ ๑๐
ประการอันเป็นสาเหตุให้ตายไปเกิดเป็นเปรตนั้น มีพุฑธาธิบายด้งต่อไปนี้

กถณฺจ จุนฺฑ ติวิธํ กาเยน อโสเจยฺยํ โหติ อิธ จุนฺฑ เอกจฺโจ ปาณาติปาตี
โหติ ลุทฺโธ โลหิตปาณี หตปหเต นิวิฎโร อฑยาปนฺโน ปาณภูเตสุ
อทินฺนาทายี โหติ ยนฺตํ ปรสฺส ปรวิตฺตูปกรณํ คามคตํ วา อรฌฺณคตํ วา
อทินฺน0 เถยฺยสงขาตํ อาทาตา โหติ กาเมสุ มิจฺฉาจารี โหติ ยา ตา
มาตุรกฺขิตา ปีตุรกฺขิตา ภาตุรกฺขิตา ภคินิรกฺขิตา ณาติรกฺขิตา ธมม-รก|ขิตา
สสามิกา สปริทณฺฑา อนุตมโส มาลาคุณปริกฺขิตาปี ตถารูปาสุ จาริตฺดํ
อาปชฺชิตา โหติ เอวํ จุนุท ติวิธํ กาเยน อโสเจยฺยํ โหด ฯ

กถณฺจ จุนุฑ จตุพพิธํ วาจาย อโสเจยฺยํ โหติ อิธ จุนุท เอกจฺโจ มุสาวาที
โหติ สภคฺคโด วา ปริสคฺคโต วา ณาติมชฺฌคฺคโด วา ปูคมชฺฌคฺคโต วา
ราชกุลมชฺฌคฺคโต วา อภินีโต สกฺขึ ปุฎโร เอหิ โภ ปริส ยํ ซานาสิ ตํ
วเทหีติ โส อชานํ วา อาห ชานามีติ ชานํ วา อาห น ชานามีติ อปสฺส0
วา อาห ปสฺสามีติ ปสฺสํ วา อาห น ปสฺสามีติ อิติ อตฺตเหตุ วา ปรเหตุ
วา อามิสกิณฺจิกฺขเหตุ วา สมป'ซานมุสา ภาสิตา โหติ ปีสุณวาโจ โหติ อิโต
สุตฺวา อมุตฺร อก.ขาตา อีเมสํ เภทาย อมุตร วา สุดุ'วา อีเมสํ อกขาตา
อมูสํ ๓ทาย อีติ สมคฺคานํ วา เภดฺตา ภินุนาน0 วา อนุปฺปทาตา วคฺคาราโม
วคฺครโต วคฺคนนุทิ วคฺคกรณึ วาจ0 ภาสิตา โหติ ผรุสวาโจ โหติ ยา สา
วาจา อณุฑกา กกุกสา ปรกภูกา ปราภิสชฺซนี โก!Îสาม'นุ'ตา อสมาธิ-
ส*วตฺตนิกา ดถารูปี วาจํ ภาสิดา โหติ สมผปฺปลาปี โหติ อกาลวาที อภูตวาที
อนตฺถวาที อธมฺมวาที อวินยวาที อนิธานวตึ วาจํ ภาสิดา โหดิ อกาเลน
อนปเฑสํ อปริยนุต'วสี อนตฺถสณุหิต0 เอว0โข จุน:ท จตุพพิธํ วาจาย อโสเจยฺย0
โหติ ฯ

กถฌฺจ จุน:ท ติวิธํ มนสา อโสเจยฺยํ โหติ อิธ จุนฺฑ เอกจุ!จ อภิชฺฌาลุ
โหติ ยนุต0 ปรสฺส ปรวิตฺตูปกรถ] ต0 อภิซฺฌิตา โหติ อโห วต ย0 ปรสส
ด0 มม อสุสาติ พฺยาปนุนจิตฺโต โหติ ปทุฎรมนสงฺกปฺโป อิเม สตฺตา หณฺณนุตุ
วา ภิชฺชนุตุ วา อุจฺฉิซฺชนุตุ วา วินสุสบุตุ วา มา วา อเหสุนุติ มิจฺฉาทีฎริโก
โหติ วิปริตฺตฑสุสโน นตฺถิ ทีนุนํ นตฺถิ ยิฎรํ นตฺถิ หุต0 นตฺถิ สุกตทุกุกตาน0
กมฺมาน0 ผล0 วิปาโก นตฺถิ อย0 โลโกนตฺถิ ปโรโลโก นตฺถิมาตา นตฺถิ ปิตา
นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา นตฺถิ โลเก สมณพฺราหุมณา สมฺมคฺคตา
สมมาปฎิปนุนา เย อิมณฺจ โลก0 ปรณจุ โลก0 สย0 อภิณุณา สจฺฉิกตฺวา
ปเวเทนุตีติ เอว0 โข จุบุฑ ติวิธํ มนสา อโสเจยฺย0 โหติ ฯ อิเม โข จุบุฑ
ฑส อกุสลกมฺมปถา...
(สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที่ ๒๔, ๒๔๒๔: ๒๘๔-๒๘๖)
แปลว่า

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า]

ดูก่อนจุนทะ ก็ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูก่อนจุนทะ


บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติฆ่าส ัต ว ์ หยาบช้า มีมีอเปีอนเลือด ตั้งอยู่
ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต ๑

เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ไดให้ คือ ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์


เครื่องปลื้มใจของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหริออยูในป่า ที่เจ้าของมิไดให้ด้วย
จิตเป็นขโมย ๑
เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา
บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา
สตรีมีสามี ผู้มอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้ที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวง
มาลัย ๑ ดูก่อนจุนทะ ความไม่สะอาดทางกายมี ฅ อย่าง อย่างนี้แล

ดูก่อนจุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ดูก่อนจุนทะ


บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปกติพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ใบ
ท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไป
เป็นพยานซักถามว่ามาเถิดบุรุษผู้เจริญท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้นดังนี้บุคคลนั้น
เมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม,เห็นกล่าวว่าเห็น หรือเมื่อ
เห็นกล่าวว่าไม,เห็น ดังนี้ เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งดนบ้าง เพราะ
เหตุแห่งผู้อื่น'น้าง เพราะเหตุเห็นแก,อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ ๑

เป็นผู้พูดล่อเสียด คือ ฟังความข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพี่อทำลายคบหมู่นี้


หรือฟังความข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้ง
หลายผู้สามัคคีกันให้แดกกัน หรือส่งเสริมชนทั้งหลายผู้แดกกันแล้ว ชอบ
ความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่
ทำให้แยกกัน ๑

เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง เดือดร้อนผู้อื่น


ส่อเสียดผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพี่อสมาธิ ๑

เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม,อิงอรรถ


อิงธรรม อิงวินัย กล่าววาจาไม่เป็นหลักฐาน ไม,มีที่อ้าง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มี
ประโยชน์โดยกาลไม่ควร ๑ ดูก่อนจุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง
อย่างนี้แล

ดูก่อนจุนทะ ความไม,สะอาดทางใจมี ฅ อย่าง อย่างไรเล่า ดูก่อนจุนทะ


บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุอันเป็น
อุปกรณ์แก,ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุอันเป็น
อุปกรณ์แก'ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นพึงเป็นของของเรา ดังนี้ ๑

เป็นผู้มีจิตปองร้าย คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า สัตว์เหล่านี้ จงถูกฆ่า


จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑

เป็นผู้มีค'วามเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล


การเซ่นสรวง’โม,มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่ว
ไม่มี โลกนี้!ม,มีโลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม,มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้
แจ้งชัด ด้วยบิญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ย่อมไม่มีในโลก
ดังนี้ ๑ ดูก่อนจุนทะ ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล

ดูก่อนจุนทะ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ ประการนี้แล...


(พระไตรปีฎกภาษาไทย เล่มที่ ๒๔, ๒๔๓๐: ๓๒๖-๓๒๘)

จากข้อความข้างดันนี้ สรุปความได้ว่า อกุศลกรรมบถมี ๑๐ อย่าง คือ


ฆ่าสัตว์ สักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม (กายทุจริต)
พูดเท็จ พูดล่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ (วจีทุจริต)
อภิชฌา โลภอยากได้ของคนอื่น ผูกพยาบาทจองเวรอยากให้ศัตรูถูกฆ่า ถูก
ทำลาย ถูกดัดรอน พินาศ หรืออย่าได้มีได้เป็น และเห็นผิดทำนองคลองธรรมว่าทานที่
ให้แล้วไม,มีผล การเซ่นสรวงไม,มีผล การบูชาไม่มีผล ผลกรรมดี กรรมชั่วไม่มี โลกนี้!ม่มี
โลกหน้าไม่มี แม่ไม่มี พ่อไม่มี สัตว์ที่ไปผุดไปเกิดไม่มี สำคัญผิดคิดว่านักบวชที่เห็นแจ้ง
โลกนี้!ลกหน้าเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองแล้วเป็ดเผยให้ชาวโลกได้รับทราบไม่มี (มโนทุจริต)
อกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ ๓ กลุ่ม คือ
กายทุจริต ๓
วจีทุจริต ๔
และมโนทุจริต ๓
เฉพาะมโนทุจริต ๓ คือ “อภิชฌา” “พยาบาท” และ “มิจฉาทิฐิ” อาจกล่าวได้ว่า
อภิชฌา คือ “โลภะ” พยาบาท คือ “โทสะ” และ มิจฉาทิฐิ คือ “โมหะ” ด้งจะเห็นได้ว่า
พระพุทธเจ้าเอง เมื่อตรัสถึงสาเหตุที่เกิดเป็นเปรตแล้ว ยังได้ตรัสถึง “โลภะ (โลภ) โทสะ
(โกรธ) โมหะ (หลง)” รวมอยู่ด้วย ด้งที่พระองค์ตรัสอธิบายความเชื่อเรื่องโลกหน้าไว้
สรุปความได้ว่า แดนเทวดา โลกมนุษย์ จะไม่ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดจากโลภะ โทสะ
และโมหะ แต่แดนนรก กำเนิดดิรัจฉาน และแดนเปรตปรากฎได้เพราะกรรมที่เกิดจากโลภ
โกรธ หลง ด้งข้อความว่า

. . .น ภิกฺขเว โลภเชน กมฺเมน โทสเชน กมฺเมน โมหเชน กมฺเมน เทวา


ปณฺณายนฺดิ มนุสฺสา ปฌฺณายนฺดิ ยา วาปนณฺณาปี กาจิ สุคติ อถโข ภิกฺขเว
โลภเชน กมฺเมน โทสเชน กมฺเมน โมหเชน กมฺเมน นิรโย ปณฺณายดิ
ปิตุดิวิสโย ปณฺณายดิ ยา วาปนฌฺณาปิ กาจิ ทุคฺคติ. . .
(สุยามรฎรสุส เตปิฎกํ เล่มที่ ไอไอ, ๒๒๒๒: ๓๗๘)

แปลว่า

. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อม


ไม่ปรากฎเพราะกรรมที่เกิดแต่โลภะ โทสะ โมหะ โดยที่แท้นรก กำเนิดสัตว์
ติรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือแม้ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏ เพราะกรรม
ที่เกิดแต่โลภะ โทสะ โมหะ. . .
(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๒๒, ๒๒๓๐: ๓๙๒-๓๙๖)

ข้อความด้งกล่าวนี้ สัมพันธ์กับข้อความที่พระพุทธเจ้าเองได้ตรัสอธิบายไว้
สรุปใจความได้ว่า เพราะอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ อย่างมาร่วมกัน จึงปรากฏนรก กำเนิด
ติรัจฉาน และแดนเปรต ดังข้อความว่า “.. .อิเมสํ ปน จุน/ท ทสนฺน0อกุสลานํ กมฺมปถานํ
สมนฺนาคมนเหตุ นิรโย ปณฺณายติ ติรจฺฉานโยนิ ปณฺณายติ ปิตุติวิสโย ปณฺณายติ ยา
วา ปนณฺณาปิ กาจิ ทุคฺคติ โหติ” (สุยามรฎรสุส เตปิฎกํ เล่มที่ ๒๔, ๒๒๒๒: ๒๘๗)
แปลว่า “. . .ดูก่อนจุนทะ ก็เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้
นรกจึงปรากฏ กำเนิดดิรัจฉานจึงปรากฎ เปรตวิสัยจึงปรากฎ หรือว่าทุคดิอย่างใดอย่าง
หนึ่งแม้อื่นจึงมี” (พระไดรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๒๔, ๒๔๓๐: ๓๒๙)
จากข้อมูลข้างด้น เราอาจวิเคราะห์สาเหตุที่เกิดเป็นเปรตได้ ๓ ประเด็น
๑. บาปทางกาย
๒. บาปทางวาจา
๓. บาปทางใจ
การวิเคราะห์ประเด็นทั้ง ๓ นี้ ผูวิจัยจะไข้แหล่งข้อมูลในพระไตรปิฎก ๒
แห่งคือ “มหาวิภังค์” และ “เปตวัตถุ” การที่ผูวิจัยไม่นำข้อมูลจาก “สักขณสังยุตต์” มา
ไข้วิจัยเพราะพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อมูลเกี่ยวกับเปรตในมหาวิภังค์ และสักขณสังยุตด้
เป็นข้อมูลเดียวกัน ต่างกันตรงที่รูปแบบในการนำเสนอเท่านั้น

ก. บาปทางกาย

ที่กล่าวว่า คนทำชั่วทางกายแล้วตายไปเกิดเป็นเปรต จะพบหลักฐานปรากฎ


จำนวนมากใน “มหาวิภังค์” จะเห็นได้จากเรื่องเปรต ๒๐ เรื่องในมหาวิภังค์ เป็นเรื่อง
ของคบทำบาปทางกายถึง ๑๒ เรื่อง ที่เหลืออีก ๘ เรื่องนั้นเป็นเรื่องของคนทำบาปทาง
วาจา ๔ เรื่อง อีก ๔ เรื่องกล่าวไว้รวม ๆ ไม่ระบุขัดเจน เป็นที่นำสังเกตว่า แหล่งข้อมูล
ตรงนี้ระบุว่า ผู้ที่จะตายไปเกิดเป็นเปรตนั้น คือผู้ที่ไปเกิดในนรกเสียก่อน เมื่อวิบากกรรม
เบาบางลงจึงมาเกิดเป็นเปรตเพื่อชดใช้กรรมที่ยังเหลือ ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า คนทำบาป
ทางกาย ส่วนใหญ่จะไปชดใช้กรรมในนรก มิไดิไปเกิดเป็นเปรตโดยตรง ต่อเมื่อวิบาก
กรรมเหลืออยู่น้อยแล้วจึงจะได้เลื่อนชั้นไปเกิดเป็นเปรต ดังจะเห็นได้จากเรื่องของเปรต
ที่เคยเกิดเป็นคนฆ่าโคสรุปความได้ว่า พระโมคคัลลานะได้พบเปรตร่างกระดูกลอยอยู่
กลางฟ้าถูกแร้งการุมจิกกินจึงนำมาเล่าให้พระสักขณเถระฟัง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัส
อธิบายว่า เป็นเพราะสมัยเป็นมนุษย์เคยฆ่าโคไหม้อยู่ในนรกนานหลายปี เพราะเศษ
กรรมที่ยังหลือจึงเกิดเป็นเปรตรูปร่างเช่นนั้น ดังข้อความว่า

อิธาหํ อาวุโส คิชฺฌกูฎา ปพฺพตา โอโรหนุโต อทฺฑสํ อฎริสงขลิกํ เวหาสํ


คจุฉนุต’. . .อถโข ภควา ภิกฺขู อามนุเตสิ. . .เอโส ภิกฺขเว สตฺโด อิมสฺมึเยว
ราชคเห โคฆาตโก อโหสิ โส ตสฺส กมฺมสฺส วิปาเกน พหูนิ วสฺสานิ พ ห ูนิ
วสฺส สตานิ พหูนิ วสฺสสหสฺสานิ พหูนิ วสฺสสตสหสฺสานิ นิรเย ปจิตฺวา
ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากาวเสเสน เอวรูป อตฺตภาวํ ปฎิสํเวเฑดิ. . .
(สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที่ ๑, ๒๔๒๕: ๒๑๑-๒๑'๒)
แปลว่า

[ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า] อาวุโส ผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ


