You are on page 1of 4

เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง การยายขางสมการคณิตศาสตร

ความหมายของสมการ
สมการ เปนประโยคที่แสดงการเทากันของจำนวน โดยมีสัญลักษณ = บอกการเทากัน
สมการอาจมีตัวแปรหรือไมมีตัวแปรก็ได เชน 4x – 2 = 15 เปนสมการที่มี x เปนตัวแปร
และ 12 – 25 = – 13 เปนสมการที่ไมมีตัวแปร
สมการซึ่งมี x เปนตัวแปรและมีรูปทั่วไปเปน ax + b = 0 เมื่อ a, b เปนคาคงตัว และ a ≠ 0
เรียกวา “สมการเชิงเสนตัวแปรเดียว”
ตอไปนี้เปนตัวอยางของสมการเชิงเสนตัวแปรเดียว
1.) 4x = 0
2.) 3x – 4 = 0
3.) –1.5y + 1.5 = 0
4.) 2 – 3x = 0

ตัวอยางการวิเคราะหนิยามศัพท

คาคงที่ หมายถึงปริมาณที่แทนดวยจำนวนจริงเพียงจำนวนเดียวเชน 2, -3, e, pi, 1.7 เปนตน

ตัวแปร หมายถึงปริมาณที่สามารถแทนไดดวยจำนวนจริงมากกวาหรือเทากับ 1 คาเชน

กำหนดให x แทนจำนวนเต็มคูที่ซึ่งมากกวา 0 นั้นคือ x = { 2, 4, 6, … }

กำหนดให y แทนจำนวนจริงที่มากวา -3 แต นอยกวา 7 นั้นคือ -3 < y < 7

กำหนดให z เปนจำนวนที่บวกกับ 3 แลวเทากับ 7

จำนวนพจน นิพจนนั้นเขียนในรูปผลคูณของคาคงที่หรือตัวแปรหรือนิพจนจะถูกนับเพียงพจนเดียวและเรียก
ตัวคูณแตละตัววาตัวประกอบเชน

นิพจน 2ab นับเปน 1 พจนมี 2 , a และ b เปนตัวประกอบ

นิพจน 2a(a+b) นับเปน 1 พจนมี 2, a และ (a+b) เปนตัวประกอบ

นิพจน (a+b)(a-b) นับเปน 1 พจนมี (a+b) และ (a-b) เปนตัวประกอบ


นิพจน 2aa+b นับเปน 2 พจนคือ 2aa และ b

นิพจน a2-b2 นับเปน 2 พจนคือ a2 และ b2

สามารถใชสมบัติของการเทากัน ไดแก สมบัติสมมาตร สมบัติถายทอด สมบัติการบวก และสมบัติการคูณ


เพื่อหาคำตอบของสมการได

ตัวอยางที่ 1 5 + 12/4 + 4/2x2 + 1x3

นับเปน 4 พจนไดแก 5, 12/4 = 3, 4/2x2 = 4 และ 1x3 = 3 จะได

5 + 12/4 + 4/2x2 + 1x3 = 5 + 3 + 4 + 3 = 15

ตัวอยางที่ 2 5 + 2[1 - 2(3 - 5) - 12/2]

นับเปน 2 พจนคือ 5 และ 2[1 - 2(3 - 5) - 12/2]

พิจารณานิพจน 2[1 - 2(3 - 5) - 12/2] มี 2 ตัวประกอบคือ 2 และ 1 - 2(3 - 5) - 12/2

พิจารณานิพจน 1 - 2(3 - 5) - 12/2 นับเปน 3 พจนคือ 1, -2(3-5) และ -12/2

เมื่อคำนวณยอนกลับจะได

5 + 2[1 - 2(3 - 5) - 12/2] = 5 + 2[1 - 2(-2) - 6] = 5 + 2[1 + 4 - 6] = 5 + 2[-1] 5 + (-2) = 3

