You are on page 1of 16

ชุดวิชาที่ 3 : การวางแผนการประกันภัย

โจทย์แนวข้อสอบโจทย์ ชุดที่ 1 ของ บทที่ 3 การประกันภัย และ บทที่ 6 การประกันวินาศภัย


บทที่ 3 การประกันภัย
1. คํากล่าวที่ว่า สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทน ถูกต้องหรือไม่
ก. ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นหน้าที่ฝ่ายเดียวของผู้รับประกันภัยที่จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทน
ข. ถูกต้อง เพราะผู้รับประกันภัยมีหน้าที่จ่ายค่าสินไหมทดแทน และผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่จ่ายเบี้ยประกันภัย
ค. ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นสัญญาฝ่ายเดียว
ง. ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นสัญญาระหว่างผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์
2. สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อใด
ก. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัทประกันภัยแล้ว
ข. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์และชําระเบี้ย ให้กับบริษัทแล้ว
ค. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชําระเบี้ย ประกันภัยให้แก่บริษทั ประกันภัยแล้ว
ง. เมื่อบริษัทประกันภัยตกลงรับประกันภัย แม้มิได้มลี ายลักษณ์อักษร
3. หากผู้เอาประกันภัยทําประกันภัยมาแล้วต้องการยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย จะได้รับการคืนเบี้ย จากบริษัท
ประกันภัยอย่างไร
ก. คืนตามอัตราที่ผู้รับประกันภัยกําหนด
ข. คืนตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้น หรือตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์
ค. คืนโดยหักเบี้ยประกันสําหรับระยะเวลาที$กรมธรรม์มผี ลบังคับแล้วออกตามส่วน
ง. คืนตามการเฉลี่ย
4. การเสี่ยงภัยแท้จริง (Pure Risk) ได้แก่
ก. การเสี่ยงภัยจากน้ําท่วมบ้าน ข. การเสี่ยงภัยจากการค้าขายขาดทุนของพ่อค้า
ค. การเสี่ยงภัยจากการพนัน ง. การเสี่ยงภัยจากการซื้อขายหุ้น
5. นายเก่งมีบ้านไม้รวมที่ดินราคา 500,000 บาท ทําประกันอัคคีภัยโดยได้ระบุจํานวนเงินเอาประกันภัยไว้ 750,000
บาท จํานวนเงินเอาประกันภัยที่นายเก่งระบุไว้ถือว่า
ก. ต่ํากว่ามูลค่าที่แท้จริง ข. สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
ค. ใกล้เคียงมูลค่าที่แท้จริง ง. ผิดทุกข้อ
6. ข้อใดไม่ได้จัดอยู่ในความหมายของการเสี่ยงภัย (RISK)
ก. เป็นภัยที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ข. เป็นภัยที่เกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้
ค. ความเป็นไปได้ของความสูญเสียหรือเสียหาย ง. มหันตภัย
7. สมศรีปลูกบ้านซึ่งสร้างด้วยไม้อยู่ในชุมชนซอยราชวิถี 6 และได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ในกรณีเช่นนี้ สภาวะภัย (Hazard)
คืออะไร
ก. บ้านตั้ง อยู่ในชุมชนซอยราชวิถี 6 ข. โอกาสที่จะเกิดเพลิงไหม้
ค. การเกิดเพลิงไหม้ ง. ถูกทุกข้อ
8. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของการประกันภัย
ก. ทําให้เกิดการออมทรัพย์ ข. ทําให้เกิดกําไร
ค. ช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ง. ก่อให้เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ
9. ข้อใดแสดงได้ว่าผู้เอาประกันภัยมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยของตน
ก. ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้เช่าบ้านได้ทําประกันภัยเฟอร์นิเจอร์และเครือ่ งใช้ไฟฟ้า
ข. ผู้เอาประกันภัยนํารถยนต์ที่ตนเช่าซื้อไปทําประกัน
ค. ผู้เอาประกันภัยทําประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลของบุตรที่ยังไม่บรรลุนติ ิภาวะ
ง. ถูกทุกข้อ
10. ข้อใดหมายถึงผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย
ก. เจ้าของทรัพย์สิน ข. ผู้ให้เช่าซื้อ
ค. ผู้ครอบครองทรัพย์ตามสัญญาเช่าซื้อ ง. ถูกทุกข้อ
11. เหตุการณ์ใดที่บริษัทประกันภัยมักกําหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยและจะไม่คุ้มครองความเสียหาย
ก. ภัยสงคราม ข. ภัยจราจร
ค. ภัยจากการปฏิบัติงาน ง. ถูกทุกข้อ
12. วิธีการใดไม่ถือว่าเป็นการป้องกันการเกิดภัย (Prevention)
ก. การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ไว้ในปั้มน้ํามัน ข. การดับเพลิงเมื่อเกิดไฟไหม้
ค. การตรวจสอบสภาพรถก่อนออกเดินทาง ง. การติดตั้ง เครื่องตัดไฟอัตโนมัติไว้ในโรงงาน
13. ภัยใดต่อไปนี้ที่เกิดจากความเสียหายทางเศรษฐกิจ (Economic Perils หรือ Business Perils)
ก. ภาวะค่าเงินบาทลอยตัว ข. ธุรกิจล้มละลาย
ค. ภาวะเงินเฟ้อ ง. ถูกทุกข้อ
14. การจัดการเสี่ยงภัยแบบใดที่เป็นความหมายของการประกันภัย
ก. การลดความเสี่ยงภัย ข. การโอนความเสี่ยงภัย
ค. การรับความเสี่ยงภัยไว้เอง ง. การหลีกเลีย่ งความเสี่ยงภัย
15. หลักการเฉลี่ยจะใช้ได้ในกรณีใดบ้าง
ก. มีกรมธรรม์ประกันภัยสองฉบับขึ้น ไป ข. คุ้มครองวัตถุที่เอาประกันภัยชนิดเดียวกัน
ค. คุ้มครองภัยชนิดเดียวกัน ง. ถูกทุกข้อ
16. ข้อใดพูดถึงความหมายของคําว่า “สภาวะภัย (Hazard)” ที่ถูกต้อง
ก. สภาพหรือเงื่อนไขที่ทําให้ภาวะความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้นหรือลดน้อยลง
ข. สภาพหรือเงื่อนไขที่ทําให้ภาวะความเสี่ยงภัยลดน้อยลง
ค. สภาพหรือเงื่อนไขที่ทําให้ภาวะความเสี่ยงภัยคงที่
ง. สภาพหรือเงื่อนไขที่ทําให้ภาวะความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น
17. ลักษณะของการเสี่ยงภัยที่จะรับประกันภัยได้ จะต้องมี
ก. โอกาสที่จะเกิดความเสียหายสามารถคาดคะเนหรือคํานวณได้
ข. เหตุการณ์ทจี่ ะเกิดความเสียหายในขณะใดขณะหนึ่ง
ค. ความเสียหายต้องเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ
ง. ถูกทุกข้อ

