You are on page 1of 15

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค วิชา พระพุทธศาสนา

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ชุดที่


ชุดที่ 11
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ส 1.1 ส 1.2
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 1 2 3 4 5
1 
2 
3 
4 
5 
6 
7 
8 
9 
10 
11 
12 
13 
14 
15 
16 
17 
18 
19 
20 ü
21 ü
22 ü
23 ü
24 ü

1
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ส 1.1 ส 1.2
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 1 2 3 4 5
25 ü
26 ü
27 ü
28 ü
29 
30 
31 
32 
33 
34 
35 
36  
37  
38  
39  
40  
41 
42 
43 
44 
45 
46 
47 
48 
49 ü
50 ü

2
ข้อสอบมาตรฐานปลายภาค /รายปี ชุดที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 จำนวน 50 ข้อ

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียจึงเสื่อมความนิยมลง
ก. เกิดสงครามกลางเมืองบ่อยครั้ง
ข. การเข้ามาเผยแผ่ศาสนาอื่นของมิชชันนารี
ค. ไม่มีการสร้างวัดหรือพุทธสถานให้ปฏิบัติศาสนกิจ
ง. ผู้ปกครองนับถือศาสนาอื่น แล้วให้ประชาชนหันมานับถือตามอย่าง
2. ประเทศอินโดนีเซียมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ยังคงให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนาเห็น
ได้ชัดจากสิ่งใด
ก. นิยมให้ลูกชายบวชเรียน
ข. ส่งเสริมการสร้างวัดอย่างจริงจัง
ค. จัดกิจกรรมสังฆทานเป็นประจำทุกปี
ง. รัฐบาลกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ
3. ประเทศใดริเริ่มนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ก. ประเทศลาว
ข. ประเทศสิงคโปร์
ค. ประเทศเวียดนาม
ง. ประเทศอินโดนีเซีย
4. หลักธรรมข้อใดของหลักสาราณียธรรมที่นำมาใช้ทางการทูตได้เด่นชัดที่สุด
ก. อัตถจริยา
ข. สมานัตตตา
ค. เมตตาวจีกรรม
ง. เมตตามโนกรรม
5. การคิดสร้างเขื่อนในลำน้ำโขงควรพิจารณาใช้หลักธรรมใดมาเป็นลำดับแรก
ก. เมตตากายกรรม
ข. เมตตามโนกรรม
ค. มีความคิดเห็นตรงกับประเทศอื่น
ง. การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
6. หลักธรรมข้อใดมีความสอดคล้องกับหลักการดำเนินงานขององค์การสหประชาชาติมากที่สุด
ก. เมตตาวจีกรรม
ข. เมตตามโนกรรม

3
ค. หลักการประพฤติเสมอมิตรประเทศ
ง. หลักการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
7. ภาษาไทยซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไร
ก. ภาษาไทยเป็นต้นกำเนิดของภาษาบาลี-สันสฤต
ข. ภาษาไทยหลายคำมีรากฐานมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต
ค. พระพุทธศาสนามีการใช้ภาษาไทยในการเผยแผ่ศาสนา
ง. คำในภาษาไทยทุกคำดัดแปลงมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต
8. หลักพรหมวิหาร 4 ในพระพุทธศาสนามีผลต่อลักษณะใดของคนไทยเด่นชัดที่สุด
ก. คนไทยรักสงบ
ข. คนไทยรักอิสระ
ค. คนไทยมีความเมตตากรุณา
ง. คนไทยไม่มีการยึดมั่นถือมั่น
9. พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับวงจรกาลเวลาของสังคมไทยอย่างไร
ก. การจัดทำปฏิทินประจำปี
ข. การกำหนดวันหยุดราชการ
ค. การคำนวณจากฤดูกาลต่างๆ
ง. เวลาของประเพณีและเทศกาลประจำปี ต่างๆ
10. พระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ และยังคงเป็นที่นับถือศรัทธามาจนถึง
ปัจจุบันคือข้อใด
ก. ครูบาศรีวิชัย
ข. พระพุทธทาส
ค. พระปัญญานันทภิกขุ
ง. พระพะยอม กัลยาโณ
11. พระพุทธศาสนามีส่วนช่วยจัดระเบียบสังคมได้อย่างไร
ก. ให้วัดเป็นสถานที่ขัดเกลาคนทำผิด
ข. ใช้หลักธรรมเป็นข้อกฎหมายปกครองประเทศ
ค. กำหนดบทลงโทษผู้ทำผิดจากหลักธรรมคำสอน
ง. สอนให้คนเคารพตนเอง เกรงกลัวและละอายต่อการทำผิด
12. การศึกษาพุทธประวัติให้ประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร
ก. เป็นการเผยแผ่พุทธประวัติ
ข. เป็นแบบอย่างการทำความดี
ค. เป็นการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ง. เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา
13. พระพุทธรูปปางมารวิชัยมาจากเหตุการณ์พุทธประวัติในตอนใด
ก. ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญตบะ
ข. ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงฝึกปฏิบัติโยคะ

