You are on page 1of 6

เรื่อง การประกันภัยทางทะเล

จัดทำโดย
สุรยุทธ จันทรัตน์ 6330401225
ยศพล เข็มลาย 6330401187
ชนกานต์ เรียบร้อย 6330401047
ธนดล วงศ์ทิม 6330401098
กำภู เหลืองธนารักษ์ 6330401021

ชรินรัตน์ พิมพ์ทอง 6330403228


ณัฐธิดา เกิดมงคล 6330404178
วรรณนิภา ศิริปะกะ 6330404241
จินตนา เรืองบุบผา 6330403121
ภัทราวุธ ขจิตเพชรจรัส 6330403643
ยอดชวนชัย คงขันธ์ 6330403660

เสนอ
ศาสตราจารย์ ประมวล จันทร์ชีวะ

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การประกันภัยทางทะเล 03521473


ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
1. ให้นักเรียนศึกษาความคิดเห็นว่า หากนักศึกษาเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย ควรจะขายความคุ้มครองตาม Institute Cargo
Clauses แบบ (A) หรือ (B) หรือ (C) เพราะเหตุใด พร้อมยกตัวอย่างข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนความเห็น
ตอบ

ใช้ Institute Cargo Clauses แบบ B ซึ่งเป็นประเภท Named perils (ระบุความเสี่ยงไว้) โดยจะแบ่งไว้เป็น 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มความเสียหาย “อันสืบเนื่องอย่างสมเหตุสมผลจาก” เช่น ไฟไหม้ หรือ การระเบิด , เรือเกยตื้น จม หรือ ล่ม, ยานพาหนะทาง
บกพลิกคว่ำหรือตกราง, เรือโดนกัน, การขนถ่ายสินค้า ณ ท่าเรือหลบภัย, แผ่นดินไหว การระเบิด หรือ ฟ้าผ่า
- กลุ่มความเสียหาย “มีสาเหตุมาจาก” เช่น การเสียสละอันเป็นความเสียหายทั่วไป, การโยนทิ้งทะเล หรือ การถูกซัดตกเรือ, การ
ที่น้ำทะเลเข้าไปในตัวเรือแล้วทำความเสียหายต่อตัวสินค้า, ความเสียหายสิ้นเชิงที่เกิดระหว่างการบรรทุก หรือ ขนถ่ายสินค้าลงจาก
เรือ

- สาเหตุที่เลือก Institute Cargo Clauses แบบ B เพราะมีความคุ้มครองมากกว่า Institute Cargo Clauses แบบ C
และมีความคุ้มครองน้อยกว่า Institute Cargo Clauses แบบ A ทำให้ค่าเบี้ยประกันไม่สูงมาก สามารถดึงดูดให้เจ้าของสินค้า
เลือกใช้ประกันภัยแบบนี้

ตัวอย่างสถานการณ์สนับสนุนความเห็น เช่น

- จะขนส่งสินค้าในตู้ container 10 TEU จากแหลมฉบังไปสิงคโปร์ช่วงเดือนธันวาคม


ค่าเบี้ยประกันแบบA เท่ากับ 100000 THB แบบ B เท่ากับ60000 THB เนื่องจาก ช่วงเวลาและเส้นทางที่จะทำการส่งสินค้าความ
เสี่ยงมีไม่มาก (ไม่ใช่ช่วงมรสุม) การเลือกแผนประกันแบบ B จึงมีความคุ้มค่ามากกว่าแบบ A
3. ให้นักศึกษาแสดงความเห็นว่า Sue and Labour Expenses ตามข้อกำหนด Institute Cargo Clauses ข้อ16
มีความแตกต่างกับ General Average ตามข้อกำหนด Institute Cargo Clauses ข้อ2 อย่างไร
ตอบ

General Average คือ การแบ่งส่วนการรับผิด เมื่อเกิดความเสียหายทั่วไป จากภยันตภัยในการเดินเรือ


