You are on page 1of 40

แบบรายงานการวิจัย (ว-สอศ-3)

.....................................

1. ปกนอก
2. รองปก
3. ปกใน
4. บทคัดย่อภาษาไทย
5. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
6. กิตติกรรมประกาศ
7. สารบัญ
8. สารบัญตาราง
9. สารบัญภาพ / แผนภูมิ / อื่น ๆ (ถ้ามี)
10. บทที่ 1 บทนำ
11. บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
12. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
13. บทที่ 4 ผลการวิจัย
14. บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
15. บรรณานุกรม
16. ภาคผนวก (ก)
(ผู้ทรงคุณวุฒิ, เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย, แบบสอบถาม หรืออื่น ๆ)
17. ประวัติผู้วิจัย
18. สันเล่มรายงานการวิจัย
(ระบุ ชื่องานวิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย ปี พ.ศ. ที่ทำเสร็จ)

หมายเหตุ ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK


แบบรายงานการวิจัย (ว-สอศ-3)
รายงานผลโครงการวิจัย

เรื่อง
(พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์)
(solar powered cooling fan)

นายนาวิน ตันทรัพย์
นางสาวอรปรียา เหรียญเชย

ประจำปีการศึกษา 2/2566
ปีพุทธศักราช 2566
วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง
อาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
1

หัวข้อวิจัย พัดลัมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้ดำเนินการวิจัย นายนาวิน ตันทรัพย์


นางสาวอรปรียา เหรียญเชย
ที่ปรึกษา นายคธา ทองสุรี

หน่วยงาน แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง

ปี พ.ศ. 2566

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อออกแบบและสร้างพัดลัมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์


2. เพื่อแก้ไขและลดปัญหาภาวะโลกร้อน
3. เพื่อศึกษาการทำงานของแผ่นเพลเทียร์
4. เพื่อศึกษาการทำงานของแผงโซลล่าเซลล์

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คณะผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง และผู้


เข้าสนใจในการทดลอง 5 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย – พัดลัมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ตัวทดลอง
– แบบสอบถามความพึงพอใจ

สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยมีดังนี้
คณะผู้จัดทำสามารถใช้ความรู้เบื้องต้นในวิชาวิชาวิทยาศาตร์มาเข้าร่วมกับวิชาแผนกช่าง
ไฟฟ้าโดยมีการนำเอาแผ่นโซลล่าเซลล์เข้ามาใช้พลังสะอาดในการทดแทนพลังงานไฟฟ้าและมีการ
นำเอาพักลมไอเย็นมาพัฒนาโดยมีการต่อเติมเทคโนโลยีเข้ามาร่วมกัน ทำให้คณะผู้จัดทำได้เรียนรู้และ
มี ประสบการณ์ในการทำงานสิ่งประดิษฐ์ร่วมกันกับผู้อื่น นอกจากนี้คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
โครงการสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะสามารถทำประโยชน์ให้กับนักศึกษาได้ไม่มากก็น้อย
2

Research Title Solar powered cooling fan

Researcher Mr.Nawin Tunsup


Miss.Onpreeya Rianchoei

Research Consultants Mr.Katha Thongsuree

Organization Electrician department Banpong Industrial And Communtiy


Education College.
Year 2023

The organizing team was able to use basic knowledge in science subjects to
join the engineering department subjects. Electricity by bringing in solar cell panels to
use clean energy to replace electrical energy and bringing in cooling air vents to
develop by adding technology together. allowing the production team to learn and
have Experience working on collaborative inventions with others. In addition, the
organizing team sincerely hopes that This invention project will be able to benefit
students, to a greater or lesser degree.
3

กิตติกรรมประกาศ

โครงการสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ผลงาน พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ นี้ได้รับความ


ช่วยเหลือจากทางครูที่ปรึกษาคณะครูในแผนกช่างไฟฟ้ากำลัง ได้รับแรงสนับสนุนจากคณะผู้บริหาร
วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่งและอีกทั้งบุคคลที่คอยให้ความช่วยเหลือทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย
การอาชีพบ้านโป่ง
คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณทุกท่านและผู้ที่ไม่ได้กล่าวนามทุกท่านที่ได้ให้ความอนุเคราะห์
ความช่วยเหลือทั้งคำแนะนำการให้ใช้สถานที่ไว้ ณ ที่นี้

ผู้วิจัย
นายนาวิน ตันทรัพย์
นางสาวอรปรียา เหรียญเชย
4

สารบัญ

หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ...
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ...
กิตติกรรมประกาศ ...
สารบัญ ...
สารบัญตาราง ...
สารบัญภาพ ...
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญ ...
วัตถุประสงค์ของการวิจัย...
ขอบเขตการวิจัย ...
ข้อจำกัด (ถ้ามี) ...
สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) ...
คำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัย ...
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ...
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง...
-................................................................ ...
-................................................................ ...
-................................................................ ...
กรอบแนวคิดในการวิจัย ...
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ...
ประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ...
เครื่องมือในการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ...
การเก็บรวบรวมข้อมูล ...
การวิเคราะห์ข้อมูล ...
........................................................... ...
บทที่ 4 ผลการวิจัย ...
5

............................................................ ...
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัยอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ...
สรุปผลการวิจัย ...
อภิปรายผล ...
หน้า
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ...
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ...
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมภาษาไทย ...
บรรณานุกรมภาษาต่างประเทศ ...
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก ........................... ...
ภาคผนวก ข ........................... ...
ภาคผนวก ค ........................... ...
ประวัติผู้วิจัย ...
6

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า
1.1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. …..
2.1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. .....
3.1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. .....
ก-1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. …..
ก-2 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. .....
ข-1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. .....

(ตารางที่ 1.1 หมายความว่า ตารางนี้อยู่ในบทที่ 1 และเป็นตารางแรกของบทที่ 1)

(ตารางที่ ก-1 หมายความว่า ตารางนี้อยู่ในภาคผนวก ก และเป็นตารางแรกของภาคผนวก ก.)


7

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า
1.1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. …..
2.1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. .....
3.1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. .....
ก-1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. …..
ก-2 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. .....
ข-1 ........................(TH SarabunPSK, 16pt).............................. .....

