You are on page 1of 16

จริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคน

จริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคน
1.ราคะจริต
? ลักษณะ • บุคลิกดี มีมาด
• น้ำเสียงนุ่มนวล ไพเราะ
• ติดในความสวย ความงาม ความหอม ความไพเราะ ความอร่อย
• ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการ
? จุดอ่อน
• ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก
• ไม่มีเป้ าหมายในชีวิต
• ไม่มีความเป็นผู้นำ
• ขี้เกรงใจ
• ขาดหลักการ
• มุ่งแต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
• ชอบคำพูดหวานหู แต่อาจไม่ใช่ความจริง
• อารมณ์รุนแรง ช่างอิจฉาริษยา ชอบปรุงแต่ง

? วิธีแก้ไข • พิจารณาโทษของจิตที่ขาดสมาธิ
• ฝึกพลังจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง
• หาเป้ าหมายที่แน่ชัดในชีวิต
• พิจารณาสิ่งปฏิกูลต่างๆ ของร่างกายมนุษย์เพื่อลดการติดใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2. โทสจริต
? ลักษณะ
• จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย
• คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด
• พูดตรงไปตรงมา
• ชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้าระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์
• แต่งตัวประณีต
• เดินเร็ว ตัวตรงแน่ว

? จุดแข็ง • อุทิศตัวทุ่มเทให้กับการงาน
• มีระเบียบวินัยสูง ตรงเวลา
• วิเคราะห์เก่ง มองอะไรตรงไปตรงมา
• พูดคำไหนคำนั้น
• มีความจริงใจต่อผู้อื่น สามารถพึ่งพาได้
• ไม่ค่อยโลภ
? จุดอ่อน
• จิตขุ่นมัว ร้อนรุ่ม
• ไม่มีความเมตตา
• ไม่เป็นที่น่าคบค้าสมาคมของคนอื่น ไม่มีบารมี
• ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
• สร้างวจีกรรมเป็นประจำ
• มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย

? วิธีแก้ไข • สังเกตดูอารมณ์ตัวเองเป็นประจำ
• เจริญเมตตาให้มากๆ
• คิดนานๆ ก่อนพูด และพูดทีละคำ ฟังทีละเสียง
• อย่างไปจริงจังกับโลกมากนัก
• เปิ ดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ
• พิจารณาโทษของความโกรธต่อความเสื่อมโทรมของร่างกาย

3. โมหจริต
? ลักษณะ • ง่วงๆ ซึมๆ เบื่อๆ เซ็งๆ
• ดวงตาดูเศร้าๆ ซึ้งๆ
• พูดจาเบาๆ นุ่มนวลอ่อนโยน
• ยิ้มง่าย อารมณ์ไม่ค่อยเสีย ไม่ค่อยโกรธใคร
• ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น
• เดินแบบลอยๆ ขาดจุดหมาย ไร้ความมุ่งมั่น

? จุดแข็ง
• ไม่ฟุ้ งซ่าน เข้าใจอะไรง่ายและชัดเจน
• มักตัดสินใจอะไรด้วยความรู้สึกได้ถูกต้อง
• ทำงานเก่ง โดยเฉพาะงานประจำ
• ไม่ค่อยทุกข์หรือเครียดมากนัก
• เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบ ไม่ทำร้ายคน

? จุดอ่อน
• ไม่มีความมั่นใจ มองตัวเองต่ำกว่าความจริง โทษตัวเองเสมอ
• หมกมุ่นแต่เรื่องตัวเอง ไม่สนใจคนอื่น
• ไม่จัดระบบความคิด ทำเหมือนไม่มีความรู้
• ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่ชอบเป็นจุดเด่น
• สมาธิอ่อนและสั้น เบื่อง่าย
• อารมณ์อ่อนไหวง่าย ใจน้อย

? วิธีแก้ไข
• ตั้งเป้ าหมายชีวิตให้ชัดเจน
• ฝึกสมาธิสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง
• ให้จิตออกจากอารมณ์ โดยจัดให้ร่างกายเคลื่อนไหว หรือเล่นกีฬา
• แสวงหาความรู้และต้องจัดระบบความรู้ความคิด
• สร้างความแปลกใหม่ให้กับชีวิต อย่าทำอะไรซ้ำซาก