จงข้อข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคําถามข้อง 18-20


นายอํานาจถูกฟ้าผ่าในขณะทีก่ ําลังเดินอยู่กลางทุ่งโล่งขณะฝนตก โดยที่ได้ใส่สร้อยคอทองคําหนัก 2 บาทออกไปด้วย
18. จากเหตุการณ์ข้างต้น ตัวภัย (Peril) ในกรณีนี้ได้แก่
ก. โอกาสที่จะเกิดฟ้าผ่า ข. ฟ้าผ่า
ค. นายอํานาจ ง. การใส่สร้อยคอทองคํา
19. โอกาสที่นายอํานาจจะถูกฟ้าผ่าถือเป็น...
ก. ตัวภัย (Peril) ข. การเสี่ยงภัย (Risk)
ค. สภาวะภัย (Hazard) ง. ความเสียหาย (Loss)
20. ข้อใดมิใช่สภาวะภัย (Hazard)
ก. นายอํานาจเดินอยู่กลางทุ่งโล่ง ข. นายอํานาจเดินอยู่ขณะฝนตก
ค. นายอํานาจใส่สร้อยคอทองคําเดินอยู่ ง. นายอํานาจถูกฟ้าผ่า
21. นายประสิทธิ์สูบบุหรี่และเผลอหลับไปจนทําให้เกิดไฟไหม้บ้านตนเองและเพื่อนบ้านใกล้เคียง สภาวะภัยเช่นนี้เรียกว่า
เป็นสภาวะภัยแบบใด
ก. สภาวะภัยทางกายภาพ (Physical Hazard) ข. สภาวะภัยทางศีลธรรม (Moral Hazard)
ค. สภาวะภัยทางอุปนิสัย (Morale Hazard) ง. ไม่มีข้อใดถูก
22. ข้อใดเป็นสภาวะภัยทางศีลธรรม (Moral Hazard)
ก. เสียบปลั๊ก พัดลมไว้ตลอดทั้งวันทั้งคืน ข. สภาพบ้านที่อยู่ในชุมชนแออัด
ค. สูบบุหรี่ในสถานที่ที่มีวัตถุไวไฟ ง. การเผาทรัพย์สินเอาประกันภัย
23. เมื่อมีการประกันอัคคีภัยตํ่ากว่ามูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน จะมีผลอย่างไร
ก. สัญญาประกันภัยยังคงสมบูรณ์ ข. ผู้เอาประกันภัยต้องมีส่วนประกันภัยตนเอง
ค. ต้องมีการเฉลี่ยความเสียหาย ง. ถูกทุกข้อ
24. การประกันวินาศภัยในประเทศไทย แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้
ก. 5 ประเภท ข. 4 ประเภท
ค. 3 ประเภท ง. 2 ประเภท
25. การเล่นการพนันถือเป็นการเสี่ยงภัย (Risk) ประเภทใด
ก. การเสี่ยงภัยแท้จริง (Pure Risk)
ข. การเสี่ยงภัยเก็งกําไร (Speculative Risk)
ค. การเสี่ยงภัยเบื้องต้น (Primary Risk)
ง. การเสี่ยงภัยเฉพาะ (Particular Risk)
26. การประกันภัยและการพนันมีลักษณะแตกต่างกันทุกประการ แต่มีลกั ษณะหนึ่งที่เหมือนกันคือ
ก. เป็นเรื่องที่ขึ้น อยู่กับเหตุการณ์อันไม่แน่นอนในอนาคต
ข. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับส่วนได้เสียเหมือนกัน
ค. เป็นเรื่องที่เสี่ยงหากําไรเหมือนกัน
ง. เป็นเรื่องที่ลดการเสี่ยงภัยเหมือนกัน
27. การประกันภัยโจรกรรม ถือเป็นการประกันวินาศภัยประเภทใด
ก. การประกันอัคคีภัย ข. การประกันภัยสินค้า
ค. การประกันภัยรถยนต์ ง. การประกันภัยเบ็ดเตล็ด
28. ลักษณะสําคัญของสัญญาประกันภัย
ก. เป็นสัญญาเพื่อการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ข. เป็นสัญญาต่างตอบแทน
ค. เป็นสัญญาที่อาศัยความซือ่ สัตย์อย่างยิ่งของคู่สัญญา
ง. ถูกทุกข้อ
29. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการประกันภัยและการพนัน
ก. การประกันภัยเป็นการเสี่ยงหากําไร แต่การพนันไม่ได้มีเจตนามุ่งหวังกําไร
ข. การประกันภัยและการพนันไม่ได้มีผลบังคับตามกฎหมาย
ค. ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย แต่ผู้เล่นการพนันไม่ต้องมีส่วนได้เสียในเรื่องที่เอาพนัน
ง. การประกันภัยและการพนันเป็นการสร้างการเสี่ยงภัยขึ้นเอง
30. ข้อใดมิใช่หลักสําคัญพื้นฐานของสัญญาประกันภัย
ก. หลักส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย ข. หลักสาเหตุใกล้ชิด
ค. หลักการจ่ายค่าสินไหมกรุณา ง. หลักการรับช่วงสิทธิ
บทที่ 6 การประกันวินาศภัย
31. กรณีที่ผู้ประสบภัยจากรถเป็นข้าราชการประสบอุบัติเหตุจากรถที่มปี ระกันตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
กับบริษัท สมโชคประกันภัย จํากัด ขอทราบว่าที่ถูกต้องแล้ว ผู้ประสบภัยรายนี้ควรใช้สิทธิในการเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น
จากที่ใด
ก. เบิกจากส่วนราชการที่สังกัด
ข. เบิกจากบริษัท สมโชคประกันภัย จํากัด
ค. เบิกจากสํานักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
ง. เบิกจากส่วนราชการหรือบริษัท สมโชคประกันภัย จํากัดแล้วแต่ความสมัครใจ
32.นายเต๋าขับรถยนต์ซึ่งทําประกันภัยตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 ไว้กับบริษัท บริการดีประกันภัย
จํากัดชนรถจักรยานที่ ด.ช.ดําขี่อยู่ข้างถนน ทําให้ด.ช.ดําได้รับบาดเจ็บสาหัสเสียค่ารักษาพยาบาลไป 100,000 บาท ด.ช.
ดําสามารถไปเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท บริการดีประกันภัย จํากัดได้หรือไม่และเรียกได้ประการใด
ก. เรียกค่ารักษาพยาบาลได้ จํานวน 100,000 บาท
ข. เรียกค่ารักษาพยาบาลได้ จํานวน 50,000 บาท
ค. เรียกค่ารักษาพยาบาลไม่ได้ เพราะรถจักรยานไม่มีประกันภัย
ง. เรียกค่ารักษาพยาบาลได้ จํานวน 15,000 บาท
33. กรณีรถ 2 คันซึ่งต่างก็จัดให้มีการประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกัน โดย
ยังไม่ทราบฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้โดยสารในรถจะขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากที่ใด
ก. จ่ายเงินเอง
ข. โดยสารรถคันใดมา ให้ยนื่ ขอรับค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยรถคันนั้น
ค. รถของคู่กรณี
ง. กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย

จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ ตอบคําถามข้อ 34-35

นายสมทรงเช่ารถยนต์จากนายสมศักดิ์ผู้เป็นเจ้าของรถมาเพื่อใช้เป็นเวลา 6 เดือน ในระยะเวลาการเช่านายสมทรงได้ขับ


รถยนต์คันดังกล่าวไปต่างจังหวัด ปรากฏว่าถูกตํารวจจับเนื่องจากรถคันดังกล่าวไม่มีประกันความเสียหายสําหรับ
ผู้ประสบภัยจากรถตามที่กฏหมายกําหนด
34. จากเหตุการณ์ข้างต้น อยากทราบว่านายสมศักดิ์ (ผู้ให้เช่า) มีความผิดหรือไม่ อย่างไร
ก. ไม่ผิด เพราะนายสมศักดิ์ไม่ได้ครอบครองรถคันดังกล่าว
ข. ไม่ผิด เพราะนายสมศักดิ์ไม่ได้ใช้รถคันดังกล่าว
ค. ผิด เพราะนายสมศักดิ์ให้เช่ารถที่ไม่มีประกันภัย
ง. ผิด เพราะนายสมศักดิ์ไม่จดั ทําประกันภัย
35. จากเหตุการณ์ข้างต้น อยากทราบว่านายสมทรง (ผู้เช่า) มีความผิดหรือไม่ อย่างไร
ก. ไม่ผิด เพราะนายสมทรงไม่ใช่เจ้าของรถ
ข. ไม่ผิด เพราะนายสมทรงไม่ทราบว่ารถคันดังกล่าวไม่มีประกันภัย
ค. ผิด เพราะนายสมทรงใช้รถยนต์คันที$ไม่ได้จัดให้มีประกันภัย ง. ผิด เพราะนายสมทรงไม่ยอมจัดทําประกันภัย
36. บริษัทประกันภัยจะปฏิเสธการจ่ายค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หาก
ปรากฏว่าอุบัติเหตุเกิดจาก
ก. การขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่ใดๆ ข. ใช้รถขนยาเสพติด
ค. การใช้โดยบุคคลของอู่ ง. การขับขี่ขณะเมาสุรา
37. นายก้าวขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งมีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ไว้กับบริษัท
ประกันภัย โดยมีนายข้าวหอมเป็นผู้ซ้อนท้าย เกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนรถยนต์ไม่ทราบหมายเลขทะเบียนซึ่งได้หลบหนีไป
เป็นเหตุให้นายข้าวหอมเสียชีวิต ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ลงความเห็นว่า รถยนต์ที่หลบหนีไปเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตาม
กฏหมาย อยากทราบว่านายข้าวหอมจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. หรือไม่
ก. ไม่ได้รับ เนือ่ งจากคู่กรณีเป็นฝ่ายผิดและหลบหนีไป
ข. ได้รับเฉพาะค่าเสียหายเบื"องต้นเป็นค่าปลงศพ 35,000 บาท
ค. ได้รับค่าปลงศพเต็มตามกรมธรรม์ประกันภัย 100,000 บาท
ง. ได้รับค่าปลงศพจํานวน 40,000 บาท เนื่องจากคู่กรณีหลบหนีไป

38. นายรุ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งได้จัดให้มีการทําประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เกิด


อุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถยนต์ซึ่งขับขี่โดยนายสามารถซึ่งรถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถฝ่าฝืนมิได้จัดให้มีการทําประกันภัย เป็น
เหตุให้นายรุ่งบาดเจ็บสาหัส กรณีดังกล่าวนายรุ่งสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้หรือไม่ อย่างไร
ก. ได้ จากบริษัทประกันภัยรถจักรยานยนต์
ข. ได้ จากนายสามารถผู้ขับขีร่ ถยนต์
ค. ได้ จากสํานักงาน คปภ.
ง. ได้ จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถยนต์
39. หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะขยายความคุ้มครองไปถึงการใช้รถยนต์นอกเขตประเทศไทย ผู้เอาประกันภัยต้องจ่าย
เบี้ยประกันภัยเพิ่มเป็นจํานวนเท่าใด
ก. จ่ายเพิ่มเดือนละ 5% ของเบี้ยประกันภัยเต็มปี
ข. จ่ายเพิ่มเดือนละ 5% แต่รวมแล้วไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยเต็มปี
ค. จ่ายเพิ่มสําหรับแต่ละประเทศ ในอัตราเดือนละ 5% ของเบี้ยประกันภัยเต็มปี
ง. ผิดหมดทุกข้อ

40. รถไฟชนรถกระบะซึ่งมีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ปรากฎว่าคนขับรถไฟและรถ


กระบะเสียชีวิต ข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ขับขี่รถกระบะเป็นฝ่ายประมาททําให้ผู้อื่นเสียชีวิต อยากทราบว่าคนขับรถไฟจะ
ได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ (ถ้าได้)ได้จากที่ใด
ก. ได้ จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
ข. ได้ จากบริษัทประกันภัยของรถกระบะ
ค. ได้ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
ง. ไม่ได้

41. นายสุวิทย์ขับขี่รถซึ่งมีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ไปประสบอุบัติเหตุที่รัฐยะโฮ


ประเทศมาเลเซียเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเบตง อยากทราบว่าค่ารักษาพยาบาลจํานวนนี้สามารถเบิกได้
หรือไม่
ก. ได้ จากบริษัทประกันภัย ข. ได้ จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย
ค. ไม่ได้ เพราะอุบัติเหตุเกิดนอกราชอาณาจักร ง. ไม่ได้ เพราะไม่มีใบขับขี่นานาชาติ

42. นายกมลเป็นเจ้าของรถยนต์และได้จัดให้มีการทําประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กับ


บริษัทประกันภัย ต่อมานายขมเพื่อนสนิทของนายกมลได้ขอยืมรถยนต์คันดังกล่าวของนายกมลไปขับขี่ประสบอุบัติเหตุ
เฉี่ยวชนนางสาวมะลิเสียชีวิตขณะเดินข้ามถนน บริษัทประกันภัยซึ่งรับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ไม่ต้องรับผิด เนื่องจากผู้ขับขี่ไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัย
ข. รับผิด เนื่องจากนํารถไปใช้โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของแล้ว
ค. ไม่ต้องรับผิด เนื่องจากบริษัทประกันภัยไม่เชื่อว่าเจ้าของรถได้ให้ความยินยอมแล้ว
ง. ไม่มีข้อใดถูก
43. นายสาขับขี่รถที่ใช้เพื่อการเกษตร (อีแต๋น) โดยมีภรรยาและบุตรโดยสารมาด้วย ขณะที่กําลังขับขี่อยู่ริมถนนสายปาก
ช่อง จังหวัดนครราชสีมาได้มีรถยนต์บรรทุก 10 ล้อขับมาด้วยความเร็วสูงได้เฉี่ยวชนรถอีแต๋นคันดังกล่าวแล้วหลบหนีไป
ไม่ทราบว่ารถบรรทุกคันดังกล่าวหมายเลขทะเบียนใด เป็นเหตุให้ภรรยาและบุตรของนายสาเสียชีวิตทันที หากข้อเท็จจริง
ปรากฏว่ารถเพื่อการเกษตรคันของนายสาดังกล่าวมีประกัน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ทายาท
ของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร (หากผลการสอบสวนพนักงานมีความเห็นว่าผู้ขับขี่รถบรรทุกเป็น
ฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย)
ก. ได้รับค่าปลงศพรายละ15,000 บาท
ข. ได้รับค่าปลงศพรายละ 35,000 บาท
ค. ได้รับค่าปลงศพรายละ 100,000 บาท
ง. ไม่ได้รับค่าปลงศพ เพราะคู่กรณีหลบหนี

จงใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคําถามข้อ 44-46

นางมาลีทําประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไว้กับบริษัท ทําดีประกันภัย จํากัด ในระหว่างระยะเวลา


เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ประสบเหตุพลิกคว่ํา ในขณะที่มีนายสมัครเป็นผู้ขับขี่ นางมาลี และนายสมมารถ
โดยสารไปด้วยเป็นเหตุให้บุคคลทั้ง 3 ได้รับบาดเจ็บ เสียค่ารักษาพยาบาล 40,000 บาท 40,000 บาท และ 80,000 บาท
ตามลําดับ

44. นายสมัครจะเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล 40,000 บาท จากบริษัท ทําดีประกันภัย จํากัดได้หรือไม่ อย่างไร


ก. กรมธรรม์คมุ้ ครองผู้ประสบภัยจากรถไม่คุ้มครองความบาดเจ็บของผู้ขับขี่ นายสมัครจึงไม่สามารถเรียกร้องค่า
รักษาพยาบาลจากบริษัท ทําดีประกันภัย จํากัดได้
ข. นายสมัครเป็นผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด จึงได้รับการชดใช้เพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นจํานวนเงิน 30,000 บาท (กม.เก่า
15,000 บาท)
ค. เนื่องจากความคุ้มครองตามกรมธรรม์คมุ้ ครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่มีข้อยกเว้นความบาดเจ็บของผู้ขับขี่ ฉะนัน้ จึง
สามารถเรียกร้องได้ทั้ง 40,000 บาท
ง. นายสมัครสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มตามจํานวนความคุ้มครองคือ 50,000 บาท
45. นางมาลีจะสามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล 40,000 บาท จากบริษัท ทําดีประกันภัย จํากัดได้หรือไม่ อย่างไร
ก. กรมธรรม์คมุ้ ครองผู้ประสบภัยจากรถไม่คุ้มครองความบาดเจ็บของผู้เอาประกันภัย นางมาลีจึงไม่สามารถเรียกร้องค่า
รักษาพยาบาลจากบริษัท ทําดีประกันภัย จํากัดได้
ข. นายมาลีเป็นผู้เอาประกันภัยจึงได้รับการชดใช้เพียงค่าเสียหายเบือ" งต้นเป็นจํานวนเงิน 30,000 บาท (กม.เก่า
15,000 บาท)
ค. แม้นางมาลีเป็นผู้เอาประกันภัย แต่ขณะเกิดเหตุนางมาลีมิใช่ผขู้ ับข$ี จึงยังคงได้รับความคุ้มครอง 40,000 บาท จาก
กรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ง. ไม่มีข้อใดถูก

46. นางสมมารถจะสามารถเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล 80,000 บาท จากบริษัท ทําดีประกันภัย จํากัดได้หรือไม่ อย่างไร


ก. นายสมมารถไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะรถมิได้ชนกัน
ข. นายสมมารถเรียกร้องได้เฉพาะค่าเสียหายเบื"องต้น 65,000 บาท
ค. นายสมมารถเรียกร้องได้เฉพาะค่าเสียหายเบือ" งต้นจํานวน 30,000 บาท จากกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
ง. นายสมมารถเรียกร้องจากกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ 50,000 บาท

47. ในการประกันภัยรถยนต์ประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้ขับขี่ที่มีอายุในช่วงใดที่จะได้รับส่วนลดเบี้ย ประกันภัยมากที่สุด


ก. 18 - 24 ปี ข. 25 - 35 ปี
ค. 36 - 50 ปี ง. เกิน 50 ปี

48. ในการทําประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ ผู้เอาประกันภัยสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ไม่เกินกี่คน


ก. ไม่เกิน 1 คน ข. ไม่เกิน 2 คน
ค. ไม่เกิน 3 คน ง. ไม่เกิน 4 คน

49. ร้านขายผ้าแห่งหนึ่งถูกไฟไหม้ พนักงานดับเพลิงได้ทําการดับเพลิง เมื่อเพลิงสงบลงแล้ว ปรากฎว่ามีกองผ้าบางส่วน


ไม่ถูกไฟไหม้ แต่ได้รับความเสียหายจากนํ้าที่ใช้ดับเพลิง หากร้านขายผ้าแห่งนี้มีการทําประกันอัคคีภัย นอกจากทรัพย์สิน
ที่ถูกไฟไหม้จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว อยากทราบว่ากองผ้าที่ได้รับความเสียหายนี้จะได้รับการชดใช้ค่า
สินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือไม่
ก. ไม่ชดใช้ เนื่องจากไม่คุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมาตรฐาน
ข. ไม่ชดใช้ เนือ่ งจากไม่ได้ซื่อความคุ้มครองถึงภัยเปียกน้ํา
ค. ชดใช้ เนื่องจากเป็นความเสียหายสืบเนื่องจากไฟไหม้
ง. ไม่มีข้อใดถูก
50. ถ้าอัตรเบี้ยประกันอัคคีภัยของร้านขายผ้าต่อ 1 ปี อยู่ที่ 4,200 บาท ท่านเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและการ
ประกันภัยมองเห็นว่าควรเป็นการทําประกันอัคคีภัยจากแบบต่อทุก 1 ปีเป็นแบบ 3 ปีซึ่งมีส่วนลดเบีย้ อยากถามว่าเมื่อ
เปลี่ยนแปลงแล้วทางร้านขายผ้าจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ในอัตราเท่าไร
ก. 7,350 บาท ข. 8,400 บาท
ค. 10,500 บาท (250% = 2.5 x 4200) ง. 11,550 บาท
51. ภัยธรรมชาติที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้จากการประกันอัคคีภัย คือภัยในข้อใด
ก. ภัยแผ่นดินไหว ข. ภัยน้ําท่วม
ค. ภัยจากลูกเห็บ ง. ภัยจากการทรุดตัวของแผ่นดิน
52. หากต้องการทําประกันอัคคีภัยโรงงานผลิตแป้งมันสําปะหลัง ท่านคิดว่าควรแนะนําให้ซื้อความคุม้ ครองถึงภัยเพิ่ม
ประเภทใด
ก. ภัยลมพายุ ข. ภัยระอุ
ค. ภัยจากควัน ง. ภัยระเบิด
53. ข้อใดมิใช่ทรัพย์สินซึ่งจัดเป็นข้อยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
ก. เงินแท่ง ทองแท่ง อัญมณี
ข. สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์
ค. กล้องถ่ายรูป
ง. วัตถุโบราณ
54. หากเกิดการระเบิดขึ้นจากแก๊สทีใ่ ช้ในร้านสุกี้เป็นผลให้เกิดไฟไหม้ ทําให้อาคารได้รับความเสียหายบางส่วน หาก
เจ้าของร้านมีการทําประกันอัคคีภัย แต่ไม่ได้ซื้อความคุ้มครองถึงภัยระเบิดเจ้าของร้านดังกล่าวจะได้รับการชดใช้
ค่าเสียหายอย่างไร
ก. ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความเสียหายในส่วนทีเ่ กิดจากการระเบิดเท่านั้น
ข. ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้ง ความเสียหายที่เกิดจากการระเบิดและไฟไหม้
ค. ผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความเสียหายในส่วนทีเ่ กิดจากเพลิงไหม้เท่านั้น
ง. ผู้รับประกันภัยจะไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากไม่ได้ซื้อความคุ้มครองถึงภัยระเบิด
55 นายประสิทธิ์มีบ้านมูลค่า 2,000,000 บาท และทําประกันภัยไว้มูลค่า 1,400,000 บาท ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ทําให้
บ้านเสียหาย คิดเป็นมูลค่า 700,000 บาท ในกรณีน"ี บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายประสิทธิ์ เป็น
จํานวนเท่าไร
ก. 490,000 บาท ข.700,000 บาท
ค. 350,000 บาท ง. 560,000 บาท
56. นายประจวบทําประกันอัคคีภัยสิ่งปลูกสร้างไว้ 1 ล้านบาท และสินค้า 500,000 บาทไว้กับบริษัท นําโชคประกันภัย
จํากัด และทําประกันภัย อัคคีภัยสินค้าไว้กับบริษัท ทรัพย์ทวีประกันภัย จํากัดอีก 500,000 บาท ต่อมาเกิดไฟไหม้ขึ้นทํา
ให้สินค้าเสียหาย 500,000 บาท บริษัทประกันภัยแต่ละบริษัทจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนบริษัทละเท่าไร
ก. 2,000,000 บาท
ข. 1,000,000 บาท
ค. 500,000 บาท
ง. 250,000 บาท