การจะเข้าข่าย General Average ได้นั้น ต้องเกิดจากการตั้งใจ สละสินค้าบางส่วน เพื่อให้เรือรอดพ้นจากอันตราย
โดยการสละสินค้านั้นต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ภัยที่เจอ เจ้าของเรือ เจ้าของสินค้าทุกคน จะต้องเผชิญภัยร่วมกัน ภัยที่เกิดขึ้น
จะต้องเกิดขึ้นจริง และ ต้องประสบความสำเร็จเมื่อสละสินค้าแล้ว

Sue and Labour Expenses คือ กรมธรรม์ที่ประกันจะจ่ายเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ต่อตัวเรือ และ สินค้าบนเรือ จุดประสงค์ของกรมธรรม์นี้เพื่อสนับสนุนให้เจ้าของสินค้าที่เอาประกันหาทางป้องกันไม่ให้เกิดความ


เสียหายมากไปกว่านี้

ความแตกต่างคือ General Average ต้องเกิดภัยต่อตัวเรือก่อน จึงเกิดการสละสินค้า ทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย ต้อง


มาแบ่งส่วนการรับผิดกัน แต่ Sue and Labour Expenses จะเกิดค่าใช้จ่ายในการป้องกันความเสียหายต่อสินค้า และ ตัวเรือ
เมื่อเกิดภัยไม่หนักมากต่อเรือ เช่น เรือเครื่องยนต์เสียทำให้ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้ จึงเรียกเรือ Tugมาลากกลับเข้าฝั่ง

การกระทำนี้ทำเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (เรือเกยตื้น) ค่าใช้จา่ ยที่เกิดขึ้นประกันจะจ่ายให้ตาม Sue and


Labour Clause
5. ให้นักศึกษาเปรียบเทียบข้อกำหนด Institute Frozen Food (A) ฉบับ 1/1/86 เฉพาะข้อที่ 1 (ตามตัวอย่างใน Power Point
แผ่นที่ 53-54 ของการบรรยายหัวข้อการประกันภัยสินค้าที่เคยให้ไปแล้ว) กับข้อกำหนด Institute Cargo Clauses (A) และ (B)
ฉบับ1/1/82 ข้อ 1 แล้วอธิบายข้อกำหนด Institute Frozen Food ว่ามีลักษณะความคุ้มครองอย่างไร

ตอบ
การเปรียบเทียบกันระหว่าง IFF และ ICC (A/B)
ภัยที่ได้รับความคุ้มครอง : เงื่อนไข IFF
- ความเสี่ยงทั้งหมดของการสูญเสียหรือความเสียหายต่อสิ่งที่เอาประกันภัย นอกเหนือจากการสูญเสียหรือความเสียหาย
ที่เกิดขึ้น
- หลีกเลี่ยงการสูญเสียจากสาเหตุใดๆ การประกันภัยนี้ขยายออกไปเพื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยต่อสัดส่วน
ความรับผิดดังกล่าวภายใต้สัญญาที่สามารถขอคืนได้ภายใต้ข้อตกลงนี้ ใน ของข้อ "กล่าวโทษการชนกันทั้งคู่" เช่นเดียวกับการ
สูญเสียสิทธิเรียกร้องใดๆ ของเจ้าของเรือตามข้อดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยตกลงที่จะแจ้งให้ผู้จัดการการจัดจำหน่ายที่ จากการแปร
ผันของอุณหภูมิใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้น การสูญเสียหรือความเสียหายต่อวัตถุที่เอาประกันภัยอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของ
อุณหภูมิ เนื่องมาจาก
-การพังทลายของเครื่องจักรทำความเย็นทำให้ตอ้ งหยุดทำงานไม่นอ้ ยกว่า24ชม.
- ไฟไหม้หรือการระเบิด

