You are on page 1of 377

[1]

[2]

คำนำ
กรมสรรพากร (The Revenue Department) เป็นหน่วยงานหลักใน
การจัด เก็ บภาษี มีกฎหมายที่ใช้เป็นหลั กในการจัดเก็ บภาษี คือ ประมวลรัษฎากร และมี
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงการคลัง คำสั่งกรมสรรพากร ประกาศ
กรมสรรพากร ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งพบว่าจะมีการปรับปรุง กฎหมายที่ใช้ใน
การจัดเก็บภาษีอยู่เสมอๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ช่วงนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปีที่ผ่าน
มา มีการจัดเก็บภาษี E-service อันถือเป็นการจัดเก็บภาษีนอ้ งใหม่ ด้วย
เมื่อกฎหมายมีมากประกอบกับมีการแก้ไข ปรับรุงอยู่เนื อง ๆ หากอ่านไม่
ตรงจุด อาจเสียเวลาและเกิด ความสับ สนได้ ผู้จัดทำจึงสรุป เนื้อหาและจุดเน้นที่น่าสนใจ
เพื่อให้เหมาะสมแก่การนำมาศึกษาเพื่อเตรียมตัวสอบกรมสรรพากรให้มากที่สุด
คู่มือเตรียมสอบกรมสรรพากรเล่มนี้ ประกอบด้วย เนือ้ หาที่ใช้ในการ
สอบ-แนวข้อสอบ (ที่เคยออกข้อสอบและการเก็งแนวข้อสอบ) รวมถึงจุดเน้นที่น่าสนใจ ซึ่ง
ได้ผ่านการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่อย่างสุดความสามารถจากประสบการณ์ ของ
ผูจ้ ัดทำเพื่อให้ทุกท่านได้ใช้ประโยชน์จากหนังสือเล่มนีอ้ ย่างเต็มที่

“จงแข่งกับตัวเอง”
สำคัญที่สุดคือ ความมุ่งมั่นและตั้งใจจริง
ความสำเร็จจะอยู่แค่เอื้อม
“ขอเป็นกำลังใจและขอให้ประสบความสำเร็จในการสอบครั้งนี้”

ไซอิ๋ ว
Update พฤษภาคม 2566
[3]

สารบัญ
หน้า
ส่วนที่ 1
1.1 ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสัยทัศน์ พันธกิจ 4
โครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ และภารกิจ
1.2 ความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากรและหลักภาษี 11
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal income tax (PIT)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล Corporate Income Tax (CIT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax (VAT)
ภาษีธุรกิจเฉพาะ Specific Business Tax (SBT)
อากรแสตมป์ stamp duty (SD)
ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax)
1.3 ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจสังคม 152
และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
1.4 ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) 160
1.5 ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 173
1.6 กฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง 187
- วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง - ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
1.7 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป 209
- หลักกฎหมายแพ่ง - หลักกฎหมายอาญา

ส่วนที่ 2 แนวข้อสอบพร้อมเฉลย 231-367


ประกอบด้วย
➢ ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชีและการวิเคราะห์งบการเงิน
➢ ความรู้เกี่ยวกับกรมสรรพากร วิสยั ทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่และภารกิจ
➢ ความรู้เกี่ยวกับหลักภาษีอากรประเภทต่างๆและประมวลรัษฎากร
➢ ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคม
และเทคโนโลยีของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน
➢ ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ
และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
➢ กฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง
- วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
➢ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
- หลักกฎหมายแพ่ง - หลักกฎหมายอาญา

ส่วนที่ 3 พิเศษ เจาะจุดเน้นที่น่าสนใจของกรมสรรพากร 368-377


[4]

ส่วนที่ 1
1.1 ความรู้เกี่ยวทั่วไปเกี่ยวกับกรมสรรพากร ภารกิจ วิสัยทัศน์
พันธกิจ กลยุทธ์ ค่านิยม แผนปฏิบัติราชการ โครงสร้างอำนาจหน้าที่ ภารกิจ
น่ ารู้ เกีย่ วกับกรมสรรพากร
1) พ.ศ.2416 รัชการที่ 5 ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเก็บภาษีมารวมไว้
2) พ.ศ.2435 ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็น กระทรวงการคลังมหาสมบัติ
3) วันที่ 2 กันยายน 2458 เป็นวันเกิดกรมสรรพากรและเป็นวันที่จัดตั้งกรมสรรพากร ซึ่งตรงกับสมัย
ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 6) (จุดเน้น)
ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้ าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า
กรมสรรพากรซึ่งมีหน้าที่ตรวจตราตักเตือนเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ในการตรวจเก็บภาษีอากร
กระทำการบัญชีและรวบรวมเงินผลประโยชน์แผ่นดิน จะรวมอยู่ในกระทรวงอันเสนาบดีมีห น้าที่
ปกครอง ยังไม่สู้เหมาะแก่ทางการ ควรมาขึ้นอยู่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อันเสนาบดีมีหน้าที่ดำริ
และบัญชาการเงินอยู่แล้ว เพื่อจะได้จัด การตรวจตราและจัดการให้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้ นฉะนั้นจึงได้
ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯให้ ย กกรมสรรพากรใน ซึ่ ง แต่ เดิ ม ขึ้ น อยู่ ในกระทรวงนครบาลและ
กรมสรรพากรนอกซึ่งเดิมขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยมาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชากระทรวงพระคลังมหา
สมบัติและให้รวมเข้าเป็นกรมเดียวกันเรียกว่ากรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2458 ดังมี
พระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ดังนี้
ประกาศยกกรมสรรพากรนอกมาขึ้นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และรวมกับกรมสรรพากร
ในเปลี่ยนนามเป็นกรมสรรพากร
มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า “กรมสรรพากรซึ่งมีหน้าที่ตรวจตราตักเตือน
เจ้ า พนั ก งานผู้ ป กครองท้ อ งที่ ในการตรวจตราเก็ บ ภาษี อ ากร กระทำการบั ญ ชี แ ละรวบรวมเงิ น
ประโยชน์แผ่นดินนั้น ทรงมีพระราชดำริเห็นว่า หน้าที่การเช่นนี้จะรวมอยู่ในกระทรวงอันเสนาบดีมี
หน้าที่ปกครองยังไม่สู้เหมาะแก่ทางการ” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสรรพากรใน ซึ่งแต่
เดิมขึ้นในกระทรวงนครบาลมาขึ้นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อันเสนาบดี มีหน้าที่ดำริและบัญชา
ทางการเงินอยู่แล้ว เพื่อจะได้จัดการตรวจตราและจัด การให้เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น การก็ได้ดำเนินการ
มาโดยเรียบร้อย สมควรจะรวมสรรพากรนอกมาไว้ในกระทรวงเดียวกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกกรมสรรพากรนอกและข้าราชการในกรมสรรพากรนอกมาขึ้นอยู่ในบังคับ บัญชากระทรวงพระ
คลังมหาสมบัติ
อนึ่ง กรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกแต่เดิมมาได้ขึ้นอยู่ต่างกระทรวงจึงแยกอยู่เป็น
สองกรม บัดนีไ้ ด้ยกมารวมอยู่ในกระทรวงเดียวกันแล้ว สมควรจะรวมเข้าเป็นกรมเดียวได้ จึงทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯให้รวมกรมสรรพากรนอกและกรมสรรพากรในเข้าเป็นกรมเดียวกัน ให้
เรียกว่า กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศเป็นต้นไป คือ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2458 (จุดเน้น)
NOTE รัชกาลที่ 6 รวมกรมสรรพากรนอกกับกรมสรรพากรในเป็ น กรมสรรพากร
ขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ดังนั้น กรมสรรพากร ตั้งขึ้นในรัชการที่ 6 เมื่อ วันที่
2 กันยายน พ.ศ.2458 และวันที่ 2 กันยายน 2566 กรมสรรพากร มีอายุครบ 108 ปี
4) อธิบดีกรมสรรพากรคนแรก มิสเตอร์ เอฟ.เอช.ไยล์ (พ.ศ.2440 - 2472) เป็นชนชาติอังกฤษ
ชาวเมืองพลีมัธ หรือมหาอำมาตย์โท พระยาอินทรมนตรี ศรีจันทรกุมาร
[5]

5) อธิบดีกรมสรรพากรคนปัจจุบัน คือ นายลวรณ แสงสนิท


เป็นอธิบดีคนที่ 26 เริ่มปี พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

6) สังกัด : กรมสรรพากร (The Revenue Department) สังกัดกระทรวงการคลัง


7) ตรากรมสรรพากร คือ ตราพระอุเทนทราธิราชนั่งดีดพิณสามสาย (จุดเน้น)

ภายในวงกลมชั้นใน ลายกลางเป็นรูปพระอุเทนทราธิราชประทับเหนือพระแท่น ดีดพิณ


สามสายทรงภูษารัตกัมพล ประกอบลายหางคชสีห์สีทองเบื้องซ้าย ขวาและล่าง พื้นหลังเป็นสีฟ้า
ภายในวงกลมชั้นนอก เบื้องบนมีอักษรข้อความว่า “กรมสรรพากร” เบื้องล่าง มีอักษร
ข้อความว่า “THE REVENUE DEPARTMENT” ระหว่างอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มี
ดอกสี่กลีบ (ประจำยาม) ข้างละ 3 ดอก เป็นสีทอง เส้นตัดขอบลายตัวอักษรและวงกลมเป็น สีแดง
พื้นหลังเป็นสีขาว กรมสรรพากรนำรูปพระอุเทนทราธิราชดีดพิณ มาเป็นสัญลักษณ์ เพราะเห็นว่า
พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการใช้พิณและมนต์บังคับช้างได้ จึงใช้แทนความหมายการเป็น
หน่วยงานทีจ่ ัดเก็บภาษีอากร ซึ่งใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเชิญชวนให้ประชาชนเสียภาษีอากร
8) วัตถุประสงค์หลักของกรมสรรพากร
1. จัดเก็บภาษีในระดับที่เหมาะสมและทั่วถึงด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ทั้งค่าใช้จ่ายของ
กรมสรรพากรและค่าใช้จ่ายของผู้เสียภาษี
2. มุ่งพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยให้แข่งขันกับต่างประเทศได้
3. สร้างความเข้าใจให้กับผู้เสียภาษี โดยแสดงให้เห็นว่าผู้อื่นก็เสียภาษีถูกต้อง
ครบถ้วน
4. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ มีประสิทธิภาพและเที่ยงธรรม
9) ภารกิจกรมสรรพากร
กรมสรรพากร มีภารกิจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี การเสนอแนะ และการใช้นโยบายทาง
ภาษีอากร เพื่อจัดเก็บภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นกลไกในการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคม และเกิดความสมัครใจในการเสียภาษี โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. จัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นทีเ่ กี่ยวข้อง
2. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง
3. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด/ตามที่กระทรวง/คณะรัฐมนตรี
มอบหมาย

วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และ ค่านิยม

1) วิสัยทัศน์ (Vision)
มีขึ้นเพื่อให้บุคลากรกรมสรรพากร ใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อให้ไปใน
ทิศ ทางเดีย วกั น ซึ่ง วิสั ย ทั ศ น์ใหม่ เริ่ม ใช้ วัน ที่ 1 ตุ ล าคม พ.ศ. 2563) (จุ ด เน้ น ) ใช้ใน
ปีงบประมาณ 2564 – 2566 (รวม 3 ปี) โดยให้ความสำคัญกับการจัดเก็บภาษี ที่โปร่งใส
[6]

เป็น ธรรม โดยการใช้นวั ต กรรม เทคโนโลยี/ข้ อมู ล และการพั ฒ นาบุ คลากรให้ มีทั ก ษะที่
จำเป็นกับโลกยุคใหม่ เพื่อให้กรมสรรพากรเป็นกำลังสำคัญที่จะร่วมกับทุกภาคส่วนผลักดัน
ให้ประเทศไทยมีเสถียรภาพทางการคลังที่แข็งแกร่ง สามารถแข่งขันในเวทีโลก รวมถึงการมี
ส่วนร่วมฟืน้ ฟูสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป วิสัยทัศน์มีขอ้ ความดังนี้
องค์กรชั้นนาที่จัดเก็บภาษีอย่างโปร่ งใสเป็ นธรรม
ด้วยนวัตกรรมและบุคลากรคุณภาพ เพื่อสร้ างเสถียรภาพทางการคลัง
“Leading Tax Agency driven by Integrity
Innovation and Competent Team to foster Fiscal Stability”

2) พันธกิจ (Mission)
คือ ความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์กรหรือภาระงานในความรับผิดชอบ ซี่งกรมสรรพากร
อยู่ในสังกัดของกระทรวงการคลัง มีพันธกิจ ซึง่ ต้องดำเนินการให้บรรลุผล ดังนี้
1. จัดเก็บภาษีอากรให้ได้ตามประมาณการ
2. ยกระดับการให้บริการและสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี
3. เสนอนโยบายทางภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง
เรียกพันธกิจโดยย่อว่า จัดเก็บภาษีตรงเป้า นโยบายตรงกลุ่ม บริการตรงใจ (จุดเน้น)

3) กลยุทธ์ (strategy)
กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานอันดับ 1 ในการจัดเก็บภาษีของประเทศ และใน
ปีงบประมาณ 2566 อธิบดีกรมสรรพากร (นายลวรณ แสงสนิท) ได้นำนโยบาย “One RD” มาใช้
ในการทำงาน ประกอบด้วย “ONE TEAM” และ “ONE SEAMLESS TAX ECOSYSTEM”
“ONE TEAM” หมายความว่า ทีมสรรพากรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขับเคลื่อนด้วย Big
Data ทำงานแนวใหม่ มุ่งเน้นผลลัพธ์ ก้าวไปด้วยกัน
“ONE SEAMLESS TAX ECOSYSTEM” หมายความว่า กรมสรรพากรให้บริการแบบไร้
รอยต่อ ทำภาษีให้เป็นเรื่องง่าย ขับเคลื่อนด้วย 4 ทิศทาง (Theme) คือ
- REDEFINED TAX ECOSYSTEM : ทำภาษีให้เป็นเรื่องง่าย
- DATA DRIVEN TAXATION : ขับเคลื่อนการจัดเก็บภาษีดว้ ยข้อมูล
- NEW WAY OF WORK : ทำงานรูปแบบใหม่
- ADAPTIVE TO CHANGE : องค์กรสมรรถนะสูงทันการเปลี่ยนแปลง
[7]

ภาพ One RD
[8]

4) ค่านิยม (Value)
ค่านิยมกรมสรรพากร มีข้ นึ เพื่อให้บุคลากรกรมสรรพากรยึดถือปฏิบตั ิ เพื่อให้มีทศั นคติ
และพฤติกรรมในการทางาน นาไปสู่ ผลการปฏิบตั ิงานที่มีประสิ ทธิ ภาพและเป็ นแรงผลักดัน
ให้องค์กรมุ่งสู่ ความเป็ นมาตรฐานสากลอย่างยัง่ ยืน เรี ยกสั้น ๆ ว่า

I AM RD
เรา คือ สรรพากร

I = Integrity
มีจริ ยธรรมและจรรยาบรรณ ปฏิบตั ิหน้าที่ดว้ ยความซื่อสัตย์สุจริ ต
A = Accountability
มีความรับผิดชอบ ปฏิบตั ิหน้าที่ดว้ ยความมุ่งมัน่ ขยันหมัน่ เพียรและกระตือรื อร้น
M = Mastery
มีความเป็ นมืออาชีพ สั่งสมความรู ้และความเชี่ยวชาญในงานที่รับผิดชอบ
R = Respect and Responsiveness
การให้เกียติแก่ผูเ้ สี ยภาษีทุกระดับ เคารพสิ ทธิและหน้าที่และตอบสนองความคาดหวัง
หรื อความต้องการของผูเ้ สี ยภาษี
D = Development
พัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพงานและบริ การผูเ้ สี ยภาษีให้พึงพอใจ
ที่ตั้งกรมสรรพากร
เลขที่ 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
อีเมล์กรมสรรพากร คือ e-mail.saraban@rd.go.th
ช่อง youtube คือ กรมสรรพากร ประเทศไทย
เป้าจัดเก็บภาษีปีงบประมาณ 2566 จำนวน 2,029,100 ล้านบาท

โครงสร้างการบริหารกรมสรรพากร
ผู้บริหาร
1.อธิบดี คือ นายลวรณ แสงสนิท เป็ นอธิบดีคนที่ 26 (เดือนพฤษภาคม 2565 -ปัจจุบนั )
2.ที่ปรึ กษา เป็ นตาแหน่งผูท้ รงคุณวุฒิ (มี 5 ตาแหน่ง) ประกอบด้วย
- ที่ปรึ กษาด้านประสิ ทธิภาพ คือ นายเกรี ยงศักดิ์ ประสงค์สุกาญจน์
- ที่ปรึ กษาด้านพัฒนาฐานภาษี คือ นางสาววีณา ลิ่มสวัสดิ์
- ที่ปรึ กษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแลการสื่ อสาร คือ น.ส.ขนิษฐา สหเมธาพัฒน์
[9]

- ที่ปรึ กษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกรรมทางการเงินการธนาคาร) คือ


นายปิ่ นสาย สุ รัสวดี
(นายปิ่ นสาย สุ รัสวดี ได้รับการแต่งตั้งอีกตาแหน่งคือ “ผูน้ าการบริ หารการ
เปลี่ยนแปลง” หรื อ “Chief Change Officer : CCO) ประจากรมสรรพากรอีกด้วย) จุดเน้ น
- ที่ปรึ กษาด้านยุทธศาสตร์การจัดภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) คือ
นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์
3. รองอธิบดี เป็ นตาแหน่งผูบ้ ริ หารระดับต้น (มี 4 ตาแหน่ง) ประกอบด้วย
1) นางสาวสลักจิต พงษ์ศิริจนั ทร์
2) นายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ
3) นายพงษ์ศกั ดิ์ เมธาพิพฒั น์
4) (ว่าง)
ส่วนราชการในสังกัดของกรมสรรพากร
หน่วยงานภายใต้สังกัดกรมสรรพากร ทุกหน่วยงาน ตั้งแต่กรม กอง กลุ่ม ศูนย์
สานักงานสรรพากรภาค สานักงานสรรพากรพื้นที่ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
เป็ นส่วนราชการส่วนกลางทั้งหมด ไม่ มีส่วนราชการส่ วนภูมิภาค ประกอบด้วย
1) ส่ วนราชการภายในกรม (16 กอง 3 กลุ่ม 3 ศูนย์ )
- กอง มี 16 กอง คือ
1. สานักงานเลขานุการกรม (เทียบเท่ ากอง)
2. กองกฎหมาย
3. กองตรวจสอบภาษีอากรกลาง
4. กองเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. กองบริ หารการคลังและรายได้
6. กองบริ หารการเสี ยภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์
7. กองบริ หารทรัพยากรบุคคล
8. กองบริ หารภาษีธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
9. กองบริ หารธุรกิจภาษีขนาดใหญ่
10.กองมาตรฐานการกากับและตรวจสอบภาษี
11.กองมาตรฐานการจัดเก็บภาษี
12.กองมาตรฐานการสอบบัญชีภาษีอากร
13.กองวิชาการแผนภาษี
14.กองสารวจและติดตามธุรกิจนอกระบบ
15.กองสื บสวนและคดี
16.กองอุทธรณ์ภาษี
[10]

- กลุ่ม มี 3 กลุ่ม คือ


1. กลุ่มตรวจสอบภายใน
(ตรวจสอบด้านการบริ หาร การเงิน และการบัญชีของกรม)
2. กลุ่มบริ หารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นกั ท่องเที่ยว
(ดาเนินการและตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิม่
ให้แก่นกั ท่องเที่ยว)
3. กลุ่มพัฒนาระบบบริ หาร (เสนอแนะให้คาปรึ กษาอธิบดี)
- ศูนย์ มี 3 ศูนย์ คือ
1. ศูนย์นวัตกรรมข้อมูลอัจฉริ ยะ กรมสรรพากร
2. ศูนย์ปฏิบตั ิการตามพันธกรณี ระหว่างประเทศ
3. ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center)
ให้บริ การสอบถามข้อมูลภาษีสรรพากร/รับเรื่ อง
ร้องเรี ยนทาง สายด่ วน 1161 (จุดเน้ น - ออกข้อสอบตลอด)
2) ส่ วนราชการภายนอกกรม (แต่ ยังคงเป็ นราชการส่ วนกลางอยู่ เพียงแต่ ตั้งอยู่นอกเขต กทม.)
2.1 สานักงานสรรพากรภาค มี 12 ภาค
ไม่ได้แบ่งตามพื้นที่ภูมิประเทศ แต่แบ่งเพื่อการบริ หาร ประกอบด้วย
- สานักงานสรรพากร ภาค 1-3 ตั้งอยูใ่ นพื้นที่ของกรุ งเทพมหานคร ทั้ง 3 ภาค
- สานักงานสรรพากร ภาค 4-12 ตั้งอยูน่ อกพื้นที่กรุ งเทพมหานคร
2.2 สานักงานสรรพากรพื้นที่ มี 119 พื้นที่
ส่ วนใหญ่ ตั้งอยูใ่ นพื้นที่แต่ละจังหวัด ยกเว้น สานักงานสรรพากรพื้นที่
กรุ งเทพมหานคร 1 – 30 ที่ต้ งั อยูใ่ นพื้นที่กรุ งเทพมหานคร
สานักงานสรรพากรพื้นที่ มีอานาจหน้าที่ภายในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบ ดังนี้
1) วางแผนปฏิบตั ิการและประเมินผล เพื่อการบริ หารงานจัดเก็บภาษีอากรให้เป็ นไปตาม
นโยบาย แผนงาน และเป้าหมายของกรม และสานักงานสรรพากรภาค
2) กากับดูแลผูเ้ สี ยภาษีเป็ นรายผูป้ ระกอบการ ตรวจปฏิบตั ิการ และตรวจสอบภาษีอากร
สาหรับรายที่อยูใ่ นความรับผิดชอบ
3) ดาเนินการเกี่ยวกับการเร่ งรัดภาษีอากรค้าง และดาเนินคดีแก่ผเู ้ สี ยภาษี รวมทั้งตอบ
ข้อหารื อทางภาษีอากร
4) กากับ ติดตาม และควบคุมการปฏิบตั ิงานของสานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
5) พิจารณาคืนเงินภาษีอากร
6) ปฏิบตั ิงานด้านกรรมวิธีภาษี
7) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ข่าวสาร ความรู ้ และความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอากร
8) ปฏิบตั ิงานร่ วมกับหรื อสนับสนุนการปฏิบตั ิงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรื อที่
[11]

ได้รับมอบหมาย
(Note ชื่อเรียก สานักงานสรรพากรพืน้ ที่......... จะไม่ มีคาว่ า “จังหวัด” เช่ น
หากตัง้ อยู่จังหวัดภูเก็ต จะเรี ยกว่ า สานักงานสรรพากรพืน้ ที่ภูเก็ต (ไม่ มีคาว่ า จังหวัด) และเป็ นส่ วนราชการ
ส่ วนกลาง )
2.3 สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา มี 850 สาขา มีหน้าที่รับผิดชอบภายในท้องที่ ดังนี้
(1) รับชาระภาษีอากร คืนเงินภาษีอากร และปฏิบตั ิงานด้านกรรมวิธีอื่นๆ
(2) ตรวจสอบธุรกิจขนาดเล็กของผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(3) สารวจและติดตามแหล่งภาษีอากรและผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีอากร เพื่อให้มีการเสี ยภาษี
อากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
(4) ดาเนินการเกี่ยวกับการเร่ งรัดภาษีอากรค้าง
(5) ปฏิบตั ิงานด้านการเงินและการบัญชีสรรพากร
(6) ประชาสัมพันธ์และให้คาแนะนาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร
(Note ชื่อเรียก สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขา.......จะไม่มีคาว่า “อาเภอ” เช่ น หากตั้งอยู่ ณ อาเภอ
กระนวน จังหวัดขอนแก่ น จะเรี ยกว่ า สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขากระนวน (ไม่ มีคาว่ า อาเภอ) และเป็ น
ส่ วนราชการ ส่ วนกลางไม่ ใช่ ส่วนภูมิภาค)

1.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประมวลรัษฎากรและหลักภาษีอากร
ความหมายของประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร มีรากศัพท์มาจากคาว่า ประมวล สมาสกับคาว่ า รัษฎากร
คาว่า “ประมวล” แปลว่า รวบรวม ในที่น้ ีหมายความถึง ประมวลกฎหมาย (Code)
ซึ่งรวบรวมกฎหมายลักษณะใกล้เคียงกันไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน
คาว่า “รัษฎากร” มีรากศัพท์มาจากคาว่า “ราษฎร” สนธิ กับคาว่ า “อากร” รวมเป็ น
รัษฎากร แปลว่า ภาษีอากรทั้งหลายที่จัดเก็บจากราษฎรหรื อประชาชน
ดังนั้น “ประมวลรัษฎากร ” หมายความว่า ประมวลกฎหมายภาษีอากร บรรดาที่บญั ญัติ
จัดเก็บจากประชาชนหรื อราษฎรทั้งหลาย
เจตนารมณ์ในการตราประมวลรัษฎากร
ประมวลรัษฎากร ถูกบัญญัติข้ นึ โดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2481 โดยที่สภาผูแ้ ทนราษฎรลงมติวา่ สมควรตราประมวล
รัษฎากร เพื่อปรับปรุงการรัษฎากร ตามหลัก “ความเป็ นธรรมแก่ สังคม” (จุดเน้ น) ซึ่งตราไว้ เมื่อ
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2481
Note “ หลักความเป็ นธรรมแก่สังคม ” เป็ นส่วนหนึ่งของลักษณะภาษีอากรที่ดี ซึ่ง
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี ประกอบด้วย 7 หลัก คือ
- หลักความเป็ นธรรม - หลักความแน่ นอน
[12]

- หลักความสะดวก - หลักความยืดหยุ่น
- หลักอานวยรายได้ - หลักความเป็ นกลางทางเศรษฐกิจ
- หลักความประหยัด
วันที่บทบัญญัติแห่ งประมวลรัษฎากร ใช้ บังคับ และลาดับศักดิ์ของกฎหมายสรรพากร
ประมวลรัษฎากร เป็ นกฎหมายที่บญั ญัติต่อท้ายพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่ง
ประมวลรัษฎากร พ.ศ.2481 โดยมาตรา 3 โดยประมวลรัษฎากรมีผลใช้บงั คับตั้งแต่วนั ที่
1 เมษายน พ.ศ.2482 ยกเว้น เรื่ อง อากรแสตมป์ ให้ใช้ ตั้งแต่วนั ที่ 1 มิถุนายน 2482 เป็ นต้นไป
“ประมวลรั ษฎากร” มีลาดับศักดิ์เทียบเท่ า “พระราชบัญญัติ” จึงมีผลต่อการแก้ไข
เพิม่ เติมประมวลรัษฎากร ถ้าหากจะแก้ประมวลรัษฎากร จะต้องแก้ไขหรื อเพิ่มเติม ด้วยกฎหมายใน
ลาดับเดียวกันหรื อสู งกว่า คือ พระราชบัญญัติ หรื อ พระราชกาหนด เว้นแต่ ภาวะไม่ปกติ อาจมี
การแก้ไขเพิม่ เติม ด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ หรื อคณะปฏิรูปการปกครองแผ่ นดินหรื อคณะ
รักษาความสงบเรียบร้ อยแห่ งชาติ ซึ่งเป็ นกฎหมายที่เทียบเท่าพระราชบัญญัติหรื อพระราชกาหนด
นัน่ เอง และ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง ยังมี อานาจแต่ งตั้งเจ้ าพนักงานประเมินและ
เจ้าพนักงานอื่น (โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา) รวมถึง การออกกฎกระทรวง ด้ วย
ประมวลรัษฎากร มี 2 ลักษณะ รวม 322 มาตรา (ณ วันที่ 26 มี.ค.2566) แบ่ งย่ อย ได้ ดังนี้
ลักษณะ 1 ข้อความเบื้องต้น (มาตรา 1 มาตรา 4 ทศ รวม 30 มาตรา)
ลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ ายสรรพากร มี 7 หมวด (รวม 292 มาตรา) ดังนี้
หมวด 1 บทเบ็ดเสร็ จทัว่ ไป (14 มาตรา)
หมวด 1 ทวิ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร (7 มาตรา)
หมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน
มาตรา 14 ความหมายภาษีอากรประเมิน”
มาตรา 15 หลักกฎหมายพิเศษใช้บงั คับก่อนหรื อยกเว้นกฎหมายทัว่ ไป
มาตรา 16 เจ้าพนักงานประเมิน
ส่วน 1 การยืน่ รายการและการเสี ยภาษี (16 มาตรา)
ส่วน 2 การอุทธรณ์ ( 7 มาตรา)
ส่วน 3 บทกาหนดโทษ (6 มาตรา)
หมวด 3 ภาษีเงินได้และบัญชีอตั ราภาษีเงินได้
ส่วน 1 ข้อความทัว่ ไป (2 มาตรา)
ส่ วน 2 การเก็บภาษีจากบุคคลธรรมดา (39 มาตรา)
ส่วน 3 การเก็บภาษีจากบริ ษทั และห้างหุน้ ส่ วนนิติบุคคล (28 มาตรา)
บัญชีอตั ราภาษีเงินได้
หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วน 1 ข้อความทัว่ ไป (6 มาตรา)
ส่วน 2 ความรับผิดในการเสี ยภาษี (4 มาตรา)
[13]

ส่ วน 3 ฐานภาษี (8 มาตรา)
ส่ วน 4 อัตราภาษี (3 มาตรา)
ส่ วน 5 การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (4 มาตรา)
ส่ วน 6 ผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีและการคานวณภาษี (19 มาตรา)
ส่ วน 7 การยืน่ แบบและการชาระภาษี (11 มาตรา)
ส่ วน 8 เครดิตภาษีและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (5 มาตรา)
ส่ วน 9 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (20 มาตรา)
ส่ วน 10 ใบกากับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ (15 มาตรา)
ส่ วน 11 การจัดทารายงานและการเก็บรักษารายงานและหลักฐานเอกสาร (4 มาตรา)
ส่ วน 12 อานาจเจ้าพนักงานประเมิน (7 มาตรา)
ส่ วน 13 เบี้ยปรับ - เงินเพิม่ (3 มาตรา)
ส่ วน 14 บทกาหนดโทษ (6 มาตรา)
หมวด 5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ (22 มาตรา)
หมวด 6 อากรแสตมป์ และบัญชีอตั ราอากรแสตมป์
มาตรา 103 บทนิยามศัพท์เกี่ยวกับอากรแสตมป์
ส่ วน 1 การเสี ยอากร (12 มาตรา)
ส่ วน 2 เบ็ดเตล็ด (13 มาตรา)
ส่ วน 3 บทลงโทษ (7 มาตรา)
บัญชีอตั ราอากรแสตมป์
** สาหรับลักษณะ 3 ภาษีบารุ งท้องที่ ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติภาษีบารุ งท้องที่ พ.ศ. 2508
➢ Note ประมวลรัษฎากร มาตราแรกและมาตราสุ ดท้ายกล่าวถึงเรื่ อง...? (จุดเน้ น-จาให้ ได้ )
มาตราแรก คือ มาตรา 1 บัญญัติวา่ กฎหมายนี้ให้เรี ยกว่า ประมวลรัษฎากร”
สรุ ป มาตรา 1 เป็ นชื่อของกฎหมาย
มาตราสุ ดท้าย คือ มาตรา 129 เป็ นเรื่ องบทลงโทษมีอากรแสตมป์ ไว้เพื่อเจตนาที่ไม่ดี ซึ่ ง
มีใจความว่า “โดยเจตนาทุจริ ต มีแสตมป์ ปลอม หรื อแสตมป์ ใช้แล้ว หรื อแสตมป์ ที่ประกาศเลิกใช้แล้ว
ต้ องระวางโทษปรับไม่ เกิน 5,000 บาท หรือจาคุกไม่ เกิน 3 ปี หรือทั้งจาทั้งปรับ (จุดเน้ น)
หากจะเรี ยงลาดับประมวลรัษฎากรตามลาดับศักดิ์ ประกอบด้วย (จุดเน้น-ออกข้อสอบบ่อย)
(1) ประมวลรัษฎากร
(2) พระราชกฤษฎีกา
(3) กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และระเบียบกระทรวง
(4) คาวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
(5) คาสั่งกรมสรรพากร
(6) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
[14]

การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร
แบ่ งเป็ น
1.จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร มี 4 ประเภท คือ
1) ภาษีเงินได้ แบ่งเป็น
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax (PIT)
เป็นภาษีเงินได้ตามส่วน 2 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล Corporate Income Tax (CIT)
เป็นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม Value Added Tax (VAT)
เป็นภาษีตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
3) ภาษีธุรกิจเฉพาะ Specific Business Tax (SBT)
เป็นภาษีตามหมวด 5 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
4) อากรแสตมป์ Stamp Duty (SD)
เป็นค่าอากรจัดเก็บตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
(Note ภาษีตามข้ อ 1) – 3) เป็ นภาษีอากรประเมิน ส่ วนข้ อ 4) เป็ นการเก็บอากรไม่ ใช่ ภาษีอากรประเมิน)
2.จัดเก็บภาษีตามกฎหมายอื่น ไม่ใช่ ประมวลรัษฎากร (จุดเน้ น)
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 )
- ภาษีการรับมรดก (พระราชบัญญัติ ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558)
- รายได้อื่น ๆ
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักภาษีอากร
ภาษีอากร ถือเป็นรายได้หลักของประเทศ ซึง่ กรมสรรพากร เป็นหน่วยงานหลักและ
เป็นหน่วยงานอันดับ 1 ที่จัดเก็บภาษีได้มากที่สุดของประเทศ หากเรียงลำดับหน่วยงานที่จัดเก็บ
ภาษีจากมากไปน้อย จะพบว่า
อันดับ 1 กรมสรรพากร
(จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา,ภาษีเงินได้นิติบุคคล,ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีธุรกิจเฉพาะ,อากร
แสตมป์,ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม, ภาษีการรับมรดก)
อันดับ 2 กรมสรรพสามิต
(จัดเก็บภาษียาสูบ, ภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน, ภาษีสุรา และค่าผลประโยชน์, ภาษีเบียร์,
ภาษีรถยนต์, รายได้อื่น เช่น ค่าธรรมเนียมไพ่, ภาษีแก้ว, ภาษีเครื่องหอมและเครื่องสำอาง, ภาษี
กิจการสนามกอล์ฟ, ภาษีรถจักรยานยนต์, ภาษีแบตเตอรี่,ภาษีเครื่องดื่ม
อันดับ 3 กรมศุลกากร
(จัดเก็บจากอากรขาเข้า, อากรขาออก, รายได้อื่น ๆ)
อันดับ 4 ส่วนราชการอื่น ๆ
อันดับ 5 รัฐพาณิชย์
[15]

ความหมายของภาษีอากร
ภาษีอากร คือ สิ่ งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร เพื่อใช้เป็ นประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้มี
สิ่ งตอบแทนโดยตรงแก่ผเู ้ สี ยภาษีอากร อีกความหมาย คือ เงินได้หรื อทรัพยากร ที่เคลื่ อนย้ายจาก
เอกชนไปสู่ รัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกูย้ ืมหรื อขายสิ นค้า หรื อให้บริ การในราคาทุนโดยรัฐบาล
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี ตามแนวคิดของ Adam Smith (บิดาแห่งการภาษีอากร) มีดงั นี้
1. ต้องให้เกิดความเป็ นธรรมแก่ผเู ้ สี ยภาษี
2. ต้องกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บให้รัดกุมและแน่นอน
3. ต้องอานวยความสะดวกให้แก่ผเู ้ สี ยภาษีมากที่สุด
4. ต้องถือหลักจัดเก็บในอัตราต่าแต่เก็บได้มากและทัว่ ถึง
การจำแนกประเภทของภาษีอากร
สามารถจาแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยูก่ บั วัตถุประสงค์ในการจาแนก แต่ที่นิยมกันคือ
การจาแนกประเภทภาษี โดยพิจารณาจากการผลักภาระภาษี
การผลักภาระภาษี (TAX SHIFTING) หมายถึง การที่ ผูม้ ี หน้าที่ เสี ยภาษีตามที่ กฎหมาย
กาหนดถ่ายเทหรื อแบ่งภาระภาษีบางส่ วนหรื อทั้งหมดไปให้กบั บุคคลอื่น แบ่งเป็ น 2 ประเภท คือ
1. ภาษีทางตรง หมายถึง ภาษีที่จดั เก็บจากฐานรายได้หรื อทรัพย์สินจากผูม้ ีรายได้หรื อ
เจ้าของทรัพย์สินนั้นโดยตรง เป็ นภาษีที่ผลักภาระได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้
นิติบุคคล, ภาษีการรับมรดก
2. ภาษีทางอ้ อม หมายถึง ภาษีที่เก็บจากสิ นค้าหรื อบริ การในขั้นตอนการผลิต การจาหน่าย
หรื อการนาเข้า ซึ่งมีแนวคิดว่าเป็ นภาษีที่ผลักภาระภาษีไปยังผูอ้ ื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจ
เฉพาะ ,ภาษีสรรสามิต, ภาษีศุลกากร
วัตถุประสงค์ ในการเก็บภาษีอากร
1.เพื่อหารายได้
ใช้ในกิจการต่าง ๆ เพื่อส่ วนรวม เช่น การสร้างถนน การจ่ายด้านความมัน่ คง ด้านการศึกษา เป็ นต้น
2. เพื่อเป็ นเครื่ องมือส่ งเสริ มความเจริ ญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เช่น การลดอัตราภาษีอากร เพื่อกระตุน้ การใช้จ่าย การยกเว้นการจัดเก็บภาษีของธุรกิจเอกชนที่
ได้รับการส่ งเสริ มการลงทุนจากสานักงานคณะกรรมการส่งเสริ มการลงทุน (BOI: Board of Investment)
3. เพื่อเป็ นเครื่ องมือในการควบคุมการบริ โภคของประชาชน
เช่น การเรี ยกเก็บภาษีจากสิ นค้าฟุ่ มเฟื อย ไม่จาเป็ นต่อการครองชีพ ให้มีราคาแพงขึ้น เพื่อป้ องกันมิ
ให้ประชาชนจับจ่ายเงินฟุ่ มเฟื อยจนเกินไป เป็ นต้น
4. เพื่อเป็ นเครื่ องมื อรักษาเสถียรภาพในทางเศรษฐกิจ เช่น กระตุน้ การจ้างงานในยามที่
เศรษฐกิจตกต่า, การป้องกันภาวะเงินเฟ้อด้วยมาตรการทางภาษี เป็ นต้น
5. เพื่อเป็ นเครื่ องมือในการกระจายรายได้แก่ประชาชน เป็ นการกระจายความมัง่ คัง่ ของ
กลุ่มคนร่ ารวยมาสู่ คนยากจน ซึ่งนับว่าเป็ นการลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคนทั้ง 2 กลุ่ม
[16]

6. เพื่อเป็ นเครื่ องมือสนองต่อนโยบายของรัฐบาล


ลักษณะของภาษีอากรที่ดี
1.มีความเป็ นธรรม โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสี ยภาษีของแต่ละคนประกอบกับ
ผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุม้ ครองของรัฐบาล
2. มีความแน่ นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายของภาษีอากร ได้
โดยง่ายและเป็ นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อานาจหน้าที่โดยมิชอบ
3. มีความสะดวก วิธีการและกาหนดเวลาในการเสี ยภาษีอากร ต้องคานึงถึงความสะดวก
ของผูเ้ สี ยภาษีดว้ ย
4. มีประสิ ทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายทั้งของผูจ้ ดั เก็บและผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีอากร ทาให้
จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีคา่ ใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อย
5. มีความเป็ นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบต่อการ
ทางานของกลไกตลาดหรื อมีผลกระทบน้อยที่สุด
6. อานวยรายได้ ภาษีอากรทาให้รัฐมีรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่าย และเพื่อดาเนินกิจการ
ตามหน้าที่ของรัฐ
7. มีความยืดหยุ่น ภาษีอากรต้องสามารถปรับปรุ ง เพิ่มหรื อลดจานวนภาษีให้เหมาะกับ
สถานการณ์ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ ว
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร
เพื่อให้เข้าใจถึงภาษีอากร จาเป็ นอย่างยิง่ ที่ตอ้ งรู ้ถึงโครงสร้างของภาษีอากร และศึกษาไป
ตามโครงสร้างของภาษีอากรแต่ละส่ วน ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่ วน หลัก ๆ ดังนี้
1. ผู้มีหน้ าที่เสียภาษีอากร ภาษีอากรแต่ละประเภท จะกาหนดผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีและ
วิธีการเสี ยภาษีที่แตกต่างกัน สาหรับภาษีที่จดั เก็บจากรายได้น้ นั ผูท้ ี่มีหน้าที่เสี ยภาษี อาจเป็ นบุคคล
ธรรมดา คณะบุคคล นิติบุคคลประเภทต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้แตกต่างกันไป ได้แก่
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเก็บจากผูม้ ีรายได้ที่เป็ นบุคคลทัว่ ไปและหน่วยภาษีที่กาหนด
ไว้เป็ นพิเศษ
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จัดเก็บจากนิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเก็บจากการบริ โภคสิ นค้าและบริ การ จากผู ้
ประกอบธุรกิจการค้าและเป็ นภาษีทางอ้อม สามารถผลักภาระภาษีไปให้ผบู ้ ริ โภคได้
- อากรแสตมป์ จัดเก็บค่าอากรจากการทาตราสาร ปัจจุบนั มี 28 ตราสาร
2. ฐานภาษี อากร คือ สิ่ งที่ใช้เป็ นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี โดยนาอัตราภาษีไปคูณกับ
ฐานภาษี จะได้จานวนภาษีที่ตอ้ งชาระ ซึ่งฐานภาษี มีดงั นี้
2.1 ฐานรายได้ (INCOME BASE) คือการเก็บภาษีจากความสามารถในการทามาหาได้ เช่น
รายได้ของบุคคลธรรมดาและรายได้ของนิติบุคคล
[17]

2.2 ฐานภาษีเกี่ยวกับการบริ โภค (CONSUMPTION BASE) คือ การเก็บภาษีจากการบริ โภค


สิ นค้าหรื อบริ การของประชาชน ภาษีที่เก็บจากฐานการบริ โภค เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต
ภาษีนาเข้า - ภาษีส่งออก ของกรมศุลกากร เป็ นต้น
2.3 ฐานภาษีเกี่ยวกับความมัง่ คัง่ (WEALTH BASE) เรี ยกอีกอย่างว่า ฐานภาษีทรัพย์สิน คือ
ภาษีที่เก็บโดยอาศัยความมัง่ คัง่ เป็ นฐาน เช่น ภาษีที่ดิน
3. อัตราภาษี หมายถึง อัตราที่นาไปคานวณกับฐานภาษี เพื่อให้ได้จานวนภาษีที่ตอ้ งจ่าย
อัตราภาษี แบ่งเป็ น 3 ประเภท ได้แก่
3.1 อัตราภาษีแบบคงที่ คือ อัตราภาษีอากรจะไม่เปลี่ยนแปลง แม้วา่ ฐานภาษีอากรจะ
เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฐานภาษีมากขึ้น หรื อน้อยลง แต่อตั ราภาษีประเภทนี้จะคงที่ เช่น อัตราภาษี
เงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 20 และอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 เป็ นต้น
ตัวอย่าง
นายบัญชา เป็ นผูป้ ระกอบการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขายวัสดุก่อสร้างเดือนตุลาคม 2565 มี
ยอดขาย 100,000 บาท ภาษีขาย (100,000 บาท X ร้ อยละ 7 = 7,000 บาท ) พฤศจิกายน 2565
ยอดขาย 500,0000 บาท ภาษีขาย (500,0000 X ร้ อยละ 7) = 35,000 บาท
จุดสังเกต มูลค่าของฐานภาษีจะมียอดสูง หรือต่ำ แต่อัตราภาษีคงที่ จะไม่เปลี่ยนแปลง
3.2 อัตราภาษีแบบก้ าวหน้ า หรื อ อัตราภาษีแบบขั้นบันได คือ อัตราภาษีจะสูงขึน้ เมื่อ
มูลค่าฐานภาษีค่ามากขึน้ เช่น ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ซึ่งมีอตั ราภาษีตงั้ แต่รอ้ ยละ 5 ถึง 35
3.3 อัตราภาษีแบบถดถอย คือ อัตราภาษีจะลดลง เมื่อฐานภาษีอากร มีมลู ค่าเพิ่มขึน้ เช่น
ภาษีบารุงท้องที่
4. การประเมิ นจัดเก็บภาษี อากร มี 4 วิธี ได้แก่
4.1 การประเมินภาษีโดยการประเมินตนเอง (SELF ASSESSMENT)
ภาษีอากรส่วนใหญ่ ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีอากร จะเป็ นผูป้ ระเมินตนเอง แล้วยื่นแบบแสดงรายการ
ชาระภาษีอากรภายในกาหนดเวลาและสถานที่ ที่กฎหมายกาหนด หากประเมินแล้วไม่ถูกต้อง/
ครบถ้วน เจ้าพนักงานอาจประเมินภาษีเพิ่มเติมได้ ภาษีประเภทที่ตอ้ งประเมินตนเอง เช่น ภาษีเงิน
ได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นติ บิ ุคคล เป็นต้น
4.2 การประเมินภาษีโดยจ้ าพนักงาน (AUTHORITATIVE ASSESSMENT)
การเสี ยภาษีวิธีน้ ี กาหนดให้ผเู ้ สี ยภาษี ต้องยืน่ แบบแสดงรายการเพื่อแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ตอ้ ง
ใช้ในการคานวณภาษีต่อเจ้าพนักงาน เมื่อเจ้าพนักงานตรวจสอบเสร็ จแล้ว จะประเมินภาษีและแจ้ง
ให้ผเู ้ สี ยภาษีไปชาระภาษีภายในวันและสถานที่ที่กาหนดไว้
ภาษีที่ประเมินด้วยวิธีน้ ี เช่น ภาษีบารุ งท้องที่ ภาษีโรงเรื อนและที่ดิน เป็ นต้น
4.3 การประเมินภาษี โดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย (WITH HOLDING)
การเสี ยภาษีวิธีน้ ี ผูจ้ ่ายเงินได้ตอ้ งหักภาษีจากจานวนเงินที่จ่าย แล้วนาส่ งกรมสรรพากร ภายใน
กาหนดเวลาที่กฎหมายกาหนดไว้ ซึ่งภาษีที่ถูกหักไว้น้ ี ถือเป็ นเครดิตของผู้มีหน้ าที่เสียภาษี เมื่อถึง
[18]

เวลายืน่ แบบแสดงรายการปกติ ภาษีที่หกั และนาส่ งไว้จะนามาหักออกจากภาษีที่ตอ้ งเสี ย หากหักไว้


เกินกว่าภาษีที่ตอ้ งเสี ย จะได้รับเงินคืน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ,ภาษีเงินได้นิติ
บุคคลหัก ณ ที่จ่าย
4.4 การชาระภาษีล่วงหน้ า (PREPAYMENT)
เป็ นการชาระภาษีก่อนถึงกาหนดเวลายื่นรายการภาษี ปกติ โดยภาษีท่ชี าระถือเป็ นเครดิตภาษี
สามารถนามาหักออกจากภาษีท่ตี อ้ งชาระ เมื่อถึงกาหนดเวลายื่นแบบปกติ เช่น กรณีผูท้ ่ีมีเงินได้
จะเดินทางออกนอกประเทศ ต้องเสียภาษีเงินได้ก่อนถึงกาหนดยื่นรายการ หรือกรณีได้รบั
ค่าตอบแทนสัญญาเช่าที่มีกาหนดเวลาเช่าเป็ นเวลานาน ผูเ้ สียภาษีสามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.93
ชาระภาษีลว่ งหน้าเป็ นรายปี เฉลี่ยตามอายุของสัญญาเช่านัน้
5. การอุทธรณ์ภาษีอากร (จุดเน้น)
ประมวลรัษฎากร กาหนดให้ผถู้ ูกประเมินภาษีสามารถใช้สิทธิคดั ค้านการประเมินภาษีอากร
ของเจ้าพนักงานประเมิน หากเห็นว่าประเมินไม่ถกู ต้อง โดยใช้สทิ ธิ์ต่อคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์ ในกรณีเกิดปั ญหาข้อขัดแย้งพิพาทกันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ระหว่างผูม้ ี
หน้าที่เสียภาษีอากรและผูจ้ ดั เก็บภาษีอากร หรือพิพาทเกีย่ วกับจานวนภาษีอากรที่ตอ้ งเสีย หรือ
อานาจการประเมินภาษีอากร หรือผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีอากร ต้องการให้มีการพิจารณาใหม่
ในการประเมินเรียกเก็บภาษี (ทัง้ ภาษีเงินได้บคุ ลธรรมดา,ภาษีเงินได้นิตบิ คุ คล,
ภาษีมลู ค่าเพิ่ม,ภาษีธุรกิจเฉพาะ) หากผูเ้ สียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมิน ต้องยื่นคาอุทธรณ์
เป็ นหนังสือตาม แบบ ภ.ส.6 ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ภายในเวลา 30 วันนับแต่
วันได้รับแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร จึงจะสามารถฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้
เช่น ได้ รับหนังสื อแจ้ งการประเมินวันที่ 2 ตุลาคม 2563 จะต้ องยื่นอุทธรณ์ ภายในวันที่ 1
พฤศจิกายน 2563 หรื อ ได้ รับหนังสื อแจ้ งการประเมินวันที่ 4 ตุลาคม 2563 ต้ องยื่นอุทธรณ์ ภายใน
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 เป็ นต้ น เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ชีข้ าดอุทธรณ์ และแจ้ งไปยังผู้
อุทธรณ์ แล้ว หากผู้อุทธรณ์ ไม่ พอใจคาวินิจฉั ยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะสามารถฟ้อง
เป็ นคดีต่อศาลภาษีอากรได้ ภายใน 30 วันนับแต่ วันที่ได้ รับแจ้ งคาวินิจฉั ยอุทธรณ์ (จุดเน้ น)
Note ผู้ถูกประเมินภาษีอากร ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตาม
ท้องที่ แยกได้ดงั นี้
1.ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ประกอบด้วย
อธิบดีกรมสรรพากรหรือผูแ้ ทน ผูแ้ ทนสานักงานอัยการสูงสุด และผูแ้ ทนกรมการปกครอง
2.ในต่างจังหวัด ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ประกอบด้วย
สรรพากรภาคหรือผูแ้ ทน และอัยการจังหวัดหรือผูแ้ ทน ผูว้ ่าราชการจังหวัดหรือผูแ้ ทน
Note ผลของการพิจารณาอุทธรณ์
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ พิจารณาและวินิจฉัยข้อโต้แย้งเสร็จแล้ว จะมีคาวินิจฉัย
อุทธรณ์ ตามแบบ ภ.ส.7 ให้แก่ผยู้ ่นื อุทธรณ์ และสามารถมีคาวินิจฉัย ดังนี้
1.ให้ปลดภาษี เมื่อเห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้อง ผูอ้ ุทธรณ์ไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน
[19]

2.ให้ลดภาษี เมื่อเห็นว่าการประเมินบางส่วนถูกต้องแต่บางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรับปรุงจำนวน


ภาษีให้คงเหลือเท่าที่ผู้อุทธรณ์ต้องชำระ
3.ให้ยกอุทธรณ์ เมื่อเห็นว่าการประเมินถูกต้องแล้ว ผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการประเมิน
4.ให้เพิ่มภาษี เมื่อเห็นว่า การประเมินถูกต้อง แต่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีต่ำไป
คณะกรรมการจึงปรับปรุงการคำนวณภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้น
6.การบังคับ (SANCTION)
เป็ นกรณีท่ผี เู้ สียภาษีไม่ชาระภาษีอากร จึงต้องรับผิดในจานวนภาษีท่ไี ม่ชาระพร้อมเบีย้
ปรับและเงินเพิ่ม กฎหมายให้อานาจเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร ยึดทรัพย์สินของผูค้ า้ งภาษี
อากรไปขายทอดตลาด เพื่อนาเงินไปชาระภาษีอากรค้างได้โดยไม่ตอ้ งฟ้องศาล และบางกรณี ผู้
เสียภาษี อาจต้องรับโทษทางอาญา เช่น เสียค่าปรับ หรือต้องระวางโทษจาคุก อีกด้วย
(จุดน้น-เคยออกข้อสอบ)
- โทษทางแพ่ง คือ โทษที่ผเู้ สียภาษีไม่ชาระภาษีอากรหรือชาระภาษีไม่ถกู ต้อง ไม่ครบถ้วน
หรือไม่ปฏิบตั ิตามที่กฎหมายกาหนด ในทางภาษีอากร โทษทางแพ่ง คือ เบีย้ ปรับ ,เงิ นเพิ่ ม
- โทษทางอาญา คือ โทษอันเนื่องมาจากการที่ผเู้ สียภาษี ฝ่าฝื นบทบัญญัติของกฎหมายที่
กาหนดหน้าที่ให้ปฏิบตั ิ คือ โทษจาคุก, หรือ ค่าปรับอาญา (กรณี ยื่นแบบเกิ นกาหนดเวลา)
ตัวอย่างโทษที่น่าสนใจ
โทษทางอาญา เช่ น มาตรา 37 กาหนดว่า ผูใ้ ดกระทาการดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจาคุก
ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 200,000 บาท
(1) โดยเจตนาแจ้งข้อความเท็จ /ให้ถอ้ ยคาเท็จ หรื อตอบคาถามด้วยถ้อยคาอันเป็ นเท็จ หรื อนา
พยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี/เพื่อขอคืนภาษีอากรหรื อ
(2) โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรื ออุบาย หรื อโดยวิธีอื่นใด หลีกเลี่ยง หรื อพยายามหลีกเลี่ยงการ
เสี ยภาษีอากรหรื อขอคืนภาษีอากร
โทษทางแพ่ง เช่ น มาตรา 27 กาหนดว่า บุคคลใดไม่เสี ยหรื อนาส่ งภาษีภายในกาหนดเวลา
ให้เสี ยเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรื อเศษของเดือนของเงินภาษีที่ตอ้ งเสี ย หรื อนาส่ งโดยไม่
รวมเบี้ยปรับ
สิทธิ์ของผู้เสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิ์ตามกฎหมาย สรุปดังนี้
1. สิทธิ์ในการผ่อนชำระภาษี
ตัวอย่าง
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 ทีม่ ีจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทสามารถผ่อน
ชำระได้ โดยชำระงวดละเท่าๆกัน ไม่เกิน 3 งวด โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
- ภาษีอากรที่ค้างชำระ อาจยืน่ คำร้องขอผ่อนภายใต้หลักเกณฑ์การผ่อนชำระของกรมสรรพากรได้
2. สิทธิ์ในการยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี
เป็นกระบวนการยุติธรรมอย่างหนึ่งที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถใช้
สิทธิคัดค้านการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน ที่ผู้ถูกประเมินภาษีเห็นว่า ไม่ถูกต้องต่อ
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
[20]

3. สิทธิ์ในการขอทุเลาการชำระภาษีอากร
การขอทุเลาการชำระภาษีอากร เกิดเนื่องจากว่า ในระหว่างอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี
หรือรอคำพิพากษาของศาล จะไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการเสียภาษีอากร หากผู้เสียภาษีที่ได้รับหนังสือ
แจ้งการประเมินให้ชำระภาษี ก็ต้องชำระภาษีภายในกำหนดเวลาที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือนั้นอยู่ แต่ผู้เสีย
ภาษีมีสิทธิยนื่ คำร้องขอทุเลาการชำระภาษีอากร โดยมีหลักประกันการชำระภาษีอากรด้วย
หลักทรัพย์หรือหลักประกัน เพื่อรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาของศาล
4. สิทธิ์ในการของดหรือลดเบีย้ ปรับและเงินเพิ่มภาษีอากร
ผู้เสียภาษีที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีและชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนภายใน
กำหนดเวลาตามกฎหมาย หากมิได้ยื่นหรือชำระภาษีภายในกำหนดเวลา ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและ
เงินเพิ่มนอกเหนือจากเงินภาษีที่ต้องชำระอีกด้วย แต่ความผิดบางกรณี ก็มีเหตุให้ผเู้ สียภาษีของดหรือ
ลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษี ได้ แต่ตอ้ งมีคำร้องเป็นหนังสือตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้
5. สิทธิใ์ นการขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสาร
ผูเ้ สียภาษี มีสิทธิขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีของตนเองได้
เช่น ขอคัดสำเนาแบบแสดงรายการภาษีของตนเอง หรือใบเสร็จรับเงินค่าภาษีแต่ละประเภทที่เป็น
ของตนเอง เป็นต้น
ผู้เสียภาษีที่ต้องการคัดแบบฯ ที่ยื่นผ่ านอินเทอร์ เน็ต หากต้องการให้เจ้าหน้าที่รับรองความ
ถูกต้องของแบบฯ จะต้องดำเนินการ ดังนี้
ให้ยื่น "แบบการขอรับบริการข้อมูลสำเนาแบบแสดงรายการภาษี" ด้วยตนเองหรือมอบ
อำนาจให้ผอู้ นื่ กระทำการแทนก็ได้ ที่
1. ส่วนบริการยื่นแบบฯ และรับชำระภาษี สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์
อาคารกรมสรรพากร
2. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (จังหวัด) ตามภูมิลำเนา โดยให้บริการสำหรับแบบฯ ทุก
ประเภท
กรณีคัดแบบแสดงรายการภาษี โดยมีลายมือชื่อเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องด้วย
จะต้องเสียค่าธรรมเนียม หน้าละ 6 บาท (มีค่าคัดแบบฯ ขนาดกระดาษ A4 ฉบับละ 1 บาท + ค่า
รับรองความถูกต้อง ฉบับละ 5 บาท) (จุดเน้น-เคยออกข้อสอบ ปี 2564)

ความรู้เกีย่ วกับภาษีอากรแต่ละประเภท
จะอธิบายภาษีตามหัวข้อต่อไปนี้
- ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา PERSONAL INCOME TAX (PIT)
- ภาษีเงินได้ นิติบุคคล CORPORATE INCOME TAX (CIT)
- ภาษีมูลค่ าเพิม่ VALUE ADDED TAX (VAT)
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ SPECIFIC BUSINESS TAX (SBT)
- อากรแสตมป์ STAMP DUTY (SD)
- ภาษีการรับมรดก INHERITANCE TAX (IT)
ผลการจัดเก็บภาษีอากรของกรมสรรพากร เรี ยงตามลาดับจากมากไปหาน้อย คือ (จุดเน้ น)
อันดับ 1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อันดับ 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
[21]

อันดับ 3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อันดับ 4 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
อันดับ 5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ
อันดับ 6 อากรแสตมป์
อันดับ 7 ภาษีการรับมรดก
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
PERSONAL INCOME TAX (PIT)
หลักการทั่วไป
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรง
(คือ ผูม้ ีเงินได้ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังบุคคลอื่นได้ หรือผลักได้ยาก) เช่นเดียวกับ
ภาษีเงินได้นิตบิ ุคคล โดยถือหลักว่า ผูม้ ีเงินได้ไม่ว่าประเภทใด ชนิดใด หากมีเงินได้ต้องเสีย
ภาษีเงินได้ ส่วนเกณฑ์ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เกณฑ์เงินสด (เน้น)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหลักการจัดเก็บจากเงินได้ทุกประเภท เว้นแต่จะได้รับ
ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งต้องมีกฎหมายกำหนดยกเว้นไว้ เงินได้ที่ต้องเสียภาษี กฎหมาย
กำหนดไว้ 8 ประเภท (ตามมาตรา 40) ซึ่งครอบคลุมเงินได้ทุกอย่าง
ผู้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ต้องมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ตามที่ก ฎหมาย
กำหนดซึ่ง มี 2 แหล่งคือแหล่งเงินได้ที่เกิดในประเทศและแหล่งเงินได้ที่เกิดนอกประเทศ
ส่วนการคำนวณภาษี มี 2 วิธี คือ การคำนวณจากเงินได้สุทธิ (เงินได้พึงประเมิน –
ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) และการคำนวณโดยวิธีคำนวณภาษีขั้นต่ำ (นำเงินได้พึงประเมิน
ประเภทที่ 2 -8 ตั้ งแต่ 120,000 บาท มาคู ณ อั ต ราร้อ ยละ 0.5) จากนั้ น นำ 2 วิธี นี้ ม า
เปรียบเทียบกัน (เราจะได้ศึกษาต่อไป)
(NOTE ในการบัน ทึกบั ญ ชีรายได้ห รือรายจ่ายนั้น หลักๆ จะมีเกณฑ์อ ยู่ 2 เกณฑ์ คือ
เกณฑ์เงินสดและเกณฑ์คงค้าง แต่สำหรับการรับรู้รายได้ในทางภาษีของกรมสรรพากร จะถือ
เกณฑ์เงินสดและเกณฑ์สิทธิ)
เกณฑ์เงินสด หมายถึง การบันทึกบัญชีเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินสดจริง โดย
ไม่ได้คำนึงถึงว่าเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือรายจ่ายจะอยู่ในปีใด
เกณฑ์สิทธิ์ เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับเกณฑ์ก ารรับรู้รายได้และรายจ่ายเพื่อการ
คำนวณกำไรสุ ท ธิ ท างภาษีเงินได้นิ ติบุ คคลของกรมสรรพากร แต่ห ลัก การ คล้าย ๆกั บ
เกณฑ์คงค้างทางบัญชี คือ ไม่ว่ากิจการจะได้รับเงินหรือยังไม่ได้รับเงิน ก็จะต้องบันทึกเป็น
รายได้ของกิจการในปีท่เี กิดเหตุการณ์ท่ีก่อให้เกิดรายได้หรือรายจ่ายนั้น
ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า เงินได้สุทธิ
วิธีการเสียภาษี คือ ผู้มีเงินได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้วย
วิธีประเมินตนเองโดยนำเงินได้ตามปีปฏิทิน คือรายได้ที่เกิดตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม ถึง 31
[22]

ธันวาคม ของปีภาษีนั้น มายื่นแบบเพื่อเสีย ภาษี ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - ถึง 31 มีนาคม


ของปี ถั ด จากปี ที่ มี เงิน ได้ (เรีย กว่ า ภาษี เงิน ได้ บุ ค คลธรรมดาสิ้ น ปี ) บางกรณี ก ฎหมาย
กำหนดให้ ผู้ มี เงิน ได้ ต้ อ งชำระภาษี ก่ อ นถึ ง เวลายื่ น แบบปกติ เรีย กว่า การยื่ น แบบแสดง
รายการภาษีเงินได้บุ ค คลธรรมดาครึ่งปี บางกรณี ก ำหนดให้ผู้ จ่ายเงินได้หัก ภาษี เงินได้
บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายนาส่งกรมสรรพากร หรือบางกรณีกฎหมายกาหนดให้เจ้าพนักงาน
ประเมิน มีอานาจประเมินภาษีเพื่อเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกาหนดเวลาได้ (ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป)
หากมีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาครึง่ ปี หรือภาษี เงินได้
บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย หรื อภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินเรี ยกเก็บก่อนถึงกาหนดเวลายืน่ แบบ
แสดงรายการเพื่อเสี ยภาษี หากมีภาษีที่ตอ้ งชาระไว้ เหล่านี้ ถือว่าภาษีที่ชาระไว้เป็ นเครดิตในการ
คานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อสิ้ นปี (คือนาภาษีที่ชาระไว้ไปหักออกจากภาษีที่ตอ้ งชาระ)
ผู้มีหน้ าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1) บุคคลธรรมดา ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 15 หมายถึง
บุคคลที่มีชีวิต หลักว่ า “สภาพบุคคลย่ อมเริ่ม เมื่อคลอดแล้ วอยู่รอดเป็ นทารกและสิ้นสุ ดลงเมื่อตาย”
สรุ ปว่า บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ข้นั ต่าที่กฎหมายกาหนด มีหน้าที่ยนื่ แบบ
แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยไม่จากัดว่าอายุเท่าใด สัญชาติใด หรื อมี
ความสามารถยืน่ แบบเองหรื อไม่ แม้จะเป็ นบุคคลไร้ความสามารถ ,บุคคลเสมือนไร้
ความสามารถ หรื อเป็ นเด็ก ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็ยงั ต้องเสี ยภาษี แต่จะต้องให้คนอื่นเป็ นผูย้ นื่
ภาษีแทน ดังนี้
- ผู้เยาว์ ผูท้ ี่ดาเนินการยืน่ ภาษีแทน คือ ผู้แทนโดยชอบธรรม (จุดเน้ น)
- ผู้ไร้ ความสามารถ ผูท้ ี่ดาเนินการยืน่ ภาษีแทน คือ ผู้อนุบาล (จุดเน้ น)
- ผู้เสมือนไร้ ความสามารถ ผูท้ ี่ดาเนินการยืน่ ภาษีแทน คือ ผูพ้ ทิ ักษ์ (จุดเน้ น)
กรณี ที่น่าสนใจ คือ การนาเงินได้มายืน่ แบบแสดงรายการฯ กรณี ที่เป็ นสามี-ภรรยา กัน
สามี - ภรรยา ต่างฝ่ ายต่างมีเงินได้ การนาเงินได้มายื่นแบบเสี ยภาษี ให้ถือตามนี้
กรณีที่ 1 ถ้าเงินได้ของสามี - ภรรยา สามารถแยกจากกันได้อย่างชัดเจน (เงินเธอ -เงินฉัน)
➢ ให้ต่างฝ่ ายต่างแยกยืน่ แบบ โดยเงินได้ของใคร คนนั้นก็เอาไปยืน่ เสี ยภาษี หรื อ
➢ ให้คานวณภาษีรวมกัน โดย
1) นาเงินได้ทุกประเภทของตนไปถือเป็ นของอีกฝ่ ายหนึ่ง หรื อ
2) แยกมาคานวณเป็ นของตนได้เฉพาะเงินได้ประเภทที่ 1 คือเงินเดือน ตาม
มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ส่ วนเงินได้ประเภทที่ 2 - 8 คือเงินได้ตาม มาตรา
40 (2) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้นาไปเป็ นของฝ่ ายหนึ่ งทั้งจานวน
ทั้งข้อ 1,2 ถ้ามีภาษีคา้ งชาระ ต้องร่ วมกันรับผิดในภาษีที่คา้ งชาระ
กรณีที่ 2 ถ้าเงินได้ของสามี - ภรรยา ไม่ สามารถแยกจากกันได้อย่างชัดเจนว่าเป็ นของฝ่ ายใด
จานวนเท่าใด กฎหมายให้แยกโดยใช้เกณฑ์วา่
[23]

➢ แบ่งกันฝ่ ายละครึ่ ง หรื อ


➢ เฉพาะเงินได้ประเภทที่ 8 (มาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แบ่งตามส่ วนที่ตกลงกัน ถ้า
ตกลงกันไม่ได้ ให้แบ่งกันคนละครึ่ ง
2) ผู้ถึงแก่ ความตายระหว่ างปี ภาษี
หมายถึง ผูม้ ีเงินได้ที่ตายก่อนการยืน่ แบบแสดงรายการเสี ยภาษีหรื อตายในระหว่างวันที่
1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของปี ซึ่งความตาย ทาให้สภาพความเป็ นบุคคลสิ้ นสุ ดลง หากผูต้ าย
มีเงินได้ถึงเกณฑ์ข้นั ต่าที่ประมวลรัษฎากรกาหนดให้ยื่นแบบเสี ยภาษี ก็ให้ผจู ้ ดั การมรดกหรื อ
ทายาทหรื อผูค้ รอบครองทรัพย์มรดก เป็ นผูม้ ีหน้าที่ยนื่ แบบแสดงรายการเสี ยภาษีแทนผูท้ ี่ตาย
(Note จานวนเงินได้ ขั้นตา่ ที่ต้องยื่นแบบเสียภาษี เราจะศึกษาต่ อไป)
3) กองมรดกที่ยังไม่ ได้ แบ่ ง
หมายถึง ในปี ภาษีถดั จากปี ที่เจ้ามรดกตาย หากกองมรดกยังไม่ได้แบ่งให้ทายาท และมี
เงินได้เกิดขึ้นจากกองมรดก หากถึงเกณฑ์ข้นั ต่าที่ตอ้ งยืน่ เสี ยภาษี จะต้องเสี ยภาษีในนามของ
กองมรดก โดยให้ผจู ้ ดั การมรดกหรื อทายาทหรื อผูค้ รอบครองทรัพย์มรดก เป็ นผูม้ ีหน้าที่ยนื่ แบบ
แสดงรายการเสี ยภาษีแทนและต้องขอเลขผูเ้ สี ยภาษีใหม่ ในนามกองมรดก ด้วย
4) ห้ างหุ้นส่ วนสามัญ
หมายถึง บุคคล 2 คนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทากิจการร่ วมกันและประสงค์จะ
แบ่งปันกาไรที่ได้จากกิจการที่ทานั้น เช่น
➢ การถือกรรมสิ ทธิ์ในที่ดินร่ วมกัน เพื่อเก็งกาไรจากการขายที่ดิน
➢ การซื้อหุน้ ร่ วมกัน ประสงค์จะเก็งกาไรจากการขายหุน้
➢ การเปิ ดบัญชีธนาคารร่ วมกัน ประสงค์จะแบ่งดอกเบี้ยกัน
➢ การร่ วมกันของแพทย์เพื่อรักษาคนไข้ ประสงค์จะแบ่งรายได้กนั
➢ การร่ วมกันของนักแสดง พิธีกร เพื่อรับงานร่ วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งรายได้กนั
ผูม้ ีหน้าที่ยนื่ แบบแสดงรายการ ได้แก่ ผูอ้ านวยการ หรื อ ผูจ้ ดั การ
5) คณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล
หมายถึง บุคคล 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้ากันเพื่อกระทากิจการร่ วมกัน แต่ไม่ได้มุ่งหมายจะ
แบ่งปันกาไรกัน เช่น
➢ สมาคมแม่บา้ นทหาร จัดหาทุนเพื่อสร้างที่พกั สงฆ์
➢ คณะกรรมการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดหาทุนเพื่อกระทากิจกรรมกลุ่มผูม้ ี
หน้าที่ยนื่ แบบแสดงรายการ ได้แก่ ผูอ้ านวยการ หรื อ ผูจ้ ดั การ
6) วิสาหกิจชุ มชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่ งเสริ มวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็ นห้างหุน้ ส่วน
สามัญหรื อคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล
สิ่ งที่ต้องรู้ เมื่อต้ องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา
[24]

ก่อนเข้าสู่ กระบวนการคานวณหาจานวนภาษีที่จะต้องชาระ ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่าเงินได้น้ นั


มาจากแหล่งเงินได้ใด (ในประเทศไทยหรื อนอกประเทศไทย) และต้องนาเงินได้มาเสี ยภาษีใน
ประเทศไทยหรื อไม่ จากนั้น ดูวา่ เป็ นเงินได้พึงประเมินประเภทใด ต่อมา ..ต้องดูวา่ เงินได้พงึ
ประเมินนั้น เป็ นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นหรื อไม่ /ถ้าไม่ได้รับยกเว้น จึงจะเข้าสู่ ข้นั ตอนคานวณภาษี
ต่อไป ซึ่งหัวข้อที่จาเป็ นอย่างยิง่ ที่ตอ้ งรู ้ คือ (จุดเน้ น)
o เงินได้พึงประเมิน (มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร)
o เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี (มาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร)
o แหล่งเงินได้ (มาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร)
o ประเภทเงินได้พึงประเมิน (มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร)
เงินได้ พงึ ประเมิน (มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร)
"เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่า เงินได้อนั เข้าลักษณะพึงเสี ยภาษีรวม
ถึงทรัพย์สิน หรื อประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคานวณได้เป็ นเงิน หรื อเงินค่าภาษีอากรที่ผู ้
จ่ายเงินหรื อผูอ้ ื่นออกแทนให้สาหรับเงินได้ประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตาม
มาตรา 47 ทวิ ด้วย
เงินได้พงึ ประเมิน ต้องเป็ นเงินได้ที่เกิดขึ้นจริ งและรับจริ ง ในระหว่างวันที่ 1
มกราคม ถึง 31 ธันวาคมของปี หรื อเรี ยกว่า “ ปี ภาษี” เพราะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือเกณฑ์
เงินสด ในการคานวณภาษี เงินได้พึงประเมิน หมายถึง
1. เงิน
2. ทรัพย์สิน ซึ่งอาจคิดคานวณได้เป็ นเงิน
3. ประโยชน์ ซึ่งอาจคิดคานวณได้เป็ นเงิน เช่น การได้อยู่บา้ นที่นายจ้างให้อยู่
โดยไม่เสี ยค่าเช่า มีหลักเกณฑ์คานวณหาเงินได้ ดังนี้
ข้อ 1 กรณี ลูกจ้างได้อยูบ่ า้ นของนายจ้างโดยไม่ตอ้ งเสี ยค่าเช่า ให้คานวณหาเงินได้ ดังนี้
(1) ให้คานวณประโยชน์เพิ่มเป็ นเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 ของ
เงินเดือนหรื อค่าจ้าง รวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) โดยไม่รวมเงินโบนัสที่จ่ายเป็ นรายปี
กรณี ลูกจ้างหลายคนอยู่รวมกันโดยไม่เสี ยค่าเช่า ให้คานวณประโยชน์เพิ่มตาม
เกณฑ์ใน (1) เป็ นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างแต่ละคน
เช่น นาย ก และ นาย ข อยูบ่ า้ นที่นายจ้างเช่าให้ โดย นาย ก มีเงินเดือน
รวมทั้งปี จานวน 300,000 เงินโบนัส 50,000 บาท สรุ ปได้ ว่า นาย ก มีผลประโยชน์ ซึ่งคิดคานวณ
ได้ เป็ นเงิน จานวน 300,000 บาท x ร้ อยละ 20 คือ 60,000 บาท ฉะนั้น นาย ก มีเงินได้ที่ตอ้ ง
นาไปคานวณภาษี คือเงินเดือน 300,000 บาท โบนัส 50,000 บาท และประโยชน์ซ่ ึงคานวณได้เป็ น
เงิน 60,000บาท ซึ่ง รวม 3 อย่างนี้คือ เงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 1 ทั้งสิ้ น
(2) กรณี ลูกจ้างได้อยูบ่ า้ นของนายจ้างโดยไม่เสี ยค่าเช่าและเป็ นบ้านที่นายจ้างได้
[25]

ไปเช่าจากบุคคลอื่นมาอีกต่อหนึ่ง ให้คานวณประโยชน์เพิ่มจากการนี้เป็ นเงินได้พึงประเมินตามค่า


เช่าที่นายจ้างได้จ่ายไปจริ ง
เช่น นายกนก ทางานที่บริ ษทั ฯแห่งหนึ่ง ในตาแหน่งผูจ้ ดั การ เงินเดือนๆละ
50,000 บาทและบริ ษทั ฯ ยังเช่าคอนโดให้อยูฟ่ รี เดือนละ 10,000 บาท ฉะนั้น นายกนก จะมี
ประโยชน์จากการได้อยูค่ อนโดโดยไม่ตอ้ งจ่ายค่าเช่า ปี ละ 10,000 x12 เดือน = 120,000 บาท
ฉะนั้น เมื่อถึงเวลายืน่ แบบเสี ยภาษี นายกนก จะต้องยืน่ เงินได้ คือ เงินเดือน 50,000 x 12 เดือน =
600,000 บาท และ เงินจากประโยชน์ของการได้อยูค่ อนโดฟรี อีก 120,000 บาท ซึ่งถือเป็ นเงินได้
ประเภทที่1 มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
(3) กรณี ลูกจ้างหลายคนได้อยู่บา้ นที่นายจ้างเช่ามาให้ ให้เฉลี่ยค่าเช่า
บ้านที่นายจ้างได้จ่ายไปจริ ง เป็ นเงินได้ของลูกจ้างแต่ละคนตามส่ วนของเงินเดือนหรื อค่าจ้าง
รวมทั้งเงินเพิ่มตลอดปี (ถ้ามี) แต่ตอ้ งไม่รวมเงินโบนัสที่จ่าย
ข้อ 2 ในกรณี นายจ้างได้เช่าบ้านให้เป็ นที่พกั อาศัยของพนักงาน ซึ่งดารงตาแหน่งระดับ
บริ หาร โดยนายจ้างเป็ นผูอ้ อกค่าเช่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ าประปา ค่าไฟฟ้า ค่าคนสวน
และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ภายในบ้าน แม้ต่อมาพนักงานผูน้ ้ นั หรื อนายจ้าง จะใช้บา้ นเป็ นสถานที่
ประชุมและปรึ กษาหารื อกิจการของนายจ้างตลอดจนการจัดงานเลี้ยงรับรองลูกค้าสาคัญ ๆ
ของนายจ้างเป็ นครั้งคราว ถือว่ า ค่าเช่าบ้านและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นายจ้างจ่ายไปเป็ นประโยชน์
ที่พนักงานผูน้ ้ นั ได้รับทั้งสิ้ น พนักงานต้องนาประโยชน์ที่ได้รับทั้งหมดมารวมคานวณเพื่อเสี ย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผ้ จู ่ ายเงินหรื อผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ สรุ ปหลักเกณฑ์การได้รับเครดิตภาษี ดังนี้
- ผูร้ ับเงินปันผล ต้องมีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ผูม้ ีเงินได้ตอ้ งมีภูมิลาเนาอยูใ่ นประเทศไทย หรื อเป็ นผูอ้ ยูใ่ นประเทศไทย
“ภูมิลาเนาของบุคคลธรรมดา” ได้แก่ ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยูเ่ ป็ นแหล่ง
สาคัญ ซึ่งหากจะเปลี่ยนภูมิลาเนา ต้องมีการย้ายถิ่นที่อยูพ่ ร้อมเจตนาปรากฎชัดแจ้ง เช่น นายเอ ไป
ทางานต่างประเทศ หรื อ นางสาวบี ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ไม่ได้มีเจตนาว่าจะเปลี่ยนภูมิลาเนา
ยังคงถือว่ามีภมู ิลาเนาในประเทศไทย
การคานวณเครดิตภาษีเงินปันผล
เครดิตภาษีเงินปันผลหรื อเครดิตเงินส่วนแบ่งกาไรที่ได้รับจากบริ ษทั หรื อ
ห้างหุน้ ส่วนนิติบุคคล มีสูตรการคานวณเครดิตภาษีไว้ดงั นี้
เครดิตภาษีเงินปันผล = อัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคล x เงินปันผล
(100 - อัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคล)
[26]

ตัวอย่าง ผูม้ ีเงินได้ ได้รับเงินเดือนทั้งปี 500,000 บาท ได้รับเงินปันผลจากบริ ษทั


ซึ่งจ่ายเงินปันผลจากกาไรที่เสี ยภาษีในอัตราร้อยละ 20 จานวน 80,000 บาท อยากทราบว่า
ผูม้ ีเงินได้ มีเครดิตภาษีเงินปันผล เท่าใด
แนวการตอบ
เครดิตภาษีเงินปันผล = 20 /(100-20) x 80,000
= (20/80) x 80,000
= 20,000
(Note เมื่อยืน่ แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมีเงินได้ที่ตอ้ งยืน่ แบบคือ
เงินเดือนทั้งปี 500,000 บาท เงินปันผล 80,000 บาท และต้องนาเครดิตภาษีเงินปันผล
20,000 บาทมารวมยืน่ แบบฯ ด้วย และเมื่อคานวณภาษีที่ตอ้ งชาแล้ว สามารถนาเครดิต
ภาษีเงินปันผล จานวน 20,000 บาท ไปหักออกจากภาษีที่จะต้องชาระ (หรื อเคลม ภาษีได้)
การยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา
โดยหลักแล้วเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 จะถือเป็ นเงินได้ที่ตอ้ งเสี ยภาษี เว้นแต่มี
กฎหมายยกเว้นไว้โดยเฉพาะ ซึ่ งการยกเว้นภาษีเงินได้ในปัจจุบนั มี 5 กรณี คอื
- ยกเว้นตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร)
- ยกเว้นตามกฎกระทรวง ให้อานาจรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่ งกาหนดไว้ใน
กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
- ยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา อาศัยอานาจ ตาม ม.3 แห่งประมวลรัษฎากร
- ยกเว้นตามประกาศและคาสั่งของคณะปฏิวตั ิ
- ยกเว้นตามกฎหมายอื่น
(Note) ผู้จัดทา ได้ สรุ ปเงินได้ ที่ได้ รับยกเว้ น (เพียงบางประเภทที่น่าสนใจ)ซึ่ งเคยออกข้ อสอบ
และน่ าออกข้ อสอบเท่ านั้น (โดยเฉพาะที่ขีดเส้นใต้)
ยกเว้นตามประมวลรัษฎากร (มาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร) เช่น
(1) ค่าเบี้ยเลี้ยงหรื อค่าพาหนะ ซึ่งลูกจ้างหรื อผูร้ ับหน้าที่ หรื อผูร้ ับทางานให้ ได้จ่ายไปโดย
สุจริ ตตามความจาเป็ น เฉพาะในการปฏิบตั ิการตามหน้าที่ของตน และจ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
(2) ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางตามอัตราที่รัฐบาลกาหนดไว้โดยพระราช
กฤษฎีกาว่าด้วยอัตราค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
การยกเว้นข้อนี้ เป็ นการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ราชการและลูกจ้างทางราชการ ในกรณี ที่
ได้รับค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทางจากหน่วยงานของรัฐตามอัตราที่กาหนดไว้
(3) เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เฉพาะส่ วนที่ลูกจ้างจ่ายทั้งหมดโดยจาเป็ นเพื่อ
เดินทางจากต่างถิ่นในการเข้ารับงานเป็ นครั้งแรกหรื อในการกลับถิ่นเดิม เมื่อการจ้างได้สิ้นสุ ดลง
แต่ ข้อยกเว้ นนี้ มิให้ รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิมและในการเข้ารับงาน
ของนายจ้างเดิม ภายใน 365 วัน นับแต่วนั ที่การจ้างครั้งก่อนสิ้ นสุ ดลง
(4) เงินจากการขายหรื อส่ วนลดจากการซื้ออากรแสตมป์ หรื อแสตมป์ ไปรษณี ยข์ องรัฐบาล
[27]

(5) ค่าสอน ค่าสอบหรื อเบี้ยประชุม กรรมาธิการหรื อกรรมการ ที่ทางราชการหรื อ


สถานศึกษาของราชการจ่ายให้
** ค่ าสอนที่ทางราชการจ่ ายให้ หมายถึง ค่าสอนที่จ่ายเป็ นรายครั้ง เฉพาะที่มีการสอน
จริ งเท่านั้น ส่ วนการเหมาจ่ายค่าสอนเป็ นรายเดือน โดยไม่คานึ งถึงว่ามีการสอนจริ งหรื อไม่ แม้จะ
เรี ยกว่าค่าสอน ก็ไม่ถื อว่าเป็ นค่าสอน ที่ จะได้รับยกเว้นภาษี ตามข้อนี้ เพราะมี ผลเสมื อนว่าเป็ น
เงินเดือนหรื อค่าจ้าง นัน่ เอง
(6) ดอกเบีย้ ดังต่อไปนี้ (จุดเน้ น)
(ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิ นหรื อดอกเบี้ยเงินฝากออมสิ นรัฐบาล ประเภทฝากเผื่อเรี ยก
(ข) ดอกเบี้ยเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
(ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ตอ้ งจ่ายคืนเมื่อทวงถามประเภทออม
ทรัพย์ เฉพาะกรณี ที่ได้รับดอกเบี้ยรวมกันทั้งสิ้ น ไม่เกิน 20,000 บาทตลอดปี ภาษีน้ นั ตามประกาศ
อธิ บดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 55
(7) การขายสั งหาริ มทรั พย์อนั เป็ นมรดกหรื อ สังหาริ มทรั พ ย์ที่ ได้มาโดยมิ ได้มุ่งในทาง
การค้าหรื อหากาไร แต่ไม่รวมถึงเรื อกาปั่ น เรื อที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรื อกลไฟ หรื อเรื อยนต์
ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป หรื อแพ (จุดเน้ น)
Note เช่น ขายรถที่เคยใช้ เพราะเก่า หากขายไป ก็ไม่ตอ้ งนามาเสี ยภาษี แต่ถา้ ขาย แบบซื้ อ
มาขายไป หรื อมุ่งหากาไรแล้ว จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เช่น ซื้อรถมือสองมา เพื่อขาย เป็ นธุรกิจ
Note ส่ วนการขายเรื อกาปั่ น เรื อที่มีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรื อกลไฟ หรื อเรื อยนต์ที่มี
ระวางตั้งแต่ 5 ตัน ขึ้นไป หรื อแพ เมื่อขายไปจะต้องนารายได้มาเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เน้ น (8) เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก
เงินได้จากการรับมรดก ทั้งที่เป็ นทายาทโดยธรรมหรื อทายาทโดยพินยั กรรม จะได้รับมาก
น้อยเพียงใด ก็ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งจานวน แต่อาจจะต้องเสี ยภาษีมรดก ตาม
พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลสาหรับการรับมรดกที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตั้งแต่
วันที่ 1 ก.พ.2559 และได้รับมรดกที่เป็ นทรัพย์สินที่มีทะเบียน ได้แก่ อสังหาริ มทรัพย์ หลักทรัพย์
เงินฝาก ยานพาหนะ โดยมูลค่าของทรัพย์สินที่รับมรดกรวมกันเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป จะเสีย
ภาษีการรั บมรดก ในส่ วนที่เกิน 100 ล้ านบาท
เน้ น (9) รางวัลเพื่อการศึกษาหรื อค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลากกินแบ่ งหรื อสลากออมสิ น
ของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ ายให้ ในการประกวดหรื อแข่ งขัน ซึ่งผูร้ ับมิได้มีอาชีพในการ
ประกวดหรื อแข่งขัน หรื อ สิ นบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปรามการ
กระทาความผิด เช่น สิ นบนรางวัลหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร,ยาเสพติด ฯลฯ
(10) ค่าสิ นไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัยหรื อการฌาปนกิจ
สงเคราะห์ เช่น เงินสิ นไหมทดแทนจากอุบตั ิเหตุรถชน ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(11) เงินที่ได้จากการขายข้าวของชาวนา ซึ่งเกิดจากกสิ กรรมที่ตนและหรื อ
ครอบครัวทาเอง ถ้าไปซื้อข้าว (เปลือก) มาเพื่อขายต่อ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
[28]

เน้ น (12) เงินได้ที่รับจากกองมรดก ซึ่ งเสี ยภาษีเงินได้ไว้ในนามของกองมรดกแล้ว


เงินได้ประเภทนี้ คือได้เสี ยภาษีในนามกองมรดกแล้ว เมื่อแบ่งเงินได้จากกองมรดกให้แก่
ทายาท ทายาทไม่ตอ้ งเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในฐานะบุคคลธรรมดาอีก
เน้ น (13) เงินดอกเบี้ยที่ได้รับจากการคืนเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
หมายถึง ดอกเบี้ยที่บุคคลธรรมดาได้รับเนื่องจากการได้รับคืนเงินภาษีอากร ในอัตรา 1%
ต่ อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอากรที่ได้ รับคืน กรณี เสี ยภาษีอากรไว้เกิน
แต่ถา้ บริ ษทั หรื อห้างหุน้ ส่ วนนิติบุคคล ได้รับดอกเบี้ยจากการได้รับคืนเงินภาษีอากร จะ
ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นผูป้ ระกอบการที่เป็ นนิติบุคคล (เช่น บริ ษทั ,ห้างหุน้ ส่ วนจากัด) ต้อง
นาเงินดอกเบี้ยที่ได้รับไปรวมคานวณเพื่อเสี ยภาษีเงินได้นิติบุคคล
(14) เงินประโยชน์ทดแทนที่ผปู ้ ระกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่า
ด้ วยการประกันสังคม เมื่อผูป้ ระกันตนใช้สิทธิประกันสังคม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ
ผลประโยชน์ที่ได้รับ จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เน้ น (15) เงินได้ จากการโอนกรรมสิ ทธิ์หรื อสิ ทธิครอบครองในอสั งหาริมทรัพย์ โดยไม่ มี
ค่ าตอบแทนให้ แก่ บุตรชอบด้ วยกฎหมายไม่ รวมถึงบุตรบุญธรรมเฉพาะเงินได้ จากการโอนให้ แก่
บุตรชอบด้ วยกฎหมายในส่ วนที่ไม่ เกิน 20 ล้ านบาทต่ อบุตรหนึ่งคนตลอดปี ภาษีน้ นั
❖ สาหรั บการโอนกรรมสิ ทธิ์ หรื อสิ ทธิ ครอบครองโดยไม่ มีค่าตอบแทน กฎหมายถือว่ า
ผู้โอนเป็ นผู้มีเงินได้ และต้ องเสี ยภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจากมูลค่ าอสั งหาริ มทรั พย์ ที่โอน (ในการ
คานวณภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา จะใช้ ราคาประเมินทุนทรั พย์ เพื่ อจดทะเบียนสิ ทธิ และนิ ติกรรม
ของกรมที่ดิน) ส่ วนผู้รับโอน แม้ จะเป็ นผู้รับทรั พย์ สินแต่ ไม่ ใช่ ผ้ ูมีเงินได้ ตามกฎหมาย จึ งไม่ ต้องนา
เงิ นได้ ที่ได้ รับมาเสี ยภาษีในนามของตนแต่ อย่ างใด ดังนั้น การยกเว้ นเงินได้ ตามข้ อนี้ จึ งเป็ นการ
ยกเว้ นภาษีเงินได้ ให้ แก่ บิดา มารดานัน่ เอง
- ผู้มีหน้ าที่เสียภาษี: บิดามารดา เนื่องจากเป็ นผูโ้ อนกรรมสิ ทธิ์หรื อสิ ทธิ
ครอบครองในอสังหาริ มทรัพย์ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมบุตรบุญธรรม
-ทรั พย์ สินที่ต้องเสียภาษี: อสังหาริ มทรัพย์ เมื่อคานวณเป็ นตัวเงิน (ถือ
ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมที่ดิน) นาเฉพาะส่ วนที่เกิน 20 ล้านบาทมาเสี ยภาษี
-เงินได้ ที่ได้ รับยกเว้ น : เงินได้จากการโอนกรรมสิ ทธิ์ หรื อสิ ทธิครอบครองใน
สังหาริ มทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะ
เงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปี ภาษี
-การเสี ยภาษี: ถ้าโอนเกิน 20 ล้านบาทต่อบุตร 1 คนในปี ภาษีน้ นั ส่ วนที่
เกินจะเสี ยภาษีเงินได้โดยหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ในขณะที่มีการจดทะเบียนโอน
กรรมสิ ทธิ์และสิ ทธิครอบครองในอสังหาริ มทรัพย์น้ นั โดยผูม้ ีเงินได้ (บิดา มารดา) มีสิทธิ์เลือกนา
เงินได้ดงั กล่าว แยกเสี ยภาษีต่างหาก ไม่ตอ้ งนาไปรวมคานวณภาษีเงินได้กบั เงินได้อื่นในการยืน่
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาของปี ภาษีน้ นั ก็ได้ หากเลือกเสี ยภาษี จะเสี ยในอัตรา
ร้อยละ 5 สาหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาทในปี ภาษีน้ นั
[29]

ถ้ามีบุตรหลายคน ให้พิจารณาเฉพาะส่ วนที่โอนให้บุตรแต่ละคน ถ้าโอนให้บุตรแต่ละคน


ไม่เกิน 20 ล้านบาทในปี ภาษีน้ นั แม้รวมกันทั้งหมด มีมูลค่าที่โอนให้แก่บุตรหลายคนในปี ภาษีน้ นั
เกิน 20 ล้านบาท บิดา มารดา ก็ยงั คงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่
ตัวอย่ าง นาย ก และ นาง ข มีบุตร 3 คน ในปี 2563 นาย ก ได้โอนกรรมสิ ทธิ์ในที่ดินของ
ตนให้บุตรทั้ง 3 คน คนละแปลง ดังนี้
บุตรคนที่ 1 ได้รับโอนที่ดินมีมูลค่าตามราคาประเมินฯ 18 ล้านบาท
บุตรคนที่ 2 ได้รับโอนที่ดินมีมูลค่าตามราคาประเมินฯ 25 ล้านบาท
บุตรคนที่ 3 ได้รับโอนที่ดินมีมูลค่าตามราคาประเมินฯ 15 ล้านบาท
ส่ วน นาง ข ได้โอนกรรมสิ ทธิ์ในที่ดินให้บุตรคนที่ 1 มีมูลค่าตามราคาประเมิน
10 ล้านบาท การโอนที่ดินของนาย ก และนาง ข ให้แก่บุตรดังกล่าว มีวิธีคิดดังนี้
นาย ก ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สาหรับการโอนที่ดินให้แก่บุตรคนที่ 1 กับคนที่ 3
ส่ วนการโอนให้บุตรคนที่ 2 มีมูลค่าตามราคาประเมิน 25 ล้านบาท ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะ
ในส่ วน 20 ล้านบาท สาหรับส่ วนที่เกิน 20 ล้านบาท มีจานวน 5 ล้านบาทไม่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่ง
ในขณะที่โอนที่สานักงานที่ดิน จะเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5 สาหรับ
มูลค่า 5 ล้านบาท และนาย ก มีสิทธิไม่นาเงินได้จานวน 5 ล้านบาทไปรวมคานวณภาษีกบั เงินได้
อื่นในการยืน่ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี 2563 ก็ได้ หากใช้สิทธิเลือกภาษี
เงินได้ในอัตราร้อยละ 5 (ตามมาตรา 48 (4/1))
นาง ข โอนที่ดินให้บุตรคนที่ 1 มีมูลค่าตามราคาประเมินของกรมที่ดิน 10 ล้านบาท ได้รับ
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เน้ น (16) เงินได้ ที่ได้ รับจากการอุปการะหรื อจากการให้ โดยเสน่ หาจากบุพการี ผู้สืบสั นดาน
หรื อคู่สมรส เฉพาะเงินได้ ในส่ วนที่ไม่ เกิน 20 ล้ านบาทตลอดปี ภาษีน้ นั
- ผู้มีหน้ าที่เสียภาษี: บุคคลธรรมดาได้รับเงินจากบุพการี - ผูส้ ื บสันดาน - คู่สมรส
- เงินได้ ที่ได้รับยกเว้น : เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรื อจากการให้โดยเสน่หา
จาก บุพการี ผูส้ ื บสันดาน หรื อคูส่ มรส เฉพาะเงินได้ในส่ วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาทตลอดปี ภาษีน้ นั
- การเสียภาษี: สาหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาทในปี ภาษี ผูม้ ีเงินได้ตอ้ งนามาเสี ย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยกฎหมายไม่ได้กาหนดให้ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ต้องหักภาษี ณ ที่
จ่าย ดัง นั้น ผูม้ ี เงิ น ได้ จึ ง ไม่ถู ก หักภาษี ณ ที่ จ่ าย นอกจากนั้น เมื่ อ ถึ งก าหนดการยื่น แบบแสดง
รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปี นั้น ผูม้ ีเงินได้มีสิทธิ เลือกเสี ยภาษี โดยไม่นาไปรวมเงินได้
อื่น โดยเสี ยภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้
Note
- บุพการี ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
- ผูส้ ื บสันดาน ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
ตัวอย่ าง นายดา กับนางดี มีบุตร คือ นายแดง ในปี 2562 เป็ นโอกาสครบรอบวันแต่งงาน
นายดาจึงมอบเงินให้นางดี 10 ล้านบาทและมอบทองคาแท่ง มูลค่า 12 ล้านบาท
[30]

และนายดา ยังมอบเงินให้นายแดง (บุตรชาย) อีก13 ล้านบาทด้วย ส่ วนนางดี ก็ได้มอบรถยนต์ให้


นายแดง มูลค่า 10 ล้านบาท
นางดี และนายแดง มีภาระภาษีเงินได้ สาหรับเงินและทรัพย์สินดังนี้
แนวคิด
นางดี ได้รับเงินและทองคาแท่งจากสามี รวม 22 ล้านบาท จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ใน
ส่วน 20 ล้านบาท สาหรับส่ วนที่เกิน 20 ล้านบาท คือ 2 ล้านบาท (ไม่ตอ้ งหักภาษี ณ ที่จ่าย) แต่ตอ้ ง
นามาเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยนางดี มีสิทธิ์เลือกที่จะไม่นาเงิน จานวน 2 ล้านบาทไปรวม
คานวณภาษีกบั เงินได้อื่นในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้ นปี (แบบ ภ.ง.ด.90) ของ
ปี 2562 แต่ใช้สิทธิ์เลือกเสี ยภาษีเงินได้ ในอัตราร้อยละ 5 ก็ได้
นายแดง ได้รับเงินจากบิดาและรถยนต์ จากมารดา รวม 23 ล้านบาท ได้รับยกเว้นเฉพาะ
ส่วน 20 ล้านบาท สาหรับส่ วนที่เกินจานวน 3 ล้านบาท (ไม่ตอ้ งหักภาษี ณ ที่จ่าย) แต่ตอ้ งนามาเสี ย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยนายแดง มีสิทธิ เลือกไม่นาเงินได้ จานวน 3 ล้านบาทไปรวมคานวณ
ภาษีกบั เงินได้อื่น ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสิ้ นปี (ภ.ง.ด.90) ของปี
2562 แต่ใช้สิทธิ์เลือกเสี ยภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 5 ก็ได้
เน้ น (17) เงินได้ ที่ได้ รับจากการอุปการะโดยหน้ าที่ธรรมจรรยาหรื อจากการให้ โดยเสน่ หาเนื่ อง
ในพิธีหรื อตามโอกาสแห่ งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่ งมิใช่ บุพการี ผู้สืบสั นดาน
หรื อคู่สมรสเฉพาะเงินได้ ในส่ วนที่ไม่ เกิน 10 ล้ านบาทตลอดปี ภาษีน้ นั
- ผู้มีหน้ าที่เสี ยภาษี คือบุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินได้ จากบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ บุพการี
ผูส้ ื บสันดานหรื อคู่สมรส
-ทรัพย์ สินที่ต้องเสี ยภาษี : สังหาริ มทรัพย์ทุกประเภทที่สามารถคานวณเป็ นเงิน
- เงินได้ ที่ได้ รับยกเว้ น : เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรื อจากการให้
โดยเสน่หาเนื่ องในพิธีหรื อตามโอกาสแห่ งขนบธรรมเนี ยมประเพณี เฉพาะเงินได้ในส่ วนที่ไม่เกิน
10 ล้านบาทตลอดปี ภาษีน้ นั
- การเสี ยภาษี:
สาหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทในปี ภาษี ผูม้ ีเงินได้ตอ้ งนามาเสี ยภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดา โดยกฎหมายไม่ได้กาหนดให้ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ผูม้ ีเงิน
ได้จึงไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นอกจากนั้น เมื่อถึงกาหนดการยืน่ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดาของปี นั้น ผูม้ ีเงินได้มีสิทธิเลือกเสี ยภาษี โดยไม่ตอ้ งนาไปรวมคานวณภาษีกบั เงินได้อื่น
โดยเสี ยภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้
(18) เงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ผใู ้ ห้แสดงเจตนาหรื อเห็นได้วา่ มีความประสงค์
ให้ใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรื อกิจการสาธารณประโยชน์ (19) เงิน
ได้จากกิจการโรงเรี ยนเอกชนที่ แต่ไม่รวมถึงเงินได้ จากกิจการโรงเรี ยนเอกชนนอกระบบประเภท
กวดวิชา (รร.กวดวิชาต่าง ๆ ต้องเสี ยภาษี เพราะเป็ นธุรกิจ)
(19) เงินได้จากการจาหน่าย หรื อส่ วนลดจากการจาหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล
[31]

(20) ยกเว้นเงินได้ให้แก่ผมู ้ ีเงินได้ที่มีอายุต้ งั แต่ 65 ปี บริ บูรณ์ในปี ภาษี และเป็ นผูอ้ ยูใ่ น
ประเทศไทย เฉพาะเงินได้ที่ได้รับส่ วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท และผูม้ ีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้น
เงินได้น้ ีจากเงินได้ประเภทเดียวหรื อหลายๆ ประเภทก็ได้
โดยหลักแล้ว การยกเว้น 190,000 บาทนี้ จะใช้สิทธิยกเว้นพร้อมกับการยืน ่ แบบ ภ.ง.ด.94 /
ภ.ง.ด.90/ภ.ง.ด.91 ตามแต่กรณี ดังนั้น ถ้าเป็ นการถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะไม่นาเงิน 190,000 บาทมา
หักออกจากเงินได้ก่อนแต่ประการใด แต่จะหักตามอัตราภาษีหกั ณ ที่จ่ายได้เลย
เน้ น (21) ยกเว้นเงินได้ให้แก่ ผูพ ้ ิการ ที่มีบตั รประจาตัวคนพิการและเป็ นผูอ้ ยู่ในประเทศ
ไทย โดยมีอายุไม่เกิน 65 ปี บริ บูรณ์ในปี ภาษี โดยยกเว้นไม่เกิน 190,000 บาท สาหรับปี ภาษี
(หากผูพ้ ิการ มีอายุต้ งั แต่ 65 ปี บริ บรู ณ์ ให้ใช้สิทธิ์ยกเว้น กรณี ผสู ้ ู งอายุตาม ข้อ 20 )
เน้ น (22) เงินได้จากการขายอสังหาริ มทรัพย์อน ั เป็ นมรดกหรื อสังหาริ มทรัพย์ที่ได้รับจาก
การให้โดยเสน่หา ที่ต้ งั อยูน่ อกเขตกรุ งเทพมหานคร เทศบาล สุ ขาภิบาล หรื อเมืองพัทยาหรื อการ
ปกครองท้องถิ่นอื่น เฉพาะเงินได้จากการขายในส่ วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปี ภาษีน้ นั
Note การขายอสังหาริ มทรัพย์ในเขตองค์การบริ หารส่ วนตาบล (อบต.) ก็ได้รับการ
ยกเว้นตามข้อนี้อยู่
เน้ น (23) เงินได้จากการโอนกรรมสิ ทธิ์หรื อสิ ทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทน
ให้แก่วดั วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคหรื อมัสยิด เฉพาะการโอนที่ดินไม่เกิน 50 ไร่
เน้ น (24) ค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้าง
เป็ นการยกเว้นเงินได้ สาหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับ โดยการถูกเลิกจ้าง เช่น บอก
เลิกสัญญาจ้าง หรื อ ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็ นธรรม ตามกฎหมายว่าด้วยการคุม้ ครองแรงงานหรื อตาม
กฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แต่ไม่ รวมค่ าชดเชยที่ได้ รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรื อ
สิ้นสุ ดสั ญญาจ้ าง โดยยกเว้ นให้ เฉพาะค่ าชดเชย ส่ วนที่ไม่ เกินค่ าจ้ างหรื อเงินเดือนของการทางาน
300 วันสุ ดท้ ายแต่ ไม่ เกิน 300,000 บาท
ข้ อสั งเกตุ กรณี ที่นายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้าง แต่ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงานเอง โดย
นายจ้างจ่ายเงินให้จานวนหนึ่ ง กรณี ดงั กล่าวไม่ใช่การเลิกจ้างของนายจ้ าง ดังนั้น เงินที่ ได้รับจะ
ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อนี้
เน้ น (25) เงินได้ที่ได้รับจากส่ วนแบ่งของกาไรจากห้างหุน้ ส่ วนสามัญหรื อคณะบุคคลที่มิใช่
นิติบุคคล ที่ได้รับจาก
(ก) การให้เช่าอสังหาริ มทรัพย์ที่เป็ นกรรมสิ ทธิ์รวมอันได้มาโดยทางมรดก หรื อได้รับ
จากการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องเสี ยภาษีเงินได้
ตัวอย่างที่ 1 นาย ก กับ นาย ข รับมรดกเป็ นอาคารโกดัง จากแม่ซ่ ึงเสี ยชีวิต ปี 2565
รวมที่ดินและอาคาร จานวน 1 ไร่ ทั้งสองตกลงกันว่า จะให้ บริ ษทั ปันนา จากัด เช่าต่อ ดังนี้
นาย ก และ นาย ข ถือเป็ นการทาในนาม ห้างหุน้ ส่ วนสามัญแล้ว แต่เงินได้คา่ เช่าที่ได้รับ ได้รับ
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ถา้ รับมรดกมาเป็ น รถแม็คโคร 1 คัน (รถแม็คโคร ถือเป็ น
สังหาริ มทรัพย์) หากมีรายได้ค่าเช่า จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
[32]

(ข) ดอกเบี้ยเงินฝากตามมาตรา 40 (4) (ก) เฉพาะกรณี ที่ผมู ้ ีเงินได้ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูก


หักไว้น้ นั คืนหรื อไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้น้ นั ไม่วา่ ทั้งหมดหรื อบางส่ วน
ตัวอย่างที่ 2 นายขามกับนางขอน เป็ นสามีภรรยา (จดทะเบียนสมรส) ได้ร่วมกันซื้อตรา
สาร(แสดงสิ ทธิในหนี้)ของบริ ษทั ฯ แห่งหนึ่งเพื่อเก็งกาไร ต่อมาได้จาหน่ายตราสารดังกล่าว และ
ได้กาไรซึ่งเป็ นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจาหน่าย จานวน 50,000 บาท กรณี น้ ีถือเป็ นเงิน
ได้ตาม ม. 40(4)(ก) หรื อเงินได้ประเภทที่ 4 ได้รับยกเว้นภาษี
(26) เงินได้ที่สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติจ่ายเป็ นเงินสะสมเข้ากองทุนตามกฎหมายว่า
ด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ตามจานวนที่จ่ายจริ ง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท (ปัจจุบันกองทุนการออม
ให้ ออมไม่ เกิน 13,200 บาทจึงถือว่ายกเว้นได้ ไม่ เกิน 13,200 บาท โดยปริยาย)
แต่เงินได้ที่ได้รับยกเว้น เมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นที่จ่ายเป็ นเงินสะสมเข้ากองทุน
สารองเลี้ยงชีพ หรื อเงินสะสมเข้ากองทุนบาเหน็จบานาญข้าราชการ (กบข.) หรื อเงินสะสมเข้า
กองทุนสงเคราะห์ หรื อเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรื อเบี้ย
ประกันภัยสาหรับการประกันชีวิต แบบบานาญตาม แล้ว หรื อ กองทุนรวมเพื่อส่ งเสริ มการออม
ระยะยาว (SSF) ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปี ภาษี
เน้ น (27) เงินได้ที่นกั กีฬาและผูฝ้ ึ กสอนกีฬาได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรื อ
ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อเป็ นรางวัลอันเนื่องมาจากการเข้าร่ วมการแข่งขัน
รายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะ
ส่ วนที่เกิน 10 ล้านบาท
(Note ต้องเป็ นการแข่งขันกีฬานานาชาติเท่านั้น ซึ่งก็คือการแข่งขันกีฬาที่เกิดขึ้นจากหลาย
ประเทศร่ วมกันจัดขึ้น เช่น กีฬาโอลิมปิ ค เอเชียนเกมส์ ถ้าเป็ นได้รับเงินจากการแข่งกีฬาชกมวย โดยจัดขึ้น
ระหว่าง ไทย กับ USA โดยจัดกันเอง ไม่ใช่กีฬาในระดับนานาชาติ ไม่ได้รับยกเว้น)
ตัวอย่ าง โปรเม เข้าร่ วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิ ค ชนะเลิศ ได้รับเงินอัดฉี ดเป็ นเงิน 30 ล้าน
บาท การยกเว้น จะต้องยกเว้น ตามข้อ 17 ก่อน คือยกเว้นเงินได้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนี ยม
ประเพณี จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผูส้ ื บสันดานหรื อคู่สมรสเฉพาะเงินได้ ในส่ วนที่ไม่เกิน 10 ล้าน
บาทตลอดปี ภาษีน้ นั และเมื่อเงินที่ได้เป็ นเงินได้เนื่องจากการเป็ นนักกีฬาไปแข่งขันระดับชาติ จึงได้รับ
ยกเว้นจากส่ วนที่เกิน 10 ล้านอีก โดยไม่มีเพดาน
สรุ ปโปรเม ไม่ตอ้ งเสี ยภาษีจากเงินก้อนนี้เลย ...
(28) รางวัลสลากบารุ งกาชาดไทย เงินได้จากการขาย หรื อส่ วนลดจากการซื้ อสลากบารุ ง
กาชาดไทย
เน้ น (29) เครื่ องแบบที่ลูกจ้างได้รับฟรี จากนายจ้าง ปกติแล้วจะถือเป็ นเงินได้ แต่กฎหมายให้
ยกเว้นเงินได้ให้กบั เงินที่คานวณได้จากมูลค่าของเครื่ องแบบ คนละไม่เกิน 2 ชุดต่อปี และเสื้ อนอก
คนละ ไม่เกิน 1 ตัวต่อปี
[33]

เครื่ องแบบ หมายความว่า เครื่ องแต่งกาย รวมถึงสิ่ งประกอบเครื่ องแต่งกายที่กาหนดให้


แต่งเพื่อปฏิบตั ิงาน แต่ไม่รวมรองเท้า (เพราะอาจใช้งานได้ทวั่ ไป), ชุดชั้นใน หรื อสิ่ งประกอบ
เครื่ องแต่งกายที่ทาด้วยโลหะหรื ออัญมณี ที่มีค่า เช่น เงิน ทองแดง ทับทิม หยก
เสื้ อนอก รวมถึง ชุดไทยพระราชทานเละเสื้ อที่นิยมใช้แต่งกายไปในงานสาคัญต่าง ๆ
(30) ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
การยกเว้ นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกา เป็ นการยกเว้น สาหรับ
(1) บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยูต่ ามสัญญาว่าด้วยความร่ วมมือทาง
เศรษฐกิจหรื อทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลต่างประเทศ
(2) องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชานัญพิเศษของสหประชาชาติและเจ้าหน้าที่
หรื อผูเ้ ชี่ ยวชาญขององค์การ หรื อทบวงการดังกล่ าวซึ่ งปฏิ บ ัติหน้าที่ อยู่ในประเทศไทย ในเมื่ อ
ประเทศไทยมีขอ้ ผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรื อความตกลง
(3) สานักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จดั ตั้งขึ้นในประเทศไทยตาม
ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่สานักงานดังกล่าว ทั้งนี้ ให้
เป็ นไปตามความตกลงนั้น (แก้ ไขโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 676) พ.ศ. 2562 ใช้ บังคับตั้งแต่ วันที่ 21กุมภาพันธ์
2562 เป็ นต้ นไป)
(4) สถานเอกอัคราชทูต สถานทูต สถานกงสุ ลใหญ่ สถานกงสุ ล บุคคลในคณะทูต
บุคคลในคณะกงสุ ล และบุคคลที่ถือว่าอยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ให้เป็ นไปตามหลักถ้อยที
ถ้อยปฏิบตั ิต่อกัน
(5) บุคคลตามสัญญา ว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซอ้ น ที่รัฐบาลไทยได้ทาไว้หรื อจะ
ได้ทากับรัฐบาลต่างประเทศ
(6) ยกเว้นสาหรับจานวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มาจากการคานวณภาษี
โดยยกเว้นเศษสตางค์ให้ แต่จะไม่ยกเว้นเศษสตางค์ให้สาหรับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ฉะนั้น การ
เสี ยภาษีเงินได้หกั ณ ที่จ่ายต้องมีเศษสตางค์) เน้ น
การยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายอื่น
(1) ยกเว้นเงินได้ สาหรับเงินปันผลที่ได้รับจากกิจการส่ งเสริ มการลงทุน (ต้องเป็ น
กิจการส่ งเสริ มการลงทุนที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู)่
(2) เงินสงเคราะห์การทาสวนยางที่เจ้าของสวนยางได้รับ ตาม พรบ.กองทุน
สงเคราะห์การทาสวนยาง พ.ศ. 2503
(ยังมีเงินได้ที่รับยกเว้นอื่น ๆ อีก แต่ในที่น้ ี นามากล่าว ในส่วนที่น่าสนใจ)

แหล่ งเงินได้ ที่ต้องเสี ยภาษี


แหล่งเงินได้ที่ตอ้ งเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมวลรัษฎากร กาหนดไว้ในมาตรา 41
ซึ่งแยกพิจารณา ได้ดงั นี้
[34]

1.กรณีแหล่ งเงินได้ เกิดในประเทศไทย


หมายถึง ผูม้ ีเงินได้ประเภทที่ 1- 8 ในปี ภาษีที่ล่วงมาแล้ว ที่เกิดจากแหล่งเงินได้ใน
ประเทศไทย ไม่วา่ ผูม้ ีเงินได้น้ นั จะเป็ นผูอ้ ยูใ่ นประเทศหรื อไม่ก็ตามและไม่วา่ เงินได้น้ นั จะจ่าย
ในหรื อนอกประเทศไทย ก็มีหน้าที่ตอ้ งเสี ยภาษีเงินได้ในประเทศไทย การที่จะถือว่าเป็ นแหล่ง
เงินได้ที่เกิดในประเทศ ต้ องเกิดเนื่องจากกรณี ต่อไปนี ้
1.1 เงินได้ เนื่องจากหน้ าที่/งานที่ทาในประเทศไทย
แหล่งเงินได้จากหน้าที่/งานที่ทา อาจเนื่องจากการจ้างแรงงาน,บริ การหรื อหน้าที่
งานใด ๆ ที่ทาหรื อปฏิบตั ิงานในประเทศไทย เช่น
- รร.จ้างอาจารย์ซ่ ึงเป็ นชาวต่างชาติ เข้ามาสอนหนังสื อในประเทศไทย
- บริ ษทั แม่ที่ประเทศญี่ปุ่น มีขอ้ ตกลงระหว่างกันให้บริ ษทั แม่ ส่ งผูบ้ ริ หาร(มาเป็ น
กรรมการผูจ้ ดั การและช่างฝี มือชาวญี่ปนมาท ุ่ างานประจา ณ บริ ษทั ในประเทศไทย โดยบริ ษทั ใน
ประเทศไทย เป็ นผูจ้ ่ายเงินเดือนและผลประโยชน์อื่น(เงินเดือนหรื อผลประโยชน์ ที่ได้รับ ถือเป็ น
เงินได้เนื่องจากหน้าที่งานที่ทาในประเทศไทย)
1.2 เงินได้ เนื่องจากกิจการที่ทาในประเทศไทย
คือ เงินได้เกิดจากกิจการที่ทาอยูใ่ นประเทศไทย หรื อมีธุรกิจ ซึ่งก่อให้เกิดเงินได้ใน
ประเทศไทย แม้ผูม้ ีเงินได้อาจไม่อยูใ่ นประเทศไทย แต่ถา้ มีกิจการที่ก่อให้เกิดเงินได้ในประเทศ
ไทย นัน่ ก็คือ เงินได้จากกิจการที่ทาในประเทศไทย แล้ว เช่น
- นายเจมส์ ชาวอังกฤษ ไม่ได้อยูป่ ระเทศไทย แต่เปิ ดร้านอาหารในประเทศไทย ถือว่านาย
เจมส์ มีเงินได้เนื่องจากกิจการที่ทาในประเทศไทย
1.3 เงินได้ เนื่องจากกิจการของนายจ้ างในประเทศไทย
เป็ นแหล่งเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากปฏิบตั ิงานให้แก่กิจการของนายจ้างที่อยูใ่ น
ประเทศไทย คือดูที่กิจการนายจ้างเป็ นหลักโดยนายจ้างในประเทศไทยเป็ นผูจ้ ่ายค่าจ้าง (จุดเน้ น)
แหล่งเงินได้น้ ี แม้ผมู ้ ีเงินได้จะต้องไปงานในต่างประเทศ ก็ยงั คงถือว่ามีแหล่งเงินได้
จากในประเทศ หากเงินค่าจ้างรับจากนายจ้างในประเทศไทย เพราะฉะนั้นจะต้องเสี ยภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาในประเทศไทย เช่น
- นายอดัมส์ เป็ นชาวอังกฤษ ได้ถูกส่ งตัวจากบริ ษทั แอปเปิ ล จากัด (จดทะเบียนใน
ประเทศไทย) ให้ไปคุมงานก่อสร้างแท่นผลิตแก๊สในประเทศบรู ไน โดยบริ ษทั ฯ ในไทย เป็ นผูจ้ ่าย
ค่าจ้าง ถือว่า นายอดัมส์ มีเงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย
1.4 เงินได้ เนื่องจากทรัพย์ สินที่อยู่ในประเทศไทย
แหล่งเงินได้น้ ี เกิดขึ้นเนื่ องจากทรัพย์สินที่อยูใ่ นประเทศไทย เกิดดอกผล นัน่ เอง
ไม่วา่ จะเป็ นดอกผลของทรัพย์สินหรื อเกิดจากตัวทรัพย์สินนั้นเอง เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่า
เช่า หรื อเงินได้จากการขายทรัพย์สิน เป็ นต้น เช่น
[35]

- นายแจ๊คหม่า ชาวจีน ขายหุ ้นของตนที่มีอยูใ่ นบริ ษทั AA จากัด (จดทะเบียนในไทย)


ได้รับผลกาไรจากการขายหุ ้น ดังนี้นายแจ๊คหม่า ต้องเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย
จากกาไรจากการขายหุ ้น ถือเป็ นเงินได้ตามมาตรา 40 (4)(ช)
สรุปหลักการของเงินได้จากแหล่งในประเทศไทย คือ เงินได้ตอ้ งเกิดจากหน้าที่ (อาจเป็ น
ตาแหน่งงานที่ในประเทศไทย,หรื อ หรื อเงินได้น้ นั เกิดจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย
(ทางานกับนายจ้างที่มีกิจการตั้งอยูใ่ นประเทศไทย) หรื อ เงินได้น้ นั เป็ นดอกผล จากทรัพย์สินที่
ตั้งอยูใ่ นประเทศไทย (เช่น มีบา้ นให้เช่าอยู่ในประเทศไทย) หรื อดอกผลจากการลงทุนในประเทศ
ไทย ฉะนั้น แม้วา่ จะเป็ นคนไทย คนจีน ฝรั่ง ฯลฯ ถ้าเข้ากรณี 4 กรณี น้ ีตอ้ งเสี ยภาษีให้กบั ประเทศ
ไทยทั้งสิ้ น โดยไม่ตอ้ งคานึงว่า เงินได้จะส่ งมาจากที่ใดในโลกนี้
2.กรณีแหล่ งเงินได้ เกิดนอกประเทศไทย
หมายถึง ผูม้ ีเงินได้ประเภทที่ 1 - 8 ในปี ภาษีที่ล่วงมาแล้ว ที่เกิดจากแหล่งเงินได้นอก
ประเทศไทย มีหน้าที่ตอ้ งเสี ยภาษีเงินได้ในประเทศไทย ก็ต่อเมื่ออยูใ่ นหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
2.1 ต้องเป็ นผูอ้ ยูใ่ นประเทศไทยในปี ภาษี รวมระยะเวลา ถึง 180 วัน และ
2.2 มีเงินได้พึงประเมิน เนื่องจาก
ก. หน้าที่งานที่ทาในต่างประเทศ หรื อ
ข. กิจการที่ทาในต่างประเทศ หรื อ
ค. ทรัพย์สินที่อยูใ่ นต่างประเทศ
2.3 นาเงินได้น้นั เข้ามาในประเทศไทยในปี ภาษีที่รับเงินได้น้ นั
ผูม้ ีเงินได้ ต้องนาเงินได้น้ นั เข้ามาในประเทศไทยในปี ภาษีที่รับเงินได้น้ นั
(หมายถึง รับเงินปี ใด ก็ตอ้ งนาเงินเข้ามาในประเทศไทยปี นั้น) ฉะนั้น หากนาเงินได้ที่รับจากปี ก่อน
เข้ามาหรื อนาเงินเข้ามาในประเทศไทย ในปี ถัดไป ก็ไม่ตอ้ งเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
สรุปหลักการของเงินได้จากแหล่ งนอกประเทศไทย คือ เงินได้ตอ้ งเกิดจากหน้าที่
(ตาแหน่งงานที่ทาอยูท่ ี่ต่างประเทศ), กิจการที่ทาในต่างประเทศ (มีธุรกิจที่ทาอยูท่ ี่ต่างประเทศ),
เงินได้ดอกผลอันเกิดจากทรัพย์สินที่ต้ งั อยูต่ ่างประเทศ (เช่น ขายทรัพย์บา้ นที่ต่างประเทศ) หากเข้า
3 อย่างนี้ อยูท่ ี่ต่างประเทศ..รู ้เพียงแค่น้ ี ไม่อาจนามาเสี ยภาษีได้ตอ้ ง เข้าอีก 2 อย่าง คือ
1) ผูเ้ สี ยภาษี ต้องเป็ นผูอ้ ยู่ในประเทศไทย ถึง 180 วัน (คืออยูต่ ้ งั แต่ 180 วัน ถือ
เป็ นผูอ้ ยูใ่ นประเทศไทยแล้ว จะอยูแ่ บบยาวต่อเนื่องหรื อมาอยูเ่ ป็ นช่วงๆ ก็ตาม เมื่อรวมกันต้องถึง
180 วัน และ
2) ต้องนาเงินได้เข้ามาในไทย (ในปี ที่ภาษีน้ นั เท่านั้น) หากนามาปี อื่น ที่ไม่ใช่ปีที่เกิดเงินได้ ก็
ไม่ตอ้ งนามายืน่ แบบแสดงรายการเพื่อเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- คาว่า “ปี ภาษี” หมายถึง ปี ประดิทิน คือ วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี
- คาว่า “ผู้อยู่ในประเทศไทย” หมายถึง บุคคลผูอ้ ยู่ในประเทศไทยชัว่ ระยะเวลาหนึ่งหรื อ
หลายระยะเวลารวมกันถึง 180 วันในปี ภาษีใด ถือว่าเป็ นผูอ้ ยูใ่ นประเทศไทยในปี นั้น (จุดเน้ น)
[36]

ตัวอย่าง
ปี 2565 นายสิ นสมุทร คนไทย อาศัยอยูท่ ี่ต่างประเทศ ทางานเป็ นนายหน้าซื้อขาย
น้ ามันดิบ ซึ่งการซื้อ-ขายดาเนิ นการในต่างประเทศ อีกทั้ง ผูซ้ ้ือ- ผูข้ าย ก็อยูต่ ่างประเทศ นายสิ น
สมุทร มีหน้าที่เป็ นผูต้ ิดต่อผูซ้ ้ื อ - ผูข้ าย ให้ทาการซื้อขายกัน โดยได้รับค่านายหน้าจากผูข้ าย
เงินค่านายหน้า เกิดจากหน้าที่งานที่ทาในต่างประเทศ เป็ นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2
หากนายสิ นสมุทร เดินทางไปไปมามาและอยูใ่ นไทยถึง 180 วัน และนาเงินค่านายหน้าที่ได้รับเข้า
มาในประเทศไทยในปี 2565 นายสิ นสมุทร ต้ องเสี ยภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาในประเทศไทย (แต่
ถ้า ตาม กม.ไทยมีการทาอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศที่นายสิ นสมุทรอยู่ ก็ต้องนาหลักเกณฑ์ มา
พิจารณาก่ อน ซึ่ งเป็ นไปตามข้ อตกลงของแต่ ละประเทศ แต่ ในชั้นการศึกษาเพื่อเตรี ยมสอบนี.้ .อยาก
ให้ จาหลักของแหล่ งเงินได้ ก่อน ซึ่ งออกข้ อสอบบ่ อย ๆ) (จุดเน้ น)
ตัวอย่าง
ข้อ 1 ปี ภาษี 2564 เมสซี่เจ เป็ นนักเตะอาชีพ ให้กบั คาวาซากิ ฟรอนตาเลในเจลีก มี
เงินเดือน เดือนละ 500,000 บาท รวมทั้งปี จานวน 6,000,000 บาท ในปี 2564 ได้กลับมา
ประเทศไทย รวมแล้ว 180 วันและได้นาเงินได้เข้ามาในไทย จานวน 3,000,000 บาท ที่เหลือฝาก
ไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น เมสซี่เจ ต้องเสี ยภาษีในไทย หรื อไม่ อย่างไร
ตอบ เงินเดือนที่ได้รับ เป็ นเงินได้ที่รับจากหน้าที่งานที่ทาในต่างประเทศ เมื่อ เมสซี่เจ
นาเงินได้เข้ามาในประเทศไทย จานวน 3,000,000 บาท ในปี ภาษีที่เกิดเงินได้ ประกอบกับอยูใ่ น
ประเทศไทยถึง 180 วัน เมสซี่เจ ต้องนาเงินได้มาเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทย จานวน
3,000,000 บาท
ข้ อ 2 ปี 2562 เมสซี่เจ อยูใ่ นประเทศไทย 181 วัน นาเงินได้ที่เกิดจากการเตะบอล ในปี
2561 เข้ามาในเดือนธันวาคม 2562 จานวน 4,000,000 บาท เมสซี่เจ ต้องเสี ยภาษีในไทย สาหรับ
ปี ภาษี 2562 หรื อไม่ อย่างไร
ตอบ ในปี ภาษี 2562 เมสซี่เจไม่ตอ้ งนาเงินได้ จานวน 3,000,000 บาทมายืน่ แบบฯ
เพราะเป็ นงินได้ที่เกิดในปี 2561 แม้อยูใ่ นไทยถึง 180 วัน ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ เพราะ เงินได้ที่
นาเข้ามานั้น รับต่างปี ภาษีกนั
ข้ อ 3 ในปี 2562 เมสซี่เจ นาเงินได้ที่เกิดจากการเตะบอลที่ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาในไทย
จานวน 6,000,000 บาท และอยูใ่ นประเทศไทย ดังนี้
- เดือนมกราคม 30 วัน - เดือนเมษายน 30 วัน
- เดือนสิ งหาคม 30 วัน - เดือนธันวาคม อีก 31 วัน
เมสซี่เจ ต้องนาเงินได้จานวนดังกล่าวมาเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทยหรื อไม่ อย่างไร
ตอบ ไม่ตอ้ งนาเงินจานวน 6,000,000 บาท มายืน่ แบบเพื่อเสี ยภาษี แม้วา่ จะนาเงินได้ที่
เกิดขึ้นในปี 2562 เข้ามาในไทยเพราะเมสซี่เจ อยูใ่ นประเทศไทย ไม่ถึง 180 วัน
[37]

ข้อควรจำ
ในการเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา หากเป็ นกรณีท่ปี ระเทศไทย มีการทาสัญญาว่าด้วย
การเก็บภาษีซอ้ นระหว่างกัน ต้องพิจารณาเรื่องการยกเว้นการเก็บภาษีซอ้ นด้วย ซึ่งหากเป็ นไป
ตามเงื่อนไขในอนุสญ ั ญาเพื่อเว้นการเก็บภาษีซอ้ นแล้ว เงินได้คนต่างชาติได้รบั อาจไม่ตอ้ งนามา
เสียภาษีเงินได้ให้แก่ประเทศไทย หรืออาจจะเสียภาษีในไทย แต่ได้รบั การลดอัตราภาษี
o อนุสญ ั ญาภาษีซอ้ นฉบับล่าสุด คือ ฉบับที่ 61 ประเทศไทยเป็ นคู่สญั ญากับ
ประเทศกัมพูชา มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็ นต้นไป+

ประเภทเงินได้พึงประเมิน
ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ได้แบ่ง เงินได้พงึ ประเมินตามลักษณะการได้มา
ออกเป็ น 8 ประเภท ดังนี ้
(1) เงินได้ประเภทที่ 1 ตามมาตรา 40(1) คือเงินได้จากการจ้างแรงงาน เป็ นหลัก ต้อง
เป็ นลักษณะของสัญญาที่ลกู จ้างตกลงจะทางานให้นายจ้าง โดย นายจ้างตกลงจะให้สินจ้าง
ตลอดเวลาที่ทางานให้ (ป.พ.พ. ม.575) ได้แก่
- เงินเดือน ค่าจ้าง เบีย้ เลีย้ ง โบนัส เบีย้ หวัด บาเหน็จ บานาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รบั จากนายจ้าง
- เงินที่คานวณได้จากการได้อยู่บา้ น ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่าหรือ
นายจ้างเช่าบ้านให้อยู่ฟรี (ซึ่งได้อธิบายไว้โดยละเอียดแล้วในเรื่องของเงินได้พึงประเมิน)
(2) เงินได้ประเภทที่ 2 ตามมาตรา 40(2) คือเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตาแหน่งงานที่
ทาหรือจากการรับทางานให้ เงินได้ประเภทนีเ้ กิดจากการปฏิบตั ิงาน โดยมุ่งผลสาเร็จของงาน หาก
ทางานไม่สาเร็จตามที่จา้ ง จะไม่ได้รบั ค่าตอบแทน (งานเสร็จ เงินมา)
เงินได้ประเภทนี ้ เป็ นลักษณะของการจ้างทาของ หมายถึง สัญญาที่ผรู้ บั จ้างตกลงจะรับ
ทางานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสาเร็จให้แก่ผวู้ ่าจ้างและผูว้ ่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อตอบแทนผลสาเร็จ
แห่งการนัน้ (ป.พ.พ. ม.587) เช่น
- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
- เงินอุดหนุนในงานที่ทา เบีย้ ประชุม บาเหน็จ โบนัส
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตาแหน่งงานที่ทาหรือจากการรับทางานให้
- เงินที่คานวณได้จากมูลค่าของการได้อยูบ่ า้ น ที่ผจู้ ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่ผจู้ ่ายเงินได้จ่ายชาระหนีใ้ ด ๆ ซึ่งผูม้ ีเงินได้มีหน้าที่ตอ้ งชาระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตาแหน่งงานที่ทา
หรือจากการรับทางานให้ ไม่ว่าจะเป็ นการประจาหรือชั่วคราว เช่น การเป็ นกรรมการหรือที่ปรึกษา
[38]

ตัวอย่าง
- นางสาวสายใจ เป็ นวิทยากร มีเงินได้จากการให้บริการฝึ กอบรมพนักงาน ให้กับบริษัทฯ
แห่งหนึ่ง เงินได้จากการเป็ นวิทยากร เป็ นเงินได้ตาม ม.40(2)
- บริษัท โลจิสติกส์ อันดามัน จากัด ว่าจ้าง นายดุ๊ก ให้ดแู ลและให้คาแนะนาในการขนถ่าย
สินค้า ณ ท่าเรือประเทศสิงคโปร์ ตลอดจนให้คาแนะนาในการบริหารการเดินเรือ ดังนี ้ เงินได้ท่ี
นายดุ๊กได้รบั (เป็ นค่าที่ปรึกษา)
- อ๊ะอาย รับแปลบทพูดภาพยนตร์
- วุน้ เส้น เป็ นกรรมการบริษัทผลิตเครื่องสาอาง ได้รบั เลือกตัง้ จากที่ประชุมผูถ้ ือหุน้
ได้รบั ค่าตอบแทนเป็ นเงินเบีย้ ประชุมตามที่ท่ีป ระชุมผูถ้ ือหุน้ กาหนด เงินเบีย้ ประชุมดังกล่าว ถื อ
เป็ นเงินได้จากตาแหน่งงานที่ทาหรือหน้าที่งานที่ทา
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เชิญ อาจารย์สายสุนีย ์ ไปสอนพิเศษนอกเวลาราชการ
ค่าตอบแทนที่ได้รบั เป็ นเงินได้จากการรับทางานให้
(3) เงิน ได้ ป ระเภทที่ 3 ตามมาตรา 40(3) คื อ เงินได้พึงประเมิ นในรู ป ของค่ า ลิข สิ ทธิ์
ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปั ญญาหรือค่า Goodwill หรือสิทธิอย่างอื่น หรือเงินที่ได้รบั เป็ นรายปี
โดยทางราชการจ่ายให้ (เช่น เงินปี พระบรมวงศานุวงศ์) หรือเงินที่ได้รบั ตามพินัยกรรม นิติกรรม
หรือคาพิพากษาของศาล ซึ่งกาหนดจ่ายเป็ นรายปี เช่น เงินได้จากงานเพลง งานเขียน ค่าสูตร
ลับอาหาร ,ค่าตอบแทนเครื่องหมายการค้า เป็ นต้น
(4) เงิน ได้ป ระเภทที่ 4 ตามมาตรา 40(4) เป็ นเงินได้จากการนาเงินไปลงทุนและได้
ผลตอบแทนในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่
(ก) ดอกเบีย้ พันธบัตร ดอกเบีย้ เงินฝาก ดอกเบีย้ หุน้ กู้ ดอกเบีย้ ตั๋วเงิน ดอกเบีย้ เงินกู้
ยืม ไม่ว่าจะมี หลักประกันหรือไม่ ดอกเบีย้ เงินกูย้ ืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตาม
กฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย หรือผลต่าง
ระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาจาหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนีท้ ่บี ริษัท หรือ
ห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลหรือนิติบคุ คลอื่นเป็ นผูอ้ อกและจาหน่ายครัง้ แรกในราคาต่ากว่าราคาไถ่ถอน
รวมถึงเงินได้ท่มี ีลกั ษณะเดียวกันกับดอกเบีย้ ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ทีไ่ ด้จาก
การให้กยู้ ืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนีท้ ุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
(ข) เงินปั นผล หรือเงินส่วนแบ่งของกาไรหรือประโยชน์อ่ืนใดที่ได้จากบริษัทหรือ
ห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จดั ตัง้ ขึน้ โดยเฉพาะ
สาหรับให้กยู้ ืมเงิน
(ค) เงินโบนัส ที่จ่ายแก่ผถู้ ือหุน้ หรือผูเ้ ป็ นหุน้ ส่วนในบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล
(ง) เงินลดทุน ของบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากาไร
และเงินที่กนั ไว้รวมกัน
[39]

(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติ บุคคลซึ่งตัง้ จากกาไรที่ได้มาหรือเงินที่


กันไว้รวมกัน
(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน หรือ
รับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็ นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
(ช) ผลประโยชน์ทไี่ ด้จากการโอนการเป็ นหุน้ ส่วน โอนหน่วยลงทุน หรือโอน
หุน้ หุน้ กู้ พันธบัตรหรือตั๋ว เงิน หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนีท้ ่ีบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบุคคลหรือ
นิติบุคคลอื่นเป็ นผูอ้ อก รวมทัง้ เงินได้จากการขายคืนหน่ วยลงทุนให้แก่บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วน
นิติบคุ คลที่เป็ นกองทุนรวม ทัง้ นี ้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็ นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน”
(ซ) เงินส่วนแบ่งของกาไร หรือผลประโยชน์อ่ืนใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จาก
การถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทลั
(ฌ) ผลประโยชน์ทไี่ ด้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล
ทัง้ นี ้ เฉพาะซึ่งตีราคา เป็ นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
ปั จจุบ ัน มี คู่ มื ออธิ บ ายเกี่ ยวกับ การยื่น แบบแสดงรายการภาษี เงินได้บุค คลธรรมดา
(แบบ ภ.ง.ด.90) กรณี เงินได้ ตาม ม.40(4)(ซ) (ฌ) ซึ่ งได้รวบรวมคาถาม - คาตอบ มาเพื่อให้ทา
ความเข้าใจ (จุดเน้ น- เรื่ องใหม่ เก็งเรื่ องนี)้
ถาม กรมสรรพากรมีวิธีการจัดประเภทของสิ นทรัพย์ดิจิทลั อย่างไร
ตอบ ขอสรุ ปสิ นทรัพย์ดิจิทลั พอสังเขป ดังนี้
1) คริ ปโทเคอร์ เรนซี (Cryptocurrency) คือ หน่ วยข้อมูลอิ เล็กทรอนิ กส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้
เป็ นสื่ อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ นค้า บริ การ สิ นทรัพย์ดิจิทลั อื่น หรื อสิ ทธิ อื่นใด โดยสามารถใช้
เป็ นสื่ อกลางในการแลกเปลี่ยน สิ นค้าและบริ การได้หากผูใ้ ช้ยอมรับ
คริ ปโทเคอร์เรนซีที่รู้จกั กัน เช่น Bitcoin Ethereum
2) โทเคนดิจิทลั (Digital Token) คือ หน่ วยข้อมูลอิเล็กทรอนิ กส์ที่สร้างขึ้นเพื่อกาหนดสิ ทธิ
ของบุคคลในส่ วนแบ่งรายได้หรื อสิ ทธิ ในการได้มาซึ่ งสิ นค้าและบริ การ หรื อสิ ทธิ อื่น ๆ (utility
token) ตามที่ ไ ด้ต กลงกับ ผู ้อ อกโทเคน ซึ่ งอาจเสนอขายโทเคนผ่ านกระบวนการ Initial Coin
Offering (ICO)
การระดมทุนแบบ ICO (Initial Coin Offering) คือการระดมทุนรู ปแบบหนึ่ งที่ใช้บล็อก
เชนเข้ามาช่วย โดยบริ ษทั จะเสนอและกาหนดขายโทเคนที่กาหนดสิ ทธิ หรื อผลประโยชน์ต่าง ๆ
เช่น ส่ วนแบ่งกาไรจากโครงการ หรื อสิ ทธิ ในการได้มาซึ่ งสิ นค้าหรื อ บริ การที่เฉพาะเจาะจงและ
กาหนดให้ผูท้ ี่ ตอ้ งการร่ วมลงทุนเข้าร่ วมได้โดยการนาคริ ปโทฯ หรื อเงิน มาแลกโทเคนที่ บริ ษทั
ออก โดยมีการกาหนดและบังคับสิ ทธิที่จะได้รับด้วย smart contract บนเทคโนโลยีบล็อกเชน
หลักการของคริปโทเคอร์ เรนซี/โทเคนดิจิทัล ที่น่าสนใจ มีดังนี้
1) การจาหน่าย จ่าย โอน หรื อแลกเปลี่ยนคริ ปโทเคอร์ เรนซี /โทเคนดิจิทลั ให้แก่บุคคลอื่น
จะถื อ เป็ นรายได้ที่ ต้อ งเอามาเสี ยภาษี เฉพาะซึ่ งตี ราคา เป็ นเงิ นได้เกิ น กว่าที่ ล งทุ น เท่ านั้น หรื อ
[40]

