You are on page 1of 99

1

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรับผู้เรียนพิการ
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2564

ความนำ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.
2560-2564) ได้กล่าวถึง การเตรียมพร้อมด้านกำลังคน
และการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย มุ่งเน้นการยก
ระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศ โดยพัฒนาคนให้เหมาะสมตาม
ช่วงวัยเพื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
มีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม เป็ นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มี
คุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย
และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวม การพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับ
ความต้องการในตลาดแรงงาน
และทักษะที่จำเป็ นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 การสร้างความ
เป็ นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัด
บริการของรัฐที่มีคุณภาพทั้งด้านการศึกษาโดยมีเป้ าหมาย
เพื่อวางรากฐานให้คนไทยเป็ นคนที่สมบูรณ์ มีคุณธรรมจริยธรรม มี
ระเบียบวินัย ค่านิยมที่ดี
มีจิตสาธารณะ และมีความสุข โดยมีสุขภาวะและสุขภาพที่ดี
ครอบครัวอบอุ่น ตลอดจนเป็ นคนเก่งที่มีทักษะความรู้ความสามารถ
และพัฒนาตนเองได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
2

และสังคม ได้รับความเป็ นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการ


ทางสังคมที่มีคุณภาพ ผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพ รวมทั้ง
ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 49 ว่า บุคคลย่อม
มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา
ไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ และ
มาตรา 80 ได้กำหนดเป็ นนโยบายด้านการศึกษาว่า ต้องดำเนินการ
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูป
แบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
กำหนดให้มีการส่งเสริมการศึกษา
ในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การเรียนรู้ด้วย
ตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต วิทยาลัยชุมชน หรือรูปแบบอื่น รวมทั้ง
กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการศึกษาที่เหมาะสม
และสอดคล้องกับระบบการศึกษาทุกระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่ม
เติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 15 กำหนดนิยามการศึกษานอก
ระบบว่าเป็ นการศึกษาที่ยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและ
ประเมินผล ซึ่งเป็ นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหา
และหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปั ญหาและ
ความต้องการของแต่ละบุคคล
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.
2551 มาตรา 8 กำหนดให้สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียน
เฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำทั้งในระบบ นอกระบบ และ
3

ตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการ


ศึกษาเฉพาะความพิการ รวมถึงการให้บริการฟื้ นฟูสมรรถภาพ การ
พัฒนาศักยภาพในการดำำการฝึ กอาชีพ หรือการบริการอื่นใด ซึ่ง
หมายถึงคนพิการตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศกำ์ของคน
พิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552 ไว้ 9 ประเภท ได้แก่
1) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น 2) บุคคลที่มีความบกพร่อง
ทางการได้ยิน 3) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปั ญญา 4) บุคคลที่มี
ความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
5) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู 6) บุคคลที่มีความ
บกพร่องทางการพูดและภาษา 7) บุคคลที่มีความบกพร่องทาง
พฤติกรรมหรืออารมณ์ 8) บุคคลออทิสติก และ 9) บุคคลพิการซ้อน
ด้วยเหตุที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้ าหมาย
เฉพาะมีหลากหลายรูปแบบ
และมีความแตกต่างกันในหลายมิติ ทั้งเป้ าหมาย วัตถุประสงค์การ
จัดการศึกษา จุดเน้น หรือความต้องการเฉพาะ ปรัชญาความเชื่อ
วิธีการบริหารจัดการ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษได้มีการ
พัฒนาหลักสูตรการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และโปรแกรม
การพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตสำหรับเด็กพิการมาอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มเป้ าหมายเฉพาะ คือ ผู้เรียนพิการ ได้รับการพัฒนา
อย่างรอบด้าน แต่ยังพบว่า ขอบข่าย เนื้อหา พัฒนาการที่คาดหวัง
และแนวทางในการจัดกิจกรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ยังไม่
ครอบคลุมกับความต้องการจำเป็ นพิเศษของผู้เรียนอย่างแท้จริง
และแนวโน้มของชุมชน สังคมของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็ น
สังคมแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ
4

ที่ทันสมัยมากขึ้น สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจึงได้จัดทำร่าง
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้
เรียนพิการ พุทธศักราช 2563 เพื่อให้การจัดการศึกษาสำหรับผู้
เรียนพิการมีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป็ นพิเศษ และ
สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปั จจุบัน
เอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนพิการ ที่รับบริการด้านการศึกษาจากหน่วย
งานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบที่แตกต่างกัน รวมถึงการนำเทคโนโลยีสิ่ง
อำนวยความสะดวกมาประยุกต์ใช้และปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบท
ของแต่ละพื้นที่ตามประเภท ระดับความพิการ และศักยภาพ ที่มุ่ง
ให้ผู้เรียนพิการสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดให้
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็ นศูนย์
นำร่องในการทดลองใช้ร่างหลักสูตรดังกล่าว
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้
พัฒนาร่างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพุทธศักราช 2564 ขึ้น เพื่อทดลอง
ใช้ในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนพิการที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน
และเป็ นแนวทางให้บุคลากรครูและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ าย
มีความเข้าใจที่ชัดเจนตรงกันเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของผู้เรียน
พิการ ส่งเสริมทักษะชีวิต ให้ได้รับ
การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน และ
เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้
5

อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนพิการตามเจตนารมณ์ของ
การปฏิรูปการศึกษาต่อไป

วิสัยทัศน์
ผู้เรียนพิการได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพเพื่อให้มี
ทักษะในการดำรงชีวิต พึ่งพาตนเอง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
อย่างเป็ นสุข

หลักการ
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับ
ผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2564 มีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
1. เป็ นหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งส่งเสริมผู้เรียนพิการให้ได้รับ
การพัฒนาตามธรรมชาติ เต็มศักยภาพโดยมีจุดหมาย
และมาตรฐานการเรียนรู้เป็ นเป้ าหมายการพัฒนาให้มีความรู้
ทักษะ เจตคติ และคุณธรรม ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน
2. เป็ นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ มีโครงสร้าง
ความยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ
การเรียนรู้ เวลา และการจัดการเรียนรู้ที่ให้ความสำคัญกับความ
ต้องการจำเป็ นพิเศษแบบองค์รวม ในระบบนิเวศวิทยา
ที่สัมพันธ์กับชีวิตและครอบครัว
3. เป็ นหลักสูตรการศึกษานอกระบบที่ครอบคลุมทุกประเภท
ความพิการทางการศึกษา

จุดหมาย
6

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับ
ผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2564 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็ นคนดี มีความสุข
มีปั ญญา มีศักยภาพในการดำรงชีวิต ศึกษาต่อ ทำงาน และ
ประกอบอาชีพ จึงได้กำหนดเป็ นจุดหมายให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่า
ของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้
ปั ญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออก
กำลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็ นพลเมืองไทยและ
พลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็ นประมุข
5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปั ญญาไทย การ
อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และ
สร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข

กลุ่มเป้ าหมาย
ผู้เรียนพิการที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียน

คุณลักษณะที่พึงประสงค์
7

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับ
ผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2564 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะ
เป็ นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่ เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็ นไทย
8. มีจิตสาธารณะ
8

สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด


สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย องค์ความรู้ ทักษะหรือ
กระบวนการเรียนรู้ และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ซึ่ง
กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนจะต้องเรียนรู้ ในหลักสูตรการศึกษานอก
ระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การ
ศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพุทธศักราช 2564
จำนวน 4 สาระการเรียนรู้ และทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการ
แต่ละประเภท ดังนี้

สาระการดำรงชีวิตประจำ สาระการเรียนรู้และ สาระการเรียนรู้ทางสังคม


วัน ความรู้พื้นฐาน และการเป็ นพลเมืองที่เข้ม
และการจัดการตนเอง ความรู้ ทักษะการ แข็ง
เข้าใจ เห็นความสำคัญและ สื่อสาร การคิดคำนวณ ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ที่มี
มีทักษะในการดูแลตนเอง สังคมศึกษา ต่อตนเอง ครอบครัว
และสุขอนามัยส่วนบุคคล โรงเรียน ชุมชนและสังคม
มีความปลอดภัยในการ รวมถึงการรักษาสิทธิของ
หลักสูตรการศึกษา
ดำเนินชีวิตประจำวัน มี ตนเอง และแสดงออกถึงการ
ทักษะในการเสริมสร้าง
นอกระบบระดับ เคารพสิทธิของบุคคลอื่น
สุขภาพ และใช้เวลาว่างให้ การศึกษาขั้นพื้น มีส่วนร่วมทางสังคม เข้าร่วม
เป็ นประโยชน์ รับรู้ อารมณ์ ฐานสำหรับผู้เรียน
ของตนเอง ผู้อื่นและมีการ
สาระการงานพื้นฐานอาชีพ
การทำงานบ้าน การ
ทักษะจำเป็ นเฉพาะความ
ประกอบอาชีพที่หลากหลาย
พิการ
ในชุมชน การเตรียมความ
แต่ละประเภท
พร้อมสู่การทำงาน การดูแล
การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ
สุขภาพและความปลอดภัย
ความบกพร่องทางการเห็น
ในการทำงาน การบริหาร
ความบกพร่องทางการได้ยิน
ความบกพร่องทางสติปั ญญา
ความบกพร่องทางร่างกายหรือ
9

มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้
เรียน ควรคำนึงถึงสภาพ และระดับความพิการ ความต้องการจำเป็ น
พิเศษสำหรับการดำรงชีวิตอิสระในชุมชนหลังจบการศึกษาจึงกำหนด
ให้ผู้เรียนเรียนรู้ 4 สาระการเรียนรู้ และได้รับการพัฒนาทักษะ
จำเป็ นเฉพาะความพิการตามความต้องการจำเป็ นแต่ละประเภท
ตามความต้องการของแต่ละบุคคล คือ
10

1. สาระการดำรงชีวิตประจำวันและการจัดการตนเอง มี 4
มาตรฐาน
2. สาระการเรียนรู้และความรู้พื้นฐาน มี 3 มาตรฐาน
3. สาระการปรับตัวทางสังคมและการเป็ นพลเมืองที่เข้ม
แข็ง มี 3 มาตรฐาน
4. สาระการงานพื้นฐานอาชีพ มี 5 มาตรฐาน
5. ทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการแต่ละประเภทมี 8
มาตรฐาน
ในแต่ละสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็ น
เป้ าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้
ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้ ปฏิบัติได้ มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่
พึงประสงค์เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้นมาตรฐานการ
เรียนรู้ยังเป็ นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ
เพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร จะ
สอนอย่างไร และประเมินอย่างไร รวมทั้งเป็ นเครื่องมือในการตรวจ
สอบเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้ระบบการประเมิน
คุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก อีกทั้งช่วยสะท้อน
ภาพการจัดการศึกษาว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่
มาตรฐานการเรียนรู้กำหนดเพียงใด

ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะ
ของผู้เรียน ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐาน
การเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจง และมีความเป็ นรูปธรรม นำไปใช้ใน
11

การกำหนดสาระ หน่วยการเรียนรู้
จัดกิจกรรม และสื่อการเรียนการสอน ตลอดจนการวัดประเมินผล
เพื่อตรวจสอบคุณภาพ และพัฒนาการ
ของผู้เรียน

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด
พระนครศรีอยุธยาพุทธศักราช 2564 กำหนดสาระ 4 สาระ
มาตรฐานการเรียนรู้ 15 มาตรฐาน และตัวชี้วัด 38 ตัวชี้วัด ดังนี้

ท สาระการเรียนรู้ จำนวน จำนวนตัวชี้วัด


ี่ มาตรฐาน
1 สาระการดำรงชีวิตประจำวันและ 4 13

การจัดการตนเอง
2 สาระการเรียนรู้และความรู้พื้น 3 12

ฐาน
3 สาระการเรียนรู้ทางสังคมและการ 3 6

เป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง
4 สาระการงานพื้นฐานอาชีพ 5 7

รวม 15 38
5 ทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการ 8 47
แต่ละประเภท (8+7+6+6+6+5+4+5 )

1.สาระการดำรงชีวิตประจำวันและการจัดการตนเอง มี 4
มาตรฐาน ดังนี้
12

มาตรฐานที่ 1 เข้าใจ เห็นความสำคัญและมีทักษะในการ


ดูแลตนเอง การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล การป้ องกัน หลีกเลี่ยง
อันตราย และมีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน
มาตรฐานที่ 2 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการเสริมสร้าง
สุขภาพ ออกกำลังกาย นันทนาการตามความถนัด ความสนใจและ
ใช้เวลาว่างให้เป็ นประโยชน์ เพื่อสุขภาพกายที่แข็งแรง และสุขภาพ
จิตที่ดี
มาตรฐานที่ 3 เข้าใจ รับรู้ อารมณ์ของตนเอง ผู้อื่นและมี
การจัดการได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานที่ 4 เข้าใจ เห็นคุณค่า มีความภาคภูมิใจใน
ตนเอง ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่
และวางแผนการดำเนินชีวิต ให้สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน
สังคมอย่างมีความสุข
2. สาระการเรียนรู้และความรู้พื้นฐาน มี 3 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 การสื่อสาร
มาตรฐานที่ 2 การคิดคำนวณ
มาตรฐานที่ 3 สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน
ชีวิตประจำวัน
3. สาระการเรียนรู้ทางสังคมและการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง
มี 3 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ที่มีต่อตนเอง
ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสังคม รวมถึงการรักษาสิทธิของ
ตนเอง และแสดงออกถึงการเคารพสิทธิของบุคคลอื่น
13

มาตรฐานที่ 2 มีส่วนร่วมทางสังคม เข้าร่วมกิจกรรมของ


สังคม และแสดงออกถึงการมีจิตสาธารณะ
มาตรฐานที่ 3 ปฏิบัติตนเพื่อธำรงรักษาประเพณี
วัฒนธรรม และปฏิบัติตนเป็ นศาสนิกชนที่ดี
4. สาระการงานพื้นฐานอาชีพ มี 5 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 การทำงานบ้าน
มาตรฐานที่ 2 การประกอบอาชีพที่หลากหลายในชุมชน
มาตรฐานที่ 3 การเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน
มาตรฐานที่ 4 การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการ
ทำงาน
มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการทางการเงิน
5.ทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการแต่ละประเภท มี 8
มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความ
บกพร่องทางการเห็น
มาตรฐานที่ 2 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความ
บกพร่องทางการได้ยิน
มาตรฐานที่ 3 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความ
บกพร่องทางสติปั ญญา
มาตรฐานที่ 4 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความ
บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
มาตรฐานที่ 5 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความ
บกพร่องทางการเรียนรู้
14