บรรพตเขตพระนครราชคฤห์นี้ได้เห็นอัฎฐิสังขสิกเปรตมีแต่ร่างกระดูก ลอยไป
ในเวหาส. . .ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับทั้งกะภิกษุทั้งหลายว่า. . .ดูก่อน
ภ ิก ษ ุทั้งหลาย สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าโคอยู่ในพระนครราชคฤห์นี่เอง ด้วย
วิบ าก แห่งกรรมนั้น เขาหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ที่ยัง
เป็นส่วนเหลืออยู่. . .
(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๑, ๒๕๒๕: £'๖๔)

นอกจากเรื่องนี้แล้วยังมีเรืองพระโมคคัลลานะพบเปรตชิ้นเนี้อลอยฟ้าซึ่ง
พระพุทธเจ้าก็ตรัสพยากรณ์ว่า เปรตตนนี้เคยเกิดเป็นคนฆ่านก ด้งข้อความว่า “. . .เอโส
ภิกฺขเว สตฺโต อิมสุมึเยว ราชคเห สากุณ์โก อโหสิ. . .” (สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที่
๑, ๒๔๒๔: ๒๑๓)
อีกแหล่งข้อมูลคือ เปตวัตถุ จากการคืกษาข้อมูลแล้วสรุปประเด็นได้ว่า ใน
เปตวัตถุนั้น มีเรื่องของคนตายไปเกิดเป็นเปรตเพราะบาปทางกายน้อยมาก ด้งจะเห็นได้
จากเนื้อหาของเปตวัตถุซีงแบ่งออกเป็นวรรคใหญ่ ๆ ถึง ๔ วรรค คือ อุรควรรค อุพพรั-
วรรค จูฬวรรค และมหาวรรค มีเรื่องของเปรตรวมสันทั้งสิ้น ๔๑ เรื่อง มากกว่าเรื่อง
เปรตในมหาวิภังค์ถึง ๓๐ เรื่อง แต่กลับมีเรื่องราวของคนผู้ตายไปเกิดเป็นเปรตเพราะท่า
บาปทางกายน้อยมากไม่ถึง ๑๐ เรื่อง เช่น เรื่องเปรตพรานเนื้อ ๒ เรื่อง ซึ่งสรุปความได้
ว่าสาเหตุที่เกิดเป็นเปรตเพราะเคยเป็นพรานล่าเนื้อ ด้งข้อความว่า

นรนารัปุรก.ขโต ยุวา
รชนีเย กามคุเณหิ โสภสิ
ทิวสํ อนุโภสิ การณ0
ก อกาสิ ปุริมาย ชาติยาติ ฯ

อห' ราชคเห รม.เม รมณีเย คิริพฺพเช


มิคลุฑฺโท ปุเร อาสี โลหิตปาณี ทารุโณ
อวิโรกเรสุ ปาณีสุ ปุถุสตฺเตสุ ปทุฎรมานโส
วิจริ อติฑารุโณ สฑา ปรหึสาย รโต อสฌฺโบโต
(สุยามรฎรสฺส เตปิฎกํ เล่มที' ๒๖, ๒(ทอ๕: ๒๑๗-๒๑๘)
แปลว่า

[พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า]

ท่านเป็นคนหนุ่มแน่น ห้อมล้อมด้วยเทพบุตรและเทพธิดา รุ่งเรืองอยู่ด้วย


กามคุณ อันทำให้เกิดความกำหนัดยินดีในราตรี เสวยทุกข6ในเวลากลางวัน
ท่านได้ทำกรรมอะไรไวในชาติก่อน

[เปรตนั้นตอบว่า]

เมื่อก่อน กระผมเป็นพรานเนื้อ อยู่ที่เขาวงกตอันเป็นที่รื่นรมย็ใกล้กรุงราชคฤห้


เป็นผู้มีฝ่ามือเปีอนโลหิต เป็นคนหยาบช้าทารุณ มีใจประทุษร้ายสัตว์เป็นอัน
มากผู้โม่กระทำความโกรธเคืองโหดร้ายทารุณยินดีแดในการเบียดเบียนสัตว์อื่น
ไม่สำรวมแล้วด้วยกาย วาจา ใจ เป็นนิตย์. . .
(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๒๖, ๒๕๓๐: ๒๑๒-๒๑๓)

กินฺนุ กาเยน วาจาย มนสา ทุก.กฎํ กตํ


กิสุส กม.ม'วิปาเกน อิทํ ทุก.ข0 นิคจ.ฉสิ
อหํ ราชคเห รม.เม รมณีเย คิริพ.พเช
มิคลุท.โท ปุเร อาสี ลุท.โท อาสึ อสณฺณโต. . .
(สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที, ๒๖, ๒๕๒๕: ๒๑๙)
๔๐

แปลว่า

[พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า]

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือเพราะวิบากแห่งกรรมอะไร


ท่านจึงได้เสวยทุกข์เซ่นนี้

[เปรตนี้นตอบว่า]

เมื่อก่อน กระผม5ป็นพรานเนื้ออยู่ที่เขาวงกตอันเป็นที่รื่นรมย์ ใกล้กรุงราช


คฤห์เป็นคนหยาบช้าทารุณ ไม่สำรวมกาย วาจา ใจ. . .
(พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มที่ ๒๖, ๒๕๓๐: ๒๑๔)

ส่วนในจูฬวรรค มีเรื่องเปรตโอรสของพระราชา ซึ่งเหตุที่ไปเกิดเป็นเปรตนี้น


สรุปได้ว่าเป็นเพราะเคยพบพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าสุเนตด์แล้วไม,เลื่อมใสจึงคว้าเอา
บาตรจากมือท่านยกขึ้นทุ่มลงบนพื้นดินจนแตกกระจาย และเรื่องสัฎฐิกูฏเปรตในมหาวรรค
ซึ่งเหตุที่ไปเกิดเป็นเปรตนั้น สรุปได้ว่าเป็นเพราะทุบคืรษะพระปัจเจกพุทธเจ้าที่กำลังน ั่ง
สมาธิจนแตก ผู้สนใจพึงด้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเปตวัตถุในพระไตรปิฎก
มีช้อน่าสังเกตคือ คนที่ตายไปเกิดเป็นเปรตเพราะบาปทางกายนี้ ส่วนใหญ่แล้ว
จะไปเสวยผลกรรมในนรกเสียก่อน ต่อเมื่อผลกรรมชั่วเหลืออยู่เล็กน้อย จึงเลื่อนขึ้นขึ้น
มาเกิดเป็นเปรต ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ชีวิตของอมนุษย์ที่เรียกว่า “เปรต” นั้น เป็นชีวิต
ที่ตกทุกข,ได้ยาก อดอยากหิวโหย ทนทรมาน เสวยบาปกรรมที่กรรมให้โทษเบากว่าทุคติ
อื่น ๆ ได้แก่ นรก และ กำเนิดติรัจฉาน และอยู่ตรงกลางระหว่าง “สุคติ” กับ “ทุคติ”
นอกจากนี้แล้ว จะเห็นว่า เฉพาะผู้โปเกิดในเปรตวิสัยเท่านั้นจึงจะสามารถรับเอา “ส่วนบุญ”
จากมนุษย์อุทิศส่งไปให้โต้ ส่วนทุคติอื่น ๆ คือ นรก และกำเนิดติรัจฉานไม่สามารถรับเอา
“ส่วนบุญ” มาใช้เป็นอาหารเพื่อเลี้ยงชีพ
ในตอนนี้ผู้วิจัยเห็นควรสรุป'ว่า บาปทางกายเป็นเหตุให้ดายไปเกิดเป็นเปรต
แต่มิใช่สาเหตุสำคัญเท่ากับบาปทางวาจาและใจ เหตุผลที่สรุปเซ่นนี้จะกล่าวต่อไปตามลำดับ
ข. บาปทางวาจา

บาปทางวาจาหมายถึงคำพูดที่ไม,ดี ในทางพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๔ อย่าง


คือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ใน ๔ ประการนี้ ๒ ประการแรกเท่า
บั้นที่เป็นสาเหตุใหไปเกิดเป็นเปรต
หลักฐานต่าง ๆ ที่กล่าวถึงสาเหตุเกิดเป็นเปรดเพราะ “คำพูด” นี้ ปรากฎ
เป็นเรื่องทั้งในมหาวิภังค์ และเปตวัตถุ ในมหาวิภังค์ก็คือเรื่องของเปรดมีขนเป็นเข็มสรุป
ความได้ว่า พระมหาโมคคัลลานะได้พบเปรตตนนี้ซึ่งมีฃนเป็นขมลอยอยู่กลางทองฟ้า ถูก
เข็มทิ่มต,าคืรษะทะลุปากทิ่มเข้าปากทะลุอก ทิ่มเข้าอกทะลุท้อง ทิ่มเข้าท้องทะลุออกทาง
ขา ทิ่มเข้าขาทะลุออกแข้ง ทิ่มเข้าแข้งทะลุออกทางเท้า ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่าเพราะ
เปรตตนนี้สมัยเป็นมนุษย์เป็นคนชอบพูดส่อเสียด ด้งข้อความว่า “อิธาหํ อาวุโส คิชฺฌถูฎา
ปพฺพตา โอโรหนุโต อฑฺฑสํ สูจิโลมํ ปุริสํ เวหาสํ คจฺฉนุดํ ตสฺส ตา สูจิ'โย สีเส ปวิสิตฺวา
อุทรโด นิกฺขมนุดี.. .เอโส ภิกฺขเว สดฺโต อิมสฺมึเยว ราชคเห สูจิ'โก อโหสิ. .
(สยามรฎรสุส เดปิฎกํ เล่มที, ๑, ๒๔๒๔: ๒๑๔) หรืออย่างเรื่องของเปรตทิ่ภัดกินเนื้อลูก ๆ
เพราะสมัยเป็นมนุษย์เคยแกล้งให้สตรีอื่น ๆ แท้งลูก แต่เมื่อถูกจับได้ก็สบถสาบานพูด
เท็จว่าไม1ได้ทำเมื่อตายลงจึงไปเกิดเป็นเปรต ดังข้อความว่า “สปดี เม คพฺภินี อาสิ ตสฺสา
ปาป๋ อเจตยึ สาห0 ปฑุฎรมนสา อกรื คพฺภปาดนํ.. .ตฑสฺสา มาตา กุปิตา มยฺหํ ณาดี
สมานยิ สปถณฺจ มํ อกาเรสิ ปริภาสาปยิ จ มํ. . . ” (สุยามรฎรสุส เตปิฎก0 เล่มที่ ๒๖1
๒๔๒๔: ๑๖๓) นอกจากนี้ยังมีเรื่องของคนทิ่ตายไปเกิดเป็นเปรตเพราะพูดเท็จ พูดล่อเสียด
อีกหลายเรื่องในเปตวัตถุ และเป็นที'น่าลังเกดว่าเรื่องราวของผู้ตายไปเกิดเป็นเปรตเพราะ
คำพูดนี้ มีอยู่มากมายในเปดวัตถุจนเห็นเด่นชัดที'สุด
ข้อนี้ เราอาจดีความได้ว่า ท่านต้องการสอนดีลธรรมในเรื่อง “คำพูด” ให้
ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดเจน เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะทำบาปทางวาจาได้ง่ายอยู่เป็นประจำ
แดกต่างจากบาปทางกายซึ่งทำได้ยากเนื่องจากมีบฑบัญญัติทางกฎหมายควบคุม แต่บท
บัญญัติเกี่ยวกับ “คำพูด” มีน้อยมาก
ด้งบั้นจึงเกิดสาเหตุทำบาปวาจาทิ่ทำให้ต้องตายไปเกิดเป็นเปรตขึ้นเป็นรูปธรรม
เพื่อจะได้สั่งสอนคนให้เป็นคนดี เพราะทางพุทธศาสนาเราถือว่า คนจะเป็นคนดีได้บั้น
มีใช่การแสดงออกทางกายเพียงอย่างเดียวเท่าบั้น ทางวาจาและทางใจเป็นเครื่องแสดง
ให้เห็นถึงความเป็นคนดีเช่นกัน
ส่วนข้อที่ว่า บาปทางวาจาเพราะพูดเพ้อเจ้อไม,เป็นสาเหตุให้เกิดเป็นเปรตนั้น
ผู้วิจัยเห็นว่า เพราะไม่ทำให้เกิดผลเสียแก่ผู้อื่น เราจะเห็นว่า ผู้ที่ทำบาปทางวาจาจนถึง
กับต้องไปเกิดเป็นเปรตนั้น คือผู้ที่มีพฤติกรรมการแสดงออกที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย
ทั้งสิน
จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า “บาปทางวาจา” เป็นสาเหตุสำคัญอย่างยิ่งของ
การไปเกิดเป็นเปรต ดังจะเห็นได้จากการเน้นเรือง “ความผิดทางวาจา” มากกว่า
“ความผิดทางกาย” เราจะเห็นว่าคนทำผิดทางกายนั้น จะไปเกิดในนรกเสียก่อน เมื่อ
เสวยผลกรรมในนรกเสร็จแล้วจึงกลับมาเกิดเป็นเปรต ในขณะที่ผู้ไปเกิดเป็นเปรตเพราะ
บาปทางวาจานั้น เมื่อตายลงแล้วจะไปเกิดเป็นเปรตทันที
ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นควรสรุปว่าบาปทางวาจาเป็นสาเหตุสำคัญของการไปเกิด
เป็นเปรตโดยตรง ทั้งนี้ เพราะบาปทางวาจามีผลที่สัมพันธ์กันประเด็นสุดท้ายคือบาป
ทางใจ ทั้ง ๒ ประการนี้เป็นสาเหตุสำคัญของการตายไปเกิดเป็นเปรด ดังจะได้กล่าวต่อไป

ค. บาปทางใจ

ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญของการไปเกิดเป็นเปรต ผู้วิจัยคืกษาข้อมูลโดย
ละเอียดแล้วได้พบว่า สาเหตุที,คนตายไปเกิดเป็นเปรตนั้น ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการทำ
บาปทางใจทั้งสิน ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไปตามลำดับ เพื่อความชัดเจนถึง
สาเหตุของการไปเกิดเป็นเปรตเพราะทำบาปทางใจ
บาปทางใจที่เห็นไต้ชัดเจนคือ “ความตระหนี่” เรื่องราวของเปรตซึ่งปรากฎ
ในเปตวัตถุทั้งหมดมีประเด็นสำคัญร่วมกันอย่างหนึ่งที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้ที่มีความ
ตระหนี่หวงแหนทรัพย์สิน ไม่มีนํ้าใจ คือผู้ที่ดายไปเกิดเป็นเปรตทั้งนั้น และความ
ตระหนี่นี้เองที่ทำให้เกิดการทำบาปอื่น ๆ เซ่น ตำหนิติเตียนคนทำบุญทำทาน ไม่เชื่อ
เรื่องผลแห่งการให้ทานว่าจะมีผลแก'ผู้อื่น และยังรวมไปถึงการไม่เชื่อกฎแห่งกรรมใน
ประเด็นที่ว่า “ทำดีไต้ดี ทำชั่วไต้ชั่ว”
บ าป ท าง ใจ ฅ อ ย ่า ง ค ือ โล ภ ะ โล ภ อ ย า ก ไ ด ไ ม ่ส ิ้น ส ุด โท ส ะ ค ว า ม อ า ฆ า ต
พ ย า บ า ท แ ล ะ โม ห ะ ค ว า ม ห ล ง ผ ิด เช ื่อ ว ่า ท ำ ท า น แ ล ้ว ท า น ไ ม ่ม ีผ ล เป ็น ต ้น ป ร ะ เด ็น ท ั้ง ๓
ล ้ว น เป ็น ส า เห ต ุส ำ ค ัญ ท ี่ต า ย ไ ป เก ิด เป ็น เป ร ต ด ้ว ย ก ัน ท ั้ง ส ิ้น ห า ก พ ิจ า ร ณ า บ า ป ท า ง ใจ ท ั้ง ๓
นีแ้ ล ้ว จะเห็นว่า โลภะ และโมหะ คือสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ดายไปเกิดเป็นเปรต
การที่กล่าวเซ่นนี้เพราะโทสะเป็นสาเหตุให้เสวยผลกรรมใน “นรก” ต ่อ เ ม ื่อ
วิบากกรรมเบาบางลงจึงเลื่อนชั้นขึ้นไปเกิดเป็นเปรตเพื่อชดใช้กรรมที่ยังเหลือ ใ น ข ณ ะ ท ี่
“ โ ล ภ ะ ” ความอยากไดไ ม ่สิ้นสุดจนเกิดความตระหนี่ และ “โมหะ” ความหลงผ ิด ไ ม ่เ ช ื่อ