เรี ยกว่า นาส่ วนที่ เป็ นกาไร มาเป็ นเงิ นได้ มาตรา 40(4)(ฌ) แห่ งประมวลรัษ ฎากร เพราะฉะนั้น
หากขาย จ่าย โอน ขาดทุนก็ไม่ตอ้ งเสี ยภาษี
- การค านวณต้ น ทุ น คริ ป โทเคอร์ เรนซี /โทเคนดิ จิ ท ั ล ประเภทเดี ย วกัน ให้ ใ ช้ วิ ธี ที่
มาตรฐานการบัญ ชี รับ รอง เช่ น วิ ธี เข้าก่ อ นออกก่ อ น (FIFO) หรื อ วิ ธี ต้น ทุ น ถัว เฉลี่ ย เคลื่ อ นที่
(Moving average cost) และให้คานวณ ต้นทุนแยกตามประเภทของเหรี ยญ
 วิธีเข้าก่อนออกก่อน (The first-in first-out) หรื อ (FIFO) คือ การคานวณต้นทุนค
ริ ปโทเคอร์ เรนซี /โทเคนดิ จิทลั โดยอันที่ ซ้ื อ มาก่ อนจะขายออกไปก่ อนตามลาดับ ทารายการ ที่
เหลืออยู่ ณ วันสุ ดท้ายเป็ นอันที่ซ้ือมา ครั้งหลังสุ ด
 วิธีตน้ ทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (The moving average cost) คือ การคานวณต้นทุนคริ ป
โทเคอร์เรนซี/ โทเคนดิจิทลั แต่ละประเภทจะกาหนดจากการถัวเฉลี่ยต้นทุนของคริ ปโทเคอร์เรนซี /
โทเคนดิจิทลั ประเภท เดียวกัน ณ วันต้นปี กับต้นทุนของคริ ปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทลั ที่ซ้ื อมาใน
ระหว่างปี ซึ่งคานวณทุกครั้งที่ ซื้อคริ ปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทลั
 ผูม้ ีเงินได้สามารถเลือกวิธีคานวณต้นทุนใดก็ได้ เมื่อเลือกวิธีการคานวณต้นทุนวิธี
ใดแล้วต้องใช้วิธีน้ นั ตลอดปี ภาษี
 ต้น ทุ น คือ ค่ าซื้ อ ต้น ทุ น เพื่ อ ให้ ได้ม าซึ่ งคริ ป โทเคอร์ เรนซี /โทเคนดิ จิ ท ัล และ
ต้นทุนการได้มาซึ่งเงินได้ เช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อ ค่าธรรมเนียมการขาย และค่าโอน เป็ นต้น
 การวัดมูลค่าคริ ปโทเคอร์ เรนซี /โทเคนดิจิทลั ทั้งการคานวณต้นทุนและรายได้ ให้
ใช้มูลค่า ณ เวลาที่ได้มา หรื อราคาถัวเฉลี่ยในวันที่ได้มา ซึ่ งเป็ นราคาอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น
ราคาที่ ป ระกาศโดย Exchange ที่ จัด ท าขึ้ น ตามหลัก เกณฑ์ ข องส านัก งานคณะกรรมการก ากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็ นต้น
คำถาม - คำตอบ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล
คำถาม ใครมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีเงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซี
คำตอบ ผู้มีเงินได้ ดังนี้
1. เงินได้จากการโอนหรือขายคริปโทเคอร์เรนซี เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
2. เงินได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซี ที่ได้จากการขุด
3. เงินได้จากผลตอบแทนใด ๆ จากการนำคริปโทเคอร์เรนซี ไปหาประโยชน์
คำถาม เงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซี มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
คำตอบ - เงินได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซี ที่ได้มาจากการขุดคริปโทเคอร์เรนซี นั้น ถือเป็นเงิน
ได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) โดยเงินได้ดังกล่าวสามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายจริง
(ต้นทุนในการขุด) ได้
- กำไรจากการขายหรือการโอนคริปโทเคอร์เรนซี เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
(ราคาขาย - ต้นทุน) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ฌ)
- ผลตอบแทนจากการนำคริปโทเคอร์เรนซีไปหาประโยชน์นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40 (8)
คำถาม การคำนวณต้นทุนของ คริปโทเคอร์เรนซี คำนวณอย่างไร
[41]

คำตอบ สามารถคำนวณต้นทุน โดยใช้เป็นต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average cost) หรือวิธี


เข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมอื่นได้ แต่ถ้าเลือกวิธีใดแล้วต้องใช้วิธีนั้น
ตลอดปีภาษี
คาถาม วิธีการเสียภาษีจะต้องดำเนินการอย่างไร
คาตอบ - กรณี มีเงินได้จากการขาย คริปโทเคอร์เรนซี ที่ได้จากการขุด (Mining) ถือเป็นเงินได้พึง
ประเมินตามมาตรา 40(8) ผู้มีเงินได้ มีหน้าที่ ดังนี้
1. ยื่นรายการกลางปี (คือ นำเงินได้จากการขาย ในเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน) โดยนำ
เงินได้นั้น มารวมคำนวณภาษี (โดยให้หักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง หักค่าลดหย่อน กึ่งหนึ่ง และถ้ามี
ภาษีต้องชำระ ก็ให้ชำระภาษี
2. ยื่นรายการประจำปี (เงินได้จากการขายทั้งปีภาษี) ให้นำเงินได้ทั้งปี มาคำนวณภาษี โดย
หักค่าใช้จ่ายหักค่าลดหย่อนทั้งปีภาษี และชำระภาษีถ้ามี หากมีภาษีที่ชำระไว้แล้วช่วงกลางปี จะถือ
เป็นเครดิต ให้นำมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระประจำปี
- กรณีมีกำไรจากการขายหรือการโอน คริปโทเคอร์เรนซี เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกิน
กว่าที่ลงทุน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) (ฌ) ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องนำเงินได้มารวม
คำนวณภาษี โดยหักค่าใช้จา่ ยหักค่าลดหย่อนทั้งปีภาษี และชำระภาษีถ้ามี
- กรณี ได้ รับ ผลตอบแทนจากการนำคริป โทเคอร์ เรนซี ไปหาประโยชน์ถื อ เป็ นเงิ นได้พึ ง
ประเมินตามมาตรา 40 (8) ผู้มีเงินได้ มีหน้าที่ ดังนี้
1. ยื่นรายการกลางปี (คือ นำเงินได้จากการขาย ในเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน) โดยนำ
เงินได้นั้น มารวมคำนวณภาษี (โดยให้หักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง หักค่าลดหย่อ น กึ่งหนึ่ง และถ้ามี
ภาษีต้องชำระ ก็ให้ชำระภาษี
2. ยื่นรายการประจำปี (เงินได้จากการขายทั้งปีภาษี) ให้นำเงินได้ทั้งปี มาคำนวณภาษี โดย
หักค่าใช้จ่ายหักค่าลดหย่อนทั้งปีภาษี และชำระภาษีถ้ามี หากมีภาษีที่ชำระไว้แล้วช่วงกลางปี จะถือ
เป็นเครดิต ให้นำมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระประจำปี
(5) เงินได้ประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40(5) คือเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
(ก) การให้เช่าทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็ นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์
เช่น การให้เช่าอาคาร การให้เช่าบ้าน การให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร การให้เช่ารถ เป็ นต้น
(ข) การผิดสัญญาเช่าซือ้ ทรัพย์สิน
(ค) การผิดสัญญาซือ้ ขายเงินผ่อน ซึ่งผูข้ ายได้รบั คืนทรัพย์สินที่ซือ้ ขายนัน้ โดยไม่
ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ท่ีได้รบั ไว้แล้ว
หมายเหตุ เงินได้ท่ีจะนามาคานวณภาษี สาหรับ (ข) และ (ค) ประมวลรัษฎากร
กาหนดให้เงินหรือประโยชน์ท่ีรบั ไว้แล้วตัง้ แต่วนั ทาสัญญาจนถึงวันผิดสัญญาเช่าซือ้ หรือซือ้ ขาย
เงินผ่อนทัง้ สิน้ เป็ นเงินได้พงึ ประเมินของปี ท่มี ีการผิดสัญญา
ตัวอย่าง
นายกาธร ซื้อรถจักรยานยนต์จากร้านของนายชานาญ โดยการผ่อนชาระ กาหนดเวลาผ่อน
ชาระ 24 งวด เมื่ อ ถึ งกาหนดผ่อนงวดที่ 15 นายกาธรเกิ ดปั ญ หาทางการเงิ น จึ ง ไม่ได้ผ่อนชาระ
จากนั้น นายชานาญก็ได้ติดตามทวงถามค่างวดจากนายกาธร ส่ วนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการติดตามหนี้
[42]

และอื่น ๆ นายชานาญเรี ยกเก็บจากนายกาธร ดังนี้ ถือว่า เงินที่เรี ยกเก็บจากนายกาธร เป็ นเงินได้


ตามมาตรา 40(5)(ข)เพราะเป็ นเงินที่ได้รับจากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
(6) เงินได้ประเภทที่ 6 ตามมาตรา 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ซึ่งผูม้ ีเงินได้
ต้องทาด้วยตนเองเป็ นการเฉพาะตัว ซึ่งมี 6 วิชาชีพคือ
1) วิชาชีพกฎหมาย
เป็ นวิชาชี พ อาศัยความรู ท้ างกฎหมายโดยเฉพาะ เช่ น การว่าความของทนายความ การให้
คาปรึกษากฎหมาย การทาพินยั กรรม การร่างนิติกรรมสัญญา การทาคาฟ้อง คาให้การ ฯลฯ
➢ ถ้าหากนักกฎหมาย ทางานเป็ นลูกจ้าง มีนายจ้าง อาจจะเป็ นบริษัท
หรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล จะได้รบั ค่าตอบแทนเป็ นเงินเดือน ดังนีถ้ ือเป็ นเงินได้ประเภทที่ 1
➢ ถ้าหากนักกฎหมาย รับทาอย่างอื่นที่ไม่ใช่งานนักกฎหมาย เช่น รับจด
ทะเบียนพาณิชย์ รับติดตามหนี ้ รับเป็ นนักสืบ เหล่านี ้ ไม่ถือเป็ นเงินได้ประเภทที่ 6
2) การประกอบโรคศิลป
คื อ การประกอบวิ ช าชี พ ที่ ก ระท าหรือ มุ่ง หมายจะกระท าต่ อ มนุ ษ ย์เกี่ ย วกับ การตรวจโรค
วินิจฉัยโรค การบาบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ ฯลฯ
ในปั จ จุ บั น ผู้ท่ี ป ระกอบโรคศิ ล ในสาขาเวชกรรม ทั น ตกรรม เภสัช กรรม
พยาบาล ผดุงครรภ์ ได้มีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพ ดังกล่าวแยกต่างหากจากกัน
แล้ว และจะต้องขึน้ ทะเบียนและรับใบอนุญาต ดังนัน้ เมือ่ แพทย์ ทันแพทย์ เภสัชกร พยาบาล
เทคนิคการแพทย์ ปฏิบัติ งานตามวิชาชีพที่ตนได้รบั ใบอนุญ าต ค่าตอบแทนฯ ถือเป็ นเงินได้
ประเภทที่ 6 ตามมาตรา 40(6) แล้ว
จุดเน้น การประกอบโรคศิลป ต้องทำต่อเนื้อตัวร่างกายมนุษย์เท่านั้น ดังนัน้
สัตวแพทย์ จึงไม่ใช่ วิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40(6) หากปฏิบัตงิ านเป็นลูกจ้าง ได้รับ
ค่าตอบแทนในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าปฏิบัตงิ านพิเศษจากนายจ้าง เงินได้ที่
ได้รับถือเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) หรือกรณีปฏิบัตงิ านโดยไม่ได้เป็น
ลูกจ้างแต่ได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานที่ทำ เงิน
ค่าตอบแทนที่ได้รับจะเป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1802/2533 โจทก์เป็นแพทย์ ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน
โดยโรงพยาบาล มีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิประกอบวิชาชีพอิสระส่วนตัวได้นอกเวลาทำงาน
โดยใช้สถานที่โรงพยาบาลเปิดคลีนคิ ส่วนตัว แต่ต้องแบ่งรายได้เข้าโรงพยาบาลตามอัตราที่
กำหนด ดังนี้ เงินที่โจทก์ได้รับจากคนไข้ทีม่ ารักษานอกเวลา เป็นเงินจากการประกอบวิชาชีพ
อิสระของโจทก์ ตามมาตรา 40(6) ไม่ใช่เงินได้ตามมาตรา 40(1)
สรุปตามฎีกานีค้ ือ โจทก์ มีเงินได้จากเงินเดือน เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) และมี
เงินได้จากการเปิดคลีนคิ ตามมาตรา 40(6)
[43]

(จุดเน้น) หลักการของเงินได้จากการประกอบโรคศิลป คือ ถ้ารับเงินเดือน มีนายจ้าง


เช่น ทำงานที่โรงพยาบาล หรือ มีคนจ้างให้ทำงาน เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) ถ้าเป็นเงินได้
จากการเปิดคลินิกอาจเป็นเปิดคลีนกิ เองหรือขอใฃ้สถานที่ของโรงพยาบาล โดยแบ่งรายได้กัน
ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) แต่ถ้าเปิดสถานพยาบาล มีการจ้างลูกจ้าง มีการให้คนป่วย
นอนรักษาตัว เงินได้ที่ได้รบั เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)
3) วิศวกรรม
วิชาชีพวิศวกรรม คือวิชาชีพการช่างในสาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมเครื่องยนต์
สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่
4) สถาปั ตยกรรม
วิชาชีพสถาปั ตยกรรม คือวิชาชีพการช่างในสาขาสถาปั ตยกรรมหลัก สาขาปัตยกรรม
ผังเมือง สาขาปัตยกรรมอุตสาหกรรม
5) การบัญชี
วิชาชีพบัญชี คือวิชาชีพ ในด้านการทาบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร
ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษี อากร ด้านการศึกษา และเทคโนโลยีการบัญชี ซึ่ง
เงินได้จากการบัญ ชีจะเป็ นเงินได้ประเภทใด ต้องพิ จารณาก่อน เพราะไม่ใช่ว่า การทาบัญ ชี
จะต้องเป็ นเงินได้ตามมาตรา 40(6) เสมอไป แม้จะเป็ นผูส้ อบบัญชี ผูท้ าบัญชี หรืองานอื่น เช่น
วางระบบบัญชี มีหลักการพิจารณาประเภทเงินได้ ดังนี ้
1.ถ้าทางานบัญ ชีในลักษณะของการเป็ นลูกจ้าง มีนายจ้าง เช่น เป็ นผู้ทาบัญ ชีหรือ
ผูส้ อบบัญชี แต่รบั เงินเดือนจากนายจ้าง ถือเป็ นเงินได้ตามมาตรา 40(1)
2.ถ้าทางานบัญชีโดยรับจ้างคนอื่น เช่น เป็ นที่ปรึกษาด้านบัญชี แบบนีเ้ ข้าลักษณะเป็ น
การจ้างทาของ ส่วนการทางาน อาจจะมากน้อยไม่เท่ากัน ก็ตาม แต่รบั เงินเท่ากันทุกเดือน ถือ
เป็ นเงินได้จากหน้าที่งานหรือการรับทางานให้ ตามมาตรา 40(2)
3.ถ้าเป็ นการประกอบวิชาชีพของตนเองและต้องใช้วิชาความรูค้ วามชานาญด้านบัญชี
ต้องมีค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการและเงินได้ท่ไี ด้รบั มีจานวนไม่แน่นอน ได้รบั มากหรือ
น้อยขึน้ อยู่กบั ปริมาณงานหรือผลงานที่ทา ถือเป็ นเงินได้ตามมาตรา 40(6)
6) ประณีตศิลปกรรม
เป็ นงานที่เกี่ยวกับงานที่มีคณ
ุ ค่าทางศิลปะ เช่น การรับจ้างปั้น วาดภาพ
(7) เงินได้ประเภทที่ 7 ตามมาตรา 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผรู้ บั เหมา
ต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสาคัญ นอกจากเครื่องมือ เงินได้ประเภทนี ้ จึงเป็ นเงิน
ได้จากการรับเหมาต่าง ๆ เช่น รับเหมาก่อสร้าง โดยผูร้ บั เหมาจะต้องรับจัดหาสัมภาระ,อุปกรณ์
,วัสดุ ที่ใช้ในการก่อสร้างเองด้วย เช่น รับสร้างบ้าน, ปรับปรุงต่อเติมอาคาร ฯลฯ
(8) เงิน ได้ป ระเภทที่ 8 ตามมาตรา 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิ ชย์
การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้
[44]

ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว รวมทัง้ การขายอสังหาริมทรัพย์ท่ีได้มาโดยมุ่งในทางการค้า


หรือหากาไร เช่น นักแสดงสาธารณะ,ร้านขายอาหาร, ขายวัสดุก่อสร้าง, ผลิตรองเท้า, เปิด
อูซ่ ่อมรถ, ขายอสังหาริมทรัพย์ ,ขายบ้าน,แบ่งที่ดินขาย ,ทำฟาร์มโคนม
เงินได้จากการให้หรือการรับ ดังต่อไปนี ้ ถือเป็ นเงินได้ประเภทที่ 8
1) เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์โดยไม่มี
ค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่รวมบุตรบุญธรรม เฉพาะเงินได้สว่ นที่เกิน 20
ล้านบาทต่อบุตรหนึ่งคน ตลอดปี ภาษีนนั้
2) เงินได้ท่ีได้รบั จากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจาก บุพการีผูส้ ืบสันดาน
หรือคู่สมรสเฉพาะเงินได้ในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ต่อคนตลอดปี ภาษีนนั้
3) เงินได้ท่ีได้รบั จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่อง
ในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทัง้ นีจ้ ากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการีผสู้ ืบสันดาน
หรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทต่อคนตลอดปี ภาษีนนั้
NOTE เงินได้นอกจากที่ระบุในประเภทที่ 1 ถึง 7 ถือเป็นเงินได้พงึ ประเมินประเภทที่ 8

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิ่งทีต่ ้องรู้และเกี่ยวข้อง ดังนี้
ฐานภาษี (Tax Base) คือ จานวนเงินหรือมูลค่าของทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่าง
อื่นที่คานวณได้เป็ นเงิน ที่จะต้องนามาคานวณภาษีตามอัตราภาษีท่ีกฎหมายกาหนด
ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ เงินได้สุทธิ หมายถึง จานวนเงินได้ท่ีจะต้อง
นามาคานวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
เงินได้สุทธิ มาจากการนาเงินได้พึงประเมิน หัก ค่าใช้จ่าย (ตามที่กาหนด สาหรับ
เงินได้แต่ละประเภท) หัก ค่าลดหย่อน (ซึ่งเงินได้สทุ ธิ นี้ ใช้เฉพาะการคานวณภาษี ตามขัน้ ตอนที่ 1 เรา
จะได้ศกึ ษาต่อไป)
ถ้าเงินได้พึงประเมิน เป็ นเงินได้ ตาม มาตรา 40(2)-(8) และมีจานวน ตัง้ แต่ 120,000 บาท
ให้นาเงินได้พึงประเมินนั้น x อัตราภาษี ร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็ นการคานวณภาษี ตามขั้นตอนที่ 2 (จะได้
ศึกษาต่อไป)
สามารถสรุปเป็นขั้นตอนได้ 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ ……… (1)
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษี ........(2)
(จุดเน้น ) อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นอัตราก้าวหน้า มี 7 ขั้น
คือ ร้อยละ 5, 10,15,20,25,30,35)
[45]

ขั้นตอนที่ 2 เงินได้พึงประเมิน x ร้อยละ 0.5 = ภาษี


(จุดเน้น) การคำนวณขั้นตอนที่ 2 ใช้เฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2-8 และ
มีจำนวนตั้งแต่ 120,000 บาท
ขั้นตอนที่ 3 เปรียบเทียบกันระหว่างการคำนวณตามขั้นตอนที่ 1 และขัน้ ตอนที่ 2
ภาษี ตามขั้นตอนใดสูงกว่าให้ชาระภาษี ตามวิธีนั้น เว้นแต่การคานวณตามขัน้ ตอนที่ 2 หาก
คานวณแล้ว ภาษี ไม่เกิน 5,000 บาท กฎหมายกาหนดให้ยกเว้นภาษี และให้ชาระภาษี ตาม
ขัน้ ตอนที่ 1 แม้จานวนภาษีจะน้อยกว่า
เมื่ อเรารู ถ้ ึงสูตรหรือวิธี การคานวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว จะได้ไล่เลียงให้
เข้าใจถึงค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และ อัตราภาษี (ตามลาดับ)
การหักค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่าย คือ รายจ่ายที่ตอ้ งใช้จ่ายหรือถือว่าได้จ่ายไปตามความจาเป็ นและสมควร
เพื่อหารายได้ ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กาหนดวิธีการหักค่าใช้จ่ายไว้ 2 วิธี คือ
1. การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา
วิธีนกี ้ ฎหมายกาหนดอัตราค่าใช้จ่ายที่จะหักออกจากเงินได้พงึ ประเมินไว้เป็ นจานวน
แน่นอนตายตัว คิดเป็ นร้อยละของเงินได้พงึ ประเมินแต่ละประเภท เช่น ร้อยละ 50, 60 เป็ นต้น
2.การหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึน้ ตามความจำเป็นและสมควร
กฎหมายใช้คาว่า “จาเป็ นและสมควร” หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จะนามาหักได้ ต้องเป็ นรายจ่ายที่
จ่ายจริง ต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ มี จานวนที่เหมาะสม ต้องมี เอกสาร
หลักฐานแสดงค่าใช้จ่ายจริงด้วย
การหั ก ค่ า ใช้จ่ ายนั้ น มี ก ารกำหนดให้ เงิน ได้พึ งประเมิ น (ซึ่งมี 8 ประเภท) หั ก
ค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป บางประเภทหักเหมาได้วิธีเดียว บางประเภท ให้หักค่าใช้จ่ายตาม
ความจำเป็นและสมควรได้วิธีเดียว บางประเภทกำหนดให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ โดยเลือกวิธี
เหมา หรือจ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควรแล้วแต่จะเลือก และมีเงินได้บางประเภท ที่
กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย คือ เงินได้ตามมาตรา 40(4)
การหักค่าใช้จ่าย สาหรับเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภท
เงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 (ตามมาตรา 40(1) (2))
การหักค่าใช้จ่าย สาหรับเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 1 และ 2 (ทัง้ สองประเภท)
กฎหมายให้หกั ค่าใช้จ่าย เป็ นการเหมาอย่างเดียวเท่านัน้ ดังนี ้
(1) ผูม้ ีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมาได้รอ้ ยละ 50 ของเงินได้แต่รวมกันแล้ว
ต้องไม่เกิน 100,000 บาท (เว้นแต่เงินทีน่ ายจ้างจ่ายให้ครัง้ เดียวเพราะเหตุออกจากงาน จะมี
วิธีการหักค่าใช้จ่ายทีแ่ ตกต่างออกไปจากนี)้
[46]

(2) ในกรณีสามีภริยา ต่างฝ่ ายต่างมีเงินได้และความเป็ นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปี


ภาษี ให้ต่างฝ่ ายต่างหักค่าใช้จ่ายได้รอ้ ยละ 50 แต่ไม่เกินฝ่ ายละ 100,000 บาท
ตัวอย่าง สามี มีเงินเดือนทัง้ ปี 400,000 บาท ภริยามีเงินได้ค่านายหน้าประกันชีวิต
600,000 บาท คำนวณหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีของสามี ภริยา ได้ดงั นี้
สามี (เงินเดือน) = 400,000 บาท
หัก คชจ. 50% ไม่เกิน 100,000 = 100,000 บาท
เหลือ = 300,000 บาท
ภรรยา (ค่านายหน้า) = 600,000 บาท
หัก คชจ. 50% ไม่เกิน 100,000 = 100,000 บาท
เหลือ = 500,000 บาท
การหักค่าใช้จ่าย สาหรับเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 (ของสามี ภรรยา) ไม่ว่าจะต่างฝ่ าย
ต่างแยกยื่นหรือยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน การหัก คชจ.ก็หกั ได้เช่นนี ้ ไม่มีผลเปลี่ยนแปลง
Note ต่างคนต่างคำนวณ โดยหัก คชจ. ร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
หมายเหตุ
กรณีเป็นเงินได้ ประเภทที่ 1 สำหรับผู้มีเงินบางกลุ่มจะมีการสะสมเงินเข้ากองทุน เช่น
ข้าราชการพลเรือน จะสะสมเงินเข้า กบข.) หรือ ลูกจ้าง,พนักงาน อาจจะสะสมเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ ,หรือ ครู รร.เอกชน (สะสมเงินเข้ากองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือ กรณีลูกจ้าง
ถูกให้ออกจากงาน กรณีที่กล่าวมานี้ จะต้องหักเงินตามจำนวนที่กฎหมายให้ได้รับ ยกเว้นเงินก่อน
จึงหัก คชจ. ในอัตราร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อไป
(1) เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยกเว้นส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท
(2) เงินสะสม กบข. ยกเว้นไม่เกิน 500,000 บาท
(3) เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ยกเว้นไม่เกิน 500,000 บาท
(4) ค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมาย ว่าด้วยการคุม้ ครองแรงงาน หรือกฎหมายว่าด้วยพนักงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ต้องเป็นกรณีให้ออกจากงานโดยไม่สมัครใจ (** จุดเน้น - ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่
ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับ เพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง) เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน
ค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายแต่ไม่เกิน 300,000 บาท แต่ต้องมี
ระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี
คำถาม นายสมศักดิ์ เป็นข้าราชการ มีเงินเดือนทั้งปี 500,000 บาท ได้สะสมเงินเข้ากองทุน
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ทั้งปี 25,000 บาท นายสมศักดิ์ มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายเท่าใด
คำตอบ เงินเดือน 500,000 บาท
หัก เงินสะสมเข้า กบข. 25,000 บาท
คงเหลือ 475,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่าย ร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 100,000 บาท
คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 375,000 บาท
[47]

ส่วนหนึ่งของแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.90)

เงินได้ประเภทที่ 3 ตามมาตรา 40(3) หักค่าใช้จ่ายดังนี้


สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะเงินได้ค่ากู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่นเท่านัน้
โดยหักค่าใช้จ่าย ดังนี ้
1.หัก ค่าใช้จ่ายตามความจาเป็ นและสมควร หรือ
2.หัก ค่าใช้จา่ ย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
จุดเน้น เงินปี หรือเงินรายปี จากพินยั กรรมหรือจากคาพิพากษาของศาล ห้ามหัก
คชจ. จ่ายใด ๆ ทั้งสิน้
เงินได้ประเภทที่ 4 ตาม มาตรา 40(4) เงินได้ ทุกประเภท ห้ามหักค่าใช้จ่ายทัง้ สิ้น
เงินได้ประเภทที่ 5 ตามมาตรา 40(5) ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจากการ
ให้เช่าทรัพย์สิน ,การผิดสัญญาเช่าซือ้ ทรัพย์สิน ,การผิดสัญญาซือ้ ขายเงินผ่อน
(ก) เงินได้ จากการให้ เช่ าทรั พย์ สิน
1. หักตามความจาเป็ นและสมควร หรือ
2. หัก เหมาตามอัตรา ดังนี้
- เงินค่าเช่าบ้าน อาคาร สิ่งก่อสร้าง แพ หักค่าใช้จ่ายได้ 30% ของเงินได้
- เงินค่าเช่ายานพาหนะ หักค่าใช้จา่ ยได้ 30% ของเงินได้
- เงินค่าเช่าที่ดนิ ที่ใช้ในการทาการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 20% ของเงินได้
- เงินค่าเช่าที่ดนิ ที่ไม่ใช้เพื่อทาการเกษตร หักค่าใช้จ่ายได้ 15% ของเงินได้
- เงินค่าเช่าทรัพย์สินอื่นๆ หักค่าใช้จ่ายได้ 10% ของเงินได้
(ข) เงินได้ จากการผิดสัญญาเช่ าซื้อทรั พย์ สิน
หักค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมา ได้รอ้ ยละ 20 วิธีเดียวเท่านัน้
(ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่ อน
หักค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมา ได้รอ้ ยละ 20 วิธีเดียวเท่านัน้
[48]

เงินได้ประเภทที่ 6 ตามมาตรา 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย


การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปั ตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม เลือกหัก
ค่าใช้จ่าย ดังนี ้
วิธีท่ี 1 หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจาเป็ นและสมควร หรือ
วิธีท่ี 2 หักค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมา ในอัตราดังนี ้
(1) การประกอบโรคศิลป ร้อยละ 60
(2) วิชาชีพอิสระอื่น นอกจากการประกอบโรคศิลป ร้อยละ 30
เงินได้ประเภทที่ 7 ตามมาตรา 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผรู้ บั เหมาต้อง
ลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสาคัญนอกจากเครื่องมือ เลือกหักค่าใช้จ่าย ดังนี ้
วิธีท่ี 1 หักค่าใช้จา่ ยจริงตามความจาเป็ นและสมควร หรือ
วิธีท่ี 2 หักค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมาในอัตราร้อยละ 60
เงินได้ประเภทที่ 8 ตามมาตรา 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์
การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภท
ที่ 7 ให้หกั ค่าใช้จ่าย ดังนี ้
วิธีที่ 1 หักค่าใช้จา่ ยจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือ หักตามจริง
วิธที ่ี 2 หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ก.ม.กำหนดให้หักได้เพียง 43 รายการ
เท่านั้น นอกเหนือจาก 43 รายการนี้ ต้องหักค่าใช้จ่ายจริงตามวิธีท่ี 1 เท่านั้น และอัตราการหัก
ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ทัง้ 43 รายการ มีดังนี้
1. การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรื อโทรทัศน์ นักร้ อง นักดนตรี
นักกีฬาอาชีพ หรื อนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ (จุดเน้ น) ปี 2565 -ออกข้ อสอบ
(ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60
(ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่ เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40
การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
(จุดเน้น) คำว่า ”นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ
โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ไม่วา่ จะแสดงเดี่ยว
เป็นหมู่หรือคณะ หรือแข่งขันเป็นทีม เช่น นักแสดงละครเวที นักแสดงภาพยนตร์ นักแสดงละคร
วิทยุ นักแสดงละครโทรทัศน์ ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ นักแสดงตลก นายแบบ นางแบบ นัก
พูดรายการทอล์คโชว์ นักมวยอาชีพ นักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น
นักแสดงสาธารณะ ไม่รวมถึงผูป้ ระกาศข่าว โฆษก พิธีกร นักจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการใน
สถานบันเทิงใด ๆ ผู้บรรยายหรือนักพากย์ ผูจ้ ัดการส่วนตัวของนักแสดงสาธารณะ ผู้กำกับการแสดง
ผู้จดั การทีมกีฬา ผูฝ้ ึกสอน นักกีฬาหรือบุคคลผู้กระทำการในลักษณะทำนองเดียวกัน
2. การขายที่ดินเงินผ่อนหรื อการให้เช่าซื้อที่ดิน ร้อยละ 60
3. การเก็บค่าต๋ ง หรื อค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรื อการเล่นต่างๆ ร้อยละ 60
4. การถ่าย ล้าง อัด หรื อขยายรู ป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่ วนประกอบ ร้อยละ 60
[49]

5. การทากิจการคานเรื อ อูเ่ รื อหรื อซ่อมเรื อที่มิใช่ซ่อมเครื่ องจักรเครื่ องกล ร้อยละ 60


6. การทารองเท้า/เครื่ องหนังแท้หรื อหนังเทียมรวมทั้งการขายส่ วนประกอบร้อยละ 60
7. การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้ อผ้า หรื อสิ่ งอื่นๆ รวมทั้งการขายส่ วนประกอบ ร้อยละ 60
8. การทา ตกแต่งหรื อซ่อมแซมเครื่ องเรื อนรวมทั้งการขายส่ วนประกอบ ร้อยละ 60
9. การทากิจการโรงแรม ภัตตาคารหรื อการปรุ งอาหาร/เครื่ องดื่มจาหน่าย ร้อยละ 60
10. การดัด ตัด แต่งผม หรื อตกแต่งร่ างกาย ร้อยละ 60
11. การทาสบู่ แชมพู หรื อเครื่ องสาาอาง ร้อยละ 60
12. การทาาวรรณกรรม ร้อยละ 60
13. การค้าเครื่ องเงิน ทอง นาก เพชรพลอยหรื ออัญมณี อื่นๆรวมขายส่ วนประกอบ ร้อยละ 60
14. การทากิจการสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเฉพาะที่มีเตียงรับผูป้ ่ วย
ไว้คา้ งคืนรวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจาหน่ายยา ร้อยละ 60
15. การโม่หรื อย่อยหิ น ร้อยละ 60
16. การทาป่ าไม้ สวนยาง หรื อไม้ยืนต้น ร้อยละ 60
17. การขนส่ ง หรื อรับจ้างด้วยยานพาหนะ ร้อยละ 60
18. การทาบล็อกและตรา การรับพิมพ์หรื อเย็บสมุดเอกสาร รวมขายส่ วนประกอบ ร้อยละ 60
19. การทาเหมืองแร่ ร้อยละ 60
20. การทาเครื่ องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ร้อยละ 60
21. การทาเครื่ องกระเบื้อง เครื่ องเคลือบ เครื่ องซีเมนต์ หรื อดินเผา ร้อยละ 60
22. การทาหรื อจาหน่ายกระแสไฟฟ้า ร้อยละ 60
23. การทาน้ าแข็ง ร้อยละ 60
24. การทากาว แป้งเปี ยก หรื อสิ่ งที่มีลกั ษณะทานองเดียวกัน และการทาแป้งชนิดต่าง ๆ ที่
มิใช่เครื่ องสาอาง ร้อยละ 60
25. การทาลูกโป่ ง เครื่ องแก้ว เครื่ องพลาสติก หรื อเครื่ องยางสาเร็ จรู ป ร้อยละ 60
26. การซักรี ด หรื อย้อมสี ร้อยละ 60
27. การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผูข้ ายมิได้เป็ นผูผ้ ลิต ร้อยละ 60
28. รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่ งม้าเข้าแข่ง ร้อยละ 60
29. การรับสิ นไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก การได้กรรมสิ ทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขาย
ฝาก ร้อยละ 60
30. การรมยาง การทายางแผ่น หรื อยางอย่างอื่นที่มิใช่ยางสาเร็ จรู ป ร้อยละ 60
31. การฟอกหนัง ร้อยละ 60
32. การทาน้ าตาล หรื อน้ าเหลืองของน้ าตาล ร้อยละ 60
33. การจับสัตว์น้ า ร้อยละ 60
34. การทากิจการโรงเลื่อย ร้อยละ 60
35. การกลัน่ หรื อหี บน้ ามัน ร้อยละ 60
36. การให้เช่าซื้อสังหาริ มทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม ม.40 (5) ร้อยละ 60
[50]

37. การทากิจการโรงสี ขา้ ว ร้อยละ 60


38. การทาเกษตรกรรมประเภทไม้ลม้ ลุกและธัญชาติ ร้อยละ 60
39. การอบหรื อบ่มใบยาสู บ ร้อยละ 60
40. การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 60
41. การฆ่าสัตว์จาหน่ายรวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 60
42. การทานาเกลือ ร้อยละ 60
43. การขายเรื อกาปั่น เรื อมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไปเรื อกลไฟหรื อเรื อยนต์มีระวางตั้งแต่ 5
ตันขึ้นไป หรื อแพ ร้อยละ 60
หมายเหตุ เงินได้ประเภทที่มิได้ระบุขา้ งต้น ให้หกั ค่าใช้จ่ายจริ งตามความจาเป็ นและ
สมควรเท่านั้น
จุดสั งเกต การหักค่าใช้จ่ายเหมาตามข้อ 2 – 43 หักค่าใช้จ่ายเหมาร้อยละ 60 ยกเว้น ข้อ 1
ที่หกั ค่าใช้จ่ายแตกต่างไป (ปี 2563 เคยออกข้อสอบเกี่ยวกับการหักค่าใช้จ่ายของดารา)
ตัวอย่างการหัก คชจ. นักกีฬาอาชีพ (ถือเป็นนักแสดงสาธารณะ)จุดเน้น
เมสซี่ เจ เป็นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ มีเงินได้การเตะบอลในประเทศไทย ทั้งปี
1,500,000 บาท (สามารถหัก คชจ.ตามความจำเป็นและสมควรหรือหักเหมาตามอัตราร้อยละก็ได้
กรณีนี้ เมสซี่เจ เลือกหัก คชจ. แบบเหมา
เงินได้ที่ได้รับจากการเตะฟุตบอล = 1,500,000 บาท
หัก ค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หัก ร้อยละ 60 = 180,000 บาท
ขั้นที่ 2 เงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หัก ร้อยละ 40 = 480,000 บาท
(1,500,000 - 300,000 = 1,200,000 x 40% )
รวมค่าใช้จ่ายที่คำนวณได้ = 660,000 บาท
แต่เมสซี่เจ หัก คชจ.ได้เพียง 600,000 บาทเท่านั้น เพราะกฎหมายให้หักค่าใช้จ่าย รวมไม่เกิน
600,000 บาท (จุดเน้น -ออกข้อสอบบ่อย)

สร ุปการหักค่าใช้จ่าย สาหรับเงินได้พึงประเมิน ตาม ม.40


ประเภทเงินได้ อัตราการหักค่ าใช้ จ่าย
ม.40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน 40(1) และ 40(1) รวมกัน
ค่าจ้าง โบนัส แบบเหมาอย่างเดียว 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ม.40(2)เงินได้จากหน้าที่หรื อตาแหน่งงานที่ทา -หักตามจริ งหรื อหักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน
รับจ้างทางานให้ ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม 100,000 บาท
ม.40(3)- เงินได้ค่าลิขสิ ทธิ์ ค่าความนิยม -หักตามจริ งหรื อ หักแบบเหมา 50% แต่ไม่
เกิน 100,000 บาท
- เงินได้จากเงินปี จากพินยั กรรม หรื อคา -หัก คชจ.ไม่ได้
พิพากษาของศาล
ม.40(4) เงินได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล ส่ วนแบ่ง ห้ าม หัก ค่ าใช้ จ่ายใด ๆ
[51]

กาไร เงินโบนัส เงินลดผลขาดทุน เงินเพิ่มทุน


ผลประโยชน์จากการถือครองโทเคนดิจิทลั ฯลฯ
ม.40(5)- เงินได้จากการให้เช่าบ้าน/ -หักตามจริ ง หรื อ หักเหมา ดังนี้ เช่าบ้านหรื อ
อสังหาริ มทรัพย์ สังหาริ มทรัพย์ 30%) เช่าที่ดินใช้ในการเกษตร
20% เช่าที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในการเกษตร 15% เช่ารถ
30% เช่าทรัพย์สินอื่น 10%
-เงินได้จากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน และผิด - ร้อยละ 20 วิธีเดียวเท่านั้น
สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
ม.40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ โรคศิลปะ เช่น หมอ เภสัชกร ทันตแพทย์ 60%
ส่ วนบัญชี กฎหมาย วิศวะ ฯลฯ 30%
ม.40(7) เงินได้จากการรับเหมา ซึ่งเป็ นผูจ้ ดั การ หักตามจริ ง หรื อ เหมา 60%
สัมภาระเอง นอกจากเครื่ องมือ
40(8) เงินได้จากการพาณิ ชย์อื่น อุตสาหกรรม หักตามจริ งหรื อหักเหมา 60%
ขนส่ งหรื อจากการขายอสังหาริ มทรัพย์ หรื อเงิน กรณี นกั แสดง นักกีฬาอาชีพ นักร้อง นักดนตรี
ได้อื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1-7 อาชีพ หักจริ งก็ได้ หรื อเลือกหัก เหมา ในอัตรา
- ตั้งแต่ 1-300,000 บาทแรก หัก 60%
- ส่ วนที่เกิน 300,000 บาท หัก 40%
แต่รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท

การหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 (มาตรา 40(8) บางกรณี


1) เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดย
เสน่หา หรือที่ได้มาโดยมิได้มงุ่ ในทางการค้าหากำไร ให้ถือราคาประเมินทุนทรัพย์ (แม้
ราคาขายจะสูงกว่าหรือราคาตลาดจะสูงกว่าก็ตาม) เป็นฐานในการหักค่าใช้จ่ายและ
คำนวณภาษี ซึ่งการหักค่าใฃ้จ่ายจะแตกต่างไปจากที่กำหนดข้างต้น คือ
(1) การขายอสังหาริมทรัพย์อนั เป็ นมรดกหรือที่ได้รบั จากการให้โดยเสน่หา ให้หกั
ค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมาในอัตราร้อยละ 50 ได้วิธีเดียว จากนัน้ นาเงินได้ท่ีเหลือไป หารจานวนปี
ที่ถือครอง ได้เท่าใด ให้นาไปคานวณภาษีตามบัญชีอตั ราภาษีเงินได้ และคูณด้วยจานวนปี ท่ี
ถือครอง จะได้ภาษีท่ตี อ้ งชาระ (ซึ่งปกติ จะชาระ ณ กรมที่ดิน เมื่อมีการโอนหรือทานิติกรรม)
ตัวอย่าง นายประชา จดทะเบียนโอนขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563
เป็ นอสังหาริมทรัพย์ท่ีได้รบั จากการให้โดยเสน่หา เมื่อ พ.ศ.2559 ถือครองมา 5 ปี (ต้องนับปี
แรกที่ซือ้ เข้าด้วย) โดยตกลงโอนในราคา 2,800,000 บาท แต่ราคาประเมินที่ใช้ ในการจด
ทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็ นเงิน 2,000,000 บาท
[52]

คานวณภาษี กรณีเลือกหักค่าใช้ จ่าย เป็ นการเหมา ดังนี้


1) ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้ เป็นเงิน 2,000,000 บาท
(ราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม)

หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 50 = (2,000,000 x 50) เป็นเงิน 1,000,000 บาท


100
2) เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (2,000,000 - 1,000,000) เป็นเงิน 1,000,000 บาท
3) เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 2 หารด้วยปีที่ถือครอง) .
(1,000,000) เป็นเงิน 200,000 บาท
5
4) ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตาม 3 คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้ฯ)

200,000 x 5 = 10,000 เป็นเงิน 10,000 บาท


100
5) ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม 2.4 คูณด้วยปีที่ถอื ครอง) เป็นเงิน 50,000
10,000 X 5 บาท
สังเกต การคานวณภาษี กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ จะไม่ได้รบั ยกเว้นเงินได้ จานวน
150,000 บาท แรก ตามตารางอัตราการคานวณภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
2) การขายอสังหาริมทรัพย์ท่ไี ด้มาโดยทางอื่นนอกจาก (1) มี 2 กรณี
กรณีที่ 1 ได้มาโดยการซือ้ ขาย แลกเปลี่ยน โดย มิได้ม่งุ ในทางการค้าหรือหากาไร
กรณีที่ 2 ได้มาโดยการซือ้ ขาย แลกเปลี่ยน โดย มุ่งในทางการค้าหรือหากาไร
ทัง้ สองกรณี สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้จาก 2 วิธี คือ
วิธีท่ี 1 หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจา เป็ นและสมควร
วิธีท่ี 2 หักค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมา ในอัตราดังนี ้
จำนวนปีที่ถือครอง ร้อยละของเงินได้
1 ปี 92
2 ปี 84
3 ปี 77
4 ปี 71
5 ปี 65
6 ปี 60
7 ปี 55
8 ปี ขึน้ ไป 50
* จำนวนปีที่ถือครอง หมายถึง จำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้กรรมสิทธิ์ หรือ สิทธิครอบครองใน
อสังหาริมทรัพย์ถึงปีที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้าเกิน 10 ปีให้นับ
เพียง 10 ปี เศษของปีให้นับเป็น 1 ปี
[53]

* การนับจำนวนปีที่ถือครองให้ถือตามปีปฏิทิน
ตัวอย่าง
นายประชัญ จดทะเบียนโอนขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 เป็ น
อสังหาริมทรัพย์ท่ีซอื ้ มา เมื่อ พ.ศ.2559 ถือครองมา 5 ปี (นับปี แรกที่ซอื ้ เข้าด้วย) โดยตกลงโอนใน
ราคา 2,800,000 บาท แต่ราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็ นเงิน
2,000,000 บาท
วิธีการคำนวณ (หากเลือกหัก คชจ.เป็นการเหมา) ดังนี้
1.

ทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้ (ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนด) เป็นเงิน 2,000,000 บาท

หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 65 (2,000,000 x 65) เป็นเงิน 1,300,000 บาท


....................................... ...100

Note ถือครอง 5 ปี หัก ค่าใช้จ่ายในอัตรา ร้อยละ 65


2. เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (2,000,000 - 1,300,000) เป็นเงิน 700,000 บาท
3. เงินได้เฉลี่ยต่อปี (ตามข้อ 2 หารด้วยปีที่ถือครอง) .
(700,000) เป็นเงิน 140,000 บาท
5
4. ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี
(ตามข้อ 3 คูณด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
เป็นเงิน 7,000 บาท
140,000 x 5 = 7,000
100
5. ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (ตาม 4 คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง)
เป็นเงิน 35,000 บาท
7,000x5
หมายเหตุ
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่นทั้ง 2 กรณีจะถูกภาษี ณ ที่จ่ายในขณะที่จด
ทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง (ตามหลักการคำนวณข้างต้นเหมือนกัน) แต่เมื่อสิ้นปี
ภาษีการยื่นแบบแตกต่างกัน คือ
กรณีที่ 1 การขายอสังหาริมทรัพย์ ได้มาโดยการซือ้ ขาย แลกเปลี่ยน โดย มิได้ม่งุ
ในทางการค้าหรือหากาไร เมื่อสิน้ ปี ภาษี กฎหมายให้เลือกเสียภาษีเงินได้ โดยผูม้ ีเงินได้ จะ
เลือกเสียภาษี ตามจานวนที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ (เมื่อครัง้ โอนกรรมสิทธิ์ ณ สนง.ที่ดิน) แล้วก็ได้
หรือจะเลือกเสียภาษีโดยนาไปรวมกับเงินได้อ่นื ในการคานวณภาษีประจาปี ก็ได้ ส่วนภาษี ท่ี
ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ มีสิทธินามาเครดิตหักออกจากภาษีท่ีตอ้ งเสียประจาปี
[54]

กรณีที่ 2 การขายอสังหาริมทรัพย์ ได้มาโดยการซือ้ ขาย แลกเปลี่ยน โดย มุ่งในทาง


การค้าหรือหากาไร เมื่อสิน้ ปี ภาษี ผูม้ ีเงินได้จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษี ตามปกติ โดย
คานวณหักค่าใช้จ่ายตามความจาเป็ นและสมควรได้เพียงกรณีเดียวเท่านัน้ ไม่มีสิทธิเลือกเสีย
ภาษี ส่วนภาษี ท่ถี กู หัก ณ ที่จ่ายไว้ มีสิทธินามาเครดิตหักออกจากภาษีท่ตี อ้ งเสียประจาปี
การหักค่าลดหย่อน (มาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร)
“ค่ าลดหย่ อ น” คื อ จานวนเงิ น ที่ ก ฎหมายก าหนดให้หัก ออกจากเงิ น ได้ พึ งประเมิ น
หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็ นการบรรเทาภาระภาษีตามสถานภาพของผู ม้ ีหน้าที่เสี ยภาษี
ของแต่ละคน ซึ่งจะใช้ค่าลดหย่อน สาหรับ การคานวณภาษีตามขั้นตอนที่ 1
สูตรการคานวณภาษีตามขั้นตอนที่ 1 คือ
เงินได้สุทธิ = เงินได้พงึ ประเมิน (เรียนแล้ว) - ค่าใช้จ่าย (เรียนแล้ว) - ค่าลดหย่อน
ค่าลดหย่อน กฎหมายกาหนดให้นามาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย สรุ ปดังนี้
1. ผู้มีเงินได้ หักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท
2. คู่สมรส (ไม่มีเงินได้) หักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท
** คู่สมรสต่ างฝ่ ายต่ างมีเงินได้ หักลดหย่อนรวมกันไม่ เกิน 120,000 บาท
3. บุตร ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท มีหลักเกณฑ์ดงั นี้
3.1) บุตรที่มีสิทธิหักลดหย่ อนได้แก่ บุตรชอบด้วยกฎหมายของผูม้ ีเงินได้หรื อ
ของคู่สมรส และบุตรบุญธรรมของผูม้ ีเงินได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้
(1) เป็ นผูเ้ ยาว์
- อายุไม่ถึง 20 ปี (มาตรา 19 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) หรื อ
- ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (หมายถึง ผูเ้ ยาว์ นอกจากจะบรรลุนิติภาวะโดยอายุครบ 20 ปี
แล้ว ยังบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสด้วย ข้อนี้จึงหมายถึงผูเ้ ยาว์ที่ยงั ไม่บรรลุนิติภาวะ โดยการ
สมรสด้วย)
(2) มีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยูใ่ นมหาวิทยาลัย หรื อ ชั้นอุดมศึกษา
(ระดับอนุปริ ญญาขึ้นไป) รวมถึงการศึกษาในหลักสูตรเนติบณ ั ฑิต หรื อ
(3) บุตรที่ศาลสั่งให้เป็ นคนไร้ความสามารถ หรื อเสมือนไร้ความสามารถ
(4) ไม่มีเงินได้พึงประเมิน ในปี ภาษีที่หกั ลดหย่อนถึง 30,000 บาท และต้องอยู่
ในความอุปการะเลี้ยงดูของผูม้ ีเงินได้
(จานวนเงินได้พึงประเมินนั้น ไม่รวมเงินได้ที่ได้รับยกเว้น ตามมาตรา 42 แห่ง
ประมวลรัษฎากร นัน่ แสดงว่า หากบุตรมีเงินได้แต่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ก็ถือว่าบุตรไม่มีเงิน
ได้ ดังนี้ ผูม้ ีเงินได้นาบุตรมาหักลดหย่อนได้)
[55]

3.2) จานวนเงินที่มีสิทธิหักลดหย่ อน
(1) ผูม้ ีเงินได้สามารถนาบุตรชอบด้วยกฎหมายของตน หรื อบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
คู่สมรสมาหักได้ คนละ 30,000 บาท
(2) บุตรบุญธรรมของผูม้ ีเงินได้คนละ 30,000 บาทแต่รวมกันหักค่าลดหย่อน
ได้ไม่เกิน 3 คน
3.3) จานวนบุตรทีม่ ีสิทธิหักลดหย่อน
กรณี ผมู ้ ีเงินได้มีท้ งั บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม ให้นาบุตรชอบด้วย
กฎหมายทั้งหมดมาหักก่อน แล้วจึงนาบุตรบุญธรรมมาหัก
เว้นแต่ มีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่รวมตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จะนาบุตร
บุญธรรมมาหักอีกไม่ได้ แต่ถา้ บุตรชอบด้วยกฎหมายมีไม่ถึง 3 คน สามารถนาบุตร บุญธรรมมา
หักได้ แต่เมื่อรวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วต้องไม่เกิน 3 คน
Note กรณีท่นี ำบุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อนภาษี ให้ผมู้ เี งินได้ท่จี ด
ทะเบียนรับบุตรมีสทิ ธิ์หกั ลดหย่อนเท่านั้น หากเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรส แม้ผู้มีเงินได้
จะยินยอมให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมก็ไม่มีสทิ ธินำบุตรบุญธรรมของคู่สมรสมาหัก
ลดหย่อนได้ เช่น สามีเป็นผู้มเี งินได้ แม้ภรรยา จะจดทะเบียนรับ ด.ช.จ้อน เป็นบุตรบุญธรรม
โดยสามีมีหนังสือแสดงความยินยอมด้วย แต่สามีไม่ได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
สามี ไม่มสี ทิ ธิ นำบุตรบุญธรรมของภริยา มาหักลดหย่อนภาษีได้
3.4) การนับจานวนบุตร
ให้นบั เฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยูต่ ามลาดับอายุ โดยนับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยูใ่ นเกณฑ์ได้รับ
การลดหย่อนด้วย (บุตรฝาแฝดที่คลอดออกมาก่อนถือเป็ นบุตรที่มีอายุสูงกว่า)
3.5) ให้ หักลดหย่อนได้ ตลอดปี ภาษี ไม่ ว่ากรณีจะหักได้ น้ นั จะมีอยู่ตลอดปี ภาษี
หรื อไม่ เช่ น บุตรพึง่ เกิด ในเดือนธันวาคม แต่ก็สามารถนำบุตรมาหักลดหย่อนในปีภาษีนั้นได้
3.6) กรณีผ้ มู ีเงินได้มิได้ เป็ นผู้อยู่ในประเทศไทย ให้ หักลดหย่อนได้ เฉพาะบุตร
ที่อยู่ในประเทศไทย
3.7) กรณีบตุ รบุญธรรม ต้องมีการจดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งผูใ้ ดจดทะเบียน
รับบุตรบุญธรรม ผูน้ ้ นั จะเป็ นผูม้ ีสิทธิหกั ลดหย่อน เริ่ มหักได้ต้ งั แต่ปีภาษีที่จดทะเบียนรับบุตร
บุญธรรม ส่วนบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายเดิมของบุตรคนนั้น ไม่สามารถหักลดหย่อนได้อีก
ตัวอย่าง
นาย บี เป็นบุตรพึ่งจบการศึกษา ปี 2565 (จบการศึกษาระหว่างปี ) ไม่ได้
ทำงาน บิดาเป็นผู้มเี งินได้ อยากทราบว่าในปีภาษี 2565 สามารถหักค่าลดหย่อนบุตรได้
หรือไม่
คำตอบ : หลักคือ การหักลดหย่อนบุตร สามารถหักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่า
[56]

กรณีทีห่ ักได้นั้น มีอยูต่ ลอดปีภาษีหรือไม่ แต่ห้ามมิให้หักลดหย่อนบุตร ถ้าบุตรมีเงินได้พึง


ประเมินในปีภาษีตงั้ แต่ 30,000 บาทขึน้ ไป และเงินได้นนั้ ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42
แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นกรณีน้ี จึงหักค่าลดหย่อนบุตรได้ 30,000 บาท
NOTE ควรจำ
เริ่มตั้งแต่ ปี 2561 กฎหมายได้เพิม่ จำนวนค่าลดหย่อน สำหรับบุตรชอบด้วย ก.ม. ของผู้มเี งิน
ได้หรือคู่สมรส เฉพาะคนที่ 2 เป็นต้นไปและเกิดตั้งแต่ ปี 2561 เป็นต้นไป ให้หักค่าลดหย่อนได้
เพิม่ อีก 30,000 บาทต่อคน เป็นคนละ 60,000 บาท
จุดต้องจำ..(แม้ว่ามีบุตร คนแรกเสียชีวิต ) ก็ยังคงถือว่า เป็นบุตรคนแรกอยู่ ฉะนัน้
คนที่ 2 เป็นต้นมา หากเกิดตั้งแต่ปี 2561 ก็ให้หกั ได้ 60,000 บาท เป็นต้นไป
สรุปได้ดังนี้
หักค่าลดหย่อน เกิดก่อนปี 2561 เกิดในปี 2561 เป็นต้นไป
สำหรับบุตร
คนแรก ค่าลดหย่อน 30,000 บาท/ คน ค่าลดหย่อน 30,000 บาท/ คน
คนที่ 2 เป็นต้นไป ค่าลดหย่อน 30,000 บาท/ คน ค่าลดหย่อน 60,000 บาท/ คน
แฝด (ท้องแรก) ค่าลดหย่อน 30,000 บาท/ คน ค่าลดหย่อน 30,000 บาท/ คน (แฝดพี่)
ค่าลดหย่อน 60,000 บาท/ คน (แฝดน้อง)
แฝด (ท้องสอง) ค่าลดหย่อน 30,000 บาท/ คน ค่าลดหย่อน 60,000 บาท/ คน
ตัวอย่าง นายสมบูรณ์สมรสกับนางมา มีเงินได้ทั้งคู่ มีบุตร 2 คน คือ
คนที่ 1 เกิดปี 2559 (เสียชีวิตแล้ว)
คนที่ 2 เกิดในปี 2562
ดังนั้น นายสมบูรณ์และนางมา หักค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้คนเดียว ต่างฝ่ายต่าง
หักค่าลดหยอ่นบุตรได้คนละ 60,000 บาท
ตัวอย่าง
1) นาย บี เป็นบุตรพึ่งจบการศึกษา ปี 2562 (จบการศึกษาระหว่างปี ) ไม่ได้ทำงาน
บิดา (มีเงินได้ ) สามารถหักค่าลดหย่อนบุตรได้หรือไม่
คำตอบ : การหักลดหย่อนบุตรให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่หักได้นั้นอยู่ตลอดปี
ภาษีหรือไม่ แต่มิให้หักค่าลดหย่อนบุตรที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีท่ลี ่วงมาตั้งแต่ 30,000 บาท
ขึ้นไป โดยเงินได้นั้นไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กรณีนี้หัก
ค่าลดหย่อนบุตรได้ 30,000 บาท
2) นาย ก อายุ 24 ปี ไม่ได้ศึกษา บิดาหักลดหย่อนบุตรไม่ได้ แต่ถ้า ศึกษาหลักสูตรของ
เนติบัณฑิต หรือเรียนปริญญาโท - เอก อยู่ อันนี้นำไปหักค่าลดหย่อนได้
3) บุตรของนายเคน มีเงินได้จากการรับเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งปี 30,000 บาท
หักลดหย่อนไม่ได้ แต่ถา้ มีเงินได้จำนวน 29,999 บาท นายเคนหักลดหย่อนบุตรได้
[57]

4) การที่บุตรมีเงินได้ แต่มีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณภาษี ถือว่า บุตรไม่มี


เงิน ได้ บิด า/มารดา สามารถนำบุ ต รมาหั กค่า ลดหย่ อ นได้ เช่น บุ ต รอายุ 16 ปี รับ เงิน ปั น ผล
จำนวน 60,000 บาท (ตาม ก.ม.เงินปันผล ถือว่าเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดา ถือว่า บุตรไม่มี
เงินได้ ดังนั้น บิดา/มารดา นำบุตรมาหักค่าลดหย่อนได้
5) บุตรอายุ 24 ปี รับเงินปันผล จำนวน 35,000 บาทจากบริษัทฯ และเรียนปริญญาโท
กรณี นี้หั กค่าลดหย่อนไม่ ได้เพราะบรรลุนิติภาวะแล้ ว เงิน ปั นผลไม่ ถือว่าเป็ นของบิด า/มารดา
แม้ว่าเรียนอยู่ อายุยังไม่เกิน 25 ปี ก็ตาม แต่บุตรมีเงินได้ ตั้งแต่ 30,000 บาท จึงหักไม่ได้
6) สามี/ภรรยา มีเงินได้ทั้งคู่ ต่างฝ่ายต่างหักค่าลดหย่อนบุตรได้ ไม่ต้องแบ่งครึ่งกัน
เช่น นาย ก และ นาง ข มีเงินเดือน มีบุตร อายุ 24 ปี กำลังเรียน ป.เอก และ อายุ 5
ขวบ หักค่าลดหย่อนได้ คือ
นาย ก และนาง ข ต่างฝ่ายต่างหั กค่ าลดหย่อนบุ ต รได้ คนละ 30,000 x 2 คน = 60,000
บาท สรุป นาย ก และ นาง ข ต่างฝ่ายต่างหัก ค่าลดหย่อนบุตรได้ คนละ 60,000 บาท
7) บุตรผูเ้ ยาว์ หักลดหย่อนได้ตลอด แม้ไม่ได้ศึกษา
8) ถ้ามี ลูกคนแรกปี 2561 จะได้ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาท และ ค่าคลอด 60,000
บาท รวมเป็น 90,000 บาท แต่ถา้ หากมีลูกคนที่สองปี 2566 นี้ จะได้ค่าลดหย่อนบุตร คนแรก
30,000 + ค่าลดหย่อนบุตรคนทีส่ อง 60,000 + ค่าคลอดบุตร 60,000 รวมหักค่าลดหย่อน
150,000 บาท
4.ค่าลดหย่อนฝากครรภ์ และคลอดบุตร
หักลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริ งสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้
4.1 ต้องจ่ายเป็ น "ค่าฝากครรภ์" และ "ค่าคลอดบุตร" เช่น
- ค่าตรวจครรภ์ - ค่ารับฝากครรภ์
- คาบาบัดทางการแพทย์ - ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์
- ค่าทาคลอด - ค่ากินอยูใ่ นสถานพยาบาล
- ค่าขูดมดลูก (ถือเป็ นค่าบาบัดทางการแพทย์กรณี แท้งบุตร)
4.2 หักค่าลดหย่อนได้ ตามจานวนที่จ่ายจริ ง สู งสุ ดต่อครรภ์ คือ 60,000 บาท
4.3 ถ้าจ่ายสาหรับการคลอดบุตรคนเดิมแต่จ่ายมากกว่า 1 ปี (ท้องปี นี้ คลอดปี หน้า) ให้
ลดหย่อน ตามจานวนค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในปี นั้น ๆ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
4.4 ใช้สิทธิได้ต้ งั แต่ 1 มกราคม 2561 เป็ นต้นไป
ตัวอย่างการหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์ /ค่าคลอดบุตร
Q1 : ต้นปี 2561จ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 60,000 บาท ปลายปีจ่ายค่าฝากครรภ์บุตรคนที่ 2 อีก
60,000 บาท ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 120,000 บาทใช่ หรือไม่
A1 : ใช้สิทธิแต่ละคราวหรือท้องละไม่เกิน 60,000 บาท ดังนั้น ใช้สิทธิได้ 120,000 บาท
Q2 : หากจ่ายค่าฝากครรภ์ต้นปี 2561 เป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาแท้งบุตรต้องขูดมดลูก
จำนวน 40,000 บาท สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้บุคคลธรรมดาเท่าใด
A2 : ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งค่าฝากครรภ์และค่าขูดมดลูก แต่ไม่เกิน
[58]

60,000
Q3 : ปลายปี 2560 จ่ายค่าฝากครรภ์ จำนวน 35,000 บาท และจ่ายค่าคลอดบุตร
ปลายปี 2561 จำนวน 45,000 บาท สามารถใช้สิทธิลดหย่อนในปี 2561 ได้เท่าใด
A3 : ได้รับสิทธิเฉพาะค่าคลอดบุตร 45,000 บาท เนื่องจากสามารถใช้สิทธิยกเว้นได้เท่าที่จ่ายไป
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561
Q4 : กรณีการยกเว้นค่าคลอดบุตรชาวต่างชาติได้รับสิทธิด้วยหรือไม่
A4 : หากมารดาต่างชาตินั้น ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทย และบุตรมี
ถิ่น ที่อยู่ในประเทศไทย สามารถนำมาใช้สิทธิได้
Q5 : กรณีชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในไทย แต่อยู่ในไทยไม่ถึง 180 วัน จะหักค่าลดหย่อนค่าฝาก
ครรภ์และค่าคลอดบุตร และลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เพิ่ม ได้หรือไม่
A 5: หากชาวต่างชาติ (มารดา) ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทย และบุตรมี
ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สามารถนำมาใช้สิทธิได้
Q6 : มีบุตรคนที่ 1 มาแล้วเกิดเมื่อปีภาษี 2557 และยังมีชีวติ อยู่ และได้ทำการฝากครรภ์เมื่อต้น
ปี 2561 คลอดบุตรปลายปี 2561 จ่ายเงินค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรเอง และเป็นบุตร
แฝด 3 จะได้รับสิทธิลดหย่อนอย่างไร
A6 : กรณีบุตรคนที่ 1 เกิดปี 2557 และได้ทำการฝากครรภ์และคลอดบุตรแฝด 3 คน ในปี 2561
สามารถใช้สิทธิได้ ดังนี้
- บุตรคนที่ 1 - 4 หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
- ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของบุตรแฝด 3 ได้ 60,000 บาท
เพราะถือเป็นคราวเดียวกัน
- ใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนบุตรแฝดคนที่ 2 - 4 ได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท
รวมหักลดหย่อนได้ทั้งสิน้ 270,000 บาท
ตัวอย่างการใช้สิทธิหักลดหย่อนบุตรคนที่ 2
Q1 : นาย A. กับนาง ก.มีบตุ รคนที่ 2 ร่วมกัน (บุตรเกิด เดือนมกราคม 2561) ต่อมาได้มี
การจดทะเบียนหย่าในเดือนมิถุนายน 2561 และนาย A. ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับ นาง ข. เมื่อ
เดือนธันวาคม 2561 (นาง ข. ไม่เคยมีบุตรมาก่อน) โดยต่างฝ่ายต่างมีเงินได้พงึ ประเมิน อยาก
ทราบว่า นาย A. และนาง ข. สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้หรือไม่
A1 : เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ นาย A. ดังนั้น นาย A และนาง ข. จึงสามารถใช้
สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้เพิ่มอีก 30,000 บาท
Q2 : นาย A. กับนาง ข. มีบุตรคนที่ 2 ในปี 2561 และใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ในปี
ภาษี 2561 แล้ว ต่อมาในปี 2562 มิได้มีบุตรเพิ่มแต่อย่างใด อยากทราบว่า ในปีภาษี 2562 ยัง
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาทหรือไม่
A2 : ถือเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้น ในปีภาษี 2562
สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท
[59]

Q3 : การใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เพิ่ม 30,000 บาท การรับบุตรบุญธรรม จะได้รับ


สิทธิหรือไม่
A3 : ไม่ได้รับสิทธิ เนื่องจากบุตรบุญธรรม มิได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้
แนวคาถาม – คาตอบ
คาถาม ที่ 1: สามีมีเงินได้ แต่ภริ ยาไม่มีเงินได้ สามีได้นาภริ ยามาหักค่าลดหย่อน 60,000 บาท
ในฐานะคูส่ มรส บุตรมีเงินได้ได้นามารดามาหักค่าลดหย่อนในฐานะบุพการี อีก 30,000 บาท
กรณี น้ ีสามารถหักค่าลดหย่อนในฐานะคู่สมรสและฐานะมารดาของผูม้ ีเงินได้ ใช่หรื อไม่
คาตอบ : บุตรมีเงินได้สามารถนามารดามาหักค่าลดหย่อนในฐานะบุพการี ได้อีก 30,000 บาท
คาถามที่ 2 : มารดาเป็ นข้าราชการบานาญ แต่บิดาไม่มีเงินได้บุตรสามารถนาบิดามาหัก
ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้หรื อไม่
คาตอบ : บุตรสามารถนาบิดามาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูได้จานวน 30,000 บาท
เนื่องจากบิดาไม่มีเงินได้พึงประเมิน
คาถามที่ 3 : กรณีเป็ นบุตรบุญธรรม สามารถนาบิดามารดาผูร้ ับเป็ นบุตรบุญธรรมมาหัก
ลดหย่อนได้หรื อไม่
คาตอบ : บุตรบุญธรรมไม่สามารถนาบิดามารดาซึ่งเป็ นผูร้ ับบุตรบุญธรรมมาหักลดหย่อนได้
เพราะการหักค่าลดหย่อนนี้ ผมู ้ ีเงินได้ตอ้ งเป็ นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาที่ผมู ้ ีเงิน
ได้ใช้สิทธิหกั ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูเท่านั้น (ไม่รวมบุตรบุญธรรม)
คาถามที่ 4 : กรณีสามีได้ทาการหย่าจากภริ ยาแล้วก่อนที่สามีจะเสี ยชีวิต แต่ปัจจุบนั ภริ ยายังต้อง
เลี้ยงดูมารดาของสามี กรณี น้ ี ลดหย่อนได้หรื อไม่อย่างไร
คาตอบ : 1. กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ ในปี ที่หย่าหรื อเสี ยชีวิต ผูม้ ีเงินได้สามารถหักลดหย่อนค่า
อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของคูส่ มรสได้ คนละ 30,000 บาท
2. ในปี ต่อไป ความเป็ นสามีภริ ยาสิ้ นสุ ดลงด้วยความตายหรื อการหย่า ดังนั้น ภริ ยาไม่มี
สิ ทธิหกั ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของอดีตสามีได้
คาถามที่ 5 :บิดามารดา อายุเกิน 60 ปี มีชื่ออยูใ่ นคณะบุคคล/ห้างหุน้ ส่วนสามัญ และมีรายได้เกิน
30,000 บาท บุตรสามารถหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้หรื อไม่
คาตอบ : กรณีบิดามารดา อายุเกิน 60 ปี มีชื่ออยูใ่ นคณะบุคคล/ห้างหุน้ ส่วนสามัญ บุตร
สามารถนาบิดามารดามาหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้ เว้นแต่ คณะบุคคล/ห้าง
หุน้ ส่วนสามัญ นาเงินได้มาแบ่งกัน ถ้ามีเงินได้เกิน 30,000 บาท ขึ้นไป บุตรไม่สามารถนาบิดา
มารดามาหักลดหย่อนได้
6. ค่ าอุปการะเลีย้ งดูคนพิการหรื อคนทุพพลภาพ
“คนทุพพลภาพ” คือ บุคคลที่มีภาวะจากัดหรื อขาดความสามารถในการประกอบ
กิจวัตรหลักประจาวันเช่นบุคคลทัว่ ไป เพราะมีปัญหาสุขภาพหรื อเจ็บป่ วยต่อเนื่องมาไม่นอ้ ย
[60]

กว่า 180 วันหรื อทุพพลภาพมาไม่นอ้ ยกว่า 180 วัน และมีใบรับรองแพทย์ ที่ออกในปี ภาษีที่ขอ
ใช้สิทธิหกั ลดหย่อน
จุดเน้ น “กรณีการหักลดหย่อนการอุปการะเลี้ยงดูคนพิการและคนทุพพลภาพ”
ผูม้ ีเงินได้ หักค่าลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ตามรายละเอียด ดังนี้
ข้อ 1. ผูม้ ีเงินได้ จะต้องมีความสัมพันธ์กบั กับคนพิการ หรื อคนทุพพลภาพ ดังนี้
(1) เป็ นบิดามารดาของผูม้ ีเงินได้
(2) เป็ นบิดามารดาของสามีหรื อภริ ยาของผูม้ ีเงินได้
(3) เป็ นสามีหรื อภริ ยาของผูม้ ีเงินได้
(4) เป็ นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรื อบุตรบุญธรรมของผูม้ ีเงินได้
(5) เป็ นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรื อภริ ยาของผูม้ ีเงินได้
(6) เป็ นบุคคลอื่นที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กบั ผูม้ ีเงินได้ตาม (1) - (5) แต่ผมู ้ ีเงินได้
เป็ นผูอ้ ุปการะเลี้ยงดู ให้ผมู ้ ีเงินได้หกั ลดหย่อนได้อีก 1 คน
ข้อ 2. หลักเกณฑ์และองค์ประกอบการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ
(1) คนพิการต้องมีบตั รประจาตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริ ม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(2) เป็ นบุคคลที่มีความสัมพันธ์กบั ผูม้ ีเงินได้ตาม ข้อ 1
(3) ผูม้ ีเงินได้เป็ นผูอ้ ุปการะเลี้ยงดูและมีชื่อเป็ นผูด้ ูแลคนพิการในบัตรคนพิการ
(4) คนพิการมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท ในปี ภาษีน้ นั ต้องไม่รวมเงิน
ได้ที่ได้รับยกเว้น (ตาม มาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร)
(5) คนพิการ ซึ่งมีเลขประจาตัวประชาชน 13 หลัก
(6) กรณี คนพิการมีผอู ้ ุปการะเลี้ยงดูหลายคน ผูม้ ีสิทธิหกั ลดหย่อน คือ คนที่มีชื่อ
เป็ นผู้ดูแลในบัตรประจาตัวคนพิการ
ข้อ 3 การรับรองและหลักฐานกรณีคนทุพพลภาพ
- หลักฐานที่แสดงว่าเป็ นคนทุพพลภาพคือ ใบรับรองแพทย์
- หนังสื อรับรองการเป็ นผูอ้ ุปการะเลี้ยงดูคนพิการ ที่รับรองว่าผูม้ ีเงินได้เป็ นผู ้
อุปการะเลี้ยงดู ซึ่งผูร้ ับรองต้องมีความสัมพันธ์กบั คนทุพพลภาพดังนี้
- สามี ภริ ยา
- บุตรชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม หรื อหลาน
- บิดามารดา
- พี่นอ้ งร่ วมบิดามารดาเดียวกัน หรื อร่ วมบิดาหรื อร่ วมมารดาเดียวกัน
- ปู่ ย่าตายาย
- ลุงป้าน้าอา
[61]

หลักฐานในการหักค่าลดหย่อน ต้องแนบกับการยืน่ แบบแสดงรายการเสี ยภาษี


- แบบ ล.ย.04 หนังสื อรับรองการเป็ นผูด้ ูแลคนพิการ
- แบบ ล.ย.04-1 หนังสื อรับรองการเป็ นผูอ้ ุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ
หมายเหตุ ในกรณีที่คนพิการหรือคนทุพพลภาพ อยู่ในฐานะพ่อแม่ -บุตร - คู่
สมรส ของผู้มเี งินได้ ผู้มีเงินได้สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้หลายฐานะ
ตัวอย่าง นายฤาชัย เป็นผูม้ ีเงินได้ มีภรรยาไม่มีเงินได้และเป็นผูพ้ ิการ นายฤาชัย
สามารถ หักค่าลดหย่อนได้ ดังนี้
1) หักค่าลดหย่อน ในฐานะคู่สมรส (ไม่มีเงินได้) 60,000 บาท
2) หักค่าลดหย่อน ในฐานะเป็นผู้ดูแลคนพิการ 60,000 บาท
นายฤาชัย หักค่าลดหย่อนภรรยา ได้ทั้งหมด 120,000 บาท
ตัวอย่าง สามีมีเงินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีอปุ การะเลี้ยงดูคนพิการหรือคน
ทุพพลภาพ 1 คน และภริยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายทีเ่ ป็นคนพิการหรือทุพพล
ภาพ 1 คน สามี หักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท
และมีสทิ ธิหักลดหย่อนบุตรที่ภริยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)
7.กลุ่มเบีย้ ประกันของผู้มีเงินได้
7.1 เบีย้ ประกันชีวิต สาหรับการประกันชีวิตของผูม้ ีเงินได้ กฎหมายกาหนดให้หกั เบี้ย
ประกันชีวิต ดังนี้
ส่ วนที่ 1 หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามจานวนที่จ่ายจริ ง ไม่เกิน 10,000 บาท
ส่ วนที่ 2 หักเสมือนค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท
แต่ไม่เกิน 90,000 บาท
การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งรวมส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 แล้ว หักได้เท่าที่จ่าย
จริ งในปี ภาษีแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
หลักเกณฑ์การประกันชีวิต ที่สามารถหักค่าลดหย่อนได้คือ ต้องเอาประกันกับผู ้
รับประกันที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น และกรมธรรม์ตอ้ งมีอายุต้ งั แต่ 10 ปี ขึ้นไป
กรณีที่คู่สมรสไม่มีเงินได้ ให้หกั ลดหย่อน เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสได้ตามที่จ่ายจริ ง
ไม่เกิน 10,000 บาท
ตัวอย่าง สามีมเี งินได้แต่ภริยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาท ภริยา
จ่ายเบีย้ ประกันชีวิต 100,000 บาท ถ้าความเป็นสามี ภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหัก
ลดหย่อนและยกเว้นภาษี สำหรับผู้มเี งินได้รวม 100,000 บาท และสามีหักลดหย่อนภริยา
10,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนและยกเว้นภาษี
สำหรับผู้มเี งินได้ 100,000 บาทเท่านั้น
7.2 เบีย้ ประกันชีวิตแบบบานาญ
[62]

ให้หกั ค่าลดหย่อนได้ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน (ที่นามาเสี ยภาษีเงิน


ได้ในแต่ละปี ) แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
หลักเกณฑ์คือ ต้องมีความคุม้ ครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไปโดยต้องเอาประกันกับผูร้ ับประกัน
ที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น และจ่ายผลประโยชน์เงินบานาญเมื่อผูม้ ีเงินได้อายุ
ตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปถึงอายุ 85 ปี หรื อกว่านั้นและผูจ้ ่ายเงินได้ตอ้ งจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตครบถ้วน
ก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบานาญ
Note การหักค่าลดหย่อนเบีย้ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ถ้าจ่ายเบีย้ ประกันชีวิตไม่เกิน
100,000 บาท ก็ให้นำไปหักค่าลดหย่อนตามกรณีปกติ คือหักตามส่วนที่ 1 และ ตามส่วนที่ 2
ตามลำดับ แต่ถ้าจ่ายเบีย้ ประกันชีวิตแบบบำนาญเกิน 100,000 บาท จึงใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเบีย้
ประกันชีวติ แบบบำนาญ (ตามส่วนที่ 3) แต่ต้องเข้าเงือ่ นไขคือ หักค่าลดหย่อนได้ในอัตราร้อยละ
15 ของเงินได้พงึ ประเมินทีต่ ้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี
แต่เมื่อรวมกับเงินลงทุนในกองทุนสารองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนบาเหน็จบานาญ
ข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรี ยนเอกชน (กองทุนครู เอกชน)
เบี้ยประกันชีวติ แบบบานาญ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(RMF)และกองทุนรวมเพื่อส่ งเสริ มการออมระยะยาว (SSF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
(วงเงินลดหย่อนเข้ากองทุนเพื่อเกษียณ)
Note ผูม้ ีเงินได้ทำประกันชีวิตให้บุตร ไม่สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนได้
7.3 เบีย้ ประกันสุ ขภาพ (ของผู้มีเงินได้) (เน้ น)
เบี้ยประกันสุ ขภาพ ที่จ่ายให้แก่บริ ษทั ประกันชีวิตหรื อบริ ษทั ประกันวินาศภัยที่
ประกอบกิจการในราชอาณาจักร หักลดหย่อนได้ตามจานวนที่จ่ายจริ งแต่ไม่ เกิน 25,000 บาท
NOTE หากผูม้ ีเงินได้มีท้ งั เบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันสุขภาพ เมื่อนามาหัก
ลดหย่อน รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ตัวอย่าง ในปี 2564 นาย ก ผู้มีเงินได้ เป็นโสด มีค่าลดหย่อน ดังนี้
- เบีย้ ประกันชีวิต จำนวน 90,000 บาท
- เบีย้ ประกันสุขภาพ จำนวน 20,000 บาท
- อุปการะบิดาอายุ 62 ปีมีเงินได้จากการขายล็อตเตอรี จำนวน 35,000 บาท
- อุปการะมารดา อายุ 60 ปี มีเงินได้จากการขายของชำ 30,500 บาท อยาก
ทราบว่า นาย ก สามารถหักค่าลดหย่อนได้เท่าใด
แนวการตอบ
1) ตระกูลเบีย้ ประกัน คือเบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสุขภาพ หักลดหย่อน
รวมกัน 110,000 บาท แต่ ก.ม.ให้หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท
2) เลี้ยงดูบิดา หักได้ 30,000 บาท
(หลักการหักค่าลดหย่อน บิดาคือ อายุตั้งแต่ 60 ปีขนึ้ ไปและเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาท
[63]

เว้นแต่เป็นเงินได้ทีไ่ ด้รบั ยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามโจทย์คือเงินได้จากการขาย


สลากกินแบ่งฯ ซึง่ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถือว่าไม่มเี งินได้ )
3) เลี้ยงดูมารดา หักลดหย่อนไม่ได้ เพราะมีเงินได้เกิน 30,000 บาท
สรุป นาย ก หักลดหย่อนตนเองได้ 60,000 บาท (อย่าลืม ตนเอง) + ตระกูลเบีย้ ประกัน
100,000 บาท + ค่าอุปการะบิดา 30,000 บาท รวม 190,000 บาท
8. เบีย้ ประกันสุ ขภาพบิดา-มารดาของผู้มีเงินได้ และคู่สมรส
ผูม้ ีเงินได้หกั ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุ ขภาพบิดา- มารดาทั้งของตนและคู่สมรส ได้ดงั นี้
1. บิดามารดา ต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาทขึ้นไป
2. ผูม้ ีเงินได้หรื อสามีหรื อภริ ยาของผูม้ ีเงินได้ตอ้ งเป็ นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
(บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิยกเว้นฯ) และใช้สิทธิยกเว้นฯได้ตลอดปี ภาษี
3. ผูม้ ีเงินได้จ่ายค่าเบี้ยประกันสุ ขภาพให้บิดามารดาของตน และบิดามารดาของคู่สมรส
ที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจานวนที่จ่ายจริ งแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
4. ผูม้ ี เงินได้มิได้เป็ นผูอ้ ยู่ในประเทศไทยให้ยกเว้นภาษีเงิ นได้ ได้เฉพาะเบี้ ยประกัน
สุขภาพบิดามารดาที่อยูใ่ นประเทศไทยเท่านั้น
5. กรมธรรม์ใดมีการจ่ายเบี้ยประกันจากบุตรผูม้ ีเงินได้หลายคน ให้ใช้สิทธิ ยกเว้น ได้
หมด โดยเฉลี่ยเบี้ยประกันตามส่วนจานวนบุตรผูม้ ีเงินได้ร่วมกันจ่ายจริ งแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
9. เงินสะสมที่จ่ายเข้ ากองทุนการออมเพื่อการเกษียณ ที่นามาหักลดหย่อนภาษีได้ มีดงั นี้
9.1 เบีย้ ประกันชีวิตแบบบานาญ
ให้หัก ค่าลดหย่อนได้ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึ งประเมิ น (ที่ นามาเสี ยภาษี ) แต่ไม่เกิ น
200,000 บาทต่อปี (ซึ่งกล่าวไปแล้ว ในหัวข้อ 7.2)
9.2 กองทุนสารองเลีย้ งชีพ (PVD)
หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่นามาเสี ยภาษี แต่ไม่เกิน 500,000
บาทต่อปี
(อธิบายว่า จำนวนเงินสะสมจะอยู่ในส่วนของค่าลดหย่อน 10,000 บาท สำหรับส่วนที่
เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาทจะอยู่ในส่วนเงินที่ได้รับยกเว้น ซึ่งนำไปหักออกจาก
ค่าจ้างก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) (สรุปคือ หักลดหย่อนได้ ไม่เกิน 500,000 บาท)
ในกรณีคู่สมรสของผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมฯ และความเป็น สามีภริยาได้มีอยู่ตลอด
ปีภาษีให้หักลดหย่อนได้ตามเกณฑ์เดียวกัน
9.3 กองทุนบาเหน็จบานาญข้าราชการ (กบข.)
ให้หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่นามาเสี ยภาษี แต่ไม่เกิน
500,000 บาทต่อปี
9.4 กองทุนสงเคราะห์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน(กองทุนครู เอกชน)
[64]

ให้หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่นามาเสี ยภาษี แต่ไม่เกิน


500,000 บาทต่อปี
9.5 กองทุนรวมเพื่อการเลีย้ งชีพ (Retirement Mutual Fund หรื อ RMF)
ตั้งแต่ปี 2563 สามารถนาเงินออมใน RMF มาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้พึง
ประเมินที่ตอ้ งเสี ยภาษี ตามที่จ่ายจริ งสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยง
ชีพ หรื อ RMF มีเงื่อนเพิม่ เติม คือ
- ต้องซื้อต่อเนื่องกันทุกปี (หรื ออย่างน้อยปี เว้นปี ห้ามเกินนั้น)
- ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไว้ไม่นอ้ ยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงจะ
สามารถขายได้ เว้นแต่ตาย หรื อทุพพลภาพ ถ้าขายก่อน จะไม่ได้รับการลดหย่อน ต้องยื่นแบบ
เพื่อปรับปรุ งใหม่
9.6 กองทุนการออมแห่ งชาติ (กอช.)
เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติจ่ายเป็ นเงินสะสม เข้ากองทุนการออมแห่งชาติตาม
กฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ ตามจานวนที่จ่ายจริ งแต่ไม่เกิน 500,000 บาท สาหรับปี
ภาษีน้ นั แต่ปัจจุบนั กองทุนการออมแห่ งชาติ ให้ออมได้ท้ งั ปี สู งสุ ดไม่เกิน 13,200 บาท ผลคือ
นามาหักค่าลดหย่อนได้จริ งสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท/ปี
9.7 กองทุนรวมเพื่อส่ งเสริมการออมระยะยาว (Super Savings Fund หรื อ SSF)
ตั้งแต่ปี 2563 เป็ นต้นไป สามารถนาเงินออมใน SSF มาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงิน
ได้พึงประเมินที่ตอ้ งเสี ยภาษี ตามที่จ่ายจริ งสูงสุดไม่เกินจานวน 200,000 บาท
มีหลักคือ ต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี (นับวันชนวัน) ห้ามขายก่อนครบกาหนด ถ้า
ขายก่อน ถือว่าทาผิดเงื่อนไขลดหย่อนภาษี และต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้น
(จุ ด เน้ น ) ค่า ลดหย่ อ น ในข้ อ (1) – (7) ถือ เป็ น เงิน สะสมในกลุ่ ม เพื่ อ คนเกษี ย ณ เมื่ อ
รวมกัน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
10. ลดหย่อนค่าลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม (จุดเน้ น กม.ใหม่ พ.ย. 2564)
สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ท างภาษี เกิ ด เมื่ อ วิ ส าหกิ จ เพื่ อ สั ง คมมี ว ัต ถุ ป ระสงค์ท างสั งคมเป็ น
เป้าหมายหลักของกิจการ
โดยขอใช้สิทธิได้ในปี ที่กิจการนั้นจดทะเบียนเป็ นวิสาหกิจเพื่อสังคม หมายความว่า
หากกิจการจัดตั้งขึ้นในปี 2564 โดยมีวตั ถุประสงค์ทางสังคมเป็ นเป้าหมายหลักของกิจการ และ
จดทะเบียนเป็ นวิสาหกิจเพื่อสังคม บุคคลธรรมดาสามารถนามาหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000
บาท แต่สาหรับการลงทุนในปี แรกเท่านั้น ที่สามารถนามาหักลดหย่อนได้
11. ดอกเบีย้ กู้ยืมเพื่อซื้อ เช่ าซื้อ หรื อสร้ างอาคารอยู่อาศัย
โดยจานองอาคารที่ซ้ื อหรื อสร้างเป็ นประกันการกูย้ ืม หักค่าลดหย่อนตามจานวนเท่าที่
จ่ ายจริ ง แต่ไ ม่ เกิ น 100,000 บาท (อยู่ใ นส่ วนของค่ าลดหย่อ น 10,000 บาท และเงิ น ยกเว้น
90,000 บาท) ซึ่งต้องเป็ นดอกเบี้ยเงินกูย้ มื สาหรับการกูย้ มื จาก
[65]

(1) ผู้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรดังต่อไปนี้
(ก) ธนาคาร
(ข) บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ เงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(ค) บริษัทประกันชีวิต
(ง) สหกรณ์
(จ) นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรร ไว้เพื่อสวัสดิการแก่ลูกจ้าง
(ฉ) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตามกฎหมาย ว่าด้วยบรรษัทตลาดรอง
สินเชือ่ ที่อยู่อาศัย
(2) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาใน ระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
(3) กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่ จัดตั้งขึน้ ตามกฎหมายว่าด้วย
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(4) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ คือ ล.ย.02 (หนั งสื อ
รับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืม) ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
• กรณีผมู้ ีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ให้หักลดหย่อน และ ยกเว้นภาษีได้ทุกคนโดยเฉลี่ย
ค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้แต่รวมกันไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน
100,000 บาท
• กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ ฝ่ายเดียวให้ หักลดหย่อนและ
ยกเว้นภาษีสำหรับผูม้ ีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
• กรณีผู้มีเงินได้มสี ิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นภาษี อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาสมรสกัน ให้ต่าง
ฝ่ายต่างหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีของตน ตามจำนวนทีจ่ ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้
ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
ตัวอย่าง
สามีภริยามีเงินได้ทงั้ 2 ฝ่าย และมีสิทธิหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีอยู่กอ่ น ต่อมาสมรส
กัน สามีและภริยาหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้ คนละ 100,000 บาท
• กรณีสามีภริยามีเงินได้ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างฝ่ายต่างกู้ยืมใน ระหว่างสมรสให้ตา่ งฝ่ายต่างหัก
ลดหย่อนและยกเว้นภาษี สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
100,000 บาท ทั้งนีไ้ ม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
• กรณี สามีภ ริย ามีเงิน ได้ทั้ง 2 ฝ่าย และร่วมกันกู้ยืม ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อ นและ
ยกเว้นภาษีดอกเบี้ ยเงินกู้ยืมได้ก่ึงหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง (คนละ ไม่เกิน 50,000 บาท เมื่ อ
รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท ไม่ว่าความเป็น สามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
[66]

ตัวอย่าง สามีภริยามีเงินได้ทงั้ 2 ฝ่าย ถ้าสามีภริยา ร่วมกันกูย้ ืมและจ่ายดอกเบีย้ เงินกูย้ ืม


เป็ นจำนวน 100,000 บาท สามี หักลดหย่อนและยกเว้น ภาษีได้ สูงสุด 50,000 บาท ภริยาหั ก
ลดหย่อนและยกเว้นภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท
อย่าลืม!! การใช้สิทธิจะซื้อบ้านกี่หลังก็ได้ แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย รวมกั น
แล้วนต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อ 1 คน
13. เงินสะสมเข้ ากองทุนประกันสังคม หลักการคือหักได้ตามจานวนที่จ่ายจริ ง แต่ไม่
เกิน 500,000 บาท แต่ความจริ งคือ สนง.ประกันสังคม กาหนดให้จ่ายสูงสุด เพียงปี ละ 9,000
บาท เป็ นผลให้นามาหักลดหย่อนภาษีได้จริ ง เพียง ปี ละไม่เกิน 9,000 บาทเท่านั้นแต่สาหรับปี
ภาษี 2565 สามารถหักลดหย่อนได้สูงสุดเพียง 6,300 บาท เท่านั้น
Note ในปีภาษี 2565 มีการปรับลดเงินประกันสังคม เนือ่ งจาก Covid 19 ทำให้มกี ารปรับลด
อัตราเงินนำส่งประกันสังคม
14.เงินที่บริจาคแก่พรรคการเมือง หรื อเงิน ทรัพย์สินหรื อประโยชน์ อื่นใดที่ให้ เพื่อ
สนับสนุนการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง ตามจานวนที่จ่ายจริ งแต่รวมกันไม่เกิน
10,000 บาท มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) การบริ จาคเงินให้แก่พรรคการเมือง สามารถ กระทาได้ตลอดปี ภาษี แต่ถา้ เป็ นการ
สนับสนุ นการจัดกิ จกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง หมายถึง การสนับสนุ นเงิน ทรัพย์สิน
หรื อประโยชน์อื่นใด ให้แก่พรรคการเมือง ผูม้ ีเงินได้สามารถกระทาได้ในช่วงระยะเวลาที่พรรค
การเมืองจัดกิจกรรมระดมทุนเท่านั้น
(2) ผูม้ ีเงินได้มีสิทธิหกั ลดหย่อน ได้ไม่จากัดจานวนพรรค แต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท
(3) ประเภทของทรัพย์สิน และการคานวณมูลค่าของทรัพย์สิน ที่ ให้เพื่อสนับสนุ นการ
จัดกิจกรรมระดมทุน ต้องเป็ นไปเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1) อสังหาริ มทรัพย์ที่ต้ งั อยูใ่ นประเทศไทย การคานวณมูลค่าให้ถือตามราคาประเมินทุน
ทรัพย์ของกรมที่ดิน ซึ่งเป็ นราคาที่ใช้อยูใ่ นวันที่มีการโอนนั้น
2) ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน ดังต่อไปนี้
(ก) รถยนต์หรื อรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย
คำนวณมูลค่า โดยใช้ราคาประเมินราคาสำหรับปิดอากรแสตมป์ในการโอนกรรมสิทธิ์
(ข) เรื อหรื อเครื่ องบิน การคำนวณมูลค่าให้ใช้ราคาประเมิน ที่ประเมินโดยบุคคลหรือ
หน่วยงานที่เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพทีเ่ กี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินนั้น
3) ทรัพย์สินอื่นหรื อสิ นค้า
(ก) ทรัพย์สินอื่นต้องเป็นทรัพย์สินที่ซ้ือมาในปีเดียวกับปีภาษีที่ ใช้สิทธิหักลดหย่อน
และถือมูลค่าตามหลักฐานการได้มาแต่ไม่เกินราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ให้ทรัพย์สิน
(ข) สินค้าไม่ ว่าเป็นสินค้าที่ผลิต เองหรือซื้อมาเพื่อขาย ให้ถือเอามูล ค่ าต้นทุ นของ
สินค้าที่มีหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้มาหักลดหย่อน แต่ต้องไม่เกินราคาในวันที่ให้สินค้า
[67]

(4) ประโยชน์อื่นใดที่ให้เพื่อสนับสนุ นการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมืองต้อง


เป็ นประโยชน์อื่นใดที่เป็ นการให้บริ การที่เกี่ ยวเนื่ องโดยตรงกับการจัดกิ จกรรมระดมทุนของ
พรรคการเมือง ดังต่อไปนี้
1) การให้บริการเช่าหรือใช้พ้ืนทีอ่ าคารหรือสถานที่ใด ๆ
2) การให้บริการใช้ยานพาหนะ
การคำนวณมูลค่าของประโยชน์อื่นใด ให้ถือราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่พรรคการเมือ ง
ได้ใช้บริการนั้น
15. ค่าซื้อสินค้าหรื อค่าบริการ ช้ อปดีมีคืน ปี 2566 (จุดเน้ น - จาให้ ได้ )
มาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” ผูม้ ีเงินได้ซ่ ึ งมีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่
รวมถึ ง ห้ า งหุ้ น ส่ ว นสามัญ หรื อคณะบุ ค คลที่ มิ ใ ช่ นิ ติ บุ ค คล หั ก ลดหย่อ นค่ า ซื้ อ สิ น ค้า หรื อ
ค่าบริ การเท่าที่ได้จ่ายเป็ นค่าซื้ อสิ นค้าหรื อค่าบริ การสาหรับการซื้ อสิ นค้าหรื อการรับบริ การใน
ราชอาณาจักร ตั้งแต่วนั ที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามจานวนที่จ่ายจริ ง แต่
ไม่เกิน 40,000 บาท
ผูใ้ ช้สิทธิประโยชน์มาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” คือ บุคคลธรรมดาเท่ านั้น ไม่ รวม
ห้ างหุ้นส่ วนสามัญหรื อคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล
การให้หกั ลดหย่อนค่าซื้อสิ นค้าหรื อค่าบริ การ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) ก าหนดให้ผูม้ ี เงิ น ได้ซ่ ึ งมี ห น้าที่ เสี ยภาษี เงิ น ได้บุ คคลธรรมดา แต่ ไม่ รวมถึ งห้ า ง
หุ้นส่ วนสามัญหรื อคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหักลดหย่อนค่าซื้ อสิ นค้าหรื อค่าบริ การเท่าที่ได้
จ่ายเป็ นค่าซื้ อสิ นค้าหรื อค่ าบริ ก ารในราชอาณาจัก ร ตั้งแต่วนั ที่ 1 มกราคม 2566 ถึ งวันที่ 15
กุมภาพันธ์2566 (จุดเน้น) ตามจานวนที่จ่ายจริ ง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยแบ่งเป็ น
1.1) ค่าซื้ อสิ นค้าหรื อค่าบริ การ จานวนไม่เกิน 30,000 บาท จะต้องมีใบกากับภาษีเต็ม
รู ปในรู ปแบบกระดาษหรื อใบกากับภาษีเต็มรู ปในรู ปแบบอิเล็กทรอนิ กส์ ผ่านระบบใบกากับภาษี
อิ เล็ก ทรอนิ ก ส์ และใบรับ อิ เล็ก ทรอนิ ก ส์ ( e-Tax Invoice & e-Receipt) และ e-Tax Invoice by
Email และ
1.2) ค่าซื้ อสิ นค้าหรื อค่าบริ การ จานวนไม่เกิน 10,000 บาท จากส่ วนที่เกิน ข้อ 1.1)
จะต้องมีใบกากับ ภาษี เต็มรู ปในรู ปแบบอิเล็กทรอนิ กส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt
ของกรมสรรพากรเท่านั้น
2) หลักเกณฑ์การซื้อ คือ
2.1) ค่าสิ นค้าหรื อค่าบริ การ ไม่รวมถึง
2.1.1) ค่าซื้อสุ รา เบียร์และไวน์
2.1.2) ค่าซื้อยาสูบ
2.1.3) ค่าซื้อรถยนต์รถจักรยานยนต์และเรื อ
2.1.4) ค่าซื้อหนังสื อพิมพ์และนิตยสาร
[68]

2.1.5) ค่าบริ การหนังสื อพิมพ์และนิตยสารที่อยูใ่ นรู ปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
2.1.6) ค่าบริ การจัดนาเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผปู ้ ระกอบธุ รกิจนาเที่ยวตามกฎหมายว่า
ด้วยธุรกิจนาเที่ยวและมัคคุเทศก์
2.1.7) ค่าที่พกั ในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผปู ้ ระกอบธุรกิจโรงแรม
2.1.8) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ าประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริ การสัญญาณ
โทรศัพท์ค่าบริ การสัญญาณอินเทอร์เน็ต
2.1.9) ค่าบริ การที่มีขอ้ ตกลงการให้บริ การและผูร้ ับบริ การสามารถใช้
บริ การดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กาหนดในข้อ 1) เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
2.1.10) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
2.2) ผูม้ ีเงินได้ตอ้ งจ่ายค่าซื้อสิ นค้าหรื อค่าบริ การให้แก่ผปู ้ ระกอบการจด
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ได้รับใบกากับภาษีเต็มรู ปตามมาตรา 86/4 แห่ งประมวลรัษฎากร
เว้น แต่ ค่ าซื้ อ สิ น ค้าหรื อ ค่ าบริ ก าร ดัง ต่ อไปนี้ จะจ่ ายให้ แก่ ผู ม้ ิ ใ ช่ ผูป้ ระกอบการจดทะเบี ย น
ภาษีมูลค่าเพิม่ ก็ได้
2.2.1) ค่าซื้อหนังสื อ
2.2.2) ค่าบริ การหนังสื อที่อยูใ่ นรู ปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผา่ น
ระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
2.2.3) ค่าซื้อสิ นค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็ นสิ นค้าที่
ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
กรณี ซ้ือสิ นค้าหรื อรับบริ การตาม 2.2.1) - 2.2.3) จากผูม้ ิใช่ผปู ้ ระกอบการจด
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สาหรับจานวนไม่เกิน 30,000 บาท ตาม 1.1) ต้องได้รับใบรับตามมาตรา
105 แห่งประมวลรัษฎากรในรู ปแบบกระดาษหรื อใบรับอิเล็กทรอนิกส์(e-Receipt) ส่ วนจานวน
ไม่เกิน 10,000 บาท ตาม 1.2) ต้องได้รับใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรู ปแบบ
ใบรับอิเล็กทรอนิกส์(e-Receipt) เท่านั้น
ค่าซื้ อสิ นค้าหรื อค่ าบริ การที่ สามารถนามาหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ ได้ คือ ค่าซื้ อ
สิ นค้าและค่าบริ การทุกประเภทที่ซ้ือจากผูป้ ระกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถนามา
หักลดหย่อนตามมาตรการนี้ได้ ยกเว้นค่าซื้อสิ นค้าหรื อค่าบริ การ (จุดเน้น) ดังต่อไปนี้
1.1) ค่าซื้อสุ รา เบียร์และไวน์
1.2) ค่าซื้อยาสู บ
1.3) ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรื อ
1.4) ค่าซื้อหนังสื อพิมพ์และนิตยสาร
1.5) ค่าบริ การหนังสื อพิมพ์และนิตยสารที่อยูใ่ นรู ปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน
ระบบอินเทอร์เน็ต
[69]

1.6) ค่าบริ การจัดนาเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผปู ้ ระกอบธุรกิจนาเที่ยว


1.7) ค่าที่พกั ในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผปู ้ ระกอบธุรกิจโรงแรม
1.8) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ าประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริ การสัญญาณโทรศัพท์ค่าบริ การ
สัญญาณอินเทอร์เน็ต
1.9) ค่าบริ การที่มีขอ้ ตกลงการให้บริ การและผูร้ ับบริ การสามารถใช้บริ การดังกล่าว
นอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กาหนด (1 มกราคม 2566 ถึงวันที่15 กุมภาพันธ์
2566) เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
1.10) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
2) ผู ้มี เงิ น ได้ต้อ งจ่ า ยค่ า ซื้ อ สิ น ค้า หรื อ ค่ า บริ ก ารให้ แ ก่ ผู ้ป ระกอบการจดทะเบี ย น
ภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกากับภาษีเต็มรู ปตามมาตรา 86/4 แห่ งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ค่า
ซื้ อสิ นค้าหรื อค่าบริ การดังต่อไปนี้ จะจ่ายให้แก่ผมู ้ ิใช่ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็
ได้
2.1) ค่าซื้อหนังสื อ
2.2) ค่าบริ การหนังสื อที่อยูใ่ นรู ปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
2.3) ค่าซื้ อสิ นค้าหนึ่ งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนา
ชุมชนแล้ว
หลักฐานในการใช้สิทธิ์หกั ลดหย่อน คือ
คือ ใบกากับภาษีแบบเต็มรู ปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร (ใบกากับ
ภาษีที่ มีขอ้ ความระบุชื่อและที่ อยู่ของผูซ้ ้ื อสิ นค้าหรื อผูร้ ับบริ ก าร) เว้ นแต่ สิ นค้าหรื อบริ การ
ดังต่อไปนี้ ที่ซ้ื อมาจากผูป้ ระกอบการที่ ไม่ เป็ นผูป้ ระกอบการจดทะเบี ยนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องมี
หลักฐานใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรพร้อมระบุชื่อและ
นามสกุลของผูม้ ีเงินได้
1) หนังสื อ
2) หนังสื อที่อยูใ่ นรู ปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผา่ นระบบอินเทอร์ เน็ต (e-Book)
3) สิ นค้าหนึ่ งตาบลหนึ่ งผลิตภัณฑ์(OTOP) ซึ่ งเป็ นสิ นค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการ
พัฒนาชุมชนแล้ว
16. ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
Note ขอย้อนถึงสูตรคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการคำนวณ ขั้นตอนที่ 1
(จำได้ไหม? ภาษีท่ตี ้องชำระ = (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี
เมือ่ มีค่าบริจาค สูตรจะเปลีย่ น เป็น
ภาษีท่ตี ้องชำระ = (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) – เงินบริจาค x อัตราภาษี
Note การหักเงินบริจาค ไม่ว่าจะหักได้ 2 เท่าของเงินบริจาคหรือ 1 เท่าของเงินบริจาค
จะต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเสมอ
[70]

การหักค่าลดหย่อนเงินบริจาค
สามารถแบ่งเป็นกลุ่มเงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีเป็น 2 กลุม่ คือ กลุ่มที่บริจาคได้ลดหย่อนภาษี 2
เท่า และกลุ่มเงินบริจาคทีล่ ดหย่อนภาษีได้ตามที่จา่ ยจริง
กลุ่มลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง
1. เงินบริจาคเพือ่ สนับสนุนการศึกษา
หักได้ : 2 เท่าของจำนวนทีจ่ ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและ
ค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
เช่ น หากบริจาคเงิน ให้ส ถานศึ กษาที่กระทรวงศึ กษาธิการกำหนด 5,000 บาท ก็จ ะ
สามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่า คือ 10,000 บาท
เงื่อนไข : • ต้องเป็นสถานศึกษาที่ ศธ. กำหนด
• ต้องบริจาคและบันทึกข้อมูลผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น
2. เงินบริจาคให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ
หักได้ : 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่ เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา
แล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พงึ ประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ
เงื่อนไข :เป็นการบริจาคให้สถานพยาบาลของราชการ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการศึกษา
องค์การมหาชน หรือหน่วยงานต่าง ๆและมีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน หรือมีการบันทึกข้อมูลบริจาค
ผ่านระบบ e-Donation
3. เงินบริจาคสนับสนุนการกีฬา
คือการบริจาคเงินให้แก่การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการกีฬาจังหวัดสมาคม
กีฬาแห่งจังหวัดสมาคมกีฬา ที่ใช้คำว่า “แห่งประเทศไทย” หรือกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติท่ี
จัดตั้งขึน้ ตาม กฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทยและกรมพลศึกษา
หักได้ : 2 เท่าของจำนวนที่จา่ ยจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา
แล้วต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พงึ ประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนอื่น ๆ
เงื่อนไข : บริจาคเงินให้หน่วยงานด้านกีฬาที่สั งกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยและมี
หลักฐานใบเสร็จรับเงิน หรือมีการบันทึกข้อมูลบริจาคผ่านระบบ e-Donation
4. เงินบริจาคเพื่อการพัฒนาสังคม
คือการบริจาคให้กับ
- เงินที่จ่ายให้กองทุนพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
- เงินที่จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดตั้งหรือสนับสนุนการดำเนินงาน
ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- เงินที่จ่ายให้แก่โครงการฝึ กอบรมอาชีพและการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัด
แก้ไข ฟื้นฟูและสงเคราะห์เด็กและ เยาวชนของสถานพินิจและคุม้ ครองเด็กและเยาวชน หรือศูนย์
ฝึกและ อบรมเด็กและเยาวชน ในกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม
- เงินทีจ่ ่ายให้แก่กองทุนยุติธรรม
[71]

- เงิน ที่จ่ ายให้ แก่ส ถานศึ กษาของทางราชการ สถานศึ กษา ขององค์การของรัฐบาล


โรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อ ใช้ในการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เพื่อส่งเสริมการอ่าน
- เงินที่จ่ายให้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จาก
สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ตาม
กฎหมายว่าด้วย การส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
หักได้ : 2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาแล้ว
ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้พงึ ประเมินหลังหักค่าใช้จา่ ยและหักลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
“ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ” หรือ e-Donation (จุดเน้น) หมายความว่าระบบที่ใช้
สร้ า งและเก็ บ รั ก ษาข้ อ มู ล การบริ จ าคในรู ป ของข้ อ มู ล อิ เล็ ก ทรอนิ ก ส์ เพื่ อ ใช้ เป็ น หลั ก ฐาน
ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
กลุ่มเงินบริจาคที่ลดหย่อนภาษีได้ตามทีจ่ า่ ยจริง
1. เงินบริจาคทั่วไป
“เงินบริจาคทั่วไป” เป็นเงินที่บริจาคให้แก่ วัดวาอาราม สถานพยาบาล สถานศึกษา
ต่าง ๆ รวมถึงมูลนิธิท่เี ป็นองค์กรสาธารณกุศล ซึ่งตรวจสอบรายชื่อได้ท่ีเวบไซต์กรมสรรพากร
ที่ http://www.rd.go.th/publish/29157.0.html หักลดหย่อนได้ : ตามที่บริจาคจริง แต่ตอ้ งไม่เกิน
10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอืน่
2. เงินบริจาคให้พรรคการเมือง
หักได้ : ตามจำนวนทีบ่ ริจาคจริง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 10,000 บาท
ควรจำสำคัญ
1) การบริจาค บุคคลธรรมดา ต้องบริจาคเป็นเงินเท่านัน้ บริจาคเป็นทรัพย์สิน เช่น
ที่ดินรถยนต์ ฯลฯ นำมาคิดเป็นเงินบริจาคไม่ได้ เว้นแต่ การบริจาคแก่พรรคการเมือง ในส่วนของ
การให้เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง สามารถบริจาคได้ ทัง้ เงิน
ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อนื่ ใด
2) หากคูส่ มรสไม่มีเงินได้ จะไม่สามารถนำเงินที่คู่สมรสบริจาคมาใช้หักค่าลดหย่อนได้
3) กรณีบริจาคเงินร่วมกัน โดยระบุช่อื ทั้งผู้มีเงินได้และคู่สมรส ในใบเสร็จรับเงินบริจาค
แต่ไม่ได้แยกจำนวนเงินไว้ ให้ถอื ว่าบริจาค คนละครึ่ง
4) กรณีบริจาคเงินร่วมกัน โดยระบุช่ือบุคคลหลายคนในใบเสร็จ รับเงินบริจาคแต่ไม่ได้
แยกจำนวนเงินได้ให้ถอื ว่าบริจาคคนละเท่า ๆ กัน
การหักค่าลดหย่อน กรณีไม่ใช่บุคคลธรรมดา มีดังนี้
- การหักลดหย่อน กรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตาย (จุดเน้น)
หักลดหย่อนได้เสมือนมีชีวติ อยู่ตลอดปี ดังนัน้ หากผูท้ ่ถี ึงแก่ความตาย มีค่า
ลดหย่อนใด ตามที่กล่าวมาข้างต้น ก็สามารถนามาหักลดหย่อนได้ เสมือนว่ามีชีวิตอยู่เต็มปี
ภาษี
[72]

- การหักลดหย่อน กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล รวมถึง


วิสาหกิจชุมชุมที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ให้หกั ลดหย่อน สาหรับผูเ้ ป็ นหุน้ ส่วนหรือบุคคลในห้างหุน้ ส่วนหรือคณะบุคคลได้
เฉพาะคนที่อยู่ในประเทศไทยเท่านัน้ โดยหักค่าลดหย่อน ได้คนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้อง
ไม่เกิน 120,000 บาท
- การหักลดหย่อน กรณีกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง หักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท
เกณฑ์เงินได้ท่ตี ้องยืน่ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษี มีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่
กฎหมายกำหนด โดยไม่ได้คำนึงว่า เมื่อคำนวณภาษีแล้ว จะมีภาษีชำระหรือไม่ ดังนี้
(1) บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตาย มีเงินได้พึงประเมิน ดังนี้
ประเภทเงินได้ โสด สมรส (จดทะเบียน)
- เงินได้ ตาม ม.40(1) เพียงประเภทเดียว เกิน 120,000 220,000
- เงินได้ประเภทอื่น เกิน 60,000 120,000
(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติ บุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมิน
เกิน 60,000 บาท
(3) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมิน เกิน 60,000 บาท
(4) วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็น ห้างหุ้นส่วน
สามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล โดยหลักคือ มีเงินได้ เกิน 60,000 บาท มีหน้าที่ยื่นแบบ แต่
ได้รั บ ยกเว้ น เงิ น ได้ ไม่ เกิ น 1,800,000 บาทต่ อ ปี (การยกเว้ น นี้ ขยายเวลาออกไปถึ ง วั น ที่ 31
ธันวาคม 2568) ดังนั้น กรณีวิสาหกิจชุมชนจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อมีเงินได้พึงประเมินเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี
ตัวอย่าง
วิสาหกิจชุ ม ชนกลุ่ม ทอผ้ าไหม มีเงินได้ ทั้งปี 2564 จำนวน 2,000,000 บาท (เกิน 1.8
ล้านบาท) จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีนี้ ต้องนำเงินได้ทั้งจำนวน 2,000,000 บาท
มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และจะต้องจดทะเบียนเป็นผ้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน นับแต่
วันที่เงินได้เกิน 1.8 ล้านบาท (และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ที่เกิน 1.8 ล้านบาทด้วย)
ถ้าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า มีเงินได้ทั้งปี จำนวน 1,800,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้อง
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 เลย
การคานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตามประมวลรัษฎากร กาหนดวิธีการคานวณภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ไว้ 2 ขัน้ ตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 เงินได้พงึ ประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
ภาษีทตี่ ้องชำระ = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1) เงินได้สุทธิ = เงินได้พงึ ประเมิน – ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน- เงินบริจาค (ถ้ามี)

2) ภาษีที่ต้องชำระ = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บคุ คล


ธรรมดา
[73]

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ (บาท) อัตรภาษี (ร้อยละ)
0-150,000* ยกเว้นภาษี
150,001 - 300,000 5
300,001 - 500,000 10
500,001 - 750,000 15
750,001 - 1,000,000 20
1,000,001 - 2,000,000 25
2,000,001 - 5,000,000 30
ตัง้ แต่ 5,000,001 ขึ้นไป 35
หมายเหตุ พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 470 พ.ศ.2551 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท เริม่ ตัง้ แต่ 1 ม.ค.2551
(จุดเน้น) อัตราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา มี 7 ขั้น คือ ร้อยละ 5, 10,15,20,25,30,35
เรียกว่า อัตราก้าวหน้า
ขัน้ ตอนที่ 2
กรณีทีต่ ้องคำนวณตามขัน้ ตอนที่ 2 ได้แก่ กรณีท่มี ีเงินได้พงึ ประเมิน (เฉพาะประเภท
ที่ 2 – 8 (ไม่รวมเงินได้พงึ ประเมินประเภทที่ 1) มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาท ให้คำนวณ
ในอัตราร้อยละ 0.5 ของเงินได้พึงประเมิน หากคำนวณแล้วมีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับ
ยกเว้นภาษี ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 480 พ.ศ.2552

ภาษีที่ต้องชำระ = (เงินได้พงึ ประเมิน ประเภทที่ 2-8) x 0.5%

Note การจะคำนวณตามขั้นตอนที่ 2 ได้ ต้องเป็นเงินได้พงึ ประเมิน ประเภทที่


2 - 8 และมีจำนวนตั้งแต่ 120,000 บาท
สรุป ภาษีที่ต้องชำระ ให้เปรียบเทียบกันระหว่างการคำนวณตามขั้นตอนที่ 1 และ
ขั้นตอนที่ 2 ภาษีใดสูงใช้ตัวนั้น เว้นแต่ การคำนวณตามขั้นตอนที่ 2 มีภาษีไม่เกิน 5,000 บาท
ให้ยกเว้นภาษีและกลับไปเลือกการชำระตามขั้นตอนที่ 1 แม้จำนวนภาษีจะน้อยกว่าก็ตาม
ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตัวอย่างที่ 1 ปี 2563 นาย A มีรายได้จากเงินเดือนทั้งปี 600,000 บาท มีเงินค่ารับเหมา
ก่อสร้าง ทั้งปี 1,300,000 บาท สถานะภาพสมรส แต่ภรรยา ไม่มเี งินได้ มีบุตร 2 คน เกิดใน
ปี 2558 และ ปี 2559 จ่ายค่าประกันสังคมไป 9,000 บาท, มีบิดาที่ต้องดูแล อายุ 63 ปี มี
เงินได้จากจากการขายของชำ จำนวน 30,000 บาท, ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม RMF
50,000 บาท นาย A ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร (เลือกหัก คชจ.อัตราเหมา)
[74]

วิธที ำ
ขั้นตอนที่ 1 คานวณภาษีตามวิธีท่ี 1

เงินได้สุทธิ = เงินได้พงึ ประเมิน - ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

จานวนภาษี = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

➢ นำเงินได้พึงประเมิน มาหักค่าใช้จ่าย (เงินได้จากการรับเหมา ประสงค์หกั ค่าใช้จ่ายเหมา)


1) เงินเดือน 600,000
หัก คชจ.50% ของเงินได้ 100,000
(แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)
คงเหลือ 500,000
2) เงินได้จากการรับเหมา 1,300,000
หัก คชจ.60% ของเงินได้ 780,000
คงเหลือ 520,000
เงินได้หลังหัก คชจ.คงเหลือ 1,020,000....(1)
➢ นา เงินได้หลังหัก คชจ.มาหัก ค่าลดหย่อน
- หักค่าลดหย่อน - ส่ วนตัว 60,000
- หักค่าลดหย่อน - คู่สมรส 60,000
- หักค่าลดหย่อน - บุตร 2 คน 60,000
- หักค่าประกันสังคม 9,000
- หักค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา 30,000
- หักค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF 50,000
(ปี 2563 ซือ้ ได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พงึ ประเมิน)
รวมค่าลดหย่อน 269,000 …(2)
เงินได้สุทธิ 751,000 …(3)
มาจาก (1) - (2) = 1,020,000 - 269,000
➢ จานวนภาษีที่ตอ้ งชาระ = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี ดังนี้
เงินได้สุทธิ (บาท) อัตรภาษี (ร้อยละ)
0-150,000* ยกเว้นภาษี
150,001 - 300,000 5
300,001 - 500,000 10
500,001 - 750,000 15
750,001 - 1,000,000 20
1,000,001 - 2,000,000 25
2,000,001 - 5,000,000 30
[75]

ตั้งแต่ 5,000,001 ขึน้ ไป 35


อัตราภาษี 7 ขั้น ดังนี้
ขัน้ 1 - เงินได้สทุ ธิ 0 - 150,000 ยกเว้นภาษี
- เงินได้สทุ ธิ 150,001 - 300,000 อัตราภาษี 5% ภาษีสงู สุดขัน้ นีค้ ือ 7,500 บาท
ขัน้ 2 เงินได้สทุ ธิ 300,001 - 500,000 อัตราภาษี 10% ภาษีสงู สุดขัน้ นี ้ คือ 20,000 บาท
ขัน้ 3 เงินได้สทุ ธิ 500,001 - 750,000 อัตราภาษี 15% ภาษีสงู สุดขัน้ นี ้ คือ 37,500 บาท
ขัน้ 4 เงินได้สทุ ธิ 750,001-1,000,000 อัตราภาษี 20 % ภาษีสงู สุดในขัน้ นีค้ ือ 50,000 บาท
ขัน้ 5 เงินได้สทุ ธิ 1,000,001 - 2,000,000 อัตราภาษี 25% ภาษีสงู สุดในขัน้ นีค้ ือ 250,000 บาท
ขัน้ 6 เงินได้สทุ ธิ 2,000,001 - 5,000,000 อัตราภาษี 30% ภาษีสงู สุดในขัน้ นีค้ ือ 900,000 บาท
ขัน้ 7 เงินได้สทุ ธิ 5,000,001 บาทขึน้ ไป อัตราภาษี 35% ภาษีไม่มีจากัด
จากโจทย์ นาย A มีเงินได้สุทธิ จำนวน 751,000 บาท
ภาษีสงู สุดอยู่ในขัน้ 4 แสดงการคานวณได้ดงั นี ้
1) ยกเว้นเงินได้ 150,000 แรก
2) ภาษีขนั้ ที่ 1 ช่วงภาษี 150,000 – 300,000 = 150,000 x 5% = 7,500
3) ภาษีขนั้ ที่ 2 ช่วงภาษี 300,001 - 500,000 = 200,000 x 10% = 20,000
4) ภาษีขนั้ ที่ 3 ช่วงภาษี 500,001 - 750,000 = 250,000 x 15% = 37,500
5) ภาษีขนั้ ที่ 4 ช่วงภาษี 750,001-1,000,000 = 1,000 x อัตราภาษี 20 % = 200
นา ภาษี ทกุ ๆ ขัน้ มารวมกัน = 7,500 + 20,000 + 37,500 + 200 = 65,200 บาท
สรุปภาษีท่ีคำนวณตามขัน้ ตอนที่ 1 คือ = 65,200 บาท
ขั้นตอนที่ 2 คานวณภาษีตามวิธีท่ี 2
จำนวนภาษี = เงินได้พึงประเมิน (ยกเว้น เงินได้ประเภทที่ 1) x ร้อยละ 0.5
กรณีตามโจทย์ นาเฉพาะเงินได้ค่ารับเหมาก่อสร้าง 1,300,000 บาท มาคานวณ ดังนี ้
ภาษีตามขัน้ ตอนที่ 2 = 1,300,000 x 0.5% = 6,500 บาท
สรุป ภาษี ที่ ต้อ งชำระ เที ยบภาษี ที่ ค ำนวณตามวิธีที่ 1 คื อ 65,200 บาท กั บ วิธีที่ 2 คื อ
6,500 บาท นาย A ต้องชำระภาษี จำนวน 65,200 บาท

ตัวอย่างที่ 2 นาย ก มีเงินได้จากการขายวัสดุก่อสร้าง 2,600,000 บาท เงินได้สทุ ธิ


350,000 บาท นาย ก ต้องชาระภาษีเป็ นจานวนเท่าใด
ขัน้ ตอนที่ 1 คานวณภาษีตามวิธีท่ี 1
จานวนภาษี = เงินได้สทุ ธิ x อัตราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
เงินได้สทุ ธิ = 350,000 บาท x อัตราภาษี
ภาษีสงู สุดอยูใ่ นขัน้ 2 แสดงการคานวณได้ดงั นี ้
1) ยกเว้นเงินได้ 150,000 แรก
2) ภาษีขนั้ ที่ 1 ช่วงภาษี 150,000 – 300,000 = 150,000 x 5% = 7,500
[76]

3) ภาษีขนั้ ที่ 2 ช่วงภาษี 300,001 - 500,000 = (350,000-300,000) x 10% = 5,000


ภาษี คือ 12,500 บาท
ขัน้ ตอนที่ 2 คานวณภาษีตามวิธีท่ี 2
จานวนภาษี = เงินได้พึงประเมิน (ยกเว้น เงินได้ประเภทที่ 1 (มาตรา 40 (1)) x ร้อยละ 0.5
เงินได้พงึ ประเมิน 2,600,000 x ร้อยละ 0.5 = 13,000 บาท
สรุปจานวนภาษีท่ีตอ้ งชาระ
เทียบ ภาษี ท่คี านวณตามวิธีท่ี 1 คือ 12,500 บาท กับวิธีท่ี 2 คือ 13,000 บาท
ภาษีท่ี นาย ก ต้องชาระ คือ = 13,000 บาท

ตัวอย่างที่ 3 นาย ก มีเงินได้จากการขายวัสดุก่อสร้าง 1,000,000 บาท เงินได้สุทธิ 210,000 บาท


จงคำนวณภาษี
ขัน้ ตอนที่ 1 คานวณภาษีตามวิธีท่ี 1
จานวนภาษี = เงินได้สทุ ธิ x อัตราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
เงินได้สทุ ธิ = 210,000 บาท x อัตราภาษี
1) ยกเว้นเงินได้ 150,000 แรก
2) ภาษีขนั้ ที่ 1 ช่วงภาษี 150,000 – 300,000 = 210,000 – 150,000 x 5% = 3,000
ภาษี คือ 3,000 บาท
ขัน้ ตอนที่ 2 คานวณภาษีตามวิธีท่ี 2
จานวนภาษี = เงินได้พงึ ประเมิน (ยกเว้น เงินได้ประเภทที่ 1) x ร้อยละ 0.5
เงินได้พงึ ประเมิน 1,000,000 x ร้อยละ 0.5 = 5,000 บาท
สรุปจานวนภาษีท่ตี อ้ งชาระ
เปรียบเทียบภาษีตามวิธีท่ี 1 และ วิธีท่ี 2 ผลคือ วิธีท่ี 2 มากกว่า แต่ชาระภาษีตามวิธีท่ี 2
ไม่ได้เพราะ ไม่เกิน 5,000 บาท ต้องชาระภาษีตามวิธีท่ี 1 คือ 3,000 บาท
การยืน่ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยปกติ มี 2 รอบ คือ
1. "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี" เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้เฉพาะเงินได้
พึงประเมินประเภทที่ 5,6,7 หรือ 8 (ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร) ที่ได้รับ
ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนของปี ไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่ นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
โดยยื่นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กัน ยายน ของปีภาษีนั้น และภาษีที่เสี ยนี้นำไปเป็นเครดิต
หักออกจากภาษีสิ้ น ปี ใช้แบบ ภ.ง.ด. 94 (แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุ คคลธรรมดาครึ่งปี
สำหรับผู้มีเงินได้ตาม มาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร)
2. "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี" เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่
ได้รับทั้งปี โดยยื่นภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคมของปีถัดไป ใช้แบบ ภ.ง.ด.90 ,ภ.ง.ด.
91, ภ.ง.ด.95 (ใช้เฉพาะบางกรณี) ดังนี้
[77]

- แบบ ภ.ง.ด. 90 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้สำหรับผู้ มีเงิน


ได้ที่มีเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40 (1) หรือ ผู้มีเงินได้ มีเงิน
ได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40 (1) ร่วมกับเงินได้ประเภทอื่น
- แบบ ภ.ง.ด. 91 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้สำหรับผู้มีเงิน
ได้จ ากการจ้ างแรงงาน ตามมาตรา 40 (1) แห่ งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว ในปีภ าษีตาม
เกณฑ์ดังต่อไปนี้
* กรณีคนโสด มีเงินได้เกิน 120,000 บาท
** กรณีคสู่ มรส มีเงินได้ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 220,000 บาท
- แบบ ภ.ง.ด. 95 (จุดเน้น) แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนต่าง
ด้าวผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค
- แบบ ภ.ง.ด.93 (จุดเน้น) ใช้ยื่นก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีรอบปกติ
ตัวอย่าง นางสาวบี เป็นพนักงานบัญชี ให้กับ บริษัท สปอร์ตทรานฟอร์ม จำกัด มี
เงินเดือน ทั้งปี 2565 จำนวน 500,000 บาท ไม่มีรายได้อื่น นางสาวบี ต้องยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใด
ANS. แบบ ภ.ง.ด. 91
ตัวอย่าง นางสาวบี เป็นพนักงานบัญชี ให้กับ บริษัท สปอร์ตทรานฟอร์ม จำกัด มี
เงินเดือน ทั้งปี 2565 จำนวน 500,000 บาท มีเงินได้จากการรับตรวจสอบบัญชี ให้กับบุคคลทั่วไป
300,000 บาท นางสาวบี ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใด
ANS. แบบ ภ.ง.ด. 90 (มีเงินเดือน และเงินได้ค่าสอบบัญชี)
ตัวอย่าง ในเดือนตุลาคม 2565 นางสาวบี มีเงินได้จากการให้เช่าอาคารพาณิชย์ โดยรับ
เงินค่าเช่าล่วงหน้า เป็นเงิน 30,000,000 บาท โดยมีระยะเวลาการเช่า 30 ปี ต้องยืน่ แบบแสดง
รายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใด
ANS. แบบ ภ.ง.ด. 93 ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป โดยเฉลี่ยรายได้เป็นปี ๆ ไป
(สำหรับรายได้ค่าเช่าที่รับล่วงหน้า)
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ชื่อย่อ ชื่อเต็ม
ภ.ง.ด. 90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป

ภ.ง.ด. 91 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้าง
แรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว

ภ.ง.ด. 93 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับใช้ยนื่ ก่อนถึง


กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี

ภ.ง.ด. 94 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ตาม


มาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร

ภ.ง.ด. 95 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผูไ้ ด้รับสิทธิลดอัตรา


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
[78]

สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ผู้เสียภาษี สามารถยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ได้ดังนี้
1. สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
2. ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ผู้มีเงินได้(เฉพาะที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครเท่านั้น)
โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนพร้อมแนบเช็ค (ประเภท ข. ค. หรือ ง.) หรือ ใบธนาณัติตาม
จำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระทั้งจำนวน โดยส่งไป
ยัง “กองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร อาคารกรมสรรพากรชั้น 6 เลขที่ 90 ซอย
พหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กทม. 10400 “
การยืน่ แบบทางไปรษณีย์ลงทะเบียน จะต้องยื่นแบบฯและชำระภาษีภายในวัน
สุดท้ายของกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการเท่านั้น โดยกรมสรรพากรจะถือเอาวันที่ลงทะเบียน
ไปรษณีย์เป็นวันรับแบบฯ และชำระภาษี และจะส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นแบบฯ ทางไปรษณีย์
ลงทะเบียน
3. ทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.rd.go.th ในหัวข้อ e – Filing (เน้น) เมื่อยื่นแบบ
ทาง Internet ก็สามารถขอคัดแบบทางอินเทอร์เน็ตได้ โดยเข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร
www.rd.go.th เลือก “ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต” เลือก “บริการสมาชิก”
4. ทาง application ชื่อ “RD Smart Tax Application”(แบบที่สามารถยื่นได้คือ แบบ
ภ.ง.ด.90, ภ.ง.ด.91 , ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.95) (จุดเน้น - เรื่องใหม่ ปี 2565)
5. ทางธนาคารพาณิชย์ไทย
วิธีการชำระภาษี เลือกวิธีการชำระได้ดังนี้
1. ชำระด้วยเงินสด
2.ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้ถือบัตรอิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม)
3.ชำระภาษีโดยใช้เช็คหรือดราฟท์ ซึ่ง เช็ค มี 4 ประเภท ได้แก่
1) เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก.)
2) เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข.)
3) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค.)
4) เช็คที่ผู้มีหน้าทีช่ ำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสัง่ จ่ายและใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง.)
4. ชำระด้วยธนาณัติ
1) ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร
2) ส่งธนาณัตเิ ท่ากับจำนวนเงินภาษีทตี่ ้องชำระไปพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ
ภ.ง.ด.91 (ห้ามหักค่าธรรมเนียมในการส่งธนาณัติ) โดยสั่งจ่าย

การผ่อนชำระภาษี
ตามประมวลรัษฎากร โดยหลักได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีทื่เสียภาษีประเภท ภาษีเงิน
บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิตบิ ุคคล สามารถผ่อนชำระภาษีได้ ภายใต้หลักเกณฑ์ คือ
[79]

ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษี


ได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ

Note ในกรณีที่มิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนด ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะ


ชำระภาษีเป็นรายงวดต่อไป และต้องชำระ ภาษีที่ยังไม่ได้ชำระพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5
ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ

ภาษีเงินได้นิติบุคคล
Corporate Income Tax (CIT)
ภาษีเงินได้ นิติบุคคล เป็นภาษีทางตรง จัดเก็บตามในประมวลรั ษฎากร โดยหลัก
จัดเก็บจากกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการ หรือเนื่องจากการประกอบกิจการของ
บริ ษั ท หรื อ ห้ า งหุ้ น ส่ ว นนิ ติ บุ ค คลในแต่ ล ะรอบระยะเวลาบั ญ ชี (ตามปกติ มี 12 เดื อ น)
นอกจากวิธีการจัดเก็บตามหลัก การดังกล่าวแล้ว ยั งมีก ารจัดเก็บ ภาษี โดยวิธีอื่นอีก เช่น
เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ
ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศหรือเก็บจากการจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นติ ิบุคคล
นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสรุปได้ว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่กิจการดังต่อไปนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตง้ั ขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่
ก. บริษัท จำกัด
ข. บริษัทมหาชน จำกัด
ค. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
จ. กองทุน รวมที่เป็น นิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ตามมาตรา 66 เป็ น ผู้ มี
หน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นับแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป
(อธิบาย กองทุนรวมที่เป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีในกรณีที่กองทุนรวมนั้น ไปลงทุน
ในตราสารหนี้ กำหนดให้ กองทุนรวม ต้องเสียภาษีเฉพาะรายได้ตาม ม.40(ก) เท่านัน้ โดยจะถูก
หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15 เริ่มสำหรับกองทุนรวมที่ลงทุนตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค.2562)
(จุดเน้น)
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงิน
ได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
ก. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย
(มาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
ข. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งใน
ประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
ค.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศ
ไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ (มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร)
[80]

ง. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย
แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
(มาตรา 70)
จ. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย
ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงิน
ประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ
แห่งประมวลรัษฎากร)
ฉ.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทย
โดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศ
ไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)
ช. กองทุน รวมที่เป็ น นิ ติบุ คคล ที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของต่างประเทศ และประกอบ
กิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติ
บุคคล นับแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป (เน้น)
(อธิบาย ให้เสียภาษีในกรณีที่กองทุนรวมนั้น ไปลงทุนในตราสารหนี้ กำหนดให้ กองทุน
รวม ต้องเสียภาษีเฉพาะรายได้ตาม ม.40(ก) เท่านั้น โดยจะถูกหักภาษี ณ ทีจ่ ่าย ในอัตราร้อยละ
15 เริ่มสำหรับกองทุนรวมทีล่ งทุนตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค.2562 เป็นต้นไป)
(3) กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย
ก.รัฐบาลต่างประเทศ
ข. องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
ค.นิติบคุ คลอื่นที่ตงั้ ขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหา
กำไร ระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ
ก. บริษัทกับบริษัท
ข. บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ค. ห้างหุ้นส่วนนิติบคุ คลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ง. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา
จ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ฉ. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนสามัญ
ช. บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับนิตบิ ุคคลอื่น
(5) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรี
ประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
(6) นิติบุคคลอื่น ที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดโดยอนุมัติรฐั มนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
➢ กระทรวง ทบวง กรม
➢ องค์การรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล เช่น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย,การไฟฟ้าลวง
➢ วัด
➢ หอการค้าจังหวัด
➢ พรรคการเมือง
[81]

➢ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
➢ สหกรณ์
➢ สหภาพแรงงาน และสภาองค์การนายจ้าง - ลูกจ้าง ตาม ก.ม.แรงงาน
➢ มหาวิทยาลัยเอกชน โรงเรียนเอกชน (ในระบบ) ไม่รวมถึง โรงเรียนเอกชนนอกระบบ เช่น
รร.กวดวิชาต่าง ๆ
➢ มูลนิธิ สมาคม ที่ รมต.การคลัง ประกาศให้เป็นองค์การสาธารณกุศล
➢ นิติบุคคล บางประเภทที่เข้าลักษณะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบคุ คล ตามประมวลรัษฎากร แต่
ได้รับการยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายอื่น ๆ ได้แก่
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความ
ร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
(2) บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
(3) บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือ
กฎหมายต่าง ประเทศได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นติ ิบุคคลตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปโิ ตรเลียม
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบคุ คลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษี
ซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา
การคำนวณภาษีเงินได้นิตบิ ุคคล
ฐานการคำนวณภาษีเงินได้นิติบคุ คล โดยทั่วไป คือ กำไรสุทธิ แต่ก็มีกิจการบางประเภทหรือ
เงินได้บางประเภทที่ไม่สามารถคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิได้ ดังนั้น จึงต้องกำหนดฐานภาษีเงิน
ได้นิติบุคคล ออกเป็นประเภท เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล
โดยแยกการคำนวณภาษีจากฐานภาษี ดังนี้
(1) การเสียภาษีเงินได้นติ ิบุคคล จาก : ฐานกำไรสุทธิ
(2) การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก : ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย
(3) การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก : ฐานเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
(4) การเสียภาษีเงินได้นติ ิบุคคลจาก:ฐานการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
Note : ควรจำ
การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีอื่น นอกจาก 1 – 4 คือ
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศไม่สามารถคำนวณภาษีจากกำไร
สุทธิได้ อาจขอเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขาย
ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ถ้ายอดรายรับในรอบ
ระยะเวลาบัญชีไม่ปรากฎ อาจประเมินโดยอาศัยเทียบเคียงกับยอดรายรับในรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
ขึ้นไป
(1) การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จาก : ฐานกำไรสุทธิ
ซึ่งผู้จัดทำจะได้อธิบาย ตามหัวข้อต่อไปนี้
1.1 ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกาไรสุทธิ
1.2 กาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบคุ คล
- เงื่อนไขการคานวณกาไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
- เงื่อนไขการคานวณกาไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)
1.3 อัตราภาษีและการคานวณภาษี
1.4 การยื่นแบบแสดงรายการและชาระภาษี
[82]

