You are on page 1of 4

บทความ มุมนักออกแบบ (Design Article)

ตอนที่ 16 เรือ่ ง การออกแบบคานลึก 1 เหล็กเสริมรับโมเมนต์ดดั


โดย ศ. ดร. อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสริ นิ ธร
รองเลขาธิการสภาวิศวกร

ในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตนัน้ บางครัง้ เราอาจจะพบองค์อาคารรับแรงดัดทีม่ คี วามลึกๆ


มากๆ เมือ่ เทียบกับความยาวช่วง เช่น คานถ่ายแรง (transfer girder) ในอาคารสูงทีร่ องรับเสาของพืน้
ชัน้ บน ฐานรากทีว่ างบนเสาเข็ม แผ่นพืน้ ไดอะแฟรมทีร่ บั แรงในแนวราบ (เช่น แรงลม แรงแผ่นดินไหว)
เป็ นต้น (ดูรปู 1) องค์อาคารทีก่ ล่าวมานี้มลี กั ษณะเฉพาะกล่าวคือ มีความลึกของหน้าตัดมากเมือ่ เทียบ
กับความยาวช่วงคาน โดยทัวไปจะถื
่ อว่า หากองค์อาคารมีอตั ราส่วนความยาวช่วงคานต่อความลึกน้อย
กว่า 2 จะเข้าข่ายเป็ นคานลึก

ฐานราก

Transfer girder

รูป 1 ตัวอย่างคานลึก

การออกแบบคานลึกประกอบด้วย 1. การออกแบบเหล็กเสริมหลักต้านทานโมเมนต์ และ 2 การ


ออกแบบเหล็กเสริมต้านทานแรงเฉือน เหล็กเสริมหลักทีต่ า้ นทานโมเมนต์ได้แก่เหล็กทีอ่ ยูผ่ วิ ล่างและผิว
บนของคาน (As) ส่วนเหล็กทีท่ าหน้าทีต่ า้ นทานแรงเฉือนได้แก่ เหล็กที่วางกระจายในแนวดิง่ (Avv) และ
แนวนอน (Avh) ซึง่ ต้องมีทงั ้ สองแนวสานกันเป็ นตะแกรงมาทางานต้านทานแรงเฉือนร่วมกัน ดังแสดงใน
รูปที่ 2 การออกแบบคานลึกจะต้องออกแบบปริมาณเหล็กเสริมทัง้ สามชุดนี้ มุมนักออกแบบในตอนนี้
ผมจะอธิบายวิธกี ารออกแบบเหล็กเสริมต้านทานโมเมนต์ดดั (As) ส่วนการออกแบบเหล็กกระจายใน
แนวดิง่ และ นอนนอนสาหรับต้านทานแรงเฉือนนัน้ จะอธิบายในตอนหน้า

1
เหล็กกระจาย Avh @ s2
เหล็กกระจาย Avv @ s1

เหล็กเสริมหลัก

h
ต้านทานโมเมนต์
(As)

ระยะฝั ง (Ld)
ln
L

รูป 2 การจัดเหล็กเสริมในคานลึก

การออกแบบเหล็กเสริมต้านทานโมเมนต์ในคานลึกนัน้ ไม่สามารถใช้วธิ กี ารออกแบบเหล็กเสริมรับ


โมเมนต์ดดั ดังเช่นคานปกติหรือคานยาวได้ ทีเ่ ป็ นเช่นนี้เพราะการกระจายตัวของความเครียดในคานลึก
ไม่แปรผันเป็ นเส้นตรงเหมือนดังเช่นคานปกติ ดังแสดงใน รูป 3