4
ค. ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีทั้ง 5
ง. ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงสมาธิแล้วปราบพญามารที่รังควาญ
14. จากพุทธประวัติตอน ผจญมาร พระแม่ธรณีในทางภาษาธรรมเปรียบได้กับสิ่งใด
ก. อิทธิบาท 4
ข. บารมีทั้ง 10
ค. กุศลกรรมบถ
ง. สาราณียธรรม
15. พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีทางใดในการตรัสรู้
ก. ทรงบำเพ็ญตบะ
ข. ทรงฝึกปฏิบัติโยคะ
ค. ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
ง. ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต
16. พุทธสาวกท่านใดที่ได้รับแต่งตั้งจากพระพุทธองค์เป็นอัครสาวกเบื้องขวา
ก. พระจุนทะ
ข. พระอัสสชิ
ค. พระสารีบุตร
ง. พระโมคคัลลานะ
17. วิธีแก้ง่วงที่พระพุทธเจ้าบอกแก่พระโมคคัลลานะไว้ ถ้าลุกขึ้นล้างหน้าแล้วยังไม่หายให้ปฏิบัติต่อไป
อย่างไร
ก. ให้ลุกขึ้นเดิน
ข. ให้นึกถึงแสงสว่าง
ค. ให้หาอะไรมาแยงหู
ง. ให้อ่านข้อความดังๆ
18. พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องใด
ก. นวโกวาท
ข. ธรรมวิภาค
ค. ธรรมวิจารณ์
ง. ไตรภูมิพระร่วง
19. จากชาดกเรื่องมิตตวินทุกะตรงกับศาสนสุภาษิตข้อใดมากที่สุด
ก. เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
ข. ธรรมะย่อมชนะอธรรม
ค. คบคนพาลพาลพาไปหาผิด
ง. สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
20. บทพระธรรมคุณที่กล่าวว่า “สวากขาโต ภควตา ธัมโม” มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็นได้ด้วยตนเอง
ข. พระธรรมเป็นคำสอนที่พิสูจน์ได้ เพราะเป็นของที่จริง

5
ค. พระธรรมเป็นคำสอนที่ควรน้อมนำใจเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ
ง. พระธรรมเป็นคำสอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นความจริงแท้ เป็นหลักครองชีวิต
อันประเสริฐ
21. เมื่อนักเรียนสอบได้คะแนนสูงสุด เวทนาใดจะเกิดขึ้น
ก. สุข
ข. ทุกข์
ค. เฉยๆ
ง. ตกใจ
22. ข้อใดจัดเป็นอายตนะภายใน
ก. รูป ข. ใจ
ค. เสียง ง. สัมผัส
23. พระวินัยปิ ฎกแบ่งเป็น 3 หมวด อะไรบ้าง
ก. ธาตุกถา กถาวัตถุ ปัฏฐาน
ข. สุตตวิภังค์ ขันธกะ ปริวาร
ค. สิกขาบท เทศนาบท อธิบายบท
ง. ทีฑนิกาย มัชฌิมนิกาย ขุททกนิกาย

24. การอธิบายหลักธรรมโดยยกธรรมขึ้นมาเป็นคู่ เช่น กุศล-อกุศล อยู่ในพระไตรปิ ฎกหมวดใด และข้อใด