57. การทําประกันอัคคีภัย โดยวิธีใดต่อไปนี้เป็นการกําหนดจํานวนเงินเอาประกันภัยตามราคาที่สร้างใหม่หักด้วยค่าเสื่อม


ราคา
ก. Actual Cash Value
ข. Replacement Value
ค. Book Value
ง. Agreed Value

58. กรณีเกิดฟ้าผ่าต้นไม้ข้างบ้านแล้วต้นไม้นั้นล้มฟาดลงมาที่ตัวบ้านทําให้บ้านได้รับความเสียหาย หากบ้านหลังดังกล่าว


มีการทําประกันอัคคีภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือไม่
ก. ได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากเป็นเหตุสืบเนื่องจากฟ้าผ่าซึ่งเป็นความคุ้มครองหลักตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
ข. ได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมิได้ระบุยกเว้นไว้
ค. ไม่คุ้มครอง เนื่องจากความเสียหายนั้น ไม่ได้เกิดจากฟ้าผ่าตัวบ้านโดยตรง
ง. ไม่คุ้มครอง เนื่องจากต้นไม้นั้นไม่ได้อยู่ภายในบ้าน

59. นายสมปองเปิดร้านขายโทรทัศน์และทําประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สินไว้ในวงเงิน 1,000,000 บาทสําหรับสิง่


ปลูกสร้าง และ 500,000 บาท สําหรับสินค้าภายในร้าน ต่อมาเกิดไฟไหม้ร้านไปบางส่วนทําให้สินค้าได้รับความเสียหาย
รวมถึงโทรทัศน์ของลูกค้าที่มาฝากซ่อมอีก 3 เครื่อง นายสมปองจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้อย่างไร
ก. เรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งหมด
ข. เรียกร้องค่าเสียหายได้เฉพาะทรัพย์สินของตน ยกเว้นโทรทัศน์ของลูกค้า
ค. เรียกร้องค่าเสียหายได้เฉพาะโทรทัศน์ทั้งหมด
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
60. โรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งได้ทําประกันอัคคีภัยตัวอาคาร เครื่องจักร และสต๊อกสินค้าไว้กับบริษัท ชวนชื่นประกันภัย
จํากัด โดยซื้อความคุ้มครองเฉพาะภัยหลักเท่านั้น ต่อมาเกิดเพลิงไหม้บางส่วนของโรงงงานขึ้น เมื่อตรวจสอบสาเหตุของ
เพลิงไหม้ดังกล่าว ปรากฏว่าเกิดจากเครื่องจักรตัวหนึ่งเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร อยากทราบว่ากรณีนี้บริษัท ชวนชื่น
ประกันภัย จํากัด จะจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยอย่างไร
ก. จ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินจํานวนเงินเอาประกันภัย
ข. จ่ายเฉพาะความเสียหายที่เกิดไฟไหม้อัน เป็นต่อเนื่องจากการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร แต่ไม่จ่ายค่าเสียหายสําหรับ
มอเตอร์ของเครื่องจักร
ค. ไม่จ่าย เนื่องจากต้นเหตุความเสียหายไม่ได้เกิดจากไฟไหม้
ง. ไม่จ่าย เนื่องจากไม่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย

61.ข้อใดมิใช่ขอ้ ยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล
ก. ความเสียหายที่เกิดจากการบรรจุหีบห่อที่ไม่เหมาะสม
ข. ความเสียหายที่เกิดจากการมีภาระหนี้สินของเจ้าของเรือ
ค. ความเสียหายที่เกิดจากการเสียสละในความเสียหายทั่วไป (General Average)
ง. ความเสียหายที่เกิดจากความล่าช้า

62. การผิดนัดทางการเงินของเจ้าของเรือทําให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าของผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองตาม
กรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลหรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะเป็นข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย
ข. ไม่ได้ หากสินค้านั้น ยังอยู่บนเรือเดินสมุทร
ค. ไม่ได้ เพราะไม่แจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบ
ง. ได้ ถ้ามีการตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย

63. ในการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล ข้อใดมิใช่ความเสียหายที่ถือเป็นความเสียหายทั่วไป (General Average)


