You are on page 1of 26

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี วิชา ดนตรี - นาฏศิลป์ ชุดที่ 1

ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3
มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
มฐ.
ข้อ มฐ. ศ 2.1 มฐ. ศ 3.1 มฐ. ศ 3.2
ศ 2.2
1 2 3 4 5 6 7 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3
1 
2 
3 
4 
5 
6 
7 
8 
9 
10 
11 
12 
13 
14 
15 
16 
17 
18 
19 
20 
21 
22 
23 
24 
25 
26 
27 
28 
29 
30 

มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
มฐ.
ข้อ มฐ. ศ 2.1 มฐ. ศ 3.1 มฐ. ศ 3.2
ศ 2.2
1 2 3 4 5 6 7 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3
31 
32 
33 

1
34 
35 
36 
37 
38 
39 
40 

ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1 กลุ่มสาระ ศิลปะ


วิชา ดนตรี – นาฏศิลป์ ป. 3 จำนวน 40 ข้อ

ให้กาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. รูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรีชนิดใดต่อไปนี้ คล้ายเรือพาย
ก. ฆ้องวงใหญ่ ข. ระนาดทุ้ม
ค. จะเข้ ง. ซออู้
2. หลอดดูด คล้ายกับเครื่องดนตรีชนิดใด
ก. ขลุ่ยเพียงออ ข. ซอด้วง
ค. ฉาบ ง. ฉิ่ง

2
3. รูปร่างลักษณะของเครื่องดนตรีใด คล้ายจานข้าว
ก. ขลุ่ยหลีบ ข. สะล้อ
ค. ฉาบ ง. ซึง
4. ซึง มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีสากลข้อใด
ก. แซ็กโซโฟน ข. ทรัมเป็ต
ค. กลองชุด ง. กีตาร์
5. เครื่องดนตรีข้อใดที่ต้องใช้คันชักในการบรรเลง
ก. แซ็กโซโฟน ข. ทรัมเป็ต
ค. ไวโอลิน ง. กีตาร์
6. สัญลักษณ์ข้อใดมีอัตราความยาวเสียงมากที่สุด
ก. ข.

ค. ง.
7. มีความยาวเสียงเท่ากับข้อใด
ก. ข.

ค. ง.
8. เสียงโดในโน้ตไทยเขียนอย่างไร
ก. โด ข. DO
ค. Do ง. ด
2
9. 4 สัญลักษณ์ในภาพมีความหมายใด
ก. ใน 1 ห้องเพลง มี 2 จังหวะ
ข. ใน 1 ห้องเพลง มี 4 จังหวะ
ค. ใน 2 ห้องเพลง มี 4 จังหวะ
ง. ใน 2 ห้องเพลง มีตัวโน้ต 4 ตัว
10. เพลงชาติไทยมีบทบาทสำคัญในข้อใด
ก. แสดงความเป็นมาของชาติไทย
ข. แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของไทย
ค. แสดงความเป็นชาติมหาอำนาจของไทย
ง. แสดงความเป็นเอกราชของชาติไทย

3
11. เพลงใดไม่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์
ก. เพลงสดุดีมหาราชา
ข. เพลงรำวงลอยกระทง
ค. เพลงผู้ปิ ดทองหลังพระ
ง. เพลงสรรเสริญพระบารมี
12. ข้อใดไม่ใช่หลักการขับร้องเพลงให้ไพเราะ
ก. ขับร้องให้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองเพลง
ข. ขับร้องโดยออกเสียงร้องให้เต็มเสียง
ค. ขับร้องให้เหมือนเสียงต้นแบบ
ง. ขับร้องให้มีเสียงดังสม่ำเสมอ
13. การออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธีมีประโยชน์ข้อใด
ก. บังคับเสียงได้ดังใจ
ข. มีพลังเสียงมากขึ้น
ค. น้ำเสียงนุ่มนวลขึ้น
ง. สื่อความหมายได้ถูกต้อง
14. การเคลื่อนไหวอย่างอิสระใช้กับกิจกรรมใด
ก. ฟ้ อนภูไท
ข. ระบำสี่ภาค
ค. เต้นแอโรบิก
ง. รำวงมาตรฐาน
15. การเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบใช้กับการแสดงชุดใด
ก. ละครหุ่นมือ ข. ละครหุ่นนิ้วมือ
ค. การเต้นรำประกอบจังหวะ ง. โขน
16. ข้อใดเป็นลักษณะของการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ
ก. แสดงท่าทางได้อย่างอิสระ
ข. มีท่าทางเคลื่อนไหวที่แน่นอน
ค. แสดงออกได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
ง. คิดค้นท่าเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
17. ข้อใดไม่ใช่เสียงขับร้องที่มีคุณภาพ
ก. ออกเสียงดังกลบเสียงดนตรี

4
ข. เปล่งเสียงขับร้องให้เต็มเสียง
ค. น้ำเสียงมีความไพเราะ นุ่มนวล
ง. ออกเสียงให้ถูกต้องตามหลักภาษา
18. เสียงดนตรีที่มีคุณภาพ ควรมีลักษณะตามข้อใด
ก. บรรเลงให้เสียงดังกว่าเสียงขับร้อง
ข. บรรเลงได้ตามจังหวะและทำนองเพลง
ค. บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีหลากหลายชนิด
ง. บรรเลงด้วยทำนองแปลกใหม่ต่างจากเดิม
19. หากจะเปิ ดเพลงในงานฉลองวันขึ้นปี ใหม่ในโรงเรียน ควรเปิ ดเพลงใดให้เข้ากับบรรยากาศของงาน
ก. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
ข. เพลงรำวงสงกรานต์
ค. เพลงพรปี ใหม่
ง. เพลงชาติไทย
20. เพลง Happy Birthday เหมาะนำไปเปิ ดในงานใด
ก. งานบวชญาติผู้ใหญ่
ข. งานวันเกิดเพื่อน
ค. งานทำบุญบ้าน
ง. งานกีฬาสี

21. ภาษาท้องถิ่นภาคอีสาน มักจะใช้ขับร้องในวงดนตรีใด


ก. วงปี่ พาทย์มอญ
ข. วงสะล้อซอซึง
ค. วงโปงลาง
ง. วงกาหลอ
22. ฆ้องคู่ มักใช้บรรเลงในวงดนตรีท้องถิ่นใด
ก. ภาคเหนือ ข. ภาคอีสาน
ค. ภาคกลาง ง. ภาคใต้
23. การบรรเลงดนตรีในขบวนแห่บวชนาค เพื่อจุดประสงค์ข้อใด
ก. เพื่อความสนุกสนานครื้นเครง