มาตรฐานที่ 6 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความ


บกพร่องทางการพูดและภาษา
มาตรฐานที่ 7 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความ
บกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
มาตรฐานที่ 8 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะบุคคลออทิ
สติก
สาระการดำรงชีวิตประจำวันและการจัดการตนเอง
สาระการดำรงชีวิตประจำวันและการจัดการตนเอง มี 4
มาตรฐาน 13 ตัวชี้วัด มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 เข้าใจ เห็นความสำคัญและมีทักษะในการดูแล
ตนเอง การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล การป้ องกัน
หลีกเลี่ยงอันตราย และมีความปลอดภัยในการดำเนิน
ชีวิตประจำวัน
มาตรฐานที่ 1 มีจำนวน 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. ดูแลสุขอนามัย 1.1 รู้และเข้าใจการดูแลสุขอนามัยและกิจวัตร
ตนเอง ประจำวันพื้นฐาน
1.2 ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน
1.3 ดูแลความสะอาด สุขอนามัยของตนเอง
1.4 ดูแลสุขอนามัยได้อย่างเหมาะสมตามเพศ
ของตนเอง
1.5 ปฏิบัติตนตามมาตรการการป้ องกันโรค
2. แต่งกายได้ด้วย 2.1 รู้และเข้าใจวิธีการแต่งกายและการสวมใส่
15

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ตนเองและเหมาะสม เครื่องประดับ
ตามกาลเทศะ 2.2 ถอดเครื่องแต่งกายประเภทต่าง ๆ
2.3 สวมใส่เครื่องแต่งกายประเภทต่าง ๆ
2.4 เลือกเครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับตา
ความชอบส่วนตัว
2.5 เลือกเครื่องแต่งกายได้เหมาะสมกับ
กาลเทศะและโอกาส
2.6 เลือกซื้อเครื่องแต่งกายจากร้านค้า
3. ใช้ห้องน้ำได้ถูก 3.1 รู้หรือแสดงความต้องการเมื่อต้องการเข้า
ต้องตามสุขลักษณะ ห้องน้ำ
3.2 รู้จักเลือกใช้อุปกรณ์และห้องน้ำภายใน
บ้าน ห้องน้ำสารธารณะได้อย่างถูกต้อง
ตรงตามเพศของตนเอง
3.3 ทำความสะอาดตนเองและห้องน้ำ หลังใช้
ห้องน้ำและแต่งกายให้แล้วเสร็จก่อนออก
จากห้องน้ำ
3.4 เลือกใช้ห้องน้ำสาธารณะที่ตรงกับเพศของ
ตนเอง
4. รับประทานอาหาร 4.1 รู้วิธีการเลือกและเตรียม ภาชนะอุปกรณ์
รวมถึงวิธีการรับประทานอาหาร
4.2 เลือกและเตรียม ภาชนะอุปกรณ์รับ
ประทานอาหารได้
4.3 ใช้ภาชนะ อุปกรณ์ได้เหมาะสมกับประเภท
16

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อาหาร เช่น ช้อน ส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ
ถ้วย ชาม จาน เป็ นต้น
4.4 ตักอาหารและเครื่องดื่มสำหรับตนเองใน
ปริมาณที่เหมาะสม
4.5 เก็บภาชนะภาชนะอุปกรณ์รับประทาน
อาหารได้
4.6 มีมารยาทในการร่วมรับประทานกับผู้อื่น
17

มาตรฐานที่ 1(ต่อ)
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. ดูแลตนเองให้มี 5.1 รู้และเข้าใจถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจาก
ความปลอดภัยใน ของมีคม สารเคมี
บ้าน สัตว์เลี้ยง สัตว์มีพิษ และกรณีฉุกเฉินเหตุไฟ
ไหม้ อุบัติเหตุ
5.2 เคลื่อนย้ายตนเองไปยังที่ต่าง ๆ ในบ้านได้
ตามความต้องการ
และปลอดภัย
5.3 ใช้งานของมีคมอย่างถูกวิธีและรู้จักป้ องกัน
อันตรายจากของมีคม
5.4 ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ าอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
5.5 หลีกเลี่ยงสารเคมีและการใช้สารเคมีอย่าง
ถูกวิธี และปลอดภัย
5.6 เลี้ยงและดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างถูกวิธีและ
ปลอดภัย
5.7 ป้ องกันตนเองจากสัตว์ แมลงที่มีพิษและ
เป็ นอันตราย
5.8 รู้วิธีและสามารถขอความช่วยเหลือจาก
คนในครอบครัว
ในกรณีฉุกเฉินเหตุไฟไหม้ อุบัติเหตุ
18

6. ดูแลตนเองให้มี 6.1 รู้และเข้าใจการปฏิบัติตามกฎจราจร


ความปลอดภัยใน 6.2 สวมใส่หมวกกันน็อค
การเดินทางและกรณี 6.3 คาดเข็มขัดนิรภัย
ฉุกเฉิน 6.4 ข้ามถนนอย่างปลอดภัย
6.5 ปฏิบัติตามกฎจราจร และตอบสนอง
สัญญาณเตือนภัยได้อย่างเหมาะสม
6.6 เอาตัวรอดจากเหตุฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง
และปลอดภัย
6.7 สามารถขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
จากสถานีดับเพลิง ตำรวจ รถพยาบาล
7. ใช้เทคโนโลยีอย่าง 7.1 รู้จักประเภท อุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยี
ปลอดภัย ในชีวิตประจำวัน
7.2 รู้จักวิธีการใช้งานอุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยี
7.3 ใช้งานอุปกรณ์ เทคโนโลยีและสื่อสังคม
ออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
8. ปฐมพยาบาล 8.1 รู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และวิธีการ
เบื้องต้น ใช้ยายาสามัญประจำบ้านและยาประจำตัว
8.2 รักษาแผลถลอก หรือการบาดเจ็บเล็กน้อย
การเจ็บป่ วยเล็กน้อยและน้ำร้อนลวก
8.3 ใช้ยาสามัญประจำบ้านและยาประจำตัว
8.4 รับรู้ หลีกเลี่ยง และสามารถบอกผู้
เกี่ยวข้องได้ว่าตนเองแพ้ยา/แพ้อาหาร
ชนิดใด
19

มาตรฐานที่ 2 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพ
ออกกำลังกาย นันทนาการ
ตามความถนัด ความสนใจและใช้เวลาว่างให้เป็ น
ประโยชน์ เพื่อสุขภาพกายที่แข็งแรงและสุขภาพจิตที่ดี
มาตรฐานที่ 2 มีจำนวน 1 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีสุขภาพอนามัย 1.1 รู้จักการป้ องกันการเจ็บป่ วย ดูแล
ที่ดี รักษาสุขภาพของตนเอง
ใช้เวลาว่างให้เป็ น เช่น พักผ่อน รักษาความอบอุ่นของ
ประโยชน์ ร่างกาย ออกกำลังกาย
เล่นกีฬา และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่
สบาย
1.2 เลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลัก
อนามัยและโภชนาการ
1.3 ออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือ
นันทนาการตามความถนัด
และความสนใจ
1.4 ใช้เวลาว่างให้เป็ นประโยชน์ โดยเลือก
และทำกิจกรรมตามความถนัดและ
ความสนใจ
20

มาตรฐานที่ 3 เข้าใจ รับรู้ อารมณ์ของตนเอง ผู้อื่นและมีการ


จัดการได้อย่างเหมาะสม
มาตรฐานที่ 3 มีจำนวน 1 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีสุขภาพจิตดี 1.1 เข้าใจอารมณ์และรับรู้ความรู้สึกของ
และมีความสุข ตนเองและผู้อื่น
1.2 บอกอารมณ์พื้นฐานของตนเอง
1.3 รู้จักตอบรับหรือปฏิเสธอย่างสมเหตุ
สมผล
1.4 นำตนเองออกมาจากสถานการณ์ที่ไม่
พึงประสงค์
1.5 แสดงสีหน้า อารมณ์และสนทนา
ตอบโต้ เมื่อได้รับคำชมเชย
คำติชม หรือคำเตือนจากผู้อื่น
1.6 มีความยืดหยุ่นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
เวลา หรือจากสถานที่หนึ่งไปอีกสถาน
ที่หนึ่ง
1.7 ตีความหมายสีหน้า ท่าทาง ภาษากาย
และน้ำเสียงของผู้อื่น
และตอบสนองอารมณ์ของผู้อื่น
1.8 จัดการกับอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์
21

มาตรฐานที่ 4 เข้าใจ เห็นคุณค่า มีความภาคภูมิใจในตนเอง ปฏิบัติ


ตามบทบาทหน้าที่และวางแผนการดำเนินชีวิต ให้
สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข
มาตรฐานที่ 4 มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. เห็นคุณค่า และ 1.1 รู้และเข้าใจจุดอ่อนจุดแข็ง สิ่งที่
มีความภาคภูมิใจ ตนเองชอบและไม่ชอบ
ในตนเอง 1.2 บอกสิ่งที่ตนเองชอบและไม่ชอบ
1.3 บอกจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง
1.4 บอกวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมกับ
ความสามารถของตนเอง
1.5 บอกความดีที่ตนเองกระทำ และสิ่งที่
ตนเองภูมิใจ (ช่วยทำงานบ้านช่วย
ดูแลสัตว์เลี้ยง ความดีที่กระทำต่อ
ครอบครัว ห้องเรียน สถานศึกษา
ชุมชน สังคม)
1.6 บอกความซื่อสัตย์ที่ตนเองกระทำได้
(ไม่ลักขโมย ไม่พูดโกหก)
22

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.7 บอกความเสียสละที่ตนเองกระทำได้
(แบ่งขนม หรือของเล่นให้คนอื่น)
2. ปฏิบัติตาม 2.1 รู้จักบทบาท หน้าที่และมีความรับผิด
บทบาทหน้าที่ของ ชอบในการกระทำตามบทบาทหน้าที่
ตนเอง ของตนเอง บทบาทหน้าที่ของลูก
บทบาทของนักเรียน และบทบาทของ
พลเมือง
2.2 ปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบใน
การกระทำตามบทบาทหน้าที่ของ
ตนเอง บทบาทหน้าที่ของลูก บทบาท
ของนักเรียน และบทบาทของพลเมือง
2.3 ดูแลรักษาสิ่งของหรือสมบัติของ
ตนเองและรักษาสิทธิของตนเอง
2.4 ป้ องกันตนเองจากการถูกเอาเปรียบ
จากผู้อื่น
3. วางแผนการ 3.1 วางแผนในการทำกิจวัตรประจำวัน
ดำเนินชีวิต 3.2 วางแผนในการเดินทาง เลือกวิธีและ
ใช้ยานพาหนะ
ในการเดินทาง
3.3 วางแผนในการทำกิจกรรมให้สำเร็จ
ตามเวลาที่กำหนด
3.4 วางแผนชีวิตในการศึกษาต่อ
3.5 วางแผนชีวิตในการทำงาน
23

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3.6 วางแผนการใช้ชีวิตในชุมชน

สาระการเรียนรู้และความรู้พื้นฐาน
สาระการเรียนรู้และความรู้พื้นฐาน มี 3 มาตรฐาน 12 ตัวชี้
วัด มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 การสื่อสาร
มาตรฐานที่ 1 มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. การรับและส่ง 1.1 การรับรู้เสียง และคำโดยหันตาม
สารในชีวิตประจำ แหล่งที่มาของเสียง
วัน 1.2 การแสดงสีหน้าท่าทาง และการพูด
โดยตอบสนองต่อคำพูด เช่น การหัน
ตามเสียงเรียก ยกมือ โบกมือ ตบมือ
1.3 การรับรู้ และเข้าใจความหมายของ
ภาษา โดยแสดงท่าทางกริยา หรือใช้
รูปแบบการรับรู้อื่น ๆ
1.4 การฟั งและปฏิบัติตามคำสั่ง ตาม
ศักยภาพ
1.5 แสดงออกเพื่อสื่อความหมายโดย
24

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
การพูด หรือแสดงท่าทาง หรือใช้รูป
แบบอื่น ๆ
1.6 การบอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อเล่น
ชื่อ-สกุล ชื่อเล่น เพศ พ่อแม่ หรือ
บุคคลในครอบครัว โดยการชี้ การ
พูด การใช้รูปภาพ หรือวิธีอื่น ๆ
1.7 สนทนาโต้ตอบ โดยการพูดหรือ
แสดงท่าทาง หรือ เล่าเรื่อง หรือ
เขียนให้ผู้อื่นเข้าใจ หรือใช้รูปแบบ
การสื่อสารอื่น ๆ
1.8 เลือกฟั ง เลือกดู สิ่งที่เป็ นความรู้
และความบันเทิงได้ตามศักยภาพ
1.9 มีมารยาทในการฟั ง พูด ฟั ง อ่าน
เขียน แสดงท่าทาง
เพื่อการรับและส่งสารได้ตาม
ศักยภาพ
2. การอ่านในชีวิต 2.1 กวาดสายตาจากซ้ายไปขวา บนลง
ประจำวัน ล่าง
2.2 ออกเสียง พยัญชนะ สระ
วรรณยุกต์ด้วยวิธีการต่าง ๆ
ได้ตามศักยภาพ
2.3 ออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษ
ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ตามศักยภาพ
25

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.4 ออกเสียงคำที่มีสระเดี่ยว สระ
ประสมในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ตามศักยภาพ
2.5 ออกเสียงคำที่มีตัวสะกดในภาษา
ไทย ภาษาอังกฤษ
ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามศักยภาพ
2.6 เลียนแบบเสียงคำและ ประโยค
ด้วยในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ด้วย
วิธีการต่าง ๆ ได้ตามศักยภาพ

มาตรฐานที่ 1 (ต่อ)
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. การอ่านในชีวิต 2.7 อ่านและเข้าใจความหมาย ภาพ
ประจำวัน(ต่อ) หรือสัญลักษณ์ในภาษาไทย ภาษา
อังกฤษด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้ตาม
ศักยภาพ
2.8 อ่านข้อความสั้นๆในภาษาไทยและ
ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้
ตามศักยภาพ
2.9 อ่านคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันใน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการ
ต่าง ๆ ได้ตามศักยภาพ
26

