You are on page 1of 18

สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.


จุดประสงค์ของการอบรม เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
1. ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
• ตัวประกอบ การหาตัวประกอบ
• จํานวนเฉพาะ ตัวประกอบเฉพาะ
• การแยกตัวประกอบ
• ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)
• ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
2. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่อง ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

สาระสําคัญ/ความคิดรวบยอด
1. ตัวประกอบของจํานวนนับใด ๆ คือ จํานวนนับที่หารจํานวนนับนั้นได้ลงตัว
2. จํานวนนับที่มากกว่า 1 และมีตัวประกอบเพียงสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง เรียกว่า
จํานวนเฉพาะ และตัวประกอบที่เป็นจํานวนเฉพาะ เรียกว่า ตัวประกอบเฉพาะ
3. การเขียนจํานวนนับในรูปการคูณของตัวประกอบเฉพาะ เรียกว่า การแยกตัวประกอบ
4. จํานวนนับที่หารจํานวนตั้งแต่สองจํานวนขึ้นไปได้ลงตัว เรียกว่า ตัวหารร่วม หรือ
ตัวประกอบร่วมของจํานวนเหล่านั้น ตัวหารร่วมที่มากที่สุด เรียกว่า ตัวหารร่วมมาก
ใช้อกั ษรย่อว่า ห.ร.ม.
5. ตัวคูณร่วมของจํานวนนับตั้งแต่สองจํานวนขึ้นไป เป็นจํานวนนับที่จํานวนเหล่านั้นหารลงตัว
6. ตัวคูณร่วมที่น้อยที่สุด เรียกว่า ตัวคูณร่วมน้อย ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น.

70 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

ตัวประกอบของจํานวนนับ และการหาตัวประกอบ
ตัวอย่างที่ 1 จงหาตัวประกอบของ 24 โดยวิธีการหาผลหาร
วิธีทํา การหาตัวประกอบของ 24 โดยวิธีหาผลหาร
ตัวหาร ตัวตั้ง ผลหาร
1 24 24
2 24 12
3 24 8
4 24 6
จากตาราง จะเห็นว่า 1, 2, 3, 4, 6, 8, 12, 24 ต่างก็หาร 24 ได้ลงตัว
ดังนั้น 1, 2, 3, 4, 6, 8, 12, 24 เป็นตัวประกอบของ 24
ตัวอย่างที่ 2 จงหาตัวประกอบทั้งหมดของ 18
1 เป็นตัวประกอบของ 18 เพราะ 18÷1 = 18 ซึ่งหารได้ลงตัว
2 เป็นตัวประกอบของ 18 เพราะ 18÷2 = 9 ซึ่งหารได้ลงตัว
3 เป็นตัวประกอบของ 18 เพราะ 18÷3 = 6 ซึ่งหารได้ลงตัว
6 เป็นตัวประกอบของ 18 เพราะ 18÷6 = 3 ซึ่งหารได้ลงตัว
9 เป็นตัวประกอบของ 18 เพราะ 18÷9 = 2 ซึ่งหารได้ลงตัว
18 เป็นตัวประกอบของ 18 เพราะ 18÷18 = 1 ซึ่งหารได้ลงตัว
ดังนั้น 1, 2, 3, 6, 9, 18 เป็นตัวประกอบทั้งหมดของ 18

ตัวอย่างที่ 3 จงหาจํานวนนับที่น้อยที่สุดที่มี 1, 3, 4 เป็นตัวประกอบ


12 = 3 × 4 ดังนั้น 3 และ 4 เป็นตัวประกอบของ 12
12 = 1 × 12 ดังนั้น 1 และ 12 เป็นตัวประกอบของ 12
ดังนั้น จํานวนนับที่น้อยที่สุด ซึ่งมี 1, 3, 4, เป็นตัวประกอบคือ 12
โดยการตั้งหาร
2 ) 1 3 4
2)1 3 2
1 3 1
ดังนั้น จํานวนนับที่น้อยที่สุด ซึ่งมี 1, 3, 4 เป็นตัวประกอบ คือ 2 × 2 × 1 × 3 × 1 = 12
จากตัวอย่างสามารถสรุปได้ดังนี้

ตัวประกอบของจํานวนนับใด ๆ คือ จํานวนนับที่หารจํานวนนับนัน้ ได้ลงตัว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 71
สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