5
ข. เพื่อทำให้เกิดความขลัง
ค. เพื่อให้พระพุทธเจ้ารับรู้
ง. เพื่อบูชาเทวดาฟ้ าดิน
24. ข้อใดเป็นการใช้ดนตรีท้องถิ่นเพื่อการพักผ่อนในเวลาว่าง
ก. บรรเลงดนตรีในงานลอยกระทง
ข. บรรเลงดนตรีในงานแต่งงาน
ค. บรรเลงดนตรีหน้าพระที่นั่ง
ง. ขับร้องเพลงซอกับเพื่อน
25. ท่ารำสอดสร้อยมาลา ใช้แสดงประกอบเพลงใด
ก. เพลงบูชานักรบ
ข. เพลงงามแสงเดือน
ค. เพลงหญิงไทยใจงาม
ง. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
26. จากภาพ เหมาะใช้แสดงเป็นสัตว์ชนิดใด
ก. สุนัข
ข. แมว
ค. นก
ง. ไก่

27.
จากภาพ น่าจะใช้ทำท่าประกอบเพลงลาวต่อนก ตรงเนื้อเพลงใด

ก. ครั้นเมื่อยามพลบ
ข. ดังเราเป็นกบ
ค. ต้นข้าวในนา
ง. พริ้วพราย
28. ข้อใดเป็นการแสดงภาษาท่า ดีใจ ประกอบเพลง

6
ก. มือข้างหนึ่งจีบที่ปาก
ข. มือข้างหนึ่งบังหน้าผาก
ค. มือทั้งสองข้างกางออก
ง. ผายมือทั้งสองออกไปด้านข้าง
29. ผู้แสดงละครควรมีบทบาทตามข้อใด
ก. แสดงเป็นตัวละครหลักเท่านั้น
ข. แสดงให้โดดเด่นกว่าเพื่อน
ค. แสดงตามที่เพื่อนบอก
ง. แสดงให้สมบทบาท
30. ผู้ชมที่ดีควรปฏิบัติตนตามข้อใด
ก. นอนหลับเมื่อรู้สึกง่วง
ข. มีอารมณ์ร่วมกับการแสดง
ค. แต่งกายให้โดดเด่นกว่าคนอื่น
ง. คอยอธิบายให้ผู้ชมที่นั่งข้างๆ ฟัง
31. การมีส่วนร่วมในการจัดเวที ในวัยของนักเรียนสามารถช่วยได้อย่างไร
ก. เดินสายไฟบนเวที
ข. ติดตั้งฉากขนาดใหญ่
ค. นำภาพไปประดับตกแต่งฉาก
ง. ติดตั้งแสงไฟส่องบนเวที

32. หากต้องการให้กำลังใจนักแสดง ต้องทำอย่างไร


ก. ปรบมือให้นักแสดง
ข. เป่ าปากให้นักแสดง
ค. ให้เงินกับนักแสดง
ง. ตะโกนเรียกชื่อนักแสดงดังๆ
33. ความรู้ทางนาฏศิลป์ สามารถนำไปใช้ในวิชาทัศนศิลป์ ได้อย่างไร
ก. ทำกล่องใส่ของ
ข. ทำนาฬิกากระดาษ
ค. ทำหัวโขนให้ถูกต้อง
ง. ตกแต่งเสื้อผ้านักเรียน

7
34. การแสดงบทบาทสมมุติประกอบเนื้อหาในวิชาต่างๆ มีประโยชน์อย่างไร
ก. ทำให้เรียนเก่งขึ้น
ข. ทำให้เรียนสนุกขึ้น
ค. ทำให้ครูชื่นชมประทับใจ
ง. ทำให้โดดเด่นกว่าเพื่อน
35. ฟ้ อนสาวไหม เป็นการแสดงที่เกี่ยวกับข้อใด
ก. การทำนา ข. การทำไร่
ค. การทำสวน ง. การทอผ้า
36. ฟ้ อนภูไท มีลักษณะคล้ายกับการแสดงข้อใด
ก. ฟ้ อนสาวไหม ข. ฟ้ อนเจิง
ค. ฟ้ อนเล็บ ง. ฟ้ อนเทียน
37. ข้อใดเป็นลักษณะเด่นของการแสดงตารีกีปัส
ก. การใช้พัดประกอบการแสดง
ข. ฉากที่ใช้ในการแสดง
ค. หน้าตาของผู้แสดง
ง. จำนวนผู้แสดง

38. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของการรำกลองยาว
ก. ร่ายรำเป็นคู่ชายหญิง
ข. ผู้แสดงแต่งกายคล้ายชาวพม่า
ค. ฝ่ ายชายตีกลองประกอบจังหวะ
ง. ใช้วงดนตรีไทยบรรเลงประกอบ
39. การไหว้ครู เกี่ยวข้องกับที่มาของนาฏศิลป์ ไทยอย่างไร
ก. เป็นการละเล่นของคนสมัยก่อน
ข. เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่ควรเคารพนับถือ
ค. เป็นพิธีการอย่างหนึ่งในวังหลวงสมัยก่อน
ง. เป็นพิธีการที่ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย

8
40. คุณค่านาฏศิลป์ ไทยไม่เกี่ยวข้องกับข้อใด
ก. ส่งเสริมบารมีแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ข. ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ค. สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย
ง. แสดงถึงความเจริญทางวัฒนธรรม



ตารางวิเคราะห์ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี วิชา ดนตรี - นาฏศิลป์ ชุดที่ 2


ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3
มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
มฐ.
ข้อ มฐ. ศ 2.1 มฐ. ศ 3.1 มฐ. ศ 3.2
ศ 2.2
1 2 3 4 5 6 7 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3
1 
2 
3 
4 
5 
6 
7 
8 
9 

9
10 
11 
12 
13 
14 
15 
16 
17 
18 
19 
20 
21 
22 
23 
24 
25 
26 
27 
28 
29 
30 

มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
มฐ.
ข้อ มฐ. ศ 2.1 มฐ. ศ 3.1 มฐ. ศ 3.2
ศ 2.2
1 2 3 4 5 6 7 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3
31 
32 
33 
34 
35 
36 
37 
38 
39 
40 