(ภาพที่ 1.1 หมายความว่า ภาพนี้อยู่ในบทที่ 1 และเป็นภาพแรกของบทที่ 1)

(ภาพที่ ก-1 หมายความว่า ตารางนี้อยู่ในภาคผนวก ก และเป็นภาพแรกของภาคผนวก ก)


8

บทที่ 1
บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศเขตร้อนลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนขึ้น ปัจจุบันอุณหภูมิ
เฉลี่ยของประเทศไทยมีค่าประมาณ 35.5 องศาเซลเซียส(กรมอุตุนิยมวิทยา,2566) และอุณหภูมิ
ในช่วงหน้าร้อนสูง ถึง 40-43 องศาเซลเซียส ทำให้ผู้คนหาวิธีคายความร้อนที่นิยมใช้กันมากโดยทั่วไป
คือใช้พัดลมระบายความ ร้อนและเครื่องปรับอากาศซึ่งทั้งสองอย่างนี้ใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งกำเนิด
พลังงาน ปัจจุบันการผลิตพลังฟ้าส่วนใหญ่ใช้เชื้อเพลิงเป็นถ่านหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะ
โลกร้อนเพราะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ รัฐบาลจึงสนับสนุน ให้
ประชาชนหันมาใช้พลังงานสะอาดในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานโซลาเซลล์เป็นพลังงานสะอาดที่
เหมาะกับสภาพภูมิอากาศประเทศไทยและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าในครัวเรือนเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ที่ตอบโจทย์ภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี
อากาศร้อนนอกจากจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิดง่ายและส่งผลต่อการทำงาน
ของอวัยวะในร่างกายของมนุษย์ทั้งหมด เมื่ออากาศร้อนขึ้น ร่างกายก็จะทำงานหนักขึ้นมีการเสียน้ำ
เสียเหงื่อ และเสียเกลือแร่มากขึ้น ทำให้ทั้งปอต หัวใจ ผิวหนัง ความต้นโลหิต เข้าสู่สภาพตื่นตัว เราจึง
หายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ซึงผลที่ตามมาก็คือ ร่างจะอ่อนเพลียได้ง่าย เหนื่อยเร็ว รู้สึกอยากพัก
จากการทำงานบ่อยๆ ซึ่งถ้าดื่มน้ำ น้อย ทานอาหารไม่เพียงพอก็จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ง่ายกว่า
ปกติโรงพยาบาลพยาไท,2566) ฉนั้นคณะ ผู้จัดทำมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงออกแบบสิ่งประดิษฐ์
พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการนำเอาลมทำธรรมตาที่เกิดจากพัดลมทำให้กลายเป็นลมไอ
เย็นซึ่งจะช่วยระบายความร้อนได้ตีในช่วงหน้าร้อนและยังนำเอาเทคโนโลยี โซลาเซลล์มาปรับใช้เป็น
พลังงานสะอาดเป็นการประหยัดค่าไฟฟ้าในครัวเรือนได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อประดิษฐ์พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
2. เพื่อหาประสิทธิภาพของพัดลมไอเย็น
3. เพื่อให้ลดอุณหภูมิความร้อนในอากาศ
ขอบเขตการวิจัย
1. ศึกษาการใช้งานของแผ่นเพลเทียร์
2. ศึกษาการใช้งานของแผงโซล่าเซลล์
9

ข้อจำกัด (ถ้ามี)
1. ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์
2. สามารถให้ความเย็นและลดอุณหภูมิในห้องที่กำหนดได้
สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
1. สามารถนำความรู้ทางด้านทฤษฎีที่ได้เรียนมาประยุกต์ในทางปฏิบัติ
2. โครงงานที่ทำสามารถนำไปใช้งานได้จริง
3. รู้จักการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นและสามารถทำงานได้อย่างเป็นทีม
คำจำกัดความที่ใช้ในงานวิจัย
แผ่ น เพลเที ย ร์ (Peltier) หมายถึ ง แผ่ น ทำความเย็ น ที ่ ใ ช้ ห ลั ก การเทอร์ โ มอิ เ ล็ ก ทริ ค
(Thermoelectric) ซึ่งการทำความเย็นในรูปแบบนี้จะไม่ต้องใช้สารทำความเย็นหรือตัวกลางอื่น ๆ
เหมือนกับการทำความเย็นด้วยคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพราะเป็นการทำความเย็นที่ได้จาก
การไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านสารกึ่งตัวนำสองชนิด คือ ชนิด N (มีประจุลบเป็นพาหะนำไฟฟ้า) และ
ชนิด P (มีประจุบวกเป็นพาหะนำไฟฟ้า) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวกลาง 2 ชนิด จะทำให้เกิดการ
เคลื่อนที่ของประจุในตัวกลางซึ่งในขณะที่ประจุไฟฟ้าเหล่านี้เคลื่อนที่จะมีการดึงเอาพลังงานความร้อน
ติดตัวไปด้วยทำให้เกิดด้านร้อนและด้านเย็นของแผ่นเพลเทียร์
แผงโซล่าเซลล์(Solar Cell) หมายถึง การนำเอา โซล่าเซลล์ จำนวนหลายๆเซลล์ มาต่อวงจร
รวมกัน อยู่ในแผงเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้สามารถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยไฟฟ้าที่ได้
นั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึง
วิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อัน
ก่อให้เกิดวัส ดุ อุป กรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือ
กระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นการต่อยอดโดยนำพัดลมมาเพิ่มเทคโนโลยี
2. การเพิ่มพลังงานสะอาดเข้ามาร่วมด้วยเพื่อได้ใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
3. สามารถให้ความเย็นและลดอุณหภูมิในห้องที่กำหนด
10

ภาพที่ 1.1 พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์


11

บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาโครงการครั้งนี้ เป็นการพัฒนา “พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ ” ผู้จัดทำได้


ศึกษา ค้นคว้าจากเอกสาร และวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ ข้อมูลมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ
วิจัยเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ดังนี้
2.1 แผ่นเพลเทียร์ (Peltier)
2.2 แผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell)
2.3 กล่องโฟม
2.4 สวิตช์
2.5 พัดลมหอยโข่ง
2.6 ท่ออลูมิเนียม
2.7 ข้องออลูมิเนียม
2.8 ตัวต้านทานปรับค่าได้
2.9 แบตเตอรี่
2.10 เครื่องวัดอุณหภูมิ

2.1 แผ่นเพลเทียร์ (Peltier)


