You are on page 1of 3

5.

การดูแลและควบคุมอาหารในผู้ป่ วยระยะฟื้ นฟู


ผู้ป่ วยควรรับประทานอาหารอ่อนและรสจืด หลังจากที่ฟื้ นตัวจากการเจ็บป่ วย ฝ้ าบนลิ้นจะค่อยๆจาง
หายไป ปัสสาวะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีจางใส สามารถค่อยๆเริ่มรับประทานอาหารประเภทโจ๊กหรือข้าวต้ม
เพิ่มจากอาหารเหลวใสเป็นเข้มข้น และอาจใช้อาหารเป็นยาบางชนิดเพื่อต้มน้ำสำหรับทำโจ๊กหรือข้าวต้ม เช่น

ใบบัว(荷叶) ฤทธิ์ กลาง รสขม เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม กระเพาะอาหาร ตับ สรรพคุณระบายความ


ร้อน ขับความชื้น ทำให้เลือดเย็น หยุดเลือดออก

ใบไผ่(竹叶) ฤทธิ์เย็น รสหวาน จืด เข้าสู่เส้นลมปราณปอด หัวใจ กระเพาะอาหาร สรรพคุณระบาย


ความร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ

หลูเกิน(芦根) ฤทธิ์เย็น รสหวาน เข้าสู่เส้นลมปราณปอด กระเพาะอาหาร สรรพคุณระบายความร้อน


แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้อาเจียน

รากบัว(藕节) ฤทธิ์กลาง รสหวาน ฝาด เข้าสู่เส้นลมปราณปอด ตับ กระเพาะอาหาร สรรพคุณขับพิษ


หยุดเลือดออก สลายเลือดคั่ง

ฟักเขียว(冬瓜) ฤทธิ์ เย็น รสหวาน เข้าสู่เส้นลมปราณปอด ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ สรรพคุณ


แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ
ในผู้ที่มีม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ สามารถทำโจ๊กบำรุงม้าม ขับความชื้น เพิ่มความอยากอาหารที่
ประกอบไปด้วย

ลูกเดือย(薏苡仁) ฤทธิ์เย็น รสหวาน จืด เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม กระเพาะอาหาร ปอด สรรพคุณขับ


น้ำและความชื้น เสริมบำรุงม้าม ขับพิษ แก้ท้องเสีย

เมล็ดบัว(莲子) ฤทธิ์ กลาง รสหวาน ฝาด เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม ไต หัวใจ สรรพคุณช่วยเสริมบำรุง


ม้าม ไต และหัวใจ แก้ท้องเสีย ช่วยสงบจิตใจ

เปลือกส้ม(陈皮) ฤทธิ์อุ่น รสขม เผ็ด เข้าสู่เส้นลมปราณปอด ม้าม สรรพคุณ เสริมบำรุงม้าม ขับ


ความชื้น ละลายเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน

เชี่ยนสือ(芡实) ฤทธิ์กลาง รสหวาน ฝาด เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม ไต สรรพคุณ เสริมบำรุงม้าม และไต


ขับความชื้น ช่วยควบคุมปัสสาวะ
ในผู้ป่ วยที่มีอาการนอนไม่หลับ อาจทำโจ๊กที่ประกอบไปด้วย

หน่อลิลลี่แห้ง(百合) ฤทธิ์เย็น รสหวานอมขม เข้าสู่เส้นลมปราณหัวใจ ปอด สรรพคุณเสริมสร้าง


สารน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นปอด ช่วยสงบจิตใจ

เมล็ดบัว(莲子) ฤทธิ์ กลาง รสหวาน ฝาด เข้าสู่เส้นลมปราณม้าม ไต หัวใจ สรรพคุณช่วยเสริมบำรุง


ม้าม ไต และหัวใจ แก้ท้องเสีย ช่วยสงบจิตใจ

เก๋ากี้ (枸杞子) ฤทธิ์กลาง รสหวาน เข้าสู่เส้นลมปราณตับ ไต สรรพคุณเสริมบำรุงตับไต บำรุง


ร่างกายและสายตา
ซึ่งนอกจากเสริมบำรุงม้ามแล้วยังสามารถสงบจิตใจช่วยเสริมการนอนหลับได้ดีอีกด้วย
ผู้ป่ วยที่อาการหายดี แต่กลับรับประทานอาหารมัน หรืออาหารย่อยยากเป็นอันดับแรกๆ ม้ามและ
กระเพาะอาหารที่ยังไม่ฟื้ นฟูเป็นปกติ ต้องทำงานหนักมากขึ้น ฝ้ าบนลิ้นจึงกลับมาหนาตัวขึ้น ส่งผลให้อาการ
ต่างๆ กลับมาเป็นซ้ำได้ และในระยะแรกผู้ป่ วยควรงดอาหารจำพวกผลไม้ ผักสด น้ำเย็น และน้ำแข็ง เป็นต้น ซึ่ง
อาหารเหล่านี้ส่งผลเสียต่อการทำงานของกระเพาะอาหาร หรืออาหารที่มีรสเผ็ด อาหารมัน อาหารหวาน อาหาร
รสจัด และอาหารย่อยยากต่างๆ มีส่วนทำให้ความร้อนในกระเพาะอาหารเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการก
ลับมาเป็นซ้ำของอาการต่างๆ จากการรับประทานอาหารอย่างไม่ถูกวิธี ในผู้ป่ วยระยะฟื้ นฟู
6.การติดตามผล และ ข้อปฏิบัติตัวเพิ่มเติมหลังผู้ป่ วยออกจากโรงพยาบาลแล้ว
6.1 ให้ความสำคัญกับระดับความรุนแรงของอาการเจ็บป่ วยของผู้ป่ วย และแผนการรักษาในขณะที่รักษาตัวใน
โรงพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาอย่างต่อเนื่องหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว และ เพื่อการฟื้ นฟู
อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 แนะนำผู้ป่ วยในระยะฟื้ นฟูหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้วมักมีภูมิคุ้มกันค่อนข้างต่ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อ
การติดเชื้อโรคอื่นๆได้ง่าย ดังนั้นควรสวมหน้ากากอนามัยและตรวจสอบสุขภาพตนเองต่อเนื่องเป็นระยะ
เวลา 14 วันหลังออกจากโรงพยาบาล
6.3 ผู้ป่ วยควรระมัดระวังเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล ทำการฆ่าเชื้อและทำความสะอาดของใช้ในบ้านและสิ่งของ
พกพา
6.4 ควรอาศัยอยู่ในห้องเดี่ยวที่มีการระบายอากาศได้ดี หากอยู่ในห้องปิ ดอาจมีการเปิ ดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ
วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ลดการสัมผัสใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัว กินร้อน แยกจาน และช้อนส้อม และ
ควรใช้เครื่องมือทำความสะอาดส่วนตัว หมั่นล้างมือให้สะอาด หลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกเคหะสถาน
6.5 ผลักดันให้ผู้ป่ วยเข้ารับการฟื้ นฟูสมรรถภาพโดยเร็วที่สุด และช่วยกำหนดแผนการฝึกอบรมการฟื้ นฟู
สมรรถภาพให้ผู้ป่ วยแบบรายบุคคล
6.6 ควรกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งในสัปดาห์ที่2 และสัปดาห์ที่4 หลังออกจากโรงพยาบาล เพื่อให้แน่ใจว่าหายดี
และไม่กลับมาเป็นซ้ำ
แพทย์จีนชลิดา สิทธิชัยวิจิตร
แผนกอายุรกรรมและการหย่างเซิง

You might also like