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.10 อ่านประโยคที่มีความยาวและ
สถานการณ์ซับซ้อนในภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้
ตามศักยภาพ
2.11 อ่านจับใจความสำคัญในภาษา
ไทย ภาษาอังกฤษด้วยวิธีการต่าง ๆ
ได้ตามศักยภาพ
2.12 มีมารยาทใน การอ่าน ได้ตาม
ศักยภาพ
3. การเขียนในชีวิต 3.1 จับดินสอได้ตามศักยภาพ
ประจำวัน 3.2 ลากเส้นอิสระ
3.3 ลากเส้นพื้นฐาน 13 เส้น
3.4 ลากเส้นรูป เรขาคณิต ได้ตาม
ศักยภาพ
3.5 เขียนพยัญชนะไทย สระ วรรณยุกต์
ได้ตามศักยภาพ
เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษ ด้วยวิธี
การต่าง ๆ ได้ตามศักยภาพ
3.6 เขียนสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมาย
ด้วยวิธีการต่าง ๆตามศักยภาพ
3.7 เขียนคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันใน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ได้ตาม
ศักยภาพ
27

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3.8 เขียนประโยค เพื่อบอกเล่า
สถานการณ์ในภาษาไทยภาษา
อังกฤษได้ตามศักยภาพ
3.9 เขียนหรือวาดสัญลักษณ์ตาม
จินตนาการเพื่อสื่อความหมายใน
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษได้ตาม
ศักยภาพ
3.10 เขียนหรือวาดสัญลักษณ์เพื่อสรุป
ใจความสำคัญในภาษาไทย ภาษา
อังกฤษได้ตามศักยภาพ
3.11 เขียนเพื่อสื่อสารโดยใช้คำหรือ
สัญลักษณ์ในภาษาไทย ภาษา
อังกฤษ ได้ถูกต้อง เหมาะสมตาม
ศักยภาพ
3.12 มีมารยาทในการเขียนได้ตาม
ศักยภาพ

มาตรฐานที่ 2 การคิดคำนวณ
มาตรฐานที่ 2 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. ดำเนินการทาง 1.1 นับจำนวน 1-10 ด้วยวิธีการหรือรูป
คณิตศาสตร์ แบบที่หลากหลาย
28

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เข้าใจความหลาก 1.2 บอกค่าของ จำนวนด้วยวิธีการหรือ
หลายของการแสดง รูปแบบที่หลากหลาย
จำนวนและการใช้ 1.3 นับเพิ่มทีละ ไม่เกิน 10 ด้วยวิธีการ
จำนวนในชีวิต หรือรูปแบบที่หลากหลาย
ประจำวัน 1.4 นับลดทีละ 1 ตั้งแต่ 10 ด้วยวิธีการ
หรือรูปแบบที่หลากหลาย
1.5 อ่านสัญลักษณ์ตัวเลข 1-10 ด้วยวิธี
การหรือรูปแบบที่หลากหลาย
1.6 เขียนตัวเลข 1-10 ด้วยวิธีการหรือ
รูปแบบที่หลากหลาย
1.7 จับคู่และเปรียบเทียบความแตกต่าง
และความเหมือนของสิ่งของ โดยใช้
การสังเกตหรือวิธีอื่น ๆที่หลากหลาย
2. เข้าใจถึงผลที่เกิด 2.1 เข้าใจสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์
ขึ้นจากการดำเนิน ด้วยการ ชี้บอกแสดงท่าทางตอบ
การของจำนวนและ สนอง หรือด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ความสำคัญ 2.2 วิเคราะห์และแสดงวิธีการหาคำ
ระหว่างการเนินการ ตอบของโจทย์ปั ญหาของจำนวนนับ
ต่าง ๆ และแก้ เศษส่วน จำนวนคละ ทศนิยม ร้อย
ปั ญหาในชีวิต ละ พร้อมทั้งตระหนักถึงความสม
ประจำวัน เหตุสมผลของคำตอบและแก้ปั ญหา
เกี่ยวกับจำนวนนับได้ ด้วยวิธีที่หลาก
หลาย ตามศักยภาพ
29

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.3 เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติ
เกี่ยวกับจำนวนไปใช้แก้ปั ญหาได้
ตามศักยภาพ
3. เข้าใจพื้นฐาน 3.1 เปรียบเทียบขนาดของสิ่งของ โดยไม่
เกี่ยวกับการวัด ใช้หน่วยมาตรฐาน
และคาดคะเนขนาด 3.2 เปรียบเทียบระยะทาง โดยใช้สายตา
ของสิ่งที่ต้องการวัด หรือวิธีการที่หลากหลาย
และแก้ปั ญหาเกี่ยว 3.3 บอกและเปรียบเทียบความสูง
กับการวัดได้ 3.4 บอกช่วงเวลา จำนวนวัน และชื่อ
วันในสัปดาห์
3.5 บอกน้ำหนักเป็ นกิโลกรัมและขีด
และเปรียบเทียบน้ำหนักได้ตาม
ศักยภาพ
3.6 บอกเวลาบนหน้าปั ดนาฬิกาโดยใช้วิธี
การที่หลากหลาย
3.7 บอกความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
การชั่ง การตวง เงิน เวลาและความ
จุ โดยใช้หน่วยมาตรฐานนำมาใช้
และแก้ปั ญหาในชีวิตประจำวันได้
ตามศักยภาพ
3.8 หาพื้นที่ ความยาวรอบรูปของรูป
วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม เพื่อนำ
มาใช้แก้ปั ญหาในชีวิตประจำวันได้
30

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 2 (ต่อ)
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
4. อธิบายและ 4.1 จำแนกและจัดกลุ่มรูปทรง โดย
วิเคราะห์รูปแบบ การบอก การชี้ หยิบหรือด้วยวิธี
เรขาคณิต และใช้ การที่หลากหลาย
แบบจำลองทาง 4.2 บอกชนิดของรูปเรขาคณิต ได้ตาม
เรขาคณิต ศักยภาพ
ในการแก้ปั ญหาใน 4.3 ใช้คุณสมบัติของรูปทรงเพื่อแก้
ชีวิตประจำวัน ปั ญหาในชีวิตประจำวันได้ตาม
ศักยภาพ
5. ทักษะและ 5.1 มีความสามารถในการแก้ปั ญหา
กระบวนการทาง การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อ
คณิตศาสตร์ ความหมายทางคณิตศาสตร์และ
การเชื่อมโยงความรู้ทาง
คณิตศาสตร์และเชื่อมโยง
คณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมี
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้วยวิธีที่
หลากหลายตามศักยภาพ

มาตรฐานที่ 3 สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิต


ประจำวัน
31

มาตรฐานที่ 3 มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด ดังนี้


ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. เข้าใจความ 1.1 บอกประวัติความเป็ นมาของ
หมายความสำคัญ ตนเองและครอบครัวโดยใช้รูปแบบ
ของเวลาและยุค ที่หลากหลาย
สมัยทาง 1.2 ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน
ประวัติศาสตร์ และ ครอบครัว หรือชีวิตของตนเอง โดย
สามารถใช้วิธีการ ใช้รูปแบบที่หลากหลาย
ทางประวัติศาสตร์ 1.3 รู้ประวัติความเป็ นมาของท้องถิ่น
มาวิเคราะห์ ตนเองโดยใช้รูปแบบที่หลากหลาย
เหตุการณ์ต่าง ๆ 1.4 เข้าใจความหมาย และความ
อย่างเป็ นระบบ สำคัญของเวลาและยุคสมัยทาง
ประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบที่
หลากหลาย
1.5 อธิบายความหมายและความ
สำคัญของสัญลักษณ์สำคัญของ
ชาติไทย และปฏิบัติตนได้อย่างถูก
ต้องโดยใช้รูปแบบที่หลากหลาย
2. เข้าใจลักษณะ 2.1 บอกสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามธรรมชาติ
ของโลกกายภาพ ที่ส่งผลต่อความเป็ นอยู่ของมนุษย์
และความสัมพันธ์ โดยการใช้รูปแบบการสื่อสารที่
ของสรรพสิ่งซึ่งมี หลากหลาย
ผลต่อกันและกัน 2.2 สังเกตและเปรียบเทียบการ
ในระบบของ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่
32

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ธรรมชาติที่ใช้ อยู่รอบตัว โดยใช้รูปแบบที่หลาก
แผนที่ และเครื่อง หลาย
มือทางภูมิศาสตร์ 2.3 มีส่วนร่วมในการจัดระเบียบสิ่ง
ในการค้นหา แวดล้อมที่บ้านและชั้นเรียน โดยใช้
วิเคราะห์ สรุป และ รูปแบบที่หลากหลาย
นำข้อมูลไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน
มาตรฐานที่ 3 (ต่อ)
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. เข้าใจหน่วยพื้น 3.1 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง
ฐานของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตโดยการบอก
ความสำคัญ ชี้ หรือหยิบ หรือใช้วิธีการที่หลาก
โครงสร้าง และ หลาย
หน้าที่ของระบบ 3.2 สังเกตและอธิบายลักษณะและ
ต่าง ๆ วิวัฒนาการ หน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของ
ของสิ่งมีชีวิต ความ พืชและสัตว์ ได้ตามศักยภาพ
หลากหลายทาง 3.3 สังเกตและอธิบายลักษณะหน้าที่
ชีวภาพ ของสิ่งมี และความสำคัญอวัยวะภายนอก
ชีวิต ของมนุษย์ได้ตามศักยภาพ
และนำความรู้ไปใช้ 3.4 อธิบายการดำรงชีวิตและการ
ประโยชน์ เจริญเติบโตของพืชและสัตว์และนำ
ความรู้ใช้ในชีวิตประจำวันได้ตาม
ศักยภาพ
33

3.5 อธิบายการสืบพันธุ์ของพืชและ
สัตว์และนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิต
ประจำวัน ได้ตามศักยภาพ
3.6 อธิบายผลความหลากหลายทาง
ชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์ สัตว์ พืช
และสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีที่หลาก
หลายตามศักยภาพ
4. เข้าใจเทคโนโลยี 4.1 รู้จัก อุปกรณ์ เทคโนโลยีในชีวิต
และกระบวนการ ประจำวัน โดยการบอก ชี้ หยิบ
เทคโนโลยี หรือรูปแบบการสื่อสารอื่น ๆ
ออกแบบและสร้าง 4.2 บอกประโยชน์สิ่งของเครื่องใช้ที่
สิ่งของเครื่องใช้ เป็ นเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน โดย
หรือวิธีการตาม การบอก ชี้ หยิบหรือรูปแบบการ
กระบวนการ สื่อสารอื่น ๆ
เทคโนโลยีอย่างมี 4.3 เลือกใช้สิ่งของที่เป็ นเทคโนโลยี
ความสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง
เลือกใช้เทคโนโลยี เหมาะสม
ในทางสร้างสรรค์ 4.4 เลือกใช้เทคโนโลยีในทาง
ต่อชีวิต สังคม สิ่ง สร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคมและมีการ
แวดล้อมและมีส่วน จัดการสิ่งของเครื่องใช้ด้วยการ
ร่วมในการจัดการ แปรรูปและนำมาใช้ใหม่ ด้วยวิธีที่
ในเทคโนโลยีที่ หลากหลายตามศักยภาพ
ยั่งยืน
34

สาระการเรียนรู้ทางสังคมและการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง
สาระการเรียนรู้ทางสังคมและการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็งมี 3
มาตรฐาน 6 ตัวชี้วัด มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ที่มีต่อตนเอง ครอบครัว
โรงเรียน ชุมชนและสังคม
รวมถึงการรักษาสิทธิของตนเอง และแสดงออกถึงการ
เคารพสิทธิของบุคคลอื่น
มาตรฐานที่ 1 มีจำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. รู้ เข้าใจ 1.1 รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง
ตระหนักและปฏิบัติ ในการเป็ นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
ตามบทบาทหน้าที่ 1.2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในการเป็ น
ที่มีต่อตนเอง สมาชิกที่ดีของครอบครัว
ครอบครัว โรงเรียน 1.3 รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองในการ
ชุมชนและสังคม เป็ นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน
35

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
รวมถึงการรักษา 1.4 ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของ
สิทธิของตนเอง ตนเองในการเป็ นสมาชิกที่ดีของ
โรงเรียน
1.5 รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองตามกฎ
ระเบียบของชุมชน และสังคม
1.5 ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของ
ตนเองในการเป็ นสมาชิกที่ดีของชุมชน
และสังคม
2. รู้ เข้าใจ 2.1 รู้จักการปฏิบัติตนที่แสดงให้เห็นถึง
ตระหนักและ การให้การยอมรับนับถือต่อสมาชิกใน
แสดงออกถึงการ ครอบครัว และไม่ละเมิด ล่วงล้ำ
รักษาสิทธิของ เสรีภาพของบุคคลในครอบครัว
ตนเอง และเคารพ 2.2 เข้าใจและปฏิบัติตนที่แสดงให้เห็นถึง
สิทธิของบุคคลอื่น การให้การยอมรับนับถือต่อสมาชิกใน
ครอบครัว และไม่ละเมิด ล่วงล้ำ
เสรีภาพของบุคคลในครอบครัว
2.3 รู้จักการปฏิบัติตนที่แสดงให้เห็นถึง
การให้การยอมรับนับถือต่อเพื่อน ครู
และบุคลากรในโรงเรียน และไม่
ละเมิด ล่วงล้ำเสรีภาพของบุคคลอื่น
ในโรงเรียน
2.4 เข้าใจและปฏิบัติตนที่แสดงให้เห็นถึง
การให้การยอมรับนับถือต่อเพื่อน ครู
36

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
และบุคลากรในโรงเรียน และไม่
ละเมิดล่วงล้ำเสรีภาพของบุคคลอื่นใน
โรงเรียน
2.5 รู้จักการปฏิบัติตนที่แสดงให้เห็นถึง
การให้การยอมรับนับถือต่อผู้อื่นใน
ชุมชนและสังคม ไม่ละเมิด ล่วงล้ำ
เสรีภาพของบุคคลอื่นในชุมชนและ
สังคม
2.6 เข้าใจและปฏิบัติตนที่แสดงให้เห็นถึง
การให้การยอมรับนับถือต่อผู้อื่นใน
ชุมชนและสังคม ไม่ละเมิด ล่วงล้ำ
เสรีภาพของบุคคลอื่นในชุมชนและ
สังคม
มาตรฐานที่ 2 มีส่วนร่วมทางสังคม เข้าร่วมกิจกรรมของสังคม
และแสดงออกถึงการมีจิตสาธารณะ
มาตรฐานที่ 2 มีจำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. รู้ เข้าใจ 1.1 รู้ เข้าใจ ตระหนักถึงการมีส่วนร่วม
ตระหนักถึงการมี ของครอบครัว
ส่วนร่วมทางสังคม 1.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรมของ
และเข้าร่วม ครอบครัว
กิจกรรมของสังคม 1.3 รู้ เข้าใจ ตระหนักถึงการมีส่วนร่วม
ของโรงเรียน
37