แผ่นเพลเทียร์ คือแผ่นทำความเย็นที่ใช้หลักการเทอร์โมอิเล็กทริค (Thermoelectric) ซึ่ง
การทำความเย็นในรูปแบบนี้จะไม่ต้องใช้สารทำความเย็นหรือตัวกลางอื่น ๆ เหมือนกับการทำความ
เย็นด้วยคอมเพรสเซอร์ (Compressor) เพราะเป็นการทำความเย็นที่ได้จากการไหลของกระแสไฟฟ้า
ผ่านสารกึ่งตัวนำสองชนิด คือ ชนิด N (มีประจุลบเป็นพาหะนำไฟฟ้า) และชนิด P (มีประจุบวกเป็น
พาหะนำไฟฟ้า) เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวกลาง 2 ชนิด จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของประจุในตัวกลาง
ซึ่งในขณะที่ประจุไฟฟ้าเหล่านี้เคลื่อนที่จะมีการดึงเอาพลังงานความร้อนติดตัวไปด้วยทำให้เกิดด้าน
ร้อนและด้านเย็นของแผ่นเพลเทียร์
12

รูปที่ 2.1 แผ่นเพลเทียร์ 12 V


2.2 แผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell)
โซล่าเซลล์ (Solar Cell) หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ และที่หลายๆคนรู้จักในชื่อ เซลล์โฟโตโวลตา
อิก Photovoltaic cell เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการผลิต
กระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยน
พลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า (Solar Cell) โดยพลังงานกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่า
เซลล์นั้น เป็นไฟฟ้ากระแสตรง หรือ (DC) ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที
การทำงานของโซล่าเซลล์จะเป็นกระบวนการเปลี่ยนจากพลังงานแสงให้กลายเป็นพลังงาน
ไฟฟ้าได้โดยตรง โดยการใช้แสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ มีพลังงานไปกระทบกับสารกึ่งตัวนำ
จะทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน โดยพลังงานจากแสงจะทำให้เกิดอิเลคตรอน หรือ การ
เคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าดังกล่าวที่ สามารถนำไปใช้งาน
ได้

รูปที่ 2.2 แผ่นเพลเทียร์ 12 V

2.3 กล่องโฟม
กล่องโฟม คือ กล่องบรรจุภัณฑ์ รูปแบบหนึ่ง ในแวดวงอุตสาหกรรมการผลิต และการส่งออก
ดังนั้นกล่องโฟมนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อกันกระแทกสินค้า
แล้ว ยังช่วยในเรื่องของการเก็บรักษาคุณภาพของสินค้าอีกด้วย ซึ่งอุตสาหกรรมหลัก ๆ ที่ใช้ กล่อง
โฟม นั้นมี อาทิ อุตสาหกรรมอาหารทะเล เช่น ปลาแช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง การเกษตรกรรม เช่น พืชผัก
ผลไม้ และยารักษาโรค เช่น วัคซีน เป็นต้น โดยที่กล่าวข้างต้นล้วนเป็นสินค้าอุปโภค บริโภคระดับต้น
ๆ ที่มีการส่งออกสู่ตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สำหรับบุคคล ทั่วไปนั้นกล่องโฟมสามารถพบ
เห็นได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ ร้านขายอาหารที่ใช้แช่เนื้อสัตว์ หรือผักต่าง ๆ ร้านขายน้ำที่มีการใช้
กล่องโฟม แช่น้ำแข็ง หรือร้านเบเกอรี่ที่ใช้ กล่องโฟม ในการใส่เค้ก เป็นต้น
13

รูปที่ 2.3 กล่องโฟม

2.4 สวิตช์
สวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่พบการใช้งานได้
บ่อย หน้าที่ของสวิตช์ คือ ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อให้มีการจ่ายแรงดันเข้าวงจร หรืองดจ่ายแรงดัน
เข้าวงจร จะมีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ต่อวงจร (Close Circuit) และไม่มีแรงดันจ่ายเข้าวงจร
เมื่อสวิตช์ตัดวงจร (Open Circuit)
สวิ ต ช์ แ บบกระดก (Rocker Switch) เป็ น สวิ ต ช์ ท ี ่ ม ี ป ุ่ ม กระดกยื ่ น ออกมาจากตั ว สวิตช์
เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดผลักขึ้นบนหรือ
ล่าง กดผลักด้านบนจะเป็นการต่อ (ON) กดผลักด้านล้างจะเป็นการตัด (OFF)

รูปที่ 2.4 สวิตช์แบบกระดก (Rocker Switch)

2.5 พัดลมหอยโข่ง
พัดลมหอยโข่ง เป็นพัดลมที่ทำงานตามทิศทางการไหลของอากาศผ่านพัดลม ลักษณะพัด
ลมแรงเหวี่ยง( Centrifugal fan) ลมจะเกิดจากการหมุนของใบพัดที่ติดกับวงล้อ โดยการหมุนของล้อ
จะเกิดจากต้น กำลังจากภายนอก ทั้งพลังงานจากมอเตอร์ไฟฟ้า แรงพลังงานกลอื่นๆ ที่ใช้เพื่อ
ขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนที่และใบพัดหมุน ได้ อากาศจากภายนอกจะถูกดึงเข้าสู่ตัวพัดลมใน
แนวแกนหมุน และถูกเร่งให้มีความเร็วแรงขึ้นๆ อากาศจะถูกเหวี่ยงออกไปปะทะกับตัวโครงพัดลม
14

Blower Housing ที่มี ลักษณะคล้ายก้นหอยและไหลออกจากพัดลมในแนวรัศมีของใบพัด แนว ลมที่


ออกจะตั้งฉากกับเพลาของล้อพัดลมที่มีใบพัดเป็นตัวดึงลม พลังงานจลน์ของอากาศจะถูกเปลี่ยนเป็น
พลังงานในรูปของความดันที่ปากทางออกของ พัดลมในแนวตั้งฉากกับเพลาของล้อพัดลม ลักษณะ
ของใบพั ด ลมหอยโข่ ง มี ห ลายลั ก ษณะ เช่ น Forward Curve, Backward Curve, Backward
Inclined, Backward Airfoil, Radial ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะของความดันลม ปริมาณลม ความ
สกปรกของอากาศ

