You are on page 1of 18

เรื่อง การใช้สื่อการเรียนการสอนในคาบเรียน

ด้วย
แอปพลิเคชัน Desmos

จัดทำโดย
นายจตุพล มงคลนาค 66040018

นายณัฐวุฒิ สุขสมจิตร์ 66040271

นายธนภัทร บุญกว้าง 66040274

นายวัชรวิชญ์ นาคนรเศรษฐ์ 66040283


นายอาชวิน กองทอง 66040290

เสนอ

อาจารย์ ดร.คงรัฐ นวลแปง

รายงานนี้เป็ นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชา
สื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566
มหาวิทยาลัยบูรพา
คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็ นส่วนหนึ่งของวิชา สื่อและนวัตกรรมการเรียน


การสอนคณิตศาสตร์ เพื่อเป็ นการแนะนำการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชัน
Desmos สำหรับการจัดการเรียนการสอนใน 1 คาบเรียน

คณะผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็ นประโยชน์กับผู้อ่านอยู่ หากมีข้อ


แนะนำหรือข้อมูลผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัย
มา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ

เรื่อง หน้

Desmos คืออะไร 1

ตัวอย่างการใช้งานแอปพลิเคชัน 2

ตัวอย่างการหาคำตอบของสมการพหุนาม 3

ระบบพิกัดเชิงขั้ว 5

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 6

มาตรฐานกานเรียนรู้ 6

ตัวชี้วัด 6

สาระสำคัญ 6

จุดประสงค์การเรียนรู้ 6

กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 7

ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน 7

ขั้นที่ 2 นำเสนอปั ญหาและทำความเข้าใจ


7
ปั ญหา
ขั้นที่ 3 สรุปองค์ความรู้ 8

บรรณานุกรม 9
สารบัญภาพ


เรื่อง
น้า
ภาพที่ ภาพ หน้าแรกของ Desmos และการใช้งานเบื้องต้น 1
1

ภาพที่ ภาพ สมการวงรี 1 2


2
ภาพที่ ภาพ สมการวงรี 2 2
3

ภาพที่ ภาพสมการวงรีและฟั งก์ชันพาราโบลา 3


4

ภาพที่ ภาพสมการพหุนาม 3
5

ภาพที่ ภาพสมการพหุนาม เมื่อซูมจุดตัดแกน x เข้าใกล้มาก ๆ 4


6

ภาพที่ ภาพระบบพิกัดเชิงขั้วบนแอปพลิเคชัน Desmos 5


7
1

Desmos คืออะไร

Desmos เป็ นซอฟต์แวร์ทางคณิตศาสตร์แบบไดนามิกอีกแบบหนึ่ง ที่


สามารถให้ครูและนักเรียนสามารถใช้ผ่านเว็บไซต์ หรือใช้ผ่านแอปพลิเคชัน
ในสมาร์ตโฟน ทั้งในระบบปฏิบัติการ ios และระบบปฏิบัติการ Android เป็ น

แอปพลิเคชันที่เปิ ดให้ใช้งานฟรี สามารถคำนวณค่า เขียนกราฟจากสมการ


ต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างบทเรียนผ่าน Desmos Activity Builder ให้ผู้

เรียนใช้เรียนออนไลน์ได้ และเป็ นชุมชนการเรียนรู้ (learning Community) ที่ให้ผู้

ใช้งานโปรแกรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนทุกคน
เรียนรู้คณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (วุฒิชัย
ภูดี, 2564, น.29)

มีฟั งก์ชัน การตั้งค่า 2


1
สำเร็จรูป ระบบพิกัดฉาก
พร้อมกราฟใน

สำหรับย้อนกลับ 3

เปิ ด / ปิ ดแถบพิมพ์ 4

ช่องสำหรับ 5

6
คลิกเพื่อเปิ ด
หน้าต่างจะมี
8 แป้ นพิมพ์ตัว
ฟั งก์ชันพร้อมให้
อักษร
ขึ้นสมการ 7
ต่าง ๆ สำหรับ
2

ตัวอย่างการใช้งานแอปพลิเคชัน
โดยบทบาทหน้าที่หลักของแอปพลิเคชัน คือ จะแสดงกราฟของความ
สัมพันธ์หรือฟั งก์ชันต่าง ๆ จากการสร้างตามนิยามทางคณิตศาสตร์ โดยจะ
ยกตัวอย่างจากการสร้างกราฟวงรีโดยกำหนดให้ดังนี้

“เป็ นวงรีที่จุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด ซึ่งแกนเอกอยู่บนแกน x มีความยาว


แกนเอก 6 หน่วย
และความยาวแกนโท 4 หน่วย”