ก. พระวินัยปิ ฎก ข้อขันธกะ
ข. พระอภิธรรมปิ ฎก ข้อยมก
ค. พระอภิธรรมปิ ฎก ข้อปัฏฐาน
ง. พระสุตตันตปิ ฎก ข้อทีฆนิกาย
25. พุทธสุภาษิตที่ว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก” มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
ข. ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
ค. บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น
ง. หว่านพืชเช่นไรได้ผลเช่นนั้น
26. นิพนธ์ไปบริจาคโลหิตที่สภากาชาดไทยเป็นประจำทุกปี การปฏิบัติตนอย่างนี้สอดคล้องกับพุทธศาสน-
สุภาษิตใดมากที่สุด
ก. กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
ข. สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ค. ปูชโก ลภเต ปูชํ วนฺทโก ปฏิวนฺทนํ
ง. กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
27. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ทำได้หลายวิธี ยกเว้นข้อใด
ก. การทำนายฝัน

6
ข. การปาฐกถาธรรม
ค. การใช้ชีวิตเรียบง่าย
ง. การฟังเทศน์ ฟังธรรม
28. ข้อใดจัดเป็นการแสดงตนเป็นพุทธมามกะได้อย่างแท้จริง
ก. แจ้งไว้ในทะเบียนบ้าน
ข. นับถือตามอย่างบิดามารดา
ค. ให้พระภิกษุทำพิธีรดน้ำมนต์
ง. ประกาศตนว่าเป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา
29. ขณะเดินไปโรงเรียน ถ้าพระสงฆ์เดินสวนทางมาควรปฏิบัติอย่างไร
ก. เดินก้มหน้า ไม่สบตาท่าน
ข. หันหลังกลับแล้วเดินไปทางอื่น
ค. หลีกไปทางซ้ายมือ พร้อมยกมือไหว้เมื่อท่านเดินผ่าน
ง. หยุดเดินแล้วยืนรอให้ท่านเดินผ่านไปก่อนจากนั้นจึงยกมือไหว้
30. ปฏิสันถารมีความหมายตรงกับคำใด
ก. การกล่าวทักทาย
ข. การแสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น
ค. การให้ที่พักแก่ญาติมิตรที่มาเยี่ยม
ง. ถูกทุกข้อ
31. ข้อใดเป็นการปฏิบัติอาสนทานที่ถูกต้อง
ก. ใช้คำแทนพระสงฆ์ว่า พระคุณเจ้า
ข. ยืนในท่าเรียบร้อยเพื่อพระสงฆ์เดินผ่าน
ค. ถ้าต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ ควรนั่งทางซ้ายมือท่านเสมอ
ง. ถ้าต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ ควรนั่งทางขวามือท่านเสมอ
32. ข้อใดมิใช่องค์ประกอบของจาตุรงคสันนิบาต
ก. พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
ข. พระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
ค. พระสาวกที่มาประชุมล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา
ง. มีพระอรหันตสาวกมาประชุมจำนวน 1,250 องค์ ณ กรุงเวสาลี
33. การเทศนาลักษณะใดที่ทำให้ผู้ฟังเกิดมีความหวังและเบิกบานใจ
ก. สันทัสสนา
ข. สมาทปนา
ค. สัมปหังสนา
ง. สมุตเตชนา
34. หลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวเนื่องในวันวิสาขบูชา คือหลักธรรมใด
ก. หลักอริยสัจ 4
ข. หลักเบญจศีล

7
ค. หลักกุศลกรรมบถ
ง. หลักพรหมวิหาร 4
35. บุคคลประเภทเนยยะ ต้องใช้วิธีการใดถึงจะสามารถเข้าใจในสัจธรรมได้
ก. เพียงได้ฟังธรรมแล้วก็สามารถเข้าใจได้ทันที
ข. เมื่อได้ฟังธรรม ไม่ว่าจะพากเพียรเท่าใดก็ไม่สามารถเข้าใจได้
ค. เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว ถ้าได้จำแนกขยายความออกไปก็สามารถเข้าใจได้
ง. เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว หากเอาใจใส่ พากเพียร ตริตรอง สอบถาม ก็สามารถเข้าใจในธรรมได้