-การเกยตื้น หรือ ล่ม


-การชน เรือโดนกัน เรือโดนท่า
-การขนถ่ายสินค้า

ภัยที่ได้รับความคุ้มครอง : เงื่อนไข ICC A และ B


- ครอบคลุมความเสี่ยงการสูญเสียหรือความเสียหายทั้งหมด ยกเว้นตามกำหนดด้านล่าง
ข้อยกเว้นที่ครอบคลุมและสอดคล้องกัน
1. การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย
2. การรั่วไหลไปตามปกติการขาดหายตามปกติของปริมาณ หรือน้ำหนัก หรือการสึกหรอและสึกกร่อนตามปกติ

3. การบรรจุหีบห่อ หรือการจัดเตรียมที่ไม่เพียงพอ หรือไม่เหมาะสมในวัตถุแห่งการประกันภัย


4. ข้อเสียในตัวเองหรือลักษณะตามธรรมชาติของวัตถุแห่งการประกันภัย
5. การล่าช้า แม้ว่าการล่าช้านัน้ จะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม
6. การล้มละลาย หรือการไม่สามารถใช้หนี้สิน ไม่ว่าของเจ้าของเรือ , ผู้เช่าเหมาเรือ หรือผู้ดำเนินการเดินเรือ หรือตัวแทนของบุคคล
ใดบคคลหนึ่ง ที่กล่าวมา
7. การใช้อาวุธสงครามที่อาศัยการแตกตัว หรือ การหลอมตัวของปรมาณู หรือ ผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี

8. เรือ หรือยาน ไม่พร้อมที่จะใช้เดินทะเล หรือ เรือ ยาน ยวดยาน ตู้ลำเลียง หรือ ตู้ยก ที่จะใช้ในการบรรทุกสินค้า ไม่พร้อม
สมบูรณ์หรือปลอดภัยเพียงพอ โดยที่ผู้เอาประกันภัย หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจ
9. ข้อยกเว้นภัยสงคราม
10. ข้อยกเว้นภัยนัดหยุดงาน เป็นต้น

7. ให้ นักศึกษาแสดงความเห็นว่า Duration ตามข้ อกาหนด Institute Cargo Clauses ฉบับ 1/1/09 ข้ อ 8 กับ ข้ อกาหนด
Institute Cargo Clauses ฉบับ 1/1/82 ข้ อ 8 ฉบับใดให้ ความคุ้มครองที่กว้ างกว่า เพราะเหตุใด พร้ อมยกตัวอย่างเหตุการณ์
เพื่อสนับสนุนความเห็น

ตอบ
Institute Cargo clauses 1/1/82 ข้อ 8 จะว่าด้วยเรื่องระยะเวลาการเริ่มคุ้มครอง เงื่อนไขการขนส่งเช่น

8.1 ความคุ้มครองเริ่มเมื่อวัตถุเอาประกันได้ถูกเคลื่อนย้ายครั้งแรกในคลังและลงยานพาหนะ 8.1.1 เมื่อเสร็จสิ้นการขนถ่ายจาก


ยานพาหนะ ณ คลังสินค้าหรือตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ 8.1.3 เมื่อผู้เอาประกันเลือกที่จะใช้ยานพาหนะหรือตู้สินค้าเพือ่ การจัดเก็บ
นอกเส้นทางปกติ 8.1.4 เมื่อพ้นกำหนด 60 วันหลังจากเสร็จสิ้นการขนถ่ายสินค้าณข้างลำเรือแล้วแต่ว่ากรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน
Institute Cargo Clauses 1/1/09 ข้อ 8 จะมีเงื่อนไขว่าด้วยการขนส่งไม่ต่างกับฉบับเก่า เช่น 8.1 ความคุ้มครองจะเริ่มนับตั้งแต่ที่
วัตถุเอาประกันถูกเคลื่อนย้ายครั้งแรกในคลัง หรือที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์เพื่อลงยานพาหนะ 8.1.1 เมื่อเสร็จสิ้นการขนส่ง ขนถ่าย
ออกจากยานพาหนะ มีการเพิ่มข้อ 8.1.3 การจัดเก็บในยานพาหนะหรือตู้สินค้า ในข้อ 8.2 จะแตกต่างจากฉบับเก่าตรงที่ เวลาการ
คุ้มครองของประกันจะไม่ขยายออกไปเกินกว่าเวลาที่วตั ถุเอาประกันได้ถูกเคลื่อนย้ายครั้งแรก ซึ่งแม้ว่าจะถึงเมืองท่าสุดท้าย และ
สินค้าดังกล่าวต้องส่งไปที่จุดหมายอื่นต่อไป
ICC 1/1/09 เป็นฉบับที่ให้ความคุ้มครองที่กว้างกว่า