จํานวนเฉพาะ ตัวประกอบเฉพาะ
จํานวนนับที่มากกว่า 1 และมีตัวประกอบเพียงสองตัว คือ 1 และตัวมันเอง เรียกว่า จํานวนเฉพาะ
ตัวประกอบที่เป็นจํานวนเฉพาะ เรียกว่า ตัวประกอบเฉพาะ

การแยกตัวประกอบ
พิจารณาประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่อไปนี้
(1) 30 = 2 × 15
(2) 49 = 7 × 7
(3) 80 = 2 × 2 × 2 × 2 × 5
(4) 240 = 2 × 2 × 2 × 30
- ประโยคสัญลักษณ์การคูณที่เขียนในรูปการแยกตัวประกอบ ได้แก่ ประโยคสัญลักษณ์ที่ 2, 3
- ประโยคสัญลักษณ์การคูณที่ 1 และ 4 ไม่อยู่ในรูปการแยกตัวประกอบ เพราะ 15
และ 30 ไม่ใช่ จํานวนเฉพาะ

ดังนั้นสรุปได้ว่า

การเขียนจํานวนนับในรูปการคูณของตัวประกอบเฉพาะ เรียกว่า การแยกตัวประกอบ

ตัวอย่าง จงแยกตัวประกอบของ 154


154 = 2 × 7 × 11
การหาตัวคูณ ซึ่งเป็นตัวประกอบเฉพาะทําได้ดังนี้
วิธีที่ 1 โดยวิธีตั้งหาร
จงแยกตัวประกอบของ 360 โดยวิธีตั้งหาร
2)360
2)180
2) 90
3) 45
3) 15
5
ดังนั้น 360 = 2 × 2 × 2 × 3 × 3 × 5

72 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

วิธีที่ 2 โดยใช้แผนภาพ
จงแยกตัวประกอบของ 136
เขียนแผนภาพได้ดังนี้
136 หรือ 136
2 × 68 4 × 34
2 × 2 × 34 2 × 2 × 2 × 17
2 × 2 × 2 × 17
ดังนั้น 136 = 2 × 2 × 2 × 17

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวประกอบของ 12 ตัวประกอบของ 18

1 2 1 2
3 3
4 6 6 9
12 18

เขียนแสดงความสัมพันธ์ตัวประกอบของ 12 และ 18 ดังนี้

1
4 2 9
12 3 18
6

- ตัวประกอบของ 12 ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 6, 12
- ตัวประกอบของ 18 ได้แก่ 1, 2, 3, 6, 9, 18
- ตัวประกอบร่วมของ 12 และ 18 ได้แก่ 1, 2, 3, 6
- ตัวประกอบร่วมของ 12 และ 18 ที่มีค่ามากที่สุด คือ 6

จํานวนนับที่เป็นตัวประกอบของจํานวนนับตั้งแต่สองจํานวนขึ้นไป เรียกว่า ตัวประกอบร่วม หรือ


ตัวหารร่วม ตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากทีส่ ุดของจํานวนนับเหล่านั้นเรียกว่า ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 73
สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

การหา ห.ร.ม. โดยวิธีหาตัวประกอบ


จงหา ห.ร.ม. ของ 39 และ 65
ตัวประกอบของ 39 ได้แก่ 1 , 3 , 13 , 39
ตัวประกอบของ 65 ได้แก่ 1 , 5 , 13 , 65
ตัวประกอบร่วมของ 39 และ 65 ได้แก่ 1 , 13
และตัวประกอบร่วมของ 39 และ 65 ที่มากที่สุดคือ 13
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 39 และ 65 คือ 13

การหา ห.ร.ม. โดยวิธีการแยกตัวประกอบ

จงหา ห.ร.ม. ของ 24, 60 และ 84

24 = 2 × 2 × 2 × 3
60 = 2 × 2 × 3 × 5
84 = 2 × 2 × 3 × 7

จํานวน 24, 60 และ 84 มีตัวประกอบร่วมที่เป็นจํานวนเฉพาะคือ 2, 3


นั่นคือ ห.ร.ม. ของ 24, 60 และ 84 คือ 2 × 2 × 3 = 12

การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร

จงหา ห.ร.ม. ของ 9 15 และ 24


วิธีทํา 3 ) 9 15 24
3 5 8
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 9, 15 และ 24 คือ 3