4. วิตกจริต
? ลักษณะ
• พูดน้ำไหลไฟดับ
• ความคิดพวยพุ่ง ฟุ้ งซ่าน ไม่อยู่ในโลกความจริง
• มองโลกในแง่ร้ายว่าคนอื่นจะเอาเปรียบ กลั่นแกล้งเรา
• หน้าบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม
• เจ้ากี้เจ้าการ อัตตาสูง คิดว่าตัวเองเก่ง
• อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง
• ผัดวันประกันพรุ่ง
? จุดแข็ง
• เป็นนักคิดชั้นยอด มองอะไรทะลุปรุโปร่ง
• เป็นนักพูดที่จูงใจคนเก่ง เป็นผู้นำไนหลายวงการ
• ละเอียดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด
• เห็นความผิดเล็กน้อยที่คนอื่นมองไม่เห็น
? จุดอ่อน
• มองจุดเล็ก ลืมมองภาพใหญ่
• เปลี่ยนแปลงความคิดตลอดเวลา ไม่รักษาคำมั่นสัญญา
• มีแต่ความคิด ไม่มีความรู้สึก ไม่มีวิญญาณ ลังเล มักตัดสินใจผิดพลาด
• มักทะเลาะวิวาท เอารัดเอาเปรียบ ทำร้ายจิตใจผู้อื่น
• มีความทุกข์ เพราะเห็นแต่ปัญหา แต่หาทางแก้ไม่ได้
? วิธีแก้ไข
• เลือกที่จะคิด อย่าให้ความคิดลากไป
• ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติเพื่อสงบสติอารมณ์
• เลิกคิดอกุศลจิต คลายจากความฟุ้ งซ่าน
• สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา
• ฝึกมองภาพรวม คิดให้ครบวงจร
• หัดมองโลกในแง่ดี
• พัฒนาสมองซีกขวา

5. ศรัทธาจริต
? ลักษณะ • ยึดมั่นอย่างแรงกล้าในบุคคล หลักการ หรือความเชื่อ
• ย้ำคิดย้ำพูดในสิ่งที่ตนเองเชื่อถือและศรัทธา
• คิดว่าตัวเองเป็นคนดี น่าศรัทธา ประเสริฐกว่าคนอื่น
• เป็นคนจริงจัง พูดมีหลักการ

? จุดแข็ง • มีพลังจิตสูงและเข้มแข็ง
• พร้อมจะเสียสละเพื่อผู้อื่น
• ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมไปสู่สภาพที่ดีกว่าเดิม
• มีพลังขับเคลื่อนมหาศาล
• มีความเป็นผู้นำ

? จุดอ่อน • หูเบา ถูกหลอกง่าย เรื่องของความเชื่ออยู่เหนือเหตุผล


• ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งลดน้อยลง
• ไม่ประนีประนอม
• จิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่าง
• ทำได้ทุกอย่างแม้แต่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุเป้ าหมาย
? วิธีการแก้ไข • นึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหนือความเชื่อ
• ใช้ปัญญานำทาง และใช้ศรัทธาเป็นพลังในการขับเคลื่อน
• เปิ ดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ
• ลดความยึดมั่นในตัวกูของกู
• ลดความยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลหรืออุดมการณ์

6. พุทธิจริต
? ลักษณะ
• คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล
• พร้อมรับความคิดที่แตกต่างไปจากของตนเอง
• มองเรื่องต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริง ไม่ปรุงแต่ง
• ช่างสังเกต
• มีความเมตตา ไม่เอาเปรียบคน
• หน้าตาผ่องใส ตาเป็นประกาย ไม่ทุกข์

? จุดแข็ง
• เห็นเหตุผลชัดเจน และรู้วิธีการแห้ไขปัญหาต่างๆ อย่างถูกต้อง
• อัตตาต่ำ เปิ ดใจรับข้อเท็จจริง
• จิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่จมปลักกับอดีต และไม่กังวลกับสิ่งที่จะเกิดในอนาคต
• พัฒนาและปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ
• เป็นกัลยาณมิตร

? จุดอ่อน
• มีความเฉื่อยชา ไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาณ
• ชีวิตราบรื่นมาตลอด หากต้องเผชิญพลังด้านลบอาจเอาตัวไม่รอด
• ไม่มีความเป็นผู้นำ จิตไม่มีพลังพอที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตาม

? วิธีแก้ไข
• ถามตัวเองว่าพอใจแล้วหรือกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน
• เพิ่มพลังสติ สมาธิ พัฒนาจิตใจให้มีพลังขับเคลื่อนแรงขึ้น
• เพิ่มความเมตตา พยายามทำประโยชน์ให้สังคมมากขึ้น
จริต 6

จริต แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตชอบท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิตนั้น พระผู้มีพระ


ภาคเจ้าได้ตรัสไว้ มี 6 ประการคือ
ในบุคคลเดียวอาจไม่ได้มีจริตเดียว เป็นจริตผสม แต่จะมีจริตที่เด่นที่สุด จงพิจารณาเองเถิด

ราคจริต จิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ที่รักสวยรักงาม คือ พอใจในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัส


นิ่มนวล ชอบการมีระเบียบ สะอาด ประณีต พูดจาอ่อนหวาน เกลียดความเลอะเทอะ

โทสจริต มีอารมณ์มักโกรธ เป็นคนขี้โมโหโทโส จะเป็นคนที่แก่เร็ว พูดเสียงดัง เดินแรง ทำงานหยาบ แต่งตัว