รูปที่ 2.5 พัดลมหอยโข่ง 12 V


2.6 ท่ออลูมิเนียม
ท่ออลูมิเนียม หมายถึงท่อกลวงที่ทำจากอลูมิเนียมบริสุทธิ์หรือโลหะผสมอลูมิเนียม และ
รูปร่างของท่ออลูมิเนียมถูกกำหนดโดยเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกและความหนาของผนัง มีลักษณะ
เป็นวงกลม สี่เหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือวงรี มีหน่วยเป็นนิ้วหรือมิลลิเมตร ท่ออลูมิเนียมมีมากมายใน
ด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศและการผลิตเชิงพาณิชย์ รวมถึงผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์
เพื่อความบันเทิง และชิ้นส่วนเครื่องจักร น้ำหนักของอะลูมิเนียมเป็นเหล็ก 1 ใน 3 และผู้ผลิตยินดีรับ
อะลูมิเนียมเนื่องจากความทนทาน ท่ออลูมิเนียมสามารถนำไปใช้กับหลายฟิลด์ได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ
เนื่องจากคุณสมบัติที่หลากหลาย เช่น ความเข้มและความยืดหยุ่น

รูปที่ 2.6 ท่ออลูมิเนียม


15

2.7 แบตเตอรี่
แบตเตอรี่ เป็น อุป กรณ์ที่ประกอบด้ว ย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์ห รือมากกว่า ที่มีการ
เชื ่ อ มต่ อ ภายนอกเพื ่ อ ให้ ก ำลั ง งานกั บ อุ ป กรณ์ ไ ฟฟ้ า แบตเตอรี ่ มี ขั ้ ว บวก และ ขั ้ ว ลบ ขั ้ ว ที ่ มี
เครื่องหมายบวกจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วที่มีเครื่องหมายลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายลบคือ
แหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรภายนอกแล้วอิเล็กตรอนเหล่านี้จะไหลและส่งมอบ
พลังงานให้กับ อุป กรณ์ภ ายนอก เมื่อแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก สาร อิเล็กโทรไลต์ มี
ความสามารถที่จะเคลื่อนที่โดยทำตัวเป็นไอออน ยอมให้ปฏิกิริยาทางเคมีทำงานแล้วเสร็จในขั้วไฟฟ้า
ที่อยู่ห่างกัน เป็นการส่งมอบพลังงานให้กับวงจรภายนอก การเคลื่อนไหวของไอออนเหล่านั้นที่อยู่ใน
แบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดกระแสไหลออกจากแบตเตอรี่เพื่อปฏิบัติงาน ในอดีตคำว่า "แบตเตอรี่" หมายถึง
เฉพาะอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่การใช้งานได้มีการพัฒนาให้รวมถึงอุปกรณ์ที่
ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว

รูปที่ 2.7 แบตเตอรี่


2.8 เครื่องวัดอุณหภูมิ
เครื่องวัดอุณหภูมิ คือเครื่องมือวัดปริมาณของระดับความร้อนหรือความเย็น เครื่องมือวัดที่ใช้
วัดอุณหภูมิเรีย กว่าเทอร์โ มมิเตอร์ ทำจากหลอดแก้ว ภายในบรรจุของเหลวประเภทปรอทหรือ
แอลกอฮอล์ โดยของเหลวภายในหลอดแก้วจะหดตัวเมื่อได้รับความเย็นและขยายตัวเมื่อได้รับความ
ร้อน บนหลอดแก้วจะมีสเกลสำหรับบอกระดับอุณหภูมิ เมื่อต้องการวัดให้จุ่มกระเปาะที่ปลายของ
หลอดแก้วให้สัมผัสกับวัตถุที่ต้องการวัด นอกจากเทอร์โมมิเตอร์แล้วยังมีเครื่องมือวัดอุณหภูมิประเภท
อื่นๆ เช่น เทอร์โมคัปเปิล, รังสีอินฟาเรด, เทอร์มิสเตอร์ ฯลฯ

รูปที่ 2.8 เครื่องวัดอุณภูมิ


16

กรอบแนวคิดในการวิจัย

พัดลมไอเย็นพลังงาน ความพึงพอใจในการใช้ง านพัด


แสงอาทิตย์ ลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ใน
การคายความร้อน
17

บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรและการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้ พัดลมไอเย็นพลังงาน
แสงอาทิตย์ ได้แก่นักเรียน นักศึกษาในวิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง จำนวน 5 ราย เพื่อใช้ทดลองใน
ห้อง
เครื่องมือในการวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
1. พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
2. แบบประเมินคุณภาพในการใช้งาน พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ แผนกวิชาช่าง
ไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ พัดลมไอ
เย็นพลังงานแสงอาทิตย์
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. เก็บข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานของพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้แบบ
ประเมินคุณภาพในการใช้งาน โดยแบ่ง 5 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา
คือ 10 15 และ 20 นาที และบันทึกผลอุณหภูมิที่ได้เปรียบเทียบก่อนและหลังการเปิดใช้
งาน
2. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานพัดลม
ไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
ตอนที่ 1 วิธีการสร้างพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
1. ออกแบบตัวกล่องเก็บความเย็น

รูปที่ 3.1 เจาะรูออกแบบกล่องเก็บความเย็น


18

2. ขั้นตอนการทำกล่องเก็บความเย็น

รูปที่ 3.2 ใส่ฟอยล์ป้องกันความเย็นรั่ว


3. ประกอบกล่องเก็บความเย็น

รูปที่ 3.3 นำส่วนฝาประกอบกับกล่องเก็บความเย็น


4. ประกอบพัดลม

รูปที่ 3.4 ประกอบพัดลมเข้ากับกล่องทำความเย็น


5.ประกอบพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์

รูปที่ 3.5 พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์เสร็จสมบูรณ์


19

ตอนที่ 2 วิธีการทดลอง
1. นำแบตเตอรี่ไปชาร์จโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ใช้เวลาในการชาร์จประมาณ 4-5 ชั่วโมง

รูปที่ 3.6 ชาร์จแบตเตอรี่โดยใช้โซลาเซลล์


2. นำพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์มาประกอบเข้ากับแบตเตอรี่ที่ชาร์จเสร็จแล้ว

รูปที่ 3.7 ประกอบพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์เข้ากับแบตเตอรี่


3. นำพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ไปทดสอบประสิทธิ์ภาพการทำงาน

รูปที่ 3.8 ทดสอบประสิทธิ์ภาพการทำงาน


4. ทดสอบการทำงานของพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์

รูปที่ 3.9 ทดสอบการทำงานของพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์