FLOWCHAT การคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิ
การคานวณรายได้เพื่อเสียภาษี
(1) มีเงื่อนไข คือ
-มาตรา 65 ประเภทรายได้ เกณฑ์รับรู ้รายได้ รายจ่าย ใช้เกณฑ์สิทธิ์ (จุดเน้น)
-มาตรา 65 ทวิ เงื่อนไขในการคานวณกาไร-ขาดทุน สุทธิ
-มาตรา 65 ตรี รายจ่ายต้องห้าม
(2) จานวนภาษีที่ตอ้ งชาระ = ฐานภาษี X อัตราภาษี
ในการเสียภาษีจากฐานกาไรสุทธิ สิ่งที่ตอ้ งคานึงถึง คือ รอบระยะเวลาบัญชี เพราะจะ
เป็ นตัวกาหนดว่า ถึงกาหนดเวลายื่นแบบเสียภาษีแล้วหรือยัง
บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล กาหนดเวลาการเสียภาษี เป็ นรอบระยะเวลาบัญชี ถ้า
นิติบคุ คลนัน้ ต้องเสียภาษี จากฐานกาไรสุทธิ และฐานรายรับก่อนหักรายจ่าย ต้องนาเรื่องรอบ
ระยะเวลาบัญชีมาพิจารณาด้วยเสมอ
รอบระยะเวลาบั ญ ชี ปกติ มี 12 เดื อ น เริ่ม นับ แต่ วัน ที่ จ ดทะเบี ย นนิ ติ บุ ค คล ซึ่งไม่
จาเป็ นต้องเป็ นวันที่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. ของทุกปี เสมอไป แต่ขอเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อให้
ตรงกับวันที่ตามปี ปฏิทินได้ โดยขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร
ทัง้ นี ้ ทัง้ นัน้ รอบระยะเวลาบัญชี อาจน้อยกว่า 12 เดือนก็ได้ คือกรณี (เน้น..สอบบ่อย)
นิติบคุ คล เริ่มตัง้ ใหม่
นิติบคุ คล จดทะเบียนเลิกกัน ถือวันที่จดทะเบียนเลิก เป็ นวันสุดท้ายของรอบ
ระยะเวลาบัญชี หากยังชาระบัญชีไม่เสร็จ ยังต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบคุ คลอยู่
นิติบคุ คล ควบเข้ากัน
ขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ขอต่ออธิบดีกรมสรรพากร
และรอบระยะเวลาบัญชี อาจมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ซึ่งมีกรณีเดียวเท่านั้น คือ การ
ขยายรอบระยะเวลาบัญชี กรณีทนี่ ติ ิบคุ คล เลิกกิจการ และไม่สามารถยืน่ แบบแสดงรายการภาษี
เงินได้นิติบุคคลภายใน 150 วัน นับแต่วนั สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญ ชี ยื่นคาร้องต่ออธิบดี
กรมสรรพากร ขอขยายออกไปอีก 30 วันนับแต่จดทะเบียนเลิก
1.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
(1) บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายไทย
ก. บริษัท จากัด
ข. บริษัทมหาชน จากัด
ค. ห้างหุน้ ส่วน จากัด
ง. ห้างหุน้ ส่วนสามัญจดทะเบียน
[83]

ในกรณี ท่ีบริษัทห้างห้างหุน้ ส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึน้ ตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ใน


หรือนอกประเทศไทย จะต้องนากาไรสุทธิของสาขามารวมกาไรสุทธิของสานักงานใหญ่ เพื่อเสีย
ภาษีเงินได้นิติบคุ คลใน ประเทศไทย ที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศ
(2) บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศ
บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีหน้าที่เสียภาษี
เงินได้นติ ิบคุ คลในประเทศไทย ได้แก่
(ก) บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศและกระทา
กิจการในที่อ่ืนๆ รวมทัง้ ในประเทศไทย ได้แก่
บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว จะต้องนากาไร
สุทธิเฉพาะ ที่ได้จากการกระทากิจการในประเทศไทยมาเสียภาษีเงินได้นติ ิบคุ คล
(ข) บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล ซึ่งตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศมีลกู จ้างหรือ
ผูท้ าการแทน หรือผูท้ าการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็ นเหตุให้ได้รบั เงินได้
หรือผลกาไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบุคคลผูจ้ า้ งเป็ นลูกจ้าง หรือผูท้ าการแทน หรือผูท้ าการติดต่อ
เช่นว่านัน้ ไม่ว่าจะเป็ นบุคคลธรรมดาหรือนิติบคุ คล เป็ นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติ
บุคคล ซึ่งตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศและให้บคุ คลนัน้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ
ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้เฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกาไรดังกล่าว
(3) กิจการซึ่งดาเนินการเป็ นทางการค้าหรือหากาไรโดยรัฐบาลต่างประเทศองค์การ
ของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นทีต่ ้งั ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศ
(4) กิจการร่วมค้า
(5) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (จุดเน้ น)
1.2 กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ให้บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล คานวณจากรายได้จากการประกอบกิจการ
หรือเนื่องจากกิจการที่กระทาในรอบระยะเวลาบัญชี โดยใช้เกณฑ์สิทธิ์ และเสียภาษีเงินได้นิติ
บุคคลจากกาไรสุทธิ ซึ่งคานวณจากรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบ
กิจการที่กระทาในรอบระยะเวลาบัญชี ตามเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในมาตรา 65 ทวิและมาตรา 65 ตรี
แห่งประมวลรัษฎากร
ใช้เกณฑ์สทิ ธิ์ คือ นำรายได้ที่เกิดขึน้ ในรอบระยะเวลาบัญชี แม้ว่าจะยังไม่รับชำระเงิน
จริง มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนนั้ และนำรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้
จะยังมิได้จา่ ยจริง มาคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แต่ก็มีข้อยกเว้นอยูบ่ าง
กรณี (มี 11 ธุรกิจ ) ที่รับเงินจริงค่อยนำมาเป็นรายได้ และดึงรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมาคำนวณหา
กำไรสุทธิ เช่น กิจการประกันชีวติ ปกติใช้เกณฑ์สิทธิ เว้นแต่ การรับชำระเบีย้ ประกัน จะนำมา
รวมคำนวณเป็นรายได้เมือ่ ได้รับชำระเงินเท่านั้น หรือกิจการให้เช่าทรัพย์สนิ ปกติแล้วใช้เกณฑ์
สิทธิ แต่สามารถนำรายได้ค่าเช่าและรายจ่ายที่เกี่ยวข้อง มาคำนวณตามส่วนแห่งระยะเวลาการ
เช่าก็ได้
[84]

รายได้ :ที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นติ ิบุคคล


แยกเป็ น 2 ส่วน คือ
1 ) รายได้จากกิจการ ได้แก่ รายได้จากการดาเนินงานตามวัตถุประสงค์ท่จี ดทะเบียนไว้ต่อ
กระทรวงพาณิชย์
2) รายได้เนื่องจากกิจการ ได้แก่ รายได้ท่มี ิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจตามปกติของ
กิจการ แต่เป็ นรายได้ท่เี กิดขึน้ เนื่องจากมีการดาเนินงานของกิจการ รายได้ประเภทนี ้ อาจไม่
เกิดขึน้ เลยก็ได้แต่ถา้ เกิดขึน้ ต้องนามาคานวณกาไรสุทธิ
เช่น รับจ้างผลิตเฟอร์นิเจอร์ แล้วมีเศษไม้เหลือ ก็นาเศษไม้ไปขาย เงินที่ได้จากการ
ขายไม้ เรียกว่ารายได้เนื่องจากการประกอบกิจการ
รายจ่าย : ที่นามาคานวณกาไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบคุ คล
รายจ่าย ได้แก่ จานวนเงินที่บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลได้จ่ายไป สาหรับกิจการ
ไม่ว่าจะจ่ายไปในการประกอบกิจการเพื่อก่อให้เกิดรายได้โดยตรง เช่น ซือ้ สินค้ามาขาย หรือซือ้
วัตถุดิบมาใช้ในการผลิตสินค้า หรือเกี่ยวกับด้านอื่น ๆ ของกิจการ เช่น รายจ่ายด้านบริหารจัดการ
การแบ่งประเภทรายจ่าย อาจแบ่งเป็ น รายจ่ายที่เป็ นต้นทุนขายสินค้าหรือบริการ รายจ่ายอันมี
ลักษณะเป็ นการลงทุน (รายจ่ายฝ่ ายทุน) และ รายจ่ายในการดาเนินงาน รายจ่ายในการขายการ
บริหาร
สูตรในการหากาไรสุทธิ คือ
รายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากกิจการฯ – รายจ่ายทีเ่ กีย่ วกับการหารายได้
ภาษีท่ตี อ้ งชาระ = กาไรสุทธิทางภาษี X อัตราภาษี
ดังนั้น เมื่อคานวณหากาไรสุ ทธิ ของกิจการแล้ว ซึ่งปกติ จะเป็ นกาไรสุ ทธิทางบัญชี จะยังไม่
สามารถคานวณภาษีได้ จะต้องนากาไรสุ ทธิทางบัญชีไปปรับปรุง ให้ ได้ กาไรสุ ทธิทางภาษีก่อน
จึงจะสามารถคานวณภาษีที่ต้องชาระได้
หมายเหตุ กาไรสุทธิทางบัญชี เป็ นคนละตัวกันกับ กาไรสุทธิทางภาษี
จึงไม่สามารถนากาไรสุทธิทางบัญชี X อัตราภาษี ได้ทนั ที ซึ่งจะต้องนาหลักเกณฑ์ ตาม
ม. 65 ทวิ , ม. 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม) มาคานวณหากาไรสุทธิทางภาษี
1.3 อัตราภาษีและการคำนวณภาษี
(1) กรณีเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยหลักคำนวณจาก ฐานกำไรสุทธิ ดังนี้
อัตราทั่วไป (ไม่ใช่ SME) เสียภาษี ร้อยละ 20 ตั้งแต่กำไรสุทธิบาทแรก
อัตราภาษี สำหรับ SME มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบ
ระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท
ต่อเนื่องกัน ดังนี้
กำไรสุทธิ ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษี
กำไรสุทธิ เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท ภาษี ร้อยละ 15
[85]

กำไรสุทธิ เกิน 3,000,000 บาท ภาษีร้อยละ 20


(2) กรณีเสียภาษีจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอด
รายรับ (หากไม่สามารถคำนวณหากำไรสุทธิได้หรือไม่มีเอกสาร ให้ใช้อัตรานี้ได้)
(3) กรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิ เฉพาะการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ร้อยละ 10
(4) กรณีกิจการสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ให้คำนวณภาษี ร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิจาก
รายได้จากการให้บริการ,ดอกเบี้ยรับและสิทธิ อันเกิดจากผลการวิจัยในประเทศไทย
(Note) ข้อ (2) (3) (4) ควรจำให้ดี ออกข้อสอบบ่อย)
1.4 การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี จากฐานกำไรสุทธิ
ยื่นแบบและชาระภาษีปีละ 2 ครัง้ ดังนี ้
ก. การคานวณเงินได้นิติบคุ คลครึง่ รอบระยะเวลาบัญชี
เป็ นการยื่นแบบภาษี เงินได้นิติบุค คลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี จากประมาณการกาไรสุทธิ หรือ
ขาดทุนสุทธิจากกิจการที่ทาหรือเนื่องจากกิจการที่ทา ให้ย่ืนแบบโดยใช้แบบแสดงรายการภาษีเงิน
ได้บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คล ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร หรือ (แบบ ภ.ง.ด.51)
(1) ในกรณี นิติบุคคล นอกจากที่กล่าวใน (2) ให้จัดทาประมาณการกาไรสุทธิ หรือ
ขาดทุนสุทธิและคานวณภาษีเงินจากจานวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกาไรสุทธินนั้
ตัวอย่าง บริษัท ซียูเอ จำกัด (ไม่ใช่บริษัท จดทะเบียน) ได้ประมาณการกำไรสุทธิ 7,000,000 บาท
บริษัทฯ ต้องเสียภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ ดังนี้
ขั้นที่ 1 ประมาณว่าจะมีกำไรทั้งรอบระยะเวลาบัญชี = 7,000,000 บาท
กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ = 3,500,000 บาท
ขั้นที่ 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3,500,000 x 20% = 700,000 บาท

(2) สาหรับกิจการเหล่านี้ ไม่ต้องจัดทาประมาณการกาไรสุทธิ (ดังเช่นกรณีปกติ)


คือ กิจการที่เป็ นบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคาร
พาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการ
ประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติ
บุคคล ให้คานวณและชาระภาษีจากกาไรสุทธิของรอบระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วนั แรกของรอบ
ระยะเวลาบัญชี ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี
(คือให้นารายได้จริง ๆ มาคานวณเลย ไม่ตอ้ งทาประมาณการ แม้จะเป็ นการยื่นภาษีครึง่ ปี ก็ตาม)
ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 51 ชื่อเต็มคือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลตาม
มาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
หมายเหตุ ภาษีท่ไี ด้จ่ายไปให้ถือเป็ นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้นิติบคุ คลเมื่อสิน้ รอบ
ระยะเวลาบัญชีคือ เอาไปหักออกจากภาษีท่ตี อ้ งเสียจากกาไรสุทธิ
จุดเน้ น กรณีทนี่ ติ บิ คุ คลมีรอบระยะเวลาบัญชีแรกหรือรอบระยะเวลาบัญชีสดุ ท้าย น้อย
กว่า 12 เดือน ไม่ตอ้ งยืน่ แบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้นติ บิ คุ คลครึ่ งรอบระยะเวลาบัญชี
ข.การคานวณเงินได้นิติบุคคลจากกาไรสุทธิ เมื่อสิน้ รอบระยะเวลาบัญชี
[86]

ปกติแล้ว ในการจัดทาบัญชี เมื่อได้ทาบัญชีตามหลักการบัญชีท่วั ไปและตามมาตรฐาน


การบัญชีแล้วจะได้กาไรสุทธิทางบัญชี ต่อมาให้ทาการปรับปรุงกาไรสุทธิตามบัญชี ให้เป็ นกาไร
สุทธิทางภาษี(ตามหลักเกณฑ์ท่บี ญ ั ญัติไว้ในประมวลรัษฎากร ซึ่งหลักๆ คือ มาตรา 65 ทวิ ,
มาตรา 65 ตรี และอื่นๆ)แล้วจึงคานวณภาษีเงินได้นิติบคุ คลจากกาไรสุทธินนั้ คือ นากาไรสุทธิ
คูณด้วยอัตราภาษี(ยืน่ แบบฯ โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.50 ชือ่ เต็มคือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้
บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ภายใน
150 วัน นับแต่วนั สิน้ รอบระยะเวลาบัญชี)
สรุ ปการคานวณภาษีจาก ฐานกาไรสุทธิ

การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีฐานกำไรสุทธิ
(1) แบบ ภ.ง.ด.51 ชื่อเต็ม คือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติ
บุคคล ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เป็ นการเสียภาษีเงินได้นิติบคุ คลจากประมาณการ
กาไรสุทธิ สาหรับครึง่ รอบระยะเวลาบัญชี กาหนดเวลายืน่ ฯ คือภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้าย
ของหกเดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
(2) แบบ ภ.ง.ด.50 ชื่อเต็ม คือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติ
บุคคล ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร เป็ นการเสียภาษีเงินได้นติ บิ คุ คลจาก
กาไรสุทธิ เมือ่ สิน้ รอบระยะเวลาบัญชีกาหนดเวลายืน่ ฯ คือภายใน 150 วันนับแต่วนั สุดท้ายของ
รอบระยะเวลาบัญชี

(2) การเสียภาษีเงินได้นิตบิ ุคคลจาก : รายได้ก่อนหักรายจ่าย


ผู้มีหน้าทีเ่ สียภาษี
(1) กิจการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลต่างประเทศ
(2) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการแล้วมีรายได้
ฐานภาษี
(1) กิจการขนส่ง ระหว่างประเทศของบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลต่างประเทศ
(ก) กรณีรับขนคนโดยสาร รายได้เกิดจากค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่น
ใดทีเ่ รียกเก็บใน ประเทศไทย ก่อนหักรายจ่ายใดๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสารนั้น ให้คำนวณ
ภาษีอัตราภาษีร้อยละ 3
[87]

ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนคนโดยสาร ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงิน
ได้นิติบุคคลให้คำนวณจากมูลค่าของค่าโดยสารที่ได้รับหรือพึงได้รับสำหรับระยะทางจากต้นทาง
ถึงปลายทางตามที่ระบุในตั๋วโดยสาร รวมถึงค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจาก
คนโดยสารอันเนื่องมาจากการให้บริการรับขนคนโดยสาร ไม่ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
นั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมดหรือให้ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
(ข) กรณีรับขนของ รายได้เกิดจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่
เรียกเก็บไม่ว่าใน หรือนอกประเทศก่อนหักรายจ่ายใดๆเนื่องในการรับขนของออกจากประเทศ
ไทยนั้นให้คำนวณภาษีอัตราร้อยละ 3 ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนสินค้าซึ่งต้องนำไปรวม
คำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้คำนวณ จากมูลค่าของค่าระวางที่ได้รับหรือพึงได้รับ สำหรับ
ระยะทางจากต้นทางถึงปลายทางตามที่ระบุ ในแอร์เวย์บิล ในกรณีรับขนสินค้าโดยอากาศยาน
หรือสำหรับระยะทางถึงปลายทางตามที่ระบุในบิลออฟเลดิงในกรณีรับขน สินค้าโดยเรือทะเล
รวมถึงค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บจากผู้รับบริการอันเนื่อง มาจากการ ให้บริการ
รับขนสินค้า ไม่ว่าสายการบินหรือสายการเดินเรือนั้นจะให้บริการรับขนเองทั้งหมด หรือให้
ผู้ประกอบการอื่นรับขนส่งช่วงให้
(2) มูลนิธิหรือสมาคม ที่ประกอบกิจการ มีรายได้
มูลนิธิหรือสมาคมใดมิได้จดทะเบียนการจัดตั้งให้ถูกต้องตามกฎหมายก็จะมีฐานะเป็น
เพียงคณะบุคคล ซึ่งอาจจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เช่น บริษัทจัดตั้งสโมสรสำหรับ
พนักงานเพื่อดำเนินกิจกรรมฉันทนาการสำหรับพนักงาน หรือนักศึกษาจัดตั้งสโมสรหรือชมรม
ต่างๆ โดยไม่ได้ผูกพันกับนิติบุคคลใดโดย เฉพาะ ย่อมมีฐานะเป็นห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่
มิใช่นิติบุคคลซึ่งจะต้องเสียภาษีเงินได้อย่างบุคคลธรรมดาแม้ว่าจะไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าหรือ
เพื่อแบ่งปันกำไรก็ตามรายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลรายได้ที่มูลนิธิ
หรือสมาคมจะต้องเสียภาษีเงินได้รวมถึงรายได้ทุกอย่างไม่ว่าจะได้มาจากทางใดๆ เช่น รายได้จาก
การขายสินค้าและบริการ ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล ฯลฯ
รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบคุ คล ได้แก่
(1) ค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก
(2) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาค
(3) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รบั จากการให้โดยเสน่หา
นอกจากนี ้ ยังมีการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่มลู นิธิหรือสมาคม เฉพาะเงินได้จากกิจการ
โรงเรียนเอกชนซึ่งได้ ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขาย
ของการรับจ้างทาของ หรือการให้บริการอื่นใดที่ โรงเรียนเอกชนซึ่งเป็ นโรงเรียนประเภท
อาชีวศึกษาได้รบั จากผูซ้ ่งึ มิใช่นกั เรียน (มาตรา 5 นว แห่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500)
มูลนิธิและสมาคมต้องเสียภาษีเงินได้นิติบคุ คลในอัตรา ดังนี ้
(1) เงินได้ประเภทที่ 8 เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การ
อุตสาหกรรมการขนส่ง หรือ การอื่นๆ เสียร้อยละ 2 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย
(2) เงินได้อ่นื ๆ นอกจาก (ก) เสียร้อยละ 10 ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย
การคานวณภาษีเงินได้ของมูลนิธิ หรือสมาคม จะต้องคานวณตามรอบระยะเวลาบัญชีดว้ ย
[88]

การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
(1) กิจการขนส่งระหว่างประเทศของบริษัทหรือนิติบคุ คลต่างประเทศ
จะต้องยื่นแบบภายใน 150 วัน นับแต่วนั สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
กิจการนีม้ ิต้องยื่นเสียภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแต่อย่างใด แต่ให้
แบบแสดงรายการที่ใช้ย่นื คือ ภ.ง.ด.52 (ยื่นรอบระยะเวลาบัญชี ละ 1 ครัง้ )
Note แบบ ภ.ง.ด.52 ชือ่ เต็มคือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ
บุคคล เฉพาะกิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) มูลนิธิและสมาคมที่ประกอบกิจการมีรายได้
ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชาระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วนั สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
โดยใช้แบบแสดงรายการ คือ ภ.ง.ด. 55 (ยื่นรอบระยะเวลาบัญชีละ 1 ครัง้ )
Note แบบ ภ.ง.ด.55 ชือ่ เต็มคือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้มลู นิธิหรือสมาคม
ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร
(3) การเสียภาษีเงินได้นิตบิ ุคคลจาก : เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ม.70
การจัดเก็บภาษี ตามมาตรา 70 แหงประมวลรัษฎากร คือสําหรับบริษัทหรือหาง
หุ้นส่วนนิตบิ ุคคลท ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของตางประเทศที่มิไดประกอบกิจการในประเทศไทย
แตมีแหลงเงินไดที่เกิดขึน้ ในประเทศไทยและเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5)
หรือ (6) แหงประมวลรัษฎากร ที่จายจากหรือในประเทศไทย ไมวาบุคคลใดๆ จ่ายก็ตาม ยอม
มีหนาทีเ่ สียภาษีเงินได้นติ บิ ุคคลในประเทศ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นสวนนิตบิ ุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ
ต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา
40(2)(3)(4)(5)หรือ (6) แหงประมวลรัษฎากร ที่จ่ายจากประเทศไทย
ผู้มีหน้าที่หักภาษีและนำส่งภาษี ได้แก่ ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติ
บุคคลในรูปใด ๆ (รัฐบาล มูลนิธิ สมาคมฯ ) รวมทัง้ คณะบุคคล ถ้าเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
ตามมาตราดังกล่าว ให้กับบริษัทหรือนิติบุคคลที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายต่างประเทศมิได้ประกอบ
กิจการในประเทศไทย ย่อมมีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย
เงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(2)(3)(4)(5) หรือ (6) คือ
(1) เงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือ ตาแหน่งงานที่
ทาหรือจากการรับ ทางานให้ (ค่าธรรมเนียมคา้ ประกันเงินกูย้ ืม ในทางปฏิบตั ิถือเป็ นเงินได้พงึ
ประเมินประเภทที่ 8)
(2) เงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิ
อย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลกั ษณะเป็ นเงินรายปี อนั ได้มาจากพินยั กรรม นิติกรรมอย่างอื่นหรือคา
พิพากษาของศาล
(3) เงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(4) ได้แก่เงินได้ท่เี ป็ น
[89]

(ก) ดอกเบีย้ พันธบัตร ดอกเบีย้ เงินฝาก ดอกเบีย้ หุน้ กู้ ดอกเบีย้ ตั๋วเงิน ดอกเบีย้ เงินกู้
ยืมไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตามกรณีได้เงินได้ท่เี ป็ นดอกเบีย้ จากรัฐบาล หรือสถาบันการเงิน
ที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของ ประเทศไทยจัดตัง้ ขึน้ สาหรับให้กยู้ ืมเพื่อส่งเสริม เกษตรกรรม พาณิช
ยกรรมหรืออุตสาหกรรม ไม่ตอ้ งเสียภาษีฐานนี ้
(ข) เงินปั นผล เงินส่วนแบ่งของกาไรหรือประโยชน์อ่ืนใดที่ได้จากบริษัท หรือห้าง
หุน้ ส่วนนิติบคุ คลหรือกองทุนรวม
(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผถู้ ือหุน้ หรือผูเ้ ป็ นหุน้ ส่วนในบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล
(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากาไรและ
เงินที่กนั ไว้รวมกัน
(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลซึ่งตัง้ จากกาไรที่ได้มาหรือเงินที่กนั
ไว้รวมกัน
(ฉ) ผลประโยชน์ท่ไี ด้จากการที่บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลควบเข้ากัน หรือรับช่วง
กัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็ นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
(ช) ผลประโยชน์ท่ีได้จากการโอนการเป็ นหุน้ ส่วน โอนหน่วยลงทุน หรือโอนหุน้ หุน้ กู้
พันธบัตรหรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนีท้ ่บี ริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลหรือนิติบคุ คล
อื่นเป็ นผูอ้ อกรวมทัง้ เงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลที่เป็ น
กองทุนรวม ทัง้ นีเ้ ฉพาะซึ่งตีราคาเป็ นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน”
( แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บงั คับ ตัง้ แต่วนั ที่
20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เป็ นต้นไป )
(ซ) เงินส่วนแบ่งของกาไร หรือผลประโยชน์อ่ืนใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือ
หรือครอบครองโทเคนดิจิทลั
(ฌ) ผลประโยชน์ท่ีได้รบั จากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทลั ทัง้ นี ้ เฉพาะซึ่ง
ตีราคาเป็ นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ใช้บงั คับตัง้ แต่
วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็ นต้นไป )
(4) เงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(5) ได้แก่ เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
การให้เช่าทรัพย์สิน
(5) เงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย
วิธกี ารหักภาษีและอัตราที่ต้องหัก
(1) เงินได้พงึ ประเมินมาตรา 40(2)(3)(4)(5) และ (6) นอกจากเงินได้พงึ ประเมินตาม
มาตรา 40(4)(ข) ให้คานวณภาษีในอัตราร้อยละ 15
ตัวอย่าง ในวันที่ 1 มิถนุ ายน 2552 บริษัท ลายกนก จากัด จ่ายค่านายหน้าให้แก่บริษัท
A ซึ่งตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เป็ นเงิน 50,000
บาท บริษัท ลายกนก จากัด ต้องคานวณหักภาษี ดังนี ้
[90]

เงินได้พงึ ประเมิน (ค่านายหน้า) 50,000 บาท


การคานวณภาษี คือ 50,000 x 15% = 7,500 บาท
เพราะฉะนัน้ ภาษีท่ตี อ้ งหักนาส่งกรมสรรพากร คือ 7,500 บาท ด้วยแบบ ภ.ง.ด.54
(2) เงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(4)(ข) เช่น เงินปั นผล เงินส่วนแบ่งกาไร ฯลฯให้
คานวณหักภาษีในอัตราร้อยละ 10
ตัวอย่าง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2552 บริษัท Atime จากัด จ่ายเงินปั นผลให้กบั บริษัทที่จด
ทะเบียนในต่างประเทศ จานวน 100,000 บาท บริษัทฯ ผูจ้ ่าย ต้องคานวณภาษี ดังนี ้
เงินได้พงึ ประเมิน (เงินปั นผล) 100,000 บาท
การคานวณภาษี คือ 100,000 x 10% = 10,000 บาท
เพราะฉะนัน้ ภาษีท่ตี อ้ งหักนาส่งกรมสรรพากร คือ 10,000 บาท ด้วยแบบ ภ.ง.ด.54
และบริษัท Atime จากัด จะจ่ายเงินให้กบั บริษัทต่างประเทศ จานวน 90,000 บาท
แบบแสดงรายการและกำหนดเวลายื่นแบบ
ผูจ้ ่ายเงินได้ จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.54 และนาส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วนั สิน้
เดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พงึ ประเมิน (ถ้าไม่มี การส่งเงินได้ไปต่างประเทศก็ไม่ตอ้ งยื่น)
** แบบ ภ.ง.ด.54 ชื่อเต็มคือ แบบยื่นรายการนาส่งภาษีเงินได้นติ ิบคุ คล และการจาหน่ายเงิน
กาไรตามมาตรา 70 และตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
จุดเน้น หากเป็นนิติบุคคลไทยไปมีสาขาที่ต่างประเทศ แล้วส่งเงินประเภทที่ 2-6 ไปให้สาขา
กรณีนี้ไม่ต้องหักนำส่งกรมสรรพากรนะ เพราะว่ากรณีนี้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ในไทยอยู่แล้ว
(4) การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก : การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ม.70 ทวิ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลซึ่งจาหน่ายเงินกาไรหรือเงิน
ประเภทอื่นใดที่กนั ไว้จากกาไรหรือที่ถือได้ว่าเป็ นเงินกาไรออกไปจากประเทศไทย ให้เสียภาษีเงิน
โดยหักภาษีจากจานวนเงินที่จาหน่ายเงินกาไรหรือเงินที่กนั จากกาไรออกไปยังต่างประเทศด้วยวิธี
ต่าง ๆ เช่น
(1) การจาหน่ายเงินกาไร หรือเงินที่กนั ไว้จากกาไรหรือที่ถือได้ว่าเป็ นเงินกาไร
จากบัญชีกาไรขาดทุนหรือบัญชีอ่นื ใดไปชาระหนี ้ หรือหักกลบลบหนีห้ รือไปตัง้ เป็ นยอดเจ้าหนีใ้ น
บัญชีของบุคคลใด ๆ ในต่างประเทศ หรือ
(2) ในกรณีท่มี ิได้ปรากฎข้อเท็จจริงดังกล่าวใน (1) แต่มีการขออนุญาตซือ้ และโอน
เงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็ นกาไรหรือเงินที่กนั ไว้จากกาไร หรือที่ถือได้ว่าเป็ นเงินกาไรออกไป
ต่างประเทศ
อัตราภาษีและการคำนวณภาษี
วิธีการเสียภาษีการจาหน่ายเงินกาไรไปต่างประเทศนี ้ ให้เสียภาษีโดยหักจากจานวน
เงินที่จาหน่ายในอัตราร้อยละ 10
การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
[91]

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ จะต้องยื่นแบบแสดง
รายการและชำระภาษี ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร โดยแบบแสดง
รายการที่ใช้ยื่น ได้แก่ ภ.ง.ด. 54 (ยื่นทุกครั้งที่มีการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ถ้าเก็บ
กำไรไว้ในประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษีฐานนี)้
** แบบ ภ.ง.ด.54 ชื่อเต็มคือ แบบยื่นรายการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจำหน่ายเงินกำไร
ตามมาตรา 70 และตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ตัวอย่างคำถาม บริษัท AAA จำกัด เป็นสาขาของบริษัทต่างประเทศ ตั้งขึ้นตาม ก.ม.
ประเทศอังกฤษ และมาประกอบกิจการในไทย ต่อมา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 บริษัทฯ ส่ง
เงินกำไรไปให้ สนง.ใหญ่ ณ ประเทศเดนมาร์ก จำนวน 500,000 บาท บริษัทฯ ต้องหักภาษีนำส่ง
กรมสรรพากร อย่างไร
ตอบ ต้องเสียภาษี จำนวน 50,000 บาท (500,000 X 10% = 50,000 บาท)
นำส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.54 ภายในวันที่ 7 ธันวาคม 2562 แต่วันที่ 7 ธันวาคม 2562
ตรงกับวันเสาร์ กฎหมายให้ชำระในวันที่เปิดทำการวันแรก ดังนั้น สามารถยื่นภายในวันทำการถัดไป
ซึ่งก็คือ วันจันทร์ คือตรงกับวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562 โดยไม่เสียเงินเพิ่มและค่าปรับ แต่อย่างใด
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ย่นื ณ
(1) สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขาในท้องที่ท่สี านักงานใหญ่ตงั้ อยู่
(2) ธนาคารพาณิชย์ไทย และ สาขา ในเขตกรุงเทพมหานคร
2 ในเขตจังหวัดอื่น ให้ย่ืน ณ
(1) สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขาในท้องที่ท่ีสานักงานใหญ่
(2) สานักงานสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตอาเภอ
หมายเหตุ สามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรก็ได้
การยกเว้นภาษีอากรแก่บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
การยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รฐั บาลไทยได้ทำไว้หรือจะได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ มี
วัตถุประสงค์ เพื่อลดภาระภาษีซ้ำซ้อนระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากการ ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ
และสนับสนุน ทั้งการค้าและการลงทุน เข้าสู่ประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
หลักการพืน้ ฐานของสัญญาว่าด้วยการเก็บภาษีซ้อนฯ
ชื่อสัญญา คือ สัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทย ได้ทำไว้หรือจะได้ทำกับ
รัฐบาลต่างประเทศ หรือ Double Tax Agreements (DTAs) เป็นสนธิสญ ั ญาทางภาษีแบบทวิภาคี
(Bilateral Treaties) มีคู่สัญญา สองฝ่าย เป็นการลงนามระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่สัญญา
วัตถุประสงค์ของสัญญาว่าด้วยการเก็บภาษีซ้อนฯ
1.1 บรรเทาหรือขจัดปัญหาการจัดเก็บภาษีซ้าซ้อนระหว่างประเทศ
1.2 ป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีระหว่างประเทศ
ประเภทของภาษีภายใต้สัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ
2.1 ให้ยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรใน สาหรับภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
และภาษีเงินได้นิติบคุ คล
2.2 ให้ยกเว้นภาษีอากรตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
[92]

บุคคลผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้สัญญา ว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนฯ
ใช้บงั คับกับบุคคลที่มีถ่นิ ที่อยู่ในประเทศคู่สญ
ั ญารัฐหนึ่งหรือทัง้ สองรัฐ ในกรณีประเทศไทย
บุคคลธรรมดาผูอ้ ยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึง่ หรือหลายระยะเวลา แต่เมื่อรวมระยะเวลา
ทัง้ หมดถึง 180 วันในปี ภาษีหนึ่ง ตามนัย มาตรา 41 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ประการหนึ่ง
หรือบริษัทหรือ ห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายของประเทศไทย อีกประการหนึ่ง ซึ่งถือ
ได้ว่าเป็ นผูม้ ีถ่นิ ที่อยู่ในประเทศไทย
ตัวอย่าง
บริษัท ก จากัด ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายของประเทศไทย จ่ายเงินประเภทลิขสิทธิ์ให้แก่สานักงานสาขา
ในประเทศสิงคโปร์ของบริษัท M จากัดที่จดทะเบียนจัดตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายของประเทศ
สหรัฐอเมริกา กรณี ดังกล่าว เจ้าของเงินได้คือ บริษัท M จากัด ถือว่ามีถ่นิ ที่อยู่ในประเทศ
สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ประเทศสิงคโปร์ท่ีมีสานักงานสาขาตัง้ อยู่ จึงต้อง นาบทบัญญัติแห่งสัญญาว่า
ด้วยการเก็บภาษีซอ้ นฯ ระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหรัฐอเมริกามากล่าวอ้าง และมิใช่นา
บทบัญญัติแห่งสัญญาว่าด้วยการเก็บภาษีซอ้ นฯ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสิงคโปร์มา
พิจารณาแต่อย่างใด
การอ้างสิทธิบรรเทาภาระภาษีที่ซ้ำซ้อน
ผูเ้ สียภาษี ท่จี ะสามารถกล่าวอ้างสัญญาว่าด้วยการ เก็บภาษีซอ้ นฯ เพื่อรับสิทธิประโยชน์
ทางภาษีได้ เมื่อผูเ้ สียภาษีมีหน้าที่ตอ้ งเสียภาษีภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร หรือ
พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียมแล้วเท่านัน้ หากไม่ปรากฏว่า ผูเ้ สียภาษีรายนัน้ มีภาระภาษี
ตามกฎหมายภายในแต่อย่างใด กรณีนไี ้ ม่มีประเด็นพิจารณา

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
Withholding Tax (WHT)
การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย หรือ Withholding Tax เป็นวิธีการจัดเก็บภาษีที่
ได้ผลดีทีส่ ดุ อีกวิธหี นึ่ง ซึ่งภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ถือเป็นเครดิตของผู้เสียภาษี
วัตถุประสงค์ของการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
1 เพื่อบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผรู้ บั เงินได้
2. เพื่อให้รฐั บาลมีรายได้เข้าคลังอย่างสม่าเสมอ
3. เพื่อลดแรงกดดันในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร และลด
ภาระหน้าที่ในการตรวจสอบภาษีหรือการติดตามจัดเก็บภาษีในภายหลัง
หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายและผู้มีเงินได้
1. หน้าทีข่ องผู้มีหน้าทีห่ ัก ภาษี ณ ทีจ่ ่าย
1.1 ขอเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษี
[93]

1.2 คานวณภาษีท่ตี อ้ งหักให้ถกู ต้องครบถ้วน


1.3 ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
1.4 ยื่นแบบแสดงรายการเงินได้หกั ณ ที่จ่ายและนาส่งภายใน 7 วัน นับแต่วนั ที่
จ่ายเงินไม่ว่าผูจ้ ่ายเงินจะได้หกั ภาษีไว้หรือไม่
2. ความรับผิดของผู้มหี น้าที่หักภาษี ณ ทีจ่ ่าย
(1) กรณีท่ผี หู้ กั นาภาษีท่หี กั ณ ที่จ่ายส่งไม่ครบ หรือขาดจานวน หรือไม่ส่งเลย หรือ
ล่วงเลยเวลากาหนด ผูม้ ีหน้าที่หกั ภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
หรือเศษของเดือนของเงินภาษีท่ีไม่ครบ หรือขาด หรือไม่สง่ หรือล่วงเลยกาหนดเวลาด้วย แต่เงิน
เพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินจานวนภาษีท่จี ะต้องนาส่ง
(2) ให้ย่นื คาร้องขอเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษีภายใน 60 วัน นับแต่วนั ที่มีเงินได้
(3) ผูม้ ีเงินได้ท่ถี กู หักภาษีไว้มากเกินกว่าจานวนภาษีท่ตี อ้ งเสีย ขอคืนภาษีภายใน 3 ปี
นับแต่วนั สุดท้ายของปี ท่ถี กู หักภาษีไว้เกิน
อนึ่งถ้าผูเ้ สียภาษีได้คืนเงินค่าภาษีท่ีถกู หักไว้เกินนานกว่า 3 เดือน จะได้รบั ดอกเบีย้ อีกร้อยละ
1 ต่อเดือน จนถึงวันที่กรมสรรพากรมีหนังสือคืนเงินค่าภาษี ถึงผูเ้ สียภาษี
วิธกี ารคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
ซึ่งจะแยกอธิบาย ไว้ 2 กรณี คือ
1) กรณีผู้รับเงินได้ : เป็นบุคคลธรรมดา
2) กรณีผู้รับเงินได้ : เป็นนิติบุคคล
1) กรณีผู้รับเงินได้ : เป็นบุคคลธรรมดา แบ่งเป็นกรณี ๆ ดังนี้
1.1 กรณีหกั ภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 50 กาหนดว่า ให้บุคคล ห้างหุน้ ส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ผูจ้ ่ายเงินได้พงึ
ประเมินตามมาตรา 40 ให้แก่บคุ คลธรรมดา ให้หกั ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ไว้ทกุ คราวที่จ่ายเงินได้
พึงประเมินตามวิธีดงั ต่อไปนี ้
1.กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2
มีวิธีการคานวณ 3 กรณี คือ กรณีท่วั ไป , กรณีเหตุออกจากงาน และ กรณีผรู้ บั มิได้เป็ นผูอ้ ยู่ใน
ประเทศไทย
1.1 กรณีทั่วไป
ในกรณีเงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) ให้คณ ู เงินได้พงึ ประเมินที่จ่าย ด้วย
จานวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จานวนเงิน เสมือนหนึ่งว่า ได้จ่ายทัง้ ปี แล้วคานวณภาษีตาม
เกณฑ์ เป็ นเงินภาษีทงั้ สิน้ เท่าใดให้หารด้วยจานวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็ นเงินเท่าใดให้
หักเป็ นเงินภาษีไว้เท่านัน้
[94]

ถ้าการหารด้วยจานวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใด
ให้เพิ่มเงินเท่าจานวนที่เหลือเศษนัน้ รวมเข้ากับเงินภาษีท่จี ะต้องหักไว้ครัง้ สุดท้ายในปี นัน้ เพื่อให้
ยอดเงินภาษีท่หี กั รวมทัง้ ปี เท่าจานวนภาษีท่จี ะต้องเสียทัง้ ปี
สรุป
1. เงินได้พึงประเมิน (ทั้งปี) เสมือนจ่ายเต็มทั้งปี มาจาก เงินได้ x จำนวนคราวทีจ่ ่าย (เช่น
ทำงานทั้งปี คำนวณได้ว่า เงินได้พึงประเมิน เช่น เงินเดือน x 12) เป็นต้น
2. หัก ค่าใช้จ่าย (50% ไม่เกิน 100,000 บาท)
3. หัก ค่าลดหย่อน ลงรายละเอียด ตาม (ล.ย.01 = แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน)
4. เงินได้สุทธิ ( ยกเว้น 150,000 บาท)
5. คูณ อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ก้าวหน้า)
6. จำนวนภาษีที่ต้องชำระทั้งปี
7. หาร จำนวนคราวที่จ่าย เช่น ต่อปี ก็ หารด้วย 12
8.จำนวนภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ที่ต้องหักนำส่งกรมสรรพากร เป็นรายเดือน)

1.2 กรณีเหตุออกจากงาน ในกรณีเงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ซึ่ง เป็ น


เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครัง้ เดียว เพราะเหตุออกจากงาน
** กรณีเงินได้จากเหตุออกจากงาน ผูม้ ีเงินได้ สามารถเลือกเสียภาษีโดยแยกจากเงินได้อ่ืน
หมายถึง สามารถไม่นามารวมกับเงินได้อ่ืนในการยื่นแบบภาษีเงินได้ปลายปี ได้ แต่ตอ้ งเข้าเงื่อนไข
ดังนี ้
(1) มีระยะเวลาทางานไม่นอ้ ยกว่า 5 ปี เต็ม
(2) เฉพาะเงินได้ท่มี ีการจ่ายในปี ภาษีแรกเท่านัน้
(3) เฉพาะกรณีท่ผี มู้ ีเงินได้ไม่นาเงินได้ดงั กล่าวไปรวมคานวณภาษีตามปกติ
(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรไม่ว่าทัง้ หมดหรือบางส่วน เงินได้พึงประเมินที่นายจ้า งจ่ายให้
ครัง้ เดียวเพราะเหตุออกจากงาน หมายถึงเงินได้ ดังนี ้
(ก) เงินได้ท่คี านวณตามวิธีการเช่นเดียวกับวิธีการคานวณบาเหน็จตามกฎหมาย ว่าด้วย
บาเหน็จบานาญข้าราชการ
(ข) เงิน ที่ จ่ า ยจากกองทุ น ส ารองเลี ย้ งชี พ หรื อ กองทุ น ตามกฎหมายว่ า ด้ว ยบ าเหน็ จ
บานาญ ข้าราชการ
(ค) เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
(ง) เงินได้พงึ ประเมินที่จ่ายให้ครัง้ เดียวเพราะเหตุออกจากงานที่มีวิธีการคานวณแตกต่าง
ไป จากวิธีการตาม (ก) วิธีการคานวณภาษี กรณีเงินได้ท่ีนายจ้างจ่ายให้ครัง้ เดียวเพราะเหตุออก
จากงาน
1.3 กรณีผ้ รู ับมิได้ เป็ นผู้อยู่ในประเทศไทย
ในกรณีเงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(2) ที่จ่ายให้แก่ ผูร้ บั ซึ่งมิได้เป็ นผูอ้ ยู่ในประเทศ ให้
คานวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
[95]

2 ) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 และ 4
มาตรา 50 ให้บคุ คล ห้างหุน้ ส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ผูจ้ ่ายเงินได้พงึ ประเมินตาม
มาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทกุ คราวที่จ่ายเงินได้พงึ ประเมินตามวิธีดงั ต่อไปนี ้
กรณีที่ 1 ให้หักตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่า
แห่งสิทธิ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
กรณีที่ 2 ให้ หักภาษีเงินได้ ณ ทีจ่ ่ายในอัตราร้ อยละ 15 (มีสทิ ธิเลือกไม่ตอ้ งนาไปรวม
คานวณกับเงินได้อนื่ ก็ได้) มีดงั นี ้
(ก) ในกรณีเงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4) ที่จ่ายให้แก่ผรู้ บั ซึ่งมิได้เป็ นผูอ้ ยู่ใน
ประเทศไทย ให้คานวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้
(ข) ให้บคุ คล ห้างหุน้ ส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผูจ้ ่ายเงินได้พงึ ประเมินตาม
มาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทกุ คราวที่จ่ายเงินได้พงึ ประเมิน ดังนี ้
• ดอกเบีย้ เงินฝาก ดอกเบีย้ หุน้ กู้ ดอกเบีย้ ตั๋วเงินที่ได้จากบริษัท หรือห้าง หุน้ ส่วน
นิติบคุ คลอื่น ดอกเบีย้ เงินกูย้ ืมที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วน นิติบคุ คล หรือนิติบคุ คลอื่น
• ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจาหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดง สิทธิในหนี ้
ที่บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบุคคล หรือนิติบคุ คลอื่นเป็ นผูอ้ อก
• ผลประโยชน์ท่ไี ด้จากการโอนพันธบัตร หุน้ กู้ หรือตั๋วเงิน หรือตราสาร แสดงสิทธิใน
หนีท้ ่บี ริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลหรือนิติบคุ คลอื่นเป็ น ผูอ้ อก ทัง้ นี ้ เฉพาะที่ตีราคาเป็ นเงินได้
เกินกว่าที่ลงทุน
กรณีที่ 3 ให้หักภาษีเงินได้ ณ ทีจ่ ่ายในอัตราร้อยละ 10
•เฉพาะมาตรา 40 (4) (ข) เงินปั นผล เงินส่วนแบ่งของกาไรหรือ ประโยชน์อ่ืนใดที่ได้
จากบริษัท หรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มี กฎหมายโดยเฉพาะของ
ประเทศไทย หรือเงินส่วนแบ่งของกาไรที่อยู่ใน บังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่า
ด้วยภาษีเงินได้ ปิ โตรเลียม
• ภาษีหกั ณ ที่จ่ายข้างต้น ถือเป็ นเครดิตภาษีในการคานวณ ภ.ง.ด.90 เฉพาะผูม้ ี
เงินได้ท่มี ีภมู ิลาเนาในประเทศไทย หรือเป็ นผูอ้ ยู่ในประเทศไทย (ถึง 180 วัน) เท่านัน้
(Note - จุดเน้น) การหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกรณีนี้ ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จา่ ยมีสิทธิเลือกไม่
ต้องนำรายได้ไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นอีกก็ได้)
กรณีที่ 4 ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ทีจ่ ่าย
เป็นกรณีทบี่ ุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้าง หุ้นส่วนสามัญเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้รับซึ่ง
เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะตามกฎหมาย ผู้รับเงินมีหน้าทีย่ ื่นแบบแสดง
รายการเสียภาษีเงินเอง
3) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 และ 6
มาตรา 50 ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้
[96]

ในกรณีจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) และ (6) ที่จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้ เป็นผู้อยู่ใน


ประเทศไทย ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้
*ประเภทเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (5) คือ การให้เช่าทรัพย์สิน / การผิดสัญญาเช่าซื้อ
ทรัพย์สิน / การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงิน
หรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว
*ประเภทเงินได้พึงประเมิน มาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ร้อยละ 15 หักเมื่อจ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยูใ่ นประเทศไทย
เท่านั้น
4 ) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5,6,7 และ 8
กรณีผู้จ่ายเงินเป็นภาครัฐ ผู้จ่ายเงินได้ รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล
หรือองค์การบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น จำนวนเงินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงิน
รวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้ แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 10,000 บาท
อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
(1) คำนวณในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(6) (7) หรือ (8) แต่ไม่
รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตร
(2) คำนวณ ในอัตราภาษีเงินได้ กรณีที่เป็นเงินได้จากการประกวดหรือแข่งขัน
5 ) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
มาตรา 48(4) วางหลักว่า ผู้ มี เ งิ น ได้ จ ะเลื อ กเสี ย ภาษี โ ดยไม่ ต้ อ งนำไปรวมคำนวณภาษี
ปกติ ก็ ไ ด้ เฉพาะเงิ น ได้ ที่ ไ ด้ รั บ จากการขายอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ อั น เป็ น มรดกหรื อ
อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ ไ ด้ ม าโดยมิ ไ ด้ มุ่ ง ในทางการค้ า หรื อ หากำไรดั ง ต่ อ ไปนี้
(ก) เงิ น ได้ จ ากการขายอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ อั น เป็ น มรดกหรื อ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่
ได้ รั บ จากการให้ โ ดยเสน่ ห า ให้ หั ก ค่ า ใช้ จ่ า ยร้ อ ยละ 50 ของเงิ น ได้ เหลื อ เท่ า ใดถื อ เป็ น เงิ น
ได้ สุ ท ธิ แ ล้ ว หารด้ ว ยจำนวนปี ที่ ถื อ ครองได้ ผ ลลั พ ธ์ เ ป็ น เงิ น เท่ า ใด ให้ ค ำนวณภาษี ต ามอั ต รา
ภาษี เ งิ น ได้ ได้ เ ท่ า ใดให้ คู ณ ด้ ว ยจำนวนปี ที่ ถื อ ครองผลลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ เ ป็ น เงิ น ภาษี ที่ ต้ อ งเสี ย
(ข) เงิ น ได้ จ ากการขายอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ที่ ไ ด้ ม าโดยทางอื่ น นอกจาก (ก) ให้ หั ก
ค่ า ใช้ จ่ า ยได้ ต ามที่ ก ำหนดโดยพระราชกฤษฎี ก า เหลื อ เท่ า ใดถื อ เป็ น เงิ น ได้ สุ ท ธิ แล้ ว หาร
ด้ ว ยจำนวนปี ที่ ถื อ ครอง ได้ ผ ลลั พ ธ์ เ ป็ น เงิ น เท่ า ใดให้ ค ำนวณภาษี ต ามอั ต ราภาษี เ งิ น ได้ ได้
เท่ า ใดให้ คู ณ ด้ ว ยจำนวนปี ที่ ถื อ ครอง ผลลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ เ ป็ น เงิ น ภาษี ที่ ต้ อ งเสี ย
ตามประมวลรัษฎากร ม.39 ได้กำหนดหลักการไว้ว่า การโอนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะมี
หรือไม่มีค่าตอบแทน ให้ถือเป็นการขาย ดังนั้น จึงต้องคำนวณภาษี
(ในตำแหน่ง นิติกรปฏิบัติการ ไม่ขอนำเรื่องการคำนวณมาอธิบาย)

6 ) กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8
เป็ นกรณีท่เี ป็ นเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มี
ค่าตอบแทนให้แก่บตุ รชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้าน
ให้เสียภาษีรอ้ ยละ 5 ของเงินได้เฉพาะในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท
หลักการของการโอนอสังหาริมทรัพย์ คือ ปกติแล้ว ผูโ้ อน ต้องคานวณภาษีและหักภาษีตาม
ข้อ 5 เว้นแต่เป็ นการโอนให้แก่บตุ รชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่รวมบุตรบุญธรรม ให้ผโู้ อนเสียภาษี
[97]

โดยการ หักภาษีไว้ ร้อยละ 5 ของเงินได้เฉพาะในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท แทนการคานวณตาม


หลักข้อ 5
2.กรณีหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
ขอยกมาบางตัวทีน่ า่ สนใจ คือ
ข้อ 1 กรณีจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตัว๋ เงิน ถ้าผู้จ่ายเป็นธนาคารตามกฎหมายว่า
ด้วยการธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจ
หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ได้จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้าง
หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 ถ้าจ่าย
ให้กับมูลนิธิ สมาคมที่มิใช่มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นองค์การสาธารณกุศล ให้หัก
ภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 10
ข้อ 2 กรณีจ่ายเงินปันผล (จุดเน้น-เคยสอบ) เงินส่วนแบ่งกำไรหรือประโยชน์อื่นที่ได้
จากบริษทั หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (แต่ไม่รวมถึงกิจการร่วมค้า) ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้าง
หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กองทุนรวมสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของ
ประเทศไทย จัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณชิยกรรม หรืออุตสาหกรรม
จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ
ต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทย หรือจ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่
ตั้งขึน้ ตามกฎหมายไทย ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 เว้นแต่ผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย (จุดเน้น)
ข้อ 3 กรณีจ่ายค่าเช่า หรือประโยชน์ที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สินแต่ไม่รวมถึงค่า
เช่าเอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น
จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับดังต่อไปนี้ ได้กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ คือ
(1) ผู้รับเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้หักในอัตราร้อยละ 5
(2) ผู้รับเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ให้
หัก ร้อยละ 5
(3) ผู้รับเป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศ
กำหนดให้หักภาษี ร้อยละ 10
ข้อ 4 กรณีจ่ายเงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ
วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม ให้หักภาษี ร้อยละ 3
ข้อ 5 กรณีจ่ายค่าจ้างทำของ ถ้าผู้จ่ายเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติ
บุคคลอื่น ได้กำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 สำหรับการจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่
ผู้รับดังต่อไปนี้
(1) ผู้รับซึ่งเป็นผู้มีหน้าทีเ่ สียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะค่าจ้างทำของที่เข้า
ลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) คือ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุน
ด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ หรือค่าจ้างทำของอย่างอื่นที่เข้าลักษณะ
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยแต่ไม่
รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง
[98]

(3) ผู้รับซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึน้ ตามกฎหมายของ


ต่างประเทศ ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสำนักงานสาขาตั้งอยู่เป็นการถาวรในประเทศ
ไทย สำหรับค่าจ้างทำของทุกอย่าง
ข้อ 6 กรณีจ่ายรางวัลในการประกวด การแข่งขัน การชิงโชค หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ใน
อัตราร้อยละ 5
ข้อ 7 กรณีจ่ายเงินได้ให้แก่นักแสดงสาธารณะ คือ นักแสดงละคร ภาพยนตร์วิทยุหรือ
โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
ในอัตราร้อยละ 5
ข้อ 8 กรณีจ่ายค่าโฆษณา ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 2
จุดเน้ น
1. การหักภาษี ณ ที่จ่ายในกรณีนี ้ ต้องมีจานวนตามสัญญารายหนึ่ง ๆ ที่มีจานวนตัง้ แต่
1,000 บาทขึน้ ไป แม้การจ่ายนัน้ จะได้แบ่งจ่ายครัง้ หนึ่ง ๆ ไม่ถึง 1,000 บาท
2. นาส่งภายใน 7 วัน นับแต่วนั สิน้ เดือนที่จ่ายเงิน
ใช้แบบ ภ.ง.ด. 3 ถ้าหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ใช้แบบ ภ.ง.ด. 53 ถ้าหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบคุ คล

2) กรณีผู้รับเงินได้ : เป็นนิติบุคคล
การหักภาษีเงินได้นติ บิ ุคคล ณ ที่จ่ายมีอยู่ 3 กรณี ดังนี้
1.ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีท่สี ว่ นราชการ (รัฐบาล ส่วนราชการ เทศบาล สุขาภิบาล หรือราชการส่วนท้องถิ่น)
จ่าย เงินได้ ให้แก่ บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล
➢ เน้ น ส่วนราชการที่จ่ายเงินหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พงึ ประเมินที่
จ่าย ซึ่งการจ่ายครัง้ หนึ่งถึง 500 บาท ต้องหัก ณ ที่จ่าย ถ้าไม่ถึงก็ไม่ตอ้ งหัก
2.ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล ขายอสังหาริมทรัพย์ ให้แก่ บุคคล ห้างหุน้ ส่วน บริษัท สมาคม
คณะบุคคล (สรุปว่า ใครก็ตามที่ซอื ้ อสังหาริมทรัพย์ จากนิติบคุ คล) ให้หกั ภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1
ของยอดเงินได้พงึ ประเมินที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายเงินเป็ นจานวนเงินเท่าใดก็ตาม
➢ การหักภาษี ณ ที่จ่าย จะหักเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
3. ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ถือตามกรณีหกั ภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
จุดเน้ นที่ 1 (เก็งข้ อสอบ)
➢ หัก 1 % สาหรับค่าขนส่ ง
โดยบริ ษทั หรื อนิติบุคคลที่ให้บริ การจะต้องขึ้นทะเบียนเป็ นผูใ้ ห้บริ การขนส่ง เช่น บริ การขนส่ง
สิ นค้าจากบริ ษทั โลจิสติกส์ เป็ นต้น
[99]

แต่ ! ถ้ าเป็ นไปรษณีย์ไม่ ต้องหัก เนื่องจากเป็ นหน่ วยงานที่ได้ รับการยกเว้ น


➢ หัก 2% สาหรับค่าโฆษณา
เช่ น โฆษณาผ่ านทางโทรทัศน์ หรื อโฆษณาผ่ านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็ นต้ น
➢ หัก 3% สาหรับจ้ างรับเหมา หรื อบริการต่างๆ เช่น การจ้างช่างภาพมาถ่ายรู ป การ
บริ การซอฟต์แวร์ การจ้าง blogger รี วิวสิ นค้า ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็ นการให้บริ การ
➢ หัก 5% สาหรับค่าเช่ าอสังหาริมทรัพย์ อันนี้รวมถึง การเช่ ารถยนต์ รวมถึงค่าจ้ าง
นักแสดง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่ างๆ ด้วย
แต่!ถ้าเช่ารถยนต์พร้อมคนขับจะเสี ย 3% เพราะถือว่าเป็ นบริ การขับรถ

จุดเน้ นที่ 2
- กรณีสว่ นราชการ จ่ายเงินได้และหักภาษี ณ จ่าย จากผูม้ ีเงินได้ท่เี ป็ นนิติบุคคลฯ
ต้องจ่ายตัง้ แต่ 500 บาท หัก ร้อยละ 1 ใช้แบบ ภ.ง.ด.53 นาส่ง
- กรณีส่วนราชการ จ่ายเงินได้และหักภาษี ณ จ่าย จากผูม้ ีเงินได้ท่เี ป็ นบุคคล
ธรรมดาฯ ต้องจ่ายตัง้ แต่ 10,000 บาท หัก ร้อยละ 1 ใช้แบบ ภ.ง.ด.3 นาส่ง
- กรณีอ่นื ๆ เช่น ม. 3 เตรส , ท.ป.4/2528 ต้องจ่ายตัง้ แต่ 1,000 บาท จึงจะหัก
ภาษี ณ ที่ จ่าย ยกเว้น การหักภาษี ณ ที่จ่าย บางกรณี แม้ไม่ถึง 1,000 บาทก็ตอ้ งหักฯ เช่น
การจ่ายค่าโทรศัพท์ เหตุผล คือ เป็ นการจ่ายต่อเนื่อง เรื่อยๆ ไป จึงต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

➢ หัก 2% สาหรับค่าโฆษณา
เช่ น โฆษณาผ่ านทางโทรทัศน์ หรื อโฆษณาผ่ านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็ นต้ น
➢ หัก 3% สาหรับจ้ างรับเหมา หรื อบริการต่างๆ เช่น การจ้างช่างภาพมาถ่ายรู ป การ
บริ การซอฟต์แวร์ การจ้าง blogger รี วิวสิ นค้า ก็เข้าข่ายนี้ เพราะถือเป็ นการให้บริ การ
➢ หัก 5% สาหรับค่าเช่ าอสังหาริมทรัพย์ อันนี้รวมถึง การเช่ ารถยนต์ รวมถึงค่าจ้ าง
นักแสดง และเงินรางวัลจากการแข่งขันหรือการชิงโชคต่ างๆ ด้วย
แต่ ถ้าเช่ารถยนต์พร้อมคนขับจะเสี ย 3% เพราะถือว่าเป็ นบริ การขับรถ
**กฎหมายใหม่เกีย่ วกับ**
การลดอัตราภาษีหกั ณ ที่จ่าย (e-Withholding Tax)
เพื่อส่งเสริ มและสนับสนุนให้ผปู ้ ระกอบการนาส่งภาษีผา่ นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้การจ่ ายเงิน
ได้พงึ ประเมินดังต่อไปนีท้ ี่ได้ จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.
2568 และผู้มีหน้ าที่นาส่ งภาษีได้ดาเนินการตามวิธีนาส่ งทางอินเทอร์ เน็ต หรื อ ผ่ านระบบ (e-
Withholding Tax) ให้ หัก ณ ที่จ่าย ร้ อยละ 1.0
[100]

(ก) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) -เช่น ค่านายหน้า ค่าที่ปรึ กษา ให้แก่


บริ ษทั หรื อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(ข) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) เฉพาะที่เป็ นเงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์
ค่าแห่งลิขสิ ทธิ์ หรื อสิ ทธิอย่างอื่น ให้แก่บริ ษทั หรื อห้างหุ ้นส่วนนิติบุคคล
(ค) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (ก)- คือ ค่าเช่าอสังหาริ มทรัพย์ ให้แก่ผู ้
มีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรื อภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่รวมถึงค่าเช่าเรื อที่ใช้ในการ
ขนส่งสิ นค้าระหว่างประเทศ
(ง) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6)-เช่น ค่าสอบบัญชี และ (7)-เช่น ค่า
รับเหมาก่อสร้าง ให้แก่ผมู ้ ีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรื อภาษีเงินได้นิติบุคคล
(จ) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็ นการจ่ายรางวัลในการ
ประกวด การแข่งขัน การชิงโชค ให้แก่ผมู ้ ีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรื อภาษีเงินได้
นิติบุคคล
** ข้อ ก - จ ไม่รวมถึงมูลนิธิหรื อสมาคม ที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ (หมายถึง
ยังคงต้องหัก ตามที่ กม.กาหนด ไม่ได้ลดอัตราภาษี แต่อย่างใด ) และสาหรับมูลนิธิหรื อสมาคม
ที่รัฐมนตรี ประกาศกาหนดตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ไม่ตอ้ งหัก ณ ที่จ่าย
(ฉ) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็ นการจ่ายค่าแสดงให้แก่
นักแสดงสาธารณะซึ่งเป็ นผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีภูมิลาเนาอยูใ่ นประเทศไทย
คาว่า “นักแสดงสาธารณะ” หมายความว่า นักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุ หรื อ
โทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นกั กีฬาอาชีพ หรื อนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ
(ช) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) เฉพาะที่เป็ นเงินได้จากการจ้างทาของ
การจ่ายรางวัล ส่วนลด หรื อประโยชน์ใด ๆ เนื่องจาก การส่งเสริ มการขาย ค่าโฆษณา แต่ไม่
รวมถึงการจ่ายค่าบริ การของโรงแรม ค่าบริ การของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้แก่ผมู ้ ี
หน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรื อภาษีเงินได้นิติบุคคล
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
ผูจ้ ่ายเงิน คือ ผูห้ กั ณ ที่จ่าย (มีหน้าที่หกั ภาษี ณ ที่จ่ายและนาส่งกรมสรรพากร)
ผู้รับเงิน คือ ผูถ้ กู หักภาษี ณ ที่จ่าย (จะถูกผูจ้ ่ายเงินหักไว้ก่อน และนาส่งกรมสรรพากรให้
และรับเงินที่เหลือจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตัวอย่าง บริษัท AA จากัด เป็ นผูป้ ระกอบการทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม รับเหมาก่อสร้างถนน
คอนกรีตในหมู่บา้ น ให้กบั อบต.หนองสโน ในวงเงิน 1,500,000 บาท ( บริษัท AA จากัด จะถูก
หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จานวนเท่าใด
คาตอบ กรณีดงั กล่าว เป็ การหัก ณ ที่จ่าย ตาม ม.69 ทวิ และจ่ายตัง้ แต่ 500 บาทขึน้ ไป
มูลค่าสินค้า ต้องถอด ภาษีมลู ค่าเพิ่มออกก่อน
ดังนี ้ มูลค่ารวมภาษีมลู ค่าเพิ่ม (VAT) = 1,500,000.00 บาท
[101]

หัก VAT = 98,130.84 บาท


คงเหลือราคาไม่รวม VAT จึงเท่ากับ 1,500,000 X 100 = 1,401,869.16 บาท
107
สรุป มูลค่าก่อสร้างจริง = 1,401,869.16 บาท
หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 1 (1,401,869.16 X 1% ) = 14,018.69 บาท

สรุป บริษัท AA จากัด จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จานวน 14,018.69 บาท


บริษัท AA จากัด รับเงินจาก อบต.สุทธิ จานวน 1,485,981.31 บาท
มาจาก (1,500,000 - 14,018.69)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม
Value Added Tax (VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีทางอ้อม ที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการ (ผู้ผลิตสินค้า
หรือผู้บริการหรือผู้นำเข้า)
“มูลค่าเพิ่ม” หมายถึง มูลค่าที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการบวกเพิ่มในต้นทุนของสินค้าหรือ
บริการ เพื่อกำหนดเป็นราคาขายสินค้าหรือค่าบริการ หรือ มูลค่าเพิ่ม คือ รายได้จากการขาย
หักด้วยต้นทุนจากการซือ้ (มูลค่าเพิ่ม = ค่าแรง + กำไร = ผลได้ – ผลต่าง)
ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการ (ที่ต้องจดทะเบียนมูลค่าเพิ่ม) เรียก
เก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซือ้ สินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่าบริการ
ภาษืซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการ (ทีต่ อ้ งจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าหรือรับ
บริการ คลุมไปถึง ภาษีซือ้ ของสินค้าที่ซ้ือมาลงทุนด้วย เช่น เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ที่
ซือ้ มาใช้ในการผลิตหรือให้บริการ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้มีหน้าทีเ่ สียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่
1.ผู้ประกอบการ หมายถึง บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ ไม่ว่า
การกระทาดังกล่าวจะได้รบั ประโยชน์หรือได้รบั ค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จดทะเบีย น
ภาษีมลู ค่าเพิ่มแล้วหรือไม่
ผูป้ ระกอบการที่ตอ้ งเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม คือ
1) บุคคล ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบคุ คล หรือนิติบคุ คล
2) ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ
Note คานิยามที่น่าสนใจ
" ผูป้ ระกอบการ " หมายความว่า บุคคลซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ
ไม่ว่าการกระทาดังกล่าวจะได้รบั ประโยชน์ หรือได้รบั ค่าตอบแทนหรือไม่ และไม่ว่าจะได้จด
[102]

ทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ (ดังนัน้ แม้ว่าจะยังไม่ได้จดทะเบียนเป็ นผูป้ ระกอบการ


ภาษีมลู ค่าเพิ่ม (ขอจดด้วยแบบ ภ.พ.01) ก็ตอ้ งเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม
" ผูป้ ระกอบการจดทะเบียน " หมายความว่า ผูป้ ระกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม
จดด้วยแบบ ภ.พ.01
" ขาย " หมายความว่า จาหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่
และให้หมายความรวมถึง ส่งมอบสินค้าให้ตวั แทนเพื่อขายนาสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้น
แต่การนาสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเอง เป็ นต้น
ดังนัน้ นาย ก ส่งสินค้าให้ตวั แทนเพือ่ นาสินค้าไปขายให้ นั่นก็ถอื เป็ นการขายแล้ว แม้ยงั
ไม่ได้ขายจริง ยังไม่มีเงินจากการขาย
2.ผู้นาเข้า หมายถึง ผูป้ ระกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนาสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ว่าเพื่อ
การใด ๆ และให้หมายความรวมถึงการนาสินค้าที่ตอ้ งเสียอากรขาเข้า หรือที่ได้รบั ยกเว้นอากรขา
เข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยมิใช่เพื่อการส่งออก
3.ผู้ท่กี ฎหมายกำหนดให้มหี น้าที่เสียภาษีในกรณีพิเศษ
1)ผูป้ ระกอบการอยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้า/ให้บริการในราชอาณาจักรเป็ น
ปกติธุระ โดยมีตวั แทน ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ตัวแทน
2)การขายสินค้า/ให้บริการที่ได้เสียภาษีมลู ค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 (คือผูส้ ง่ ออกสินค้า)
ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า/โอนสิทธิในบริการนัน้ ไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การ
สหประชาชาติ ทบวงการชานัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถาน
กงสุลใหญ่ สถานกงสุล ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ผูร้ บั โอนสินค้า หรือผูร้ บั โอนสิทธิในบริการ
ดังกล่าว
3)กรณีสินค้านาเข้า ที่ได้รบั ยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกดั อัตรา ถ้าภายหลังสินค้า
ต้องเสียอากร ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีได้แก่ ผูท้ ่มี ีความรับผิด ตามกฎหมายว่าด้วยพิกดั อัตราศุลกากร /
ผูร้ บั โอนสินค้าถ้ามีการรับโอนสินค้า
4) กรณีที่มีการควบเข้ากัน ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่
5) กรณีโอนกิจการ ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ ผูโ้ อน และผูร้ บั โอน
ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือผู้ประกอบการที่
1. มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 81 แห่ง
ประมวลรัษฎากร มีดงั นี ้
(1)ยกเว้น VAT สำหรับการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ
ยกเว้นสำหรับการขายสินค้าที่ มิใช่การส่งออก ดังนี้
(ก) การขายพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ
ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพ
สดหรือรักษาสภาพไว้ เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่ง ด้วยการแช่เย็น
[103]

แช่เย็นจนแข็งหรือด้วยการจัดทำ หรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อ


การขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้น หรือด้วย
วิธีอื่น ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก
การเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
(ข) การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่
ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสด
หรือรักษาสภาพไว้เพือ่ มิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง
หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก
หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้นหรือด้วยวิธีอื่น แต่ไม่
รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
(ค) การขายปุ๋ย
(ง) การขายปลาป่น อาหารสัตว์
(จ) การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา
ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
(ฉ) การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
ยกเว้นสำหรับการให้บริการ ดังนี้
(ช) การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ ,
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชน
(ซ) การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม
(ฌ) การให้บริการการประกอบโรคศิลป์ การสอบบัญชี การว่าความ หรือ
การประกอบวิชาชีพอิสระ
(NOTE ยกเว้น VAT เฉพาะค่าสอบบัญชีของ TA , CPA และยกเว้น
ค่าว่าความของทนาย แต่ถ้าเป็นค่าทำบัญชี หรือ ค่าที่ปรึกษากฎหมาย ไม่ได้รับยกเว้น Vat )
(ญ) การให้บริการรักษาพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(ฎ) การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ
(ฏ) การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
(ฐ) การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
(ฑ) การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
(ฒ) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
(ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
(ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึง่ มิใช่ การขนส่งโดยอากาศยาน
หรือเรือเดินทะเล
(ต) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
(ถ) การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์
ของราชการส่วนท้องถิน่ หรือเป็นการหารายได้หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น กิจการ
สาธารณูปโภคหรือไม่
(ท) การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับ
ทั้งสิ้นให้แก่รัฐ โดยไม่หักรายจ่าย
(ธ) การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสา
[104]

ธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
(น) การขายสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
3. ผู้ประกอบการ ทีใ่ ห้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นใน
ราชอาณาจักร
4. ผู้ประกอบการทีอ่ ยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขาย
สินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร เป็ นครั้งคราว
แม้กิจการนี้จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่อธิบดี อาจให้สิทธิจด
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการชั่วคราวได้ โดยมีหลักเกณฑ์ว่า จะต้องมีกำหนดเวลาในการประกอบ
กิจการในราชอาณาจักร เกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี แต่ถ้าผู้ประกอบการนั้นเป็นนบริษัทหรือห้าง
หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมิได้มี สนง.สาขาตั้งอยูถ่ าวรในไทย และเข้ามา
ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวกับ กระทรวง ทบวง กรม
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้/ช่วยเหลือจากต่างประเทศ ที่มีกำหนดเวลา
ประกอบการเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ ด้วยแบบ ภ.พ.01.2
(จุดเน้น)

(2)ยกเว้น VAT สำหรับการนำเข้าสินค้า ดังต่อไปนี้


(ก) สินค้าตาม (1) (ก) ถึง (ฉ)
(ข) สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากร
ขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ”
(ค) สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วย
พิกัดอัตราศุลกากร
(ง) สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดย
ได้คืนอากรขาเข้า
(ฉ) การนำเข้าสินค้าของสถานศึกษาของรัฐ ,สถานศึกษาของเอกชน , หน่วยงานที่
วัตถุประสงค์ ทำการวิจัยโดยได้รับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ
(3) ยกเว้น VAT สำหรับ กิจการขายสินค้า/บริการ ที่กิจการอยู่ในบังคับต้องเสีย VAT
แต่มีมูลค่าฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม
(มูลค่าของฐานภาษี ของกิจการขนาดย่อม ไม่เกิน 1,800,000 บาท )
NOTE นาย A ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ รวม ทั้งปี 1,800,000 บาท ไม่ต้องจด vat
แต่ถ้า ขายได้เงิน 1,800,001 บาท ต้องจด เพราะเกิน 1,800,000 บาท ซึ่งเป็นมูลค่าฐานภาษี
ขนาดย่อมแล้ว
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ซึ่งประกอบกิจการทีไ่ ด้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
มีดังนี้
(1) ผูป้ ระกอบการที่ขายสินค้าตามที่ระบุไว้ในมาตรา 81 (1) (ก) ถึง (ฉ) คือ
(ก) การขายพืชผลทางการเกษตร และวัตถุพลอยได้จากพืช แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟื น หรือ
ผลิตภัณฑ์ท่ไี ด้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋ อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทาเป็ น
อุตสาหกรรม
[105]

(ข) การขายสัตว์ และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุ


กระป๋ อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทาเป็ นอุตสาหกรรม
(ค) การขายปุ๋ ย
(ง) การขายปลาป่ น อาหารสัตว์
(จ) การขายยาหรือเคมีภณั ฑ์ท่ใี ช้สาหรับพืชหรือสัตว์
(ฉ) การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตาราเรียน
(2) ผูป้ ระกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ที่มีรายได้ไม่เกินฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม
คือ รายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท
ตัวอย่าง
ผู้ประกอบการบางรายที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทในระหว่างปีภาษีทางกฎหมาย
ผู้ประกอบการมีหน้าที่ตอ้ งจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษี
เกิน 1.8 ล้านบาท ถ้าไม่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องรับผิด
อย่างไร และรายรับส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบ แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ.30) และเสียภาษีมูลค่าเพิม่ ให้แก่กรมสรรพากรเฉพาะรายรับส่วนที่เกินมาจาก 1.8 ล้านบาท
เท่านั้น หรือนำมาทั้งหมด
ตัวอย่าง
ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 บริษัท ก. มีรายรับ จำนวน 2,000,000 บาท แต่ไม่ได้ยื่นคำ
ขอจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ ม แต่บริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวันที่ 30 ธันวาคม 2562
ถือว่า บริษัท ก. ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกิน
1.8 ล้านบาท คือ ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนฯ ด้วย แบบ ภ.พ. 01 ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562
ดังนั้น ในปี 2562 บริษัท ก. จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากส่วนที่เกิน 1,800,000 บาท คือ
200,000 x 7% นอกจากนี้ บริษัท ก. ยังต้องรับผิดเสี ยเบี้ยปรับ 2 เท่า 2 ของเงินภาษีที่ต้องเสียใน
เดือนภาษีจนกว่าจะจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม หรือเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่
อย่างใดจะมากกว่า และเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ต้องชำระ ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
(3) กิจการอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ดังต่อไปนี้
(1) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน
(2) การส่งออกของผูป้ ระกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออก
(3) การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
(4) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร สำหรับการให้บริการขนส่งทางทะเลโดยเรือเดิน
ทะเลรวมถึงการให้บริการขนส่งระหว่างทะเลกับแม่น้ำในราชอาณาจักรโดยเรือเดินทะเล”
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำหนดเวลาการจดทะเบียน
1. ผู้ประกอบกิจการที่มีรายรับจากการขายสิ นค้าหรือให้บริการ เกิน 1,800,000 บาทต่อ
ปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาท
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งมีแผนงาน ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้มี
การดำเนินการ และเตรียมการ ประกอบกิจการ ทำให้ต้องมีการซื้อสิ นค้าหรือรับ บริการที่อยู่ใน
บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน ก่อสร้างอาคารสำนักงาน หรือการติดตั้ ง
[106]

เครื่องจักร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน ภายในกำหนด 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ เว้นแต่ มี


สัญญาหรือหลักฐานจะดำเนินการ ก่อสร้าง ภายในเวลาที่เหมาะสม
3. ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร และได้ขายสินค้าหรือ ให้บริการในราชอาณาจักร
เป็ น ปกติ ธุร ะ โดยมี ตั ว แทน อยู่ ในราชอาณาจั ก ร ให้ ตั ว แทนเป็ น ผู้ มี ห น้ าที่ รับ ผิ ด ชอบการจด
ทะเบียน
สถานทีจ่ ดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ย่นื คาขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ในเขตท้องที่ สานักงานใหญ่ตงั้ อยู่ ถ้า
ผูป้ ระกอบการใช้ท่อี ยู่ของตนหรือคนอื่น เป็ นสถานที่ตงั้ ต้องยื่นคาขอ ณ สถานที่ดงั กล่าว สามารถ
กระทาได้ 2 ช่องทาง ดังนี ้
1. ยื่นแบบคาขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th
2.ยื่นแบบคาขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่เป็ นที่ตงั้ สถานประกอบการ
Note
1.วันที่ให้เป็ นผูป้ ระกอบการจดทะเบียน คือ วัน เดือน ปี ท่ีเจ้าพนักงานสรรพากรับคาขอ
จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม
2.วันเริ่มประกอบการ คือ วันเดือนปี ที่ผปู้ ระกอบการเริ่มประกอบกิจการ ขายสินค้าหรือ
ให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม
3.วั น ที่ อ อกใบทะเบี ย น คื อ วั น เดื อ นปี ที่ ผู้ มี อ านาจอนุ มั ติ ล งนามในใบทะเบี ย น
ภาษีมลู ค่าเพิ่ม
คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปกติใช้ แบบ ภ.พ.01 (สำหรับกรณีต้องจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทั่วไป) แต่ถา้ ก.ม.ไม่ได้บังคับว่าต้องจดฯ แต่อยากขอจดฯ สาหรับการขาย
สินค้าที่ไม่ใช่สง่ ออก ดังนีต้ ่อไปนี ้
(ก) การขายพืชผลทางการเกษตร
(ข) การขายสัตว์ ไม่วา่ จะมีชีวิตหรื อไม่มีชีวิต
(ค) การขายปุ๋ ย
(ง) การขายปลาป่ น อาหารสัตว์
(จ) การขายยาหรื อเคมีภณ ั ฑ์ที่ใช้สาหรับพืชหรื อสัตว์ เพื่อบารุ งรักษา ป้ องกัน ทาลายหรื อ
กาจัดศัตรู หรื อโรคของพืชและสัตว์
(ฉ) การขายหนังสื อพิมพ์ นิตยสาร หรื อตาราเรี ยน
สามารถขอจดได้ แต่ตอ้ งยื่นคาขอด้วย แบบ ภ.พ.01.1 ก่อนแล้วยื่น แบบ ภ.พ.01 ภายใน 30 วัน
นับ แต่ วันยื่นค าขอ ภ.พ.01.1 แต่ ถ้าเป็ นกรณี ผู้ป ระกอบการที่อ ยู่ต่ างประเทศ แต่ม าประกอบ
กิจการในประเทศไทย เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี ให้ขอจดภาษี มูลค่าเพิ่มชั่วคราว โดยใช้แบบ
ภ.พ.01.2 (จุดเน้น - ควรจา ออกข้อสอบบ่อย)
[107]

เมื่อยื่นคาขอจดทะเบียนภาษี มลู ค่าเพิ่มแล้ว มีผลให้เป็ นผูป้ ระกอบการจดทะเบียน ตัง้ แต่


วัน ที่ ร ะบุ ไว้ใ นใบทะเบี ย นภาษี มูล ค่ า เพิ่ ม เป็ น ต้น ไป จากนั้น กรมสรรพากรจะส่ งใบทะเบี ย น
ภาษี มู ล ค่ า เพิ่ ม หรื อ ภ.พ.20 ให้กั บ ผู้ป ระกอบการจดทะเบี ย น และต้อ งแสดงใบทะเบี ย น
ภาษี มลู ค่าเพิ่มไว้ ณ ที่เปิ ดเผย เห็นได้ง่ายในสถานประกอบการ เป็ นรายสถานประกอบการ ถ้าไม่
ทา มีระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
(Note ผู้ประกอบการจดทะเบียน หมายถึง ผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม
แยกอธิบาย ดังนี้
1.ฐานภาษี สาหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ
2. ฐานภาษี สาหรับการนาเข้า - ส่งออกสินค้า
3. ฐานภาษี สาหรับการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
4. ฐานภาษีกรณีพิเศษ
1) ฐานภาษี สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ ได้แก่ มูลค่าทัง้ หมดที่
ผูป้ ระกอบการได้รบั หรือพึงได้รบั จากการขายสินค้า / ให้บริการ รวมทัง้ ภาษี สรรพสามิต
แต่ไม่รวมถึง
1) ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ลดให้ทนั ทีในขณะขายสินค้า และต้องระบุสว่ นลดไว้
ใน ใบกากับภาษี
2) ค่าชดเชยและเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกาหนด
3 ) ภาษีขาย
3) มีกาหนดไว้เพิ่มในประกาศอธิบดีฯเกี่ยวกับภาษีมลู ค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 เช่น
- ยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่มให้กบั สินค้าที่แถมพร้อมกับการขายสินค้า/การให้บริการ
(ราคาต้องไม่เกินราคาสินค้า/บริการ )
NOTE ซือ้ ทีวี มูลค่าสินค้าที่ยงั ไม่รวมภาษีมลู ค่าเพิ่ม คือ 50,000 บาท แถมโต๊ะวาง
ทีวี ราคา 5,000 บาท ฐานภาษีมลู ค่าเพิ่ม คือ 50,000 บาท นาไปคานวณภาษีขาย ร้อยละ 7
เท่ากับภาษีขาย 3,500 บาท
[108]

- ยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่มให้กบั สินค้าที่แจกหรือให้รางวัลกับผูซ้ ือ้ สินค้า


(ราคาต้องไม่เกินราคาสินค้า)
- ยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่มให้กบั สินค้าที่แจกหรือให้เป็ นของขวัญ ตามโอกาสธรรมเนียม
ประเพณี เช่น เทศกาลปี ใหม่ ,สงกรานต์ , การแนะนาสินค้าใหม่ ฯลฯ เช่น ปฏิทินและต้องมีช่ือ
ตราของผูใ้ ห้ติดที่สินค้าด้วย
- ยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่มให้กบั สินค้าที่แจก เนื่องในการส่งเสริมการขาย
- ยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่มให้กบั มูลค่าของเครื่องแบบ ที่มอบให้ลกู จ้าง ไม่เกิน 2 ชุดต่อคน
/ ปี และเสือ้ นอก ไม่เกิน 1 ตัวต่อปี
(มีอ่นื ๆ อีก แต่นามาให้ เฉพาะที่น่าจา )
2) ฐานภาษีการส่งออก-นำเข้า
2.1 ฐานภาษีสาหรับการส่งออก
ใช้ราคา F.O.B + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีอ่ืน ๆ + ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แต่ไม่รวมอากรขาออก
** ราคา F.O.B. คือ ราคา ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมค่าขนส่ง และประกันภัย เงินมัดจา ไม่ใช่ฐาน
ภาษีสาหรับการส่งออก ไม่เสีย Vat แต่ฐานภาษีสาหรับการส่งออกคือ ราคา F.O.B **
2.2 ฐานภาษีสาหรับการนาเข้า
ให้ใช้ราคา C.I.F. + ภาษีสรรพสามิต + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
อธิบาย
- ราคา C.I.F. คือ ราคารวมประกันภัย + ค่าระวาง (ขนส่ง) ซึ่ง ราคา C.I.F. อาจ
ถือตามราคาที่กรมศุลกากรกาหนดก็ได้ (จุดเน้น-เคยออกข้อสอบ)
- การชาระภาษีมลู ค่าเพิ่จากการนาเข้า จะชาระที่ด่านศุลกากร ส่วนภาษีซอื ้
ผูป้ ระกอบการที่นาเข้า มีสิทธินาหักจากภาษีของตนได้
3) ฐานภาษี สำหรับการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ
3.1 กรณีรบั ขนคนโดยสาร ได้แก่ มูลค่าของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม หรืประโยชน์ท่เี รียก
เก็บในประเทศ ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนคนโดยสาร นัน้
3.2 กรณีรบั ขนสินค้า ได้แก่ มูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์ ที่เรียกเก็บ
ไม่ว่าในหรือนอกประเทศ ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนสินค้านัน้ ออกนอกประเทศ
4) ฐานภาษีกรณีพเิ ศษ (ม79/3)
1. การขายสินค้า / ให้บริการ ที่ไม่มีค่าตอบแทน หรือ มีค่าตอบแทนต่ากว่าราคา
ตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มูลค่าของฐานภาษีท่ีจะนามาคานวณ ให้ยดึ ตามราคาตลาด
2. การนาสินค้าไปใช้เอง โดยไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการ เช่น ขายของชา แต่นา
สบู่ ยาสีฟัน ไปใช้สว่ นตัว ต้องถือว่าขาย มูลค่าของฐานภาษีคือราคาตลาดในวันที่ความรับผิดเกิด
3. สินค้าขาดจาก Stock มูลค่าของฐานภาษี คือ ราคาตลาด ณ วันที่ตรวจพบ
4. สินค้าคงเหลือ / ทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ถือเป็ นการขาย
[109]

โดยคิดตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ เป็ นฐานภาษี


5. การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 ต่อมาผูซ้ อื ้ ได้โอนกรรมสิทธิ์ไป ทา
ให้ผไู้ ด้กรรมสิทธิ์ มีหน้าที่เสีย vat ได้กลายเป็ นอัตราร้อยละ 7 ฐานภาษีคือ ราคาตลาดของสินค้า
นัน้ ตามสภาพหรือปริมาณที่เป็ นอยู่ ในวันที่ความรับผิดเกิด
อัตราภาษีมลู ค่าเพิ่ม
1) อัตราร้อยละ 10 แต่มีประกาศลดอัตราภาษี จากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 6.3 (รวม
จัดเก็บแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อีก ร้อยละ 0.7 รวมเป็ น ร้อยละ 7) โดยมีการ
ขยายเวลาการจัดเก็บ vat ออกไปอีก 1 ปี คือ ตัง้ แต่ เริ่มตัง้ แต่วนั ที่ 1 ต.ค.2563 ถึง 30 ก.ย.2564
(NOTE อัตราภาษีมลู ค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 นัน้ แท้จริงแล้วมีภาษีมลู ค่าเพิ่มเพียง ร้อยละ
6.3 และมีการเรียกเก็บแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในอัตรา 0.7% ดังนัน้ รวมกัน จึง
เป็ นภาษีมลู ค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 ดูดีๆ เวลาทาข้อสอบ โจทย์ตอ้ งการถามอัตรารวมหรืออัตราแยก)
2) อัตราร้อยละ 0 สาหรับกิจการ
- ส่งออกสินค้า
- การให้บริการที่กระทาในราชอาณาจักร และมีการใช้บริการ ในต่างประเทศ
(เสีย vat ร้อยละ 0 เฉพาะราคาที่มีการใช้ในต่างประเทศ)
- การขายสินค้าให้กบั องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชานัญพิเศษของสหประชาชาติ
สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่
การคำนวณภาษี มี 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนทั่วไป
ในการคานวณภาษีมลู ค่าเพิ่มจะใช้สาหรับการประกอบกิจการ ดังต่อไปนี ้
1. การขายสินค้า
2. การให้บริการ
3. การนาเข้า
วิธีคานวณภาษี
นายอดขายทัง้ เดือนภาษี มาคานวณหา ภาษีขาย ในอัตราร้อยละ 7 และนายอดซือ้ ทัง้ เดือนภาษี
มาคานวณหาภาษีซอื ้ ในอัตราร้อยละ 7 หลังจากนัน้ นาภาษีขาย หัก ด้วยภาษีซอื ้
หากมีภาษีขายมากกว่าภาษีซือ้ ต้องชาระภาษี
หากมีภาษีซอื ้ มากกว่าภาษีขาย สามารถขอคืนภาษีหรือจะยกไปเป็ นเครดิตภาษีในเดือน
ถัดไป ก็ได้
การคานวณภาษีดว้ ยวิธีนี ้ ต้องยื่นแบบภาษีมลู ค่าเพิ่มด้วยแบบ ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ของ
เดือนถัดไป หากยื่นเกินกาหนดเวลา ต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 1.5 ของจานวนภาษี ต่อเดือนหรือ
เศษของเดือน และเสียเบีย้ ปรับ อีก 2 เท่าของภาษีท่ตี อ้ งเสีย และเสียค่าปรับอาญา กรณีย่นื แบบ
เกินกาหนดเวลา ไม่เกิน 2,000 บาท
[110]

✓ เงินเพิ่ม และ เบีย้ ปรับ เป็ นโทษทางแพ่ง


✓ ค่าปรับอาญา กรณีย่นื แบบเกินกาหนดเวลา เป็ นโทษทางอาญา
ตัวอย่าง
นาย AA รับเหมาก่อสร้าง เดือนกันยายน 2562 มีรายได้ 3,000,000 บาท (เป็นราคารวม
vat แล้ว) มีค่าใช้จ่าย คือ ค่าซือ้ ปูน เหล็ก และอุปกรณ์ต่าง ๆ รวม 2,000,000 บาท มีค่าน้ำ
ค่าไฟฟ้า รวม 5,000 บาท มีค่าน้ำมันรถที่ใช้ในกิจการ 10,000 บาท นาย AA ต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
คำตอบ สูตรภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย - ภาษีซือ้
(ภาษีขาย มาจาก ยอดขายไม่รวม vat X 7% และ ภาษีซื้อมาจากยอดซือ้ ไม่รวม vat X 7%)
1) ยอดขายจริง 2,803,738.32 บาท (มาจาก 3,000,000 X 100 /107
ภาษีขาย (2,803,738.32 X 7 %) = 196,261.68 บาท
2) ยอดซื้อจริง 1,883,177.57 บาท (มาจาก 2,015,000 X 100 /107
ภาษีซื้อ (1,883,177.57 X 7 %) = 131,822.43 บาท
3) ภาษีที่ต้องชำระ = (ภาษีขาย-ภาษีซือ้ = 64,439.25 บาท
(196,261.68 - 131,822.43)
นาย AA ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป คือ ภายในวันที่
15 ตุลาคม 2562 แต่ถา้ ขอยื่นทาง Internet เวปไซต์ กรมสรรพากร www.rd.go.th
หัวข้อ e-Filng ขยายเวลายื่นไปอีก 8 วัน คือภายใน 23 ตุลาคม 2562 แต่วนั ที่ 23 ต.ค. 2562
เป็ นวันหยุด ก็ให้ย่นื วันทาการถัดไป คือ วันที่ 24 ต.ค. 2562
หาก นาย AA ไม่ย่นื ภายในวันที่ 24 ต.ค.2562 ทาง Internet แล้วจะยื่นวันที่ 25 ต.ค.
2562 ไม่ได้แล้ว (เพราะการยื่นแบบฯ ประเภทใดก็ตาม ทาง www.rd.go.th
ต้องยื่นภายในเวลาที่ ก.ม.กาหนด (คือขยายจากเวลายื่นแบบปกติ ไปอีก 8 วัน ทุกประเภทภาษี)
ถ้าเกินกาหนด ต้องไปยื่นแบบฯ ณ สนง.สรรพากรสาขา และชาระเงินเพิ่ม 1.5 % ต่อเดือน หรือ
เศษของเดือน และ ชาระเบีย้ ปรับอีก 2 เท่า ของภาษี และชาระค่าปรับอาญา กรณีย่ืนแบบเกิน
กาหนดเวลา อีกด้วย)
NOTE ฐานที่นำมาคำนวณหา ภาษีขาย / ภาษีซื้อ ต้องเป็นยอดที่ยังไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat)

กรณีท่ี 2 ผูป้ ระกอบการจดทะเบียน ที่เสียภาษี VAT ในอัตรา ร้อยละ 0 ดังนี ้


1. การส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รบั ยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่ม
2. การให้บริการที่กระทาในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนัน้ ในต่างประเทศ
3. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทาโดย
ผูป้ ระกอบการที่เป็ นนิติบคุ คล
4. การขายสินค้าหรือบริการให้กบั กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
5. การขายสินค้าหรือบริการให้กบั องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชานาญพิเศษของ
[111]

สหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล


6. การขายสินค้าหรือบริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือ
ระหว่างผูป้ ระกอบการกับผูป้ ระกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ไม่วา่ จะ
อยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่
การคานวณภาษีทานองเดียวกันกับ วิธีท่ัวไป ต่างกันตรงอัตราภาษีขาย คือ ร้อยละ 0
ภาษีท่ตี อ้ งชาระ = ภาษี ขาย - ภาษีซือ้
(ภาษีขาย มาจาก ยอดขายยังไม่รวม vat X 0%
ภาษีซอื ้ มาจาก ยอดซือ้ ยังไม่รวม vat X 7%)
Note
- Vat เป็ นคาย่อ ของภาษีมูลค่าเพิ่ม มาจาก Value Added Tax
- ถ้ามียอดภาษีซอื ้ มากกว่า ภาษีขาย ผูป้ ระกอบการมีสิทธิ์ขอคืนภาษี
ตัวอย่าง
นาย AA ผลิตกระเป๋าขาย ซื้อหนังมา ราคา 500,000 บาท และวัสดุอื่น ๆ เช่น ซิบ , ด้าย กล่อง
บรรจุ รวม 300,000 บาท โดยซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (เป็นราคาที่ยังไม่
รวม VAT ) เมื่อผลิตแล้ว ส่งออกไปขายยังประเทศเดนมาร์ก ในราคา 1,000,000 บาท
คำตอบ สูตร ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย- ภาษีซือ้
ภาษีขาย คือ 1,000,000 X 0% = 0.00
ภาษีซือ้ คือ 800,000 X 7 % = 56,000
ภาษีคอื 0 - 56,000 = - 56,000
ผลการคำนวณ คือภาษีซือ้ มากกว่า ภาษีขาย หรือเรียกว่า “ภาษีชำระไว้เกิน”
นาย AA มีสทิ ธิ์ ขอคืนภาษี จำนวน 56,000 บาท
เครดิตและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เมื่อคานวณภาษีมลู ค่าเพิ่มด้วยภาษีขาย – ภาษีซอื ้ หากมีภาษีซือ้ มากกว่าภาษีขาย ถือเป็ นเครดิต
ภาษี ซึ่งผูเ้ สียภาษี มีสิทธิได้รบั คืนภาษีหรือนาเครดิตภาษีไปชาระภาษีมลู ค่าเพิ่มเดือนถัดไปได้
กำหนดเวลาขอคืนภาษี
(1) ถ้าผูเ้ สียภาษีไม่ได้ขอคืนพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.พ.30 ของเดือนภาษีหรือพร้อมกับ
การยื่นแบบเพิ่มเติม ซึ่งอาจเป็ นกรณีมีภาษีซอื ้ ยื่นไว้ขาด หรือขอคืนจากเครดิตภาษีท่เี หลืออยู่และ
พันยอดยกมา ให้ย่นื คาร้องขอคืน ด้วยแบบ ค.10 ภายใน 3 ปี นีบแต่วนั พ้นกาหนดเวลายื่นแบบ
ภ.พ.30 สาหรับเดือนภาษีนนั้
(2)ถ้าเป็ นการขายสินค้าหรือบริการอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตามข้อ 1 เช่น สินค้านัน้ ได้รบั ยกเว้น
ภาษีมลู ค่าเพิ่ม นาส่งภาษีไว้เกิน หรือนาส่งภาษี โดยไม่มีหน้าที่ตอ้ งนาส่ง ให้ย่นื คาร้องขอคืน
ภายใน 3 ปี นบั แต่วนั ที่ได้ชาระภาษี
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (จุดเน้น - สอบตลอด)
[112]

1. เรียกเก็บภาษีมลู ค่าเพิ่มจากผูซ้ อื ้ สินค้าหรือผูร้ บั บริการ


2. ออกใบกากับภาษี
ใบกากับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสาคัญ ซึ่งผูป้ ระกอบการจด
ทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มจะต้องจัดทา และออกใบกากับภาษีให้กบั ผูซ้ อื ้ สินค้าหรือผูร้ บั บริการทุก
ครัง้ ที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจานวน
ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ที่ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผูซ้ อื ้ สินค้าหรือ
ผูร้ บั บริการในแต่ละครัง้
กรณีการขายสินค้า
ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในทันทีที่
มีการส่งมอบสินค้า หรือเมื่อได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อก่อนส่งมอบสินค้า หรือเมื่อ
ได้รับชำระราคาก่อนส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อ แล้วแต่กรณี
กรณีการให้บริการ
ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการในทันที
ที่ได้รับชำระค่าบริการ หรือเมือ่ ได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่นก่อนได้รับชำระ
ค่าบริการ แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนจะต้องจัดทำสำเนาใบกำกับภาษี และเก็บรักษาสำเนา
ใบกำกับภาษีไว้ ณ สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
3.จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด (จุดเน้น) ซึ่งได้แก่
3.1 รายงานภาษีซื้อ
3.2 รายงานภาษีขาย
ให้ลงรายงานภาษีขายเป็นรายใบกำกับภาษี เว้นแต่การลงรายการโดยใช้รายงานสรุปการ
ขายประจำวัน ในการลงรายงานให้ลงภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ระบุในใบกำกับภาษี (ไม่รวม
วันหยุด)
ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องลงรายงานภาษีขาย แต่ให้ลงตามรายงานสรุปการขายประจำวัน คือ
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป โดยในแต่ละวัน ได้จัดทำใบกำกับภาษี่
ตัง้ แต่ 100 ฉบับขึ้นไป แต่ต้องนำยอดรวมมูลค่าสินค้าหรือบริการ ที่ขายได้ในแต่ละวัน และ
ภาษีมูลค่าเพิม่ ทั้งหมดต่อวันไปลงในรายงานภาษีขายในแต่ละวัน
3.3 รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
4.การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถยื่นได้ทาง
4.1 ยื่นแบบฯและชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
4.2 ยืน่ แบบฯและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
4.3 ยื่นแบบฯและชำระภาษีที่ธนาคารพาณิชย์ไทย
ประเภทของใบกำกับภาษี
(ประกอบด้วย ใบกากับภาษีเต็มรูป และใบกากับภาษีอย่างย่อ)
1) ใบกากับภาษีแบบเต็มรูป ผูอ้ อกใบกากับภาษีฯ ต้องดาเนินการ ดังนี ้
1.1 การจัดทาใบกากับภาษีแบบเต็มรูป
รายการในใบกากับภาษีแบบเต็มรูป (มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร) อย่างน้อย
ต้องประกอบด้วย
[113]

(1) คาว่า "ใบกากับภาษี" ในที่ท่เี ห็นได้เด่นชัด


(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษีอากรของผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่
ออกใบกากับภาษีและในกรณีท่ตี วั แทนเป็ นผูอ้ อกใบกากับภาษีในนามของผูป้ ระกอบการจด
ทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 หรือผูท้ อดตลาดเป็ นผูอ้ อกใบกากับภาษีในนาม
ของผูป้ ระกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/3 ให้ระบุช่อื ที่อยู่ และเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษีอากร
ของตัวแทนนัน้ ด้วย
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผูซ้ อื ้ สินค้าหรือผูร้ บั บริการ
(4) หมายเลขลาดับของใบกากับภาษี และหมายเลขลาดับของเล่ม ถ้ามี
(5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(6) จานวนภาษีมลู ค่าเพิ่มที่คานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้
แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชดั แจ้ง
(7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกากับภาษี
(8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกาหนด
รายการในใบกากับภาษี ให้ทาเป็ นภาษาไทย เป็ นหน่วยเงินตราไทยและใช้ตวั เลข
ไทยหรืออารบิค เว้นแต่ในกิจการบางประเภทที่มีความจาเป็ นต้องทาเป็ นภาษาต่างประเทศ หรือ
เป็ นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ให้กระทาได้เมื่อได้รบั อนุมตั ิจากอธิบดี
ใบกากับภาษีอาจออกรวมกันสาหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการหลายอย่างก็ได้ เว้นแต่
อธิบดี จะได้กาหนดให้การออกใบกากับภาษีสาหรับสินค้าหรือบริการบางอย่างหรือหลายอย่าง
ต้องกระทาแยกต่างหาก โดยมิให้รวมไว้ในใบกากับภาษีเดียวกันกับรายการอื่น
หมายเหตุ รายการตามที่กล่าวข้างต้น ถือเป็ นสาระสาคัญในใบกากับภาษี แบบเต็มรูป
ซึ่งต้องมี ถ้าไม่มี ถือว่าไม่สมบูรณ์ และ ไม่สามารถนาใบกากับภาษีท่มี ีรายการไม่ครบถ้วนไปใช้ได้
แต่ในใบกากับภาษี อาจมีรายการเกินจากที่กาหนดข้างต้นได้ ไม่ผิด (สรุป มีเกินได้ แต่ขาดไม่ได้)
1.2 การยกเลิกใบกากับภาษีฉบับเดิม เพื่อออกฉบับใหม่
1.3 การออกใบแทนใบกากับภาษี ใบเพิ่มหนี ้ ใบลดหนี ้
2) ใบกากับภาษีอย่างย่อ
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือประกอบกิจการ
ให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บคุ คลจานวนมาก เท่านัน้ ที่สามารถออกใบกากับภาษี
อย่างย่อได้ ซึ่งในใบกากับภาษีอย่างย่อ จะต้องเป็ นการแสดงราคาทีร่ วมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
และไม่มีชอื่ ผูซ้ อื ้
Note ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก มีสิทธิออกใบกากับภาษี
อย่างย่อได้แต่ตวั แทนของผูป้ ระกอบการจดทะเบียนจะออกใบกากับภาษีอย่างย่อไม่ได้ และต้องมี
รายการอย่างน้อยดังต่อไปนี ้ (มีมากกว่าได้ แต่มีนอ้ ยกว่าไม่ได้)
(1) คาว่า "ใบกากับภาษี" ในที่ท่ีเห็นได้เด่นชัด
[114]

(2) ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษีอากรของผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่ออก


ใบกากับภาษี
(3) หมายเลขลาดับของใบกากับภาษี และหมายเลขลาดับของเล่ม ถ้ามี
(4) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(5) ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีขอ้ ความระบุชดั เจนว่าได้รวม
ภาษีมลู ค่าเพิ่มไว้แล้ว
(6) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกากับภาษี ชื่อ ชนิด หรือประเภทของสินค้า
การเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากมีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่
จะต้องยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม หรือ ภ.พ.09 เพือ่ แก้ไขข้อมูล
1) การเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม
แจ้งการเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ณ สถานที่ท่ไี ด้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่นอ้ ยกว่า
15 วันก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม มิฉะนัน้ มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
2) การปิดสถานประกอบการบางแห่ง
ให้แจ้งปิดสถานประกอบการบางแห่ง โดยยื่นคำขอตามแบบ ภ.พ.09 ณ สถานที่ที่ได้จด
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายใน 15 วันนับจากวันปิดสถานประกอบการพร้อมคืนใบ ภ.พ.20
ของสถานประกอบการที่ปิดนัน้ ด้วย มิฉะนัน้ มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
3) การย้ายสถานประกอบการ ให้ดำเนินการ ดังนี้
- กรณียา้ ยสถานประกอบการไปอำเภอเดียวกัน ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลง ณ สถานที่ที่
ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มกี ารย้ายสถานประกอบการ
- กรณีย้ายสถานประกอบการข้ามเขตอำเภอ ให้แจ้งย้ายออก ณ สถานที่ที่ได้จด
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันย้ายไม่น้อยกว่า 15 วัน และแจ้งเปิดสถานประกอบการใหม่ ที่
สำนักงานสรรพากรท้องที่ที่สถานประกอบการใหม่ตงั้ อยู่ก่อนวันเปิดสถานประกอบการใหม่
ไม่นอ้ ยกว่า 15 วันเพื่อขอรับใบทะเบียน ภ.พ.20 ใหม่และคืนใบ ภ.พ.20 ฉบับเดิมด้วย
4) การหยุดประกอบกิจการชั่วคราว
หากหยุดประกอบการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน ให้แจ้งการหยุด
ประกอบการชั่วคราว ณ สนง.สรรพากรที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 15 วันนับจาก
วันหยุดประกอบกิจการชั่วคราว มิฉะนัน้ มีโทษปรับ ไม่เกิน 2,000 บาท
5) การเลิกประกอบกิจการ
ให้แจ้งเลิก ณ สนง.สรรพากรที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ภายใน 15 วันนับจาก
วันเลิกประกอบกิจการพร้อมคืน ภ.พ.20 ด้วย มิฉะนัน้ มีโทษปรับ ไม่เกิน 5,000 บาท
6) การโอนกิจการและการรับโอนกิจการ
6.1 ผู้โอนกิจการ ให้แจ้งโอนกิจการ ณ สนง.สรรพากรที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนไม่น้อยกว่า 15 วัน มิฉะนั้น มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
[115]

แต่ถ้าเป็นการโอนกิจการทั้งหมด ให้แจ้งการโอนและแจ้งเลิกประกอบกิจการ ณ
สนง.สรรพากรที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ก่อนวันโอนไม่น้อยกว่า 15 วัน
6.2 ผู้รับโอนกิจการ
หากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนอยู่แล้ว ให้แจ้งการรับโอนกิจการ ณ สนง.
สรรพากรที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
หากผู้รับโอนไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนกิจการยื่นคำขอจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ยื่น ภ.พ.01) ไม่นอ้ ยกว่า 15 วันก่อนวันรับโอนกิจการ
7) การควบกิจการเข้ากัน
ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิตบิ ุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้แจ้งเลิก
ประกอบกิจการและให้นิติบุคคลใหม่ท่คี วบเข้ากัน ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01)
ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิตบิ ุคคลใหม่
แบบแสดงรายการและกำหนดเวลายื่นแบบ
1) แบบ ภ.พ.30 เป็ นแบบแสดงรายการ สาหรับผูป้ ระกอบการจดทะเบียน
ที่ตอ้ งเสียภาษี โดยคานวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซอื ้
กาหนดเวลายื่นแบบ ภ.พ.30 ให้ย่นื เป็ นรายเดือนภาษีทกุ เดือน ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่
ก็ตาม ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากยื่นแบบทาง www.rd.go.th ให้ขยายออกไปอีก 8 วัน
2) แบบ ภ.พ.36 เป็ นแบบนาส่งภาษีมลู ค่าเพิ่ม ผูม้ ีหน้าที่ย่นื แบบ ภ.พ.36 ได้แก่
(1) ผู้จ่ายเงินซึ่งจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่
(ก) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้า
หรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว
(ข) ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นใน
ราชอาณาจักร
(2) ผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 0 ได้แก่
การรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้มีการขายหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ
ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่สถานกงสุล
(3) ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือส่วน
ราชการ ซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจาก
การขายทอดตลาด
3) แบบ ภ.พ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4) แบบ ภ.พ.02 แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มรวมกัน
5) แบบ ภ.พ.04 แบบคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
6) แบบ ภ.พ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
7) แบบ P.P.30.9 แบบยื่นภาษี สำหรับผู้ประกอบการที่เป็น e-Service (เน้น)
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ก) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ย่นื ที่
- สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขา (เขต/อาเภอ) ในท้องที่ท่สี ถานประกอบการตัง้ อยู่
[116]

- สถานที่อ่ืนซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรกาหนดให้เป็ นสถานที่ย่นื แบบและชาระภาษี


(ข) ในเขตจังหวัดอื่น ให้ย่นื ณ สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขา (อาเภอ/กิ่งอาเภอ) ในท้องที่ท่ี
สถานประกอบการตัง้ อยู่
- สถานที่อ่ืนซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรกาหนดให้เป็ นสถานที่ย่นื แบบและชาระภาษี
(ค) การยื่นแบบแสดงรายการและชาระภาษี สามารถยื่นผ่านเว็ บไซต์ของกรมสรรพากรได้ ที่
เวปไซต์ www.rd.go.th

กำหนดเวลายื่นแบบ คือ
1. กรณีเป็ นผูจ้ ่ายเงินฯ ตาม (1) หรือเป็ นผูท้ อดตลาดฯ ตาม (3)ให้นาส่งเงินภาษี ภายใน
7 วัน นับแต่วนั สิน้ เดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผปู้ ระกอบการตาม (1) หรือขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ของผูป้ ระกอบการจดทะเบียนตาม (3) แล้วแต่กรณี
2. กรณี เป็ น ผู้รับ โอนสิ น ค้า หรื อ เป็ น ผู้รับ โอนสิ ท ธิ ในบริก ารตาม (2)ให้น าส่ งเงิ น ภาษี
ภายใน 7 วั น นั บ แต่ วั น สิ ้น เดื อ นของเดื อ นที่ ค รบก าหนด 30 วั น ที่ ค วามรับ ผิ ด ในการเสี ย
ภาษีมลู ค่าเพิ่มเกิดขึน้
โทษของการไม่ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม
(จุดเน้น ปี 2562 ออกข้อสอบเรือ่ งโทษ 2 ข้อ)
➢ โทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เป็ นกรณีท่ผี ปู้ ระกอบการจดทะเบียน ไม่ดาเนินการ เช่น
(1) ไม่ย่ืนแบบแสดงรายการภาษี
(2) ไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิม่
(3) ไม่คืนใบทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม
(4) ไม่แจ้งการย้ายสถานประกอบการ
(5) ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปหรืออย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ โดยมีสาระสำคัญไม่ครบถ้วน
(6) ไม่ออกใบแทนใบกากับภาษี ใบแทนใบเพิ่มหนี ้ หรือใบแทนใบลดหนี ้
(7) จงใจไม่เก็บรักษาใบกากับภาษี หรือสาเนาใบกากับภาษี
➢ ระวางโทษจาคุกไม่ เกิน 1 เดือน หรื อปรับไม่ เกิน 5,000 บาท หรื อทั้งจาทั้งปรับ
(1) มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม แต่ไม่จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ตามมาตรา
85/1 มาตรา 85/13 วรรคสอง หรือมาตรา 85/14
(2) ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนไม่จดั ทาใบกากับภาษีหรือสาเนาใบกากับภาษี หรือ
จัดทาแล้วไม่สง่ มอบให้ผูซ้ อื ้ หรือผูร้ บั บริการ
(3) ผูป้ ระกอบการที่จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มชั่วคราว ออกใบกากับภาษีท่ไี ม่
เป็ นไปตามหลักเกณฑ์ ที่อธิบดีกาหนด
(4) ตัวแทนออกใบกากับภาษีในนามของผูป้ ระกอบการจดทะเบียน ไม่เป็ นไปตาม
หลักเกณฑ์ ที่อธิบดีกาหนด
[117]

(5) ไม่ปฏิบตั ติ ามระเบียบเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน


(6) ไม่ปฏิบตั ติ ามหมายเรียกหรือคาสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน
➢ ระวางโทษจาคุกไม่ เกิน 6 เดือน หรื อปรับไม่ เกิน 10,000 บาท หรื อทั้งจาทั้งปรับ
(1) ตัวแทนที่อยู่นอกราชอาณาจักร ออกใบกากับภาษีโดยไม่มีสิทธิ
(2) ใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินโดยไม่ได้รบั อนุมตั ิ
(3) ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนไม่จดั ทารายงาน
(4) ตัวแทนผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักรไม่จดั ทารายงาน
(5) ผูข้ ดั ขวางหรือไม่อานวยความสะดวกแก่การปฏิบตั ิงานของเจ้าพนักงาน
ประเมิน หรือขัดคาสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน
➢ ระวางโทษจาคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
(1) ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลีย่ ง
ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ออกใบกากับภาษี ใบเพิ่มหนี ้ หรือใบลดหนีโ้ ดยไม่มีสิทธิท่จี ะออกเอกสาร
(2) ตัวแทนผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร โดยเจตนา
หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีมลู ค่าเพิ่ม ออกใบกากับภาษีโดยไม่มีสิทธิ
(3) ผูอ้ อกใบกากับภาษี ใบเพิ่มหนี ้ หรือใบลดหนี ้ โดยไม่มีสิทธิจะออกเอกสาร
(4) ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยง
ภาษีมลู ค่าเพิ่มไม่ลงรายการ หรือลงรายการเป็ นเท็จในรายงาน
(5) ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยง
ภาษีมลู ค่าเพิ่มไม่ออกใบกากับภาษี ใบเพิ่มหนี ้ หรือใบลดหนี ้ หรือใบแทนเอกสารดังกล่าว
(6) ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง
ภาษีมลู ค่าเพิ่ม หรือขอคืนภาษีมลู ค่าเพิ่ม กระทาการใด ๆ โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย
(7) ผูป้ ระกอบการโดยเจตนานาใบกากับภาษีปลอม หรือใบกากับภาษีท่อี อกโดยไม่ชอบ
ด้วยกฎหมายไปใช้ในการเครดิตภาษี

ภาษี e-service

กฎหมาย e-Service กำหนดผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์


แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ถ้ามีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทจากผู้ใช้บริการในไทย จะต้องนำส่ง
VAT ให้แก่กรมสรรพากร ซึ่งปัจจุบันอัตรา VAT คือ 7% โดยกฎหมายภาษี e-Service นี้จะเริ่มมี
ผลบังคังใช้ ตั้งแต่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป โดยยื่นภาษีด้วยแบบ P.P.30.9 (จุดเน้น)
ข้อดี คือ ทำให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันแก่ผู้ให้บริการในประกาศ ซึ่งปัจจุบันมี
ภาระหน้าที่ต้องนำส่ง VAT อยู่แล้ว
ธุรกิจที่เกีย่ วข้องกับกฎหมาย e-Service คือผู้ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ
เช่น บริการโฆษาบนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่น, บริการดาวน์โหลดหรือเล่นเกม, ฟังเพลง, ดู
[118]

ภาพยนตร์ออนไลน์, ดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ใน Chat Application, สตรีมมิ่ง เป็นต้น จะอยู่ภายใต้


กฎหมาย e-Service
ตัวอย่าง แพลตฟอร์มต่างประเทศที่จดทะเบียน e-Service เช่น Facebook, Google,
Youtube, Microsoft, McAfee, Zoom, Amazon เป็นต้น
ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จาก
ต่างประเทศแก่ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้
1. มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ยื่นจด
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากยอดขายโดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก
โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศสามารถยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นแบบแสดง
รายการภาษี P.P.30.9 ผ่านระบบ VES หรือ VAT for Electronic Service

จุดเน้น หากผู้มีรายได้ตา่ งประเทศ ให้บริการกับผู้ประกอบการที่จด VAT อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องยื่น


ยอดรายได้ แต่ให้ผู้ประกอบการจด VAT นั้น นำส่งภาษีแทนผูป้ ระกอบการต่างประเทศ ด้วยแบบ
ภ.พ.36 ถ้า ผู้รับบริการ ไม่ใช่ผปู้ ระกอบการที่จด VAT ต้องให้ผู้ประกอบการแพลตฟอร์ม ต่างประเทศ
นั้น ยืน่ แบบ P.P.30.9

ภาษีธุรกิจเฉพาะ
Specific Business Tax ( SBT)
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็ นภาษีอากรประเมิน และเป็ นภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) จัดเก็บ
จากการบริโภคหรือการบริการเฉพาะอย่าง อยู่ในหมวด 5 แห่งประมวลรัษฎากร
(จุดเน้น) ทัง้ ภาษีมล
ู ค่าเพิ่ม และภาษีธุรกจเฉพาะ จัดเก็บแทนที่ภาษีการค้า (Business Tax)
ตัง้ แต่ วันที่ 1 มกราคม 2535
ฐานภาษี คือ จัดเก็บจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
รูปแบบของผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผูป้ ระกอบกิจการที่ตอ้ งเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คือผูป้ ระกอบกิจการในรูปของ
- บุคคลธรรมดา
- คณะบุคคลที่มิใช่นิติบคุ คล
- กองมรดก
- ห้างหุน้ ส่วนสามัญ
- กองทุน
- องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกาหนดให้เป็ นนิติบคุ คล
- หน่วยงาน/กิจการของเอกชนที่กระทาโดยบุคคลธรรมดาตัง้ แต่สองคนขึน้ ไปอันมิใช่นิติ
บุคคล ในกรณีผปู้ ระกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผมู้ ีหน้าที่รบั ผิดชอบในการประกอบ
[119]

กิจการรวมตลอดถึง ลูกจ้าง ตัวแทน หรือผูท้ าการแทนซึ่งมีอานาจในการจัดการแทนโดยตรง หรือ


โดยปริยายที่อยูใ่ นราชอาณาจักร เป็ นผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีรว่ มกับผูป้ ระกอบกิจการดังกล่าวข้างต้น
การประกอบกิจการที่ตอ้ งเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (จุดเน้น) ออกข้ อสอบบ่อยมาก
1.การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
2.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมาย
ว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
3.การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
(สังเกตุ ไม่มีการรับประกันวินาศภัย) ฉะนัน้ การรับประกันวินาศภัย เช่น การ
รับประกันรถหายไฟไหม้ อันนี ้ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม )
4.การรับจานา ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจานา
5.การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กยู้ ืมเงินคา้ ประกัน
แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซือ้ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
ในกรณีทมี่ ีปัญหาว่า กิจการใดเป็ นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคาร
พาณิชย์หรือไม่ อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินจิ ฉัยภาษีอากรพิจารณา และ
เมือ่ คณะกรรมการวินจิ ฉัย ภาษีอากรได้วนิ จิ ฉัยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
6.การขายอสังหาริมทรัพย์เป็ นทางค้าหรือหากาไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นนั้ จะได้มาโดย
วิธีใดก็ตามดังต่อไปนี ้
(1) การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินตาม
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดิน
(2) การขายห้องชุดของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผูข้ อจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่า
ด้วย อาคารชุด
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขายรวมถึงการขายที่ดินอันเป็น
ที่ตั้งของอาคารนั้น
(4)การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เฉพาะกรณีที่มีการแบ่ง
ขาย หรือแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่น หรือให้คำมั่นว่าจะจัดให้มี
(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของ
5.1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
5.2) องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นทีก่ ำหนดให้เป็นนิติบุคคล
(6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) (5) ที่ได้กระทำ
ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่ รายการตามข้อ (ก) - (ช) ให้ยกเว้น
ไม่ต้องนำมาเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
(ก) การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
(ค) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยหลัก โดย
ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีนับ
แต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตาม (ค) ได้มาไม่พร้อม
กันกำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรืออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มา
[120]

ภายหลัง
(ง) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่
บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
(จ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ทางมรดกให้แก่ทายาทโดย
ธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม
ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำดับ (หมายถึงว่า การแบ่งทรัพย์มรดกให้กับทายาทโดย
ธรรมนั้น ต้องแบ่งตามลำดับชั้น ดังต่อไปนี้
1) ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
และบุตรบุญธรรม
2) บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มสี ิทธิรบั มรดก
3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4) พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน หรือ“พี่น้องต่างพ่อหรือต่าง แม่”
5) ปู่ ย่า ตา ยาย
6) ลุง ป้า น้า อา
สำหรับคู่สมรสนั้น มีสทิ ธิได้รับมรดก อยู่ในลำดับชั้นเดียวกันกับผู้สืบสันดาน
(ชั้นบุตร) เพียงแต่ไม่ได้กำหนดให้อยู่ในลำดับตามข้างต้นนี้
(ฉ) การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือ
องค์การของรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน
(ช) การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการ
หรือองค์การของรัฐบาลเฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่าย
ค่าตอบแทนเป็นอย่าง อื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนัน้
หมายเหตุ ผูม้ ีเงินได้ท่ีได้รบั เงินได้พงึ ประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม (6)
ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้วเมื่อถึงกาหนดยื่นรายการ
เสียภาษีเงินได้ ให้ได้รบั ยกเว้นไม่ตอ้ งนาเงินได้ดงั กล่าวมาคานวณเป็ นเงินได้พงึ ประเมิน ทัง้ นีเ้ พื่อ
เป็ นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 376 พ.ศ.2544)
(7) การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาด
หลักทรัพย์
(8) การประกอบกิจการอื่น ตามกาหนดโดยพระราชกฤษฎีกา เช่น
- กิจการซือ้ – ขายคืนหลักทรัพย์ ที่ได้รบั อนุญาตจากสานักงานคณะกรรมการ
กากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) หรือ กิจการซือ้ ขายคืนหลักทรัพย์ท่ที าขึน้ ระหว่าง
ธนาคารแห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินหรือนิติบคุ คลอื่น
- ธุรกิจแฟกเตอริ่ง
"ธุรกิจแฟ็ กเตอริง" หมายความว่า ธุรกิจที่ผขู้ ายสินค้าหรือผูใ้ ห้บริการตกลง
จะ โอนทรัพย์สินที่จะได้รบั จากการชาระหนีเ้ นื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างตน
กับลูกหนีข้ องตน ให้แก่ผปู้ ระกอบธุรกิจแฟ็ กเตอริง โดยผูป้ ระกอบธุรกิจแฟ็ กเตอริ่งตกลงจะให้
สินเชื่อ ซึ่งรวมถึงการให้กยู้ ืมและการทดรองจ่ายแก่ผขู้ ายสินค้าหรือผูใ้ ห้บริการและรับที่จะ
ดาเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี ้
[121]

(ก) จัดให้มีบญ ั ชีทรัพย์สินที่จะได้รบั การชาระหนี ้


(ข) เรียกเก็บทรัพย์สินที่จะได้รบั จากการชาระหนี ้
(ค) รับผิดชอบในหนีท้ ่ลี กู หนีข้ องผูข้ ายสินค้าหรือผูใ้ ห้บริการผิดนัด
หากประกอบกิจการอย่างอื่นที่อยู่ใน ข่ายต้องจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม
จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมลู ค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และชาระภาษีมลู ค่าเพิ่มด้วย
ผูป้ ระกอบกิจการที่มีสถานประกอบการหลายแห่ง และมีความประสงค์ จะขอยื่น
แบบฯ และชาระภาษีรวมกัน ก็ทาได้โดยยื่น แบบคาขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจ
เฉพาะรวมกัน หรือ ภ.ธ.02 ต่ออธิบดีกรมสรรพากรก่อน และเมื่อได้รบั อนุมตั ิจากกรมสรรพากร
แล้วจึงจะ ยื่นแบบฯ รวมกันได้
เมื่อได้รบั อนุมตั ิให้ย่ืนแบบรวมกันแล้ว ผูป้ ระกอบกิจการสามารถยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือ ภ.ธ.40 เพียงฉบับเดียวพร้อมกับใบแนบ
กิจการทีไ่ ม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (จุดเน้ น-จากิจการทีไ่ ม่ต้องเสียภาษีนีไ้ ว้ ด้วย
ออกทุกรอบการสอบ) (มีหลายกิจการ ขอยกมาบางอย่าง)
1.กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3. กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะการให้กยู้ ืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ ฯ
4. กิจการของกองทุนสารองเลีย้ งชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสารองเลีย้ งชีพ
5. กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการขายหรือให้เช่าซือ้ อสังหาริมทรัพย์
6. กิจการรับจานาของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น
7. กิจการขายหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน
ตลาดหลักทรัพย์
8. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
9. กิจการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
10. กิจการของธนาคารเพื่อการส่งออกและนาเข้าแห่งประเทศไทย
11. กิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
12. กิจการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
13. กิจการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
14. กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการให้กยู้ ืมเงินตามโครงการพัฒนาคนจน
ในเมือง
15. กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็ นทางการค้าหรือหากาไรเนื่องจาก
[122]

(1) การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝาก หรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการ


ขายฝาก โดยการวางทรัพย์ตอ่ สานักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กาหนด ได้ในสัญญาหรือภายใน
เวลาที่กฎหมายกาหนด
(2) การขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อรวม
ระยะเวลาการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างการขายฝาก และ
ระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกิน 5 ปี
16. กิจการของกองทุนเงินให้กยู้ ืมเพื่อการศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กยู้ ืม
เพื่อการศึกษา
17. กิจการของกองทุนบาเหน็จบานาญข้าราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุน
บาเหน็จบานาญข้าราชการ
18. กิจการเฉพาะอย่างที่ไม่ตอ้ งเสียภาษีธรุ กิจเฉพาะ ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่
246 พ.ศ.2534 มีดงั นี ้
1) การให้บริการเช่าสังหาริมทรัพย์
2) การให้บริการการใช้บตั รเครดิต
3) การให้บริการที่ปรึกษาทางการลุงทุน
4) การให้เช่าซือ้ ทรัพย์สิน
5) การให้บริการนายหน้าและตัวแทนซือ้ ขายหลักทรัพย์
6) การให้บริการจัดจาหน่ายหลักทรัพย์
7) การให้บริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงและไม่มีฐานภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กาหนดไว้
ฐานภาษีและอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ
ฐานภาษี สาหรับการประกอบกิจการที่ตอ้ งเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่
รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ที่ผปู้ ระกอบกิจการได้รบั หรพึงได้รบั เนื่องจากการประกอบกิจการ
"รายรับ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ
อันมีมลู ค่าที่ผปู้ ระกอบกิจการ ได้รบั หรือพึงได้รบั ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจาก
การประกอบกิจการ กิจการที่ตอ้ งเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคานวณจากฐานภาษี
ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีท่กี าหนดไว้ และ
จะต้องเสียภาษีทอ้ งถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจานวนภาษี ธุรกิจเฉพาะ
[123]

กิจการ ฐานภาษี อัตราภาษี


ร้ อยละ
1) กิจการธนาคาร, - ดอกเบีย้ ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ 3
ธุรกิจเงินทุน , หรือกาไรก่อนหักรายจ่ายจากการซือ้ หรือขาย
ธุรกิจหลักทรัพย์, ธุรกิจ ตัว๋ เงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนีใ้ ด ๆ
เครดิตฟองซิเอร์ การประกอบ
- กาไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ
กิจการเยีย่ ง ธนาคารพาณิชย์ 3
แลกเปลีย่ นหรือซือ้ ขายเงินตรา การออกตัว๋
เงินหรือการส่งเงินไปต่างประเทศ

2) กิจการรับประกันชีวติ - ดอกเบีย้ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ 2.5


3)กิจการโรงรับจานา - ดอกเบีย้ ค่าธรรมเนียม
- เงิน ทรัพย์สนิ ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ 2.5
ใดๆ อันมีมูลค่าทีไ่ ด้รบั หรือพึงได้รบั จากการ 2.5
ขายของที่ จานาหลุดเป็ นสิทธิ
4) การค้าอสังหาริมทรัพย์ - รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ 3
5)การขายหลักทรัพย์ใน -รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ 0.1
ตลาดหลักทรัพย์ (ปั จจุบนั ได้รับยกเว้นภาษี) (ยกเว้น)
6)การซือ้ และขายคืน - กาไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขาย
หลักทรัพย์ทไี่ ด้รบั อนุญาต คืนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึง ดอกเบีย้ เงินปัน 3
จาก กลต. ผล หรือประโยชน์ใดๆ ทีไ่ ด้จากหลักทรัพย์
7)ธุรกิจแฟ็ กเตอริง -ดอกเบีย้ ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือ
3
ค่าบริการ

การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผูป้ ระกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องยื่นคาขอจดทะเบียน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบคาขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายใน 30 วันนับแต่วนั เริ่ม
ประกอบกิจการ (ออกข้อสอบบ่อย)
การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะให้ผปู้ ระกอบกิจการยื่นคาขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตาม แบบ ภ.ธ.01 ณ สถานที่ ดังต่อไปนี ้
(1) ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่
- สานักงานภาษีสรรพากรพืน้ ที่ ที่สถานประกอบการตัง้ อยู่
- สานักงานเขตท้องที่ท่สี ถานประกอบการตัง้ อยู่
(2) ในจังหวัดอื่นได้แก่
[124]

- สานักงานสรรพากรอาเภอ หรือกิ่งอาเภอท้องที่ท่สี ถานประกอบการตัง้ อยู่


“สถานประกอบการ” หมายความว่า สถานที่ซ่งึ ใช้ประกอบกิจการเป็ นประจา รวมถึง
สถานที่ซ่งึ ใช้เป็ นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็ นประจาด้วย
ยื่นคำขอ ภ.ธ.01 แล้ว ได้อะไร /ทำอย่างไรต่อ....(ในสวนนีค้ วรจา ออกข้อสอบบ่อย)
เมื่อขอจดทะเบียนเป็ นผูป้ ระกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว (ยื่นด้วย แบบ ภ.ธ.01) จะได้
ใบทะเบียนภาษีธรุ กิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) จะต้องดาเนินการดังนี ้
(1) การแสดงใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
เมื่อเจ้าพนักงานได้รบั คาขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามแบบ ภ.ธ.01 พร้อม
เอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว จะออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะคือ ภ.ธ.20 ผลคือ
จะเป็นผู้ประกอบกิจการภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย ตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
ในการออกใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) กรมสรรพากรจะออกให้ตาม
จานวน สถานประกอบการที่มีอยู่จริง ตามที่ได้แจ้งไว้ในแบบ ภ.ธ.01 และให้นาไปแสดงไว้
ณ ที่เปิ ดเผยซึ่งเห็นได้งา่ ยในสถานประกอบการ เป็ นรายสถานประกอบการ

กรณีใบ ภ.ธ.20 สูญหาย ถูกทาลาย หรือชารุด ในสาระสาคัญ


ต้องยื่นคาขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ.04 ณ หน่วย
จดทะเบียน ที่ได้จดทะเบียนฯ ไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วนั ที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทาลายหรือ
ชารุดในสาระสาคัญ ถ้าปรากฎว่าชารุด ต้องแนบใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) ที่ ชารุด
มาพร้อมกับแบบ ภ.ธ.04
(2) กาหนดเวลาแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
2.1 แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการที่ในสาระสาคัญ เช่น เปลี่ยนแปลงชื่อ สถานประกอบการ
ประเภทกิจการ ประเภทสินค้าหรือบริการ ต้องแจ้งภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง
2.2 แจ้งเปิ ดสถานประกอบการเพิ่มเติม ต้องแจ้งก่อนวันเปิ ดสถานประกอบการ
เพิ่มเติมไม่นอ้ ยกว่า 15 วัน
2.3 แจ้งปิ ดสถานประกอบการบางแห่ง ต้องแจ้งภายใน 15 วันนับจาก
วันปิ ดสถานประกอบการ พร้อม คืน ภ.ธ.20
2.4 แจ้งย้ายสถานประกอบการ
2.4.1 กรณีสถานประกอบการใหม่อยู่ภายในท้องที่ท่ไี ด้จดทะเบียนฯ ไว้เดิม
จะต้องแจ้งก่อนวันย้ายสถานประกอบการไม่นอ้ ยกว่า 15 วันพร้อมคืน ใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือ
ภ.ธ.20 ของสถานประกอบการเดิม ณ หน่วยจดทะเบียนที่ได้จดทะเบียนฯ ไว้
2.4.2 กรณีสถานประกอบการใหม่อยู่ตา่ งท้องที่
จะต้องแจ้งก่อนวันย้ายสถานประกอบการ ไม่ น้อยกว่า 15 วัน และยื่น ภ.ธ.09
[125]

พร้อมคืน ภ.ธ.20 ของสถานประกอบการเดิม ณ หน่วยจดทะเบียนท้องที่ท่ี สถาน ประกอบการ


แห่งใหม่ตงั้ อยู่ก่อนวันเปิ ดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่นอ้ ยกว่า 15 วัน
2.5 แจ้งหยุดประกอบการชั่วคราวเป็ นเวลาติดต่อกันเกิน 30 วัน
จะต้องแจ้งภายใน 15 วันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
2.6 นิติบคุ คลใหม่ ต้องแจ้งภายใน 15 วันนับแต่วนั ที่ได้จดทะเบียนนิติบคุ คลใหม่ โดยยื่น
ภ.ธ.01 ณ หน่วยจดทะเบียนท้องที่ท่สี ถานประกอบการตัง้ อยู่ดว้ ย
2.7 แจ้งเลิกประกอบกิจการ ต้องแจ้งภายใน 15 วันนับจากวันเลิกกิจการ พร้อมคืน ภ.ธ.20
2.8 บุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย
2.8.1 กรณีเป็ นผูค้ รอบครองมรดก ใช้สิทธิดาเนินกิจการของผูต้ าย
จะต้องแจ้งโดยเร็วที่สดุ
2.8.2 กรณีเป็ นผูค้ รอบครองมรดก ไม่ใช้สทิ ธิดาเนินกิจการของผูต้ าย
หรือใช้สิทธิดาเนินการต่อ แต่พน้ กาหนดเวลา 60 วัน หรือพ้นกาหนดเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากร
ขยายให้แล้วไม่ทายาท ดาเนินการขอโอนกิจการของผูต้ าย ต้องแจ้งภายใน
15 วันนับจากวันที่ผปู้ ระกอบกิจการจดทะเบียน ถึงแก่ความตาย หรือนับแต่วนั พ้นกาหนดเวลา
ดาเนินกิจการดังกล่าว พร้อมคืน ภ.ธ.20 ด้วย
2.8.3 กรณีเป็ นผูจ้ ดั การมรดก/ทายาทที่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปและเป็ น
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียน ต้องแจ้งก่อนวันรับโอนกิจการไม่นอ้ ยกว่า 15 วัน พร้อมกับคืน ภ.ธ.20
ของผูต้ าย
2.8.4 กรณีเป็ นผูจ้ ดั การมรดกหรือทายาทที่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป แต่ มิใช่
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนอยูก่ ่อนแล้ว จะต้องแจ้งก่อนวันรับโอนกิจการไม่นอ้ ยกว่า 15 วัน โดยยื่น
ภ.ธ.01 พร้อมกับคืน ภ.ธ.20 ของผูต้ าย
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40)
1) กรณีปกติ ยื่นทางกระดาษ ณ สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขา ภายในวันที่ 15
ของเดือน ถัดไป ถ้ายื่นทางอินเตอร์เน็ต www.rd.go.th ขยายออกไปอีก 8 วัน คือยื่นภายใน
วันที่ 23 ของเดือน
(Note) ถ้าวันที่ 15 (ยื่นทางกระดาษ) หรือ วันที่ 23 (ยื่นทางเน็ต) ตรงกับวันเสาร์ –
อาทิตย์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ให้ย่นื แบบ ภ.ธ. 40 ในวันทาการวันแรก ถัดจากวันหยุดนัน้ เช่น
วันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ ให้ย่ืนแบบฯ ได้ภายในวันที่จนั ทร์ ที่ 17
ตัวอย่าง นาย ก ประกอบกิจการให้กยู้ ืมเงิน มีรายได้ดอกเบีย้ รับ เดือนกันยายน 2563
จานวน 80,000 บาท โดยหลักแล้ว ต้องยื่นแบบ ภ.ธ.40 ภายในวันที่ 1-15 ของเดือนตุลาคม
2563แต่ถา้ ยื่นแบบทางอินเทอเน็ต เข้าไปที่เวบไซต์กรมสรรพากร wwww.rd.go.th หัวข้อ e-Fling
จะขยายได้อกี 8 วัน คือ ยื่นภายในวันที่ 23 ตุลาคม 2563 ได้ (เมื่อวันที่ 23 ต.ค.63) เป็ นวันหยุด
นักขัตฤกษ์ ให้ขยายไปอีกในวันทาราชการวันแรก ยื่นแบบ ภ.ธ.40 ในวันที่ 24 ตุลาคม ได้)
[126]

Note ถ้ายืน่ ทางกระดาษ ยื่นได้ภายใน วันที่ 15 ตุลาคม 2563 ไม่สามารถขยายเวลา 8 วันได้


NOTE
- ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องยื่นแบบ ภ.ธ.40 ทุกเดือน แม้ว่าเดือนนั้น จะ
ไม่มีรายรับก็ตาม
- ภาษีในเดือนภาษีใด เมือ่ คำนวณแล้วมียอดรวมไม่ถงึ 100 บาท ไม่ตอ้ งเสียภาษีสำหรับเดือน
ภาษีนั้น ( แต่ยังคงมีหน้าที่ตอ้ งยื่นแบบแสดงรายการตามปกติฯ )
2) กรณีขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร
ให้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ขณะที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่สานักงานที่ดินจังหวัด (กรมที่ดิน)
โดยไม่ตอ้ งยื่นแบบ ภ.ธ.40 ที่กรมสรรพากรอีก
ตัวอย่าง
ห้างหุน้ ส่วนจากัด นานา ประกอบกิจการจัดสรรที่ดินขาย ในเดือนธันวาคม 2563
มีรายรับจากการขายที่ดิน (ก่อนหักรายจ่าย) จานวน 300,000 บาท และไป สนง.ที่ดิน ฯ
เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ โดยมีราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
900,000 บาท ให้คานวณภาษี SBT ( ภาษี ธุรกิจเฉพาะ)

การคำนวณ
รายรับจากการขายที่ดิน 900,000 บาท
1) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (900,000 X ร้อยละ 3 ) = 27,000 บาท
2) ภาษีท้องถิ่น (ภท.รข.รว.) ร้อยละ 10 = 2,700 บาท
ต้องชำระ SBT = 29,700 บาท
คำอธิบาย ในการนำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ ไปยื่นแบบฯ เพื่อชำระภาษี
จะใช้ราคาที่แตกต่างกัน
- สำหรับการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้ใช้ราคาทีส่ งู กว่าระหว่างราคาขายกับ
ราคาประเมินฯ ที่ใช้จดทะเบียนสิทธิและนิตกิ รรม
- สำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้ราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียน
สิทธิและนิตกิ รรมของกรมที่ดนิ เท่านัน้
แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
การยื่นแบบเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ใช้ แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.40)
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ
1. กรณีท่วั ไป ให้ผปู้ ระกอบกิจการยื่น ภ.ธ.40 พร้อมกับชาระภาษี(ถ้ามี) เป็ นรายเดือนทุกเดือน ไม่
ว่าจะมีรายรับในเดือนภาษีนนั้ หรือไม่ก็ตามภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สานักงาน
[127]