10
ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2 กลุ่มสาระ ศิลปะ
วิชา ดนตรี - นาฏศิลป์ ป. 3 จำนวน 40 ข้อ

ให้กาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. เครื่องดนตรีข้อใดมีรูปร่างลักษณะคล้ายเลข 8
ก. ฟลูต ข. เปี ยโน
ค. เมโลเดียน ง. กีตาร์โปร่ง
2. เครื่องดนตรีข้อใดมีลิ่มนิ้วเหมือนเปี ยโน
ก. ฟลูต ข. เปี ยโน
ค. เมโลเดียน ง. กีตาร์โปร่ง
3. เครื่องดนตรีข้อใดไม่ได้ทำจากโลหะ
ก. ฉาบ ข. ไวโอลิน
ค. ทรอมโบน ง. แซ็กโซโฟน
4. เครื่องดนตรีข้อใดมีรูปร่างลักษณะต่างจากพวก
ก. กลองชุด ข. รีคอร์เดอร์
ค. พิกโคโล ง. ฟลูต
5. เครื่องดนตรีข้อใดมีรูปร่างลักษณะคล้ายกัน
ก. ฉิ่ง กรับเสภา
ข. ทับ รำมะนา
ค. ซึง โปงลาง

11
ง. สะล้อ ซอด้วง
6. สัญลักษณ์นี้ตรงกับชื่อเรียกใด
ก. ตัวเขบ็ตสองชั้น
ข. ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น
ค. ตัวขาว
ง. ตัวดำ
7. โน้ตตัวดำ หมายถึงข้อใด
ก. ข.

ค. ง.

8. ฟ สัญลักษณ์นี้เทียบกับเสียงใด
ก. เสียงโด ข. เสียงมี
ค. เสียงฟา ง. เสียงซอล
9. ข้อใดไม่เกี่ยวกับรูปแบบจังหวะเพลงไทย
ก. จังหวะฉิ่ง
ข. จังหวะฉาบ
ค. จังหวะสามัญ
ง. จังหวะหน้าทับ

10. มีความยาวเสียงเท่ากับข้อใด

ก. ข.

ค. ง.
11. เพลงประจำโรงเรียนมักใช้เปิ ดในโอกาสใด
ก. งานแข่งขันกีฬาสี
ข. งานประเพณีลอยกระทง
ค. งานทำบุญที่วัดในอำเภอ
ง. งานฉลองวันเกิดเพื่อนในโรงเรียน

12
12. เพลงใดไม่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับชาติและพระมหากษัตริย์
ก. เพลงชาติไทย
ข. เพลงค่าน้ำนม
ค. เพลงสดุดีมหาราชา
ง. เพลงสรรเสริญพระบารมี
13. ข้อใดเป็นการออกเสียงเอื้อนได้อย่างถูกวิธี
ก. เอื้อนเสียงตามเสียงระนาดเอก
ข. เอื้อนเสียงตามเสียงขับร้องคนอื่น
ค. เอื้อนเสียงตามการเป่ าขลุ่ยเพียงออ
ง. เอื้อนเสียงตามจังหวะและทำนองเพลง
14. วิธีใดช่วยรักษาระดับเสียงร้องให้คงที่สม่ำเสมอ
ก. กลั้นลมหายใจแล้วค่อยๆ ปล่อยออกมา
ข. หายใจให้สอดคล้องกับจังหวะเพลง
ค. ออกเสียงร้องให้มีเสียงดังเข้าไว้
ง. ออกเสียงร้องตามอักขรวิธี
15. เพราะเหตุใดการเต้นแอโรบิก จึงต้องเคลื่อนไหวด้วยท่าทางกระฉับกระเฉง
ก. เพราะต้องการความสวยงามขณะเคลื่อนไหว
ข. เพราะสอดคล้องกับเนื้อเพลงที่ใช้ประกอบ
ค. เพราะต้องการให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ออกแรง
ง. เพราะเพลงที่ใช้ประกอบมีจังหวะเร็ว
16. รำวงมาตรฐานจัดเป็นการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบเพราะเหตุใด
ก. เพราะมีความอ่อนช้อยสวยงาม
ข. เพราะเลียนแบบท่ารำจากศิลปิ น
ค. เพราะเป็นท่ารำที่มีมาตั้งแต่โบราณ
ง. เพราะต้องรำตามท่ารำที่กำหนดไว้แล้ว
17. คุณภาพของเสียงขับร้อง สังเกตได้จากข้อใด
ก. การเปล่งเสียงของผู้ขับร้อง
ข. การแสดงสีหน้าของผู้ขับร้อง
ค. การแสดงอารมณ์ของผู้ขับร้อง
ง. การแต่งตัวและแต่งหน้าของผู้ขับร้อง

13
18. เสียงดนตรีที่มีคุณภาพ สังเกตได้จากข้อใด
ก. การบรรเลงที่สนุกสนาน
ข. การบรรเลงที่มีลีลาโดดเด่น
ค. การบรรเลงที่มีเสียงดังกังวาน
ง. การบรรเลงที่สอดคล้องกลมกลืนกัน
19. เพลงสดุดีมหาราชา มักมีบทบาทใช้ในวันสำคัญใด
ก. วันปี ใหม่
ข. วันลอยกระทง
ค. วันเด็กแห่งชาติ
ง. วันพ่อแห่งชาติ
20. เพลงจิงเกิลเบล (Jingle bells) มักใช้เปิ ดในวันสำคัญวันใด
ก. วันปี ใหม่
ข. วันคริสต์มาส
ค. วันปิ ยมหาราช
ง. วันลอยกระทง
21. ข้อใดเป็นลักษณะสำคัญของเพลงท้องถิ่น
ก. ใช้เครื่องดนตรีสากลร่วมบรรเลง
ข. มีจังหวะและทำนองที่ซับซ้อน
ค. มีจังหวะและทำนองที่เรียบง่าย
ง. มีเนื้อร้องยาวมาก
22. ภาษาเขมรมักพบในเนื้อร้องของวงดนตรีพื้นบ้านข้อใด
ก. วงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ
ข. วงดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน
ค. วงดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
ง. วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้
23. ดนตรีพื้นบ้านนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
ก. ใช้ในการพักผ่อนหย่อนใจ
ข. ใช้ประกอบพิธีสำคัญในชุมชน
ค. ใช้ประกอบพิธีสำคัญทางศาสนา
ง. ใช้ร่วมงานพระราชพิธีในวันสำคัญ

