You are on page 1of 28

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี วิชา ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ชุดที่ 1

ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3
มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
ข้อ มฐ. ท 1.1 มฐ. ท 2.1 มฐ. ท 3.1 มฐ. ท 4.1 มฐ. ท 5.1
1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1  

2  

3  

4  

5  

6  

7  

8  

9 

10 

11 

12 

13 

14 

15 

16 

17 

18 

19 

20 

21 

22 

23 

24 

25 

26 

27 

28 

29 

มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
ข้อ มฐ. ท 1.1 มฐ. ท 2.1 มฐ. ท 3.1 มฐ. ท 4.1 มฐ. ท 5.1
1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
30 

31 

1
32 

33 

34 

35 

36 

37 

38 

39 

40 

ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1 กลุ่มสาระ ภาษาไทย


วิชา ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ป. 3 จำนวน 40 ข้อ

ให้กาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. คำในข้อใดอ่านออกเสียงได้ 2 แบบ และมีความหมายแตกต่างกัน
ก. เพลา ข. จระเข้
ค. ขวนขวาย ง. ผลิต
2. คำควบกล้ำในข้อใด อ่านออกเสียงต่างจากพวก
ก. ปลิว ข. จริง

2
ค. พริก ง. กริช
3. คำในข้อใดเป็นคำที่ออกเสียง อะ แต่ไม่ประวิสรรชนีย์
ก. กวาด ข. ทราม
ค. คลาย ง. ทลาย
4. คำในข้อใดอ่านออกเสียงพยัญชนะประสมกับสระ – ะ และมี น สะกด
ก. ธรรมดา ข. สรรพ
ค. พรรณ ง. วรรค
5. คำในข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง
ก. พฤกษา อ่านว่า พรึก – สา
ข. หฤทัย อ่านว่า หะ – รึ – ไท
ค. กฤษณา อ่านว่า กริด – สะ – หนา
ง. ฤๅษี อ่านว่า รึ – สี
6. ข้อใดเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
ก. โอกาศ ข. แมลงสาบ
ค. บันดาล ง. สุนัข
7. คำในข้อใดอ่านออกเสียงวรรณยุกต์เสียงเดียวกัน
ก. น้ำค้าง – เก้าอี้ ข. เหน็ดเหนื่อย – นุ่มนิ่ม
ค. สีขาว – ก๋วยเตี๋ยว ง. โรงเรียน – ผีหลอก
8. ข้อใดเขียนตัวการันต์ไม่ถูกต้อง
ก. สวัสดิ์ ข. พระสงค์
ค. นิพนธ์ ง. ไตรรงค์
อ่านข้อความที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ข้อ 9-10

ที่จริงวีระอยากมีเพื่อนไว้เดินคุยแก้เหงาสักคนหนึ่ง เขาเคยใฝ่ ฝันว่าจะมีรถจักรยานสักคัน


แต่เขาก็เตือนตนเองว่า อย่าหลงใหลฟุ้ งเฟ้ อ เพราะเขาเป็นเพียงแค่เด็กจนๆ อาศัยลุงอยู่ แม้ลุงจะ
รักใคร่เอ็นดูเขาสักปานใดก็ตาม

9. คำว่า ฟุ้ งเฟ้ อ มีความหมายตรงข้ามกับคำใด


ก. เจียมตัว ข. ทะเยอทะยาน
ค. เพ้อเจ้อ ง. สุรุ่ยสุร่าย

3
10. บุคคลในข้อใดไม่เรียกว่า ลุง
ก. พี่ชายของพ่อ ข. พี่ชายของแม่
ค. น้องชายของแม่ ง. ผู้ชายที่มีวัยแก่กว่าพ่อ
อ่านข้อความที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ข้อ 11-13

ศรีธนญไชยเป็นคนเจ้าปัญญามาตั้งแต่เด็ก เมื่อเขาโตขึ้นก็เข้าไปถวายตัวต่อพระเจ้าแผ่นดิน
ทรงพระนามว่าพระเจ้าทวาละ และได้รับตำแหน่งเป็นคนสนิทของพระองค์ เนื่องจากเขาเป็นคน
มีสติปัญญาเฉียบแหลม และตั้งใจทำงาน แต่บางครั้งก็มีเล่ห์เหลี่ยมและฉลาดแกมโกง เขาจึงมีทั้ง
คนรักและคนชัง

11. ข้อใดไม่ใช่อุปนิสัยของศรีธนญไชย
ก. มีสติปัญญาดี ข. มีความซื่อสัตย์
ค. มีเล่ห์เหลี่ยม ง. ฉลาดแกมโกง
12. เหตุการณ์ใดต่อไปนี้ที่เกิดขึ้นเป็นลำดับแรก
ก. พระเจ้าแผ่นดินโปรดให้ตำแหน่งคนสนิทแก่ศรีธนญไชย
ข. ศรีธนญไชยได้รับตำแหน่งคนสนิทของพระมหากษัตริย์
ค. มีทั้งคนรักและคนชังศรีธนญไชย
ง. ศรีธนญไชยถวายตัวต่อพระเจ้าทวาละ

13. ความประพฤติของศรีธนญไชยในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ตรงกับสำนวนใด


ก. คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ
ข. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
ค. รักพี่เสียดายน้อง
ง. รักเดียวใจเดียว
14. ใครปฏิบัติตนในการเลือกอ่านหนังสือไม่เหมาะสม
ก. แก้มอ่านหนังสือพิมพ์ในห้องสมุดตอนพักกลางวัน
ข. จอยอ่านการ์ตูนในขณะที่คุณครูสอนหนังสือ
ค. มดอ่านฉลากยาก่อนรับประทานยา

4
ง. หญิงอ่านหนังสือเรียนในเวลาว่าง
15. กุ๊กไปเที่ยวสวนสัตว์กับผู้ปกครอง และพบข้อเขียนเชิงอธิบายติดอยู่รอบๆ กุ๊กควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ไม่อ่านข้อเขียน แต่ถามผู้ปกครอง แล้วทำเป็นไม่สนใจ
ข. อ่านข้อเขียน ทำความเข้าใจ แล้วปฏิบัติตนตามข้อเขียน
ค. อ่านข้อเขียน และปฏิบัติตนตามที่ตนพอใจ
ง. ไม่อ่านข้อเขียน และปฏิบัติตนตามที่ตนพอใจ
อ่านข้อมูลจากแผนภูมิ แล้วตอบคำถาม ข้อ 16

แผนภูมิรูปภาพ แสดงอาหารกลางวันที่นักเรียน ชั้น ป.3/1 รับประทาน ใน 1 วัน


ข้าวราดแกง 
ก๋วยเตี๋ยว 
ข้าวมันไก่ 
ราดหน้า 
ผัดซีอิ๊ว 
ข้าวผัด 
กำหนดให้ แทนนักเรียน 1 คน
16. จากแผนภูมิ ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. นักเรียน ชั้น ป.3/1 มีจำนวน 36 คน
ข. นักเรียน ชั้น ป.3/1 รับประทานก๋วยเตี๋ยวมากที่สุด
ค. นักเรียน ชั้น ป.3/1 รับประทานข้าวราดแกงมากที่สุด
ง. นักเรียน ชั้น ป.3/1 รับประทานราดหน้าและข้าวผัดน้อยที่สุด
17. ใครไม่มีมารยาทในการอ่าน
ก. แก้มอ่านหนังสือในใจขณะอยู่ในห้องสมุด
ข. รุตชะโงกหน้าไปอ่านการ์ตูนที่จอยกำลังอ่าน
ค. กุ้งใช้ที่คั่นหนังสือคั่นหน้าที่อ่านค้างไว้
ง. เดือนอ่านหนังสืออย่างตั้งใจ
18. ข้อใดคัดลายมือถูกต้องและสวยงาม
ก.