สรรพากรพืน้ ที่สาขาในท้องที่ท่สี ถานประกอบการตัง้ อยู่ หรือยื่นแบบทางอินเทอเน็ต เวบไซต์


กรมสรรพากร www.rd.go.th
2. กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เป็ นทางค้าหรือหากาไร ให้ผปู้ ระกอบกิจการยื่น ภ.ธ.40 พร้อมกับ
ชาระภาษีในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผรู้ บั
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนัน้
สรุปแบบแสดงรายการภาษีและแบบคำขอที่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
ลำดับ ชื่อย่อ ชื่อเต็ม
1. ภ.ธ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
2. ภ.ธ.02 แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน
3. ภ.ธ.02.1 แบบคำขอแจ้งการเปลีย่ นแปลงการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ธุรกิจเฉพาะรวมกัน
4. ภ.ธ.04 แบบคำขอรับใบแทนทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
5. ภ.ธ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
6. ภ.ธ.40 แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(1) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
- สถานที่อื่นซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้เป็นสถานที่ยื่นแบบและชำระภาษี
(2) ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
(3) การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี สามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้
ที่เวปไซต์ www.rd.go.th
การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. ผูม้ ีสิทธิขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่
1.1 ผูป้ ระกอบกิจการที่มหี น้าที่เสียภาษี ซึ่งได้ชาระภาษีไว้เกินหรือผิด หรือซา้
1.2 ผูไ้ ม่มีหน้าที่เสียภาษี แต่ได้ชาระภาษีไว้
2. ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีสิทธิขอคืนเงินภาษีได้โดยใช้คาร้องขอคืนเงินภาษี อากร
คือแบบ ค.10
3.ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีสิทธิย่นื คาร้องขอคืนเงินภาษีภายใน 3 ปี นบั แต่วนั พ้น
กาหนดเวลายืน่ แบบแสดงรายการภาษี
อากรแสตมป์
STAMP DUTY (SD)
อากรแสตมป์ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ
ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
[128]

หลักการโดยสรุปของอากรแสตมป์
จัดเก็บในลักษณะค่าธรรมเนียมในการกระทำตราสาร
ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็น
พยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ (มาตรา 118)
ตราสารซึ่งต้องให้เจ้าพนักงานรัฐบาลหรือเทศบาลตราสารซึ่งเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือ
เทศบาลต้องลงนามหรือรับรู้ หรือลงบันทึกก็ดี ห้ามมิให้เจ้าพนักงานลงนามรับรู้ ยอมให้ทำ
หรือบันทึกไว้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้
และขีดฆ่าแล้ว
บทนิยาม (จุดเน้น.เคยออกข้อสอบ)
ตราสาร" หมายความว่า เอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดนี้
"กระดาษ" หมายความตลอดถึงแผ่นหนังฟอก หรือสิ่งอื่นๆ ซึ่งใช้เขียนตราสาร
"แสตมป์" หมายความว่า แสตมป์ปิดทับหรือแสตมป์ดุนบนกระดาษ และแสตมป์ดุนบน
กระดาษนี้ ให้หมายความรวมถึงแสตมป์พิมพ์ทับบนกระดาษด้วย
"กระทำ" เมื่อใช้เกีย่ วกับตราสาร หมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
"ปิดแสตมป์" หมายความว่า การปิดแสตมป์ทับกระดาษ หรือการมีแสตมป์ดุนบนกระดาษ
"ขีดฆ่า" หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลง
ลายมือชื่อหรือลงชือ่ ห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลง วัน
เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย
"ใบรับ" หมายความว่า
(ก) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝาก หรือได้รับชำระเงิน
หรือตั๋วเงิน หรือ
(ข) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ทีเ่ ป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือ
ปลดให้แล้ว
บันทึก หรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ
“คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร” คือตราสารซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับต้นฉบับหรือต้น
สัญญาและผู้กระทำตราสารได้ลงลายมือชื่อไว้ อย่างเดียวกับต้นฉบับ (เป็นตราสารลักษณะที่ 23)
การปิดแสตมป์บริบูรณ์
ตามประมวลรัษฎากร มี 3 วิธี คือ
1.แสตมป์ ปิ ดทับ คือ การได้เสียอากรโดยปิ ดแสตมป์ ทับกระดาษ ก่อนกระทาหรือในทันที
ที่ทาตราสารเป็ นราคาไม่นอ้ ยกว่าอากรทีต่ อ้ งเสีย และได้ขดี ฆ่าแสตมป์ นัน้ แล้ว
กาหนดลักษณะแสตมป์ ปิ ดทับ ดังนี ้
- เป็ นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 2 ซม. x 3 ซม. มีภาพ “พระอุเทนทราธิราชทรงพิณ” อยู่ในวงกลม
ส่วนบนมีอกั ษรว่า “อากรแสตมป์ ” ส่วนล่างแสดง ราคาอากรแสตมป์
- ชนิดราคา 1 บาท สีนา้ เงินอ่อน
- ชนิดราคา 2 บาท สีหมากสุก
- ชนิดราคา 5 บาท สีเขียว
[129]

- ชนิดราคา 20 บาท สีสม้ แก่ทบั สีเหลือง


2. แสตมป์ ดุน คือ การได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ ดุนเป็ นราคาไม่นอ้ ยกว่าอากรที่
ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประทับแสตมป์ ดุน และ ชาระเงิน
เป็ นจานวนไม่นอ้ ยกว่าอากรที่ตอ้ งเสียและขีดฆ่าแล้ว
NOTE สังเกตว่า การปิดแสตมป์บริบูรณ์ ต้องชำระราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย ฉะนัน้
ติดมากกว่าได้ แต่ติดขาดไม่ได้ และต้องขีดฆ่าแสตมป์นนั้ จึงจะถือว่าบริบูรณ์
NOTE ปัจจุบนั แสตมป์ดุน ไม่ได้ใช้แล้ว แต่ก็ยังมีในประมวลรัษฎากรอยู่จึงนำมาจัดประเภท
ไว้ด้วย
3.ชาระอากรเป็ นตัวเงิน คือ การได้เสียอากรเป็ นตัวเงิน เป็ นราคาไม่นอ้ ยกว่าอากรที่ตอ้ งเสีย
แบบที่ใช้ในการขอชาระอากรเป็ นตัวเงิน มีดงั นี ้
อ.ส.4 “แบบขอและอนุมตั ใิ ห้เสียอากรแสตมป์ เป็ นตัวเงิน”
อ.ส.4 ก “แบบขอเสียอากรแสตมป์ เป็ นตัวเงิน สาหรับตราสารบางลักษณะ”
(ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ )
อ.ส.4ข “แบบขอเสียอากรแสตมป์ เป็ นตัวเงิน สาหรับตราสารบางลักษณะ”
(ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ )
ส.พ.ก.10 กรณีเสียอากรเป็ นตัวเงิน สาหรับตราสารใบรับ เฉพาะการโอน
อสังหาริมทรัพย์ ที่มิได้ม่งุ ในทางการค้าหรือหากาไร
สำหรับการชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดอากรแสตมป์ (จุดเน้น)
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37) ดังต่อไปนี ้
(1) เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือแพ (จุดเน้น)
(ก) มีค่าเช่าตัง้ แต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึน้ ไป
(ข) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือ อบต. อบจ. เป็ นผู้
เช่า (ถ้าส่วนราชการเป็ นผูเ้ ช่า เช่าเท่าใด ก็ชาระเป็ นตัวเงิน) หรือ
(ค) ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผรู้ บั จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
(2) เช่าซือ้ ทรัพย์สิน เฉพาะที่นิติบคุ คลหรือสถาบันการเงินหรือผูป้ ระกอบธุรกิจ
สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกากับเป็ นผูใ้ ห้เช่าซือ้ ทรัพย์สินนัน้ ”
(3) จ้างทาของ ตามลักษณะแห่งตราสาร ๔. แห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ ดังต่อไปนี ้
(ก) มีสินจ้างตัง้ แต่ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึน้ ไป หรือ
(ข) รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การ
บริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็ นผูว้ ่าจ้างและมีสินจ้างตัง้ แต่ ๒๐๐,๐๐๐ บาทขึน้ ไป”
(4) กูย้ ืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
(5) กรมธรรม์ประกันภัย
(6) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทานองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วสัญญา ใช้เงิน
[130]

(7) เลตเตอร์ออฟเครดิต
(8) ใบรับของ เฉพาะกิจการรับขนส่งทางอากาศที่กระทาโดยผูป้ ระกอบการที่เป็ น
นิติบคุ คลที่จดั ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายไทย
(9) คา้ ประกัน เฉพาะที่สถาบันการเงิน แต่ไม่รวมถึงบริษัทประกันภัยเป็ นคู่สญ ั ญา
(10) คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ตามลักษณะแห่งตราสาร 23. แห่งบัญชีอตั รา
อากรแสตมป์ เฉพาะที่ตน้ ฉบับแห่งตราสารนัน้ ต้องชาระอากรแสตมป์ เป็ น ตัวเงินแทนการปิ ด
แสตมป์ อากร
(11) ใบรับสาหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซือ้ หรือโอนกรรมสิทธิ์ ยานพาหนะ ทัง้ นี ้
เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนัน้ ๆ เฉพาะที่นิติบคุ คล
เป็ นผูข้ าย และผูใ้ ห้เช่าซือ้ ยานพาหนะนัน้ ทัง้ นี ้ ไม่รวมถึงยานพาหนะที่ใช้แล้ว
(12) ใบรับสาหรับการขายเรือกาปั่น เรือที่มีระวางตัง้ แต่หกตันขึน้ ไป เรือกลไฟ หรือ
เรือยนต์ท่มี ีระวางตัง้ แต่หา้ ตันขึน้ ไป
วิธีเสียอากรเป็ นตัวเงิน ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกีย่ วกับอากรแสตมป์ (ฉบับที่ 37)
(1) สาหรับตราสารตาม(1)ตามลักษณะแห่งตราสาร 1แห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์
(ก) กรณีเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ มีค่าเช่าตัง้ แต่
1,000,000 บาทขึน้ ไป หรือรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือ
องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็ นผูเ้ ช่า ให้ผใู้ ห้เช่าชาระอากรเป็ นตัวเงินแทนการปิ ด
แสตมป์ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนาตราสารมาสลักหลังก่อนกระทา
ตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วนั ถัดจากวันกระทาตราสารนัน้ ”
(ข) กรณีเช่าอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะที่ตอ้ งจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผรู้ บั
จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้ชาระอากร เป็ นตัวเงินต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ผรู้ บั จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนัน้ ๆ ก่อนหรือในวันที่มี การรับจด
ทะเบียนดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดงั กล่าวนาเงินค่าอากรแสตมป์ ที่ได้รบั ชาระ
ไว้นนั้ ส่งเป็ นรายได้แผ่นดินตามระเบียบของทางราชการ
(2) สาหรับตราสารตาม(2)แห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์
(ก) กรณีนิติบคุ คลเป็ นผูใ้ ห้เช่าซือ้ ทรัพย์สิน เฉพาะที่เป็ นอสังหาริมทรัพย์ และ
ยานพาหนะที่มีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนัน้ ๆ แต่ ไม่รวมถึง
ยานพาหนะใช้แล้ว ให้ชาระอากรเป็ นตัวเงินแทนการปิ ดแสตมป์
(ข) กรณีสถาบันการเงินหรือผูป้ ระกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกากับ
เป็ นผูใ้ ห้เช่าซือ้ ทรัพย์สิน ให้ชาระอากรเป็ นตัวเงินแทนการปิ ดแสตมป์ ”
(3) สาหรับตราสารตาม(3)แห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ ให้ผรู้ บั จ้างชาระอากร
เป็ นตัวเงิน แทนการปิ ดแสตมป์ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนาตรา
สารมาสลักหลังตาม ระเบียบของกรมสรรพากรก่อนกระทาตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่
[131]

วันถัดจากวันกระทาตราสาร
(4) สาหรับตราสารตาม (4)แห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ ให้สถาบันการเงิน
หรือผูป้ ระกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกากับผูใ้ ห้กู้หรือตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี
จากธนาคาร ชาระอากรเป็ นตัวเงินแทนการปิ ดแสตมป์ ”
(5)สาหรับตราสารตาม(5)แห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ ให้ผรู้ บั ประกันภัยชาระ
อากร เป็ นตัวเงินแทนการปิ ดแสตมป์
(6) สาหรับตราสารตาม(6)แห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ ให้สถาบันการเงิน
แต่ไม่รวมถึงบริษัทประกันภัย และธนาคารผูอ้ อกตั๋วชาระอากรเป็ นตัวเงินแทนการปิ ดแสตมป์
(7) สาหรับตราสารตาม(7)แห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์
(ก) กรณีออกในประเทศไทย ให้ธนาคารผูอ้ อกตราสาร ชาระอากรเป็ นตัว
เงินแทนการปิ ดแสตมป์
(ข) กรณีออกในต่างประเทศ และให้ชาระเงินในประเทศไทย ให้ธนาคารที่
เป็ นผูท้ รงคนแรกในประเทศไทยชาระอากรเป็ นตัวเงินแทนการปิ ดแสตมป์
(8) สาหรับตราสารตาม(8) ให้ผอู้ อกใบรับ ชาระอากรเป็ นตัวเงินแทนการปิ ด
แสตมป์
(9) สาหรับตราสารตาม(9) ให้ผคู้ า้ ประกันชาระอากรเป็ น ตัวเงินแทนการปิ ด
แสตมป์ โดยชาระไว้ต่อสถาบันการเงิน แต่ไม่รวมถึงบริษัทประกันภัยที่ เป็ นคู่สญ ั ญา
(10) สาหรับตราสารตาม(10) ให้ค่สู ญ ั ญาหรือผูก้ ระทาตราสาร ชาระอากรเป็ น
ตัวเงินแทนการปิ ดแสตมป์ โดยให้ปฏิบตั ิเช่นเดียวกับต้นฉบับ
(11) สาหรับตราสารตาม(11) ให้นิติบคุ คลผูอ้ อกใบรับชาระ อากรเป็ นตัวเงิน
แทนการปิ ดแสตมป์ ก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียนดังกล่าว
(12) สาหรับตราสารตาม(12) ให้ผอู้ อกใบรับชาระอากรเป็ นตัวเงิน
สาคัญ (จุดเน้น)
ปัจจุบัน สามารถยื่นเสียอากรทางอินเทอเน็ตเวบไซต์ของกรมสรรพากรได้
แล้ว โดยใช้แบบ อ.ส.9 “แบบคำขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์”
(เรียกย่อว่า “ตราสารอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึง ตราสารแห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ที่จัดทำ
ข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นแบบ อ.ส.9
โดยช่องทาง WWW.rd.go.th หรือ API กรมสรรพากร
ควรจำให้ได้ ตราสารที่สามารถยื่นด้วยแบบ อ.ส.9 ปัจจุบันมี 23 ตราสาร
หมายเลขอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ตาม อ.ส. 9 หมายถึง ตัวเลขตัวอักษร หรืออักขระใดๆ
ที่สร้างขึ้นโดยระบบของผู้ทำตราสารเพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุถึงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นๆ โดย
ตราสารอิเล็กทรอนิกส์แต่ละฉบับต้องมีหมายเลขอ้างอิงตราสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ซ้ำกัน
รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ ตาม อ.ส.9
[132]

รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์
หมายถึง รหัสที่กรมสรรพากรออกให้แก่ผมู้ ีหน้าที่เสียอากรเมื่อกรมสรรพากรได้รบั ชาระ
เงินค่าอากรแล้ว เพื่อใช้ในการตรวจสอบรายการข้อมูลสาคัญเกี่ยวกับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
กาหนดเวลาการยื่นขอเสียอากร
ผูม้ ีหน้าที่เสียอากรต้องยื่นขอเสียอากรเป็ นตัวเงินผ่านระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตและชาระเงินค่าอากรก่อนกระทาตราสารหรือภายใน 15 วัน นับแต่วนั ถัดจากวัน
กระทาตราสารโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ กรณีวนั สุดท้ายของการยื่นขอเสียอากรเป็ นตัวเงินเป็ น
วันหยุดราชการ ให้ย่นื ได้ภายในวันที่เริ่มทาการใหม่ ต่อจากวันหยุดราชการนัน้
วิธีการขอเสียอากร อ.ส.9 ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
1) ทางเว็บไซต์ (Web Site) ของกรมสรรพากร
2) Application Programming Interface (API) ของกรมสรรพากร
ควรจา 1) ผูท้ ่เี ข้าสูร่ ะบบ (Log in) ขอเสียอากรแสตมป์ เป็ นตัวเงินสาหรับตราสาร
อิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็ นคู่สญ ั ญาในการกระทาตราสาร (สัญญา) เท่านัน้ ซึ่งผูเ้ ข้าสูร่ ะบบ
กรมสรรพากร อาจจะมิใช่ผทู้ ่ีตอ้ งเสียอากรตามที่กาหนดในบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ ก็ได้
แต่ใบเสร็จรับเงินจะออกในนามของผูท้ ่เี ข้าสูร่ ะบบ เช่น สัญญาจ้างทาของ ตามบัญชีอตั รา
อากรแสตมป์ ผูท้ ตี่ อ้ งเสียอากรคือผูร้ บั จ้าง แต่หากผูว้ ่าจ้างเป็ นผูเ้ ข้าสู่ระบบ ใบเสร็จรับเงินจะออก
ในนามของผูว้ ่าจ้าง
ตราสารอิเล็กทรอนิกส์จะถือว่าปิ ดแสตมป์ บริบรู ณ์ (อ.ส.9) เมื่อกรมสรรพากรได้ออก
ใบเสร็จรับเงินและรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ แล้ว ซึ่งผูเ้ สียอากรสามารถนารหัสรับรองการ
เสียอากรแสตมป์ ไปใช้อา้ งอิงหรือผนวกกับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ได้
2) ปัจจุบนั ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ เปิ ดให้บริการเฉพาะการขอเสียอากร ฉบับปกติ ภายใน
กาหนดเวลา ดังนัน้ หากต้องการขอเสียอากรแสตมป์ เป็ นตัวเงินสาหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์เกิน
กาหนดเวลา หรือ ยื่นแบบเพิม่ เติม ต้องยื่นด้วยแบบ อ.ส.4 ณ สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขา
เท่านัน้
ตราสารทีต่ ้องเสียอากรแสตมป์
ปัจจุบนั มี 28 ลักษณะตราสาร ตามบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ ดังนี ้
จากแนวข้อสอบเดิม พบว่า ออกแน่ๆ อย่างน้อย 1 – 2 ข้อ เช่นเสียอากรเท่าใด หรือ
ผู้ที่ต้องเสียอากรคือใคร หรือ ใครที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ (ช่อง 2) (ช่อง 3) (ช่อง 4) คือใคร
[133]

ลักษณะแห่งตราสาร ค่าอากรแสตมป์ ผู้ที่ต้องเสียอากร ผู้ที่ต้องขีดฆ่า


(ช่อง 1) (ช่อง 2) (ช่อง 3) แสตมป์ (ช่อง 4)
ตราสารที่ 1 เช่าที่ดนิ โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง
อย่างอื่น หรือแพ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท 1 บาท ผู้ให้เช่า ผู้เช่า
หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกิน (อธิบายว่า)
เปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า ทุกค่าเช่า 1,000
หมายเหตุ บาท จ่ายค่าอากร
(1) ถ้าสัญญาเช่ามิได้กำหนดอายุการเช่า ให้ถอื 1 บาท
ว่ามีกำหนด 3 ปี
(2) ถ้าสัญญาเช่าฉบับใดครบกำหนดอายุการ
เช่า หรือครบกำหนด3 ปี ตาม (1) แล้ว ผู้เช่า
ยังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่ารู้ความนั้น
แล้วไม่ทักท้วง ทั้งมิได้ทำสัญญาใหม่ ให้ถอื ว่า
สัญญาเช่าเดิมนัน้ ได้เริ่มทำกันใหม่โดยไม่มี
กำหนดอายุการเช่า และต้องเสียอากรภายใน
30 วันนับแต่วันที่ถอื ว่าเริ่มทำสัญญาใหม่นั้น
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
เช่าทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน
ตราสาร 2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตร และ
ใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคมคณะบุคคลหรือ 1 บาท ผู้โอน ผู้รับโอน
องค์การใดๆ เป็นผู้ออก คิดตามราคาหุ้นที่ชำระ ยื่นด้วยแบบ
แล้วหรือตามราคา อ.ส.4

ตราสาร 3. เช่าซือ้ ทรัพย์สิน 1 บาท ผู้ให้เช่า ผู้เช่า


ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000
บาท แห่งราคาทั้งหมด
(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับอากร
แสตมป์ (ฉบับที่ 37) หนดให้เสียอากรแสตมป์เป็น
ตัวเงิน) ( มีอธิบายแล้ว)
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
เช่าซื้อทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน

ตราสาร 4. จ้างทำของ
เงินทุก 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท 1 บาท ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้าง
แห่งสินจ้าง
กรณีที่มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป หรือ
[134]

รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การ


บริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ว่าจ้างและสินจ้าง
ตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไปให้เสียอากรแสตมป์เป็น
ตัวเงิน
หมายเหตุ
(1) ถ้าในเวลากระทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบ
จำนวนสินจ้างว่าราคาเท่าใดให้ประมาณสินจ้าง
ตามสมควรแล้วเสียอากรตามทีป่ ระมาณนั้น
(2) ถ้ามีการรับเงินสินจ้างเป็นคราว ๆ และ
อากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติม
ให้ครบตามจำนวนทีต่ ้องเสียทุกครัง้ ในทันทีที่มี
การรับเงิน
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
สัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติ
ตามข้อสัญญานัน้ มิได้ทำในประเทศไทย
ตราสาร 5. กู้ยมื เงิน หรือตกลงให้เบิกเงินเกิน
บัญชีจากธนาคาร ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท 1 บาท ผู้ให้กู้ ผู้ให้กู้
หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยมื หรือ
ตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี
** หากคำนวณแล้ว เกิน 10,000 บาทให้
เสีย 10,000 บาทเท่านั้น
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
การกู้ยืมเงิน ซึ่งสมาชิกกู้ยมื จากสหกรณ์ หรือ
สหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์หรือจาก ธกส.

ตราสาร 6. กรมธรรม์ประกันภัย
(ก) กรมธรรม์ประกันวินาศภัย 1 บาท ผู้รับประกันภัย ผู้รับประกันภัย
ทุก 250 บาท หรือเศษของ 250 บาท แห่งเบีย้
ประกันภัย “ “ “
(ข) กรมธรรม์ประกันชีวติ
ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่ง
จำนวนเงินที่เอาประกันภัย
**หากคำนวณแล้วเกิน 20 บาท ให้เสีย 20 บาท “ “ “
(ค) กรมธรรม์ประกันภัยอื่น ๆ
ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่ง
จำนวนเงินที่เอาประกันภัย “ “ “
(ง) กรมธรรม์เงินปี ทุก 2,000 บาท หรือเศษ
ของ 2,000 บาท แห่งต้นทุนเงินปีนั้น หรือถ้าไม่
[135]

ปรากฏต้นทุน ให้คดิ ทุก2,000 บาท หรือเศษ


ของ 2,000 บาท แห่ง 33 1/3 เท่าของรายได้ “ “ “
ประจำปี
(จ) กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไป กึ่งอัตราซึ่งเรียกเก็บ “ “
ให้ผู้อื่นประกัน อีกต่อหนึ่ง สำหรับกรมธรรม์เดิม
(ฉ) บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม
ให้เสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
(ก) การประกันภัยสัตว์พาหนะซึง่ ใช้ใน
การเกษตรกรรม
(ข) บันทึกประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัย
ชัว่ คราว ซึง่ รับรองจะออก กรมธรรม์ประกันภัย
ตัวจริง แต่ถ้าผู้ทรงจะเรียกร้องเอาสิทธิอย่างอื่น
นอกจากให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริง
แล้วต้องปิดแสตมป์ เสียก่อนเช่นเดียวกับที่
จะต้องปิดสำหรับประกันภัยตัวจริง
ตราสาร 7.ใบมอบอำนาจ (จุดเน้น)
คือ ใบตัง้ ตัวแทน ซึง่ มิได้กระทำในรูปลักษณะ
ตราสารสัญญารวมทั้งใบตั้งอนุญาโตตุลาการ
(ก) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคน 10 บาท ผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ

กระทำการครัง้ เดียว
(ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคน 30 บาท ผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ

ร่วมกระทำการมากกว่าครัง้ เดียว
(ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครัง้ เดียว 30 บาท ผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ
โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการ
แยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ
หมายเหตุ
ถ้าผู้มอบอำนาจมีหลายคน แต่มไิ ด้เป็นผู้มี
อำนาจร่วมกันแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับ
เดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวบุคคลผู้มอบคนหนึ่ง
เป็นเรื่องหนึ่ง ตามมาตรา 108
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
(1) ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่ง
ทนายความให้แก่เสมียนของตน เพื่อเป็นตัวแทน
ดำเนินคดีในศาล
(2) ใบมอบอำนาจให้โอนหรือให้กระทำการใดๆ
เกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะ ตามก.ม.ว่าด้วยสัตว์พาหนะ
(3) ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรือสิ่งของแทน
[136]

(4) ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและ
ใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้
สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
ตราสาร 8. ใบมอบฉันทะ
สำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
(ก) มอบฉันทะ สำหรับการประชุมครั้งเดียว 20 บาท ผู้มอบฉันทะ ผู้มอบฉันทะ
(ข) มอบฉันทะ สำหรับการประชุมมากกว่าครั้งเดียว 100 บาท ผู้มอบฉันทะ ผู้มอบฉันทะ

ตราสาร 9.(1) ตั๋วแลกเงิน ฉบับละ 3 บาท ผู้สั่งจ่าย ผู้สั่งจ่าย


หรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตัว๋ แลกเงิน
ตราสาร 9.(2) ตัว๋ สัญญาใช้เงิน ฉบับละ 3 บาท ผู้ออกตัว๋ ผู้ออกตัว๋
หรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
ถ้าตั๋วออกเป็นสำรับและฉบับแรกในสำรับนัน้
ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วฉบับอื่นๆ ไม่ตอ้ งปิดอีก
แต่ตอ้ งสลักหลังฉบับนัน้ ๆ ว่า “ได้เสียอากรแล้ว”
ตราสาร 10 บิลออฟเลดิง 2 บาท ผู้ทำตราสาร ผู้ทำตราสาร

หมายเหตุ
ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ
ตราสาร 11(1) ใบหุ้น/ใบหุ้นกู้/ใบรับรองหนีข้ อง 5 บาท (ทุกจำนวนเงิน ผู้ทรงตราสาร ผู้ทรงตราสาร
บริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใดๆ 100 บาท หรือเศษ)

ตราสาร 11(2) พันธบัตรของรัฐบาลใดๆ ที่ขาย 1 บาท (ทุกจำนวนเงิน ผู้ทรงตราสาร ผู้ทรงตราสาร


ในประเทศไทย 100 บาท หรือเศษ)

ยกเว้น ไม่ตอ้ งเสียอากร


ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้สหกรณ์
ตราสาร 12 เช็ค ฉบับละ 3 บาท ผู้สั่งจ่าย ผู้สั่งจ่าย

ตราสาร 13 ใบรับฝากเงินประเภทประจำของ ฉบับละ 5 บาท ผู้รับฝาก ผู้รับฝาก


ธนาคาร โดยมีดอกเบีย้
ตราสาร 14 เลตเตอร์ออฟเครดิต
(ก) ออกในประเทศไทย
- เงินต่ำว่า 10,000 บาท 20 บาท ผู้ออกตราสาร ผู้ออกตราสาร
- เงินตัง้ แต่ 10,000 บาท ขึน้ ไป 30 บาท ผู้ออกตราสาร ผู้ออกตราสาร

ผู้ทรงคนแรก ผู้ทรงคนแรก
(ข) ออกในต่างประเทศและให้ชำระเงินใน 20 บาท
ในประไทย ในไทย
[137]

ประเทศไทย คราวละ
หมายเหตุ
ตราสารเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกใน
ประเทศไทย และให้ชำระเงินในต่างประเทศ ต้อง
ทำสำเนาเก็บไว้ในประเทศไทย ส่วนการเสียอากรให้
ปิดแสตมป์บริบรู ณ์เฉพาะในฉบับสำเนาดังกล่าวนั้น
ตราสาร 15 เช็ค สำหรับผู้เดินทาง
1. ออกในประเทศไทย ฉบับละ ฉบับละ 3 บาท ผู้ออกเช็ค ผู้ออกเช็ค

2. ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ผู้ทรงคนแรก ผู้ทรงคนแรก


ในไทย ในไทย
ตราสาร 16 ใบรับของ ซึ่งออกให้เนื่องในกิจการรับ
ขนส่งสินค้าโดยทางน้ำ, ทางบกและทางอากาศ ฉบับละ 1 บาท ผู้ออกใบรับ ผู้ออกใบรับ
** ใบรับของ คือ ตราสารซึง่ ลงลายมือชื่อ
พนักงานหรือนายสินค้าของยานพาหนะรับขนส่ง
เมื่อไม่ได้ออกบิลออฟเลดิง
หมายเหตุ
ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ
ตราสาร 17 ค้ำประกัน
(ก) สำหรับกรณีที่มิได้จำกัด จำนวนเงินไว้ 10 บาท ผู้คำ้ ประกัน ผู้คำ้ ประกัน
(ข) สำหรับเงินไม่เกิน 1,000 บาท 1 บาท “ “
(ค) สำหรับเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท 5 บาท “ “
(ง) สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึน้ ไป 10 บาท “ “
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
(ก) ค้ำประกันหนี้ ที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยมื หรือ
เพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรม
(ข)ค้ำประกันหนี้ที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยมื หรือยืม
ตราสาร 18. จำนำ (ประกันหนี)้
- จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 1 บาท ผู้รับจำนำ ผู้รับจำนำ
2,000 บาท
- จำนำมิได้จำกัดจำนวนหนีไ้ ว้ 1 บาท ผู้รับจำนำ ผู้รับจำนำ

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
(ก) ตัว๋ จำนำของโรงจำนำ
(ข) จำนำอันเกี่ยวกับกู้ยืม ซึ่งได้ปิดแสตมป์
บริบูรณ์แล้ว ตามข้อ 5
ตราสาร 19 ใบรับของคลังสินค้า 1 บาท นายคลังสินค้า นายคลังสินค้า

ตราสาร 20 คำสั่งให้ส่งมอบของ
[138]

คือ ตราสารซึ่งบุคคลผู้ปรากฏชื่อในตราสารนั้น 1 บาท ผู้ออกคำสั่ง ผู้ออกคำสั่ง


หรือซึ่งบุคคลผู้นนั้ ตราชื่อไว้ หรือผู้ทรงมีสิทธิที่
จะรับมอบสินค้าอันอยู่ในอู่ หรือเมืองท่า หรือ
คลังสินค้าซึ่งรับเก็บ หรือรับฝากโดยเรียกเก็บค่า
เช่าหรือรับสินค้าอันอยู่ที่ท่าสินค้าโดยทีเ่ จ้าของ
ลงลายมือชื่อหรือมีผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนในเมื่อ
ขายหรือโอนทรัพย์สินอันปรากฏในตราสารนั้น
ตราสาร 21 ตัวแทน
(ก) มอบอำนาจเฉพาะการ 10 บาท ตัวการ ตัวการ
(ข) มอบอำนาจทั่วไป 30 บาท ตัวการ ตัวการ
ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
การตัง้ ตัวแทน ในกรณีสหกรณ์เป็น ตัวการ
ตราสาร 22 คำชีข้ าดของอนุญาโตตุลาการ
อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการ
(ก)กรณีซึ่งพิพาทกันด้วยจำนวนเงินหรือราคา 1 บาท
ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาทหรือเศษของ 1,000 บาท
(ข) ในกรณีอื่นซึ่งไม่กล่าวถึงจำนวนเงินหรือราคา 10 บาท อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการ

ตราสาร 23 คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร
คือตราสารซึง่ มีข้อความอย่างเดียวกับต้นฉบับ
และผู้กระทำตราสารได้ลงลายมือชื่อไว้อย่าง
เดียวกับต้นฉบับ
(ก) ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท 1 บาท (1) ถ้าไม่มี คนเดียวกับผู้
คู่สัญญา คนที่ ขีดฆ่าต้นฉบับ
เสียอากร
สำหรับต้นฉบับ
เป็นผู้เสียอากร
(ข) ถ้าต้นฉบับเสียอากร เกิน 5 บาท 5 บาท (2) ถ้ามี
คู่สัญญา ให้
บุคคลอีกฝ่าย
เป็นผู้เสียอากร
หมายเหตุ
การเสียอากรแสตมป์สำหรับคู่ฉบับหรือคู่ฉีก
แห่งตราสาร ให้ปฏิบัตเิ ช่นเดียวกับต้นฉบับ
ยกเว้นไม่ตอ้ งเสียอากร
ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์
ตราสาร 24 หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทฯ ที่ 200 บาท ผู้เริ่มก่อการ ผู้เริ่มก่อการ
ส่งต่อนายทะเบียน
ตราสาร 25 ข้อบังคับของบริษัทจำกัด ที่ส่งต่อ 200 บาท กรรมการ กรรมการ
นายทะเบียน
ตราสารที่ 26 ข้อบังคับใหม่ หรือสำเนาหนังสือ 50 บาท กรรมการ กรรมการ
[139]

บริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของ บริษัทซึ่ง
เปลี่ยนแปลงใหม่
ตราสาร 27 หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน
(ก) หนังสือสัญญาจัดตัง้ ห้างหุ้นส่วน 100 บาท ผู้เป็นหุน้ ส่วน ผู้เป็นปุ้นส่วน
(ข) หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตัง้ ห้าง 50 บาท
หุ้นส่วน
ตราสาร 28 ใบรับ
เฉพาะเหล่านี้เท่านั้นที่ต้องเสียอากร
(ก) ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ใบรับตาม (ก)(ข) หรือ ผู้ออกใบรับ ผู้ออกใบรับ
(ข) ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตัง้ สิทธิใด ๆ (ค) ต้องมีจำนวนเงิน
เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในเมื่อนิติกรรมที่เป็น ตั้งแต่ 200 บาท ขึน้
เหตุให้ออกใบรับนัน้ มีการจดทะเบียนตาม ไปโดยทุก 200 บาท
กฎหมาย หรือเศษ ต่ออากร 1
บาท
(ค) ใบรับสำหรับการขายฝาก ให้เช่าซือ้ หรือ
โอนกรมสิทธิ์ ยานพาหนะ (พาหนะที่มีทะเบียน)

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
ใบรับ สำหรับ รายรับที่ตอ้ งเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ

ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์
หลักเกณฑ์ของการเสียอากรแสตมป์ มีดงั นี ้
1.ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ คือบุคคลตามที่ระบุไว้ในช่องที่ 3 ของบัญชีอัตราอากรแสตมป์
เช่น ผู้ให้เช่าผู้โอน ผู้ให้กู้ ผู้รับประกันภัย ฯลฯ ส่วนผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ บุคคลที่ระบุไว้ใน
ช่องที่ 4
2. ถ้าตราสารทำขึ้นนอกประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศเป็น ผู้เสีย
อากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น
ถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามความข้างต้น ผู้ทรงคนใดคนหนึ่งต้องเสียอากร จากนั้นจึงยื่นตราสาร
เพื่อให้จ่ายเงิน รับรอง สลักหลัง โอนหรือถือเอาประโยชน์ได้
ผู้ทรงตราสารคนใด ได้ตราสารตามความข้างต้นไว้ในครอบครองก่อนพ้นกำหนด 30 วัน
นับแต่วันที่ได้รับตราสารนั้น จะเป็นผู้เสียอากรก็ได้โดยมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ทรงคนก่อนๆ
3. ตั๋วเงินที่ยื่นให้ชำระเงิน มิได้ปดิ แสตมป์บริบูรณ์ ผู้รับตั๋วจะเสียอากรและใช้สิทธิไล่เบี้ยจาก
ผู้มีหน้าที่เสียอากร หรือหักค่าอากรจากเงินที่จะชำระก็ได้
4. ผู้มีหน้าที่เสียอากร ตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อาจตกลงให้คู่กรณีอีกฝ่าย
หนึ่ง เป็นผู้เสียอากรแทนตนก็ได้ เว้นแต่กรณีตาม 2.การยกเว้นอากร
[140]

การขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารบางลักษณะ กำหนดเวลาไว้ดังนี้
1) การขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ตามแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ( อ.ส.4)
กฎหมายกำหนดให้ผู้เสียอากร มีสิทธิขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินได้ หากไม่เข้าลักษณะตามข้อ
2 และ ข้อ 3 สำหรับการขอเสียอากร โดยใช้แบบ อ.ส.4 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.ตราสารที่ 1 การเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ
ที่มีค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาท ขึ้นไป หรือรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือ
องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้เช่า ให้ผู้ให้เช่าชำระอากรเป็นตัวเงินต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยนำตราสารมาสลักหลังก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่
วันถัดจากวันกระทำตราสารนั้น
2.ตราสารที่ 4 สำหรับการจ้างทำของ
ที่มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป หรือรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล
หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ให้
ผู้รับจ้างชำระอากรเป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยนำตราสารมาสลักหลังก่อน
กระทำตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวันกระทำตราสารนั้น
3. ตราสารที่ 28(ค) สำหรับใบรับสำหรับการขายเรือกำปั่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ 6
ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป
ให้ผู้ออกใบรับชำระอากรเป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ โดยต้องนำมาสลักหลัง
ก่อนกระทำตราสาร หรือภายใน 15 วันนับแต่วันถัดจากวันกระทำตราสารนั้น
4. ตราสารนอกจาก 1. 2.และ 3. ให้ยื่นก่อนกระทำหรือในทันทีที่ทำตราสาร
2) การขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารบางลักษณะ ตามแบบ อ.ส.4 ก
กฎหมายกำหนดให้ตราสารดังต่อไปนี้ มีสิทธิขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินได้ แต่ต้อง
สำหรับตราสารตามข้อ 9(1) 9(2) 11(1) 12 13 15 ดังต่อไปนี้
ตราสารที่ 9(1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน
ตราสารที่ 9(2) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตราสารที่ 11(1) ใบหุ้นหรือ ใบหุ้นกู้ฯ
ตราสารที่ 12 เช็คหรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
ตราสารที่ 13 ใบรับฝากเงินประเภทเงินฝากประจำของธนาคาร โดยมีดอกเบี้ย
ตราสารที่ 15 เช็ค สำหรับผู้เดินทาง
3) การขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารบางลักษณะ ตามแบบ อ.ส.4 ข
กฎหมายกำหนดให้ตราสารดังต่อไปนี้ มีสิทธิขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินได้ แต่ต้อง
สำหรับตราสารตามข้อ 3. 5. 6. 14. 16. 17. 23. และ 28.(ค) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังนี้
ตราสารที่ 3 เช่าซื้อทรัพย์สิน
ตราสารที่ 5 กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
ตราสารที่ 6 กรมธรรม์ประกันภัย
ตราสารที่ 14 เลตเตอร์ออฟเครดิต
ตราสารที่ 16 ใบรับของ
ตราสารที่ 17 ค้ำประกัน
ตราสารที่ 23 คู่ฉบับหรือคู่ฉีกตราสาร
[141]

ตราสารที่ 28(ค) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ


ซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ
กำหนดเวลายื่นแบบ อส.4 ข
1) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ซึ่งมีการ
จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ ตามลักษณะแห่งตราสาร 28.(ค) แห่งบัญชี
อัตราอากรแสตมป์ ทั้งนี้ ไม่รวมยานพาหนะที่ใช้แล้ว ให้นิติบุคคลผู้ออกใบรับยื่นแบบ อ.ส.4ข ขอ
ชำระเงินค่าอากรก่อนหรือในวันที่มีการรับจดทะเบียนยานพาหนะ
2) นอกจากตราสารตาม 1.ให้ผู้ที่ต้องเสียอากรหรือผู้ที่รับชำระเงินค่าอากรจากผู้ที่ต้อง
เสียอากร ยื่นแบบ อ.ส.4ข ขอชำระค่าอากรแสตมป์เดือนละ 2 งวด ดังนี้
งวดที่ 1 ค่าอากรที่ต้องชำระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้
นำไปยื่นชำระภายในวันที่ 22 ของเดือนเดียวกัน
งวดที่ 2 ค่าอากรที่ต้องชำระหรือได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน
ให้นำ ไปยื่นชำระภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

สถานที่ยื่นแบบ
ให้ผทู้ ่ตี อ้ งเสียอากรหรือผูท้ ่รี บั ชาระเงินค่าอากร ขอชาระค่าอากรต่อเจ้าพนักงาน ณ สานักงาน
สรรพากรพืน้ ที่สาขาในเขตท้องที่ท่ีสานักงานตัง้ อยู่หรือสานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขาในเขตท้องที่
ที่มีการกระทาตราสารที่ตอ้ งเสียอากรนัน้ หรือสา นักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขาในเขตท้องที่อ่ืน
การชำระอากร
1. ชำระด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (โดยผู้ถือบัตรเครดิตเท่านั้นเป็น ผู้ชำระ
ค่าธรรมเนียม) ณ สำ นักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ทุกสาขา ยกเว้น บางสาขาเท่านั้น ซึ่ง
ปัจจุบนั มี 10 สาขา แต่ไม่ขอกล่าว เพราะ ทีผ่ ่านมาไม่เคยออกข้อสอบว่าสาขาใด ที่รับบัตรไมได้
2. ชำระเป็นบัตรภาษี การชำระด้วยบัตรภาษี มีเงื่อนไขดังนี้
2.1 ต้องเป็นบัตรระบุชื่อผู้ที่ต้องเสียอากรหรือผู้ที่รับชำระเงินค่าอากรจาก
ผู้ที่ต้องเสียอากร
2.2 ห้ามใช้บัตรภาษีที่มีจำนวนเงินสูงกว่าจำนวนอากรที่ต้องชำระ เว้นแต่
ผู้ที่ต้องเสียอากรหรือผู้ที่รับชำระเงินค่าอากรจากผู้ที่ต้องเสียอากร (ผู้มีชื่อในบัตรภาษี) ยอมสละ
สิทธิ์ ในจำนวนเงินส่วนที่เกินนั้น โดยผู้ที่ต้องเสียอากรหรือผู้ที่รับชำระเงินค่าอากรจากผู้ที่ต้องเสีย
อากรได้บันทึกและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานในแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน
3. ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
ที่น่าสนใจคือ การชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดอากรแสตมป์สำหรับตราสาร 28. (ข) แห่ง
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ ในกรณีขายทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์ในการบังคับคดีของเจ้าพนักงาน
บังคับคดี กรมบังคับคดี ให้ชำระค่าอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันที่ได้ขาย
ทอดตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวนำเงินค่าอากรแสตมป์ที่ได้รับชำระส่ง
สรรพากร พื้นที่สาขาในเขตท้องที่เดือนละ 2 งวด คือ
(ก) งวดแรก ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 15 ของเดือน ให้นำส่ง
ภายในวันที่ 30 ของเดือนเดียวกัน
[142]

(ข) งวดที่สอง ค่าอากรที่ได้รับเป็นตัวเงินตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันสุดท้ายของเดือน ให้นำส่ง


ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
เมื่อสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้นได้รับชำระเงินค่าอากรแสตมป์ ให้ออกใบสลัก
หลังตราสาร (อ.ส.5) แก่ผู้นำส่งเงินไว้เป็นหลักฐานเพื่อรวมไว้ในสำนวนแต่ละคดี

การยกเว้นอากรแสตมป์
มีการยกเว้นตามกฎหมาย หลายประเภท ดังนี ้
1. ยกเว้นอากรตามประมวลรัษฎากร
(1) ตราสารที่ระบุยกเว้นในบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ เช่น ตราสารกูย้ ืมเงิน ให้
ยกเว้นไม่ตอ้ งเสียอากร สาหรับการกูย้ ืมซึ่งสมาชิกกูย้ ืมจากสหกรณ์ ตราสารใบรับ ให้ยกเว้น
สาหรับจานวนเงินที่ผรู้ บั ต้องเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ ฯลฯ
(2) ยกเว้น ถ้าฝ่ ายที่ตอ้ งเสียอากรเป็ น (จุดเน้น)
- รัฐบาล
- เจ้าพนักงานผูก้ ระทางานของรัฐบาลโดยหน้าที่
- บุคคลผูก้ ระทาการในนามของรัฐบาล
- องค์บริหารราชการส่วนท้องถิ่น
- สภากาชาดไทย
- วัดวาอาราม
- องค์การศาสนาใดๆ ในราชอาณาจักร ซึ่งเป็ นนิติบคุ คล
แต่ขอ้ ยกเว้นไม่ตอ้ งเสียอากรนี ้ มิให้ใช้แก่องค์การของรัฐบาลที่ใช้ทุนหรือทุนหมุนเวียน
เพื่อประกอบการพาณิชย์ ซึ่งองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็ นผูจ้ ดั ทา
2. ยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ยกเว้นอากรให้แก่
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- ผูป้ ระกอบการขนส่งเฉพาะการรับเงินที่เป็ นค่ารับขนส่งคนโดยสาร
- บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- การเคหะแห่งชาติ
- ผูค้ า้ ประกัน เฉพาะการคา้ ประกันหนีเ้ นื่องแต่การที่ ธ.ก.ส.ให้กยู้ ืมหรือให้ยืม
- ผูอ้ อกใบรับ เฉพาะการรับเงินที่ ธ.ก.ส.ให้กยู้ ืมหรือให้ยืม
- ผูโ้ อน เฉพาะโอนหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือหลักทรัพย์รบั อนุญาตที่ตลาด
หลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เป็ นนายทะเบียนสาหรับการโอนหลักทรัพย์นนั้
- ผูท้ ่ตี อ้ งเสียอากร สาหรับตราสารทีต่ อ้ งเสียค่าอากรแสตมป์ ไม่ถึง 1 บาท หรือ
เฉพาะเศษของบาท
[143]

- ผูโ้ อน เฉพาะการโอนพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ท่ธี นาคารแห่งประเทศไทย


เป็ น นายทะเบียนสาหรับการโอนพันธบัตรนัน้
- ยกเว้นอากรแสตมป์ สาหรับตราสารใบรับ ซึ่งสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
และองค์การกุศล สาธารณะอื่นที่เป็ นนิติบคุ คล ซึ่งมีวตั ถุประสงค์ทานองเดียวกันเป็ นผูอ้ อก
- ยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แก่บคุ คลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่
ตามสัญญา ว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจหรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยหรือรัฐบาล
ต่างประเทศ
- ยกเว้นบรรดารัษฎากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากร ให้แก่
(ก) องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชานัญพิเศษของสหประชาชาติและเจ้าหน้าที่
หรือผูเ้ ชี่ยวชาญ ขององค์การ หรือทบวงการดังกล่าว ซึ่งปฏิบตั ิหน้าที่อยู่ในประเทศไทย ในเมื่อ
ประเทศไทย มีขอ้ ผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสญ ั ญา หรือความตกลง
(ข) สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล บุคคลในคณะทูต
บุคคลในคณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่าอยู่ในคณะทูตตามความตกลง ให้เป็ นไปตามหลักถ้อยที
ถ้อยปฏิบตั ิต่อกัน
- ผูโ้ อนหุน้ ในศูนย์ซอื ้ ขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์
- รัฐวิสาหกิจ เฉพาะการกระทาตราสารอันเนื่องมาจากการนาทุนบางส่วนหรือ
ทัง้ หมดมาเปลี่ยนสภาพ เป็ นของบริษัท จากัด หรือบริษัท มหาชน จากัด ตามกฎหมายว่าด้วยทุน
รัฐวิสาหกิจ
- อนุญาโตตุลาการ เฉพาะตราสารคาชีข้ าดของอนุญาโตตุลาการ
3. ยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ
มีการยกเว้นอากรแสตมป์ โดยกฎหมายที่จดั ตัง้ นิติบคุ คลนัน้ เช่น
- พ.ร.บ. จัดทรัพย์สินฝ่ ายพระมหากษัตริย ์
- พ.ร.บ. ธนาคารออมสิน
- พ.ร.บ. การท่าเรือแห่งประเทศไทย
- พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย
- พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
- พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง
- พ.ร.บ. ลูกเสือ
[144]

ความรับผิด กรณีไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์และการไม่ออกใบรับ
1. ความรับผิดทางแพ่ง มีกรณีดังต่อไปนี้
1.1 ตราสารใดมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ยื่นๆ ตราสารขอเสียอากรเอง ผู้มี
หน้าที่เสียอากร หรือผู้ทรงตราสาร/ผู้ถือเอาประโยชน์ สามารถ ยื่นตราสารต่อ
เจ้าหน้าที่ เพื่อขอเสียอากรได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับตราสารแล้ว ให้อนุมัติให้
เสียอากร ดังนี้
ถ้าตราสารที่มไิ ด้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นตราสารที่กระทำขึน้ ในประเทศไทย
และยื่นเสียอากรภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตอ้ งปิดแสตมป์บริบูรณ์ เจ้าพนักงาน รับ
แบบได้เลย ไม่ตอ้ งเสียเงินเพิ่มอากร
1.2 กรณีเป็นอย่างอื่น ให้เสียอากรและให้เรียกเก็บ เงินเพิ่มอากร ดังนี้
(ก) ถ้าปรากฏต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์
เป็นเวลา ไม่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์ให้เรียกเก็บเงินเพิ่ม
อากรเป็น 2 เท่าจำนวน อากรหรือเป็นเงิน 4 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
(ข) ถ้าปรากฎต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่า ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์
เป็นเวลาพ้น กำหนด 90 วัน นับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วให้เรียกเก็บเงินเพิ่ม
อากรเป็น 5 เท่าจำนวน อากรหรือเป็นเงิน 10 บาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
1.3 กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่หรือนายตรวจทำการตรวจพบ กล่าวคือเมื่อมีเหตุ
สมควรพนักงาน เจ้าหน้าที่หรือนายตรวจมีอำนาจเข้าไปในสถานการค้าหรือสถานที่ที่
เกี่ยวข้องระหว่าง พระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานการค้า
หรือสถานที่นนั้ เพื่อทำการตรวจสอบตราสารว่าได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ที่กำหนด
ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์หรือไม่ หรือทำการตรวจสอบเพื่อทราบว่าได้ออกใบรับ
หรือทำหรือ เก็บต้นขั้วสำเนาใบรับ หรือทำหรือเก็บบันทึกตามที่กำหนดไว้ในหมวด
อากรแสตมป์ หรือไม่กับมีอำนาจ เรียกและยึดตราสาร หรือเอกสารและออก
หมายเรียกตัวผู้มีหน้าที่เสียอากร ผู้ทรงตราสารหรือผู้ถือเอาประโยชน์แห่ง ตราสาร
และพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาไต่สวน โดยการกล่าวหาแจ้งความของบุคคล
ใด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพนักงานรัฐบาลหรือมิใช่ก็ดี ถ้าปรากฎว่า
(1) มิได้มีการออกใบรับในกรณีที่ต้องออกใบรับตามข้อ 2 ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บ เงินอากรจนครบ และเงินเพิ่มอากรอีกเป็นจำนวน 6 เท่า
ของเงินอากรหรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
(2) ตราสารมิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ โดย
(ก) มิได้ปิดแสตมป์เลย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกเก็บเงิน
อากรจนครบและเงินเพิ่มอากรอีกเป็นจำนวน 6 เท่า ของเงินอากรที่ตอ้ งเสียหรือเป็น
เงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
[145]

(ข) ปิดแสตมป์น้อยกว่าอากรที่ตอ้ งเสีย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี


อำนาจเรียกเก็บเงิน อากรจนครบ และเงินเพิ่มอีกเป็นจำนวน 6 เท่าของเงินอากรที่
ขาดหรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
ในกรณีอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มอี ำนาจเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรจำนวน
1 เท่าของเงินอากรที่ตอ้ งเสียหรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
2. ความรับผิดทางอาญา มีกรณีดังนี้
2.1 ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ แล้วปฏิเสธไม่เสียอากรหรือไม่ขีด
ฆ่าแสตมป์ ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
2.2 ผู้ใดออกใบรับไม่ถึง 10 บาท สำหรับมูลค่าตัง้ แต่ 10 บาทขึน้ ไปหรือ
แบ่งแยกมูลค่าที่ได้รับชำระเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียอากร จงใจกระทำตราสารให้ผิด
ความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงอากร มีความผิดระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
2.3 ผู้ใดไม่ทำหรือไม่เก็บบันทึกหรือไม่ออกใบรับให้ทันทีที่ถูกเรียกร้อง หรือออก
ใบรับ ซึ่งไม่ปิดอากรตามจำนวนที่ตอ้ งเสีย โทษปรับไม่เกิน 500 บาท
2.4 ผู้ใดโดยตนเองหรือสมคบกับผู้อื่นทำให้ไม่มีการออกใบรับหรือไม่ออกใบรับ
ให้ทันทีที่รับเงิน หรือออกใบรับเป็นจำนวนเงินน้อยกว่า ที่รับชำระราคาจริง ต้องระวาง
โทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือทั้งปรับทั้งจำ
2.5 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานในการปฏิบัตติ ามหน้าที่หรือจง
ใจไม่ปฏิบัตติ ามคำเรียกหรือไม่ยอมให้ยึดตราสารหรือเอกสารหรือไม่ปฏิบัติตามหมาย
หรือไม่ยอมตอบคำถามเมื่อซักถาม ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
2.6 ผู้ใดเจตนาทุจริตมีแสตมป์ซึ่งรู้อยู่ว่าเป็นแสตมป์ปลอมก็ดี หรือค้าแสตมป์ที่
ใช้ประกาศให้เลิกใช้เสียแล้ว มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือ
จำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือทัง้ ปรับทั้งจำ
ข้อเสียของตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ (จุดเน้น)
- ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตรา
สารนัน้ เป็นพยานหลักฐาน ในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบ
จำนวนและขีดฆ่าแล้ว แต่ไม่เป็นการเสื่อมสิทธิที่จะเรียกเงินเพิ่มอากร
- ห้ามเจ้าพนักงานของรัฐ ลงนามรับรู้หรือยอมให้ทำหรือบันทึกสิ่งใด ๆ ใน
ตราสาร ดังกล่าวจนกว่าจะได้มกี ารเสียอากรให้ครบถ้วนเสียก่อน
อายุความการขอคืนอากร
ผู้ใดเสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไม่นอ้ ยกว่า 2 บาท สำหรับตราสารลักษณะเดียวหรือ
เรื่องเดียว ผู้นนั้ จะทำคำร้องเป็นหนังสือ (ค.10) ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อขอคืนได้ ภายใน
6 เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร
ยกเว้น กรณีทำธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ณ สำนักงานที่ดิน (กรมที่ดิน) และมีการ
ชำระทั้งภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ กฎหมายกำหนดให้ขอคืนอากรแสตมป์ได้ ภายใน
[146]

กำหนดอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่เสียอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(เป็นการ


ใช้อายุความทั่วไป)

ภาษีการรับมรดก
INHERITANCE TAX (IT)
ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ใช้บงั คับเมื่อพ้นกาหนด 180 วันนับแต่
วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 สิ งหาคม 2558
Note ภาษีการรับมรดก จัดเก็บตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ไม่ได้จดั เก็บ
ตามประมวลรัษฎากร
ความหมายของภาษีการรั บมรดก
ภาษีการรับมรดก เป็ นภาษีที่เก็บจากมูลค่ามรดกที่ ทายาทแต่ละคนได้รับจากกองมรดก
โดยที่ผรู ้ ับมรดกเป็ นผูม้ ี หน้าที่เสี ยภาษี และมักจะมีการกาหนดค่าลดหย่อนและอัตราภาษีที่เป็ น
ประโยชน์กบั ผูร้ ับมรดกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิ ดกับผูต้ าย ทาให้ผูร้ ับมรดกที่มีความใกล้ชิดกับ
ผูต้ ายมีภาระภาษีที่น้อยกว่าผูร้ ับมรดกแต่ละคนมากกว่า เพราะรับภาระภาษีตามสัดส่ วนมูลค่า
ของมรดกที่ตนได้รับ
ภาษีการรับมรดก (Inheritance Tax) เกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกตาย ผูร้ ับมรดกจากเจ้ามรดก
แต่ละรายได้รับมรดกสุทธิมาในคราวเดียวหรื อหลายคราว รวมกันแล้วมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้าน
บาท มีหน้าที่ตอ้ งเสี ยภาษีตามที่กฎหมายกาหนด
กองมรดกของผูต้ าย ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิ ทธิตามกฎหมาย หรื อโดยพินยั กรรม
1. ทายาทโดยสิ ทธิตามกฎหมาย ได้แก่ ผูส้ ื บสันดาน บิดามารดา พี่นอ้ งร่ วมบิดามารดา
เดียวกัน พี่นอ้ งร่ วมบิดาหรื อร่ วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลาดับที่กฎหมาย
กาหนด
2. ทายาทโดยพินยั กรรม ได้แก่ ผูร้ ับพินยั กรรม

ผู้มีหน้าทีเ่ สียภาษีการรับมรดก
ผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีการรับมรดก ได้แก่ ผูไ้ ด้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่วา่ จะได้
รับมาในคราวเดียว หรื อหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับมาจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่า
ของทรัพย์สินทั้งสิ้ นที่ได้รับเป็ นมรดกหักด้วยภาระหนี้สินอันตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน
100 ล้านบาท ต้ องเสียภาษีเฉพาะส่ วนที่เกิน 100 ล้ านบาท สาหรับผูร้ ับมรดก มีดงั นี้
1. บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี ้
(1) บุคคลผูม้ ีสญ ั ชาติไทย
(2) บุคคลธรรมดาผูม้ ิได้มีสญ ั ชาติไทย แต่มีถ่นิ ที่อยู่ในราชอาณาจักรตาม ก.ม.ว่าด้วยคน
เข้าเมือง
[147]

▪ คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางที่ได้รบั การตรวจลงตราประเภทคนอยู่
ชั่วคราว(Non – immigrant Visa) และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็ นรายปี มาแล้ว โดยมีเวลา
การพานัก ไม่นอ้ ยกว่า 3 ปี ยื่นคาขอเป็ นผูม้ ีถ่นิ ที่อยู่ในราชอาณาจักรได้
(3)บุคคลธรรมดาผูม้ ิได้มีสญ ั ชาติไทย แต่ได้รบั มรดกอันเป็ นทรัพย์สินที่อยู่ใน
ประเทศไทย ในขณะที่เจ้ามรดกตาย
ควรจาให้ได้ ตามข้อ (1) (2) ให้เสียภาษีการรับมรดกจากทรัพย์สินทัง้ ที่อยู่ในประเทศ
ไทยและนอกประเทศ ส่วนข้อ (3) ให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยเท่านัน้
นิติบคุ คลก็มีสิทธิรบั มรดก เมื่อ นิติบคุ คลต้องจดทะเบียนในประเทศไทยหรือจัดตัง้ ขึน้ ตาม
กฎหมายไทย หรือ ในนิติบคุ คลนัน้ มีผมู้ ีสญ ั ชาติไทย ถือหุน้ เกินกว่า 50 % ของทุนที่จดทะเบียน
(ต้องชาระแล้วในขณะมีสิทธิรบั มรดกหรือในนิติบคุ คลนัน้ มีผมู้ ีสญ ั ชาติไทยเป็ นผูม้ ีอานาจบริหาร
กิจการเกินกึ่งหนึ่ง)
2. นิติบุคคลทีม่ ีสัญชาติไทย ได้แก่ นิติบคุ คลที่ถือว่าเป็ นบุคคลมี่มีสญ ั ชาติไทยตาม
พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี ้
(1) เป็ นนิติบคุ คลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ
(2) นิติบุคคลที่จดั ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายในประเทศไทย หรือ
(3) เป็ นนิติบคุ คลที่ผมู้ ีสญ ั ชาติไทย ถือหุน้ เกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชาระแล้ว
ในขณะมีสิทธิได้รบั มรดก หรือ
(4) เป็ นนิติบคุ คลที่ผมู้ ีสญ ั ชาติไทย เป็ นผูม้ ีอานาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของคณะ
บุคคลซึ่งมีอานาจบริหารกิจการทัง้ หมด
Note จุดเน้น ควรจา
นิติบคุ คลตาม (1) – (4) ให้เสียภาษีการรับมรดกจากมรดกที่ได้รบั เป็ นทรัพย์สินทัง้ ที่อยู่
ในประเทศไทย และนอกประเทศ
3. กรณีผู้ทไี่ ด้รับมรดกเป็ นนิติบุคคลทีม่ ิได้ถอื ว่าเป็ นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตาม 2.
แต่ได้รบั มรดกอันเป็ นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยให้เสียภาษีจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ภาษีมรดก ไม่ใช้บังคับแก่ กรณีดังนี้
- มรดกทีค่ สู่ มรสของเจ้ามรดก ได้รับมาจากเจ้ามรดก
- บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อ
ประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์ ฯลฯ
ทรัพย์สินทีต่ ้องเสียภาษีการรับมรดก มีดงั ต่อไปนี ้
1. อสังหาริมทรัพย์
2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3. เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลกั ษณะอย่างเดียวกันซึ่งอยู่ในประเทศไทย ที่เจ้ามรดกมี
สิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รบั เงินนัน้ ไว้
[148]

4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
5. ทรัพย์สินทางการเงินที่กาหนดเพิ่มขึน้ โดยพระราชกฤษฎีกา
การยกเว้นภาษีการรับมรดก
การยกเว้นภาษีการรับมรดกตามประเภทหรือรายชื่อที่กำหนดในกฎกระทรวง มีดังนี้
1) บุคคลผู้ที่ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนา หรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้
มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
2)หน่วยงานของรัฐ และนิติบุคคลที่มวี ัตถุประสงค์เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษา
หรือกิจการสาธารณประโยชน์
3) บุคคล หรือองค์การระหว่างประเทศ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อองค์การ
สหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญา หรือตามหลักถ้อยที
ถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ
ฐานภาษี
การคำนวณมูลค่าของทรัพย์สินให้ถือราคาตามราคาหรือมูลค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้น
เป็นมรดก
1) กรณีทั่วไป ฐานภาษีการรับมรดก (Tax base) คือ มูลค่าของทรัพย์สินที่ผู้รับมรดกได้รับจาก
กองมรดก กล่าวคื อ มรดกพึงประเมิน หักด้วยภาระหนี้สิ นอันตกทอดมาจากมรดกนั้น เหลื อ
เท่าใดเป็นทรัพย์มรดกสุทธิที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก ดังนี้
มรดกสุทธิ = มรดกพึงประเมิน – (ภาระหนี้สิน)
2 ) กรณีท่มี รดกเป็ นอสังหาริมทรัพย์
ฐานภาษี คือ ราคาตามการประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน
สิทธิและนิติกรรม - หักด้วย ภาระที่ถกู รอนสิทธิ
3) กรณีท่มี รดก เป็ นหลักทรัพย์ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ฐานภาษี คือ ราคาของหลักทรัพย์นนั้ ในเวลาสิน้ สุดเวลาทาการของ กลต.
อัตราภาษี (มี 2 อัตรา) คือ
1) อัตราทั่วไป คือให้ผมู้ หี น้าที่เสียภาษี คานวณและเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของ
มูลค่ามรดกในส่วนที่ตอ้ งเสียภาษี คือ (ส่วนที่เกิน 100 ล้าน )
2) อัตราพิเศษ คือ ผูไ้ ด้รบั มรดกเป็ นบุพการี หรือผูส้ ืบสันดาน ให้เสียในอัตราร้อยละ 5
วิธกี ารคำนวณภาษี
มูลค่ามรดกที่ได้รับทั้งสิ้น XXX,XXX,XXX.–
หัก ภาระหนี้สนิ อันตกทอดมาจากการรับมรดก XXX,XXX,XXX.–
หัก มูลค่ามรดกที่ไม่ต้องเสียภาษี 100,000,000.–
มูลค่ามรดกที่ต้องเสียภาษี XXX,XXX,XXX.–
[149]

เบี้ยปรับ เป็นโทษสำหรับผู้มหี น้าที่เสียภาษีต้องเสียเบี้ยปรับในกรณี ดังนี้


1. กรณีมิได้ยืน่ แบบแสดงรายการภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของ
เงินภาษีที่ต้องชำระ
2. กรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงต่อความเป็นจริง อัน
เป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องชำระขาดไป ให้เสียเบี้ยปรับอีก 0.50 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ
เงินเพิ่ม ผู้มหี น้าที่เสียภาษีไม่ชำระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อย
ละ 1.50 ต่อเดือนโดยไม่รวมเบี้ยปรับ สำหรับการคำนวณเงินเพิ่ม ให้เริ่มนับแต่วันพ้น
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการจนถึงวันทีย่ ่ืนแบบและชำระภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณไม่ให้
เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระ

การยื่นแบบและการชำระภาษีการรับมรดก
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) และ
ชำระภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดกที่เป็นเหตุให้มีหน้าทีเ่ สียภาษี โดยให้พิมพ์จาก
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร และสามารถยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่งหรือ ณ สถานที่อื่นใดตามที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตายก่อนครบกำหนดเวลายื่นแบบ โดยยังมิได้ยื่นแบบแสดง
รายการภาษี ให้ผู้จัดการมรดกของผู้นั้นมีหน้าที่ยื่นแบบและชำระภาษี พร้อมทั้งเงินเพิ่มร้อยละ
1.50 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แทนผู้ตายภายใน 150 วันนับแต่วันที่
ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ สำหรับเงินเพิม่ ให้คำนวณตั้งแต่วันที่ครบ
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการจนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วน
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตายเมื่อครบกำหนดเวลา โดยยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ให้ผู้จัดการมรดกของผู้นั้นมีหน้าที่ยื่นแบบและชำระภาษี พร้อมทั้งเงินเพิ่มร้อยละ 1.50 ต่อเดือน
หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แทนผู้ตายภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็น
ผู้จัดการมรดก โดยเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องชำระ สำหรับเงินเพิ่มให้คำนวณตั้งแต่
วันที่ครบกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการจนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วน
ในกรณียื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายหลังกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ชำระภาษี
พร้อมทั้งเงินเพิ่มร้อยละ 1.50 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ โดยเสียเบี้ยปรับ
2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องชำระ สำหรับเงินเพิ่มให้คำนวณตั้งแต่วันที่ครบกำหนดเวลายื่นแบบแสดง
รายการจนถึงวันที่ชำระภาษีครบถ้วน
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาดำเนินการแทนผู้มีหน้าที่เสียภาษี ให้กระทำภายใน 180 วัน
หากไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาดำเนินการแทน ให้ทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายมี
หน้าที่ยื่นแบบและชำระภาษี ภายใน 150 วันนับแต่วันทีพ่ ้นกำหนดเวลา 180 วัน ในกรณีที่มี
ทายาทหลายคน ให้ทายาทตกลงมอบให้ทายาทคนหนึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ถ้าไม่อาจตกลงกัน
ได้ ให้ทายาทคนใดคนหนึ่งยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต่อไป
[150]

การผ่อนชำระภาษีการรับมรดก
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีย่ืนคำร้องขอผ่อนชำระ พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ณ สำนักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง หรือ ณ
สถานที่อ่นื ใดตามที่อธิบดีกำหนด
การผ่อนชำระภาษี มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. การขอผ่อนชำระภาษีภายใน 2 ปี จะได้รบั ยกเว้นเงินเพิ่มทั้งหมด
2. การผ่อนชำระที่เกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 0.50 ต่อเดือน
3. การผ่อนชำระภาษี สามารถผ่อนชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนกำหนดเวลาที่ขอ
ผ่อนชำระภาษีได้
4. หากผู้ผ่อนชำระภาษี ผิดนัดชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่ง ให้ผู้ผ่อนชำระภาษีหมด
สิทธิการผ่อนชำระภาษีและต้องชำระภาษีที่คา้ งอยู่ทงั้ จำนวนพร้อมเงินเพิ่ม
การขอคืนเงินภาษีการรับมรดก
ในกรณีผู้ที่ย่นื แบบแสดงรายการภาษีได้ชำระภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือได้ชำระ
ไว้เกินกว่าที่ตอ้ งเสีย สามารถขอคืนภาษีมรดกได้ โดยใช้คำรองขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) เป็น
แบบคำร้องขอคืน และต้องยื่นภายใน 5 ปีนบั แต่วันชำระภาษีทั้งหมดต่อเจ้าหน้าทีข่ อง
สำนักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่ง
กรมสรรพากรจะพิจารณาคืนเงินภาษี พร้อมกับหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีอากร (ค.20)
ตามทีอ่ ยูท่ ี่ระบุในคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) และในการขอรับเงินคืนภาษีไม่มีสิทธิเรียก
ดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่คนื
การอุทธรณ์ภาษีการรับมรดก
ผู้มหี น้าที่เสียภาษีหากไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน มีสิทธิ
อุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการอุท ธรณ์ ได้ ภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการ
ประเมินภาษี โดยยื่นแบบคำอุทธรณ์ (ภ.ม.6) โดยให้พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ
กรมสรรพากร และสามารถยื่นแบบคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ณ สถานที่แห่งใด
แห่งหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. สำนักอุทธรณ์ภาษี กรมสรรพากร
2. สำนักงานสรรพากรภาคแห่งใดแห่งหนึ่ง
3. สำนักงานสรรพากรพืน้ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
คณะกรรมการอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ ให้ แล้วเสร็จ ภายใน 180 วัน นับ แต่วันที่
ได้ รั บ อุ ท ธรณ์ (อาจขยายได้ แ ต่ ไม่ เกิ น 90 วั น ) โดยจั ด ทำคำวิ นิ จ ฉั ย แจ้ ง ผลการพิ จ ารณา
อุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์ทราบเป็นหนังสือ ภายใน 15 วันนั บแต่วันที่มีคำวินิจฉัย แต่หากผู้อุทธรณ์
ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ ให้มีสิ ทธิฟ้องต่อศาลภาษีอากร ภายใน
180 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์
[151]

บทกำหนดโทษ
1. บุคคลธรรมดา
(1) หากไม่ย่ืนแบบแสดงรายการภาษี (ภ.ม.60) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษ
ปรับไม่เกิน 500,000 บาท
(2) หากไม่ป ฏิบั ติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนั ก งานประเมิน หรือไม่ย อมตอบ
คำถามของเจ้าพนัก งานประเมิ น หรือของประธานคณะกรรมการอุท ธรณ์ ต้อ งระวางโทษ
จำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(3) หากทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือ โอนไปซึ่งทรัพ ย์สินที่ ถูก ยึด หรืออายัด ให้แ ก่
บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท
(4) หากจงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ
หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือให้ ความเท็ จ โดยเจตนา
ละเลย โดยฉ้อโกงหรือใช้อุบาย โดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง
การเสียภาษี หรือแนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นกระทำการดังกล่าว ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทัง้ จำทั้งปรับ
2. นิติบุคคล
หากผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติ
บุคคล ต้องรับโทษ โดยถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดของนิตบิ ุคคลนั้น
[152]

1.3 ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี


ของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบนั
1.นายกฯ ประกาศยุบสภา ตั้งแต่ วันที่ 20 มี.ค. 2566
วันเลือกตั้งล่วงหน้า คือ ทั้งในเขตและนอกเขตเลือกตั้งได้ในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566
“วันเลือกตั้งทั่วไป คือวันที่ 14 พ.ค. 2566 เข้าคูหาได้ตั้งแต่ 08.00 – 17.00 น”
ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. – 9 เม.ย. 2566 ซึง่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ
-ประชากรที่อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
- มีสัญชาติไทย
- ถ้าแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
- ไม่มีลักษณะต้องห้ามเลือกตั้ง ต่อไปนี้
* เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช
* ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
* ต้องคุมขังโดยหมายของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
* วิกลจริต จิตฟั่นเฟือน หรือไม่สมประกอบ
สิ่งที่ต้องเตรียมไปคือ “บัตรประชาชน” แม้ว่าเป็นบัตรที่หมดอายุแล้วก็ยังสามารถใช้ได้
หรือเป็นบัตร,เอกสาร ที่ราชการออกให้ ขอแค่มีรูป และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ก็ถือว่า
ใช้ได้ เช่น ใบขับขี่ ,พาสปอร์ต หรือ บัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ (แอปพลิเคชัน ThaID)

2.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566


ปัจจุบันแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)
แผนพัฒ นาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คือ การกำหนดแนวทางการพัฒ นาเศรษฐกิจและ
สังคมของประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นแม่แบบของการวางแผน
ด้านเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ รวมถึงเป็นเป้าหมายร่วมที่คนในสังคมพยายามขั บเคลื่อน
เศรษฐกิจให้เดินไปในทิศทางเดียวกัน
วั น ที่ 1 พฤศจิ ก ายน 2565 ราชกิ จ จานุ เบกษา เล่ ม 139 ตอนพิ เศษ 258 ง ได้ เผยแพร่
ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ได้กำหนดหมุด
หมายไว้ 13 หมุดหมาย ครอบคลุมมิติการพัฒนา 4 มิติ ได้แก่
มิตภิ าคการผลิตและบริการเป้าหมาย
หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
หมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก
หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค
หมุดหมายที่ 6 ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัลของ
อาเซียน
มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม
หมุดหมายที่ 7 ไทยมี SMEs ทีเ่ ข้มแข็งมีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้
หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ปลอดภัยเติบโตได้อย่างยั่งยืน
[153]

หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลงและมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอเหมาะสม
มิตคิ วามยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ
หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูงมุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ประชาชน

สโลแกน คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการ


พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ ตามหลักการ
และแนวคิด 4 ประการ คือ
- หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- การสร้างความสามารถในการล้มแล้วลุกไว
- เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
- การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว

3.ความรู้เกี่ยวกับกระทรวงการคลัง
วิสัยทัศน์ (Vision) ของกระทรวงการคลัง คือ
“เสาหลักทางการคลังและเศรษฐกิจ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
พันธกิจ (Missions) ของกระทรวงการคลัง มีดังนี้
1. เสนอแนะนโยบายการคลังและเศรษฐกิจ
2. บริหารการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ
3. บริหารการเงินแผ่นดิน
4. บริหารจัดการทรัพย์สินภาครัฐ
ภารกิจของกระทรวงการคลังตามกฎหมาย (Duties and responsibilities ) มี 3 กลุ่มดังนี้
1) กลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน
2) กลุ่มภารกิจด้านรายได้
3) กลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน
4. “Metaverse” หรือ “จักรวาลนฤมิต”
เป็นการนำคำว่า Meta รวมกับ Verse ได้ความหมายว่าเป็น “จักรวาลนฤมิต” ตามราชบัณฑิตย
สภา ปรากฏครั้งแรกในนิยายแนวไซไฟ เรื่อง Snow Crash แต่งโดยนีล สตีเฟนสัน ในปี 1992 ซึง่
โลก Metaverse ในหนังสือของนีลเป็นโลกเสมือนจริง 3 มิติ ที่ผู้คนสามารถปฏิสัมพันธ์กันได้ใน
รูปแบบของอวตาร (Avatar)
Metaverse เป็นการผสานเทคโนโลยีแห่งโลกเสมือน ที่สร้างสิ่งแวดล้อมของโลกจริง ๆ
และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้คนเข้ามามีปฏิสัมพันธ์และทำกิจกรรมร่วมกัน ผ่านตัวตนที่เป็น
อวตาร (Avatar) ในรูปแบบกราฟิก 3 มิติ แทนเราในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้รู้สึกเหมือนชีวิต
จริงมากกว่าโซเชียลมีเดียที่ใช้ในปัจจุบัน
Metaverse เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอะไรบ้าง
[154]

AR (Augmented Reality) VR (Virtual Reality) และ XR (Extended Reality) เป็น


เทคโนโลยีสำคัญในการที่จะช่วยให้สภาพแวดล้อมโลกความเป็นจริงเข้ากับกิจกรรมในโลกเสมือน
แบบ 360 องศา โดยอุปกรณ์สำคัญ คือแว่นตา VR ผ่านการรับรู้ของเราไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น
เสียง การสัมผัส และทำให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกเสมือนจริงได้ เช่น การซื้อที่ดินบนโลกเสมือนจริง
เล่นเกม การเข้าร่วมคอนเสิร์ต การซื้อสินค้าโดยใช้สกุลเงินดิจิทัล
• AR (Augmented Reality)
ไม่เหมือนกับ Virtual Reality (VR) เพราะต้องการให้มุมมองของโลกจำลองและเข้าไป
สัมผัสกับโลกจำลองที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ แต่ Augmented Reality (AR) กลับเป็นการสร้าง
วัตถุ หรือ ตัวละคร 3D ให้แสดงอยู่ในสภาพแวดล้อมความจริง ผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นการ
ผสานความเป็นจริงเสมือนและความเป็นจริงบนโลกเข้าด้วยกัน
อุปกรณ์ทเี่ ห็นอย่างชัดเจนกับการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality คือ โทรศัพท์มือถือ ที่มี
ฟังก์ชันมาพร้อมกับกล้องหรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่นเกม Pokemon GO หรือระบบนำทางแบบ
Street View ของ Google Maps ก็มีการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality อยู่
• VR (Virtual Reality)
นิยามของ Virtual Reality (VR) คือการสร้างภาพจำลองและสภาพแวดล้อมด้วย
คอมพิวเตอร์ และให้ผู้ใช้ได้สัมผัสโลกเหล่านั้นผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นแว่น VR ที่หลายคนก็อาจจะ
เคยซื้อมาใช้งานแล้ว โดยการเข้าไปสัมผัสนั้นหมายถึงทั้งรูป รสชาติ สายตา กลิ่น และ เสียง
สิ่งที่ก้าวหน้าที่สุดของเทคโนโลยี VR ที่เราเห็นคือ โลก Metaverse หรือ "จักรวาล
นฤมิตร" โลกเสมือนในอุดมคติที่กำลังพัฒนาโดยบริษัท "Meta" หรือ Facebook
• XR (Extended Reality)
คือ การนำเอาสภาพแวดล้อมจากโลกเสมือนและโลกความจริงมารวมให้กลายเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน โดยที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์และ
เครื่องจักรในโลกแห่งความจริง
เช่น มีป้ายไฟเป็นโฮโลแกรมอยู่ตามร้านค้าและเมื่อเดินเข้าร้านเสื้อผ้าก็มีพนักงานต้อนรับ
เป็น AI แสดงตัวตนออกมาผ่านภาพโฮโลแกรมพร้อมกับกล่าวต้อนรับ เป็นต้น
5. จัดลำดับประเทศระดับ TOP ของโลก
ประเทศไทยได้อันดับ 3 “ประเทศระดับท็อปของโลก” (Top Countries in the world) และ
กรุงเทพฯ ได้อันดับ 4 “เมืองที่ดีที่สุดในโลก” ในขณะที่เกาะ โรงแรม และรีสอร์ทของไทยหลาย
แห่ง ยังติดอันดับสูงในรายการ 'ดีที่สุด' อื่น ๆ อีกด้วย
✅ ผลการประกาศรางวัล Condé Nast Traveler Readers' Choice Awards 2022 ประเทศ
ไทยได้รับเลือกให้เป็นอันดับที่ 3 ใน Top Countries in the World จากทั้งหมด 48 ประเทศ
โดยได้รวม 90.46 คะแนน อันดับ 1 คือ โปรตุเกส (91.22 คะแนน) อันดับ 2 ญี่ปุ่น (91.17
คะแนน) อันดับ 4 คือ สิงคโปร์ (90.09 คะแนน) ไทยและสิงคโปร์ เป็น 2 ประเทศในภูมิภาค
อาเซียนที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 10 อันดับแรก
✅ นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ของประเทศไทย ก็ติดอันดับ 4 “เมืองที่ดีที่สุดในโลก (Best Cities in
the World)” โดยกรุงเทพฯ เป็นเพียง 1 ใน 2 เมืองในภูมิภาคอาเซียนที่ตดิ อันดับ 10 เมืองที่ดี
ทีส่ ุดในโลกเช่นกัน ด้วยคะแนน 89.36 เมืองซาน มิเกล เด อัลเลนเด (San Miguel de Allende)
ประเทศเม็กซิโก ได้รับการจัดอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 92.94 / สิงคโปร์ อันดับที่ 2 (89.49
คะแนน) / อันดับ 3 เมืองวิคทอเรีย ประเทศแคนาดา (89.46 คะแนน) ตามลำดับ
[155]

✅ ในขณะที่การจัดอันดับ 10 'เกาะยอดนิยม' ในเอเชีย เกาะสมุย ได้อันดับที่ 3 ด้วยคะแนน


92.13 ภูเก็ตอยู่ที่ 5 ด้วย 90.88 คะแนน ส่วนเกาะพีพี อยู่ที่อันดับ 10 ด้วยคะแนน 76.41

6.อุตสาหกรรมเป้าหมาย
อุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ อุตสาหกรรมทีจ่ ะได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษในพื้นที่
ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC) ปัจจุบันมีทั้งหมด 10 อุตสาหกรรม ประกอบด้วย
- อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S - Curve) มี 5 อุตสาหกรรม
- อุตสาหกรรมอนาคต (New S - Curve) มี 5 อุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve)


1 อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 1 หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม
2 อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์อัจฉริยะ 2 อุ ต สาหกรรมเชื้ อ เพลิ ง ชี ว ภาพและเคมี
ชีวภาพ
3 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี 3 อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
4 อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโลยีชีวภาพ 4 อุตสาหกรรมดิจิทัล
5 อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 5 อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

7. เขตเศรษฐกิจจําเพาะ (จุดเน้น)
เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ( exclusive economic zone; EEZ) ตามอนุสัญญา
สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล หมายถึง เขตที่มีความกว้างไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลวัดจากเส้น
ฐานซึ่งใช้วัด ความกว้างของทะเลอาณาเขต อาจรวมถึงน่านน้ำอาณาเขตและไหล่ทวีปที่เลยเขต
จำกัด 200 ไมล์ทะเล ด้วย
เป็ น พื้ น ที่ ท ะเลซึ่ งรั ฐ ชายฝั่ ง มี สิ ท ธิ พิ เศษเหนื อ เขตดั ง กล่ า วในการสำรวจ แสวงหา
ประโยชน์ มีการใช้ทรัพยากรทางทะเล รวมถึงอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่มีชีวิต
และไม่มีชีวิต
8. เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (จุดเน้น)
ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัด ปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่
อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอ สะบ้าย้อย และจังหวัดสตูล
9.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC
รัฐบาลไทยได้จัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ
EEC ขึ้นโดยมีการตราพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลใช้บังคับ
ตั้งแต่ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา
** เขตพัฒนาพิเศษครอบคลุมพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นหน่วยงานหลัก
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว
[156]

ทั้งนี้ พระราชบัญญัติดงั กล่าวได้กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษที่รัฐบาลจะส่งเสริม


และสนับสนุน ประกอบด้วย การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ 5 อุตสาหกรรมเดิม
ที่มีศักยภาพ (First S-Curve) คือ
1 อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
2 อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อจั ฉริยะ (Smart Electronics)
3 อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
4 อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)
5 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent,
Medical & Wellness Tourism)
10. โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม และนวัตกรรมดิจิทัล (EECd)
โครงการนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการลงทุ นและการพัฒ นานวัตกรรม ด้านดิจิทัล และเพิ่มขีด
ความสามารถของอุตสาหกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล
11. เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ)
คือ บริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) กำหนดให้
เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สิ ทธิประโยชน์การลงทุน การ
บริหารแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับ การให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จและการบริการอื่นที่จำเป็น
ตลอดจนพัฒนาพื้นที่บริเวณชายแดนให้มีความพร้อมส าหรับ รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและ
สังคมที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
ปัจจุบันมี 10 แห่ง ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด สงขลา หนองคาย เชียงราย
นครพนม กาญจนบุรี และนราธิวาส
12. Public Private Partnership (PPP)
คือ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการเกี่ ยวกับโครงสร้าง
พื้นฐานและบริการสาธารณะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
13. “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” หรือ “ดีป้า”
สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) คือ หน่วยงานน้องใหม่ของภาครัฐที่
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 23
ม.ค.ที่ผ่านมา มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยก้าวทัน
และสามารถแข่งขันได้ในโลกการค้ายุคใหม่ ซึ่งจะเป็นช่วยเปลี่ยนประเทศไทยสู่ยุค 4.0 หลุดพ้น
จากกับดักรายได้ปานกลาง
14. เรื่อง การพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs)
องค์การสหประชาชาติ ที่มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้กำหนดกรอบความคิดที่
มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงกัน
เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เพื่อใช้
เป็นทิศทางการพัฒนา ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2573 ครอบคลุม
ระยะเวลา 15 ปี โดยประกอบไปด้วยเป้าหมายหลักจำนวน 17 เป้าหมาย ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจน (End Poverty)
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย (Zero Hunger)
เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being)
เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education)
[157]

เป้าหมายที่ 5 ความเสมอภาคระหว่างเพศ (Gender Equality)


เป้าหมายที่ 6 การจัดการและสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation)
เป้าหมายที่ 7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy)
เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
(Decent Work and Economic Growth)
เป้าหมายที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
(Industry, Innovation and Infrastructure)
เป้าหมายที่ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequalities)
เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
(Sustainable Cities and Communities)
เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
(Responsible Consumption and Production)
เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action)
เป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
(Life Below Water)
เป้าหมายที่ 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (Life on Land)
เป้าหมายที่ 16 สังคมที่สงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
(Peace, Justice and Strong Institutions)
เป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals)
สรุปคะแนนภาพรวมการพัฒนาของประเทศตามเป้าหมายหลัก17 เป้าหมาย ในปี 2562
จากผลการสำรวจความคืบหน้าการพัฒ นาที่เกี่ยวข้ องกับเป้าหมาย การพัฒ นาอย่างยั่งยืน ตาม
รายงาน Sustainable Development Report 2019 พบว่า
อันดับที่ 1 ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่มีลำดับ การพัฒนาอย่างยั่งยืนมากที่สุด
อันดับที่ 15 คือ ญี่ปุ่น
อันดับที่ 39 คือ ประเทศจีน
อันดับที่ 40 ประเทศไทย ( ปี 2561 อยู่ในอันดับที่ 59 เพิ่มขึ้นถึง 19 อันดับ)
จะเห็นได้ว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทาง SDGs จะเน้นด้านเศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อม
15. หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่
1. การบริห ารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) อันประกอบด้ วย
หลั ก ประสิ ท ธิ ภ าพ (Efficiency) หลั ก ประสิ ท ธิ ผ ล (Effectiveness) และหลั ก การตอบสนอง
(Responsiveness)
2. ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) อันประกอบด้วยหลักภาระรับ ผิดชอบ/
สามารถตรวจสอบ ได้ (Accountability) หลักความเปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) หลักนิติ
ธรรม (Rule of Law) และหลักความเสมอภาค (Equity)
3. ป ระช ารั ฐ (Participatory State) ป ระกอ บ ด้ ว ย ห ลั ก การ ก ระจายอ ำน าจ
(Decentralization) และ หลักการมีส่วนร่วม/การมุ่งเน้นฉันทามิต (Participation/Consensus
Oriented)
[158]

4. ความรั บ ผิ ด ชอบทางการบริ ห าร (Administrative Responsibility) ประกอบด้ ว ย


หลักคุณธรรม/ จรยิธรรม (Morality/Ethics)
16.องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล
ที่สำคัญ มี 6 ประการ
1 หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบี ยบ มิใช่ตามอำเภอใจ หรือ
อำนาจของตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ
รวดเร็วด้วย
2 หลักคุณธรรม (Morality) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง
3 หลั ก ความโปร่ ง ใส (Accountability) หมายถึ ง ความโปร่ ง ใส พอเที ย บได้ ว่ า มี
ความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต
4 หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากร
5 หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความ
สำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
6 หลักความคุ้มค่า (Cost effectiveness or Economy) หมายถึง การบริหารจัดการ
และใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม

17. กฎหมายภาษี e-Service

บังคับใช้แล้ว 1 ก.ย. 64 กฎหมาย e-Service หรือภาษี e-Service คือ การจัดเก็บ VAT


จากผู้ให้บริการต่างประเทศและแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บ ริการทางออนไลน์แก่ผู้ใช้บริการใน
ประเทศไทย ที่ มี ร ายได้จ ากการให้ บ ริ ก ารเกิน กว่า 1.8 ล้ านบาทต่ อปี โดยกรมสรรพากรเป็ น
ผู้ จั ด เก็บ ในอัต ราร้ อยละ 7 ต่อ ปี ซึ่ งให้ เสี ย ภาษี จากภาษี ขายโดยไม่ ให้ นำภาษี ซื้ อ มาหั ก และ
ผู้ให้บริการต่างประเทศจะต้องยื่นจดทะเบียนชำระภาษีมลู ค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร

ธุรกิจที่ต้องยื่นจดทะเบียนและดำเนินการทางภาษีกับกรมสรรพากร มี 5 ธุรกิจหลัก คือ


1. ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับขายของออนไลน์
2. ธุรกิจให้บริการพื้นที่โฆษณาออนไลน์
3. ธุรกิจให้บริการจองโรงแรม ที่พัก และการเดินทาง
4. ธุรกิจให้บริการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย
5. ธุรกิจให้บริการสมาชิกดูหนังฟังเพลงออนไลน์ เกม และแอปพลิเคชันต่าง ๆ
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564 ซึ่งจะเป็นการ
จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่มีรายได้ใน
ประเทศไทยจาก เช่น Facebook, Google, Youtube, Netflix โดย พ.ร.บ. จะมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564

กฎหมายบังคับใช้อย่างไร
กฎหมายมีผลใช้บังคับในวันที่ 1 กันยายน 2564 ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศแก่
ผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้
1. จะมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ยื่นจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
[159]

2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากยอดขายโดยไม่ให้นำภาษีซื้อมาหัก
3. ต้องนำส่ง ภ.พ. 36
4.ทำธุรกรรมภาษี e-Service ผ่านระบบ VES หรือ VAT for Electronic Service
18. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65 กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็น
เป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาล
เป็นยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
➢ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้แ ต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ
รวม 6 คณะ
➢ ยุทธศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ประเทศไทย คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่ งคั่ง ยั่งยืน เป็น
ประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติ
พจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
➢ เป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจ
พั ฒ นาอย่ างต่ อเนื่ อ ง สั งคมเป็ น ธรรม ฐานทรัพ ยากรธรรมชาติ ยั่ งยืน ” โดยยกระดั บ
ศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ พัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี
เก่ ง และมี คุ ณ ภาพ สร้า งโอกาส และความเสมอภาคทางสั งคม สร้ า งการเติ บ โตบน
คุณภาพชีวิตที่เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมี ภ าครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและ
ประโยชน์ส่วนรวม
➢ ยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน ประกอบด้วย
1. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
2. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
4. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
5. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ซึง่ มีการประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติทงั้ 6 ด้าน ประกอบด้วย
1. ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
2. ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้
3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
4. ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
5. ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของ
ทรัพยากรธรรมชาติ
6. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ
[160]

1.4 ความรู้ พื้นฐานเกีย่ วกับพระราชบัญญัติค้ มุ ครองข้ อมูลส่ วนบุคคล


พระราชบัญญัติคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA)
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 แต่บงั คับใช้เต็มรู ปแบบ เมื่อวันที่ 1
มิถุนายน 2565
กฎหมายคุ้มครองข้ อมูลส่ วนบุคคล มีวัตถุประสงค์ เพือ่ การคุ้มครองสิทธิเกีย่ วกับ
ข้ อมูลส่ วนบุคคลของประชาชนในฐานะเจ้ าของข้ อมูลส่ วนบุคคล โดยกาหนดหน้ าที่และความ
รับผิดชอบให้ องค์กรปฏิบัติตามกฎหมาย
บทบัญญัติใน พ.ร.บ. คุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ได้เน้นเพียงสภาพบังคับให้กระทา
หรื อไม่กระทาเท่านั้น แต่ยงั ส่ งเสริ มให้ตระหนักรู ้ และทบทวนกระบวนการทางาน โดยคานึงถึง
มาตรการด้านความมัน่ คงปลอดภัยของข้อมูลส่ วนบุคคล ความเป็ นธรรมในการใช้ขอ้ มูล และ
ความโปร่ งใสต่อเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายในการ
คุม้ ครองสิ ทธิความเป็ นส่วนตัวภายใต้หลักการของรัฐธรรมนูญ โดยมี รัฐมนตรี วา่ การกระทรวง
ดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็ นผูร้ ักษาการตาม พ.ร.บ.นี้
เหตุผลในการประกาศใช้ คือ เนื่องจากมีการล่วงละเมิดสิ ทธิความเป็ นส่วนตัว ของ
ข้อมูลส่วนบุคคลเป็ นจานวนมาก สร้างความเดือดร้อนราคาญหรื อความเสี ยหาย ให้แก่เจ้าของ
ข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทาให้การเก็บรวบรวม ใช้ หรื อ
เปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ทาได้ง่าย จนก่อให้เกิดความเสี ยหายต่อเศรษฐกิจโดยรวม จึงเกิด
กฎหมายนี้และใช้บงั คับใช้เป็ นการทัว่ ไป
โครงสร้ างของกฎหมายคุ้มครองข้ อมูลส่ วนบุคคล ประกอบด้วย
บททัว่ ไป (มาตรา 1 - มาตรา 7)
หมวด 1 คณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 8 - มาตรา 18)
หมวด 2 การคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล
ส่วนที่ 1 บททัว่ ไป (มาตรา 19 - มาตรา 21)
ส่วนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 22 - มาตรา 26)
ส่วนที่ 3 การใช้หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 27 - มาตรา 29)
หมวด 3 สิ ทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 30 - มาตรา 42)
หมวด 4 สานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 43 มาตรา 70)
หมวด 5 การร้องเรี ยน (มาตรา 71 - มาตรา 76)
หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง (มาตรา 77 - มาตรา 78)
หมวด 7 บทกาหนดโทษ
ส่วนที่ 1 โทษอาญา (มาตรา 79 - มาตรา 81)
ส่วนที่ 2 โทษทางปกครอง (มาตรา 82 - มาตรา 90)
บทเฉพาะกาล (มาตรา 91 - มาตรา 98)
[161]

Note
“กฎหมายนี้ ไม่ได้สร้างภาระในการเก็บและใช้ขอ้ มูล แต่ตอ้ งการให้มีการเก็บรวบรวม ใช้ และ
เปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม ปลอดภัย โดยคานึงถึงสิ ทธิความเป็ นส่วนตัวของบุคคล
เพื่อให้ ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด”
จุดเน้ น การเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรื อกิจกรรม
ในครอบครัว ไม่ตอ้ งปฏิบตั ิตามกฎหมายนี้ เพราะได้รับการยกเว้น เช่น แผนผังครอบครัว การ
ถ่ายภาพบุคคลในครอบครัว การติดกล้องวงจรปิ ดในบริ เวณบ้าน
กฎหมายฉบับนี้ รับรองและยืนยันสิ ทธิความเป็ นส่ วนตัวของข้อมูลส่ วนบุคคลของ
ประชาชนโดยคุม้ ครองประชาชนในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการกระทาที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมาย เช่น กรณีที่เกิดเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึง กาหนดหน้าที่ให้กบั องค์กร
ที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องมีฐานะทางกฎหมาย คือ ต้อง
สามารถอ้างได้วา่ องค์กรของตนมีสิทธินาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ และต้องใช้ขอ้ มูลให้นอ้ ยที่สุด
ต้องมีวตั ถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายและใช้ขอ้ มูลเพียงเท่าที่จาเป็ น และที่สาคัญคือ ต้องมี
“ความโปร่ งใส” ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ตอ้ งคานึงถึง “ความเป็ นธรรม” ต่อ
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วย
พระราชบัญญัตินไี้ ม่ใช้ บังคับแก่
(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่เก็บรวบรวมข้อมูล
ส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรื อเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น
(2) การดาเนินการของหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการรักษาความมัน่ คงของรัฐ ซึ่ง
รวมถึง ความมัน่ คงทางการคลังของรัฐ หรื อการรักษาความปลอดภัยของประชาชน รวมทั้ง
หน้าที่เกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน นิติวิทยาศาสตร์ หรื อการรักษาความ
มัน่ คงปลอดภัยไซเบอร์
(3) บุคคลหรื อนิติบุคคลซึ่งใช้หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทาการเก็บรวบรวมไว้
เฉพาะ เพื่อกิจการสื่ อมวลชน งานศิลปกรรม หรื องานวรรณกรรมอันเป็ นไปตามจริ ยธรรมแห่ง
การประกอบวิชาชีพ หรื อเป็ นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น
(4) สภาผูแ้ ทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา รวมถึงคณะกรรมาธิการที่แต่งตั้งโดยสภา
ดังกล่าว ซึ่งเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในการพิจารณาตามหน้าที่และอานาจ
ของสภาผูแ้ ทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา หรื อคณะกรรมาธิการ แล้วแต่กรณี
(5) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดาเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการ
พิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ รวมทั้งการดาเนินงานตามกระบวนการยุติธรรม
ทางอาญา
(6) การดาเนินการกับข้อมูลของบริ ษทั ข้อมูลเครดิตและสมาชิกตามกฎหมายว่าด้วย
การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
[162]

พระราชบัญญัติน้ ีให้ใช้บงั คับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยผูค้ วบคุม


ข้อมูลส่วนบุคคลหรื อผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยูใ่ นราชอาณาจักร ไม่วา่ การเก็บ
รวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยนั้น ได้กระทาในหรื อนอกราชอาณาจักร แต่ถา้ ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วน
บุคคลหรื อผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยูน่ อกราชอาณาจักร ให้ใช้บงั คับได้เฉพาะ 2 กรณี
คือ
(1) การเสนอสิ นค้าหรื อบริ การให้แก่เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลซึ่งอยูใ่ นราชอาณาจักร
ไม่วา่ จะมีการชาระเงินของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรื อไม่ก็ตาม
(2) การเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร
คณะกรรมการคุ้มครองข้ อมูลส่ วนบุคคล ประกอบด้วย
(1) ประธานกรรมการ ซึ่งสรรหาและแต่งตั้งจากผูม้ ีความรู ้ ความเชี่ยวชาญ และ
ประสบการณ์ เป็ นที่ประจักษ์ในด้านการคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภค
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่ อสาร ด้านสังคมศาสตร์ ด้านกฎหมาย ด้านสุขภาพ ด้าน
การเงิน หรื อด้านอื่น ทั้งนี้ ต้องเกี่ยวข้องและเป็ นประโยชน์ต่อการคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล
(2) ปลัดกระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็ นรองประธานกรรมการ
(3) กรรมการโดยตาแหน่ง จานวน 5 คน ได้แก่ ปลัดสานักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการ
คณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภค อธิบดีกรมคุม้ ครองสิ ทธิและ
เสรี ภาพ และอัยการสูงสุด
(4) กรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ จานวน 9 คน ซึ่งสรรหาและแต่งตั้งจากผูม้ ีความรู ้ ความ
เชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็ นที่ประจักษ์ในด้านการคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านการ
คุม้ ครองผูบ้ ริ โภค ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่ อสาร ด้านสังคมศาสตร์ ด้านกฎหมาย
ด้านสุ ขภาพ ด้านการเงิน หรื อด้านอื่น ทั้งนี้ ต้องเกี่ยวข้องและเป็ นประโยชน์ต่อการคุม้ ครอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้ องกับข้ อมูลส่ วนบุคคล
ผูท้ ี่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ. คุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล มี 3 บทบาท ได้แก่
1.เจ้ าของข้ อมูลส่ วนบุคคล (Data Subject)
2.ผู้ควบคุมข้ อมูลส่ วนบุคคล (Data Controller)
3. ผู้ประมวลผลข้ อมูลส่ วนบุคคล (Data Processor)
อธิบายว่า
1) เจ้ าของข้ อมูลส่ วนบุคคล (Data Subject - DS) คือ บุคคลธรรมดา ซึ่งข้อมูลนั้นระบุ
ไปถึงได้ผเู ้ ป็ นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิ ดังนี้
1.1) สิ ทธิได้ รับการแจ้ งให้ ทราบรายละเอียด (Privacy Notice)
เป็ นสิ ทธิประมวลผล ที่เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลทุกคน ได้รับโดยไม่ตอ้ งมีการ
ร้องขอ ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนหรื อใน
[163]

ขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (ยกเว้น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ทราบถึงรายละเอียด


นั้นอยูแ่ ล้ว เช่น ไปธนาคารเพื่อจะไปเปิ ดบัญชี หรื อว่าการสมัครใช้ผลิตภัณฑ์หรื อบริ การต่าง ๆ )
รายละเอียดการแจ้งให้ทราบ เช่น เก็บข้อมูลส่ วนบุคคลอะไรบ้าง วัตถุประสงค์การเก็บข้อมูล
การนาไปใช้หรื อส่งต่อไปมีให้ใครบ้าง วิธีเก็บข้อมูล อย่างไร เก็บข้อมูลนานแค่ไหน แม้จะเก็บ
ข้อมูลจากแหล่งอื่น ก็ตอ้ งแจ้งเจ้าของข้อมูลทราบด้วย
Note หากมีการแก้ ไขวัตถุประสงค์ ที่ต่างไปจากเดิม ต้ องแจ้ งเจ้ าของข้ อมูลด้ วย ถ้ าไม่ ปฏิบัติ
ตาม จะมีโทษปรั บสูงสุด 1,000,000 บาท
1.2) สิ ทธิในการเพิกถอนความยินยอม
แม้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จะให้ความยินยอมไว้ ก็มีสิทธิเพิกถอนความยินยอม
ได้เสมอ แต่ตอ้ งไม่ขดั ต่อข้อจากัดสิ ทธิในการถอนความ ยินยอมทางกฎหมาย การถอนความ
ยินยอมไม่มีรูปแบบตายตัวในการเพิกถอน เช่น เพิกถอนทางอิเล็กทรอนิกส์ หรื อทาเป็ นเอกสาร
ลายลักษณ์อกั ษร แต่การเพิกถอน ต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย
เมื่อผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้รับคาขอการเพิกถอนจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว จะต้อง
“แจ้ งถึงผลกระทบ” จากการถอน ความยินยอมและ “หยุดการประมวลผล” (จุดเน้ น)
1.3) สิ ทธิขอเข้ าถึงและขอรับสาเนาข้ อมูลส่ วนบุคคล (Right to Access)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสาเนาข้อมูลส่ วนบุคคล หรื อ
ขอให้เปิ ดเผยถึงการได้มาของข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอมได้ โดยสิ ทธิน้ ีจะต้อง
ไม่ขดั ต่อกฎหมายหรื อคาสั่งศาล หรื อส่ งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสี ยหายต่อสิ ทธิและ
เสรี ภาพของบุคคลอื่น ถ้าไม่ขดั หรื อส่งผลกระทบดังกล่าว เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะได้รับ
สิ ทธิภายใน 30 วันนับจากวันที่ ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้รับคาขอ
1.4) สิ ทธิขอให้ โอนข้ อมูลส่ วนบุคคล (Right to data portability)
เป็ นกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนาข้อมูลที่เคยให้ไว้กบั ผูค้ วบคุมข้อมูลรายหนึ่ง
ไปใช้กบั ผูค้ วบคุม ข้อมูลอีกราย เช่น ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลรายแรก ได้ทาจัดทาข้อมูลส่วน
บุคคลของเราไปใน อยูใ่ นรู ปแบบที่เข้าถึงได้ดว้ ยวิธีการอัตโนมัติ เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู ้
ควบคุมข้อมูลนั้น ส่งหรื อโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้ หรื อจะขอให้ส่งไปยังผู ้ ควบคุมข้อมูลส่วน
บุคคลรายอื่นโดยตรงได้ โดยไม่ขดั ต่อกฎหมาย สัญญา หรื อละเมิดสิ ทธิเสรี ภาพของบุคคลอื่น
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถขอให้ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่งหรื อโอนข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในกรณี
(1) ข้อมูลส่ วนบุคคลนั้นอยูใ่ นรู ปแบบที่สามารถอ่านหรื อใช้งานด้วยเครื่ องมือหรื อ
อุปกรณ์ที่ทางานได้โดยอัตโนมัติและสามารถเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลด้วยวิธีการอัตโนมัติ
(2) เป็ นข้อมูลส่วนบุคคลที่ประมวลผล โดยฐานความยินยอมหรื อฐานสัญญา
เท่านั้น และ
(3) การใช้สิทธิน้ นั ต้องไม่ละเมิดสิ ทธิหรื อเสรี ภาพของบุคคล
1.5) สิ ทธิคัดค้ านการเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้ อมูลส่ วนบุคคล (Right to Objection)
[164]

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคดั ค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่


เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้ แม้จะมีสิทธิคัดค้ านการเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้ อมูลส่ วนบุคคล
แต่องค์กรที่มีการเก็บรวบรวม สามารถปฏิเสธได้ หากแสดงให้เห็นถึงเหตุอนั ชอบด้วยกฎหมาย
ได้ เช่น เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรื อ เพื่อก่อตั้งสิ ทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย หรื อเป็ นการปฏิบตั ิ
ตามหรื อการใช้สิทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย หรื อการยกขึ้นต่อสู ้สิทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย หรื อ
เพื่อการวิจยั ทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรื อสถิติ
เว้นแต่ กรณี ของ “การตลาดแบบตรง” องค์ กรต้ องยุติการใช้ ข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ ด้าน
การตลาดแบบตรงทันที
Note “ตลาดแบบตรง” หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของ
การสื่อสารข้อมูล เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทาง
และมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาด
แบบตรงนัน้
1.6) สิ ทธิขอให้ ลบ/ทาลายหรื อทาให้ ข้อมูลส่ วนบุคคลเป็ นข้ อมูลที่ไม่ สามารถระบุตัวบุคคลได้
(Right to Erasure)
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิยนื่ คาร้องขอให้ลบ หรื อทาลาย หรื อทาให้ขอ้ มูล
ส่วนบุคคลไม่สามารถระบุถึงตนได้ ในกรณี ที่มีการส่ งต่อหรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่ วนบุคคลนั้นต่อ
สาธารณะแล้ว ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งลบข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวด้วย
• หากผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ลบ/ทาลายหรื อทาให้ขอ้ มูลส่วนบุคคลเป็ น
ข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตวั บุคคลได้ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องเรี ยนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อสั่งให้ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลดาเนินการได้
Note สาหรับการประมวลผลโดยใช้เหตุผลของฐานประโยชน์สาธารณะโดย
หน่วยงานของรัฐ ประชาชนไม่สามารถขอใช้สิทธิลบข้อมูลได้
1.7) สิ ทธิขอให้ ระงับการใช้ ข้อมูลส่ วนบุคคล
หมายถึง การที่ขอ้ มูลส่ วนบุคคลจะถูกเก็บไว้โดยไม่มีการประมวลผลเพิ่มเติม
เนื่องจากเหตุผลดังนี้
(1) อยูใ่ นระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
(2) การประมวลผลไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอให้ระงับ
การใช้แทนการลบ
(3) เมื่อข้อมูลส่วนบุคคลหมดความจาเป็ นตามวัตถุประสงค์ เจ้าของข้อมูลส่วน
บุคคลขอให้เก็บรักษาไว้เพื่อใช้ในการก่อตั้งสิ ทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย เป็ นต้น
(4) เมื่อผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอยูใ่ นระหว่างการพิสูจน์ กรณีใช้ขอ้ มูลเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะหรื อการใช้ขอ้ มูลด้วยฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย หรื อตรวจสอบ
การใช้ขอ้ มูลเพื่อวัตถุประสงค์ดา้ นการวิจยั
[165]

1.8) สิ ทธิขอให้ แก้ไขข้ อมูลส่ วนบุคคล


เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดาเนินการแก้ไขข้อมูลที่
ไม่ถูกต้องของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้
-ข้อมูลถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริ ง
-ข้อมูลเป็ นปัจจุบนั และสมบูรณ์
-ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
หากผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดาเนินการตามคาร้องขอ ต้องบันทึกคาร้องขอของเจ้าของ
ข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมด้วยเหตุผลไว้ในบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผล (ROPA)
2) ผู้ควบคุมข้ อมูลส่ วนบุคคล (Data Controller - DC) เป็ นบุคคลหรื อนิติบุคคลก็ได้
เช่น บริ ษทั ห้างร้าน มูลนิธิ สมาคม หน่วยงาน องค์กร ร้านค้า หรื ออื่นใดก็ตาม ซึ่ง
เป็ นผูม้ ีอานาจตัดสิ นใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่ วนบุคคล เช่น
หน่วยงานของรัฐ หรื อเอกชน ซึ่งเป็ นรวบรวม ใช้
เก็บหรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน หรื อลูกค้าที่มาใช้ บริ การ (จุดเน้ น - เคยสอบปี
2565)
ตัวอย่าง ร้านกาแฟเป็ นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีการเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าเพื่อทา
ระบบสมาชิก หน้าที่ส่วนใหญ่ตามกฎหมายนี้กาหนด ให้เป็ นหน้าที่ของผูค้ วบคุมข้อมูลส่วน
บุคคลเนื่องจาก ผู้ควบคุมข้ อมูลส่ วนบุคคล เป็ นผูม้ ีอานาจตัดสิ นใจเกี่ยวกับการรวบรวม ใช้
หรื อเปิ ดเผย ข้ อมูลส่ วนบุคคล หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลไว้
หรื อมีการนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ หรื อนําไป เปิ ดเผยไม่วา่ จะวัตถุประสงค์ใดก็ตาม
ต้องได้รับคํายินยอม (Consent) จาก เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไว้ ก่อนหรื อในขณะนั้น เว้นแต่
มีกฎหมายให้กระทําได้ โดยไม่ตอ้ งได้รับความยินยอม ซึ่งข้อยกเว้นที่ไม่ต้องได้รับความยินยอม หรือ
consent มีดงั นี้
- เป็ นการจัดทําเอกสารประวัติศาสตร์ หรื อจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจยั หรื อการจัดทําสถิติ เพื่อป้องกันหรื อระงับเหตุอนั ตรายต่อชีวิต
ร่ างกาย หรื อสุขภาพของบุคคล
- เป็ นการปฏิบตั ิตามสัญญากับเจ้าของข้อมูล เช่น การซื้อขายของออนไลน์ ต้องใช้ชื่อ
ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
- เป็ นการทาเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการปฏิบตั ิหน้าที่ในฐานะของ
การใช้อาํ นาจรัฐ
- จําเป็ นเพื่อประโยชน์ของผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรื อของคนอื่น
- เป็ นการปฏิบตั ิตามกฎหมายของผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ส่งข้อมูลพนักงานให้
กรมสรรพากรเรื่ องภาษี
- เพื่อป้องกันหรื อระงับอันตรายต่อชีวิต ร่ างกาย หรื อสุขภาพของบุคคล
[166]

- การดําเนินกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีการคุม้ ครองที่เหมาะสมของ มูลนิธิ สมาคม


องค์กรไม่แสวงหากําไร เช่น เรื่ องศาสนาหรื อความคิดเห็นทางการเมือง ซึ่งจําเป็ นต้องเปิ ดเผย
ก่อนเข้าองค์กรนั้น ๆ เป็ นต้น
- เป็ นข้อมูลที่เปิ ดเผยต่อสาธารณะด้วยความยินยอมโดยชัดแจ้งของเจ้าของข้อมูลฯ
เช่น บุคคลสาธารณะที่มีขอ้ มูลที่เปิ ดเผยต่อสาธารณะ อยู่แล้วในความยินยอมของเจ้าของข้อมูล
- เป็ นการจําเป็ นเพื่อการก่อตั้ง /ปฏิบตั ิตาม หรื อการใช้สิทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย
หรื อต่อสู้สิทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย เช่น เก็บลายนิ้วมือของผูท้ ี่บุกรุ กเพื่อนําไปใช้ในชั้นศาล
– เป็ นการปฏิบตั ิตามกฎหมายเพื่อให้บรรลุวตั ถุประสงค์เกี่ยวกับเวชศาสตร์ป้องกัน
หรื ออาชีวเวชศาสตร์ เช่น การเก็บข้อมูลสุขภาพของพนักงาน ซึ่งเป็ นข้อมูลส่วนบุคคลที่มี
ความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ซึ่งองค์กรมักอ้างข้อนี้ เพื่อใช้เก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้
- เพื่อประโยชน์สาธารณะที่สาํ คัญ เช่น ประโยชน์ดา้ นสาธารณะสุข การคุม้ ครอง
แรงงาน การประกันสังคม หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ / การศึกษาวิจยั ทางวิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์ สถิติ หรื อประโยชน์สาธารณะอื่น
หลักการเก็บรวบรวมข้ อมูลของผู้ควบคุมข้ อมูลส่ วนบุคคล
ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จาเป็ นต้องใช้ มีวตั ถุประสงค์ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น
การเก็บรวบรวมต้องเป็ นไปอย่างจากัดเท่าที่จาเป็ นเฉพาะภายใต้วตั ถุประสงค์ที่แจ้งให้เจ้าของ
ข้อมูลส่ วนบุคคลทราบ
Note “หลักการใช้ ข้อมูลของให้ น้อยที่สุดเท่ าที่จาเป็ น (Data minimization)” คือ ในการ
เก็บข้อมูลหรื อรวบรวมข้อมูลส่ วนบุคคล ให้ ทาได้ เท่ าที่จาเป็ นภายใต้ วัตถุประสงค์ โดยต้ อง
พิจารณาองค์ ประกอบ 3 ประการ คือ เพียงพอ เกี่ยวข้อง และจากัด เพื่อป้องกันการเก็บรวมรวม
ข้อมูลมากเกินไป
หลักการขอความยินยอมจากเจ้ าของข้ อมูลส่ วนบุคคล
ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องทาโดยชัดแจ้ง เป็ นหนังสื อหรื อผ่านระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ โดยสภาพไม่สามารถขอความยินยอมด้วยวิธีการดังกล่าวได้
การขอความยินยอมของผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล ต้องคานึงถึงความเป็ นอิสระของ
เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล และตั้งอยูบ่ นพื้นฐานของการมีทางเลือกอย่างแท้จริ ง (Real choice) ดังนั้น
ความยินยอมที่เป็ นอิสระ คือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเป็ นผูเ้ ลือกได้เองว่าจะยินยอมหรื อไม่
แม้จะไม่ให้ความยินยอม แต่ยงั สามารถเข้ารับบริ การโดยไม่ได้ถูกกีดกันแต่อย่างใด
Note “ผลของความยินยอมที่ไม่อิสระ อาจส่ งผลให้ความยินยอมนั้นไม่มีผลผูกพันกับ
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ไม่อาจอ้างความยินยอมเป็ นฐานในการ
ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้”
[167]

เนื่องจากความยินยอม ถือเป็ นฐานในการประมวลผลข้อมูล บางองค์กรอาจใช้สัญญาที่มีต่อ


กัน แทนการยินยอมก็ได้ โดยหลักการขอความยินยอม มีดงั นี้
1. ความยินยอม ต้องขอก่อนมีการประมวลผล
2. ต้องไม่เป็ นเงื่อนไขในการให้บริ การ ต้องมีอิสระ ในการให้ความยินยอม
3. ความยินยอมต้องอยูแ่ ยกส่วนกับเงื่อนไขในการให้บริ การ
4. วัตถุประสงค์ของการประมวลผลข้อมูลต้องเฉพาะเจาะจง
5. ความยินยอมต้องชัดเจนไม่คลุมเครื อ
6. ออกแบบทางเลือกให้สามารถปฏิเสธที่จะให้ความความยินยอม ได้
7. เนื้อหาความยินยอมเข้าใจง่ายและเข้าถึงง่าย
กฎหมายได้กาหนด หลักการขอความยินยอม ของผู้ที่หย่อนความสามารถไว้ดงั นี้
- การขอความยินยอมจากผูเ้ ยาว์
1) ผูเ้ ยาว์อายุไม่เกิน 10 ปี ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องขอความยินยอมจากผูใ้ ช้อานาจ
ปกครองที่มีอานาจกระทาการแทนเสมอ
2) ผูเ้ ยาว์อายุ ตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่ถึง 20 ปี บริ บูรณ์ ต้องขอความยินยอมจากผูใ้ ช้อานาจ
ปกครองที่มีอานาจกระทาการเทนผูเ้ ยาว์ก่อน แต่บางกรณี ผูเ้ ยาว์อาจให้ความยินยอมได้เอง เช่น
2.1 กรณีผเู ้ ยาว์ทาการเพื่อให้ได้ไปซึ่งสิ ทธิ์และเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่ และต้องไม่มี
เงื่อนไขใด ๆ เช่น บริ ษทั ไซอิ๋ว จากัด ให้ทุนการศึกษา แก่ ด.ญ.กานดา โดยไม่มีขอ้ ผูกมัดหรื อ
หน้าที่ใด
2.2 กรณีผเู ้ ยาว์ตอ้ งแสดงเจตนาทานิติกรรมเองเป็ นการเฉพาะตัว ไม่อาจให้ผอู ้ ื่นกระทา
การแทนได้ เช่น การทาพินยั กรรมของผูเ้ ยาว์ สามารถทาพินยั กรรมได้ เมื่ออายุ 15 ปี บริ บูรณ์
- การขอความยินยอมจากคนไร้ความสามารถ ให้ขอความยินยอมจาก ผูอ้ นุบาล
- การขอความยินยอมจากคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ขอความยินยอมจาก ผูพ้ ิทกั ษ์
หน้ าที่ของผู้ควบคุมข้ อมูลส่ วนบุคคล
คือ การเก็บรวบ ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคล แต่ตอ้ งอยูภ่ ายใต้เงื่อนไขตาม
กฎหมาย นัน่ คือ ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจากัด ให้เป็ นไปตาม
วัตถุประสงค์ที่แจ้งต่อผูเ้ ป็ นเจ้าของข้อมูล ซึ่งให้ไว้ก่อนเก็บรวบรวมหรื อขณะเก็บรวบรวมข้อมูล
(จุดเน้ น) จะใช้นอกเหนื อวัตถุประสงค์ไม่ได้ เพราะหลักพื้นฐานของ กฎหมายนี้ คือ
“วัตถุประสงค์” ของการเก็บรวบรวม /ใช้หรื อ เปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย
หลักการจากัดวัตถุประสงค์ และ สิ ทธิในการรับรู ้ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
Note “หลักการจากัดวัตถุประสงค์ (Purpose limitation)” คือ การเก็บรวบรวมข้ อมูลส่ วน
บุคคลจะทาได้ เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์ ที่เจาะจง ชัดแจ้ ง และชอบด้ วยกฎหมายเท่ านั้น ต้ องไม่
ประมวลผลข้ อมูลในลักษณะที่ไม่ สอดคล้ องกับวัตถุประสงค์
นอกจากนี้ PDPA ยังได้กาหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมข้ อมูลส่ วนบุคคล ดังนี้
[168]

- จัดให้มีมาตรการรักษาความมัน่ คงปลอดภัยของข้อมูล
- ป้องกันมิให้ผอู ้ ื่นใช้หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ
- แจ้งเหตุการณ์ละเมิดให้ สํานักงานคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบภายใน 72
ชัว่ โมงนับแต่ทราบเหตุ (จุดเน้ น)
- แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คมุ ้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล (Data Protection Officer : DPO) เพื่อ
ตรวจสอบการทางานของตน เป็ นต้น (จุดเน้ น)
3) ผู้ประมวลผลข้ อมูลส่ วนบุคคล (Data Processor - DP)
คือ บุคคลหรื อนิติบุคคล ซึ่งเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคาสั่งของผู ้
ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ประมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล ได้แก่ บริ ษทั ห้างหุน้ ส่ วนทั้งเป็ นนิติบุคคลและไม่เป็ นนิติ
บุคคล และผูป้ ระกอบธุรกิจฟรี แลนซ์ที่รับจ้าง หรื อให้บริ การแก่ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล ทา
กิจกรรมที่มีการเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บริ การ cloud service
ผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) จะดาเนินงานตามคาสั่งที่ได้รับจาก
ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลเท่านั้น เว้นแต่คาํ สั่งนั้นขัดต่อกฎหมาย หรื อบทบัญญัติ ในการ
คุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล
ตัวอย่าง ธุรกิจร้านค้าอาจจ้างบริ ษทั อื่น ให้จดั การข้อมูลสั่งซื้อสิ นค้าหรื อดูแล Page ของ
ร้าน ซึ่งต้องมีการเก็บรวบรวมและใช้ขอ้ มูลส่วนบุคคลของลูกค้า

เรื่ องที่ต้องรู้ เกีย่ วกับ PDPA


ประเภทของข้ อมูลส่ วนบุคคล (จุดเน้น) แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
1. ข้ อมูลส่ วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) (จุดเน้ น)
คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ที่ทาให้สามารถระบุตวั บุคคล (บุคคลธรรมดา) นั้นได้
ไม่วา่ ทางตรงหรื อทางอ้อม แต่ ไม่ รวมถึงข้อมูลของผูถ้ ึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
(NOTE) ให้จาลักษณะของข้อมูลประเภทนี้ดว้ ย
ข้ อมูลส่ วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว
ที่อยู่ปัจจุบัน เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลทาง
การศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลทางการแพทย์ ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดนิ ทะเบียนบ้าน
วันเดือนปีเกิด สัญชาติ น้ำหนักส่วนสูง รวมถึงข้อมูลบนอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตทีส่ ามารถระบุ
ตัวตนได้ เช่น Username /password, Cookies IP address, GPS Location นอกจากนี้ยังต้อง
ระวังการใช้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นข้อมูล
ที่อาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล
[169]

2. ข้ อมูลส่ วนบุคคลอ่ อนไหว (Sensitive Personal Data) (จุดเน้ น)


คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่โดยสภาพมีความละเอียดอ่อนและสามารถก่อให้เกิดความเสี่ ยงต่อ
สิ ทธิเสรี ภาพหรื ออาจถูกใช้ในการเลือกปฏิบตั ิอย่างไม่เป็ นธรรมต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
(NOTE) ให้จาลักษณะของข้อมูลประเภทนี้ดว้ ย
ข้ อมูลส่ วนบุคคลอ่ อนไหว (Sensitive Personal Data) ได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็น
ทางการเมืองความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติ
อาชญากรรม ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์
ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิว้ มือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูล
ม่านตา เป็นต้น

2.หลักของกฎหมาย PDPA สามารถนาไปใช้ กบั การประมวลผลข้ อมูลส่ วนบุคคลของบุคคลที่


อยู่ในประเทศไทย ได้ ไม่ว่าจะมีสัญชาติใด
ตัวอย่าง บริ ษทั ตั้งอยู่ในประเทศไทย แต่เก็บข้อมูลของชาวต่างชาติ ก็ตอ้ งปฏิบตั ิตาม
PDPA เพราะ พ.ร.บ. คุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ใช้บงั คับแก่การประมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
ในราชอาณาจักร ไม่วา่ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะมีสัญชาติใดก็ตาม ก็ยงั คงต้องปฏิบตั ิตาม
เงื่อนไขที่กฎหมายกาหนด
3. เหตุการณ์ ละเมิดข้ อมูลส่ วนบุคคล
ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สานักงาน
โดยไม่ชกั ช้าภายใน 72 ชัว่ โมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทาได้ เว้นแต่การละเมิด
ดังกล่าวไม่มีความเสี่ ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิ ทธิและเสรี ภาพของบุคคล
ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิ ทธิและเสรี ภาพของบุคคล ให้แจ้ง
เหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชกั ช้าด้วย
4. การจัดทาบันทึกรายการ
ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคลบันทึกรายการเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลและ
สานักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทึกเป็ นหนังสื อหรื อระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ อย่าง
น้อยต้องมีรายละเอียดดังนี้
(1) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม
(2) วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท
(3) ข้อมูลเกี่ยวกับผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
(4) ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่ วนบุคคล
(5) สิ ทธิและวิธีการเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคลรวมทั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึง
ข้อมูลส่วนบุคคลและเงื่อนไขในการเข้าถึง ข้อมูลส่ วนบุคคลนั้น
(6) การใช้หรื อเปิ ดเผย
[170]

(7) การปฏิเสธคาขอหรื อการคัดค้าน


(8) คาอธิบายเกี่ยวกับมาตรการรักษาความมัน่ คงปลอดภัย
5. สิทธิร้องเรียน
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรี ยนต่อคณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญ ในกรณีที่มีการ
ฝ่ าฝื นหรื อไม่ปฏิบตั ิตาม พระราชบัญญัติคมุ ้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรื อประกาศ ที่
ออกตามพระราชบัญญัติคมุ ้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ กระบวนการร้องเรี ยนใน
การยืน่ การไม่รับเรื่ อง การยุติเรื่ อง การพิจารณา และระยะเวลา ในการพิจารณาคาร้องเรี ยน ให้
เป็ นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการประกาศกาหนดโดยคานึงถึง การกาหนดให้ไม่รับเรื่ อง
ร้องเรี ยนหรื อยุติเรื่ องในกรณี ที่มีผมู ้ ีอานาจพิจารณาในเรื่ องนั้นอยูแ่ ล้วตามกฎหมายอื่นด้วย
การส่ ง หรื อ โอนข้ อมูลส่ วนบุคคลไปยังต่ างประเทศ
ผูค้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะส่งหรื อโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ
ต้องตรวจสอบ ว่าประเทศปลายทางหรื อองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่ วนบุคคลนั้น มี
มาตรฐานการ คุม้ ครองข้อมูล ส่วนบุคคลที่เพียงพอหรื อไม่ ยกเว้นเป็ นไปเพื่อเป็ นไป
ตามกฎหมาย ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จําเป็ นเพื่อปฏิบตั ิตามสัญญา
ป้องกันอันตรายที่จะเกิดต่อเจ้าของข้อมูลที่ไม่สามารถให้ยนิ ยอมในขณะนั้นได้ หรื อเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะที่สาํ คัญ
ความรับผิดและบทลงโทษ จากการไม่ ปฏิบัติตาม PDPA
มี 3 ประเภท ได้แก่ ทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง ดังนี้
1) โทษทางแพ่ง
เป็ นการลงโทษผูท้ ี่ทาํ ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งต้องชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทน ให้กบั
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่วา่ จะเกิดจากการกระทําโดยจงใจหรื อประมาทเลินเล่อก็ตาม
โทษทางแพ่งนี้ ศาลมีอาํ นาจสั่งให้ใช้ค่าสิ นไหมทดแทนเพิ่มได้อกี 2
เท่าของค่าสิ นไหมทดแทนที่แท้จริ ง
ตัวอย่าง หากศาลตัดสิ นว่าให้ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนแก่
เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล เป็ นจํานวน 100,000 บาท
ศาลอาจกําหนดค่าสิ นไหมเพื่อลงโทษเพิ่มอีก 2 เท่าของค่าเสี ยหายจริ ง
เท่ากับว่าจะต้องจ่ายเป็ นค่าปรับทั้งหมด เป็ นจํานวนเงิน 300,000 บาท
2) โทษอาญา
เป็ นการกําหนดบทลงโทษทางอาญาไว้สาํ หรับความผิดร้ายแรง เช่น การใช้หรื อเปิ ดเผยข้อมูล
ส่วนบุคคลที่มี ความละเอียดอ่อนโดยมิชอบ, ล่วงรู ้ขอ้ มูลส่วนบุคคลของผูอ้ ื่นแล้วนําไปเปิ ดเผย
แก่ผอู ้ ื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษสูงสุดจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรื อปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท
หรื อทั้งจําทั้งปรับ
Note ในกรณี ที่ผกู ้ ระทําความผิดเป็ นนิติบุคคล กรรมการหรื อผูจ้ ดั การ หรื อบุคคลใดซึ่ง
[171]

รับผิดชอบ ในการดําเนิ นงานของนิติบุคคลนั้นอาจต้องร่ วมรับผิดในความผิดอาญาที่เกิดขึ้น


3) โทษทางปกครอง (จุดเน้ น) (-สอบ ปี 2565)
โทษทางปกครอง เป็ นบทลงโทษแยกต่างหากจากโทษทางแพ่งและโทษทางอาญา
สาหรับกรณี ทไี่ ม่ปฏิบตั ิตาม PDPA สาหรับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal
Data) ในส่วนการใช้ขอ้ มูล หรื อเปิ ดเผยข้อมูล หรื อโอนข้อมูล ไปยังต่างประเทศ มีโทษคือ
1) โทษปรับ 500,000 บาท กรณี
1. ไม่ส่งเอกสาร หรื อ ไม่ไปชี้แจงต่อคณะกรรมการ เมื่อมีการร้องเรี ยน
2. ไม่อาํ นวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบข้อร้องเรี ยน
2) โทษปรับ 1,000,000 บาท กรณี
1. ไม่แจ้งรายละเอียด การเก็บรวบรวม และนําข้อมูลไปใช้
2. ไม่ดาํ เนินการตามร้องขอ (เข้าถึงและสําเนาข้อมูล) ภายใน 30 สิ บวัน
3. ไม่บนั ทึกข้อมูล รายละเอียดการเก็บข้อมูล เพื่อการตรวจสอบ
4.ไม่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คมุ้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล
5. ไม่สนับสนุนหรื ออํานวยความสะดวกเจ้าหน้าที่คุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล
ให้เข้าถึงข้อมูล ส่วนบุคคลเพื่อการปฏิบตั ิตามหน้าที่
6. เลิกจ้างเจ้าหน้าที่คมุ ้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยเหตุการปฏิบตั ิหน้าที่ตาม พ.ร.บ.
7.ไม่ขอความยินยอมตามแบบหรื อข้อความที่คณะกรรมการกําหนด/ ไม่แจ้งผลกระทบ
จากการถอนความยินยอม
3) โทษปรับ 3,000,000 บาท มีดังนี้
1. รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยเจ้าของข้อมูลไม่ยนิ ยอม หรื อรวบรวมเกินความจําเป็ น
2. รวบรวมข้อมูลจากแหล่งอื่น ที่ไม่ใช่จากเจ้าของโดยตรง
3. ใช้หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอม
4. ใช้ขอ้ มูลไม่ตรงตามวัตถุประสงค์
5. ส่งต่อข้อมูลไปต่างประเทศ ไม่ตรงตามข้อกําหนดของ พ.ร.บ.
6. ถ้ามีการคัดค้าน แล้วไม่ปฏิบตั ิตาม
7. ไม่มีมาตรการรักษาความมัน่ คงปลอดภัย หรื อดูแลข้อมูลที่ดีเพียงพอ
8. ไม่มีระบบตรวจสอบเพื่อลบ หรื อทําลายข้อมูล ตามที่ร้องขอ
9. ไม่แจ้งเหตุการละเมิด ภายใน 72 ชัว่ โมง
10. ขอความยินยอมโดยการหลอกลวงหรื อทําให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
เข้าใจผิดในวัตถุประสงค์
4) โทษปรับ 5,000,000 บาท มีดงั นี้
1. รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว (ข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็น
ทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรื อปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม
[172]

ข้อมูล สุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ)


โดยไม่ได้รับอนุญาต
2. ส่งต่อข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวไปต่างประเทศ
ไม่เป็ นไปตามข้อกําหนดที่ประกาศไว้
สํานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่วนบุคคล หรื อ PCDC Thailand สังกัด
กระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้อธิบาย 4 เรื่ องที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับกฎหมาย
PDPA ดังนี้
1) ถ่ ายรู ป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่น เจ้ าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA หรื อไม่
หากการถ่ายนั้นเกิดจากการไม่เจตนา และการถ่ายรู ปถ่ายคลิปไม่ก่อให้เกิดความ
เสี ยหายกับผูถ้ ูกถ่าย สามารถทําได้ หากเป็ นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
2) นําคลิป/รู ปถ่ ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ ในโซเชียล โดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
หรื อไม่
สามารถโพสต์ได้ หากเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากําไรทางการค้าและไม่
ก่อให้เกิดความเสี ยหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
3) ติดกล้องวงจรปิ ดแล้ วไม่มีป้ายแจ้ งเตือนผิด PDPA หรื อไม่
การติดกล้องวงจรปิ ด ภายในบ้าน ไม่จาํ เป็ นต้องมีป้ายแจ้งเตือน
หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
4) เจ้ าของข้ อมูลส่ วนบุคคล ต้ องให้ ความยินยอมทุกครั้งก่ อนนําข้ อมูลไปใช้ จริงหรื อไม่
โดยหลักแล้ว ต้องขอความยินยอมก่อนทุกครั้ง เว้นแต่ การใช้ขอ้ มูลตามวัตถุประสงค์
ดังต่อไปนี้ ไม่จาํ เป็ น ต้องขอความยินยอม คือ
(1) เป็ นการทาตามสัญญา
(2) เป็ นการใช้ที่มีกฎหมายให้อานาจไว้
(3) เป็ นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรื อ ร่ างกายของบุคคล
(4) เป็ นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจยั หรื อสถิติ
(5) เป็ นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็ นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรื อ สิ ทธิของตนเอง
[173]

1.5 สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540


พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีเจตนารมณ์ ให้ประชาชน
ได้มโี อกาส รับรู้ขอ้ มูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐเพื่อประชาชน
จะได้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้และตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินและเป็น
การส่งเสริมให้การบริหารหน่วยงานของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส
บทนิยามที่น่าสนใจ ในพระราชบัญญัติฉบับนีค้ ือ
"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วน
ภูมภิ าคราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาล เฉพาะในส่วนที่ไม่
เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีองค์กรควบคุมการประกอบอาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐ
และหน่วยงานอื่นตามทีก่ ำหนดในกฎกระทรวง
"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ
ซึ่งหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องดำเนินการและปฏิบัติดังนี้
"ข้อมูลข่าวสาร" หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราว
ข้อเท็จจริงข้อมูลหรือสิ่งใด ๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้น จะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเอง
หรือโดยผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ
แผนผัง แผนที่ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่อง
คอมพิวเตอร์หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้ส่งิ ที่บันทึกไว้ปรากฏได้
"ข้อมูลข่าวสารของราชการ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความ
ครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการ
ดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
ซึ่งตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ มีข้อควรรู้ ดังนี้
1.สิทธิการรับรู้หรือรับทราบข้อมูลข่าวสารของราชการ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเรือ่ ง
ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ดังนี้
- บุคคลและชุมชน มีสทิ ธิ ทราบหรือเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะใน
ครอบครองของหน่วยงานรัฐ
- รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองแต่ต้องมิใช่ข่อมูล
เกีย่ วกับความมั่นคงของรัฐหรือเปืนความลับของทางราชการ
-ต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก
2.หลักการและเหตุผลของพระราชบัญญัติขอมูลขาวสารของราชการ
ในระบอบประชาธิปไตย การให้ประชาชนมโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูล
[174]

ข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดง
ความคิดเห็นและใช้สทิ ธิทางการเมืองได้โดยถูกต้องกับความจริง แต่มขี ้อยกเว้นไม่ต้อง
เปิดเผยที่แจ้งชัดและจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อ
ประเทศชาติหรือต่อประโยชนทีส่ ําคัญของเอกชน เพื่อพัฒนาระบบประชาธิปไตยใหมั่นคง
และให้ประชาชนมโอกาสรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตน เพื่อรักษาประโยชน์ของตนงกับคุ้มครอง
สิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการ
3.ข้อมูลข่าวสารของราชการ
"ข้อมูลข่าวสาร" หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง
ข้อมูลหรือสิ่งใด ๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้น จะทำได้โดยสภาพของสิ่งนัน้ เองหรือโดย
ผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือแผนผัง
แผนที่ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้ส่งิ ที่บันทึกไว้ปรากฏได้
"ข้อมูลข่าวสารของราชการ" หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความ
ครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการ
ดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน ซึ่งได้จัดลักษณะของข้อมูลข่าวสารของ
ราชการไว้ ดังนี้
3.1 ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป
ประกอบด้วย
3.1.1 ข้อมูลข่าวสารที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา มีดังนี้
(1) โครงสร้างและการจัดองคกรในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐนั้น
(2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
(3) สถานที่ตดิ ต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสาร หรือคำแนะนำในการติดต่อกับ
หน่วยงานของรัฐ
(4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบแบบแผน
นโยบาย หรือการตีความเฉพาะที่จัดให้มีข้นึ โดยมีสภาพอย่างกฎเพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไป
ต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มกี ารจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวน
พอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์ นั้นก็ให้ถือว่า
เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว
[175]

NOTE ข้อมูลข่าวสารที่ต้องลงพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา ถ้ายังไม่ได้ลงพิมพ์ จะ