20

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. แบบประเมินคุณภาพในการใช้งานพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
อุณหภูมิลดลง หมายถึง คุณภาพอยู่ในระดับดี
อุณหภูมิคงที่ หมายถึง คุณภาพอยู่ในระดับพอใช้
อุณหภูมิเพิ่มขึ้น หมายถึง มีคุณภาพอยู่ในระดับปรับปรุง
2. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ในแต่ละประเด็นมีเกณฑ์การ
ประเมินดังนี้
แบบมาตราจัดอันดับ (Rating Scale)
5 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในข้อความนั้นในระดับมากที่สุด
4 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในข้อความนั้นในระดับมาก
3 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในข้อความนั้นในระดับปานกลาง
2 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในข้อความนั้นในระดับน้อย
1 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในข้อความนั้นในระดับน้อยที่สุด
3. การประเมินคุณภาพโดยใช้หลักสถิติค่าเฉลี่ย
โดยกำหนดการแปรผลค่าเฉลี่ยคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
4.50 – 5.00 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในระดับดีมาก
3.50 – 4.49 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในระดับดี
3.00 – 3.49 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
โดยกำหนดการแปลผลค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของระบบตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
4.50 – 5.00 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
3.50 – 4.49 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในระดับมาก
2.50 – 3.49 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง
1.50 – 2.49 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในระดับน้อย
1.00 – 1.49 หมายถึง ผู้ตอบมีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด
4. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลสำหรับกลุ่มตัวอย่าง
4.1 ค่าเฉลี่ยโดยใช้สูตร
𝑛
∑𝑖=1 𝑥𝑖
𝑥̅ =
𝑛
เมื่อ 𝑥̅ = ค่าเฉลี่ยตัวอย่างประชากร
𝑥𝑖 = คะแนนของประชากรลำดับที่ ⅈ
𝑛 = จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
21

ⅈ = ประชากรลำดับที่ ⅈ
4.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตร
√∑𝑛
𝑖=1(𝑥𝑖 −𝑥̅ )
2
𝑆. 𝐷. =
𝑛−1
เมื่อ ⅈ = ประชากรลำดับที่ ⅈ
𝑆. 𝐷. = ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
𝑥̅ = ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
22

บทที่ 4
ผลการวิจัย

ผลการประดิษฐ์ พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ ปรากฏผลตามล้าดับขั้น ดังนี้


ตอนที่ 1 ผลการศึกษาออกแบบสร้างพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
ตอนที่ 2 ผลการศึกษาประสิทธิภาพและการทำงานของพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาออกแบบสร้างพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
ผลการศึกษาและออกแบบพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ส่วน
ได้แก่ 1. ตัวเครื่องพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ โดยใช้กล่องโฟมเป็นโครงสร้างขนาด 15x21x16
ซ.ม. ประกอบกับชุดทำความเย็น 1 ชุด 12V 60W และพัดลมหอยโข่ง 12V 60W 2. แหล่งพลังงาน
ใช้แบตเตอรี่ 12 V 40Ah แผงโซลาเซลล์ 12V 80W และคอนโทรลชาร์จเจอร์ หลังจากทำการทดลอง
แล้วพัดลมโซลาเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้งานได้จริง

ตอนที่ 2 ผลการศึกษาประสิทธิภาพและการทำงานของพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
ตารางที่ 4.1 แบบประเมินสิทธิภาพในการใช้งาน พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
เวลา อุณหภูมิ ระดับ เวลา อุณหภูมิ ระดับ
ครั้งที่ หมายเหตุ
เริ่มต้น (องศา) แรงดัน สิ้นสุด (องศา) แรงดัน
1 14.00 น. 31.5 11.4 V 16.30 น. 28.7 9.7 V
2 14.00 น. 32.0 11.3 V 16.32 น. 29.0 9.7 V
3 14.30 น. 31.0 11.2 V 17.10 น. 28.8 9.7 V
4 14.30 น. 33.2 11.5 V 17.09 น. 30.5 9.6 V
5 15.00 น. 32.4 11.3 V 17.30 น. 29.1 9.6 V
อุณหภูมิ
32.1 29.2
เฉลี่ย
แรงดัน
11.3 V 9.7 V
เฉลี่ย

จากตารางที ่ 4.1 ผลการศึ ก ษาประเมิ น สิ ท ธิ ภ าพในการใช้ ง าน พั ด ลมไอเย็ น พลั ง งาน


แสงอาทิตย์สามารถทำงานต่อเนื่องได้ประมาณ 1-2.5 ชั่วโมง โดยมีค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิเริ่มต้น 32.1
23

V องศา ค่าเฉลี่ยระดับแรงดันเริ่มต้น 11.3 V ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิสิ้นสุด 29.2 องศา ค่าเฉลี่ยระดับ


แรงดันสิ้นสุด 9.7 V
ตารางที่ 4.2 แบบทดสอบการทำงานของพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
อุณหภูมิ อุณหภูมิ ผลต่าง
ครั้งที่ เวลา(นาที) หมายเหตุ
เริ่มต้น สิ้นสุด อุณหภูมิ
10 31.5 31.1 0.4 ผู้ทดลองใช้งานคนที่ 1
1 15 32.0 30.8 1.2
20 31.0 30.1 0.9
10 33.2 32.9 0.3 ผู้ทดลองใช้งานคนที่ 2
2 15 32.4 31.8 0.6
20 30.8 30.0 0.8
10 31.6 31.3 0.3 ผู้ทดลองใช้งานคนที่ 3
3 15 33.0 32.4 0.6
20 32.2 31.1 1.1
10 31.4 31.0 0.4 ผู้ทดลองใช้งานคนที่ 4
4 15 30.6 30.0 0.6
20 33.1 32.1 1.0
10 30.7 30.2 0.5 ผู้ทดลองใช้งานคนที่ 5
5 15 32.5 31.8 0.7
20 31.4 30.6 0.8
อุณหภูมิ
31.8 31.1 0.7
เฉลี่ย
จากตาราง 4.2 ผลการศึกษาการทำงานของพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ผู้ทดลอง
จำนวน 5 คน โดยทำการทดลอง 5 ครั้ง แบ่งช่วงเวลาดังนี้ 10 นาที 15 นาที และ 20 นาที พบว่า
อุณหภูมิเริ่มต้นเฉลี่ย 31.8 องศา อุณหภูมิสิ้นสุดเฉลี่ย 31.1 องศา ผลต่างอุณหภูมิเฉลี่ย 0.7 องศา
24

ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
ตารางที่ 4.3 ผลการศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
ที่ รายการ ค่าเฉลี่ย ระดับความพึงพอใจ
1 วัตถุประสงค์ของการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ 4.80 มากที่สุด
2 โครงสร้าง 4.20 มาก
3 ราคาต่อชิ้น 4.40 มาก
4 ความรู้สึกเย็นสบาย 4.00 มาก
5 ความคงทนใช้งานได้นาน 4.30 มาก
6 ประโยชน์จาก Solar Cooling Fan 4.70 มากที่สุด
7 นวัตกรรมสามารถต่อยอดธุรกิจสู้เชิงพาณิชย์ 4.50 มากที่สุด
8 ประโยชน์จากการทำวิจัยสิ่งประดิษฐ์ 4.40 มาก
9 การจัดนิทรรศการเผยแพร่ข้อมูล 4.20 มาก
10 เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป 4.50 มากที่สุด
รวม 4.40 มาก
จากตารางที่ 4.3 พบว่าความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามผู้ใช้ พัดลมไอเย็น พลังงาน
แสงอาทิตย์ มีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.40 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า
หัวข้อที่ผู้ ประเมินมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ วัตถุประสงค์ของการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ค่าเฉลี่ย 4.80
ประโยชน์จาก Solar Cooling Fan ค่าเฉลี่ย 4.70 นวัตกรรมสามารถต่อยอดธุรกิจสู้เชิงพาณิช ย์
ค่าเฉลี่ย 4.50 เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป ค่าเฉลี่ย 4.50 รองลงมาคือวัตถุประสงค์
ของ โครงสร้าง ค่าเฉลี่ย 4.20 ราคาต่อชิ้น ค่าเฉลี่ย 4.40 ความรู้สึกเย็นสบาย ค่าเฉลี่ย 4.00 ความ
คงทนใช้งานได้นาน ค่าเฉลี่ย 4.30 ประโยชน์จากการทำวิจัยสิ่งประดิษฐ์ ค่าเฉลี่ย 4.40 การจัด
นิทรรศการเผยแพร่ข้อมูล ค่าเฉลี่ย 4.20
25

บทที่ 5
สรุปผลการวิจัยอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย
จากการออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ได้ในไปทดสอบ
ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องสามารถเปิดใช้งานต่อเนื่องต่อการชาร์จแบต 1 ครั้ง ได้ประมาณ
1-2.5 ชั่วโมง แรงดันไฟฟ้าเฉลี่ยเริ่มต้นอยู่ที่ระดับ 11.3 V แรงดันไฟฟ้าเฉลี่ยสิ้นสุด 9.7 V จากการ
ทดสอบการทำงานของพัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ กับกลุ่มเป้าหมาย โดยวิธีการเลือกแบบ
เจาะจง จำนวน 5 คน อุณหภูมิเฉลี่ยเริ่มต้นอยู่ที่ระดับ 31.8 องศา อุณหภูมิสิ้นสุดเฉลี่ย อยู่ที่ระดับ
31.1 องศา สามารถลดอุณหภูมิลงได้เฉลี่ย 0.7 องศา และผลการศึกษาความพึงพอใจผู้ใช้พั ดลมไอ
เย็นพลังงานแสงอาทิตย์ของผู้ทดลองใช้งานเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก

อภิปรายผล
ผลการวิจัยพบว่า พัดลมพลังงานไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์ สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องเป็น
ระยะเวลา 1-2.5 ชั่วโมง ใช้พลังงานโซลาเซลล์ในการชาร์จแบตเตอรี่ 1 ครั้ง ประมาณ 4-5 ชั่วโมง
ทดลองใช้งานกับกลุ่มเป้าหมายพบว่าใช้เวลาประมาณ 20 นาที สามารถลดอุณหภูมิลงได้เฉลี่ย 0.7
องศา และมีผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1. แรงดันใช้งานควรอยู่ในช่วง 9-12 V เพราะจะส่งผลกับการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่
2. ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม ประมาณ 4-5 ชั่วโมง

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรเพิ่มชุดทำความเย็นให้สามารถทำความเย็นได้มากกว่านี้ จะช่วยให้ลดอุณหภูมิ
ได้มากขึ้น
2. ควรมีแบตเตอรี่ 2 ลูกขึ้นไปเพื่อสลับใช้งานจะทำให้ใช้งานได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น
3. ควรหาวิธีลดเสียงดังจากการทำงานของพัดลม
4. พัฒนาการเปิดปิดเป็นระบบไร้สายเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน
26

บรรณานุกรม

บรรณานุกรมภาษาไทย
กัลป์ จิตรมั่นคง. (2552). ประสิทธิภาพของพัดลมระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรงเทพฯ
กรมประชาสัมพันธ์. (2564). เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell). ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 13, 2566,จาก
htttps://www.prd.go.th/th/file/get/file/202103082 fff21210bb97eb2ea5
1c14d30624891133438.pdf
คลังความรู้ SciMath. (2565). แบตเตอรี่. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2566,
จาก https://www.scimath.org/article-physics/item/12582-1-2
บริษัท เทคโนโลยี เทสท์ ซิสเต็ม จำกัด. เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น. ค้นเมื่อ ธันวาคม 4, 2566,
จาก www.technotestsystem.com/15144335/เครื่องวัดอุณหภูมิความชื้น-
thermohygometer
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(2566). แบตเตอรี่. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2566,
จาก https://th.wikipedia.org/wiki/แบตเตอรี่
สมาคมฟิสิกส์ไทย. (2562). แผ่นเพวเทียร์ทำความเย็นได้ด้วยตัวเองโดยไม่ใช้พลังงานไฟฟ้าจาก
ภายนอก. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2566, จาก http://www.thaiphysoc.org/article/100
C.DATA ENGINEERING CO., LTD. พัดลมหอยโข่ง. ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23, 2566, จาก
https://www.พัดลมกันระเบิด.net/16671693/พัดลมหอยโข่ง
Solarcellguru. (2566). โซล่าชาร์จเจอร์ (Solar Charger). ค้นเมื่อ พฤศจิกายน 23,
2566,จาก https://solarcellguru.com/solar-charger/
27