ข.

5
ค.

ง.

19.

จากภาพ ควรเขียนบรรยายว่าอย่างไร
ก. แม่ และนิดกำลังตักบาตร
ข. แม่ และนิดไปทำบุญที่วัด
ค. แม่ และนิดถวายของแด่พระสงฆ์
ง. แม่ และนิดพนมมือไหว้พระสงฆ์

20. ข้อใดเป็นการเขียนบันทึกประจำวัน
ก. เช้าวันหนึ่ง กระต่ายตัวหนึ่งท้าเต่าวิ่งแข่ง ระหว่างวิ่ง กระต่ายหยุดนอนพัก แต่เต่าก็เดินไป
เรื่อยๆ ไม่หยุด ในที่สุด เต่าก็ชนะการวิ่งแข่ง
ข. การอ่าน หมายถึง การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ และความคิด
ค. เกาะช้างเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล ตั้งอยู่ทางฝั่งอ่าวไทยด้านตะวันออก ฤดูกาล
ท่องเที่ยวที่เหมาะสมคือช่วงหน้าหนาว
ง. วันนี้ฝนตกหนักเกือบทั้งวัน ทำให้รถติดมาก ฉันจึงกลับถึงบ้านช้ากว่าปกติ ฉันรีบทำ
การบ้าน กินข้าวเย็น แล้วอาบน้ำและเข้านอน
21. ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในการเขียนจดหมายลาครู

6
ก. ใช้กระดาษเขียนจดหมายสีเหลืองสด
ข. เขียนด้วยลายมือที่สวยงาม สะอาด เรียบร้อย
ค. เขียนบอกเหตุผลของการลา และบอกวันลา
ง. ใช้คำสรรพนามแทนตัวว่า ดิฉัน หรือกระผม
22. ข้อใดไม่ใช่หลักการเขียนเรื่องตามจินตนาการ
ก. เขียนเรื่องตามความคิดของตนเอง
ข. เขียนเรื่องตามลำดับเหตุการณ์
ค. คัดลอกจากเรื่องที่เคยอ่าน
ง. ตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ
23. ใครไม่มีมารยาทในการเขียน
ก. ตู๋ใช้ยางลบลบข้อความที่เขียนผิดแล้วเขียนใหม่
ข. ทินเขียนจดหมายหาเพื่อนโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ
ค. มดเขียนชื่อตนเองลงในหนังสือที่ขอยืมจากห้องสมุด
ง. จ้อยเขียนการบ้านอย่างเรียบร้อยด้วยลายมือที่สวยงาม
ฟังครูอ่านข้อความ แล้วตอบคำถาม ข้อ 24-27
24. จากข้อความที่ฟัง ข้อใดที่ไม่ได้กล่าวถึง
ก. การตัดไม้ ข. ภัยจากไฟป่ า
ค. ภัยจากฝนแล้ง ง. การขาดแคลนอาหาร
25. ใจความสำคัญของข้อความที่ฟังคือข้อใด
ก. การขาดน้ำ ข. ไฟไหม้ป่ า
ค. การขาดอาหาร ง. การตัดต้นไม้ทำลายป่ า
26. จากข้อความที่ฟัง ที่พึ่งของชาวไทยคือข้อใด
ก. รัฐบาล ข. สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ค. ตนเอง ง. ธรรมชาติ
27. จากข้อความที่ฟัง ข้อใดเป็นการแสดงความคิดเห็น
ก. ปวงเทพยดา คงจะดลบันดาลให้ชาวไทยมีน้ำกิน
ข. ประเทศไทยเกิดวิกฤติการณ์ภัยแล้งและน้ำท่วม
ค. ภัยไฟป่ าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ง. ภัยจากโจรปล้นตัดไม้ทำลายป่ า
28. หากในชั้นเรียนของนักเรียนมีเพื่อนใหม่ นักเรียนควรพูดอะไรเป็นอย่างแรก

7
ก. พูดอวยพร ข. พูดขอบคุณ
ค. พูดแนะนำตนเอง ง. พูดแนะนำผู้อื่น
29. ใครไม่มีมารยาทในการฟัง การดู หรือการพูด
ก. นิกตั้งใจฟังเฉพาะผู้พูดที่ตนเองชอบ
ข. เก่งดูภาพยนตร์การ์ตูนด้วยความตั้งใจ
ค. ป๋ อมพูดกับตั๊กโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ
ง. เอกยกมือขออนุญาตแล้วจึงถามผู้พูด

30. สัตว์หลายชนิดชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เช่น เสือ สิงโต เป็นต้น


จากประโยคมีคำนามกี่คำ
ก. 4 คำ ข. 5 คำ
ค. 6 คำ ง. 7 คำ
31. คำที่พิมพ์ตัวหนาในข้อใดเป็นคำสรรพนาม
ก. พ่อไปปี นเขา
ข. โอ๋ตัดผมทรงใหม่
ค. เขาลูกนั้นมีต้นไม้เยอะ
ง. ผมชอบเรียนวิชาภาษาไทย
32. คำในข้อใดเป็นคำชนิดเดียวกับคำที่พิมพ์ด้วยตัวหนาในประโยค ก้องชอบกินผลไม้
ก. กระผม ข. กระโดด
ค. นักเรียน ง. เป็น

33. ถ้าเรียงลำดับคำตามพจนานุกรม คำในข้อใดอยู่ลำดับสุดท้าย


ก. มะม่วง ข. มะดัน
ค. มะปราง ง. มะเกลือ
34. ข้อใดเรียงลำดับคำตามพจนานุกรมได้ถูกต้อง
ก. กุหลาบ ชบา มะลิ ดาวเรือง
ข. ขนุน เงาะ ทุเรียน องุ่น
ค. กรวด หิน ดิน ทราย
ง. กุ้ง หอย ปู ปลา
35. ข้อใดเป็นประโยค