โ ล ก น ี่โ ล ก หน้าไ ม ่เชื่อการทำบุญให้ทานเป็นต้น เป็นเหตุให้!ปเกิดเป็นเปรตโดยต ร ง เร ื่อ ง

ร า ว ของผู้ตายไปเกิดเป็นเปรตเพราะบาปทางใจมีหลักฐานปรากฎ ในพระไตรปิฎกห ล า ย เ ร ื่อ ง

ด ัง เ ซ ่น เ ร ื่อ ง ของลังสารโมจกเปรตสรุปความไต้ว่าสมัยเป็นมนุษย์พ่อแ ม ่ชักช วน ให้ทำท า บ

ก็ไม่ยอมทำเพราะมีความตระหนี่หวงแหนทร้พย์สมยัดเมื่อตายลงจึงไปเกิดเป็นเปรตอดอยาก

หิวโหย ดังข้อความว่า

.. .กิสฺส กมุมวิปาเกน เปตโลกํ อิโต คตาติ ฯ

อนุกุกมุปกา มยฺหํ นาเหสุ ภนฺเต


ปิตา มาตา จ อถ วาปิ ณาดกา
เย ม’ นิโยเชยฺยุ ทฑาหิ ทาน0
ปสนฺน จ ิต ฺตา สมณพฺราหุมณาน’ ฯ
อิโต อห’ วสฺสสดานิ ปณฺจ
ย’ เอวรูปา วิจรามิ นคฺคา
ขุทาย ตณฺหาย จ ขชฺชมานา
ปาปสฺส กมุมสฺส ผล’ มเมท’ ฯ
(สุยามรฎรสุส เต'ปิฎก, เล่มที่ ๒๖, ๒๕๒๕: ๑๗๐-๑๗๑)

นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังมีเรื่องของผู้ตายไปเกิดเป็นเปรตอื่น ๆ อีก เซ่นเรื่อง


นางเสรินีเปรตซึ่งสมัยมีชีวิตอยู่มีความโลภมากตระหนี่หวงแหนทรัพย์สมบัติพอดายลงก็
ไปเกิดเป็นเปรต หรืออย่างเรื่องของนันทิกาเปรตซึ่งมีความตระหนี่ไม,เชื่อเรื่องทำทาน
คอยกลั่นแกล้งคนทำบุญให้ทานเมื่อตายลงจึงไปเกิดเป็นเปรตเซ่นกัน อีกหลายเรื่องใน
เปตวัตถุที่แสดงให้เห็นว่า คนที่มีความตระหนี่ และไม่เชื่อเรื่องทำบุญให้ทานเมื่อตายลง
ไดไปเกิดเป็นเปรตกันทั้งนั้น
จากหลักฐานที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า บาปทางใจนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำ
ให้คนตายไปเกิดเป็นเปรตเช่นเดียวกับบาปทางกายและวาจา และเป็นที่น่าสังเกตว่าเรื่องต่าง
ๆ เฉพาะในเปดวัตถุเป็นเรื่องของเปรตจำพวกที่ทำบาปทางใจคือ “โลภ” มีความตระหนี่

หวงแหนทรัพย์สมใ]ต “ไม1ทำทาน” ทั้งสิ้น


ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าบาปทางใจกล่าวคือ “โลภะ” โลภมากตระหนี่หวงแหน
ทรัพย์สมใ]ต กับ “โมหะ” หลงผิดไม,เชื่อเรื่องโลกนี่โลกหน้า ทำบุญให้ทาน รวมทั้งไม่
เชื่อว่าจะมีพระสงฆ์ที่เป็นเนื้อนาบุญ ทั้ง ไอ ประการนี้แสดงให้เห็นสาเหตุที่ไปเกิดเป็น
เปรตเด่นชัดที่สุด
ผูวิจัยเห็นควรสรุปว่า ถึงแม้ว่าสาเหตุไปเกิดเป็นเปรตจะมีถึง ๓ ประเด็น
แต่เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้ว มีประเด็นสำคัญเพียง ๒ ประเด็น ได้แก่ การทำบาป
ทางวาจา คือ พูดเท็จ พูดล่อเสียด และการทำบาปทางใจ คือ โลภะอยากไดีไม่สิ้นสุด
จนเกิดความตระหนี่ กับโมหะหลงผิดคิดว่าโลกนี้โลกหน้าไม,มี ทำทานแล้วไม่มีผล สาเหตุทั้ง
๒ ประการนี้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนตายไปเกิดเป็นเปรต ส่วนการทำบาปทางกาย
นั้น เป็นเหตุให็ไปเกิดในนรกต่อเมื่อวิบากกรรมเบาบางลงแล้วจึงเลื่อนระดับชั้นขึ้นมาเกิด
เป็นเปรต มิใช่เป็นสาเหตุเกิดเป็นเปรตโดยตรง
สาเหตุที่เกิดเป็นเปรตด้งกล่าวมานี้ มีผลทำให้ความเชื่อเรื่องเปรตคือคนดาย
ไปเกิดในเปรตวิสัยปรากฎเด่นชัดยิ่งขึ้น และมีอิทธิพลต่อแบบแผนประเพณีวิถีชีวิตของ
ชาวพุทธฝ่ายเถรวาทในด้านต่าง ๆ ด้งนี้
ประการแรกในด้านของคำสอน จะเห็นว่าวรรณคดีบาลียุคต่อมา เช่น ฎีกา
และวรรณกรรมบาลีโลกศาสตร์ทั้งปวง มี จักรวาฬฑีปนี โลกัปปฑีปกสาร เป็นด้น หรือ
อย่างวรรณคดีไทย เช่น ไตรภูมิพระร่วง ความเชื่อเรื่องเปรดได้ปรากฎอยู่เป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้เพราะอิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตในชั้นอรรถกถาที่ขยายความเรื่องนี้จนปรากฏเด่นชัด
ด้งนั้น ผลที,เกิดจากคำสอนเรื่องเปรตจึงทำให้ผู้คนรู้สึกเกรงกลัวในอันที,จะประพฤติผิด
คืลธรรม และมีนั้าใจช่วยเหลือเอื้อเฟ้อเผื่อแผ่เชื่อมั่นในกฎแห่งกรรม “ทำดีได้ดี ทำชั้วได้
ชั้ว” ทั้งนี้เป็นผลจากการได้รับฟังตัวอย่างของผู้ตายไปเกิดเป็นเปรตที่น่าสยดสยอง
สะพรึงกลัวยิ่งนัก
ประการที่สองในด้านของพิธีกรรม และประเพณีไทยต่าง ๆ จะเห็นว่ามี
พิธีกรรม และประเพณีต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตเข้าไปมีส่วน
เกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย เช่น พิธีถวายสังฆทาน พิธีกรวดนั้า พิธีอนุโมทนา ประเพณี
สารทไทย ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ จึงทำใ ห ้ความคิดและความเ ช ื่อ เ ร ื่อ ง เ ป ร ต ใ น
ป ร ะ เ ด ็น ท ี่ห ม า ย ถึงคนตายไปเกิดในเปรตวิสัย เป็นที่น่าเชื่อถือ แ ล ะ มีความส ำ ค ัญ ก ว ่า
ค ว า ม ค ิด แ ล ะ ความเชื่อว่าเปรตหมายถึงคนตายผู้ล่วงสับไปล่โ ล ก ห น ้า ด ้ง จ ะ เ ห ็น ไ ต ้จ า ก

ห ล ัก ฐ า น ท ี่ป ร า ก ฎในวรรณคดีพุทธศาสนา และพิธีกรรม ประเพณีต่าง ๆ ใ น ป ร ะ เท ศ ไ ท ย

ท ั้ง ๒ ป ร ะ เ ด ็น นี้ [^จัยจะขอสืกษาถืงเฉพาะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม แ ล ะ ป ร ะ เ พ ณ ี

ต ่า ง ๆ ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไทยเท่านั้น เพราะเห็นว่ามีประเด็นที่น่าสนใจส ืก ษ าอยู่ห ล า ย เ ร ื่อ ง ด ัง


จ ะ ไ ต ้กล่าวถึงในบทที, ๔ ตามลำดับ
บทที่ ๔

อิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตที่มีต่อพิธีกรรม และประเพณีไทย

ใบบทที่ ฅ ได้ทราบแนวความคิด ความเชื่อ และสาเหตุที่เกิดเป็นเปรตโดย


ลำดับแ ล ้ว ประเด็นที่น่าสนใจควรศึกษาในบทที่ ๔ คือ อิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตที่มี
ต่อพิธีกรรม และประเพณีไทย
การที่ผู้วิจัยเลือกสืกษ'าเกี่ยวกับพิธีกรรม และประเพณี เพราะพิจารณาแ ล ้ว
เ ห ็บ ว่า ถึง แ ม ้ว่าคนไทยโดยทั่วไปจะเคยประกอบพิธีกรรม หรือทำกิจกรรมเนื่องใน

ประเพณีสำคัญของไทย แต่ส่วนใหญ่จะประพฤติปฏิบัติตามแบบอย่างคนรุ่นเก่าก่อนเท่านั้น
น้อยรายที่จะทราบถึงสาเหตุที่ต้องประกอบพิธีกรรม และประเพณี อนึ่ง พิธีกรรม แ ล ะ
ประเพณีด่าง ๆ นั้น บางอย่างมีความเชื่อเรื่องเปรตแทรกอยู่กิมี บางอย่างเป็นเรื่อง
ของงานสนุกสนานรื่นเริงเพียงอย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับเรื่องเปรตก็มี เฉพาะในประเด็นที่
ความเชื่อเรื่องเปรตมีอิทธิพลเกี่ยวข้องอยู่ด้วย มีสาระสำคัญน่าสนใจศึกษาอย่างยิ่ง
ดังนั้น ในที่นี้ผู้วิจัยจะศึกษาเฉพาะในส่วนที่ความเชื่อเรื่องเปรตมีส่วนสัมพันธ์
เกี่ยวข้องเท่านั้น เพื่อจะได้ทราบถึงความเชื่อที่แทรกอยู่ในพิธีกรรม และประเพณีนั้น ๆ
ประเด็นที่ศึกษาเหล่านี้ จะทำให้ยอมรับ และเข้าใจพิธีกรรม และประเพณีต่าง ๆ ของ
ไทยได้ดีข ึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องเปรต สาเหตุที่
บรรพบุรุษยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเด่นชัด เนื่องจากว่าความ
เชื่อเรื่องเปรตมีส่วนสัมพันธ์กับพิธีกรรม และประเพณีไทยหลายอย่าง ด้งนั้น ผู้วิจัยจะ
เ ล ือ ก ศึกษาบางประเด็นเท่านั้น ในส่วนของพิธีกรรม ได้แก่ พิธีท่าบุญอุทิศส่วนกุศลใ ห ้ผู้

ตาย คตินิยมว่าด้วยการกรวดนี้า พิธีอนุโมทนา ในส่วนของประเพณี ได้แก่ สงกรานต์


และสารทไทย
พิธีกรรม และประเพณีต่าง ๆ ด้งกล่าวมาข้างด้น ผู้วิจัยจะได้ศึกษาวิเคราะห์
รายละเอียดที่น่าสนใจในแต่ละประเด็นต่อไปตามสำดับ
พิธีทำบุญอทิศส่วนกุศลให้ผ้ตาย

พิธีกรรมอย่างหนึ่งเป็นที่รู้จักดีของคนไทย นั่นคือ “พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศล


ให้ผู้ตาย” พิธีดังกล่าวนี้ ชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนาได้ยึดถือปฏิบํตสืบทอดกับมา
เป็นเวลาช้านาน จนเป็นธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติกันประจำว่าหลังจากที่มีบุคคลใดบุคคล
หนึ่งในครอบครัวถึงแก,กรรมแล้ว จะต้องทำบุญอุทิศส่วนกุศลส่งไปให้ วิธีทำบุญที่ดีที่สุด
คือ ทำกุศลอะไรก็ไต้ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ เซ่น นิมนต์พระสวดพระอภิธรรม แสดงพระ
ธรรมเทศนา ทำบุญครบ ๗ วัน ครบ ๕๐ วัน ครบ ๑๐๐ วัน ทำพิธีถวายสังฆทาน
บวชพระหรือเณรเพื่อให้ผู้ตายไต้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ ฯลฯ พิธีกรรมต่าง ๆ ดัง
กล่าวมา ล้วนเป็นพิธีที่จะทำให้ผู้วายชนม์!ต้รับกุศลผลบุญทั้งสิ้น
การที่เกิดมีพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์นั่น ผู้วิจัยเห็น'ว่า
ความเชื่อเรื่องเปรตมีอิทธิพลต่อพิธีกรรมดังกล่าวอยู่ไม,น้อย ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากคำ
สอนทางพุทธศาสนาข้อที,ว่าคนทุกคนมีญาติพื่นัองผู้ล่วงลับซึ่งอาจไปเกิดเป็นเปรตใน
เปรตโลก ต้งที่พระพุทธเจ้าไต้ตรัสไวิในชาณุสโสณิสูตรสรุปความไต้ว่าผลทานที่ทายก
บำเพ็ญแล้วนั่น จะถึงแก่ญาติพี,น้องผู้ล่วงลับไปเกิดในเปรตวิสัยแน่นอน ไม,มีใครเลยจะ
ไม,มีญาติพี่น้องดายไปเกิดเป็นเปรต ทุกคนมีญาติไปเกิดเป็นเปรตทั้งสิ้น อีกประการ
หนึ่งคือ ความผูกพันระหว่างญาติมิตรที่ยังมีต่อกัน เซ่น เคยช่วยเหลือเกื้อกูล เคยช่วย
ทำกิจธุระ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล่วงลับลงไปจึงเกิดความเสียอกเสียใจอาลัยหวนรำลึกถึง
ห่วงใยว่าตายไปแล้วจะดกทุกข'ไต้ยาก เพราะไม,สามารถหยั่งรู้!ต้ว่าหลังจากเสียชีวิตลงไป
แล้วจะไปเกิดในคติใด รวมทั้งความเชื่อว่าการทำทานแก'พระสงฆ์ นอกจากผู้วายชนม์จะ
ไต้รับผลบุญกุศลแล้ว ผู้ถวายก็ไต้รันบุญกุศลอันเป็นเหตุให้ตนไต้รับความสุขกายสบายใจ
และยังไต้ทำหน้า พุทธศาสนิกชน คือถวายความอุปลัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์ใน
ท ี, ท ี' ด ี

พระพุทธศาสนาให้ท่านมีพละกำลังทำงานเผยแผ่สั่งสอนพระพุทธศาสนาต่อไปโดยไม่
ต้องเหน็ดเหนื่อยในการประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพ
อาศัยเหตุผลดังกล่าวมานี้ เมื่อมีพิธีกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้วายช น ม ์แล้ว
จึงนิยมจัดให้มีพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายรวมอยู่ด้วยเสมอ ดังจะเห็นไต้ว่าหลังจาก
จัดการเกี่ยวกับศพเสร็จเรียบร้อย ต่อจากนั่นจึงม ีพ ิธ ีท ำ บุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ ว ัน อ ัน
เ ป ็น ที่เช้าใจตรงกันว่า เพื่อเป็นการแผ่ส่วนกุศลไปให้แก,ผู้ตาย
บางครั้งก็จัดให้มีการทำบุญตรงกับวันครบรอบปีของผู้ดายเป็นประจำฑกปี
ถ้าหากไม่มีทำบุญครบรอบวันดาย ก็อาจมีพิธีทำบุญกระดูกในวันสงกรานต์เป็นด้น หรือ
วันอื่น ๆ ตามความสะดวกของญาติมิตร ทั้งนี้ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว สุดแท้แต่ความ
สะดวกของผู้ประสงค์จะทำบุญ การทำบุญอุทิศให้ผู้ดายนี้ มีหลายวิธีด้วยกับ เช่น
การนิมนต์พระสวดมนต์เย็นฉันเช้า หรือเทศน์แล้วบังสุกุลเท่าอายุผู้ดาย หรือที่นิยมกัน
มากในปัจจุบัน คือ การทำสังฆทาน ถวายทานแก่พระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลส่งไปให้
โดยจัดเตรียมของที่จำเป็นถวายแก่พระสงฆ์ เช่น ข้าว โท ผ้าสบง หรือไตรจีวรสุดแท้แต่
กำลังทรัพย์ และจิตศรัทธา นำไปถวายพระตามวัดใดวัดหนึ่งโดยไม่ตั้งจิตถวายจำเพาะ
เจาะจงเป็นพิเศษ
พิธีถวายสังฆทานนี้ เชื่อกันว่าผู้วายชนม์จะได้รันผลบุญกุศลม า ก ก ว ่า ถ ว า ย
เจ า ะ จ ง แ ก ' พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าน่าจะมีสาเหดุเนื่องม า จ า ก ค ว า ม ที่
ค น ส ่ว น ใ ห ญ ่ยังยึดติด “ตัวบุคคล” เลื่อมใสศรัทธาใครแล้วก็ยึดมั่นอยู่เฉพาะผ ู้น ั้บ ผู้เดียว