1.4 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรมของ
โรงเรียน
1.5 รู้ เข้าใจ ตระหนักถึงการมีส่วนร่วม
ของชุมชน
1.6 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรมของ
ชุมชน
1.7 รู้ เข้าใจ ตระหนักถึงการมีส่วนร่วม
ของสังคม
1.8 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรมของ
สังคม
2. รู้ เข้าใจ และ 2.1 รู้ และเข้าใจ ถึงการเป็ นผู้มีจิต
แสดงออกถึงการมี สาธารณะ
จิตสาธารณะ 2.2 แสดงออกถึงการมีจิตสาธารณะ ต่อ
บุคคล สถานที่ และโอกาสต่าง ๆ
2.3 เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อ
โรงเรียน ชุมชน และสังคม
2.4 รู้จักรักษาสาธารณสมบัติและสิ่ง
แวดล้อม

มาตรฐานที่ 3 ปฏิบัติตนเพื่อธำรงรักษาประเพณี วัฒนธรรม และ


ปฏิบัติตนเป็ นศาสนิกชนที่ดี
มาตรฐานที่ 3 มีจำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
38

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. รู้ เข้าใจ 1.1 รู้จัก ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ
ตระหนักและปฏิบัติ วัฒนธรรมไทย
ตนเพื่อธำรงรักษา 1.2 ปฏิบัติตาม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณี และ ศิลปะ วัฒนธรรมไทย และมีความ
วัฒนธรรม กตัญญูกตเวที
1.3 เห็นคุณค่าและใช้ภาษาไทยในการ
สื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
1.4 อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปั ญญาไทย
1.5 ภาคภูมิใจในขนบธรรมเนียม
ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมไทย
2. เข้าใจ ตระหนัก 2.1 เข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญต่อ
และปฏิบัติตนเป็ น ศาสนพิธี พิธีกรรมและวันสำคัญทาง
ศาสนิกชนที่ดี และ ศาสนาที่ตนเองนับถือ
ธำรงรักษาศาสนา 2.2 ปฏิบัติตนต่อผู้นำทางศาสนาและ
พุทธหรือศาสนาที่ ศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ
ตนเองนับถือ รวมถึงศาสนาอื่นได้อย่างเหมาะสม
2.3 แสดงตนเป็ นศาสนิกชนที่ดีของ
ศาสนาที่ตนนับถือ
2.4 ปฏิบัติตนในศาสนพิธี พิธีกรรม และ
วันสำคัญทางศาสนา
ที่ตนนับถือ ได้อย่างเหมาะสม
39

สาระการงานพื้นฐานอาชีพ
สาระการงานพื้นฐานอาชีพ มี 5 มาตรฐาน 7 ตัวชี้วัด มีราย
ละเอียด ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 การทำงานบ้าน
มาตรฐานที่ 1 มีจำนวน 1 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. ทำงานบ้านเพื่อ 1.1 ดูแลเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายของ
ตนเองและ ตนเองหรือสมาชิก
ครอบครัว ในครอบครัว
1.2 จัดเก็บและเปลี่ยนเครื่องนอนของ
ตนเองหรือสมาชิก
ในครอบครัว
1.3 เก็บของเล่น-ของใช้ส่วนตัวหรือของ
สมาชิกในครอบครัว
1.4 เตรียมอาหารและเครื่องดื่มของตนเอง
หรือสมาชิกในครอบครัว
1.5 จัดวางอาหาร เครื่องดื่มและอุปกรณ์
ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสม
1.6 ทำความสะอาดโต๊ะอาหาร
1.7 ทำความสะอาดและจัดเก็บภาชนะ
ต่าง ๆ ถูกต้องเหมาะสม
1.8 ทำความสะอาดและจัดบ้าน
40

มาตรฐานที่ 2 การประกอบอาชีพที่หลากหลายในชุมชน
มาตรฐานที่ 2 มีจำนวน 1 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. เรียนรู้และ 1.1 บอกอาชีพต่าง ๆ ของครอบครัว และ
ประกอบอาชีพที่ ในชุมชน
หลากหลายใน 1.2 บอกหน้าที่ ลักษณะ และความแตก
ชุมชนของตนเอง ต่างของอาชีพ
1.3 ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการทำงาน
เบื้องต้นของครอบครัวและชุมชน
1.4 ทำความสะอาด จัดเก็บ บำรุงรักษา
อุปกรณ์ในการทำงานอาชีพของ
ครอบครัวและชุมชน
1.5 ปฏิบัติตามกระบวนการหรือขั้นตอน
ในงานอาชีพ
1.6 บอกหรือเล่ากระบวนการขั้นตอน ใน
งานอาชีพที่ตนเองสนใจ
1.7 มีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงาน
ร่วมกับผู้ปกครอง
และผู้ที่เกี่ยวข้อง
1.8 ปฏิบัติตามขั้นตอนของแผนการ
ทำงานที่กำหนดไว้
1.9 ประกอบอาชีพที่สนใจ
41

มาตรฐานที่ 3 การเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน
มาตรฐานที่ 3 มีจำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. การปฏิบัติตนให้ 1.1 ปฏิบัติตนให้มีความรับผิดชอบต่อ
มีความพร้อมสู่การ งานในหน้าที่
ทำงาน 1.2 ปฏิบัติตนกับเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ที่
เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
1.3 จัดการอารมณ์ของตนเองได้อย่าง
เหมาะสม
1.4 ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาน
ประกอบการหรืองานอิสระ
1.5 ปฏิบัติงานอาชีพตามความต้องการ
ของสถานประกอบการในสถานการณ์
จำลองได้
1.6 ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงานใน
สถานประกอบการจริงหรืองานอิสระ
2. การสมัครงาน 2.1 เตรียมเอกสารประกอบการสมัคร
งาน
2.2 กรอกข้อมูลแบบฟอร์มการสมัครงาน
2.3 ยื่นเอกสารประกอบการสมัครงาน
2.4 เตรียมตัวได้เหมาะสมกับการสมัคร
งาน
42

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.5 เตรียมตัวเข้ารับการสัมภาษณ์งาน
2.6 ตรวจสอบผลการสมัครงาน
2.7 เตรียมตัวเพื่อเข้าทำงาน

มาตรฐานที่ 4 การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
มาตรฐานที่ 4 มีจำนวน 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. การปฏิบัติตนใน 1.1 แต่งกายได้เหมาะสมเพื่อความ
การดูแลสุขภาพ ปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน
ความปลอดภัยใน 1.2 ปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพ และ
การทำงาน และมี ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
สัมพันธภาพที่ดีกับ 1.3 ใช้เครื่องมือได้ถูกวิธีเหมาะสมและ
เพื่อนร่วมงาน ปลอดภัยกับการปฏิบัติงาน
1.4 ปฏิบัติตนให้มีสัมพันธภาพที่ดีกับ
เพื่อนร่วมงาน
2. การปฏิบัติตนให้ 2.1 ปฏิบัติงานตรงตามเวลาที่สถาน
มีความรับผิดชอบ ประกอบการกำหนด
ในการทำงาน 2.2 ลงเวลา สแกนลายนิ้วมือ ตอกบัตร
มาและกลับ
2.3 ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การขออนุญาต
ลางานได้ถูกต้องตามระเบียบ
2.4 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายในสถาน
ประกอบการด้วยความรับผิดชอบ
43

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.5 ปฏิบัติงานตามขั้นตอนในหน้าที่ที่รับ
ผิดชอบได้อย่างถูกต้องและเป็ น
ระเบียบ
2.6 ปฏิบัติตาม กฎ กติกา ในการทำงาน
ร่วมกัน
มาตรฐานที่ 5 การบริหารจัดการทางการเงิน
มาตรฐานที่ 5 มีจำนวน 1 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. การบริหาร 1.1 บอกค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
จัดการและวางแผน 1.2 บอกรายได้หรืองบประมาณของ
การใช้เงิน ตนเอง
1.3 บอกรายจ่ายประจำวันของตนเอง
1.4 วางแผนการใช้เงิน รายวัน ราย
สัปดาห์และรายเดือน
1.5 บันทึกรายรับ รายจ่าย รายวัน ราย
สัปดาห์และรายเดือน
1.6 ออมเงินโดยหยอดกระปุกออมสิน
หรือฝากธนาคาร
44

ทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการแต่ละประเภท
45

ทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการแต่ละประเภทมี 8 มาตรฐาน


44 ตัวชี้วัด ผู้เรียนจะได้รับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะตามความ
ต้องการจำเป็ นของแต่ละบุคคล มีรายละเอียด ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความบกพร่อง
ทางการเห็น
มาตรฐานที่ 1 มีจำนวน 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีความสามารถ 1.1 รับรู้ต่อการใช้ประสาทสัมผัสทางการ
ในการ เห็นที่เหลืออยู่
บูรณาการประสาท (สำหรับบุคคลสายตาเลือนราง) ใน
สัมผัสที่เหลืออยู่ใน การมองสิ่งต่าง ๆรอบตัวได้
การดำรงชีวิต 1.2 รับรู้ต่อการใช้ประสาทสัมผัสทางการ
ได้ยินเสียงต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมได้
1.3 รับรู้ต่อการใช้ประสาทสัมผัสทางการ
ดมกลิ่นสิ่งต่างๆรอบตัวได้
1.4 รับรู้ต่อการใช้ประสาทสัมผัสทางการ
ชิมรสสิ่งต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้
1.5 รับรู้ต่อการ ใช้ประสาทสัมผัสทางผิว
กายสัมผัสสิ่งต่าง ๆ รอบตัวและใน
สภาพแวดล้อมได้
1.6 รับรู้ต่อการใช้ประสาทการรับรู้การ
ทรงตัวได้
1.7 รับรู้ต่อการใช้ประสาทการรับรู้การ
เคลื่อนไหวเอ็นและข้อต่อได้
46

1.8 ใช้ประสาทสัมผัสในการรับประทาน
อาหาร
2. มีความสามารถ 2.1 มีความคิดรวบยอดที่เกี่ยวข้องกับการ
ในการสร้างความ สร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม
คุ้นเคยกับสภาพ และการเคลื่อนไหวของคนตาบอด
แวดล้อม และการ 2.2 เดินทางกับผู้นำทางได้อย่าง เหมาะ
เคลื่อนไหวของคน สมและปลอดภัย
ตาบอด 2.3 เดินโดยอิสระในสถานที่คุ้นเคยได้
อย่างอิสระและปลอดภัย
3. มีการเตรียม 3.1 เคลื่อนที่มือและนิ้วมือในการสัมผัส
ความพร้อมในการ จุดนูน เส้นนูนและภาพนูนได้ตาม
อ่านอักษรเบรลล์ แบบ
4. มีการเตรียม 4.1 ใส่และเลื่อนกระดาษในสเลส (Slate)
ความพร้อมในการ ได้อย่างถูกวิธี
เขียนอักษรเบรลล์ 4.2 จับสไตลัส (Stylus) ในการเขียนจุด
นูนได้อย่างถูกวิธี
5. มีความสามารถ 5.1 การอ่านอักษรเบรลล์ไทยที่เป็ น
ในการอ่านอักษร พยัญชนะเซลล์เดียวและตัวเลข
เบรลล์พยัญชนะ
ไทยที่มีเซลล์เดียว
และตัวเลข
6. มีความสามารถ 6.1 การเขียนอักษรเบรลล์ที่เป็ น
ในการเขียนอักษร พยัญชนะไทยเซลล์เดียว
47

เบรลล์ พยัญชนะ และตัวเลข


ไทยที่มีเซลล์เดียว
และตัวเลข
7. ความสามารถใน 7.1 การใช้ลูกคิดในการบวกลบง่าย ๆ
การใช้ลูกคิด

มาตรฐานที่ 1 (ต่อ)
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
8. สามารถใช้ 8.1 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารทาง
เทคโนโลยีสิ่ง เลือก
อำนวยความ 8.2 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึง
สะดวก เครื่องช่วย คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ 8.3 ใช้โปรแกรมเสริมผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 2 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความบกพร่อง


ทางการได้ยิน
มาตรฐานที่ 2 มีจำนวน 7 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สามารถใช้และ 1.1 บอกส่วนต่าง ๆ ของเครื่องช่วยฟัง
ดูแลเครื่องช่วยฟั ง หรือเครื่องประสาทหูเทียม
หรือเครื่องประสาท 1.2 ใช้เครื่องช่วยฟั งได้ถูกต้องหรือ
หูเทียม เครื่องประสาทหูเทียม
48

1.3 ดูแลรักษาเครื่องช่วยฟั งหรือเครื่อง


ประสาทหูเทียม
2. สามารถใช้การ 2.1 รู้ว่ามีเสียง/ไม่มีเสียง
ได้ยินที่หลงเหลือ 2.2 บอกเสียงที่ได้ยิน
อยู่ในชีวิตประจำ 2.3 บอกแหล่งที่มาของเสียง
วัน
3. สามารถเปล่ง 3.1 เปล่งเสียงคำที่ไม่มีความหมายตาม
เสียงหรือพูด แบบ
ตามแบบ 3.2 พูดคำง่าย ๆ ที่มีความหมายตาม
แบบ
3.3 พูดเป็ นวลีง่าย ๆ ตามแบบ
3.4 พูดเป็ นประโยคง่าย ๆ ตามแบบ
4. สามารถอ่านริม 4.1 อ่านริมฝี ปากและเข้าใจความหมาย
ฝี ปาก 4.2 ทำรูปปากเป็ นคำที่มีความหมาย
และผู้อื่นเข้าใจได้
4.3 ทำรูปปากเป็ นวลีง่าย ๆ และผู้อื่น
เข้าใจได้
4.3 ทำรูปปากเป็ นประโยคง่าย ๆ และผู้
อื่นเข้าใจได้
5. สามารถใช้ภาษา 5.1 ใช้ภาษาท่าทางในการสื่อสาร
ท่าทางและภาษา 5.2 ใช้ภาษามือบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ รอบ
มือในการสื่อสาร ตัว
5.3 ใช้ภาษามือเพื่อการสนทนาและ
สื่อสาร
49

6. สามารถสะกด 6.1 สะกดนิ้วมือพยัญชนะไทย


นิ้วมือ 6.2 สะกดนิ้วมือ สระและสระเปลี่ยนรูป
6.3 สะกดนิ้วมือ วรรณยุกต์
6.4 สะกดนิ้วมือชื่อตนเอง
6.5 สะกดนิ้วมือคำง่าย ๆ
6.6 สะกดนิ้วมืออักษรภาษาอังกฤษ
7. สามารถใช้ 7.1 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารทาง
เทคโนโลยีสิ่ง เลือก
อำนวยความ 7.2 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึง
สะดวก เครื่องช่วย คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ 7.3 ใช้โปรแกรมเสริมผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการเรียนรู้
50