8
ก. ผักคะน้าต้นใหญ่ ข. มนุษย์ยุคหิน
ค. เจ้าดำเห่า ง. วิชาสังคมศึกษา
36. ข้อใดเป็นประโยคบอกเล่า
ก. แม่ไปซื้อของที่ไหน ข. ฉันไม่ชอบเล่นกีฬา
ค. นักเรียนทุกคนฟังทางนี้ ง. ใครๆ ก็ชอบไปเที่ยว
37. ข้ามถนนให้ถูกที่ เพื่อ……...จะปลอดภัย
ควรเติมคำใด จึงจะคล้องจองกันและได้ใจความสมบูรณ์
ก. ชีวี ข. ไม่มี
ค. หน้าที่ ง. สวัสดี
38. คำภาษาถิ่นในข้อใด มีความหมายเหมือนคำว่า พูด
ก. แซบ ข. แหลง
ค. เฮา ง. ขี้ตั๋ว
39. จากภาพ ควรร้องเพลงพื้นบ้านเพลงใด
ประกอบการเล่น
ก. รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก…
ข. มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง…
ค. จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะหน้าแว่น…
ง. แมงมุมขยุ้มหลังคา แมวกินปลา…

40. บทอาขยานต่อไปนี้ เน้นให้เห็นความสำคัญของสิ่งใดมากที่สุด

เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา
เมื่อเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน
ได้ประโยชน์หลายสถานเพราะการเรียน จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย
ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

ก. เด็กนักเรียน ข. การประกอบอาชีพ

9
ค. ความขยันหมั่นเพียร ง. การเรียน



ตารางวิเคราะห์ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี วิชา ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ชุดที่ 2


ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3
มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
ข้อ มฐ. ท 1.1 มฐ. ท 2.1 มฐ. ท 3.1 มฐ. ท 4.1 มฐ. ท 5.1
1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1  

2  

3  

4  

5  

6  

7  

8  

10
9 

10 

11 

12 

13 

14 

15 

16 

17 

18 

19 

20 

21 

22 

23 

24 

25 

26 

27 

28 

29 

มาตรฐาน / ตัวชี้วัด
ข้อ มฐ. ท 1.1 มฐ. ท 2.1 มฐ. ท 3.1 มฐ. ท 4.1 มฐ. ท 5.1
1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
30 

31 

32 

33 

34 

35 

36 

37 

38 

39 

40 

11
ข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2 กลุ่มสาระ ภาษาไทย
วิชา ภาษาไทย หลักภาษาและการใช้ภาษา ป. 3 จำนวน 40 ข้อ

ให้กาเครื่องหมาย  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
1. ข้อใดอ่านถูกต้อง
ก. ขะมักเขม้น อ่านว่า ขะ – หมัก – ขะ – เม้น
ข. กากบาท อ่านว่า กา – กะ – บาด
ค. มรรยาท อ่านว่า มัน – ระ – ยาด
ง. พยาธิ อ่านว่า พะ – ยา – ทิ
2. ข้อใดเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง
ก. อนาถ ข. อากาศ
ค. ศาสนา ง. สาปสูญ
3. คำที่พิมพ์ตัวหนาในข้อใด ใช้คำไม่ถูกความหมาย
ก. พ่อเป็นข้าราชการที่ได้เข้าร่วมเหตุการณ์สำคัญต่างๆ
ข. ฟาร์มนี้ขยายพันธุ์สุนัขได้หลายพันตัว
ค. ฉันชอบมองน่าเธอเพราะเธอหน้ารัก

12
ง. ควาญช้างควานหาของที่ตกไปในน้ำ
4. คำในข้อใดอ่านออกเสียง ฤ ต่างจากข้ออื่น
ก. สฤษฏ์ ข. หฤทัย
ค. นฤมิต ง. คฤหาสน์
5. คำในข้อใดไม่อ่านออกเสียงควบกล้ำ
ก. พรรณ ข. พร้อม
ค. แพรว ง. โพรง
6. คำในข้อใดไม่มีรูปสระ อะ แต่อ่านออกเสียง อะ
ก. กลืน ข. ขลาด
ค. หลอก ง. สลัด
7. คำในข้อใดใช้มาตราตัวสะกดเดียวกัน
ก. เสียใจ – น้ำลาย ข. ไพรสัณฑ์ – จาบัลย์
ค. วิเศษ – ทมิฬ ง. พระพุทธ – พระธรรม

8. คำในข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์เอกและตรี
ก. เดี๋ยวนี้ ข. ถ่ายรูป
ค. เหนื่อยล้า ง. ขุดหลุม
อ่านข้อความที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ข้อ 9-10

ฉายพายเรือมาตามลำคลองที่เรียกว่า คลองบางช้าง สักครู่ก็มีทางแยกออกคลองอัมพวา


สองข้างทางของคลองเป็นบ้านห้องแถว ซึ่งมีชานเชื่อมติดต่อกันไปตลอด สามารถเดินไปตาม
แนวห้องแถวได้ มีสะพานสูงข้ามลำคลองให้เดินข้ามฟากหนึ่งมายังอีกฟากหนึ่ง บ้านห้องแถว
เหล่านั้นส่วนมากเป็นร้านค้าตั้งแต่ร้านขายเสื้อผ้า ร้านเสริมสวย ร้านอาหาร ตลอดจนร้าน
ขายของชำ

9. จากข้อความที่อ่าน ทางเดินเชื่อมติดต่อกัน เรียกว่าอะไร


ก. ร้าน ข. ชาน
ค. ฟาก ง. แนว
10. ฟาก มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. ฝา ข. ริม

13
ค. ฝั่ง ง. ร้าน
อ่านบทร้อยกรองที่กำหนด แล้วตอบคำถามข้อ 11-13

หาได้ใช้ประหยัด รู้ขจัดสิ่งฟุ่ มเฟื อย


ตั้งใจหาได้เรื่อย รู้จับจ่ายให้พอดี
ไม่ช้ามีเงินใช้ หานานไปเป็นเศรษฐี
บ้านเมืองยามทุกข์มี ได้อาศัยไทยช่วยไทย
ถ้าบ้านเมืองพินาศ เราทั้งชาติอยู่ได้ไฉน
หวังดำรงไทยเป็นไทย จงประหยัดทั่วกันเอย

11. จากบทร้อยกรอง เมื่อเกิดความเดือดร้อน คนไทยจะทำอย่างไร


ก. รู้จับจ่ายให้พอดี ข. รู้ขจัดสิ่งฟุ่ มเฟื อย
ค. จงประหยัดทั่วกันเอย ง. ได้อาศัยไทยช่วยไทย