36. ของหอมในเครื่องไทยธรรมหมายถึงข้อใด
ก. สบู่
ข. น้ำหอม
ค. มาลัย ดอกไม้สด
ง. ธูปเทียนบูชาพระ
37. หากต้องการไปเที่ยวชมงานประเพณีตักบาตรดอกไม้ของจังหวัดสระบุรี ควรไปในวันใด
ก. วันวิสาขบูชา
ข. วันเข้าพรรษา
ค. วันออกพรรษา
ง. วันธรรมสวนะ
38. การเปิ ดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกันเกี่ยวกับธรรมวินัยที่ควรประพฤติปฏิบัติ ในวันออก
พรรษานั้นเรียกว่าอย่างไร
ก. การทำวัตร
ข. การปัณรสี
ค. การปวารณา
ง. การอาราธนา
39. พิธีทางศาสนาพิธีใดมีเวลาเป็นตัวกำหนด
ก. การกรวดน้ำ
ข. การทอดกฐิน
ค. การทอดผ้าป่ า
ง. การถวายสังฆทาน
40. “อิมัง สูปะพะยัญชะนะสัมปันนัง...” เป็นคำกล่าวเริ่มของบทสวดใด
ก. บทถวายสังฆทาน
ข. บทลาข้าวพระพุทธ
ค. บทถวายผ้าอาบน้ำฝน
ง. บทถวายข้าวพระพุทธ
41. การบริหารจิตตามหลักอานาปานสติควรใช้ท่านั่งแบบใดในการปฏิบัติ
ก. นั่งท่าเทพธิดา

8
ข. ท่านั่งขัดสมาธิ
ค. ท่านั่งพับเพียบ
ง. นั่งบนเก้าอี้ ปล่อยขาตามสบาย
42. ข้อใดไม่จัดเป็นประโยชน์ของการบริหารจิต
ก. ทำให้ดูอ่อนเยาว์ลง
ข. ช่วยให้นอนหลับง่าย
ค. ช่วยให้ทำข้อสอบได้ดีขึ้น
ง. ช่วยให้ขับรถได้ดีในขณะมึนเมา
43. ข้อใดเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดของการกำหนดลมหายใจ เพื่อฝึกสมาธิตามหลักอานาปานสติ
ก. การควบคุมจิตให้สงบนิ่ง
ข. การฝึกอบรมจิตให้สะอาด
ค. การฝึกให้มีสติอยู่กับตัวเรา
ง. การตัดกังวลทุกอย่างให้หมดสิ้น
44. ข้อใดเป็นลักษณะการคิดแบบโยนิโสนมสิการ
ก. การคิดดี
ข. การคิดเพื่อคนอื่น
ค. การคิดสร้างสรรค์
ง. การคิดเพื่อพัฒนาปัญญา
45. การคิดแบบสร้างสรรค์ จัดเป็นการคิดแบบใดในโยนิโสมนสิการ
ก. คิดแบบแก้ปัญหา
ข. คิดแบบอยู่ในปัจจุบัน
ค. คิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม
ง. คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
46. การบริหารจิตตามหลักอานาปานสติ เป็นการฝึกสมาธิโดยให้จิตตั้งมั่นกับสิ่งใด
ก. คำพูด
ข. อากาศ
ค. วิญญาณ
ง. ลมหายใจ
47. เมื่อบริหารจิตแล้ว เหตุใดจึงต้องมีการแผ่เมตตา
ก. เพื่อให้จิตใจรู้สึกผ่อนคลาย
ข. เพื่อให้จิตใจค่อยๆ รู้สึกสงบ
ค. เพื่อให้ร่างกายหายปวดเมื่อย
ง. เพื่อส่งความปรารถนาดีไปยังผู้อื่น

48. ทรัพย์ทางพระพุทธศาสนาหมายถึงข้อใด
ก. อภิทรัพย์

9
ข. อริยทรัพย์
ค. ทรัพย์สมบัติ
ง. ทรัพย์ภายนอก
49. คุณใหญ่เลื่อนตำแหน่งให้เรยาเพราะเป็นเพื่อนสนิท การกระทำของคุณใหญ่เกิดจากอคติข้อใด
ก. ภยาคติ ข. โทสาคติ
ค. ฉันทาคติ ง. โมหาคติ
50. หลักธรรมใดมีส่วนช่วยส่งเสริมความสามัคคีของคนในสังคมมากที่สุด
ก. สังคหวัตถุ 4
ข. วุฑฒิธรรม 4
ค. พรหมวิหาร 4
ง. สาราณียธรรม 6