ภาคผนวก
28

ภาคผนวก ก
คู่มือการใช้งาน
29

ภาคผนวก ข
แบบสอบถามความพึงพอใจ
30

แบบสอบถามความพึงพอใจ
สิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ด้านการประกอบอาชีพ
พัดลมไอเย็นพลังงานแสงอาทิตย์
solar powered cooling fan
แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ( / ) ลงในช่องตัวเลขระดับความคิดเห็นของท่านต่อ solar powered
cooling fan
ระดับคะแนน 5 หมายถึง ระดับมากที่สุด
ระดับคะแนน 4 หมายถึง ระดับมาก
ระดับคะแนน 3 หมายถึง ระดับปานกาลาง
ระดับคะแนน 2 หมายถึง ระดับน้อย
ระดับคะแนน 1 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว
1. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
2. อายุ ( ) น้อยกว่า 20 ปี ( ) 21-30 ปี ( ) 30-50 ปี
3. อาชีพ ( ) รับราชการ ( ) นักศึกษา ( ) อื่น ๆ
4. ระดับการศึกษา ( ) ปวส. ( ) ปริญญาตรี ( ) อื่นๆ
ตอนที่ 2 แบบสำรวจความพึงพอใจ
ระดับความพึงพอใจ
รายการ
5 4 3 2 1
1.วัตถุประสงค์ของการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์
2.โครงสร้าง
3.ราคาต่อชิ้น
4.ความรู้สึกเย็นสบาย
5.ความคงทนใช้งานได้นาน
6.ประโยชน์จาก Solar Cooling Fan
7.นวัตกรรมสามารถต่อยอดธุรกิจสู้เชิงพาณิชย์
8.ประโยชน์จากการทำวิจัยสิ่งประดิษฐ์
9.การจัดนิทรรศการเผยแพร่ข้อมูล
10.เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป
ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ
31

......................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................
32

ภาคผนวก ค
แบบรับรองการนำผลงานสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ไปใช้งานจริง

ประจำปีการศึกษา 2566
33
34

ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ นายนาวิน ตันทรัพย์


เกิดวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2547
จบการศึกษามัธยมตอนต้นโรงเรี ยนท่ามะกาปุญสิ ริวิทยา
จบการศึกษาวิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ ง
ปัจจุบนั กาลังศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสู ง ปวส.1/1
วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ ง ปี พ.ศ.2566
นักศึกษา ที่อยูส่ ถานศึกษา 98 หมู3่ ตาบลลาดบัวขาว อาเภอบ้านโป่ ง จังหวัดราชบุรี 71120

ชื่อ นางสาวอรปรี ยา เหรี ยญเชย


เกิดวันที่ 18 สิ งหาคม พ.ศ.2547
จบการศึกษามัธยมตอนต้นโรงเรี ยนอนุบาลวัดลูกแกประชาชนูทิศ
จบการศึกษาวิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ ง
ปัจจุบนั กาลังศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสู ง ปวส.1/1
วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ ง ปี พ.ศ.2566
นักศึกษา ที่อยูส่ ถานศึกษา 98 หมู3่ ตาบลลาดบัวขาว อาเภอบ้านโป่ ง จังหวัดราชบุรี 71120
35

ระเบียบการส่งต้นฉบับรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษามีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานการพิมพ์
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตรวจรูปแบบการพิมพ์ (Format) รูปแบบการอ้างอิงเอกสาร (Style) ใน
เนื้อหารายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การกำหนดลักษณะของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ที่นักวิจั ยจะต้อง
นำส่งสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษาจึงได้กำหนดระเบียบการส่งต้นฉบับรายงานวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ไว้ให้นักวิจัยยึดเป็นแนวทางในการส่งต้นฉบับ รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และสำนักวิจัยและ
พัฒนาการอาชีวศึกษาสามารถตรวจสอบต้ น ฉบั บ เพื่อให้รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มีคุณภาพและ
มีรูปแบบเดียวกัน
1. การเตรียมต้นฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
1.1 ขนาดของต้นฉบับ พิมพ์ห น้าเดียวบนกระดาษขนาด เอ 4 โดยกำหนดเว้น
ระยะห่างระหว่างขอบกระดาษด้านบนและซ้ายมือ 3.81 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) ด้านล่างและขวามือ
2.54 เซนติเมตร (1 นิ้ว)
36

1.2 รูปแบบอักษรและการจัดวางตำแหน่ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้รูปแบบ


อักษร TH SarabunPSK พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยตั้งค่า Spacing (ระยะห่าง) ดังนี้
ค่า Before (ก่อน) เท่ากับ 0 , ค่า After (หลัง) เท่ากับ 0, ค่า Line Spacing (ระยะห่างบรรทัด) เท่ากับ
1 หรือ Single และขนาด ชนิดของตัวอักษร รวมทั้งการจัดวางตำแหน่ง มีดังนี้
1.2.1 หัวกระดาษ ประกอบด้วย เลขหน้า ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา
ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านขวา
1.2.2 ชื่อรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ คลิกที่ตำแหน่งนี้ให้เป็นแถบสีดำ
และพิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทย ขนาด 20 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
1.2.3 ชื่อผู้วิจัย ขนาด 20 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษ
ใต้ชื่อเรื่อง
1.2.4 หน่วยงานหรือสังกัดของผู้วิจัย ขนาด 20 ชนิดตัวหนา
ตำแหน่งกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ชื่อผู้วิจัย
1.2.5 หัวข้อของบทคัดย่อไทย ภาษาไทย ขนาด 16 ชนิดตัวหนา
ตำแหน่งชิดขอบกระดาษด้านซ้าย
1.2.6 เนื้อหาบทคัดย่อไทย ภาษาไทย ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา
จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ บรรทัดแรกเว้น 1 Tab จากขอบกระดาษ
ด้านซ้าย และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
1.2.7 หัวข้อเรื่องภาษาไทย 18 ชนิดตัวหนา ตำแหน่งกึ่งกลาง
หน้ากระดาษ
1.2.8 หัวข้อย่อย ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 16 ชนิด
ตัวธรรมดาระบุหมายเลขหน้าหัวข้อย่อย โดยเรียงตามลำดับ
หมายเลข
ตำแหน่ง เว้น 1 Tab จากขอบกระดาษด้านซ้าย
1.2.9 เนื้อหา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 16 ชนิดตัวธรรมดา
จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ และพิมพ์ให้ชิดขอบทั้งสองด้าน
1.2.10 บรรณานุกรม ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ขนาด 16 ชนิด
ใช้แบบ APA 6th (American psychology Association)
2. การเรียงลำดับเนื้อหาต้นฉบับ
เนื้อหา ภาษาไทยที่มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ควรแปลเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด (ในกรณีที่คำศัพท์
ภาษาอังกฤษเป็นคำเฉพาะที่แปลแล้วไม่ได้ความหมายชัดเจนให้ทับศัพท์ได้) และควรใช้ภาษาที่ผู้อ่าน
เข้าใจง่าย ชัดเจน หากใช้คำย่อต้องเขียนคำเต็มไว้ครั้งแรกเนื้อหาเรียงลำดับดังนี้
37