12. บทร้อยกรองในข้อใดไม่ทำให้เกิดผลว่า หานานไปเป็นเศรษฐี


ก. ได้อาศัยไทยช่วยไทย ข. หาได้ใช้ประหยัด
ค. ตั้งใจหาได้เรื่อย ง. รู้ขจัดสิ่งฟุ่ มเฟื อย
13. ถ้าเราปฏิบัติตามบทร้อยกรองนี้ จะเกิดผลอย่างไรในอนาคต
ก. ทุกคนร่ำรวยมหาศาล
ข. คนไทยทุกคนเป็นเศรษฐี
ค. คนไทยดำรงชีวิตอยู่ได้
ง. บ้านเมืองพินาศเสียหาย
14. ใครปฏิบัติตนในการเลือกอ่านหนังสือไม่เหมาะสม
ก. ตู๋อ่านการ์ตูนหลังสอบเสร็จ
ข. มดอ่านนิตยสารก่อนเข้าห้องสอบ
ค. แก้มอ่านนิทานก่อนนอน เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
ง. ทินอ่านหนังสือวิชาสังคมฯ เพราะต้องการศึกษาเรื่องการปกครอง
15. ข้อความใดไม่ใช่ข้อเขียนเชิงอธิบาย

ก. วันนี้เป็นวันมาฆบูชา ข. กรุณาทิ้งขยะลงในถัง

14
ค. คิดจะดื่มน้ำ ดื่มตาต้า ง. ห้ามเดินลัดสนาม

อ่านแผนภาพที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ข้อ 16

กุหลาบ พลูด่าง

กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ โกสน


พันธุ์พืช
ชบา ตะบองเพชร

พืชผักสวนครัว

มะเขือ กะหล่ำดอก โหระพา


16. ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลจากแผนภาพ
ก. พันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ไม้ดอก ไม้ประดับ และพืชผักสวนครัว
ข. พืชที่เป็นไม้ประดับ เช่น พลูด่าง ตะบองเพชร เป็นต้น
ค. พืชที่เป็นผักสวนครัว เช่น มะเขือ โหระพา เป็นต้น
ง. พืชที่เป็นไม้ดอก เช่น กะหล่ำดอก ดอกแค เป็นต้น
17. ใครปฏิบัติตนในการอ่านไม่เหมาะสม
ก. กุ้งนั่งอ่านหนังสือในท่าที่สบาย ไม่เกร็ง
ข. กุ๋ยอ่านออกเสียงคำควบกล้ำอย่างชัดเจน
ค. กุ๊กจับใจความของเรื่องเมื่ออ่านจบ
ง. เกดอ่านเสียงดังฟังชัดในห้องสมุด
18. ใครปฏิบัติตนในการคัดลายมือไม่เหมาะสม
ก. นกเขียนพยัญชนะจรดเส้นบรรทัดบน-ล่าง
ข. นิดเขียนเว้นระยะช่องไฟให้เท่ากันสม่ำเสมอ
ค. หน่อยเขียนตัว ผ และ ฝ ให้เส้นทแยงสูงเท่าหัวพยัญชนะ
ง. แนนวางรูปพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้ถูกตำแหน่ง
19. ข้อใดหมายถึงการเขียนบรรยาย

15
ก. การเขียนเพื่ออธิบายรายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สถานที่ หรือเหตุการณ์ต่างๆ
ข. การเขียนเพื่อแจ้งเรื่องราวต่างๆ อธิบายและแนะแนวทางการปฏิบัติให้ผู้อ่านทราบ
ค. การเขียนบันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ
ง. การเขียนเรื่องราวต่างๆ ตามความคิดของผู้เขียน
20. ข้อใดไม่จำเป็นต้องเขียนในการเขียนบันทึกประจำวัน
ก. เหตุการณ์ที่เกิด
ข. ประวัติส่วนตัว
ค. วัน เดือน ปี ที่เขียน
ง. ความคิดเห็นของผู้บันทึก
21. การเขียนจดหมายลาครูมีส่วนประกอบใดที่แตกต่างจากการเขียนจดหมายลักษณะอื่น
ก. คำรับรองของผู้ปกครอง
ข. ที่อยู่ของผู้เขียนจดหมาย
ค. คำขึ้นต้นจดหมาย
ง. คำลงท้ายจดหมาย
22. ใครเขียนเรื่องตามจินตนาการ
ก. จอยจดรายการอาหาร
ข. เดือนแต่งนิทานให้น้อง
ค. มดเขียนสรุปเรื่องที่อ่าน
ง. แก้มเขียนบรรยายรูปที่ไปเที่ยว
23. ใครไม่มีมารยาทในการเขียน
ก. ทินเขียนรายงานโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ และชัดเจน
ข. เก่งเขียนจดหมายโดยใช้สรรพนามแทนตัวว่า กระผม
ค. เอกใช้น้ำยาลบคำผิด ลบข้อความที่เขียนผิดแล้วจึงเขียนใหม่
ง. รุตเขียนข้อความด้วยลายมือที่สวยงามลงในหนังสือที่ขอยืมจากเพื่อน
ฟังครูอ่านข้อความ แล้วตอบคำถาม ข้อ 24-27
24. คำว่า ประเพณี มีความหมายว่าอย่างไร
ก. สิ่งที่นิยมปฏิบัติตามๆ กันมา
ข. สิ่งที่ปฏิบัติกันตามความต้องการ
ค. สิ่งที่นิยมปฏิบัติกันมาจนเป็นแบบแผน
ง. แบบแผนต่างๆ ที่ควรยึดถือและปฏิบัติตาม

16
25. คำว่า วัฒนธรรม ไม่เกี่ยวข้องกับข้อใด
ก. ความมีศีลธรรม
ข. การปฏิบัติผิดแบบ
ค. ความเจริญงอกงาม
ง. ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
26. การกระทำข้อใดจัดเป็นประเพณี
ก. การมีระเบียบวินัย ข. การใช้ภาษาไทย
ค. การทอดกฐิน ง. การแสดงความเคารพ
27. ข้อใดเป็นการแสดงความคิดเห็น
ก. วัฒนธรรมเป็นการประพฤติปฏิบัติของประชาชนที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม
ข. ประเพณีเป็นสิ่งที่นิยมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นแบบแผน
ค. ประเพณีสงกรานต์ เป็นการทำบุญและรดน้ำขอพรผู้ใหญ่
ง. การปฏิบัติตนตามประเพณีวัฒนธรรมจะทำให้เรามีความสุข

28. ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในการพูดสื่อสาร
ก. พูดเฉพาะเรื่องที่ตนเองชอบ
ข. พูดโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ
ค. กล่าวคำขอโทษเมื่อพูดผิด
ง. กล่าวทักทายผู้ฟังก่อนเริ่มพูด
29. ใครไม่มีมารยาทในการฟัง การดู หรือการพูด
ก. หญิงนำลูกชิ้นทอดไปรับประทานขณะชมภาพยนตร์
ข. นกเขียนสรุปใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังลงในสมุด
ค. แก้มรอจนฝ้ ายพูดจบแล้วจึงพูดแสดงความคิดเห็น
ง. ทินปรบมือให้เพื่อนหลังจากเพื่อนพูดรายงานจบ
30. คำที่พิมพ์ตัวหนาในประโยคข้อใด เป็นคำชนิดเดียวกับคำว่า ความดี
ก. เธอสวยเหมือนนางฟ้ า
ข. ศิลาอ่านหนังสือ
ค. เขาเป็นทหารเรือ
ง. ตำรวจจับผู้ร้าย
31. คำสรรพนามที่พิมพ์ตัวหนาในประโยคในข้อใด ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค

17
ก. เธอมาหาฉัน
ข. ใครเคาะประตู
ค. เขาคนนั้นเป็นใคร
ง. นี่คือหนังสือของเธอ
32.
จากภาพ ไม่มีคำกริยาใด
ก. เขียน
ข. คลำ
ค. นั่ง
ง. มอง

33. ข้อใดเรียงลำดับคำถูกต้องตามพจนานุกรม
ก. บัณฑิต นพรัตน์ ปากกา หยุด
ข. เฉลิม พยาธิ ภิกษุ เหรียญ
ค. กลุ่ม ยุติธรรม อาวุธ สมุด
ง. กระสุน ขโมย สำนัก สงบ

34. ทยอย …………… ทะเล ทัพพี

ควรเติมคำในข้อใด จึงจะเรียงลำดับคำถูกต้องตามพจนานุกรม
ก. ทวีป ข. แทรก
ค. ไทร ง. ทูต
35. ประโยคในข้อใดเป็นประโยคคำสั่ง
ก. ฉันไม่ชอบกินข้าว
ข. แมวตัวไหนจับหนู
ค. ห้ามลงไปเล่นน้ำคลอง
ง. ช่วยหยิบหนังสือให้หน่อย

18
36. กิน ย่าง แมว ปลา ดำ

ควรเรียงลำดับคำอย่างไร จึงจะเป็นประโยคที่ได้ใจความและถูกต้อง
ก. แมวดำย่างปลากิน ข. แมวกินปลาย่างดำ
ค. แมวกินปลาดำย่าง ง. แมวดำกินปลาย่าง

37. พืชหนึ่งม้ากินเป็นอาหาร ……………..มีล้อไว้เคลื่อน

ควรเติมคำใดลงในช่องว่าง จึงจะคล้องจองกับคำว่า อาหาร และได้ใจความถูกต้อง


ก. ยวดยาน ข. ชามจาน
ค. ทำงาน ง. กระดาน

38. อ้ายคนจนจำต้องทนปั่นรถถีบ…

จากเพลงที่กำหนด คำในข้อใดเป็นภาษาถิ่น
ก. ปั่น ข. อ้าย
ค. รถถีบ ง. คนจน
39. ข้อใดไม่ใช่เพลงพื้นบ้าน
ก. เพลงกล่อมเด็ก ข. เพลงเกี่ยวข้าว
ค. เพลงร้องประกอบการละเล่น ง. เพลงลูกทุ่ง
40. ควรเติมคำใดลงในช่องว่าง จึงจะเป็นบทอาขยานที่ถูกต้อง

เกิดมาเป็นคน
หนังสือ……………  
วิชา…………..
ถ้าแม้นไม่รู้ 
…………อายเขา
เพื่อนฝูงเยาะเย้า ว่าเง่าว่าโง่
ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

19
ก. เล่มหนา / ความรู้ / หดหู่
ข. อ่านไว้ / น่ารู้ / หดหู่
ค. เป็นต้น / หนาเจ้า / อดสู
ง. หนังหา / ความรู้ / อดสู



สำหรับครู

ครูอ่านข้อความให้นักเรียนฟัง แล้วตอบคำถาม ข้อ 24-27

ชุดที่ 1
ภัยจากโจรปล้นตัดไม้ทำลายป่ า ภัยไฟป่ าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้ฝนฟ้ าไม่ตกต้อง
ตามฤดูกาล ทำให้ประเทศไทยในปัจจุบันเกิดวิกฤติการณ์ภัยแล้ง น้ำท่วมอย่างน่าหวาดหวั่น
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลาย ปวงเทพยดา และเจ้าป่ าเจ้าเขาผู้รักษาต้นน้ำลำธารทุกสาย ทั่วทุกภาค
ในประเทศไทย คงจะดลบันดาลให้ประชาชนชาวไทยมีน้ำกินน้ำใช้พอเพียงไม่เดือดร้อน
ขาดแคลน มีความร่มเย็นชุ่มชื่นทั่วกันตลอด

ชุดที่ 2

20
วัฒนธรรมเป็นการประพฤติปฏิบัติของประชาชนที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย และความมีศีลธรรมอันดี เช่น การใช้ภาษาไทยในการพูดและเขียนได้ถูกต้อง
ชัดเจน การยืนตรงเมื่อได้ยินเพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นต้น ส่วนประเพณี
เป็นสิ่งที่นิยมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเป็นแบบแผน เช่น ประเพณีสงกรานต์ เป็นการ
ทำบุญและรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ประเพณีทอดกฐิน เป็นการทำบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระภิกษุ
ที่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติตนตามประเพณีวัฒนธรรมจะทำให้คน
ในสังคมมีความสุข

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1

1. ก 2. ข 3. ง 4. ค 5. ง
6. ก 7. ค 8. ข 9. ก 10. ค
11. ข 12. ง 13. ก 14. ข 15. ข
16. ค 17. ข 18. ค 19. ก 20. ง
21. ก 22. ค 23. ข 24. ง 25. ง
26. ข 27. ก 28. ค 29. ก 30. ค
31. ง 32. ค 33. ก 34. ข 35. ค
36. ง 37. ก 38. ข 39. ค 40. ง

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2

1. ข 2. ง 3. ค 4. ก 5. ก

21
6. ง 7. ข 8. ค 9. ข 10. ค
11. ง 12. ก 13. ค 14. ข 15. ก
16. ง 17. ง 18. ค 19. ก 20. ข
21. ก 22. ข 23. ง 24. ค 25. ข
26. ค 27. ง 28. ก 29. ก 30. ง
31. ค 32. ข 33. ข 34. ก 35. ค
36. ง 37. ก 38. ข 39. ง 40. ค

เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 1
เฉลยอย่างละเอียด
1. ตอบ ก เพลา อ่านได้ 2 แบบ คือ เพลา หมายถึง แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน
และอ่านว่า เพ – ลา หมายถึง กาล, คราว
ส่วน ข. จระเข้ อ่านว่า จอ – ระ – เข้
ค. ขวนขวาย อ่านว่า ขวน – ขวาย
และ ง. ผลิต อ่านว่า ผะ – หลิด
2. ตอบ ข จริง เป็นคำควบไม่แท้ อ่านออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า อ่านว่า จิง
ส่วน ก. ปลิว ค. พริก ง. กริช เป็นคำควบแท้ อ่านออกเสียงพยัญชนะต้นสองตัว
พร้อมกัน ออกเสียงควบหรือกล้ำกัน
3. ตอบ ง ทลาย อ่านว่า ทะ – ลาย แต่ไม่เขียนรูปสระ – ะ จึงเป็นคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์
ส่วน ก. กวาด ค. คลาย เป็นคำควบแท้ ข. ทราม เป็นคำควบไม่แท้
4. ตอบ ค พรรณ อ่านว่า พัน ส่วน ก. ธรรมดา อ่านว่า ทำ – มะ – ดา
ข. สรรพ อ่านว่า สับ ง. วรรค อ่านว่า วัก
5. ตอบ ง ฤๅษี อ่านว่า รือ – สี ส่วนข้อ ก. ข. ค. อ่านถูกต้องแล้ว
6. ตอบ ก โอกาศ ที่ถูกต้องใช้ ส สะกด เป็น โอกาส
7. ตอบ ค สีขาว ก๋วยเตี๋ยว มีเสียงวรรณยุกต์จัตวาทั้งสองคำ
ส่วน ก. น้ำค้าง มีเสียงวรรณยุกต์ตรี เก้าอี้ มีเสียงวรรณยุกต์โท
ข. เหน็ดเหนื่อย มีเสียงวรรณยุกต์เอก นุ่มนิ่ม มีเสียงวรรณยุกต์โท
ง. โรงเรียน มีเสียงวรรณยุกต์สามัญ ผีหลอก มีเสียงวรรณยุกต์จัตวาและเอก

22
8. ตอบ ข พระสงค์ ที่ถูกต้องต้องใช้ ฆ์ เป็น พระสงฆ์
9. ตอบ ก ฟุ้ งเฟ้ อ หมายความว่า ใช้จ่ายเกินควร มีความหมายตรงข้ามกับ เจียมตัว ที่หมายถึง รู้จัก
ประมาณตัว
ส่วน ข. ทะเยอทะยาน หมายถึง อยากมีฐานะดีกว่าที่เป็นอยู่
ค. เพ้อเจ้อ หมายถึง พูดมากในเรื่องที่ไร้สาระ
ง. สุรุ่ยสุร่าย หมายถึง จับจ่ายโดยไม่คำนึงถึงความสิ้นเปลือง
10. ตอบ ค ลุง หมายถึง พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือผู้ชายที่มีอายุมากกว่าพ่อหรือแม่ ส่วนน้องชาย
ของแม่ เรียกว่า น้า
11. ตอบ ข จากข้อความที่กำหนด ความซื่อสัตย์ไม่ใช่อุปนิสัยของศรีธนญไชย
12. ตอบ ง จากข้อความที่กำหนด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นลำดับแรก คือ ศรีธนญไชยถวายตัวต่อ
พระเจ้าทวาละ
13. ตอบ ก ความประพฤติของศรีธนญไชยในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ตรงกับสำนวน คนรักเท่า
ผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ หมายถึง คนรักมีน้อย คนชังมีมาก
14. ตอบ ข จอยอ่านการ์ตูนในขณะที่ครูสอนหนังสือ เป็นการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือที่
ไม่เหมาะสม เพราะขณะที่คุณครูสอนควรตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน
15. ตอบ ข เมื่ออ่านข้อเขียนเชิงอธิบายแล้ว ควรทำความเข้าใจ แล้วปฏิบัติตนตามข้อเขียนนั้นๆ
16. ตอบ ค นักเรียนชั้น ป. 3/1 รับประทานข้าวราดแกงมากเป็นลำดับที่สอง
17. ตอบ ข ขณะที่ผู้อื่นอ่านหนังสืออยู่ ไม่ควรยื่นศีรษะเข้าไปอ่านด้วย เพราะจะรบกวนผู้อื่นได้
18. ตอบ ค ในการคัดลายมือ ควรเขียนตัวอักษรให้ถูกต้องตามแบบการเขียนอักษรไทย เขียน
พยัญชนะจรดเส้นบรรทัดบน-ล่าง เขียนเว้นระยะช่องไฟให้เท่ากันและสม่ำเสมอ
และวางรูปพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ให้ถูกตำแหน่ง
19. ตอบ ก จากภาพ มีผู้หญิง และเด็กกำลังตักบาตร จึงควรเขียนบรรยายว่า แม่ และนิด
กำลังตักบาตร
20. ตอบ ง เป็นการเขียนบันทึกประจำวัน ส่วน ก. เป็นการเขียนนิทาน
ข. เป็นการเขียนอธิบาย ค. เป็นการเขียนบรรยาย
21. ตอบ ก การเขียนจดหมายลาครู ควรเขียนบนกระดาษสีขาวเพื่อให้ดูสุภาพเรียบร้อย และอ่าน
ได้ง่าย
22. ตอบ ค การเขียนเรื่องตามจินตนาการ เป็นการเขียนเรื่องตามความคิดและจินตนาการของ
ผู้เขียน โดยควรตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจ และเขียนเรื่องเรียงตามลำดับเหตุการณ์
23. ตอบ ข เราไม่ควรขีดเขียนลงบนสิ่งของที่เป็นของสาธารณะ การเขียนชื่อตนเองลงในหนังสือ

23
ที่ขอยืมจากห้องสมุด จึงจัดว่าไม่มีมารยาทในการเขียน เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
24. ตอบ ง จากข้อความที่ครูอ่าน ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการขาดแคลนอาหาร
25. ตอบ ง ใจความสำคัญของข้อความที่ครูอ่าน คือ การตัดต้นไม้ทำลายป่ าทำให้เกิดภัยแล้งและ
น้ำท่วม
26. ตอบ ข จากข้อความที่ครูอ่าน ที่พึ่งของชาวไทย คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่จะช่วยดลบันดาลให้คนไทย
มีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี
27. ตอบ ก ปวงเทพยดา คงจะดลบันดาลให้ชาวบ้านมีน้ำกิน เป็นการแสดงความคิดเห็น
28. ตอบ ค เมื่อเราต้องเข้ากลุ่มเพื่อนใหม่ ควรพูดทักทาย แล้วจึงพูดแนะนำตัวด้วยถ้อยคำสุภาพ

29. ตอบ ก ในการฟังสิ่งต่างๆ ควรตั้งใจฟังโดยไม่เลือกว่า ผู้พูดเป็นบุคคลที่เราชอบ เพื่อให้ได้