1.2.2 ตัวดำเนินการบวกและคูณ ตัวดำเนินการในระบบพีชคณิตนั้นเรากำหนดไวเพียงตัวดำเนินการบวกเพื่อ


ใชนับจำนวนพจน และตัวดำเนินการคูณไวสำหรับดูตัวประกอบ ซึ่งการลบนั้นถูกนิยามเปนการบวกดวย
จำนวนลบ ในขณะเดียวกับการหารถูกนิยามเปนการคูณดวยตัวสวนผกผันเชน 2 – 5 = 2 + (-5) และ 2/5 =
2 x (1/5) เปนตน

หลักการของการบวกในระบบพีชคณิตคือพจนที่สามารถนำมาบวกหรือลบกันไดพจนนั้นจะตองเปน
พจนที่คลายกัน ซึ่งถูกนิยามศัพทไววา เปนพจนที่มีชุดตัวแปรเหมือนกันตัวอยางเชน
2x + 3x นิพจนนี้ประกอบดวยพจน 2 พจนที่มีตัวแปร x เหมือนกันดังนั้น 2x และ 3x เปนพจนที่
คลายกันเขียนเปนรูปแบบอยางงายไดดังนี้

2x + 3x = 5x

2x + 3y นิพจนนี้ประกอบดวยพจน 2 พจนที่มีตัวแปร x และ พจนที่มีตัวแปร y ดังนั้น 2x และ 3y


ไมเปนพจนที่คลายกัน ไมสามารถรวมพจนได

x2 + 3y - 3x2 + 7y + 4 นิพจนนี้ประกอบดวยพจน 5 พจนโดยที่มีพจนที่คลายกัน 2 คูคือ x2, -


3x2 และ 3y, 7y สามารถรวมพจนในรูปอยางงายไดดังนี้

x2 + 3y - 3x2 + 7y + 4 = -2x2 + 10y + 4

สมบัติของสมการ

สมบัติของการเทากัน มีดังนี้
1. สมบัติสมมาตร ถา a = b แลว b = a
เชน 68 = 4x
∴ 4x = 68
2. สมบัติถายทอด ถา a = b และ b = c แลว a = c
เชน ถา x = 6 – 4 และ 6 – 4 = 2 แลว x = 2
ถา y =54 x และ 54 x = 7 แลว y = 7
3. สมบัติการบวก ถา a = b แลว a + c = b + c
เชน ถา a = 5 แลว a + 7 = 5 + 7
ถา 2 – b = 4 แลว 2 – b – 2 = 4 – 2
4. สมบัติการคูณ ถา a = b แลว ac = bc
เชน ถา 3 + n = 4m แลว 4 (3 + n) = 4(4m)
ถา 8n – 2 = 12 แลว 2 (4n – 1) = 2 (6)
แตที่กลาวมาขางตนนั้นสามาถเรียงลำดับการแกสมการไดดังนี้
1. จัดรูปสมการไมใหติดเศษสวนหรือทศนิยม
2. จัดรูปสมการในขอ 1. ใหเปนรูปอยางงาย
4. ยายขางตัวเลขอยูสวนตัวเลข ตัวแปรอยูสวนตัวแปร โดยอาศัยหลักการเครื่องหมายตรงขาม ดังนี้
ยายขาง + ใหเปน –
ยายขาง – ใหเปน +
ยายขาง × ใหเปน ÷
ยายขาง ÷ ใหเปน ×

ตัวอยาง 4𝑛+20=32
วิธีทำ 4𝑛+20=32
นำ 20 มาลบออกทั้ง 2 ขางของสมการ
จะได 4𝑛+20 -20 = 32-20
4𝑛=12
นำเอา 4 มาหารทั้ง 2 ขางของสมการ
จะได 4𝑛/4=12/4
𝑛=3

วิธีทำแบบยายขาง จาก 4𝑛+20=32


ยาย 20 จาก + ไป –
จะได 4𝑛=32-20
4𝑛=12
ยาย 4 จาก × ไป ÷
จะได 𝑛=12/4
𝑛=3

You might also like