14
24. ข้อใดเป็นการนำดนตรีพื้นบ้านไปใช้ในโอกาสสำคัญในท้องถิ่น
ก. ดีดซึงหารายได้พิเศษในตลาดสด
ข. แสดงดนตรีพื้นบ้านหน้าพระที่นั่ง
ค. แสดงดนตรีพื้นบ้านในงาน OTOP
ง. ตีกลองยาวในขบวนแห่นาค
25. การแสดงท่าประกอบเพลงในความหมายว่า รัก ต้องแสดงอย่างไร
ก. มือข้างหนึ่งยกขึ้นแล้วโบกมือไปมา
ข. มือข้างหนึ่งยกขึ้นและชี้ไปข้างหน้า
ค. มือสองข้างประสานแนบอก
ง. มือสองข้างกางออกขยับขึ้นลง
26. การชูสองนิ้วแนบหูสองข้าง เป็นการเลียนแบบสัตว์ชนิดใด
ก. ม้าลาย ข. กระต่าย
ค. ช้าง ง. แมว
27.
จากภาพ มีความหมายใด

ก. ร้องไห้ ข. ดีใจ
ค. อาย ง. โกรธ
28.
ท่าประกอบเพลงในภาพ
เกี่ยวข้องกับนาฏยศัพท์ข้อใด

ก. จีบ ข. ตั้งวง
ค. ประเท้า ง. กระดกเท้า

15
29. ใครมีบทบาทในการเป็นผู้แสดงที่ดี
ก. จอยแสดงรำวงมาตรฐานได้อ่อนช้อยสวยงาม
ข. ฝ้ ายแสดงความเขินอายในการแสดงนาฏศิลป์
ค. มดแสดงเป็นตัวละครที่ได้รับไม่สมบทบาท
ง. รุตไม่กล้าออกมาแสดงละครบนเวที
30. ข้อใดแสดงถึงการเป็นผู้ชมที่ดี
ก. ตะโกนต่อว่าผู้แสดงที่แสดงไม่ถูกใจ
ข. ไม่ยอมนั่งเก้าอี้ตามหมายเลขที่นั่งของตนเอง
ค. ไปถึงสถานที่จัดการแสดงหลังเวลาแสดง
ง. แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับสถานที่
31. ข้อใดเหมาะสมที่สุดในการให้กำลังใจเพื่อนที่แสดง
ก. ปรบมือเมื่อผู้แสดงทำได้ดี
ข. มอบเงินรางวัลให้ผู้แสดงที่ชอบ
ค. เดินไปจับมือผู้แสดงที่แสดงได้ประทับใจ
ง. ทำป้ ายเชิดชูเกียรติให้กับผู้แสดงที่ชื่นชอบ
32. ข้อใดไม่ได้แสดงถึงการมีส่วนร่วมในการแสดง
ก. เข้าร่วมแสดงละครกับเพื่อนๆ
ข. คอยจัดลำดับการขึ้นบนเวทีของเพื่อนๆ
ค. คอยจับผิดเพื่อนๆ ที่กำลังแสดงบนเวที
ง. ช่วยจัดของและตกแต่งเวทีเท่าที่ทำได้กับเพื่อนๆ
33. ความรู้ทางนาฏศิลป์ สามารถนำไปใช้ในวิชาพระพุทธศาสนาได้อย่างไร
ก. ออกแบบเครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์
ข. แสดงละครพุทธประวัติประกอบเนื้อหา
ค. วิเคราะห์การแต่งกายของพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล
ง. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับของใช้ในการประกอบพิธีสงฆ์
34. ข้อใดเป็นการนำความรู้ทางนาฏศิลป์ มาใช้ในวิชาการงานอาชีพฯ
ก. จัดพิธีการก่อนการแสดงนาฏศิลป์
ข. นับจังหวะการเคลื่อนไหวประกอบเพลง
ค. ตกแต่งอุปกรณ์การแสดงให้มีความสวยงาม
ง. จัดหาเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับตัวละครที่แสดง

16
35. เพราะเหตุใดการแสดงฟ้ อนเทียนจึงนิยมแสดงในเวลากลางคืน
ก. เพราะเวลากลางคืนจะมีคนชมการแสดงมาก
ข. เพราะฟ้ อนเทียนต้องใช้เทคนิคแสงเงาในการแสดง
ค. เพราะมองเห็นความสวยงามของแสงเทียนขณะร่ายรำ
ง. เพราะสีเสื้อผ้าของผู้แสดงจะสะท้อนแสง มีความสวยงาม
36. ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงเซิ้งกระหยัง
ก. กลองยาว ข. ฆ้องคู่
ค. สะล้อ ง. แคน

37. การแสดงชุดใดที่สวมเล็บยาวเหมือนการแสดงฟ้ อนเล็บ


ก. ฟ้ อนภูไท
ข. ฟ้ อนเทียน
ค. ฟ้ อนก๋ายลาย
ง. ฟ้ อนสาวไหม
38. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของการแสดงตารีกีปัส
ก. ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน
ข. ผู้แสดงร่ายรำด้วยท่าทางเชื่องช้า
ค. ผู้แสดงใช้พัดประกอบการแสดง
ง. ผู้แสดงแต่งกายคล้ายชาวไทยมุสลิม
39. เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เกี่ยวข้องกับนาฏศิลป์ ในเรื่องใด
ก. ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวผู้แสดง
ข. ถือเป็นของบูชาติดตัวผู้แสดง
ค. ถือเป็นครูทางนาฏศิลป์ ไทย
ง. ถือเป็นพ่อแม่ของผู้แสดง
40. การไหว้ครูมีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์ อย่างไร
ก. เป็นการบูชาเทพเจ้าเพื่อจะช่วยให้รอดพ้นอันตรายขณะแสดง
ข. เป็นการเทียบชั้นครูอาจารย์เพื่อสักวันหนึ่งจะเก่งเหมือนกัน
ค. เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์
ง. เป็นการเชิญวิญญาณครูอาจารย์มาสิงสู่ผู้แสดงนาฏศิลป์

17


เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1

1. ข 2. ก 3. ค 4. ง 5. ค
6. ง 7. ค 8. ง 9. ก 10. ง
11. ข 12. ค 13. ง 14. ค 15. ง
16. ข 17. ก 18. ข 19. ค 20. ข
21. ค 22. ง 23. ก 24. ง 25. ข
26. ง 27. ข 28. ก 29. ง 30. ข
31. ค 32. ก 33. ค 34. ข 35. ง
36. ค 37. ก 38. ง 39. ง 40. ก