ไม่พิถีพิถัน เป็นคนใจเร็ว

โมหจริต มีอารมณ์จิตลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติ ชอบสะสมมากกว่าจ่ายออก มีค่าหรือไม่มีค่าก็เก็บหมด นิสัยเห็น


แก่ตัว อยากได้ของของคนอื่น แต่ของตนไม่อยากให้ใคร ไม่ชอบบริจาคทานการกุศล เรียกว่า เป็นคนชอบได้
ไม่ชอบให้

วิตกจริต มีอารมณ์ชอบคิด ตัดสินใจไม่เด็ดขาด ไม่กล้าตัดสินใจ คนประเภทนี้เป็นโรคประสาทมาก มีหน้าตาไม่


ใคร่สดชื่น แก่เกินวัย หาความสุขสบายใจได้ยาก

สัทธาจริต มีจิตน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจ เชื่อโดยไร้เหตุผล พวกนี้ถูกหลอกได้ง่าย ใครแนะนำก็


เชื่อโดยไม่พิจารณา

พุทธิจริต เป็นคนเจ้าปัญญาเจ้าความคิด มีความฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ การคิดการอ่าน ความทรงจำดี


อารมณ์ที่กล่าวมา 6 ประการนี้ บางคนมีอารมณ์ทั้ง 6 อย่างนี้ครบถ้วน บางรายก็มีไม่ครบ มีมากน้อยกว่า
กันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีต อารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกัน แต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกัน
นั้น เพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกัน

จริตของมนุษย์แต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน และแต่ละบุคคลก็อาจมีจริตได้หลายอย่างคลุกเคล้าปะปนกันมา แต่ว่า


จริตใดจะมีมากออกหน้า เป็นประธาน เป็นประจำ เป็นตัวนำ เป็นเด่นกว่าจริตอื่น ก็เรียกว่าเป็นผู้มีจริตนั้น

ลักษณะของผู้ที่หนักในราคจริต

๑. มายา เจ้าเล่ห์
๒. โอ้อวด
๓. ถือตัว
๔. ทำตัวลวงโลก หลอกลวง เสแสร้ง
๕. ปรารถนามาก มีความอยากใหญ่
๖. ไม่สันโดษ
๗. แง่งอน
๘. ขี้โอ่
นิสัยของคนมีราคะจริต - เรียบร้อย นุ่มนวล ไม่รีบร้อน งานสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ

รสชาติที่ชอบ - ชอบรสหวาน มัน อร่อย สีสรรน่ากิน

สิ่งที่ชอบดู - ชอบของสวยงาม ไพเราะ ตลก ขบขัน

ลึก ๆ แล้ว - เจ้าเล่ห์ โอ้อวด ถือตัว แง่งอน


พิถีพิถัน ชอบยอ

กรรมฐานที่เหมาะ - อสุภะ ๑๐ กายคตาสติ ๑

ราคจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี แดง

ลักษณะของผู้ที่หนักในโทสจริต

๑. โกรธง่าย โมโหง่าย
๒. ผูกโกรธ แค้นฝังใจ
๓. ลบหลู่คุณท่าน (คนที่ดี คนที่เป็นผู้ใหญ่กว่า)
๔. ชอบตีตนเสมอท่าน
๕. ขี้อิจฉา
๖. ขี้เหนียว ชอบหึง ชอบหวง

นิสิยของคนโทสะจริต -ไปพรวด ๆ รีบร้อนกระด้าง

การทำงาน - งานสะอาด แต่ไม่เรียบร้อย ไม่สำรวยมุ่งแต่ในสิ่งที่ปรารถนา

รสชาติที่ชื่นชอบ - ชอบเปรี้ ยว เค็ม ขม ฝาดจัด รับประทานเร็ว คำโต

สิ่งที่ชอบดู - ชอบดูชกต่อย

ด้านมืด - มักโกรธ ผูกโกรธ ลบหลู่บุญคุณ ตีเสมอ ขี้อิจฉา

กรรมฐานที่เหมาะ - วัณณกสิณ ๔ ,พรหมวิหาร ๔


โทสจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี(ออกไปในโทนค่อนข้าง) ดำ <!--MsgFile=1-->

ลักษณะของผู้ที่หนักในโมหจริต

๑. หดหู่ ซึมเซา
๒. คลิบเคลิ้ม
๓. ฟุ้ งซ่าน
๔. ขี้รำคาญ
๕. เคลือบแคลง ขี้สงสัย ในธรรมะ
๖. ถืองมงาย
๗. ละ ความเชื่อโง่ ๆ เดิม ๆ ได้ยาก