เฉลยข้อสอบมาตรฐานปลายภาค /รายปี วิชาพระพุทธศาสนา ม.2 ชุดที่ 1


1. ง. 11. ง. 21. ก. 31. ค. 41. ข.
2. ง. 12. ข. 22. ข. 32. ง. 42. ง.
3. ข. 13. ง. 23. ง. 33. ค. 43. ค.
4. ค. 14. ข. 24. ข. 34. ก. 44. ข.
5. ง. 15. ง. 25. ง. 35. ค. 45. ค.
6. ค. 16. ค. 26. ข. 36. ง. 46. ง.
7. ข. 17. ข. 27. ก. 37. ข. 47. ง.
8. ค. 18. ง. 28. ง. 38. ค. 48. ข.
9. ง. 19. ก. 29. ค. 39. ข. 49. ค.
10. ก. 20. ง. 30. ง. 40. ง. 50. ง.

แนวเฉลยละเอียดข้อสอบมาตรฐานปลายภาค /รายปี วิชาพระพุทธศาสนา ม.2 ชุดที่ 1


1. ตอบ ง.
ในรัชสมัยของพระเจ้าปรเมศวรแห่งอาณาจักรมะละกา พระองค์หันไปนับถือศาสนา
อิสลาม และ ต่อมาในสมัยสุลต่านมัลโมชาห์พระองค์ทรงเลื่อมใสและศรัทธาในศาสนา
อิสลามมาก ได้ทำลายศาสนสถานของพระพุทธศาสนาและให้ประชาชนหันมานับถือ
ศาสนาอิสลามตามอย่างพระองค์ พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมความนิยมลง
10
2. ตอบ ง.
ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แต่ทางรัฐบาลได้รับรอง
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหนึ่งของประเทศด้วย และยังได้กำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็น
วันหยุดราชการ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการจัดงานร่วมกับเครือข่ายองค์กรพุทธเป็นประจำ
ทุกปี และมีการจัดงานฉลองเนื่องในวันวิสาขบูชาเป็นเวลา 1 เดือน
3. ตอบ ข.
ศูนย์ปฏิบัติพุทธสมาธิแห่งประเทศสิงคโปร์ได้ริเริ่มทำ e-book สำหรับเผยแผ่หลักธรรมใน
อินเทอร์เน็ต เช่น เรื่อง “ขุมทรัพย์แห่งความจริงพระธรรมบทมีภาพประกอบ” หรือเรื่อง
“ธรรมชาติของชีวิตและความตาย” และเรื่อง “มงคลสูงสุด”
4. ตอบ ค.
เมตตาวจีกรรม เป็นหลักธรรมที่มีการกระทำทางวาจาที่แสดงออกถึงความปรารถนาดีต่อ
มิตรประเทศ เช่น ไม่กล่าวติเตียน ให้ร้าย หรือกล่าวโจมตีต่อมิตรประเทศ และปัญหาข้อ
พิพาทต่างๆ นั้นสามารถยุติได้ด้วยการเจรจาทางการทูต
5. ตอบ ง.
เพราะลำน้ำโขงเป็นลำน้ำที่มีประเทศต่างๆ ใช้ประโยชน์ร่วมกันอยู่หลายประเทศ หากคิด
สร้างเขื่อนที่ลำน้ำโขงอาจมีผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ ด้วย จึงควรใช้หลักการแบ่งปัน
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นหรือได้มาโดยชอบธรรมแก่มิตรประเทศมาใช้พิจารณาก่อน โดยไม่
ก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศอื่นๆ
6. ตอบ ค.
หลักความประพฤติเสมอกับมิตรประเทศ และไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของประเทศอื่น
เป็นหลักการหนึ่งของสาราณียธรรมซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสร้าง
สัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เช่น การเคารพหลักอธิปไตยของประเทศอื่น เป็นต้น ซึ่ง
สอดคล้องกับหลักการขององค์การสหประชาชาติ