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2

1. ง 2. ค 3. ข 4. ก 5. ง
6. ก 7. ข 8. ค 9. ข 10. ก
11. ก 12. ข 13. ง 14. ข 15. ค
16. ง 17. ก 18. ง 19. ง 20. ข
21. ค 22. ข 23. ก 24. ง 25. ค
26. ข 27. ค 28. ข 29. ก 30. ง

18
31. ก 32. ค 33. ข 34. ง 35. ค
36. ง 37. ก 38. ข 39. ค 40. ค

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1
เฉลยอย่างละเอียด
1. ตอบ ข เพราะเมื่อเรามองด้านหน้าระนาดทุ้ม จะเห็นเป็นรูปร่าง ซึ่งจะคล้ายกับ
รูปร่างของเรือ ตามภาพ
2. ตอบ ก เพราะหลอดกาแฟ มีรูปร่าง ซึ่งคล้ายกับรูปร่างของขลุ่ยเพียงออ
ดังภาพ
3. ตอบ ค เพราะรูปร่างของฉาบ มีรูปร่าง ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับรูปร่างของฉาบ
ดังภาพ
4. ตอบ ง เพราะซึงเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดแบบเดียวกับกีตาร์ ซึ่งมีส่วนประกอบ
หลายอย่างคล้ายกัน เช่น โพรงเสียง สายเสียง เป็นต้น จึงมีรูปร่างลักษณะโดยรวมคล้าย
กัน
5. ตอบ ค เพราะไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี ซึ่งต้องใช้คันชักเป็นส่วนประกอบ
สำคัญในการถูที่สายเสียง จนเกิดเป็นเสียง
6. ตอบ ง เพราะ มีความยาวเสียงเป็นครึ่งหนึ่งของตัวกลม ซึ่งหากจะเทียบเสียงกัน
จะได้ = = =
จะเห็นได้ว่าต้องใช้จำนวนตัว มากกว่า 1 ตัว จึงจะมีความยาวเสียงเท่ากับ
ตัว ดังนั้นตัว จึงมีความยาวเสียงมากที่สุดในข้อนี้
7. ตอบ ค เพราะ 1 ตัว จะมีความยาวเสียงเท่ากับตัว 2 ตัว หรือ 4 ตัว
หรือตัว 8 ตัว หรือตัว 16 ตัว ดังนั้นข้อ ค. จึงถูกต้อง
8. ตอบ ง เพราะในโน้ตไทยจะใช้ตัวอักษร ด เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงโดเพียงอย่างเดียว ไม่ใช้
สัญลักษณ์แบบอื่น
9. ตอบ ก เพราะ 2 เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องหมายกำหนดจังหวะในเพลง ซึ่งเลขตัวบนหมาย
4
ถึง จังหวะของแต่ละห้องเพลง เลขตัวล่าง หมายถึง ลักษณะของตัวโน้ตที่ยึดเป็นเกณฑ์
2
1 จังหวะ ดังนั้น จึงมีความหมายว่า ใน 1 ห้องเพลงที่กำหนดเป็น 4 จังหวะ ให้มี
4
ตัวโน้ตแค่ 2 จังหวะ

19
10. ตอบ ง เพราะเพลงชาติไทย เป็นเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์แทนประเทศไทยใน
โอกาสต่างๆ เช่น เปิ ดเพลงให้นักกีฬาชาติไทยเมื่อได้รับเหรียญทองในการแข่งขันกีฬา
โอลิมปิ ก เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเอกราช ไม่ได้
ถูกปกครองโดยประเทศอื่น
11. ตอบ ข เพราะเพลงรำวงลอยกระทง เป็นเพลงที่ใช้เปิ ดในงานประเพณีลอยกระทง เพื่อสร้าง
บรรยากาศให้สนุกสนานครึกครื้น และเนื้อเพลงไม่ได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์
แต่อย่างใด ต่างจากเพลงสดุดีมหาราชา เพลงผู้ปิ ดทองหลังพระ เพลงสรรเสริญ-
พระบารมี ที่มีเนื้อเพลงกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ด้วย และมักใช้เปิ ดหรือบรรเลง
ในวันสำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์
12. ตอบ ค เพราะการขับร้องให้เหมือนเสียงต้นแบบไม่ใช่หลักการขับร้องเพลงให้มีความไพเราะ
การขับร้องเพลงให้ไพเราะต้องขับร้องให้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองเพลง ร้องให้
เต็มเสียง และมีเสียงดังสม่ำเสมอ
13. ตอบ ง เพราะการออกเสียงตามอักขรวิธี ทำให้ผู้ฟังได้ยินชัดเจน ไม่กำกวมหรือเข้าใจผิด
ฟังแล้วได้อารมณ์เพลงและเข้าใจความหมายได้ถูกต้อง
14. ตอบ ค เพราะการเต้นแอโรบิกสามารถคิดท่าทางการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ ต่างจากฟ้ อนภูไท
ระบำสี่ภาค รำวงมาตรฐาน ที่ต้องเคลื่อนไหวท่าทางตามที่กำหนดไว้เท่านั้น
15. ตอบ ง เพราะโขนเป็นการแสดงนาฏศิลป์ ไทยที่เก่าแก่ และต้องใช้ภาษาท่าและการเคลื่อนไหว
ตามนาฏยศัพท์อย่างเคร่งครัด จึงไม่สามารถเคลื่อนไหวอย่างอิสระเหมือนกับ
ละครหุ่นมือ ละครหุ่นนิ้วมือ และการเต้นประกอบจังหวะ
16. ตอบ ข เพราะการเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ จะต้องมีท่าทางการเคลื่อนไหวที่แน่นอนและ
ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานแล้ว เช่น รำวงมาตรฐาน โขน เป็นต้น ไม่สามารถทำท่าทาง
ได้อย่างอิสระแบบอื่นๆ ได้อีก
17. ตอบ ก เพราะการออกเสียงดังกลบเสียงดนตรี จะทำให้เสียงเพลงไม่สอดคล้องกลมกลืนกัน
เพลงที่ได้ยินจึงขาดความสมดุลของเสียง ไม่มีคุณภาพ
18. ตอบ ข เพราะการบรรเลงตามจังหวะและทำนองเพลง จะทำให้ได้เสียงดนตรีที่ถูกต้องตาม
โน้ตเพลง จึงมีความไพเราะและมีคุณภาพ
19. ตอบ ค เพราะเพลงพรปี ใหม่มีเนื้อเพลงกล่าวถึงการอวยพรเนื่องในโอกาสวันปี ใหม่ จึงเป็น
เพลงที่มีความหมายที่ดี เหมาะสมกับบรรยากาศงานปี ใหม่
20. ตอบ ข เพราะเพลง Happy Birthday มีเนื้อเพลงกล่าวถึงการอวยพรในวันเกิด จึงเหมาะกับเปิ ด
งานวันเกิดของเพื่อน