นำมาใช้บังคับในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ผใู้ ดไม่ได้เว้นแต่ผนู้ ั้นจะได้รถู้ ึงข้อมูลข่าวสารนั้นตาม
ความเป็นจริงมาก่อนแล้วเป็นเวลาพอสมควร

3.1.2 ข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้
ชนิดของข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้
ประชาชนเข้าตรวจดูได้เป็นข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญ รองลงมาจากข้อมูลข่าวสารของ
ราชการประเภทที่ตอ้ งลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เพราะเป็นข้อมูลที่ถูกกำหนดว่า
ประชาชนควรได้รู้ กฎหมาย จึงกำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐจัดรวบรวมไว้ให้ประชาชน
เข้าตรวจดูเมื่อใดก็ได้ ได้แก่ข้อมูลดังต่อไปนี้
(1) ผลการพิจารณาหรือคำวินจิ ฉัยที่มผี ลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้ง
ความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินจิ ฉัยดังกล่าว
(2) นโยบาย หรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ตามมาตรา 7(4) อันได้แก่ กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ
แบบแผน นโยบาย หรือการตีความเฉพาะทีจ่ ัดให้มขี ึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็น
การทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(3)แผนงาน โครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปี ของปีที่กำลัง
ดำเนินการ
(4) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมี
ผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
(5) ข้อมูลข่าวสารที่ได้มกี ารจัดพิมพ์ เพื่อให้แพร่หลายตามจำนวน
พอสมควร ซึ่งการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาได้มกี ารอ้างอิงถึง
(6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มลี ักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือ
สัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
(7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดย
มติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทาง วิชาการรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูล
ข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ดว้ ย
(8) ข้อมูลข่าวสารอื่นที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด
ตัวอย่างข้อมูลข่าวสาร ที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนดให้
มีไว้ให้ประชาชนตรวจดู เช่น
-ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณที่หน่วยงานของรัฐได้
ทำการศึกษาวิจัย หรือมีอยู่ในความครอบครองดูแล ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
[176]

-ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลการพิจารณาการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ
โดยให้หน่วยงานของรัฐจัดทำสรุปผลการดำเนินการจัดซือ้ จัดจ้างของหน่วยงานของรัฐเป็น
รายเดือนทก ๆ เดือน ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่จัดซือ้ หรือจัดจ้าง วงเงินที่จะซือ้ หรือ
จ้าง ราคากลาง วิธีซอื้ หรือจ้าง รายชื่อผู้เสนอราคาและราคาที่เสนอผู้ได้รับการคัดเลือก
และราคาที่ตกลงซือ้ หรือจ้าง เหตุผลที่คัดเลือกโดยสรุป และเลขที่และวันที่ของสัญญาหรือ
ข้อตกลงในการซื้อหรือการจ้าง กรณีเดือนใดไม่มกี ารจัดซือ้ หรือจัดจ้างหรือมีการยกเลิก
โครงการหรือสัญญาหรือข้อตกลงในการซือ้ หรือจ้าง ให้รายงานไว้ดว้ ย
- ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น รายงานและข้อมูลข่าวสาร
เกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ในแต่ละขั้นตอนการคำเนิน
การรามทั้งรายงานการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศประกวดราคาและประกาศสอบราคำของหน่วยงานของรัฐที่หัวหน้าส่วน
ราชการลงนามแล้ว
- ข้อมูลข่าวสารตามเกณฑ์มาตรฐานความโปร่งใสและตัวชี้วัดความโปร่งใสของ
หน่วยงานของรัฐ เช่น หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รจัดหาพัสดุ ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่
เกี่ยวข้องกับการจัดหาพัสดุ ทั้งที่เป็น กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา
พัสดุ เช่น ระเบียบพัสดุมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น กฎหมายวาด้วย
การกระทำความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคา) แผนการจัดหาพัสดุ รายงานการขอซือ้ ขอจ้าง
เอกสารสอบราคาและเอกสารประกวดราคา และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินผลใน
แต่ละโครงการหรือรายการ เป็นต้น
-หน่วยงานของรัฐซึ่งจัดทำ จัดให้มี หรือครอบครองดูแลข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับที่
สาธารณประโยชน์ประเภทที่ดนิ สาธารณประโยชน์ จัดให้มีขอ้ มูลข่าวสารสำหรับการสืบค้น
อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
(ก) ทะเบียนที่ดนิ สาธารณประโยชน์
(ข) หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง
(ค) เอกสารแสดงพิกัดและตำแหน่งที่ตงั้ ของที่ดินสาธารณประโยชน์
(ง) เอกสารอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด เป็นต้น
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้ตรวจดู มีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) ต้องมีสถานที่เฉพาะเพื่อที่ประชาชนจะทำการตรวจดูและศึกษาข้อมูล
ข่าวสารได้โดยสะดวก ตามกำลังบุคลากรและงบประมาณ
(2) ต้องจัดให้มีดรรชนีที่มรี ายละเอียดเพียงพอให้ประชาชนสามารถตรวจดูเอง
ได้โดยสะดวก
(3) ข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ตรวจดูประชาชนต้องสามารถตรวจดูเองได้โดยสะดวก
(4) ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าจำเป็นต้องมีระเบียบการรักษา ความเป็น
[177]

ระเบียบ เรียบร้อยของการเข้าใช้บริการหรือความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสาร หน่วยงาน


ของรัฐอาจกำหนดระเบียบได้ โดยคำนึงถึงความสะดวกในการตรวจดูของประชาชนด้วย
(5) การจัดสถานที่ให้ประชาชนเข้าตรวจดูอาจจัดไว้ที่หอ้ งสมุดของหน่วยงานอื่น
หรือสถานที่ของเอกชนที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ตงั้ ของหน่วยงานของรัฐนั้นก็ได้
ผู้มีสิทธิตรวจดู
บุคคลสามารถเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารได้ ไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย หรือ
เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่เข้าตรวจดูและโดยไม่ตอ้ งระบว่าจะนำข้อมูล
ข่าวสารไปใช้ในการใดและมีสิทธิ์ขอสำเนาหรือขอสำเนาทีมคี ำรับรองสำเนาถูกต้อง
คนต่างด้าวมีสทิ ธิขอเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการเพียงเท่าที่กำหนดใน
กฎกระทรวง ปัจจุบันยังไม่มีการตรากฎกระทรวง ดังนั้น คนต่างด้าว จึงยังไม่มีสิทธิเข้า
ตรวจดูขอ้ มูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยไม่ได้
กรณีที่ขอ้ มูลข่าวสารใดมีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผย ในการจัดให้ประชาชน
ให้หน่วยงานของรัฐลบหรือตัดทอน หรือทำให้ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้นได้
3.1.3 ข้อมูลข่าวสารอื่นของราชการที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดหาให้เมื่อ
ประชาชนมีคำขอ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุม ดูแล ของ
หน่วยงานของรัฐ นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ข้อมูล
ข่าวสารของราชการที่จัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ หรือข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีการจัด
ให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการฯ แล้ว
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้ตรวจดู
หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่เปิดเผย หรือจัดหาข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนที่มายื่น
คำขอกับหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เข้าข้อยกเว้น ไม่ต้องเปิดเผย
ผูท้ ี่ประสงค์จะได้ขอ้ มูลข่าวสารจะต้องยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการต่อ
หน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ควบคุมหรือครอบครองข้อมูลข่าวสารนั้น และในคำขอต้องระบ
ลักษณะของข้อมูลข่าวสารที่ตอ้ งการและหน่วยงานมีหน้าที่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผขู้ อ
ภายในเวลาอันสมควร ซึ่ง รูปแบบการจัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน ตามวิธีนี้ จะเป็น
การจัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผขู้ อเปืนรายกรณี และแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการ
ของแต่ละคน จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นการจัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชนี้เป็นการเฉพาะ
ราย หากไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ตอ้ งเปิดเผยแล้ว ก็ถือเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้อง
จัดหาให้ทั้งสิ้น
ในกรณีที่ขอ้ มูลข่าวสารของราชการมีสภาพที่อาจบุบสลายง่าย หน่วยงานของรัฐ
[178]

จะขอขยายเวลาในการจัดหาให้หรือจะจัดทำสำเนาให้ในสภาพอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อมิให้
เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสารนั้นก็ได้ นอกจากนี้ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่
หน่วยงานของรัฐจัดหาให้ต้องเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้ว ในสภาพที่พร้อมจะให้ได้ มิใช่
ต้องไปจัดทำวิเคราะห์ จำแนกรวบรวมหรือจัดให้มีข้นึ ใหม่ เว้นแต่เป็นการแปรสภาพ
เป็นเอกสารจากข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียง ระบบ
คอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นใด แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนัน้ ไม่ใช้การแสวงหา
ผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผูน้ ั้น หรือ
เป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะหน่วยงานของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้
หากเป็นการสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามปกติของหน่วยงานของรัฐนัน้ อยู่แล้ว
3.1.4 ข้อมูลข่าวสารที่คัดเลือกไว้ให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า
โดยหลักแล้วข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษา
หรือมีอายุครบกำหนดเวลาต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 26 วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติขอ้ มูลข่าวสารของราชการนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มขี ้อมูลข่าวสาร
นั้น หน่วยงานของรัฐต้องส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หรือ
หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา เพื่อเลือกไว้ให้ประชาชนศึกษา
ค้นคว้า
กำหนดเวลาที่ต้องส่งมอบข้อมูลข่าวสารของราชการให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติกรม
ศิลปากร แยกประเภทได้ดังนี้
(1) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบัน
พระมหากษัตริย์ เมื่อครบ 75 ปี นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีขอ้ มูลข่าวสาร
(2) ข้อมูลข่าวสารของราชการดังต่อไปนี้ เมื่อครบ 20 ปี นับแต่วันที่เสร็จสิ้น
การจัดให้มีข้อมูลข่าวสาร
(2.1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(2.2) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ หรือ
ไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม
การทดสอบ การตรวจสอบหรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
(2.3) ความเห็น หรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการ
เรื่องหนึ่งเรื่องใด ไม่รวมถึงรายงานทาง วิชาการรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่
นำมาใช้ในการทำความเห็น หรือคำนะนำภายในดังกล่าว
(2.4) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวติ หรือความปลอดภัยของ บุคคล
หนึ่งบุคคลใด
(2.5) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็น
[179]

การรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
(2.6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายุค้มครองมิให้เปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารตาม (2.1) - (2.6) เป็นข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมี
ดุลพินิจที่จะให้เปิดเผย หรือไม่ก็ได้กำหนดเวลา 75 ปี และ20 ปี ตามที่กล่าวไว้ (1)และ (2)
ซึ่งขยายออกไปได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) หน่วยงานของรัฐเห็นว่ายังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของ
ราชการไว้เองเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย โดยต้องจัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศกึ ษา
ค้นคว้าตามที่จะตกลงกับหอจดหมายแห่งชาติ กรมศิลปากร
(ข) หน่วยงานของรัฐเห็นว่า ข้อมูลข่าวสารของราชการนั้น ยังไม่ควร
เปิดเผยโดยมีคำสั่งขยายเวลากำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้นให้กำหนด
ระยะเวลาไว้ดว้ ยแต่จะกำหนดเกินคราวละ 5 ปี ไม่ได้
3.2 ขอบเขตของการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
หลักการสำคัญของพระราชบัญญัติขอ้ มูลข่าวสารของราชการฯ ประการหนึ่ง
คือ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” ดังนัน้ โดยหลักแล้วหน่วยงานของรัฐจึง
มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของตน หาก
หน่วยงานของรัฐประสงค์จะปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนได้รับทราบ
หน่วยงานของรัฐจะต้องให้เหตุผล และเหตุผลดังกล่าว ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่
กฎหมายกำหนด โดยข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในหลักเกณฑ์ไม่ตอ้ งเปิดเผยมี 2 กรณี คือ
1) ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยไม่ได้โดยเด็ดขาด ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจ
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
2) ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ภายใต้ดุลพินจิ ของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่
จะมีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยก่ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ
ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ซึ่งได้แก่ข้อมูลข่าวสาร
ของราชการที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
2.1 ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ได้แก่
(1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
(2) การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือ
ไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม
การทดสอบ การตรวจสอบหรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
(3) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานรัฐในการดำเนินการเรื่องหนึ่ง
เรื่องใด แต่ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริงหรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ใน
การทำความเห็น หรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
[180]

2.2 ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเอกชน ได้แก่


(1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรือความปลอดภัยของ บุคคล
หนึ่งบุคคลใด
(2) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็น
การรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
(3) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มกี ฎหมายุค้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูล
ข่าวสารที่มีผใู้ ห้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อ่นื
คำสั่งไม่ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการในกรณีน้ี หน่วยงานของรัฐหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ แต่ต้องระบด้วยว่าเปิดเผยไม่ได้นั้น เพราะ
เป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดเพราะเหตุใด และให้ถือว่าการมีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารของราชการดังกล่าว เป็นดุลยพินจิ โดยเฉพาะของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามลำดับสาย
การบังคับบัญชา แต่ผู้ขอมีสทิ ธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่ให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยเป็นการเฉพาะ ใช้กับข้อมูลข่าวสารส่วน
บุคคล หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะ
การเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรมหรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นนั้
หรือมีเลขหมายรหัสหรือสิ่งบอกลักษณะอืน่ ที่ทำให้รตู้ ัวผูน้ ั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นวิ้ มือแผ่น
บันทึกลักษณะเสียงของคน หรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่ง
เฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย (มาตรา 4)
บุคคล หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่มสี ัญชาติไทยและบุคคลธรรมดาที่ไม่มี
สัญชาติไทย แต่มถี ิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
4.หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ศาล เฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับ
การพิจารณาพิพากษาคดีองค์กรควบคุมการประกอบอาชีพ หน่วยงานอิสระของรัฐและ
หน่วยงานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานของรัฐ
ซึ่งหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องดำเนินการและปฏิบัติดังนี้
4.1 หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดพิมพ์หรือจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 มาตรา
8 และมาตรา 9 ไว้เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูแล้วแต่กรณี
4.2 หน่วยงานของรัฐ ต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กำหนดในมาตรา 7
ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารดังกล่าวไว้เผยแพร่เพื่อ
ขาย หรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนัน้ ตามที่เห็นสมควร
[181]

4.3 หน่วยงานของรัฐ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของ


ราชการวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการขอสำเนาหรือขอสำเนาทีมคี ำรับรอง
ถูกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการก็ได้ ส่วนผู้มีรายได้นอ้ ย อาจได้รับยกเว้น
ค่าธรรมเนียมได้
4.4 หน่วยงานของรัฐ ต้องจัดหาข้อมูลข่าวสารของราชการนอกจากที่ลงพิมพ์ใน
ราชกิจจานุเบกษาหรือจัดไว้ให้ประชาชนตรวจดูหรือที่จัดให้ประชาชนได้ค้นคว้า เว้นแต่ผู้นั้น
จะขอจำนวนมาก หรือบ่อยครั้ง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและถ้าข้อมูลข่าวสารของราชการ
นั้นมีสภาพอาจบุบสลายได้ง่าย หน่วยงานของรัฐ จะขอขยายเวลาในการจัดหาให้หรือจะ
จัดทำสำเนาอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลข่าวสาร
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐ จัดหาให้ข้างต้นต้องเป็นข้อมูล
ข่าวสารที่มีอยู่แล้วในสภาพที่พร้อมจะให้ได้มใิ ช่เป็นการต้องไปจัดทำวิเคราะห์จำแนก
รวบรวมหรือจัดให้มีข้นึ ใหม่ เว้นแต่ เป็นการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลข่าวสารที่
บันทึกไว้ในระบบการบันทึกภาพหรือเสียรู้ะบบคอมพิวเตอร์อร์หรือระบบอื่นใด
แต่ถ้ากรณีที่ขอนั้นมีิใช้่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็น
เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ สำหรับผู้นั้น หรือเปืนเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ หน่วยงาน
ของรัฐจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนัน้ ให้ก็ได้
4.5 หน่วยงานของรัฐ ต้องแนะนำให้ผขู้ อข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความ
ควบคุมดูแลของหน่วยงาน ส่วนกลางหรือส่วนสาขาของหน่วยงานแห่งนัน้ หรือจะอยู่ใน
ความควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก็ตาม ให้ไปยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่
ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นโดยไม่ชักช้า ถ้ารัฐผูร้ ับคำขอเห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่มีคำขอ
เป็นข้อมูลข่าวสารที่จัดทำโดยหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นและห้ามเปิดเผยไว้ให้ส่งคำขอให้
หน่วยงานรัฐผูท้ ำข้อมูลข่าวสารนั้น พิจารณาต่อไป
4.6 หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับ
การจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
(1) ต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียงเท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อ
การดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้สำเร็จ ตามวัตถุประสงค์เท่านั้น และยกเลิกการจัดให้
มีระบบดังกล่าวเมื่อหมดความจำเป็น
(2) พยายามเก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
กรณีที่จะกระทบถึงประโยชน์ได้เสียโดยตรงของ บุคคลนั้น
(3) จัดให้มีการพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาและตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้องอยู่เสมอ
เกี่ยวกับสิ่งดังต่อไปนี้
(ก) ประเภทของ บุคคลที่มกี ารเก็บข้อมูลไว้
(ข) ประเภทของระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
[182]

(ค) ลักษณะการใช้ขอ้ มูลตามปกติ


(ง) วิธีการขอตรวจดูข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
(จ) วิธีการขอให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
(ฉ) แหล่งที่มาของข้อมูล
(4) ตรวจสอบแก้ข่าวสารส่วนบุคคลในความรับผิดชอบให้ถูกต้องเสมอ
(5) จัดระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบข้อมูลข่าวสารตามความ
เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการนำไปใช้โดยไม่เหมาะสมหรือเป็นผลร้ายต่อเจ้าของข้อมูล
ในกรณีที่เก็บข้อมูลข่าวสารโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล หน่วยงานรัฐต้องแจ้ง
ให้เจ้าของข้อมูลทราบล่วงหน้าหรือพร้อมกับการขอข้อมูลถึงวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลมา
ใช้ลกั ษณะการใช้ข้อมูลปกติและกรณีที่ขอข้อมูลนั้น เป็นกรณีที่อาจให้ข้อมูลได้โดยความ
สมัครใจหรือเปืนกรณีมีกฎหมายบังคับ หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบ ใน
กรณีมีการให้จัดส่งข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใดซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบ
ข้อมูลข่าวสารนั้นได้เว้นแต่เป็นไปตามลักษณะการใช้ขอ้ มูลตามปกติ
4.7 หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแล
ของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่น หรือผูอ้ ื่น โดยปราศจากความย่นย่อมเป็นหนังสือของ
เจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้า หรือในขณะนั้นมีไิ ด้เว้นแต่เป็นการเปิดเผย ดังต่อไปนี้
(1) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่
ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น
(2) เป็นการใช้ข้อมูลตามปกติภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีระบบข้อมูล
ข่าวสารส่วนบุคคลนั้น
(3) ต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านการวางแผน หรือการสถิติหรือสามะโน
ต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่ตอ้ งรักษาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไว้ให้ไม่ให้เปิดเผยต่อไปยังผู้อ่ืน
(4) เป็นการให้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุช่อื หรือส่วนที่ทำให้รู้ว่า
เป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลใด
(5) ต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐตาม
มาตรา 26 วรรคหนึ่ง เพื่อการตรวจดูคุณค่าในการเก็บรักษา
(6) ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อการป้องกันการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
การสืบสวน การสอบสวน หรือการฟ้องคดีไม่ว่าเป็นคดีประเภทใดก็ตาม
(7) เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการป้องกัน หรือระงับอันตรายต่อชีวติ หรือสุขภาพ
ของบุคคล
(8) ต่อศาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่มอำนาจ
ตามกฎหมายที่จะขอข้อเท็จจริงดังกล่าว
4.8 เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยรายงานการแพทย์ที่เกี่ยวกับบบุคคลใดจะเปิดเผย
[183]

ต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้นมีอบหมายก็ได้ ถ้ากรณีมเี หตุอันสมควร


4.9 หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องย่นย่อมให้คณะกรรมการหรือผู้
ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเข้าตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของตนได้
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็ตาม
5.สิทธิของประชาชนตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ มีดังนี้
บทสรุปสิทธิของประชาชน มีดังต่อไปนี้
1.สิทธิ “รับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ”
2.สิทธิ “คัดค้านการเปิดเผยข้อมูล กรณีมสี ่วนได้เสีย”
3. สิทธิ “ร้องเรียนหน่วยงานของรัฐ”
4. สิทธิ “อุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดข้อมูลข่าวสารของราชการ”
5. สิทธิ “ได้รับการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” สรุปดังนี้
5.1 สิทธิในการขอคำปรึกษาการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ีกับ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นหน่วยงานทาง วิชาการและธุรการให้แก่
คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสาร
5.2 สิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ
บุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามย่อมมีสทิ ธิเข้าตรวจดูขอสำเนาหรือขอ
สำเนาทีมคี ำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 9 ได้
สิทธิของคนต่างด้าว ในการขอเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐ ต้อง
จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้น้ี คนต่างด้าวมีสทิ ธิขอเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ
เพียงเท่าที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการตรากฎกระทรวง ในเรื่องดังกล่าว
ดังนัน้ คนต่างด้าว จึงยังไม่มีสทิ ธิเข้าตรวจดูขอ้ มูลข่าวสารของราชการตามพระราชบัญญัติ
ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ
5.3 สิทธิขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการนอกจากข้อมูลข่าวสารของ
ราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือที่จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้แล้วหรือที่มี
การจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แล้ว โดยคำขอนั้นได้ระบุข้อมูลข่าวสารที่
ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามสมควร (มาตรา 11)
5.4 สิทธิที่จะได้รถู้ ึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับงานซึ่งหน่วยงาน
ของรัฐ จะต้องให้กับบุคคลนั้น หรือผู้กระทำแทนได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสาร
ส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น (มาตรา 25 วรรค 1)
5.5 สิทธิในการดำเนินการแทนผู้เยาว์คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้
ความสามารถ หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรม
5.6 สิทธิในการร้องเรียน
[184]

ผูใ้ ดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 7 หรือไม่จัดข้อมูล


ข่าวสารไว้ให้ประชาชนตรวจดูได้ตามมาตรา 9 หรือไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ตนตาม
มาตรา 11 หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติน้หี รือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็น
ว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มเี หตุอันสมควร ผู้นั้นมีสทิ ธิร้องเรียน ต่อคณะกรรมการ
ข้อมูลข่าวสารของราชการเว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีคำสั่งมิให้เปิดเผย้อมูลข่าวสารตาม
มาตรา 15 หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือ
ลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตาม มาตรา 25
5.7 สิทธิในการอุทธรณ์
-กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารใด อุทธรณ์ต่อ
คณะกรรมการวินจิ ฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งนั้น โดย
ยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
-กรณีอุทธรณ์คำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรวจ
ตามที่มีคำขอผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน
30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ
6.สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สังกัดสำนักงานปลัดสำนัก
นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานธุรการและวิชาการให้แก่คณะกรรมการข้อมูล
ข่าวสารของราชการและคณะกรรมการการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประสานงาน
กับหน่วยงานของรัฐและให้คำปรึกษาแก่เอกชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
7. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
7.1 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการประกอบด้วย คณะกรรมการโดย
ตำแหน่ง 14 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ซึ่งได้รับแต่งตั้ง) 9 คน ดังนี้
-รัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน
-ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี - ปลัดกระทรวงกลางโหม
-ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - ปลัดกระทรวงการคลัง
-ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - ปลัดกระทรวงมหาดไทย
-ปลัดกระทรวงพาณิชย์ - เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
-เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- ผูอ้ ำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- ผูอ้ ำนวยการสำนักงบประมาณ
- ผูท้ รงคุณวุฒิอ่นื (จากภาครัฐและเอกชน) ซึ่งคณะรัฐมนตรี์ แต่งตั้งอีก 9 คน
[185]

เป็นกรรมการ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ข้าราชการของสำนักงานปลัด
สำนักนายกรัฐมนตรี 1 คนเป็นเลขานุการและอีก 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
7.2 คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่
ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติน้ี
(2) ให้คำปรกษาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินีต้ ามที่ได้รับคำขอ
(3) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือ
ระเบียบของคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติน้ี
(4) พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 13
(5) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้เี สนอคณะรัฐมนตรี
เป็นครั้งคร่าวตามความเหมาะสม แต่อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
7.3 กรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคร่าวละ 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับ
แต่งตั้งผูท้ ี่พ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับแต่งตัง้ ใหม่ได้
7.4 กรรมการผูท้ รงคุณวุฒินอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ยังพ้นตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือ
ไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือค้นเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ
ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
7.5 ให้คณะกรรมการมอำนาจเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งวัตถุเอกสาร
หรือพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาได้
7.6 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐ ปฏิเสธว่าไม่มขี ้อมูลข่าวสารตามที่มีคำขอ ถ้าผูม้ ี
คำขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริงและร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการตรวจสอบ
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เกี่ยวข้องและแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้รอ้ งเรียนทราบ
หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ตอ้ งย่นย่อมให้คณะกรรมการเข้าตรวจสอบข้อมูล
ข่าวสารทีอ่ ยู่ในความครอบครองของตนได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยได้หรือไม่ก็
ตาม ส่วนระยะเวลาการพิจารณาของคณะกรรมการ ต้องให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่
วันที่ได้รับคำร้องเรียน ให้ขยายเวลาออกไปได้แต่ต้องแสดงเหตุผลและรวม
[186]

เวลาทั้งหมดต้องไม่เกิน 60 วัน
8.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
8.1 ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาต่าง ๆ ตามความ
เหมาะสมซึ่งคณะรัฐมนตรี์ แต่งตั้งตามข้อเสนอของคณะกรรมการซึ่งคณะกรรมการม
อำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 14 หรือ
มาตรา 15 หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านตามมาตรา 17 และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือ
ลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 25
การแต่งตัง้ คณะกรรมการวินจิ ฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ให้แต่งตั้งตามสาขา
ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของข้อมูลข่าวสารของราชการเช่น ความมั่นคงของประเทศ
เศรษฐกิจ และการคลังของประเทศ หรือการบังคับใช้กฎหมาย
8.2 คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารคณะหนึ่ง ๆ ประกอบด้วย
บุคคลตามความจำเป็นแต่ต้องไม่นอ้ ยกว่า 3 คนและให้ข้าราชการที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
** กรณีพิจารณาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐแห่งใด ห้าม
กรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทีม่ าจากหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น เข้าร่วม
พิจารณา
8.3 ให้คณะกรรมการพิจารณาส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการ
เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร โดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการวินจิ ฉัย
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละสาขา ภายใน 7 วันนับแต่วันที่คณะกรรมการได้รับคำ
อุทธรณ์ ซีง่ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินจิ ฉัย เป็นที่สุด
8.4 อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินจิ ฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแต่ละ
สาขา วิธีพิจารณาและวินิจฉัย ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา
9.บทกำหนดโทษ
9.1 คณะกรรมการมอำนาจเรียกให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือส่งวัตถุเอกสารหรือ
พยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียนได้ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ
คณะกรรมการที่สั่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
9.2 ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกำหนด
ตามมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ (มาตรา 41)
[187]

1.6 กฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง
- วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง - ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
สาระสำคัญของกฎหมายมีดังนี้ คือ
1. เป็นกฎหมายมาตรฐานกลาง โดยเป็นการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการพิจารณาจัดทำ
คำสั่งทางปกครอง หากการพิจารณาทางปกครองเรื่องใดมีมาตรฐานในการประกันสิทธิและ
เสรีภาพต่ำกว่ากฎหมายนี้ จะต้องใช้กระบวนการตามกฎหมายนี้แทน
2. กำหนดขั้นตอนวิธีการการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
3. กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการในการเพิกถอนและการขอให้พิจารณาคำสั่งทางปกครองใหม่
4. กำหนดกระบวนการการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครอง
ขอบเขตการบังคับใช้
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ใช้บังคับในฐานะที่เป็น
กฎหมายมาตรฐาน กลาง ในกรณีที่เรื่องทางปกครองเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้กำหนดกระบวนการ
หรือขัน้ ตอนไว้เป็นการเฉพาะ และใช้ กับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการเรื่องในทางปกครอง
โดยเฉพาะกระบวนการที่จะนำไปสู่การมี“คำสั่งทาง ปกครอง”
ดังนั้น ผู้ที่จะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ก็คือ “เจ้าหน้าที่”ของหน่วยงานของ
รัฐที่มีอำนาจ ในการทำคำสั่งทางปกครองนั่นเอง
(มาตรา 4 เจ้าหน้าที่ หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบคุ คลซึ่งใช้ อำนาจหรือได้รับมอบให้
ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง)
คำสั่งทางปกครอง
“คําสั่งทางปกครอง” (ม.5) หมายความว่า การใช้อํานาจตามกฎหมายของ “เจ้าหน้าที่”
ที่มผี ลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือ
มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น
การสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรองและการรับจดทะเบียน แต่ไม่
หมายความรวมถึงการออกกฎ” และการอื่นที่กําหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งสาระสําคัญของ “คําสั่งทางปกครอง” มีดังนี้
(1) เป็นการกระทําโดยเจ้าหน้าที่
(2) เป็นการใช้อํานาจทางปกครองตามกฎหมาย
(3) เป็นการกระทําที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล หรือมีผลกระทบต่อ
สถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
(4) เป็นการกระทําที่มุ่งใช้บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
(5) เป็นการกระทําที่มีผลภายนอกโดยตรง
“กฎ” (ม.5) หมายความว่า พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง ประกาศกระทรวงข้อบัญญัติ
ท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ และบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทัว่ ไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้
บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
ตัวอย่าง กรณีที่เคยมีคําวินิจฉัยว่า “เป็นคําสั่งทางปกครอง”
เช่น การที่กรมบัญชีกลางคํานวณบํานาญของข้าราชการ เป็นการใช้อํานาจตามกฎหมาย
ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพสิทธิของข้าราชการจึง “เป็นคําสั่งทางปกครอง” (คําสั่งศาลปกครอง
สูงสุดที่ 12/2546)
[188]

ตัวอย่างกรณีที่เคยมีคําวินิจฉัยว่า “ไม่เป็นคําสั่งทางปกครอง”
เช่น คําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย เป็นเพียงขั้นตอนการดําเนินการภายใน
ของเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง ในการที่ผู้มีอํานาจ จะวินิจฉัยหรือออกคําสั่งตามความเห็น หรือ
มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีคําสั่งดังกล่าวจึง “ไม่เป็นคำสั่งทาง
ปกครอง” (คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 117/2546)
การดําเนินการของเจ้าหน้าที่ (ซึ่งมีการออกกฎกระทรวง) กําหนดให้ “เป็นคําสั่งทาง
ปกครอง”
➢ การดําเนินการเกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ ในกรณีดังต่อไปนี้
- การสั่งรับหรือไม่รับคําเสนอขายรับจ้างแลกเปลี่ยน ให้เช่าซื้อเช่า หรือให้สิทธิประโยชน์
- การอนุมัติสั่งซื้อจ้างแลกเปลี่ยน เช่าขายให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์
- การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคําเสนอ หรือการดําเนินการอื่นใดในลักษณะ
เดียวกัน
- การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน
➢ การให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา
“เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่งทางปกครอง”จะต้องเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในเรื่องนั้น (รวมถึง
ได้รับมอบอํานาจ) (ม.12) และดํารงอยู่ในทางกฎหมายในเวลาที่ออกคําสั่งนั้น และการออก“คําสั่ง
ทางปกครอง” ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการดําเนินงานตามที่กําหนดไว้ในกฎหมาย
➢ กรณีที่ผู้ออกคําสั่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่ง (เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดอธิบดีฯ) ต้อง
ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง ที่มีอํานาจหน้าที่ออกคําสั่งในเรื่องนั้นและต้องเป็นกลางในเรื่องที่จะ
ออกคําสั่ง
➢ กรณีผู้ออกคําสั่งเป็นคณะกรรมการ ซึ่งมีอํานาจดําเนินการพิจารณาทางปกครอง
ต้องครบองค์ประกอบของการเป็นคณะกรรมการครบองค์ประชุม มีการประชุม และต้องเป็นกลาง
“ต้องเป็นกลาง” หมายถึงต้องไม่มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับคู่กรณีและต้องไม่มีพฤติการณ์
อื่นที่ชวนให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยได้ว่าจะไม่เป็นกลาง ถ้าหากมีกรณีเคลือบแคลงสงสัยว่าจะ
ไม่เป็นกลางจะต้องถอนตัวจากการพิจารณา หรืออาจถูกคู่กรณีคัดค้านได้
คู่กรณี
“คู่กรณี” (ม.5) หมายความว่า ผู้ยื่นคําขอ หรือผู้คัดค้านคําขอ ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ใน
บังคับของ “คําสั่งทางปกครอง” และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเนื่องจาก
สิทธิของผู้นั้นจะถูกกระทบกระเทือนจากผลของ “คําสั่งทางปกครอง”
บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครองได้
ตามขอบเขตที่สิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ผู้มีความสามารถกระทำการในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง (ม.22) จะต้องเป็น
(๑) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
(๒)ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนด
ได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์
(๓) ผู้แทนหรือตัวแทน นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา ๒๑
[189]

(๔) ผู้ซึ่งมีประกาศของนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายในราช
กิจจานุเบกษา กำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติ
ภาวะหรือความสามารถถูกจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิของคู่กรณี
1.มีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครอง
ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ คู่กรณีมีสิทธินำ
ทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
การใดที่ทนายความหรือที่ปรึกษาได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของ
คู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น
2. มีสิทธิแต่งตั้งให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะกระทำการอย่างใดแทนตนใน
กระบวนการพิจารณาทางปกครอง คู่กรณีสามารถแต่งตั้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะ
กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดแทนตนในกระบวนการพิจารณาทางปกครองใด ๆ
ได้ โดยแต่งตั้งเป็นหนังสือการแต่งตั้งให้กระทำการแทนไม่ถือว่าสิ้นสุดลงเพราะความตายของ
คู่กรณีหรือการที่ความสามารถหรือความเป็นผู้แทนของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป เว้นแต่ผู้สืบสิทธิ
ตามกฎหมายของคู่กรณีหรือคู่กรณีจะถอนการแต่งตั้งดังกล่าว
3. สิทธิ์ที่จะให้เจ้าหน้าที่ ดำเนินกระบวนพิจารณาทางปกครอง เฉพาะเรื่อง
ทีค่ ู่กรณีนั้น มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องทำการนั้นด้วยตนเอง

Note กรณีที่มีการยื่นคำขอโดยมีผู้ลงชื่อร่วมกันเกิน 50 คนหรือมีคู่กรณีเกิน 50 คน


ยื่นคำขอที่มีข้อความอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน ถ้าในคำขอมีการระบุให้บุคคลใดเป็น
ตัวแทนหรือมีข้อความเป็นปริยายให้เข้าใจได้เช่นนั้น ให้ถือว่าผู้ที่ถูกระบุชื่อดังกล่าวเป็นตัวแทน
ร่วมของคู่กรณีเหล่านั้น
ในกรณีที่มีคู่กรณีเกิน 50 คนยื่นคำขอให้มีคำสั่งทางปกครองในเรื่องเดียวกัน โดยไม่มีการ
กำหนดให้บุคคลใดเป็นตัวแทนร่วมของตน ให้เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีฝ่ายข้าง
มากเห็นชอบเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว
ซึ่ง ผู้ที่จะเป็นตัวแทนร่วม ต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
คู่กรณีจะบอกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนเมื่อใดก็ได้แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้
เจ้าหน้าที่ทราบและดำเนินการใด ๆ ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองต่อไปด้วยตนเอง
ตัวแทนร่วมจะบอกเลิกการเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ
กับต้องแจ้งให้คู่กรณีทุกรายทราบด้วย
การรับฟัง “คู่กรณี” (ม.30) คือกรณีที่ “คําสั่งทางปกครอง” อาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี
(เช่น ปฏิเสธคําขอ บังคับให้กระทําการ ห้ามกระทําการ ลงโทษ) เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีได้ทราบ
ข้อเท็จจริง (ก่อนออกคําสั่ง) อย่างเพียงพอและมีโอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน (เช่น คูก่ รณี
ต้องได้รับแจ้งข้อกล่าวหา มีเวลาและโอกาสที่จะโต้แย้งข้อกล่าวหา มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่
จําเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้ง) เว้นแต่ เป็นกรณีที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์
สาธารณะ เจ้าหน้าที่ไม่จําต้องให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน
ก่อนออกคําสั่ง (ม.30 วรรค 2) คือ
(1) มีความจําเป็นรีบด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่
[190]

ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(2) มีผลทําให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎ กําหนดไว้ในการทําคําสั่งทางปกครองต้อง
ล่าช้าออกไป
(3) เป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคําขอคําให้การ หรือคําแถลง
(4) โดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทําได้
(5) เป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
(6) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง (กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540) ออกตาม
ความในพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ) ได้แก่ การบรรจุการแต่งตั้งการ เลื่อนขั้นเงินเดือน
การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจากตําแหน่ง การแจ้งผลการ
สอบ หรือการวัดผลความรู้ความสามารถของบุคคลเป็นต้น
การพิจารณา
ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ให้คู่กรณี
ทราบตามความจำเป็นแก่กรณี
เมื่อมีผู้ย่ืนคำขอเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอ
ต้องดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสาร บรรดาที่มี
กฎหมายหรือกฎกำหนดให้ต้องยื่นมาพร้อมกับคำขอ
หากคำขอไม่ถูกต้อง ให้แนะนำให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
และหากมีเอกสารใดไม่ครบถ้วนให้แจ้งให้ผู้ย่ืนคำขอทราบทันทีหรือภายในไม่เกิน 7 วันนับแต่
วันที่ได้รับคำขอ
ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการแก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมต่อเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่
เจ้าหน้าที่กำหนดหรือภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ขยายออกไป เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
แล้ว หากผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ให้ถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์ที่จะ
ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำขอต่อไป ให้เจ้าหน้าที่ส่งเอกสารคืนให้ผู้ยื่นคำขอพร้อมทั้งแจ้งสิทธิ
ในการอุทธรณ์ให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และบันทึกการดำเนินการดังกล่าวไว้
การพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความ
เหมาะสมในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำขอหรือพยานหลักฐานของคู่กรณี
เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์
ข้อเท็จจริง ในการนี้ ให้รวมถึงการดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
(2) รับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือความเห็นของคู่กรณีหรือของพยานบุคคล
หรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีกล่าวอ้าง เว้นแต่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จำเป็น
ฟุ่มเฟือยหรือเพื่อประวิงเวลา
(3) ขอข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากคู่กรณี พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
(4) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(5) ออกไปตรวจสถานที่
คู่กรณีต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และมีหน้าที่แจ้ง
พยานหลักฐานที่ตนทราบแก่เจ้าหน้าที่
หากมีพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่เจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็น
มีสิทธิได้รับค่าป่วยการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
[191]

คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี
ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้
คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดง
พยานหลักฐานของตน
กฎหมายกำหนดถึงการกรณีที่เจ้าหน้าที่จะไม่ให้โอกาสคู่กรณีก็ได้ หากเข้ากรณี
ดังต่อไปนี้
1) ห้ามให้โอกาสเด็ดขาด คือ การให้โอกาสดังกล่าว จะก่อให้เกิดผลเสียหาย
อย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ
2) ห้ามให้โอกาสหากเข้ากรณีดังต่อไปนี้ แต่เจ้าหน้าที่ อาจจะพิจารณา
เห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ คือ
(1) เมื่อมีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหาย
อย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(2) เมื่อจะมีผลทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทาง
ปกครองต้องล่าช้าออกไป
(3) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคำขอ คำให้การหรือคำแถลง
(4) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทำได้
(5) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
(6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
สิ ทธิของคู่กรณี ในการพิจารณาทางปกครอง
มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิ
ของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีไม่มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารอันเป็น
ต้นร่างคำวินิจฉัย แต่ถ้าเป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดู
เอกสารหรือพยานหลักฐานได้
รูปแบบของคำสั่งทางปกครอง
รูปแบบของคำสั่งทางปกครอง ทำได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1. หนังสือ คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ จะต้องให้เหตุผลของการออกคำสั่งด้วย
โดยกฎหมายได้กำหนดสาระสำคัญ ตาม มาตรา 36 และ มาตรา 37
“มาตรา ๓๖ คาสั่งทางปกครองที่ทาเป็ นหนังสื ออย่างน้อยต้องระบุ วัน เดือน และปี ที่ทา
คาสั่ง ชื่อและตาแหน่งของเจ้าหน้าที่ผทู ้ าคาสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผทู ้ าคาสั่งนั้น”
“มาตรา ๓๗ คาสั่งทางปกครองที่ทาเป็ นหนังสื อและการยืนยันคาสั่งทางปกครองเป็ น
หนังสื อต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ดว้ ย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) ข้อเท็จจริ งอันเป็ นสาระสาคัญ
(๒) ข้อกฎหมายที่อา้ งอิง
(๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
นายกรัฐมนตรี หรื อผูซ้ ่ ึงนายกรัฐมนตรี มอบหมาย อาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
กาหนดให้คาสัง่ ทางปกครองกรณี หนึ่งกรณี ใดต้องระบุเหตุผลไว้ในคาสัง่ นั้นเองหรื อใน
เอกสารแนบท้ายคาสั่งนั้นก็ได้
[192]

บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งไม่ใช้บงั คับกับกรณี ดงั ต่อไปนี้


(๑) เป็ นกรณีที่มีผลตรงตามคาขอและไม่กระทบสิ ทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น
(๒) เหตุผลนั้นเป็ นที่รู้กนั อยู่แล้วโดยไม่จาต้องระบุอีก
(๓) เป็ นกรณีที่ตอ้ งรักษาไว้เป็ นความลับตามมาตรา ๓๒
(๔) เป็ นการออกคาสั่งทางปกครองด้วยวาจาหรื อเป็ นกรณี เร่ งด่วน แต่ตอ้ งให้เหตุผล
เป็ นลายลักษณ์อกั ษรในเวลาอันควรหากผูอ้ ยูใ่ นบังคับของคาสั่งนั้นร้องขอ”
Note กรณีที่กฎหมายยกเว้น ไม่ตอ้ งดาเนินการตาม ม.36 และ ม.37 วรรคแรก ถ้า
ปรากฏว่า คาสั่งทางปกครองที่ทาเป็ นหนังสื อและการยืนยันคาสั่งทางปกครอง เป็ นคาสั่งทาง
ปกครองที่กาหนดในกฎกระทรวง
กำหนดเวลาในการออกคำสั่งทางปกครอง
การออกคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือในเรื่องใด หากมิได้มีกฎหมายหรือกฎกำหนด
ระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นไว้เป็นประการอื่น ให้เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งทาง
ปกครองนั้นให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้อง
ครบถ้วน
2. วาจา ถ้าผู้รับคำสั่งนั้นร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควรภายใน 7
วันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือหรือ
3. โดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่น แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจน
เพียงพอที่จะเข้าใจได้
ผลของคาสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป
คำสั่งทางปกครองย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลา
หรือโดยเหตุอื่น
เมื่อคำสั่งทางปกครองสิ้นผลลง ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกผู้ซึ่งครอบครองเอกสารหรือ
วัตถุอื่นใดที่ได้จัดทำขึ้นเนื่องในการมีคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ซึ่งมีข้อความหรือเครื่องหมาย
แสดงถึงการมีอยู่ของคำสั่งทางปกครองนั้น ให้ส่งคืนสิ่งนั้นหรือให้นำสิ่งของดังกล่าวอันเป็น
กรรมสิทธิ์ของผู้นั้นมาให้เจ้าหน้าที่จัดทำเครื่องหมายแสดงการสิ้นผลของคำสั่งทางปกครอง
ดังกล่าวได้ (มาตรา ๔๒)
การแก้ไขคาสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย เจ้าหน้าที่แก้ไขเพิ่มเติมได้
เสมอ ในการแก้ไขเพิ่มเติม ต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามควรแก่กรณี
ในการนี้ เจ้าหน้าที่อาจเรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดส่งคำสั่งทางปกครอง เอกสารหรือวัตถุอื่น
ใดที่ได้จัดทำขึ้นเนื่องในการมีคำสั่งทางปกครองดังกล่าวมาเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมได้ (มาตรา ๔๓)
Note ข้อสรุปที่น่าสนใจอื่นๆ
มาตรา ๓๙ การออกคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็น
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดข้อจำกัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น
การกำหนดเงื่อนไข รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขในกรณีดังต่อไปนี้ ตามความเหมาะสมแก่
กรณีด้วย
[193]

(๑) การกำหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง


(๒) การกำหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือภาระหน้าที่ต้องขึ้นอยู่กับ
เหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอน
(๓) ข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งทางปกครอง
(๔) การกำหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำหรือต้องมีภาระหน้าที่
หรือยอมรับภาระหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการ หรือการกำหนดข้อความในการจัดให้มี
เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มข้อกำหนดดังกล่าว
มาตรา ๔๑ คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์
(๑) การออกคำสั่งทางปกครองโดยยังไม่มีผู้ยื่นคำขอในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเอง
ไม่ได้นอกจากจะมีผู้ยื่นคำขอ ถ้าต่อมาในภายหลังได้มีการยื่นคำขอเช่นนั้นแล้ว
(๒) คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มี
เหตุผลดังกล่าวในภายหลัง
(๓) การรับฟังคู่กรณีที่จำเป็นต้องกระทำได้ดำเนินการมาโดยไม่สมบูรณ์ ถ้าได้มีการรับฟัง
ให้สมบูรณ์ในภายหลัง
(๔) คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน ถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้
ความเห็นชอบในภายหลัง
เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่งทาง
ปกครองประสงค์ให้ผลเป็นไปตามคำสั่งเดิมให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์
ของตนไว้ในหรือแนบไว้กับคำสั่งเดิมและต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ของตนให้คู่กรณีทราบ
ด้วย
กรณีตาม (๒) (๓) และ (๔) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตาม
ส่วนที่ ๕ ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีที่ไม่ต้องมีการ
อุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทางปกครองไปสู่การพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณา
วินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองนั้น
การทบทวนคำสั่งทางปกครอง
เกิดขึ้นได้จากหลายกรณี ได้แก่ การอุทธรณ์โดยคู่กรณี การทบทวนโดยเจ้าหน้าที่ และ
การขอให้พิจารณาใหม่
การอุทธรณ์โดยคู่กรณี
กรณีกฎหมายใดกําหนดขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้โดยเฉพาะ ในส่วน
ของการอุทธรณ์ให้ทําตามกฎหมายนั้น กรณีที่กฎหมายเฉพาะมิได้กําหนดขั้นตอนและระยะเวลา
อุทธรณ์หรือโต้แย้งไว้โดยเฉพาะ ให้ทําตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัตริ าชการทางปกครองฯ ซึ่งกําหนดให้
คู่กรณีอุทธรณ์คําสั่ง โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทําคําสั่งภายใน 15 วัน (นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง)
และในคําอุทธรณ์ต้องทําเป็นหนังสือ ระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่อ้างอิง
ประกอบ ทั้งนี้การอุทธรณ์ดังกล่าว ไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคําสั่งนั้น (เว้นแต่จะมีการสั่งให้
ทุเลาการบังคับ)
[194]

การทบทวนคําสั่งโดยเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจทบทวนคําสั่ง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่ง หรือผู้บังคับบัญชาของ
เจ้าหน้าที่ผู้ออกคําสั่ง หากพบว่าคําสั่งทางปกครองนั้นออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย สามารถเพิก
ถอนได้ทั้งนี้ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการอุทธรณ์หรือโต้แย้งมาแล้วหรือไม่ก็ตาม
การขอให้พิจารณาใหม่
คู่กรณี มีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 90 วัน (นับแต่ได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้มีการ
พิจารณาใหม่ได้) แม้พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว โดยขอให้พิจารณาใหม่ได้ในกรณี
(1) มีพยานหลักฐานใหม่
(2) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามาแต่ถูกตัด
โอกาส โดยไม่เป็นธรรม
(3) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(4) คำสั่งทางปกครองที่ออก โดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด ซึ่งต่อมาข้อเท็จจริง
และข้อกฎหมายนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณี

การแจ้งวิธีการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคาสั่งทางปกครอง (ม.40)
คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง
การยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย
ถ้ามิได้ดําเนินการระบุวิธีการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคําสั่งทางปกครองไว้ ให้ระยะเวลาสําหรับ
การอุทธรณ์หรือการโต้แย้ง เริ่มนับใหม่ ตั้งแต่วันทีไ่ ด้รับแจ้งวิธีการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคําสั่งนั้น
แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่า 1 ปีให้ขยายเป็น 1 ปี (นับ
แต่วันที่ได้รับคําสั่งทางปกครอง)
การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองและกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์
การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง คือ เป็นการทบทวนการตัดสินใจทางปกครอง
หลักคือ ถ้าคำสั่งทางปกครองเป็นของคณะกรรมการต่าง ๆ ไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายหรือไม่ ให้คู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามกฎหมายว่าด้วย
คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับ
แจ้งคำสั่งนั้น แต่ถ้าคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท สิทธิการอุทธรณ์
และกำหนดเวลาอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
แต่ถ้าคำสั่งทางปกครอง ไม่ได้เป็นของคณะกรรมการข้างต้น และคำสั่งทาง
ปกครองไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้
เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง โดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง
ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
Note การอุทธรณ์ไม่เป็ นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคาสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่ง
ให้ทเุ ลาการบังคับ
รูปแบบของอุทธรณ์
กฎหมายกำหนดให้ คำอุทธรณ์ต้อง ทำเป็นหนังสือ โดยระบุข้อโต้แย้ง ข้อเท็จจริงหรือข้อ
กฎหมายที่อ้างประกอบด้วย
[195]

การพิจารณาอุทธรณ์
เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง จะต้องพิจารณาอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
นับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ (ม.45)
เจ้าหน้าที่ สามารถพิจารณาทบทวนได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย หรือในแง่
ความเหมาะสมก็ได้ โดยอาจพิจารณาไปในทางเพิ่มภาระหรือเพิ่มเงื่อนไขก็ได้
หากเจ้าหน้าที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์อาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ ภายในกำหนดเวลา
ดังกล่าว
ถ้าเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์ ให้ส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจพิจารณาคำ
อุทธรณ์พิจารณาต่อไป โดยต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากไม่เสร็จทันตามกำหนด
ระยะเวลาสามารถขยายระยะเวลา พิจารณาอุทธรณ์ได้อีกไม่เกิน 30 วัน
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง เป็นการทำให้คำสั่งทางปกครองที่มีผลใช้บังคับอยู่ให้สิ้น
ผลในทางกฎหมาย
การเพิกถอนคำสั่งโดยเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งเอง กระทำได้ดังนี้
1) เจ้าหน้าที่ที่ทำคำสั่งเห็นสมควรเพิกถอนเอง
2) เจ้าหน้าที่ที่เพิกถอนเพราะคู่กรณีร้องขออันเป็นเรื่องพิจารณาใหม่
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองทีช่ อบด้วยกฎหมาย (ม.53) แยกได้ดังนี้
1.คำสั่งทางปกครองทีช่ อบด้วยกฎหมายซึง่ ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง
อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอนหรือมีผลในอนาคต
ไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่คงต้องทำคำสั่งทางปกครองที่มีเนื้อหา
ทำนองเดียวกันนั้นอีก หรือเป็นกรณีที่การเพิกถอนไม่อาจกระทำได้เพราะเหตุอื่น ทั้งนี้ ให้
คำนึงถึงประโยชน์ของบุคคลภายนอกประกอบด้วย
2.คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครอง
อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนโดยให้มีผลตั้งแต่ขณะที่เพิกถอน หรือมีผลในอนาคต
ไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) มีกฎหมายกำหนดให้เพิกถอนได้หรือมีข้อสงวนสิทธิให้เพิกถอนได้ใน
คำสั่งทางปกครองนั้นเอง
(2) คำสั่งทางปกครองนั้นมีข้อกำหนดให้ผู้รับประโยชน์ต้องปฏิบัติ แต่ไม่มีการ
ปฏิบัติภายในเวลาที่กำหนด
(3)ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีข้อเท็จจริงและพฤติการณ์
เช่นนี้ในขณะทำคำสั่งทางปกครองแล้วเจ้าหน้าที่คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น และหากไม่เพิก
ถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้
(4) บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากมีบทกฎหมายเช่นนี้ในขณะทำคำสั่งทาง
ปกครองแล้วเจ้าหน้าที่คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น แต่การเพิกถอนในกรณีนี้ให้กระทำได้
เท่าที่ผู้รับประโยชน์ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือยังไม่ได้รับประโยชน์ตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว
และหากไม่เพิกถอนจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้
(5) อาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อ
ประชาชนอันจำเป็นต้องป้องกันหรือขจัดเหตุดังกล่าว
[196]

ในกรณีที่มีการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเพราะเหตุตาม (๓) (๔) และ (๕) ผู้


ได้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่
ของคำสั่งทางปกครอง ซึง่ ความเชื่อโดยสุจริต จะได้รับความคุ้มครอง ต่อเมื่อผู้รับคำสั่งทาง
ปกครองได้ใช้ประโยชน์อันเกิดจากคำสั่งทางปกครองหรือได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้ว
โดยไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี
และ ต้องร้องขอค่าทดแทนภายใน 180 วันนับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
3.คำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สินหรือให้
ประโยชน์ทอี่ าจแบ่งแยกได้ อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้มีผลย้อนหลังหรือไม่มีผล
ย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตไปถึงขณะใดขณะหนึ่งตามที่กำหนดได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ของคำสั่งทางปกครอง
(2) ผู้ได้รับประโยชน์มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไป
ตามเงื่อนไขของคำสั่งทางปกครอง
การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการให้เงิน หรือให้ทรัพย์สิน
หรือให้ประโยชน์ที่อาจแบ่งแยกได้ ให้คำนึงถึงความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ในความคงอยู่
ของคำสั่งทางปกครองนั้นกับประโยชน์สาธารณะประกอบกัน (ม.51)
ความเชื่อโดยสุจริต จะได้รับความคุ้มครอง ต่อเมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ใช้ประโยชน์
อันเกิดจากคำสั่งทางปกครองหรื อได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่ อาจแก้ไข
เปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี
ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า ผู้รับคำสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้ หากเข้า
กรณีต่อไปนี้
(1) ผู้นั้นได้แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
หรือข่มขู่ หรือชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือให้ประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
(2) ผู้นั้นได้ให้ข้อความซึ่งไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนในสาระสำคัญ
(3) ผู้นั้นได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองในขณะได้รับ
คำสั่งทางปกครองหรือการไม่รู้นั้นเป็นไปโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ถ้าการเพิกถอนคำสั่งมีผลย้อนหลัง และต้องคืนเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ผู้รับคำสั่ง
ทางปกครองได้ไป ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มา
ใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าผู้รับคำสั่งทางปกครองได้รู้ถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทาง
ปกครองหรือควรได้รู้เช่นนั้นหากผู้นั้นมิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงให้ถือว่าผู้นั้นตกอยู่ใน
ฐานะไม่สุจริตตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป ผู้นั้นต้องรับผิดในการคืนเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่
ได้รับไปเต็มจำนวน
การขอให้พิจารณาใหม่ (ม.54)
เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครอง
ที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1)มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลง
ไปในสาระสำคัญ
[197]

(2)คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามา
ในกระบวนการพิจารณาครั้งก่อนแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมใน
กระบวนการพิจารณาทางปกครอง
(3) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(4)ถ้าคำสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและ
ต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่
คู่กรณี
การยื่นคำขอตามข้อ (1) (2) หรือ (3) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบ
ถึงเหตุนั้นในการพิจารณาครั้งที่แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น
การยื่นคำขอให้ พิจารณาใหม่ต้องกระทำภายใน 90 วันนับแต่ผู้น้ันได้รู้ถึงเหตุ
ซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
การบังคับทางปกครอง
เพื่อให้คู่กรณีปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงได้มีการ
กำหนดมาตรการบังคับขึ้นในกรณีที่ผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครอง โดยกำหนดให้
เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองอาจใช้มาตรการบังคับเพื่อให้มีการปฏิบัติตามคำสั่ง

Note ส่วนที่ ๘ การบังคับทางปกครอง มาตรา ๕๕ ถึงมาตรา ๖๓ ถูกยกเลิก โดย


พระราชบัญญัติ วิธปี ฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ และบัญญัติ หมวด ๒/๑ การ
บังคับทางปกครอง
ตั้งแต่ ม. ๖๓/๑ ถึง ม. ๖๓/๒๕ ขึ้นมาใหม่ (ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป) มีสาระสำคัญดังนี้
1.พระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกาศราช
กิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2562 มีผลบังคับ วันที่ 28 พ.ค.2562 เว้นแต่ มาตรา 63/15-19
ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ วันที่ 23 พ.ย. 2562
2.เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การบังคับทางปกครองตาม
กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองยังไม่มีประสิทธิภาพในการบังคับใช้ ไม่มี
รายละเอียดวิธีปฏิบัติและระยะเวลาในการบังคับทางปกครองที่ชัดเจน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็น
ธรรมแก่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
ส่วนใหญ่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน อีกทั้งไม่มี
บทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการสืบหาทรัพย์สินและมอบหมายให้หน่วยงานอื่นหรือ
เอกชนดำเนินการแทนได้ ส่งผลให้ไม่สามารถบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินได้
อย่างมีประสิทธิภาพและรัฐต้องสูญเสียรายได้ในที่สุด ดังนั้น สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการ
บังคับทางปกครองเพื่อให้ชัดเจน
3.เป็นหลักเกณฑ์กลาง ไม่ใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐ และ ไม่ใช้กับกรณีที่ศาลได้มี
คำพิพากษาหรือรับฟ้องคดีไว้แล้ว
สรุปได้ว่ำ มาตรการบังคับทางปกครอง ตามหมวด 2/1 ปัจจุบันแยกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน
2. การบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้กระทำหรือละเว้นกระทำ
แยกอธิบายได้ดังนี้
1. การบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน
เช่น สั่งให้ชำระค่าปรับ ชำระค่าธรรมเนียม มี 2 วิธี คือ
[198]

วิธีที่ 1 บังคับโดยหน่วยงานของรัฐเอง
วิธีที่ 2 บังคับโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
วิธีที่ 1 บังคับโดยหน่วยงานของรัฐเอง
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการ
ชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครอง เตือนโดยทำเป็นหนังสือ ให้ชำระ
ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่า 7 วัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่มี
อำนาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อ
ชำระเงินให้ครบถ้วนได้
Note ในการดำเนินการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ถือเป็นใช้มาตรการบังคับทาง
ปกครอง ต้องมีการแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง
กำหนดเวลาการยึด การอายัด
เจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง ต้องยึด หรืออายัดทรัพย์สิน ภายใน 10 ปีนับแต่คำสั่งให้
ชำระเงินเป็นที่สุด
หากหน่วยงานของรัฐออกคำสั่งให้ชำระเงินได้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้ว แต่ยังไม่ได้รับ
ชำระเงินครบถ้วน และล่วงพ้น 10 ปีแล้ว จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพิ่มเติมอีกมิได้ เว้นแต่ การ
ขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่น ซึ่งทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไว้เพื่อชำระเงิน
ค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นในการบังคับทางปกครอง ให้กระทำได้แม้พ้น 10 ปี
แล้ว
คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุด ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองภายในระยะเวลาอุทธรณ์
(2)เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ และไม่มีการฟ้อง
คดีต่อศาลภายในระยะเวลาการฟ้องคดี
(3)ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษายกฟ้องหรือเพิกถอนคำสั่งบางส่วนและคดีถึงที่สุด
แล้ว
อำนาจของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่ง (ม.63/10)
เพื่อประโยชน์ในการบังคับทางปกครอง ให้เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการ
บังคับทางปกครองมีอำนาจ
(1) มีหนังสือสอบถามสถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนียน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมที่ดิน กรมการขนส่งทางบก กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ
หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินที่มีทะเบียน เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับ
ของมาตรการบังคับทางปกครอง
(2) มีหนังสือขอให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจ
หน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองไว้เป็นการชั่วคราวเท่าที่จำเป็นเนื่องจากมี
เหตุขัดข้องที่ทำให้ไม่อาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินได้ทันที และเมื่อเหตุขัดข้องสิ้นสุดลงให้แจ้งยกเลิก
หนังสือดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการระงับการจดทะเบียนหรือแก้ไข
เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หน่วยงานตาม (1) ที่ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งไม่เป็นความผิดตาม
กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ
กฎหมายอื่น
[199]

ผู้ไม่ปฏิบัติตามหนังสือของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครอง
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
อำนาจการสืบทรัพย์ (ม.63/11)
ในการสืบหาทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง หน่วยงานของรัฐที่ออก
คำสั่งให้ชำระเงิน สามารถขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดหรือหน่วยงานอื่นดำเนินการสืบหา
ทรัพย์สินแทนได้ โดยให้หน่วยงานดังกล่าวมีอำนาจ ตามมาตรา 63/10 ด้วย
การให้เอกชนสืบหาทรัพย์สินแทน
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน ไม่มีเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการสืบหา
ทรัพย์สิน และหากจำนวนเงินที่ต้องชำระตามมาตรการบังคับทางปกครองนั้น มีมูลค่าตั้งแต่
2,000,000 บาทขึ้นไปหรือตามมูลค่าที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยกฎกระทรวง หน่วยงานของรัฐอาจ
มอบหมายให้เอกชนสืบหาทรัพย์สินแทนได้
เอกชนที่สืบทรัพย์และพบทรัพย์สิน มีสิทธิ์รับค่าตอบแทนไม่เกินร้อยละ 2.5 จากเงินหรือ
ทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึด อายัด หรือขายทอดตลาด แต่จำนวนเงินค่าตอบแทนสูงสุด ต้องไม่
เกิน 1,000,000 บาทต่อจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น หรือตามจำนวน
ที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยกฎกระทรวง
Note หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเอกชนที่สืบหาทรัพย์สิน การกำหนดค่าตอบแทน และวิธีการจ่าย
ค่าตอบแทน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ม.63/12)
ปกติแล้ว ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่ กรณีที่
กฎกระทรวงไม่ได้กำหนดเรื่องใดไว้ ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมา
ใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้ถือว่า
(1) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หมายถึง หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน
(2) ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หมายถึง ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทาง
ปกครอง
(3) อำนาจของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดี เป็นอำนาจของหัวหน้า
หน่วยงานของรัฐ ทั้งนีต้ ามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(4) เจ้าพนักงานบังคับคดี หมายถึง เจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง
การโต้แย้งหรือการใช้สิทธิทางศาล
เกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน (ม.63/13)
การโต้แย้งหรือการใช้สิทธิทางศาลเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาด
ทรัพย์สิน กระทำโดยผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง รวมทั้งบุคคลภายนอกผู้มีส่วน
ได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัด ให้เสนอต่อศาล ดังต่อไปนี้
(1) ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
ศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลชำนัญพิเศษอื่น แล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจในการ
พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับคำสั่งที่มีการบังคับทางปกครองนั้น
(2) ศาลปกครอง สำหรับกรณีอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับ (1)
Note กรณีที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่น ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องอื่นใด
ของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง เพื่อนำเงินมาชำระตามคำพิพากษา ให้
หน่วยงานของรัฐ (ที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน) มีสิทธิขอเข้าเฉลี่ยได้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำ
พิพากษา (ม.63/14)
[200]

วิธีที่ 2 บังคับโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
กรณีที่มีการบังคับให้ชำระเงินและคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็น
ที่สุดแล้ว ไม่ว่าหน่วยงานของรัฐ จะบังคับทางปกครองไปแล้วแต่ได้เงินไม่ครบหรือยังไม่ได้บังคับ
ทางปกครอง ก็ตาม หน่วยงานของรัฐ สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดี
ดำเนินการบังคับให้ชำระเงินแทน ได้ ซึง่ กฎหมายกำหนดว่าให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลภายใน
10 ปีนับแต่วันที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุด
Note หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่อ
อย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
• เขตอำนาจศาล ที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด หรือทำคำสั่งในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการ
บังคับคดี และเป็นศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี คือ
1) ศาลที่ผู้อยู่ในบังคับ มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือ
2) ศาลที่ทรัพย์สินที่จะถูกบังคับทางปกครองนั้นตั้งอยู่ในเขตศาล
และต้องปรากฏว่า ไม่เคยยื่นคำขอในเรื่องดังกล่าวต่อศาลอื่นมาก่อน
ศาลที่รับคำขอ อาจเป็นศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี หรือ
ศาลแพ่งอื่นในกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี
กรณีคำขอซึ่งอาจยื่นต่อศาลได้มากกว่าหนึ่งศาล ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของผู้อยู่
ในบังคับ หรือเพราะที่ตั้งของทรัพย์สินที่ถูกบังคับทางปกครองก็ดี หรือเพราะมีผู้อยู่ในบังคับของ
มาตรการบังคับทางปกครองหลายคนในมูลหนี้ที่เกี่ยวข้องกันก็ดี จะยื่นคำขอต่อศาลใดศาลหนึ่งก็
ได้
• เมื่อศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว การบังคับคดี จะดำเนินการตามกระบวนการบังคับ
คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุ ดแล้ว ศาลจะออกหมาย
บังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและแจ้งให้เจ้า พนักงานบังคับคดีทราบเพื่อดำเนินการต่อไป
โดยถือว่าหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และให้ถือว่าผู้อยู่
ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเข้าสู่กระบวนการบังคับ
คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การงดบังคับคดี
แม้ว่าศาลจะรับคำขอไว้แล้ว แต่กฎหมายได้กำหนดกรณีที่ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่ง
ทางปกครอง สามารถขอให้ศาลงดการพิจารณาไว้ก่อนได้ (ตาม ม.63/16) ดังนี้
ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจในการออกหมายบังคับ
คดี เพื่อขอให้สั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อน หากศาลพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดี
ศาลจะส่งคำสั่งไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ และเจ้าพนักงานบังคับคดี จะงดการบังคับคดีไว้
ภายในระยะเวลาหรือเงื่อนไขตามที่ศาลกำหนด รวมทั้งส่งคำบอกกล่าวงดการบังคับคดีให้
หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินและบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียทราบโดยไม่ชักช้า
หลักเกณฑ์ท่ขี อให้ศาลงดการพิจารณาไว้ก่อน
1.มีการขอให้พิจารณาคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดแล้วนั้นใหม่ หรือ
2.มีการฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิจารณาเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดแล้วใหม่ หรือ
3. มีการขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่และหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน หรือ
[201]

ศาลมีคำสั่งให้รับคำขอหรือได้ รับคำฟ้องไว้พิจารณา
ถ้าหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน ยื่นคำร้องว่าอาจได้รับความเสียหายและมี
พยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงการบังคับคดี ศาลมี
อำนาจสั่งให้ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองวางเงินหรือหาประกันตามที่ศาลเห็นสมควร
ภายในระยะเวลาที่ศาลจะกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐ
สำหรับความเสียหายที่อาจได้รับเนื่องจากเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดี อันเกิดจากการยื่นคำร้องนั้น
หรือกำหนดวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของ
คำสั่งทางปกครองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลสั่งให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป
เพิกถอนการบังคับคดี
การเพิกถอนการบังคับคดี จะทำได้ต้องมีคำสั่งให้ทบทวนคำสั่งทางปกครองที่
เป็นที่สุดนั้นใหม่ ซึ่งผู้ที่จะทบทวนคำสั่งได้ คือ
1. หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน หรือ
2.ศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองที่
กำหนดให้ชำระเงิน
เมื่อมีคำสั่งให้ทบทวนคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดนั้นใหม่ ให้หน่วยงานของรัฐ
ที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดี เพื่อเพิกถอนการบังคับคดี
ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับสู่ฐานะเดิม หรือเมื่อศาล
เห็นว่าไม่จำเป็ นที่จ ะบังคับ ให้เป็น ไปตามหมายบังคับ คดีต่อ ไป เพื่อ ประโยชน์แ ก่คู่ค วามหรือ
บุคคลภายนอก ให้ศาลมีอำนาจสั่งอย่างใด ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควร และแจ้งให้เจ้าพนักงาน
บังคับคดีทราบ
อำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดี ( นำ ม.63/10 มาใช้)
เพื่อประโยชน์ในการบังคับทางปกครอง ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีอำนาจ
(1) มีหนังสือสอบถามสถาบันการเงิน สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์เครดิตยูเนียน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรมที่ดิน กรมการขนส่งทางบก กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือ
หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินที่มีทะเบียน เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของ
มาตรการบังคับทางปกครอง
(2) มีหนังสือขอให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจ
หน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองไว้เป็นการชั่วคราวเท่าที่จำเป็นเนื่องจากมี
เหตุขัดข้องที่ทำให้ไม่อาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินได้ทันที และเมื่อเหตุขัดข้องสิ้นสุดลงให้แจ้งยกเลิก
หนังสือดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการระงับการจดทะเบียนหรือแก้ไข
เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
หน่วยงานตาม (1) ที่ให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วย
ธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอื่น
ผู้ไม่ปฏิบัติตามหนังสือของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งใช้มาตรการบังคับทางปกครอง
โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
[202]

การสืบทรัพย์
หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิน ต้องเป็นผู้ดำเนินการสืบทรัพย์ และแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดี
ดำเนินการยึดหรืออายัดทรัพย์สินภายใน 10 ปีนับแต่วันที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน
เป็นที่สุด (มิให้นำระยะเวลาระหว่างการงดการบังคับคดีตามคำสั่งศาล มารวมในระยะเวลา 10 ปี)
เรื่องการสืบทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการบังคับคดี ให้นำความในมาตรา 63/11 มาใช้บังคับ
กับการสืบหาทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองด้วย นั่นก็คือ
ในการสืบหาทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง สามารถขอให้
สำนักงานอัยการสูงสุดหรือหน่วยงานอื่นดำเนินการสืบหาทรัพย์สินแทนได้ โดยให้หน่วยงาน
ดังกล่าวมีอำนาจ ตามมาตรา 63/10 ด้วย รวมถึงการให้เอกชนสืบหาทรัพย์สินแทน
การให้เอกชนสืบหาทรัพย์สินแทน ยังคงเป็นกรณีทหี่ น่วยงานของรัฐ ที่ออกคำสั่ง
ให้ชำระเงิน ไม่มีเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการสืบหาทรัพย์สิน และจำนวนเงินที่ต้องชำระตาม
มาตรการบังคับทางปกครองนั้น มีมูลค่าตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไปหรือตามมูลค่าที่กำหนด
เพิ่มขึ้นโดยกฎกระทรวง หน่วยงานของรัฐ อาจมอบหมายให้เอกชนสืบหาทรัพย์สินแทนได้
เอกชนที่สืบทรัพย์และพบทรัพย์สิน มีสิทธิ์รับค่าตอบแทนไม่เกินร้อยละ 2.5 จาก
เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการยึด อายัด หรือขายทอดตลาด แต่จำนวนเงินค่าตอบแทนสูงสุด
ต้องไม่เกิน 1,000,000 บาทต่อจำนวนเงินที่ต้องชำระตามคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น หรือตาม
จำนวนที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยกฎกระทรวง
Note หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเอกชนที่สืบหาทรัพย์สิน การกำหนดค่าตอบแทน และ
วิธีการจ่ายค่าตอบแทน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
จุดเน้น ผู้เขียน ให้ความสำคัญกับเนื้อหาในส่วนนี้ เนื่องจากเป็นส่วนที่โยงเรื่องของ ป.วิแพ่ง
ในส่วนของการบังคับคดี ด้วย (เนื่องจากหลายหน่วยงาน ..เน้นไปที่การโยงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน
แล้ว ป.วิปกครอง จะเชื่อมโดยงกับ ป.วิแพ่ง ในส่วนของการบังคดี)
2.การบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้กระทำหรือละเว้นกระทำ
เช่น สั่งให้ยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย สั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำทางสาธารณะ
คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทาง
ปกครองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(1) ให้เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทน
โดยผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มรายวันในอัตราร้อยละ
25 ต่อปีของค่าใช้จ่ายดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่นั้นสังกัด
(2) ให้ชำระค่าปรับบังคับการตามจำนวนที่สมควรแก่เหตุ แต่ไม่เกิน 50,000 บาทต่อวัน
แต่ก่อนที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามข้างต้น เจ้าหน้าที่ต้องมีคำเตือนเป็น
หนังสือให้กระทำหรือละเว้นกระทำตามคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสมควร
แก่กรณี
ซึ่งคำเตือนเป็นหนังสือ จะกำหนดไปพร้อมกับคำสั่งทางปกครองก็ได้
คำเตือนเป็นหนังสือ อย่างน้อยต้องระบุ
(1) มาตรการบังคับทางปกครอง ที่จะใช้ให้ชัดแจ้ง แต่จะกำหนดมากกว่า 1 มาตรการใน
คราวเดียวกันไม่ได้
[203]

(2) ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มรายวัน ในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือ


มอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทน หรือจำนวนค่าปรับบังคับการ แล้วแต่กรณี
แม้ว่าจะกำหนดค่าใช้จ่ายในคำเตือนแล้ว แต่เจ้าหน้าที่สามารถเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
หากเสียค่าใช้จ่ายจริงมากกว่าที่ได้กำหนดไว้
เจ้าหน้าที่จะต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามที่กำหนดไว้ในคำเตือนเป็นหนังสือ
เท่านั้น หากต้องการเปลี่ยนแปลงมาตรการ จะทำได้เมื่อปรากฏว่ามาตรการที่กำหนดไว้ไม่บรรลุ
ตามวัตถุประสงค์
ถ้าผู้อยู่ในบังคับคำสั่งทางปกครองต่อสู้ขัดขวางการบังคับทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจใช้
กำลังเข้าดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการบังคับทางปกครองได้ แต่ต้องกระทำโดยสมควรแก่
เหตุ อาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานตำรวจได้
กรณีที่ต้องบังคับการโดยเร่งด่วน
เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญาหรือมิให้เกิดความเสียหาย
ต่อประโยชน์สาธารณะ เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยไม่ต้องออกคำสั่งทาง
ปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำก่อนก็ได้ แต่ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุและ
ภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน
Note “ค่าปรับบังคับการ” หมายความว่า ค่าปรับที่เจ้าหน้าที่สั่งให้ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ
ตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ ชำระเป็นรายวันไปจนกว่าจะยุติการ
ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้มีการปฏิบัติตามคำสั่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
หรือโดยกฎหมายอื่น

ความรู้เกี่ยวกับความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
เหตุผลในการตรากฎหมาย พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.
2539 คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบตั ิหน้าที่ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตนเอง เมื่อเกิดความเสี ยหาย หาก นา
ป.พ.พ.มาบังคับ อาจไม่เหมาะสม เพราะบางกรณี เจ้าหน้าที่ที่อาจกระทาโดยไม่ต้ งั ใจหรื อ
ผิดพลาดเล็กน้อย และหลักลูกหนี้ร่วม ทาให้ตอ้ งรับผิดในการกระทาของเจ้าหน้าที่อื่นด้วย
เจ้าหน้าที่จะไม่กล้าตัดสิ นใจเพราะเกรงต้องรับผิด บัน่ ทอนขวัญกาลังใจ พระราชบัญญัติฯนี้ จึง
คุม้ ครอง จนท. ที่ปฏิบตั ิหน้าที่สุจริ ต และใช้ความระมัดระวังตามสมควร
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กาหนดให้หน่วยงาน
ของรัฐ ต้องรับผลของการละเมิดจากการปฏิบตั ิงานตามหน้าที่ของข้าราชการ, พนักงาน ,ลูกจ้าง
จะฟ้องร้อง เรี ยกค่าเสี ยหายจากข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง ไม่ได้ ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ
เว้ นแต่ การกระทาของข้ าราชการ พนักงาน ลูกจ้ าง เป็ นการจงใจกระทา เพือ่ การเฉพาะตัว หรือจงใจให้
เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ ออย่ างร้ ายแรง เท่ านั้น
คาว่า “ละเมิด” เป็ นการละเมิดตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติวา่ "ผู้ใดจงใจหรื อประมาทเลินเล่ อทาต่ อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้ เขาเสียหายถึง
แก่ ชีวิตก็ดี แก่ ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรี ภาพก็ดี ทรั พย์สินหรื อสิ ทธิ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่ านว่ า
ผู้นั้น ทาละเมิดจาต้ องใช้ ค่าสิ นไหมทดแทนเพื่อการนั้น"
[204]

แยกองค์ประกอบได้ดงั นี้
(1) มีการกระทา หมายถึง การเคลื่อนไหวร่ างกายโดยรู ้สานึกในการ เคลื่อนไหวนั้น
และอยูใ่ นบังคับของจิตใจผูก้ ระทา และรวมถึงการงดเว้นการกระทาที่ตนมี หน้าที่ตามกฎหมาย
ที่ตอ้ งกระทา และการงดเว้นนั้นเป็ นเหตุให้เกิดความเสี ยหายขึ้น
(2) โดยจงใจหรื อประมาทเลินเล่อ
- โดยจงใจ หมายถึง รู ้สานึกถึงผลหรื อความเสี ยหายจากการกระทาของตน
- โดยประมาทเลินเล่อ หมายถึง เป็ นการกระทาโดยปราศจากความ ระมัดระวัง ซึ่ง
บุคคลในภาวะเช่นนั้นจาต้องมี โดยต้องเปรี ยบเทียบกับบุคคลที่ตอ้ งมีความ ระมัดระวังตาม
พฤติการณ์ และตามฐานะในสังคมเช่นเดียวกับผูก้ ระทาความเสี ยหาย
(3) โดยผิดกฎหมาย เป็ นการกระทาโดยไม่มีอานาจหรื อไม่มีสิทธิหรื อ โดยมิชอบด้วย
กฎหมาย (unlawful) และรวมความถึงการใช้อานาจที่มีอยูเ่ กินส่วนหรื อใช้ อานาจตามกฎหมาย
เพื่อกลัน่ แกล้งผูอ้ ื่น
(4) เกิดความเสี ยหายแก่บุคคลอื่น
- ความเสี ยหายนั้นจะเป็ นความเสี ยหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่ างกาย อนามัย เสรี ภาพ ทรัพย์สิน
หรื อสิ ทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แต่ตอ้ งเป็ นความเสี ยหายที่แน่นอน ไม่วา่ จะเกิดขึ้นแล้วใน
ปัจจุบนั หรื อจะเกิดขึ้นในอนาคตก็จะต้องเป็ นความเสี ยหายที่จะเกิดขึ้น อย่างแน่นอน
- ความเสี ยหายจะต้องเกิดจากผลโดยตรงของผูก้ ระทาด้วย
ภาพรวมของกฎหมาย
ม. 4 ความหมาย (เจ้าหน้าที่ และ หน่วยงานของรัฐ) จุดเน้ น
ม. 5 การกระทาละเมิดต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการปฏิบตั ิหน้าที่ จุดเน้ น
ม. 6 การกระทาละเมิดต่อบุคคลภายนอกที่ไม่เกิดจากการปฏิบตั ิหน้าที่ จุดเน้ น
ม. 7 หน่วยงานเจ้าหน้าที่ มีสิทธิขอให้ ศาลเรี ยกอีกฝ่ ายหนึ่งเข้ามาในคดีได้
ม. 8 สิ ทธิไล่เบี้ยของหน่วยงาน (จงใจ หรื อประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง) จุดเน้ น
ม. 9 อายุความใช้สิทธิไล่เบี้ย จุดเน้ น
ม. 10 การกระทาละเมิดต่อหน่วยงานที่เกิด/ไม่ใด้เกิด จากการปฏิบตั ิหน้าที่ จุดเน้ น
ม. 11 ผูเ้ สี ยหายเรี ยกให้หน่วยงานพิจารณาชดใช้ค่าเสี ยหาย (ต้องออกใบรับให้)
ม. 12 หน่วยงานออกคาสั่งเรี ยกให้เจ้าหน้าที่ชาระเงินค่าสิ นไหมทดแทน จุดเน้ น
ม. 13 ให้ ครม.มีอานาจออกระเบียบให้เจ้าหน้าที่รับผิดผ่อนชาระ
ม. 14 จัดตั้ง "ศาลปกครอง" ให้สิทธิร้องทุกข์ ครท. ถือเป็ นสิ ทธิฟ้องคดี
บทนิยามศัพท์ที่น่าสนใจ คือ
เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่นไม่ว่า
จะเป็นการแต่งตัง้ ในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใดบรรดาซึ่งได้รับแต่งตั้งหรือถูกสั่งให้ปฏิบัติงาน
ให้แก่หน่วยงานของรัฐ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด
[205]

“ผู้แต่งตั้ง” หมายความว่า ผู้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้


“ความเสียหาย” หมายความว่า ความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดอย่างใด ๆ แต่ไม่รวมถึง
การออกคำสั่งหรือกฎ
“หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่อ
อย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย
พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทาง
ละเมิดของเจ้าหน้าที่
สาระสาคัญของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้ าหน้ าที่ พ.ศ. 2539
แยกการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่ออกเป็ น 2 กรณี ได้แก่
1) เจ้าหน้าที่กระทาละเมิดต่อบุคคลภายนอก
2) เจ้าหน้าที่กระทาละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ
1) เจ้ าหน้ าที่ทาละเมิดต่ อบุคคลภายนอก
หากเป็ นการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิใช่การปฏิบตั ิหน้าที่ เจ้าหน้าที่ผนู ้ ้ นั จะต้องรับ
ผิดเป็ นการส่วนตัว หากเป็ นการกระทาของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบตั ิหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐ
ชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนความเสี ยหายที่เกิดขึ้นแก่ผไู ้ ด้รับความเสี ยหายไปก่อนและหน่วยงาน
ของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ยให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินคืนแก่หน่วยงานหลังจากหน่วยงานของรัฐได้
ชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนที่เกิดขึ้นแก่ผไู ้ ด้รับความเสี ยหายไปก่อนแล้วขึ้นใหม่ โดยหน่วยงาน
ของรัฐจะใช้สิทธิไล่เบี้ย โดยเรี ยกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผูก้ ระทาละเมิดชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทน
คืนแก่หน่วยงานของรัฐได้เฉพาะ
ความเสี ยหายจากการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ สามารถใช้สิทธิ
ไล่เบี้ยต้อง เกิดจากเจ้ าหน้ าที่ผ้ ูนั้นกระทาโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ ายแรงเท่านั้น ส่วน
หน่วยงานจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้มากน้อยเพียงใดนั้น ต้องดูขอ้ เท็จจริ งเป็ นกรณี ๆ ไป โดย
หน่วยงานของรัฐไม่จาต้องได้รับชดใช้จนเต็มจานวนความเสี ยหาย
ถ้าการกระทาละเมิดเกิดขึน้ จากการกระทาของเจ้ าหน้ าที่หลายคนว่ า เจ้ าหน้ าที่แต่ ละคน
ไม่ ต้องร่ วมกันรั บผิดอย่างลูกหนีร้ ่ วม แต่ ขึน้ อยู่กับข้อเท็จจริ งเป็ นกรณีไปว่ าแต่ ละคนสมควร
ต้ องร่ วมรั บผิดมากน้ อยเพียงใด โดยหน่ วยงานของรั ฐไม่ จาต้ องได้ รับชดใช้ จนเต็มจานวนความ
เสียหาย จุดเน้ น
ก. เจ้ าหน้ าที่รับผิดคนเดียว เป็ นกรณีที่หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผกู ้ ระทา
ละเมิดอยูใ่ นสังกัด ไม่ตอ้ งรับผิดเลย ต้องเป็ นกรณีใดกรณี หนึ่งดังนี้ คือ
(1) การละเมิดของเจ้าหน้าที่ไม่ได้เกิดจากการปฏิบตั ิหน้าที่ ซึ่งอาจเป็ นการทาใน
ลักษณะการดาเนินชีวิตส่ วนตัวโดยแท้ หรื อ อาจจะเป็ นการกระทาระหว่างการปฏิบตั ิหน้าที่แต่
การกระทานั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบตั ิหน้าที่ (ตาม ม.6)
[206]

Note “กระทาด้ วยความจงใจ” หมายความถึง การกระทาโดยประสงค์ต่อผลคือความ


เสี ยหาย ถ้าไม่ประสงค์ต่อผลคือความเสี ยหายเแล้ว แม้จะเล็งเห็นผลได้ ก็ไม่ใช่จงใจกระทา แต่
อาจเข้ากรณี ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
อย่างไรก็ตาม ถ้าการเล็งเห็นผลนั้นไม่ใช่ประเภท “อาจจะเกิด" หรื อ "น่าจะเกิด" แต่เป็ น
ประเภทที่เห็นชัดว่า “จะต้องเกิด” หรื อ “ควรจะเกิด” ก็ถือได้วา่ เป็ นการกระทาโดยประสงค์ต่อ
ผลเช่นกัน
“กระทาด้ วยความประมาทเลินเล่ ออย่างร้ ายแรง” หมายถึง การกระทาโดยรู ้สึกอยู่แล้ว
ว่าเป็ นการเสี่ ยงที่จะเกิดภัยหรื อความเสี ยหาย แต่ยงั ทาลง โดยคิดว่าสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิด
ภัยหรื อความเสี ยหายขึ้นได้
“กระทาด้ วยความประมาทเลินเล่ อธรรมดา” หมายถึง กระทาโดยปราศจากความ
ระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผูก้ ระทาอาจใช้ความ
ระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กระทาไปโดยปราศจาก
ความ ระมัดระวังรอบคอบตามสมควรแก่กรณี ที่วิญญูชนจะพึงใช้ในเหตุการณ์หรื อภาวะเช่นนั้น
ข. หน่ วยงานของรัฐรับผิดผู้เดียว
หน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ผทู ้ าละเมิดอยูใ่ นสังกัด ต้องรับผิดชดใช้ค่า
สิ นไหม
ทดแทนให้แก่ผเู ้ สี ยหายแต่เพียงผูเ้ ดียว เจ้าหน้าทีไม่ตอ้ งรับผิดเลย ต้องเป็ นกรณีที่เจ้าหน้าที่
กระทาละเมิด แต่เป็ นการกระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้กระทาไปด้วยความ
ประมาทเลินเล่อธรรมดาเท่านั้น
ค. เจ้ าหน้ าที่และหน่ วยงานรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมร่ วมกัน
โดยเฉลี่ยตามสัดส่วนแห่งความผิดของตน เป็ นกรณีที่ความเสี ยหายเกิดจากเหตุ 2 ประการ
ประกอบกัน คือ เกิดจากเจ้าหน้าที่กระทาการในการปฏิบตั ิหน้าที่ดว้ ยความจงใจหรื อประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรง และ เกิดจากความผิดหรื อความบกพร่ องของหน่วยงานของรัฐหรื อระบบ
การดาเนินงานส่ วนรวม
สิทธิเรียกร้ องค่ าเสียหายของบุคคลภายนอก (ผู้ถูกละเมิด)
บุคคลภายนอก มีสิทธิเรี ยกร้องค่าเสี ยหาย ผ่าน 2 ช่องทาง คือ
- ยืน่ คาขอต่อหน่วยงานของรัฐ กับ ยืน่ ฟ้องต่อศาล

1) กรณียื่นคาขอต่อหน่ วยงาน 2) กรณียื่นฟ้องต่อศาล


1.หน่วยงานจะออกคาขอใบรับให้เป็ น 2.1 ฟ้องต่อศาลปกครอง
หลักฐาน เป็ นกรณี ที่การละเมิดเกิดจากการใช้อานาจ
2. พิจารณาโดยไม่ชกั ช้า คือภายใน 180 วัน ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ อันเกิดจากกฎ
และขอขยายได้อีกไม่เกิน 180 วัน คาสั่งทางปกครอง คาสั่งอื่น หรื อจากการ
[207]

3. เมื่อหน่วยงานมี “คาสัง่ ” แล้ว หากผูถ้ ูก ละเลยหน้าที่ที่กฎหมายกาหนดไว้ หรื อปฏิบตั ิ


ละเมิดไม่พอใจ มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล หน้าที่ล่าช้า
2.2 ฟ้องต่อศาลยุติธรรม
เป็ นกรณี ที่การละเมิดไม่ได้เกิดจากการใช้
อานาจตามกฎหมาย และไม่ใช่เหตุฟ้องคดีต่อ
ศาลปกครองด้วย
ถ้าการละเมิดไม่ใช่เกิดจากการปฏิบตั ิหน้าที่
เจ้าหน้าที่ตอ้ งรับผิดส่ วนตัว
แต่บางครั้งในการฟ้องคดี อาจเกิดกรณี ฟ้องคดีผิดตัว คือ ผูเ้ สี ยหายฟ้องหน่วยงานของ
รัฐ หรื อเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว หากผูถ้ ูกฟ้องคดี เห็นว่า อีกฝ่ ายต้องรับผิดหรื อร่ วมรับผิด มีสิทธิ
ขอให้ศาลเรี ยกอีกฝ่ ายมาในคดีได้
สิทธิไล่ เบีย้
อย่างที่กล่าวไว้วา่ หากการละเมิดเกิดขึ้น เพราะการปฏิบตั ิหน้าที่ที่ไม่ใช่ประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรง จะสามารถเรี ยกร้องค่าเสี ยหาย โดยฟ้องหน่วยงานของรัฐ เท่านั้น เมื่อ
หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าเสี ยหายแล้ว ก็เกิดสิ ทธิไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ได้เช่นกัน แต่จะเรี ยกร้อง
ได้เพียงใด ขึ้นอยูก่ บั ข้อเท็จจริ ง คือ
1) หากเจ้าหน้าที่ ไม่จงใจหรื อเป็ นการประมาทเลินเล่อธรรมดา ก็ตกเป็ นพับกับ
หน่วยงาน คือ เจ้าหน้าที่ไม่ตอ้ งร่ วมชาระค่าเสี ยหายเลย
2) หากเจ้าหน้าที่ จงใจหรื อประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หน่วยงาน สามารถเรี ยกเอาค่า
สิ นไหมทดแทนกับเจ้าหน้าที่ ได้ กรณี น้ ี ไม่ใช้หลักลูกหนี้ ร่วม และเจ้าหน้าที่อาจรับผิดเต็ม
จานวน หรื อ รับผิดบางส่วน ตามระดับความร้ายแรง ความเป็ นธรรมแต่ละกรณี โดยหักความรับ
ผิด ความบกพร่ องของหน่วยงานหรื อระบบการดาเนินการดาเนินงานส่วนรวม ออกด้วย แต่
เจ้าหน้าที่สามารถผ่อนชาระได้
2) เจ้ าหน้ าที่ทาละเมิดต่อหน่ วยงานของรัฐ
กาหนดหลักเกณฑ์ในการที่หน่วยงานของรัฐจะเรี ยกให้เจ้าหน้าที่ผกู ้ ระทาละเมิดต่อ
หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐ ว่า หน่วยงานของรัฐจะเรี ยกให้
เจ้าหน้าที่ของรัฐผูก้ ระทาละเมิดชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนแก่ หน่วยงานของรัฐได้เฉพาะกรณีที่
เจ้ าหน้ าที่ผ้ ูนั้นกระทาโดยจงใจหรื อประมาทเลินเล่ ออย่างร้ ายแรงเท่ านั้น ส่วนการเรี ยกร้องค่า
สิ นไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ ให้นามาตรา 8 (จุดเน้ น) มาใช้บงั คับ ส่วนว่าหน่วยงานของรัฐจะ
ใช้สิทธิไล่เบี้ยได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องคานึงถึงข้อเท็จจริ งเป็ นกรณี ๆ ไป โดยหน่วยงานของ
รัฐไม่จาต้องได้รับชดใช้จนเต็มจานวนความเสี ยหาย
ส่วนกรณีการกระทาละเมิดเกิดขึ้นจากการกระทาของเจ้าหน้าที่หลายคน กาหนดว่า
เจ้าหน้าที่แต่ละคนไม่ตอ้ งร่ วมกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แต่ข้ นึ อยูก่ บั ข้อเท็จจริ งเป็ นกรณี ไปว่า
[208]

แต่ละคนสมควรต้องร่ วมรับผิดมากน้อยเพียงใด (เป็ นการรับผิดเฉพาะตน) ใครทาผิดมาก ก็รับ


ผิดมาก โดยหน่วยงานของรัฐไม่จาต้องได้รับชดใช้จนเต็มจานวนความเสี ยหาย
แต่ถา้ ไม่ใช่การปฏิบตั ิหน้าที่ ให้บงั คับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
อายุความ
ในการที่เจ้าหน้าที่ทาละเมิดต่อหน่วยงานฯ มีอายุความเรี ยกค่าสิ นไหมทดแทน ดังนี้
อายุความ 2 ปี อายุความ 1 ปี
นับแต่วนั ที่รู้ถึงการละเมิด และรู ้ตวั เจ้าหน้าที่ นับแต่วนั ที่หน่วยงานมีคาสั่งตามความเห็น
ผูท้ าละเมิด ของกระทรวงการคลัง (กรณี น้ ีมีที่มาจากการที่
หน่วยงานเห็นว่า เจ้าหน้าที่ไม่ตอ้ งรับผิด แต่
กระทรวงการคลัง เห็นว่า เจ้าหน้าที่ตอ้ งรับผิด
มาตรการบังคับทางปกครอง
คาสัง่ ทางปกครองที่กาหนดให้ผใู ้ ดต้องชาระเงิน ถึงกาหนดแล้ว ไม่ชาระ ให้เจ้าหน้าที่
ออกหนังสื อเตือนให้ชาระภายในกาหนด แต่ตอ้ งไม่นอ้ ยกว่า 7 วัน ถ้าไม่ปฏิบตั ิตามคาเตือน
เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดย “ยึด อายัด ทรัพย์สินของผูน้ ้ นั และขาย
ทอดตลาดเพื่อชาระเงินให้ครบถ้วน” ซึ่งการยึด อายัดและขายทอดตลาดฯ ปฏิบตั ิตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และการบังคับทางปกครอง ไม่ใช้กบั เจ้าหน้าที่ดว้ ยกัน เว้นแต่มี
กฎหมายกาหนดไว้อย่างอื่น
[209]

แผนผังสรุป

1.7 ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป
- หลักกฎหมายแพ่ง - หลักกฎหมายอาญา
หลักกฎหมายทั่วไป
มนุษย์จำเป็นต้องมีกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้สังคม เกิดความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยและสงบสุขมนุษย์เป็นสัตว์สังคม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่สามารถที่จะ
ดำรงชีวิตอยู่คนเดียวได้ จึงต้องรวมกันอยู่เป็นหมู่เป็นพวก การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นจำนวน
มาก จำเป็นที่ต้องมีการติดต่อกัน เพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต บางครั้งมนุษย์ก็มีความ
ต้องการที่จะทำอะไร ๆ ตามใจตนเองบ้าง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่พอใจ จนเกิด
ความขัดแย้งวุ่นวายขึ้นมาได้ มนุษย์จึงต้องสร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติ
ของสมาชิกในสังคม เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุข กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่า
บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) ประกอบด้วย
1. วิถีชาวบ้าน (Folkways) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่อยู่ในรูปของประเพณีนิยม
ที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติสืบต่อกันมา ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกติฉินนินทาว่าร้าย เช่น การแต่ง
กาย กิริยามารยาททางสังคมในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
2. จารีต (Mores) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่ยึดหลักความดีความชั่ว กฎเกณฑ์
ทางศาสนา เป็นเรื่องของความรู้สึกว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก หากใครละเมิดฝ่าฝืนจะได้รับการต่อต้าน
จากสมาชิกในสังคมอย่างจริงจัง อาจถูกกีดกันออกจากสังคม หรือไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย เช่น
การลักเล็กขโมยน้อย การเนรคุณบิดามารดา หรือผู้มีพระคุณ เป็นต้น
[210]

3. กฎหมาย (Laws) เป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจน


แน่นอน ว่ากระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานใด จะได้รับอย่างไร เช่น ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษ
ประหารชีวิต เป็นต้น
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย หมายถึง คำสิ่งหรือข้อบังคับของรัฐ ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมความประพฤติ
ของบุคคลซึ่งอยู่ในรัฐหรือในประเทศของตน หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะมีความผิด
และถูกลงโทษ หรือได้รับผลเสียหายนั้นด้วย
ลักษณะของกฎหมาย
การปกครองประเทศให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสงบสุขนั้น รัฐจำเป็นจะต้องออก
คำสั่ง ข้อบังคับต่าง ๆ มากมาย คำสั่ง ข้อบังคับเหล่านั้นมิได้เป็นกฎหมายทุกฉบับ คำสั่ง ข้อบังคับ
ของรัฐที่จะถือว่าเป็นกฎหมายได้นั้น ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. มาจากรัฎฐาธิปัตย์ หมายความว่า ผู้ที่จะออกกฎหมายได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด
ในประเทศ ซึ่งจะเป็นใครนั้นต้องแล้วแต่สถานการณ์หรือรูปแบบการปกครองประเทศ
2. เป็นคำสั่ง ข้อห้าม ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตาม หมายความว่า กฎหมายไม่ใช่คำขอร้อง
หรือแถลงการณ์ เมื่อประกาศใช้แล้วประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าจะขัดต่อ
ผลประโยชน์หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องยอมรับจะปฏิเสธไม่ได้ เช่น กฎหมายบังคับให้เสียภาษี บังคับ
ให้ต้องรับราชการทหาร เป็นต้น
3. ใช้ได้ทั่วไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้กับ
ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง คนรวย คนจน ข้าราชการ
4. ใช้ได้เสมอไป หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว จะมีผลใช้บังคับได้ตลอดไป
ไม่ว่าจะเก่าแก่ ล้าสมัย หรือนานเท่าใดก็ตาม จนกว่าจะมีการยกเลิก
5. มีสภาพบังคับ หมายความว่า กฎหมายเมื่อประกาศใช้แล้ว ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูก
ลงโทษ หรือตกอยู่ในสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ อาจจะหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่ความผิด
เช่น ในกฎหมายอาญาสภาพบังคับ เรียกว่าโทษ ซึ่งโทษทางอาญา มี 5 ประการ คือ
- ประหารชีวิต
- จำคุก
- กักขัง
- ปรับ
- ริบทรัพย์
แต่ในกฎหมายแพ่ง สภาพบังคับขึ้นอยู่กับการกระทำความผิด เช่น บังคับให้ชำระหนี้
ชดใช้ค่าเสียหาย หรือเสียดอกเบี้ย เป็นต้น
ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
1. ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law System) นักกฎหมายบางท่านเรียกว่า
ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค ( Romano Germanic)
กฎหมายระบบนี้กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป จากการศึกษาค้นคว้ากฎหมายโรมัน โดยเฉพาะอิตาลีกับ
เยอรมันซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโรมัน ถือว่าเป็นประเทศที่พัฒนากฎหมายระบบนี้ให้เกิดขึ้น
อย่างจริงจัง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
การศึกษากฎหมายต้องเริ่มจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ คำพิพากษาของศาลไม่ใช่กฎหมาย แต่
[211]

เป็นบรรทัดฐาน แบบอย่างในการตีความกฎหมาย ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลาย


ลักษณ์อักษร ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย
2. ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (Common Law System) ตำราบางเล่ม
เรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี กำเนิดขึ้นในประเทศอังกฤษ กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับ
จารีตประเพณี โดยใช้เป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดีความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อตัดสินชี้ขาดแล้ว
ก็กลายเป็นหลักการ เมื่อมีคดีความที่มีลักษณะคล้ายกันเกิดขึ้นก็ต้องใช้หลักของคดีแรกเป็น
บรรทัดฐานในการตัดสินชี้ขาด ปัจจุบันประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ
3. ระบบกฎหมายประเทศสังคมนิยม (Socialist Law System) เกิดขึ้นและใช้อยู่ใน
สหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศบริวาร เกิดจากความต้องการของนักกฎหมายของประเทศสังคม
นิยม ตามความเชื่อของมาร์กและเลนิน ซึ่งความจริงก็คือกฎหมายลายลักษณ์อักษรนั่นเอง แต่ก็มี
ส่วนที่แตกต่างกันก็คือ กฎหมายระบบนี้ต้องการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม ให้
ความสำคัญเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยรัฐมีอำนาจเข้าไปจัดการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของ
ประชาชนได้ และรัฐเป็นผู้จัดสวัสดิการให้ ประชาชนไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น กรรมสิทธิ์ทุก
อย่างเป็นของรัฐ
4. ระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System) เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศที่ใช้หลัก
ทางศาสนาเป็นแม่บทในการปกครอง เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามซึ่งใช้อยู่ในกลุ่มประเทศ
ตะวันออกกลาง กฎหมายระบบนี้ให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์ ข้อบัญญัติศาสนา การพิจารณา
ตัดสินคดีความก็จะใช้กฎแห่งศาสนาเป็นหลักดังได้กล่าวมาแล้วว่า กฎหมายเป็นบรรทัดฐานทาง
สังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมให้เป็นไปในทำนอง
เดียวกัน ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย หากไม่มีกฎหมาย
ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่นเดียวกับฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งเป็น
ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยมีรากฐานมาจากกฎหมายโรมันหรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษ
ว่า “Civil Law”
กฎหมายลายลักษณ์อักษรของไทย จำแนกตามรูปแบบและองค์กรที่ตราขึ้นได้ตามลำดับดังนี้
1) รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งต่อ
รัฐธรรมนูญ ใช้บังคับไม่ได้ ปัจจุบัน ใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 มีทั้งหมด 16 หมวด
2) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นใน
รูปแบบพระราชบัญญัติ เพื่อกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่
บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์
ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้
สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยาก
กว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ กระทำได้
ดังนี้
(1) คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กร
อิสระที่เกี่ยวข้อง
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิก
ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
[212]

การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของคณะรัฐมนตรีโดยข้อเสนอแนะของ
ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อให้รัฐสภาพิจารณาได้ต่อเมื่อมีมติ
คณะรัฐมนตรีแล้วและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องดำเนินการตาม
หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560
3) พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของ
รัฐสภา เนื้อหาของพระราชบัญญัตินั้น จะกำหนดเนื้อหาในเรื่องใดก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือ แย้งกับ
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป เนื้อหาของพระราชบัญญัติ จะมี
ลักษณะกำหนดกฎเกณฑ์เป็นการทัว่ ไปในการก่อตั้ง เปลี่ยนแปลง กำหนดขอบเขตแห่งสิทธิและ
หน้าที่ของบุคคล ตลอดจนจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
สำหรับกระบวนการในการตราพระราชบัญญัตินั้น การเสนอร่างพระราชบัญญัติของผู้มี
สิทธิเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวง
ชนชาวไทย หรือหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดย
เข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้
4) พระราชกำหนด ให้กระทําได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มี
ความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีสามารถตราพระราชกำหนดเองได้
ภายใต้เงื่อนไขสําคัญที่รัฐธรรมนูญบัญญัติเช่น ในกรณีเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความ
ปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ
ป้องปัดภัยพิบัติ สาธารณะ พระมหากษัตริย์จะทรงตราพระราชกำหนดให้ใช้บังคับดังเช่น
พระราชบัญญัติก็ได
5) พระราชกฤษฎีกา เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย
อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการ
แผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวล
กฎหมาย และพระราชกำหนด
การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา
โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่
เกี่ยวข้อง เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
พระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราช
โองการ จากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป
6) กฎกระทรวง เป็นบทบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงออก โดยอาศัยอำนาจตาม
พระราชบัญญัติ หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะเท่าพระราชบัญญัติ เป็นต้นว่า ประมวล
กฎหมาย พระราชกำหนด, เดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี
การออกกฎกระทรวง จะต้องไม่ขัดต่อบทกฎหมายใดๆ โดยศาลมีอำนาจในการพิจารณา
กฎกระทรวงว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่ หากขัดต่อกฎหมาย ก็ไม่สามารถใช้บังคับได้[แก้]การตรา
กฎกระทรวง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ผู้รักษาอำนาจตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด ซึ่งให้
อำนาจรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ ออกกฎกระทรวงจะเป็นผู้เสนอร่างกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรี
[213]

เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นๆ ตราร่างกฎกระทรวง แล้ว


ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
7) กฎหมายที่ตราโดยองค์กร
เช่น ประกาศกรม ประกาศอธิบดี คำสั่งอธิบดี
หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยสรุปหลักการที่น่าสนใจ ดังนี้
หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ : ว่าด้วยความสามารถของบุคคล
บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์เราโดยทั่วไป
2.นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มบุคคลหรือองค์กร ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภท
หนึ่งที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
1.บุคคลธรรมดา
หมายถึง คนซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แต่คนซึ่งจะมีสิทธิและหน้าที่ตาม
กฎหมายได้นั้นก็ต่อเมื่อมี “สภาพบุคคล” แล้วเท่านั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 15 “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก”
1.การเริ่มสภาพบุคคล
จากบทกฎหมายข้างต้นได้วางหลักไว้ว่าสภาพบุคคลจะเริ่มขึ้นได้นั้นต้องประกอบด้วย
หลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ
1).การคลอด ในทางการแพทย์นั้นการคลอดจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อทารกออกมาทั้งตัว มี
การตัดสายรกเรียบร้อยแล้วและมีการรอให้มดลูกหดตัวประมาณ 15 นาทีถึง 2 ชั่วโมงหลังเด็ก
คลอด แต่ในทางกฎหมายนี้จะถือว่าเป็นการคลอดได้ก็ต่อเมื่อทารกพ้นออกจากช่องคลอดทั้งตัว
แล้วเท่านั้นพอ การตัดสายรกหรือไม่นั้นไม่ใช่สาระสำคัญ
2).อยู่รอดเป็นทารก
ในทางกฎหมายจะถือว่าทารกที่คลอดออกมามีชีวิตนั้นต้องได้ความว่าเด็กมีการหายใจ
ด้วย เช่นนี้ก็ถือว่ามีสภาพบุคคลเกิดขึ้นแล้ว ในทางกฎหมายเราจะไม่พิจารณาว่าจะต้องหายใจ
นานเท่าไหร่หรือหัวใจต้องเต้นกี่ครั้ง แม้มีการหายใจเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าสภาพบุคคลเกิดแล้ว
ถึงแม้ทารกนั้นอาจเสียชีวิตในไม่กี่วินาทีหลังจากนั้นก็ตาม ซึ่งเมื่อมีสภาพบุคคลเกิดขึ้นก็มีผลทำให้
ทารกนั้นมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายได้ เช่น มีสิทธิรับมรดกได้ มีสิทธิที่จะได้รับการอุปการะ
เลี้ยงดูจากบิดามารดา และรวมไปถึงได้รับความคุ้มครองในด้านร่างกายหรือเสรีภาพ ฯลฯ ตาม
กฎหมายด้วย
2.สิทธิของทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 15 วรรคที่สอง กฎหมายได้ให้การ
รับรองและคุ้มครองสิทธิหรือประโยชน์ของทารกในครรภ์มารดาไว้ อย่างที่เราทราบกันว่าสิทธิและ
หน้าที่จะเริ่มขึ้นก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลเกิดขึ้นแล้ว แต่ในกรณีของทารกในครรภ์มารดายังไม่ถือว่า
มีการเริ่มสภาพบุคคลจึงยังไม่อาจมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย แต่ทารกนั้นก็อาจมีการเริ่มสภาพ
บุคคลในภายหน้าได้ หากคลอดออกมาแล้วมีชีวิตรอดเป็นทารก
ตัวอย่าง นาย ก แต่งงานกับนาง ข เกิดบุตรในครรภ์ขึ้นหนึ่งคน วันเกิดเหตุนาย ก และ
นาง ข ขับรถไปเที่ยวทะเลด้วยกัน เกิดอุบัติเหตุระหว่างทางขึ้น นาย ก บาดเจ็บสาหัส ส่วนนาง ข
[214]

บาดเจ็บเล็กน้อยแต่เกิดเจ็บท้องใกล้คลอดพอดี พลเมืองดีนำทั้งคู่ส่งโรงพยาบาล เมื่อไปถึง


โรงพยาบาลนาง ข ก็คลอดออกมาพอดี ทารกมีชีวิตรอดแต่นาย ก เสียชีวิต เช่นนี้ทารกนั้นถือว่ามี
สภาพบุคคลตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว มีสิทธิต่างๆตามกฎหมาย
จึงมีสิทธิได้รับมรดกจากบิดาที่เสียชีวิตไป ในทางกลับกันถ้าอุบัติเหตุดังกล่าวมีผลทำให้ทารกใน
ท้องเกิดเสียชีวิตลงหรือคลอดออกมาแล้วแต่ไม่มีการหายใจ(ไม่มีชีวิต)หรือก็คือนาง ข ได้แท้งลูก
นั่นเอง เช่นนี้ก็ถือว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ทารกนั้นไม่มีสภาพบุคคลไม่มีสิทธิตาม
กฎหมาย จึงไม่อาจรับมรดกจากบิดาได้
3.การสิ้นสภาพบุคคล
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 ได้วางหลักไว้ว่าสภาพบุคคลนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ
คลอดออกมาแล้วอยู่รอดเป็นทารกได้ และจะสิ้นสุดลงเมื่อบุคคลนั้นตาย ตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดการตายไว้สองประเภทคือ
1).การตายตามธรรมชาติหรือการตายธรรมดา ซึ่งเป็นการตายโดยสาเหตุต่างๆทั่วไป ไม่
ว่าจะเป็นตายตามอายุขัย ตายเพราะเจ็บป่วย ตายเพราะอุบัติเหตุ หรือการตายที่เกิดจากการ
ฆาตกรรม ฯลฯ
2).การสาบสูญหรือการตายโดยผลของกฎหมาย ดังนี้
ปพพ. มาตรา 61 “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคล
นั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอศาลจะ
สั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือ 2 ปี
(1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ใน การรบหรือสงคราม และ
หายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
(2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป
(3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้า
บุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น”
หลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะถือว่าบุคคลใดเป็นคนสาบสูญนั้น เมื่อพิจารณาจากมาตรา 61 วรรค
แรกแล้วพอจะสรุปได้ดังนี้
- บุคคลธรรมดาไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่
- ไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ หรือก็คือไม่มีใครทราบข่าวคราวหรือไม่มี
ผู้ใดพบเห็นบุคคลนั้น คำว่าไม่มีใครทราบข่าวคราวในที่นี้ หมายถึงคนในครอบครัว ผู้ที่รู้จัก หรือผู้
ที่คอยติดตามข่าวคราวของบุคคลดังกล่าวนั้นอยู่ไม่มีใครได้รับข่าวคราวของบุคคลนั้นเลย
- เป็นระยะเวลาถึง 5 ปี หมายถึงบุคคลนั้นไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครพบ
เห็นหรือทราบข่าวคราวอีกเลยเป็นระยะเวลาถึง 5 ปี
- ศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญจึงจะถือว่าบุคคลนั้นเป็นสาบสูญแล้ว ถ้าศาลยัง
ไม่มีคำสั่งก็ยังไม่ถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ
- การร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญนั้น ผู้มีสิทธิร้องขอคือผู้มีส่วนได้
เสียหรือพนักงานอัยการ ผู้มีส่วนได้เสียนั้นคือผู้ที่อาจได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ หรือได้รับ
สิทธิหรือเสียสิทธิอย่างใดๆในการที่ศาลมีคำสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้นเป็นผู้สาบสูญ เช่น บิดา
มารดา ทายาท หรือภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลดังกล่าวที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ซึ่ง
ในเรื่องส่วนได้เสียนั้นเราอาจจะเห็นได้ชัดๆจากเรื่องมรดก หรือทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา ฯลฯ
[215]

ข้อสังเกต ผู้ที่ไม่มสี ่วนได้เสียซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนบ้าน เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ฯลฯ แม้จะร้องขอ


ต่อศาลโดยตรงไม่ได้ แต่ก็อาจร้องขอต่อพนักงานอัยการให้ร้องขอแทนได้ ถ้าพนักงานอัยการเห็น
ว่ามีเหตุผลอันสมควร ก็มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้บุคคลใดๆนั้นเป็นคนสาบสูญได้
2.นิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่
ไม่ใช่บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย
นิติบุคคลจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่ออาศัยอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น ปพพ.มาตรา 65 บัญญัติ
ว่า “นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”
1.อาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ หมายถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
นั่นเอง ซึ่งมีบัญญัติไว้หลายประเภท เช่น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหากได้จดทะเบียนตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ให้ถือว่าเป็นนิติบุคคล (มาตรา 1015) ได้แก่ห้างหุ้นส่วนสามัญจด
ทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือสมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วถือเป็นนิติบุคคล(มาตรา
83) มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้ว(มาตรา 122)
2.อาศัยอำนาจตามกฎหมายอื่นๆ คือ กฎหมายที่นอกเหนือจากประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ เช่นพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 มาตรา 18 กำหนดให้สหกรณ์ที่จดทะเบียน
แล้วเป็นนิติบุคคล พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 กำหนดให้มัสยิดซึ่งได้จด
ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเป็นนิติบุคคล ฯลฯ
นิติบุคคลแต่ละประเภทจะมีลักษณะและการดำเนินกิจการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ห้าง
หุ้นส่วนหรือบริษัทก็จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการและหวังผลกำไรมาแบ่งปันกัน สมาคมก็จัดตั้งขึ้น
เพื่อดำเนินการใดๆอันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและไม่มีการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน
ฯลฯ เมื่อกลุ่มบุคคลหรือองค์กรใดๆที่จัดตั้งขึ้นมีสถานะเป็นนิติบุคคลแล้ว ย่อมถือเกิดเป็นบุคคล
ตามกฎหมายขึ้นมาต่างหาก มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆได้ในนามของนิติบุคคลนั้นๆ
ความสามารถของบุคคล (Capacity)
หมายถึง ความสามารถในการมีสิทธิหรือใช้สิทธิตามกฎหมาย
ในทางนิติศาสตร์นั้น ได้แก่ความสามารถสองประการ คือ ความสามารถที่บุคคลจะมีสิทธิ
และความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิ โดยปกติบุคคลทุกคนย่อมมีความสามารถในการใช้สิทธิ
ได้ทัดเทียมกัน แต่มีบางกรณีเพื่อคุ้มครองบุคคลบางประเภท กฎหมายจึงได้จำกัดหรือตัด
ทอนความสามารถของบุคคลประเภทนั้น ๆ เสีย
ได้แก่ ผู้เยาว์ , คนวิกลจริต ,คนไร้ความสามารถ และ คนเสมือนไร้ความสามารถ
ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
การบรรลุนิติภาวะหรือการพ้นจากภาวะผู้เยาว์มีได้ 2 กรณี คือ
(1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
(2) อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ สมรสเมื่อชาย
และหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว หรือเมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้น
ความสามารถในการใช้สิทธิของผู้เยาว์ แยกได้ 2 กรณี คือกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทน
โดยชอบธรรม และกรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง
(1)กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 21 บัญญัติว่า "ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบ
ธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะ
บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น"
[216]

การใด ๆ ในที่นี้ หมายความถึงเฉพาะการทำ "นิติกรรม" เท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำอย่างอื่นที่


มิใช่นิติกรรม เช่น ผู้เยาว์กระทำละเมิดต่อผู้อื่น ผู้เยาว์จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทนเพื่อการนั้น จะอ้างว่าการกระทำนั้นมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้"
ผู้แทนโดยชอบธรรม" หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่าง ๆ แทนผู้เยาว์ หรือให้ความยินยอมแก่
ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม ผู้แทนโดยชอบธรรมได้แก่
- ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดาและมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองร่วมกันในกรณีที่
ผู้เยาว์นั้นมีทั้งบิดาและมารดา หรืออาจจะเป็นบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ในกรณีที่บิดา
หรือมารดาตาย ไม่แน่นอนว่าบิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่ บิดาหรือมารดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้
ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ บิดาหรือมารดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะ
จิตฟั่นเฟือน ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
- ผู้ปกครอง ผู้ปกครองของผู้เยาว์จะมีได้ก็แต่เฉพาะในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
ผู้เยาว์ไม่มีบิดา หรือมีบิดามารดาแต่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองแล้ว
(2) กรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง
นิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์กระทำได้โดยลำพังตนเองไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจาก
ผู้แทนโดยชอบธรรมอันเป็นข้อยกเว้นหลักทั่วไป คือ
1) นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไป
ซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง นิติกรรมที่ทำให้ได้ไปซึ่งสิทธิ เช่น
การรับการให้โดยเสน่หา โดยไม่มีภาระผูกพัน นิติกรรมที่ทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การที่
เจ้าหนี้ทำนิติกรรมปลดหนี้ให้
2) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น รับรองบุตร
3) นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูป เช่น
การซื้ออาหารกิน ซื้อสมุดดินสอ ขึ้นรถประจำทาง ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของ
ผู้เยาว์เป็นราย ๆ ไป
4) การทำพินัยกรรม ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปี บริบูรณ์ ถ้าผู้เยาว์ทำ
พินัยกรรมในขณะที่อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ แม้ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
พินัยกรรมนั้นก็ยังคงเป็นโมฆะ
5) การจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
สามารถจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้ แต่การจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
748 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
คนวิกลจริต คือบุคคลที่มีอาการวิกลจริต และต้องเป็นอย่างมากคือ วิกลจริตชนิดที่
พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีความรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่รู้สึกตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง วิกลจริตอยู่
สม่ำเสมอ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอยู่ตลอดเวลา บุคคลวิกลจริต คือ ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้
ความสามารถ หากกระทำการใดในขณะวิกลจริต และคู่กรณีอีกฝ่ายรู้ การนั้น ตกเป็นโมฆียะ
คนไร้ความสามารถ คือ คนวิกลจริต ที่ศาลสั่งให้เป็นความไร้สามารถแล้ว อยู่ในความ
ดูแลของผู้อนุบาล ซึ่งเมื่อคนไร้สามารถกระทำการใดๆ ลงไป การนั้นเป็นโมฆียะ แสดงว่า คนไร้
ความสามารถ ไม่สามารถทำการใดได้เองเลย ต้องอาศัยผู้อนุบาลทำแทน
คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนได้เอง เพราะกาย
พิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ความประพฤติสุรุ่ย สุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือ ติดสุรา และ
บุคคลนั้นถูกศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
[217]

โดยปกติแล้ว สามารถทำนิติกรรมได้เอง เว้นแต่นิติกรรมบางกรณี เช่น กู้ยืม นำทรัพย์สินไปลงทุน


จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นจะเป็นโมฆียะ
หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ : ว่าด้วยนิติกรรม สัญญา และหนี้
ความหมายของนิติกรรม
นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมาย ที่จะ
เกิดขึ้นเพื่อการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ สงวนสิทธิ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น
สัญญาซื้อขาย สัญญากู้เงิน สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรม เป็นต้น
ประเภทของนิติกรรม แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1) นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่ง
ฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ
คำมั่นในโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อ หรือ
จะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง การทำคำเสนอ การบอกเลิกสัญญา เป็น
ต้น
2) นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรม ซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดง
เจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป และทุกฝ่ายต่างต้องตกลงยินยอมระหว่างกัน กล่าวคือ ฝ่าย
หนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดง เจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำ
สนองถูกต้อง ตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น หรือเรียกกันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย
สัญญากูย้ ืม สัญญา แลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น
ผู้หย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา :
(1) ผู้เยาว์ (Minor)
(2) บุคคลวิกลจริต (Unsound Mind)
(3) คนไร้ความสามารถ (Incompetent)
(4) คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi-Incompetent)
(5) ลูกหนี้ ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลาย
(6) สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
การควบคุมการทำนิติกรรม
1. วัตถุประสงค์ของการทํานิติกรรม : หากกระทํานิติกรรมที่ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าวถือเป็น
โมฆะ ได้แก่
นิติกรรมต้องห้ามชัดแจ้งด้วยกฎหมาย
นิติกรรมที่พ้นวิสัย
นิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี
2.แบบของนิติกรรม : ในนิติกรรมบางประเภทกฎหมายกำหนดแบบของการทำนิติกรรม
เอาไว้ เช่น สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อ
เจ้าหน้าที่ถ้าไม่ทำตามกฎหมายกำหนดสัญญาถือเป็นโมฆะ
ความหมายของสัญญา
สัญญา คือ นิติกรรมชนิดหนึ่ง แต่เป็นนิติกรรมที่มีบุคคล 2 ฝ่าย หรือมากกว่านั้นมาตก
ลงกัน โดยแสดงเจตนา เสนอและสนองตรงกัน ก่อให้เกิดสัญญาขึ้น
สัญญาย่อมก่อให้เกิดหนี้ เกิดความผูกพัน ระหว่างเจ้าหนี้ กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้ มีสิทธิ
เรียกร้องให้ลูกหนี้ ชำระหนี้ ได้ตามกฎหมาย
[218]

ตัวอย่างสัญญา
สัญญาซื้อ - ขาย คือ สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตก
ลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย (การโอนกรรมสิทธิ์ หมายถึง การโอนความเป็น เจ้าของ
ในทรัพย์สิน ที่ซื้อขายนั้นไปให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อเมื่อ ได้เป็นเจ้าของก็สามารถที่จะใช้ ได้รับประโยชน์
หรือจะขายต่อไปอย่างไรก็ได้)
สัญญาขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ
โดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่
ต้องไม่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ขายที่ดินโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืน ผู้ซื้อ
จะยอมขายคืนเช่นนี้ ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ไถ่คืนได้
การเช่าทรัพย์ คือสัญญาที่มีบุคคลอยู่สองฝ่าย ฝ่ายแรกคือผู้ให้เช่า ฝ่ายที่สองคือผู้เช่า ทั้ง
สองฝ่ายต่างก็มีหนี้ ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกัน โดยฝ่ายผู้ให้เช่ามีหนี้ที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือ
ได้รับประโยชน์ในทรัพย์ที่เช่า ส่วนฝ่ายผู้เช่าก็มีหนี้ ที่จะต้องชำระค่าเช่าเป็นการตอบแทน
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของ ฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า 3 ปี หรือมีกําหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าต้อง
นําไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
- ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซม ดีแล้ว
- ผู้เช่าต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่า เหมือนทรัพย์สินของตนเอง และยอม ให้ผู้ให้เช่าตรวจตรา
ทรัพย์สินเป็นครั้งคราว และไม่ดัดแปลงหรือต่อ เติมทรัพย์สิน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ให้
เช่า
- ผู้เช่าต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ให้แห่ผู้ให้เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้ว เมื่อสัญญาเช่านั้น
สิ้นสุดลง
สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้
สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็น
สิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวดๆ จนครบตามข้อตกลง
สัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันเรื่องชำระราคา
เป็นงวด ๆ ก็ตาม เพราะการซื้อขายผ่อนส่งนั้นกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินเป็น ของผู้ซื้อทันทีขณะทำ
สัญญาไม่ต้องรอให้ชำระราคาครบแต่ประการใด ส่วนเรื่องสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญา
บรรดาเงินที่ได้ชำระแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้า
ครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้
สัญญากู้ยืมเงิน เป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้กู้" มี
ความ ต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่ มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง
เรียกว่า "ผู้ให้กู้" และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกําหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผล สมบูรณ์ก็
ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืมในการกู้ยืมนี้ ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ย หรือไม่ก็ได้
- ตามกฎหมายก็วางหลักเอาไว้ว่า “การกู้ยืมเงินกันกว่า 2,000 บาท ขึ้ นไปนั้น จะต้องมี
หลักฐานในการกู้ยืมเป็น หนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อของคนยืมเป็นสําคัญ จึงจะ
ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้”
- ดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงิน กฎหมาย ได้กําหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ ผู้ให้กู้สามารถเรียก
[219]

ได้ ว่าต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี คือ ร้อยละ 1.25 ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัท


เงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้
กู้ยืมของสถาบัน การเงิน)
ค้ำประกัน หมายถึง สัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า "ผู้คํ้าประกัน" สัญญาว่าจะชำระหนี้ ให้แก่
เจ้าหนี้ ถ้าหากลูกหนี้ ไม่ยอมชำระหนี้
การค้ำประกัน ต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้ คือ ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใด
อย่างหนึ่ง และต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน
จํานํา คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จํานํา ส่ง มอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีก
คนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจํานํา เพื่อประกันการชําระหนี้ ทรัพย์สินที่จํานําได้คือ
ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่อง ทองรูปพรรณ
สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น
จํานอง คือการที่ใครคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จํานองเอาอสังหาริมทรัพย์ อันได้แก่ ที่ดิน บ้านเรือน
เป็นต้น ไปตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจํานอง หรือนัยหนึ่ง ผู้จํานองเอาทรัพย์สินไป
ทําหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน เพื่อเป็นประกันการชําระหนี้ของลูกหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบ
ทรัพย์ที่จํานองให้เจ้าหนี้
สรุปหลักกฎหมายว่าด้วยหนี้
มาตรา ๑๙๔ ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่ง
การชำระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้
หนี้ ตาม ปพพ.มิได้มีความหมายเฉพาะการกู้ยืมเงิน แต่หมายถึง ความผูกพันที่สามารถใช้
สิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมาย เช่น หนี้โดยการละเมิด หนี้โดยกฎหมาย เช่น ภาษีอากร เป็นต้น
องค์ประกอบของหนี้ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. การมีนิติสัมพันธ์ (ความผูกพันกันในกฎหมาย) หากกฎหมายไม่รองรับการนั้นก็ไม่เกิด
หนี้ผูกพันด้วย
2. การมีเจ้าหนี้และลูกหนี้(เป็นบุคคลสิทธิ)
3. ต้องมีวัตถุแห่งหนี้ ได้แก่
- หนี้กระทำการ เช่น ลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้าง
- หนี้งดเว้นกระทำการ เช่น ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องงดเว้นไม่ทำการค้าแข่งกับห้างหุ้นส่วน
- หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน(หรือโอนกรรมสิทธิ์) เช่น ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่า
บ่อเกิดแห่งหนี้
คือ ที่มาของหนี้ มีดังนี้
1) หนี้เกิดโดยนิติกรรมสัญญา
คือ การที่บุคคลกระทําลงด้วยใจสมัครและโดยชอบ ด้วยกฎหมาย เพื่อก่อความสัมพันธ์ทาง
กฎหมายขึ้น ซึ่งอาจ เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวหรืออาจเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย
2) หนี้เกิดโดยนิติเหตุ
คือ เหตุที่ทำให้บุคคลมีหนี้ที่กฎหมายกำหนดขึ้น โดยบุคคลอาจจะไม่สมัครใจอันได้แก่
2.1 ละเมิด คือการที่บุคคลหนึ่งกระทําโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยผิด
กฎหมาย เป็นเหตุ ให้เขาเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สิน เสรีภาพ หรือ สิทธิอย่างใด
อย่างหนึ่ง
[220]

2.2 จัดการงานนอกสั่ง คือ การที่ บุคคลคนหนึ่งเข้าทําบางสิ่ง บางอย่างแทนอีกบุคคลหนึ่ง


โดยที่เขามิได้มอบหมาย แต่ หากสมประโยชน์แก่ผู้นั้น
2.3 ลาภมิควรได้ คือการที่บุคคล หนึ่งได้ทรัพย์จากบุคคลอื่นไม่ว่า ด้วยประการใดๆ โดย
ปราศจาก ข้ออ้างทางกฎหมาย และทําให้บุคคลอื่นเสียเปรียบ ทรัพย์สิ่ง นั้นถือว่าเป็นลาภมิควรได้
ผู้ซึ่ง ได้รับสิ่งนั้นมาต้องคืนทรัพย์นั้น

ผลแห่งหนี้
ที่น่าสนใจ จะเป็นเรื่องบุริมสิทธิ
มาตรา ๒๕๑ ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะ
ได้รับชำระหนี้อันค้างชำระแก่ตน จากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ใน
ประมวลกฎหมายนี้ หรือบทกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๕๒ บทบัญญัติแห่งมาตรา ๒๔๔ นั้น ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงบุริมสิทธิด้วย
ตามแต่กรณี
1. บุริมสิทธิสามัญ
มาตรา ๒๕๓ ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าว
ต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ คือ
(๑) ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
(๒) ค่าปลงศพ
(๓) ค่าภาษีอากร และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็น
นายจ้าง
(๔) ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน
มาตรา ๒๕๔ บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันนั้นใช้สำหรับเอา
ค่าใช้จ่ายอันได้เสียไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้หมดทุกคนร่วมกัน เกี่ยวด้วยการรักษา การชำระ
บัญชี หรือการเฉลี่ยทรัพย์สินของลูกหนี้
ถ้าค่าใช้จ่ายนั้นมิได้เสียไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้หมดทุกคนไซร้ บุริมสิทธิย่อมจะ
ใช้ได้แต่เฉพาะต่อเจ้าหนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการนั้น
มาตรา ๒๕๕ บุริมสิทธิในมูลค่าปลงศพนั้น ใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายในการปลงศพตาม
ควรแก่ฐานานุรูปของลูกหนี้
มาตรา ๒๕๖ บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้น ใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรใน
ที่ดิน ทรัพย์สิน หรือค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีก
ปีหนึ่ง
มาตรา ๒๕๗๒ บุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่ง
เป็นนายจ้างนั้น ให้ใช้สำหรับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่นใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้ นับถอยหลัง
ขึ้นไปสี่เดือน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่ง
มาตรา ๒๕๘ บุริมสิทธิในมูลค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวันนั้นใช้
สำหรับเอาค่าเครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งยังค้างชำระอยู่นับถอยหลังขึ้นไปหกเดือน เช่น ค่าอาหาร
เครื่องดื่ม โคมไฟ ฟืน ถ่าน อันจำเป็นเพือ่ การทรงชีพของลูกหนี้ และบุคคลในสกุลซึ่งอยู่กับลูกหนี้
และซึ่งลูกหนี้จำต้องอุปการะกับทั้งคนใช้ของลูกหนี้ด้วย
[221]

2. บุริมสิทธิพิเศษ
(ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์
มาตรา ๒๕๙ ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าว
ต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
(๑) เช่าอสังหาริมทรัพย์
(๒) พักอาศัยในโรงแรม
(๓) รับขนคนโดยสาร หรือของ
(๔) รักษาสังหาริมทรัพย์
(๕) ซื้อขายสังหาริมทรัพย์
(๖) ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย
(๗) ค่าแรงงานกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม
(ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์
มาตรา ๒๗๓ ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าว
ต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้นย่อมมีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
(๑) รักษาอสังหาริมทรัพย์
(๒) จ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์
(๓) ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิ
มาตรา ๒๗๗ เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญหลายรายแย้งกัน ท่านให้ถือว่าบุริมสิทธิทั้งหลาย
นั้นมีลำดับที่จะให้ผลก่อนหลัง ดังที่ได้เรียงลำดับไว้ในมาตรา ๒๕๓
เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษ ท่านว่าบุริมสิทธิพิเศษย่อมอยู่ในลำดับ
ก่อน แต่บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันนั้นย่อมอยู่ในลำดับก่อนในฐานที่จะใช้สิทธิ
นั้นต่อเจ้าหนี้ผู้ได้รับประโยชน์จากการนั้นหมดทุกคนด้วยกัน
มาตรา ๒๗๘ เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกันหลายรายเหนือสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งอัน
เดียวกัน ท่านให้ถือลำดับก่อนหลังดังที่เรียงไว้ต่อไปนี้ คือ
(๑) บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์ พักอาศัยในโรงแรมและรับขน
(๒) บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้ามีบุคคลหลายคนเป็นผู้รักษา ท่านว่าผู้ที่
รักษาภายหลังอยู่ในลำดับก่อนผู้ที่ได้รักษามาก่อน
(๓) บุริมสิทธิในมูลซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย และ
ค่าแรงงานกสิกรรมและอุตสาหกรรม
ถ้าบุคคลผู้ใดมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับเป็นที่หนึ่ง และรู้อยู่ในขณะที่ตนได้ประโยชน์แห่ง
หนี้มานั้น ว่ายังมีบุคคลอื่นซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองหรือที่สามไซร้ ท่านห้ามมิให้บุคคลผู้นั้น
ใช้สิทธิในการที่ตนอยู่ในลำดับก่อนนั้นต่อบุคคลอื่นเช่นว่ามา และท่านห้ามมิให้ใช้สิทธินี้ต่อผู้ที่ได้
รักษาทรัพย์ไว้ เพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย
ในส่วนดอกผล ท่านให้บุคคลผู้ได้ทำการงานกสิกรรมอยู่ในลำดับที่หนึ่ง ผู้ส่งเมล็ดพันธุ์
ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย อยู่ในลำดับที่สอง และให้ผู้เช่าที่ดินอยู่ในลำดับที่สาม
มาตรา ๒๗๙ เมื่อมีบุริมสิทธิพิเศษแย้งกันหลายรายเหนืออสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งอัน
เดียวกัน ท่านให้ถือลำดับก่อนหลังดังที่ได้เรียงลำดับไว้ในมาตรา ๒๗๓
[222]

ถ้าได้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นสืบต่อกันไปอีกไซร้ ลำดับก่อนหลังในระหว่างผู้ขาย
ด้วยกันนั้น ท่านให้เป็นไปตามลำดับที่ได้ซื้อขายก่อนและหลัง
มาตรา ๒๘๐ เมื่อบุคคลหลายคนมีบุริมสิทธิในลำดับเสมอกันเหนือทรัพย์อันหนึ่งอัน
เดียวกัน ท่านให้ต่างคนต่างได้รับชำระหนี้เฉลี่ยตามส่วนมากน้อยแห่งจำนวนที่ตนเป็นเจ้าหนี้

สรุปหลักกฎหมาย: ว่าด้วยทรัพย์ และทรัพย์สิน


ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง
ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้
ข้อสังเกต ทรัพย์ นอกจากหมายความรวมถึงวัตถุมีรูปร่างแล้ว จะต้องเป็นวัตถุที่อาจมีราคาและ
อาจถือเอาได้ด้วยตามความหมายของทรัพย์สิน
“อาจมีราคาและอาจถือเอาได้” หมายความว่า วัตถุ มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างจะเป็นทรัพย์
และทรัพย์สินได้ก็ต่อเมื่ออาจมีราคา และอาจถือเอาได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปก็ไม่ถือว่าเป็น
ทรัพย์หรือทรัพย์สิน
ข้อสังเกต ร่างกายของมนุษย์ถ้ารวมอยู่ในส่วนของร่างกายไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง
ของร่างกาย แต่ถ้าขาดออกหรือหลุดออกมาแล้วก็อาจเป็นทรัพย์ได้ เช่น เส้นผมหรือเล็บมือ เป็น
ประเภทของทรัพย์สิน
1. อสังหาริมทรัพย์
หมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอัน
เดียวกับที่ดินนั้น และยังหมายรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือ
ประกอบเป็นส่วนเดียวกับที่ดินนั้นด้วย (ปพพ. มาตรา 139) จากประมวลแพ่งฯ มาตรา 139 เรา
จะเห็นได้ว่าคำว่า “อสังหาริมทรัพย์” ตามกฎหมายได้แก่
1.1 ที่ดิน
1.2 ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร
หมายถึงสิ่งทีต่ ิดอยู่กับที่ดินโดยสภาพมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น ไม้ยืนต้น (มะม่วง,
มะพร้าว, ต้นไผ่ เป็นต้น) โดยทั่วไปไม้ยืนต้นจะได้แก่ต้นไม้ที่มีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ส่วนที่ต่ำกว่า
3 ปี จะกลายเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งจะไม่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่นพวกข้าว และรวมหมายถึงสิ่งที่
มนุษย์สร้างขึ้นเป็นการถาวรติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น โรงเรือน, รั้ว, กำแพง เป็นต้น ดังนั้นทรัพย์
อื่นๆ ที่ไม่ได้ติดถาวรอยู่กับที่ดินจะไม่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์
1.3 ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกันกับที่ดินนั้น เช่น กรวด หิน ดิน ทราย น้ำ แร่
ธาตุต่างๆ บนที่ดินนั้นๆ
- ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับ ข้อ 1.1 – 1.3
ได้แก่ กรรมสิทธิ์, สิทธิครอบครอง, ภาระจำยอม, สิทธิอาศัย, สิทธิเหนือพื้นดิน, สิทธิเก็บกิน,
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
2. สังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และรวม ถึงสิทธิอันเกี่ยวกับ
ทรัพย์สินนั้นด้วย สังหาริมทรัพย์จึงเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์ที่อาจเคลื่อนที่ด้วย
ตัวของมันเองตามธรรมชาติ อาจถือเอาได้
จากความหมายข้างต้น สังหาริมทรัพย์ จึงได้แก่
[223]