นิสัย (กิริยา) ของคนโมหจริต - เซื่อง ๆ ซึม ๆ เหม่อๆ


ลอย ๆ

การทำงาน - งานหยาบ ไม่ถี่ถ้วน คั่งค้าง เอาดีไม่ได้

รสชาติอาหารที่ชื่นชอบ - ไม่เลือกอาหารอย่างไหนก็เอา
หมด มูมมามด้วย

สิ่งที่ชอบดู - ใครเห็นดีก็ว่าดีด้วย ใครเห็นไม่ดี ก็ไม่ดี ตามไปด้วย สนุกตามเขา เบื่อตามเขา

ด้านมืด - มีแต่ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เป็นเรื่องเป็นราว ช่างสงสัย เข้าใจอะไรยาก

กรรมฐานที่เหมาะ - อานาปาณสติ

โมหจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี หม่นเหมือนน้ำล้างเนื้อ

ลักษณะของผู้ที่หนักในวิตกจริต

๑. พูดมาก พล่าม พูดไปเรื่อย ชอบเล่นมุข


๒. ชอบคลุกคลีในหมู่คณะ งานสังสรรค์
๓. ไม่ยินดีในการประกอบกุสล
๔. มีกิจไม่มั่นคง จับจด
๕. กลางคืนเป็นควัน
๖. กลางวันเป็นเปลว (คือ คิดจะทำอะไรสักอย่างก็ฝัน แต่ไม่ได้ทำอะไร)
๗. คิดเรื่องต่าง ๆ พล่านไปต่าง ๆ นานา หาสาระไม่ได้

กิริยาอาการของคนวิตกจริต - เชื่องช้า เบลอ ๆ , เอ๋อ ๆคล้ายโมหจริต

การทำงาน - งานไม่เป็นส่ำ จับจด แต่พูดเก่ง ดีแต่พูด

อาหาร - ไม่แน่นอน อย่างไหนก็ได้

สิ่งที่ชื่นชอบและให้ความสนใจ - เห็นตามหมู่มาก

ด้านมืด - ฟุ้ งซ่าน โลเล เดี๋ยวรัก เดี๋ยวเกลียด ชอบคลุกคลี อยู่คนเดียวไม่ได้

กรรมฐานที่เหมาะสม - อานาปาณสติ

วิตกจริต น้ำเลี้ยงหัวใจย่อมมีสี เหมือนน้ำเยื่อถั่วพู

ลักษณะของผู้ที่หนักในสัทธาจริต

๑. มตฺตจาคตา บริจาคทรัพย์เป็นนิจ ชอบให้ ชอบเผื่อแผ่ ช่วยเหลือคนอื่น ใครเห็นก็เลื่อมใส อยากเข้าใกล้


๒. อริยานํ ทสฺสนกามตา ใคร่เห็นพระอริยะ ชอบพบปะคนดี ๆ ด้วยกัน หรือดีกว่า ไม่ชอบคนเลว คนไร้สาระ
คนตลก
๓. สทฺธมฺมํ โสตุกามตา ชอบฟังธรรม
๔. ปาโมชฺชพหุลตา มากด้วยความปราโมทย์ ปลื้มใจ ในสิ่งที่เป็นกุศล
๕. อสฐตา ไม่โอ้อวด
๖. อมายาวิตา ไม่มีมารยา
๗. ปสาทนีเยสุ ฐาเนสุ ปสาโท เลื่อมใสในสิ่งที่ควรเลื่อมใส

กิริยา -แช่มช้อย ละมุน ละม่อม

การทำงาน - เรียบร้อย สวยงาม เป็นระเบียบ


รสชาติที่ชอบใจ - หวาน มัน หอม

สิ่งที่ชอบดู ชอบใจ - ชอบสวยงามอย่างเรียบๆ ไม่โลดโผน

ด้านสว่าง - เบิกบานในการบุญ (ส่วนราคจริตนั้นเบิกบานต่อการได้รับความชื่นชม)

กรรมฐานที่เหมาะสม - อนุสติ ๖

ประโยชน์ของการรู้อารมณ์จริต
นักปฏิบัติควรรู้อาการของจริตที่จิตของตนคบหาสมาคมอยู่ เพราะการรู้อารมณ์จิตเป็นผลกำไรในการปฏิบัติ
เพื่อการละด้วยการเจริญสมาธิก็ตาม พิจารณาวิปัสสนาญาณก็ตาม ความสำคัญอยู่ที่การควบคุมความรู้สึกของ
อารมณ์ ถ้าขณะที่กำลังตั้งใจกำหนดจิตเพื่อเป็นสมาธิ หรือพิจารณาวิปััสสนาญาณอารมณ์จิตเกิดฟุ้ งซ่าน ก็จะได้
น้อมนำเอาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มาประคับประคองใจให้เหมาะสมเพื่อผลในสมาธิ หรือหักล้าง
ด้วยอารมณ์วิปัสสนาญาณเพื่อให้ได้ฌานสมาบัติ หรือมรรคผลนิพพาน พระธรรมเพื่อผลของสมาบัติ ท่านเรียกว่า
"สมถกรรมฐาน" มีทั้งหมด 40 อย่าง