7. ตอบ ข.
ภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาสำคัญทางพระพุทธศาสนา
คำในภาษาไทยหลายคำมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น คำที่มี ศ ษ เป็น
ส่วนประกอบ เช่นคำว่า ศาสนา เอกลักษณ์ ภิกษุ เป็นต้น
8. ตอบ ค.
พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมที่มีความเมตตากรุณาเป็นประธาน ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้คน
ไทยมีความเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจคนอื่น มีน้ำใจต่อทุกคน
9. ตอบ ง.
ประเพณีและเทศกาลต่างๆ ของไทย ล้วนใช้เวลาจากทางจันทรคติซึ่งเป็นการนับเวลาทาง
พระพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา ที่กำหนดโดยเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือเทศกาลลอย
กระทงก็กำหนดจากวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นต้น
10. ตอบ ก.

11
ครูบาศรีวิชัย เป็นพระนักพัฒนาและเป็นผู้นำทางความคิดที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่
โดยเฉพาะการนำให้ชาวบ้านสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ปัจจุบันอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ตั้งอยู่
บริเวณทางขึ้นพระบรมธาตุ ดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
11. ตอบ ง.
ในทุกสังคมจำเป็นต้องมีระเบียบเพื่ออาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ระเบียบที่ใช้ในสังคม
คือกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน หากผู้ใดละเมิดก็จะมีบทลงโทษ การที่ทุก
คนจะไม่ทำผิดต้องเคารพในกฎหมายและที่สำคัญคือการเคารพตนเอง ทางพุทธศาสนาเห็น
ว่าการเคารพตนเองนั้นมีความสำคัญกว่าหากคนเคารพตนเอง โดยมีความกลัวที่จะทำผิด
และละอายต่อความผิด หากในสังคมมีหลักธรรมข้อนี้แล้วก็จะไม่มีคนที่ทำผิด
12. ตอบ ข.
การศึกษาพุทธประวัติมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อเป็นแบบอย่างการทำความดีตามที่พระพุทธ
องค์ทรงบำเพ็ญเพียรมา
13. ตอบ ง.
ปางมารวิชัยหรือปางผจญมาร เป็นปางนั่งสมาธิ พระหัตถ์วางบนพระเพลา ชี้พระดรรชนีลง
บนพื้นดิน จากตอนที่พระพุทธองค์ทรงนั่งสมาธิวิปัสสนา แล้วพญามารมารังควาญ บอกให้
พระองค์ลุกออกจากอาสนะ โดยอ้างว่าอาสนะนี้เป็นของตน พระองค์ทรงแย้งว่าอาสนะเป็น
ของพระองค์ พญามารจึงถามหาพยาน พระองค์ทรงเหยียดพระดรรชนีลงยังพื้นดินและตรัส
ว่า “ขอให้พระแม่ธรณีจงเป็นพยาน” แล้วพระแม่ธรณีก็ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน บีบมวยผม
บันดาลให้กระแสน้ำมาท่วมทับพญามารพ่ายไป
14. ตอบ ข.
บารมีทั้ง 10 การอ้างพระแม่ธรณี ก็คือการอ้างถึงพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมา เป็นกำลังให้
ต่อสู้กับอำนาจของกิเลส
15. ตอบ ง.
พระองค์ทรงตระหนักว่าแนวทางที่ทรงประพฤติมาเป็นแนวทางที่ผิด และทรงค้นพบทาง
สายใหม่ คือ ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา พระองค์ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตจนค้นพบ
หาสาเหตุของการเกิดทุกข์ และทางแห่งการดับทุกข์คือ อริยสัจ
16. ตอบ ค.
พระสารีบุตรได้รับแต่งตั้งเป็น องค์อัครสาวกเบื้องขวา และยังเป็นเอตทัคคะ คือ เป็นเลิศ
กว่าผู้อื่นในทางปัญญา
17. ตอบ ข.
ถ้าเอาน้ำล้างหน้าแล้วยังไม่หายง่วง ให้คำนึงถึงอาโลกสัญญา คือ วาดภาพถึงแสงสว่างความ
ง่วงก็จะหาย
18. ตอบ ง.
ไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเรื่องหนึ่ง มีเนื้อหากล่าวถึง
ศีลธรรม จริยธรรม นรก สวรรค์ พระมหาธรรมราชาลิไทยทรงอธิบายและยกตัวอย่าง
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง

12
19. ตอบ ก.
มิตตวินทุกะมีตัณหาความโลภมากทำให้เขาเห็นกงจักรที่กำลังบดศีรษะของผีเปรตอยู่เป็น
ดอกบัวดอกใหญ่ที่ประดับอยู่บนศีรษะของเทพบุตร จึงได้ร้องขอดอกบัวนั้น จึงตรงกับ
ศาสนสุภาษิต “เห็นกงจักรเป็นดอกบัว”
20. ตอบ ง.
ธรรมคุณบทนี้มีความหมายว่า พระธรรมเป็นคำสอนอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เป็น
ความจริงแท้ เป็นหลักครองชีวิตอันประเสริฐ
21. ตอบ ก.
เมื่อนักเรียนสอบได้คะแนนสูงสุดแล้ว จะเกิดความรู้สึกสบายใจหรือที่เรียกว่า สุขเวทนา
22. ตอบ ข.
อายตนะภายในประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
23. ตอบ ง.
พระวินัยปิ ฎก คือ ส่วนที่ว่าด้วยสิกขาบท หรือศีลของพระภิกษุและพระภิกษุณี แบ่ง
ออกเป็น 3 หมวด คือ สุตตวิภังค์ ขันธกะ และปริวาร
24. ตอบ ข.
พระอภิธรรมปิ ฎก คัมภีร์ยมก คือคัมภีร์ที่ยกธรรมขึ้นเป็นคู่ๆ แล้วอธิบายโดยวิธีถามตอบ
25. ตอบ ง.
พุทธสุภาษิต “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก” หมายถึง สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม กล่าวคือ
คนเราจะมีชีวิตเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมหรือการกระทำของเรา
26. ตอบ ข.
“สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย” หมายถึง การสั่งสมบุญนำสุขมาให้ การบริจาคโลหิตเป็นการ
ทำบุญด้วยการให้ และได้นำไปเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้อีก
27. ตอบ ก.
การทำนายฝันจัดเป็นการกระทำนอกรีตนอกรอยของพระภิกษุสามเณร ที่เรียกว่า “อุปปถ
กิริยา” ในข้ออนาจาร คือการประพฤติที่ไม่ดี ไม่งาม ไม่เหมาะสมแก่ภาวะของการเป็น
บรรพชิต
28. ตอบ ง.
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนว่าเป็นผู้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในพระพุทธศาสนาจึงได้มีการจัดกิจกรรมการแสดงตนเป็น
พุทธมามกะขึ้น
29. ตอบ ค.
หากพระสงฆ์เดินสวนทางมาควรหลีกไปทางซ้ายมือของท่าน พร้อมยกมือไหว้เมื่อท่านเดิน
ผ่าน
30. ตอบ ง.
การปฏิสันถารหรือการต้อนรับ ทางพระพุทธศาสนาถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการใช้ชีวิต
ทำได้หลายวิธี คือ การปฏิสันถารด้วยวาจา การให้ที่พักอาศัย การแสดงน้ำใจต่อกัน