จากนิยามของสมการรูปแบบมาตรฐานของวงรี คือ
โดยที่

จะได้ว่าสมการที่ต้องพิมพ์ลงไปบน Desmos คือ

และนี่คือกราฟที่ได้จากการสร้าง

ภาพที่ 2 ภาพที่ 3

ภาพสมการวงรี 1 ภาพสมการวงรี 2

จะเห็นได้ว่าตัวแอปพลิเคชันสามารถบอกจุดตัดทั้งแกน x และ y ของวงรีได้


3

โดยในทำนองเดียวกันหากนำนิ้วไปเลื่อนบริเวณเส้นกราฟที่หน้าจอจะ
สามารถระบุคู่อันดับบน
สมการวงรี
ณ ตำแหน่งนั้นได้เช่นเดียวกัน
4

ทีนี้หากลองสร้างฟั งก์ชันพาราโบลามาให้เกิดจุดตัดกับวงรีดู โดยในที่นี้จะขอ


ยกตัวอย่างด้วย จะได้ดังนี้

ภาพที่ 4

ภาพสมการวงรีและฟั งก์ชันพาราโบลา
จะเห็นได้ว่าแอปพลิเคชันนี้สามารถหาคู่อันดับร่วมของกราฟได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างการหาคำตอบของสมการพหุนาม
ตัวอย่างการใช้งานถัดมาจะพูดถึงการแก้สมการพหุนามที่มีความซับซ้อนดู
บ้าง ในที่นี่ข้อยกตัวอย่าง
การหาเซตคำตอบของสมการ

โดยขอเริ่มหาคำตอบจากการแยกตัวประกอบดังนี้

ซึ่งปั ญหาถัดมาของสมการพหุนามนี้ คือ พจน์ ที่แยกตัวประกอบ


ได้ยากแต่สามารถนำแอปพลิเคชัน Desmos มาประยุกต์ใช้ได้ โดยการพลอต
สมการ บนแอปพลิเคชัน
5

ภาพที่ 5

โดยแอปพลิเคชัน จะบอกคู่อันดับที่กราฟตัดกับ
ภาพสมการพหุนาม
Desmos แกน x มาให้
คือ คู่อันดับ และ ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สมการพหุนาม

มีเซตคำตอบคือ แต่ทว่าวิธีการนี้หากคำตอบไม่ได้เป็ นจำนวนเต็ม


จำเป็ นจะต้องพิจารณากราฟใหม่
โดยจะเห็นได้ว่าเมื่อซูมเข้าไปค่าของตอบจะเปลี่ยนไปซึ่งมีค่าลดลงกล่าวคือ
1.466 ในตอนแรกนั้นเป็ นเพียงแค่ค่าประมาณของคำตอบดังภาพ แต่หากซูม
เข้าต่อไปเรื่อย ๆ จะได้คำคำตอบที่มีค่าเล็กลงเรื่อย ๆ เช่นกัน

ภาพที่ 6

ภาพสมการพหุนาม เมื่อซูมจุดตัดแกน x

เข้าใกล้มาก ๆ
6

ระบบพิกัดเชิงขั้ว
นอกจากนี้ตัวแอปพลิเคชันยังสามารถ เปลี่ยนจากระบบพิกัดฉากไปเป็ น
ระบบพิกัดเชิงขั้วโดยเข้าถึงได้ดังนี้
1. เข้าไปที่ สัญลักษณ์ประแจทางขวามือฝั่ งบน หรือ หมายเลขสองที่
ภาพหน้าแรกของ Desmos และการใช้งานเบื้องต้น (ภาพที่1)

2. ไปที่หัวข้อ กริด (Grid) และเลือกสัญลักษณ์

ภาพที่ 7

ภาพระบบพิกัดเชิงขั้วบนแอปพลิเคชัน
Desmos

สุดท้ายนี้สำหรับแอปพลิเคชัน Desmos สามารถประยุกต์ไปยังเรื่องต่าง

ๆ ที่น่าสนใจได้อีกมากมายไม่ว่าจะเป็ นการศึกษาเรื่อง สถิติการแจกแจงของ


ข้อมูล ฟั งก์ชันตรีโกณมิติ อนุพันธ์ อินทิกรัล
7

การกระจายของอนุกรมเทย์เลอร์ของ ฯลฯ
8

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน
รหัสวิชา ค 23102 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ภาค
เรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
เรื่อง ลักษณะคำตอบของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
จำนวน 1 คาบ

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้นิพจน์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์
หรือช่วยแก้ปั ญหาที่กำหนดให้

ตัวชี้วัด
ค 1.3 ม.3/3 ประยุกต์ใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรในการแก้
ปั ญหาคณิตศาสตร์

สาระสำคัญ
ลักษณะคำตอบของระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปร มี 3 แบบ คือ
1) เมื่อสมการเส้นตรงสองเส้นตัดกันเพียงจุดเดียว แสดงว่าระบบ
สมการเชิงเส้นสองตัวแปรนั้น
มีหนึ่งคำตอบ
2) เมื่อสมการเส้นตรงสองเส้นทับกันเป็ นหรือเป็ นเส้นตรง
เดียวกัน แสดงว่าระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรนั้นมีคำตอบ
มากมายไม่จำกัด
9

3) เมื่อสมการเส้นตรงสองเส้นขนานกัน ซึ่งไม่ตัดกัน ทำให้ไม่มี


จุดตัด แสดงว่า
ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรนั้นไม่มีคำตอบ

จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อเรียนจบเรื่องนี้แล้ว
ด้านความรู้ : นักเรียนสามารถ
1. อธิบายลักษณะคำตอบของระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรจากการ

สังเกตกราฟหรือระบบสมการได้

กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
สื่อการเรียนรู้ : แอปพลิเคชัน Desmos

1.1) ครูกล่าวทักทายนักเรียนพร้อมทบทวนเนื้อหาในชั่วโมงที่
ผ่านมา
1.2) ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ แล้วครู
อธิบายให้นักเรียนเข้าใจวิธีการเรียน
2) ขั้นนำเสนอปั ญหาและทำความเข้าใจปั ญหา
2.1) ครูพานักเรียนศึกษาระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
บนแอป
พลิเคชัน Desmos โดยพิมพ์สมการดังกล่าวบนแอปพลิเคชัน
10

2.2) ให้นักเรียนได้ลองใช้งานแถบเลื่อน a, b และ c ตามความ

สนใจ
2.3) คุณครูชี้แนะให้เพิ่มสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
2.4) ครูตั้งคำถามปลายเปิ ดให้แก่นักเรียน ว่าหากต้องการให้
เส้นตรง
ตัดกับ เส้นตรง ค่า และ ควรเป็ นเท่าใดบ้าง โดยจะมีการ
เรียกออกมาเขียนค่าทั้งสามที่หน้าชั้นเรียน
2.5) ครูตั้งคำถามปลายเปิ ดให้แก่นักเรียน ว่าหากต้องการให้
เส้นตรง
ขนานกับเส้นตรง ค่า และ ควรเป็ นเท่าใดบ้าง โดยจะมี
การเรียกออกมาเขียนค่าทั้งสามที่หน้าชั้นเรียน
2.6) ครูตั้งคำถามปลายเปิ ดให้แก่นักเรียน ว่าหากต้องการให้
เส้นตรง
ทับกันสนิทพอดีกับเส้นตรง ค่า และ ควรเป็ นเท่าใดบ้าง
โดยจะมีการเรียกออกมาเขียนค่าทั้งสามที่หน้าชั้นเรียน
2.7) ให้เวลานักเรียนได้คิดหาความสัมพันธ์ของค่า และ
ที่ทำให้เส้นตรง ตัดกัน
ขนานกัน และทับกันสนิทพอดี
11

3) ขั้นสรุปองค์ความรู้
3.1) ครูสุ่มเรียกนักเรียน 5 คนให้บอกความสัมพันธ์ของค่าค่า
และ
ที่ทำให้เส้นตรงเหล่านั้นตัดกัน
3.2) ครูสุ่มเรียกนักเรียน 5 คนให้บอกความสัมพันธ์ของค่าค่า
และ
ที่ทำให้เส้นตรงเหล่านั้นขนานกัน
3.3) ครูสุ่มเรียกนักเรียน 5 คนให้บอกความสัมพันธ์ของค่าค่า
และ
ที่ทำให้เส้นตรงเหล่านั้นทับกันสนิท
3.4) ครูร่วมสรุปองค์ความรู้กับนักเรียนที่ได้เรียนไปในชั่วโมง
ดังนี้
ลักษณะคำตอบของระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปร มี 3 แบบ คือ
1) เมื่อสมการเส้นตรงสองเส้นตัดกันเพียงจุดเดียว แสดงว่า
ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร
นั้นมีหนึ่งคำตอบ
2) เมื่อสมการเส้นตรงสองเส้นขนานกัน ซึ่งไม่ตัดกัน ทำให้
ไม่มีจุดตัด แสดงว่า
ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรนั้นไม่มีคำตอบ ซึ่งสามารถ
สังเกตได้จากที่ทั้งสองสมการมีสัมประสิทธิ์ที่เท่ากันแต่ค่า
คงตัวของทั้งสองสมการนั้นไม่เท่า
3) เมื่อสมการเส้นตรงสองเส้นทับกันสนิทหรือเป็ นเส้นตรง
เดียวกัน แสดงว่าระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปรนั้นมีคำ
12

ตอบมากมายไม่จำกัด ซึ่งทั้งนี้สามารถสังเกตได้ โดย


สัมประสิทธิ์และค่าคงที่ของสมการใดสมการหนึ่งสามารถ
คูณหรือหารค่าคงที่ค่าหนึ่ง
ทั้งสองข้างของสมการแล้วสามารถเขียนอยู่ในรูปสมการ
เส้นตรงอีกเส้นได้ จะสามารถสรุปได้ว่าสมการเส้นตรงสอง
เส้นนั้นทับกันสนิทหรือเป็ นเส้นตรงเดียวกัน
13

บรรณานุกรม

วุฒิชัย ภูดี, 2563. การสอนคณิตศาสตร์ในยุคดิจิทัลด้วย Desmos Classroom


Activities.

นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 244 พฤษภาคม - มิถุนายน 2563, 29.


https://emagazine.ipst.ac.th/224/29/#zoom=z

You might also like