2.1 ปกในและปกนอก โดยชื่อเรื่อง ควรสั้น และกะทัดรัด ความยาวไม่ควรเกิน 100


ตัวอักษร ชื่อเรื่องภาษาไทย พร้อมรายชื่อผู้วิจัย
(ถ้ามีผู้วิจัยมากกว่า 6 คน ให้ระบุชื่อผู้วิจัย 6 คนและคณะ)
2.2 บทคัดย่อ เขียนเฉพาะภาษาไทย สรุปสาระสำคัญให้เข้าใจง่าย ความยาวไม่ควร
เกิน 15 บรรทัด ใช้อักษรตัวตรง จะใช้ตัวเอนเฉพาะศัพท์วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์
จุดมุ่งหมาย และขอบเขตของการวิจัยวิธีการวิจัย รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ วิธีการเก็บข้อมูล จำนวนและ
ลักษณะของกลุ่มที่ศึกษาผลการวิจัย รวมถึงระดับนัยสำคัญทางสถิติ (ถ้ามีการทดสอบ) บทคัดย่อที่ดี
ควรมีความถูกต้อง โดยระบุจุดประสงค์และเนื้อหาของเรื่องตามที่ปรากฏในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
เช่น คำย่อ คำที่ไม่คุ้นเคยให้เขียนเต็มเมื่อกล่าวถึงครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องอ้างเอกสาร พยายามเขียนให้
สั้นที่สุด ลักษณะของการรายงานมากกว่าการประเมิน จึงไม่ควรมีคำวิจารณ์ นอกจากรายงานผล
ข้อมูลตัวเลขที่สำคัญที่ได้จากการวิจัย
2.3 กิตติกรรมประกาศ คือ ข้อความแสดงความขอบคุณบุคคล สถาบันและ/หรือ
หน่วยงานที่มีส่วนช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือในการค้นคว้าเพื่อเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตลอด
ทั้งคณะกรรมการสอบผู้สนับสนุนเงินทุนวิจัย ผู้ให้ข้อคิดเห็น ให้ข้อมูล และผู้ที่อนุญาตให้ใช้ข้อเขียน
หรือเครื่องมือในการวิจัย ข้อความดังกล่าวควรเขียนเรียบๆ โดยเขียนเป็ นภาษาทางวิชาการ การระบุ
ชื่อบุคคลให้ระบุชื่อจริงพร้อมนามสกุลและคำนำหน้า ห้ามใช้ชื่อเล่น ถ้าเป็นบุคคลที่มียศ/ตำแหน่งทาง
วิชาการ และตำแหน่งหน้าที่การงาน ให้ระบุไว้ด้วย กิตติกรรมประกาศนี้ให้พิมพ์ไว้ต่ อจากบทคัดย่อ
ความยาวไม่เกิน 1 หน้า ท้ายข้อความระบุชื่อผู้เขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์พร้อมปีที่ทำเสร็จ หาก
ผู้เขียนรายงานวิจัยมีมากกว่า 1 คน ให้ใช้คำว่า “คณะผู้วิจัย”
2.4 สารบัญ เป็นรายการที่แสดงถึงส่วนประกอบสำคัญทั้งหมดของรายงานวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ พิมพ์เลขหน้ากำกับ โดยเริ่มนับจากบทคัดย่อเป็นหน้า ก
2.5 สารบัญตาราง (ถ้ามี) เป็นส่วนที่แจ้งตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดที่มีอยู่ใน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ พิมพ์เรียงลำดับต่อจากส่วนสารบัญ
2.6 สารบัญภาพ (ถ้ามี) เป็นส่วนที่แจ้งตำแหน่งหน้าของ รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ
กราฟ ฯลฯ ทั้งหมดที่มีอยู่ในรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ขึ้นหน้าใหม่เรียงต่อจากสารบัญตาราง
2.7 บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญ , วัตถุประสงค์ของ
การวิจัย,กรอบแนวคิดในการวิจัย, ขอบเขตการวิจัย, สมมติฐานการวิจัย, นิยามศัพท์ และประโยชน์
ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิจัย
38

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


ตามลำดั บ โดยหน้ าแรกของแต่ ละบทที ่ ไม่ ต ้ องพิ มพ์ เลขหน้ า แต่ น ั บหน้ า
ส่วนหน้าถัดไป พิมพ์เลขหน้ากำกับทุกหน้า
2.8 ส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก และประวัติผู้เขียน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยให้เขียนเป็นความเรียง ความยาวไม่เกิน 1 หน้า มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
- ชื่อ นามสกุล พร้อมคำนำหน้า
- ถ้ามียศ ฐานันดรศักดิ์ ราชทินนาม สมณศักดิ์ ให้ใส่ไว้ด้วย
- วัน เดือน ปี และสถานที่เกิด
- วุฒิการศึกษา ตั้งแต่ขั้นปริญญาบัณฑิตหรือเทียบเท่าขึ้นไป
- สถานศึกษาและปี พ.ศ. ที่สำเร็จการศึกษา
- ประสบการณ์การทำงาน ชื่อผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่
- รางวัลหรือทุนการศึกษาที่ได้รับ ระบุเฉพาะที่สำคัญ
- ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน และสถานที่ทำงานตามลำดับ

โดยหน้าแรกของหัวข้อ ไม่ต้องพิมพ์เลขหน้า แต่นับหน้า ส่วนหน้าถัดไป พิมพ์เลขหน้ากำกับทุกหน้า

You might also like