- ทรัพย์ที่อาจเคลื่อนจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้
ทรัพย์ที่อาจเคลื่อนจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้ ซึ่งหมายถึงทรัพย์ที่ขนเคลื่อนย้ายไปได้โดยไม่
เสียรูปทรงหรือรูปลักษณ์ของตัวทรัพย์นั้น เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น แต่
ที่ดิน บ้านเรือน แม้จะขุดรื้อไปได้ตามก็ตาม แต่สิ่งที่ขุดรื้อไปนั้น หาใช่ดินหรือบ้านเรือนไม่ เป็น
เพียงดิน แผ่นไม้ แผ่นสังกะสี แผ่นกระเบื้องเท่านั้น ที่ดินและบ้านเรือนจึงจะอ้างว่าเป็น
สังหาริมทรัพย์ เพราะอาจขนเคลื่อนได้ จึงไม่ถูกต้อง แต่ร้านแผงลอยอาจขนเคลื่อนย้ายได้โดยไม่
เสียรูปทรงจึงเป็นสังหาริมทรัพย์ ตู้โทรศัพท์สาธารณะหรือป้อมยามตำรวจที่ยกเคลื่อนย้ายได้ ก็
เป็นสังหาริมทรัพย์
- กำลังแรงแห่งธรรมชาติ
กำลังแรงแห่งธรรมชาติที่จะถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์นี้จะต้องอาจถือเอาได้และอาจมีราคาได้ด้วย
กำลังแรงแห่งธรรมชาติได้แก่ พลังน้ำตก พลังไอน้ำ แก๊ส เป็นต้น
- สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์
สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ สิทธิที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นี้ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับ
กรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อย่างสิทธิที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์สิทธิ
ใดๆที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ย่อมเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น เช่น กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองใน
สังหาริมทรัพย์ บุริมสิทธิพิเศษชนิดที่เป็นบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ จำนำ สิทธิในหุ้นส่วน
สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
3. ทรัพย์แบ่งได้
ทรัพย์ที่แบ่งได้ หมายถึง ทรัพย์ที่อาจแยกออกจากกันเป็นส่วนได้ ส่วนที่แยกออกมายังคงมี
รูปร่างมีสภาพสมบูรณ์เป็นทรัพย์เดิมอยู่ เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำมันพืช ผงซักฟอก เงิน
เป็นต้น
4. ทรัพย์แบ่งไม่ได้
ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายถึง ทรัพย์ที่จะแยกออกจากันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของ
ทรัพย์ ซึ่งถ้าแบ่งออกแล้วสิ่งเหล่านี้คงจะไม่คงสภาพเป็นตัวทรัพย์อยู่อย่างเดิม เช่น บ้าน ตึก
อาคาร เสื้อผ้า นาฬิกา เป็นต้น และทรัพย์ที่ไม่อาจแบ่งสภาพได้โดยอำนาจตามกฎหมาย เช่น หุ้น
ของบริษัทจำกัด ทรัพย์ส่วนควบหรือสิทธิจำนอง เป็นต้น
5. ทรัพย์นอกพาณิชย์
ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายความว่า ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่โอนแก่กันมิได้
โดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์นอกพาณิชย์มีความหมาย 2 ประการ คือ
1. ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้
2. ทรัพย์ที่โอนแก่กันไม่ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ทรัพย์นอกพาณิชย์ที่กฎหมายห้ามโอน มี 2 ประการ คือ
1. ต้องเป็นการห้ามโอนโดยกฎหมายบัญญัติไว้
2. ลักษณะของการห้ามโอนจะต้องเป็นการห้ามโอนโดยถาวร
ข้อสังเกต
(1) สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์จะสละหรือโอนไม่ได้
(2) ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์
ดอกผล
ดอกผล มีอยู่ 2 ชนิด คือ
[224]

1. ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัว


ทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
2. ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่
เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือ
ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
ส่วนควบของทรัพย์
ส่วนควบ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทำลาย ทำให้
บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
ข้อสังเกต เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
ทรัพยสิทธิ คือ สิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินหรือเป็นสิทธิที่อยู่เหนือทรัพย์สิน นั้น
อันจะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์สินนั้นได้โดยตรงและการก่อตั้งทรัพยสิทธิได้ นั้นจะต้องมีกฎหมาย
รองรับ
บุคคลสิทธิ เป็นสิทธิเกิดขึ้นจากสัญญาเป็นหลัก เป็นสิทธิที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นก่อตั้ง
ขึ้น บังคับได้แต่เฉพาะตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีเท่านั้น
ข้อแตกต่างระหว่างทรัพยสิทธิกับบุคคลสิทธิ
1. ทรัพยสิทธิเป็นสิทธิที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินโดยตรง ใช้ยันได้กับทุกคน ในการ
จำหน่าย จ่าย โอน ติดตามเอาทรัพย์นั้นหรือห้ามคนอื่นเข้าเกี่ยวข้อง แต่บุคคลสิทธิเป็นสิทธิที่มีอยู่
เหนือตัวบุคคล ใช้บังคับได้แต่เฉพาะตัวบุคคลที่เป็นคู่กรณีและผู้สืบสิทธิของคู่กรณีเท่า นั้น
ลักษณะของบุคคลสิทธิเป็นเรื่องให้กระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สิน
2. การก่อตั้งทรัพยสิทธิจะต้องมีกฎหมายรองรับ ส่วนบุคคลสิทธิโดยทั่วไปจะก่อตั้งขึ้นมา
โดยนิติกรรมสัญญา แต่บางกรณีสิทธิที่เป็นบุคคลสิทธิอาจจะเกิดจากการที่มีกฎหมายรองรับว่ามี
บุคคลสิทธิได้ ซึ่งเรียกว่านิติเหตุ
3. ทรัพย์สิทธิก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทั่วไปที่จะต้องยอมรับนับถือ ที่จะต้องเคารพคนที่
เป็นเจ้าของทรัพยสิทธิหรือคนที่ทรงทรัพยสิทธินั้น ส่วนบุคคลสิทธิใช้บังคับได้แต่เฉพาะคู่กรณีหรือ
ผู้สืบสิทธิของคู่กรณีเท่า นั้น
4. ทรัพยสิทธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ยังคงใช้หรือคงมีอยู่ตลอดไป ถึงแม้ว่าจะไม่ใช้ในเวลาต่อมา
ก็ตาม ส่วนบุคคลสิทธิต้องใช้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถ้าไม่ใช้ภายในระยะเวลาที่
กำหนดไว้ ก็จะบังคับใช้ไม่ได้ซึ่งเราเรียกว่าอายุความ
หลักกฎหมาย: อายุความ
มาตรา ๑๙๓/๙ สิทธิเรียกร้องใด ๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ
มาตรา ๑๙๓/๑๐ สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้
ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้
มาตรา ๑๙๓/๑๑ อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น คูก่ รณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือขยาย
ออกหรือย่นเข้าไม่ได้
มาตรา ๑๙๓/๑๒ อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปถ้า
เป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการอย่างใด ให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น
[225]

มาตรา ๑๙๓/๓๐ อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้


โดยเฉพาะ ให้มีกำหนดสิบปี
มาตรา ๑๙๓/๓๑ สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนด
อายุความสิบปี ส่วนสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาหนี้อย่างอื่นให้บังคับตามบทบัญญัติใน
ลักษณะนี้ (จุดเน้น)
มาตรา ๑๙๓/๓๒ สิทธิเรียกร้องทีเ่ กิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด หรือโดย
สัญญาประนีประนอมยอมความ ให้มีกำหนดอายุความสิบปี ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมี
กำหนดอายุความเท่าใด
มาตรา ๑๙๓/๓๓ สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี
(๑) ดอกเบี้ยค้างชำระ
(๒) เงินทีต่ ้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
(๓) ค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๙๓/๓๔ (๖)
(๔) เงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินอื่น ๆ ในลักษณะ
ทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา
(๕) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา ๑๙๓/๓๔ (๑) (๒) และ (๕) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี
มาตรา ๑๙๓/๓๔ สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี
(๑) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลป
อุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของ
ผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(๒) ผู้ประกอบเกษตรกรรมหรือการป่าไม้ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบอันเป็นผลิตผลทาง
เกษตรหรือป่าไม้ เฉพาะที่ใช้สอยในบ้านเรือนของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
(๓) ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่า
เช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(๔) ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือหอพัก ผู้ประกอบธุรกิจในการจำหน่ายอาหารและ
เครื่องดื่ม หรือผู้ประกอบธุรกิจสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการเรียกเอาค่าที่พัก
อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้งเงินที่ได้
ออกทดรองไป
(๕) ผู้ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือสลากที่คล้ายคลึงกัน เรียกเอาค่าขายสลาก
เว้นแต่เป็นการขายเพื่อการขายต่อ
(๖) ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า
(๗) บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (๑) แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแล
กิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้
ออกทดรองไป
(๘) ลูกจ้างซึ่งรับใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงานที่
ทำ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
(๙) ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้างรายวัน รวมทั้งผู้ฝึกหัด
งาน เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่ง
เงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
[226]

(๑๐) ครูสอนผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าฝึกสอนและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตามที่ได้ตกลงกันไว้


รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(๑๑) เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่าธรรมเนียมการเรียนและ
ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(๑๒) ผู้รับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่
ได้ออกทดรองไป
(๑๓) ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนสัตว์ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
(๑๔) ครูหรืออาจารย์ เรียกเอาค่าสอน
(๑๕) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบการ
บำบัดโรคสัตว์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่ได้ออก
ทดรองไป
(๑๖) ทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย รวมทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญเรียกเอา
ค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือคู่ความเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้
จ่ายล่วงหน้าไป
(๑๗) ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประกอบวิชาชีพ
อิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือผู้ว่าจ้างให้ประกอบการ
งานดังกล่าวเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
มาตรา ๑๙๓/๓๕ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙๓/๒๗ สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐาน เป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันตามมาตรา ๑๙๓/๒๘
วรรคสอง ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน
ประมวลกฎหมายอาญา
หลักกฎหมายอาญาทั่วไป ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 บัญญัติไว้ว่า
“บุคคลจะต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติ
เป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำนั้นต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ใน
กฎหมาย”
ในส่วนความผิดทางอาญา
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม รัฐจึงต้องลงโทษ
ผู้กระทำผิด โดยมีหลักสำคัญคือ
• การกระทำนั้นต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้ง
• โทษที่ลงต้องเป็นโทษที่กฎหมายกำหนดไว้
• กฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลัง
โทษอาญา
โทษอาญาที่ใช้ลงแก่ผู้กระทำผิดมี 5 ประการเท่านั้น คือ
• ประหารชีวิต
• จำคุก
• กักขัง
• ปรับ คือ การชําระเงินตามจำนวนที่ศาลมีคําพิพากษา หากจําเลยไม่ชําระค่าปรับ
ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาจําเลยอาจถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับหรือถูกกักขังแทน
[227]

ค่าปรับ อย่างไรก็ตามหากศาลมีเหตุสงสัยว่าจําเลยจะไม่ชําระค่าปรับ ศาลอาจสั่งให้กักขังจําเลย


แทนค่าปรับไปก่อนก็ได้ โดยการกักขังแทนค่าปรับจะถืออัตรา 500 บาท/ 1 วัน
• ริบทรัพย์สิน
ความรับผิดทางอาญา
ผู้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดจะต้องรับผิดทางอาญา เมื่อได้กระทำโดยเจตนา
เท่านั้น เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าแม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เช่น
• การกระทำโดยประมาท
• การกระทำความผิดลหุโทษ
ผู้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เว้นแต่ศาลเห็น
ว่ามีเหตุผลสมควร
อายุความ
อายุความ เป็นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อมิให้ผู้กระทำผิดต้องมีชนักติดหลังไป
ตลอดชีวิตและเป็นการที่เร่งรัดคดีให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาพิจารณาโดยเร็วเนื่องจากการปล่อย
ระยะเวลาให้เนิ่นนานไปจะทำให้ไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดได้
อายุความมี 3 ประเภท คือ
1) อายุความฟ้องคดีทั่วไป มี 5 ระดับ คือ
- 20 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี
- 15 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี
- 10 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี
- 5 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกกว่า 1 เดือน ถึง 1 ปี
- 1 ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอื่น
2) อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ นอกจากถือตามอายุความฟ้องคดีทั่วไปแล้ว ยัง
ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดด้วย
3) อายุความฟ้องขอให้กักกัน จะฟ้องไปพร้อมกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุที่ขอให้กักกันหรืออย่าง
ช้าภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีดังกล่าว
ความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัว
ความผิดต่อแผ่นดิน คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำแล้วยังมีผลกระทบต่อสังคม
รัฐจึงต้องเข้าดำเนินการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้แม้ผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับ
ผู้กระทำผิดต่อไปแล้วก็ตามเพื่อป้องกันสังคม
ความผิดต่อส่วนตัว คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสังคม
โดยตรง ดังนั้น เมื่อผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้ว รัฐก็ไม่จำต้องเข้าไป
ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอีกต่อไป
การกระทำความผิดใดเป็นความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัวนั้นมีหลักอยู่ว่า ความผิดใด
เป็นความผิดต่อส่วนตัว ต้องมีกฎหมายกำหนดไว้โดยชัดแจ้ง ความผิดนอกจากนั้นถือเป็นความผิด
ต่อแผ่นดิน
[228]

ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ที่น่าสนใจคือ
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
หมวดนี้ได้แก้ไขอัตราโทษ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๑๔๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบัง
ทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจ
เพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวาง
โทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
หรือประหารชีวิต
มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด
หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเอง
หรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือ
มิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่
หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือประหารชีวิต
มาตรา ๑๕๐ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งโดย
เห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับ หรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้ง
เป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
มาตรา ๑๕๑ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้
อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์
นั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่
แสนบาท
มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสีย
เพือ่ ประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
มาตรา ๑๕๓ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่าย
เพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สอง
หมื่นบาทถึงสองแสนบาท
มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่หรือแสดงว่าตนมีหน้าที่เรียกเก็บหรือ
ตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรือเงินอื่นใด โดยทุจริตเรียกเก็บหรือละเว้นไม่เรียกเก็บภาษี
อากร ค่าธรรมเนียมหรือเงินนั้น หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสีย
ภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย หรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
มาตรา ๑๕๕ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่กำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้าใด ๆ เพื่อ
เรียกเก็บภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย โดยทุจริตกำหนดราคาทรัพย์สินหรือสินค้านั้น
เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสียหรือเสียน้อยไปกว่าที่จะต้องเสีย ต้อง
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสน
บาท
[229]

มาตรา ๑๕๖ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมาย โดยทุจริต


แนะนำ หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด เพื่อให้มีการละเว้นการลงรายการในบัญชี ลง
รายการเท็จในบัญชี แก้ไขบัญชี หรือซ่อนเร้น หรือทำหลักฐานในการลงบัญชีอันจะเป็นผลให้การ
เสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมนั้นมิต้องเสีย หรือเสียน้อยกว่าที่จะต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท
มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้
เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษ
จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๕๘ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้
สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใดอันเป็นหน้าที่ของตนที่จะปกครองหรือ
รักษาไว้ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่ง
แสนสี่หมื่นบาท
มาตรา ๑๕๙ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ดูแล รักษาทรัพย์หรือเอกสารใด กระทำการ
อันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือโดยยินยอมให้
ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับหรือหมายไว้ที่ทรัพย์หรือ
เอกสารนั้นในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดหรือรักษาสิ่งนั้น ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๖๐ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่รักษาหรือใช้ดวงตราหรือรอยตราของ
ราชการหรือของผู้อื่น กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โดยใช้ดวงตราหรือรอยตรานั้น หรือโดย
ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสารหรือ
ดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา ๑๖๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลง
ในเอกสาร กระทำการดังต่อไปนี้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่
(๑) รับรองเป็นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือว่าการอย่างใดได้กระทำต่อ
หน้าตนอันเป็นความเท็จ
(๒) รับรองเป็นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้ง
(๓) ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจดหรือจดเปลี่ยนแปลงข้อความเช่นว่านั้น
หรือ
(๔) รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
มาตรา ๑๖๓ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ในการไปรษณีย์ โทรเลขหรือโทรศัพท์
กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เปิด หรือยอมให้ผู้อื่นเปิด จดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์หรือโทรเลข
(๒) ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้สูญหาย หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้
สูญหาย ซึ่งจดหมายหรือสิ่งอื่นที่ส่งทางไปรษณีย์หรือโทรเลข
[230]

(๓) กัก ส่งให้ผิดทาง หรือส่งให้แก่บุคคลซึ่งรู้ว่ามิใช่เป็นผู้ควรรับซึ่งจดหมาย หรือสิ่งอื่นที่


ส่งทางไปรษณีย์หรือโทรเลข หรือ
(๔) เปิดเผยข้อความที่ส่งทางไปรษณีย์ ทางโทรเลขหรือทางโทรศัพท์
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๖๔ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน รู้หรืออาจรู้ความลับในราชการ กระทำโดยประการ
ใด ๆ อันมิชอบด้วยหน้าที่ ให้ผู้อื่นล่วงรู้ความลับนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่
เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๖๕ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือคำสั่ง
ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย
หรือคำสั่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๖๖ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ละทิ้งงานหรือกระทำการอย่างใด ๆ เพื่อให้งาน
หยุดชะงักหรือเสียหาย โดยร่วมกระทำการเช่นนั้นด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดนั้นได้กระทำลงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อบังคับ
รัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสอง
แสนบาท
[231]

ส่วนที่ 2 แนวข้อสอบทุกวิชา พร้อมเฉลย


แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับผูม้ ีเงินได้จากการจ้างแรงงานตาม
มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว คือแบบอะไร
ก. ภ.ง.ด. 90 ข. ภ.ง.ด. 91
ค. ภ.ง.ด. 93 ง. ภ.ง.ด 94
2. เงินได้พงึ ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีกี่ประเภท
ก.8 ประเภท ข. 7 ประเภท
ค. 6 ประเภท ง. 5 ประเภท
3. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาประจาปี สาหรับผูม้ ีเงินได้ จากการขาย
สินทรัพย์ดิจิตอลตามประมวลรัษฎากร คือแบบอะไร
ก. ภ.ง.ด.90 ข. ภ.ง.ด. 91
ค. ภ.ง.ด. 93 ง. ภ.ง.ด. 94
4.นายอดัมป์ เป็ นคนสัญชาติองั กฤษ มีเงินได้จากการเป็ นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ที่
รร.แห่งหนึ่ง จานวน 300,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
หรือไม่ อย่างไร
ก. ยื่น โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ข .ยื่น โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91
ค. ไม่ตอ้ งยื่น เพราะเป็ นคนต่างชาติ ง. ต้องยื่น โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94
5.กรมสรรพากรใช้เลขอะไรเป็ นเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษีอากร สาหรับบุคคลธรรมดา
ก. เลขประจาตัวประชาชน 13 หลัก ข. เลขวันเดือนปี เกิด
ค. เลขรหัสบัตรเอทีเอ็ม ง. เลขที่กาหนดเอง
6. ดารานักแสดง ได้รบั เงินได้จากการโชว์ตวั ถือเป็ นเงินได้พงึ ประเมินประเภทใด
ก. 40(1) ข. 40(2)
ค. 40(6) ง. 40(8)
7. นางสาวผกากรอง เป็ นผูส้ อบบัญชี หรือ CPA มีเงินได้จากการรับรองงบการเงิน
จานวน 350,000 บาท ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ถือเป็ นเงินได้ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ข. เป็ นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ค. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึง่ ปี ( ภ.ง.ด.94) และยื่นอีกครัง้ ตอนสิน้ ปี
โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90
ง. ถูกทุกข้อ
8. นายอาปู เป็ นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ ถือเป็ นเงินได้ประเภทใด
ก. เงินได้ตาม ม.40 (2) ข.เงินได้ตาม ม.40 (8)
[232]

ค. เงินได้ตาม ม.40 (6) ง. เงินได้ตาม ม.40 (7)


9. ข้อใดคือต่อไปนีไ้ ม่ใช่วิชาชีพอิสระ ตาม ม.40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ก ทนาย ข. นายแพทย์
ค. นายสัตวแพทย์ ง. วิศวกร
10. นาย ก สมรส กับ นาง ข มีบตุ ร อายุ 16 ปี ได้รบั เงินปั นผล จานวน 60,000 บาท
นาย ก และ นาง ข สามารถหักค่าลดหย่อนบุตร ได้หรือไม่ อย่างไร
ก. ไม่สามารถหักลดหย่อนบุตร ได้ เพราะ บุตร มีเงินได้ตงั้ แต่ 30,000 บาท
ข. สามารถหักได้ เพราะ เงินปั นผล ถือเป็ นเงินได้ของบิดา จึงถือว่า บุตรไม่มีเงิน
ค. ไม่สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ เพราะบุตราบุตรมีเงินได้เกิน 30,000 บาท
ง. สามารถ หักลดหย่อนบุตรได้ ถือว่า เงินปั นผล เป็ นเงินได้ของมารดา
11. นายเอ เป็ นคนประเทศอังกฤษ มาทางานกับ นายสมชัยที่ประเทศไทย โดยรับติดตัง้
เครื่องจักร ให้กบั โรงงานของนายสมชัยฯ เป็ นการรับงานเอง โดยติดตัง้ เพียง 3 เดือน งานก็เสร็จ
ได้รบั ค่าติดตัง้ เป็ นเงิน 1,030,900 บาท นายเอ ต้องเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาในประเทศ
ไทยหรือไม่อย่างไร
ก. นายเอ ไม่ตอ้ งเสียภาษีในประเทศไทยเพราะอยู่ไม่ถึง 180 วัน
ข. นายเอ ไม่ตอ้ งเสียภาษีในประเทศไทยเพราะเป็ นคนต่างชาติ
ค. นายเอ ต้องเสียภาษีในประเทศไทย เพราะงานที่นายเอทาอยู่ในประเทศไทย
อันถือเป็ นแหล่งเงินได้ในประเทศ
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
12. นางสาวนโม เป็ นลูกครึง่ ไทย - อเมริกนั เป็ นนักกีฬากอล์ฟอาชีพ ปั จจุบนั อยู่ท่ีประเทศ
สหรัฐอเมริกา มีเงินได้ทงั้ ปี 10,000,000 บาท ในปี เดียวกัน น.ส.นโม กลับมาเมืองไทยและนา
เงินเข้ามาด้วย 1,500,000 บาท และมาพักอยู่ท่ไี ทย จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. ของปี รวม 180 วัน
พอดี จึงกลับไปที่ สหรัฐอเมริกา และนาเงินกลับมาที่ไทยอีก ในวันที่ 5 มกราคม จานวน
5,500,000 บาท ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวถูกต้องที่สดุ
ก. น.ส.นโม ต้องเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาในไทย จานวน 10,000,000 บาท เพราะอยู่
ในไทย ถึง 180 วัน
ข. น.ส.นโม ต้องเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ในไทย จานวน 1,500,000 บาท เพราะอยู่
ในไทย ถึง180 วันและนาเงินเข้ามาในไทยในปี เดียวกันด้วย
ค. น.ส.นโม ต้องเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ในไทย จานวน 5,500,000 บาท เพราะ
อยู่ในไทยถึง 180 วันและนาเงินเข้ามาในไทยด้วย
ง. น.ส.นโม ไม่ตอ้ งเสียภาษีในไทย เพราะเงินได้เกิดในต่างประเทศ และอยู่ในไทย ไม่เกิน
180 วัน
[233]

13. นายอนันต์ มีเงินเดือนจากบริษัท ซัมแวร์ จากัด ทัง้ ปี จานวน 490,000 บาท เงินประจา
ตาแหน่งจานวน 35,000 บาท รับโบนัส จานวน 50,000 บาท ได้อยู่บา้ น ซึ่งบริษัทฯจัดหา ให้พกั
ฟรี นายอนันต์ ได้รบั ประโยชน์ซ่งึ อาจคานวณเป็ นเงิน จานวนเท่าใด
ก. 105,000 บาท ข. 115,000 บาท
ค. 125,000 บาท ง. 135,000 บาท
อธิบาย อธิบาย เงินเดือน+เงินเพิม่ พิเศษ (เช่น เงินประจาตาแหน่ง) ( ไม่รวมโบนัส) x 20%

14. ข้อใดต่อไปนี ้ หมายถึง “ผูอ้ ยู่ในประเทศไทย” ตามหลักแหล่งเงินได้นอกประเทศไทย


ก. นาย A อยู่ในประเทศไทย ในปี 2561 ตัง้ แต่เดือนกันยายน 2561 ถึง เดือนสิน้
เดือนเมษายน 2562 และกลับไปอยู่ประเทศอังกฤษ จนสิน้ ปี 2562
ข. นาย B อยู่ในประเทศไทย ในปี 2561 รวมแล้ว 180 วันพอดี แต่ไม่ได้อยูป่ ระเทศ
ไทยต่อเนื่อง กันไป แต่อยู่หลายระยะเวลารวมกัน
ค. นาย C อยู่ในประเทศไทย ในปี 2561 รวม 179 วันและคาบเกี่ยวไปถึงต้นปี 2562
อีก10 วัน เป็ น 189 วัน
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
15. เงินได้พงึ ประเมินมาตราใด ยื่นภาษีปีละ 2 ครัง้
ก. 40(1)(2) ข. 40(3)
ค. 40(4) ง. 40(5)(6)(7)(8)
16. แบบแสดงรายการใด ที่สามารถขอคืนภาษีได้พร้อมกับการยื่นแบบ
ก. ภ.ง.ด.90 ภ.พ.30 ข. ภ.ง.ด. 91 ภ.ง.ด.53
ค. ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด.3 ง. ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด.92
17. การยื่นเสียภาษีตามแบบแสดงรายการภาษีครึง่ ปี (ภ.ง.ด.94) สามารถยื่นได้ในใด
ก. กรกฎาคม ข. สิงหาคม
ค. กันยายน ง.ถูกทุกข้อ
18. วิสยั ทัศน์ของกรมสรรพากร ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.องค์กรชั้นนำ ที่จัดเก็บภาษีอย่างโปร่งใสเป็นธรรม ด้วยนวัตกรรมและบุคคลากรคุณภาพ
เพื่อสร้างเสถียรภาพ ทางการคลัง
ข. จัดเก็บภาษีตรงเป้า นโยบายตรงกลุ่ม บริการตรงใจ
ค.จัดเก็บภาษีทันสมัย ใส่ใจบริการ ยึดมั่นธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมไทย
ง.จัดเก็บภาษีทันสมัย ใส่ใจบริการ ยึดมั่นธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมไทย
19. ปั จจุบนั ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ได้ยกเว้นเงินได้สทุ ธิให้อีกจานวนเท่าใด (หลังจากหัก
ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ) แล้ว
ก. 100,000 บาท ข. 150,000 บาท
[234]

ค. 200,000 บาท ง. 300,000 บาท


20. เงินได้พงึ ประเมินที่จะได้รบั ยกเว้นเงินได้ไม่เกิน 190,000 บาท มีหลักเกณฑ์ตามข้อใด
ก. ผูม้ ีเงินได้ตอ้ งมีอายุตงั้ แต่ 65 ปี ขึน้ ไป
ข. ผูม้ ีเงินได้ตอ้ งเป็ นผูอ้ ยู่ในประเทศไทย
ค. ผูม้ ีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้ประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะ
เลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หลายประเภทและแต่ละประเภทจะยกเว้น
ภาษีเงินได้จานวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 190,000 บาท
ง. ถูกทุกข้อ
21. นายจามร มีเงินได้สทุ ธิ จานวน 5,000,001 บาท อัตราภาษีสงู สุดที่ใช้ในการคานวณภาษีเงิน
ได้บคุ คลธรรมดา คืออัตราใด
ก. ร้อยละ 20 ข.ร้อยละ 25
ค. ร้อยละ 30 ง. ร้อยละ 35
22. เงินได้พงึ ประเมินประเภทใดที่ประมวลรัษฎากรไม่ยอมให้หกั ค่าใช้จ่ายในการคานวณภาษีเงิน
ได้บคุ คลธรรดา
ก. ดอกเบีย้ , เงินปั นผล ข. ค่าลิขสิทธิ์ ค่า Goodwill
ค. การให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร ง. ขายปลานิล
23. ฐานภาษีของเงินได้บคุ คลธรรมดาเรียกว่าอะไร
ก.เงินได้พงึ ประเมิน ข. รายรับ
ค.เงินได้สทุ ธิ ง.กาไรสุทธิ
24. ผูใ้ ดต่อไปนีอ้ ยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ก.ห้างหุน้ ส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบคุ คล
ข.ผูถ้ ึงแก่ความตายระหว่างปี ภาษี
ค. กองมรดกที่ยงั ไม่ได้แบ่ง
ง. ถูกทุกข้อ
25. นายปฐมภูมิกบั นางทวิภพ จดทะเบียนสมรสกันตัง้ แต่ปีก่อน ปี นตี ้ ่างฝ่ ายต่างมีเงินได้ โดย
นายปฐมภูมิ มีเงินเดือนจากการทางานให้กบั บริษัท ซียู จากัด รวมทัง้ ปี 360,000 บาท นางทวิภพ
มีเงินได้จากการเป็ นนายหน้าขายประกันชีวิตรวมทัง้ ปี 480,000 บาท มีบตุ ร 2 คน อายุ 15 ปี และ
10 ปี ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวถูกต้อง
ก. ต่างฝ่ ายต่างคานวณเงินได้ตามส่วนของตน สามารถแยกยื่นหรือรวมยื่นแบบก็ได้
ข. นางทวิภพ แยกเงินได้ค่านายหน้า ไปยื่นแบบไม่ได้ตอ้ งถือเป็ นเงินได้ของสามี
ค.นางทวิภพ แยกเงินได้ค่านายหน้า ไปยื่นแบบต่างหากไม่ได้ เพราะให้แยกยื่นเฉพาะ
เงินได้ ตาม ม.40(1)
ง ไม่มีขอ้ ใดถูก
[235]

26. จากข้อข้างต้น สามารถหักค่าลดหย่อนบุตรได้อย่างไร


ก. ถ้าต่างคนต่างยื่นแบบ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ คนละ 60,000 บาท
ข. ถ้าต่างคนต่างยื่นแบบ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท
ค. ถ้าต่างคนต่างยื่นแบบ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ คนละ 120,000 บาท
ง.ตามแต่จะตกลงกัน ใครหักมากหักน้อยกว่ากันก็ได้แต่รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท
27. หากผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ใครมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีแทน
ก.ผูจ้ ดั การมรดก ข. ทายาท
ค.ผูค้ รอบครองทรัพย์มรดก ง. ถูกทุกข้อ
28. ข้อใดต่อไปนีค้ ือลักษณะของห้างหุน้ ส่วนสามัญ
ก. การเข้าร่วมกันเปิ ดบัญชีธนาคาร
ข. การเข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน
ค.การเข้าร่วมกันซือ้ หุน้
ง.ถูกทุกข้อ
29.เงินได้พงึ ประเมิน หมายถึงข้อใด
ก. เงินตราไทย เงินตราต่างประเทศ
ข.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคานวณได้เป็ นเงิน
ค. ประโยชน์ซ่งึ อาจคิดคานวณได้เป็ นเงิน
ง. ถูกทุกข้อ
30. การยื่นแบบภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ปี ภาษี 2565 หากยื่นทางอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นได้ถึง
วันใด
ก. 31 มีนาคม 2566 ข. 10 เมษายน 2566
ค. 8 เมษายน 2566 ง. 9 เมษายน 2566
31. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ถือเกณฑ์ใดในการเสียภาษี
ก.เกณฑ์คงค้าง
ข. เกณฑ์สิทธิ
ค. เกณฑ์เงินสด
ง. เกณฑ์ใดก็ได้ตามแต่เลือก แต่เมื่อเลือกแล้วเปลี่ยนไม่ได้
32.อะไรต่อไปนีส้ ามารถใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาได้
ก.ดอกเบีย้ จากการเช่าซือ้ บ้าน ข. ดอกเบีย้ เงินกู้
ค.ดอกเบีย้ ผ่อนรถ ง. ดอกเบีย้ เช่าซือ้ ร้านค้า
33.ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาสิน้ ปี โดยหลักแล้ว สามารถยื่นแบบภายในเดือนใด
ก.มกราคมถึงมีนาคมของปี ถดั ไป ข. เมษายนของปี ถดั ไป
ค.พฤษภาคมของปี ถดั ไป ง.กรกฎาคมของปี ถดั ไป
[236]

34. อัตราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สูงสุดคืออัตราใด


ก.ร้อยละ 37 ข.ร้อยละ 35
ค.ร้อยละ 30 ค.ร้อยละ 25
35. บุคคลใดต่อไปนีต้ อ้ งเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ก. บริษัท ศรีมิตร จากัด
ข.มูลนิธิท่ไี ม่ได้เป็ นองค์การสาธารณกุศล
ค.กองมรดก นายเอ็ม
ง.วัดมีเงินได้ค่าเช่าที่ดิน
36. ข้อใดต่อไปนีต้ อ้ งเสียภาษี ตามมาตรา 40(6) วิชาชีพอิสระ
ก.นายเอ อาชีพทนายความ
ข.นายบี ขายวัสดุก่อสร้าง
ค.นายซี รับจ้างทาสวน
ง. นายดี มีเงินได้จากการเกร็งกาไรเงินดิจิตอล (บิทคอยน์)
37. นางสาวยิปซี มีภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา (ตามแบบ ภ.ง.ด.91) ที่ตอ้ งชาระ
รวม 3,000 บาท ข้อใดต่อไปนีถ้ กู ต้อง ที่สดุ
ก. ไม่สามารถผ่อนชาระภาษีได้ เนื่องจากเงินได้ไม่เกิน 3,000 บาท
ข. ผ่อนชาระได้ไม่จากัดจานวนงวด
ค. ผ่อนชาระภาษีได้ ไม่เกิน 3 งวด โดยงวดแรก ชาระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ง. ผ่อนชาระภาษีได้ไม่เกิน 2 งวดเท่านัน้ เนื่องจากภาษีท่ตี อ้ งชาระมีจานวนน้อย
ไม่ควรเกิน 2 งวด
38 . ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา คานวณภาษีตามอัตราใด
ก. อัตราถอยหลัง ข. อัตราก้าวหน้า
ค.อัตราคงที่ ง. ข้อ ข และค ถูก
39. ปัจจุบนั application ที่ช่อื RD Smart Tax สามารถให้บริการยื่นแบบอะไรได้บา้ ง
ก. แบบ ภ.ง.ด.91
ข.แบบ ภ.ง.ด.91 และ แบบ ภ.ง.ด.90
ค.แบบ ภ.ง.ด.91 แบบ ภ.ง.ด.90 แบบ ภ.ง.ด.94
ง. แบบ ภ.ง.ด.91 แบบ ภ.ง.ด.90 แบบ ภ.ง.ด.94 และ แบบ ภ.ง.ด.95
40. เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2565 บริษัท โออิชิ จากัด แจกรถเบนซ์ ให้กบั นายสมศักดิ์ ผูโ้ ชคดี
จากการชิงโชค มูลค่า 3,000,000 บาท ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. บริษัท หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5 นำส่งกรมสรรพากร ด้วยแบบ ภ.ง.ด.93 นาย
สมศักดิ์ ต้องนำมูลค่ารถ 3,000,000 ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคมปี 2566
[237]

ข.บริษัท หักภาษี ณ ที่จา่ ย ร้อยละ 5 นำส่งกรมสรรพากร ด้วยแบบ ภ.ง.ด.53


นายสมศักดิ์ ต้องนำมูลค่ารถ 3,000,000 ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคม ปี 2566
ค.บริษัท หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5 นำส่งกรมสรรพากร ด้วยแบบ ภ.ง.ด.3
นายสมศักดิ์ ต้องนำมูลค่ารถ 3,000,000 ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมีนาคม ปี 2566
ง.บริษัท หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5 นำส่งกรมสรรพากร ด้วยแบบ ภ.ง.ด.3
นายสมศักดิ์ ต้องนำมูลค่ารถ 2,850,000 บาท ไปยืน่ แบบ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือน มีนาคม ปี
2566
41. นายกนก ได้รบั เงินรางวัลจากการทายผลฟุตบอลโลก จานวนเงิน 1,000,000 บาท
นายกนก มีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บคุ คลธรรมดาอย่างไร
ก. ต้องนาเงินรางวัลไปรวมเป็ นเงินได้พงึ ประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปี ตามแบบ ภ.ง.ด.
90 ตาม มาตรา 48 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข. ต้องนาเงินรางวัลไปรวมเป็ นเงินได้พงึ ประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ครึง่ ปี ตาแบบภ.ง.ด.
94 และเงินได้ปลายปี ตามแบบ ภ.ง.ด.90
ค. ไม่ตอ้ งนาเงินรางวัลไปรวมเป็ นเงินได้พงึ ประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปี ตามแบบ
ภ.ง.ด.90 เพราะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรไว้แล้ว
ง. ไม่ตอ้ งนาเงินรางวัลไปรวมเป็ นเงินได้พงึ ประเมินเพื่อเสียภาษีเงินได้ครึง่ ปี และเงินได้
ปลายปี เพราะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ไว้แล้ว
42.ข้อใดไม่ใช่ความหมายของคาว่า “เงินได้พงึ ประเมิน” ตามมาตรา 40 ที่ตอ้ งเสียภาษีตามหลัก
แหล่งเงินได้ในประเทศไทย ที่เป็ นเงินได้เนื่องจากกรณีใด
ก.หน้าที่งานหรือกิจการที่ทาในประเทศไทย
ข.กิจการของนายจ้างในประเทศไทย
ค.ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ง.ไม่มีขอ้ ใดถูก
43. การจัดเก็บภาษี E-service เป็ นการจัดเก็บภาษีประเภทใด
ก. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ข. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ค. อากรแสตมป์ ง. ภาษี เงินได้นิติบคุ คล
44. เงินที่บคุ คลธรรมดา บริจาคให้แก่พรรคการเมือง ข้อใดสามารถนาไปลดหย่อนภาษีได้
ก. นายคม บริจาคเงิน จานวน 5,000 บาท
ข. นายคายสนับสนุนรถยนต์ ให้พรรคการเมืองไปใช้ในหาเสียง เป็ นเงิน 4,500 บาท
ค. นายอา สนับสนุน สินค้าที่ตนเองขาย ในช่วงที่พรรคการเมืองจัดกิจกรรมระดมทุน
ง. ถูกทุกข้อ
[238]

แนวคำตอบ การบริจาคให้พรรคการเมือง บริจาคได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน


10,000 บาท โดยจะบริจาคเป็นเงิน , ทรัพย์สิน,สินค้า,อสังหาริมทรัพย์, ฯลฯ โดยมีขอบเขต
ว่า หากเป็นการบริจาคอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงิน จะต้องเป็นการบริจาคในช่วงที่มีการจัดกิจกรรม
ระดมทุน โดยคำนวณมูลค่าอันพึงมีในวันที่พรรคการเมืองใช้บริการนั้น
45. นายเอทำงานประจำอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง ส่วนนางบีภรรยาไม่มีเงินได้ใดๆ ในปีภาษีที่แล้วมา นาย
เอและ นางบีอยูร่ ่วมกันตลอดปีภาษี และจ่ายเบี้ยประกันชีวิตไปคนละ 50,000 บาท นายเอจะหักค่า
ลดหย่อน เบี้ยประกันชีวิตได้เท่าใด
ก. 10,000 บาท ข. 20,000 บาท
ค. 50,000 บาท ง. 60,000 บาท
แนวตอบ : นายเอหักลดหย่อนสำหรับตนเองได้ 50,000 บาท และหักลดหย่อนในส่วนของนางบี คู่
สมรส ซึ่งไม่มีเงินได้ เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท รวมลดหย่อนได้ทั้งสิ้น 60,000 บาท

46. น.ส.จอย มีอาชีพรับจ้างรีวิวสินค้าทางอินเตอร์เน็ต เฟสบุ๊คและยูทูป อยากทราบว่า น.ส.จอย มี


เงินได้ประเภทใด
ก. เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ข. เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6)
ค. เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(7) ง. เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)
47. น.ส.อั้ม รับงาน event และ งานโชว์ตัวตามสถานที่ต่างๆ อยากทราบว่า เงินได้รับเป็นเงินได้
ประเภทใด
ก. เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) ข. เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6)
ค. เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(7) ง. เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)

แนวตอบ : เงินได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้าทางอินเตอร์เน็ต เฟสบุ๊คและยูทูป เป็นเงินได้ตาม


มาตรา 40(2) ส่วนเงินได้จากงาน event และงานโชว์ตัวตามสถานทีต่ ่างๆ เป็นเงินได้ตาม
มาตรา 40(8)

48. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรเป็ นภาษีท่จี ดั เก็บจาก


ก. ผูท้ ่ถี ือสัญชาติไทย และมีเงินได้ในประเทศไทยเท่านัน้
ข. ผูท้ ่อี ยู่ในประเทศไทย และมีเงินได้ในประเทศไทยเท่านัน้
ค. ผูท้ ่ถี ือสัญชาติไทยที่มีเงินได้ ไม่ว่าจะเป็ นเงินได้ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ
ง. ผูท้ ่มี ีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย หรือผูท้ ่มี ีแหล่งเงินได้จากต่างประเทศ โดยเป็ นผูท้ ่อี ยู่
ในประเทศไทยถึง 180 วัน และต้องนาเงินได้เข้ามาในประเทศไทยใน ปี ภาษีท่เี กิดเงินได้
49. ด.ญ.กมลเนตร ไปร่วมรายการตอบปั ญหาที่สถานีโทรทัศน์ จัดขึน้ และชนะการแข่งขัน ได้รบั
รางวัลเป็ นเงินสด 50,000 บาท,รถจักรยานและของเล่นเด็ก คิดเป็ นมูลค่า 10,000 บาท ถามว่า
ด.ญ.กมลเนตร ต้องนารางวัลที่ได้รบั ไปยื่นเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร
ก. ไม่ตอ้ ง เพราะได้รบั ยกเว้นภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ข. นาเงินได้ท่ไี ด้รบั ทัง้ เงินสดและของรางวัลไปยื่นเสียภาษี เพราะเป็ นเงินได้ประเภทที่ 8
[239]

ค. นาเฉพาะเงินสดไปยื่นเสียภาษีเพราะของรางวัลไม่ใช่เงินได้พงึ ประเมิน
ง. ไม่ตอ้ งเสียภาษี เพราะเงินสดและของรางวัลดังกล่าวเป็ นเงินได้ของบิดา

อธิบาย เงินได้พึงประเมิน ม.39 แห่งประมวลรัษฎากร หมายถึง


1.เงิน มีความหมายเป็นได้ทั้งเงินไทย หรือเงินตราต่างประเทศ
2.ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน หมายถึงทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ที่ได้รับ
(มาแล้วจริงๆ ในปีภาษีนั้นๆ)และสามารถคิดคำนวณได้เป็นเงิน เช่น รถยนต์ บ้าน นาฬิกา สร้อยคอ
เป็นต้น
3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน หมายถึงประโยชน์ที่ได้รับ (มาแล้วจริงๆ ในปีภาษี
นั้นๆ)มาทีไ่ ม่ใช่ตัวเงิน ไม่ใช่ทรัพย์สิน แต่ประโยชน์ที่ว่านี้สามารถคิดคำนวณเป็นเงินได้ เช่น การที่
นายจ้างให้ลกู จ้างพักอาศัยที่บ้านพักฟรี เป็นต้น
4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ เงินค่าภาษีถือว่าเป็นเงินได้ คือ เงินค่า
ภาษีที่ออกให้เงินได้ประเภทใดถือเป็นเงินได้ประเภทนั้น เงินค่าภาษีที่ออกให้สำหรับเงินได้ของปีใด
ถือเป็นเงินได้ของปีภาษีนั้น
5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด คือเงินปันผลนั้นครั้งหนึ่งก็คือกำไรสุทธิ ซึ่งได้เสียภาษี
เงินได้นิติบุคคลมาแล้ว เมื่อมีการจ่ายเงินปันผลมาให้บุคคลธรรมดาอีก ทำให้ต้องเสียภาษีในเงินปัน
ผลนี้อีกครั้งหนึ่ง จะเห็นได้ว่าเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อนในเงินปันผลดังกล่าว ดังนั้นเพื่อเป็นการ
บรรเทาภาระภาษีจึงมีการให้เครดิตภาษีในเงินปันผล
50. Mr.หวัง คนสัญชาติฮ่องกง เป็นครูสอนภาษาในประเทศไทยอยู่ในประเทศไทยเพียง
179 วัน ได้รับเงินเดือนๆ ละ 100,000 บาท เป็นเวลา 5 เดือน Mr.หวัง สามารถหัก
ลดหย่อนส่วนตัว 30,000 บาท ได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะไม่ใช่คนสัญชาติไทย
ข. ไม่ได้ เพราะ ไม่ตอ้ งเสียภาษีให้กับประเทศไทย
ค. ได้ เพราะ ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย เนื่องจากได้รับเงินจากนายจ้างในประเทศ
ง. ไม่ได้ เพราะมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน

อธิบาย การที่ Mr.หวัง ทำงานในไทย ถือว่ามีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย (กรณีนายจ้างในประเทศไทย)


51. เงินได้ในข้อใด สามารถหักค่าใช้จ่าย ตามความจำเป็น และสมควร ได้ โดยต้องมีหลักฐานใบเสร็จ
การจ่ายเงิน
ก. 40 (5) - 40 (8) ข. 40 (1) - 40 (4)
ค. 40( 1) - 40 (8) ง. 40 (1) - (40 (2)
52. เงินได้ใดต่อไปนี้ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมด
ก. เงินได้จากรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล, เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก
ข. เงินได้จากการทายผลฟุตบอลโลก, เงินได้จากการขายอากรแสตมป์
ค. เงินได้จากรางวัลนําจับสินค้าหนีภาษี, เงินได้จากการจําหน่ายสินค้าหนีภาษี
ง. เงินได้จากรางวัลสลากออมสินรัฐบาล, เงินได้จากการขายข้าวของชาวนา
53. สามี-ภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้แต่ละฝ่ายจะแยกยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดาได้ในกรณีใด
[240]

ก. สามีและภรรยามีเงินได้ประเภทใดก็ได้ ทั้งคู่มีสิทธิแยกยื่นภาษีหรือรวมยื่นภาษี
ข. สามีมีเงินได้ประเภทเงินเดือนประจํา 40 (1)
ค. ภรรยามีเงินได้ประเภทเงินเดือนประจํา 40 (1)
ง. สามีและภรรยาทั้ง 2 ฝ่าย มีเงินได้เฉพาะเงินเดือน 40 (1)
54) ข้อใดต่อไปนี ้ คือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาครี่งปี
ก. ภ.ง.ด.91 ข. ภ.ง.ด.94
ค. ภ.ง.ด.90 ง. ภ.ง.ด.93
55) แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หกั ณ ที่จ่าย คือข้อใด
ก. ภ.ง.ด.91 ข. ภ.ง.ด.94
ค. ภ.ง.ด.92 ง. ภ.ง.ด.3
56) แบบ ภ.ง.ด.91 มีช่อื เต็มว่าอย่างไร
ก. แบบแสดงรายการภาษี เงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับผูม้ เี งินได้กรณีท่วั ไป
ข.แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับใช้ย่ืนก่อนถึงกาหนดเวลายื่นแบบ
แสดงรายการภาษี
ค.แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับผูม้ ีเงินได้จากการจ้างแรงงาน
ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว
ง.แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับคนต่างด้าวผูม้ ีเงินได้จากการจ้าง
แรงงาน
57) แบบ ภ.ง.ด. 93 มีช่อื เต็มว่าอย่างไร
ก.แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับใช้ย่ืนก่อนถึงกาหนดเวลายื่นแบบ
แสดงรายการภาษี
ข.แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับผูม้ ีเงินได้กรณีท่วั ไป
ค.แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับผูม้ ีเงินได้จากการจ้างแรงงาน
ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว
ง.แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา สาหรับคนต่างด้าวผูม้ ีเงินได้จากการจ้าง
แรงงาน
58) ณเดช ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ต้องเสียภาษีหรือไม่
ก. ต้องเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา เนื่องจากได้รบั เงิน
ข. ต้องเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม ไม่ตอ้ งเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ค. ไม่ตอ้ งเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา เนื่องจากได้รบั ยกเว้น
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก

อธิบาย อ้างถึง มาตรา 42 กล่าวถึงเรื่อง เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ซึ่งข้อ 11) กำหนดว่า ให้เงินรางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ, รางวัลสลากกินแบ่งหรือ
สลากออมสินของรัฐบาล,รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพ
[241]

ในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปราม
การกระทำความผิด (ได้รั้บยกเว้นภาษี โดยไม่ต้องนำไปรวมในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา)

59) น.ส.ญาณิศา เป็ นทนายความ สถานภาพโสด มีเงินได้จากการรับว่าความทัง้ ปี จานวน


1,250,000 และมีเงินได้จากการขายของออนไลน์ จานวน 300,000 บาท
ข้อใดต่อไปนี ้ กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีปลายปี
ก. ต้องนาเงินจากการรับว่าความ จานวน 1,250,000 บาท และ การขายของ
ออนไลน์ จานวน 300,000 บาท มาเสียภาษี
ข. ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90
ค. เงินได้จากการรับว่าความ ถือเป็ นเงินได้ ตาม ม.40 (6) และเงินได้จากการขาย
ของออนไลน์ ถือเป็ นเงินได้ ตาม ม.40 (8)
ง.ถูกทุกข้อ
60) นายธีรธร เป็ นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ มีเงินได้จากการเตะบอลให้กบั สโมสรแห่งหนึ่งใน
ประเทศไทย มีเงินได้ทงั้ ปี จานวน 2,350,000 บาท อยากทราบว่าเงินได้จากการเตะบอล
ถือเป็ นเงินได้ พึงประเมินประเภทใด
ก. ถือเป็ นเงินได้ตาม ม. 40 (2) ข. ถือเป็ นเงินได้ตาม ม. 40 (6)
ค. ถือเป็ นเงินได้ตาม ม. 40 (7) ง. ถือเป็ นเงินได้ตาม ม. 40 (8)
61) จากข้อข้างต้น นายธีรธร สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมาได้ อย่างไร
ก. หักค่าใช้จ่าย สาหรับเงินได้สว่ นที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60
ข. หักค่าใช้จ่าย สาหรับเงินได้สว่ นที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40
ค. หักค่าใช้จ่ายตาม ข้อ ก ก่อน และ หักค่าใช้จ่ายตามข้อ ข แต่ รวมกันต้องไม่เกิน
600,000 บาท
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
62) น.ส.ปลืม้ จิตร เป็ นนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติ มีเงินได้ทงั้ ปี จานวน 3,200,000 บาท
ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี เงินได้บคุ คลธรรมดา
ก. ยื่นแบบชาระภาษีครึง่ ปี (ภ.ง.ด.94)
ข. ยื่นแบบชาระภาษีปลายปี (ภ.ง.ด.90)
ค. ยื่นแบบชาระภาษีดว้ ยแบบ ภ.ง.ด.93
ง. ยื่นแบบชาระภาษีครึง่ ปี (ภ.ง.ด.94) และ ปลายปี (ภ.ง.ด.90)

อธิบาย นักกีฬาอาชีพ มีเงินได้ฯ ถือเป็นเงินได้ ตาม ม.40(8) จึงต้องยื่นแบบทั้ง ครึ่งปีและปลายปี


[242]

63) ผูม้ ีเงินได้เป็ นชาวต่างชาติและมีภมู ิลาเนาอยู่ต่างประเทศ มีอาชีพเป็ นนักกีฬามวยอาชีพ มี


เงินได้จากการมาชกมวยในประเทศไทย ผูม้ ีเงินได้ตอ้ งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราใด
ก. ร้อยละ 3 ของเงินได้ ข. ร้อยละ 5 ของเงินได้
ค.ร้อยละ 15 ของเงินได้ ง. ตามอัตราภาษีเงินได้
64) นายสหรัฐ เป็ นนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ มีเงินได้ทงั้ ปี จานวน 3,800,000 บาท ในการยื่น
แบบภ.ง.ด.90 สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ อย่างไร
ก. หักค่าใช้จา่ ย รวม 1,350,000 บาท
ข. หักค่าใช้จ่าย รวม 1,000,000 บาท
ค. หักค่าใช้จ่าย รวม 600,000 บาท
ง. หักค่าใช้จ่าย รวม 120,000 บาท

อธิบาย 1) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60


2) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40
การหักค่าใช้จ่ายตาม (1) และ (2) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท

65) การคานวณภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ตามวิธีท่ี 2 ต้องมีเงินได้พงึ ประเมินอย่างไร


ก. เงินได้พงึ ประเมิน ตัง้ แต่ประเภทที่ 2-8 จานวนตัง้ แต่ 30,000 บาทขึน้ ไป
ข.เงินได้พงึ ประเมิน ตัง้ แต่ประเภทที่ 2-8 จานวนตัง้ แต่ 60,000 บาทขึน้ ไป
ค.เงินได้พงึ ประเมิน ตัง้ แต่ประเภทที่ 2-8 จานวนตัง้ แต่ 120,000 บาทขึน้ ไป
ง.เงินได้พงึ ประเมิน ตัง้ แต่ประเภทที่ 2-8 จานวนตัง้ แต่ 180,000 บาทขึน้ ไป
66) เงินได้ประเภทใดต้องนามายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี
ก. เงินเดือน ข. เงินโบนัส
ค. เงินค่าลิขสิทธิ์ ง. เงินได้จากทาบัญชี
67) ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
(ภ.ง.ด.90) กรณีสามี - ภริยา ต่างฝ่ ายต่างมีเงินได้
ก. สามี และภริยา ต่างฝ่ ายต่างคานวณเงินได้ตามส่วนของตน
ข. สามี / ภริยา นาเงินได้ทกุ ประเภทของตนไปถือเป็ นของอีกฝ่ ายหนึ่ง
ค. สามี/ภริยา นาเงินได้ ตาม ม.40 (2-8) ของตนไปถือเป็ นของอีกฝ่ ายหนึ่ง ส่วน
เงินได้ตาม ม.40(1) แยกคานวณโดยไม่ถือเป็ นเงินได้ของอีกฝ่ ายหนึ่ง
ง. ถูกทุกข้อ
68) นายบอล มีเงินเดือนทัง้ ปี จานวน 560,000 บาท จดทะเบียนสมรส กับ นางบี ซึ่งมี
เงินเดือน รวม 480,000 บาท และมีเงินได้จากการเป็ นผูส้ อบบัญชี 320,000 บาท ข้อใด
กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(แบบ ภ.ง.ด.90)
ก.นางบี ต้องนาเงินได้ของตนทัง้ เงินเดือนและเงินได้จากการสอบบัญชี ไปรวมกับ
[243]

นายบอล ไม่ มีขอ้ ยกเว้นใด เพราะนายบอล เป็ นสามีจดทะเบียนสมรส ตามกฎหมาย


ข. นางบี สามารถนาเงินเดือน มายื่นในนามของตนเอง แต่ เงินได้ค่าสอบบัญชี
ต้องนาไปรวมกับนายบอล
ค. นางบี สามารถนาเงินเดือน และค่าสอบบัญชี ไปยื่นในนามของตนเองทัง้ หมด หรือ
นาไปรวมกับนายบอลทัง้ หมดหรือจะแยกเฉพาะ เงินเดือนมายื่นแบบในนามของตนเอง ส่วนเงิน
ค่าสอบบัญชี นาไปรวมกับนายบอล ได้ทงั้ นัน้
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
69) ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา กรณี สามี - ภริยา ไม่อาจแยกเงินได้ได้อย่างชัดแจ้งว่า เป็ นของ
สามี หรือ ภริยา ข้อใดต่อไปนี ้ กล่าวถูกต้อง
ก. แบ่งฝ่ ายละกึ่งหนึ่ง
ข. เฉพาะเงินได้ ม.40(8) จะแบ่งเงินได้เป็ นของแต่ละฝ่ ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้
ถ้าตกลง กัน ไม่ได้ ให้ถือเป็ นเงินได้ฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
ค. เงินได้ ตาม ม.40(1) แบ่งไม่ได้เนื่องจากชัดเจน เงินได้ตาม ม.40(2-8) สามารถ
แบ่งเงินได้เป็ นของแต่ละฝ่ ายตามส่วนที่ตกลงกันก็ได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ ให้ถือเป็ น
เงินได้ฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
ง. ถูกทุกข้อ
70. ข้อใดไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก. เงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทจดทะเบียน ข. เงินที่ได้รับตามคําสั่งศาล
ค. ค่าเช่ารับล่วงหน้า ง. เงินและทรัพย์สินที่คาดว่าจะได้รับ
71. นักรีวิวสินค้า ต้องเสียภาษีใด
ก. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ข.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ง. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
72. youtuber หากโด่งดัง จะมีรายได้จากการโชว์ตัว เงินได้ดังกล่าว ถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ก. เงินได้ตาม ม.40(2) ข. เงินได้ตาม ม.40(6)
ค. เงินได้ตาม ม.40(7) ง.เงินได้ตาม ม.40(8)
73) ข้อใด ไม่ถือเป็ นหน่วยภาษี Tax Entity ประเภทภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ก นายสมชาย คาแก้ว ข คณะบุคคล เพื่อนทนายและบัญชี
ค ห้างหุน้ ส่วนสามัญ สามออ ง ห้างหุน้ ส่วนจากัด สามออ
74) “บุคคลธรรมดา” ต้องนาเงินได้ในปี ภาษีมายืน่ แบบแสดงรายการเพือ่ เสียภาษี
คาว่า ปี ภาษี.....หมายถึงข้อใด
ก วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถนุ ายน
ข วันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน
ค วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม
ง 12 เดือนนับจากเดือนที่เริ่มทาธุรกิจ
75) นายอันดา เป็ นโสด มีเงินเดือนทัง้ ปี รวม 684,540 สามารถหักค่าใช้จ่ายในการ
[244]

คานวณภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา อย่างไร


ก หัก คชจ. ได้รอ้ ยละ 50 ไม่เกิน 100,000 บาท
ข หัก คชจ.ได้ ร้อยละ 50 คือ 750,000 บาท
ค หัก คชจ.ได้ ร้อยละ 40 ไม่เกิน 60,000 บาท
ง หัก คชจ. ไม่ได้เลย
76) นายหม่า มีเงินได้จากเงินปั นผล ของบริษทั เวิรค์ พอยท์ จากัด จานวน
1,560,000 บาท หากนาเงินได้มารวมยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
หักค่าใช้จ่ายอย่างไร
ก. หัก คชจ. ร้อยละ 50 ไม่เกิน 100,000 บาท
ข. หัก คชจ.ร้อยละ 30
ค. หัก คชจ.ร้อยละ 60
ง. หัก คชจ.ไม่ได้เลย
77) นาย เอ อายุ 65 ปี และเป็ นคนพิการ (มีบตั รประจาตัวคนพิการ) มีเงินได้จากการขาย
ของชา จานวน 1,190,000 บาท ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สดุ
ก. นายเอ ต้องนาเงิน 1,190,000 บาท หัก 190,000 บาท คงเหลือเงินได้ก่อนหัก คชจ.
1,000,000 บาท
ข. นายเอ นาเงินได้พงึ ประเมิน – เงินยกเว้น (ในฐานะคนพิการ) ได้ 190,000 บาท ก่อน
นาไปหัก คชจ.
ค. นายเอ สามารถเลือกว่าจะยกเว้น 190,000 บาท ในฐานะคนพิการหรือผูส้ งู อายุก็ได้
ง. ถูกทุกข้อ

อธิบาย ถ้ามี 2 ฐานะ ทั้งผูส้ ูงอายุ และคนพิการ ก.ม.ให้ยกเว้น 190,000 บาท ในฐานะผู้สูงอายุ
78) นายเอกพล มีเงินได้สทุ ธิ 1,990,890 บาท ใช้อตั ราภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาใด ในการ
คานวณภาษี
ก. ร้อยละ 15 ข. ร้อยละ 20
ค. ร้อยละ 25 ง. ร้อยละ 30
79) นายเอกชัยมีเงินได้และมีภรรยาผูไ้ ม่มีเงินได้ จ่ายเงินทาประกันชีวิตอายุกรมธรรม์ 15 ปี
ให้แก่ตนเองและภริยา จ่ายเงินค่ากรมธรรม์คนละ 15,000 บาทต่อปี นายเอกชัยนาเงินค่าประกัน
ชีวิตมาหักลดหย่อนได้หรือไม่ อย่างไร
ก. หักได้เฉพาะนายเอกชัย จานวน 10,000 บาท
ข. หักได้ทงั้ ของนายเอกชัยและภริยา จานวน 30,000 บาท
ค. หักไม่ได้ทงั้ สองคนเพราะถือเป็ นการทาประกันชีวิตร่วมกัน
ง. หักของนายเอกชัยได้ 15,000 บาท ภรรยา 10,000 บาท
[245]

80) นายบอย ส่งฝาโออิชิ ไปชิงโชค เป็ นผูโ้ ชคดีได้รบั รถเบนซ์มาราคา 3,500,000 บาท
แต่นายบอย ขายรถเบนซ์ไปในราคา 3,000,000 บาท นายบอย จะต้องยื่นแบบเสียภาษี
เงินได้บคุ คลธรรมดา อย่างไร
ก. นามูลค่ารถเบนซ์ มาเสียภาษี จานวน 3,000,000 บาท
ข. นามูลค่ารถเบนซ์ มาเสียภาษี จานวน 3,500,000 บาท
ค. ไม่เสียภาษี เพราะถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว
ง. ไม่ตอ้ งเสียภาษีแต่อย่างใด เพราะเป็ นรางวัลจากการชิงโชค ไม่ใช่เงินได้พึงประเมิน
81) ผูท้ ่มี ี “รายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ” ในความหมายของกรมสรรพากรหมายถึงเงินได้
ไม่เกิน
ก. 30,000 บาท ข. 50,000 บาท
ค. 100,000 บาท ง. 150,000 บาท
82) การขอเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษี บคุ คลธรรมดามีการออกเลขประจาตัวอย่างไร
ก. ใช้เลขบัตรประจาตัวประชาชน แทนได้ โดยไม่ตอ้ งขอมีเลขใหม่กบั กรมสรรพากร
ข. ใช้เลขบัตรประจาตัวประชาชน หรือบัตรราชการ
ค. ใช้เลขบัตรประจาตัวประชาชน บัตรราชการ หรือบัตรประกันสังคม
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
83) ผูใ้ ดไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ก. คนไทยที่ยงั ไม่บรรลุนิติภาวะ ข. ห้างหุน้ ส่วนสามัญ
ค. คนที่มีรายได้ไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี ง. ห้างหุน้ ส่วนสามัญนิติบคุ คล
84) ค่าลดหย่อนเบีย้ ประกันสุขภาพบิดามารดาได้รบั การยกเว้นเท่าใด
ก. 15,000 บาท ข. 30,000 บาท
ค. 50,000 บาท ง. 100,000 บาท
85. น.ส.อรทัย เป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือนเดือนละ 40,000 บาท และยังมี
รายได้จากการเปิดคลีนิควันเสาร์ –อาทิตย์ โดยมีเงินได้รวมทั้งปี 850,000 บาท อยากทราบว่า
อรทัย มีเงินได้พึงประเมินประเภทใด
ก. ประเภทที่ 6 ข. ประเภทที่ 1 กับประเภทที่ 6
ค. ประเภทที่ 1 กับประเภทที่ 2 ง. ประเภทที่ 2 กับประเภทที่ 6
86. นายสังข์ทอง บริจาคที่ดินให้วัดเพื่อสร้างโบสถ์ จะนํามูลค่าของที่ดินมาหักลดหย่อน
โนการ คํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่
ก. ไม่ได้ เพราะไม่ ได้บริจาคเป็นเงินสด ข. ได้ ตามราคาตลาดที่ควรขายได้
ค. ได้ ตามราคาทุนที่ซื้อมา ง. ได้ มูลค่าตามที่วัดออกใบอนุโมทนาบัตร

อธิบาย บุคคลธรรมดา ต้องบริจาคเป็นเงินเท่านั้น จึงจะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้


87) นายก้องภพ ต้องการยื่นแบบแสดงรายการภาษี สามารถยื่นได้ทางเวบไซต์ใด
ก. www.rd.go.th ข. www.rd.gov.th
[246]

ค. www.revenue.go.th ง. http://rdserver.rd.go.th
88) ผูใ้ ดไม่มีหน้าที่ขอเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ก. ผูถ้ ึงแก่ความตายระหว่างปี ภาษี
ข. กองมรดกที่ยงั ไม่ได้แบ่ง
ค. มูลนิธิสมาคมที่เป็ นองค์การหรือสาธารณกุศล
ง. หน่วยงานของราชการผูจ้ ่ายเงินได้
89) เงินได้จากการส่งไปรษณียท์ ายผลชิงโชคต่างๆ เป็ นเงินได้ประเภทใด
ก. ประเภทที่ 2 ข. ประเภทที่ 4
ค. ประเภทที่ 7 ง. ประเภทที่ 8
90) เงินที่ได้จากการขายที่ดิน โดยมุ่งกาไร ถือเป็ นเงินได้ประเภทใด
ก. ประเภทที่ 2 ข. ประเภทที่ 4
ค. ประเภทที่ 7 ง. ประเภทที่ 8
91. เงินที่ประธานองค์การบริหารส่วนตําบลได้รับเท่ากันทุกเดือน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทใด
ก. 40 (1) ข. ได้รับยกเว้นภาษี
ค. ไม่มีข้อใดถูก ง. 40 (2)

อธิบาย ใช้เกณฑ์เงินสด รับจริง จึงนำมาเป็นเงินได้พึงประเมิน


92. อาชีพใด ต้องยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94)
ก. นักร้อง นักแสดง พนักงานขายประกันชีวิต ตํารวจ ทหาร
ข. ผู้สอบบัญชี วิศวกร
ค. เงินปันผล เงินลดทุนที่บริษัทฯ จ่ายคืน
ง. ผู้รับเหมาก่อสร้าง แพทย์เปิดคลินิก ทนายความ

93) นางจันทร์ศรี อายุ 66 ปี มีเงินได้จากการเป็ นข้าราชการบานาญ ปี ภาษี 2562 จานวน


350,000 บาท ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวถูกต้อง
ก. นาเงินได้จานวน 350,000 บาท ไปหัก 190,000 บาท ก่อนนาไปหัก ค่าใช้จ่าย
ข. นาเงินได้ จานวน 350,000 บาท ไปหักค่าใช้จ่ายเป็ นการเหมาร้อยละ 50 ไม่เกิน
100,000 บาท
ค. ไม่ตอ้ งยื่นแบบเพื่อเสียภาษีประจาปี เลย เพราะได้รบั ยกเว้น
ง.ไม่มขี อ้ ใดถูก

อธิบาย เมื่อผู้เสียภาษีมีอายุ ตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป จะได้สิทธิยกเว้นเงินได้ จำนวน 190,000 บาท


94. แบบ ล.ย.3 หมายถึงแบบใด
ก.หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลีย้ งดูบิดามารดา
ข.หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลีย้ งดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
[247]

ค.หนังสือรับรองการเป็ นผูอ้ ปุ การะเลีย้ งดูคนทุพพลภาพ


ง.แบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
95. แบบ ล.ย.04 หมายถึงแบบใด
ก.หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลีย้ งดูบิดามารดา
ข.หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลีย้ งดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
ค.หนังสือรับรองการเป็ นผูอ้ ปุ การะเลีย้ งดูคนทุพพลภาพ
ง.แบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
96. แบบ ล.ย.04 - 1 หมายถึงแบบใด
ก.หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลีย้ งดูบิดามารดา
ข.หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลีย้ งดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
ค.หนังสือรับรองการเป็ นผูอ้ ปุ การะเลีย้ งดูคนทุพพลภาพ
ง.แบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
97 สินทรัพย์ดิจิทลั หมายความถึงข้อใด
ก. คริปโทเคอร์เรนซี ข. โทเคนดิจิทลั
ค. คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทลั ง. ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทลั
98 นายประชา มีเงินได้จากค่าเช่าบ้าน รวมแต่เดือนมกราคม – มิถยุ ายน 2562 จานวน
357,000 บาท ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึง่ ปี อย่างไร
ก. ยื่นโดยแสดงเงินได้ 357,000 ด้วยแบบ ภ.ง.ด. 94
ข. เงินได้ค่าเช่าบ้าน หัก ค่าใช้จา่ ยแบบเหมา ก็ได้ หรือ ตามความจาเป็ นและสมควรก็ได้
ค. สามารถหักค่าลดหย่อนผูม้ ีเงินได้ จานวน 30,000 บาท เพราะเป็ นภาษีครึง่ ปี
ง. ถูกทุกข้อ
99 กิจการใดต่อไปนี ้ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ครึ่งปี
ก. ขายวัสดุก่อสร้าง ข. เป็ นที่ปรึกษาการลงทุน
ค.รายได้ค่านายหน้า ง. ดอกเบีย้ รับ
100. ผูใ้ ดต่อไปนี ้ ไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ก. วิสาหกิจชุมชนบ้านหม้อ ข. ห้างหุน้ ส่วนสามัญจดทะเบียน
ค. ห้างหุน้ ส่วนสามัญ เอมอร ง.คณะบุคคล ก และ ข
[248]

เฉลยแนวข้อสอบภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา
ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ
1 ข 26 ก 51 ก 76 ง
2 ก 27 ง 52 ง 77 ก
3 ก 28 ง 53 ก 78 ค
4 ข 29 ง 54 ข 79 ง
5 ก 30 ข 55 ง 80 ข
6 ง 31 ค 56 ค 81 ก
7 ง 32 ก 57 ก 82 ก
8 ข 33 ก 58 ค 83 ง
9 ค 34 ข 59 ง 84 ก
10 ข 35 ค 60 ง 85 ข
11 ค 36 ก 61 ค 86 ก
12 ข 37 ค 62 ง 87 ก
13 ก 38 ข 63 ง 88 ก
14 ข 39 ง 64 ค 89 ง
15 ง 40 ค 65 ค 90 ง
16 ก 41 ข 66 ง 91 ง
17 ง 42 ง 67 ง 92 ค
18 ก 43 ข 68 ค 93 ก
19 ข 44 ง 69 ง 94 ก
20 ง 45 ง 70 ง 95 ข
21 ง 46 ก 71 ก 96 ค
22 ก 47 ง 72 ง 97 ค
23 ค 48 ง 73 ง 98 ง
24 ง 49 ข 74 ค 99 ก
25 ก 50 ค 75 ก 100 ข
[249]

แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
1. มูลนิธิสมาคม ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบคุ คล ประจาปี โดยใช้แบบใด
ก. ภ.ง.ด.50 ข. แบบ ภ.ง.ด. 53
ค. แบบ ภ.ง.ด. 54 ง. แบบ ภ.ง.ด. 55
2. ข้อใดต่อไปนี ้ ไม่มหี น้าที่ เสียภาษีเงินได้นิติบคุ คล
ก. รัฐบาลต่างประเทศ ดาเนินการเป็ นทางการค้าหรือหากาไร
ข. บริษัท ที่เป็ นผูป้ ระกอบการและได้รบั การส่งเสริมการลงทุน
ค.มูลนิธิ หรือสมาคม ประกอบกิจการและมีรายได้จากการประกอบกิจการ
ง.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับรอบระยะเวลาบัญชีของนิติบคุ คล
ก.บริษัท ก เลิกกิจการ แต่ไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายใน 150 วันนับแต่วนั
สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี จึงยื่นคาขอต่อ อธิบดีกรมสรรพากร ขอขยายรอบ
ระยะเวลาบัญชีออกไปเกิน 12 เดือนได้
ข. บริษัท ก เลิกกิจการไม่สามารถขอขยายรอบระยะเวลาบัญชีเกินกว่า 12 เดือน ได้
ค. หจก.สมร จดทะเบียนเป็ นนิติบคุ คลวันที่ 25 ก.ค. รอบระยะเวลาบัญชี เริ่มวันที่
1 ม.ค. ปี หน้า
ง. ถูกทุกข้อ
4. มูลนิธิ สมาคม ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีคานวณภาษีอย่างไร
ก. กาไรสุทธิ ข. รายได้ก่อนหักรายจ่าย
ข. เงินได้สทุ ธิ ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
5. การตรวจสอบและรับรองบัญชี กระทาโดยใคร
ก.TA ข.CPA
ค. ไม่มีขอ้ ถูก ง.ถูกทัง้ ข้อ ก และข
6. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบคุ คลสิน้ ปี (ภ.ง.ด.50) ยื่นภายในวันที่เท่าใด
ก. ยื่นภายใน 120 วันนับแต่วนั สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ข. ยื่นภายใน 130 วันนับแต่วนั สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ค. ยื่นภายใน 140 วันนับแต่วนั สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ง. ยื่นภายใน 150 วันนับแต่วนั สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
7. เงินปั นผลที่บคุ คลธรรมดาได้รบั จากบริษัทที่ได้รบั การส่งเสริมการลงทุน
ก.จะต้องนามารวมคานวณเป็ นเงินได้ และได้รบั การเครดิตภาษี
ข.ไม่ตอ้ งนามารวมคานวณเป็ นเงินได้และไม่ตอ้ งหักภาษี ณ ที่จ่าย
ค.นามารวมคานวณเป็ นเงินได้โดยได้รบั การเครดิตภาษี หรือไม่นามารวมคานวณเงินได้ก็ได้
ง.ถูกทุกข้อ
[250]

8. มูลนิธิ หรือ สมาคม มีรายได้ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 หรือไม่อย่างไร


ก. ไม่ตอ้ งยื่น เนื่องจาก ภ.ง.ด.51 ยื่นเมื่อนิติบคุ คล เสียภาษีจากฐานกาไรสุทธิเท่านัน้
ข. ไม่ตอ้ งยื่น เนื่องจาก มูลนิธิ หรือสมาคม ไม่ได้ประกอบกิจการเชิงพาณิชย์
ค. ต้องยื่น เนื่องจาก ภ.ง.ด.51 เป็ นการนารายได้ครึง่ รอบระยะเวลาบัญชีมายื่น
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
9 ผูใ้ ดมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบคุ คล
ก. ห้างหุน้ ส่วนสามัญจดทะเบียน
ข. กิจการของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งดาเนินการค้าหากาไร
ค. มูลนิธิท่ปี ระกาศกาหนดให้เป็ นองค์การสาธารณกุศล
ง. ถูกทัง้ ก. และ ข.
10 ผูใ้ ดต่อไปนีไ้ ม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบคุ คล
ก. สหกรณ์ ข. พรรคการเมือง
ค. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ง. ถูกทุกข้อ
11. ข้อใดต่อไปนีค้ ือฐานภาษีเงินได้นิติบคุ คล
ก. กาไรสุทธิ ข. รายรับก่อนหักรายจ่าย
ค. เงินได้ท่จี ่ายจากหรือในประเทศไทย ง. ถูกทุกข้อ
12. การคานวณกาไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบคุ คลใช้เกณฑ์บญ ั ชีใด
ก. เกณฑ์เงินสด ข. เกณฑ์สิทธิ
ค. เกณฑ์บญ ั ชีอิสระ ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
13. บริษัท นาว แอนด์ เดนส์ จากัด เป็ นบริษัทที่จดั ตัง้ ตามกฎหมายต่างประเทศ ประกอบกิจการ
ขายอุปกรณ์กอล์ฟในประเทศไทย ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานภาษีใด
ก. กาไรสุทธิ
ข.รายได้กอ่ นหักรายจ่าย
ค. เงินได้ท่จี ่ายจากหรือในประเทศไทย
ง. การจาหน่ายกาไรออกไปนอกประเทศ
14. สาขาธนาคารซิตแี ้ บงค์ในประเทศไทยส่งกาไรไปให้สานักงานใหญ่ในต่างประเทศ ต้องเสีย
ภาษีเงินได้นิติบคุ คลจากฐานภาษี ใด
ก. กาไรสุทธิ ข.รายได้ก่อนหักรายจ่าย
ค. เงินได้ท่จี า่ ยจากหรือในประเทศไทย ง. การจาหน่ายกาไรออกไปนอกประเทศ
15. บริษัท แอร์แจแปน จากัด เป็ นบริษทั ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายต่างประเทศ กระทากิจการขนส่ง
ระหว่างประเทศในที่อ่ืนๆ รวมทัง้ ในประเทศไทย ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบคุ คลจากฐาน
ภาษีใด
ก. กาไรสุทธิ
[251]

ข.รายได้กอ่ นหักรายจ่าย
ค. เงินได้ท่จี ่ายจากหรือในประเทศไทย
ง. การจาหน่ายกาไรออกไปนอกประเทศ
16. บริษัทต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้รบั เงินค่าลิขสิทธิ์จาก
บริษัทไทย ต้องเสียภาษี เงินได้นิติบคุ คลจากฐานภาษี ใด
ก. กาไรสุทธิ
ข.รายได้กอ่ นหักรายจ่าย
ค. เงินได้ท่จี ่ายจากหรือในประเทศไทย
ง. การจาหน่ายกาไรออกไปนอกประเทศ
17. สมาคมที่ตงั้ ขึน้ ตามกฎหมายของต่างประเทศและประกอบกิจการมีรายได้ ต้องเสียภาษี
เงินได้นิติบคุ คลจากฐานภาษีใด
ก. กาไรสุทธิ
ข.รายได้กอ่ นหักรายจ่าย
ค. เงินได้ท่จี ่ายจากหรือในประเทศไทย
ง. การจาหน่ายกาไรออกไปนอกประเทศ
18. บริษัท จานรรจา จากัด (ไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ได้ลงทุนกับ
กิจการร่วมค้าไฮเวย์ก่อสร้าง รวม 3 เดือนพอดี ได้รบั เงินส่วนแบ่งกาไร จากการลงทุน
3,000,000 บาท บริษัทฯ จะต้องนาส่วนแบ่งกาไร ไปรวมยื่นแบบแสดงรายการภาษีจานวนเท่าใด
ก. 3,000,000 บาท ข. 1,500,000 บาท
ค ได้รบั ยกเว้นทัง้ จานวน ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
อธิบาย นิติบุคคล (ไทย) ไม่ได้จดทะเบียนกับ กลต. ได้รับ เงินปันผล หรือ ส่วน
แบ่งกำไร จากนิติบุคคล (ไทย ) ให้ได้รับยกเว้นเงินปันผล หรือ ส่วนแบ่งกำไร ครึ่งหนึ่ง
ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ ซึ่งก็คือ ต้องถือหุ้นหรือลงทุน ถึง 3 เดือนขึน้ ไป (ถ้าเลิกถือหุ้น ก่อน
3 เดือนหรือโอนออกไปก่อน 3 หมดสิทธิ์ ต้องนำเงินทีไ่ ด้ไปรวมยื่นแบบแสดงรายการเพื่อ
เสียภาษี)
19. บริษัท ก ไก่ จากัด (ไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ได้ลงทุนโดยการ
ถือหุน้ บริษัท สยาม จากัด คิดเป็ นร้อยละ 25 ของหุน้ ทัง้ หมดที่มีสิทธิออกเสียง (ส่วน บริษัท สยาม
จากัด) ไม่ได้ถือหุน้ ในบริษัท ก ไก่ จากัด เลย รวม 3 เดือนพอดี และได้รบั เงินปั นผล 3,000,000
บาท บริษัท ก. ไก่ จะต้องนาเงินปั นผล ไปรวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จานวนเท่าใด
ก. 3,000,000 บาท ข. 1,500,000 บาท
ค ได้รบั ยกเว้นทัง้ จานวน ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
อธิบาย นิตบิ ุคคล (ไทย) ไม่จดทะเบียนกับ กลต. ได้รับ เงินปันผล จากนิตบิ ุคคล
(ไทย ) ให้ได้รับยกเว้นเงินปันผล หรือ ส่วนแบ่งกำไร ทั้งจำนวน ภายใต้เงื่อนไขพิเศษ
[252]

คือ ถือหุ้นหรือลงทุน ถึง 3 เดือนขึน้ ไป โดย ผู้รับเงินปันผล ต้องถือหุ้นใน บริษัทฯผู้


จ่ายเงินปันผล ไม่นอ้ ยกว่า 25% + บริษัทฯ ผู้จ่ายปันผล ต้องไม่ถือหุ้นใน บริษัทฯ
ผู้รับเงินปันผล ด้วย)

20. บริษัท ก ไก่ จากัด (มหาชน) (จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ได้ลงทุนโดย


การ ถือหุน้ บริษัท สยามบันเทิง จากัด รวม 3 เดือนพอดี ได้รบั เงินปั นผล 3,000,000 บาท
บริษทั ก. ไก่ จะต้องนาเงินปั นผล ไปรวมยื่นแบบแสดงรายการภาษี จานวนเท่าใด
ก.3,000,000 บาท ข. 1,500,000 บาท
ค ได้รบั ยกเว้นทัง้ จานวน ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
21. บริษัท ซีพีออลล์ จากัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียนที่ชาระแล้ว ทัง้ หมด 500 ล้าน มีรายได้ทงั้ ปี
1,000 ล้านบาท กาไรสุทธิ จากการประกอบกิจการ 200 ล้านบาท มีรายจ่ายค่ารับรองลูกค้า
จากต่างประเทศทัง้ ปี เช่นค่าที่พกั ค่าอาหารเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ฯลฯ รวม 15 ล้าน บาท
บริษัทฯ สามารถลงรายจ่ายค่ารับรอง ได้เท่าใด
ก. 15,000,000 บาท ข. 10,000,000 บาท
ค 1,500,000 บาท ง. 3,000,000 บาท

อธิบาย ค่ารับรอง หักเป็นรายจ่ายได้ตามที่จ่าย แต่ไม่เกิน 0.3% ของ รายได้ก่อนหัก


รายจ่ายในรอบบัญชีนั้น หรือ ของ ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในรอบบัญชีนั้น แล้วแต่อย่างใด
จะมากกว่า แต่ไม่ให้เกิน 10 ล้านบาท
จากโจทย์ ต้องนำรายได้ 1,000,000,000 x 0.3% = 3,000,000 บาท
มีสิทธิ์นำมา เป็นค่ารับรองในการคำนวณหากำไรสุทธิเสียภาษีเพียงเท่านี้ แต่
สามารถ นำไปลงเป็น คชจ.ในทางบัญชี ได้ทั้งจำนวน
22. บริษัท วิทวัสไนน์ทีน จำกัด จ่ายค่าต่อเติมอาคาร จาก 2 ชั้นเป็น 3 ชั้น จำนวน
1,500,000 บาท และจ่ายค่าซ่อมโกดังเก็บสินค้า จำนวน 500,000 บาท สามารถนำมา
หัก ค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
ก. นำค่าต่อเติมอาคาร 1,500,000 บาทไปลงบัญชีเป็นทรัพย์สิน คิดค่าเสื่อมราคาตามวิธี
ทีท่ างบัญชีที่รับรองทั่วไป ส่วนค่าซ่อมโกดัง จำนวน 500,000 บาท นำไปลงรายจ่ายได้ทั้งจำนวน
ข. สามารถลงเป็นรายจ่ายได้ ทั้งหมด
ค. สามารถลงเป็นทรัพย์สินได้ทั้งหมด
ง. ไม่มีข้อใดถูก
อธิบาย ค่าต่อเติมเปลี่ยนแปลง/ ขยายออกไป แต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพ
เดิม ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน เพราะ เกิดประโยชน์เกิน 1 รอบบัญชี
ห้ามหักเป็นรายจ่ายให้หักค่าเสื่อมราคาตามวิธีบัญชีที่รับรองทั่วไป
23. การจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ ใช้แบบใด
ก ภ.ง.ด.54 ข. ภ.ง.ด.52
ค ภ.ง.ด.55 ง. ภ.ง.ด. 53
24. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชี ได้ ตามหลักเกณฑ์ใด
[253]

ก. เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน


30 ล้านบาท และ รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
ข.สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39
แห่งประมวลรัษฎากร
ค.สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทได้เท่านั้น
ง.สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุน้ ส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39
แห่งประมวลรัษฎากร แต่ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท
และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
25. ภาษีตามประมวลรัษฎากรที่อยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญาภาษีซ้อน ได้แก่
ก. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ข. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค ภาษีเงินได้นิติบุคคล ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ค
26. ข้อใดต่อไปนี้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ก.มูลนิธิสายใจไทย
ข.สมาคมศิษย์เก่าวัดระฆัง(ยังไม่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์กรสาธารณกุศล)
ค.พรรคประชาราษฎร์
ง.สหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
27. กรณีที่นิติบุคคลไม่จัดทำบัญชีจะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่อย่างไร
ก. เสีย โดยคำนวณจากร้อยละ 3 ของรายรับ
ข. เสีย โดยคำนวณจากร้อยละ 5 ของรายรับ
ค. เสีย โดยคำนวณจากร้อยละ 10 ของรายรับ
ง. ไม่เสีย เนื่องจากคำนวณภาษีไม่ได้
28. ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือจากการประกอบ
กิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลคือข้อใด
ก. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ข. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ค. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ง. อากรแสตมป์
29. นิติบุคคลใดต่อไปนี้ได้รบั การยกเว้นภาษีเงินได้นติ ิบุคคล
ก. กิจการร่วมค้า ข. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ค. นิติบุคคลต่างประเทศที่มีสาขาในไทย ง. นิติบุคคลอาคารชุด
30. ข้อใดไม่สามารถรวมกัน เพื่อเป็น Joint Venture (กิจการร่วมค้า) ได้
ก. บุคคลธรรมดากับนิติบุคคล
ข. บุคคลธรรมดากับบุคคลธรรมดา
ค. นิติบุคคลกับนิติบุคคล
ง. นิติบุคคล บุคคลธรรมดา กับบริษัทมหาชน
31. การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลทางอินเตอร์เน็ต (e-Filing) ยื่นได้เวลาใด
ก. 06.00-16.30 น. ข. 06.00-22.00 น.
ค. 08.00-24.00 น. ง. ตลอด 24 ชั่วโมง
32. ธนาคารตามข้อใด ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่สังกัดกระทรวงการคลัง
ก. ธนาคารแห่งประเทศไทย ข. ธนาคารออมสิน
ค. ธนาคารกรุงไทย ง. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
[254]

33. บริษัท ลีลาวดี จำกัด ต้องการมอบอำนาจให้ น.ส.ยวนใจ ไปติดต่อเรื่องภาษีกับ


กรมสรรพากร ใครมีอำนาจลงนามในหนังสือมอบอำนาจของบริษัทฯ
ก. ประธานกรรมการของบริษัท
ข. ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท
ค. กรรมการที่ระบุในตราสารจัดตั้งบริษัทให้มีอำนาจลงนาม
ง. กรรมการที่ระบุในตราสารจัดตั้งบริษัทไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 จึงจะมีอำนาจลงนาม
34. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ที่ผ่านการสอบและได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพากร มี
อำนาจรับรองงบการเงินได้เพียงใด
ก. รับรองห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทนุ จดทะเบียนชำระ
แล้วไม่เกิน 3,000,000 บาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เกิน 30,000,000 บาท
ข. รับรองห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ทีม่ ีทุนจดทะเบียนชำระ
แล้วไม่เกิน 4,000,000 บาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เกิน 30,000,000 บาท
ค. รับรองห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึน้ ตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนชำระ
แล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เกิน 30,000,000 บาท
ง. รับรองห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนชำระ
แล้วไม่เกิน 6,000,000 บาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เกิน 30,000,000 บาท
35. บริษัท 3 ตัวตอ จำกัด เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท
มี รายได้ 40 ล้านบาท บริษัทฯ ต้องชำระภาษี โดยใช้อัตราภาษีตามข้อใด
ก. ร้อยละ 30 ข. ร้อยละ 25
ค. ร้อยละ 20 ง. ร้อยละ 10

อธิบายอัตราภาษี กรณีลดอัตราภาษี
1) กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม
(2) ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ
2) กรณีเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้าย
ของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการใน
รอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อเนื่องกัน (SME) ให้คำนวณภาษี ในอัตรา ดังนี้
กำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษี
กำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท ไม่เกิน 3,000,000 อัตราภาษี 15%
กำไรสุทธิเกิน 3,000,000 บาท ขึ้นไป อัตราภาษี 20%

36. บริษัท การเพียร จำกัด ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีสาขาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จะต้องยื่นภาษีเงิน


ได้นิติบุคคลจากฐานใด
ก.ฐานกำไรสุทธิ ข.ฐานจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ
ค. ฐานรายรับก่อนหักรายจ่าย ง.ฐานเงินได้สุทธิ
37. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ใช้เกณฑ์ใดในการเสียภาษี
ก.เกณฑ์เงินสด
ข. เกณฑ์สิทธิ์
ค. เกณฑ์คงค้าง
[255]

ง. เกณฑ์ใดก็ได้ แต่เลือกเกณฑ์ใดต้องใช้เกณฑ์นั้นตลอด

(อธิบาย เกณฑ์คงค้าง เป็นเกณฑ์ในระบบบัญชี แต่เกณฑ์สิทธิ์เป็นเกณฑ์ในระบบภาษี )


38. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล
ก. ฐานกำไรสุทธิ
ข. ฐานจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ
ค. ฐานเงินได้สุทธิ
ง. ฐานรายรับก่อนหักรายจ่าย
39. การจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี อย่างไร
ก. ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร
ข.ภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร
ค. ภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร
ง.ภายใน 14 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จำหน่ายเงินกำไร
40. กรมสรรพากร ได้ขยายเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.55 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
2562 เนื่องจาก Covid – 19 ทัง้ การยื่นแบบฯทางกระดาษ และ internet โดยสามารถยื่นแบบ
ฯ ได้ภายในวันใด
ก. 31 กรกฎาคม 2563 ข. 31 สิงหาคม 2563
ค. 30 กันยายน 2563 ง. 31 ตุลาคม 2563
41. ข้อใดต่อไปนี้ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ก. นิติบุคคลอาคารชุด ข. นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ค. ห้างหุ้นส่วนสามัญ เต็มใจให้ ง. กิจการร่วมค้า A @ B
42. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือเป็นนิติบุคคลตาม ม.39 แห่งประมวลรัษฎากร
ตั้งแต่เมื่อใด
ก. 8 สิงหาคม 2559 ข. 9 สิงหาคม 2559
ค. 8 สิงหาคม 2562 ง. 9 สิงหาคม 2562
43. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จากฐานใด
ก. ฐานเงินได้สุทธิ ข. ฐานรายได้ก่อนหักรายจ่าย
ค. ฐานกำไรสุทธิ ง. ฐานรายรับ
44 ราคา ซี.ไอ.เอฟ. คือ
ก. ราคาสินค้าที่ออกจากโรงงานผลิต
ข. ราคาสินค้า บวกค้าประกันภัย บวกค่าขนส่ง ถึงด่านศุลกากร
ค. ราคาสินค้าบวกค้าประกันภัย
ง. ราคาส้นค้าบวกค้าขนส่ง
45. ข้อใดคือฐานภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้า
ก. ราคา ซี.ไอเอฟ ข. ราคา ซี.แอนด์.เอฟ
ค. ราคา เอฟ.โอ.บี ง. ถูกทุกข้อ
46. ข้อใดกล่าวถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดง ภ.ง.ด.51 ได้ถูกต้อง
ก. ภายใน 1 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
ข.ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
[256]

ค. ภายใน 3 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี


ง. ภายใน 4 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
47.กิจการวิเทศธนกิจ เสียภาษีเงินได้อัตราใด
ก. 2% ข. 10%
ค. 15% ง. 20%
48. ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกิจการขนส่งระหว่างประเทศ เสียจากฐานภาษีใด
ก. เสียจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ ข.กำไรสุทธิ
ค.เงินได้สุทธิ ง. รายรับสุทธิ
49. บริษัทตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง ไปรับทำงานที่
ประเทศลาว โดยจ้างคนไทยไปทำงาน บริษัทต้องเสียภาษีเงินได้ในไทย โดยใช้แบบใด
ก. แบบ ภ.ง.ด.50 ข. แบบ ภ.ง.ด.52
ค. แบบ ภ.ง.ด.54 ง. แบบ ภ.ง.ด.55
50. ข้อใดคือฐานภาษีสำหรับการส่งออกสินค้า
ก. ราคา ซี.ไอเอฟ ข. ราคา ซี.แอนด์.เอฟ
ค. ราคา เอฟ.โอ.บี ง. ถูกทุกข้อ

เฉลยแนวข้อสอบภาษีเงินได้นิติบุคคล

ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ


1 ง 14 ง 27 ข 40 ข
2 ข 15 ข 28 ข 41 ง
3 ก 16 ค 29 ง 42 ข
4 ข 17 ข 30 ข 43 ค
5 ง 18 ข 31 ข 44 ข
6 ง 19 ค 32 ก 45 ก
7 ข 20 ค 33 ค 46 ข
8 ก 21 ง 34 ค 47 ข
9 ง 22 ก 35 ค 48 ก
10 ง 23 ก 36 ก 49 ก
11 ง 24 ก 37 ข 50 ค
12 ข 25 ง 38 ค
13 ก 26 ข 39 ก
[257]

แนวข้อสอบภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ยังไม่รวมภาษีท้องถิ่น) คือ อัตราร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ 7 ข. ร้อยละ 10
ค. ร้อยละ 6.3 ง. ร้อยละ 15
2. ข้อใดอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ก. การรับประกันวินาศภัย
ข. การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเงินทุนตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจหลักทรัพย์ หรือ
ธุรกิจเงินทุน
ค. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยประกันชีวิต
ง. การรับจานาตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจานา
3. ข้อใดต่อไปนี ้ ต้องจดทะเบียนเป็ นผูป้ ระกอบการภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ก. ประกอบกิจการขายไข่ไก่ จากฟาร์ม รายได้ทงั้ ปี 1,850,000 บาท
ข. ประกอบกิจการขายวัสดุกอ่ สร้างหน้าบ้าน รายได้ทงั้ ปี 1,800,001 บาท
ค. ประกอบกิจการขายปุ๋ ย ยาปราบศัตรูพืช รายได้ทงั้ ปี 3,090,000 บาท
ง. ประกอบกิจการขายหนังสือตาราเรียนพร้อมแผ่นซีดี รายได้ทงั้ ปี 2,499,000 บาท
4. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ชาระภาษีจากข้อใด
ก. ยอดขาย – ยอดซือ้ ข. ภาษีขาย- ภาษีซือ้
ค. ทัง้ ก และข ถูก ง. ทัง้ ก และ ข ผิด
5. แบบใดต่อไปนี ้ ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ก. แบบ ภ.ง.ด.3 ข. แบบ ภ.ง.ด.52
ข. แบบ ภ.ธ.40 ง. แบบ ภ.พ.30
6. หากนายริว จะขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในใบทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มจะต้องยื่นแบบใดต่อ
กรมสรรพากร
ก. แบบ ภ.พ.01 ข. แบบ ภ.พ.02
ค. แบบ ภ.พ.01.1 ง. แบบ ภ.พ.09
7. ประเภทของใบกากับภาษีคือข้อใด
ก. ใบกากับภาษีเต็มรู ป ข. ใบกากับภาษีอย่างย่อ
ค. ใบเพิ่ม ใบลดหนี ้ ง. ถูกทุกข้อ
8. นายภูตะวัน มีเงินได้จากกิจการขนส่งภายในประเทศ จานวน 2,000,000 มีเงินได้
เกิน 1.8 ล้าน วันที่ 30 มิ.ย. 2562 ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมลู ค่าเพิ่มหรือไม่
ก. ต้องจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันนับแต่วนั ที่เงินได้ถึง 1.8 ล้านบาท
และเสียภาษีมลู ค่าเพิ่มจากส่วนเกิน จานวน 200,000 บาท
ข. ต้องจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันนับแต่วนั ที่เงินได้เกิน 1.8 ล้านบาท
[258]

และเริ่มเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม ในปี 2563


ค. ไม่ตอ้ งจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม และไม่ตอ้ งเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม เพราะ เงินได้จาก
กิจการขนส่งในประเทศ ได้รบั ยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ง. ไม่มีขอ้ ถูก
9. ผูป้ ระกอบการซึ่งมีหน้าที่จดทะเบียนภาษี มลู ค่าเพิ่ม ประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียน
ภาษีมลู ค่าเพิ่ม มี โทษทางอาญาอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ข. ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ค. โทษจาคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทัง้ จาทัง้ ปรับ
ง. จาคุกตัง้ แต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตัง้ แต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท
10. ข้อใดต่อไปนีไ้ ม่ใช่ผทู้ ่เี กี่ยวข้องในการยื่นแบบหรือนาส่งภาษีในระบบภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ก. รัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง บริษัทการบินไทย
ข. กิจการธนาคาร เช่น ธนาคารกรุ งเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ
ค. กิจการโรงรับจานา
ง. กิจการค้าปลีกหรือให้บริการรายย่อยที่มีรายรับเกิน 1,800,000 บาทต่อปี
11. น.ส.ดากานดา ซือ้ สินค้ามาจานวนหนึ่งจากร้าน 7-11 ในราคา 180 บาท อยากทราบว่าได้เสีย
ภาษีมลู ค่าเพิ่มไปแล้วเท่าไร
ก. 180 x 10% = บาท ข. 180 x 7% = บาท
ค. 180 x 10/110 = บาท ง. 180 x 7/107 = บาท
12. ข้อใดได้รบั การยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่มทัง้ หมด
ก. สตรอเบอร์รี่สด สตรอเบอร์รี่แห้ง สตรอเบอร์รี่ กระป๋ อง นา้ สตรอเบอร์รี่
ข. นงผงบรรจุกระป๋ อง นมสด นมสด (ยูเอชที) รสส้ม
ค. ปลาสด ปลาแห้ง ปลาป่ น (อาหารสัตว์) ปลาสวยงาม
ง. หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตาราเรียน รวมไปถึงอุปกรณ์การเรียน เช่น สมุด ปากกา
ดินสอ

อธิบาย ธุรกิจขายปลาสวยงาม ถ้าขายเฉพาะปลาสวยงามก็ไม่ตอ้ งเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม


แต่ถา้ ผูป้ ระกอบการมีบริการรับจ้างทาและตกแต่งตูป้ ลา รวมทัง้ จาหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ
ด้วยก็อยูใ่ นข่ายต้องเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม
13. กิจการใดต่อไปนีส้ ามารถเลือกขอจดทะเบียนเสียภาษีมลู ค่าเพิ่มได้
ก. ขายปุ๋ ยและยาฆ่าแมลงศัตรูพืช ข. ให้เช่าเฟอร์นิเจอร์
ค. ให้เช่าหอพัก ง. จัดแสดงพิพิธภัณฑ์เก็บค่าเข้าชม
14. ผูป้ ระกอบการใด ได้รบั สิทธิเสียภาษีมลู ค่าเพิ่มอัตรา 0%
[259]

ก. ผูป้ ระกอบการที่สง่ สินค้าออกนอกประเทศ


ข. ผูป้ ระกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการให้กบั สถานฑูต
ค. ผูป้ ระกอบการที่ขายสินค้าโดยผ่านพิธีการทางศุลกากรให้กบั กิจการในเขต
อุตสาหกรรมส่งออก (EPZ)
ง. ถูกทุกข้อ
15. ข้อใดต่อไปนี ้ ถือเป็ นใบกากับภาษีดว้ ย
ก. ใบเพิ่มหนี ้ ข. ใบลดหนี ้
ค. ใบกากับภาษีอย่างย่อ ง. ถูกทุกข้อ
16. กาหนดเวลาในการจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม คือข้อใด
ก. ก่อนวันเริ่มประกอบการ
ข. ภายใน 30 วันนับแต่วนั ที่มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท
ค. ผูป้ ระกอบการที่จะเริ่มขายสินค้า/ให้บริการ (ที่อยู่ในบังคับจด vat) มีสิทธิย่นื คาขอจดล
ทะเบียน ได้ภายใน 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ (แต่ตอ้ งมีแผนเตรียมประกอบกิจการ)
ง. ถูกทุกข้อ
17. การจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มสามารถจดฯ ผ่านช่องทางใดบ้าง
ก. ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
ข. สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขา ที่สถานประกอบการตัง้ อยู่
ค. สานักงานสรรพากรพืน้ ที่ ที่สถานประกอบการตัง้ อยู่
ง. ถูกทุกข้อ
18. Value Added Tax หรือ VAT คือภาษีชนิดใด
ก. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ข. ภาษีเงินได้นิติบคุ คล
ค. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ง. อากรแสตมป์
19. ข้อใดหมายถึงใบทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ก. ภ.พ.01 ข. ภ.พ.20
ค. ภ.พ.04 ง. ภ.พ.02
20. หากใบทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ชารุด สูญหาย ต้องดาเนินการอย่างไร
ก. ขอใบแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ชารุดหรือสูญหาย
ข. ขอใบแทนภายใน 30 วัน นับแต่วนั ที่ชารุดหรือสูญหาย
ค. ขอใบแทนภายใน 7 วัน นับแต่วนั ที่ชารุดหรือสูญหาย
ง. ขอใบแทนภายใน 5 วัน นับแต่วนั ที่ชารุดหรือสูญหาย
21. ผูน้ าเข้าเก็บภาษีมลู ค่าเพิ่ม อย่างไร
ก. ไม่ตอ้ งเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม ข. เสียในอัตรา 0 %
ค. เสียในอัตรา 3 % ง. เสียในอัตรา 7 %
[260]

22. ผูส้ ง่ ออกเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม อย่างไร


ก. ไม่ตอ้ งเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม ข. เสียในอัตรา 0 %
ค. เสียในอัตรา 3 % ง. เสียในอัตรา 7 %
23. กาหนดเวลาจดจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มทางอินเตอร์เน็ต
ก. จันทร์ – ศุกร์ เฉพาะเวลาราชการ 08.30-14.30 น.
ข. จันทร์ – ศุกร์ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
ค. ทุกวัน เวลา 06.00-22.00 น.
ง. ทุกวัน ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
24. ข้อใดกล่าวไม่ถกู ต้องเกี่ยวกับภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ก. เป็ นภาษีทางอ้อม ข. เป็ นภาษีทางตรง
ค. ใช้แทนภาษีการค้า ง. เริ่มใช้ 1 มกราคม 2535
25. ข้อใดกล่าวไม่ถกู ต้องเกี่ยวกับ ความหมายของ “ภาษีขาย”
ก. ภาษีมลู ค่าเพิ่มที่ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผูซ้ อื ้ สินค้า
หรือผูร้ บั บริการ
ข. ภาษีมลู ค่าเพิ่มที่ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่เสีย ในกรณีท่เี ป็ นการขายสินค้า
ค. ภาษีมลู ค่าเพิ่มที่ผปู้ ระกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่เสีย กรณีท่เี ป็ นการให้บริการ
ง. ถูกทุกข้อ

ภาษีขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิม่ ที่ผู้ประกอบการได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือ ผู้รับบริการเมื่อ


ขายสินค้าหรือรับชำระค่าบริการ คือต้องขายสินค้าหรือบริการ ไม่มิสทธิ์พึงเรียกเก็บได้ หากไม่มีการ
จ่ายจริงท ฉะนั้น ข้อ (ก) หากจะให้ถูกต้อง ต้องต่อว่า “เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับบริการ) และผู้
เสียภาษีขายตัวจริง คือผู้บริโภค ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ,ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่
เพียงเรียกเก็บจากลูกค้า และนำส่งต่อกรมสรรพากร

26. หลักของความรับผิดในการเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าและบริการต่างกันหรือไม่


อย่างไร
ก. ไม่แตกต่างกันคือทัง้ สองกรณีเกิดขึน้ เมื่อมีการส่งมอบสินค้า
ข. ไม่แตกต่างกันคือทัง้ สองกรณีเกิดขึน้ เมื่อมีการชาระค่าบริการ
ค. แตกต่างกันคือกรณีการขายสินค้าเกิดขึน้ เมื่อมีการส่งมอบสินค้า ส่วนกรณีการ
ให้บริการ เกิดขึน้ เมื่อมีการชาระค่าบริการ เว้นแต่มีกรณีตามที่ ก.ม.กาหนดเกิดขึน้ ก่อน (หลัก) ให้
ความรับผิดเกิดขึน้ ตามส่วนนัน้
ง. แตกต่างกันคือกรณีการขายสินค้าเกิดขึน้ เมื่อมีการชาระค่าบริการ ส่วนกรณีการ
ให้บริการเกิดขึน้ เมื่อมีการส่งมอบสินค้า
[261]

27. นางสาวอุไร ซือ้ โทรทัศน์จากห้าง ราคา 24,000 บาท ในราคาดังกล่าวนางสาวสมใจเสียภาษี


ประเภทใดแล้ว
ก. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ข. ภาษีสรรพสามิต
ค. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ง. ภาษีเงินได้นิติบคุ คลข้อ
28. นิยาม “ขาย” ตามข้อใดไม่ใช่นิยามดังกล่าวในประมวลรัษฎากร
ก. จาหน่าย จ่าย โอนสินค้า เฉพาะที่มีประโยชน์หรือค่าตอบแทน
ข. ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
ค. ซือ้ ขายผ่อนชาระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผูซ้ ือ้ แม้จะส่งมอบให้ผูซ้ อื ้ แล้ว
ง. ส่งมอบสินค้าให้ตวั แทนเพื่อขาย
29. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับขัน้ ตอนการจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มทาง Internet
ก. http://www.rd.go.th/ บริการอิเล็กทรอนิกส์/ยื่นคาร้องขอมีเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษี
อากร/ เลือกประเภทผูเ้ สียภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ข. http://www.rd.go.th/ อ้างอิง/ยื่นคาร้องขอมีเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษีอากร/
เลือกประเภทผูเ้ สียภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ค. http://www.rd.go.th/ บริการข้อมูล/ยื่นคาร้องขอมีเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษีอากร/
เลือกประเภทผูเ้ สียภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ง. http://www.rd.go.th/ ความรูเ้ รื่องภาษี/ยื่นคาร้องขอมีเลขประจาตัวผูเ้ สียภาษี อากร/
เลือกประเภทผูเ้ สียภาษีมลู ค่าเพิ่ม
30. คาว่า “TAX INV (ABB)” หรือคาว่า “TAX INVOICE (ABB)” เป็ นใบกากับภาษีประเภทใด ?
ก. ใบกากับภาษี ข. ใบกากับภาษีแบบเต็มรูป
ค. ใบลดหนีส้ ิน ง. ใบกากับภาษีอย่างย่อ
31. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม นามาใช้แทน ภาษีการค้า ในปี ใด
ก. ปี 2534 ข. ปี 2535
ค. ปี 2536 ง. ปี 2537
32. กาหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมลู ค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) คือข้อใด
ก. ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีการขายสินค้า/ให้บริการหรือไม่
ข. ภายในวันที่ 30 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีการขายสินค้า/ให้บริการหรือไม่
ค. ภายใน 7 วัน นับแต่วนั สิน้ เดือนของเดือนที่จ่ายเงินหรือรับเงินจากการขาย
ทอดตลาด
ง. ภายใน 7 วัน นับแต่วนั สิน้ เดือนของเดือนที่ครบกาหนด 30 วันนับแต่วนั ที่ความรับผิด
ในการเสียภาษีมลู ค่าเพิ่มเกิดขึน้
33. แบบ ภ.พ.09 คือแบบใด
ก. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม
[262]

ข. แบบคาขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมลู ค่าเพิ่มรวมกัน
ค. แบบคาขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มชั่วคราว
ง. แบบคาขอนาส่งภาษีมลู ค่าเพิ่ม
34. ภาษีซอื ้ หมายความว่าอย่างไร
ก. ภาษีมลู ค่าเพิ่มที่ผปู้ ระกอบการเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผูซ้ อื ้ สินค้า เมื่อขาย
สินค้าหรือ เรียกเก็บจากผูร้ บั บริการเมื่อรับชาระค่าบริการ
ข. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ที่ผปู้ ระกอบการได้จ่ายให้กบั ผูข้ ายสินค้าหรือผูใ้ ห้บริการที่เป็ น
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนเมื่อซือ้ สินค้าหรือชาระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน
ค. ไม่แน่ใจ
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
35. แบบนาส่งภาษีมลู ค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร
ก. ภ.พ.30.2 ข. ภ.พ.30.3
ค. ภ.พ.36 ง. ภ.พ.30
36. ข้อใดหมายถึง แบบแสดงรายการภาษีมลู ค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร
ก. ภ.พ.30.2 ข. ภ.พ.30.3
ค. ภ.พ.36 ง. ภ.พ.30
37. อัตราภาษีมลู ค่าเพิ่ม ในปั จจุบนั มีกี่อตั รา
ก. 1 อัตรา คือ ร้อยละ 7
ข. 2 อัตรา คือ คือ ร้อยละ 7 และ ร้อยละ 0
ค. 3 อัตรา คือ คือ ร้อยละ 7 , ร้อยละ 0 และ ร้อยละ 6.3
ง. 4 อัตรา คือ คือ ร้อยละ 7 , ร้อยละ 0 , ร้อยละ 6.3 และ ร้อยละ 3.3
38. ผูป้ ระกอบการส่งออกสินค้า ต้องชาระภาษีในอัตราใด
ก. ไม่ตอ้ งชาระภาษี ข. ร้อยละ 7
ค. ร้อยละ 0 ง. ร้อยละ 3.3
39. คาขอรับใบแทนภาษีมลู ค่าเพิ่ม คือ แบบใด
ก. ภ.พ.30.2 ข. ภ.พ.04
ค. ภ.พ.36 ง. ภ.พ.30
40. ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ก. Value Added Tax
ข. เรียกโดยย่อว่า VAT
ค. เป็ นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขัน้ ตอนการผลิตและจาหน่าย
สินค้า หรือบริการทัง้ ที่ผลิตภายในประเทศและนาเข้าจากต่างประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ
[263]

41. แบบคาขอแจ้งขอใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม คือข้อใด


ก. ภ.พ.01 ข. ภ.พ.01.1
ค. ภ.พ.01.2 ง. ภ.พ.02

อธิบาย
ภ.พ.01 แบบคาขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ภ.พ.01.1 แบบคาขอแจ้งขอใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ภ.พ.01.2 แบบคาขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มเป็ นการชั่วคราว
ภ.พ.02 แบบคาขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีมลู ค่าเพิ่มรวมกัน

42. แบบ ภ.พ.06 คือแบบใด


ก. แบบคาขออนุมตั ิใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกากับภาษีตามประมวลรัษฎากร
ข. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินที่เคยได้รบั อนุมตั ิ
ค. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ง. แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มเป็ นการชั่วคราว

อธิบาย
ภ.พ.06 แบบคาขออนุมตั ิใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกากับภาษี

43. ผูป้ ระกอบกิจการใดที่ได้รบั ยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิ่ม แต่มสี ิทธิแจ้งขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม


ก. นายอนันต์ ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล
ข. นายอานวย ประกอบกิจการขนส่งสินค้า โดยรถยนต์
ค. นายอานาจ ขายไข่สด
ง. นายอันดา มีรายได้จากการรับว่าความ
44. นายบรรลุ เป็ นผูป้ ระกอบการจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ขายแอร์ ให้กบั ลูกค้า ในราคา
35,500 บาท (รวมภาษีมลู ค่าเพิ่มแล้ว) อยากทราบว่า มูลค่าสินค้าที่ตอ้ งนาไปคานวณ
ภาษีมลู ค่าเพิ่มคือข้อใด
ก. 33,177.57 ข. 35,500
ค. 35,000 ง. 33,500

➢ แนวการตอบ 35,500 x 100/107

45. ภาษีขาย หมายความว่าอย่างไร


[264]

ก. ภาษีมลู ค่าเพิ่มที่ผูป้ ระกอบการเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผูซ้ อื ้ สินค้า เมื่อขาย


สินค้าหรือเรียกเก็บจากผูร้ บั บริการ เมื่อรับชาระค่าบริการ
ข. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ที่ผปู้ ระกอบการได้จ่ายให้กบั ผูข้ ายสินค้าหรือผูใ้ ห้บริการที่เป็ น
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียน เมื่อซือ้ สินค้าหรือชาระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน
ค. ไม่แน่ใจ
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
46. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม บังคับใช้วนั ใด (ออกข้อสอบบ่อย)
ก. 1 มกราคม 2535
ข. 1 กุมภาพันธ์ 2535
ค. 1 มีนาคม 2535
ง. 1 เมษายน 2535
47. คาว่า “ขาย” ตามมาตรา 77/1 (8) หมายถึง
ก. การแจกสินค้าแก่ลกู ค้า
ข. การให้รางวัลแก่พนักงาน
ค. การบริจาคสินค้าให้สถานที่ราชการ
ง. ถูกทุกข้อ
48. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม จัดเก็บภาษีตามอัตราใด
ก. อัตราก้าวหน้า ข. อัตราคงที่
ค. อัตราถอยหลัง ง. อัตราประจา
49. “ขาย” ให้หมายความรวมถึงข้อใด
ก. การนาสินค้าไปใช้ไม่ว่าประโยชน์ใด ๆ เว้นแต่การนาสินค้าไปใช้เพื่อการประกอบกิจการ
ของตนเองโดยตรงตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกาหนด
ข. สัญญาให้เช่าซือ้ สินค้า สัญญาซือ้ ขายผ่อนชาระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผูซ้ ือ้ เมื่อ
ได้สง่ มอบสินค้าให้ผซู้ อื ้ แล้ว หรือสัญญาจะขายสินค้าที่เป็ นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ที่อธิบดีกาหนดโดยอนุมตั ิรฐั มนตรี
ค. มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87(3) หรือมาตรา 87 วรรคสอง
ง. ถูกทุกข้อ
50. นางสาวอารยา มีรายได้จากการขายของออนไลน์ (เสือ้ ผ้า) เกิน 1.8 ล้านบาทตัง้ แต่
วันที่ 2 มกราคม 2563 แต่ไม่จดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภายในเวลาที่กฎหมายกาหนด
มีโทษทางอาญาอย่างไร
ก.จาคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทัง้ จา ทัง้ ปรับ
ข.จาคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 3,000 บาท หรือทัง้ จา ทัง้ ปรับ
ค.จาคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทัง้ จา ทัง้ ปรับ
[265]

ง. จาคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทัง้ จา ทัง้ ปรับ

51. ผูป้ ระกอบจดทะเบียน ไม่ย่นื แบบ ภ.พ.30 มีโทษทางอาญาอย่างไร


ก. ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ข. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
ค. ปรับไม่เกิน 5,000 บาท ง. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
52. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ก. เป็ นภาษีทางอ้อม ข. จัดเก็บจากฐานการบริโภค
ค. ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังบุคคลอื่นได้ ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข
53. การสมัครใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีทาง Internet ต้องลงทะเบียนอย่างไร
ก. ลงทะเบียนที่ www.rd.go.th หัวข้อ E-FILING » คลิก "ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต"
ข. ลงทะเบียนที่ www.rd.go.th หัวข้อ E-Office » คลิก "ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต"
ค. ลงทะเบียนที่ www.rd.go.th หัวข้อ E-Mar » คลิก "ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต"
ง. ลงทะเบียนที่ www.rd.go.th หัวข้อ E-auction » คลิก "ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต"
54. ฐานภาษีมลู ค่าเพิ่มสาหรับการนาเข้า คือ มูลค่าของสินค้านาเข้า โดยใช้ราคาใด
ก. C.I.F บวกอากรขาเข้า,ภาษีสรรพสามิต,ค่าธรรมเนียมอื่นตามที่ ก.ม.กาหนด
ข. C.I.F
ค. F.O.B
ง. F.O.B บวก ค่าเบีย้ ประกันภัย
55. ข้อใดต่อไปนีเ้ ป็ นลักษณะของภาษีซอื ้ ต้องห้าม หรือภาษีซอื ้ ที่ไม่ให้นามาคานวณภาษี
ก. ไม่มีใบกากับภาษีซอื ้ มาแสดง
ข. ข้อความในใบกากับภาษี ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ในส่วนที่เป็ นสาระสาคัญ
ค. ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง
ง. ถูกทุกข้อ

➢ : ภาษีซอื ้ ต้องห้ามมีลกั ษณะดังต่อไปนี ้


1. ไม่มีใบกากับภาษีซอื ้ มาแสดง
2. ข้อความในใบกากับภาษี ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ในส่วนที่เป็ นสาระสาคัญ
3. ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง
4. เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือการอื่นทานองเดียวกัน
5. ภาษีซือ้ ตามใบกากับภาษีซอื ้ ซึ่งออกโดยผูไ้ ม่มีสิทธิออก

56. ผูใ้ ดต่อไปนี ้ ไม่มีหน้าที่เสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม


ก. บจ.กัมปนาท นาเข้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในออฟฟิ ศ
[266]

ข. นายกาพล นาเข้ารถหรู เพื่อใช้เอง


ค. บจ.อรรถโรจน์ ซือ้ อุปกรณ์ประกอบรถยนต์ จากผูป้ ระกอบการ ซึ่งอยู่ในเขต
อุตสาหกรรมส่งออกใน จ.สมุทรปราการ เพื่อส่งขายให้กับลูกค้าในประเทศฟิ ลิปปิ นส์
ง. ถูกทุกข้อ
57. ข้อใดต่อไปนี ้ ได้รบั ยกเว้นภาษี มลู ค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร
ก. หจก.ค้าไม้ ประกอบกิจการขายไม้ซุง ฟื น มีรายได้ทงั้ ปี 1,950,000 บาท
ข. วิสาหกิจชุมชน แม่ราพึง มีรายได้จากการขายทุเรียนทอด โดยทาแพ็คเก็ตสวยงามใน
ลักษณะเป็ นอุตสาหกรรม มีรายได้ทงั้ ปี 1,850,000 บาท
ค. บจ.นมโคสดแท้ ประกอบกิจการขายนมสด โดยบรรจุใส่ขวด ในลักษณะของอุตสาหกรรม มี
รายได้ทงั้ ปี 3,000,000 บาท
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก

อธิบาย ขายไม้ซุง, ขายทุเรียนทอดมีแพ็คเก็ตในลักษณะมั่นคงปิ ดถาวร จะไม่ได้รบั ยกเว้น vat


แต่นมสดที่มิได้แต่งสีกลิ่น รสใดๆ ได้รบั ยกเว้น vat
58. ข้อใดไม่ถือเป็ นการขาย ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
ก. ขายฝาก ข. แลกเปลี่ยน
ค. เช่าซือ้ ง. ให้
59. แบบคาขอจดแจ้งขอใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม คือ แบบใด
ก. ภ.พ. 01 ข. ภ.พ.02
ค. ภ.พ.04 ง. ภ.พ.01.1
60. แบบคาขอจดแจ้งขอใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษี มลู ค่าเพิ่ม (ภ.พ.01.1) สามารถยื่นก่อน
คาขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) ได้หรือไม่
ก. ได้ แต่ตอ้ งยื่นก่อนไม่เกิน 15 วัน
ข. ได้ แต่ตอ้ งยื่นก่อนไม่เกิน 30 วัน
ค. ได้ แต่ตอ้ งยื่นก่อนไม่เกิน 45 วัน
ง. ไม่ได้ ต้องยื่นพร้อมกับการยื่นแบบคาขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มเท่านัน้

อธิบาย ผูป้ ระกอบการที่ได้รบั การยกเว้น ภาษีมลู ค่าเพิ่มตามที่กาหนดในมาตรา 81/3 แห่ง


ประมวลรัษฎากร และประสงค์ขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม สามารถทาได้สาหรับ
ผูป้ ระกอบการ เหล่านี ้
2.1 ผูป้ ระกอบการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ตามมาตรา 81(1) (ก) ถึง (ฉ)
2.2 ผูป้ ระกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี
แบบฯ ที่ใช้ ได้แก่
[267]

(1) แบบ ภ.พ.01.1 คาขอแจ้งใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม


(2) แบบภ.พ.01 คาขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
กาหนดเวลายื่นขอแจ้งใช้สิทธิ์เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (แบบ
ภ.พ.01.1) คือ สามารถยื่นจดทะเบียนได้ในวันเดียวกันกับวันที่ย่นื แบบภ.พ.01 หรือยื่นก่อนจด
ทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม 30 วัน จากนัน้ ค่อยยื่น ภ.พ.01 ตามก็ได้

เฉลยแนวข้อสอบความรู้ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ
1 ค 16 ง 31 ข 46 ก
2 ก 17 ง 32 ก 47 ง
3 ข 18 ง 33 ก 48 ข
4 ข 19 ข 34 ข 49 ง
5 ง 20 ก 35 ค 50 ง
6 ง 21 ง 36 ง 51 ข
7 ง 22 ข 37 ข 52 ง
8 ค 23 ง 38 ค 53 ก
9 ค 24 ข 39 ข 54 ก
10 ค 25 ง 40 ง 55 ง
11 ง 26 ค 41 ข 56 ค
12 ค 27 ก 42 ก 57 ค
13 ก 28 ก 43 ค 58 ค
14 ง 29 ก 44 ก 59 ง
15 ง 30 ง 45 ก 60 ข
[268]

แนวข้อสอบ
ความรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์, ภาษีการรับมรดก, ภาษีธุรกิจเฉพาะ

1. กรณีใดต่อไปนี้ ไม่ต้องติดอากรแสตมป์
ก. สัญญาจ้างทำของ
ข. ข.หนังสือมอบอำนาจ
ค ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล
ง. เช่าซื้อนา เพื่อไว้ทำนา
2. สัญญาจ้างทำของที่องค์การรัฐบาล หรือส่วนราชการเป็นผู้ว่าจ้างต้องมีขั้นต่ำเท่าใด ที่ ก.ม.
กำหนดว่าต้องชำระเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากรเท่านั้น
ก. ตั้งแต่ 100,000 บาท ข. ตั้งแต่ 150,000 บาท
ค. ตั้งแต่ 200,000 บาท ง. ตัง้ แต่ 250,000 บาท
3. กรณีมอบอำนาจให้ คน 2 คน กระทำการแทน มากกว่าครั้งเดียว โดยต่างคน
ต่างกระทำกิจการแยกกันได้ ต้องติดอากรแสตมป์ในใบมอบอำนาจ อย่างไร
ก. 10 บาท ข. 30 บาท
ค. 60 บาท ง. 40 บาท
4. สัญญาค้ำประกัน กรณีมิได้จำกัดจำนวนไว้ เสียอากรแสตมป์เท่าใด
ก. 5 บาท ข. 10 บาท
ค 30 บาท ง. 100 บาท
5. ผู้ถูกเรียกเก็บเงินอากร เพิกเฉย หรือปฏิเสธ ไม่ยอมเสียอากร ต้องระวางโทษเท่าใด
ก. ปรับไม่เกิน 100 บาท ข. ปรับไม่เกิน 500 บาท
ค ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ง. ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

อธิบาย
มาตรา 124 ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ เพิกเฉยหรือปฏิเสธไม่เสียอากร
หรือไม่ขีดฆ่าแสตมป์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
6. อากรแสตมป์ จัดเก็บจากตราสารกี่ลักษณะ
ก. 25 ลักษณะ ข. 26 ลักษณะ
ค 27 ลักษณะ ง. 28 ลักษณะ
7. ตราสารทำขึ้นนอกประเทศ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ข. ผู้ทรงในต่างประเทศ เป็นผู้เสียอากร
ค ผู้ทำตราสารในต่างประเทศเป็นผู้เสียอากร
ง. ผู้ทรงตราสารในไทยคนแรก เป็นผู้เสียอากรแสตมป์
8. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่วิธีการเสียอากรแสตมป์
ก. การเสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับ
ข. การเสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุน
ค. การเสียอากรเป็นตัวเงิน
ง. การเสียอากรโดยผ่อนชำระ
[269]

อธิบาย
"ปิดแสตมป์บริบูรณ์" หมายความว่า
(1) ในกรณีแสตมป์ปิดทับ คือการได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษ ก่อนกระทำหรือในทันที
ที่ทำตราสารเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย และได้ขีดฆ่าแสตมป์นั้นแล้ว หรือ
(2) ในกรณีแสตมป์ดุน คือการได้เสียอากรโดยใช้กระดาษมีแสตมป์ดุนเป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่
ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว หรือโดยยื่นตราสารให้พนักงานเจ้าหน้าทีป่ ระทับแสตมป์ดุน และชำระเงินเป็น
จำนวนไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียและขีดฆ่าแล้ว หรือ
(3) ในกรณีชำระเป็นตัวเงิน คือการได้เสียอากรเป็นตัวเงิน เป็นราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสีย

9. การขอคืนอากรแสตมป์ ต้องขอคืนภายในระยะเวลาเท่าใด
ก. ภายใน 6 เดือนนับแต่วนั ที่เสียอากร ข. ภายใน 3 ปีนับแต่วันเสียอากร
ค ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่เสียอากร ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันเสียอากร

อธิบาย
มาตรา 122 ผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไม่น้อยกว่า 2 บาท สำหรับตราสาร
ลักษณะเดียว ให้ทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อพนักงานภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันเสีย
อากรหรือค่าเพิม่ อากร

10. อายุความการขอคืนอากรแสตมป์ กรณีที่ได้ขายอสังหาริมทรัพย์ และได้มีการชำระภาษี


ธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว คือ
ก. ภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดการยื่นแบบแสดงรายการ
ข. ภายใน 10 ปี นับแต่ที่ได้เสียอากรแสตมป์ไว้
ค. ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งได้ถูกภาษีเกินไป
ง. ไม่มีข้อถูก

อธิบาย
(โดยหลักคือ ถ้าชำระภาษีธรุ กิจเฉพาะ จะไม่มีการชำระอากรแสตมป์ ดังนั้น หากกรม
ที่ดินเรียกเก็บทั้งสองอย่าง ต้องขอคืนอากรแสตมป์ เพราะเป็นการชำระโดยไม่มีหน้าที่ชำระ)

11. การให้เช่าที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง โรงเรือน หรือแพ จำนวนตั้งแต่เท่าใด ที่ต้องเสียอากรแสตมป์เป็น


ตัวเงิน
ก. ตั้งแต่ 300,000 บาท ข. ตั้งแต่ 400,000 บาท
ค. ตั้งแต่ 500,000 บาท ง. ตัง้ แต่ 1 ล้าน บาท
12. ถ้ามิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เป็นเวลา ไม่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันต้องปิดแสตมป์บริบูรณ์
ต้องชำระเงินเพิ่มอากร อย่างไร
ก. 2 เท่าจำนวน อากรหรือเป็นเงิน 4 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
ข. 3 เท่าจำนวน อากรหรือเป็นเงิน 6 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
ค. 5 เท่าจำนวน อากรหรือเป็นเงิน 10 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
ง. 6 เท่าจำนวน อากรหรือเป็นเงิน 25 บาท แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
13. ผู้ใดมีหน้าที่เสียอากร หรือขีดฆ่าแสตมป์ แล้วปฏิเสธไม่เสียอากรหรือไม่ขีดฆ่า
[270]

อากรแสตมป์ มีโทษอย่างไร
ก. ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ข. ระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ค ระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ง. ระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
14. ข้อใด คือข้อเสียของตราสาร ที่ไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์
ก. จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
ข จะใช้สำเนาตราสาร เป็นพยานหลักฐาน ในคดีแพ่งไม่ได้
ค จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก สำเนาตราสาร เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาไม่ได้
ง ถูกทั้งข้อ ก และ ข
15. การทำตราสาร เป็นฐานการเสียภาษีประเภทใด
ก.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ข. อากรแสตมป์
ค. ภาษีการค้า
ง. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
16. ผูใ้ ดมีอำนาจอนุมัติให้ใช้หรือยกเลิกแสตมป์โดยกำหนดให้นำมาแลกเปลี่ยนกับแสตมป์ที่
ใช้ได้
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. อธิบดีกรมสรพากร
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ง. นายกรัฐมนตรี
17. ตราสารลักษณะที่ 1 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ คืออะไร
ก. เช่าที่ดนิ โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ
ข. เช่าซื้อทรัพย์สิน
ค. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
ง. จ้างทำของ
18. ตราสารลักษณะที่ 28 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ คืออะไร
ก. ใบมอบอำนาจ
ข. ใบมอบฉันทะ
ค. จำนำ
ง.ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตัง้ สิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในเมื่อนิตกิ รรมที่เป็น
เหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
19. ตราสารลักษณะที่ 23.”คูฉ่ บับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร” คือ ตราสารซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกัน
กับ ต้นฉบับ หรือต้นสัญญาและผู้กระทำตราสารได้ลงลายมือชื่อไว้ อย่างเดียวกับต้นฉบับ ข้อใดกล่าว
ถูกต้องเกี่ยวกับการเสียอากรแสตมป์
ก. ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท คู่ฉบับเสียอากร 1 บาท
ข. ถ้าต้นฉบับเสียอากร เกิน 5 บาท คู่ฉบับเสียอากร 5 บาท
ค. ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์ ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร
ง. ถูกทุกข้อ
20. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ก. เช่าทรัพย์สิน ทำ ไร่ นา สวน
ข. เช่าซื้อทรัพย์สินทำ ไร่ นา สวน
ค. ใบรับ สำหรับเงินที่ผู้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ
[271]

ง. ถูกทุกข้อ
21. ประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้อากรแสตมป์มีจำนวนเท่าใด ไม่ตอ้ งเสียอากร
ก. 1 บาท ข. 1.50 บาท
ค. 2 บาท ง. 2.50 บาท
22. “ตั๋วสัญญาใช้เงิน” เป็นตราสารลำดับที่เท่าใดแห่งบัญชีตราสารอากรแสตมป์
ก. ตราสารที่ 9 ข. ตราสารที่ 10
ค. ตราสารที่ 11 ง. ตราสารที่ 12
23. ตัว๋ สัญญาใช้เงินหรือตั๋วแลกเงิน เสียค่าอากรฉบับละกี่บาท
ก. ฉบับละ 3 บาท ข. ฉบับละ 5 บาท
ค. ฉบับละ 10 บาท ง. ฉบับละ 6 บาท
24. บริษัท นำเข้าหนัง จำกัด ได้เช่าที่ดิน จาก นายอำนวย เพื่อจัดทำโกดังเก็บสินค้าและวัตถุดิบ มี
ระยะเวลาเช่า 3 ปี จำนวน 305,500 บาท ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการชำระอากรแสตมป์
ก. ต้นฉบับ 304 บาท คู่ฉบับ 5บาท ข. ต้นฉบับ 305 บาท คู่ฉบับ 5บาท
ค. ต้นฉบับ 306 บาท คู่ฉบับ 5บาท ง. ต้นฉบับ 307 บาท คู่ฉบับ 5บาท

อธิบาย การเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษ


ของเงิน 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า

25. สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพได้ทำสัญญาจ้างกรมประชาสัมพันธ์โฆษณางานให้สำนักงานฯ โดย


สำนักงานฯ ต้องเสียค่าดำเนินการ เป็นเงินจำนวน 70,000 บาท ต้องปิดอากรแสตมป์หรือไม่
ก.ไม่ต้องเพราะสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพเป็นหน่วยงานราชการ ได้รับยกเว้น
ข. ไม่ต้องเพราะสัญญาจ้างเป็นการจ้างระหว่างส่วนราชการ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ค.ค่าดำเนินการ ไม่ใช่กิจการที่ต้องปิดอากรแสตมป์
ง. ไม่มีข้อใดถูก

อธิบาย : สัญญาจ้างดังกล่าว ถือเป็นการจ้างทำของ ตามลักษณะตราสาร 4. แห่งบัญชีอัตราอากร


แสตมป์ ผู้รับจ้างเป็นผู้มีหน้าที่เสียอากร แต่เนื่องจากผู้รับจ้างเป็นหน่วยงานราชการ ซึ่งเข้าลักษณะ
ฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นรัฐบาล กรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะองค์การของรัฐบาลที่ใช้ทุนหรือทุน
หมุนเวียนเพื่อประกอบการพาณิชย์ จึงไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ ตามมาตรา 121 แห่งประมวล
รัษฎากร

ใช้ตอบคำถามข้อ 26-27
บริษัทดำเนินกิจการให้กู้ยืมเงิน โดยผู้กู้ยืมต้องเอารถยนต์มาค้ำประกัน และให้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของ
บริษัทผู้ให้กู้ยืมผ่อนชำระคืนโดยมีทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยในแต่ละงวดเท่าๆ กัน เมื่อครบ
จำนวนต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผกู้ ู้
26.กรณีดังกล่าวบริษัทต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ก. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข.อากรแสตมป์
ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข ง. ธุรกิจเฉพาะ
27.กรณีดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเสียภาษีจากยอดใด
ก. ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อถึงกำหนด
ชำระราคาตามงวด ที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวด
[272]

อากรแสตมป์ สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินต้องเสียอากรแสตมป์ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท


หรือเศษของ 1,000 บาท ชำระอากรแสตมป์ 1 บาท
ข.ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อถึงกำหนดชำระ
ราคาตามงวด ทีถ่ งึ กำหนดชำระแต่ละงวด
อากรแสตมป์ สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินต้องเสียอากรแสตมป์ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท
หรือเศษของ 2,000 บาท ชำระอากรแสตมป์ 1 บาท
ค.ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อถึงกำหนดชำระ
ราคาตามงวด ที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวด
อากรแสตมป์ สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินต้องเสียอากรแสตมป์ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท
หรือเศษของ 3,000 บาท ชำระอากรแสตมป์ 1 บาท
ง.ภาษีมูลค่าเพิม่ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีและเสียภาษีมลู ค่าเพิ่ม เมื่อถึงกำหนดชำระ
ราคาตามงวด ที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวด
อากรแสตมป์ สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินต้องเสียอากรแสตมป์ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท
หรือเศษของ 10,000 บาท ชำระอากรแสตมป์ 1 บาท

อธิบาย : กรณีบริษัทได้รับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ถือเป็นการซือ้ ทรัพย์สนิ บริษัทไม่มีภาระภาษี


และกรณีที่บริษัทโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้กู้เมือ่ ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบีย้ จนครบ ถือว่าบริษัทนำ
ทรัพย์สนิ ดังกล่าวให้เช่าซือ้ บริษัทมีหน้าที่ดงั นี้
1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ตอ้ งออกใบกำกับภาษีและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อถึงกำหนด
ชำระราคาตามงวด ที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวด
2. อากรแสตมป์ สัญญาเช่าซือ้ ทรัพย์สินต้องเสียอากรแสตมป์ ทุกจำนวนเงิน 1,000
บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ชำระอากรแสตมป์ 1 บาท

28. ตราสารที่ต้องเสียอากรได้ทําขึ้นนอกประเทศให้เป็นหน้าที่ของผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศ
ไทย ต้องเสียอากร โดยปิดแสตมป์ครบจํานวนอากรและขีดฆ่าภายในกี่วัน
ก. 10 วัน ข. 14 วัน
ค. 60 วัน ง. 30 วัน
29. ข้อต่อไปนี้ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีอากรประเมิน
ข. ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมิน
ค. ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีอากรประเมิน
ง. อากรแสตมป์เป็นภาษีอากรประเมิน
30. สัญญาเช่ารถยนต์บรรทุก 100,000 บาท จะต้องเสียอากรแสตมป์เท่าใด
ก. 1,000 บาท
ข. 1,500 บาท
ค. 2,000 บาท
ง. ไม่เสียอากรแสตมป์แต่อย่างใด
[273]

31. กรณีที่บริษัท ก ทำสัญญารับเหมาก่อสร้ างอาคารชุด กับบริษัท ข. เป็นเงิน 560,000,000 เมื่อ


วันที่ 16 ก.ค. 2559 ระยะเวลาก่อสร้างจะเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2561 บริษัท ข จะติดแสตมป์
อากรเท่าใด
ก. ติดอากรแสตมป์ เป็นเงิน 280,000 บาท
ข. ติดอากรแสตมป์ เป็นเงิน 560,000 บาท
ค. ติดอากรแสตมป์ เป็นเงิน 30 บาท
ง. ไม่มีข้อถูก

32. ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตัว๋ สัญญาใช้เงิน เสียอากรแสตมป์