โ ด ย ต ล อ ด ในส่วนของพระสงฆ์เองแล้ว รูปใดมีผู้ศรัทธามากรูปนั้นก็ได้ร ับ ส ัก ก า ร บูชาม า ก

ม ีผ ู้ถ ว า ย จตุปัจจัยม า ก จ น แทบ จะไ ม ม


่ ีที่เก็บ ซึ่งพระสงฆ์ด้งกล่าวนี้ มีจำนวนน้อยม า ก เ ม ื่อ

เ ป ร ีย บ เทียบกับสงฆ์ส่วนใหญ่ที่ไม,มีผู้หนึ่งผู้ใดเลื่อมใสศรัทธาโดยเฉพาะ เลี้ยงชีพอยูด ่ ้ว ย
บ ิณ ฑ บ า ต เพียงอย่างเดียวจึงมีความเป็นอยู่ป็ดเคืองเพราะช้อนี้พระพุทธเจ้าจึงต ร ัส ไว้เ ส ม อ ว ่า

ก า ร ท ำ ท า น ถวายพระสงฆ์โดยไม่จำเพาะเจาะจง ได้รับบุญญานิสงส์มาก

นอกจากนี้แล้วพิธีกรรมที,คนนิยมทำให้ผู้ล่วงสับมีพิธีบังสุกุล คือ การนิมนต์


พระมาว่า “อนิจฺจา วต สงขารา อุปปาทวยธมฺมิโน อุปป'ชฺชิดุ'วา นิรุชฺฌนติ เตสํ วูปสโม
สุโข” บทนี้เป็นบทปลงสังขารของพระ และผู้อยูในพิธีก็ปลงตามไปด้วยให้เห็นว่า “ร่าง
กายคนเราไ ม ่เที่ยงแท้แน่นอน ม ี ความเกิด ขึ้นและเลื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อม
แตกตัน จะมีสุขได้ก็ต่อเมื่อไม่มีเกิด ไม่มีดับ”
การบังสุกุลนี้ มีสาเหตุเนื่องมาจากสมัยก่อนพระต้องไปเที่ยวพิจารณาหาผ้า
เปีอนฝ่นละอองหรือที่ใช้ห่อซากศพแล้วนำมาซักฟอกเป็นผ้านุ่งห่ม สมัยนี้พระไม,ต้อง
ลำบากถึงขนาดนั้น เพราะมีผู้มีจิตศรัทธานำผ้าที่สะอาดมาวางไว้ที่ช้างศพ หรือวางไว้
ภูษาโยงแล้วพระก็พิจารณาผ้าที่วางไว้ เรีย ก ว่า ผ้าบังสุกุล พระไปพิจารณาผ้านั้น เรียกว่า
ชักผ้าบังสุกุล ซึ่งเรียกก ัน ติดมาจนถึง ทุก วัน นี้
เกี่ยวกับพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายนี้ แปลก สนธิรักษ์ (ไอ๕ทอถ)
ก ล ่า ว ว ่า
การทำบุญให้ผู้ตายนี้ตามตำนานว่ามีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อสมเด็จพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรูใหม่ ๆ เสด็จไปเมืองราชคฤห้ พระเจ้าพิมพิสารถวาย
ทานแก,พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน วันแรกไม่ได้อุทิศผลให้แกใคร ๆ
พระประยูรญาติที่วายชนม‘ไปแล้ว เมื่อไม่ได้รับผลก็พากันมาสำแดงกายร้อง
ทุกข์ในเวลากลางคืน วันที่สองพระเจ้าพิมพิสารถวายทานอีกทรงอุทิศผล
ทาน,ไห้แก่ผู้ที่ส่วงลับ'โปแล้ว พวกเหล่านั้นก็มาปรากฎให้พระเจ้าพิมพิสารเห็นว่า
ได้รับผลพ้นจากความลำบากแล้ว มีเรื่องเป็นมาอย่างนี้จึงเป็นประเพณีทำ
บุญให้ผู้ตายตลอดมาจนบัดนี้ อีกเรื่องหนึ่งปรากฏในคัมภีร์พระธรรมบทว่า
ลูกสาวเศรษฐีคนหนึ่งหนีตามผู้ชายไป พ่อเข้าใจว่าลูกสาวตาย จึงทำบุญ
อุทิศไปให้เป็นประเพณีเนื่องมาอย่างนี้

นอกจากพิธีต่าง ๆ ด้งกล่าวมานี้แล้ว ยังมีพิธีทำบุญเพื่อผู้ตายอย่างอื่นตาม


ความสะดวก เช่น การทำบุญใส่บาตรแก่พระสงฆ์สามเณร ซึ่งจะเห็นได้จากทุกเช้าจะมี
พระสงฆ์สามเณรออกบิณฑบาต ชาวไทยเชื่อกันว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์
เป็นการโปรดสัตว์ช่วยให้ผู้ตายไปเกิดในสถานท ี่ไ ม ่ด ีเช่น เปรตวิสัย ไ ด ้รับส่วนบ ุญ ก ุศ ล
อีกทั้งเป็นการบำเพ็ญกุศลของผู้มีจิตศรัทธาจะได้มีโอกาสทำทานเพื่อกำจัด“ความตระหนี่”
อันเป็นบาปทางใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ดายไปเกิดเป็นเปรต
จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า ความเชื่อเรื่องเปรตมีผลแทรกอยู่ในพิธีทำบุญ
อุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ต่าง ๆ เช่น พิธีสวดอภิธรรม พิธีถวายสังฆทาน พิธีบังสุกุล
พิธีทำบุญครบรอบวันตาย การทำบุญใส่บาตร ฯลฯ
ด้งนั้น ผู้วิจัยเห็นควรสรุปว่า ความเชื่อเรื่องเปรตมีอิทธิพลต่อพิธีทำบุญ
อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ดาย เป็นอันดับแรก ทั้งนี้ เพื่อจะได้อุทิศแผ่ส่วนบุญไปให้แก,ญาติพี่น้อง
ผู้ล่วงสับไปแล้ว อันเป็นการแสดงออกถึงความกตัญณู รำลึกถึงบุญคุณชองผู้ล่วงสับ
รวมทั้งแสดงออกซึ่งความผูกพันระหว่างผู้ยังมีชีวิตอยู่กับผู้จากไป อีกทั้งแสดงให้เห็นถึง
นํ้าใจที่มีต่อกันระหว่างญาติสนิทมิตรสหาย และประการสุดท้าย เป็นโอกาสดีที่จะได้
บำรุงพระภิกษุสงฆ์สั่งสมบุญกุศลในส่วนที่เป็นทานบารมีเพื่อให้ผลดีนั้นถึงแก,ตนเอง และ
ผู้ล่วงสับจากโลกนี้ไป
จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า “ความเชื่อเรื่องเปรต” มีอิทธิพลต่อพิธีกรรมด้งได้
อ้างถึงอย่างเด่นชัด
เมื่อเราทราบถึงความเป็นมาของพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย รวมทั้ง
อิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตที,มีผลต่อพิธีกรรมดังกล่าวโดยละเอียดแล้ว ประเด็นต่อไปที่
น่าสนใจ คือ คตินิยมว่าด้วยการกรวดนํ้า ในประเด็นนี้มีความเชื่อเรื่องเปรตแทรกอยู่
ด้วยเช่นกัน ผู้วิจัยเห็นว่ามีรายละเอียดข้อปลีกย่อยที่น่าคืกษาอย่างยิ่ง ด้งจะได้กล่าวถึง
ต่อไปตามลำดับ

คตินิยมว่าด้วยการกรวดนํ้า

มนุษย์กับนา มีความสัมพันธ์กันมานานแล้ว เราจะเห็นได้ว่ามีการใข้นํ้าใน


การประกอบพิธีกรรม และประเพณีสำคัญต่าง ๆ อยู่เสมอ ในวิถีชีวิตของคนไทย เรื่อง
ป้ามีแทรกอยู่ในกิจกรรมต่าง ๆ ด้งกล่าวมาอย่างที่จะขาดไม่ได้ มีคตินิยมอย่างหนึ่งที่
แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องเปรตมีอิทธิพลแทรกอยู่ในคตินิยมด้งกล่าว นั่นคือ “คติ
นิยมว่าด้วยการกรวดนา” ในเรื่องนี้มีประเด็นที่น่าสนใจสืกษาอย่างยิ่ง ด้งรายละเอียดที่
จะน่าเสนอด้งนี้
มีคติความเชื่ออย่างหนึ่งแทรกอยู่ในการทำบุญกุศลต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า
“การกรวดนา” เราจะเห็นว่า พิธีกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับพระสงฆ์ ก่อนที่ผู้'บำเพ็ญกุศล
จะรับพรจากพระ จะมี “การกรวดนี้า” เป็นประจำทุกพิธีทั้งพิธีราษฎร์ และพิธีหลวง
ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะไม่ทราบสาเหตุที,แท้จริงของการกรวดนํ้า เพราะยึดถือปฏิบัติสืบ
ทอดกันเรื่อยมาตามแนวทางของคนรุ่นเก่า
จากการคืกษาสาเหตุแห่งการกรวดป้านั่น ผู้วิจัยเห็นว่า ความเชื่อเรื่องเปรต
เป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่แทรกอยู่ในคตินิยมด้งกล่าว ทั้งนี้เพราะความเชื่อว่า ผู้
ล่วงสับไปส่เปรตโลกหรือเปรตวิสัยจะไม,ได้ส่วนบุญกุศล ถ้าหากทายกผูให้ไม, “อุทิศ”
ส่วนกุศลส่งไปให้ ความเชื่อเรื่องการกรวดป้านี้ มีปรากฎเป็นหลักฐานในคัมภีร์ทาง
พุทธศาสนาที่แต่งขึ้นภายหลังการรวบรวมพระไตรปิฎกระหว่างพุทธศตวรรษที, ๑๑ ถึง
พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นสมัยแห่งการรจนาอรรถกถาภาษาบาลีในประเทศศรีสังกา ซึ่งมี
อนุราธปุระเป็นเมืองหลวง คัมภีร์ที่รจนาในยุคนั่นมีอรรถกถา ซึ่งไขความพระไตรปิฎก
(Adikaram อ้างถึงใน สมเด็จพระเทพรัตนราซสุดา สยามบรมราชกุมารี, ไอ๕ทอ๔)
หนังสือด้งกล่าวชื่อ “ปรมัตถทิปนิ” อรรถกถาขุฑฑกนิกาย พรรณนาความเรื่องเปรตใน
พระไตรปิฎก มีข้อคว0มในตอนพรรณนาความเรื่องติโรกุฑฑเปรตสรุปความได้ว่า พระ
ราชาเสด็จไปวังหลวงสังให้จัดเตรียมทานมากมายให้กราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อถึงเวลาพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปวังหลวงประทับนั่งร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ เปรตทั้งหลาย
พากันไปยืนอยู่ตรงส่วนด่าง ๆ ของวังหลวง มีด้านนอกกำแพงเป็นด้นด้วยความหวังว่า
จะด้องได้รับส่วนบุญแน่นอน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำวิธีที่เปรตเหล่านั่นจะปรากฎ
ให้พระราชาทอดพระเนตรเห็น จากนั่นพระราชา [ในที่นี้คือพระเจ้าพิมพิสาร] ทรงหลั่ง
นั่าทักษิณา อุทิศผลทานว่า ขอให้ผลแห่งทานนี้สำเร็จแก่ญาติ ๆ ของเราเถิด ในตอนนี้มี
พูดถึงเรื่อง “กรวดนั่า” รวมอยู่ด้วย ดังข้อความว่า “ราชา ทกฺขิโณฑก0 เทนฺโต อิทํ เม
ณาตีน่ โห่ดู”ตํ อุทฺทิสิ [พระราชาทรงถวายนั่าทักษิณาพลางอุทิศส่วนบุญว่า ขอให้ผล
ทาบนี้ จงสำเร็จแก่ญาติ ๆ ของเราเถิด]” (พระธัมมปาละ, ๒๕๓๓ข)
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า คตินิยม “การกรวดนั่า” เพื่ออุทิศส่วน
กุศลให้ผู้วายชนม์ มีมานานน ับ พันปีแล้ว ดังจะเห็นได้จากคำอธิบายเกี่ยวกับคตินิยม
การกรวดนั่าในหนังสือ “สังคีติยวงศ์” วรรณกรรมเล่มสำคัญในตอนด้นกรุงรัดนโกสินทร์
สรุปความได้ว่า การกรวดนั่าแบ่งออกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑. ทักขิโณทก ๒. อุททิโสทก
๓. ปัฏฐโนฑก ๔. ลักขิโณทก
นั่าทักขิโณทกนั่น หมายถึง ทานที่เป็นเหตุให้เจริญด้วยความสุขและทรัพย์
สมบด หรือแปลตามวิเคราะห์ศัพท์หมายถึง นั่าคือมือเบื้องขวา [คงหมายถึง คนทั้วไป
นิยมใช้มือขวาหยิบภาชนะนั่าในการกรวดนั่า จึงเรียกว่า นั่าคือมือเบื้องขวา ผูวิจ้ย] ตัว
อย่างของนั่า ทักขิโณทก ได้แก่นั่าที่ใช้แสดงออกให้เห็นถึงการทำบุญให้ทานแก,ญาติที่
ตายแล้วและเปรดเป็นดัน
นั่าอุฑทิโสทกนั่น หมายถึง นั่าที่จำเพาะเจาะจงให้ตกลงเพื่อยืนยันการทำทาน
แสดงถึงความตั้งใจแน่วแนในการให้ทาน ดังเช่น พระเจ้าพิมพิสารกรวดนั่าในคราวถวาย
เวฬุวันเพื่อสร้างเป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา
นั่าปัฎฐโนฑกนั่น หมายถึง นั่าที่ใช้หลั่งลงในเวลาทำบุญให้ทานเพื่อแสดง
ออกถึงความปรารถนา เช่น ปรารถนา พุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ อัคคสาวกภูมิ
ส่วนนั่าลักขิโณฑกนั่น หมายถึงนั่าที่ทำให้นั่นคง หรือนั่าที่ใช้กรวดหลังจาก
ทำทาน นั่านี๋ใช้เพื่อแสดงออกว่า เจ้าของทานเสียสละทานนั่นให้แก่ผู้รับกล่าวคือพระสงฆ์
ถ้าจะมืช้อสงสัยว่า ในเวลาทำบุญหากทายกมิไดักรวดนั่าใบเวลาทำทานจะมื
ความผิดพลาดอะไรบางอย่างเกิดขึ้นได้หรือไม่ เช่น ผลทานไปไม่ถึงเปรต มืคำเฉลยว่า
๖๒