20
21. ตอบ ค เพราะวงโปงลางเป็นวงดนตรีพื้นบ้านท้องถิ่นภาคอีสาน จึงมักจะขับร้องเพลงท้องถิ่น
ภาคอีสานที่ใช้ภาษาท้องถิ่นภาคอีสานในการขับร้อง

22. ตอบ ง เพราะฆ้องคู่เป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่นภาคใต้ จึงมักนำไปใช้บรรเลงในวงดนตรีท้องถิ่น


ภาคใต้
23. ตอบ ก เพราะการแห่นาคเป็นกิจกรรมในประเพณีบวชที่ต้องการความสนุกสนานบันเทิงใจ
มีความสุข ดังนั้นจึงมีดนตรีบรรเลงสร้างบรรยากาศให้มีความสนุกสนาน
24. ตอบ ง เพราะการขับร้องเพลงซอกับเพื่อนเป็นกิจกรรมที่ทำได้ในเวลาว่าง ส่วนการบรรเลง
ดนตรีในงานแต่งงาน การบรรเลงดนตรีหน้าพระที่นั่ง และการบรรเลงดนตรีในงาน
ลอยกระทง ล้วนเป็นการใช้ดนตรีในงานพิธีไม่ใช่การพักผ่อน
25. ตอบ ข เพราะท่ารำสอดสร้อยมาลาเป็นท่ารำที่ถูกคิดค้นเพื่อใช้ทำท่าประกอบเพลง
งามแสงเดือนโดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้ทำท่าประกอบเพลงรำวงมาตรฐานเพลงอื่นได้
26. ตอบ ง เพราะในภาพผู้แสดงทำท่าทางเลียนแบบท่าเคลื่อนไหวของไก่ จึงใช้แสดงท่าทางสื่อ
แทนไก่ได้
27. ตอบ ข เพราะในภาพผู้แสดงทำท่าคล้ายกบ สอดคล้องกับเนื้อเพลงที่ว่า ดังเราเป็นกบ
28. ตอบ ก เพราะการแสดงภาษาท่าดีใจ จะต้องทำมือจีบที่ปาก ซึ่งเป็นการแสดงภาษาท่าที่ถูกต้อง
ตามแบบนาฏศิลป์ ไทย
29. ตอบ ง เพราะผู้แสดงละครที่ดีจะต้องแสดงให้สมบทบาทตัวละครที่ได้รับ เพื่อให้ผู้ชมมี
ความเชื่อว่าเป็นตัวละครที่แสดงจริงๆ สิ่งนี้ถือเป็นบทบาทหน้าที่ที่ผู้แสดงจะต้องทำ
ส่วนตัวเลือกอื่นไม่ใช่บทบาทของผู้แสดง
30. ตอบ ข เพราะการมีอารมณ์ร่วมกับการแสดงเป็นหลักการชมที่ดีและแสดงถึงความตั้งใจชม
ส่วนตัวเลือกอื่นไม่ใช่ข้อปฏิบัติในการชมการแสดงที่ดี
31. ตอบ ค เพราะในวัยนักเรียนสามารถช่วยนำภาพไปปะติดตามฉากได้ ส่วนการเดินสายไฟบน
เวที การติดตั้งฉากขนาดใหญ่ การติดตั้งแสงไฟส่องเวที เป็นงานของผู้ใหญ่ที่ต้องอาศัย
ความรู้ความชำนาญในการทำงาน จึงไม่เหมาะกับเด็ก
32. ตอบ ก เพราะการปรบมือให้นักแสดง ถือเป็นมารยาทของผู้ชมที่ดีในการแสดงความชื่นชม
การให้กำลังใจ และให้เกียรติผู้แสดง ส่วนตัวเลือกอื่นไม่ใช่ข้อปฏิบัติของผู้ชมที่ดี
ในการให้กำลังใจแก่ผู้แสดง
33. ตอบ ค เพราะการทำหัวโขนต้องใช้ความรู้นาฏศิลป์ มาช่วยในการตกแต่งหัวโขนให้มีความถูก
ต้องตามที่ใช้ในการแสดงโขน ส่วนตัวเลือกอื่นไม่ต้องใช้ความรู้ทางนาฏศิลป์

21
34. ตอบ ข เพราะการแสดงบทบาทสมมุติมีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนให้น่า
สนใจ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น จึงทำให้เรียนสนุกขึ้น

35. ตอบ ง เพราะฟ้ อนสาวไหมเป็นการร่ายรำโดยเลียนแบบท่าทางในการทอผ้า เช่น


การเลี้ยงไหม สาวไหม กรอไหม เป็นต้น
36. ตอบ ค เพราะฟ้ อนภูไท เป็นการแสดงที่ผู้แสดงจะต้องสวมเล็บยาวในขณะแสดง ซึ่งคล้ายกับ
การฟ้ อนเล็บของท้องถิ่นภาคเหนือ
37. ตอบ ก เพราะผู้แสดงตารีกีปัสต้องใช้พัดประกอบการร่ายรำเป็นท่าทางต่างๆ ถือเป็น
เอกลักษณ์หรือลักษณะเด่นของการแสดงชุดนี้
38. ตอบ ง เพราะการรำกลองยาวไม่ใช้วงดนตรีไทยบรรเลงประกอบการแสดง แต่จะให้ผู้แสดง
ฝ่ ายชายตีกลองยาวรำคู่กับผู้แสดงฝ่ ายหญิง และมีผู้ตีกลองยาวประกอบจังหวะ
พร้อมกับตีฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง
39. ตอบ ง เพราะการไหว้ครูเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มาจากประเทศ
อินเดีย ซึ่งคนอินเดียบางกลุ่มเชื่อว่าเทพเจ้าบางองค์โดยเฉพาะพระอิศวรทรงเป็น
นาฏราช (ราชาแห่งการร่ายรำ) และเป็นที่มาของตำนานการฟ้ อนรำ
40. ตอบ ก เพราะนาฏศิลป์ ไทยไม่ได้ส่งเสริมบารมีแก่ผู้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด แต่จะให้คุณค่าด้าน
อื่นๆ เช่น แสดงถึงความเจริญทางวัฒนธรรม ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน สะท้อน
ให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย เป็นต้น