ฉบับละเท่าไร ใครเป็นผู้เสียและใครเป็นผู้ขีดฆ่า
ก. 3 บาท/ผู้ออกตั๋ว/ผู้สั่งจ่าย
ข. 3 บาท/ผู้ออกตั๋ว/ผู้ออกตั๋ว
ค. 3 บาท/ผู้สั่งจ่าย/ผู้ออกตั๋ว
ง. 3 บาท/ผู้สั่งจ่าย/ผู้สงั่ จ่าย
33. ภาษีประเภทใด ที่กรมสรรพากรได้รับมอบหมายให้จัดเก็บภาษีล่าสุด
ก. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค. ภาษีการรับมรดก ง. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
34. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก
ก. จัดเก็บภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
ข. จัดเก็บภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2557
ค. จัดเก็บภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2556
ง. จัดเก็บภาษีตาม พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2555
35. ข้อใดหมายถึง ภาษีการรับมรดก
ก. Inheritance Tax ข. Personal Income Tax
ค. Corporate Income Tax ง. Value Added Tax
36. นางสาวณดา ได้รับมรดกจากลุง เป็นบ้านพร้อมที่ดิน มูลค่าตามราคาตลาด 250 ล้านบาท
แต่มูลค่าในการ จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จำนวน 150 ล้านบาท นางสาวณดา ต้องเสียภาษี
มรดกจากฐานภาษีใด
ก. ฐานภาษีในการรับมรดกคือ 100 ล้านบาท
ข. ฐานภาษีในการรับมรดก คือ 150 ล้านบาท
ค. ฐานภาษีในการรับมรดกคือ 250 ล้านบาท
ง. ฐานภาษีในการรับมรดก คือ 50 ล้านบาท

อธิบาย กรณีมรดกที่ได้รับเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้ถือเอาตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียก


เก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินหักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิตาม
หลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎกระทรวง

37. จากข้อ 36 ข้างต้น นางสาวณดา ต้องเสียภาษีจำนวนเท่าใด


ก. นางสาวณดา เสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดก
ข. นางสาวณดา เสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดก
ค. นางสาวณดา เสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 1.5 ของมูลค่ามรดก
[274]

ง. นางสาวณดา เสียภาษีในอัตรา ร้อยละ 10.5 ของมูลค่ามรดก

38. นายคิม ได้รับมรดกจาก นายเคน (บิดา) ดังนี้


- เงินฝากในธนาคาร จำนวน 500 ล้านบาท
- เงินสด จำนวน 5 ล้านบาท
ถามว่า นายคิม ต้องนำเงินได้อะไรบ้างมายื่นแบบเพื่อเสียภาษี
ก. เงินฝากธนาคาร 500 ล้านบาท โดยนำส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท มาคำนวณภาษี
ร้อยละ 5
ข. เงินฝากธนาคาร 500 ล้านบาท, เงินสด จำนวน 5 ล้านบาท โดยนำส่วนที่เกิน
100 ล้านบาท มาคำนวณภาษี ร้อยละ 5
ค.เงินสด 5 ล้านบาท และไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก เนื่องจากไม่เกิน 100 ล้าน
ง.เงินฝากธนาคาร 500 ล้านบาท และนำส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท มาคำนวณภาษี
ร้อยละ 10

อธิบาย มีหน้าที่เสียภาษีมรดก ต้องคํานวณภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่เกิน


100 ล้านแต่ถ้าผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการี/ผู้สบื สันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5
• กรณีรับมรดกเป็นเงินฝาก ที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบัน
การเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
ฉะนั้น เงินสดในมือ จึงไม่ถือเป็นเงินที่นำมาคำนวณภาษีการรับมรดก
• กรณีรับมรดกเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้ถอื เอาตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของ
อสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมาย
ที่ดิน หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในกฎกระทรวง

39. แบบ ภ.ม.60 หมายถึงแบบใด


ก. หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
ข. หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ
ค. หนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนทุพพลภาพ
ง. แบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก ตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
40. การจัดเก็บภาษีการรับมรดก เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด
ก. กรมสรรพสามิต
ข. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ค. กรมสรรพากร
ง. กรมธนารักษ์
41. ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีการรับมรดก จะต้องยื่นแบบภายในกี่วัน
ก. 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดกนับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่ง มีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท
ข. 140 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดกนับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่ง มีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท
ค. 130 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดกนับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่ง มีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท
ง. 120 วัน นับแต่วันที่รับมรดกนับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่ง มีมลู ค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท
[275]

42. นายอำแดง ได้รับมรดกจากนายอำพล (บิดา) เป็นบ้านพร้อมที่ดินตัง้ อยู่ประเทศเกาหลีใต้ 180


ล้านบาท , เงินสด 110 ล้านบาท และพระเครื่อง 30 ล้านบาท อยากทราบว่า มูลค่าของฐานภาษี
การรับมรดกคือ จำนวนใด
ก. 210 ล้านบาท ข. 110 ล้านบาท
ค. 80 ล้านบาท ง. 120 ลานบาท
43. Mr. Adam คนสัญชาติอเมริกา (ไม่มีสัญชาติไทย) ได้รับมรดกเป็นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย จำนวน 130 ล้านบาท (รับมรดก วันที่ 15 มีนาคม 2561) และได้รับมรดกที่เป็นเงิน
ฝากธนาคารในต่างประเทศอีก จำนวน 53 ล้านบาท อยากทราบว่า มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก
จากฐานใด
ก. 130 ล้านบาท ข. 83 ล้านบาท
ค. 30 ล้านบาท ง. 53 ล้านบาท

อธิบาย หุ้นในไทย 130 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท เป็นเงิน 30 ล้านบาท


ส่วนเงินฝากธนาคารอยู่ที่ต่างประเทศ ไม่จำต้องเสียภาษีมรดกแต่อย่างใด
-
44. นายอาร์ม ได้รับมรดกจาก นายอ๋า (บิดา) เป็นบ้านพร้อมที่ดิน 150 ล้านบาท , เงินสด 50 ล้าน
บาท นายอาร์ม ต้องจ่ายภาษีมรดก จำนวนเท่าใด
ก. 5,000,000 บาท ข. 2,500,000 บาท
ค. 10,000,000 บาท ง. 5,000,000 บาท

อธิบาย ฐานภาษีการรับมรดก คือ บ้านพร้อมที่ดิน 150 ล้าน เท่านั้น เพราะเงินสด ไม่ได้อยู่ใน


บังคับต้องเสียภาษีการรับมรดก
ฐานภาษีคือ 150 ล้าน - 100 ล้าน คงเหลือ 50 ล้าน (นำไปชำระภาษี)
50,000,000 x 5% จำนวน 2,500,000 บาท
(ปกติอัตราภาษี ร้อยละ 10 แต้ถ้าผู้รับมรดก เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน ลดลงเหลือ ร้อยละ 5)

45. ดช.อันปัน ได้รับมรดกจากจากคุณตา โดยพินัยกรรม เป็นเงินฝากในธนาคารออมสิน จำนวน


120 ล้านบาท อยากทราบว่าใครมีหน้าที่ยื่นภาษีการรับมรดกแทน
ก. ผู้แทนโดยชอบธรรม ข. ผู้อนุบาล
ค. ผู้พิทักษ์ ง. ยื่นด้วยตนเอง
46. การรับมรดกในข้อใดไม่ต้องเสียภาษีมรดก
ก. เงินสด ทองคำ
ข. รถยนต์ รถจักรยานยนต์
ค. ที่ดิน ห้องแถว
ง. เงินฝากในบัญชีธนาคารกรุงไทย และธนาคารออมสิน
47. การรับมรดกข้อใด ต้องเสียภาษีมรดก
ก. เงินสด ทองคำแท่ง ที่ฝากไว้กับตู้เก็บของธนาคาร
ข. รถยนต์ รถจักรยานยนต์
ค. ทองรูปพรรณ เงินสด
ง. สร้อยทับทิมและแหวนเพชร
[276]

อธิบาย : มรดกซึ่งต้องเสียภาษี ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้


1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน โรงเรือน
2. หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นต่างๆ
3. เงินฝากหรือเงินอืน่ ใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือสิทธิเรียกร้องจาก
สถาบัน
การเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้ (ไม่รวมถึงเงินสดที่เก็บไว้เองในมือ)
4. ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์
5. ทรัพย์สนิ ทางการเงินทีก่ ำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา
ทรัพย์สินนอกจากที่ระบุข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเพชร ทองรูปพรรณ ทองคำแท่ง อัญมณี
ต่างๆ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีการรับมรดก

48. นางสาวญาณิศา ได้รับมรดกจากบิดา ดังนี้


- พันธบัตรรัฐบาล มูลค่า 50 ล้านบาท
- หลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสิงคโปร์ 200 ล้านบาท
- ทองคำแท่ง 10 ล้านบาท
อยากทราบว่า นางสาวญาณิศา ต้องนำมูลค่าใดมาเป็นฐานในการเสียภาษีการรับมรดก
ก. 150 ล้าน ข. 160 ล้านบาท
ค. 60 ล้านบาท ง. 200 ล้านบาท
49. นายสินธร เป็นลูกของนางสินใจ ในปี 2561 นางสินใจเสียชีวิต เป็นผลให้นายสินธร ได้รับมรดก
ดังนี้
- ทองคำแท่ง 100 ล้านบาท
- รถปอร์เช่ 75 ล้านบาท
- พันธบัตรรัฐบาลเวียดนาม 50 ล้านบาท
- เงินฝากในธนาคารประเทศจีน 35 ล้านบาท
- เงินสด 3 ล้านบาท
อยากทราบว่า ทรัพย์สนิ ใดบ้างเข้าข่ายการเสียภาษีการรับมรดก
ก. ทองคำแท่ง รถปอร์เช่ บ้านพร้อมที่ดิน เงินสด
ข. รถปอร์เช่ พันธบัตรรัฐบาลเวียดนาม บ้านพร้อมที่ดิน เงินฝากในธนาคารประเทศจีน
ค. พันธบัตรรัฐบาลเวียดนาม บ้านพร้อมที่ดิน ทองคำแท่ง รถปอร์เช่
ง.พันธบัตรรัฐบาลเวียดนาม บ้านพร้อมที่ดิน ทองคำแท่ง เงินสด
50. จากข้อ 49. อยากทราบว่านายสินธร ต้องชำระภาษีมรดกจากฐานมูลค่าใด
(มูลค่าหลังหัก 100 ล้านบาท)
ก. 50 ล้านบาท ข. 60 ล้านบาท
ค. 70 ล้านบาท ง. 80 ล้านบาท
51. จากข้อ 49. นายสินธร ต้องชำระภาษีการรับมรดก จำนวนเท่าใด
ก. 3 ล้านบาท ข. 4 ล้านบาท
ค. 5 ล้านบาท ง. 6 ล้านบาท
52. จากข้อ 49. นายสินธร ต้องยื่นแบบใดในการเสียภาษีการรับมรดก
ก. แบบ ภ.ง.ด.50 ข. แบบ ภ.ม.60
ค. แบบ ภ.ม.70 ง. แบบ ภ.ม.06
53. มูลค่าของฐานมรดก หมายถึงข้อใด
[277]

ก. มูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นทีไ่ ด้รบั เป็นมรดกหักด้วยภาระหนีส้ นิ อันตกทอดมาจากการรับมรดกนั้น


ข. มูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นทีไ่ ด้รบั เป็นมรดกก่อนหักด้วยภาระหนี้สนิ อันตกทอดมาจากการรับ
มรดกนั้น
ค. มูลค่าของทรัพย์สิน ที่ยังไม่หักภาระผูกพันใด ๆ
ง. ถูกเฉพาะข้อ ข และ ค
54. การกำหนดมูลค่ามรดกขึ้นใหม่ ต้องตราเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. พระราชกำหนด ง. ประกาศกระทรวงการคลัง
55. นางสาวดากานดา ได้รับมรดกจากมารดา เป็นอาคารพร้อมที่ดิน มีมูลค่า 150 ล้านบาท แต่
ในขณะที่แม่มีชีวิตอยู่ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารและจำนองอสังหาริมทรัพย์นนั้ เป็นประกัน มีภาระ
หนีส้ ินทัง้ สิ้น 120 ล้านบาท อยากทราบว่า มูลค่ามรดกที่นางสาวดากานดา ได้รับมีจำนวนเท่าใด
ก. 150 ล้านบาท ข. 120 ล้านบาท
ค. 30 ล้านบาท ง. 40 ล้านบาท

อธิบาย 150 ล้านบาท – ภาระหนีส้ ิ้น 120 ล้านบาท


56. จากข้อ 55. น.ส.ดากานดา ต้องเสียภาษีการรับมรดกจากฐานใด
ก. 150 ล้านบาท
ข. 120 ล้านบาท
ค. 30 ล้านบาท
ง. ไม่ต้องเสียเสียเพราะมูลค่ามรดกที่ได้รับ ไม่เกิน 100 ล้านบาท
57. นางสาวจับใจ รับมรดกจากพี่ชาย (เป็นโสดและเสียชีวิต) เป็นกรรมสิทธิ์ในอาคารชุด 150 ห้อง
มูลค่า 300 ล้านบาท แต่ในระหว่างมีชีวิต พี่ชายได้จำนองเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ในธนาคาร
100 ล้านบาท อยากทราบว่า มูลค่ามรดกที่นางสาวจับใจได้รับเป็นมูลค่าใด (มูลค่าก่อนหัก 100
ล้านบาท)
ก. 100 ล้านบาท ข. 200 ล้านบาท
ค. 300 ล้านบาท ง. 150 ล้านบาท

➢ 300 ล้าน – ภาระผูกพันจากการประกันหนี้ 100 ล้าน คงเหลือ 200 ล้าน

58. จากข้อ 55 อยากทราบว่า มูลค่าของฐานภาษีการรับมรดก คือจำนวนใด


ก. 100 ล้านบาท ข. 200 ล้านบาท
ค. 300 ล้านบาท ง. 150 ล้านบาท

➢ ฐานภาษีคือ ส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับ


มูลค่ามรดกสุทธิ 200 ล้าน – 100 ล้านบาท = 100 ล้านบาท

59. นายวิทย์ รับมรดก จากคุณตา ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2560 ยกหุ้นให้ จำนวน 120
ล้านบาท โดยได้ทยอยให้หุ้นดังกล่าวดังนี้ ปี 2560 มูลค่า 50 ล้านบาท ปี 2561 ได้รับหุ้นดังกล่าว
อีก 40 ล้านบาท และรับหุ้นงวดสุดท้ายในวันที่ 15 มีนาคม 2562 อีกจำนวน 30 ล้านบาท อยาก
ทราบว่า ในปี 2562 ต้องชำระภาษีหรือไม่ อย่างไร
ก. ไม่ต้องเสีย เพราะรับเพียง 30 ล้านบาท
[278]

ข. ไม่ต้องเสีย เพราะไม่เกิน 100 ล้านบาท


ค. ต้องเสีย เพราะการรับหุ้น ตั้งแต่ปี 2560 – 2562 รวมแล้ว 120 ล้านบาท เกินมูลค่า
100 ล้านบาทแล้วและต้องเสียภาษีการรับมรดกจากจำนวน 20 ล้านบาท
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข

60. วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 น.ส.ดวงฤทัย ได้รับมรดก จากบิดา ซึ่งเสียชีวิต เป็นเงินฝาก


ธนาคาร 90 ล้านบาท และเมื่อ 25 พฤศจิกายนปีเดียวกัน ได้รับมรดกจากคุณยายเป็นบ้านพร้อม
ที่ดนิ อีก 25 ล้านบาท อยากทราบว่า น.ส.ดวงฤทัย ต้องเสียภาษีการรับมรดกจากฐานใด
ก. 115 ล้านบาท
ข. 15 ล้านบาท
ค. 90 ล้านบาท
ง. ไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากเป็นการรับมรดกจากเจ้ามรดกต่างรายกัน จะไม่นำมารวม
เป็นฐานภาษีการรับมรดก

อธิบาย ภาษีการรับมรดก ต้องนำยอดรวมของมรดกที่รับจากเจ้ามรดกรายเดียวกันมาเป็นฐานในการ


คำนวณภาษี จากโจทย์มูลค่ามรดกที่รับจากพ่อและยาย ไม่เกิน 100 ล้านบาทซักคนและจะไม่นำยอดรวมที่รับ
จากพ่อและยายมารวมกัน เพราะรับมรดกต่างรายกัน

61. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพระราชบัญญัตภิ าษีการรับมรดก พ.ศ. 2558


ก. พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บงั คับแก่ มรดกที่เจ้ามรดกตายก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
ข. พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บงั คับแก่ มรดกที่คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับจากเจ้ามรดก
ค. ภาษีการรับมรดกเกิดขึ้น เมื่อเจ้ามรดกตายเท่านั้น
ง. ถูกทุกข้อ
62. ข้อใดเป็นภาษีทางตรง
ก. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (value added tax)
ข. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (specification business tax)
ค. ภาษีการรับมรดก (inheritance tax)
ง. อากรแสตมป์ (stamp duty)
63. นายฮาน จดทะเบียนสมรสกับนางวา มีบุตร 1 คน คือ น.ส.ยาหยี ต่อมานายฮาน เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ
ล้มเหลว เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2562 มีมรดกตกทอดแก่ทายาทรวม จำนวน 220 ล้านบาท (หลังจากการแบ่ง
สินสมรสแล้ว) ให้นางวา และ น.ส.ยาหยี คนละ 110 ล้าน อยากทราบว่านางวา และ น.ส. ยาหยี ต้องเสียภาษี
มรดก จำนวนเท่าใด
ก. เสียภาษีเท่ากัน คือ คนละ 500,000 บาท
ข. นางวา เสียภาษี 500,000 บาท น.ส. ยาหยี เสียภาษี 1,000,000 บาท
ค. นางวา ไม่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นภรรยาจดทะเบียนสมรส ส่วน น.ส.ยาหยี เสียภาษี 500,000 บาท
ง. เสียภาษีเท่ากัน คือ คนละ 1,000,000 บาท

อธิบาย อัตราภาษีมรดกที่ต้องเสียจะคิดเฉพาะมูลค่ามรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ตามอัตรา ดังนี้


1. เสียภาษีมรดก 5% สำหรับบุพการีและผูส้ ืบสันดาน
- บุพการี ได้แก่ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด
- ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ บุตรบุญธรรม บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
[279]

2. เสียภาษีมรดก 10% สำหรับคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่บุพการีและผู้สืบสันดาน


กรณีที่ไม่ต้องเสียภาษีมรดก ได้แก่
1. ได้รับมรดกมูลค่ารวมกันไม่เกิน 100 ล้านบาท
2. เป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายกับเจ้าของมรดก
3. ได้รับมรดกจากเจ้าของมรดกที่เสียชีวิตก่อนวันที่กฎหมายบังคับใช้ (ภาษีมรดก บังคับใช้เมื่อวันที่
1 กุมภาพันธ์ 2559)
4. นำมรดกไปใช้เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษา สาธารณประโยชน์
5. ผู้รับมรดกเป็นหน่วยงานของรัฐ และนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อกิจการศาสนา
กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์
6. ผู้รับมรดกเป็นองค์กรระหว่างประเทศตามข้อผูกพัน

64. พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก มีผลใช้บังคับเมื่อใด


ก. 1 กุมภาพันธ์ 2559 ข. 2 กุมภาพันธ์ 2559
ค. 1 มีนาคม 2559 ง. 2 มีนาคม 2559
65. ผู้ใดต่อไปนี้ ไม่มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก
ก. นายจริงใจ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข. นางตะวันฉาย เป็นเหลนของเจ้ามรดก ได้รับมรดก จากพินัยกรรม
ค. นางอันนา ได้รับมรดกจากสามี ที่เสียชีวิต
ง. นายอำนาจ ได้รับมรดกจากพี่ชายร่วมบิดาเดียวกัน

อธิบาย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ ผู้รับมรดก (ในฐานะทายาทโดยธรรมและในฐานะ


ผู้รับพินัยกรรม) อนึ่ง ทายาทโดยธรรม หมายถึง ทายาทตาม ม.1629 วรรคหนึ่ง แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ซึ่งมี 6 ลำดับ) ส่วนคู่สมรส (ตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
กำหนดไว้ใน ม.5 ว่าไม่มีหน้าที่เสียภาษี)

66. กรณีที่ผู้รับมรดกเป็นบุคคลธรรมดา จะมีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกตามข้อใด


ก. บุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ข. บุคคลมิได้มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยตาม ก.ม.ว่าด้วยคนเข้าเมือง
ค. บุคคลมิได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
ง. ถูกทุกข้อ
67. กรณีที่ผู้รับมรดกเป็นนิติบุคคล จะมีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ตามข้อใด
ก. นิติบุคคลต้องตั้งขึ้นและจดทะเบียนตาม ก.ม.ไทย
ข. นิติบุคคลนั้น ต้องมีผู้มีสญ
ั ชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว
ในขณะมีสิทธิ รับมรดก
ค. นิติบุคคลนั้น มีผู้มีสัญชาติไทย มีอำนาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีอำนาจจัดการ
ทั้งหมด
ง. ถูกทุกข้อ
68. นายดวงดี มีสัญชาติไทยแต่อยู่ที่ประเทศอังกฤษได้รับมรดกจากนายหาญ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อวันที่
25 พฤษภาคม 2561 เป็นหุ้นที่ประเทศไทย 95 ล้านบาท และเงินฝากอยู่ที่ประเทศอังกฤษ 50
ล้านบาท โดยได้รับทรัพย์สินดังกล่าว ในวันที่ 2 มกราคม 2562 อยากทราบว่า นายดวง ต้องเสีย
ภาษีการรับมรดกในไทยหรือไม่
[280]

ก. ต้องเสีย เพราะ มีสัญชาติไทย


ข. ต้องเสีย เพราะมีถิ่นทีอ่ ยูใ่ นไทย
ค. ไม่ต้องเสีย เพราะมีถิ่นที่อยู่ในอังกฤษ
ง. ไม่ต้องเสีย เป็นหน้าที่ของกองมรดก
69. จากข้อ 68 นายดวงดี ต้องเสียภาษีการรับมรดกหรือไม่ ถ้าเสียต้องเสีย จากมูลค่าใด
ก. ไม่ต้องเสีย เพราะเงินได้ที่รับในไทย มีเพียง 95 ล้านบาท ไม่เกิน 100 ล้านบาท
ข. ต้องเสียจากมรดกที่ส่วนเกิน 100 ล้านบาท จำนวน 45 ล้านบาท
ค. ไม่มีข้อใดถูก
ง. ไม่ตอ้ งเสียเพราะถิ่นที่อยู่ อยู่ที่ประเทศอังกฤษ

➢ ฐานภาษีคือ 145 ล้าน – 100 ล้าน

70. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ อัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ


ก. ร้อยละ 0.1 ข. ร้อยละ 2.5
ค. ร้อยละ 3.5 ง. ร้อยละ 3
71. ข้อใดหมายถึง ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก.Stamp duty ข. Specific business tax
ค. Petro Income Tax ง. Withholding tax
72. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องมีจำนวนเงินขั้นต่ำเท่าใด จึงต้องชำระต่อกรมสรรพากร
ก. 1 บาท ข. 5 บาท
ค. 10 บาท ง. 100 บาท
73. การขายอสังหาริมทรัพย์ขอ้ ใด ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก.การขายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตร
ข. การขายห้องชุดคอนโดมิเนียมของนิติบุคคลอาคารชุด
ค.การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลา 4 ปี
ง.การโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้บุตรบุญธรรม

อธิบาย
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียน
ราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ กการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็น
สถานที่อยู่อันเป็นแหล่งสำคัญ

74. ฐานภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง คือฐานภาษีใดบ้าง


ก. ดอกเบี้ย ข. ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ
ค. ส่วนลด ง.ถูกทุกข้อ
75. ซื้ออสังหาริมทรัพย์ โอนเงินกันในราคา 600,000 บาท แต่ราคาประเมินของกรมที่ดิน ราคา
400,000 บาท ดังนี้ราคาใดเป็นราคาที่ใช้คำนวณในการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก. 400,000 บาท ข. 500,000 บาท
ค. 600,000 บาท ง. ไม่มีข้อใดถูก

อธิบาย
[281]

– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ใช้ราคาประเมินที่ใช้การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน
เสมอ
- ภาษีธรุ กิจเฉพาะ มาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น รายรับที่ใช้เป็นฐานภาษีในการ
คำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะต้องใช้ราคาที่ได้รับ หรือราคาตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน หรือราคาประเมิน
ทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็น
ราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอน แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

76. การให้บริการของธนาคาร ประเภทใดต่อไปนี้ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ


ก. การให้เช่าตู้นิรภัย ข. การให้ใช้บัตรเครดิต
ค. การให้สินเชื่อเพื่อที่อยูอ่ าศัย ง. การให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ
77. กิจการธนาคารใด ที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ข. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย
ค. ธนาคารนําขำาและส่งออก บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ง. ถูกทุกข้อ
78. ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บภาษีอย่างไร
ก. อัตราก้าวหน้า ข. อัตราถดถอย
ค. อัตราคงที่ ง. ถูกทุกข้อ
79. การให้บริการของกิจการธนาคารประเภทใด ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก. การให้บริการใช้บัตรเครดิต
ข. การให้เช่าตู้นิรภัย
ค. การให้สินเชือ่ เพื่อที่อยู่อาศัย
ง. การให้บริการที่ปรึกษาทางธุรกิจ
80. ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษธุรกิจเฉพาะ จะต้องจดทะเบียนภาษี
ธุรกิจเฉพาะภายในเวลากำหนดใด
ก. ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
ข. ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเริ้มประกอบกิจการ
ค. ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
ง. ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันเริ้มประกอบกิจการ

81. ภาษีธุรกิจเฉพาะใช้แทนภาษีใด
ก. ภาษีการค้า ข. ภาษีบำรุงเทศบาล
ค. ภาษีบำรุงท้องที่ ง. ภาษีจังกอบ
82.ภาษีธุรกิจเพาะ บังคับใช้พร้อมกันกับภาษีประเภทใด
ก. ภาษีการค้า ข. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ง. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
83. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก. เป็นภาษีทางอ้อม เก็บจากฐานการบริโภค
ข. คำนวณจากรายรับหรือพึงได้รับจากกิจการเฉพาะอย่างที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น
ค. หากกิจการใดเข้าข่ายชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ จะไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มอีก
ง. ถูกทุกข้อ
[282]

84. ผู้ใด มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ


ก. บุคคลธรรมดา ข. คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
ค. บริษัทจำกัด ง. ถูกทุกข้อ
85.ข้อใดต่อไปนี้ ไม่มีหน้าทีต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก. การรับจำ ข. การให้บริการรับส่งเงินไปต่างประเทศ
ค. บุคคลธรรมดาถูกเวนคืนที่ดิน ง. การรับประกันวินาศภัย
86.การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร หมายถึง การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจด
ทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อยากทราบว่า การดำเนินการตามข้อใดถือเป็นการขายสังหาริมทรัพย์
เป็นทางการค้าหรือหากำไร
ก. นางเบญจา ขายที่ดินจัดสรร
ข. นางเบญญา ขายที่ดินที่ได้รับมาโดยทางมรดก
ค. นายบำนาญ ขายบ้านที่อยู่อาศัยมา แล้วว 2 ปี เพราะน้ำท่วม
ง. นายบำเหน็จ โอนที่ดิน ให้กับ นายอ่ำ บุตรชาย
87. กิจการใดที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ก. การให้เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร ข. การให้บริการบัตรเครดิต
ค. ที่ปรึกษาการลงทุน ง. ถูกทุกข้อ

อธิบาย กิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ต้องเสีย


ภาษีมูลค่าเพิม่ มีดังนี้
- การให้บริการเช่าสังหาริมทรัพย์
- การให้บริการใช้บัตรเครดิต
- การให้บริการที่ปรึกษาการลงทุน
- การให้เช่าซื้อทรัพย์สิน
- การให้บริการสนายหน้าหน้าหรือตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์
- การให้บริการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์

88. การจะเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องครบองค์ประกอบใดบ้าง


ก. เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคล
ข. ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค.ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
ง. ถูกทุกข้อ
89. กิจการใดไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก . สหกรณ์ออมทรัพย์ ให้สมาชิกกู้ยืมเงิน
ข. กิจการของธนาคารเพื่อส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ค. บริษัท ค้าที่ดิน จำกัด รับจำนองบ้านพร้อมที่ดิน มีรายได้จากดอกเบีย้
ง. กิจการของกองทุนการออมแห่งชาติ
90. กิจการใดไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
ก. การรับไถ่บ้านพร้อมที่ดินภายในกำหนดเวลาขายฝาก
ข. การขายบ้านพร้อมที่ดิน โดยระยะเวลาการได้มานัน้ ไม่เกิน 5 ปี
ค. กิจการของโรงรับจำนำ
ง. กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
[283]

91. โรงรับจำนำ ใช้อะไรเป็นฐานในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ


ก. ดอกเบี้ยจากการรับจำ
ข. เงินที่ได้รับ เนื่องจากการขายของที่จำนำหลุดเป็นสิทธิ
ค. ค่าตอบแทนที่ได้รับ เนือ่ งจากการขายของที่จำนำหลุดเป็นสิทธิ
ง. ถูกทุกข้อ

อธิบาย ฐานภาษี SBT ของโรงรับจำนำ


– ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม
- เงิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากการขายของจำนำที่หลุดเป็นสิทธิ
- อัตราภาษี ร้อยละ 2.5
92. นายศรีธนญชัย ทำธุรกิจรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ เฃ่น บ้านพร้อมที่ดิน , ที่ดิน , อาคาร ฯลฯ
ในเดือนมิถุนายน 2562 มีดอกเบี้ยที่ได้รับจำนวน 83,000 บาท ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่
ก. ต้องเสีย เพราะประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในราชอาณาจักร
ข. ไม่ต้องเสีย เพราะ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้เสีย
ค. รายรับไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ ก.ม.กำหนดให้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ง. ไม่มีข้อใดถูก

อธิบาย ดอกเบี้ยรับ จากการรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ เกิดจากการประกอบกิจการในราชอาณาจักร


และเป็นธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

93. จากข้อ 92 นายศรีธนญชัย ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จำนวนเท่าใด


ก. 2,490 บาท ข. 2,739 บาท
ค. 2,839 บาท ง. 2,539

อธิบาย ดอกเบี้ยรับ 83,000


- ภาษีธุรกิจเฉพาะ 2,490 บาท
- ภาษีท้องถิ่น (ภท.รข.รว.) อีก ร้อยละ 10 249 บาท
รวมภาษีต้องชำระ 2,739 บาท
94. จากข้อ 92 นายศรีธนญชัย ต้องยืน่ แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะทางอินเทอร์เน็ต ด้วย
แบบใด และภายในวันที่ใด
ก. แบบ ภ.ธ.40 ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2562
ข. แบบ ภ.ธ.40 ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2562
ค. แบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2562
ง. แบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2562

อธิบาย กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ปกติแล้วภายในวันที่ 15 ของ


เดือนถัดไป แต่ถ้ายื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต สามารถขยายกำหนดเวลาได้อีก 8 วัน (โดยไม่ถือว่า เป็น
การยื่นแบบฯ เกินกำหนดเวลา)

95. ธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากฐานใด และอัตราภาษีเท่าใด


[284]

ก. ฐานรายรับก่อนหักรายจ่าย / อัตราภาษีร้อยละ 3
ข. ฐานดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ/ อัตราภาษีร้อยละ 3
ค.ฐานดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ/ อัตราภาษีร้อยละ 2.5
ง.ฐานรายรับก่อนหักรายจ่าย / อัตราภาษีร้อยละ 2.5
96.ธุรกิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก กลต. ต้อง เสียภาษีธุรกิจเฉพาะจาก
ฐานใด และอัตราภาษีเท่าใด
ก. กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ รวมถึงดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ได้จากหลักทรัพย์ /
อัตราภาษีร้อยละ 3
ข. กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ไม่รวม ดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ได้จากหลักทรัพย์ /
อัตราภาษีร้อยละ 2.5
ค.กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ไม่รวมดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ได้จากหลักทรัพย์ /
อัตราภาษีร้อยละ 3
ง.กำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ รวม ดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ได้จากหลักทรัพย์ /
อัตราภาษีร้อยละ 2.5
97.ในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องมีภาษีท้องถิ่น (ภ.ท. ร.ข. หรือ รว. ด้วย) อยากทราบว่า
ภาษีท้องถิ่นดังกล่าว ต้องชำระในอัตราใดและจากยอดคำนวณใด
ก. ร้อยละ 5 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ ทีค่ ำนวณได้
ข. ร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะที่คำนวณได้
ค. ร้อยละ 0.5 ของภาษีที่ธุรกิจเฉพาะที่คำนวณได้
ง. ร้อยละ 0.1 ของภาษีที่ธุรกิจเฉพาะที่คำนวณได้
98. บริษัท อาคารสรรสร้าง จำกัด ประกอบกิจการรับจัดสรรที่ดินขาย ในเดือน ธันวาคม 2562 มี
รายรับจากการขายที่ดิน (ก่อนหักรายจ่าย) จำนวน 8,100,000 บาท แต่ราคาประเมินที่ใช้ในการจด
ทะเบียนสิทธิฯ ของกรมที่ดิน ราคา 5,000,000 บาท ภาษีธุรกิจเฉพาะที่ต้องชำระคือ....
ก. 243,000 บาท ข. 267,300 บาท
ค. 24,300 บาท ง. 25,700 บาท
99. จากข้อ 98 ภาษีท้องถิ่น มีจำนวนเท่าใด
ก. 243,000 บาท ข. 267,300 บาท
ค. 24,300 บาท ง. 25,700 บาท
อธิบาย SBT จากการขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ใช้ราคาเปรียบเทียบระหว่างราคาขาย(ราคาตลาดที่ซื้อ
ขายกันจริง ) กับ ราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ ราคาใดใช้ราคานั้น
ดังนี้ จึงใช้ราคา 8,100,000 บาท
-ภาษีธุรกิจเฉพาะ 243,000
-ภาษีท้องถิ่น (ร้อยละ 10 ของ SBT) 24,300
รวมภาษีที่ต้องชำระ 267,300

100. จากข้อ 98 หากบริษัท อาคารสรรสร้าง จำกัด ยื่นแบบ ภ.ธ.40เกินกำหนดเวลา จะต้องชำระ


ภาษีตามข้อใด
ก. ภาษี
ข. ภาษี + เงินเพิ่ม
ค. ภาษี + เงินเพิ่ม+เบี้ยปรับ
ง. ภาษี + เงินเพิ่ม+เบี้ยปรับ และโทษทางอาญา กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา
[285]

101. กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์เปนทางค้าหรือหากำไร ต้องยื่นแบบแสดงรายการใด เมื่อใด


ก. ยื่น ภ.ธ.40พร้อมกับชำระภาษีในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ข. ยืน่ ภ.ธ.04พร้อมกับชำระภาษีในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ค. ยื่น ภ.ธ.09พร้อมกับชำระภาษีในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงาน
เจ้าหน้าทีผ่ ู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ง. ยื่น ภ.ธ.01พร้อมกับชำระภาษีในขณะจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
102. ภ.ธ.40 หมายถึงข้อใด
ก. ใบทะเบียภาษีธุรกิจเฉพาะ ข. ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค. ใบแทนภาษีธุรกิจเฉพาะ ง. ใบแทนภาษีมูลค่าเพิ่ม
103. ผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะตามแบบใด
ก. ภ.ธ.01 ข. ภ.ธ.02
ค. ภ.ธ.04 ง. ภ.ธ.09
104. นายจักรินทร์ เป็นผู้ประกอบภาษีธุรกิจเฉพาะต้องการแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ที่ใช้ในการประกอบ
กิจการ ต้องยื่นคำขอตามแบบใด
ก. ภ.ธ.01 ข. ภ.ธ.02
ค. ภ.ธ.04 ง. ภ.ธ.09
105. นายอรรถชัย เป็นผู้ประกอบภาษีธุรกิจเฉพาะ ทำใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะสูญหายต้องยืน่ คำ
ขอตามแบบใดเพื่อขอรับใบแทน
ก. ภ.ธ.01 ข. ภ.ธ.02
ค. ภ.ธ.04 ง. ภ.ธ.09

อธิบาย
กรณีใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ผูป้ ระกอบ
กิจการจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบ ภ.ธ.04 ณ หน่วยจด
ทะเบียน ที่ได้จดทะเบียนฯ ไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด
ในกรณีใบทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะชำรุด จะต้องแนบใบทะเบียนภาษีธรุ กิจเฉพาะ ที่ ชำรุด
มาพร้อมกับแบบ ภ.ธ.04
แบบคำขอต่าง ๆ
- ภ.ธ.01 แบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภ.ธ.02 แบบคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน
- ภ.ธ.02.1 แบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงการยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน
- ภ.ธ.04 แบบคำขอรับใบแทนทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภ.ธ.09 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ

106. กรณีใดต่อไปนี้ ที่ต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะต่อกรมสรรพากร


ก. หยุดประกอบกิจการชั่วคราว ข. โอนกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด
ค. ควบเข้ากันของนิตบิ ุคคล ง. ถูกทุกข้อ
[286]

อธิบาย การแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจการต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่


แก้ไขเปลี่ยนแปลง รายการที่ได้ จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะในสาระสำคัญ เช่น
- เปลี่ยนแปลงชื่อสถานประกอบการ ประเภทกิจการ ประเภทสินค้า หรือบริการ
- เปิดสถานประกอบการเพิ่ม
- หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
- โอนกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด
- ควบเข้ากันของนิติบุคคล
- เลิกประกอบกิจการ
- ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย

107. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เจริญแสง เป็นผูป้ ระกอบการนิติบุคคล ต้องการแจ้งหยุดประกอบ


กิจการชั่วคราว จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใด
ก. ต้องหยุดประกอบการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 30 วัน
ข. ต้องหยุดประกอบการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 45 วัน
ค. ต้องหยุดประกอบการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 60 วัน
ง. ต้องหยุดประกอบการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกิน 90 วัน
108. จากข้อ 107 จะต้องแจ้งด้วยแบบ ภ.ธ.09 ภายในกี่วัน
ก. จะต้องแจ้งภายใน 15 วันนับ จากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
ข. จะต้องแจ้งภายใน 30 วันนับ จากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
ค. จะต้องแจ้งภายใน 45 วันนับ จากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
ง. จะต้องแจ้งภายใน 60 วันนับ จากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
109.การแจ้งโอนกิจการของผูป้ ระกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะ (บางส่วนหรือทัง้ หมด) ผู้โอนกิจการ
จะต้องแจ้งก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. ไม่น้อยกว่า 10 วัน ข. ไม่น้อยกว่า 15 วัน
ค. ไม่น้อยกว่า 30 วัน ข. ไม่น้อยกว่า 45 วัน

อธิบาย การแจ้งโอนกิจการของผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะ (บางส่วนหรือทั้งหมด)ผู้โอน


กิจการ จะต้องแจ้งก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่า 15 วัน และถ้าเป็นการโอนกิจการ ทั้งหมดจะต้อง
คืน ภ.ธ.20 พร้อมยื่น ภ.ธ.09 ด้วย

110. ผู้ประกอบการ ที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยยื่นคำขอ


ภ.ธ.01 ภายในกำหนดเวลากี่วัน
ก. 15 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
ข. 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
ค. 45 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
ง. 60 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ
111. ภาษีธุรกิจเฉพาะ อยู่ในหมวดใด ของประมวลรัษฏากร
ก. หมวด 3 ข. หมวด 4
ค. หมวด 5 ง. หมวด 6
[287]

112.ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเก็บและรักษารายงานพร้อมทั้งเอกสาร
ประกอบ การลงรายงานเป็นเวลาไม่น้อยกว่ากี่ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
ก. 3 ปี ข. 4 ปี
ค. 5 ปี ง. 6 ปี
113.ผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งได้รับเงิน จากการกระทำกิจการ
หากรวมเงินที่ได้รับชำระแต่ละครั้ง จำนวนเท่าใด ที่ ก.ม.กำหนดให้ ต้องออกใบรับให้แก่ ผู้จ่ายเงิน
ก. เกิน 100 บาท ข. เกิน 200 บาท
ค. เกิน 500 บาท ง. เกิน 1,000 บาท
114. ผู้มีสิทธิขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ คือข้อใด
ก. นาย ก ชำระภาษีธุรกิจเฉพาะไว้เกิน
ข. นาย ข ชำระภาษีธรุ กิจเฉพาะไว้ซ้ำจำนวน
ค. นายค ไม่มีหน้าทีชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ ชำระภาษีไว้โดยหลงผิด
ง. ถูกทุกข้อ

อธิบาย ผูม้ ีสิทธิขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่


1.1 ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษี ซึ่งได้ชำระภาษีไว้เกินหรือผิด หรือซ้ำ
1.2 ผู้ไม่มีหน้าที่เสียภาษีแต่ได้ชำระภาษีไว้
115. คำร้องขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ คือแบบใด
ก. แบบ ค.10 เท่านั้น
ข. แบบ ภ.ธ.40
ค. แบบ ภ.ธ.09
ง. ไม่มีข้อใดถูก
116 ปัจจุบัน การยื่นตราสารผ่านเวบไซต์กรมสรรพากร สามารถยื่นตราสารได้กี่ลักษณะ
ก. 5 ลักษณะ
ข. 20 ลักษณะ
ค. 23 ลักษณะ
ง. 28 ลักษณะ
[288]

เฉลยความรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์, ภาษีการรับมรดก, ภาษีธุรกิจเฉพาะ


ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ
1 ง 26 ค 51 ก 76 ค
2 ค 27 ก 52 ข 77 ก
3 ค 28 ง 53 ก 78 ค
4 ข 29 ง 54 ข 79 ค
5 ข 30 ง 55 ค 80 ค
6 ง 31 ข 56 ง 81 ก
7 ง 32 ข 57 ข 82 ข
8 ง 33 ค 58 ก 83 ง
9 ก 34 ก 59 ค 84 ง
10 ข 35 ก 60 ง 85 ค
11 ง 36 ง 61 ง 86 ก
12 ก 37 ก 62 ค 87 ง
13 ค 38 ก 63 ค 88 ง
14 ง 39 ง 64 ก 89 ค
15 ข 40 ค 65 ค 90 ข
16 ก 41 ก 66 ง 91 ค
17 ก 42 ค 67 ง 92 ก
18 ง 43 ค 68 ก 93 ข
19 ง 44 ข 69 ข 94 ข
20 ง 45 ก 70 ค 95 ข
21 ก 46 ก 71 ข 96 ค
22 ก 47 ข 72 ง 97 ข
23 ก 48 ก 73 ค 98 ข
24 ค 49 ข 74 ง 99 ค
25 ก 50 ข 75 ค 100 ง

101 ก 106 ง 111 ค 116 ค


102 ก 107 ก 112 ค
103 ก 108 ก 113 ก
104 ง 109 ข 114 ง
105 ค 110 ข 115 ก
[289]

แนวข้อสอบ: ความรู้เกี่ยวกับประมวลรัษฎากรและความรูเ้ กี่ยวกับกรมสรรพากร


1. เว็บไซต์กรมสรรพากร คือเว็บไซต์ใด
ก. www.ru.ac.th
ข. www.rd.go.th
ค. www.re.go.th
ง. www.rb.go.th
2.ข้อใดต่อไปนีถ้ กู ต้องที่สดุ เกี่ยวกับในการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร
ก. ภาษีปา้ ย ภาษีบารุงท้องที่ ภาษีการรับมรดก
ข. ภาษีโรงเรือน ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ค. ภาษีเงินได้นิติบคุ คล ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ง. ภาษีบารุงท้องที่ ภาษี ธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์
3.ข้อใดต่อไปนี ้ เป็ นภาษีท่ีกรมสรรพากรไม่ได้จดั เก็บ
ก. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ภาษีการรับมรดก
ข. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค. ภาษีบารุงท้องที่ ภาษี สรรพสามิต
ง. ภาษีเงินได้นิติบคุ คล อากรแสตมป์
4 ภาษีทางตรง หมายถึงภาษี อะไร
ก. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ข. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
5. กรมสรรพากร มีหน้าที่จดั เก็บภาษีอะไร
ก. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ข. ภาษีบารุงท้องที่
ค. ภาษีโรงเรือน ง. ภาษีปา้ ย
6. ถ้าจะยื่นแบบภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาทาง Internet จะต้องยื่นคาขอตามข้อใด
ก. แบบ ภ.อ.01 ข. แบบ ภ.ธ.01
ค. แบบ ภ.พ.01 ง. แบบ ภ.พ.09
7. ข้อใดต่อไปนี ้ คือพันธกิจกรมสรรพากร
ก. จัดเก็บภาษีอากรให้ได้ตามประมาณการ
ข. ยกระดับการให้บริการและสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี
ค. เสนอนโยบายทางภาษีอากรต่อกระทรวงการคลัง
ง.ถูกทุกข้อ
8. กรมสรรพากรประกาศใช้เลขประจาตัวผูเ้ สียภาษี 13 หลัก เมื่อใด
[290]

ก. 1 กุมภาพันธ์ 2555 ข. 1 มีนาคม 2555


ข. 1 มีนาคม 2556 ง. 1 กุมภาพันธ์ 2556
9. Tax agent หมายถึงข้อใด
ก. หน่วยงานที่เป็ นตัวแทนรับแบบแสดงรายการชาระภาษีแทนกรมสรรพากร
ข. ผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาต
ค.ผูส้ อบบัญชีกรมสรรพากร
ง.สานักงานบัญชีตวั แทน
10. พันธกิจ (Mission) คือ ความมุ่งหมายพืน้ ฐานขององค์กรหรือภาระงานในความ
รับผิดชอบ เรียกสัน้ ๆ ว่าอย่างไร
ก. จัดเก็บภาษีตรงกลุม่ นโยบายตรงเป้า บริการตรงใจ
ข. จัดเก็บภาษีตรงเป้า นโยบายตรงกลุม่ บริการตรงใจ
ค. จัดเก็บภาษีตรงกลุม่ นโยบายตรงใจ บริการตรงกลุม่
ง. จัดเก็บภาษีตรงเป้า นโยบายตรงใจ บริการตรงกลุม่
11. แบบแสดงรายการใด ที่สามารถขอคืนภาษีได้พร้อมกับการยื่นแบบแสงรายการเสียภาษี
ก. ภ.ง.ด.90 ภ.พ.30 ข. ภ.ง.ด. 91 ภ.ง.ด.53
ค. ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด.3 ง. ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด.92
12. วิสยั ทัศน์ใหม่ กรมสรรพากร เริ่มใช้วนั ใด
ก. 1 ตุลาคม 2563 ข. 30 กันยายน 2563
ค. 1 ตุลาคม 2562 ง. 30 กันยายน 2562
13.ข้อใดเป็ นความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรที่ ถือเป็ นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการ
ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
ก.ผูก้ ระทาความผิดเป็ นผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนาส่งภาษีอากร และเป็ นความผิดที่
เกี่ยวกับจานวนภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตัง้ แต่สิบล้านบาทต่อปี ภาษีขนึ ้ ไป
ข.ผูก้ ระทาความผิดที่ขอคืนภาษี โดยจานวนภาษีอากรที่ขอคืนโดยความเท็จ ตัง้ แต่สอง
ล้านบาทต่อปี ภาษีขนึ ้ ไป
ค. ผูก้ ระทาความผิดเป็ นผูม้ ีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนาส่งภาษีอากร และเป็ นความผิดที่
เกี่ยวกับจานวนภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตัง้ แต่สิบล้านบาทต่อปี ภาษีขนึ ้ ไป กระทาใน
ลักษณะที่เป็ นกระบวนการหรือเป็ นเครือข่าย โดยสร้างธุรกรรมอันเป็ นเท็จหรือปกปิ ดเงินได้พงึ
ประเมินหรือรายได้ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากร และมีพฤติกรรมปกปิ ดหรือซ่อนเร้น
ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทาความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนัน้ ได้
ง.ไม่มีขอ้ ใดถูก
14. ข้อใดคือช่องทางการติดต่อกรมสรรพากร
ก. RD Intelligence Center 1161
[291]

ข. Line ID : @rd1161
ค. RD Call Center 1161
ง. ข้อ ก และ ข ถูกต้อง
15. e-Taxinfo คือ อะไร
ก. บริการส่งข้อมูลข่าวสารจากกรมสรรพากร ส่งตรงทาง e-mail
ข. บริการส่งข้อมูลข่าวสารจากกรมสรรพากร ส่งตรงทาง line
ค. บริการส่งข้อมูลข่าวสารจากกรมสรรพากร ส่งตรงทาง Facebook
ง. บริการส่งข้อมูลข่าวสารจากกรมสรรพากร โดยส่งได้ทกุ ทาง ตามแต่สมาชิกลือก
16. ข้อใดต่อไปนี ้ คือโทษทางอาญาของประมวลรัษฎากร
ก. ค่าปรับ ข. เงินเพิ่ม
ค. เบีย้ ปรับ ง. ถูกทุกข้อ
17. ใบอนุญาตเป็ นสานักงานบัญชีตวั แทน มีอายุใบอนุญาตกี่ปี
ก. อายุ 6 เดือนนับแต่วนั ที่ได้รบั อนุญาต
ข. อายุ 1 ปี นบั แต่วนั ที่ได้รบั อนุญาต
ค.อายุ 2 ปี นบั แต่วนั ที่ได้รบั อนุญาต
ง. อายุ 5 ปี นบั แต่วนั ที่ได้รบั อนุญาต
18. ข้อใดคือค่านิยมกรมสรรพากร
ก. I = Integrily มีจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ข A = Accountabilities มีความรับผิดชอบ
ค. M = Mastely มีความเป็ นมืออาชีพ
ง. R = Respect and Responsiveness ให้เกียรติและสนองต่อลูกค้า
19. ใครมีอานาจสั่งยึด อายัด ทรัพย์สิน กรณีผเู้ สียภาษีไม่ชาระภาษีตามประมวลรัษฎากร
ก. สรรพากรพืน้ ที่ ข. สรรพากรภาค
ค. อธิบดีกรมสรรพากร ง. ผูอ้ านวยการกองกฎหมาย กรมสรรพากร
20 ประมวลรัษฎากรตราขึน้ เพื่อปรับปรุงการรัษฎากร ตามหลักการใด
ก. ตามหลักความเป็ นธรรมแก่สงั คม
ข. ตามหลักอานวยรายได้
ค. ตามหลักความแน่นอน
ง. ตามหลักความสะดวก
21. ประมวลรัษฎากร เริ่มใช้เมื่อใด
ก. 1 เมษายน 2484 ข. 1 เมษายน 2483
ค. 1 เมษายน 2482 ง. 1 เมษายน 2481
22. ข้อใดคือลักษณะของภาษีอากรที่ดี
[292]

ก. เป็ นธรรม ข. สะดวก


ค. ชัดเจนและแน่นอน ง. ถูกทุกข้อ
23. ตามมาตรา 13 ทวิ คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร มีกี่คน
ก .3 คน ข. 4 คน
ค. 7 คน ง. 9 คน
24. หากไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากร ต้องอุทธรณ์
ภายในกี่วนั ก่อนนาคดีขนึ ้ สูศ่ าลภาษีอากร
ก.15 วันนับแต่วนั ได้รบั แจ้งการประเมิน ข.30 วันนับแต่วนั ได้รบั แจ้งการประเมิน
ค.45 วันนับแต่วนั ได้รบั แจ้งการประเมิน ง.60 วันนับแต่วนั ได้รบั แจ้งการประเมิน
25. ระบบ E – Donation คืออะไร
ก. ระบบใบรับทางอิเล็กทรอนิกส์ ข. ระบบใบกากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
ค. ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ ง. ระบบยื่นคาขอออกใบแทน
26. กรมสรรพากร สังกัดกระทรวงใด
ก.กระทรวงมหาดไทย ข.กระทรวงแรงงาน
ค.กระทรวงการคลัง ง. กระทรวงสาธารณสุข
27. ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวถูกต้อง
ก. กรมสรรพากร จัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีการรับมรดก ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ข.กรมสรรพสามิต จัดเก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษียาสูบ ภาษีรถยนต์
ค.กรมศุลกากร จัดเก็บภาษีรถยนต์ ภาษีการรับมรดก ภาษีรถยนต์
ง.ไม่มขี อ้ ใดถูก
28.ตราสัญลักษณ์ กรมสรรพากร คืออะไร
ก.พระรามทรงรถ ข.พระอุเทนดีดพิณ
ค.นกวายุภกั ดิ์ ง. ราชสีห์
29. สานักงานสรรพากรพืน้ ที่กระบี่ ถือเป็ นหน่วยงานราชการส่วนใด
ก. ส่วนภูมิภาค ข.ส่วนกลาง
ค.ส่วนท้องถิ่น ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
30.กรมสรรพากร แบ่งสรรพากรภาค ออกเป็ นกี่ภาค
ก. 12 ภาค ข. 11 ภาค
ค. 10 ภาค ง. 13 ภาค
31. การตรวจสอบและรับรองบัญชี กระทาโดยใคร
ก.TA ข.CPA
ค. ไม่มีขอ้ ถูก ง.ถูกทัง้ ข้อ ก และข
32. มาตราสุดท้ายของประมวลรัษฎากร คือ
[293]

ก. มาตรา 311 ข. มาตรา 129


ค. มาตรา 91/21 ง. มาตรา 76 ทวิ
33. กรมสรรพากร มีการให้บริการ e-Filing กับทุกประเภทภาษี ถามว่า e-Filing คืออะไร
ก. การยื่นแบบและชาระภาษีออนไลน์
ข. น้องอารี แชตบอท
ค. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ทางอินเทอร์เน็ต
ง. การยื่นแบบแสดงรายการทุกประเภทภาษี ณ สานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขา
34 . กรมสรรพากร มีสานักงานสรรพากรพืน้ ที่สาขา รวมทัง้ หมด กี่สาขา
ก. 850 สาขา ข. 950 สาขา
ค.750 สาขา ง. 880 สาขา
35. My tax account คือ อะไร
ก. เข้าสูร่ ะบบทาง www.rd.go.th
ข. ใช้ User และ password เดียวกันกับที่ใช้ย่นื แบบแสดงรายการผูเ้ สียภาษี
ทาง Internet
ค. เป็ นระบบที่ให้บริการผูเ้ สียภาษีในการคัดค้นข้อมูลและสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ง. ถูกทุกข้อ
36. ภาษีประเภทใด ที่กรมสรรพากรได้รบั มอบหมายให้จดั เก็บภาษีลา่ สุด
ก. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ข. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค. ภาษีการรับมรดก ง. ภาษี เงินได้ปิโตรเลียม
37. ค่าธรรมเนียมการขอใบแทนใบเสร็จที่เจ้าพนักงาน ได้ออกให้ไปแล้ว เสียค่าธรรมเนียมฉบับ
ละ เท่าใด (ข้อสอบเก่า)
ก. 35 สตางค์ ข. 50 สตางค์
ค. 1 บาท ง. 75 สตางค์
38. ข้อใดต่อไปนี ้ ไม่ใช่คณะกรรมการวินยั ภาษีอากร
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ข. ผูอ้ านวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง
ค เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
ง. อธิบดีกรมศุลกากร
39. นางสายสมร มีภมู ิลาเนาอยู่ จ.นครศรีธรรมราช ถูกประเมินภาษีอากร แต่ไม่เห็นด้วยกับผล
การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินภาษีของกรมสรรพากร จึงอยากฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากร
ท่านจะแนะนา น.ส.สายสมร ว่าอย่างไร
ก. ฟ้องศาลภาษีอากร ได้เลย
ข. ต้องอุทธรณ์ ต่อพนักงานสอบสวน ณ สถานีตารวจภูธรจังหวัดก่อน
[294]

ค. ให้ไปอุทธรณ์ต่ออัยการจังหวัดก่อน
ง. ต้องอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
40. ข้อใดต่อไปนี ้ ไม่ใช่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ สาหรับท้องที่ต่างจังหวัด
ก. ผูว้ ่าราชการจังหวัดหรือผูแ้ ทน ข. สรรพากรภาคหรือผูแ้ ทน
ค อัยการจังหวัดหรือผูแ้ ทน ง. ผูก้ ากับสถานีตารวจภูธรจังหวัด

อธิบาย กรณีอทุ ธรณ์การประเมินภาษี อากรของเจ้าพนักงานประเมิน ที่มีสานักงานตัง้ อยู่


ในเขตท้องที่จงั หวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้อทุ ธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
ซึ่งประกอบด้วยผูว้ ่าราชการจังหวัดหรือผูแ้ ทน สรรพากรภาคหรือผูแ้ ทน และอัยการจังหวัดหรือ
ผูแ้ ทน

41. ผูส้ อบบัญชีภาษีอากร (TA) สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีได้ ตามหลักเกณฑ์ใด


ก. เฉพาะห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คล ที่ทนุ ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน
30 ล้านบาท และ รายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
ข.สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลตาม
มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
ค.สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทได้เท่านัน้
ง.สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุน้ ส่วนนิติบคุ คลตาม
มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ทนุ ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน
30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
42. ภาษีตามประมวลรัษฎากรที่อยู่ภายใต้บงั คับของอนุสญ ั ญาภาษีซอ้ น ได้แก่
ค. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ข. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ค ภาษีเงินได้นิติบคุ คล ง. ถูกทัง้ ข้อ ก และ ค
43. ประเทศไทย มีอนุสญ ั ญาภาษีซอ้ น กับประเทศใดล่าสุด
ก. กัมพูชา เป็ นประเทศที่ 61 เริ่มมีผล 1 ม.ค. 2561
ข. กัมพูชา เป็ นประเทศที่ 60 เริ่มมีผล 1 ม.ค. 2561
ค.กัมพูชา เป็ นประเทศที่ 59 เริ่มมีผล 1 ม.ค. 2561
ง. กัมพูชา เป็ นประเทศที่ 58 เริ่มมีผล 1 ม.ค. 2561

อธิบาย (ข้อมูล ณ 25 มี.ค. 2566)


44. ผูท้ ่มี ีอานาจเปิ ดเผย ชื่อผูป้ ระกอบการจดทะเบียนภาษีมลู ค่าเพิ่ม/ ฐานภาษีมลู ค่าเพิ่ม/
จานวนภาษีมลู ค่าเพิ่มที่ถกู ประเมินเพิ่มเติมคือใคร
ก. สรรพากรพืน้ ที่ ข. อธิบดีกรมสรรพากร
[295]

ค. สรรพากรภาค ง. เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรทุกคน
45. การขอใบแทนใบเสร็จที่เจ้าพนักงานได้ออกให้ไปแล้วเสียค่าธรรมเนียม อย่างไร
ก. ฉบับละ 1 บาท ข. ฉบับละ 75 สตางค์
ค. ฉบับละ 50 สตางค์ ง. ฉบับละ 35 สตางค์
46. กรณีเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีแล้ว กฎหมายกาหนดให้ผมู้ ีหน้าที่เสียภาษี ต้อง
ชาระภาษีนนั้ ภายในกี่วนั
ก. 30 วัน นับแต่วนั ได้รบั แจ้งการประเมิน
ข. 45 วัน นับแต่วนั ได้รบั แจ้งการประเมิน
ค. 60 วัน นับแต่วนั ได้รบั แจ้งการประเมิน
ง. 90 วัน นับแต่วนั ได้รบั แจ้งการประเมิน
47. กรณีท่เี จ้าพนักงานประเมินมีเหตุอนั ควรเชื่อว่าผูใ้ ดแสดงรายการตามแบบที่ย่ืนไม่ถกู ต้อง
ตามความจริง เจ้าพนักงานมีอานาจใดบ้าง
ก. ออกหมายเรียกผูย้ ่ืนรายการมาไต่สวน
ข. ออกหมายเรียกพยานนาบัญชีเอกสาร/หลักฐานอื่นมาแสดง
ค. ออกหมายเรียกสั่งให้ผยู้ ่นื รายการนาบัญชีเอกสาร/หลักฐานอื่นมาแสดงได้
ง.ถูกทุกข้อ
48. กรณีท่เี จ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกผูย้ ่นื รายการมาไต่สวนหรือนาบัญชีเอกสาร/
หลักฐานอื่นมาแสดง ต้องให้เวลาผูย้ ่นื รายการหรือพยานอย่างไรบ้าง
ก. ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่นอ้ ยกว่า 30 วันนับแต่วนั ส่งหมาย
ข. ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่นอ้ ยกว่า 15 วันนับแต่วนั ส่งหมาย
ค. ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่นอ้ ยกว่า 7 วันนับแต่วนั ส่งหมาย
ง. ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่นอ้ ยกว่า 3 วันนับแต่วนั ส่งหมาย
49. เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเงินภาษีอากรตามที่รูเ้ ห็นว่าถูกต้อง เนื่องจากผูเ้ สียภาษีไม่ปฏิบตั ิตาม
คาสั่ง/ไม่ยอมตอบคาถามเมื่อซักถามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งจานวนภาษีท่ี
ต้องจ่ายไปยังผูเ้ สียภาษีแล้ว ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.ห้ามมิให้อทุ ธรณ์การประเมิน
ข. ต้องเสียเบีย้ ปรับ 1 เท่าของจานวนเงินภาษี
ค. ฟ้องคดีต่อศาล
ง. ถูกทัง้ ข้อ ก และ ข
50. การขอคืนภาษีอากรและภาษีท่ถี กู หักไว้ ณ ที่จ่าย และนาส่งแล้วเป็ นจานวนเงินเกินกว่าที่ควร
ต้องเสียภาษี หรือที่ไม่มีหน้าที่ตอ้ งเสีย ผูเ้ สียภาษี ทาอย่างไรได้บา้ ง
ก. ยื่นคาร้องขอคืนภายในสามปี นับแต่วนั สุดท้ายแห่งกาหนดเวลายื่นรายการภาษี
[296]

ข. กรณีผมู้ ีสิทธิขอคืนยื่นรายการ เมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกาหนดหรือได้ย่ืนรายการ


ภายในเวลาที่รฐั มนตรีหรืออธิบดีขยายหรือเลื่อนออกไป ยื่นคาร้องขอคืนภายในสามปี นบั แต่วนั ที่
ได้ย่นื รายการ
ค.กรณีผมู้ ีสิทธิขอคืนอุทธรณ์การประเมิน หรือเป็ นคดีในศาล ยื่นคาร้องขอคืนภายใน
สามปี นบั แต่วนั ที่ได้รบั แจ้งคาวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินเป็ นหนังสือหรือนับแต่วนั ที่มีคาพิพากษา
ถึงที่สดุ แล้วแต่กรณี
ง . ถูกทุกข้อ
51. ถ้าต้องการค้นหาแนวคาวินิจฉัยเกี่ยวกับภาษีอากร ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
สามารถเข้าค้นหาได้ตามขัน้ ตอนใด
ก. http://www.rd.go.th/ อ้างอิง/ประมวลรัษฎรกร/ คาวินิจฉัยของคณะกรรมการ
วินิจฉัยภาษีอากร
ข.http://www.rd.go.th/ ความรูเ้ รื่องภาษี/ประมวลรัษฎรกร/ คาวินิจฉัยของ
คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ค.http://www.rd.go.th บริการอิเล็กทรอนิกส์/ประมวลรัษฎรกร/ คาวินิจฉัย
คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ง.http://www.rd.go.th/ บริการข้อมูล/ประมวลรัษฎรกร/ คาวินิจฉัยของ
คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
52. หากไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานสรรพากร ผูเ้ สียภาษีตอ้ งดาเนินการอย่างไร
ก. ยื่นอุทธรณ์ต่อผูบ้ งั คับบัญชาของเจ้าพนักงาน
ข. ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์
ค. ยื่นอุทธรณ์ต่ออธิบดีกรมสรรพากร
ง. ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลภาษี อากรกลาง
53. โครงการช้อปดีมีคืน ปี ภาษี 2566 ใช้กบั สินค้าและบริการ ที่ซือ้ ในระหว่างวันที่ เท่าใด
ก. 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2565 ข. 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์
2566
ค. 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
54. ตามข้อ 53 โครงการช้อปดี มีคืน ปี ภาษี 2566 นาไปใช้ลดหย่อนภาษีท่ยี ่นื แบบในช่วงใด
ก. 1 ม.ค. - 31 มี.ค.2566 หากยื่นผ่าน Internet ขยายเวลาไปอีก 8 วัน
ข. 1 ม.ค. - 31 มี.ค.2566 หากยื่นผ่าน Internet ขยายเวลาไปอีก 10 วัน
ค. 1 ม.ค. - 31 มี.ค.2567 หากยื่นผ่าน Internet ขยายเวลาไปอีก 8 วัน
ง. 1 ม.ค. - 31 มี.ค.2567 หากยื่นผ่าน Internet ขยายเวลาไปอีก 15 วัน
55. ข้อใดต่อไปนี ้ ไม่สามารถนามาใช้ลดหย่อนภาษี ตามโครงการ ช้อปดี มีคืน ปี ภาษี 2566 ได้
ก. นา้ มัน
[297]

ข. ค่านา้ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์


ค. ทองรูปพรรณ (เฉพาะค่ากาเหน็จ)
ง. ค่าซือ้ โทรศัพท์มือถือ ที่ออกหลักฐานเป็ นใบกากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax invoice)
56. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ การลดหย่อนภาษี ตามโครงการ ช้อปดีมีคืน ปี 2566
ก. ใบกากับภาษีเต็มรูปแบบ ทัง้ แบบ กระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงิน
สาหรับสินค้า โอท็อป รวมกัน จะได้ 35,000 บาท และ จากผูท้ ่อี อกใบกากับภาษีแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ จะได้เพิ่มอีก 5,000 บาท
ข. ใบกากับภาษีเต็มรูปแบบ ทัง้ แบบ กระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงิน
สาหรับสินค้า โอท็อป รวมกัน จะได้ 30,000 บาท และ จากผูท้ ่อี อกใบกากับภาษีแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ จะได้เพิ่มอีก 10,000 บาท
ค.ใบกากับภาษีเต็มรูปแบบ ทัง้ แบบ กระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงิน
สาหรับสินค้า โอท็อป รวมกัน จะได้ 20,000 บาท และ จากผูท้ ่อี อกใบกากับภาษีแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ จะได้เพิ่มอีก 20,000 บาท
ง.ใบกากับภาษีเต็มรูปแบบ ทัง้ แบบ กระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงิน
สาหรับสินค้า โอท็อป รวมกัน จะได้ 10,000 บาท และ จากผูท้ ่อี อกใบกากับภาษีแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ จะได้เพิ่มอีก 30,000 บาท

แนวการตอบ..
โครงการ ช้อปดีมีคืน ปี 2566 เริ่มซือ้ สินค้า -บริการ ได้ตงั้ แต่วนั ที่ 1 ม.ค.- 15 ก.พ.2566
และนาไปลดหย่อนภาษีได้สงู สุด 40,000 บาท (แยกเป็ น ออกใบกากับภาษีเต็มรูปแบบกระดาษ/
อิเล็กทรอนิกส์ และใบเสร็จรับเงิน รวมกัน จะได้ 30,000 บาท และ จากผูท้ ่ีออกใบกากับภาษีแบบ
อิเล็กทรอนิกส์ จะได้เพิ่มอีก 10,000 บาท)

57. กรณีใบกากับภาษีมีทงั้ รายการสินค้าและบริการที่เสียภาษีมลู ค่าเพิ่มและไม่เสีย


ภาษีมลู ค่าเพิ่ม จะหักลดหย่อนอย่างไร
ก.สามารถนามาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่าซื้อสิ นค้าและค่าบริ การที่เสี ยภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข.สิ นค้าหรื อ บริ การดังต่อไปนี้สามารถนามาหักลดหย่อนได้ แม้จ่ายให้แก่ผมู ้ ิใช่
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ หนังสื อ และวารสาร
ค. สิ นค้าหรื อ บริ การดังต่อไปนี้สามารถนามาหักลดหย่อนได้ แม้จ่ายให้แก่ผมู ้ ิใช่
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิม่ คือ สิ นค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ซึ่งเป็ น
สิ นค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว เท่านั้น
[298]

ง.สามารถนามาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่าซื้อสิ นค้าและค่าบริ การที่เสี ยภาษีมูลค่าเพิ่ม


เว้นแต่สินค้าหรื อ บริ การดังต่อไปนี้สามารถนามาหักลดหย่อนได้ แม้จ่ายให้แก่ผมู ้ ิใช่
ผูป้ ระกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1) หนังสื อ
2) หนังสื อที่อยูใ่ นรู ปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผา่ นระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
3) สิ นค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ซึ่งเป็ นสิ นค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการ
พัฒนาชุมชนแล้ว

แนวการตอบ (จุดเน้น)
กรณีใบกากับภาษีมีท้ งั รายการสิ นค้าและบริ การที่เสี ยภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่เสี ย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะหัก ลดหย่อนดังนี้
สามารถนามาหักลดหย่อนได้เฉพาะค่าซื้อสิ นค้าและค่าบริ การที่เสี ยภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้น
แต่สินค้าหรื อ บริ การดังต่อไปนี้สามารถนามาหักลดหย่อนได้ แม้จ่ายให้แก่ผมู ้ ิใช่ผปู ้ ระกอบการ
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1) หนังสื อ
2) หนังสื อที่อยูใ่ นรู ปของข้อมูลอิเล็กทรอนิ กส์ผา่ นระบบอินเทอร์เน็ต (e-Book)
3) สิ นค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ซึ่งเป็ นสิ นค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการ
พัฒนาชุมชนแล้ว

58. กรมการจัดเก็บภาษี 3 กรมหลัก ประกอบด้วย


ก. กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมธนารักษ์
ข. กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต
ค. กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมที่ดิน
ง. กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมขนส่งทางบก
59. การขอคัดแบบแสดงรายการภาษีท่ยี ่นื ผ่านระบบ internet สามารถยื่นผ่านระบบใด
ก. E-FILING ข. E-learning
ค. E-Ofiice ง. E – Service
60. ข้อใดคือขัน้ ตอนการยื่นคาขอคัดแบบแสดงรายการภาษีท่ยี ่ืน ผ่านเวบไซต์ www.rd.go.th
ก. E-FILING บริ การสมาชิก คัดแบบที่ยนื่ ผ่านอินเทอร์เน็ต Login
เลือก ประเภทแบบ
ข. E-FILING คัดแบบที่ยนื่ ผ่านอินเทอร์เน็ต บริ การสมาชิก Login
เลือกประเภทแบบ
ค. E-FILING บริ การสมาชิก Login คัดแบบที่ยนื่ ผ่านอินเทอร์เน็ต
[299]

เลือกประเภทแบบ
ง. E-FILING Login บริ การสมาชิก คัดแบบที่ยนื่ ผ่านอินเทอร์เน็ต
เลือกประเภทแบบ
61. นางเอมม่า ต้องการคัดแบบแสดงรายการภาษีท่ยี ่นื ผ่านระบบ internet หากนางเอมม่า
download แบบฯ ผ่านระบบฯ (โดยไม่ตอ้ งให้เจ้าหน้าที่รบั รองเอกสาร) ต้องเสีย
ค่าธรรมเนียมอย่างไร
ก. ไม่มีค่าใช่จ่าย ข. ค่าธรรมเนียมแผ่นละ 6 บาท
ค. ค่าธรรมเนียมแผ่นละ 3 บาท ง. ค่าธรรมเนียม แผ่นละ 50 สตางค์
62. นายณรงค์เดช ได้ขอคัดแบบแสดงรายการภาษีท่ยี ่นื ผ่านระบบ internet หากต้องการแบบฯ
ที่เจ้าหน้าที่รบั รอง ต้องเสียค่าธรรมเนียมอย่างไร
ก. ไม่มีค่าใช่จ่าย ข. ค่าธรรมเนียมแผ่นละ 6 บาท
ค. ค่าธรรมเนียมแผ่นละ 3 บาท ง. ค่าธรรมเนียม แผ่นละ 50 สตางค์
63. นางศรีรติ า้ ยื่นคาขอคัดแบบแสดงรายการภาษีท่ยี ่นื ผ่านระบบ internet ใช้คาขอใด
ก. ภ.อ.01 ข. ภ.ธ.01
ค. ภ.พ.01 ง. ภ.พ.01.1
64. การยื่นคาขอคัดแบบแสดงรายการภาษีท่ยี ่นื ผ่าน internet ทาง E – FILING เริ่มตัง้ แต่วนั ใด
ก. 1 มกราคม 2563 ข. 1 กุมภาพันธ์ 2563
ค. 1 มีนาคม 2563 ง. 1 เมษายน 2563
65. ธนาคารตามข้อใด ไม่ได้เป็ นรัฐวิสาหกิจ ที่สงั กัดกระทรวงการคลัง
ก. ธนาคารแห่งประเทศไทย ข. ธนาคารออมสิน
ค. ธนาคารกรุงไทย ง. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
66. ข้อใดเป็ นภาษีท่กี รมสรรพากรมีหน้าที่จดั เก็บ ตามประมวลรัษฎากร
ก. ภาษีเงินได้ ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภาษีธรุ กิจเฉพาะ อากรแสตมป์
ข. ภาษีเงินได้ ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภาษีโรงเรือน อากรแสตมป์
ค. ภาษีเงินได้ ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภาษีนา้ มัน อากรแสตมป์
ง. ภาษี เงินได้ ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ภาษีท่ดี ิน อากรแสตมป์
67. ข้อใดคือ Capital Expenditure
ก.เงินเดือนค้าจ้าง ข. เครื่องจักร
ค. ค่าไฟฟ้าประปา ง. กระดาษชาระ
อธิบาย
Capital Expenditures คือ รายจ่ายเพื่อการได้มาของสินทรัพย์ที่จะนำมาใช้ในการ
ดำเนินการเพื่อหารายได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสินทรัพย์ถาวรที่มีรูปร่างเช่น ที่อิน อาคาร เครื่องจักร
เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น และสินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีรูปร่างเช่น ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสัมปทาน เป็นต้น
[300]

68. นายก้องภพ ต้องการยื่นแบบแสดงรายการภาษี สามารถยื่นได้ทางเวบไซต์ใด


ก. www.rd.go.th ข. www.rd.gov.th
ค. www.revenue.go.th ง. http://rdserver.rd.go.th
69. ผูส้ อบบัญชีภาษีอากร (TA) ที่ผ่านการสอบและได้รบั ใบอนุญาตจากกรมสรรพากร มี
อานาจรับรองงบการเงินได้เพียงใด
ก. รับรองห้างหุน้ ส่วนจดทะเบียนที่จดั ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนชาระ
แล้วไม่เกิน 3,000,000 บาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เกิน 30,000,000 บาท
ข. รับรองห้างหุน้ ส่วนจดทะเบียนที่จดั ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนชาระ
แล้วไม่เกิน 4,000,000 บาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เกิน 30,000,000 บาท
ค. รับรองห้างหุน้ ส่วนจดทะเบียนที่จดั ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนชาระ
แล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เกิน 30,000,000 บาท
ง. รับรองห้างหุน้ ส่วนจดทะเบียนที่จดั ตัง้ ขึน้ ตามกฎหมายไทย ที่มีทุนจดทะเบียนชาระ
แล้วไม่เกิน 6,000,000 บาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่เกิน 30,000,000 บาท
70. เริ่มปี งบประมาณ 2566 อธิบดีกรมสรรพากร ได้นานโยบาย “One RD” มาใช้ในการ
ปฏิบตั ิงาน
อยากทราบว่า One RD ประกอบด้วยอะไร
ก. “ONE TEAM”
ข. “ONE SEAMLESS TAX ECOSYSTEM”
ค. “ONE TEAM” และ “ONE SEAMLESS TAX ECOSYSTEM”
ง. D2rive

อธิบาย
อธิบดีกรมสรรพากร (นายลวรณ แสงสนิท) ได้นำนโยบาย “One RD” มาใช้ในการ
ทำงาน ประกอบด้วย “ONE TEAM” และ “ONE SEAMLESS TAX ECOSYSTEM”

71. กรณีเกิดภัยพิบตั ิเกิดขึน้ ซึ่งทาให้ผเู้ สียภาษีไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ภายใน


เวลากาหนด กรมสรรพากร มีแนวทางดาเนินการอย่างไร เพื่อมิให้ผเู้ สียภาษี ต้องถูกเรียกเก็บเงิน
เพิ่ม เบีย้ ปรับ และค่าปรับทางอาญา
ก.ออกประกาศกรมสรรพากรยกเว้นการยื่นแบบเฉพาะกรณีไป
ข. เก็บเงินเพิ่ม เบีย้ ปรับ และค่าปรับทางอาญาเพียงกึ่งหนึ่ง ถ้ายื่นแบบล่าช้า
ค. ผ่อนผันให้เฉพาะกรณีมีการยื่นคาขอและมีเหตุผลสมควรเท่านัน้
ง. ขยายกาหนดเวลาการยื่นรายการภาษีและนาส่งภาษีอากร โดยไม่ตอ้ งเสีย
เบีย้ ปรับ เงินเพิ่มและค่าปรับอาญา
[301]

72. ใบผ่านภาษีมีอายุการใช้งานนานเท่าใดนับแต่วนั ออก


ก. 15 วัน ข. 30 วัน
ค. 45 วัน ง. 60 วัน
73. นิยาม “ขาย” ตามข้อใดไม่ใช่นิยามดังกล่าวในประมวลรัษฎากร
ก. จาหน่าย จ่าย โอนสินค้า เฉพาะที่มีประโยชน์หรือค่าตอบแทน
ข. ส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
ค. ซือ้ ขายผ่อนชาระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผูซ้ ือ้ แม้จะส่งมอบให้ผซู้ อื ้ แล้ว
ง. ส่งมอบสินค้าให้ตวั แทนเพื่อขาย
74. การคืนภาษีให้แก่ผเู้ สียภาษีท่ีถกู ประเมินภาษีเกิน ผูไ้ ด้รบั เงินคืนจะได้รบั ดอกเบีย้ ตาม
ข้อใด
ก. ได้รบั ดอกเบีย้ ร้อยละ 0.5 ข ได้รบั ดอกเบีย้ ร้อยละ 1
ค. ได้รบั ดอกเบีย้ ร้อยละ 1.5 ง. ได้รบั ดอกเบีย้ ร้อยละ 2.5
75. ผูป้ ระกอบการนาส่งภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สาหรับการจ่ายเงินได้พงึ ประเมินดังต่อไปนี ้
ที่ได้จ่ายตัง้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 คงเหลืออัตราภาษี
นาส่งรร้อยละ เท่าใด
ก. ร้อยละ 1 ข. ร้อยละ 2
ค. ร้อยละ 3 ง. ร้อยละ 5

อธิบาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำส่งภาษีผ่านระบบ
อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินดังต่อไปนี้ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.
2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 และผู้มหี น้าที่นำส่งภาษีได้ดำเนินการตามวิธีนำส่ง
ผ่านระบบ e-Withholding Tax) คงเหลืออัตราภาษี ร้อยละ 1.0

76. กรมสรรพากร จัดเก็บภาษีใด


ก. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ข. ภาษีโรงเรือน
ค.ภาษีสงั คม ง. ภาษีปา้ ย
77. คาขวัญกรมสรรพากร คืออะไร
ก.เต็มที่ เต็มใจ ข. เต็มที่ เต็มใจ ให้ประชาชน
ค. จัดเก็บภาษีทนั สมัย ใส่ใจบริการ ง. เต็มที่ เต็มใจ ใส่ใจบริการ
78. ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคุณลักษณะของ RD Smart Tax
ก. แจ้งข่าวสาร เรื่องราว กฎหมายที่ออกใหม่ของกรมสรรพากร
ข. สื่อความรูอ้ ิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาภาษีสรรพากร
ค. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ภายในกาหนดเวลา
[302]

ง.ถูกทุกข้อ
79. กรมสรรพากรใน เดิมสังกัดกระทรวงใด
ก. กระทรวงนครบาล
ข. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ค.กระทรวงมหาดไทย
ง.กระทรวงการต่างประเทศ
80. อธิบดีกรมสรรพากร คนปั จจุบนั คือใคร
ก. นายลวรณ แสงสนิท
ข. ดร.เอกนิติ นิติทณ ั ฑ์ประภาศ
ค. นายมงคล ขนาดนิด
ง. นายปิ่ นสาย สุรสั วดี
81. หากต้องการรับข่าวสารผ่าน Line ของ กรมสรรพากรต้องทาอย่างไร
ก. Line@ ภายใต้ช่อื RD Intelligence Center
ข. Line@ ภายใต้ช่อื RD Intelligence 1161
ค. Line@ ภายใต้ช่อื rdintelligence
ง. Line@ ภายใต้ช่อื @rdintelligence
82. หากต้องการดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ที่ใช้ในการชาระภาษี ต้องเข้าเวปไซต์กรมสรรพากร
ในหัวข้อใด
ก. บริการอิเล็กทรอนิกส์ ข. E – Filing
ค. อ้างอิง ง. บริการถามตอบ
83. กรมสรรพากร จัดเก็บภาษี ใดมากที่สดุ
ก. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม ข. ภาษีเงินได้นิติบคุ คล
ค. ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา ง. ภาษี ธุรกิจเพาะ
84. ข้อใดต่อไปนี ้ เป็ นภาษีทางตรง
ก. ภาษีเงินได้นิติบคุ คล ข. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ค. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ง.อากรแสตมป์
85. ข้อใดต่อไปนี ้ คือ ภาษีทางอ้อม
ก. ภาษีเงินได้นิติบคุ คล ข. ภาษีมลู ค่าเพิ่ม
ค. ภาษีเงินได้บคุ คลธรมดา ง.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
86. ประมวลรัษฎากร เป็ นกฎหมายเทียบเท่ากับข้อใด
ก. พระราชกฤษฎีกา ข. กฎกระทรวง
ค. ประกาศกระทรวง ง. พระราชบัญญัติ
[303]

87. ปั จจุบนั อนุสญ ั ญาภาษีซอ้ น มีกี่ประเทศ


ก. 61 ประเทศ ข. 62 ประเทศ
ค. 63 ประเทศ ง. 64 ประเทศ
88. ประมวลรัษฎากร มีกี่ลกั ษณะ
ก. 5 ลักษณะ ข. 4 ลักษณะ
ค. 3 ลักษณะ ง. 2 ลักษณะ
89. การขอคัดแบบภายหลังจากยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและได้รบั ชาระ
ใบเสร็จรับเงิน (ทางอินเทอร์เน็ตแล้ว) สามารถขอคัดแบบฯ ได้ภายในกี่วนั
ก. 2 วัน ข. 3 วัน
ค. 5 วัน ง. 7 วัน
90. กรณีผปู้ ระกอบการที่ย่นื แบบแสดงรายการภาษีทางอินเทอร์เน็ตสามารถยื่นคาขอดาวน์โหลด
แบบฯ ไม่เกิน 3 ฉบับ ได้ภายในกี่วนั
ก.ภายใน 2 วันทาการ ข.ภายใน 5 วันทาการ
ค.ภายใน 4 วันทาการ ง.ภายใน 3 วันทาการ
91. ผูท้ ่ตี อ้ งการใช้บริการคัดแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร สามารถขอคัดแบบ
ย้อนหลังได้กี่ปี
ก. 1 ปี นับจาก ปี ปัจจุบนั ข. 2 ปี นับจาก ปี ปัจจุบนั
ค.3 ปี นับจาก ปี ปัจจุบนั ง. 4 ปี นับจาก ปี ปัจจุบนั
92. กรมสรรพากร ก่อตัง้ วันที่เท่าใด
ก. 2 ก.ย.2457 ข. 2 ก.ย. 2455
ค. 2 ก.ย. 2456 ง. 2 ก.ย.2458
93. กรมสรรพากร ก่อตัง้ ในสมัยรัชการใด
ก. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั
ข. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั
ค. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั
ง. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หวั
94. ในวันที่ 2 กันยายน 2566 กรมสรรพากรครบรอบกี่ปี
ก. 103 ปี ข. 104 ปี
ค. 105 ปี ง. 108 ปี
95. กรมสรรพากรนอก เดิมสังกัดกระทรวงใด
ก. กระทรวงนครบาล ข. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ค.กระทรวงมหาดไทย ง.กระทรวงการต่างประเทศ
[304]

96. เมื่อปี 2458 ได้รวมกรมสรรพากรนอกกับกรมสรรพากรในเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็ น


"กรมสรรพากร" ถามว่า กรมสรรพากร ขึน้ ตรงกับกระทรวงใดในขณะนัน้
ก. กระทรวงนครบาล ข. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ค.กระทรวงมหาดไทย ง.กระทรวงการต่างประเทศ

➢ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยก


กรมสรรพากรใน แต่เดิมขึ้นอยู่ใน กระทรวงนครบาลและกรมสรรพากรนอกซึ่งเดิมขึ้นอยู่ใน
กระทรวงมหาดไทยมาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชากระทรวง พระคลังมหาสมบัติและให้รวมเข้าเป็นกรม
เดียวกันเรียกว่ากรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2458 ดังนั้น วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.
2458 จึงถือเป็นวันเกิดกรมสรรพากร ประกาศยกกรมสรรพากรนอกมาขึ้นกระทรวงพระคลังมหา
สมบัติ และรวมกับกรมสรรพากรในเปลี่ยน นามเป็นกรมสรรพากร

97. กรมสรรพากร ให้บริการออกหนังสือรับรองการเสียภาษีและการมีถ่นิ ที่อยู่เป็ นภาษาอังกฤษ


ให้กบั ผูเ้ สียภาษี ในปั จจุบนั มีกี่ประเภท
ก. 2 ข. 3
ค. 4 ง. 5

➢ กรมสรรพากร ให้บริก ารออกหนังสื อรับรองการเสียภาษี และการมีถิ่ นที่ อยู่เป็น


ภาษาอังกฤษให้กับผูเ้ สียภาษี
ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษีในต่างประเทศได้
ประเภทหนังสือรับรองที่ออกให้โดยกรมสรรพากร
1. หนังสือรับรองการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
(Non – Resident Withholding Tax Certificate)
2. หนังสือรับรองการเสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา และนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษ
(Income Tax Payment Certificate)
3. หนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(Statement on the Tax Status of the Business)
4. หนังสือรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการรัษฎากรในประเทศไทย
(Certificate of Residence)
5. หนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีตามกฎหมายไทย
(Certificate of Status of Taxable Person)

98. ตราพระอุเทนดีดพิณ ยกขาด้านไหน


ก. ขวา ข. ซ้าย
ค. ขัดสมาธิ ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
99. ข้อใดไม่ใช่องค์คณะ ของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
ก) อธิบดีกรมสรรพสามิต ข) อธิบดีกรมศุลกากร
[305]

ค) อธิบดีกรมบัญชีกลาง ง) อธิบดีกรมสรรพากร

อธิบาย
- คณะกรรมการวินจิ ฉัยภาษีอากรประกอบด้วย
- ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
- อธิบดีกรมสรรพากร
- อธิบดีกรมศุลกากร
- อธิบดีกรมสรรพสามิต
- ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ผู้ทรงคุณวุฒิอีกจำนวน 3 คนซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ

100. การตราพระราชกฤษฎีกา ตาม ม.3 แห่งประมวลรัษฎากร กระทาได้เมื่อ


ก. ลดอัตราหรือยกเว้นภาษีให้เหมาะสมกับเหตุการณ์หรือสภาพของท้องที่บางแห่ง
หรือทั่วไป
ข. ยกเว้นภาษีแก่บคุ คลหรือองค์การระหว่างประเทศ ตามข้อผูกพันหรือถ้อยทีถอ้ ย
ปฏิบตั ิต่อกัน
ค.ยกเว้นแก่รฐั บาล เทศบาล สุขาภิบาล องค์การศาสนา หรือองค์การกุศลสาธารณะ
ง. ถูกทุกข้อ
[306]

เฉลยแนวข้อสอบประมวลรัษฎากรและเรื่องเกี่ยวกับกรมสรรพากร
ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ
1 ข 26 ค 51 ก 76 ก
2 ค 27 ก 52 ข 77 ข
3 ค 28 ข 53 ข 78 ง
4 ค 29 ข 54 ค 79 ก
5 ก 30 ก 55 ข 80 ก
6 ก 31 ง 56 ข 81 ข
7 ง 32 ข 57 ง 82 ก
8 ก 33 ก 58 ข 83 ก
9 ง 34 ก 59 ก 84 ก
10 ข 35 ง 60 ก 85 ข
11 ก 36 ค 61 ก 86 ง
12 ก 37 ข 62 ข 87 ก
13 ค 38 ก 63 ก 88 ง
14 ง 39 ง 64 ง 89 ก
15 ก 40 ง 65 ก 90 ง
16 ก 41 ก 66 ก 91 ข
17 ค 42 ง 67 ข 92 ง
18 ง 43 ก 68 ก 93 ก
19 ค 44 ข 69 ค 94 ง
20 ก 45 ค 70 ค 95 ค
21 ค 46 ก 71 ง 96 ข
22 ง 47 ง 72 ก 97 ง
23 ง 48 ค 73 ก 98 ข
24 ข 49 ง 74 ข 99 ค
25 ค 50 ก 75 ก 100 ง
[307]

แนวข้อสอบ
ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ข่าวสารด้านเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี
ของประเทศไทยและต่างประเทศในปัจจุบัน

1) ภาษี E-service เริ่มใช้วันใด


ก. 1 ตุลาคม 2564 ข. 1 พฤศจิกายน 2564
ค 1 กันยายน 2564 ง. 30 กันยายน 2564
2) ยุทธศาสตร์ชาติ มีกำหนดกี่ปี
ก. 10 ปี ข. 15 ปี
ค. 20 ปี ง. 25 ปี
3) ยุทธศาสตร์ชาติ อยู่ระหว่างปี ใด
ก. พ.ศ. 2565 - 2580 ข. พ.ศ. 2565 - 2570
ค พ.ศ. 2561 - 2570 ง. พ.ศ. 2561 - 2580
4) แนวคิดประเทศไทย 4.0 คือข้อใด
ก. Smart Enterprise
ข. Startups
ค. Value – Based Economy
ง. High Value – Based Economy
5) ค่านิยมและคุณธรรมอัตลักษณ์ของกรมสรรพากร มีข้อใดที่เหมือนกัน
ก. ซื่อสัตย์ ข. รับผิดชอบ
ค. มอบใจบริการ ง. ข้อ ก. และ ข้อ ข.
6) ระบบการให้บริการด้านภาษีของ 3 กรมภาษี ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยใช้รหัสผ่านเดียวใน
การเข้าสู่บริการของทั้ง 3 กรมภาษี คือระบบใด
ก. Tax Window Sign On ข. Tax Mof Sign On
ค. Tax Single Sign On (Tax SSO) ง. Tax Window Single Sign On
7) กิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งใช้ เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในกระบวนการผลิตและ
การให้บริการตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกำหนด และ
ได้รับการรับรองจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีกปี่ ระเภท
อุตสาหกรรม
ก. 9 ประเภท ข. 10 ประเภท
ค. 7 ประเภท ง. 12 ประเภท
8) ยุทธศาสตร์ชาติ มีทั้งหมด กี่ด้าน
ก. 4 ด้าน ข. 6 ด้าน
ค. 7 ด้าน ง. 12 ด้าน
9) ภาษี e-service เป็นการเก็บภาษีประเภทใด
ก.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ข. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ค. ภาษีเงินได้นิตบิ ุคคล ง. อากรแสตมป์
10) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทาง SDGs จะเน้นด้านใดบ้าง
ก. ด้านเศรษฐกิจ ข. ด้านสังคม
[308]

ค. ด้านสิ่งแวดล้อม ง.ถูกทุกข้อ
11) ใคร คือ ผู้จัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ
ก. ธนาคารโลก ข.ธนาคารแห่งประเทศสหรัฐฯ
ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย ง. ไม่มีข้อใดถูก
12) ผู้ประกอบการต่างประเทศที่ต้องเสียภาษี e-Service จะต้องยื่นแบบอะไร
ก. ภ.พ.30 ข. ภ.พ.30.2
ค. P.P.30.9 ง. ภ.พ.30.9
13) ปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล วิเคราะห์ข้อมูล
ที่นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจและเศรษฐกิจ อยากทราบว่า ข้อใดคือ ปัญญาประดิษฐ์ ดังกล่าว
ก. AI (artificial intelligence) ข. AT (artificial intelligence)
ค. AL (artificial intelligence) ง. AC (artificial intelligence)
14) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เริ่มตั้งแต่ปีใดถึงปีใด
ก. ปี 2565-2570 ข. ปี 2566-2570
ค. ปี 2565-2572 ง. ปี 2565-2573
15) เขตเศรษฐกิจจำเพาะ หรือ EEZ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
ก. exclusave economic zone ข. exclusive economic zone
ค.excluseve economic zone ง.exclusove economic zone
16) เขตเศรษฐกิจจำเพาะ หรือ EEZ เกิดขึ้นภายใต้อนุสัญญาใด
ก.ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล
ข.ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม
ค.อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ง.อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
17) ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจจำเพาะ หรือ EEZ
ก.หมายถึง เขตที่มีความกว้างไม่เกิน 200 ไมล์ทะเลวัดจากเส้นฐานซึ่งใช้วัด ความกว้าง
ของทะเลอาณาเขต อาจรวมถึงน่านน้ำอาณาเขตและไหล่ทวีปที่เลยเขตจำกัด 200 ไมล์ทะเล ด้วย
ข. เป็ น พื้น ที่ทะเลซึ่งรัฐ ชายฝั่ ง มีสิ ทธิพิ เศษเหนือเขตดังกล่ าวในการสำรวจ ,แสวงหา
ประโยชน์หรือใช้ทรัพยากรทางทะเล รวมถึงอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งทีม่ ีชีวิตและ
ไม่มีชีวิต
ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
ง. ไม่มีข้อใดถูก
18) ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่จังหวัดที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
ก. จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
ข.จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่อำเภอจะนะ อำเภอเทพานาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย
ค.กระบี่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดสตูล
ง. ทุกข้อ เป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจหมด
19) “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. ดีป้า ข. ดีย่า
ค. ดีด้า ง. ดีบ้า
20) “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทลั ” สังกัดกระทรวงใด
[309]

ก. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ข.กระทรวงการคลัง
ค. กระทรวงมหาดไทย
ง. กระทรวงการต่างประเทศ
21) กระทรวงใด มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยก้าว
ทันและสามารถแข่งขันได้ในโลกการค้ายุคใหม่ ซึ่งจะเป็นช่วยเปลี่ยนประเทศไทยสู่ยุค 4.0
หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง
ก. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ข.กระทรวงการคลัง
ค. กระทรวงมหาดไทย
ง. กระทรวงการต่างประเทศ
22) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs)
ถูกกำหนดโดยหน่วยงานใด
ก.องค์การยูเนสโก
ข.องค์การอาหารและยา
ค. องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ
ง.องค์การสหประชาชาติ
23) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เริ่มตั้งแต่
เมื่อใดถึงเมื่อใด
ก. ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2553
ข. ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2563
ค. ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2573
ง. ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคมปี 2583
24. หลักนิติธรรม หมายถึงอะไร
ก.การปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม ยุติธรรม
ข. การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง
ค.การให้โอกาสให้บุคคลอื่น
ง.การตระหนักในสิทธิและหน้าที่
25. ประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2565 จะจัดขึ้นที่ประเทศใด
ก. ประเทศไทย ข. ประเทศเวียดนาม
ค. ประเทศกัมพูชา ง. ประเทศมาเลเซีย
26. โรค COVID-19 เกิดจากเชื้อไวรัสใด
ก. เชื้อไวรัส ข.เชื้อแบคทีเรีย
ค. เชื้อรา ง. เชื้อราชนิดพิเศษ
27. ภาษีใหม่ล่าสุดที่กรมสรรพากรจัดเก็บคือภาษีประเภทใด
ก. ภาษีการรับมรดก ข. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ค. ภาษี e-Service (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ง. ภาษีอากรแสตมป์
[310]

28. Lockdown ในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญ โรค COVID -19 นี้ หมายถึงการกระทำสิ่งใด


ก. การปิดประเทศ หรือปิดพรมแดน
ข.ห้ามบุคคลในประเทศเดินทางออกนอกประเทศ
ค.ห้ามบุคคลภายนอกประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ
29. รัฐบาล ยก แคมเปญ 'ใด' เพื่อลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ และไม่ให้ เชื้ อไวรัสโคโรน่า
แพร่ระบาด ไปสู่คนอื่น
ก. อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อโลก ข. อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ
ค. อยู่บ้าน หยุดเชื้อโรค เพื่อชาติ ง. อยู่บ้าน ป้องกัน COVID-19
30. ฝุ่น PM2.5 คืออะไร
ก.ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน
ข.ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 3.5 ไมครอน
ค. ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 4.5 ไมครอน
ง.ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 5.5 ไมครอน
31. หลักอริยสัจ 4 ในข้อที่เรียกว่า สมุทัย หมายถึงข้อใด
ก. ปัญหา ข. สาเหตุแห่งปัญหา
ค. การดับทุกข์ ง. วิธีการ
32.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนปัจจุบันคือใคร
ก. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ข. นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
ค.นางศิริวัลย์ แก้วมูลเนียม ง. นายจุมพล ริมสาคร
33. โครงการเราไม่ทิ้งกัน ได้เปิดเว็บไซต์ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่อยู่ในข่ายได้รับเงินช่วยเหลือ
อยากทราบว่า คือเว็บไซต์ใด
ก. www.เราไม่ทงิ้ กัน.com ข. www.เราช่วยกัน.com
ค. www.เราไม่ปล่อยกัน.com ง. www.เราเพื่อนกัน.com
34. ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ใช้บริการจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ จะต้องยื่น
แบบใดเพื่อนำส่งภาษีแทน
ก. ภ.พ.30 ข. ภ.พ.36
ค. P.P.30.9 ง. ภ.พ.30.2
35. ข้อใด หมายถึง "คริปโทเคอร์เรนซี"
ก. หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ข. สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าบริการ
ค.เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล
ง. ถูกทุกข้อ

อธิบาย “คริปโทเคอร์เรนซี” หมายความว่า หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบหรือ


เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความประสงค์ที่จะใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า
บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ย นระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัล และให้หมายความรวมถึงหน่วยข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์อนื่ ใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
36. ข้อใดกล่าวถูกต้อง เกี่ยวกับ “โทเคนดิจิทัล”
[311]

ก. หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนระบบ หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
ข. สร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุน
ค.กำหนดสิทธิในการได้มาซึง่ สินค้าหรือบริการหรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง
ง. ถูกทุกข้อ

อธิบาย
“โทเคนดิ จิ ทั ล ” หมายความว่ า หน่ ว ยข้อ มู ล อิ เล็ ก ทรอนิ ก ส์ ซึ่ ง ถู ก สร้า งขึ้ น บนระบบ หรือ
เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพือ่
1. กำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ
2. กำหนดสิท ธิในการได้ม าซึ่งสิน ค้าหรือบริการหรือสิท ธิอื่น ใดที่เฉพาะเจาะจง ทั้ งนี้ ตามที่
กำหนดในข้ อ ตกลงระหว่ า งผู้ อ อกและผู้ ถื อ และให้ ห มายความรวมถึ ง หน่ ว ยแสดงสิ ท ธิ อื่ น ตามที่
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

37) ยุทธศาสตร์ชาติ เกิดขึ้นโดยกฎหมายใดให้อำนาจ


ก.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 63
ข.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 64
ค.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 65
ง.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 66
38) ยุทธศาสตร์ชาติ เป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักการใด
ก. หลักธรรมาภิบาล ข. หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ค. หลักถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ง. หลักพัฒนาไอที
39) ยุทธศาสตร์ชาติ มีคติพจประจำชาติ ว่าอย่างไร
ก. “มั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืน” ข. “มั่นคง ยั่งยืน ยั่งยืน”
ค. “มั่งคั่ง ยั่งยืน มั่นคง” ง. “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
40) ยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วยการพัฒนากี่ด้าน
ก. 4 ด้าน ข. 5 ด้าน
ค. 6 ด้าน ง. 7 ด้าน
41) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศ มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมาย e-Service เมื่อใด
ก. เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
ข. เมื่อมีรายได้เกิน 2 ล้านบาทต่อปี
ค. เมื่อเจ้าหน้าทีอ่ อกหมายเรียก
ง. เมื่อมีการยื่นคำขอเข้ามาให้บริการแพลตฟอร์มในประเทศไทย

อธิบ าย การจัด เก็บภาษี มูลค่า เพิ่ ม กรณี การ ให้ บ ริการทางอิ เล็ กทรอนิ กส์จ ากต่างประเทศ
(กฎหมาย e–Service) จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ครอบคลุม ผู้ให้บริการดิจิทัลข้ามชาติ ที่มี รายได้
จากผู้ใช้บริการในประเทศไทยเกิน 1.8 ล้านบาท/ปี
ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารดิ จิ ทั ล ข้ า มชาติ ที่ ให้ บ ริ ก าร Download ภาพยนตร์ เพลง เกม ให้ บ ริ ก าร
Streaming ให้ บริการจองโรงแรม ที่พัก การเดินทาง และพื้นที่ โฆษณา สื่อโฆษณา เช่น Facebook
Netflix Disney Line Youtube Google Airbnb Apple Tiktok Agoda เป็นต้น
[312]

VES หรือ VAT for Electronic Service เป็ นระบบที่กรมสรรพากรได้จั ดทํ าขึ้น เพื่ ออํานวย
ความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทํา ธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การ
จดทะเบียน การยื่นแบบ การชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่าง
สะดวก รวดเร็ว
ผู้ป ระกอบการ e-Sevice ต้องจดทะเบียนกับระบบ VES ที่ www.rd.go.th โดยสามารถยื่น
แบบ และชําระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบVES ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป

42) วิธีการคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลประเภทเดียวกัน ที่มาตรฐานการบัญชี


รับรองคือคำนวณตามข้อใด
ก. The first-in first-out (FIFO) ข. The moving average cost
ค. ไม่มีข้อใดถูก ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข

อธิบาย
การคำนวณต้นทุนคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลประเภทเดียวกัน ให้ใช้วิธีที่มาตรฐาน
การบั ญ ชี รั บ รอง เช่ น วิ ธี เข้ าก่ อ นออกก่ อ น (FIFO) หรือ วิ ธี ต้ น ทุ น ถั ว เฉลี่ ย เคลื่ อ นที่ (Moving
average cost) และให้คำนวณต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ
 วิธี เข้าก่อนออกก่อ น The first-in first-out (FIFO) คือ การคำนวณต้ นทุ น คริ ป โท
เคอร์ เรนซี/โทเคนดิจิ ทั ล โดยคริ ป โทเคอร์ เรนซี/โทเคนดิจิทั ล ที่ ซื้อมาก่อนจะขายออกไปก่อ น
ตามลำดับ จึงเป็นผลให้รายการ คริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่เหลืออยู่ ณ วันสุดท้ายเป็นคริป
โทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ซื้อมา ครั้งหลังสุด
 วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ The moving average cost คือ การคำนวณต้นทุนคริป
โทเคอร์เรนซี/ โทเคนดิจิทัล แต่ละประเภทจะกำหนดจากการถัวเฉลี่ยต้นทุนของคริปโทเคอร์เรน
ซี/โทเคนดิจิทัลประเภท เดียวกัน ณ วันต้นปีกับต้นทุนของคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัลที่ซื้อมา
ในระหว่างปีซึ่งคำนวณทุกครั้งที่ ซื้อคริปโทเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล

43) ใครมีหน้าที่ยื่นแบบภาษีเงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซี
ก. เงินได้จากการโอนหรือขายคริปโทเคอร์เรนซี เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
ข. เงินได้จากการขายคริปโทเคอร์เรนซี ที่ได้จากการขุด
ค. เงินได้จากผลตอบแทนใด ๆ จากการน าคริปโทเคอร์เรนซี ไปหาประโยชน์
ง. ถูกทุกข้อ
44) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ Eastern Economic Corridor ชื่อย่อคืออะไร
ก. ECC ข. BBC
ค. EER ง. EEC
45) รัฐบาลไทยได้จัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ
EEC ขึน้ โดยกฎหมายใด
ก.พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560
ข.พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561
ค.พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2562
[313]

ง.พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2559


46) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC ครอบคลุมพื้นที่
จังหวัดใดบ้าง
ก. ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และจันทบุรี
ข. ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
ค. ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และตาก
ง. ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และตราด
47) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor มีหน่วยงานใดเป็น
หน่วยงานหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ที่กฎหมายกำหนด
ก.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ข.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ค.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษของประเทศ
ง.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภูมิภาคตะวันออกและตะวันตก
48) อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษที่รัฐบาล จะส่งเสริมและสนับสนุน เพื่อยกระดับความสามารถใน
การแข่งขัน หรือ อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) มีกี่ อุตสาหกรรม
ก. 3 ข. 4
ค. 5 ง. 6
49) อุตสาหกรรมใด ที่ไม่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve)
ก. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
ข. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
ค อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
ง.อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
50) พิธีลงนามภาคยานุวัติสารเข้าเป็นอัครภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกโดยย่อว่าอย่างไร
ก. TAC ข. TEC
ค. TAM ง. TAX
51) สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and
Cooperation in Southeast Asia : TAC) ปัจจุบัน มีภาคีรวมทั้งสิ้น กี่ประเทศ
ก. 39 ประเทศ ข. 40 ประเทศ
ค. 41 ประเทศ ง. 42 ประเทศ
52) รัฐสภา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ก.สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ข. รัฐบาล และ สภาผู้แทนราษฎร
ค. คณะรัฐมนตรี และ ศาล
ง. คณะรัฐมนตรี ศาล และ คณะกรรมการกฤษฎีกา
53) ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้
อย่างไร
[314]

ก.โดยคําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา
ข.วุฒิสภา
ค. สภาผู้แทนราษฎร
ง. คณะกรรมการกฤษฎีกา
54) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก จํานวนกี่คน
ก. 305 คน ข. 400 คน
ค. 500 คน ง. 550 คน
55) วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. 205 คน ข. 100 คน
ค. 200 คน ง. 250 คน
56) ผู้ที่จะสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ต้องมีอายุเท่าใด
ก.อายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีในวันสมัครรับเลือก
ข.อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีในวันสมัครรับเลือก
ค.อายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีในวันสมัครรับเลือก
ง.อายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีในวันสมัครรับเลือก
57) คณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มีกี่คน
ก. 35 คน ข. 40 คน
ค. 45 คน ง. 50 คน
58) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้ โรค COVID-19 เป็นโรคติดต่อร้ายแรง อันดับ
ที่ เท่าใดของไทย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
ก. อันดับที่ 12 ข. อันดับที่ 13
ค. อันดับที่ 14 ง. อันดับที่ 15
59. ระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมี ลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุ ม ที่เก็บ
สถิติการทำธุรกรรมทางการเงิน และสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ โดยไม่มีตัวกลาง หมายถึงข้อใด
ก. Blockchain ข. AI
ค. สมาร์ทโฟน ง. 5 G
60. เทคโนโลยีเสมือนจริง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอย่างไร
ก. “เทคโนโลยี ER” ข. “เทคโนโลยี AR”
ค. “เทคโนโลยี RR” ง. “เทคโนโลยี PR”
[315]

เฉลยแนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และการเมือง


ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ ข้อ คำตอบ
1 ค 21 ก 41 ก
2 ค 22 ง 42 ง
3 ง 23 ค 43 ง
4 ค 24 ก 44 ง
5 ข 25 ค 45 ข
6 ค 26 ก 46 ข
7 ข 27 ก 47 ก
8 ข 28 ง 48 ค
9 ก 29 ข 49 ง
10 ง 30 ก 50 ก
11 ก 31 ข 51 ข
12 ค 32 ก 52 ก
13 ก 33 ก 53 ก
14 ข 34 ข 54 ค
15 ข 35 ง 55 ง
16 ก 36 ง 56 ข
17 ค 37 ค 57 ก
18 ค 38 ก 58 ค
19 ก 39 ง 59 ก
20 ก 40 ค 60 ข
[316]

แนวข้อสอบ
ความรู้ เกีย่ วกับ พ.ร.บ.ข้ อมูลข่าวสารของราชการ และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้ อมูลส่ วนบุคคล

ข้อสอบพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540


1. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มีผลบังคับตามข้อใด
ก. วันที่ 2 กันยายน 2540
ข. วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง.วันพ้นกำหนด 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2.ข้อมูลข้อที่เท็จจริงทีอ่ ยูใ่ นความครอบครองดูแลของหน่วยงานรัฐหมายถึงข้อใด
ก.ข้อมูลข่าวสาร
ข.ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ค.ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ง.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ
3. องค์กรใดมีหน้าที่ปฏิบตั ิงานเกี่ยวกับหน่วยงานรัฐและปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
ของทางราชการ
ก. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข.คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค.สำนักงานคณะอนุกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ง.คณะอนุกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
4. ข้อมูลข่าวสารราชการ หากมีบางส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยให้ดำเนินการเช่นใด
ก. ห้ามเปิดเผยทัง้ ฉบับ ข.ให้ขดี ฆ่าด้วยหมึกแดง
ค.ให้ลบหรือตัดตอนข้อความนั้น ง.ให้ดำเนินการข้อใดข้อหนึง่
5. ภาระหน้าทีส่ ำคัญของหน่วยงานรัฐเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนราชการคือข้อใด
ก.พิมพ์ข้อมูลข่าวสารลงในราชกิจจานุเบกษา
ข. จัดข้อมูลข่าวสารไว้ให้ประชาชนได้ตรวจดู
ค.ทำข้อมูลข่าวสารให้แก่ผขู้ อ
ง. ถูกทุกข้อ
6. หากประชาชนขอดูข้อมูลข่าวสารต่อหน่วยงานของท่าน แต่ข้อมูลข่าวสารนั้นอยู่ในความ
ควบคุม ของหน่วยงานอื่น จะดำเนินการอย่างไร
ก.ไม่รับคำขอ
ข.รับคำขอและยื่นต่อหน่วยงานนั้นๆ
[317]

ค.รับคำขอและเป็นธุระจัดหาให้
ง. แนะนำให้ไปยืน่ คำขอต่อหน่วยงานนัน้ ๆ
7.ข้อใดคือเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
ก.เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการ
ต่างๆ ของรัฐ เพือ่ ที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดย
ถูกต้องกับความเป็นจริง รวมทั้งมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
ข.เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ต้อง
เปิดเผยหรือ ไม่อาจเปิดเผยเพือ่ ให้ชัดเจนต่อการปฏิบตั ิ โดยจำกัดเฉพาะข้อมูลข่าวสารทีห่ าก
เปิดเผยแล้วจะ เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สำคัญของเอกชน
ค.เพื่อคุ้มครองการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคลที่
อยู่ในความครอบครองของของหน่วยงานของรัฐ
ง.ถูกทุกข้อ
8. ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ควรเปิดเผยหน่วยงานรัฐต้องดำเนินการตามข้อใด
ก. แจ้งให้ประชาชนได้ทราบ
ข. ประกาศห้ามในราชกิจจานุเบกษา
ค.ลบหรือตัดทอนข้อมูลข่าวสารนั้น
ง.ทำคำสั่งมิให้เปิดเผย
9. ข้อมูลข่าวสารใด หน่วยงานราชการเปิดเผยไม่ได้
ก. ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ข.รายงานบทบาทการแพทย์ของบุคคลใดๆ
ค.ข้อมูลเกี่ยวกับราชการทางทหาร
ง.ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
10.ข้อมูลที่หน่วยงานรัฐจะเปิดเผยแต่กระทบต่อบุคคลอื่นๆ ต้องแจ้งให้บุคคลนั้นเสนอคัดค้าน
มิให้เปิดเผยในเวลาตามข้อใด
ก.ภายใน 15 วัน นับแต่วันรับแจ้ง ข. ไม่นอ้ ยกว่า 15 วัน นับแต่วนั รับแจ้ง
ค.ภายใน 30 วัน นับแต่วนั รับแจ้ง ง.ไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วนั รับแจ้ง
11. การดำเนินการตามข้อ 10 หากหน่วยงานรับยังไม่ประสงค์จะเปิดเผยและมีคำสั่งมิให้รับฟังคำ
คัดค้านบุคคลนั้นจะอุทธรณ์เพื่อมิให้เปิดเผยข้อมูลต่อได้ภายใน 15 วัน
ก.เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ
ข.คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ง.นายกรัฐมนตรี
12. เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐได้เปิดเผยข้อมูลโดยดำเนินการถูกต้องตามระเบียบโดยอำนาจสมควรแก่เหตุ
และเพื่อประโยชน์อันสำคัญเกี่ยวกับสาธารณะหากเข้าข่ายต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ข้อใด
กล่าวถูกต้องที่สุด
[318]

ก.ถือว่าปฏิบัตสิ ุจริตแล้ว ข.ไม่ตอ้ งรับผิดชอบใดๆ ทัง้ สิน้


ค.รับผิดชอบตามความผิดนั้น ง.ไม่ต้องรับผิดชอบหากกระทำโดยสุจริต

13. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. บุคคลตัวแทนบุคคลมีสิทธิได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารของบุคคลนั้น
ข. ให้จัดทำคำขอดูขอ้ มูลหรือสำเนาข้อมูลนั้นได้
ค. หน่วยงานต้องให้ตรวจดู ให้สำเนาได้ เว้นแต่ข้อมูลที่มใิ ห้เปิดเผย
ง.ถูกทุกข้อ
14. ข้อมูลข่าวสารทีห่ น่วยงานของรัฐประสงค์จะเก็บรักษา หรือมีอายุครบเก็บ จะต้องเก็บรักษา
หรือจัดให้ประชาชนได้ศึกษาที่หน่วยงานใด
ก.สำนักงานทะเบียนกลาง สำนักนายกรัฐมนตรี
ข.หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ค.สำนักงานทะเบียนกลางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ง.ให้หน่วยงานรัฐนัน้ ๆ ทำลายตามระเบียบงานสารบรรณ
15. ข้อมูลทีอ่ าจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ มีอายุการเก็บรักษากี่ปี
ก. 20 ปี ข. 25 ปี
ค. 35 ปี ง. 75 ปี
16. ข้อมูลที่มีคำสั่งมิให้เปิดเผยหากมีอายุการเก็บครบ 20 ปี แต่หน่วยงานรัฐเห็นว่ายังไม่ควร
เปิดเผยต้องขอขยายเวลาส่งเก็บรักษา โดยขยายเวลาไม่เกินคราวละกี่ปี
ก. 1 ปี ข. 5 ปี
ค. 7 ปี ง. 10 ปี
17. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
ก. คณะกรรมการมีทั้งหมด 23 คน โดยตำแหน่ง 14 คน ผูท้ รงคุณวุฒิ 9 คน
ข.คณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี แต่งตั้งอีกก็ได้แต่ไม่เกิน 2 วาระ
ค.การวินิจฉัยชีข้ าดของคณะกรรมการ ถือเสียงข้างมาก
ง.คณะกรรมการพิจารณาคำร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากจำเป็นขยายเวลา
อีก ไม่เกิน 30 วัน
18. ผูใ้ ดไม่ได้เป็นคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (กขร.)
ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ค. ปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ง. ถูกทุกข้อ
19. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับคณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารฯ
ก. มีจำนวน 5 คณะแต่งตัง้ โดย ครม. ตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารเสนอ
ข. คณะกรรมการแต่ละคณะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
ค. เลขานุการ, ผู้ช่วยเลขานุการแต่ละคณะแต่งตัง้ จากข้าราชการประจำ
ง. การพิจารณาเกีย่ วข้องกับหน่วยงานใดกรรมการที่แต่งตัง้ จากหน่วยงานรับข้อมูลไป
[319]

พิจารณา
20. เมือ่ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารได้รับข้ออุทธรณ์จากผู้ขอ ต้องส่งให้คณะกรรมการวินิจฉัย
ข้อมูลสาขานั้นๆ ภายในกี่วัน นับตัง้ แต่คณะกรรมการได้รับคำอุทธรณ์
ก. 5 วัน ข. 7 วัน
ค. 10 วัน ง. 15 วัน
21.ข้อใดถือเป็นข้อมูลข่าวสาร
ก. หนังสือ ข. การบันทึกภาพหรือเสียง
ค. แผนผัง ง. ถูกทุกข้อ
22. ข้อใดต่อไปนีค้ อื ข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของเอกชน
ข. ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ
ค.ข้อมูลข่าวสารทีอ่ ยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล
ข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
ง. ข้อมูลข่าวสารที่อยูใ่ นความครอบครองหรือควบคุมดูแลของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล
ข่าวสาร เกีย่ วกับการดำเนินงานของรัฐหรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน
23.ข้อใดไม่ใช่หน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ก. ราชการส่วนภูมิภาค
ข. ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ค. ราชการส่วนท้องถิ่น
ง ศาลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี
24.ข้อใดถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ก.ประวัติสุขภาพ ข.ประวัติอาชญากรรม
ค.สิ่งเฉพาะตัวของผู้ท่ถี งึ แก่กรรม ง. ถูกทุกข้อ
25. ข้อใดคือคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติขอ้ มูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ก. บุคคลธรรมดาที่มีสญ ั ชาติไทยแต่ไม่มีถิ่นทีอ่ ยูใ่ นประเทศไทย
ข.บุคคลธรรมดาทีไ่ ม่มสี ัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
ค.บุคคลธรรมดาที่ไม่มสี ัญชาติไทยและไม่มีถิ่นทีอ่ ยู่ในประเทศไทย
ง.บุคคลธรรมดาที่มสี ัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
26. ข้อใดต่อไปนี้เป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติขอ้ มูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
ก.สมาคมทีม่ ีสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งเป็นคนต่างด้าว
ข.สมาคมหรือมูลนิธิท่มี ีวตั ถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของคนต่างด้าว
ค.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่มีทนุ เกินกึ่งหนึง่ เป็นของคนต่างด้าว
ง.ถูกทุกข้อ
27. ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นผู้รกั ษาการตามพระราชบัญญัตขิ ้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
ก.นายกรัฐมนตรี ข.รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทย
[320]

ค.อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ง.ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
28.สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการสังกัดส่วนราชการใด
ก.สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข.สำนักนายกรัฐมนตรี
ค.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ง.ไม่ได้สังกัดส่วนราชการใดเพราะเป็น
29. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ก.ประสานงานกับเอกชน
ข.ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานธุรการให้แก่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค.ให้คำปรึกษาแก่เอกชน
ง.ปฏิบตั งิ านเกี่ยวกับงานวิชาการคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
30.ข้อมูลข่าวสารตามข้อใดทีไ่ ม่ต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
ก.โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
ข.แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
ค.สถานที่ตดิ ต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
ง.สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
31. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู ยกเว้นข้อใด
ก.สัญญาสัมปทาน
ข.ผลการพิจารณาหรือคำวินจิ ฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน
ค.มติคณะรัฐมนตรี
ง.แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายในปีทด่ี ำเนินการ
32. ข้อใดเป็นสิทธิของบุคคลไม่ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตามกับข้อมูลข่าวสารนั้น
ก.ขอสำเนา ข.ขอสำเนาทีม่ ีคำรับรองถูกต้อง
ค.เข้าตรวจดู ง.ถูกทุกข้อ
33. ผูใ้ ดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลลงในราชกิจจานุเบกษาหรือเห็นว่าตนไม่ได้รับ
ความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้มีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามข้อใด
ก.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ข.คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค.คณะกรรมการอุทธรณ์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ง.ถูกทุกข้อ
34. ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ข้อมูลลงในราชกิจจานุเบกษาหรือเห็นว่าตนไม่ได้รับ
ความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้มีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการตามข้อ 15
คณะกรรมการต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วนั
ก.15 วัน ข.30 วัน
ค.45 วัน ง.60 วัน
35. คณะพิจารณาเรื่องร้องเรียนในกรณีท่มี ีเหตุจำเป็นให้ขยายเวลาออกไปได้รวมแล้วไม่เกินกี่วัน
ก.15 วัน ข.30 วัน
[321]

ค.45 วัน ง.60 วัน


36. ข้อมูลข่าวสารของราชการใดทีอ่ าจมีคำสัง่ มิให้เปิดเผยก็ได้
ก.รายงานการแพทย์
ข.การเปิดเผยจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตาม
วัตถุประสงค์
ค.การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมัน่ คงของประเทศ
ง.ถูกทุกข้อ
37.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการใด
อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้ผนู้ นั้ เสนอคำคัดค้านภายใน
ระยะเวลาไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก.15 วัน ข.30 วัน
ค.45 วัน ง.60 วัน
38. ในกรณีท่เี จ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้
เปิดเผย ผูน้ ั้นมีสิทธิอุทธรณ์คณะกรรมการตามข้อใด
ก.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ข.คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค.คณะกรรมการอุทธรณ์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ง.ถูกทุกข้อ
39. หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือตาม
เวลาในข้อใด
ก.ในขณะนั้น ข.ล่วงหน้าหรือในขณะนัน้
ค.ย้อนหลัง ง.เวลาใดก็ได้
40.หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้ ยกเว้นข้อใด
ก.เปิดเผยต่อหน่วยงานของรัฐที่ทำงานด้านการวางแผนหรือการสถิติหรือสำมะโนต่าง ๆ
ข.รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ค.เปิดเผยเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุช่อื
ง.เปิดเผยต่อหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
41. ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องมีสิทธิยนื่ ขอแก้ไข
เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูล ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูล ให้ผู้นั้นมี
สิทธิอุทธรณ์ตอ่ คณะกรรมการตามข้อใด
ก.คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ข.คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค.คณะกรรมการอุทธรณ์การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ง.ถูกทุกข้อ
[322]

42. ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลผู้นั้นมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ภายในกี่วัน
ก. 15 วัน ข.30 วัน
ค. 45 วัน ง. 60 วัน
43.ข้อมูลข่าวสารตามข้อใดต่อไปนี้ที่กรมสรรพากร สามารถจัดเก็บไว้เพื่อการบริหารการจัดเก็บ
ภาษีได้
ก. ชื่อ ชือ่ สกุล ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ
ข. วันเดือนปีเกิด วันเดือนปีทจ่ี ดทะเบียนภาษี
ค. เลขประจำตัวประชาชน
ง. ถูกทุกข้อ
44.นายอดุลย์ เป็นผูม้ ีรายได้ และยืน่ เสียภาษีตอ่ กรมสรรพากร แล้ว ต้องการขอข้อมูลเกี่ยวกับ
จำนวนเงินได้พงึ ประเมินของปีภาษีก่อนหน้า อยากทราบว่านายอดุลย์ สามารถขอรับ
ข้อมูลดังกล่าว ได้ท่ีใด
ก. กองกฎหมาย กรมสรรพากร
ข. ส่วนวางแผน สำนักงานสรรพากรภาค
ค. ส่วนกรรมวิธีและคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่
ง. งานบริหารงานทั่วไป สำนักงานสรรพากรพืน้ ทีส่ าขา
45. นางสิรดา ไปขอคัดเอกสารการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(แบบ ภ.ง.ด.90) เนื่องจากจะลงสมัครเป็น นายกเทศบาล ณ สนง.สรรพากรพื้นทีส่ ระบุรี
(ได้รับเป็นกระดาษ A4) อยากทราบว่า นางสิรดา ต้องเสียค่าธรรมเนียม อย่างไร
ก. หน้าละ 1 บาทและให้คารับรองถูกต้องคำรับรองละ 5 บาท
ข. หน้าละ 1.50 บาทและให้คารับรองถูกต้องคำรับรองละ 5 บาท
ค. หน้าละ 2 บาทและให้คำรับรองถูกต้องคำรับรองละ 5 บาท
ง. หน้าละ 3 บาทและให้คำรับรองถูกต้องคำรับรองละ 5 บาท
46. นายปกรณ์ ต้องการคัดค้นสำเนาภาพ แบบ ภ.ง.ด.50 ทีย่ ื่นทาง Internet ของ
กรมสรรพากร จะต้องชำระค่าธรรมเนียมคัดค้นแบบแสดงรายการภาษี อย่างไร
ก. กรณีรับรองสำเนาถูกต้อง คิดค่าธรรมเนียม 6 บาท/ฉบับ
ข.กรณีไม่ต้องรับรองสำเนาถูกต้อง คิดค่าธรรมเนียม 1 บาท/ฉบับ
ค. ทั้งกรณีรับรองสำเนาถูกต้อง และไม่รับรองสำเนา คิดค่าธรรมเนียม 5 บาท/ฉบับ
ง. ถูก ทัง้ ข้อ ก และ ข
47. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่หลักการและแนวคิดของการตราพระราชบัญญัติขอ้ มูลข่าวสารของ
ราชการ พ.ศ. 2540
ก. ให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ขอ้ มูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ
ข. รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
ค. ข้อมูลข่าวสารทุกชนิด สามารถเปิดเผยได้เสมอ
ง. ข้อมูลข่าวสารของราชการทัง้ หมด หรือส่วนใหญ่ สามารถเปิดเผยได้
[323]

แนวคำตอบ หลักการและแนวคิดของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540 คือ


1. ให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ของรัฐ
2. รับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
3. ข้อมูลข่าวสารของราชการทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ สามารถเปิดเผยได้ ภายใต้หลักที่ว่า “เปิดเผย
เป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น”

48. ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ก. เสียงที่บันทึกไว้ขณะคุยโทรศัพท์ ของ นายประเมิน
ข. ฐานะการเงินของ นางสาวภาษี
ค. วุฒิการศึกษา ของ นายประชัน
ง. ผลงานวิจัย ทีป่ รากฏอยู่ตาม เว็บไซต์ของไทยลิส

แนวคำตอบ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่ง


เฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสขุ ภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือ
ประวัติการทำงาน เลขหมาย รหัส หรือส่ิงบอกลักษณะที่ทำให้รู้ตัวผูน้ ั้น
** ผลงานวิจัย..ที่ได้รับการรับรองแล้ว..ถือว่าเป็นข้อมูลของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ สามารถนำไป
เผยแพร่ได้
[324]

เฉลยแนวข้ อสอบ พ.ร.บ.ข้ อมูลข่ าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540


ข้ อ เฉลย ข้ อ เฉลย ข้ อ เฉลย ข้ อ เฉลย
1 ง 11 ค 21 ง 31 ง
2 ค 12 ง 22 ข 32 ง
3 ก 13 ง 23 ง 33 ข
4 ค 14 ข 24 ง 34 ข
5 ง 15 ง 25 ค 35 ง
6 ง 16 ข 26 ง 36 ง
7 ง 17 ข 27 ก 37 ก
8 ง 18 ค 28 ก 38 ก
9 ง 19 ง 29 ก 39 ข
10 ข 20 ข 30 ข 40 ข

ข้ อ เฉลย ข้ อ เฉลย ข้ อ เฉลย ข้ อ เฉลย


41 ก 43 ง 45 ก 47 ค
42 ข 44 ง 46 ง 48 ง
[325]

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติค้ มุ ครองข้ อมูลส่ วนบุคคล (PDPA)


1. กําหนดหน่วยงานและกิจการใดที่ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลไม่อยู่ในบังคับพระราชบัญญัติ
คุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. หน่วยงานของรัฐทุกแห่ ง ข. กิจการด้านการศึกษา
ค. กิจการด้านความบันเทิงและนันทนาการ ง. ถูกทุกข้อ
2. "บุคคลหรื อนิติบุคคลซึ่ งมีอาํ นาจหน้ าที่ตัดสิ นใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผย
ข้ อมูลส่ วนบุคคล" จากข้อความที่ให้ หมายถึงข้อใด
ก. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล ข. ผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. ไม่มีขอ้ ใดถูกต้อง
3. ผูม้ ีอาํ นาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรี วา่ การกระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ค. รัฐมนตรี ประจําสํานักนายกรัฐมนตรี
ง. เลขาธิการคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
4. ผูม้ ีอาํ นาจหน้าที่กาํ หนดมาตรการหรื อแนวทางการดําเนินการเกี่ยวกับการคุม้ ครองข้อมูลส่ วน
บุคคลให้เป็ นไปตามพระราชบัญญัติคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข. คณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิ ดเผยข้อมูลข่าวสาร
ง. คณะกรรมการร่ วมสี่ ฝ่าย
5. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
ก. คณะกรรมการสรรหากรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ มีจาํ นวน 8 คน
ข. นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งผูไ้ ด้รับคัดเลือกเป็ นประธานและกรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ
ค. ประธานกรรมการมีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 4 ปี
ง. กรรมการผูท้ รงคุณวุฒิที่บกพร่ องต่อหน้าที่พน้ จากตําแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรี ให้ออก
6. การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลซึ่งเป็ นคนไร้ความสามารถ ต้องขอความ
ยินยอมจากผูใ้ ด
ก. ผูป้ กครอง ข. ผูอ้ นุบาล
ค. ผูพ้ ิทกั ษ์ ง. พนักงานเจ้าหน้าที่
7. ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวไม่ถูกต้อง
ก. โดยทัว่ ไปผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลจะรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่ วนบุคคล
ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลก่อนหรื อ ขณะนั้น
ข.การขอความยินยอมต้องทําโดยชัดแจ้งเป็ นหนังสื อเท่านั้น
[326]

ค. การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บ รวมรวม ใช้


หรื อเผยแพร่ ดว้ ย
ง. เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลต้องมีอิสระในการให้ความยินยอม
8. ข้อใดมิใช่ ข้อยกเว้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่ วนบุคคลโดยไม่ตอ้ งได้รับความยินยอมจาก
เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล
ก. เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุ ขภาพของบุคคล
ข. เป็ นการปฏิบตั ิตามกฎหมายของผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. การจัดทําเอกสารประวัติศาสตร์หรื อจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูกต้อง
9. นาย เอ เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ถูกตรวจพบว่าเป็ นโรคติดต่ออันตรายอาจเกิดการ
แพร่ เชื้อได้ นาย เอ สามารถใช้สิทธิในการลบข้อมูลส่ วนบุคคลได้หรื อไม่
ก. ได้ เพราะเป็ นข้อมูลส่ วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน
ข. ได้ เพราะมาตรา 33 บัญญัติรับรองสิ ทธิในการลบข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. ไม่ได้ เพราะเป็ นข้อมูลที่กฎหมายระบุให้เก็บรวบรวมข้อมูล
ง. ไม่ได้ เพราะเป็ นข้อมูลสาธารณะ
10. Right to erasure สอดคล้องกับข้อใด
ก. Right to Restrict processing ข. Right to Forgotten
ค. Right to rectification ง. Right to data portability
11. กรณีเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลขอรับสําเนาข้อมูลส่ วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ผูค้ วบคุมข้อมูล
ส่วนบุคคลต้องดําเนินการตามคําขอภายในกี่วนั
ก. ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วนั ที่ได้รับคําขอ ข. ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วนั ที่ได้รับคําขอ
ค. ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วนั ที่ได้รับคําขอ ง. ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วนั ที่ได้รับคําขอ
12. กฎหมาย PDPA กาหนดว่า “เมื่อมีการละเมิดข้อมูลส่ วนบุคคล ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล มี
หน้าที่แจ้งเหตุละเมิดต่อสานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล” อยากทราบว่า จะต้อง
แจ้งภายในเวลาใด
ก. 24 ชัว่ โมง ข. 48 ชัว่ โมง
ค. 72 ชัว่ โมง ง. ไม่มีขอ้ ใดถูกต้อง
13. ผูม้ ีหน้าที่ตรวจสอบการดําเนินงานของลูกจ้างหรื อผูร้ ับจ้างของผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล
เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่ วนบุคคล เพื่อให้เป็ นไปตามพระราชบัญญัติ
คุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ.2562 คือข้อใด
ก. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล
ข. ผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. เจ้าหน้าที่คุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
ง.สํานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
[327]

14.ผูใ้ ดมีหน้าที่จดั ทาระบบการตรวจสอบ เพื่อลบหรื อทําลายข้อมูลส่ วนบุคคล เมื่อพ้นกําหนดเวลา


การเก็บรักษา
ก. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล
ข. ผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. เจ้าหน้าที่คมุ้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
ง. สํานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
15.ผูม้ ีหน้าที่ให้คาํ ปรึ กษาแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการปฏิบตั ิตามพระราชบัญญัติคมุ้
ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) คือข้อใด
ก. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล
ข. ผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. เจ้าหน้าที่คมุ้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
ง. สํานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
16. ข้อใดคือหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ก. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล
ข. ผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. เจ้าหน้าที่คุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
ง. สํานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
17. ตามพระราชบัญญัติคมุ้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562 กาหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ
ในการปฏิบตั ิ ตามกฎหมายไว้กบั บุคคลสองกลุ่ม คือใคร
ก. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล กับ เจ้าหน้าที่
ข. บุคคล กับ นิติบุคคล
ค. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลกับผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
ง. เจ้าหน้าที่ กับ ผูป้ ระมวลผล
18.ข้อใดมิใช่ความรับผิดทางแพ่ง ตามพระราชบัญญัติคมุ้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. จาคุก
ข.ค่าสิ นไหมทดแทนที่แท้จริ ง
ค. ค่าสิ นไหมทดแทน กรณี ที่ศาลสัง่ เพื่อการลงโทษที่เพิม่ ขึ้น
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูกต้อง

อธิบาย ค่าสิ นไหมทดแทน กรณี ที่ศาลสั่งเพื่อการลงโทษที่เพิ่มขึ้น ไม่เกิน 2 เท่าของค่าสิ นไหม


ทดแทนที่แท้จริ ง
19.อายุความในการเรี ยกร้องค่าสิ นไหมทดแทนจากการละเมิดข้อมูลส่ วนบุคคล ตาม
พระราชบัญญัติคมุ้ ครอง ข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะต้องไม่เกินระยะเวลาตามข้อใด
[328]

ก. 1 ปี นับแต่วนั ที่ผเู ้ สี ยหายรู ้ถึงความเสี ยหายและรู ้ตวั ผูก้ ระทาความผิดหรื อ 10 ปี นับแต่วนั ที่มี
การละเมิดข้อมูลส่ วนบุคคล
ข. 2 ปี นับแต่วนั ที่ผเู ้ สี ยหายรู ้ถึงความเสี ยหายและรู ้ตวั ผูก้ ระทาความผิดหรื อ 10 ปี นับแต่วนั ที่มี
การละเมิดข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. 3 ปี นับแต่วนั ที่ผเู ้ สี ยหายรู ้ถึงความเสี ยหายและรู ้ตวั ผูก้ ระทาความผิดหรื อ 10 ปี นับแต่วนั ที่มี
การละเมิดข้อมูลส่ วนบุคคล
ง. 4 ปี นับแต่วนั ที่ผเู ้ สี ยหายรู ้ถึงความเสี ยหายและรู ้ตวั ผูก้ ระทาความผิดหรื อ 10 ปี นับแต่วนั ที่มี
การละเมิดข้อมูลส่ วนบุคคล
20.โทษทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีอตั ราโทษปรับ
ทางปกครองสู งสุ ดตามข้อใด
ก. ไม่เกิน 1 ล้านบาท ข. ไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค. ไม่เกิน 5 ล้านบาท ง. ไม่เกิน 10 ล้านบาท
21.ผูใ้ ดมีอาํ นาจพิจารณาเรื่ องร้องเรี ยนตามพระราชบัญญัติคมุ้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. คณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล ข. คณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญ
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. รมต.ว่าการกระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
22.ผูใ้ ดมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลส่ วนบุคคล
ก. คณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล ข. คณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญ
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. รมต.ว่าการกระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
23.ผูใ้ ดมีอาํ นาจแต่งตั้งคณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญ ตามแต่ละกรณี
ก. คณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล ข. คณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญ
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. รมต.ว่าการกระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
24.ผูใ้ ดมีอาํ นาจสั่งลงโทษปรับทางปกครอง
ก. คณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล ข. คณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญ
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. รมต.ว่าการกระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
25.ผูใ้ ดมีอาํ นาจสั่งให้บุคคลใดส่ งเอกสารหรื อข้อมูลเกี่ยวกับการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
ก. คณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล ข. คณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญ
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่ ง. รมต.ว่าการกระทรวงดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม
26. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลที่ใช้หรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่ วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งน่าจะทําให้ผอู ้ ื่นเกิดความเสี ยหาย ต้องระวางโทษทางอาญาตามข้อใด
ก. จําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรื อปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ข. จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรื อปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ค. จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรื อปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ง. จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรื อปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
27.จากข้อ 26 หากเป็ นการกระทําเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
[329]

สําหรับตนเองหรื อผูอ้ ื่น ต้องระวางโทษตามข้อใด


ก. จําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรื อปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ข. จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรื อปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ค. จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรื อปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ง. จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรื อปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
28.ผูใ้ ดล่วงรู ้ขอ้ มูลส่ วนบุคคลของผูอ้ ื่น เพราะการปฏิบตั ิหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.คุม้ ครองข้อมูลส่ วน
บุคคล พ.ศ. 2562 นําไปเปิ ดเผยแก่ผอู ้ ื่น ต้องรับผิดทางอาญาตามข้อใด
ก. จําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรื อปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ข. จําคุกไม่เกิน 1 ปี หรื อปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ค. จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรื อปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ
ง. จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรื อปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรื อทั้งจําทั้งปรับ

(Note ประมวลรัษฎากร มีการกาหนดเกี่ยวกับการเปิ ดเผยข้อมูลของผูเ้ สียภาษีเช่นกัน


(จุดเน้น) คือ
มาตรา 10 เจ้าพนักงานผูใ้ ดโดยหน้าที่ราชการตามลักษณะนี้ ได้รูเ้ รื่องกิจการของผู้
เสียภาษีอากรหรือของผูอ้ ื่นที่เกี่ยวข้อง ห้ามมิให้นาออกแจ้งแก่ผใู้ ด หรือยังให้ทราบกันไปโดยวิธี
ใด เว้นแต่จะมีอานาจที่จะทาได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 13 เจ้าพนักงานผูใ้ ดฝ่ าฝื นบทบัญญัติมาตรา 10 มีความผิดต้องระวางโทษ
จาคุกไม่เกินหนึ่ งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

29.หลักการสําคัญของสิ ทธิในการเพิกถอนความยินยอม คือข้อใด


ก. เพิกถอนความยินยอมภายใน 1 ปี นับแต่ให้ความยินยอม
ข. เพิกถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้
ค. เพิกถอนความยินยอมเป็ นลายลักษณ์อกั ษรเท่านั้น
ง. เพิกถอนความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
30. “กรณี ที่ตอ้ งการลบหรื อทําลายแต่ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลไม่ดาํ เนินการให้” ท่านจะแนะนํา
เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล อย่างไร จึงจะเป็ นไปตามกฎหมายคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล
ก. โต้แย้ง ข. ร้องทุกข์
ค. แจ้งความ ง. ร้องเรี ยน
31. หากมีการส่ งต่อหรื อเปิ ดเผยข้อมูลส่ วนบุคคลต่อสาธารณะและเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลขอให้
ลบหรื อทําลายข้อมูลดังกล่าว ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลต้องดําเนินการอย่างไร
ก. แจ้งให้ทราบผลกระทบ
ข. หยุดประมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคลที่ขอให้ลบหรื อทําลาย
ค. แจ้งผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลอื่น ๆ ให้ดาํ เนินการลบหรื อทําลายตามคําขอ
[330]

ง. แก้ไขให้ถูกต้อง สมบูรณ์
32. เมื่อผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลได้รับคําขอการเพิกถอนจากเจ้าของข้อมูลแล้ว ต้องทําอย่างไร
ก. แจ้งให้ทราบผลกระทบจากการถอนความยินยอม
ข. หยุดประมวลผล
ค. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ง. ถูกข้อ ก และ ข.
33. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลที่ไม่แจ้งผลกระทบจากการถอนความยินยอม มีโทษตามข้อใด
ก.โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท
ง. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 แสนบาท
34. เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลได้รับความคุม้ ครองสิ ทธิ ในเรื่ องใดโดยไม่ตอ้ งมีการร้องขอ
ก. สิ ทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคล
ข. สิ ทธิ ในการลบข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. สิ ทธิ ได้รับแจ้งการเก็บรวบรวมข้อมูลส่ วนบุคคล
ง. สิ ทธิหา้ มมิให้ประมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
35. ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลที่ไม่ปฏิบตั ิตามกฎหมายเกี่ยวกับการแจ้งรายละเอียดการเก็บ
รวบรวมข้อมูลส่ วนบุคคล มีโทษในข้อใด
ก. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท
ง. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 แสนบาท
36. สิ ทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคล ยกเว้นเรื่ องใด
ก. ขอเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคลเกี่ยวกับตน
ข. ขอรับสําเนาข้อมูลส่ วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
ค. ขอให้ส่งข้อมูลไปยังผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลอื่น
ง. ขอให้เปิ ดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลที่ไม่ได้ให้ความยินยอม
37. หากเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล ขอเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคล ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลต้องทํา
อย่างไร
ก. ต้องปฏิบตั ิตามคําขอ
ข. ปฏิเสธ เยอเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้หรื อตามคาสั่งศาล
ค. ปฏิเสธคาขอหากจะเกิดความเสี ยหายต่อบุคคลอื่น
ง. ถูกทุกข้อ
38. หากเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล ขอให้เปิ ดเผยถึงการได้มาของข้อมูลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
[331]

ซึ่งผูค้ วบคุมข้อมูลไม่อาจปฏิเสธได้ เช่นนี้ ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล ต้องดาเนินการตามคาขอ


อย่างไร
ก. ดาเนินการโดยไม่ชกั ช้า
ค. ดาเนินการตามความเหมาะสม
ข. ดาเนินการโดยด่วนที่สุด
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูกต้อง
39.จากข้อ 38 ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลต้องดาเนินการตามสิ ทธิเข้าถึงข้อมูลภายใน กี่วนั
ก. 15 วัน นับแต่วนั ที่ยื่นคาขอ
ค. 30 วัน นับแต่วนั ที่ยนื่ คาขอ
ข. 15 วัน นับแต่วนั ที่รับคาขอ
ง. 30 วัน นับแต่วนั ที่รับคาขอ
40. จากข้อ 39 หากผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล ดาเนินการไม่เป็ นไปตามระยะเวลาที่กฎหมาย
กาหนดจะมีโทษตามข้อใด
ก. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท
ง. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 แสนบาท
41. Right to Rectification หมายถึงข้อใด
ก. สิ ทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคล
ข. สิ ทธิ ในการลบข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. สิ ทธิ ในการแก้ไขข้อมูลส่ วนบุคคลให้ถูกต้อง
ง. สิ ทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล
42.ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลต้องแก้ไขข้อมูลส่ วนบุคคลตามหลักการข้อใด
ก. ถูกต้อง เป็ นปัจจุบนั ข. สมบูรณ์
ค. ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ง. ถูกทุกข้อ
43.มาตรการทางกฎหมายคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล ในกรณี ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลไม่
ดาเนินการแก้ไขข้อมูลส่ วนบุคคลให้ถูกต้อง คือข้อใด
ก. ร้องทุกข์ ข. ร้องเรี ยน
ค. อุทธรณ์ ง. ฟ้องร้อง
44.หลักการสาคัญของสิ ทธิในการลบข้อมูลส่ วนบุคคล คือข้อใด
ก. สิ ทธิขอให้ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลลบข้อมูลส่ วนบุคคล
ข. ขอให้ทาลายข้อมูลส่ วนบุคคล
ค. ทาให้ขอ้ มูลส่ วนบุคคลไม่สามารถระบุถึงตนได้
ง. ถูกทุกข้อ
[332]

45. ข้อใดไม่ใช่เงื่อนไขในการขอลบข้อมูลส่ วนบุคคล


ก. ข้อมูลหมดความจาเป็ นในการประมวลผลตามวัตถุประสงค์
ข. เป็ นข้อมูลส่ วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์
ค. เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวมใช้หรื อเปิ ดเผยข้อมูล
ส่วนบุคคล
ง. ประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
46.ข้อจากัดในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่ วนบุคคล คือข้อใด
ก. เป็ นข้อมูลเกี่ยวกับเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็น
ข. เป็ นข้อมูลที่กฎหมายกาหนดให้เก็บ
ค. เป็ นข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์
ง. ถูกทุกข้อ
[333]

เฉลยพระราชบัญญัติค้ มุ ครองข้ อมูลส่ วนบุคคล


ข้อ1 ง ข้อ 2 ก ข้อ 3 ข
ข้อ 4 ข ข้อ 5 ข ข้อ 6 ข
ข้อ 7 ข ข้อ 8 ง
ข้อ 9 ค การเก็บรวบรวมข้อมูลส่ วนบุคคลเพื่อให้บรรลุวตั ถุประสงค์เกี่ยวกับ
ประโยชน์สาธารณะด้านสาธารณสุ ข เป็ นกรณี ที่มีความจาเป็ นในการปฏิบตั ิตาม
กฎหมายนั้น ๆ ตามมาตรา 26 (5) (ข) ถูกจากัดสิ ทธิในการลบข้อมูลส่ วนบุคคลตาม
มาตรา 33 วรรคสอง
ข้อ 10 ข Right to erasure หรื อ Right to Forgotten คือ สิ ทธิในการลบหรื อทาลายหรื อทาให้
ข้อมูลส่ วนบุคคล เพื่อให้ขอ้ มูลไม่สามารถระบุตวั บุคคลได้
ข้อ 11 ค ข้อ 12 ค ข้อ 13 ค
ข้อ 14 ก ตามมาตรา 37 (3) กล่าวถึงหน้าที่ของ ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล
ข้อ 15 ง ตามมาตรา 44 (6 ) กล่าวถึง หน้าที่ของ สนง.คณะกรรมการคุม้ ครองข้อมูล
ส่ วนบุคคล
ข้อ 16 ง ตามมาตรา 43 วรรคสี่ ให้สานักงานกณะกรรมการข้อมูลส่ วนบุคคลเป็ นหน่วยงาน
ของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ข้อ 17 ค พ.ร.บ.คุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562 กาหนดหน้าที่และความรับผิดชอบใน
การปฏิบตั ิตามกฎหมายไว้กบั บุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล กับ
ผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคล โดยรับแนวคิดมาจาก General Data Protection
Rcgulation(GDPR) ซึ่งเป็ นกฎหมายคุม้ ครองข้อมูลส่ วนบุคคลของสหภาพยุโรป
ข้อ 18 ก ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล/ ผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคลที่ทาให้เกิดความเสี ยหาย
ต่อเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทน ไม่วา่ จะเกิดจากการ
กระทาโดยจงใจหรื อประมาทเลินเล่อหรื อไม่ก็ตาม เว้นแต่จะพิสูจน์ได้วา่
ㆍ เหตุสุดวิสัย หรื อเกิดจากการกระทาหรื อละเว้นการกระทาโดยเจ้าของข้อมูล
ส่ วนบุคคล
ㆍเป็ นการปฏิบตั ิตามคาสั่งของเจ้าหน้าที่ซ่ ึงปฏิบตั ิการตามหน้าที่และอานาจตาม
กฎหมาย
ข้อ 19 ค มาตรา 78 วรรคสอง อายุความไม่เกิน 3 ปี นับแต่วนั ที่ผเู ้ สี ยหายรู ้ถึงความ
เสี ยหายและรู ้ตวั ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลหรื อผูป้ ระมวลผลข้อมูลส่ วนบุคคลที่
ต้องรับผิด หรื อ10 ปี นับแต่วนั ที่มีการละเมิดข้อมูลส่ วนบุคคล
ข้อ 20 ค มาตรา 84 และมาตรา 87 กาหนดอัตราโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท
ข้อ 21 ข ข้อ 22 ข ข้อ 23 ก
ข้อ 24 ข ข้อ 25 ข ข้อ 26 ก
ข้อ 27 ข ข้อ 28 ก
[334]

ข้อ 29 ข เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ถือเป็ นหลักการสาคัญ เป็ น


การคุม้ ครองสิ ทธิของเจ้าของข้อมูล
ข้อ 30 ค มาตรา 33 วรรคสาม หากผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลส่ งต่อหรื อเปิ ดเผย
ข้อมูลต่อสาธารณะแล้ว ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลจะต้องแจ้งผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วน
บุคคลอื่น ๆ ให้ลบตามคาขอ โดยเสี ยค่าใช้ง่ายเองทั้งหมด
ข้อ 31 ข
ข้อ 32 ง
ข้อ 33 ก มาตรา 82 ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลที่ไม่แจ้งผลกระทบจากการถอน ความยินยอม
มีโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข้อ 34 ค มาตรา 23 ให้ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล มีหน้าที่ตอ้ งแจ้งเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล
ทราบก่อนหรื อขณะเก็บรวบรมข้อมูลส่ วนบุคคล โดยเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลไม่
ต้องร้องขอ หากผูค้ วบคุมฝ่ าฝื นไม่ปฏิบตั ิ มีโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข้อ 35 ก
ข้อ 36 ค มาตรา 30 สิ ทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคลเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลมีสิทธิ
1. ขอเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน 2. ขอรับสาเนาข้อมูลส่ วนบุคคลที่
เกี่ยวกับตน และ 3.ขอให้เปิ ดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่ วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความ
ยินยอม(ส่ วนตัวเลือก ค. เป็ นสิ ทธิในการ โอนย้ายข้อมูลส่ วนบุคคล ตามมาตรา 3 จึง
ไม่เกี่ยวข้องกับคาถาม)
ข้อ 37 ง มาตรา 30 วรรคสอง เมื่อเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลขอเข้าถึงข้อมูลส่ วนบุคคลแล้ว
โดยหลักผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลจะต้องปฏิบตั ิ ตามคาขอนั้น เว้นแต่เป็ นการ
ปฏิเสธตามกฎหมายหรื อคาสัง่ ของศาล หรื อจะส่ งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความ
เสี ยหายต่อสิ ทธิและเสรี ภาพของบุคคลอื่น
ข้อ 38 ก มาตรา 30 วรรคสี่ เมื่อเป็ นกรณี ที่ไม่อาจปฏิเสธคาขอได้ ผูค้ วบคุมข้อมูลฯ ต้อง
ดาเนินการตามคาขอโดยไม่ชกั ช้า (แต่ตอ้ งไม่เกิน 30 วัน นับแต่วนั ที่ได้รับคาขอ)
ข้อ 39 ง มาตรา 30 วรรคสี่ ต้องดาเนินการโดยไม่ชกั ช้า แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วนั ที่ได้
รับคาขอ
ข้อ 40 ก มาตรา 82 ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลที่ไม่ปฏิบตั ิตามมาตรา 30 วรรคสี่ มีโทษปรับ
ทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข้อ 41 ค สิ ทธิในการแก้ไขข้อมูลส่ วนบุคคลให้ถูกต้อง (Right to Retification) คุม้ ครองสิ ทธิ
ในการแก้ไขข้อมูลส่ วนบุคคลให้ถูกต้อง หากเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลเห็นว่าข้อมูล
ส่ วนบุคคลของตน ไม่ถูกต้องหรื อไม่สมบูรณ์ สามารถยืน่ คาร้องขอแก้ไขข้อมูลส่ วน
บุคคลที่เกี่ยวกับตนได้
ข้อ 42 ง ผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลต้องดาเนินการให้ แม้ไม่มีการร้องขอ แต่ก็ถือเป็ นหน้าที่
ตามกฎหมายของผูค้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคลที่จะต้อง ดาเนิ นการให้ขอ้ มูลส่ วน
บุคคลถูกต้อง เป็ นปั จจุบนั สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
[335]

ข้อ 43 ข หากผูค้ วบคุมข้อมูลฯไม่แก้ไขข้อมูลส่ วนบุคคลให้ถูกต้อง เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล


มีสิทธิ
ร้องเรี ยนต่อคณะกรรมการผูเ้ ชี่ยวชาญเพื่อสั่งให้ผคู ้ วบคุมข้อมูลส่ วนบุคคล
ดาเนินการแก้ไขได้
ข้อ 44 ง สิ ทธิในการลบข้อมูลส่ วนบุคคล มาตรา 33 ให้เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลมีสิทธิขอให้
ผูค้ วบคุมข้อมูลฯ ดาเนินการลบหรื อทาลาย หรื อทาให้เป็ นข้อมูลที่ไม่ สามารถระบุ
ตัวบุคคลที่เป็ นเจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคลได้
ข้อ 45 ข ข้อมูลส่ วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์หรื อไม่ถูกต้อง เจ้าของข้อมูลส่ วนบุคคล สามารถ
ขอให้แก้ไขข้อมูลส่ วนบุคคลได้ จึงไม่ใช่เงื่อนไขในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่ วนบุคคล
ซึ่ง ตัวเลือก ก. ค. และ ง. เป็ นเงื่อนไขในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่ วนบุคคล ตามมาตรา
33 วรรคหนึ่ง
ข้อ 46 ง มาตรา 33 วรรคสอง เป็ นกรณี จากัดสิ ทธิ ทาให้ไม่สามารถใช้สิทธิลบ ข้อมูลส่ วน
บุคคลได้ ถ้าเป็ นข้อมูลส่ วนบุคคลที่มีวตั ถุประสงค์ดงั นี้

1. เป็ นข้อมูลเกี่ยวกับเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็น


2. เป็ นข้อมูลตามมาตรา 24 (1) เอกสารประวัติศาสตร์หรื อจดหมายเหตุเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ การศึกษาวิจยั หรื อสถิติ
3. เป็ นข้อมูลตามมาตรา 24 (4) เพื่อปฏิบตั ิหน้าที่ในการดาเนินภารกิจเพื่อประโยชน์
สาธารณะ หรื อปฏิบตั ิหน้าที่ในการใช้อานาจรัฐ
4. เป็ นข้อมูลตามมาตรา 26 (5) (ก) เวชศาสตร์ป้องกันหรื ออาชีวเวชศาสตร์ การ
ประเมินความสามารถในการทางานของลูกจ้าง การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์
ให้บริ การด้านสุ ขภาพสังคม การรักษาทางการแพทย์ การจัดการด้านสุ ขภาพ
ระบบและการให้บริ การด้านสังคมสงเคราะห์
5. เป็ นข้อมูลตามมาตรา 26 (5) (ข) ประโยชน์สาธารณะด้านการสาธารณสุ ข การ
ป้องกันโรคติดต่ออันตรายหรื อโรคระบาด การควบคุมมาตรฐานหรื อคุณภาพยา
เวชภัณฑ์ เครื่ องมือแพทย์
6. เป็ นข้อมูลเกี่ยวกับการก่อตั้งสิ ทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย การปฏิบตั ิตามหรื อการ
ใช้ สิ ทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย หรื อการยกขึ้นต่อสู ้สิทธิเรี ยกร้องตามกฎหมาย
หรื อเพื่อการปฏิบตั ิตามกฎหมาย
[336]

แนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้ าหน้ าที่ พ.ศ. 2539

1) ถ้าการละเมิด เกิดจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดเลย หน่วยงานใด


จะต้องรับผิดในผลละเมิดจากการปฏิบตั ิหน้าที่
ก. กระทรวงการคลัง ข.กระทรวงมหาดไทย
ค. สานักนายกรัฐมนตรี ง.กระทรวงพาณิชย์
2) ถ้าการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิใช่ การกระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่ ข้อใดต่อไปนี้ กล่าว
ถูกต้อง
ก. เจ้าหน้าที่ตอ้ งรับผิด ในการนั้นเป็ นการเฉพาะตัว
ข. ผูเ้ สี ยหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง
ค. ฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
ง.ถูกทุกข้อ
3) ถ้าเจ้าหน้าที่ เป็ นผูก้ ระทาละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ สิ ทธิเรี ยกร้องค่าสิ นไหม มีกาหนดอายุ
ความกี่ปีนับแต่วนั ที่หน่วยงานของรัฐรู ้ถึงการละเมิดและรู ้ตวั เจ้าหน้าที่ ผูจ้ ะพึงต้องใช้ค่าสิ นไหม
ทดแทน
ก.4 ปี ข.3 ปี
ค.2 ปี ง.1 ปี

4) ข้อใดหมายถึง “เจ้าหน้าที่” ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.