อสุภกรรมฐาน 10
อนุสสติกรรมฐาน 10
กสิณ 10
อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1
จตุธาตุววัฏฐาน 1
พรหมวิหาร 4
อรูป 4
แบ่งกรรมฐาน 40 ให้เหมาะแก่จริต

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง ความเหมาะสมในกรรมฐานต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับอารมณ์จิตที่มี


ความข้องอยู่ในขณะนั้น ว่า เมื่อใดอารมณ์จิตของท่านผู้ใดข้องอยู่ในอารมณ์ชนิดใด ก็ให้เอากรรมฐานที่พระองค์
ทรงประทานไว้ว่าเหมาะสมกันเข้าพิจารณา หรือภาวนาแก้ไขเพื่อความผ่องใสของอารมณ์จิต เพื่อการพิจารณา
วิปัสสนาญาณ เพื่อมรรคผลนิพพานต่อไป กรรมฐาน 40 กองที่ท่านได้จำแนกไว้ เพื่อเหมาะสมกับจริตมีดังนี้

1. ราคจริต
ราคจริตนี้ กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน 10 กับกายคตนานุสสติ 1 เมื่ออารมณ์รักสวยรักงามเกิด
ขึ้นแก่อารมณ์จิต จิตข้องอยู่ในกามารมณ์เป็นปกติ ก็เอากรรมฐานนี้พิจารณาเป็นปกติ จนกว่าอารมณ์จะสงัดจาก
กามารมณ์ เห็นคนและสัตว์และสรรพวัตถุที่ชมชอบว่าสวยงดงาม กลายเป็นของน่าเกลียดโสโครกโดยกฎของ
ธรรมดา จนจิตใจไม่มั่วสุมกับความงามแล้ว ก็พิจารณาวิปัสสนาญาณโดยยกเอาขันธ์ 5 เป็นอารมณ์ ว่าไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา

2. โทสจริต
คนมักโกรธ หรือขณะนั้นมีอารมณ์โกรธพยาบาทเกิดขึ้น ท่านให้เอากรรมฐาน 8 อย่าง คือ พรหมวิหาร 4
วัณณกสิณ 4 (วัณณกสิณ 4 ได้แก่ นีลกสิณ เพ่งสีเขียว โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง ปี ตกสิณ เพ่งสีเหลือง โอทาตก
สิณ เพ่งสีขาว) ทั้ง 8 อย่างนี้เป็นกรรมฐานระงับดับโทสะ เลือกที่เหมาะสมมาเพ่งและใคร่ครวญพิจารณา
อารมณ์โทสะจะค่อย ๆ คลายตัวระงับไป

3. โมหะ และ วิตกจริต


อารมณ์ที่ตกอยู่ในอำนาจของความหลง และครุ่นคิดตัดสินใจไม่ค่อยได้นั้น ท่านให้เจริญอานาปานานุสสติ
กรรมฐานอย่างเดียว อารมณ์ความลุ่มหลงฟุ้ งซ่านก็จะสงบระงับไป

4. สัทธาจริต
ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ ท่านให้เจริญกรรมฐาน 6 อย่าง คือ อนุสสติ 6 ประการ คือ

พุทธานุสสติกรรมฐาน
ธัมมานุสสติกรรมฐาน
สังฆานุสสติกรรมฐาน
สีลานุสสติกรรมฐาน
จาคานุสสติกรรมฐาน
เทวตานุสสติกรรมฐาน

ทั้ง 6 อย่างนี้จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
5. พุทธิจริต
คนเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ มีปฏิภาณไหวพริบดี ท่านให้เจริญกรรมฐาน 4 อย่าง

มรณานุสสติกรรมฐาน
อุปมานุสสติกรรมฐาน
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัฏฐาน
กรรมฐานที่เหมาะแก่จริตทั้ง 6 ท่านจัดไว้เป็น 5 หมวด รวมกรรมฐานที่เหมาะแก่จริต โดยเฉพาะจริตนั้น
ๆ รวม 30 อย่าง หรือ 30 กอง ที่เหลืออีก 10 กอง คือ อรูป 4 ภูตกสิณ 4(ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ
อาโปกสิณ) และอาโลกกสิณ 1 อากาสกสิณ 1 รวมเป็น 10 อย่าง ซึ่งเป็นกรรมฐานเหมาะแก่จริตทุกอย่าง แต่
สำหรับอรูปนั้น ถ้าใครต้องการเจริญ ท่านให้เจริญฌานในกสิณให้ได้ ฌาน 4 เสียก่อน แล้วจึงเจริญในอรูปได้ มิ
ฉะนั้นแล้วจะไม่เป็นผลสำหรับผู้ฝึกสมาธิใหม่เพราะอรูปละเอียดเกินไป

คำว่าจริยา หมายถึงลักษณะอันเป็นพื้นฐานของจิต หรือนิสัยอันเป็นพื้นเพของบุคคลแต่ละคน