C 0.67h C
0. 5h T

0.62h
l

คานปกติ 0. 28h
T

l
คานลึก
รูป 3 การกระจายตัวของความเครียด

2
จากรูปที่ 3 จะเห็นว่าความเครียดในคานลึกไม่ได้แปรผันเป็ นเส้นตรงตามความลึกของคาน ผล
ทีต่ ามมาก็คอื ความยาวแขนโมเมนต์จะน้อยลงเมือ่ เทียบกับคานยาวปกติ ด้วยเหตุน้ีจงึ ไม่สามารถใช้
วิธกี ารคานวณของคานปกติในการคานวณหาพืน้ ทีเ่ หล็กเสริมหลักได้ เพราะจะให้คา่ เหล็กทีน่ ้อยเกินไป
จนทาให้การออกแบบไม่ปลอดภัย มาตรฐาน ACI318 ได้กาหนดให้พจิ ารณาผลของความเครียดแบบไม่
เป็ นเส้นตรงนี้ไว้ในการวิเคราะห์และออกแบบคานลึก แต่ไม่ได้ให้สตู รการคานวณแขนโมเมนต์ของคาน
ลึกไว้ ในมุมนักออกแบบตอนนี้ผมมีสตู รทีใ่ ช้คานวณแขนโมเมนต์ตามมาตรฐาน CEB ซึง่ เป็ นมาตรฐาน
ของประเทศยุโรป ซึง่ สูตรดังกล่าวได้คานึงถึงความยาวแขนโมเมนต์ทล่ี ดลงดังนี้

l
jd  0.2(l  2h ) สาหรับ 1 2
h
l
jd  0.6l สาหรับ 1
h

โดยที่ l คือค่าทีน่ ้อยกว่าระหว่างความยาวช่วงวัดจากศูนย์ถงึ ศูนย์ของฐานรอง และ 1.15 เท่า


ของระยะช่องว่าง (clear span) ระหว่างขอบของฐานรองรับ ส่วน h เป็ นความลึกของหน้าตัด

เมือ่ คานวณ jd จากสูตรข้างต้นแล้ว ต่อมาก็สามารถคานวณพืน้ ทีห่ น้าตัดเหล็กเสริมต้านทาน


โมเมนต์ดดั ได้จากสมการทีเ่ ราคุน้ เคยกันดังนี้

Mu
As 
f y jd

เมือ่ Mu เป็ นโมเมนต์ดดั ประลัย fy เป็ นกาลังครากของเหล็กเสริม  เป็ นตัวคูณลดกาลัง = 0.9


และ jd เป็ นความยาวแขนโมเมนต์ของคานลึกทีค่ านวณจากสูตรของ CEB

พืน้ ทีห่ น้าตัดของเหล็กเสริมหลักทีค่ านวณได้จะต้องไม่น้อยกว่า พืน้ ทีเ่ หล็กขัน้ ต่าทีก่ าหนดไว้ใน


มาตรฐานนันคื
่ อ
0.8 f c 14bd
As  bd 
fy fy

สาหรับการจัดวางเหล็กเสริมหลักนัน้ ควรวางเหล็กเสริมให้กระจายอยูใ่ นบริเวณ ระยะ y จาก


ผิวแรงดึงโดยที่ y คานวณจาก

y  0.25h  0.05l  0.20h

3
ทีก่ ล่าวมานี้เป็ นหลักการในการคานวณเหล็กเสริมหลักต้านทานโมเมนต์ดดั ในคานลึก ซึง่ ผูอ้ ่าน
คงจะเห็นแล้วว่า หัวใจคือค่า jd ทีม่ คี า่ น้อยกว่าคานปกติเนื่องจากการกระจายตัวของความเครียดทีไ่ ม่
เป็ นเส้นตรง ในบทความตอนต่อไป ผมจะยกตัวอย่างการคานวณโดยใช้สตู รทีอ่ ธิบายมานี้ พร้อมทัง้
อธิบายวิธกี ารคานวณพืน้ ทีเ่ หล็กเสริมกระจายแนวดิง่ และแนวนอนเพือ่ ต้านทานแรงเฉือนด้วย โปรด
ติดตามนะครับ

You might also like