ความรู้จากการฟังอย่างเต็มที่
30. ตอบ ค จากประโยคมีคำนาม 6 คำ คือ สัตว์ ชนิด ฝูง เช่น เสือ สิงโต
31. ตอบ ง คำว่า ผม ในประโยค ผมชอบเรียนวิชาภาษาไทย เป็นคำสรรพนามแทนผู้พูด
ส่วน ก. เขา เป็นคำนาม ข. ผม เป็นคำนาม ค. เขา เป็นคำนาม
32. ตอบ ค ผลไม้ เป็นคำนาม เหมือนคำว่า นักเรียน
ส่วน ก. กระผม เป็นคำสรรพนาม ข. กระโดด เป็นคำกริยา ง. เป็น เป็นคำกริยา
33. ตอบ ก ถ้าเรียงลำดับคำ มะม่วง มะดัน มะปราง มะเกลือ ตามพจนานุกรม จะเรียงเป็น มะเกลือ
มะดัน มะปราง มะม่วง
34. ตอบ ข ขนุน เงาะ ทุเรียน องุ่น เรียงลำดับคำได้ถูกต้องตามพจนานุกรม
ส่วน ก. เรียงลำดับคำได้ ดังนี้ กุหลาบ ชบา ดาวเรือง มะลิ
ค. เรียงลำดับคำได้ ดังนี้ กรวด ดิน ทราย หิน
ง. เรียงลำดับคำได้ ดังนี้ กุ้ง ปลา ปู หอย
35. ตอบ ค เจ้าดำเห่า เป็นประโยค เพราะมีส่วนประกอบของประโยคครบถ้วน คือ
ภาคประธาน (เจ้าดำ) และภาคแสดง (เห่า) ส่วน ก. ข. ง. เป็นวลี ไม่ใช่ประโยค
36. ตอบ ง ใครๆ ก็ชอบไปเที่ยว เป็นประโยคบอกเล่า ส่วน ก. เป็นประโยคคำถาม
ข. เป็นประโยคปฏิเสธ ค. เป็นประโยคคำสั่ง
37. ตอบ ก ควรเติมคำว่า ชีวี จึงจะคล้องจองกับคำว่า ที่ และได้ใจความสมบูรณ์
38. ตอบ ข แหลง เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง พูด
ส่วน ก. แซบ เป็นภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง อร่อย
ค. เฮา เป็นภาษาถิ่นเหนือ หมายถึง เรา

24
ง. ขี้ตั๋ว เป็นภาษาถิ่นอีสาน หมายถึง โกหก
39. ตอบ ค จากภาพเป็นการเล่นจ้ำจี้ จึงควรร้องเพลงพื้นบ้านว่า จ้ำจี้มะเขือเปราะ กะเทาะ
หน้าแว่น…
40. ตอบ ง จากบทอาขยานเด็กน้อย เน้นให้เห็นความสำคัญของการเรียน เพื่อที่เมื่อโตขึ้นจะได้มี
ความรู้ไว้ใช้ประกอบอาชีพ


เฉลยข้อสอบมาตรฐานชั้นปี ชุดที่ 2
เฉลยอย่างละเอียด
1. ตอบ ข กากบาท อ่านว่า กา – กะ – บาด
ส่วน ก. ขะมักเขม้น ที่ถูกต้องอ่านว่า ขะ – มัก – ขะ – เม่น หรือ ขะ – หมัก – ขะ – เม่น
ค. มรรยาท ที่ถูกต้องอ่านว่า มัน – ยาด
ง. พยาธิ ที่ถูกต้องอ่านว่า พะ – ยาด
2. ตอบ ง สาปสูญ ที่ถูกต้องเขียนว่า สาบสูญ
3. ตอบ ค น่า หมายถึง ชวนให้ ทำให้ อยากจะ เช่น น่ารัก
หน้า หมายถึง ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง ซึ่งคำว่า หน้า และ น่า เป็นคำ
พ้องเสียง
ประโยค ฉันชอบมองน่าเธอ เพราะเธอหน้ารัก จึงใช้คำไม่ถูกความหมาย
ที่ถูกต้องเขียนว่า ฉันชอบมองหน้าเธอ เพราะเธอน่ารัก
4. ตอบ ก สฤษฏ์ อ่านว่า สะ – หริด ฤ ออกเสียงเป็น ริ
ส่วน ข. หฤทัย อ่านว่า หะ – รึ – ไท ฤ ออกเสียงเป็น รึ
ค. นฤมิต อ่านว่า นะ – รึ – มิด ฤ ออกเสียงเป็น รึ
ง. คฤหาสน์ อ่านว่า คะ – รึ – หาด ฤ ออกเสียงเป็น รึ
5. ตอบ ก พรรณ เป็นคำที่มี รร อ่านว่า พัน ส่วน ข. พร้อม ค. แพรว ง. โพรง เป็นคำควบกล้ำ
6. ตอบ ง สลัด อ่านว่า สะ – หลัด ส่วน ก. กลืน อ่านว่า กลืน
ข. ขลาด อ่านว่า ขลาด ค. หลอก อ่านว่า หลอก
7. ตอบ ข ไพรสัณฑ์ อ่านว่า ไพร – สัน จาบัลย์ อ่านว่า จา – บัน มีตัวสะกดในมาตราแม่กน
เหมือนกัน
ส่วน ก. เสียใจ เป็นคำในแม่ ก กา น้ำลาย มีตัวสะกดในมาตราแม่เกย

25
ข. วิเศษ มีตัวสะกดในมาตราแม่กด ทมิฬ มีตัวสะกดในมาตราแม่กน
ง. พระพุทธ มีตัวสะกดในมาตราแม่กด พระธรรม มีตัวสะกดในมาตราแม่กม
8. ตอบ ค เหนื่อยล้า มีเสียงวรรณยุกต์ เอก/ตรี
ส่วน ก. เดี๋ยวนี้ มีเสียงวรรณยุกต์ จัตวา/ตรี
ข. ถ่ายรูป มีเสียงวรรณยุกต์ เอก/โท
ง. ขุดหลุม มีเสียงวรรณยุกต์ เอก/จัตวา

9. ตอบ ข ชาน หมายถึง พื้นที่นอกตัวเรือน ในที่นี้หมายถึง พื้นที่นอกห้องแถวที่เชื่อมต่อกันเป็น