คำว่าจริต ใช้เรียกบุคคลที่มีจริยาอย่างนั้นๆ เช่น คนมีโทสะจริยา เรียกว่า โทสะจริต

[แก้ไข] จริต 6 ประเภท


คำว่า "จริต" ในที่นี้หมายถึงสภาวะจิตของคนตามธรรมชาติจากการแบ่งจริตมนุษย์เป็น ๖ ประเภทใหญ่ๆ
1.ราคะจริต คือสภาวะจิตที่หลงติดในรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัสจนเป็นอารมณ์

2.โทสะจริต หรือสภาวะจิตที่โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย เพียงพูดผิดสักคำ ได้เห็นดีกัน

3.โมหะจริต หรือจิตที่มักอยู่ในสภาพง่วงเหงาหาวนอนหรือซึมเศร้าเป็นอาจิณ

4.วิตกจริต หรือสภาวะจิตที่กังวล สับสนและวุ่นวายฟุ้ งซ่านแทบทุกลมหายใจ

5.ศรัทธาจริต คือสภาวะจิตที่มีปรัชญาหรือหลักการของตัวเองและพยายามผลักดันให้ตัวเองและผู้อื่นบรรลุถึงจุด
หมายนั้น

6.พุทธิจริต คือสภาวะจิตที่เน้นการใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง คิดหาเหตุหาผลมาแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต ทั้งชีวิต


ส่วนตัว ชีวิตการทำงาน รวมทั้ง มีความสนใจ เรื่องการยกระดับและพัฒนาจิตวิญญาณ

[แก้ไข] ราคะจริต
ลักษณะ บุคลิกดี มีมาด น้ำเสียงนุ่มนวลไพเราะ ติดในความสวย ความงาม ความหอมความไพเราะ ความอร่อย
ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการเพ้อฝัน จุดแข็ง มีความประณีตอ่อนไหว และละเอียดอ่อน ช่างสังเกตุเก็บข้อมูลเก่ง
มีบุคลิกหน้าตาเป็นที่ชอบและชื่นชมของทุกคนที่เห็น วาจาไพเราะ เข้าได้กับทุกคน เก่งในการประสานงาน การ
ประชาสัมพันธ์และงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ

จุดอ่อน ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก ไม่มีเป้ าหมายในชีวิต ไม่มีความเป็นผู้นำ ขี้เกรงใจคน ขาดหลักการ มุ่ง


แต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง 5 ของตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ชอบพูดคำหวานแต่อาจไม่จริง อารมณ์
รุนแรงช่างอิจฉา ริษยา ชอบปรุงแต่ง

วิธีแก้ไข พิจารณาโทษของจิตที่ขาดสมาธิ ฝึกพลังจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง หาเป้ าหมายที่แน่ชัดในชีวิต พิจารณาสิ่ง


ปฏิกูลต่างๆของร่างกายมนุษย์เพื่อลดการติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

[แก้ไข] โทสะจริต
ลักษณะ จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด พูดตรงไปตรงมา ชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้า
ระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์ แต่งตัวประณีต สะอาดสะอ้าน เดินเร็ว ตรงแน่ว

จุดแข็ง อุทิศตัวทุ่มเทให้กับการงาน มีระเบียบวินัยสูง ตรงเวลา วิเคราะห์เก่ง มองอะไรตรงไปตรงมา มีความ


จริงใจต่อผู้อื่นสามารถพึ่งพาได้ พูดคำไหนคำนั้น ไม่ค่อยโลภ

จุดอ่อน จิตขุ่นมัว ร้อนรุ่ม ไม่มีความเมตตา ไม่เป็นที่น่าคบค้าสมาคมของคนอื่น และไม่มีบารมี ไม่มีความคิด


สร้างสรรค์ สร้างวจีกรรมเป็นประจำ มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย

วิธีแก้ไข สังเกตดูอารมณ์ตัวเองเป็นประจำ เจริญเมตตาให้มากๆ คิดก่อนพูดนานๆ และพูดทีละคำ ฟังทีละเสียง


อย่าไปจริงจังกับโลกมากนัก เปิ ดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ พิจารณาโทษของความโกรธต่อความเสื่อมโทรมของ
ร่างกาย

[แก้ไข] โมหะจริต
ลักษณะ ง่วงๆ ซึมๆ เบื่อๆ เซ็งๆ ดวงตาดูเศร้าๆ ซึ้งๆ พูดจาเบาๆ นุ่มนวลอ่อนโยน ยิ้มง่าย อารมณ์ ไม่ค่อยเสีย
ไม่ค่อยโกรธใคร ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เดินแบบขาดจุดมุ้งหมาย ไร้ความมั่นคง

จุดแข็ง ไม่ฟุ้ งซ่าน เข้าใจอะไรได้ง่ายและชัดเจน มีความรู้สึก มักตัดสินใจอะไรได้ถูกต้อง ทำงานเก่ง โดยเฉพาะ