ก. การโยนสินค้าทิ้งทะเลขณะเรือเกยตื้น
ข. การตัดโซ่และสมอเรือเพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย
ค. ค่าแรงลูกเรือในระหว่างความล่าช้าของการเดินเรือ
ง. ความเสียหายซึ่งมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุโดยตรงและเจ้าของทรัพย์สินที่เสียหายทั้งหมดต้องร่วมกันรับผิดชอบ
64. ในการขนส่งสินค้าทางทะเลเที่ยวหนึ่ง เรือโดนพายุเกยหินโสโครก กัปตันเรือจึงสั่ง ให้โยนสินค้าทิง้ ทะเลบางส่วน
เพื่อให้เรือเบาขึ้น และสามารถพาเรือพร้อมสินค้าที่เหลือบนเรือถึงจุดหมายปลายทางได้ ปรากฏว่าสินค้าที่ถูกทิ้งทะเลเป็น
ของนายเอกพล สินค้าที่เหลือบนเรือเป็นของนายทศพล และนายพีระพล ส่วนเรือเป็นของนายลอยด์ ดังนั้นฝ่ายที่ต้อง
เฉลี่ยความสูญเสียสินค้าของนายเอกพล ที่ถูกโยนทิ้งทะเล คือ
ก. นายทศพลและนายพีระพล
ข. นายทศพล นายพีระพล และ นายลอยด์
ค. ถือว่าเป็นเคราะห์ร้ายของนายเอกพลแต่ผู้เดียว
ง. นายเอกพล นายทศพล นายพีระพล และนายลอยด์ ทุกฝ่ายต้องร่วมเฉลี่ยตามส่วน

65. หลังจากทีก่ รมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลมีผลบังคับแล้ว ผู้เอาประกันภัยมีความประสงค์จะเปลี่ยน


จุดหมายปลายทางได้หรือไม่
ก. ได้ เมื่อมีการแจ้งให้ผรู้ ับประกันภัยทราบ โดยเบี้ยประกันภัยและเงื่อนไขไม่เปลี่ยนแปลง
ข. ได้ เมื่อมีการแจ้งให้ผรู้ ับประกันภัยทราบ โดยได้ตกลงเก็บเบี้ย ประกันภัย และปรับปรุงเงื่อนไขใหม่
ค. แก้ไขไม่ได้
ง. กรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครอง โดยผู้เอาประกันภัยไม่ต้องแจ้งผู้รับประกันภัย

66. นายสมบัติทําประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้กับบริษัท แสงทองประกันภัย จํากัดในวงเงินประกันภัย 300,000 บาท


และกับบริษัท แสงเงินประกันภัย จํากัดในวงเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท ต่อมานายสมบัติเสียชีวิตจากการถูกรถชน
และได้รับเงินชดเชยจากผู้ที่ขับรถมาชน จํานวน 300,000 บาท ทายาทของนายสมบัติจะเรียกร้องจากบริษัทประกันภัย
ได้อีกหรือไม่
ก. ได้จากบริษัท แสงทองประกันภัย จํากัด 300,000 บาท และจากบริษัท แสงเงินประกันภัย จํากัด 200,000 บาท รวม
500,000 บาท
ข. ได้เฉพาะจากบริษัท แสงเงินประกันภัย จํากัด 200,000 บาทเพราะได้จากผู้ที่ขับรถมาชนแล้ว 300,000 บาท
ค. ได้เฉพาะจากบริษัท แสงทองประกันภัย จํากัด 300,000 บาทเพราะได้จากผู้ที่ขับรถมาชนแล้ว 300,000 บาทซึ่ง
มากกว่าที่ได้เอาประกันภัยไว้
ง. ไม่ได้ เพราะมีผู้รับผิดชอบแทนบริษัทประกันภัยไปแล้ว
67. นายเต้ทําประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลปีแรก โดยมีจํานวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล
10,000 บาท ต่อมานายเต้ได้ พยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่สําเร็จ อย่างไรก็ตามนายเต้ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลไป 12,300
บาท นายเต้จะได้รับค่าทดแทนหรือไม่ อย่างไร
ก. ได้รับทดแทนค่ารักษาพยาบาล 10,000 บาท
ข. ได้รับทดแทนค่ารักษาพยาบาล 12,300 บาท
ค. ไม่ได้รับค่าทดแทนเลย เพราะการพยายามฆ่าตัวตายเป็นข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัย
ง. ไม่ได้รับค่าทดแทนเลย เพราะเป็นกรมธรรม์ประกันภัยปีแรก

68. นายอ่ําป็นครูที่โรงเรียนอนุบาลได้ทําประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้กับบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ต่อมานายอ่ํา


เปลี่ยนอาชีพเป็นพนักงานขับรถบรรทุกโดยมิได้แจ้งบริษัทประกันภัยและประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต นายอ่ําจะได้รับค่า
ทดแทนหรือไม่
ก. ได้ เต็มตามจํานวนเงินที$ได้เอาประกันภัยไว้
ข. ได้ ถจ% ของจํานวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้ เพราะไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนอาชีพ
ค. ได้ แต่จะได้รับค่าทดแทนเป็นจํานวนเงินลดลงเท่าที่เบี้ยประกันภัยที่นายอ่ําได้จ่ายไปสําหรับภัยของอาชีพเดิม และ
สามารถขอซื้อความคุ้มครองสําหรับอาชีพใหม่ได้
ง. ไม่ได้ เพราะไม่ได้แจ้งให้บริษัททราบ ถือเป็นการปกปิดข้อเท็จจริง

69. นายต่อและนายตุ่นได้ทําประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลแบบมาตรฐานไว้กับบริษัท เจริญประกันภัย จํากัด และ


ในขณะที่นายต่อขับขี่มอเตอร์ไซค์มาได้ถูกนายตุ่นผู้ขับรถบรรทุก 10 ล้อชนเสียชีวิตทั้ง คู่ บริษัท เจริญประกันภัย จํากัด
จะจ่ายค่าทดแทนอย่างไร
ก. จ่ายให้นายต่อ แต่ไม่จ่ายให้นายตุ่น เพราะนายตุ่นเป็นฝ่ายผิด
ข. จ่ายให้นายต่อ แต่ไม่จ่ายให้นายตุ่นเพราะกรมธรรม์ประกันภัยยกเว้นการขับรถบรรทุก
ค. จ่ายให้ทั้ง คู่
ง. จ่ายให้นายตุ่น แต่ไม่จ่ายให้นายต่อ เพราะกรมธรรม์ประกันภัยยกเว้นการขับขี่มอเตอร์ไซค์