22
เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2
เฉลยอย่างละเอียด

1. ตอบ ง เพราะกีตาร์โปร่งมีรูปร่าง ซึ่งคล้ายกับเลข 8


2. ตอบ ค เพราะเมโลเดียนเป็นเครื่องดนตรีที่มีลิ่มนิ้วเป็นส่วนประกอบของตัวเครื่องดนตรี
ซึ่งนักดนตรีจะต้องกดลิ่มนิ้วให้เกิดเป็นเสียงต่างๆ
3. ตอบ ข เพราะไวโอลินทำมาจากไม้เหมือนกับกีตาร์โปร่ง ส่วนฉาบ ทรอมโบน แซ็กโซโฟน
ทำจากโลหะ
4. ตอบ ก เพราะกลองชุดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี มีลักษณะเป็นกลองหลายขนาดมาจัด
รวมกัน ส่วนรีคอร์เดอร์ พิกโคโล ฟลูต เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่ า
มีลักษณะคล้ายกับขลุ่ย
5. ตอบ ง เพราะสะล้อและซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มีคันชักซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้
ถูสายเสียงให้เกิดเสียง ส่วนตัวเลือกข้ออื่นมีรูปร่างลักษณะต่างกัน
6. ตอบ ก เพราะตัวเขบ็ตสองชั้น เป็นชื่อเรียกสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเหมือนตัวดำ แต่มีหาง
สองชั้น
7. ตอบ ข เพราะ เป็นสัญลักษณ์โน้ตสากล มีชื่อเรียกว่า โน้ตตัวดำ ส่วน คือ
โน้ตตัวกลม คือ โน้ตตัวขาว คือ โน้ตเขบ็ตสองชั้น
8. ตอบ ค เพราะ ฟ เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนระดับเสียงฟาในโน้ตเพลงไทย ส่วนเสียงโด
ใช้สัญลักษณ์ ด เสียงมีใช้สัญลักษณ์ ม และเสียงซอลใช้สัญลักษณ์ ซ
9. ตอบ ข เพราะในการบรรเลงดนตรีไทยไม่ใช้ฉาบตีกำกับจังหวะ ส่วนมากฉาบจะใช้ตีจังหวะ
ร่วมกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น เช่น กลองยาว กลองสองหน้า เป็นต้น
10. ตอบ ก เพราะสัญลักษณ์ตัว มีความยาวเสียงเท่ากับ ดังนั้นหากมี 2 ตัว
จะมีความยาวเสียงเท่ากับ
11. ตอบ ก เพราะเพลงประจำโรงเรียนเป็นเพลงที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อใช้เปิ ดหรือบรรเลงในโอกาสหรือ
กิจกรรมที่สำคัญของโรงเรียน เช่น งานวันก่อตั้งโรงเรียน งานแข่งขันกีฬาสี เป็นต้น
12. ตอบ ข เพราะเพลงค่าน้ำนม เป็นเพลงที่มีเนื้อเพลงกล่าวถึงพระคุณของแม่ ไม่เกี่ยวข้องกับชาติ
และพระมหากษัตริย์ เหมือนกับเพลงชาติไทย เพลงสดุดีมหาราชา
และเพลงสรรเสริญพระบารมี

23
13. ตอบ ง เพราะการเอื้อนเสียงในการขับร้องเพลงไทย จะต้องเอื้อนให้ถูกต้องตามจังหวะ
และทำนองเพลงจึงจะมีความไพเราะ และจะไม่เอื้อนตามเสียงเครื่องดนตรีชนิดใด
ชนิดหนึ่งหรือเสียงขับร้อง
14. ตอบ ข เพราะการหายใจให้สอดคล้องกับจังหวะเพลง จะช่วยให้มีช่วงเวลากักเก็บลมหายใจ
ได้อย่างเหมาะสม เพียงพอต่อการขับร้องในแต่ละช่วงเพลง ทำให้สามารถรักษาระดับ
เสียงได้คงที่สม่ำเสมอ
15. ตอบ ค เพราะการเต้นแอโรบิกเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยการเคลื่อนไหว
อย่างเร็วๆ เพื่อจะได้เหงื่อและเป็นการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง
16. ตอบ ง เพราะรำวงมาตรฐานเป็นการแสดงที่มีท่าร่ายรำเฉพาะเพลง ผู้แสดงจะต้องร่ายรำในท่า
ที่กำหนดตามเพลงรำวงมาตรฐานเท่านั้น ไม่สามารถประดิษฐ์ท่าร่ายรำขึ้นมาใหม่ได้
17. ตอบ ก เพราะการพิจารณาคุณภาพของเสียงขับร้อง ต้องพิจารณาจากเสียงที่เปล่งออกมาจาก
ผู้ขับร้องว่า เสียงเพลงที่ขับร้องนั้นมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน โดยพิจารณาจากปัจจัย
ต่างๆ เช่น พลังเสียงที่เปล่งออกมา ความถูกต้องตามจังหวะและทำนองเพลง
การออกเสียงตามอักขรวิธี เป็นต้น
18. ตอบ ง เพราะการบรรเลงเครื่องดนตรีที่สอดคล้องกลมกลืนกัน จะช่วยให้เสียงดนตรีมีความ
ไพเราะ น่าฟัง เมื่อได้ยินมีความรื่นหู
19. ตอบ ง เพราะเพลงสดุดีมหาราชาเป็นเพลงที่มีเนื้อเพลงกล่าวสรรเสริญพระมหากษัตริย์และ
มักใช้เปิ ดหรือบรรเลงในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันพ่อแห่งชาติ
20. ตอบ ข เพราะเพลงจิงเกิลเบล เดิมทีเป็นเพลงที่ใช้ขับร้องในเทศกาลขอบคุณพระเจ้า ต่อมา
มีคนนำมาร้องในเทศกาลคริสมาสต์ เพราะเห็นว่าฟังง่าย ร้องง่าย จนเป็นที่นิยม
กลายเป็นเพลงประจำเทศกาลคริสต์มาสไป
21. ตอบ ค เพราะเพลงท้องถิ่นส่วนมากมีจังหวะและทำนองเพลงไม่ซับซ้อน มีความเรียบง่าย
เนื้อเพลงมักเป็นลักษณะสั้นๆ ไม่ยาวมาก
22. ตอบ ข เพราะท้องถิ่นภาคอีสานบางพื้นที่มีชายแดนติดประเทศกัมพูชา จึงรับเอาวัฒนธรรม
ทางภาษามาใช้ รวมถึงเนื้อร้องของวงดนตรีพื้นบ้านในท้องถิ่นด้วย เช่น วงกันตรึม
23. ตอบ ก เพราะดนตรีพื้นบ้านเหมือนกับดนตรีประเภทอื่นๆ สามารถนำมาใช้ขับร้องหรือ
บรรเลงเพื่อสร้างความสนุกสนานผ่อนคลายจากความตึงเครียด จึงสามารถนำมาใช้
ในการพักผ่อนหย่อนใจในชีวิตประจำวันได้