มาตรฐานที่ 3 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความบกพร่องทาง


สติปั ญญา
มาตรฐานที่ 3 มีจำนวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. เคลื่อนไหว 1.1 ทรงตัวในท่าทางต่าง ๆ เช่น ยืน
ร่างกายได้อย่าง เดิน วิ่ง เป็ นต้น
ประสานสัมพันธ์กัน 1.2 เคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่งได้
อย่างประสานสัมพันธ์กัน
1.3 ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและ
มือได้อย่างประสานสัมพันธ์กัน
1.4 สหสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ
1.5 ควบคุมการเคลื่อนไหวของปากได้
2. สามารถสื่อสาร 2.1 สื่อสารได้เหมาะสมกับสถานการณ์
ได้เหมาะสมกับ
สถานการณ์
3. สามารถดูแล 3.1 ดูแลตนเองและความปลอดภัยใน
ตนเองและความ ชีวิตประจำวัน
ปลอดภัยในชีวิต
ประจำวัน
4. มีปฏิสัมพันธ์ทาง 4.1 มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่นอย่าง
สังคมกับผู้อื่นอย่าง เหมาะสม
เหมาะสม
5. รู้จักใช้ทรัพยากร 5.1 ใช้สิ่งของสาธารณะอย่างเหมาะสม
51

ในชุมชน
6. สามารถใช้ 6.1 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารทาง
เทคโนโลยีสิ่ง เลือก
อำนวยความ 6.2 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึง
สะดวก เครื่องช่วย คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ 6.3 ใช้โปรแกรมเสริมผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 4 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความบกพร่องทาง


ร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
มาตรฐานที่ 4 มีจำนวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. ดูแลสุขอนามัย 1.1 ดูแลหรือทำความสะอาดแผลกดทับ
เพื่อป้ องกันภาวะ ได้
แทรกซ้อน 1.2 บริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อเพื่อคง
สภาพได้
1.3 จัดท่านั่ง ท่านอน หรือทำกิจกรรม
ในท่าทางที่ถูกต้อง
1.4 ดูแลอุปกรณ์ เครื่องช่วยส่วนตัวได้
2. เคลื่อนไหว 2.1 การเคลื่อนไหวร่างกายในท่านอน เช่น
ร่างกายได้อย่าง นอนคว่ำ
ประสานสัมพันธ์กัน พลิกตะแคงตัว เป็ นต้น
2.2 ทรงตัวในท่าทางต่าง ๆ เช่น นั่ง
คลาน ยืน เดิน วิ่ง เป็ นต้น
52

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.3 เคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่งได้
อย่างประสานสัมพันธ์กัน
2.4 ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและ
มือได้อย่างประสานสัมพันธ์กัน
2.5 สหสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ
3. สามารถใช้และ 3.1 เคลื่อนย้ายตนเองในการใช้อุปกรณ์
ดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องช่วย
เครื่องช่วยในการ 3.2 ทรงตัวอยู่ในอุปกรณ์เครื่องช่วยใน
เคลื่อนย้ายตนเอง การเคลื่อนย้ายตนเองได้
(Walker รถเข็น 3.3 เคลื่อนย้ายตนเองด้วยอุปกรณ์
ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน เครื่องช่วย บนทางราบ
ฯลฯ) และทางลาดได้
3.4 เก็บรักษาและดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วย
ในการเคลื่อนย้ายตนเองได้
4. สามารถใช้และ 4.1 ถอดและใส่กายอุปกรณ์เสริม กาย
ดูแลรักษากาย อุปกรณ์ อุปกรณ์ดัดแปลง
อุปกรณ์เสริม กาย 4.2 ใช้กายอุปกรณ์เสริม กายอุปกรณ์
อุปกรณ์ อุปกรณ์ อุปกรณ์ดัดแปลงในการทำกิจกรรม
ดัดแปลง 4.3 เก็บรักษาและดูแลกายอุปกรณ์เสริม
กายอุปกรณ์อุปกรณ์ดัดแปลง
5. ควบคุมอวัยวะที่ 5.1 ควบคุมกล้ามเนื้อรอบปากได้
ใช้ในการพูด การ 5.2 ควบคุมการใช้ลิ้นได้
เคี้ยว และการกลืน 5.3 เป่ าและดูดได้
53

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5.4 เคี้ยวและกลืนได้
5.5 ควบคุมน้ำลายได้
6. สามารถใช้ 6.1 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารทาง
เทคโนโลยีสิ่ง เลือก
อำนวยความ 6.2 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึง
สะดวก เครื่องช่วย คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ 6.3 ใช้โปรแกรมเสริมผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 5 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความบกพร่อง


ทางการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 5 มีจำนวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีความสามารถ 1.1 จำเสียงจากสิ่งที่ได้ยินในชีวิตประจำ
ในการรับรู้การ วัน
ได้ยิน 1.2 จำแนกเสียงที่แตกต่าง
1.3 แยกเสียงที่กำหนดให้ออกจากเสียง
อื่น ๆ ได้
2. มีความสามารถ 2.1 การจำภาพที่เห็นในชีวิตประจำวัน
ในการรับรู้การเห็น 2.2 การแยกวัตถุ ภาพ ตัวพยัญชนะที่
กำหนดให้อยู่ในพื้นฉากที่ต่างกัน
2.3 ตากับมือเคลื่อนไหวสัมพันธ์กัน
54

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.4 การบอกส่วนที่หายไปของรูปภาพที่
กำหนด
2.5 บอกความสัมพันธ์ของคุณลักษณะ
ตำแหน่ง ลำดับ รูปร่างของสิ่งที่อยู่
รอบตัว

3. มีความสามารถ 3.1 เรียงลำดับเหตุการณ์ ขั้นตอนในการ


ในการจัดลำดับ เล่นหรือการทำกิจกรรมได้
ความคิด
4. มีความสามารถ 4.1 จัดการตนเองได้
ในการจัดระเบียบ 4.2 จัดลำดับกิจกรรมตนเองได้
ตนเอง
5. มีความสามารถ 5.3 บอกทิศทางหรือตำแหน่งของสิ่งต่าง
ในการบอก ๆ
ตำแหน่ง/ทิศทาง
6. สามารถใช้ 6.1 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารทาง
เทคโนโลยีสิ่ง เลือก
อำนวยความ 6.2 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึง
สะดวก เครื่องช่วย คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ 6.3 ใช้โปรแกรมเสริมผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการเรียนรู้
55

มาตรฐานที่ 6 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความบกพร่อง


ทางการพูดและภาษา
มาตรฐานที่ 6 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สามารถควบคุม 1.1 เคลื่อนไหวอวัยวะในการพูด
อวัยวะในการออก 1.2 ควบคุมอวัยวะในการพูด
เสียง
2. สามารถออก 2.1 การออกเสียง หน่วยเสียงสระได้
เสียงตามหน่วย ชัดเจน
เสียงได้ชัดเจน 2.2 การออกเสียง หน่วยเสียงพยัญชนะ
ได้ชัดเจน
2.3 การออกเสียงคำได้ชัดเจน
3. สามารถเปล่ง 3.1 เปล่งเสียงในระดับเสียงที่ทำให้ผู้อื่น
เสียงให้เหมาะสม ฟั งได้
กับธรรมชาติของ
แต่ละคน
4. สามารถควบคุม 4.1 ควบคุมจังหวะการพูดได้เป็ นจังหวะ
จังหวะการพูด ปกติ
(70-100 คำต่อนาที)
4.2 พูดได้คล่องหรือลดภาวะการติดอ่าง
4.3 พูดเว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง
5. สามารถใช้ 5.1 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารทาง
เทคโนโลยีสิ่ง เลือก
56

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อำนวยความ 5.2 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึง
สะดวก เครื่องช่วย คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ 5.3 ใช้โปรแกรมเสริมผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการเรียนรู้
57

มาตรฐานที่ 7 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะความบกพร่องทาง


พฤติกรรมหรืออารมณ์
มาตรฐานที่ 7 มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สามารถจัดการ 1.1 ควบคุมความรู้สึกหรืออารมณ์ของ
กับอารมณ์ของ ตนเองได้
ตนเองได้ 1.2 แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะ
สมตามสถานการณ์
2. สามารถควบคุม 2.1 ควบคุมตนเองในการทำกิจกรรม
พฤติกรรมของ ร่วมกับเพื่อนได้อย่างเหมาะสม
ตนเองได้อย่าง
เหมาะสม
3. สามารถปรับตัว 3.1 การปฏิบัติตามกฎกติกาและ
ในการอยู่ร่วมกับ มารยาททางสังคมได้อย่างถูกต้อง
สังคม
4. สามารถใช้ 4.1 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารทาง
เทคโนโลยีสิ่ง เลือก
อำนวยความ 4.2 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึง
สะดวก เครื่องช่วย คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ 4.3 ใช้โปรแกรมเสริมผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 8 การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะบุคคลออทิสติก


มาตรฐานที่ 8 มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด ดังนี้
58

ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. ตอบสนองต่อสิ่ง 1.1 ตอบสนองต่อการทรงตัวได้เหมาะ
เร้าจากประสาท สม
สัมผัสได้เหมาะสม 1.2 ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวเอ็นและ
ข้อต่อได้เหมาะสม
1.3 ตอบสนองต่อกายสัมผัสได้เหมาะสม
1.4 ตอบสนองต่อการดมกลิ่นได้เหมาะ
สม
1.5 ตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินได้เหมาะ
สม
1.6 ตอบสนองต่อการเห็นได้เหมาะสม
1.7 ตอบสนองต่อการลิ้มรสได้เหมาะสม
2. เคลื่อนไหว 2.1 ทรงตัวในท่าทางต่าง ๆ เช่น ยืน
ร่างกายได้อย่าง เดิน วิ่ง เป็ นต้น
ประสานสัมพันธ์กัน 2.2 เคลื่อนไหวร่างกายตามคำสั่งได้
อย่างประสานสัมพันธ์กัน
2.3 สหสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ
3. เข้าใจภาษาและ 3.1 ปฏิบัติตามคำสั่งได้
แสดงออกทาง 3.2 สื่อสารโดยการใช้ท่าทาง รูปภาพ
ภาษาได้อย่าง สัญลักษณ์คำพูดในชีวิตประจำวัน
เหมาะสม
4. แสดงพฤติกรรม 4.1 รับรู้และแสดงอารมณ์ของตนเอง
ที่เหมาะสมตาม และบุคคลอื่นอย่างเหมาะสม
สถานการณ์ 4.2 ปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน
59

และโรงเรียน
4.3 ปฏิบัติตนเหมาะสมตามสถานการณ์
ต่าง ๆ
4.4 สามารถรอคอยในสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้
4.5 เข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง
ในสถานการณ์ต่างๆ ได้
4.6 สามารถควบคุมตนเองใน
สถานการณ์ต่าง ๆ ได้
60

มาตรฐานที่ 8 (ต่อ)
ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. สามารถใช้ 5.1 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารทาง
เทคโนโลยีสิ่ง เลือก
อำนวยความ 5.2 ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเข้าถึง
สะดวก เครื่องช่วย คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ 5.3 ใช้โปรแกรมเสริมผ่านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการเรียนรู้

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 เป็ นกิจกรรม
ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะของผู้เรียน ตาม
ศักยภาพ เป็ นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝั งและสร้างจิตสำนึกของการ
ทำประโยชน์เพื่อสังคม เพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตาม
4 สาระการเรียนรู้ และทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการแต่ละ
ประเภท โดยจัดกิจกรรมเป็ นกลุ่ม เน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัว
ชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
กับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัด และความสนใจอย่าง
แท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็ น
มนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปั ญญา อารมณ์ และสังคม
โดยอาจจัดเป็ นแนวทางหนึ่งที่จะสนองนโยบายในการสร้างเยาวชน
61

ของชาติให้เป็ นพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งสถานศึกษาจะต้องดำเนิน


การอย่างมีเป้ าหมาย เช่น กิจกรรมส่งเสริมวิชาการ กิจกรรม
คุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมการบริการ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) กิจกรรมการเรียนการ
สอนในช่วงประสบภัยหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อ การเกิดภัยธรรมชาติ เป็ นต้น
1) กิจกรรมส่งเสริมวิชาการ
เป็ นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะของผู้
เรียน การบำบัดหลักหรือการบำบัดทางเลือก กิจกรรมสุนทรียะ
การเล่น การใช้เวลาว่างของผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมนันทนาการ
กิจกรรมศิลปะ สำหรับผู้เรียนที่รับบริการที่บ้านอาจจัดกิจกรรมตาม
ความสนใจของเด็ก และสภาพความพิการภายใต้บริบทของ
ครอบครัว ได้แก่ การฟั งเพลงจากวิทยุ การดูรายการบันเทิงต่าง ๆ
จากโทรทัศน์ ร่วมงานนันทนาการในชุมชน เป็ นต้น กิจกรรมเพิ่มพูน
ความสนใจในการใช้เวลาว่าง เป็ นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความสนใจให้
ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพตนเองจากงานอดิเรก การเล่นที่สนใจ
กิจกรรมเสริมสร้างความถนัดในด้านการทำงานที่ต่อยอดจากความ
สนใจในอาชีพ การเพิ่มพูนทักษะในงานอาชีพ การหารายได้
ระหว่างเรียน
2) กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม
เป็ นกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
เช่น กิจกรรมทางศาสนาวัฒนธรรมและประเพณี กิจกรรมทางสังคม
กิจกรรมการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมส่งเสริม
62

คุณธรรม จริยธรรมและจิตสาธารณะ กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับ


สังคมและการบำเพ็ญประโยชน์ เป็ นต้น สำหรับผู้เรียนที่รับบริการ
ที่บ้านอาจมีการจัดกิจกรรมตาม ความสนใจของผู้เรียนและ
สภาพความพิการภายใต้บริบทของครอบครัว เช่น การสวดมนต์ ฟั ง
หรือดูนิทานธรรมะ การร่วมกิจกรรมทางศาสนาในศาสนสถาน
เป็ นต้น
3) กิจกรรมทัศนศึกษา
เป็ นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
และประวัติศาสตร์ของชุมชน ท้องถิ่น ชาติและกลุ่มประเทศ
อาเซียน และทัศนศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้าง
ประสบการณ์ตรง เพิ่มเติมจากที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษา
เฉพาะบุคคล เช่น ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน พิพิธภัณฑ์ การ
ไปสถานที่ท่องเที่ยว การศึกษาสถานที่ทาง
ประวัติศาสตร์/ภูมิศาสตร์จากสื่อ การเข้าร่วมกิจกรรมทัศนศึกษา
กลุ่มผู้ปกครอง เป็ นต้น สำหรับผู้เรียนที่รับบริการที่บ้าน อาจมีการ
จัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนและสภาพความพิการภายใต้
บริบทของครอบครัว
4) กิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ICT)
กิจกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็ นกิจกรรม
การเข้าถึงเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้เรียนหรือผู้
ปกครอง เช่น การสืบค้นข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การใช้สื่อ
คอมพิวเตอร์ในการจัดทำสื่อ การบริการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ เป็ นต้น สำหรับผู้เรียนที่รับ
63