งานประจำ ไม่ค่อยทุกข์หรือเครียดมากนัก เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบ ไม่ทำร้ายใคร

จุดอ่อน ไม่มีความมั่นใจ มองตัวเองต่ำกว่าความเป็นจริง โทษตัวเองเสมอ หมกมุ่นแต่เรื่องตัวเองไม่สนใจคนอื่น


ไม่จัดระบบความคิด ทำให้เสมือนไม่มีความรู้ ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่ชอบเป็นจุดเด่น สมาธิอ่อนและสั้นเบื่อง่าย
อารมณ์อ่อนไหวง่ายใจน้อย

วิธีแก้ไข ตั้งเป้ าหมายชีวิตให้ชัดเจน ฝึกสมาธิสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง ให้จิตออกจากอารมณ์ โดยจับการ


เคลื่อนไหวของร่างกาย หรือเล่นกีฬา แสวงหาความรู้ และต้องจัดระบบความรู้ความคิด สร้างความแปลกใหม่ให้
กับชีวิต อย่าทำอะไรซ้ำซาก

[แก้ไข] วิตกจริต
ลักษณะ พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ ความคิดพวยพุ่ง ฟุ้ งซ่านอยู่ในโลกความคิด ไม่ใช่โลกความจริง มองโลกในแง่
ร้ายว่าคนอื่นจะเอาเปรียบกลั่นแกล้งเรา หน้าจะบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม เจ้ากี้เจ้าการ อัตตาสูงคิดว่าตัวเองเก่ง อยากรู้อยาก
เห็นไปทุกเรื่อง ผัดวันประกันพรุ่ง

จุดแข็ง เป็นนักคิดระดับเยี่ยมยอด มองอะไรทะลุปรุโปร่งหลายชั้น เป็นนักพูดที่เก่ง จูงใจคน เป็นผู้นำหลาย


วงการ ละเอียดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด เห็นความผิดเล็กความผิดน้อยที่คนอื่นไม่เห็น

จุดอ่อน มองจุดเล็กลืมภาพใหญ่ เปลี่ยนแปลงความคิดตลอดเวลา จุดยืนกลับไปกลับมา ไม่รักษาสัญญา มีแต่


ความคิด ไม่มีความรู้สึก ไม่มี วิจารณญาณ ลังแล มักตัดสินใจผิดพลาด มักทะเลาวิวาท ทำร้ายจิตใจ เอารัดเอา
เปรียบผู้อื่น มีความทุกข์ เพราะเห็นแต่ปัญหา แต่หาทางแก้ไม่ได้

วิธีแก้ไข เลือกความคิด อย่าให้ความคิดลากไป ฝึกสมาธิแบบอานาปานัสสติ เพื่อสงบสติ อารมณ์ เลิกอกุศลจิต


คลายจากฟุ้ งซ่าน สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา ฝึกมองภาพรวม คิดให้ครบวงจร หัดมองโลกในแง่ดี พัฒนา
สมองด้านขวา

[แก้ไข] ศรัทธาจริต
ลักษณะ ยึดมั่นอย่างแรงกล้าในบุคคล หลักการหรือความเชื่อถือและความศรัทธา คิดว่าตัวเองเป็นคนดี น่า
ศรัทธา ประเสริฐ กว่าคนอื่น เป็นคนจริงจัง พูดมีหลักการ

จุดแข็ง มีพลังจิตสูงและเข้มแข็งพร้อมที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่น ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมไปสู่สภาพที่ดี


กว่าเดิม มีพลังขับเคลื่อนมหาศาล มีลักษณะความเป็นผู้นำ

จุดอ่อน หูเบา ความเชื่ออยู่เหนือเหตุผล ถูกหลอกได้ง่าย ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งลดน้อยลง จิตใจคับแคบ ไม่


ยอมรับความคิดที่แตกต่าง ไม่ประนีประนอม มองโลกเป็นขาวและดำ เพื่อให้บรรลุเป้ าหมายที่ตนคิดว่าถูกต้อง
สามารถทำได้ทุกอย่างแม้แต่ใช้ความรุนแรง

วิธีแก้ไข นึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหนือความเชื่อ ใช้ปัญญานำทาง และใช้ศรัทธาขับเคลื่อน เปิ ด


ใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ ลดความยึดมั่นในตัวบุคคลหรืออุดมการณ์ ลดความยึดมั่นในตัวกูของกู

[แก้ไข] พุทธิจริต
ลักษณะ คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล มองเรื่องต่างๆ ตามสภาพความเป็นจริงไม่ปรุงแต่ง พร้อมรับความคิดที่แตกต่าง
ไปจากของตนเอง ใฝ่ เรียนรู้ ช่างสังเกตุ มีความเมตตาไม่เอาเปรียบคน หน้าตาผ่องใส ตาเป็นประกาย ไม่ทุกข์