หากจะผิดก็คือผิดจารีตประเพณีแบบแผนที่ท่านผู้รู้เก่าก่อนประพฤติปฎิปัตสืบทอดกับมา
และอาจทำให้คิดได้ว่า ไม,เต็มใจทำทาน แด่ถ้าหากว่ากรวดนํ้าแล้วจะแสดงให้เห็นว่ามี
ความตั้งใจเสียสละทานนั้น ซึ่งย่อมมีอานิสงส์ผลบุญมาก อีกประการหนึ่ง ในเวลาถวาย
ทาน ถ้าได้กรวดนา คนอื่นจะตำหนิติเตียนไม่ได้ว่าไม่เต็มใจทำทาน ถ้าจะมีคนตำหนิ ก็
จะไม่ได้อาหารพอเลี้ยงตัวรอดทุกภพทุกชาติเหมือนซัมพุกะ* เพราะฉะนั้น การกรวดนั้า
จึงเป็นข้อกำหนดอย่างหนึ่งของการให้ทาน ด้งข้อความว่า “ทานกาเล อุทกปาดน่ นาม
จตุพพิธํ ทกฺข้โณฑกํ อุฑฺทิสฺโสทกํ ปฎรโนฑกํ สก/ขิโณฑกนฺติ” (สมเด็จพระวันรัตน,
๒<£'๒๑)
จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า คตินิยมเรื่องการกรวดนั้า มีอิทธิพลความเชื่อ
เรื่องเปรตแทรกอยู่ด้วย ด้งนั้น ในเวลาทำบุญกุศลด่าง ๆ ชาวไทยจึงนิยมกรวดนั้าเสมอ
บอกจากนี้แล้ว ยังมีเรื่องของการ “แผ่ส่วนบุญกุศล” ไป'ให้ผู้ที่เ'ราตั้งใจ ทั้งนี้ เกิดจาก
ความเชื่อการทำบุญทางพุทธศาสนาที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ”**
*'ซัมพุกะ พระอรหันต์รูปหนึ่งในสมัยพุทธกาล อดีตชาติเคยเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมี
เศรษฐีคนหนึ่งอุปถัมภ์ต่อมาเศรษฐีคนนั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสพระรูปหนึ่งที่มาขอพักอยู่ด้วย
เพราะความริษยาข้มพุกะจึงด่าพระรูปนั้นด้วยคำพูดหยาบคายเช่น กินขี้ยังตีกว่ากินข้าว
ในเรือนของเศรษฐี เปลือยกายเดินย ัง ตีกว่าน ุ่ง ห่มผ้าในเรือนของเศรษฐี เนื่องจากพระที่
มาขอพักอยู่ด้วยเป็นพระอรหันต์ข้มพุกะจึงได้รับบาปมากพอมรณภาพก็ไปเกิดในนรกอเวจี
เมื่อกรรมเบาบางลง ในชาติสุดท้ายได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์เขารับประทานอาหารอื่นไม,
ได้นอกจากอุจจาระเท่านั้น เปลือยกายหลอกลวงผู้คนให้หลงเชื่อว่ากินลมเป็นอาหาร คน
ใน ๒ แควันใหญ่สมัยพุทธกาลคือ อ ัง คะ และมคธ เคารพนับถือมาก สุดท้ายพระพุทธเจ้า
ทรงแสดงฤฑธิ้เทศน่โปรดจนได้เป็นพระอรหันต์ สรุปความจากเรื่อง ข้มพุกาชีวก ใน
ธัมมปท้ฎฐกถา ภาค รา หน้า ๑๔๓-๑๕รา [ผูวิจัย]
**บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี,
หมวด ๓ คือ ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้ ๒. คืลมัย ทำบุญด้วยการรักษาคืลและ
ประพฤติตี ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา; หมวด ๑๐ คือ ๑. ทานมัย ๒. คืลมัย
๓. ภาวนามัย ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม ๔. เวยยาวัจจมัย ด้วยการ
ช่วยขวนขวายรับใช้๖. ปดติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความตีให้ผู้อื่น ๗. ปัดตานุโมทนาท้ย
ด้วยความยินดีศวามดีของผู้อื่น ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม ๑๐. ทิฎรุชุกัมม์
ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (พระราชวรมุนิ, ๒๔๒๗: ๑๓๘)
การแผ่ส่วนบุญ จัดเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า “ปัตติทาน” ซึ่งนิยม
ทำพร้อมกับการอนุโมทนาส่วนบุญ ที่เรียกว่า “ปัดตานุโมทนา” ทั้ง ๒ อย่างนี้จัดเป ็น
ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อเรื่องเปรต ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ปรากฏใ น
มังคสัตถทีปนิสรุปความ'ได้'ง่า ฉะนั้นกุลบุตรเมื่อจะสั่งสมการทำบุญที่ชื่อว่าปัตติทาน และ
จะให้เกิดการทำบุญที่ชื่อว่าปัดดานุโมทนาแก่คนอื่น ๆ จึงสมควรทำทานอุทิคIั ห ้ผ ู้ส ่วงล ับ
หรือมิฉะนั้นหลังจากทำบุญบางอย่างตามปกติแล้วสมควรแผ่ส่วนบุญให้คนอื่น ๆ ดังข้อ
ความว่า

ตสฺมา สย, ปตฺติทานวุหยํ ปุณฺณกิริยํ อุปจินนฺเดน ปเรสณฺจ


ปด.ตานุโมทนวฺหยํ ปุณฺณกิริยํ ชเนนฺเดน กุลปุด.เดน เปเต อุท.ทิสฺส ทานํ
กด.ตพ.พเม,ว อตฺตโน ปกติยา วา ยง.กิณฺจิ ปุณฺณํ กตฺวา ปเรส0 ปตฺติ
อุทฺทิสิตพ.พา ว โพธิสต.ตภูเตน ติโลกวิซเยน นาม จกฺกวตฺตินา นาม รณ.ณา
ว ิย ฯ

(พระสิริมังคลาจารย์, ๒๕'๒๘)

แปลว่า

เพราะฉะนั้น กุลบุตร เมื่อจะสั่งสมบุญกิริยาอันชื่อว่าปัตติทานเอง และจะ


ยังบุญกิริยาอันชื่อว่า ปัดตานุโมทนา ให้เกิดแก่ชนเหล่าอื่น พึงทำทานอุทิศ
เปรตทั้งหลายโดยแท้. อีกอย่างหนึ่ง ทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งดามปกติของ
ตนแล้ว พึงอุทิศส่วนบุญแก่ซนเหล่าอื่นแล เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิพระนาม
ว่าติโลกวิชัย
(คณะกรรมการแผนกตำรามหามกุฎราชวิทยาลัย, ผู้แปล, ๒๕๒๘)

จากข้อความข้างดัน จะเห็นว่า ความเชื่อเรื่องเปรต นอกจากจะมืผลแทรก


อยู่ในการกรวดนั้าแล้ว ยังมืผลสะท้อนให้เห็นความมีนั้าใจอันแทรกอยู่ในพิธีกรรม กล่าว
คือการแบ่งส่วนบุญให้แก่สัตว์อื่น ๆ ร่วมอนุโมทนาชื่นชมยินดี อันแสดงออกให้เห็นว่ามี
ความเสียสละไม,เห็นแก,ตัวเองอย่างเดียว ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเชื่อเรื่อง
เปรตมีส่วนสำคัญให้เกิดการ “แผ่ส่วนบุญ” ควบคู,ไปกับการกรวดนั้า จะเห็นว่าประเด็น
ดังกล่าวเป็นเหตุให้มีการนำเอาคำพูดเกี่ยวกับเปรดไปพูดจนเกิดสำนวนไทยว่า “เหมือน
เปรตขอส่วนบุญ”
นอกจากนี้แล้ว ยังมีคติความเชื่อว่า การอุทิศส่วนกุศลให้แก,เปรตชนนั้น
จำต้องมีการกรวดนํ้าหรือใส่นํ้าถวายพระสงฆ์เพื่อให้เปรตได้มีนํ้าไว้ดื่มกินหลังจาก
รับประทานอาหาร รวมทั้งการถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์ เพื่อเปรตจะไต้มีผ้าผ่อนบุ่งห่ม
ไม่ต้องเปลือยกายเป็นผีรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวหลอกหลอนญาติสนิทมิตรสหายในยาม
คาคืน หรือในความฝัน คติเรื่องถวายนํ้า และผ้าแก,พระสงฆ์นี้ ผู้วจัยเห็นว่าไต้รับอิทธิพล
คำสอนเรื่องเปรตจากเปตวัตถุในพระไตรปิฎก
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวมีข้อความปรากฏหลายครั้งบ่งถึงสิงของที'เปรตมีความ
ต้องการอยากจะไต้รวม ๓ อย่าง คือ ข้าว นั้า และผ้า (ดูวิทยานิพนธ์เล่มนี้ หน้า ๓๗)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องนั้านี้เป็นสิ่งที,ชาวไทยยึดถืออย่างเห็นไต้ชัด จะเห็นไต้ว่าทุกพิธีกรรม
จะต้องมีการกรวดนํ้าส่งไปให้แก,เปรตเสมอ
อีกประการหนึ่ง ในติโรกุฑฑกัณฑ์มีข้อความเกี่ยวกับเปรตที่สรุปความไต้ว่า
ห้วงนั้าที่เต็มเชื่]ยม พลอยทำให้สมุทรสาครเต็มไปด้วย ฉันใด ทานที่ถวายอุทิศให้จาก
โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก'เปรตทั้งหลายฉันนั้น ข้อความดังกล่าวนี้เปรียบเทียบระหว่างห้วง
นั้ากับทานที่อุทิศให้เปรต ประเด็นนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีส่วนสัมพันธ์กับคตินิยมเรื่อง
การกรวดนั้า
การกรวดนํ้านี้ แสดงให้เห็นถึงความผูกพัน ความกต้ญณู ความมีบา,ใจ
ระหว่างญาติสนิทมิตรสหายกับผู้ล่วงลับจากโลกนี๋ไปเช่นเดียวกับพิธีกรรมอื่น ๆ และยัง
แสดงให้เห็นถึงความเสียสละอันเกิดจากการบริจาคทานทำบุญ อันเป็นการบำเพ็ญทาน
บารมีอีกด้วย
จากที,กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นไต้ว่า ความเชื่อเรื่องเปรต มีส่วนแทรกอยู่ใน
ค ต ินิยมเรื่องการกรวดนํ้าอยู่ไม่น้อย ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นควรสรุปว่า ความเชื่อเรื่องเปรต
มีผลต่อ “คตินิยมเรื่องการกรวดนํ้า” ดังหลักฐานต่าง ๆ ที,กล่าวมาข้างต้น นอกจาก
ค ต ินิยมดังกล่าวมานี้ มีประเด็นที่น่าสนใจคืกษาต่อไปกล่าวคือ “พิธีอนุโมทนา” ในพิธีนี้

มีการน่าเอาคาถาจาก “ติ'โรกุฑฑกัณฑ์” อันเป็นเรื่องราวของเปรตโดยตรงไปใช่ในการ


อนุโมทนาเสมอ ดังจะไต้กล่าวถึงต่อไปตามสำดับ
พิธีอนุโมทนา

พิธีอนุโมทนา เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งที'แสดงให้เห็นว่า ความเชื่อเรื่องเปรต


มีส่วนสัมพันธ์แทรกอยู่ด้วย เกี่ยวกับพิธีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจคืกษาหลายประเด็น ผู้วิจัย
จะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
พิธีอนุโมทนา เป็นพิธีสำคัญอย่างหนึ่งที่พระสงฆ์ทุกรูปจะต้องทำก่อนจะเสร็จ
งานพิธีมงคล และอวมงคลที,เกี่ยวกับพุทธศาสนา การอนุโมทนาของพระสงฆ์มี ๒
อย่าง คือ การอนุโมทนาตามปรกติ และ การอนุโมทนาตามกาลพิเศษ ในการ
อนุโมทนาตามปรกตินั้น นิยมทำกันภายหลังจากพระฉันภัตตาหารเช้าหรือเพลเสร็จแล้ว
เมื่อเจ้าภาพจัดจตุปัจจัยไทยธรรมประเคนถวายตามกำลังศรัทธาเรียบร้อยแล้ว จากนั้น
พระผู้เป็นหัวหน้าสงฆ์ไนพิธีจะได้เริ่มกล่าวนำเป็นภาษาบาลีว่า
“ยถา วารีวหา ปูรา ปริปูเรนติ สาครํ
เอวเมว อิโต ทีนฺนํ เปตาน0 อุปกปฺปติ
อิจฺฉิดํ ป ตฺถิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ
สพฺเพ ปูเรนดุ สงฺกปุปา จนโท ปณฺณรโส ยถา
มณิโชติรโส ยถา. . .
แปลเป็นไทยได้ความว่า กระแสนาที,พัด'โหลมาเต็มเปียม ย่อมทำให้ทะเลเต็ม
ไปด้วย ฉันใด ทานที่ถวายกันแล้วจากโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปส่โลกหน้าฉับนั้นแล
ขอให้ผลที่ปรารถนามุ่งหวังสำเร็จแ ก ่ท่านฉับพลันทันใด ขอให้ความดำริทั้งมวลบริบูรณ์
ดุจพระจันทร์เต็มดวงวันขึ้น ๑๕ คา ดังแก้วสารพัดนึกฉะนั้น
ขณะประธานสงฆ์กล่าวบฑนี้ เจ้าภาพจะกรวดนํ้าไปพร้อมกันจนเมื่อประธาน
สงฆ์ว่ามาถึงคำ “มณิโชติรโส ยถา” ต้องเทนี้าให้หมด จากนั้นจึงพนมมือรับพรจากพระ
สงฆ์ ซึ่งพระสงฆ์รูปที่ ไอ จะกล่าวคำว่า “ลพพีติโย” รูปอื่น ๆ กล่าวต่อว่า “วิวชฺชนฺตุ
สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เด ภวดฺวนตราโย. . .” จนถึงคำ “อายุ วณฺโณ สุข0 พล0” เป็นอัน
เสร็จสินการให้พรในช่วงแรก ในช่วงต่อไปนั้น เรียกว่า “การอนุโมทนาตามกาลพิเศษ”
หมายถึง พระสงฆ์จะสวดเป็นคาถาภาษาบาลีต่อไปขึ้นอยู่กับลักษณะงาน เช่น งานมงคล
ก็จะสวดคาถา “รดนดฺดยานุภาเวน” หรือ “สพฺพพุทฺธานุภาเวน” ฯลฯ ส่วนงาน
อวมงคลเฉพาะในส่วนที,เกี่ยวข้องกับพิธีอนุโมทนาอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย'นั้น นิยม
อนุโมทนากันด้วยบท “ติโรกุฑฑกัณฑคาถา” ซึ่งเป็นคาถาที่พระสงฆํใชัอนุโมทนาการ
ทำบุญอุทิศถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะใจความของคาถานี้มีว่า “อทาสิ เม อกาสิ เม
ทภติมิตฺดา. . .โส ณาติธมฺโม จ อยํ นิทสฺสิ'โต เปตานปูชา จ กตา อุฬารา พลณฺจ
ภิกขนมนุปฺปทินฺนํ ตุมฺเหหิ ปุณฺณํ ปสุตํ อนปฺปกนฺติ” แปลว่า บุคคลเมื่อระลึกถึง
อุปการะที่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้วเคยทำให้เช่น เคยให้สิ่งนี้แก,เรา ช่วยทำกิจนี้ของเรา ท่านเหล่านี้
เป็นญาติสนิทมิตรสหายของเรา คิดได้ด้งนี้แล้วพึงให้ทักษิณาทานแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
เพราะจะร้องไห้เศร้าโศกเสียใจก็ไม,มีประโยชน์อะไรเลย ญาติเหล่านั้นก็กลับพินคืนชีพไม่ได้
ทักษิณาทานนี้จัดถวายดีแล้วแก,พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก'ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว
ตามฐานะ กิจที่จะพึงทำเพื่อคนรู้จักกันท่านก็ได้แสดงออกแล้ว การบูชาอันยิ่งท่านก็ได้ทำ
ให้แก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากจะได้ชื่อว่าบำรุงพระสงฆ์แล้วยังได้สั่งสมบุญให้แก่
ตนเองไม่น้อย ข้อที่การอนุโมทนามิ ๒ อย่างนี้ ด้งจะเห็นได้จากข้อความว่า

การอนุโมทนา มิ ษ อย่าง คือ:- ๑. อนุโมทนาดามปรกติ ๒. อนุโมทนาตาม


กาลพิเศษ อนุโมทนาตามปรกตินั้น ได้แก่อนุโมทนาซึ่งท่านผู้เป็นหัวหน้าสงฆ์
เริ่มนำขึ้นดังนี้:- ยถา วาริวหา ปูรา. . . ล้าเป็นพิธีทำบุญอุทิศให้ผู้ตายใหม่ ๆ
ท่านก็อนุโมทนาด้วยบท ติโรกุฑฑกัณฑคาถา คือคาถาอนุโมทนาการทำ
บุญอุทิศถึงผู้ที่ล''วงลับ'1ปแล้ว. . .
(แปลก สนธิรักษ์, ๒(ทอ๓)

จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า “พิธีอนุโมทนา” เป็นอีกพิธีหนึ่งที่ความเชื่อ


เรื่องเปรตมีอิทธิพลแทรกอยู่ในพิธีนี้ ด้งข้อความที่ปรากฎในพิธีอนุโมทนา ส่วนใหญ่จะ
เป็นข้อความที่นำมาจาก “ติโรกุฑฑกัณฑ์” ทั้งสิ้น ทั้งในการบำเพ็ญกุศลงานมงคล และ
อวมงคลผูวิจัยเห็นว่า วัตถุประสงค์ของการอนุโมทนาด้งกล่าวนี้สรุปได้ว่ามี๓ สาเหตุคือ
๑. เพื่อพระสงฆ์อนุโมทนาขอบคุณทายกทายิกาผู้ถวายทาน๒. เพื่อผู้ถวายทานได้อนุโมทนา
บุญของตนเอง และ ๓. เพื่อแผ่ส่วนบุญไปให้แก'ผู้ล่วงลับ กล่าวโดยย่อ พิธีอนุโมทนา มี
ผลดีต่อบุคคล ๓ กลุ่ม กล่าวคือ พระสงฆ์ก็พลอยยินดีเพราะได้รับการถวายทานเพื่อเป็น
กำลังในการทำกิจการพระศาสนา ชาวบ้านก็ปีติยินดีในผลทานเพราะนอกจากจะได้บ ุญ
แล้วยังได้แผ่ส่วนบุญให้แก'เปรตชนผู้ล่วงลับไปแล้ว ส่วนผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผู้fiไปเกิดในเปรตวิสัยซึ่งได้รับผลทานโดยตรงก็อนุโมทนาสาธุการชื่นซมยินดีต่อญาติสนิท
มิตรสหายไม่มาปรากฏกายขอส่วนบุญให้ตกใจกลัว เมื่อต่างฝ่ายต่างยึดกุศลการทำดีเป็น
หลักในการดำเนินชีวิต ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ไม,เดือดรัอน
วุ่นวายเพราะความมีนั้าใจ และความเสียสละที่มีต่อกัน
ด้งนั้น ผู้วิจัยเห็นควรสรุปว่า ความเชื่อเรื่องเปรต มีส่วนสำคัญแทรกอยู่ใน
“พิธีอนุโมทนา” ในประเด็นที่แผ่ส่วนบุญไปให้แก่ผู้ล่วงลับ ด้งหลักฐานที่ได้กล่าวไว้แล้ว
ในตอนด้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่านอกจากความเชื่อเรื่องเปรตจะมีผลต่อพิธีกรรม
ต่าง ๆ แล้ว จากหลักฐานต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าความเชื่อด้งกล่าวนี้ยังมีส่วนสัมพันธ์
กับประเพณีอื่น ๆ อีกหลายประเพณี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเพณีท้องถิ่นต่าง ๆ ของ
ขาวไทย มีหลายประเพณีที่แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องเปรตมีส่วนสัมพันธ์แทรกอยู่ด้วย
ผู้วิจัยจะไม่คืกษารายละเอียดของประเพณีต่าง ๆ ทั้งหมด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียง ๒
ประเพณีเท่านั้น คือ ประเพณีสงกรานต์ และประเพณีสารทไทย ซึ่งประเพณีทั้ง ไอ นี้
มีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคืกษาอย่างยิ่งโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องเปรต

ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีของไทยอย่างหนึ่งที,มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า
ความเชื่อเรื่องเปรตมีส่วนสัมพันธ์อยู่ด้วย ด้งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ขาวไทยจัดกันเป็นประจำ ปัจจุบันรัฐบาล
ได้ประกาศให้วันที่ ๑๒-๑๓-๑๔ เดือนเมษายนของทุกปี เป็นวันหยุดเนื่องในเทศกาล
สงกรานต์
ว ัน สงกรานต์นี้ ถือกันว่าเป็นวันปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณกาล ฉ ะ น ั้น จึงมี

พิธีต่าง ๆ เกี่ยวกับวันด้งกล่าว เข่น ทำบุญดักบาตร รดนั้าดำหัว ไหว้ผู้ใหญ่ ปล่อย


นกปล่อยปลามีการละเล่นต่าง ๆ พิธีต่าง ๆ ที่จัดในวันนี้ จะเห็นว่า พิธีทำบุญตักบาตร
เป ็น พิธีอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องเปรตมีส่วนเกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่าการตักบาตร

เ ป ็น การสร้างกุศลอย่างหนึ่งให้เกิดมีแก่ตนเองและอุทิศกุศลผลบุญให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ
การทำบุญตักบาตรนี้ นิยมเตรียมการไว้ล่วงหน้า พอรุ่งเช้าก็พากันน้า
อาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งทางวัดจัดให้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทำบุญ
ในวันดังกล่าวนี้ นิยมก่อพระทราย ขนทรายเช้าวัด อันเกิดจากคติความเชื่อว่าก้อนกรวด
ก้อนทรายในวัดเป็นสมปดของสงฆ์อย่างหนึ่ง อาจติดฝ่าเท้าหรือรองเท้าของผู้เข้าวัดทำ
บุญขณะเดินกลับบ้าน เมื่อเสียชีวิตแล้วจะไปเกิดเป็นเปรตเพราะถือว่าเป็นการลักของ
สงฆ์โดยไม่เจตนา ดังนั้นจึงมีประเพณีขนทรายเข้าวัดที่ยึดถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้
นอกจากพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีประเพณีบังสุกุลอิฐญาติผู้!หญ1 เพื่อ
อุทิศส่วนกุศลส่งไปให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เสฐียรโกเศศ (๒๕๑๕) ได้
อธิบายไว้ว่า

นอกจากปล่อยนกปล่อยปลาในวันสงกรานต์ ยังมีประเพณีบังสุกุลอิฐ
ญาติผู้ใหญ่ การบังสุกุลนั้นทำแต่ครั้งเดียว จะทำในวันสงกรานต์วันไหน
แ ล ้ว แต่จะสมัครและนัดหมายกัน โดยมากมักทำในวันสรงนั้าพระ หรือไ ม ่ก็

ทำในวันสุดท้ายของสงกรานต์. . .ผู้ท ี่ไปบังสุกุลมักเป็นคนแก่ ๆ เฒ่า ๆ ซึ่ง


พ้นวัยชอบสนุกสนานเฮฮาแล้ว ทราบว่าทางปักษ๊!ดัเขาเก็บอิฐไวัที่วัดจะ
บรรจุโกศเล็ก ๆ บรรจุห่อหรือภาชนะอะไรก็แล้วแต่จะมีและเก็บรวม ๆ ไว้ที่
เดียวกับ (แบบเดียวกันที่ในวัดมังกรกมลาวาศของจีน) ถึงวันกำหนดเวลา
จ ะ บังสุกุล ต่างกิไปน้าอิฐญาติผู้!หญ,ของตน มาตั้งรวมกันไวัที่โรงพิธี แ ล ้ว

นิมนต์พระมาบังสุกุล. . .เมื่อเก็บอิฐไว!นบ้าน ล้าเป็นผู้มีอันจะกิน ก็มัก


นิมนต์พระมาบังสุกุลในวันสงกรานต์ ล้าเป็นคนชั้นสามัญ กิน้าอิฐไปบังสุกุล
รวมกันที่วัด ซึ่งสมภารเจ้าวัดเป็นผู้น้ดหมาย ที่สุดล้าไม่มีอิฐ กิเขียนชื่อผู้ตาย
ลงในแผ่นกระดาษแล้วบังสุกุลกิมี บังสุกุลแล้วเผากระดาษทีมชื่อผู้ดาย ให้
ไหมีไปเหมือนเผาศพ...

จากหลักฐานที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า อิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตมีผลต่อ


ประเพณีสงกรานต์อยู่ไม่น้อย ในปัจจุบันนี้ ยังมีการยึดถือปฏิบัติแบบแผนประเพณีดัง
กล่าวอย่างเคร่งครัด
สรุปแล้ว ความเชื่อเรื่องเปรต มีส่วนสัมพันธ์เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์!น
๖๙

ด้านของพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ทำบุญตักบาตร เกิดจากความเชื่อเรื่องการทำบุญกุศลให้


แก,ตนเอง และอุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ การก่อพระเจดีย์ทราย ขนทราย
เข้าวัดเพราะความเชื่อว่าก้อนกรวดทรายเป็นของสงฆ์อาจติดฝ่าเท้าหรือรองเท้าขณะเดิน
กลับบ้านเป็นสาเหตุที'ทำให้ตายไปเกิดเป็นเปรตได้เพราะเชื่อว่าลักของสงฆํโดยไม,เจตนา
การบังสุกุลอีฐ หรือบังสุกุลกระดูกเพี่ออุทิศส่วนกุศลไปให้แก,ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว
จากที่กล่าวมาทงหมดนี้ จะเห็นว่า “ประเพณีสงกรานต์” มีความเชื่อเรื่อง
เปรตเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ไม่น้อย นอกจากประเพณีนี้แล้ว ยังมีประเพณีสำคัญอีก
อย่างหนึ่ง เรียกว่า “ประเพณีสารทไทย” ซึ่งจะได้กล่าวในดอนต่อไป

ประเพณีสารทไทย

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ความเชื่อเรื่องเปรตมีผลเกิดขึ้นแก,ประเพณี
ไทยอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า “ประเพณีสารทไทย” โดยตรง เกี่ยวกับประเพณีนี้มีราย
ละเอียดประเด็นสำคัญที่น่าสนใจดีกษาตังนี้
มีหลักฐานปรากฏแสดงให้เห็นว่า ความเชื่อเรื่องเปรตมีสํวนเกี่ยวข้องกับ
ประเพณีสารทไทยมาเป็นเวลาข้านานแล้ว จะเห็นว่าในเดือน ๑๐ ไทย ประมาณเดือน
กันยายนหรือตุลาคม ทั่วทุกภาคของประเทศได้จัด “ประเพณีสารทไทย” กันเป็นประจำ
ทุกปี ในประเพณีตังกล่าว มีการทำบ ุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก' “เปรต” ผู้ล่วงลับไปเกิดใน
เปรตวิสัย ปรากฎเป็นหลักฐานชัดเจน ตังข้อความว่า

ครั้นเดือน ๑๐ ถึงการพระราชพิธีภัทรบทเป็นนักขัตฤกษ์ มหาชนกระทำ


มธุปายาสทาน และจะเด็ดรวงข้าวสาลีเป็นปฐมเก็บเกี่ยว.. .ฝ่ายข้างพุทธศาสน์
พระราชพิธีภัทรบทนี้ เป็นสมัยหมู่มหาชนกระทำมธุปายาสยาคู อังคาสพระ
ภิกษุสงฆ์ และเลี้ยงพราหมณ์ ทั้งบูชาพระรัตนตรัยด้วยพรรณผ้ากระทำเป็น
ธงแล้ว และอุทิศส่วนกุศลผลบุญให้แก,ญาติอันไปล่ปรโลกเป็นปรท้ตดูปชีวีเปรต

(นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์, ๒๕๑๓: ๑๓๘-๑๓๙)


จากหลักฐานข้างต้น แสดงให้เห็นว่าความเชื่อเรื่องเปรตมีส่วนสัมพันธ์ก ับ
ประเพณีนี้อย่างเด่นชัด ดังจะเห็นไต้จากการอุทิศกุศลผลบุญให้แก,ญาติผู้ตายไปเกิดเป็น
ปรฑัตตูปชีวีเปรต ซึ่งก็คือ เปรตที่อาศัยทานที'ญาติพี่น้องทำบุญส่งไปให้ นอกจากหลัก
ฐานดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีนักปราชญ์อื่น ๆ ไต้เขียนอธิบายเกี่ยวกับประเพณีสารทไทย ดัง
ข้อความต่อไปนี้
จันทร์ ไพจิตร (๒๕๒๐) ไต้กล่าวไว่ในทำนองเดียวกันว่า “สรุปความในพิธี
สารทแล้ว เป็นอันรู้ข้อประสงค์ลงกันอย่างหนึ่งอย่างเดียว คือ ทำบุญอุทิศให้แก่บุรพเปดชน”
แปลก สนธิรักษ์ (๒๕๒๓) กล่าวว่า . .พ ิธ สี ารทของไทยเรานี้ทำเพี่อ
อุทิศให้แก,ผู้ล่วงลับไปแล้วอย่างหนึ่ง ทำเพี่อให้เกิดสวัสดีมงคลแก,ตัวเอง ในเมื่อตนมีอายุ
ล่วงมาไต้กี่งปีอย่างหนึ่ง ทำเพี่อประสานสามัคคีในระหว่างเพื่อนบ้านอย่างหนึ่ง. . .”
พระศวีปริยัติโยดม และคณะ (๒๕๓๕) กล่าวว่า

ประเพณีทำบุญวันสารท คือประเพณีทำบุญอุทิศให้แก'เปดชนผู้ที่ล่วงลับ
ไปแล้ว นับเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ที่นับถือพระพุทธ
ศาสนา ซึ่งไต้กระทำกันมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันนี้ การกระทำนั้น
นิยมทำกัน ๒ ครั้ง คือครั้งแรกกำหนดเอาวันแรม ๑ คา เดือน ๑๐ เป็นวันรับ
และวันแรม ๑๕ ค์า เดือน ๑๐ เป็นวันส่ง

ประเพณีทำบุญวันสารท ชาวไทยพุทธ ๑๕ จังหวัดภาคใดไต้กระทำดาม


คตินิยมของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินมคธ ที่ไต้ทรงถวายทานแต่
พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงอุทิศถวายแก,เปตชนผู้เป็น
พระญาติของพระองค์ในครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
อนุโมทนาจึงไต้ตรัสติโรกุฑฑสูตรว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฎรนฺติ เป็นอาทิ