บริการที่บ้านอาจมีการจัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนและ
สภาพความพิการภายใต้บริบทของครอบครัว
5) กิจกรรมการเรียนการสอนในช่วงประสบภัยหรือ
สถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ การเกิด
ภัยธรรมชาติ
กิจกรรมการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน
สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนที่บ้านด้วยตนเอง เช่น การเรียนการ
สอนผ่านออนไลน์ การเรียนการสอนผ่านไปรษณีย์ การเรียนรู้ผ่าน
ใบงาน หรือชุดการเรียน กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับสังคมและการ
บำเพ็ญประโยชน์ เป็ นกิจกรรมมุ่งส่งเสริมความสนใจในกิจกรรม
ทางสังคม การร่วมกิจกรรมทางสังคม และการปฏิบัติตนให้เป็ น
ประโยชน์กับผู้อื่น

กิจกรรมเสริมหลักสูตร
กิจกรรมเสริมหลักสูตร เป็ นกิจกรรมเพื่อฟื้ นฟูสมรรถภาพ
ของผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็ นพิเศษ ให้ได้รับการพัฒนา
ศักยภาพ ดำรงความสามารถที่เคยมี และแก้ไขข้อจำกัดต่าง ๆ
ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปั ญญา ส่งเสริมการมี
ปฏิสัมพันธ์ทางบวก ลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนที่มี
ความต้องการจำเป็ นพิเศษสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้
เต็มศักยภาพ โดยการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และทีมสห
วิชาชีพ ได้แก่
64

กายภาพบำบัด หมายถึง การให้บริการโดยการตรวจ


ประเมิน การวินิจฉัย และการบำบัดความบกพร่องของร่างกาย ซึ่ง
เกิดเนื่องจากภาวะของโรค หรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การ
ป้ องกัน การแก้ไขและการฟื้ นฟูความเสื่อมสภาพความพิการของ
ร่างกาย รวมทั้งการส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการ
ทางกายภาพบำบัด หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์
กายภาพบำบัด อันได้แก่ การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฝึ ก
ควบคุมการเคลื่อนไหว ฝึ กการทรงตัวขณะนั่ง ยืน เดิน แก้ไขท่าทาง
การเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสมด้วยเทคนิคเฉพาะ และกระตุ้น
พัฒนาการ เพื่อให้บุคคลที่มีความบกพร่องสามารถช่วยเหลือตนเอง
และทำกิจวัตรประจำวันได้เต็มศักยภาพ
กิจกรรมบำบัด หมายถึง การให้บริการตรวจประเมิน ส่ง
เสริม ป้ องกัน บำบัดรักษา และให้การฟื้ นฟูสมรรถภาพในแนวทาง
กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องในทำกิจกรรมต่าง ๆ ใน
ชีวิตประจำวัน เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างมีความสุข
เต็มศักยภาพ สามารถเรียน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายมี
ความสัมพันธ์กับช่วงอายุ โดยการนำกิจกรรม วิธีการ และอุปกรณ์ที่
เหมาะสมเป็ นสื่อในการกระตุ้นพัฒนาการ พัฒนาองค์ประกอบที่
เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การควบคุมการ
เคลื่อนไหว ฝึ กสมาธิ ฝึ กการใช้มือ สหสัมพันธ์ของตาและมือ การ
ควบคุมการเคลื่อนไหวของปาก การกระตุ้นการผสมผสานประสาท
สัมผัส การรับรู้และการเรียนรู้
จิตวิทยา หมายถึง การให้บริการตรวจ วินิจฉัย การบำบัด
ความผิดปกติทางจิต อันเนื่องจากภาวะทางจิตใจ บุคลิกภาพ ระดับ
65

เชาวน์ปั ญญา อารมณ์ พฤติกรรมการปรับตัว โดยให้คำปรึกษาด้าน


ปั ญหาพฤติกรรม และการประเมินเบื้องต้น วิเคราะห์ปั ญหา
พฤติกรรม และการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม เพื่อให้บุคคลที่มี
ความบกพร่องสามารถเข้าร่วมในสังคมได้อย่างเหมาะสม และ
ดำเนินกิจวัตรประจำวันได้เต็มศักยภาพ
พลศึกษา หมายถึง กิจกรรมการบริหารกายเพื่อพัฒนาการ
เคลื่อนไหว โดยการออกกำลังกาย ทำกิจกรรมการเคลื่อนไหว การ
เล่นเกมและกีฬา ทั้งกีฬาไทย และกีฬาสากลได้ เรียนรู้เรื่องการ
เคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ การเข้าร่วมกิจกรรมทางกายและกีฬา
ทั้งประเภทบุคคลและประเภททีม การปฏิบัติตามกฎ กติกา
ระเบียบ ข้อตกลงในการเข้าร่วมกิจกรรม และความมีน้ำใจนักกีฬา
การนำกีฬาเป็ นสื่อในการพัฒนาโดยรวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ
อารมณ์ สังคม สติปั ญญา รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา
ซึ่งมีความจำเป็ นสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง
66

การจัดหลักสูตรและการจัดเวลาเรียน
การจัดหลักสูตร
ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษา
พิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 เน้น
ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล ซึ่งในแต่ละปี การศึกษา ต้องมี
การประเมินความสามารถของผู้เรียน อย่างรอบด้าน และมีการ
วิเคราะห์หลักสูตร เพื่อจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ให้
สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน โดยให้ครอบคลุมทั้ง 4 สาระ
การเรียนรู้ และทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการแต่ละประเภท
การจัดเวลาเรียน
ในระดับการศึกษาภาคบังคับ
ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ปี การศึกษาหรือ 8 ภาค
เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมง
ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ใช้เวลาเรียนต่อจากการศึกษาภาคบังคับ ไม่น้อยกว่า 2 ปี
การศึกษาหรือ 4 ภาคเรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ต่อจากการศึกษาภาคบังคับ ไม่
น้อยกว่า 40 ชั่วโมง

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ
67

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2564
ผู้เรียนต้องเรียนทุกสาระ ใช้เวลาเรียนระดับการศึกษาภาค
บังคับ ไม่น้อยกว่า 4 ปี และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เวลาเรียน
ต่อจากการศึกษาภาคบังคับ ไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา หรือ 4 ภาค
เรียน สำหรับปฏิบัติกิจกรรมตามหลักสูตร ให้สถานศึกษาจัดสรร
เวลาให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้

ท สาระการเรียนรู้ จำนวน จำนวนตัวชี้วัด


ี่ มาตรฐาน
1 สาระการดำรงชีวิตประจำวันและการ 4 13

จัดการตนเอง
2 สาระการเรียนรู้และความรู้พื้นฐาน 3 12

3 สาระการเรียนรู้ทางสังคมและการ 3 6

เป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง
4 สาระการงานพื้นฐานอาชีพ 5 7

รวม 15 38
5 ทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการแต่ละ 8 47
ประเภท (8+7+6+6+6+
5+4+5)
68

โครงสร้างหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2564
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ จำนวน ทักษะจำเป็ นเฉพาะความพิการ จำนว
มาตรฐ แต่ละประเภท น
าน มาตรฐ
าน
1. สาระการดำรงชีวิตประจำ 4 1. การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ 1
วัน ความบกพร่องทางการเห็น
และการจัดการตนเอง 3 2. การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ 1
2. สาระการเรียนรู้และความรู้ 3 ความบกพร่องทางการได้ยิน
พื้นฐาน 3. การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ 1
3. สาระการปรับตัวทางสังคม 5 ความบกพร่องทางสติปั ญญา
และการเป็ นพลเมืองที่เข้มแข็ง 4. การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ 1
4. สาระการงานพื้นฐานอาชีพ ความบกพร่องทางร่างกายหรือการ
เคลื่อนไหวหรือสุขภาพ 1
5.การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ 1
6. การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ
ความบกพร่องทางการพูดและ 1
ภาษา
7. การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ 1
69

ความบกพร่องทางพฤติกรรมหรือ
อารมณ์
8. การพัฒนาทักษะจำเป็ นเฉพาะ
บุคคลออทิสติก
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 5. อยู่อย่างพอเพียง
2. ซื่อสัตย์สุจริต 6. มุ่งมั่นในการทำงาน
3. มีวินัย 7. รักความเป็ นไทย
4. ใฝ่ เรียนรู้ 8. มีจิตสาธารณะ
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1) กิจกรรมส่งเสริมวิชาการ ได้แก่ กิจกรรม Home Room กิจกรรมการ
เคลื่อนไหว กิจกรรมทำอาหาร กิจกรรมงานประดิษฐ์ กิจกรรมดนตรี
กิจกรรมศิลปะ
2) กิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ กิจกรรมทางศาสนาวัฒนธรรมและ
ประเพณี กิจกรรมทางสังคม กิจกรรมการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจิตสาธารณะ กิจกรรมการมีส่วนร่วม
กับสังคม
และการบำเพ็ญประโยชน์
3) กิจกรรมทัศนศึกษา ได้แก่ ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน พิพิธภัณฑ์ การไป
สถานที่ท่องเที่ยว
4) กิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
5) กิจกรรมการเรียนการสอนในช่วงประสบภัยหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ การเกิดภัยธรรมชาติ
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
1) กายภาพบำบัด 2) กิจกรรมบำบัด 3) ฝึ กพูด 4) จิตวิทยา 5) พลศึกษา
70

การจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2545 มาตรา 22 กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาไว้ ว่าต้อง
ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน
มีความสามารถเรียนรู้ได้ และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมี
ความสำคัญที่สุด ดังนั้นในการจัด
การเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้น
ฐานสำหรับผู้เรียนพิการ
ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช
2564 ซึ่งมีสาระกระบวนการ
และวิธีการที่แตกต่างกัน ผู้สอนต้องคำนึงถึงความต้องการจำเป็ น
พิเศษ วัย วิธีการเรียนรู้ ความสนใจ
และความสามารถของผู้เรียนแต่ละระยะอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการ
จัดการเรียนรู้แต่ละระดับ ควรใช้รูปแบบวิธีการที่หลากหลาย เน้น
การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้จากธรรมชาติ
การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ที่แตกต่างร่วมกัน และ
การเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยนำกระบวนการจัดการ กระบวนการ
แก้ปั ญหา และกระบวนการเรียนรู้ เช่น การสื่อสาร การอ่าน
การเขียน การคิดคำนวณ เป็ นต้น ไปใช้สอดแทรกในการเรียนรู้ ทั้ง
การจัดการเรียนรู้ แบบ 1 : 1 การจัดการเรียนรู้ในกลุ่มเล็ก การ
จัดการเรียนรู้ในแต่ละระดับมีแนวทาง ดังนี้
71

1. ระดับการศึกษาภาคบังคับ จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
เรียนรู้ตามสภาพจริง มีความสนุกสนาน ได้ปฏิบัติจริง โดยใช้เวลา
ไม่เกินช่วงความสนใจตามหลักจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยา
การเรียนรู้ เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยพัฒนาทักษะการดำรง
ชีวิตประจำวัน ทักษะพื้นฐานทางด้านวิชาการเพื่อการดำรงชีวิต
ด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ความคิดรวบยอดและการ
แก้ปั ญหา ทักษะส่วนบุคคลและสังคม การปรับตัว การแก้ปั ญหา
การสร้างลักษณะนิสัยที่ดีสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม เตรียมตัว
ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานการทำงานในบ้าน เรียนรู้เรื่องอาชีพ
และการทำงานได้
2. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการเรียนเน้นการเรียน
รู้ตามสภาพจริง โดยพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน ทักษะพื้น
ฐานทางด้านวิชาการเพื่อการดำรงชีวิต ด้านการอ่าน การเขียน การ
คิดคำนวณ ความคิดรวบยอดและการแก้ปั ญหา ทักษะส่วนบุคคล
และสังคม การปรับตัวการแก้ปั ญหา การสร้างลักษณะนิสัยที่ดี
สำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม จะมุ่งเน้นทักษะการทำงาน ทั้งการ
ทำงานกลุ่ม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ โดยเปิ ดโอกาสให้ผู้เรียนได้
เลือกสิ่งที่ตนสนใจในการพัฒนาความสามารถ สำหรับเตรียมตัวเข้า
สู่อาชีพ โดยส่งเสริมให้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถาน
ศึกษา การมีส่วนร่วมของครอบครัว สังคม ชุมชน ในการส่งต่อการ
พัฒนาทักษะสำหรับการดำรงชีวิตในชุมชนในวัยผู้ใหญ่ ผู้เรียนมี
ทักษะการทำงานและอาชีพ สามารถวางแผนการใช้เงิน และการ
จัดการที่ดี มีสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึง
สามารถเดินทางไปทำงาน
72

3. หลักการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมี
ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญ
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการ
ศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ
ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พุทธศักราช 2564 โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึด
ประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียนเป็ นหลัก กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้อง
ส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตาม
ศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและสภาพความ
ต้องการจำเป็ นในการนำความรู้ ทักษะไปใช้ในชีวิตปั จจุบันและ
อนาคตของผู้เรียน โดยให้ความสำคัญทั้งความรู้ ทักษะ และ
คุณธรรม
4. กระบวนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำคัญจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะ
นำพาตนเองไปสู่เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็น
สำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการ
สร้างความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการ
เผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้ จากประสบการณ์
จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย
กระบวนการเหล่านี้เป็ นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียน
ควรได้รับการฝึ กฝน พัฒนา เพราะจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ได้ดี บรรลุเป้ าหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็ นต้อง
73

ศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ
เลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร
สถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะ
สำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่
เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อนำผลมาวิเคราะห์ร่วมกับการศึกษาผู้เรียน
แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามเป้ าหมายที่ระบุใน
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลโดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิค
การสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก การ
วัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและ
บรรลุตามเป้ าหมายที่กำหนด
6. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้
เรียนมีคุณภาพ ตามเป้ าหมายของหลักสูตร ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
ควรมีบทบาท ดังนี้
6.1 บทบาทของผู้สอน
(1) ประเมินความสามารถและวิเคราะห์ผู้เรียนเป็ นราย
บุคคล นำมาวางแผนการจัดการเรียนรู้ในแผนการจัดการศึกษา
เฉพาะบุคคล
(2) กำหนดเป้ าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
อย่างรอบด้านครอบคลุมหลักสูตร
(3) ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนอง
ความแตกต่างของผู้เรียน
(4) จัดบรรยากาศ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
74

(5) จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม
นำภูมิปั ญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการ
จัดการเรียนการสอน
(6) ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่
หลากหลาย เหมาะสม และดูพัฒนาการของผู้เรียน นำผลมาใช้
ปรับปรุงการสอน ทบทวนแผนฯ อย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
(7) ประเมิน วิเคราะห์และสรุปผลการเรียนรู้เมื่อครบ
กำหนดตามแผนฯ
6.2 บทบาทของผู้เรียน
(1) กำหนดเป้ าหมาย วางแผน และรับผิดชอบการ
เรียนรู้ของตนเองตามศักยภาพ
(2) แสวงหาความรู้ แหล่งเรียนรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์
ข้อความรู้ ตั้งคำถาม คิดหาคำตอบหรือแนวทางแก้ปั ญหาด้วยวิธี
การต่าง ๆ ตามศักยภาพ
(3) ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่เรียนรู้ ประยุกต์ใช้ความ
รู้ตามศักยภาพ
(4) มีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มและ
ครูตามศักยภาพ
(5) ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ

สื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งเรียนรู้

การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษา
75

พิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 มุ่งส่ง


เสริมให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเอง ภายใต้การช่วยเหลือของผู้
เกี่ยวข้องในการปรับสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการและสิ่งอำนวยความ
สะดวกต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าถึง และลงมือปฏิบัติตามขั้นตอน
โดยเน้นสื่อที่เป็ นรูปธรรมในรูปแบบที่หลากหลาย ตอบสนองวิธีการ
เรียนรู้ของแต่ละบุคคล ที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น
ดังนั้นสื่อที่ใช้ ครูผู้สอน ผู้ปกครอง สามารถจัดทำและพัฒนาสื่อต่าง
ๆที่มีอยู่รอบตัวที่สัมพันธ์กับสภาพการดำเนินชีวิต โดยพิจารณา
ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหลักที่ผู้เรียนต้องใช้และเชื่อมโยง
ไปสู่สถานการณ์ทั่วไป การปรับสื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวย
ความสะดวก ขึ้นอยู่กับความต้องการจำเป็ นของผู้เรียน ช่วงวัย
สภาพแวดล้อมและเป้ าหมายของการพัฒนาที่มุ่งให้ผู้เรียนมี
ศักยภาพสูงสุด โดยเน้นให้ผู้เรียนและผู้สอนใช้เพื่อลดอุปสรรค หรือ
ข้อจำกัดต่าง ๆ และอำนวยให้ผู้เรียนเข้าถึงความรู้ พัฒนาทักษะได้
ง่าย รวดเร็วต่อเนื่องและให้ความคิดรวบยอดได้ชัดเจนผู้มีหน้าที่
จัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 จึงควรเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยี
สิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการ
เรียนรู้ตามแนวทาง ดังนี้
1. จัดหาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นใช้เป็ นสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวย
ความสะดวกและประยุกต์ ให้เหมาะสมกับความต้องการจำเป็ น
ของผู้เรียนและบริบทของการดำรงชีวิต
76

2. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวย


ความสะดวกให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
3. จัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าของ
ผู้ปกครองและเสริมความรู้แก่ครูและนักวิชาชีพ
4. จัดหาหรือจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ศูนย์สื่อการเรียนรู้ในสถาน
ศึกษาและในชุมชน เพื่อการศึกษาค้นคว้าและการพัฒนาผู้
เรียน
5. จัดให้มีเครือข่ายการเรียนที่เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยน
ระหว่างบ้าน สถานศึกษา สถานประกอบการ ท้องถิ่น
ชุมชน และสังคมอื่น

การวัดและประเมินผลการเรียน
การวัดและประเมินผลการเรียน เป็ นกระบวนการเก็บ
รวบรวมข้อมูลสารสนสนเทศที่แสดงถึงการพัฒนา ความก้าวหน้า
ความสำเร็จ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและข้อมูลที่จะเป็ น
ประโยชน์ต่อการส่งเสริม ช่วยเหลือให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและ
เรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ เกิดทักษะกระบวนการ และค่านิยมที่พึง
ประสงค์ ซึ่งสถานศึกษาที่รับผิดชอบจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนมีหน้า
ที่จัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียน
ของสถานศึกษา เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ าย ถือปฏิบัติร่วม
กันและเป็ นไปในมาตรฐานเดียวกัน การวัดและประเมินผลการเรียน
ตามหลักสูตรนี้กำหนดไว้ ดังนี้
1. การวัดและประเมินผลการเรียนรายสาระ เป็ นการ
ประเมินผลการเรียนรายสาระ
77

ที่สถานศึกษาต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ของผู้เรียน เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง
ด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ซึ่งเป็ นผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการประเมินผลรวม
เพื่อทราบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้
ดังนั้นการวัดและประเมินผลการเรียนแก่ผู้เรียนพิการสถานศึกษาจึง
ต้องมีเครื่องมือหลากหลาย และใช้เครื่องมือรวมทั้งวิธีการที่หลาก
หลายที่สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ผลการ
เรียนรู้ที่คาดหวังและเงื่อนไขการช่วยเหลือในวิธีการวัดประเมินผล
ตามความต้องการจำเป็ นของผู้เรียนตามที่กำหนดไว้ในแผนการ
จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
2. การประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็ นการประเมินสิ่ง
ที่ผู้เรียนเข้าร่วมและปฏิบัติเพื่อการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน
และสังคม โดยการพิจารณาเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม ผลการปฏิบัติ
กรรมตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ซึ่งในการร่วมและการปฏิบัติ
กิจกรรมของผู้เรียนสถานศึกษาควรเอื้ออำนวยให้มีวิธีการประเมินที่
หลากหลาย ยืดหยุ่น เหมาะสมกับสภาพและความต้องการจำเป็ น
ของผู้เรียน ครอบครัวและชุมชน
3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็ นการประเมิน
สิ่งที่หลักสูตรได้กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้ปลูกฝั งแก่ผู้
เรียนในกระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรอื่น ๆ โดยการประเมินจากการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งด้านการพัฒนาตน การปฏิบัติตนตามกฎ
เกณฑ์ของการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น การทำงาน การมีส่วนร่วมและ
78

บริการสังคม ซึ่งสถานศึกษาจะต้องประเมินควบคู่การจัดกิจกรรม
โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ยืดหยุ่น หลากหลาย

เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน
1. การตัดสินผลการเรียน การให้ระดับและการรายงานผล
การเรียน
1.1) การตัดสินผลการเรียน
ในการตัดสินผลการเรียนตามสาระการเรียนรู้
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้น ผู้สอน
ต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนตามเป้ าหมายที่กำหนดไว้ใน
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเป็ นหลัก และต้องเก็บข้อมูลของ
ผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในแต่ละภาคเรียน รวม
ทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาจนเต็มตามศักยภาพ
ระดับการศึกษาภาคบังคับ
(1) ผู้เรียนต้องเรียนและได้รับการตัดสินผลการ
เรียนทุกสาระ
(2) ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินตามเป้ าหมายที่
ระบุในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดใน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
(3) ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตามหลักสูตร ไม่น้อย
กว่า 4 ปี การศึกษา และมีอายุจริงไม่น้อยกว่า 15 ปี
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
79

(1) ผู้เรียนต้องเรียนและได้รับการตัดสินผลการ
เรียนทุกสาระ
(2) ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินตามเป้ าหมายที่
ระบุในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
และผ่านการประเมินผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน
(3) ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนภายหลังจบการศึกษา
ตามหลักสูตรภาคบังคับแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี การศึกษา และมีอายุ
จริงไม่น้อยกว่า 18 ปี
การพิจารณาผลการเรียนรู้ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะ
บุคคลทั้ง 2 ระดับ ถ้าผู้เรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา
กำหนดและมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย หากสถานศึกษาพิจารณา
เห็นว่าสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของ
สถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้ผ่านเกณฑ์ได้

1.2) การให้ระดับผลการเรียน
การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียน ในแต่ละสาระ
สถานศึกษาสามารถให้ระดับผลการเรียนหรือระดับคุณภาพการ
ปฏิบัติของผู้เรียน เป็ นระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ
และระบบที่ใช้คำสำคัญสะท้อนมาตรฐาน ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับ
ผลการเรียนเป็ น 8 ระดับ ดังนี้

การให้ระดับผลการเรียนหรือระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้
เรียน เป็ นระบบตัวเลข ระบบร้อยละ และระบบที่ใช้คำสำคัญ
สะท้อนมาตรฐาน
80

ระบบตัวเลข ระบบตัวอักษร ระบบร้อยละ ระดับคุณภาพ


4 A 80 - 100 ดีเยี่ยม
3.5 B+ 75 - 79 ดี
3 B 70 – 74
2.5 C+ 65-69 พอใช้
2 C 60-64
1.5 D+ 55-59 ผ่าน
1 D 50 - 54
0 F 0-49 ไม่ผ่าน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลา
การเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตาม
เกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็ น
ผ่าน หรือไม่ผ่าน
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
1 หมายถึง ทำได้โดยมีผู้อื่นพาทำ
2 หมายถึง ทำได้โดยมีการช่วยเหลือ ชี้แนะ จากผู้อื่น
3 หมายถึง ทำได้โดยมีการช่วยเหลือ ชี้แนะ จากผู้อื่น
บ้างเล็กน้อย
4 หมายถึง ทำได้ด้วยตนเอง
5 หมายถึง ทำได้ด้วยตนเองและเป็ นแบบอย่างผู้อื่นได้
81

การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จะต้องพิจารณาจาก
ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินจากผู้ปกครองและครูในแต่ละภาคเรียน
บันทึกคะแนนเฉลี่ยและแปลความหมายระดับคุณภาพตามเกณฑ์
เกณฑ์การแปลความหมายระดับคะแนนและระดับ
คุณภาพ มีดังนี้
คะแนน 1.00 - 1.49 หมายถึง ปรับปรุง
คะแนน 1.50 - 2.49 หมายถึง พอใช้
คะแนน 2.50 - 3.49 หมายถึง ดี
คะแนน 3.50 - 4.49 หมายถึง ดีมาก
คะแนน 4.50 - 5.00 หมายถึง ดี
เยี่ยม
1.3) การรายงานผลการเรียน
การรายงานผลการเรียนเป็ นการสื่อสารให้ผู้ปกครอง
และผู้เรียนทราบความก้าวหน้า
ในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและ
จัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็ นระยะ ๆ หรืออย่าง
น้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
การรายงานผลการเรียนสามารถรายงานเป็ นระดับ
คุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียนที่สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่ม
สาระการเรียนรู้
2. การเชื่อมต่อทางการศึกษา
ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินการจัดบริการตามแผนช่วง
เชื่อมต่อสำหรับการดำเนินชีวิตหลังจบการศึกษาตามหลักสูตร ซึ่ง
82

สถานศึกษาได้จัดทำร่วมกับครอบครัวหรือหน่วยงานหรือสถาน
ประกอบการและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดในแผน
ช่วงเชื่อมต่อนั้น

เอกสารและหลักฐานการศึกษา
เอกสารหลักฐานการศึกษา เป็ นเอกสารสำคัญที่บันทึกผลการ
เรียน ข้อมูลและสารสนเทศ
ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ แบ่งออกเป็ น 2
ประเภท ดังนี้
1. เอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ
กำหนด
1.1) ระเบียนแสดงผลการเรียน เป็ นเอกสารแสดงผลการ
เรียนและรับรองผลการเรียนของผู้เรียนตามรายวิชา ผลการ
ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา และผลการ
ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษาจะต้องบันทึกข้อมูลและ
ออกเอกสารนี้ให้ผู้เรียนเป็ นรายบุคคล เมื่อผู้เรียนจบการศึกษา
ระดับการศึกษาภาคบังคับและ การศึกษาขั้นพื้นฐานหรือเมื่อลา
ออกจากสถานศึกษาในทุกกรณี
1.2) ประกาศนียบัตร เป็ นเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาเพื่อ
รับรองศักดิ์และสิทธิ์ของผู้จบการศึกษา ที่สถานศึกษาให้ไว้แก่ผู้จบ
การศึกษาภาคบังคับ และผู้จบการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอก
ระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การ
ศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564
83

1.3) แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา เป็ นเอกสารอนุมัติการ


จบหลักสูตรโดยบันทึกรายชื่อและข้อมูลของผู้จบการศึกษาระดับ
การศึกษาภาคบังคับและ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด
เป็ นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกพัฒนาการ
ผลการเรียนรู้ และข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับผู้เรียน ได้แก่ แบบรายงาน
ประจำตัวนักเรียน แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายสาระ
ระเบียนสะสม ใบรับรองผลการเรียน และเอกสารอื่น ๆ ตาม
วัตถุประสงค์ของการนำเอกสารไปใช้

การเทียบโอนผลการเรียน
สถานศึกษาสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนในกรณี
ต่างๆได้แก่ การย้ายสถานศึกษา
การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การออกกลางคัน
และขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อ การศึกษาจากต่างประเทศและขอ
เข้าศึกษาต่อในประเทศ นอกจากนี้ ยังสามารถเทียบโอนความรู้
ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เช่น สถานประกอบ
การ สถาบันศาสนา สถาบันการฝึ กอบรมอาชีพ การจัดการศึกษา
โดยครอบครัว เป็ นต้น
การเทียบโอนผลการเรียนควรดำเนินการในช่วงก่อนเปิ ดภาค
เรียนแรก หรือต้นภาคเรียนแรก
ที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนเป็ นผู้เรียน ทั้งนี้ ผู้เรียนที่ได้รับการ
84

เทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่อง ในสถานศึกษาที่รับเทียบ
โอนอย่างน้อย 1 ภาคเรียน โดยสถานศึกษาที่รับผู้เรียนจากการ
เทียบโอนควรกำหนดรายสาระ/จำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอน
ตามความเหมาะสม
การพิจารณาการเทียบโอน สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
1. พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา และเอกสารอื่น ๆ ที่ให้
ข้อมูลแสดงความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
2. พิจารณาจากความรู้ ความสามารถของผู้เรียนโดยการ
ประเมินด้วยวิธีการต่าง ๆ
ให้ครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้
3. พิจารณาจากความสามารถและการปฏิบัติในสภาพจริง
การเทียบโอนผลการเรียนให้เป็ นไปตาม ประกาศ หรือ แนวปฏิบัติ
ของกระทรวงศึกษาธิการ
85