24
24. ตอบ ง เพราะประเพณีบวชพระเป็นประเพณีที่มีอยู่ทุกท้องถิ่นของไทย และถือเป็นประเพณี
ที่สำคัญของท้องถิ่น จึงมักเห็นการนำกลองยาวไปร่วมบรรเลงในขบวนแห่นาคบ่อยๆ
25. ตอบ ค เพราะการแสดงท่าทางเพื่อสื่อความหมายว่า รัก สามารถใช้ภาษาท่าแทนได้โดยใช้มือ
สองข้างประสานแนบอก ซึ่งเป็นวิธีที่ถูกต้อง
26. ตอบ ข เพราะการชูสองนิ้วแนบหูสองข้าง เป็นการเลียนแบบรูปร่างหูกระต่ายที่ตั้งยาว
ทั้ง 2 ข้าง ข้อ ข. จึงเป็นคำตอบที่ถูก
27. ตอบ ค เพราะในภาพเป็นการแสดงภาษาท่าที่สื่อความหมายว่า อาย อย่างถูกต้อง
28. ตอบ ข เพราะผู้แสดงในภาพกำลังใช้มือขวาตั้งวงด้านข้างระดับไหล่
29. ตอบ ก เพราะจอยทำหน้าที่เป็นผู้แสดงที่ดีโดยการรำวงมาตรฐานได้อ่อนช้อยสวยงาม
จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ของผู้แสดงที่ดี ส่วนตัวเลือกอื่นเป็นการปฏิบัติตน
ไม่สมกับบทบาทการเป็นผู้แสดงที่ดี
30. ตอบ ง เพราะการแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับสถานที่เป็นมารยาทของผู้ชมที่ดี
เพราะถือเป็นการให้เกียรติผู้แสดงและสถานที่จัดการแสดง ส่วนตัวเลือกอื่นไม่ได้
แสดงถึงการเป็นผู้ชมที่ดี
31. ตอบ ก เพราะการปรบมือเป็นการให้กำลังใจผู้แสดงที่ดีและง่ายที่สุด และเหมาะสมที่สุด
สำหรับนักเรียน
32. ตอบ ค เพราะการคอยจับผิดเพื่อนๆ ที่กำลังแสดงบนเวที ไม่ได้มีผลทำให้การแสดงประสบ
ความสำเร็จ และไม่ถือว่ามีส่วนร่วมในการแสดง
33. ตอบ ข เพราะการแสดงละครต้องใช้ความรู้วิชานาฏศิลป์ มาใช้แสดงท่าทางต่างๆ ตามบทบาท
ตัวละคร เพื่อทำให้ดูสมบทบาทยิ่งขึ้น ส่วนตัวเลือกอื่นไม่ได้นำความรู้ทางนาฏศิลป์
มาใช้
34. ตอบ ง เพราะการจัดหาเสื้อผ้าให้กับตัวละครต้องใช้ความรู้ทางนาฏศิลป์ มาจัดหาเสื้อผ้าให้
เหมาะสมแก่ตัวละคร เพื่อให้สมจริงกับเนื้อหาที่ใช้แสดง
35. ตอบ ค เพราะการแสดงฟ้ อนเทียนต้องใช้เทียนจุดไฟเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง
ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์หรือลักษณะเด่นของการแสดงชุดนี้ ซึ่งถ้าได้แสดงเวลากลางคืน
จะเห็นแสงเทียนได้ชัดเจนขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวของแสงเทียนตามท่าร่ายรำของ
ผู้แสดง จึงจะเห็นความสวยงามของแสงเทียนที่เคลื่อนไหวไปมา
36. ตอบ ง เพราะแคนเป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่นภาคอีสาน จึงมักใช้บรรเลงประกอบการแสดง
นาฏศิลป์ พื้นบ้านภาคอีสาน และไม่ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านท้องถิ่นอื่นบรรเลง
ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ พื้นบ้านภาคอีสาน

25
37. ตอบ ก เพราะฟ้ อนภูไทเป็นการแสดงนาฏศิลป์ พื้นบ้านภาคอีสาน ซึ่งการฟ้ อนภูไทของ
จ. สกลนคร จะมีการสวมเล็บยาว ปลายเล็บจะมีพู่ไหมพรมสีแดงคล้ายกับการฟ้ อนเล็บ
ของทางภาคเหนือ ส่วนผู้แสดงฟ้ อนเทียน ฟ้ อนก๋ายลาย ฟ้ อนสาวไหม จะไม่สวม
เล็บยาวในขณะแสดง
38. ตอบ ข เพราะการร่ายรำที่เชื่องช้าไม่ใช่ลักษณะของการแสดงตารีกีปัส เพราะผู้แสดงตารีกีปัส
ต้องร่ายรำให้เข้ากับจังหวะของดนตรีที่เป็นจังหวะค่อนข้างเร็ว
39. ตอบ ค เพราะในวงการทางนาฏศิลป์ ทางบ้านเรานับถือเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
เป็นครูทางนาฏศิลป์ ไทย โดยเฉพาะพระอิศวรถือเป็นต้นตำรับของนาฏศิลป์
40. ตอบ ค เพราะการไหว้ครูเป็นพิธีมงคลที่ประกาศให้รู้ว่าเป็นศิษย์ที่มีครูที่มีความสามารถ
และจะช่วยให้การเรียนนาฏศิลป์ ไทยมีความราบรื่นและประสบความสำเร็จ ซึ่งถือเป็น
การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูวิธีหนึ่ง



26

You might also like