ประเพณีทำบุญวันสารทของชาวภาคใต้นั้น โดยมุ่งหมายก็เพี่อจัดทำบุญ
อุทิศผลส่งไปให้แก'เปตชนทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้ว ท่านเหล่านั้นจะไป
ส่สุคติหรือทุคติ ขึ้นอยู่กับผลบุญกรรมของแต่ละท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ท
ตายไปแล้วจำพวกที่ทำกรรมดีก็ไต้เสวยสุข ผู้ที่ทำกรรม'ไม่ดีก็'ไต้เสวยทุกข์...
จากข้อความด้งกล่าวมา จะเห็นว่า ท่านผู้รู้ท ุก ท่านอธิบ ายเกี่ยวกับ
“ประเพณีสารทไทย” ไว้เหมือนกันว่า มืจุดประสงค์เดียวกัน คือท่าบุญอุทิศส่วนกุศลให้
แก,ญาติผู้ล่วงลับไปเกิดเป็นเปรตในเปรตโลก ข้อนี้แสดงว่า ความเชื่อเรื่องเปรตมีส่วน
สัมพันธ์กับ “ประเพณีสารทไทย” จนท่าให้เกิดมีความเชื่อเรื่องการท่าบุญอุทิศผลทาบ
ให้แก,เปรตแทรกอยู่ในประเพณีดังกล่าวอย่างเด่นชัด
ดังนั้น ผู้วิจัย เห็นควรสรุปว่า อิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตมีผลต่อประเพณี
สารทไทยจนท่าให้เกิดมีพิธีท่าบุญอุทิศส่วนกุศลล่งไปให้แก'เปรตปรากฎอยูในประเพณี
ดังกล่าวมาตามลำดับ
จากที,กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า อิทธิพลความเชื่อเรื่องเปรตมีล่วนเกี่ยวข้อง
กับพิธีกรรม ประเพณี คตินิยมด่าง ๆ ของไทยไม่น้อย ที่เป็นเซ่นนี้ ผู้วิจัยเห็นควร
สรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
๑. ความเชื่อเรื่องเปรต สะท้อนให้เห็นถึงคุณธรรมข้อ “กดัญณู” จะเห็นว่า
พิธีกรรม ประเพณี คตินิยมด่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเปรตนั้น เป็นเรื่องของการตอบแทนบุญ
คุณทั้งสิบ
๒. ความเชื่อเรื่องเปรต สะท้อนให้เห็นถึง “ความเกรงกลัวบาป” อย่างเด่นชัด
การท่าบุญให้ทาบเป็นการแสดงออกถึงความเชื่อเรื่องโลกหน้า การเวียนว่ายดายเกิด
การที่คนท่าบุญให้ทานในพิธีกรรม และประเพณีต่าง ๆ เพราะมีความเชื่อเรื่องโลกหน้า แฝงอยู่
และกลัวว่าจะต้องตายไปเกิดเป็นเปรตชดใช้ผลกรรมชั่ว
รา. ความเชื่อเรื่องเปรต สะท้อนให้เห็นถึง “ผลแห่งการบูชา” จะเห็นว่ามีการ
นำไทยธรรมมาถวายแก,พระสงฆ์เพื่ออุทิศผลบุญไปให้แก,เปรต ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า การ
บูชาท่าบุญแก,พระสงฆ์มีผลานิสงส์มาก ดังนั้น ความเชื่อว่าพระสงฆ์คือผู้ประพฤติดี
ปฏิบัติชอบจึงเป็นเหตุลํ0คัญให้ถวายทานท่าบุญแก,พระสงฆ์ เพื่อผู้ล่วงลับไปจะได้รับผล
บุญโดยเร็วพลัน
๔. ความเชื่อเรื่องเปรต สะท้อนให้เห็นถึง “นี้าใจ” เราจะเห็นว่า การที่คน
ไทยส่วนใหญ่มีนี้าใจช่วยเหลือเอื้อเพิอเผื่อแผ่เพราะหวังอยู่ว่าผลแห่งความมีนี้าใจ จะท่า
ให็ไม่ตกทุกขํใดัยาก และเปรตที่ล่วงลับไปแล้วที่เชื่อกันว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรประเภทหนึ่ง
กิจะไม่มาหลอกหลอนรบกวนสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายด้วยว่าได้รับผลบุญที่อุทิศให้แล้ว
๕. ความเชื่อ เรื่อ งเปรต สะท้อ นให้เห็น “ สายสัม พัน ธ์’’ ระหว่า งวงศาคณ าญ าติ
และวัด กับ บ้า น จะเห็น ว่า พิธ ีก รรม ประเพณี คติน ิย มต่า ง ๆ ที่เกิด ขึ้น นั้น มีผ ลทำให้
“ ความสัม พัน ธ์” ระหว่า งญาติ และวัด กับ บ้า นแน่น แฟ้น ยิ่ง ขึ้น เช่น ลูก ก็ค ิด ถึง พ ่อ แม่ผ ู้
ล่ว งสับ จึง ไปวัด ทำบุญ เพื่อ อุท ิศ ส่ว นกุศ ลส่ง ไปให้ พระสงฆ์ก ็ไ ด้อ าศัย จตุป ัจ จัย ไทยธรรม
ที่ช าวบ้า นนำมาถวายไปใช่ใ นการเผยแผ่พ ระธรรมคำสอนเพื่อ สอนให้ค นในสัง คมเป็น คน
ดีม ีน ั้า ใจเสีย สละไม,ลืม ญ าติพ ี่น ้อ งผู้ม ีพ ระคุณ
๖. ความเชื่อ เรื่อ งเปรด สะท้อ นให้เห็น “ สัน ติส ุข ” ในสัง คม จะเห็น ว่า การ
อยู่ร ่ว มกัน ในสัง คมใหญ่ ๆ อาจมีป ัญ ห ากระท บ กระท ั่ง เกิด ขึ้น จากการพ ูด จา ความ
อิจ ฉาริษ ยาหวงแหนตระหนี่ เอารัด เอาเปรีย บโดยไม่ช อบธรรม แต่ค วามเชื่อ เรื่อ งเปรด
สามารถทำให้ส ัง คมสงบสุข ร่ม เย็น ได้ พิธ ีก รรม คติน ิย ม ประเพณีต ่า ง ๆ ที่เ กี่ย วกับ
ค ว าม เช ื่อ ด ัง ก ล ่า ว ล้ว น ท ำให ้ค น ใน ส ัง คมห ัน มาร่ว มมือ ช่ว ยเห ลือ กัน จริง ใจ เห ็น แก่
ประโยชน์ส ่ว นรวม มากกว่า ประโยชน์ส ่ว นตน เช่น ร่ว มกัน จัด งานศพ พิธ ีท ำบุญ ถวาย
สัง ฆทาน หรือ อย่า งประเพณีส ำคัญ มีป ระเพณีส ารทไทยเป็น ด้น เพื่อ อุท ิศ ผลบุญ ส่ง ไปให้
เปรดชน
จากท ี่ก ล่า วม าน ี้ จะเห็น ว่า ความเชื่อ เรื่อ งเปรต มีส ่ว นสัม พัน ธ์เ กี่ย วข้อ งกับ
วิถ ีช ีว ิต ของคนไทย ตั้ง แต่พ ิธ ีก รรม ประเพณีไ ทย จนถึง พฤติก รรม ความคิด การแสดง
ออกดามลำดับ ด้งนั้น ความเชื่อ เรื่อ งเปรต จึง มีค วามสำคัญ ประการหนึ่ง ในฐานะที่
เชื่อ มความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งบุค คลในครอบครัว สัง คม ศาสนา ประเทศชาติ และมีผ ลให้
คนในสัง คมช่ว ยเหลือ เกื้อ กูล อยู่ร ่ว มกัน ได้อ ย่า งสงบสุข
y
— 7 ท

บฑที่ ๕

สรุป และข้อ เสนอแนะ

จาก ก ารคืก ษ าเรื่อ งน ี้ไ ด้ผ ลก ารวิจ ัย ว่า ความห มายของคำว่า “ เปรต” ตาม
รูป ศัพ ท์ม ีส ่ว นประกอบสำคัญ ฅ ส่วน คือ ป -อ ิธ าต ุ- ต ใน การอธิบ ายความห มายของ
คำด้ง กล่า วมีค ำธิบ าย ๒ นัย คือ เปรต หมายถึง คนผู้ล ่ว งสับ ไปล่โ ลกหน้า และคนผู้
ถึง ฐานะห่า งไกลจากความสุข หรือ พ้น ไปจากความสุข
ความหมายของคำ “ เปรต” ในพระไตรปิฎ กมี ๒ ความห มาย กล่า วคือ
ห มายถึง คบผู้ล ่ว งสับ ไปล่โ ลกหน้า ที,เรีย กว่า คนดาย และคนผู้ล วงสับ ไปล่โ ลกหน้า ที่
เรีย กว่า เปรตวิส ัย หรือ เปรตโลก
ต่อ มาในชั้น อรรถกถาพระอรรถกถาจารย์ล ่ว นใหญ่ไ ด้อ ธิบ ายความหมายของคำ
“ เปรต” ไว้ว ่า หมายถึง คนผู้ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย โดยใช้แ หล่ง ข้อ มูล จากพระไตรปิฎ ก
ตอนว่า ด้ว ยวิน ีต วัต ถุใ นมหาวิภ ัง ค์ ลัก ฃณ ลัง ยุต ต์ และเปตวัต ถุ ในการอธิบ าย มีผ ลให้
ความ ห ม ายของคำว่า “ เปรต” ในชั้น ฎีก า และวรรณกรรมพุท ธศาสนาที่ร จนาในประเทศไทย
หมายถึง คบตายไปเกิด ในเปรตวิส ัย มีค วามสำคัญ กว่า ความหมายว่า “ คน ดาย” เปรตที่
ปรากฎในวรรณกรรมของไทย จึง มีร ูป ร่า งน่า กลัว อดอยากหิว โหย ผอม ปากเท่า รูเ ข็ม ฯลฯ
นอกจากนี้แ ล้ว ยัง ได้ข ้อ สรุป ที,ชัด เจนว่า “ เปรตวิส ัย ” เป็น ๑ ในคติ ๕ แดน
ไปห ลัง ความตายของผู้เ วีย น ว่า ยตายเกิด คติด ้ง กล่า วแบ่ง ออกเป็น ไอ ฝ่า ย ฝ่า ยเส วยผล
กรรมดีเ รีย กว่า “ ส ุค ต ิ” มีเ ทวดา และมนุษ ย์ ฝ่า ยเสวยผลกรรมชั้ว เรีย กว่า “ท ุค ต ิ” มี
เปรตวิส ัย กำเนิด ติร ัจ ฉาน และนรก เปรตวิส ัย นี้เ ป็น ทุค ติท ี่ม ีส ถานภาพดีก ว่า กำเนิด ดิร ัจ ฉาน
และนรก จัด อยู่ต รงกึ่ง กลางระหว่า ง สุค ติ และ ท ุค ต ิ สัต ว์ผ ู้ต ายไปเกิด ในเปรตวิส ัย สามารถ
รับ ส่ว นบุญ กุศ ลที่ม นุษ ย์อ ุท ิศ ผลล่ง ไปใหิไ ด้ ส่ว นสัต ว์ผ ู้! ปเกิด ในทุค ติน อกนี้ ไม่ส ามารถ
รับ กุศ ลผลท าน จากมน ุษ ย์
แนวความคิด และความเชื่อ เรื่อ งเปรตมี ๒ ลัก ษณะ คือ ห มายถึง คนผู้ล ่ว ง
สับ ไปสัโ ลกหน้า ที่เรีย กว่า คนตาย พวกหนึ่ง และหมายถึง คนผู้ล ่ว งลับ 'โปลัโ ลกหน้า ที่
เรีย กว่า เปรตวิส ัย หรือ เปรตโลก อีก พวกหนึ่ง
ประการสุด ท้า ยก็ค ือ อิท ธิพ ลความเชื่อ เรื่อ งเปรต มีผ ลต่อ พิธ ีก รรม คติน ิย ม
และประเพณีไ ทยต่า ง ๆ ของชาวไทย เซ่น พิธ ีศ พ พิธ ีถ วายสัง ฆทาน พิธ ีอ นุโ มทนา
การกรวดนา ประเพณีส งกรานต์ และประเพณีส ารทไทย ผลของพิธ ีก รรม และประเพณี
ดัง กล่า วล่ง เสริม ให้ ความกดัญ ณ ู ความละอายเกรงกลัว ต่อ บ าป ความมีน าใจ ความ
สัม พัน ธ์ผ ูก พ ัน ระห ว่า งวงศาคณ าญ าติ และวัด กับ บ้า น รวมทั้ง สัน ติส ุข ของผู้ค นในสัง คม
ปรากฎอย่า งเด่น ชัด

ข้อ เสนอแนะ

ควรมีก ารวิจ ัย อิท ธิพ ลความเชื่อ เรื่อ งวิม านในวิม านวัต ถุใ นประเด็น ที่เ กี่ย วกับ
การทำบุญ กุศ ลของชาวไทยอัน สะท้อ นให้เห็น ถึง ผลของการทำตีไ ด้ด ีห รือ คืก ษาเปรีย บเทีย บ
ระหว่า งเปตวัต ถุก ับ วิม านวัต ถุเ พื่อ ทราบแนวคิด และความเชื่อ ในเรื่อ งทั้ง ไอ อย่า งแจ่ม ชัด
รายการอางอง

ภาษาไทย

การ ศาสนา, กรม. ๒๕รา๐. พระไตรจภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑.


กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา. ๕๖๕.
____. ๒๕๓๐. พระไตรจฦกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๒๙.
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๑. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๒๐๔.
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๕๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๒. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๑๓๙, ๑๕๒.
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๕๕๒-๕๕๓.
____. ๒๕๓๐. พระไตรจภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๔. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๓๓๔.
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๖. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๓๓๙.
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๓๓๔.
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีฏกภาษาไทย. ๕๕ เล่ม. เล่มที่ ๒๒. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๓๙๕-๓๙๖.
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๒๓. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๕๒๕.
____. ๒๕๓๐. พระไตรจภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๒๔. กรุงเทพมหานคร:
โรงพมพการศาสนา. ๓๒๖-๓๒๙, ๓๓๒-๓๓๕.
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๒๕. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. G)0—(ริ)(ริ),
____. ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๒๖. กรุงเทพมหานคร:
โรงพมพการศาสนา. ๑๔๑-๑๕าอ, ๑๕๖, ๑๖๖-๑๖๗, ๑๗๑, ๑๘๑-๑๘๓,
๑๘๘, '๒๐๑, ๒๐๓-๒๐๔, ๒๐๘-๒๐๙, ๒๑๑-๒๑๒, ๒๑๔-๒๑๖,
๒๓๒, ๒๔๑ 1๒๔๖, ๓๓๑.
____. ๒๔๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๗. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๒๐๔-๒๐๖, ๒๒๔, ๔๓๗.
____. ๒๔๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๙. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การศาสนา. ๑๔๗, ๑๖๔.
■ ๒๕๓๐. พระไตรปีภกภาษาไทย. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๓๒. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์การสาสนา. ๖๙๔.
คณะกรรมการแผนกตำรามหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๕๓๒. พระธัมมปทัภรกถาแปล.
๘ เล่ม. ภาค ๓. พระนคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๓๔-๒๓๖
________. ๒๔๒๘. มังคลัดถทีปนี แปล. ๕ เล่ม. เล่ม ๒. พระนคร:
มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๙๓-๒๙๔.
จตุรังคพล, มหาอำมาตย์. ๒๔๒๗. อภิธานปปทีปีกาภีกา. กรุงเทพมหานคร:
เทคนิค (๑๙). ๒๘๔.
จันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. ๒๕๑๓. ปทานุกรมบาลี ไทย อังกถษ
ลันสกถด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศึวพร. ๕๔๔.
จันทร์ ไพจิตร. ๒๔๒๐. ประมวลพิธีมงคลของไทย. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช. ๑๗-๑๙, ๑๗๘.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๑๔. พระราชพิธี ๑๒ เดือน. พระนคร:
แพร่พิทยา. ๔๘๐.
ชิน'วรสวิวัฒน์, กรมหลวง. ๒๔๒๓. พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปีกา. พระนคร: มหามกุฎ-
ราชวิทยาลัย. ๑๑๐.
ทวีศักดิ,'ญาณประทีป และคณะ. ๒๔๓๔. พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๔๓๐.
กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช. ๔๓๗.
เทพรัตนราซสุดา สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ๒๔๓๓. ทศบารมีในพุทธศาสนา
เถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๔.
ทองคำ สุธรรม. ๒๔๓๓. การตรวจสอบชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์โลกลัณราน-
โชตรณคัณรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
๒๒๒, ๓๔๗.
ธรรมปรีชา (แก้ว), พระยา. Ta๕ไอ๐. ไตรภูมิโลกวินิจฉุยกถา. กรุงเทพมหานคร:
กรมสิลปากร. ๑๗๕.
ธีรราชมหามุนี, พระธรรม. ๒๕๓๕. ภูมิวิลาสินี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มิตรสยาม.
๑๑๓.
นางนพมาศ หรือดำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์. ๒๕๑๓. พระนคร: สิลปาบรรณาคาร.
๓๘-๓๙.
ปริทัศน์ ศรีรัตนาลัย. ๒๕๒๓. โลก้ปปทีปกสารปริจุเฉุทที่ ๓ และ ๔: การตรวจชำระและ
การสิกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์,ปริญญามหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๑, ๖๘-๗๐, ๒๒๗.
ปริยัดโยดม, พระศรี และคณะ. ๒๕๓๕. ประเพณีภูาคทักษิณ. กรุงเทพมหานคร:
วัชรินทร์การพิมพ์. ๒๙-๓๙.
แปลก สนธิรักษ์. ๒๕๒๓. พิธีกรรม และประเพณีไทย. กรุงเทพมหานคร:
ไทยวฒนาพานช. ๘๓, ๑๗๘, ๑๘๓-๑๙๑.
พระญาณกิตติ. ๒๕๒๕. อภิธมมุตถ'วิภา,วินิยา ปณจิกาย นาม อดถโยชนาย ทุติ'โย ภาโค.
๒ เล่ม. พระนคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๔๓๗.
พระธัมมปาละ. ๒๕๓๓. ก. ปรุมตถ'ทีปนิ ขุททกนิกายภฺรกถา อิดิวตดกวณณนา.
กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๑๔๕.
________. ๒๕๓๓. ข. ปรุมตถทีปนี ขุททกนิกายภรกถา เปดวดถวณณนา.
กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๙, ๑๐, ๑๕, ๑๙, ๒๔,
๓๑, ๘๕, ๑๐๐, ๑๓๐, ๒๘๗, ๒๙๒, ๓๐๕.
________. ๒๕๓๓. ค. ปรุมตถทีปนิ ขททกนิกายภรกถา เถรีคาถาวณณนา.
กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๙๔.
พระพุทธโฆสาจารย์. ๒๕๓๕. ก. ขททกนิกาย ชาดกฏรกถา จตุดถภาค ดิก-ปณฺจก­
นปาดวณณนา. ๑๐ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
๔๓๖.
________. ๒๕๓๕. ข. ขุททกนิกาย ชาดกฦรกถา สดดมภาค วีสติ-จดดาลีสนิปาต-
าณณนา. ๑๐ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๔๖-
๕๗, ๗๕, ๑๓๙, ๑๔๙.
________. ๒๕๓๕. ค. ขุทฺทกนิกาย ชาดกภฺรกถา นวมภาค มหานิปาดวณณนา.
๑๐ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๑๔๗.
๗๘