ทางเดิน
10. ตอบ ค ฟาก หมายถึง ฝั่ง, ข้าง
11. ตอบ ง จากบทร้อยกรอง เมื่อเกิดความเดือดร้อน คนไทยจะช่วยเหลือกัน ตรงกับบทร้อยกรอง
ว่า ได้อาศัยไทยช่วยไทย
12. ตอบ ก หากต้องการเป็นเศรษฐี ควรประหยัด ไม่ฟุ่ มเฟื อย และตั้งใจทำงานหาเลี้ยงชีพ
13. ตอบ ค หากปฏิบัติตามบทร้อยกรอง คนไทยจะดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อน
14. ตอบ ข การเลือกอ่านหนังสือ ควรเลือกอ่านหนังสือที่มีประโยชน์ เหมาะสมกับเพศ วัย
และเวลาที่มีอยู่ ซึ่งการอ่านนิตยสารก่อนเข้าห้องสอบ เป็นการเลือกอ่านหนังสือ
ที่ไม่เหมาะสมกับเวลา เพราะก่อนเข้าห้องสอบควรอ่านหนังสือเรียนเพื่อทบทวน
บทเรียนก่อนสอบ
15. ตอบ ก วันนี้เป็นวันมาฆบูชา เป็นประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ข้อเขียนเชิงอธิบาย
16. ตอบ ง พืชที่เป็นไม้ดอก เช่น กะหล่ำดอก ดอกแค เป็นต้น ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้จากแผนภาพ
เพราะจากแผนภาพ พืชที่เป็นไม้ดอก เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ชบา เป็นต้น
17. ตอบ ง การอ่านหนังสือในห้องสมุด ไม่ควรอ่านเสียงดังรบกวนผู้อื่น การอ่านเสียงดังฟังชัด
ในห้องสมุด จึงเป็นการปฏิบัติตนในการอ่านที่ไม่เหมาะสม
18. ตอบ ค การเขียนตัว ผ ฝ ที่ถูกต้อง ต้องเขียนเส้นทแยงสูงเพียงครึ่งหนึ่งของพยัญชนะ
19. ตอบ ก การเขียนบรรยาย เป็นการเขียนเพื่ออธิบายรายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สถานที่ หรือ
เหตุการณ์ต่างๆ
ส่วน ข. เป็นการเขียนข้อเขียนเชิงอธิบาย
ค. เป็นการเขียนบันทึกประจำวัน
ง. เป็นการเขียนเรื่องตามจินตนาการ
20. ตอบ ข ในการเขียนบันทึกประจำวัน ไม่จำเป็นต้องเขียนประวัติส่วนตัว

26
21. ตอบ ก การเขียนจดหมายลาครู ต้องมีคำรับรองของผู้ปกครองว่าหยุดเรียนตามเหตุผลที่
แจ้งจริง ซึ่งในจดหมายชนิดอื่นๆ จะไม่มีคำรับรองของผู้ปกครอง
22. ตอบ ข การเขียนเรื่องตามจินตนาการ เป็นการเขียนเรื่องตามความคิดและจินตนาการของ
ผู้เขียน เช่น การเขียนนิทาน เรื่องสั้น เป็นต้น การแต่งนิทานให้น้อง จึงเป็นการ
เขียนเรื่องตามจินตนาการ
23. ตอบ ง เราไม่ควรขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในหนังสือของผู้อื่น เพราะจัดว่าไม่มีมารยาท
ในการเขียน
24. ตอบ ค จากข้อความที่ครูอ่าน ประเพณี หมายถึง สิ่งที่นิยมปฏิบัติกันมาจนเป็นแบบแผน
25. ตอบ ข จากข้อความที่ครูอ่าน วัฒนธรรม ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติผิดแบบ
26. ตอบ ค จากข้อความที่ครูอ่าน การทอดกฐิน จัดเป็นประเพณี ส่วน ก. การมีระเบียบวินัย
ข. การใช้ภาษาไทย ง. การทำความเคารพ จัดเป็นวัฒนธรรม
27. ตอบ ง การปฏิบัติตนตามประเพณีวัฒนธรรมจะทำให้เรามีความสุข เป็นการแสดงความ
คิดเห็นของผู้เขียน
28. ตอบ ก ในการพูดสนทนาโต้ตอบ ควรหลีกเลี่ยงการพูดสนทนาโดยที่พูดเฉพาะเรื่องของตัวเอง
แต่เพียงฝ่ ายเดียว
29. ตอบ ก การรับประทานอาหารขณะฟังหรือดู อาจมีกลิ่นที่ทำความรำคาญให้แก่ผู้ดูหรือผู้ฟัง
คนอื่นๆ ได้ การรับประทานลูกชิ้นขณะชมภาพยนตร์จึงจัดว่าไม่มีมารยาทในการฟัง
และดู
30. ตอบ ง ความดี เป็นคำนาม เหมือนกับคำว่า ตำรวจ ส่วน ก. เหมือน เป็นคำกริยา
ข. อ่าน เป็นคำกริยา ค. เขา เป็นคำสรรพนาม
31. ตอบ ค ใคร ในประโยค เขาเป็นใคร เป็นกรรมของประโยค
ส่วน ก. เธอ ข. ใคร ง. นี่ เป็นประธานของประโยค
32. ตอบ ข จากภาพเป็นเด็กนั่งเขียนหนังสือ โดยเด็กมองไปที่สมุด จึงไม่มีคำกริยา คลำ
33. ตอบ ข เฉลิม พยาธิ ภิกษุ เหรียญ เรียงลำดับคำถูกต้องตามพจนานุกรม
ส่วน ก. เรียงลำดับคำได้ ดังนี้ นพรัตน์ บัณฑิต ปากกา หยุด
ค. เรียงลำดับคำได้ ดังนี้ กลุ่ม ยุติธรรม สมุด อาวุธ
ง. เรียงลำดับคำได้ ดังนี้ กระสุน ขโมย สงบ สำนัก
34. ตอบ ก ทยอย ทวีป ทะเล ทัพพี เรียงลำดับคำถูกต้องตามพจนานุกรม
35. ตอบ ค ห้ามลงไปเล่นน้ำคลอง เป็นประโยคคำสั่ง ส่วน ก. เป็นประโยคปฏิเสธ
ข. เป็นประโยคคำถาม ง. เป็นประโยคขอร้อง

27
36. ตอบ ง แมวดำกินปลาย่าง เรียงลำดับคำเป็นประโยคที่ได้ใจความถูกต้องตรงตามหลัก
ความเป็นจริง
37. ตอบ ก ยวดยาน คล้องจองกับคำว่า อาหาร และได้ใจความตรงกับบริบท มีล้อไว้เคลื่อน
38. ตอบ ข จากเพลงเป็นเพลงภาษาถิ่นเหนือ คำภาษาถิ่นในเพลงที่ตัดตอนมาคือ อ้าย หมายถึง
พี่ชาย

39. ตอบ ง เพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงที่ถ่ายทอดโดยการเล่าปากต่อปาก ไม่มีการจดบันทึกเป็น


ลายลักษณ์อักษร ไม่ทราบว่าผู้แต่งเป็นใคร แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เพลงเด็ก
ได้แก่ เพลงร้องประกอบการละเล่น เพลงร้องเล่น และเพลงผู้ใหญ่ ได้แก่
เพลงกล่อมเด็ก เพลงปฏิพากย์ และเพลงประกอบพิธีการต่างๆ เพลงลูกทุ่งจึงไม่ใช่
เพลงพื้นบ้าน
40. ตอบ ค บทอาขยานที่ยกมา คือ บทอาขยานวิชาหนาเจ้า ควรเติมคำว่า เป็นต้น / หนาเจ้า / อดสู
จึงจะถูกต้อง



28

You might also like