13
31. ตอบ ค.
อาสนทาน หมายถึง การให้ที่นั่ง ใช้ในเวลาที่พระสงฆ์มาในพิธีถ้าต้องนั่งแถวเดียวกับ
พระสงฆ์ ควรนั่งทางซ้ายมือท่านเสมอ
32. ตอบ ง.
จาตุรงคสันนิบาต เป็นการประชุมที่พระอรหันตสาวกประชุมพร้อมกันที่ เวฬุวันมหาวิหาร
กรุงราชคฤห์
33. ตอบ ค.
สัมปหังสนา คือ ปลอบชโลมใจให้สดชื่นรื่นเริง เป็นการบำรุงจิตให้แช่มชื่น เห็น
คุณประโยชน์ที่จะได้รับ
34. ตอบ ก.
หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันวิสาขบูชา คือ หลักอริยสัจ 4 เพราะเป็นหัวใจสำคัญของการ
35. ตอบ ค.
เนยยะ ได้แก่ บุคคลที่ยังพอแนะนำได้ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วยังไม่เข้าใจ แต่เมื่อเอาใจใส่
พากเพียร สอบถาม ตริตรอง ก็สามารถรู้ซึ้งถึงธรรมได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้ผิวน้ำ
มีโอกาสเจริญงอกงามขึ้นมาได้
36. ตอบ ง.
เครื่องไทยธรรม หมายถึงสิ่ง ของต่างๆ ที่จะถวายเป็นทานแด่พระสงฆ์ จำแนกเป็น 10 อย่าง
ของหอมก็เป็นเครื่องไทยธรรมอย่างหนึ่ง หมายถึงธูปเทียนบูชาพระ
37. ตอบ ข.
งานประเพณีตักบาตรดอกไม้ของจังหวัดสระบุรี จัดขึ้นที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
ในวันเข้าพรรษาของทุกปี
38. ตอบ ค.
เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา พระภิกษุทุกรูปต้องทำการปวารณาโดย
เป็นการเปิ ดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนกัน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ภิกษุด้วยกัน
นั้นปราศจากมลทิน เป็นการปฏิบัติด้วยความเอื้ออาทรต่อกันของพระภิกุสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่
ในอาวาสเดียวกัน
39. ตอบ ข.
การทอดกฐิน มีระยะเวลากำหนด คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปถึงวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 12 จะทอดก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้
40. ตอบ ง.
“อิมัง สูปะพะยัญชะนะ สาลีนัง...” มาจากบทสวดถวายข้าวพระพุทธที่ว่า “อิมัง สูปะพะยัญ
ชะนะ สาลีนัง โอทะนัง สะอุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ”
41. ตอบ ข.
ท่านั่งขัดสมาธิ มี 2 ลักษณะคือ นั่งขัดสมาธิราบ และ นั่งขัดสมาธิเพชร
42. ตอบ ง.

14
ประโยชน์ของการบริหารจิตนั้นทำให้เกิดสมาธิ จิตใจผ่อนคลาย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์
มากมาย แต่การบริหารจิตไม่สามารถช่วยได้หากอยู่ในขณะมึนเมาซึ่งทำให้ขาดสติสัมปะ
ชัญญะ

43. ตอบ ค.
หลักการสำคัญที่สุดของการกำหนดลมหายใจ เพื่อฝึกสมาธิตามหลักอานาปานสติ คือ การ
ฝึกให้มีสติอยู่กับตัวเราทุกขณะ เพราะขณะใดที่สติอยู่กับตัว จิตจะต้องเป็นสมาธิอยู่เสมอ
44. ตอบ ข.
การคิดแบบโยนิโสมนสิการ เป็นการคิดอย่างเป็นระบบ มีการตีความ วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อ
นำไปใช้ต่อไป เป็นการคิดที่เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างหนึ่ง
45. ตอบ ค.
การคิดแบบสร้างสรรค์นั้นเปรียบได้กับการคิดแบบปลุกเร้าคุณธรรม คือ การใช้เหตุผลหรือ
อุบายเพื่อให้เกิดการกระทำที่เป็นกุศล หรือการคิดเรื่องอะไรก็ได้ แต่วิธีคิดจะต้องนำไปสู่
การกระทำที่ดี
46. ตอบ ง.
อานาปานสติหมายถึงวิธีการกำหนดลมหายใจ
47. ตอบ ง.
การแผ่เมตตา เป็นการส่งความปรารถนาดีไปยังผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งหลาย จะสวดเป็น
ภาษาบาลีหรือเป็นภาษาไทยก็ได้
48. ตอบ ข.
อริยทรัพย์ หรือทรัพย์ภายใน หมายถึง คุณสมบัติที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจ เป็นทรัพย์อัน
ประเสริฐ
49. ตอบ ค.
ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะชอบ หมายถึง กระทำสิ่งที่ไม่ควรด้วยความชอบพอรักใคร่
50. ตอบ ง.
สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมหรือสิ่งที่เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นหลักการอยู่ร่วมกันที่ดี
จุดมุ่งหมายเพื่อต้องการสอนให้คนสมัครสมานสามัคคีกัน มี 6 ประการ คือ เมตตากายกรรม
เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคี สีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญาตา

15

You might also like