2539
ก. นายอนันต์ เป็ นพนักงานราชการ กรมสรรพสามิต ร่ วมกับคณะ ออกตรวจสถาน
ประกอบการ
ข. นายอานาจ เป็ นลูกจ้าง ทางานในตาแหน่ง พนักงานขับรถยนต์ ให้กบั องค์การ
บริ หารส่วนตาบลแคนดง ขับรถให้ นายก อบต. ไปประชุมประจาเดือน
ค. นายอานวย เป็ น อสม. แต่ได้รับแต่งตั้งให้ต้ งั จุดบริ การประชาชนช่วงปี ใหม่
ง. ถูกทุกข้อ
5) ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ หน่วยงานของรัฐ
ก. องค์การบริ หารส่วนจังหวัด
ข. วัด
ค.สานักงานสรรพากรภาค 8
ง. สานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
[337]

6) "นายสมัคร พนักงานขับรถ และ นายประมาณ ลูกจ้ างประจาตาแหน่ งคนงาน ของหน่ วยงาน


ของรั ฐแห่ งหนึ่ง ออกปฏิบัติงานด้ วยกัน นายสมัคร ได้ ขับรถพลิกควา่ ทาให้ บุคคลทั้งสองได้ รับ
บาดเจ็บ และรถยนต์ ของทางราชการได้ รับความเสียหาย" ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. นายสมัคร ฟ้องค่าเสี ยหายจากหน่วยงานของรัฐได้
ข. นายประมาณ ฟ้องค่าเสี ยหายจากหน่วยงานของรัฐได้
ค. หน่วยงานของรัฐ ให้นายสมัคร ชดใช้ค่าเสี ยหาย
ง. ข้อ ก และ ข้อ ข

Note
นายประมาณ ไม่ได้มีส่วนร่ วมในการกระทาละเมิดและเป็ นผูท้ ี่ได้รับความเสี ยหายจาก
การกระทาละเมิดของ นายสมัคร นายประมาณ จึงเป็ นผูเ้ สี ยหาย มีสิทธิเรี ยกร้องให้หน่วยงานที่
นายสมัครสังกัด ชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนจากการถูกกระทาละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ ได้
กรณี นายสมัคร ต้องพิจารณาว่า ขับรถโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรื อไม่ ขับรถ
ถูกกฎจราจรหรื อไม่ ถ้าเป็ นการกระทาที่ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง นายสมัคร ต้อง
รับผิดชอบในเรื่ องค่าเสี ยหายด้วย

7) "นายสมาน เป็ นลูกจ้ างตาแหน่ งพนักงานขับรถ ของกรมสรรพสามิต ได้ รับคาสั่งให้ ขับรถพา


เจ้ าหน้ าที่ออกตรวจสถานประกอบการ ขณะขับรถยนต์ มาตามถนนตามปกติ มีผ้ ูขับขี่
รถจักรยานยนต์ ออกจากซอยด้ านซ้ ายมือตัดหน้ าในระยะกระชั้นชิ ดมาก นายสมาน จึงหักหลบ
โดยไม่ มีโอกาสได้ ทันคิดหรื อตัดสิ นใจว่ าควรจะหักหลบไปทางใดได้ โดยปลอดภัย จึงไปชน
รถยนต์ ของ นายกนก ที่สวนทางมา" ในกรณี น้ ี ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. นายกนก ต้องฟ้องเรี ยกค่าเสี ยหาย จาก นาย สมาน
ข. หน่วยงานที่นายสมาน สังกัด ต้องชดใช้ค่าเสี ยหายให้แก่ นายกนก
ค. นายกนก เรี ยกร้องค่าเสี ยหายจากผูข้ บั ขี่รถจักรยานยนต์
ง. นายสมานและผูข้ บั ขี่รถจักรยานยนต์ ต้องชดใช้ค่าเสี ยหายให้แก่ นายกนก

Note กรณี น้ ี ถือว่า นายสมาน ปฏิบตั ิหน้าที่ทางราชการ และเป็ นเหตุสุดวิสัย ไม่ได้เกิดจากความ


ประมาทเลินเล่อ จึงไม่ตอ้ งรับผิดเรื่ องค่าเสี ยหาย แต่หน่วยงานที่ นายสมาน สังกัด ต้องรับผิดชอบ
ค่าเสี ยหาย
มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผูเ้ สี ยหายในผลแห่ งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้
กระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่ ในกรณี น้ ีผเู ้ สี ยหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้อง
เจ้าหน้าที่ไม่ได้
[338]

ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซ่ ึงไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่า
กระทรวงการคลังเป็ นหน่วยงานของรัฐที่ตอ้ งรับผิดตามวรรคหนึ่ง

8) การแต่งตั้ง “คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริ งความรับผิดทางละเมิด” เบื้องต้น ต้องปรากฏตาม


ข้อใด จึงจะสามารถแต่งตั้งกรรมการดังกล่าวได้
ก.เมื่อเกิดความเสี ยหายแก่หน่วยงานของรัฐ และหัวหน้าหน่วยงานเชื่อว่าเกิดจากการ
กระทาของเจ้าหน้าที่
ข. เมื่อผลการสอบสวน รู ้ตวั ผูต้ อ้ งรับผิดชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนแล้ว แต่ต้องการให้
คณะกรรมการเป็ นผูท้ าคาสั่งลงโทษผูก้ ระทาละเมิด
ค. เมื่อเป็ นพบว่าผูก้ ระทาละเมิดเข้าข่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น จึงจะ
แต่งตั้งกรรมการได้
ง.ถูกทุกข้อ
9) “คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริ งความรับผิดทางละเมิด” ทาหน้าที่ใด
ก. พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผูต้ อ้ งรับผิดทางละเมิด
ข.พิจารณาจานวนค่าสิ นไหมทดแทนที่ผูล้ ะเมิดต้องชดใช้"
ค. ออกคาสั่งให้ผลู ้ ะเมิดชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนผูท้ าละเมิด
ง.ข้อ ก และ ข ถูก
10) "คณะกรรมการสอบข้ อเท็จจริ งความรั บผิดทางละเมิด” ขึน้ คณะหนึ่งโดยไม่ ชักช้ า เพื่อ
พิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผู้ต้องรั บผิดและจานวนค่ าสิ นไหมทดแทนที่ผ้ ูนั้นต้ องชดใช้ "
คณะกรรมการข้างต้น มีจานวนกี่คน
ก. ไม่เกิน 5 คน ข. ไม่เกิน 10 คน
ค. 5 คน ง. 10 คน

Note
ตาม ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบตั ิเกี่ยวกับความรับผิดทาง
ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ข้อ 8
“เมื่อเกิดความเสี ยหายแก่หน่วยงานของรัฐแห่งใด และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐแห่ง
นั้นมีเหตุอนั ควรเชื่อว่าเกิดจากการกระทาของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น ให้หวั หน้า
หน่วยงานของรัฐดังกล่าวแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริ งความรับผิดทางละเมิดขึ้นคณะ
หนึ่งโดยไม่ชกั ช้า เพื่อพิจารณาเสนอความเห็นเกี่ยวกับผูต้ อ้ งรับผิดและจานวนค่าสิ นไหม
ทดแทนที่ผนู ้ ้ นั ต้องชดใช้
คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้มีจานวนไม่เกินห้าคน โดยแต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของ
หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นหรื อหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่เห็นสมควร”
[339]

11) ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่ งใด หน่วยงานใด


จะเป็ นผูร้ ับผิดชอบชดใช้ค่าเสี ยหาย (จุดเน้ น - ออกข้อสอบบ่ อย)
ก. กระทรวงมหาดไทย ข.กระทรวงการคลัง
ค. สานักนายกรัฐมนตรี ง. กรมบัญชีกลาง

Note มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผูเ้ สี ยหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของ


ตนได้กระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่ ในกรณี น้ ีผเู ้ สี ยหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่
จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซ่ ึงไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดถือว่ากระทรวงการคลัง
เป็ นหน่วยงานของรัฐที่ตอ้ งรับผิดตามวรรคหนึ่ง

12) " นายสาเริ ง พนักงานขับรถของกรมสรรพากร ได้ รับคาสั่งให้ ขับรถพาเจ้ าหน้ าที่ออกเร่ งรั ด
ขณะขับรถ นายสาเริ ง ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกาหนด และขับรถประมาทหวาดเสียวจน
ชนรถจักรยานยนต์ ของนางยาใจที่ขับมาตามทางปกติ ทาให้ รถจักรยานยนต์ ของนางยาใจ ได้ รับ
ความเสียหาย " ดังนี้ นางยาใจ ฟ้องใครให้รับผิดชดใช้ค่าเสี ยหายได้
ก. กรมสรรพากร ข. นายสาเริ ง
ค. กรมสรรพากรและ นายสาเริ ง ง. กระทรวงการคลัง
13) " นายประมาณ พนักงานขับรถของ อบต.แห่ งหนึ่ง ได้ รับคาสั่งให้ ขับรถพาเจ้ าหน้ าที่ไปจ่ าย
เบีย้ ผู้สูงอายุ ขณะขับรถ นายประมาณ ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกาหนด และขับรถประมาท
หวาดเสียวจนชนรถจักรยานยนต์ ของนางชมพู่ ที่ขับมาตามทางปกติ ทาให้ รถจักรยานยนต์ ของ
นางชมพู่ ได้ รับความเสียหาย " ดังนี้ ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด
ก. นางชมพู่ ต้องฟ้องเรี ยกค่าเสี ยหาย จาก นายประมาณคนดียวเท่านั้น
ข. นางชมพู่ ต้องฟ้องเรี ยกค่าเสี ยหายจาก อบต.เท่านั้น
ค. นางชมพู่ ต้องฟ้องเรี ยกค่าเสี ยหายจาก อบต.และ นายประมาณ เพราะเป็ นประมาท
ร่ วมกัน
ง. นางชมพู่ ต้องฟ้องเรี ยกค่าเสี ยหายจาก อบต.เท่านั้น แต่ อบต. สามารถไล่เบี้ยเอาจาก
นายประมาณ ได้
Note
มาตรา ๕ หน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดต่อผูเ้ สี ยหายในผลแห่งละเมิด ที่เจ้าหน้าที่ของตนได้
กระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่ในกรณี น้ ี ผูเ้ สี ยหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ได้โดยตรง แต่จะ
ฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
[340]

มาตรา ๘ ในกรณี ที่หน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนแก่ผเู ้ สี ยหาย เพื่อการ


ละเมิดของ เจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐ มีสิทธิเรี ยกให้เจ้าหน้าที่ ผูท้ าละเมิด ชดใช้ค่าสิ นไหม
ทดแทนดังกล่าว แก่หน่วยงานของ รัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทาการนั้นไปด้วยความจงใจ หรื อ
ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ในกรณี น้ ี ถือว่า นายประมาณ ได้กระทาการในหน้าที่ อบต. ต้องจ่ายค่าเสี ยหาย และต้องรับ
ผิดต่อ นางชมพูผ่ เู ้ สี ยหายในผลแห่งละเมิด ที่นายประมาณเป็ นผูก้ ระทา แต่ นายประมาณ กระทาไป
ด้วยความประมาท เลินเล่อ อีกทั้งยังขับรถเร็ วผิดกฎหมาย ดังนั้น อบต. จึงมีสิทธิ์ ที่จะให้ นายประมาณ
ชดใช้ค่าเสี ยหาย ตามมาตรา 8 ได้ แต่ตอ้ งพิจารณาตามพฤติการณ์

14) "นายอานวย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ของ สานักงานสาธารณสุขแห่งหนึ่ง ได้รับคาสั่งให้เข้า


ไปฉีดพ่นยาเพื่อกาจัดยุงในพื้นที่ที่รับผิดชอบ แต่พลาดไปเหยียบทาบ่อปลาค้าฟแตก " ในกรณี น้ ี
ใครเป็ นผูร้ ับผิดชอบในความเสี ยหาย ที่เกิดขึ้น
ก. สานักงานสาธารณสุข
ข.นายอานวย
ค. เจ้าของบ้าน
ง. ไม่ตอ้ งมีใครรับผิดชอบ

Note หน่วยงานต้องรับผิดต่อ ผูเ้ สี ยหายหากเป็ นการกระทาตามหน้าที่ แต่จะไล่เบี้ยเอกจากนาย


อานวย เจ้าหน้าที่ได้หรื อไม่ ต้องมาดูวา่ เป็ นประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรื อไม่ ตาม ม.8

15) "เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง ออกตรวจพื้นที่ ขณะรับประทานอาหารกลางวัน ไป


ทะเลาะวิวาทกับวัยรุ่ นในร้าน ทาให้ทรัพย์สินของร้านเสี ยหาย " ในกรณี น้ ี ร้านอาหารฟ้องเรี ยก
ค่าเสี ยหายจากผูใ้ ด ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
ก. หน่วยงานรัฐแห่งนั้น เพราะการละเมิดเกิดขึ้น ในขณะปฏิบตั ิหน้าที่
ข. เจ้าหน้าที่
ค. วัยรุ่ นคู่กรณี
ง. ถูกทั้ง ข และ ค

Note กรณี น้ ี แม้กากระทาละเมิดจะเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบตั ิหน้าที่ แต่ก็มิได้เป็ นไปเพื่อ


ประโยชน์ของทางราชการ หากแต่เป็ นไปเพื่อบรรลุวตั ถุประสงค์ส่วนตัว จึงถือไม่ได้วา่ การกระทา
ละเมิดดังกล่าวเป็ นการกระทาละเมิดในการปฏิบตั ิหน้าที่ หน่วยงานจึงไม่ตอ้ งรับผิดชอบ
มาตรา ๖ ถ้าการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิใช่การกระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่ เจ้าหน้าที่
ต้องรับผิด ในการนั้นเป็ นการเฉพาะตัว ในกรณี น้ ี ผูเ้ สี ยหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้อง
หน่วยงานของรัฐไม่ได้
[341]

กรณี ของวัยรุ่ น ไม่ถือว่า วัยรุ่ น เป็ นเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของ


เจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงไม่อยูใ่ นขอบข่ายของกฎหมายนี้

16) ในกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรื อเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่


ผูต้ อ้ งรับผิดและมีเจ้าหน้าที่มีส่วนร่ วม ซึ่งยังไม่ได้ถูกเรี ยกเข้ามาในคดี ผูเ้ สี ยหายสามารถฟ้องคดี
ใหม่ได้ภายในเวลาใดนับแต่ศาลพิพากษาถึงที่สุด
ก.ภายในเวลา 5 เดือน ข. ภายในเวลา 6 เดือน
ค. ภายในเวลา 9 เดือน ง. ภายในเวลา 12 เดือน

Note
มาตรา ๗ ในคดีที่ผเู ้ สี ยหายฟ้องหน่วยงานของรัฐ ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่า เป็ นเรื่ องที่
เจ้าหน้าที่ตอ้ งรับผิด หรื อต้องร่ วมรับผิด หรื อในคดีที่ผเู ้ สี ยหายฟ้องเจ้าหน้าที่ ถ้าเจ้าหน้าที่เห็นว่า
เป็ นเรื่ องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิด หรื อต้องร่ วมรับผิด หน่วยงานของรัฐ หรื อเจ้าหน้าที่
ดังกล่าว มีสิทธิขอให้ศาลที่พิจารณาคดีน้ นั อยู่ เรี ยกเจ้าหน้าที่ หรื อหน่วยงานของรัฐ แล้วแต่กรณี
เข้ามาเป็ นคู่ความในคดี
ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรื อเจ้าหน้าที่ ที่ถูกฟ้องมิใช่ผตู ้ อ้ ง
รับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผูท้ ี่ตอ้ งรับผิด ซึ่งมิได้ถูกเรี ยกเข้ามาในคดี ออกไปถึง ๖ เดือน
นับแต่วนั ที่คาพิพากษานั้นถึงที่สุด

17) เมื่อได้รับคาขอจากผูเ้ สี ยหายที่ถูกกระทาละเมิดจากเจ้าหน้าที่ในการปฏิบตั ิหน้าที่


หน่วยงานของรัฐ ต้องดาเนินการพิจารณาทุกขั้นตอนให้แล้วเสร็จ ภายในกี่วนั
ก. 60 วัน ข. 90 วัน
ค. 120 วัน ง. 180 วัน

Note หน่วยงานของรัฐจะต้องรี บดาเนินการพิจารณาคาขอของผูเ้ สี ยหาย โดยเร็ว ซึ่ง


ขั้นตอนและวิธีการพิจารณาคาขอของผูเ้ สี ยหายนั้น เป็ นไปตามระเบียบสานัก นายกรัฐมนตรี วา่
ด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบตั ิเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดย
หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาทุกขั้นตอนให้แล้วเสร็ จอย่างช้าภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่รับคาขอ
จากผูเ้ สี ยหาย แต่ถา้ ไม่อาจพิจารณาให้เสร็ จตามเวลาดังกล่าวหน่วยงานของรัฐอาจ ขอขยายเวลา
การพิจารณาออกไปอีกได้ แต่รัฐมนตรี จะขยายให้ได้ไม่เกิน ๑๘๐ วัน

18) ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
[342]

ก. หน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดต่อผูเ้ สี ยหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้


กระทาเสมอ
ข. หน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดต่อผูเ้ สี ยหายในผลแห่งละเมิด ที่เจ้าหน้าที่ของตนได้
กระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่
ค. หน่วยงานของรัฐ สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสี ยหายจากเจ้าหน้าที่ ที่กระทาผิดทาง
ละเมิดได้ทุกกรณี
ง. ในกรณีที่ เจ้าหน้าที่หลายคน มีส่วนร่ วมกันกระทาผิดทางละเมิด ให้นาหลักเรื่ อง
ลูกหนี้ร่วม ในระบบกฎหมายแพ่ง มาใช้บงั คับ

Note
ข้อ ก. ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ถ้าไม่ได้ทาในขณะปฎิบตั ิหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็ตอ้ งรับผิดชอบในการ
กระทาของตน ตาม มาตรา 6 ที่กล่าวว่า
"ถ้าการกระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่ มิใช่การกระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่ เจ้าหน้าที่ตอ้ งรับผิด ในการนั้น
เป็ นการเฉพาะตัว ในกรณี น้ ี ผูเ้ สี ยหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้ "
ข้อ ค. ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าเป็ นกรณี ที่ เจ้าหน้าที่กระทาตามหน้าที่ ไม่ได้กระทาด้วยความจงใจ
หรื อ ประมาท เลินเล่อ อย่างร้ายแรง ซึ่งถ้าเป็ นในลักษณะนี้ หน่วยงานของรัฐจะฟ้องไล่เบี้ยเอาจาก
เจ้าหน้าที่ไม่ได้
มาตรา 8 ในกรณี ที่หน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนแก่ผเู ้ สี ยหาย เพื่อการละเมิดของ
เจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐ มีสิทธิเรี ยกให้เจ้าหน้าที่ ผูท้ าละเมิด ชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนดังกล่าว
แก่หน่วยงานของ รัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทาการนั้นไปด้วยความจงใจ หรื อประมาทเลินเล่ออย่าง
ร้ายแรง
ข้อ ง. ไม่ถูกต้อง เพราะ มาตรา 8 ของพระราชบัญญัติน้ ี กาหนดไม่ให้นาหลักเรื่ องลูกหนี้ร่วม
มาใช้บงั คับ
มาตรา 8 ในกรณี ที่การละเมิด เกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นาหลักเรื่ องลูกหนี้ร่วม มาใช้บงั คับ และ
เจ้าหน้าที่ แต่ละคน ต้องรับผิดใช้ค่าสิ นไหมทดแทน เฉพาะส่ วนของตนเท่านั้น

19) เพราะเหตุใด พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จึงไม่ให้นา


หลักเรื่ องลูกหนี้ ร่วมมาบังคับใช้
ก. เพราะเป็ นการไม่ยตุ ิธรรมแก่เจ้าหน้าที่
ข. เพราะต้องการให้ผูเ้ สี ยหายได้รับค่าเสี ยหายเต็มจานวน
ค. เพราะให้ความสาคัญแก่ผเู ้ สี ยหายซึ่งเกิดจากความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ง. เพราะหลักเรื่ องลูกหนี้ ร่วม อยูใ่ นประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิ ชย์

Note ตาม หมายเหตุทา้ ยพระราชบัญญัติฯ


[343]

20) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539


ก.การกระทาที่เกิดจากการปฎิบตั ิหน้าที่โดยตรง เจ้าหน้าที่ หากไม่ใช่การกระทาที่จงใจ
หรื อประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ตอ้ งรับผิดทางละเมิดแต่หน่วยงานของรัฐ จะเป็ น
ผูร้ ับผิดชอบแทน
ข. ถ้าความผิดเกิดจากหลายคนร่ วมกระทาการละเมิด ให้รับผิดชอบเฉพาะส่วนของตน
เท่านั้น
ค. ถ้าเป็ นการกระทาที่จงใจ หรื อประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้นาหลักลูกหนี้ร่วม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาบังคับใช้
ง. ไม่มีขอ้ ใดผิด
21) ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้ อง กรณีเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐ กระทาละเมิดต่อบุคคลภายนอก
ก. หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดชอบต่อผูเ้ สี ยหายทุกกรณี
ข. หน่วยงานของรัฐจะต้องรับผิดขอบต่อผูเ้ สี ยหาย เฉพาะในกรณีที่เป็ นการกระทาใน
การปฏิบตั ิหน้าที่
ค. ถ้าเป็ นการกระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่ ให้ผเู ้ สี ยหายฟ้องหน่วยงานของรัฐโดยตรง
ง. ถ้าการกระทานั้นไม่ใช่การปฏิบตั ิหน้าที่ ผูเ้ สี ยหายจะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้
22) กรณีที่หน่วยงานของรัฐ ได้ชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนจากการระทาละเมิดของเจ้าหน้าที่ แก่
ผูเ้ สี ยหายไปแล้ว และพิจารณาว่า เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบตั ิหน้าที่โดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
หน่วยงานจะต้องดาเนินการไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ มีอายุความ กี่ปี
ก. 1 ปี ข. 2 ปี
ค. 3 ปี ง. 4 ปี

23) กรณีที่ผเู ้ สี ยหายถูกกระทาละเมิดจาก เจ้าหน้าที่ในการปฏิบตั ิหน้าที่ และใช้สิทธิร้องขอให้


หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทน เมื่อหน่วยงานของรัฐ ได้รับเรื่ องแล้ว สิ่ งแรกที่จะต้อง
ดาเนินการ คืออะไร
ก. ออกใบรับคาขอให้แก่ผยู ้ นื่ คาขอ
ข. แต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริ ง
ค. ผูบ้ ริ หารเรี ยกเจ้าหน้าที่ผกู ้ ระทาละเมิดเข้าพบ
ง. ผูบ้ ริ หารดาเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

Note เมื่อหน่วยงานของรัฐ ได้รับเรื่ องแล้วจะต้องปฏิบตั ิตามขั้นตอนและวิธีการ ตามตาม


ระเบียบสานัก นายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบตั ิเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ดังนี้
(๑) ออกใบรับคาขอให้ผยู ้ นื่ คาขอ เพื่อเป็ นหลักฐานว่าผูเ้ สี ยหายได้ยนื่ คาขอวันและปี ใด
[344]

(๒) หน่วยงานของรัฐจะต้องรี บดาเนินการพิจารณาคาขอของผูเ้ สี ยหาย โดยเร็ ว ซึ่งขั้นตอน


และวิธีการพิจารณาคาขอของผูเ้ สี ยหายนั้น เป็ นไปตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี วา่ ด้วยหลักเกณฑ์
การปฏิบตั ิเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยหน่วยงานของรัฐต้อง
พิจารณาทุกขั้นตอนให้แล้วเสร็ จอย่างช้าภายใน ๑๘๐ วัน นับแต่รับคาขอจากผูเ้ สี ยหาย แต่ถา้ ไม่อาจ
พิจารณาให้เสร็ จตามเวลาดังกล่าวหน่วยงานของรัฐอาจ ขอขยายเวลาการพิจารณาออกไปอีกได้ แต่
รัฐมนตรี จะขยายให้ได้ไม่เกิน ๑๘๐ วัน
(๓) ออกคาสัง่ แจ้งผลการพิจารณา เมื่อหน่วยงานของรัฐที่ได้รับคาขอได้ ดาเนินการพิจารณา
คาขอตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ฯแล้วต้องจัดทา คาสั่งแจ้งให้ผเู ้ สี ยหายที่มีคาขอ
ทราบ ซึ่งคาสั่งแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวต้องปฏิบตั ิตามแบบ การจัดทาคาสั่งในทางปกครอง
(๔) กรณี ที่ผเู ้ สี ยหายไม่พอใจในผลการพิจารณา ผูเ้ สี ยหายสามารถนาคดี ขึ้นฟ้องร้องต่อศาล
ซึ่งจะเป็ นศาลปกครองหรื อศาลยุติธรรมย่อมเป็ นไปตามมาตรา ๑๐๖ แห่งพระราชบัญญัติจดั ตั้งศาล
ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒

24) นายสารวย ตาแหน่งพนักงานขับรถ ได้รับคาสัง่ ให้นารถไปปฏิบตั ิราชการ ขณะขับรถ


ตามปกติเกิดอุบตั ิเหตุ ทาให้รถของ นางขนุน เสี ยหาย นายสารวย ได้จ่ายค่าสิ นไหมทดแทน
ให้แก่ นางขนุน ในกรณี น้ ี สิ ทธิที่ นายสารวย จะเรี ยกร้องให้ หน่วยงาน จ่ายค่าสิ นไหมทดแทน
ให้แก่ตน มีอายุความ กี่ปี
ก. 1 ปี ข. 2 ปี
ค. 3 ปี ง. 4 ปี

Note
มาตรา 9 ถ้าหน่วยงานของรัฐหรื อเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสิ นไหมทดแทนแก่ผเู ้ สี ยหาย สิ ทธิ
ที่จะเรี ยกให้อีกฝ่ ายหนึ่งชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนแก่ตนให้มีกาหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วนั ที่
หน่วยงานของรัฐหรื อเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสิ นไหมทดแทนนั้นแก่ผเู ้ สี ยหาย

25) ในกรณีที่ผเู ้ สี ยหาย ไม่พอใจผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับคาขอให้หน่วยงาน


พิจารณาชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทน ผูเ้ สี ยหายต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ภายในกี่วนั
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 90 วัน ง.120 วัน

Note มาตรา 11 ในกรณี ที่ผเู ้ สี ยหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผูเ้ สี ยหาย


จะยืน่ คาขอ ต่อหน่วยงานของรัฐ ให้พิจารณาชดใช้คา่ สิ นไหมทดแทน สาหรับความเสี ยหายที่เกิดแก่
ตนก็ได้ ในการนี้ หน่วยงานของรัฐ ต้องออกใบรับคาขอให้ไว้ เป็ นหลักฐาน และพิจารณาคาขอนั้น
[345]

โดยไม่ชกั ช้า เมื่อหน่วยงาน ของรัฐมีคาสั่งเช่นใดแล้ว หากผูเ้ สี ยหาย ยังไม่พอใจ ในผลการวินิจฉัย ของ


หน่วยงานของรัฐ ก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ต่อ คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วย
คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ ภายใน 90 วัน นับแต่วนั ที่ตนได้รับแจ้งผลการวินิจฉัย

26) ผูเ้ สี ยหายจากการละเมิดของเจ้าหน้าที่ มีสิทธิ ในการเรี ยกร้องให้หน่วยงานชดใช้ โดยวิธี


ใดบ้าง
ก. ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
ข. ยืน่ คาขอต่อหน่วยงานของรัฐ
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
ง. สามารถทาได้ท้ งั ข้อ ก และ ข

Note
มาตรา 11 ในกรณี ที่ผเู ้ สี ยหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดตาม ม. 5 ผูเ้ สี ยหายจะยืน่ คาขอต่อ
หน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนสาหรับความเสี ยหายที่เกิดแก่ตนก็ได้
ในการนี้ หน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคาขอให้ไว้เป็ นหลักฐานและพิจารณาคาขอ นั้นโดยไม่ชกั ช้า
เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคาสั่งเช่นใดแล้วหากผูเ้ สี ยหายยังไม่พอใจในผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของ
รัฐก็ให้มีสิทธิร้องทุกข์ ต่อคณะกรรมการวินิจฉั ยร้ องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
ได้ ภายใน 90 วันนับแต่ วันที่ตนได้ รับแจ้ งผลการวินิจฉั ย
Note ปั จจุบัน สิ ทธิ ร้องทุกข์ เปลี่ยนไปเป็ นให้ เป็ นสิ ทธิ ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

27) ในกรณี ที่ความเสี ยหายเกิดแก่เงิน ผูท้ ี่ตอ้ งรับผิดชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทน ต้องรับผิดอย่างไร


ก. ชดใช้เป็ นเงินแต่เพียงอย่างเดียว
ข.ชดใช้เป็ นสิ่ งของ ที่มีมูลค่าเทียบเท่าเงิน
ค. ตามแต่จะตกลงกัน
ง. ถูกทุกข้อ
28) ในกรณีที่ความเสี ยหายมิได้เกิดแก่เงิน ผูท้ ี่ตอ้ งรับผิด สามารถชดใช้ยา่ งไร
ก. ชาระเป็ นเงิน
ข.ชดใช้เป็ นทรัพย์สินอย่างเดียวกันกับทรัพย์ที่เสี ยหาย แต่ตอ้ งมีสภาพ คุณภาพ ปริ มาณ
และลักษณะเดียวกันและใช้งานแทนได้
ค. ซ่อมแซมหรื อบูรณะทรัพย์สินที่ชารุ ดเสี ยหายให้คงสภาพเดิม
ง.ถูกทุกข้อ
29) ในกรณีที่ความเสี ยหายมิได้เกิดแก่เงิน ผูท้ ี่ตอ้ งรับผิด ยินยอมซ่อมแซมทรัพย์สินให้คงสภาพ
เดิม จะต้องทาให้ทรัพย์คงสภาพเดิมและใช้งานได้ ภายเวลาใด
ก. ไม่เกิน 6 เดือน ข. ไม่เกิน 9 เดือน
[346]

ค. ไม่เกิน 12 เดือน ง. ไม่เกิน 15 เดือน

Note ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี วา่ ด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบตั ิเกี่ยวกับความรับผิดทาง


ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ข้อ 22 ในกรณี ที่ความเสี ยหายเกิดแก่เงิน ให้ใช้เป็ นเงินแต่เพียงอย่างเดียว
ข้อ 23 หลักคือ ใช้เงิน แต่ถา้ ความเสี ยหายมิได้เกิดแก่เงิน จะดาเนินการดังต่อไปนี้แทน
การชาระเงินก็ได้
(1) ชดใช้เป็ นทรัพย์สินอย่างเดียวกัน โดยมีสภาพ คุณภาพ ปริ มาณ และลักษณะเดียวกัน
กับทรัพย์สินที่สูญหายหรื อเสี ยหายและใช้งานแทนได้เช่นเดียวกับทรัพย์สินที่สูญหายหรื อ
เสี ยหาย โดยทาสัญญายินยอมชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนเป็ นทรัพย์สินดังกล่าว
(2) ซ่อมแซมหรื อบูรณะทรัพย์สินที่ชารุ ดเสี ยหายให้คงสภาพเดิม โดยทาสัญญาว่าจะ
จัดการให้ทรัพย์สินคงสภาพเหมือนเดิมภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือน

30) เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหนึ่ง ได้ออกตรวจสถานประกอบการ ในขณะนั้น สุ นขั วิง่ กัดกัน


และวิ่งตัดหน้ารถอย่างกะทันหัน ทั้งที่ถนนเส้นนั้น เป็ นถนนสายหลัก ทาให้ รถไถลไปชนกับ
รถจักรยานยนต์ ที่จอดอยูข่ า้ งทาง จนเกิดความเสี ยหาย กรณี น้ ี ผูใ้ ดต้องรับผิดในค่าเสี ยหายที่
เกิดขึ้น
ก. เจ้าหน้าที่และพนักงานขับรถ เพราะมาด้วยกัน
ข. หน่วยงานรัฐเพราะเป็ นหน่วยงานของรัฐ ต้องรับผิดต่อผูเ้ สี ยหายในผลแห่งละเมิด ที่
เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทาในการปฏิบตั ิหน้าที่
ค. เฉพาะเจ้าหน้าที่ เพราะเป็ นข้าราชการ
ง. หน่วยงานรัฐ ,เจ้าหน้าที่ และพนักงานขับรถยนต์ ร่ วมกันรับผิด
[347]

เฉลยแนวข้อสอบพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้ าหน้ าที่ พ.ศ. 2539


ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ ข้อ คาตอบ
1 ก 11 ข 21 ก
2 ง 12 ก 22 ก
3 ค 13 ง 23 ก
4 ง 14 ก 24 ก
5 ข 15 ข 25 ค
6 ข 16 ข 26 ง
7 ข 17 ง 27 ก
8 ก 18 ข 28 ง
9 ง 19 ก 29 ก
10 ก 20 ง 30 ข

ข้อสอบเกี่ยวกับกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
1. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สดุ เกี่ยวกับวิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการ
ทางปกครอง
ก ปฏิบตั ิตามที่ขอ้ กาหนด ในพระราชบัญญัตินีเ้ ท่านัน้
ข. ถ้ากฎหมายใดกาหนดวิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง เรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้ว ก็ไม่
จาต้องใช้กฎหมายนี ้
ค. วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง ให้เป็ นไปตามที่กาหนดในพระราชบัญญัตินี ้ เว้นแต่
ในกรณีท่กี ฎหมายใดกาหนดวิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ
และ มีหลักเกณฑ์ท่ีประกันความเป็ นธรรม หรือมีมาตรฐานในการปฏิบตั ิราชการ
ไม่ต่ากว่าหลักเกณฑ์ท่ีกาหนด ในพระราชบัญญัตินี ้
ง. ถูกทุกข้อ
2) พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มิให้ใช้บงั คับกับกรณีใด
ก. องค์กรที่ใช้อานาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ
ข. การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการ
กฤษฎีกา
[348]

ค. การดาเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
ง. ถูกทุกข้อ
3 “วิธีปฏิบตั ริ าชการทางปกครอง” หมายความว่าอย่างไร
ก. การเตรียมการและการดาเนินการของรัฐสภา เพื่อจัดให้มีกฎหมายรวมถึงการ
ดาเนินการใด ๆ ในทางปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ.
2539
ข. การเตรียมการและการดาเนินการ ของรัฐบาล เพื่อจัดให้มีคาสั่งทางปกครอง รวมถึง
การดาเนินการใด ๆ ในทางพิจารณา ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ.
2539
ค. การเตรียมการและการดาเนินการ ของเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคาสั่งทางปกครองหรือกฎ
รวมถึงการดาเนินการใด ๆ ในทางปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการทาง
ปกครอง พ.ศ.2539
ง. การเตรียมการและการดาเนินการ ของคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดให้มีกฎหมายรวมถึงการ
ดาเนินการใด ๆ ในทางปกครอง ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ.
2539
4. คานิยามใดต่อไปนี ้ กล่าวไม่ถูกต้อง
ก.“การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดาเนินการของ
เจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคาสั่งทางปกครอง
ข.“คาสั่งทางปกครอง” หมายความว่า การใช้อานาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่มีผล
เป็ นการสร้างนิติสมั พันธ์ขนึ ้ ระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมี
ผลกระทบต่อสถานภาพ ของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็ นการถาวร หรือชั่วคราว เช่น
การสั่งการ การอนุญาต การอนุมตั ิ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน
รวมถึงการออกกฎ
ค.“กฎ” หมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติ
ท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอ่นื ที่มีผลบังคับเป็ นการทั่วไป โดยไม่ม่งุ หมายให้ใช้
บังคับแก่กรณีใด หรือบุคคลใดเป็ นการเฉพาะ
ง.“คณะกรรมการวินจิ ฉัยข้อพิพาท” หมายความว่า คณะกรรมการที่จดั ตัง้ ขึน้ ตาม
กฎหมาย ที่มีการจัดองค์กร และวิธีพิจารณา สาหรับการวินิจฉัย ชีข้ าด สิทธิและหน้าที่ ตาม
กฎหมาย
5. เจ้าหน้าทีใ่ ดต่อไปนี ้ ไม่สามารถทาการพิจารณาทางปกครองได้
ก. เป็ นลูกพี่ลกู น้องนับได้เพียงภายในสามชัน้
ข.เป็ นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชัน้
[349]

ค.เคยเป็ นตัวแทนของคู่กรณี
ง.ถูกทุกข้อ
6.ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวไม่ถกู ต้อง เกี่ยวกับผูท้ ่ีสามารถกระทาการใด ๆ ในกระบวนการพิจารณา
ทางปกครองตามมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
ก. ผูซ้ ่งึ บรรลุนิติภาวะเท่านัน้ ที่สามารถกระทาการในกระบวนพิจารณาทางปกครองได้
ข. ผูซ้ ่งึ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือความสามารถถูกจากัดตาม ปพพ.แต่มีบทกฎหมาย
เฉพาะกาหนดให้มีความสามารถกระทาการในเรื่องที่กาหนดได้
ค. นิติบุคคลหรือคณะบุคคลตามมาตรา 21 โดยผูแ้ ทนหรือตัวแทน แล้วแต่กรณี
ง. ผูซ้ ่งึ ยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือ ความสามารถถูกจากัด ตาม ปพพ. แต่นายกรัฐมนตรี
มอบหมาย ในราชกิจจานุเบกษา ให้มีความสามารถกระทาการ ในเรื่องที่กาหนดได้
7.ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง คู่กรณีจะมีหนังสือแต่งตัง้ ให้ บุคคล กระทาการอย่าง
ใด แทนตนได้หรือไม่
ก.ได้ โดยแต่งตัง้ ด้วยวาจาและแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ในครัง้ แรกที่ไปพบเจ้าพนักงาน
ข. ได้ โดยแต่งตัง้ ได้ทงั้ วาจาหรือหนังสือ แต่ตอ้ งแต่งตัง้ บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ
ค. ได้ โดยทาเป็ นหนังสือแต่งตัง้ ให้บคุ คล ซึ่งบรรลุนิติภาวะกระทาการ อย่างหนึ่งอย่าง
ใดตามที่กาหนดแทนตน
ง. ไม่สามารถกระทาได้ เพราะกระบวนการพิจารณาทางปกครอง เป็ นเรื่องของการ
เฉพาะตัวโดยแท้ ไม่สามารถมอบหรือแต่งตัง้ ผูใ้ ดแทนได้
8. เมื่อคู่กรณีตายลง ผลของการแต่งตัง้ บุคคลให้เป็ นผูก้ ระทาการแทนในกระบวนพิจารณาทาง
ปกครอง สิน้ ลงด้วยหรือไม่ อย่างไร
ก. การแต่งตัง้ ให้กระทาการแทนไม่ถือว่าสิน้ สุดลง เพราะความตายของคู่กรณี เว้นแต่
ผูส้ ืบสิทธิของคู่กรณีถอนการแต่งตัง้
ข. การแต่งตัง้ ให้กระทาการแทนสิน้ สุดลงทันที
ค. การแต่งตัง้ ให้กระทาการแทนไม่ถือว่าสิน้ สุดลง จนกว่าคู่กรณีตายครบ 100 วัน
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
9. การตัง้ ตัวแทนร่วมในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง กระทาเมื่อมีผูย้ ่นื คาขอให้มีคาสั่ง
ทางปกครองในเรื่องเดียวกัน ต้องมีผลู้ งชื่อร่วมกัน กี่คน
ก. 50 ขึน้ ไป
ข. เกิน 50 คนขึน้ ไป
ค. เกิน 51 คนขึน้ ไป
ง. 52 คนขึน้ ไป
10. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับตัวแทนร่วม ในกระบวนพิจารณาทางปกครอง
[350]

ก. ตัวแทนร่วม ตัง้ จากนิติบุคคลก็ได้


ข. ตัวแทนร่วม ตัง้ จาก นิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้
ค. ตัวแทนร่วม ต้องเป็ นบุคคลธรรมดาเท่านัน้
ง. ตัวแทนร่วม ต้องเป็ นนิติบุคคลเท่านัน้ เพราะแต่งตัง้ แทนคู่กรณีหลายคน
11. ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ ตามข้อใด
ก. ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยไม่ตอ้ งผูกพันอยู่กบั คาขอ
ข.ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยไม่ตอ้ งผูกพันอยู่กบั พยานหลักฐานของคู่กรณี
ค. ตรวจสอบข้อเท็จจริง อย่างไรก็ได้ แต่ตอ้ งให้สอดคล้องกับคาขอเท่านัน้
ง. ข้อ ก และ ข ถูก
12.ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่ไม่อาจกระทาการตามข้อใดได้
ก. แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
ข.ออกไปตรวจสถานที่
ค. รับฟั ง คาชีแ้ จง หรือความเห็นของคู่กรณี หรือของพยานบุคคล หรือพยานผูเ้ ชี่ยวชาญ
ที่ คู่กรณีกล่าวอ้าง
ง. ต้องรับฟั งคาชีแ้ จง ความเห็นทุกกรณี แม้จะเห็นว่า เป็ นการกล่าวอ้างที่ไม่จาเป็ น
ฟุ่ มเฟื อย หรือเพื่อประวิงเวลา เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง
13. “ในกรณีทคี่ าสั่งทางปกครอง อาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าทีต่ อ้ งให้ คู่กรณีมี
โอกาส ทีจ่ ะได้ทราบข้อเท็จจริง และมีโอกาสได้โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตนเสมอ”
เว้นแต่กรณีใดที่หา้ มเจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามข้อความข้างต้นโดยเด็ดขาด
ก.ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อประโยชน์สาธารณะ
ข. เมื่อเป็ นมาตรการบังคับทางปกครอง
ค. เมื่อจะมีผลทาให้ ระยะเวลาที่กฎหมาย หรือกฎกาหนดไว้ ในการทาคาสั่งทาง
ปกครอง ต้องล่าช้าออกไป
ง. เมื่อเป็ นข้อเท็จจริง ที่ค่กู รณีนนั้ เองได้ให้ไว้ในคาขอ คาให้การหรือคาแถลง
14. ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสาร ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวไม่
ถูกต้อง
ก. มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารเพื่อการโต้แย้งสิทธิ
ข. มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารเพื่อการโต้แย้ง ชีแ้ จงได้ แต่ถา้ ยังไม่ได้ทาคาสั่งทางปกครอง
คู่กรณีไม่มีสิทธิขอตรวจดูเอกสาร อันเป็ นต้นร่างคาวินิจฉัย
ค. ไม่มีสิทธิ ถ้าเป็ นกรณีท่ตี อ้ งรักษาไว้เป็ นความลับ
ง.มีสิทธิขอตรวจดูเอกสาร เฉพาะที่เป็ นต้นร่างคาวินิจฉัยเท่านัน้
15. คาสั่งทางปกครอง สามารถทาได้แบบใด
[351]

ก. หนังสือเท่านัน้
ข.วาจา หรือหนังสือ มีความหมายหรือไม่มีความหมาย ก็ถือเป็ นคาสั่งทางปกครอง
ค. ทาเป็ นสัญลักษณ์เท่านัน้ แต่ตอ้ งสื่อความหมายชัดเจนเข้าใจได้
ง.ทาเป็ นหนังสือ หรือวาจา หรือโดยการสือ่ ความหมายในรู ปแบบอืน่ ก็ได้ แต่ตอ้ งมี
ข้อความ หรือความหมายที่ชดั เจน เพียงพอที่จะเข้าใจได้
16.การยืนยันคาสั่งทางปกครองเป็ นหนังสือ ถ้าผูร้ บั คาสั่งร้องขอ เจ้าหน้าที่ผอู้ อกคาสั่งต้อง
กระทาภายในกี่วนั นับแต่วนั ที่มีคาสั่งทางปกครอง
ก. 3 วัน ข. 5 วัน
ค. 7 วัน ง. 9 วัน
17. คาสั่งทางปกครอง ที่ทาเป็ นหนังสือ อย่างน้อยต้องระบุอะไรต่อไปนี ้
ก. ต้องระบุ วัน เดือน และปี ที่ทาคาสั่ง
ข. ชื่อและตาแหน่ง ของเจ้าหน้าที่ผทู้ าคาสั่ง
ค. ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ ผูท้ าคาสั่งนัน้
ง. ถูกทุกข้อ
18. การระบุเหตุผลในคาสั่งทางปกครอง ทีท่ าเป็ นหนังสือ และการยืนยันคาสั่งทางปกครอง
เป็ นหนังสือ ตามมาตรา ๓๗ แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ริ าชการทางปกครอง ต้องจัดให้มีเหตุผลไว้
ด้วย ข้อใดต่อไปนี ้ ไม่ใช่เหตุผลที่กฎหมายบังคับให้ตอ้ งระบุในคาสั่งทางปกครองดังกล่าว
ก. ข้อเท็จจริงอันเป็ นสาระสาคัญ
ข. ข้อกฎหมายที่อา้ งอิง
ค. ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดลุ พินิจ
ง.ข้อโต้แย้งของคู่กรณี
19. กรณีใด ที่ไม่ตอ้ งระบุเหตุผล ในคาสั่งทางปกครอง ที่ทาเป็ นหนังสือ และการยืนยันคาสั่ง
ทางปกครอง เป็ นหนังสือ
ก. เป็ นกรณีท่มี ีผลตรงตามคาขอ และไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น
ข.เหตุผลนัน้ เป็ นที่รูก้ นั อยู่แล้ว
ค. เป็ นกรณีท่ีตอ้ งรักษาไว้เป็ นความลับ
ง. ถูกทุกข้อ
20. การออกคาสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่สามารถกาหนดเงื่อนไขใดได้บา้ ง
ก. การกาหนดให้สิทธิ หรือภาระหน้าที่เริ่มมีผล หรือสิน้ ผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
ข.การกาหนดให้การเริ่มมีผล หรือสิน้ ผลของสิทธิ หรือภาระหน้าที่ ต้องขึน้ อยู่กบั
เหตุการณ์ ในอนาคตที่ไม่แน่นอน
ค. การกาหนดให้ผไู้ ด้รบั ประโยชน์ ต้องกระทา หรืองดเว้นกระทา หรือต้องมีภาระหน้าที่
[352]

หรือยอมรับภาระหน้าที่ หรือความรับผิดชอบบางประการ
ง.ถูกทุกข้อ
21. การออกคาสั่งทางปกครองเป็ นหนังสือ หากไม่มีกฎหมาย กาหนดระยะเวลาในการออก
คาสั่งในเรื่องนัน้ ไว้ เจ้าหน้าที่ตอ้ งออกคาสั่งฯ ให้แล้วเสร็จภายในกี่วนั นับแต่วนั ที่เจ้าหน้าที่
ได้รบั คาขอ และเอกสารถูกต้องครบถ้วน
ก. 25 วัน ข. 30 วัน
ค. 45 วัน ง. 60 วัน
22. ข้อใดกล่าวไม่ถกู ต้อง เกี่ยวกับคาสั่งทางปกครอง ที่อาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้งต่อไปได้
ก. ให้ระบุกรณีท่อี าจอุทธรณ์ หรือโต้แย้ง
ข. ให้ระบุการยื่นคาอุทธรณ์หรือคาโต้แย้ง
ค. ให้ระบุอานาจการพิจารณาอุทธรณ์ของเจ้าหน้าที่
ง.ให้ระบุระยะเวลาสาหรับการอุทธรณ์ หรือการโต้แย้ง
23.คาสั่งทางปกครอง ที่อาจอุทธรณ์ หรือโต้แย้งต่อไปได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ระบุกรณีตามที่
กฎหมายกาหนดแล้ว การนับระยะเวลาอุทธรณ์ จะเป็ นอย่างไร
ก. ให้ เริ่มนับใหม่ ตัง้ แต่วนั ที่ได้รบั แจ้งหลักเกณฑ์
ข. ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่ และระยะเวลาดังกล่าว มีระยะเวลาสัน้ กว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็ น
หนึ่งปี นบั แต่วนั ที่ได้รบั คาสั่งทางปกครอง
ค. ข้อ ก และ ข ถูก
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
24.คาสั่งทางปกครอง ที่ตอ้ งจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง หากออกคาสั่งโดยไม่ได้
จัดเหตุผลไว้ คาสั่งทางปกครองจะสมบูรณ์หรือไม่
ก.ไม่สมบูรณ์ แม้จะแก้ไขโดยระบุเหตุผลในภายหลังก็ไม่ทาให้สมบูรณ์ได้เพราะฝ่ าฝื น
กฎหมายแต่แรก
ข.ไม่สมบูรณ์ เพราะ เพราะทาผิดเงื่อนไขที่กฎหมายกาหนด
ค.สมบูรณ์ ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าว ในภายหลัง โดยกระทาก่อนสิน้ สุด
กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนัน้
ง. สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่สาระสาคัญที่กฎหมายกาหนดให้ตอ้ งดาเนินการโดยเคร่งครัด
ถ้าเป็ นกรณีท่ีไม่ตอ้ งมีการอุทธรณ์ดงั กล่าว ก็ตอ้ งก่อนมีการนาคาสั่งทางปกครอง
ไปสูก่ ารพิจารณา ของผูม้ ีอานาจพิจารณาวินิจฉัย
25. คาสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยนั ต่อบุคคล เมือ่ ใด
ก. ตัง้ แต่ขณะที่ผนู้ นั้ ได้รบั แจ้งคาสั่ง
ข. มีผล ภายใน 7 วันหลังจาก ได้รบั คาสั่ง
[353]

ค.มีผล ภายใน 14 วันหลังจาก ได้รบั คาสั่ง


ง.มีผล ภายใน 30 วันหลังจาก ได้รบั คาสั่ง
26. ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กรณีคาสั่งทางปกครองที่ไม่ได้ออก
โดยรัฐมนตรี และไม่มีกฎหมายกาหนดขัน้ ตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ ายปกครอง ไว้เป็ นการเฉพาะ
ให้ค่กู รณีสามารถอุทธรณ์คาสั่งฯ อย่างไร
ก. ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผทู้ าคาสั่งทางปกครอง ภายใน 14 วัน นับแต่วนั ที่ตนได้รบั แจ้งคาสั่ง
ข. ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผทู้ าคาสั่งทางปกครอง ภายใน 15 วัน นับแต่วนั ที่ตนได้รบั แจ้งคาสั่ง
ค. ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผทู้ าคาสั่งทางปกครอง ภายใน 25 วัน นับแต่วนั ที่ตนได้รบั แจ้งคาสั่ง
ง. ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผทู้ าคาสั่งทางปกครอง ภายใน 30 วัน นับแต่วนั ที่ตนได้รบั แจ้งคาสั่ง
27. ข้อกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการอุทธรณ์คาสั่งทางปกครอง
ก. คาอุทธรณ์ตอ้ งทาเป็ นหนังสือ โดยระบุขอ้ โต้แย้ง และข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายที่
อ้างอิง ประกอบด้วย
ข. การอุทธรณ์ไม่เป็ นเหตุให้ทเุ ลาการบังคับตามคาสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่ง
ให้ทเุ ลาการบังคับตามมาตรา ๖๓/๒ วรรคหนึ่ง
ค. ถูกทัง้ ข้อ ก และ ข
ง. การอุทธรณ์คาสั่งทางปกครอง เป็ นเหตุให้ทเุ ลาการบังคับตามคาสั่งไปโดยปริยาย
28. พ.ร.บ.วิธีปฏิบตั ิราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กาหนดระยะเวลาให้เจ้าหน้าที่ตอ้ ง
พิจารณาคาอุทธรณ์จนถึงแจ้งผูอ้ ทุ ธรณ์ โดยต้องแล้วเสร็จ ภายในเวลาใดนับแต่วนั ที่ได้รบั
อุทธรณ์
ก. ไม่เกิน 45 วัน ข. ไม่เกิน 30 วัน
ค. ไม่เกิน 25 วัน ง. ไม่เกิน 15 วัน
29.การเพิกถอนคาสั่งทางปกครอง ที่มีลกั ษณะเป็ นการให้ประโยชน์ ต้องกระทาภายในกี่วนั นับ
แต่ได้รูถ้ ึงเหตุท่จี ะให้เพิกถอนคาสั่งทางปกครอง
ก. 90 วัน ข. 30 วัน
ค. 120 วัน ง. 150 วัน
30.คาสั่งทางปกครองที่กาหนดให้ชาระเงิน ถ้าถึงกาหนดแล้วไม่มีการชาระ เจ้าหน้าที่ผทู้ าคาสั่ง
ทางปกครอง ต้องมีหนังสือเตือนให้ผนู้ นั้ ชาระ โดยต้องให้เวลากี่วนั
ก. ไม่นอ้ ยกว่า 17 วัน ข. ไม่นอ้ ยกว่า 7 วัน
ค. ไม่นอ้ ยกว่า 15 วัน ง. ไม่นอ้ ยกว่า 30 วัน
31.คาสั่งทางปกครองที่กาหนดให้ชาระเงิน ถ้าถึงกาหนดแล้วไม่มีการชาระ แม้เจ้าหน้าที่ผทู้ า
คาสั่งทางปกครอง ได้มีหนังสือเตือนให้ชาระแล้ว ดังนี ้ เจ้าหน้าที่มีอานาจใด
ก.ยึดหรืออายัดทรัพย์สินภายใน 10 ปี นบั แต่วนั ที่คาสั่งฯ เป็ นที่สุด เพื่อนาออกขาย
[354]

ทอดตลาด
ข. ฟ้องล้มละลายได้เลย หากเข้าหลักเกณฑ์
ค. ฟ้องศาลที่เกี่ยวข้อง
ง. ร้องทุกข์ ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
32.การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเพราะบทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป ซึง่ หากมีบทกฎหมายเช่นนี้
ในขณะทำคำสั่งทางปกครองแล้วเจ้าหน้าที่คงจะไม่ทำคำสั่งทางปกครองนั้น ผู้ได้รับประโยชน์
ต้องร้องขอค่าทดแทนภายในกี่วันนับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
ก. 150 วัน ข. 160 วัน
ค. 180 วัน ง. 360 วัน
33.การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการให้เงิน สามารถเพิกถอนได้กรณี
ใด
ก. มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคำสั่ง
ทางปกครอง
ข. ผู้ได้รับประโยชน์มิได้ปฏิบัติหรือปฏิบัติล่าช้าในอันที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไข
ของคำสั่งทางปกครอง
ค. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
ง. ไม่แจ้งผลการดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่
34.กรณีตามข้อใดทีผ่ ู้รับคำสั่งทางปกครองจะอ้างความเชื่อโดยสุจริตไม่ได้
ก.นายสนอง แสดงข้อความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคำสั่งทางปกครอง
ข.นายอำนาจ ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน แต่ไม่ใช่ข้อมูลที่นำมาพิจารณาทางปกครอง
ค.นายอำนวย ไม่รู้ว่าคำสั่งทางปกครองนั้น เกิดจากความไม่ชอบในกฎหมายในขณะได้รับ
คำสั่งทางปกครอง
ง.ถูกทุกข้อ
35.ความเชื่อโดยสุจริต จะได้รับความคุ้มครอง เมื่อใด
ก. เมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครองได้ใช้ประโยชน์ อันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง
ข.เมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครอง ได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่ อาจแก้ไข
เปลี่ยนแปลงได้หรือการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี
ค. เมื่อผู้รับคำสั่งทางปกครอง ได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินไปแล้วโดยไม่ อาจ
เปลี่ยนแปลงได้ เพราะจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายเกินควรแก่กรณี
ง.ถูกทุกข้อ
36. กรณีใด ที่เจ้าหน้าที่อาจแก้ไขคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ได้
ก. มีพยานหลักฐานใหม่ แต่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในการพิจารณา
ข.คู่กรณีที่แท้จริง ไม่ได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
ค. มีข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ไม่ใช่สาระสำคัญ
ง. ถูกทุกข้อ

อธิบาย การขอให้พิจารณาใหม่ (ม.54) เมื่อคู่กรณี มีคาขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิก ถอนหรื อแก้ไข


เพิ่มเติมคาสั่งทางปกครองที่พน้ กาหนดอุทธรณ์ทาได้ในกรณี ดงั ต่อไปนี้
[355]

(1) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทาให้ขอ้ เท็จจริ งที่ฟังเป็ นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลง


ไปในสาระสาคัญ
(2) คู่กรณี ที่แท้จริ งมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรื อได้เข้ามา
ในกระบวนการพิจารณาครั้งก่อนแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็ นธรรมในการมีส่วนร่ วมใน
กระบวนการพิจารณาทางปกครอง
(3) เจ้าหน้าที่ไม่มีอานาจที่จะทาคาสัง่ ทางปกครองในเรื่ องนั้น
(4) ถ้าคาสัง่ ทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริ งหรื อข้อกฎหมายใดและต่อมา
ข้อเท็จจริ งหรื อข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสาคัญในทางที่จะเป็ นประโยชน์แก่คู่กรณี
การยืน่ คาขอตามข้อ (1) (2) หรื อ (3) ให้กระทาได้เฉพาะเมื่อคู่กรณี ไม่อาจทราบถึง
เหตุน้ นั ในการพิจารณาครั้งที่แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผูน้ ้ นั

37. การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่ผู้น้ันได้รู้ถึ งเหตุซึ่งอาจขอให้


พิจารณาใหม่ได้
ก. 30 วัน ข. 60 วัน
ค. 90 วัน ง. 150 วัน
38.ข้อใดเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
ก. การบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน
ข. การบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้กระทำ
ค.การบังคับตามคำสั่งทางปกครองให้ละเว้นกระทำ
ง. ถูกทุกข้อ
39.คดีใดที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ก.การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
ข. คดีที่อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
ค.คดีที่อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร
ง. ไม่มีข้อใดถูก เพราะทุกข้อไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
40. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระให้
เจ้าหน้าที่ออกหนังสือเตือน ให้ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก. 7 วัน ข.15 วัน
ค. 30 วัน ง. 45 วัน
41.เจ้าพนักงานบังคับทางปกครอง ต้องยึด หรืออายัดทรัพย์สิน ภายในกี่ปนี ับแต่คำสั่งให้ ชำระเงิน
เป็นที่สุด
ก. 10 ปี ข.5 ปี
ค. 7 ปี ง. 3 ปี
42. การยึด อายัดทรัพย์สิน จะกระทำเมื่อพ้น 10 ปีไม่ได้ เว้นแต่กรณีใด ที่สามารถกระทำได้เมื่อ
ล่วงพ้น 10 ปี
ก.การขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไว้แล้วก่อน 10 ปี
ข.การจำหน่ายโดยวิธีอื่นของทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไว้ ภายหลัง 10 ปี
ค.การคิดค่าธรรมเนียม ในการบังคับทางปกครอง
[356]

ง. ข้อ ก และ ค ถูก


43.กรณีหน่วยงานของรัฐอาจมอบหมายให้เอกชนสืบหาทรัพย์สินแทนได้คือข้อใด
ก.จำนวนมูลค่าทรัพย์สินที่จะสืบหา มีมูลค่าตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึน้ ไป
ข.จำนวนเงินที่ต้องชำระตามมาตรการบังคับทางปกครองนั้น มีมูลค่าตั้งแต่
2,000,000 บาทขึ้นไป
ค.จำนวนมูลค่าทรัพย์สินที่จะสืบหา มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป
ง.จำนวนเงินที่ต้องชำระตามมาตรการบังคับทางปกครองนั้น มีมูลค่าตั้งแต่
1,000,000 บาท ขึ้นไป
44.ข้อใดทีไ่ ม่ทำให้คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุด
ก. ไม่มีการอุทธรณ์คำสั่งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองภายในระยะเวลาอุทธรณ์
ข. เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์
ค. เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ มีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ และไม่มีการฟ้องคดีต่อ
ศาลภายในระยะเวลาการฟ้องคดี
ง. ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว

อธิบาย คาสั่งทางปกครองที่กาหนดให้ชาระเงินเป็ นที่สุด ในกรณี ดงั ต่อไปนี้


(1) ไม่มีการอุทธรณ์คาสั่งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองภายในระยะเวลาอุทธรณ์
(2) เจ้าหน้าที่ผมู ้ ีอานาจพิจารณาอุทธรณ์ มีคาวินิจฉัยยกอุทธรณ์ และไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล
ภายในระยะเวลาการฟ้องคดี
(3) ศาลมีคาสั่งหรื อคาพิพากษายกฟ้องหรื อเพิกถอนคาสั่งบางส่ วนและคดีถึงที่สุดแล้ว

45.ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง สามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจในการออกหมาย
บังคับคดี เพื่อขอให้สั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อน ได้ในกรณีใด
ก.มีการขอให้พิจารณาคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดแล้วนั้นใหม่
ข. ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิจารณาเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดแล้วนั้นใหม่
ค. มีการขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ และ ศาลมีคำสั่งให้ รับคำฟ้องไว้พิจารณา
ง. ถูกทุกข้อ
46.การเพิกถอนการบังคับคดี ทำได้เมื่อใด
ก.มีคำสั่งให้ทบทวนคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดนั้นใหม่
ข. ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้พิจารณาเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดแล้วนั้นใหม่
ค. มีการขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ และ ศาลมีคำสั่งให้ รับคำฟ้องไว้พิจารณา
ง.มีการขอให้พิจารณาคำสั่งทางปกครองที่เป็นที่สุดแล้วนั้นใหม่
47. ผู้ที่จะทบทวนคำสั่งเพื่อให้มีการเพิกถอนการบังคับคดี คือผู้ใด
ก. หน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงิ น
ข.ศาลที่มีเขตอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้
ชำระเงิน
ค. ผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข
[357]

48. พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนดให้นำขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยึด การ


อายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามข้อใด
ก. ตามกฎกระทรวง
ข. ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ค. ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่ กรณีที่กฎกระทรวงไม่ได้กำหนดเรื่องใดไว้ ให้นำ
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ง. ตามประกาศของกรมบังคับคดี

49.การโต้แย้งหรือการใช้สิทธิทางศาลเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน


กระทำโดยใคร
ก. นายดำรง เป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง
ข.นายอำนาจ เป็นเจ้าหนี้จำนำ ของทรัพย์อายัด
ค. นายอำนวย เป็นเจ้าหนี้จำนอง ของทรัพย์ที่ถูกอายัด
ง.ถูกทุกข้อ
50. กรณีทคี่ ำสั่งทางปกครองกำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดแล้ว แต่หน่วยงานของรัฐ ได้เงินไม่ครบ
สามารถขอให้เจ้าพนักงานตามข้อใดดำเนินการบังคับให้ชำระเงินแทน ได้
ก. เจ้าพนักงานคดีปกครอง
ข. พนักงานสอบสวน
ค. เจ้าพนักงานบังคดี
ง. นายอำเภอ

เฉลยแนวข้อสอบความรู้ เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ
1 ค 11 ง 21 ข 31 ก 41 ก
2 ง 12 ง 22 ค 32 ค 42 ง
3 ค 13 ก 23 ค 33 ค 43 ข
4 ข 14 ง 24 ค 34 ก 44 ข
5 ง 15 ง 25 ก 35 ง 45 ง
6 ก 16 ค 26 ข 36 ข 46 ค
7 ค 17 ง 27 ค 37 ค 47 ง
8 ก 18 ง 28 ข 38 ง 48 ง
9 ข 19 ง 29 ก 39 ง 49 ง
10 ค 20 ง 30 ข 40 ก 50 ค
[358]

แนวข้อสอบเกีย่ วกับประมวลกฎหมายอาญา – กฎหมายแพ่งและพาณิชย์


1) ข้อใดต่อไปนี้ เรี ยงลาดับศักดิ์กฎหมายจากสูงสุด ไปหาต่าสุดได้ถูกต้อง
ก. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราช
กาหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม
ข. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราช
กาหนด พระราชกฤษฎีกา ประกาศกระทรวง กฎกระทรวง ประกาศกรม
ค.รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกาหนด
พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกรม ประกาศกระทรวง
ง.รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราช
กฤษฎีกา พระราชกาหนด กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรม
2) โทษทางอาญา มีกี่ประการ
ก. 5 ประการ ข. 4 ประการ
ค. 3 ประการ ง. 2 ประการ
3) ข้อใดไม่ใช่ โทษทางอาญา
ก. ประหารชีวิต ข. จาคุก
ค. ชดใช้ค่าเสี ยหาย ง. ริ บทรัพย์
4) ข้อใดไม่โทษทางแพ่ง
ก. บังคับให้ชาระหนี้ ข.ชดใช้ค่าเสี ยหาย
ค. จาคุก ง.เสี ยดอกเบี้ย
5) ข้อใดคือหลักการรับผิดทางอาญา
ก.การกระทานั้นต้องมีกฎหมายกาหนดไว้ชดั แจ้ง
ข. โทษที่ลงต้องเป็ นโทษที่กฎหมายกาหนดไว้
ค. กฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลัง
ง. ถูกทุกข้อ
6) การกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตรา เท่าใดต่อ 1 วัน
ก. 200 บาท ข. 400 บาท
ค. 500 บาท ง. 600 บาท
7) โทษทางอาญา ที่กาหนดให้ริบทรัพย์สิน ได้น้ นั ต้องเข้าหลักเกณฑ์ใด จึงจะริ บทรัพย์ได้
ก. ได้ใช้หรื อมีไว้เพื่อใช้ในการกระทาความผิด
ข.เป็ นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยการกระทาความผิด
ค. ทรัพย์ของผูอ้ ื่น แม้มิได้รู้เห็นเป็ นใจด้วยในการกระทาความผิด
ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
[359]

8) ผูก้ ระทาการที่กฎหมายกาหนดว่าเป็ นความผิดจะต้องรับผิดทางอาญา เมื่อได้กระทาโดย


เจตนาเท่านั้น เว้นแต่ กรณีที่มีกฎหมายกาหนดไว้วา่ ต้องรับโทษ แม้ไม่ได้กระทาโดยเจตนา คือ
ข้อใด
ก.กระทาโดยประมาท ข. การกระทาความผิดลหุโทษ
ค. กระทาโดยพลาด ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
9) ข้อใดไม่ใช่เหตุยกเว้นความผิด ที่จะถือว่าผูก้ ระทาไม่มีความผิดอาญาเลย
ก.การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ข. ผูเ้ สี ยหายยินยอมให้กระทา
ค. มีกฎหมายประเพณี หรื อมีกฎหมายอื่นให้อานาจกระทาได้
ง.การกระทาโดยเจตนา
10) ข้อใดต่ อไปนีเ้ ป็ นเหตุลดหย่ อนโทษ ที่ศาลอาจลงโทษสถานเบาได้
ก. ศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นไม่รู้กฎหมาย
ข. การกระทาโดยบันดาลโทสะ
ค. บุพการี กบั ผูส้ ื บสันดาน หรื อพี่นอ้ งที่การกระทาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ง. ถูกทุกข้อ
11) การกระทาของเด็กอายุไม่เกินกี่ปี ที่ถือเป็ นความผิดกฎหมายอาญาอยู่ เพียงแต่กฎหมายไม่
เอาโทษเท่านั้น ทาให้ไม่ตอ้ งรับโทษเลย
ก.อายุไม่เกิน 10 ปี ข. อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี
ค. อายุกว่า 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี ง. อายุกว่า 18 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
12) “ผูใ้ ช้” คือ การที่ทาให้ผอู ้ ื่นกระทาความผิด แต่ถา้ ผูถ้ ูกใช้มิได้กระทาตามที่ถูกใช้ ผูใ้ ช้ตอ้ งรับ
โทษอย่างไร
ก. รับโทษเพียง 2 ใน 3 ของความผิด
ข. รับโทษเพียง 1 ใน 3 ของความผิด
ค.รับโทษเพียง 1 ใน 4 ของความผิด
ง.รับโทษเพียง 2 ใน 4 ของความผิด
13 ) อายุความสูงสุด มีกี่ปี
ก. 20 ปี ข. 15 ปี
ค. 10 ปี ง. 5 ปี
14) อายุความ 10 ปี สาหรับความผิดที่มีระวางโทษจาคุกกี่ปี
ก.จาคุกกว่า 7 ปี แต่ยงั ไม่ถึง 20 ปี ข.จาคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี
ค.จาคุกกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี ง.จาคุกกว่า 1 เดือน ถึง 1 ปี
15) สิ ทธิเรี ยกร้องของรัฐที่จะเรี ยกเอาค่าภาษีอากร มีกาหนดอายุความกี่ปี
ก. 2 ปี ข. 5 ปี
[360]

ค. 10 ปี ง. 20 ปี
16) ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึงความผิด ตามข้อใด
ก.ความผิดที่มีผลกระทบต่อผูท้ ี่ถูกกระทาแล้วยังมีผลกระทบต่อสังคมด้วย
ข.ความผิดที่มีผลกระทบต่อผูท้ ี่ถูกกระทา แต่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง
ค. ความผิดที่รัฐก็ไม่จาต้องเข้าไปดาเนิ นคดีกบั ผูก้ ระทาความผิด
ง.ความผิดที่ตอ้ งมีกฎหมายกาหนดไว้โดยชัดแจ้ง จึงจะสามารถลงโทษได้
17) นายอานาจ เป็ นเจ้าพนักงานสรรพสามิตชานาญงานมีหน้าที่รับชาระภาษี แต่ไม่เรี ยกเก็บภาษี
จากนางนิยม ซึ่งเปิ ดร้านขายสุ รา เพราะเป็ นน้าของตน อย่างนี้ นายอานาจ มีความผิดหรื อไม่
ก. ไม่มีความผิดเพราะ กรมสรรพสามิต ยังไม่ได้เรี ยกตรวจสอบภาษี
ข. ผิด เพราะรู ้อยูแ่ ล้ว ว่า นางนิยมประกอบกิจการที่ตอ้ งเสี ยภาษี แต่ละเว้นไม่เก็บภาษี
ถือว่า ละเว้นการปฏิบตั ิหน้าที่
ค.ไม่ผิด เพราะถือว่าจานวนภาษีจากการขายสุรา มีจานวนไม่มาก
ง. ผิด เพราะนายอานาจ ไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีให้ไปตรวจสอบภาษี

Note
มาตรา ๑๕๔ ผูใ้ ดเป็ นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่หรื อแสดงว่าตนมีหน้าที่เรี ยกเก็บหรื อ
ตรวจสอบภาษีอากร ค่าธรรมเนียม หรื อเงินอื่นใด โดยทุจริ ตเรี ยกเก็บหรื อละเว้นไม่เรี ยกเก็บ
ภาษีอากร ค่าธรรมเนียมหรื อเงินนั้น หรื อกระทาการหรื อไม่กระทาการอย่างใด เพื่อให้ผมู ้ ีหน้าที่
เสี ยภาษีอากรหรื อค่าธรรมเนี ยมนั้นมิตอ้ งเสี ย หรื อเสี ยน้อยไปกว่าที่จะต้องเสี ย ต้องระวางโทษ
จาคุกตั้งแต่หา้ ปี ถึงยีส่ ิ บปี หรื อจาคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่ แสนบาท
18) ข้อใดหมายถึง “เอกสาร” ตามประมวลกฎหมายอาญา
ก. กระดาษหรื อวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทาให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษรเท่านั้น โดยวิธี
พิมพ์ถ่ายภาพหรื อวิธีอื่นอันเป็ นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
ข.กระดาษ ซึ่งได้ทาให้ปรากฎความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผังหรื อแผนแบบอย่าง
อื่น โดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรื อวิธีอื่นอันเป็ นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
ค.วัตถุอื่นใดซึ่งได้ทาให้ปรากฎความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผังหรื อแผนแบบอย่าง
อื่น โดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรื อวิธีอื่นอันเป็ นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
ง.ถูกเฉพาะข้อ ข และ ค

Note
[361]

➢ “เอกสาร” หมายความว่า กระดาษหรื อวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทาให้ปรากฎความหมายด้วย


ตัวอักษร ตัวเลข ผังหรื อแผนแบบอย่างอื่น จะเป็ นโดยวิธีพิมพ์ถ่ายภาพหรื อวิธีอื่นอัน
เป็ นหลักฐานแห่งความหมายนั้น
➢ “เอกสารราชการ” หมายความว่า เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทาขึ้นหรื อรับรองในหน้าที่
และให้หมายความรวมถึง สาเนาเอกสารนั้นๆ ที่เจ้าพนักงานได้รับรองในหน้าที่ดว้ ย
➢ “เอกสารสิทธิ” หมายความว่าเอกสารที่เป็ นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน
สงวนหรื อระงับซึ่งสิ ทธิ

19) ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการยกเลิกกฎหมายโดยปริ ยายได้ถูกต้องที่สุด


ก. กฎหมายใหม่และกฎหมายเก่ามีบทบัญญัติอย่างเดียวกัน
ข. กฎหมายเก่ามีขอ้ ขัดแย้งกับกฎหมายใหม่
ค. กฎหมายเก่ามีขอ้ ความขัดกับกฎหมายใหม่
ง.ถูกทุกข้อ
20) “สภาพบุคคล” บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราใด
ก. มาตรา 14 ข. มาตรา 15
ค.มาตรา 16 ง.มาตรา 17

อธิบาย สภาพบุคคลเริ่ มแต่คลอดแล้วอยู่รอดเป็ นทารก และสิ้ นสุ ดเมื่อตาย ( ป.พ.พ. มาตรา 15 )

21) ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด
ก. เมื่อไม่มีกฎหมายที่ยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีน้ นั ตามจารี ตประเพณี แห่ง
ท้องถิ่น
ข. เมื่อไม่มีกฎหมายที่ยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีน้ นั ตามจารี ตประเพณี แห่ง
ท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารี ตประเพณี แห่งท้องถิ่น ให้วินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียง
อย่างยิง่
ค. เมื่อไม่มีกฎหมายที่ยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีน้ นั ตามจารี ตประเพณี แห่ง
ท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารี ตประเพณี แห่งท้องถิ่น ให้วินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียง
อย่างยิง่ และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นไม่มีให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทัว่ ไป
ง. ในกรณี ไม่มีกฎหมายมาปรับใช้แก่คดีได้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจในการรับฟัง
พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความนามาสื บได้
[362]

อธิบาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง บัญญัติไว้วา่ “เมื่อไม่มีบท


กฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีน้ นั ตามจารี ตประเพณี แห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารี ต
ประเพณี เช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิง่ และถ้าบทกฎหมาย
เช่นนั้นก็ไม่มีดว้ ย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทัว่ ไป”

22) ในการชาระหนี้บุคคล ทุกคนต้องกระทาเช่นใด


ก. ต้องกระทาโดยสุจริ ต ข. ต้องกระทาโดยคานึงถึงสิ ทธิ
ค. ต้องกระทาโดยคานึงถึงหน้าที่ ง. ต้องกระทาโดยซื่อสัตย์

อธิบาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 บัญญัติไว้วา่ “ในการใช้สิทธิแห่งตนก็


ดี ในการชาระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทาโดยสุจริ ต”

23) ในกรณี ที่จะต้องเสี ยดอกเบี้ยให้แก่กนั และมิได้กาหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาให้ใช้อตั รา


ร้อยละเท่าใดต่อปี
ก. ร้อยละ 5 ต่อปี ข. ร้อยละ 7.5 ต่อปี
ค. กว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ง. น้อยกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี

อธิบาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บัญญัติไว้วา่ “ถ้าจะต้องเสี ยดอกเบี้ยแก่


กันและมิได้กาหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรื อโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อตั รา
ร้อยละเจ็ดครึ่ งต่อปี ”

24) เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง


ก. ให้ถือตามนัยที่ทาให้เป็ นผลบังคับได้ ข. ให้ถือตามนัยที่จะทาให้ไร้ผล
ค. ให้ถือตามนัยที่จะทาให้สมบูรณ์ ง. ให้ถือตามนัยที่ทาให้เป็ นโมฆียะ
อธิบาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10 บัญญัติไว้วา่ “เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งใน
เอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทาให้เป็ นผลบังคับได้ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะ
ถือเอานัยที่ไร้ผล”
25) ในกรณี ที่จานวนเงินในเอกสารแสดงไว้ท้ งั ตัวอักษรและตัวเลขถ้าอักษรและตัวเลขไม่
ตรงกัน ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
[363]

ก. ให้ถือเอาจานวนเงินที่เป็ นตัวอักษร ข. ให้ถือเอาจานวนเงินที่เป็ นตัวเลข


ค. ให้ถือเอาจานวนเงินที่เป็ นตัวอักษรหรื อตัวเลขก็ได้ ง. ข้อ ก. และ ข. ถูก

อธิ บาย ป.พ.พ. มาตรา 12 บัญญัติไว้วา่ “ในกรณีที่จานวนเงินหรื อปริ มาณในเอกสาร


แสดงไว้ท้ งั ตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกัน และมิอาจหยัง่ ทราบเจตนาอัน
แท้จริ งได้ ให้ถือเอาจานวนเงินหรื อปริ มาณที่เป็ นตัวอักษรเป็ นประมาณ”

26) ในกรณีบุคคลหลายคนตายเพราะเหตุน้ าท่วมและไม่อาจทราบว่าผูใ้ ดตายก่อนหรื อตายหลัง


ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
ก. ให้ถือว่าตายพร้อมกัน
ข. ให้ถือเรี ยงตามอายุ
ค. ญาติของผูน้ ้ นั ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งว่าตายเมื่อใด
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก

อธิบาย ป.พ.พ. มาตรา 17 บัญญัติไว้วา่ “ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตราย


ร่ วมกัน ถ้าเป็ นการพ้นวิสัยที่จะกาหนดได้วา่ คนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่าตายพร้อมกัน”
27) บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผูเ้ ยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อใด
ก. อายุ 15 ปี บริ บูรณ์
ข. อายุ 17 ปี บริ บูรณ์เมื่อทาการสมรส
ค. อายุ 20 ปี บริ บูรณ์
ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
อธิบาย ตาม ป.พ.พ.
- มาตรา 19 บัญญัติไว้วา่ “บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผูเ้ ยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยสี่ ิ บปี
บริ บูรณ์”
-มาตรา 20 บัญญัติไว้วา่ “ผูเ้ ยาว์ยอ่ มบรรลุนิติภาวะเมื่อทาการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทาตาม
บทบัญญัติมาตรา 1448”
-มาตรา 1448 บัญญัติไว้วา่ “การสมรสจะทาได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริ บูรณ์แล้ว
แต่ในกรณีที่มีเหตุอนั สมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทาการสมรสก่อนนั้นได้”
[364]

28) ผูเ้ ยาว์สามารถทาพินยั กรรมได้เมื่ออายุเท่าใด


ก. 15 ปี บริ บูรณ์ ข. 17 ปี บริ บูรณ์
ค. 18 ปี บริ บูรณ์ ง. 20 ปี บริ บูรณ์
29) พินยั กรรมที่บุคคลอายุยงั ไม่ครบ 15 ปี บริ บูรณ์ ผลจะเป็ นอย่างไร
ก. เป็ นโมฆียะ ข. เป็ นโมฆะ
ค. ผลไม่สมบูรณ์ ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก

อธิบาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1703 บัญญัติไว้วา่ “พินยั กรรมที่บุคคลอายุยงั ไม่ครบ 15 ปี


บริ บูรณ์ ผลเป็ นโมฆะ”
30)บุคคลซึ่งศาลสัง่ ให้เป็ นบุคคลไร้ความสามารถกระทานิติกรรมผลจะเป็ นเช่นไร
ก. เป็ นโมฆียะ ข. เป็ นโมฆะ
ค. ผลไม่สมบูรณ์ ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก
อธิบาย ป.พ.พ. มาตรา 29 บัญญัติไว้วา่ “การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็ นคนไร้
ความสามารถได้กระทาลง การนั้นเป็ นโมฆียะ”
31) ภูมิลาเนาของผูถ้ ูกจาคุกตามคาพิพากษาถึงที่สุดคือที่ใด
ก. ถิ่นบุคคลนั้นมีที่อยูอ่ นั เป็ นสถานที่อยูเ่ ป็ นแหล่งสาคัญ
ข. ถิ่นที่อยูต่ ามทะเบียนราษฎร์
ค. เรื อนจา
ง. ไม่มีขอ้ ใดถูก

อธิ บาย ป.พ.พ. มาตรา 47 บัญญัติไว้วา่ “ภูมิลาเนาของผูท้ ี่ถูกจาคุกตามคาพิพากษาถึง


ที่สุดของศาลหรื อตามคาสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่เรื อนจาหรื อทัณฑสถานที่ถูกจาคุกอยู่
จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว”
32) การสมรสสิ้ นสุ ดเมื่อใด
ก. การหย่า ข. ศาลพิพากษาให้หย่า
ค. คู่สมรสฝ่ ายใดฝ่ ายหนึ่งตาย ง. ถูกทุกข้อ

อธิ บาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 บัญญัติไว้วา่ “การสมรสย่อมสิ้ นสุ ดลงด้วยความตาย


การหย่าหรื อศาลพิพากษาให้เพิกถอน ”
[365]

33) ข้อใดต่อไปนี้ที่คนเสมือนไร้ความสามารถกระทาลง โดยไม่ตอ้ งได้รับความยินยอมจากผู ้


พิทกั ษ์
ก. นาทรัพย์สินไปลงทุน
ข. ให้เช่าสังหาริ มทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน
ค. ให้เช่าอสังหาริ มทรัพย์เป็ นเวลา 3 ปี
ง. กูย้ มื เงิน

34) ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลาเนาหรื อถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู ้แน่วา่ บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่


หรื อไม่ พนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็ นคนสาบสูญได้ เมื่อระยะเวลาได้ผา่ น
ไปกี่ปี
ก. 1 ปี ข. 2 ปี
ค. 4 ปี ง. 5 ปี
อธิบาย มาตรา 61 บัญญัติไว้วา่ “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลาเนาหรื อถิ่นที่อยู่ และไม่มี
ใครรู ้แน่วา่ บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยูห่ รื อไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผูม้ ีส่วนได้เสี ยหรื อพนักงาน
อัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็ นคนสาบสู ญก็ได้
ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี
(1) นับแต่วนั ที่การรบหรื อสงครามสิ้ นสุ ดลง ถ้าบุคคลนั้นอยูใ่ นการรบหรื อสงคราม และ
หายไปในการรบหรื อสงครามดังกล่าว
(2) นับแต่วนั ที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทาลายหรื อสู ญหายไป
(3) นับแต่วนั ที่เหตุอนั ตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรื อ (2) ได้ผา่ นพ้นไป ถ้าบุคคล
นั้นตกอยูใ่ นอันตรายเช่นว่านั้น”

35) คนที่มีเหตุบกพร่ อง (กายพิการ) จิตฟั่ นเฟื อน ประพฤติสุลุ่ยสุ ร่าย ติดสุ รายาเมา) ไม่สามารถ
จัดการงานของตนได้ คือบุคคลใด
ก.คนไร้ความสามารถ ข.คนเสมือนไร้ความสามารถ
ค.คนวิกลจริ ต ง.คนทุพพลภาพ
36) การยืน่ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของคนเสมือนไร้ความสามารถ กาหนดให้ใครเป็ น
ผูด้ าเนินการแทน
ก. ผูแ้ ทนโดยชอบธรรม ข. ผูพ้ ิทกั ษ์
ค.ผูอ้ นุบาล ง. ทนายความ
37) สิ ทธิ ได้มาโดยทางใดบ้าง
ก.โดยนิติกรรม ข. นิติเหตุ
[366]

ค. ถูกทั้ง ก และ ข ง.พฤตินยั

อธิบาย 1) โดยนิติกรรม 2) โดยนิติเหตุ


38) ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโมฆียกรรม
ก.นิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บงั คับกันได้ตามกฎหมายตั้งแต่ทานิติกรรมจนกว่าจะถูกบอก
ล้าง
ข.หากถูกบอกล้างก็จะทาให้นิติกรรมนั้นเป็ นโมฆะ ย้อนไปถึงขณะเริ่ มทานิติกรรม
ค.นิติกรรมมีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง
ง.หากถูกบอกล้างก็จะทาให้นิติกรรมนั้นเป็ นโมฆะ เริ่ มตั้งแต่วนั ที่ถูกบอกล้างเป็ นต้น
ไป
39) ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับโทษทางอาญา
ก. ประหารชีวิต จาขัง กักขัง ปรับ ริ บทรัพย์สิน
ข. ประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ ริ บทรัพย์สิน
ค.ประหารชีวิต จาขัง กักขัง กักบริ เวณ ริ บทรัพย์สิน
ง.ประหารชีวิต จาคุก กักขัง กักบริ เวณ ริ บทรัพย์สิน
40) หากกฎหมายไม่ได้กาหนดอายุความไว้ ปพพ.กาหนดอายุความทัว่ ไปไว้กี่ปี
ก. 2 ปี ข. 5 ปี
ค. 10 ปี ง. 20 ปี

Note
มาตรา ๑๙๓/๓๐ อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรื อกฎหมายอื่นมิได้บญั ญัติไว้
โดยเฉพาะ ให้มีกาหนดสิ บปี
มาตรา ๑๙๓/๓๑ สิ ทธิเรี ยกร้องของรัฐที่จะเรี ยกเอาค่าภาษีอากรให้มีกาหนด อายุความ
สิ บปี ส่วนสิ ทธิเรี ยกร้องของรัฐที่จะเรี ยกเอาหนี้ อย่างอื่นให้บงั คับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้
[367]

เฉลยแนวข้อสอบความรู้ เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญา - แพ่ง


ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ ข้ อ คาตอบ
1 ก 11 ก 21 ค 31 ค
2 ก 12 ข 22 ก 32 ง
3 ค 13 ก 23 ข 33 ค
4 ค 14 ข 24 ก 34 ง
5 ง 15 ค 25 ก 35 ง
6 ค 16 ก 26 ก 36 ข
7 ง 17 ข 27 ง 37 ค
8 ง 18 ง 28 ก 38 ง
9 ง 19 ง 29 ข 39 ข
10 ง 20 ข 30 ก 40 ค
[368]

ส่วนที่ 3 เจาะจุดเน้นที่น่าสนใจของกรมสรรพากร
ข้อ 1 พ่อค้า-แม่คา้ ออนไลน์ ที่เป็ นบุคคลธรรมดาและต้องการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สามารถใช้ที่อยูใ่ นอาคารชุดหรื อคอนโดมิเนียมขอจดทะเบียน VAT ผ่านระบบออนไลน์ได้แล้ว
ตั้งแต่วนั ที่ 1 ธันวาคม 2565 เป็ นต้นไป
คุณสมบัติสาหรับพ่อค้ า-แม่ค้าออนไลน์ ที่ต้องการ ใช้ คอนโด
"จด VAT" หรื อ จดภาษีมูลค่ าเพิม่
-บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
-อาศัยในอาคารชุด/คอนโดมิเนี ยม
-จดทะเบียนพาณิ ชย์อิเล็กทรอนิ กส์กรมพัฒนาธุ รกิจการค้า
-มีสถานประกอบการอยู่ในอาคารชุดเพี ยงแห่งเดียวเท่านั้น
ข้อ 2 การยืนยันตัวตน ด้ วยแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”
กรมสรรพากร และ ธนาคารกรุ งไทย (KTB) ร่ วมลงนามในบันทึกข้อตกลง โครงการ
ยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเข้าใช้งานระบบบริ การอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร
ผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋ าตัง"
เป็ นการนาบริ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋ าตัง" ผ่าน
กระบวนการการยืนยันตัวตนก่อนเข้าถึงบริ การทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่กรมสรรพากร ได้
จัดเตรี ยมไว้ให้กบั ผูเ้ สี ยภาษี ได้แก่
•บริ การยืน่ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านอินเทอร์เน็ต (e-Filing)
•ระบบตรวจสอบข้อมูลทางภาษี (My Tax Account)
•ระบบภาษีหกั ณ ที่จ่าย (e-Withholding Tax)
•ระบบตรวจสอบเงินบริ จาค (e-Donation)
•ระบบยืน่ แบบแสดงรายการและชาระภาษีผา่ นแอปพลิเคชัน (RD Smart TAX)
•ระบบรับชาระอากรแสตมป์ เป็ นตัวเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp Duty)
ข้ อ 3 กรมสรรพากร กับภาคเอกชน ในการให้บริ การ Open API สาหรับการให้บริ การยื่น
แบบแสดงรายการภาษิ เงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 คื อ ยื่นเงินได้ ตาม มาตรา 40 (1) เพียง
ประเภทเดียว ) ผ่านช่องออนไลน์ สาหรับ ภ.ง.ด.91 ผ่าน RD Smart Tax Application ซึ่งสามารถ
ใช้งานได้ Smartphone และ Tablet
ข้อ 4 กรมสรรพากร ยกเลิกการใช้สาเนาบัตรประชาชน เมื่อ 31 สิ งหาคม 2561
ข้อ 5 ระบบe-Tax Invoice & e-Receipt เป็ นระบบการจัดทาใบกากับภาษี และใบรับใน
รู ปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามรู ปแบบที่กรมสรรพากรกาหนด และส่งมอบหลักฐานให้ผซู ้ ้ือสิ นค้า
พร้อมนาส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร และผูข้ ายสามารถเก็บรักษาข้อมูล ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่
สะดวกและ ปลอดภัย
e-Tax Invoice คือ ใบกากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์
[369]

e-Receipt คือ ใบรั บอิเล็กทรอนิกส์


ข้อ 6 e-Withholding Tax
เป็ นการหักภาษี ณ ที่จ่ายและ นาส่ งภาษีผ่านเครื อข่ายอิเล็กทรอนิ กส์ ของธนาคารผูร้ ับ
เงิน โดยให้ผจู ้ ่ายเงินได้ มีหน้าที่แจ้งธนาคารให้ทราบถึง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ธนาคารมีหน้าที่ เป็ น
ตัวกลางในการรับเงินภาษี หัก ณ ที่จ่ายและนาส่ งเงินภาษี ให้กบั กรมสรรพากรจะอยู่ใน รู ปชุด
ข้อมูลอิเล็กทรอนิ กส์ เป็ นการ ลดปริ มาณเอกสารในรู ปแบบกระดาษ ลดข้อผิดพลาด และลด
ความเสี่ ยง ในการปลอมแปลงเอกสาร
ข้อ 7 e-Filing
เป็ นช่องทางการยืน่ แบบผ่านอินเทอร์เน็ต ของกรมสรรพากร
ข้อ 8 e-Donation คือ ระบบบริ จาคอิเล็กทรอนิกส์
ระบบบริ จ าคอิ เล็ ก ทรอนิ ก ส์ (e-Donation) เป็ นระบบรองรั บ ข้อ มู ล การบริ จ าค
ลดหย่อนภาษีของผูเ้ สี ยภาษี เพื่อให้ผูบ้ ริ จาคจาเป็ นไม่ตอ้ งเก็บหลักฐานการบริ จาคเองเมื่อจะใช้
สิ ทธิ ลดหย่อนเงินบริ จาคทัว่ ไปและ เงินบริ จาคเพื่อการศึกษา การกีฬ า การพัฒนาสังคม และ
โรงพยาบาลรัฐ ระบบ e-Donation เป็ นระบบที่พฒั นาโดยกรมสรรพากร
ข้อ 9 RD Smart Tax เป็ นแอพพลิ เ คชั น ของกรมสรรพากร เมื่ อ ดาวน์ โ หลด
application นี้ แล้ว สิ่ ง ที่ ป รากฏใน app ประกอบด้ว ย
- RD News อัพ เดทเรื่ อ งราว กฎหมายใหม่ จ ากสรรพากร
- e-Filing ยื่ น ภาษี อ อนไลน์ พร้ อ มตัว ช่ ว ยบริ ห ารจัด การภาษี (ปั จ จุ บัน ยื่ น ได้
เฉพาะ แบบ ภ.ง.ด.91)
- Rd Map เป็ นผู ้ช่ ว ยค้น หาตาแหน่ ง ที่ ต้ ัง สรรพากรและหน่ ว ยรั บ ชาระภาษี
- e - book ดาวน์ โ หลดวารสาร ความรู ้ ภ าษี ส รรพากร
ปั จ จุ บ ัน สามารถใช้ ยื่ น แบบ ภ.ง.ด.94 ภ.ง.ด.91 ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.95
(อัพ เดท ปี 2565)
ข้อ 10 My tax account (เน้น)
My Tax Account คือ ระบบที่ช่วยให้ผเู ้ สี ยภาษีเข้าถึงข้อมูลและบริ การบนอินเทอร์เน็ต
เพื่อตรวจสอบข้อมูลค่าลดหย่อนของตนเอง และตรวจสอบประวัติการยืน่ แบบภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดา ก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการภาษี, พิมพ์ขอ้ มูลแบบฯ และใบเสร็ จรับเงินสาหรับการ
ยื่น แบบปี ภาษี ปั จจุ บ ัน , ตรวจสอบสถานะการขอคืน ภาษี และการน าส่ งเอกสารหลัก ฐาน
ประกอบการขอคืนภาษี พร้อมเพิ่มระบบความปลอดภัยของข้อมูลให้เข้มข้นขึ้น
โดยผูเ้ สี ยภาษีสามารถเข้าใช้บริ การได้ที่ mytaxaccout.rd.go.th
ข้ อ 11 RD Intelligence Center โทร. 1161 คื อ ศู น ย์ส ารนิ เทศสรรพากร หน้ าที่ ต อบ
ปั ญหาภาษีของกรมสรรพากร ถ้าโทรโดยใช้โทรศัพ ท์พ้ืนฐาน ที โอที ครั้งละ 3 บาททั่วไทย
หากใช้ระบบอื่น คิดราคาตามการให้บริ การของเครื อข่ายนั้น ๆ
[370]

ข้อ 12 สโลแกน หรื อ คาขวัญกรมสรรพากร คือ กรมสรรพากร เต็มที่ เต็มใจ ให้ ประชาชน
ข้อ 13 กรมสรรพากร ครบรอบ 108 ปี ณ วันที่ 2 กันยายน 2566
ข้อ 14 Chat bot กรมสรรพากร คือ น้องอารี (เมื่อมีปัญหาสอบถาม ) ไม่ได้เขียน
(น้องอารี ย)์ ไม่มี ย การันต์
ข้อ 15 ผลการจัดเก็บของกรมสรรพากร เรี ยงจากมากไปหาน้อย คือ
อันดับ 1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม
อันดับ 2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
อันดับ 3 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อันดับ 4 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
อันดับ 5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ
อันดับ 6 อากรแสตมป์
อันดับ 7 รายได้อื่น
อันดับ 8 ภาษีการรับมรดก
ข้ อ 16 กรมสรรพากรจะคืนเงินภาษีผ่านระบบโอนเงินแบบพร้อมเพย์ เพื่อความสะดวกใน
การรับเงินคืนภาษีสามารถลงทะเบี ยนกับธนาคารในราชอาณาจักรทุกแห่ งที่ให้บริ การด้วยเลข
ประจาตัว ประชาชน เท่านั้น
ข้ อ 18 e-tax info คือ บริ การสารสรรพากร เป็ นบริ การส่ งข้อมูลข่าวสารจากกรมสรรพากร
เช่น กฎหมาย ระเบียบปฏิบตั ิ ตลอดจนข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาษีสรรพากร ส่ งถึงสมาชิก
ทางอีเมล์ สมัครฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผูท้ ี่สามารถสมัครเป็ นสมาชิกได้คือ หน่วยงานราชการ
นิสิต นักศึกษา บุคคลทัว่ ไป องค์การธุรกิจ
ข้อ 19 การชาระอากรเป็ นตัวเงินสาหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
เป็ นการชาระอากรเป็ นตัวเงินผ่านระบบเครื อข่ายอินเทอร์ เน็ตสาหรับตราสารอิ เล็กทรอนิ กส์
ประเด็นสาคัญ คือ
ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ตราสารแห่งบัญชีอตั ราอากรแสตมป์ ที่จดั ทา
ข้อความขึ้นเป็ นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ประเภทตราสารอิเล็ก ทรอนิ กส์ ที่ ต้องชาระอากรเป็ นตัวเงิน (ชาระโดยยื่น อส.9) โดย
ปัจจุบนั มีตราสารที่สามารถยืน่ แบบผ่าน เวบไซต์ของกรมพากร รวม 23 ตราสาร ดังนี้
(1) เช่าที่ดิน โรงเรื อน สิ่ งปลูกสร้างอย่างอื่น หรื อแพ ตามลักษณะแห่งตราสาร 1
(2) โอนใบหุ้น ใบหุน้ กู้ พันธบัตร และใบรับรองหนี้ ซึ่งบริ ษทั สมาคม คณะบุคคล หรื อ
องค์การใด ๆ เป็ นผูอ้ อก ตามลักษณะแห่งตราสาร 2
( 3 ) เช่าซื้อทรัพย์สิน ตามลักษณะแห่งตราสาร 3.
( 4 ) จ้างทาของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 4.
( 5 ) กูย้ มื เงินหรื อการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ตามลักษณะแห่งตราสาร 5.
[371]

(6) กรมธรรม์ประกันภัย ตามลักษณะแห่งตราสาร 6.


(7) ใบมอบอานาจ ตามลักษณะแห่งตราสาร 7.
(8) ใบมอบฉันทะสาหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริ ษทั ตามลักษณะแห่ งตราสาร 8.
( 9 ) ตัว๋ แลกเงินหรื อตราสารทานองเดียวกับที่ใช้อย่างตัว๋ แลกเงิน และตัว๋ สัญญาใช้เงิน
ตาม ลักษณะแห่งตราสาร 9.
(10) บิลออฟเลดิง ตามลักษณะแห่งตราสาร 10.
(11) ใบหุน้ หรื อใบหุน้ กู้ หรื อใบรับรองหนี้ของบริ ษทั สมาคม คณะบุคคล หรื อองค์การ
ใด ๆ และพันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย ตามลักษณะแห่งตราสาร 11.
(12) เช็ค หรื อหนังสื อคาสัง่ ใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค ตามลักษณะแห่งตราสาร 12.
(13) ใบรับฝากเงินประเภทประจาของธนาคาร โดยมีดอกเบี้ย ตามลักษณะตราสาร 13.
(14) เลตเตอร์ออฟเครดิต ตามลักษณะแห่งตราสาร 14.
(15) เช็คสาหรับผูเ้ ดินทาง ตามลักษณะแห่งตราสาร 15.
(16) ใบรับของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 16.
(17) ค้ าประกัน ตามลักษณะแห่งตราสาร 17.
(18) จานา ตามลักษณะแห่งตราสาร 18.
(19) ใบรับของคลังสิ นค้า ตามลักษณะแห่งตราสาร 19.
(20) คาสั่งให้ส่งมอบของ ตามลักษณะแห่งตราสาร 20.
(21) ตัวแทน ตามลักษณะแห่งตราสาร 21.
(22) หนังสื อสัญญาห้างหุน้ ส่ วน ตามลักษณะแห่งตราสาร 27.
(23) ใบรับ ตามลักษณะแห่งตราสาร 28. เฉพาะกรณี (ค) ใบรับ สาหรับการขาย ขาย
ฝาก ให้เช่า ซื้อ หรื อโอนกรรมสิ ทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้ เฉพาะยานพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตาม
กฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ
ข้ อ 20 กรมสรรพากร ขยายกาหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีออกไปอีก 8 วันนับ
แต่กาหนดเวลายื่นแบบปกติ แต่ตอ้ งยื่น ผ่านระบบ เครื อข่ายอินเทอร์เน็ต (e-filing) สาหรับการ
ยืน่ แบบแสดงรายการภาษีที่ออกไปอีก 8 วัน เฉพาะการยื่นแบบฯ ในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567
ข้ อ 21 ระบบบริ การ Tax Single Sign On (SSO)
เป็ นการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ กับ 3 กรมภาษี ได้แก่
กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ซึ่งเป็ นหน่วยงานในสังกัด
กระทรวงการคลัง โดยให้สามารถใช้ชื่อผูใ้ ช้งาน (Username) และรหัสผ่าน(Password) เดียวกัน
สาหรับการเข้าใช้ระบบบริ การอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิตและกรม
ศุลกากร หากกระทาผ่านระบบบริ การ Tax Single Sign On ของกระทรวงการคลัง
[372]

ข้อ 22 เริ่มใช้ เลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก 1 กุมภาพันธ์ 2555


ข้ อ 23 ลักษณะ SMEs กาหนดขึ้นเพื่อสนับ/สนุนส่งเสริ ม/ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดย
มีลกั ษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
(1) บริ ษัทหรื อห้ างหุ้นส่ วนนิ ติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชาระแล้ วในวันสุดท้ ายของรอบ
ระยะเวลาบัญชี ไม่ เกิน 5 ล้ านบาท และมีรายได้ จากการขายสิ นค้ าและให้ บริ การไม่ เกิน 30 ล้ าน
บาทต่ อรอบระยะเวลาบัญชี จะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สาหรับกาไรสุ ทธิ
300,000 บาทแรก
(2) บริ ษทั จากัด ที่มีแรงงานไม่เกิน 200 คนและมีทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200
ล้านบาท จะได้รับสิ ทธิประโยชน์ทางภาษีหกั ค่าสึ กหรอและค่าเสื่ อมราคาในอัตราเร่ ง
ข้อ 24 เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัด
ยะลา จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลาเฉพาะในท้องที่ อาเภอจะนะ อาเภอเทพา อาเภอนาทวี และ
อาเภอสะบ้าย้อย
ข้ อ 25 การให้บริ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นกั ท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยี Blockchain
กรมสรรพากร ร่ วมมื อกับ 8 หน่ วยงานภาครั ฐภายใต้สั งกัด กระทรวงการคลัง ซึ่ ง
ประกอบด้วย กรมบัญชี กลาง กรมศุลกากร กรมสรรพสามิ ต สานักงานบริ หารหนี้ สาธารณะ
ส านั ก งานเศรษฐกิ จ การคลัง กรมธนารั ก ษ์ ส านั ก งานปลัด กระทรวงการคลัง ส านั ก งาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และธนาคารกรุ งไทย จากัด (มหาชน)
ในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นกั ท่องเที่ยวผ่านตัวแทนในเมือง (Downtown) และการใช้
ดิ จิ ท ั ล ในการคื น ภาษี มู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วบู ร ณาการร่ ว มกั บ หน่ ว ยงาน ทั้ ง ภาครั ฐ
ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ กรมศุลกากร สานักงานตรวจคนเข้าเมือง ร้านค้า VRT และ
ธนาคารกรุ ง ไทย จากัด (มหาชน) ในการพัฒ นาระบบงาน ผ่านเทคโนโลยี Blockchain ซึ่ ง
ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
(1) นัก ท่ องเที่ ย วได้รับ ความสะดวกในการขอคื น ภาษี มู ล ค่ าเพิ่ ม โดยสามารถใช้
Mobile Application ในการขอคื น ภาษี สามารถเลื อ กช่ อ งทางการรั บ คื น เงิ น และติ ด ตาม
สถานะการคืนได้สะดวกรวดเร็ ว
(2) ผูป้ ระกอบการร้านค้า VRT สามารถบริ หารจัดการทาคาร้องขอคืนเงิน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) รวมทั้งระบบงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมี
ประสิ ทธิภาพ
(3) กรมสรรพากรมี ร ะบบงานคื น ภาษี ฯ ที่ ทัน สมัย และตอบสนองนโยบายของ
รัฐบาลตามยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี ช่วยลดงบประมาณในการจัดพิ มพ์และจัดเก็บแบบคาร้องขอ
คืนภาษีมูลค่าเพิม่ (ภ.พ.10)
ข้ อ 26 เลขประจาตัวผูเ้ สี ยภาษีอากรหลักแรก จาแนกผูม้ ีหน้าที่มีเลขประจาตัวผูเ้ สี ยภาษี
อากร ดังนี้ เลขประจาตัวผูเ้ สี ยภาษีอากร
[373]

ขึ้นต้นด้วยเลข 1 หมายถึง ผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ขึ้นต้นด้วยเลข 2 หมายถึง ห้างหุน้ ส่วนสามัญหรื อคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ขึ้นต้นด้วยเลข 3 หมายถึง ผูม้ ีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้นิติบุคคล
ขึ้นต้นด้วยเลข 4 หมายถึง ผูจ้ ่ายเงินได้ที่ไม่มีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้ แต่มีหน้าที่หกั
ภาษีเงินได้ ณ ที่ จ่าย
ข้ อ 27 คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร มีจานวน 9 คน ประกอบด้วย
(1) ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ
(2) อธิบดีกรมสรรพากร กรรมการ
(3) อธิบดีกรมศุลกากร กรรมการ
(4) อธิบดีกรมสรรพสามิต กรรมการ
(5) ผูอ้ านวยการสานักเศรษฐกิจการคลัง กรรมการ
(6) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
(7) ผูท้ รงคุณวุฒิซ่ ึงรัฐมนตรี แต่งตั้งเป็ นกรรมการ (จานวน 3 คน) กรรมการ
นอกจากนี้ ให้ คณะกรรมการแต่งตั้งจากข้าราชการ สังกัดกระทรวงการคลังเป็ นเลขานุการ และ
ผูช้ ่วยเลขานุการ
ข้อ 28 การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นกั ท่องเที่ยว
ให้ผเู ้ ดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซ้ื อสิ นค้าจากผูป้ ระกอบการจดทะเบียน เพื่อนาออกไป
นอกราชอาณาจักร มีสิทธิต้ งั ตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรี ยกเก็บไว้แล้ว
มีผลบังคับใช้ต้ งั แต่วนั ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 เป็ นต้นไป สรุปว่ า
ข้อ 1 ผูเ้ ดินทางที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิม่ ที่ถูกเรี ยกเก็บไว้แล้ว มีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) ไม่เป็ นผูม้ ีสัญชาติไทย
(2) ไม่เป็ นผูม้ ีภูมิลาเนาในประเทศไทย
(3) ไม่เป็ นนักบินหรื อลูกเรื อของสายการบินที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
(4) เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
(ท่าอากาศยานนานาชาติ) ที่มีสานักงานคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นกั ท่องเที่ยวตั้งอยู่
(5) ซื้อสิ นค้าจากผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมตั ิจากอธิบดีกรมสรรพากร
ข้อ 2 ผูเ้ ดินทางที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 มีสิทธิ ต้ งั ตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรี ยก
เก็บไว้แล้วได้ โดยขอคืนภาษีมูลค่ าเพิม่ เป็ นเงินสด ในจานวนไม่เกิน 30,000 บาท
ข้อ 3 คาร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิม่ สาหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) หรื อคาร้องขอคืน
เงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สาหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 4 สิ นค้าที่ผเู ้ ดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องดังนี้
(1) เป็ นสิ นค้าที่นาไปพร้อมกับการเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร
[374]

(2) ไม่เป็ นสิ นค้าที่ตอ้ งห้ามนาออกนอกราชอาณาจักร อาวุธปื น วัตถุระเบิด หรื อสิ นค้าที่มี
ลักษณะทานองเดียวกัน อัญมณี ที่ยงั ไม่ได้ประกอบขึ้นเป็ นตัวเรื อนหรื อของรู ปพรรณ
กรณีเป็ นสิ นค้าที่สามารถบริ โภคได้ในราชอาณาจักร สิ นค้าดังกล่าวต้องได้รับการบรรจุ
หีบห่อและปิ ดผนึก (Seal) ที่มีสัญลักษณ์ของผูป้ ระกอบการจดทะเบียนในลักษณะมัน่ คง และให้
มีขอ้ ความ No Consumption made whilst in Thailand ลงบนหีบห่อซึ่งเห็นได้ชดั เจน
(3) เป็ นสิ นค้าที่ซ้ื อจากผูป้ ระกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมตั ิจากอธิบดีกรมสรรพากร
ให้เป็ นผูม้ ีสิทธิจดั ทาคาร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สาหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10) และมูลค่า
การซื้อสิ นค้า ต้องมีจานวนไม่นอ้ ยกว่า 2,000 บาท โดยซื้อจากสถานประกอบการแห่งละจานวน
ไม่นอ้ ยกว่า 2,000 บาทต่อวัน
(4) เป็ นสิ น ค้าที่ ต้องน าออกไปนอกราชอาณาจัก รภายใน 14 วัน นับ แต่วนั ที่ ผูเ้ ดิ นทาง
ออกไปนอกราชอาณาจัก รมี ห นั ง สื อ แต่ ง ตั้งตัวแทนแต่ ไ ม่ เกิ น 60 วัน นับ แต่ วนั ที่ ผูเ้ ดิ น ทาง
ออกไป นอกราชอาณาจักร
ข้อ 5 ผูเ้ ดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรี ยกเก็บไว้แล้ว
ซึ่งมีมูลค่าการซื้อสิ นค้าทั้งหมดตั้ง 5,000 บาทขึ้นไป
ข้อ 6 กรณี สินค้าที่ปรากฏข้อความ Item No.... must also be presented to Revenue Officer
ในคาร้อง เป็ นสิ นค้าประเภทอัญมณี ที่ประกอบขึ้นเป็ นตัวเรื อนหรื อของรู ปพรรณ ทองรู ปพรรณ
นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา หรื อสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋ า
ถือ (ไม่รวมถึงกระเป๋ าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าการซื้ อสิ นค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป
หรื อ สิ น ค้า ที่ ส ามารถน าติ ด ตัวไปพร้ อ มกับ การเดิ น ทาง ที่ มี มู ล ค่ า การซื้ อสิ น ค้าต่ อ ชิ้ น ตั้งแต่
50,000 บาทขึ้นไป ผูเ้ ดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรต้องแสดงสิ นค้า ดังกล่าวต่อเจ้าพนักงาน
สรรพากร ณ จุ ดบริ ก ารคื น ภาษี มู ล ค่ าเพิ่ ม ที่ ต้ งั อยู่ภายหลัง ผ่านพิ ธี ก ารตรวจคนเข้าเมื อง เพื่ อ
ประทับรับรองการมีสินค้าลงในคาร้องขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สาหรับนักท่องเที่ยว (ภ.พ.10)
ข้อ 29 กรมสรรพากรยกระดับการให้บริ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นกั ท่องเที่ยว ด้วย
เทคโนโลยี Blockchain
กรมสรรพากรร่ วมมือกับ 8 หน่วยงานภาครัฐภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง ซึ่ง
ประกอบด้วย กรมบัญชี กลาง กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต ส านักงานบริ ห ารหนี้ สาธารณะ
ส านัก งานเศรษฐกิ จ การคลัง กรมธนารั ก ษ์ ส านัก งานปลัด กระทรวงการคลัง ส านัก งาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และธนาคารกรุ งไทย จากัด (มหาชน) ได้ร่วมลงนามบันทึก
ข้อ ตกลงความร่ ว มมื อ การด าเนิ น งานโครงการใช้ เทคโนโลยีบ ล็อ กเชน (Blockchain) เพื่ อ
ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานสถาปั ตยกรรมเพื่อรองรับภารกิจของหน่วยงานภาครัฐ เมื่อวันศุกร์ ที่
27 กันยายน 2562
ข้อ 30 กิจการข้ามชาติ TRANSFER PRICING
[375]

ปั จจุบนั การประกอบธุ รกิจระหว่างประเทศได้พฒั นาไปอย่างมาก มีการขยายการลงทุนไปใน


ประเทศต่างๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งการดาเนินธุ รกิจระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดรู ปแบบกลุ่มธุรกิจที่มี
ผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบกิจการเป็ นกิจการข้ามชาติ หรื อที่เรี ยกว่า Multinational
Enterprises : MNEs โดยกิจการข้ามชาติดงั กล่าว มีการซื้ อ - ขายสิ นค้าหรื อให้บริ การระหว่างกัน
ก่อให้เกิดปัญหา ที่เรี ยกว่า Transfer Pricing
Transfer Pricing คือ การที่คู่สัญญาทาธุรกรรมระหว่างกัน โดยกาหนดราคาซื้ อ-ขาย
สิ นค้าหรื อให้บริ การที่แตกต่างไปจากราคาตลาด หรื อ Arm's Length Price
ราคาตลาด หรื อ Arm's Length Price หมายถึง ราคาของค่าตอบแทน ค่าบริ การ หรื อ
ดอกเบี้ ย ซึ่ งคู่สัญญาที่ เป็ นอิสระต่อกันพึงกาหนดโดยสุ จริ ตในทางการค้า กรณี โอนทรัพย์สิน
ให้ บ ริ ก ารหรื อ ให้ กู้ยื ม เงิ น ที่ มี ล ัก ษณะประเภท และชนิ ด เดี ย วกัน ณ วัน ที่ โอนทรั พ ย์สิ น
ให้บ ริ ก าร หรื อให้กู้ยืม เงิ น ดังนั้น กิ จการข้ ามชาติ หรื อ transfer pricing ให้ คานวณตามราคา
ตลาด
ข้ อ 31 ประเทศไทยได้ล งนามเข้าร่ วมเป็ นภาคีความตกลงแบบพหุ ภาคี Multilateral
Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matters ห รื อ MAC กั บ ก ว่ า 130
ประเทศ เพื่อส่ งเสริ มความ โปร่ งใสทางภาษี สร้างความเป็ นธรรมในการบริ หารจัดเก็บภาษี และ
ต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีขา้ มชาติ ซึ่ งเป็ นไป ตามกรอบความร่ วมมือระหว่างประเทศที่ประเทศ
ไทยเป็ นสมาชิก
ข้ อ 32 กรมสรรพากร เพิ่มช่องทางการรับคืนเงินภาษีอากร ดังนี้
1) Prompt Pay ต้องผูกกับเลขบัตรประชาชนเท่านั้น
2) หนังสื อแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (กรณีไม่มี PromptPay ) กรมสรรพากร
จัดส่ งให้ทางไปรษณี ย ์ จากนั้น ผูเ้ สี ยภาษีนาเอกสารไปยื่นที่ ธนาคารกรุ งไทย หรื อ ธนาคาร
เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
3) e-Money หรื อ e-Wallet ซึ่งจะต้องนาหนังสื อแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
พร้อมบัตรประจาตัวประชาชน ไปติดต่อเพื่อขอรับคืนเงินภาษีได้ที่ธนาคารตามที่ระบุไว้ใน
หนังสื อต่อไป โดยผูข้ อบัตร ไม่จาเป็ นต้องเปิ ดบัญชีธนาคาร บัตรนี้ มีอายุ 2 ปี
Note ปัจจุบนั ยกเลิกการคืนภาษีด้วยเช็คแล้ว
ข้อ 33 "คืนภาษีเงินได้นิติบุคคล" ด้วย ระบบพร้อมเพย์ เริ่ ม 1 พฤษภาคม 2563
ข้ อ 34 “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ”
กาหนดให้สถาบันการเงิ นและผูใ้ ห้บริ การเงินอิเล็กทรอนิ กส์ รายงาน ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มี
“ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ” ในปี ที่ล่วงมาให้แก่กรมสรรพากร
ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ คือ ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินที่มีลกั ษณะอย่างหนึ่งอย่างใด
ในปี ที่ล่วงมาดังต่อไปนี้
(1) ฝากหรื อรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง ขึ้นไป
[376]

(2) ฝากหรื อรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรม ฝากหรื อ


รับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป
หลักเกณฑ์ที่ตอ้ งนาส่งกรมสรรพากรคือ
หลักเกณฑ์ ที่ 1 :ฝากเงินและ รับโอนเงินทุกบัญชี ต้ งั แต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป / ปี (ปี ปฏิทิน) หรื อ
หลักเกณฑ์ ที่ 2. ฝากเงินและรับโอนเงิน ทุกบัญชี ตั้งแต่ 400 ครั้งขึ้นไปและต้องมียอดเงินตั้งแต่
2,000,000 บาทขึ้นไปต่อปี
ข้อ 35 การออกหนังสื อรับรองภาษาอังกฤษ
กรมสรรพากร ให้บริ การออกหนังสื อรับรองการเสี ยภาษี และการมี ถิ่นที่ อยู่เป็ นภาษาอังกฤษ
ให้กบั ผูเ้ สี ยภาษี สามารถนาไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษีในต่างประเทศได้
ประเภทหนังสื อรับรองที่ออกให้โดยกรมสรรพากร
1. หนังสื อรับรองการเสี ยภาษีเงินได้หกั ณ ที่จ่าย
(Non – Resident Withholding Tax Certificate)
2. หนังสื อรับรองการเสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลเป็ นภาษาอังกฤษ
(Income Tax Payment Certificate)
3. หนังสื อรับรองการมีถิ่นที่อยูเ่ พื่อการรัษฎากรในประเทศไทย
(Certificate of Residence)
4. หนังสื อรับรองการมีสถานภาพเป็ นผูเ้ สี ยภาษีมูลค่าเพิ่ม
(Statement on the Tax Status of the Business)
5. หนังสื อรับรองการมีสถานภาพเป็ นผูเ้ สี ยภาษีตามกฎหมายไทย
(Certificate of Status of Taxable Person)
ข้อ 36 วิสัยทัศน์ (Vision) กรมสรรพากร ใช้ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563
สาหรั บปี งบประมาณ 2564 – 2566 (รวม 3 ปี ) มีขอ้ ความดังนี้

องค์กรชั้นนาที่จัดเก็บภาษีอย่างโปร่ งใสเป็ นธรรม


ด้ วยนวัตกรรมและบุคลากรคุณภาพ เพือ่ สร้ างเสถียรภาพทางการคลัง
Leading Tax Agency driven by Integrity
Innovation and Competent Team to foster Fiscal Stability”

ข้อ 37 ค่าซื้อสินค้าหรื อค่าบริการ ช้ อปดีมีคืน ปี 2566 (จุดเน้ น - จาให้ ได้)


มาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” ผูม้ ีเงินได้ซ่ ึงมีหน้าที่เสี ยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่
ไม่รวมถึ งห้างหุ้นส่ ว นสามัญหรื อคณะบุ ค คลที่ มิ ใช่ นิติบุคคล หัก ลดหย่อนค่ าซื้ อสิ นค้าหรื อ
ค่าบริ การเท่าที่ได้จ่ายเป็ นค่าซื้ อสิ นค้าหรื อค่าบริ การสาหรับการซื้ อสิ นค้าหรื อการรับบริ การใน
[377]

ราชอาณาจักร ตั้งแต่วนั ที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามจานวนที่จ่ายจริ ง แต่
ไม่เกิน 40,000 บาท
ผูใ้ ช้สิทธิประโยชน์มาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 2566” คือ บุคคลธรรมดาเท่ านั้น ไม่ รวม
ห้ างหุ้นส่ วนสามัญหรื อคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล

Page/Group แนวข้อสอบกรมสรรพากร by ไซอิว๋

You might also like