You are on page 1of 2

3.

กลุ่มคนที่มีภาวะร่างกายแกร่ง
ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้ค่อนข้างมีภาวะอาการ ปากแห้ง หรือ ปากขม มีอาการท้องผูกถ่ายแข็ง หรือถ่าย
ไม่สะดวก ถ่ายเหนียว เป็นต้น เจ็บคอง่ายกว่าคนทั่วไป จนกระทั่งเป็นกลุ่มคนที่มีแผลร้อนในในปากได้ง่าย
เป็นต้น
3.1 ตำหรับอาหารที่เป็นยา
ส่วนประกอบ (สำหรับ 3 คน) ถั่วเหลือง 50 กรัม เป่ ยซิงเหริน (คู่ซิงเหรินที่นำเปลือกออก)
ทุบละเอียด 15 กรัม ขิงสด (ตัดเป็นแผ่น) 30 กรัม ลูกเดือย 15 กรัม เจียเกิง 10 กรัม ชิงผี 5 กรัม เฉินผี
5 กรัม ลู่เกิน 15 กรัม ผู่กงอิง 10 กรัม กานเฉา 10 กรัม
สรรพคุณ
ถั่วเหลือง(黄豆) ฤทธิ์ กลาง รสหวาน เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม และลำไส้ใหญ่
สรรพคุณบำรุงม้าม เพิ่มความชุ่มชื่นลดบวม ระบายความร้อน บำรุงชี่
เป่ ยซิงเหริน(北杏仁) ฤทธิ์อุ่นเล็กน้อย มีพิษเล็กน้อย รสขม สรรพคุณ หยุดไอ
สงบหอบ ชุ่มชื่นลำไส้ ช่วยระบาย
ขิงสด(生姜) ฤทธิ์ อุ่น รสเผ็ด เข้าสู่เส้นลมปราณปอด ม้าม และ กระเพาะอาหาร
สรรพคุณ ขับความเย็น อุ่นร่างกายส่วนกลาง แก้คลื่นไส้ อุ่นปอด แก้ไอ ทั้งยังขิงเป็นยาที่สำคัญใน
การรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียรได้อีกด้วย
ลูกเดือย(薏米仁) ฤทธิ์ เย็น รสหวาน เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม กระเพาะ ปอด
สรรพคุณขับน้ำลดบวม ลดชื้น บำรุงม้าม ระบายความร้อน ขับพิษ
เจียเกิง(桔梗) ฤทธิ์กลาง รสขม เผ็ด เข้าสู่เส้นลมปราณ ปอด สรรพคุณ ขับเสมหะ
กระจายปอด ขับหนอง
ชิงผี(青皮) ฤทธิ์อุ่น รสขม เผ็ด เข้าสู่เส้นลมปราณตับ ถุงน้ำดี กระเพาะอาหาร
สรรพคุณระบายชี่ตับ ช่วยย่อย สลายอุดกั้น
เฉินผี(陈皮) ฤทธิ์อุ่น รสขม เผ็ด เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม และปอด สรรพคุณ
ระบายชี่ บำรุงม้าม ขับชื้น ขับเสมหะ
ลู่เกิน(芦根) ฤทธิ์เย็น รสหวาน เข้าสู่เส้นลมปราณปอด และกระเพาะอาหาร
สรรพคุณ ระบายความร้อนขับไฟ สร้างสารน้ำ แก้กระหาย แก้คลื่นไส้ ขับปัสสาวะ
ผู่กงอิง(蒲公英) ฤทธิ์ เย็น รสขม หวาน เข้าสู่เส้นลมปราณตับ และกระเพาะ
อาหาร สรรพคุณระบายความร้อน แก้พา ขับชื้น
กานเฉา (甘草)ฤทธิ์กลาง รสหวาน เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม กระเพาะอาหาร
สรรพคุณ บำรุงม้าม หล่อเลี้ยงชี่ ขับเสมหะ หยุดไอ หยุดปวด ขับพิษร้อน
วิธีการต้ม ถั่วเหลือง ลูกเดือย แช่ในน้ำสะอาด 30 นาที หลังจากนั้นนำสมุนไพรอื่นๆ ใส่
รวมกัน เติมน้ำ 1500 ซีซี ใช้ไฟแรงต้มจนเดือด หลังจากนั้นลดไฟลงเหลือไฟอ่อน ต้มต่ออีก 40
นาที ต้มจนเหลือน้ำ 800 ซีซี

วิธีการรับประทาน สำหรับบุคคลอายุ 7-17 ปี รับประทานทุกวัน ครั้งละ 150-200 ซีซี อายุ


18 ปี ขึ้นไป รับประทานทุกวัน ครั้งละ 200-300 ซีซี รับประทานหลังอาหาร 1 ชั่วโมง อุ่นร้อนก่อน
รับประทาน สามารถรับประทานติดต่อกันได้ 3 วัน

ข้อควรระวัง สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน นำถั่วเหลืองออกในผู้ป่ วยเบาหวานหรือผู้


ป่ วยโรคเก๊าท์
3.2 ตำรับชา
ส่วนประกอบสำคัญ (สำหรับ 3 คน) คู่เฉียวม้าย(苦荞麦) หรือเฉียวม้าย (荞麦,
Buckwheat) 10 กรัม ใบชาเขียว 10 กรัม ชงดื่มแทนน้ำ

You might also like