- เพราะเป็นข้อกำหนดฉบับทีไ่ ด้รับการปรับปรุง แก้ไขให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันภัยมากยิ่งขึ้นโดยข้อความในข้อกำหนด


ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเปิดช่องให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับโอนกรมธรรม์ประกันภัยมีโอกาสในการได้รับการชดใช้ ค่าสินไหม
ทดแทนได้มากกว่า ICC 1/1/82
- ในกรณีที่ได้เลือกข้อกำหนดความคุ้มครอง ICC 1/1/09 เอาไว้แล้วเกิดปัญหาทาง การเงินเกิดขึ้นกับผู้ขนส่งอันนำมาสู่ความ
เสียหายอย่างใด ๆ ผู้นำเข้าพึงต่อสู้ในลักษณะที่ว่าความเสียหายเหล่านัน้ มิได้มีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล (causation) กับ
ปัญหาทางการเงินของผู้ขนส่ง เพราะในข้อกำหนดความคุ้มครอง ICC 1/1/09 นั้นใช้คำว่า “caused by” ซึ่งตีความได้ว่า ความ
เสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องมีสาเหตุใกล้ชิดมาจากปัญหาทางการเงินของผู้ขนส่งเท่านั้น แต่ถ้า หากว่าผู้นำเข้าพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริ งใน
ประการใด ๆ ที่แสดงถึงการได้รับผลกระทบในลักษณะที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุโดยตรงทางด้านการเงินแล้ว ก็จะทำให้ผู้นำเข้ามี
โอกาสที่จะต่อสู้คดีเพื่อให้ตนได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยได้มากกว่า

ตัวอย่าง บริษัท ฮันจิน ชิปปิ้ง จำกัด (Hanjin Shipping Co., Ltd.) เป็นบริษัทให้บริการด้านการขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ของ
เกาหลีใต้ ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจของโลก เกิดปัญหาทางการเงินโดยมีการขาดทุนสะสมเรื่อยมาเป็นระยะเวลายาวนานถึง 4 ปี
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2558) จึงได้ยื่นคำร้องขอให้มีการพิทกั ษ์ทรัพย์ (receivership) ภายหลัง ก็ได้ประกาศแผนการเลิกกิจการ
ของสำนักงานต่าง จนกระทั่งล้มละลายพร้อมกับให้มีการชำระบัญชี ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560
ในกรณีที่สายเรือหรือผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศปฏิเสธความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้ น โดยสินค้าได้ถูกขน
ถ่ายลงเรือก่อนที่จะมีประกาศหยุดให้บริการของสายเรือ Hanjin Shipping และผู้ส่งสินค้าได้ทำประกันภัยการขนส่งแบบ
Institute Cargo Clause A ไว้ ให้ผู้ส่งสินค้าซึ่งเป็นผู้เอาประกันติดต่อกับบริษัทประกันภัยเพื่อสอบถามรายละเอียดและขั้นตอนใน
การเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากความชักช้าและค่าใช้จ่ายสำหรับความพยายามในการนำส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทางที่
ระบุไว้ตามกรมธรรม์

You might also like