________. ๒๕ฅฅ. ก. ธมมปทภฺรกถา(ปรุโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราช-


วิทยาลัย. ๙๓-๙๕.
________. ๒๕๓๒. ก. ธมมปทภฺรกถา(ดติโย ภาโค). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๑๕๔-๑๕๙.
________. ๒๕๓๑. ธมมปทภฺรกถา (ปณจโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๕๕.
________. ๒๕๒๗. ธมมปทภฺรกถา (สดฺดโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราช­
าทยาลัย. ๖๕-๖๖, ๑๒๓-๑๒๔.
________. ๒๕๓๓. ข. ธมมปทภฺรกถา (อฏฺรโม ภาโค). กรุงเทพมหานคร:
มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๖๔.
________. ๒๕๓๒. ข. ปปณจสุทนี มชฌิมนิกาย/]รกถา มลปณณาสกวณณนา ปรุโม
ภาโค. ๓ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๑๗๒1๓๕๘.
________. ๒๕๓๒. ค. ปรุมดถโชติกา ขุททุกนิกายภฺรกถา ขุททกปารวณณนา.
กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๑๘๙.
________. ๒๕๓๓. ค. ปณฺจปกรณภฺรกถา ธาตุกถาทิวณณนา. กรุงเทพมหานคร:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๓๑๑.
________. ๒๕๓๓. ง. มโนรถปรณี องคดดรนิกายภฺรกถา ทุกาทินิปาดวณณนา ทด,โย
ภาโค. ๓ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๔๔๕.
________. ๒๕๓๓. จ. มโนรถปรณี องคดดรนิกายภฺรกถา ทุกาทินิปาดวณณนา ตติโย
ภาโค. ๓ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๓๕๘.
________. ๒๕๓๔. สมนุตปาสาทิกา วินยภฺรกถา ปรุโม ภาโค. ๓ เล่ม.
กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๔๐๗, ๕๔๙-๕๕๕.
________. ๒๕๓๒. ง. สมงคลวิลาสินี ทีฆนิกายภรกถา สีลกขนธวคควณณนา.
๓ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๕๒.
พระพุฑธัปปิยเถระ. ๒๕๒๗. รูปสิ,ทธิปกรณ์. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา. ๒๐๗,
๒๕๕.
พระลัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ๒๕๓๕. ปรุมัดถโชติกะ มหาอภิธัมมัดถลังคหภีกา
ปริจเฉทที่ ๕. เล่มที, ๑. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิลัฑธัมมโชติกะ. ๖๐.
พระสัทธรรมโฆษเถระ. ๒๕๒๘. โลกบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร: กรมติลปากร. ๒๗๗-
๒๘๑.
พระสารีบุตร. ๒๕'๒๖. สารดลทีปนีภีกา ทดโย ภาโค. ๔ เล่ม. พระนคร:
มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๙.
พระสิริมังคลาจารย์. ๒๕๒๓. จักกวาฬทีป'น. กรุงเทพมหานคร: กรมภิลปากร. ๑๒๘.
________. ๒๕๒๘. มงคลตถทีปนี (ปรู่โม ภาโค). ๒ เล่ม. พระนคร:
มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๓๑๒-๓๔๑.
พระสุภูติมหาเถระ. ๒๔๖๔. ปาลีอภิรานปปทีปีกาสุจิ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไท. ๖๔๔.
พระสุมังคละ. ๒๕๑๖. อภิธมมดถสงคหฎีกา. พระนคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๑๕๖.
พระอุปเสนะ. ๒๕๓๔. สทธมุมปปชุโชติกา ขุททกนิกาย,ถฺรกถา มหานิทเทสวณฺณนา.
กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๐.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๖. ปาถิกวคคภีกา. กรุงเทพมหานคร:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๓๖๒.
____. ๒๕๓๖. มหาวคคฎีกา. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๘๘.
____. ๒๕๓๖. มชฌิมปณณาสฎีกา. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
๒๓๕, ๔๓๙.
____. ๒๕๓๖. มลปณณาสฎีกา ทุติยภาค. ๒ เล่ม. กรุงเทพมหานคร:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๓๓.
____. ๒๕๓๖. สํยุดฺตฎีกา ปรมภาค. ๒ เล่ม. กรุงเทพมหานคร:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๘๗, ๑๖๘.
____. ๒๕๓๖. ส่ยุดฺดฎีกา ทุติยภาค. ๒ เล่ม. กรุงเทพมหานคร:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๓๒๒.
____. ๒๕๓๖. องคดดรฎีกา ทุติยภาค. ๓ เล่ม. กรุงเทพมหานคร:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๔๒๕, ๔๙๑.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๒๕๒๕. สยามรฎรสส เดปีฎกํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑. พระนคร:
มหามกุฎราชวทยาลัย. ๑๐๘, ๑๔๓, ๒๑๐-๒๑๗, ๒๙๘-๓๐๖.
____. ๒๕๒๕. สยามรภฺรสส เดปีฎกํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๓. พระนคร: มหามกุฎราช­
าทยาลัย. ๖, ๒๐, ๔๐, ๑๑๒, ๑๑๔-๑๑๕, ๑๑๗, ๑๙๕.
____. ๒๕๒๕. สยามรภฺรสส เดปีฎกํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๘. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๙๘.
____. ๒๕๒๕. สยามรฎฺรสส เดปีฎกํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๐. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๒๙.
๒๔๒๕. สยามร/]รสส เดปี/ไกํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๑. พระนคร: มหามกุฎราซ-
วิทยาลัย. ๒๐๓.
๒๕'๒๔. สยามร/]รสส เตจ/ไกํ. ๔๕' เล่ม. เล่มที, ๑๒. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๕'๙, ๑๔๘-๑๔๙, ๑๔๑-๑๕๒.
๒๔๒๔. สยามร/]รสส เดปี/ไกํ. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๑๓. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๖๓๗.
๒๔๒๕. สยามร/]รสส เดปี/ากํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๔. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๓๓๔-๓๓๔.
๒๔๒๔. สยามร/]รสส เดจ/ไก 0. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๑๕. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๘๗, ๓๐๐.
๒๔๒๕. สยามรฦรสส เดปี/ๅกํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๑๖. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๒๙๘-๓๐๖.
๒๔๒๕. สุยามร/]รสส เดปี/ไก่. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๐. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๑๙๗, ๑๙๘.
๒๔๒๔. สยามร/]รสส เต’ปี/)กู่. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๑. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๓๓๑.
๒๔๒๔. สยามร/]รสุส เดปี/ไก*. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๒. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๔๖.
๒๔๒๔. สยามร/]รสส เต1ปี/ไก0. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๓. พระนคร: มหามกุฎราช-
วทยาลัย. ๓๗๘, ๔๘๐-๔๘๑.
๒๔๒๔. สยามร/]รสส เดปี/ๅท. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๔. พระนคร: มหามกุฎราซ-
วทยาลย. ๑๔๒, ๒๘๔-๒๘๗, ๒๙๐, ๒๙๒, ๓๓๔.
๒๔๒๕. สยามร/]รสส เดจ / ๅกํ. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๔. พระนคร: มหามกุฎราช­
าทยาลัย. ๙-๑๑, ๔๔๙, ๔๙๒, ๔๙๔,
๒๔๒๔. สยามร/]รสส เตจ / าทํ. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๖. พระนคร: มหามกุฎราช­
าทยาลย. ๑๔๐, ๑๔๗-๒๔๙, ๓๒๖, ๔๗๑, ๔๖๐, ๔๐๒
๒๔๒๔. สยามร/]รสส เดปี/ๅกํ. ๔๔ เล่ม. เล่มที่ ๒๗. พระนคร: มหามกุฎราช­
าทยาลัย. ๔๖, ๑๖๗, ๑๘๓, ๒๒๙, ๒๔๘, ๒๙๓, ๔๓๙, ๔๗๑.
๒๔๒๔. สยามร/]รสสเดปี/ไก0. ๔๔เล่ม. เล่มที่๒๘. พระนคร: มหามกุฎราช-
าทยาลัย. ๒๔๓, ๓๓๙.
____. ๒<£'๒๕. สยามรก)รสส เศ่ปี/ไก0. ๔๕ เล่ม. เล่มที' ๒๙. พระนคร: มหามกุฎราช­
รทยาล่ย. ๑๕๑-๑๕๓, ๑๕๙.
____. ๒๕๒๕. สยามรภฺรสส เดปีภกํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๓๒. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๔๙๙.
____. ๒๕๒๕. สยามร,ภฺรสส เดปี/ๅกํ. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๓๕. พระนคร: มหามกุฎราช-
วิทยาลัย. ๕๕๕.
____. ๒๕๒๕. สยามรภฺรสส เดปีภก0. ๔๕ เล่ม. เล่มที่ ๓๗. พระนคร: มหามกุฎราช­
รทยาลัย. ๔๒, ๓๗๗-๓๗๘, ๓๘๙.
มิสินทปณุหา. ๒๔๖๖. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย. ๓๗๑.
เริง อรรถวิบูลย์. ๒๕๑๒. ความรู้เรื่องพิธีธรรมเนียมสงฆ์. เล่ม ๑. กรุงเทพมหานคร:
องค์การค้าของคุรุสภา. ๖๕-๗๕.
ลิไทย, พระญา. ๒๕๐๖. ไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ: คีลปาบรรณาคาร. ๕๕.
วรมุนี, พระราช. ๒๕๒๗. พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร:
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๑๓๘.
วรลักษณ์ พับบรรจง. ๒๕๒๓. โมกษะในวรรณคดีพระเวท. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๑๕-๒๔.
ว ับ รัตน, สมเด็จพระ (แต่งเป็นภาษามคธ) และ ปริยัติธรรมธาดา,พระยา (แพ ตาลลักษมณ)

เปรียญ (ผู้แปล). ๒๕๒๑. สังคีติยวงศ์. กรุงเทพมหานคร:


ห้างหุ้นส่วนจำกัดคีวพร. ๔๘๑-๔๘๒.
คีลปากร, กรม. ๒๕๑๗. ขุนช้าง ขุนแผน. พระนคร: สำนักพิมพ์บรรณาคาร. ๑๑๐๒-
๑๑๐๓.
คีลปากร, กรม. ๒๕๓๓. โลกุปป้ดติ อรุณวดีสุตร ปรุมมุล ปรมกัป และมุลดันไตรย.
กรุงเทพมหานคร: กรมคีลปากร. ๙.
เสฐียรโกเศศ. ๒๕๑๕. เทศกาลสงกรานต์. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
๑๐๒-๑๓๙.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. ๒๕๒๖. ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๑๑๓-๑๑๕.
หลวงจีนใบฎีกาเย็นหงวน และคณะ. ๒๕๑๙. พจนานุกรมพุทธศาสนา จีน-ลันสกถต-
รังกกษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: ชาญพัฒนาการพิมพ์ ๕๑๐, ๖๔๓.
ภาษาอังกฤษ

Andersen, Dines. 1904-1905. A Pali Glossary. Copenhagen: Forlag. 1 8 3 .


Apte, Vaman, Shivram. 1989. The Practical Sanskrit-English Dictionary. Delhi:
Motilal Banarsidass. 685.
Basham, A.L. 1991. The Wonder that was India. Rupa Co. 29-30.
Buddhadatta, A.P., Mahathera. 1989. Concise Pali-English Dictionary. Delhi:
Motilal Banarsidass. 189.
Childers, Robert, Caesar. 1909. A Dictionary of the Pali language. Rangoon:
Buddha Sasana Councill Press. (378).
Davids, Rhys, T.w. &stede William. 1972. The Pali Text Society's Pali-English
Dictionary. London: The Pali Text Society. 472.
Edgerton, Franklin. 1985. Buddhist Hybrid Sanskrit Grammar and Dictionary, vol.
II. Delhi: Motilal Banarsidass. 394.
Geiger, Wilhelm. 1978. Pali Literature and Language. Delhi: Munshiram
Manoharlal Publishers. 19.
Lanman, Charles, Rockwell. 1983. Sanskrit Reader. Delhi: Sri Satguru Publications.
198.
Macdonell, Arthur, Anthony. 1979. A Practical Sanskrit Dictionary. London: Oxford
University Press. 188.
Macdonell, Arthur, Anthony & Keith, Arthur Berriedale. 1967. Vedic Index of
Names and Subjects. Delhi: Motilal Banarsidass. 53.
Nakaruma, Hajime. 1989. Indian Buddhism. Delhi: Motilal Banarsidass. 72.
Winternitz, Maurice. 1977. History of Indian Literature, vol. II. Delhi: Munshiram
Manoharlal Publishers. 99.
-*> V ไ J ไ'

ประวัติผู้วิจัย ทับ่ 'ั ๒ ฑ์*1^

พระมหา อุทิศ ฉายา อุทิตเมธี นามสกุล ศึริวรรณ เกิดเมื่อวันที่ ๕ มกราคม


พ.ศ. ๒๕๑๑ ที่กรุงเทพมหานคร สอบได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.)
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ สำเร็จการศึกษาพุทธศาสตรบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในปีการศึกษา ๒๕๓๑ ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธีราช ในปีการ
ศึกษา ๒๕๓๑ และเปรียญธรรม ๙ ประโยคสำนักเรียนวัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร
ในปีการศึกษา ๒๕๓๒
เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาอักษรคาสดรมหาบัณฑิตภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา ๒๕๓๔
ขณะศึกษาได้รับทุนยกเว้นค่าเล่าเรียน (ภาคปลาย ปีการศึกษา ๒๕๓๕) ทุนธนาคาร
กรุงศรีอยุธยา (ภาคปลาย ปีการศึกษา ๒๕๓๕) ทุนหลวงพ่อวัดไร่ขิง ทุนวิจัยบัณฑิต
วิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาคปลาย ปีการศึกษา ๒๕๓๕) และทุนวิจัยมูลนิธิ
พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า
รำไพพรรณี ประจำปีการศึกษา ๒๕๓๕
เป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์อุปสมบทที,วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยมีสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สบธ ป.ธ. ๙) วัด
ปทุมคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ป.ธ. ๙) วัดชนะสงคราม
เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระธรรมปัญญาบดี (ช่วง ป.ธ. ๙) วัดปากนํ้า ภาษีเจริญ
เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประโยค ๑-๒-ป.ธ. ๖
มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๖ กรรมการสนามหลวงแผนกธรรม และบาลี พ.ศ.
๒๕๓๔-๒๕๓๕ กรรมการตรวจสอบด้นฉบับพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับลังคายนาฝ่าย
คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔-ปัจจุบัน มีผลงานรวบรวม-เรียบเรียง-แปล-เขียน
หนังสือวิชาการภาษาบาลี-ธรรมะ-รวมเรื่องสั้นประมาณ ๔๐ เล่ม นอกจากนี้ยังได้
แสดงปาฐกถาธรรม-เทศน์-อภิปราย-บรรยาย-สอนตามวัด สถาบันการศึกษา สถานีวิทยุ
สถานีโทรทัศน์ องค์กรเอกซนต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ มหาเถรสมาคมมีมติใหไปปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัด
อุษาพุฒยาราม มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

You might also like