จุดแข็ง สามารถเห็นเหตุเห็นผลได้ชัดเจน และรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างถูกต้อง อัตตาต่ำ เปิ ดใจรับข้อ


เท็จจริง จิตอยู่ในปัจจุบัน ไม่จมปลักในอดีต และไม่กังวลในสิ่งที่จะเกิดในอนาคต พัฒนาปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ
เป็นกัลยาณมิตร

จุดอ่อน มีความเฉื่อย ไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาณ ชีวิตราบรื่นมาตลอด หากต้องเผชิญพลังด้านลบ อาจเอาตัว


ไม่รอด ไม่มีความเป็นผู้นำ จิตไม่มีพลังพอที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตาม วิธีแก้ไข้ ถามตัวเองว่าพอใจแล้วหรือกับ
สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพิ่มพลังสติสมาธิ พัฒนาจิตใจให้มีพลังขับเคลื่อนที่แรงขึ้น เพิ่มความเมตา
พยายามทำให้ประโยชน์ให้กับสังคมมากขึ้น
กรรมฐาน 40 วิธี

แบ่งออกเป็ น 7 หมวด ดังนี้

หมวดกสิน ๑๐
เป็ นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง

๑. ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๔. วาโยกสิน เพ่งลม
๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
๖. ปี ตกสิน เพ่งสีเหลือง
๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
๘. โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
๙. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๑๐. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ

หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐
เป็ นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด

๑. อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็ นต้นไป มีร่างกาย


บวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
๒. วินีลกอสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว
เป็ นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มี
น้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก

๓. วิปุพพกอสุภกรรมฐาน เป็ นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็ นปกติ


๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็ นสองท่อนในท่ามกลางกาย
๕. วิกขายิตกอสุภ เป็ นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
๖. วิกขิตตกอสุภ เป็ นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา
ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
๗. หตวิกขิตตกอสุภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็ นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
๘. โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็ นปกติ
๙. ปุฬุวกอสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
๑๐. อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก

อนุสสติกรรมฐาน ๑๐
อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็ นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่น
ได้รวดเร็ว
๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็ นอารมณ์
๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็ นอารมณ์
๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็ นอารมณ์
๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็ นอารมณ์
๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็ นอารมณ์
๖. เทวตานุสสติเป็ นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็ นอารมณ์
๗. มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็ นอารมณ์
๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต
๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต
๑๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็ นอารมณ์

หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา

๓๑. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็ นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่


บริโภคเพื่อสนองกิเลส

หมวดจตุธาตุววัฏฐาน

๓๒. จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ

หมวดพรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็ นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ
พรหมวิหาร ๔ จึงแปลว่า คุณธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็ นผู้ประเสริฐ ได้แก่

๓๓. เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มี


อารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
๓๔. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
๓๕. มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
๓๖. อุเบกขา มีอารมณ์เป็ นกลางวางเฉย

หมวดอรูปฌาณ ๔
เป็ นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็ นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ
๔ ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็ นอุเบกขารมณ์

๓๗. อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็ นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็ นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้


ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็ นอุเบกขารมณ์
๓๘. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิต
เท่านั้น จนจิตเป็ นอุเบกขารมณ์
๓๙. อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสัก
หน่อยหนึ่งก็เป็ นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็ นอุเบกขารมณ์
๔๐. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่
รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความ
สนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็ นอุเบกขารมณ์
หลักกาลามสูตร 10 อย่าง
หลักกาลามสูตร คือ หลักในการพิจารณา 10 อย่าง ได้แก่

1. อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยการได้ยินได้ฟังตามกันมา

2. อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยการถือตามถ้อยคำสืบๆ กันมา

3. อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยการตื่นข่าวลือ

4. อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยการอ้างตำรา

5. อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยตรรกหรือเหตุผล

6. อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยการคาดคะเน

7. อย่าเพิ่งเชื่อถือด้วยการคิดตรองอาการที่ปรากฎ

8. อย่าเพิ่งเชื่อถือเพราะเข้ากับความเห็นของตน

9. อย่าเพิ่งเชื่อถือเพราะผู้พูดมีรูปลักษณะน่าเชื่อถือ

10.อย่าเพิ่งเชื่อถือเพราะเห็นว่าสมณะนี้หรือผู้นี้ เป็นครูของเรา

ความหมาย ของกาลามสูตร อย่าเข้าใจผิดว่าให้ปฏิเสธก่อน คือไม่เชื่อไว้ก่อน

แต่หมายถึง ให้ทำใจเป็นกลางๆ ไว้ก่อน อย่าให้ตกไปในความเชื่อ หรือไม่เชื่อ

ก่อนที่จะตรวจสอบหลักฐานเหตุผลทุกอย่างโดยถี่ถ้วน แล้วค่อยตัดสินใจภายหลัง ว่าจะเชื่อหรือไม่

You might also like