การบริหารหลักสูตร
การนำหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้น
ฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 ไปสู่การปฏิบัตินั้น มีขั้นตอน
การดำเนินงานที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ ายจะได้ศึกษาและร่วมมือกัน ดังนี้

1. การเตรียมการและสร้างความเข้าใจแก่ครู บุคลากร และ


ผู้ปกครอง สถานศึกษาจำเป็ นต้องเตรียมการให้ความรู้ สร้างทักษะ
และเจตคติต่อการนำหลักสูตรฯ ไปพัฒนาผู้เรียนตามกระบวนการ
ซึ่งอาจต้องมีการจัดเตรียมการใช้เครื่องมือต่าง ๆ การจัดกิจกรรม
การเรียน การสอน รวมทั้งการดำเนินการต่าง ๆ การอบรมความรู้
86

เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การจัด


ทำหน่วยการเรียนรู้ สาธิตและฝึ กปฏิบัติในการส่งเสริม สนับสนุน
นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล
2. การจัดระบบการจัดการศึกษา เพื่อรองรับและขับเคลื่อน
โดยจัดทำขั้นตอนกระบวนการทำงานที่เป็ นระบบให้บุคลากร
ทำความเข้าใจให้ตรงกัน เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษา
พิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 ซึ่งแบ่ง
เป็ น 2 ระดับ คือ ระดับการศึกษาภาคบังคับ และระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จำเป็ นต้องมีคณะทำงานที่รับผิดชอบแผนงานการ
พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนในการจัดทำหลักสูตร
สถานศึกษากำหนดขั้นตอนการนำหลักสูตรไปใช้ตามบริบทที่แตก
ต่างกัน เช่น ในหน่วยบริการเฉพาะความพิการ ในชุมชน และที่บ้าน
รวมทั้งให้บริการแนะนำทั้งในด้านเอกสาร การจัดการ การติดตาม
ช่วยเหลือให้มีการดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จการศึกษา
3. การอำนวยการในการใช้หลักสูตรการศึกษานอก
ระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การ
ศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564
ในการจัดการเรียนรู้ บุคคลที่นำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ คณะ
กรรมการบริหารหลักสูตร ครูและบุคลากร พ่อแม่/ผู้ปกครอง นัก
วิชาชีพอื่นของสถานศึกษา การกำหนดบทบาทผู้อำนวยความ
สะดวกมุ่งให้สถานศึกษาได้เอื้ออำนวยการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนแก่ผู้สอนในงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร ได้แก่ การจัดทำ
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การ
87

จัดหาและผลิตสื่อ อุปกรณ์ เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการ


เรียนรู้ นอกจากนี้หลักสูตรนี้เน้นให้ผู้สอนได้พัฒนาผู้เรียนให้สามารถ
พัฒนาความรู้และทักษะต่าง ๆ ในสถานการณ์ทั่วไปที่สอดคล้องกับ
การใช้ชีวิตในสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องประสานงานกับ
หน่วยงาน กลุ่มคน บุคคล ในชุมชนเพื่อให้มีการปรับหรืออำนวยความ
สะดวกให้ผู้เรียนได้การเข้าถึงทรัพยากรและปฏิบัติกิจกรรมได้ง่าย
สถานศึกษาจึงควรประชาสัมพันธ์หลักสูตร สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับ
ชุมชนสำหรับการเตรียมผู้เรียนในการถ่ายโอน ส่งต่อเพื่อสนับสนุนให้ผู้
เรียนได้รับการพัฒนาต่อเนื่องตามเป้าหมายของ แผนการจัดการ
ศึกษาเฉพาะบุคคล และแผนการเปลี่ยนผ่าน/การเชื่อมต่อสำหรับการ
ดำเนินชีวิตหลังจบการศึกษารวมทั้งควรมีการศึกษาวิจัยในการจัด
บริการตามหลักสูตรและการจัดบริการสนับสนุนที่เป็นช่วงเชื่อมต่อ
ระดับการศึกษาและการเตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมสำหรับการจบ
การศึกษาร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชนตามบริบทการจัดบริการของแต่ละ
แห่ง
4. การนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล เมื่อมี
การนำหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรับคนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 ไปใช้พัฒนาผู้เรียน จำเป็ น
ต้องมีการนิเทศ เพื่อร่วมคิดร่วมทำแก้ปั ญหาและปรับวิธีการ
กิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับบริการและกำกับติดตามโดยใช้วิธี
การต่าง ๆ เช่น การแนะ การสอนงาน การสังเกตและสะท้อนคิด การ
ให้คำปรึกษา เป็ นต้น เพื่อตรวจสอบ การดำเนินงานพร้อมทั้งประเมิน
88

ผลการดำเนินงานทั้งในด้านหลักสูตรฯ การจัดทำเอกสารประกอบหลัก
สูตรฯ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลสัมฤทธิ์ ของผู้เรียน
เพื่อนำผลไปปรับปรุงแก้ไขในด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว
5. การรายงานผลและปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรฯ เป็ นการ
จัดทำรายงานหลังจากใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 ไปแล้วในแต่ละปี การ
ศึกษา เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ผลการใช้หลักสูตรที่เน้นปั จจัย
กระบวนการ และผลผลิตซึ่งผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทำขึ้น สำหรับการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษาและเครือ
ข่ายพร้อมทั้งนำไปใช้สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาที่ผู้บริหาร
จะได้นำไปสู่การควบคุมคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อ
เนื่อง ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ สังเคราะห์จะต้องนำไปสู่การปรับปรุง
พัฒนาหลักสูตรฯ ในด้านเนื้อหาสาระ กระบวนการ สื่อและแหล่ง
เรียนรู้ การวัดประเมินผลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

การจบหลักสูตร
ผู้เรียนพิการที่ได้เรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียนพิการ ศูนย์การศึกษา
พิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พุทธศักราช 2564 จะจบ
หลักสูตรในแต่ละระดับได้นั้น สถานศึกษาจะต้องแต่งตั้งคณะ
กรรมการประเมินคุณภาพผู้เรียนสำหรับการจบหลักสูตรที่ประกอบ
ด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ฝ่ ายวิชาการ ผู้แทนครู (งานวัดและ
ประเมินผล) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่กำหนดตามเกณฑ์การจบ
89

หลักสูตร รวมทั้งเงื่อนไขระยะเวลาในการเรียนและอายุของผู้เรียน
ดังนี้

ระดับการศึกษาภาคบังคับ
1. ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรายสาระในแต่ละ
ระดับ ตามโครงสร้างหลักสูตร คือ
1.1 มีผลการเรียนแสดงการบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้
ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
1.2 มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ปี การศึกษาหรือ 8 ภาค
เรียน
2. ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวนไม่
น้อยกว่า 80 ชั่วโมง
3. ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในระดับ ผ่าน
ขึ้นไป
4. มีอายุจริงไม่น้อยกว่า 15 ปี
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรายสาระในแต่ละ
ระดับ ตามโครงสร้างหลักสูตร คือ
1.1 มีผลการเรียนแสดงการบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้
ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเฉลี่ยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
1.2 มีเวลาเรียนหลังจากสำเร็จการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ไม่น้อยกว่า 2 ปี การศึกษาหรือ 4 ภาคเรียน
90

2. ผ่านเกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวนไม่
น้อยกว่า 40 ชั่วโมง
3. ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในระดับ ผ่าน
ขึ้นไป
4. มีอายุจริงไม่น้อยกว่า 18 ปี
91

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน


พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551.(5
กุมภาพันธ 2551).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคน
พิการทางการศึกษา พ.ศ.2552, (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม 126/ตอนพิเศษ 80 ง, หน้า 45.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา.(2555).
หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 สำหรับกลุ่มเป้ าหมายเฉพาะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
อักษรไทย(น.ส.พ. ฟ้ าเมืองไทย).
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2556). คู่มือหลักสูตรการให้บริการช่วย
เหลือระยะแรกเริ่ม
สำหรับเด็กพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ พุทธศักราช 2556.

กรุงเทพมหานคร:
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551).
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551).
คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้น
92

พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวง


ศึกษาธิการ
Harris Cindy. (200 ๙). Building Real-Life Reading
Skills.United States of America: Scholastic Inc.
Wehman P.& Kregel, J. (2003). Functional Curriculum for
Elementary,Middle,
&Secondary Age Students with Special
Needs.Texas: PRO-ED,Inc.
93

ภาคผนวก
94

คณะผู้จัดทำ

1.คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วย
1. นางอำไพพิศ บุนนาค ผู้อำนวยการศูนย์การ
ศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. นางสาวอชิรา อุ่นแก้ว รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษา
พิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3. นางสาวบุศยา รวมดอน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ
4. นางสาวเจนจิรา หวานจริง หัวหน้ากลุ่มบริหารงานงบ
ประมาณ
5. นางสาวหัทยา เวชการ หัวหน้ากลุ่มบริหารงานแผน
งาน
6. นายดนัย บุญไวย์ หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน
บุคคล
7. จ่าสิบตรีเอกชัย ลิโก หัวหน้ากลุ่มบริหารงานทั่วไป
8. นางสาวกัญญาณัฐ นุ่มตูม หัวหน้ากลุ่มสำนักงานผู้
อำนวยการ

2. คณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย
1. นางรัชดา เรือง ครู คศ.1
ปราชญ์
2. นางสาวนิพารัตน์ ครู คศ.1
การันต์
3. นางวิจิตรา คงเกตุ ครู คศ.1
95

4. นางสาวพัชรา หงส์ ครู คศ.1


จันดา
5. นายตุลวรรธน์ อินตุ่น ครู คศ.1
6. นายกร พานิชเจริญ ครู คศ.1
7. นางสาวภัชญณัญ ครู คศ.1
ภัทรพนาสกุล
8. นางสาวชลธิชา นา ครู คศ.1
ประสิทธิ์ชัย
9. นางสาวณชบงกช รื่น ครู คศ.1
ริด
1 นางสาวพิมพ์พิสุทธิ์ ครู คศ.1
0. อุสส่าห์กิจ
1 ครู คศ.1
นางณิชาพรรณ เตชะ
1.
1 นางสาวพัชรินทร์ ครู คศ.1
2. บุญฤทธิ์
1 นางสาวณัฏฐภัณย์ ครู คศ.1
3. ไชยเขียวแก้ว
1 นายชญานิน อินทร์ ครู คศ.1
4. นวล
1 นางชนัดดา อนุกุล ครูผู้ช่วย
5. ภิรมย์
1 ครูผู้ช่วย
นางนิ่มนวล มูลมณีย์
6.
96

1 นางรุ่งทิพย์ ครูผู้ช่วย
7. สงเคราะห์ธรรม
1 นางสาวณัฏฐา พรม ครูผู้ช่วย
8. วรรณา
1 ครูผู้ช่วย
นางมิ่งขวัญ สืบจันทา
9.
2 นายอนุชาติ โรง ครูผู้ช่วย
0. สะอาด
2 ครูผู้ช่วย
นางสาวศรัญญา อุคำ
1.
2 นางสาวศรินทรรัตน์ ครูผู้ช่วย
2. สกุลปทุมทอง
2 ครูผู้ช่วย
นางสาวศศิธร ชมภู
3.
2 นางสาวรัตนาภรณ์ ครูผู้ช่วย
4. เกตุบำเพ็ญ
2 นางสาวศิรภัสสร เกิด ครูผู้ช่วย
5. เนตร
2 ครูผู้ช่วย
นางสาวมัทนา ทองบุ
6.
2 ครูผู้ช่วย
นายวศิน โพธิคุณ
7.
2 นายคมธเนศ ครูผู้ช่วย
8. สงเคราะห์ธรรม
97

2 นางสาววลัยพร ภู่ ครูผู้ช่วย


9. ระย้า
3 นางสาวกัญญารัตน์ ครูผู้ช่วย
0. ชาติไทย
3 ครูผู้ช่วย
นายจิรวัฒน์ ต๊ะตา
1.
3 นางพัทธนันท์ สันติ ครูผู้ช่วย
2. ไพร
3 นางสาวกัลยกร ครูผู้ช่วย
3. กำเนิดเพชร
3 นางสาววิภารัตน์ ครูผู้ช่วย
4. กองหยอง
3 นางสาวกรกนก หวัง ครูผู้ช่วย
5. ไพรเจริญ
3 ครูผู้ช่วย
นางสาวอลิตา วงค์ชัย
6.
3 นางสาวสาคร ไชย ครูผู้ช่วย
7. มงคล
3 นางณิชกานต์ แป้ น ครูผู้ช่วย
8. เกิด
3 นางฐิติชญาณ์ ยอด ครูผู้ช่วย
9. รัก
4 ครูผู้ช่วย
นายภณภู สังข์งาม
0.
98

4 ครูผู้ช่วย
นางฐิติพร ดอนชัย
1.
4 ครูผู้ช่วย
นายแสนภูมิ แสนคำ
2.
4 นางสาววิลาสินี รื่น ครูผู้ช่วย
3. พานิช
4 นายจิตติน จินตกา พนักงานราชการ
4. นนท์
4 นางสาวธันยรัตน์ พนักงานราชการ
5. ป้ องคำสิงห์
4 นางสาวดวงฤทัย ชาว พนักงานราชการ
6. เพชร
4 นางสาวณัฐหทัย พนักงานราชการ
7. ผาคำ
4 นางสาวสุรีรัตน์ สุข พนักงานราชการ
8. สมกรณ์
4 นางสาวพรทิพย์ ต้อย พนักงานราชการ
9. เส็ง
5 นางสาวนฤมล สุข พนักงานราชการ
0. ประเสริฐ
5 นางสาวสิราวรรณ พนักงานราชการ
1. เจริญศิลป์
5 นางสาวกาญจนา มูล พนักงานราชการ
2. ธิโต
99

5 นางสาวมณีรัตน์ เบ็ญ พนักงานราชการ


3. มาส
5 นายธีระภัทร์ ยอดชม พนักงานราชการ
4. ญาณ
5 พนักงานราชการ
นางสุประวีณ์ พักโบก
5.
5 นางสาวสุภัทรา รอด พนักงานราชการ
6. เปรม
5 นางสาวกรรณิการ์ ครูอัตราจ้าง
7. มณีวงษ์
5 นางหิรัณย์พร สมบัติ เจ้าหน้าที่ธุรการ
8. ทวี

You might also like