70. ข้อใดได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยกระจก
ก. การแตกหักซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง
ข. การแตกหักซึ่งเกิดขึ้น ในระหว่างที่ติดตั้ง หรือถอดออก
ค. การแตกหักของกระจกที่ติดตั้ง เรียบร้อยแล้วในสถานทีท่ ี่ระบุไว้ในกรมธรรม์
ง. การแตกหักซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่ดัดแปลงสถานที่ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
71. นายแดงเป็นพนักงานอยู่บริษัทแห่งหนึ่งมีหน้าที่เป็นพนักงานรักษาเงินในบริษัท ต่อมานายแดงเกิดติดการพนันจึง
ยักยอกเงินในบริษัทไป จากตัวอย่างนี้ หากเจ้าของบริษัทซื้อการประกันภัยสําหรับเงินไว้ อยากทราบว่าเจ้าของบริษัท
จะต้องซื้อการประกันภัยสําหรับเงินแบบใด จึงจะได้รับความคุ้มครอง
ก. การประกันภัยสําหรับเงิน แบบ ปง.1 ข. การประกันภัยสําหรับเงิน แบบ ปง.2
ค. การประกันภัยสําหรับเงิน แบบ ปง.3 ง. ไม่สามารถคุม้ ครองได้

72. เจ้าของร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่งได้ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสําหรับเงินแบบ ปง.1 ในระหว่างที$กรมธรรม์ประกันภัยมี


ผลบังคับ ปรากฏว่า พนักงานรับเงินในร้านยักยอกเงินไป 5,000 บาท บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่
เจ้าของร้านหรือไม่
ก. ไม่ต้องชดใช้ เพราะกรมธรรม์ประกันภัยไม่คุ้มครองการฉ้อโกงหรือยักยอก
ข. ไม่ต้องชดใช้ เพราะกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองเฉพาะเงินภายในตู้นิรภัย
ค. ต้องชดใช้ เพราะกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความสูญเสียเงินภายในสถานที่เอาประกันภัย
ง. ต้องชดใช้ เพราะกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองการยักยอกฉ้อโกง

73. การประกันภัยโจรกรรมแบบ จร.1 จะให้ความคุ้มครองอย่างไร


ก. เฉพาะการลักทรัพย์ที่ไม่ปรากฏร่องรอยงัดแงะเท่านั้น ข. เฉพาะการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะเท่านั้น
ค. การลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ง. ถูกทุกข้อ

74. ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยโจรกรรมคือข้อใด
ก. ความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากการกระทําทุจริต
ข. ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้น ในขณะที่สถานที่ตามระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยไม่มีผู้อยู่อาศัยเป็นเวลา
เกินกว่า 7 วัน ติดต่อกัน
ค. ความเสียหายของกระจกหรือสิ่งประดับบนกระจกหรือข้อความบนกระจกที่ถูกคนร้ายทําลาย
ง. ถูกทุกข้อ

75. ผู้เอาประกันภัยสามารถได้รับรางวัลพิเศษสําหรับ “โฮล-อิน-วัน” กี่ครั้ง ในระยะเวลาที่เอาประกันภัยของแต่ละ


กรมธรรม์ประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ
ก. เท่าจํานวนครั้งที่ทําได้ ข. 3 ครั้ง
ค. 2 ครั้ง ง. 1 ครั้ง
76. ข้อใดมิใช่ข้อยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ
ก. สงคราม การกบฎ การปฏิวัติ
ข. ความเสียหายของอุปกรณ์การเล่นกอล์ฟอันเนื่องมาจากการสึกหรอ
ค. การสูญเสียหรือการเสียหายของลูกกอล์ฟ
ง. การสูญเสียหรือการเสียหายของรถลากถุงกอล์ฟ เนื่องจากอุบัติเหตุ
77. นายตี๋ยืนรอเรือด่วนเจ้าพระยาทที่ทําประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยสําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้างที่ท่าเรือ
ขณะที่ยืนรออยู่นั้น นายตี๋ เกิดเสียหลักตกน้ําจนได้รับบาดเจ็บ นายตี๋จะได้รับค่าทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว
นี้หรือไม่
ก. ได้ เพราะเป็นอุบัติเหตุ
ข. ได้ เพราะนายตี๋โดยสารเรือด่วนลํานี้เป็นประจํา
ค. ไม่ได้ เพราะนายตี๋อยู่บนท่าเรือยังไม่ได้ลงเรือหรือใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา
ง. ไม่มีข้อใดถูก
78. อัตราเบี้ย ประกันของการประกันภัยสําหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้างขึ้น อยู่กับปัจจัยใด
ก. อัตราค่าโดยสารเรือ ข. จํานวนที่นั่งของเรือ
ค. อายุงานของคนขับเรือ ง. ปริมาณเด็กท้ายเรือ

79. ในกรมธรรม์ประกันภัยสําหรับเงินตามแบบ ปง.1 มีความคุ้มครองอย่างไร


ก. ความสูญเสียของเงินอันเกิดจากการกระทําสูญหาย
ข. ความสูญเสียของเงินอันเกิดจากการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
ค. ความสูญเสียของเงินอันเกิดจากการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ รวมทั้ง การพยายามกระทําการดังกล่าว
ง. ถูกทุกข้อ

80. การประกันภัยสําหรับเงิน ข้อตกลงคุ้มครองแบบ ปง.3 มีข้อตกลงคุม้ ครองที่เพิ่มเติมจากแบบ ปง.2 คือข้อใด


ก. การเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ
ข. การฉ้อโกงโดยพนักงานรับส่งเงินหรือผู้รักษาเงินซึ่งค้นพบภายในระยะเวลาเอาประกันภัย
ค. การฉ้อโกงหรือยักยอกโดยพนักงานรับส่งเงิน หรือผู้รักษาเงินซึ่งค้นพบภายใน 3 วันทํางาน
ง. การฉ้อโกงโดยพนักงานรับส่งเงินหรือผู้รักษาเงินซึ่งค้นพบภายใน 24 ชั่วโมงทํางาน

You might also like