74 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

การนํา ห.ร.ม. ไปประยุกต์ใช้


ตัวอย่างที่ 1 จงหาจํานวนที่มากที่สุด ซึง่ หาร 212 และ 388 แล้วเหลือเศษ 2 และ 3 ตามลําดับ
วิธีทํา จํานวนที่นําไปหา ห.ร.ม. ได้คือ
212 – 2 = 210
388 – 3 = 385
5 ) 210 385
7 ) 42 77
6 11
นั่นคือ ห.ร.ม. ของ 210 และ 385 คือ 35

ตัวอย่างที่ 2 จงหาจํานวนที่มากที่สุด ซึง่ เมื่อหาร 109, 139 และ 189 แล้วเหลือเศษเท่ากันและ


หาว่าเศษเป็นเท่าไร
วิธีทํา สมมุติให้เศษทีเ่ ท่ากันเป็น X เมื่อหักเศษทีเ่ ท่ากันออกจํานวนเหล่านี้ คือ 109 – X, 139 – X
และ 189 – X จํานวนที่มากที่สุด (คือ ห.ร.ม.) จะต้องหาร 109 – X, 139 – X และ 189 – X
ได้ลงตัว และจํานวนที่มากที่สุดนี้จะหารผลต่างระหว่างจํานวนเหล่านั้นได้ลงตัว
(139 – X) – (109 – X) = 139 – 109
= 30
(189 – X) – (139 – X) = 189 – 139
= 50
(189 – X) – (109 – X) = 189 – 109
= 80
ดังนั้น จํานวนที่มากที่สุดจะต้องหาร 30, 50 และ 80 ได้ลงตัว นั่นคือจะต้องหา ห.ร.ม. ของ
30 ,50 และ 80
2 ) 30 50 80
5 ) 15 25 40
3 5 8
นั่นคือ ห.ร.ม. ของ 30, 50 และ 80 คือ 2×5 = 10

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 75
สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

ตัวอย่างการนํา ห.ร.ม. ไปใช้ในเรื่องเศษส่วน


36 ให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ํา
ตัวอย่าง จงทํา 54
ห.ร.ม. ของ 36 และ 54 คือ 18
36 = 36 ÷ 18
นั่นคือ 54 54 ÷ 18
= 23

เศษส่วนอย่างต่ํา คือ เศษส่วนที่มี ห.ร.ม. ของตัวเศษและตัวส่วนเท่ากับ 1

ตัวอย่างการนํา ห.ร.ม. ไปใช้ในการแก้ปญ


ั หา
ตัวอย่างที่ 1 มีเชือกอยู่สามเส้น ยาวเส้นละ 48, 60 และ 108 เมตร ถ้าตัดแบ่งให้ยาวเส้นละเท่า ๆ กัน
ให้ยาวที่สุดเท่าที่จะยาวได้ และไม่เหลือเศษ จะได้เชือกยาวเส้นละกี่เมตร และได้เชือก
ทั้งหมดกี่เส้น
วิธีคิดที่ 1 48 = 2 × 2 × 2 × 2 × 3
60 = 2 × 2 × 3 × 5
108 = 2 × 2 × 3 × 3 × 3
ห.ร.ม. คือ 2 × 2 × 3 = 12

วิธีคิดที่ 2 2 ) 48 60 108
2 ) 24 30 54
3 ) 12 15 27
4 5 9
ห.ร.ม. คือ 2 × 2 × 3 = 12
ดังนั้น จะแบ่งเชือกได้ยาวที่สุด เส้นละ 12 เมตร
เชือกเส้นแรกแบ่งได้ 48 = 4 เส้น
12
60
เชือกเส้นที่สองแบ่งได้ 12 = 5 เส้น
เชือกเส้นที่สามแบ่งได้ 108
12 = 9 เส้น
ดังนั้น จะได้เชือกทั้งหมด 4 + 5 + 9 = 18 เส้น
แสดงว่าจะแบ่งเชือกได้ยาวเส้นละ 12 เมตร และได้เชือกทั้งหมด 18 เส้น

76 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

ตัวอย่างที่ 2 ไม้อัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1.20 เมตร ยาว 2.40 เมตร ต้องการตัดไม้อัดนี้


ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั ให้มีพื้นที่มากที่สุด และไม่เหลือเศษ จะได้ไม้อัดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ยาวด้านละเท่าไร และได้ไม้อัดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกี่แผ่น
วิธีทํา ไม้อัดรูปสี่เหลีย่ มผืนผ้ากว้าง 1.20 เมตร ยาว 2.40 เมตร ต้องการตัดไม้อัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั
ให้มีพื้นที่มากที่สุด ดังนั้นต้องการหาความยาวที่ยาวที่สุดของด้าน ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คือ
หา ห.ร.ม. ของ 1.20 เมตร และ 2.40 เมตร
ไม้อัดกว้าง 1.20 เมตร หรือ 120 เซนติเมตร
ไม้อัดยาว 2.40 เมตร หรือ 240 เซนติเมตร
120 = 2 × 2 × 2 × 3 × 5
240 = 2 × 2 × 2 × 2 × 3 × 5
ห.ร.ม. คือ 2 × 2 × 2 × 3 × 5 หรือ 120
ไม้อัดด้านกว้างแบ่งได้ 120 120 = 1 ส่วน
ไม้อัดด้านยาวแบ่งได้ 120 240 = 2 ส่วน
ได้ไม้อัดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 1 × 2 = 2 แผ่น
ดังนั้น ความยาวที่มากที่สุดของด้านไม้อัดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั เป็น 120 เซนติเมตร หรือ 1.20 เมตร
ตัดไม้อัดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้ 2 แผ่น
ตอบ ไม้อัดยาวด้านละ ๑.๒๐ เมตร จํานวน ๒ แผ่น

ตัวอย่างที่ 3 รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปหนึ่งมีความกว้าง 90 เซนติเมตร ความยาว 126 เซนติเมตร


ต้องการแบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั ซึ่งมีความยาวของด้านยาวที่สุดเท่าที่จะสามารถแบ่งได้
และไม่มีพื้นทีเ่ หลือ จงหาว่ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสนั้นมีความยาวของด้านเป็นเท่าไร และจะแบ่งเป็น
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้ทั้งหมดกี่รูป
วิธีทํา รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้าง 90 เซนติเมตร
ความยาว 126 เซนติเมตร
แบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั ซึ่งมีความยาวของด้านยาวที่สุด
ดังนั้น จะต้องหา ห.ร.ม. ของ 90 และ 126
90 = 2 × 3 × 3 × 5
126 = 2 × 3 × 3 × 7
ห.ร.ม. ของ 90 และ 126 คือ 2 × 3 × 3 = 18
ดังนั้น ความยาวของด้านของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวด้านละ 18 เซนติเมตร
แบ่งด้านกว้างออกได้ 90 = 5 ส่วนเท่าๆ กัน
18
แบ่งด้านยาวออกได้ 126 = 7 ส่วนเท่าๆ กัน
18
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 77
สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

ดังนั้น จะแบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรสั ได้ทั้งหมด 5 × 7 = 35 รูป


ตอบ รูปสี่เหลีย่ มจัตรุ ัสยาวด้านละ ๑๘ เซนติเมตร
แบ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้ ๓๕ รูป

ตัวอย่างที่ 4 วิทยาต้องการแบ่งกระดาษบันทึก 24 แผ่น และดินสอ 36 แท่ง ให้แก่นักเรียนด้วย


จํานวนเท่าๆ กัน โดยไม่เหลือกระดาษบันทึกหรือดินสอ ถ้าวิทยาตกลงใจที่จะแบ่ง
กระดาษบันทึกและดินสอให้จํานวนนักเรียนมากที่สุดเท่าที่จะสามารถแบ่งได้ จะมี
จํานวนนักเรียนกี่คนที่จะได้รับส่วนแบ่งนี้ และได้รับส่วนแบ่งอย่างไร
วิธีทํา วิทยาต้องการแบ่งกระดาษบันทึก 24 แผ่น และดินสอ 36 แท่ง ให้นกั เรียนแต่ละคนมากที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้
ดังนั้น จะต้องหา ห.ร.ม. ของ 24 และ 36
24 = 2 × 2 × 2 × 3
36 = 2 × 2 × 3 × 3
ห.ร.ม. ของ 24 และ 36 คือ 2 × 2 × 3 = 12
ดังนั้น มีนกั เรียน 12 คนได้รับส่วนแบ่ง
แต่ละคนได้รับกระดาษบันทึก 24 = 2 แผ่น
12
ได้รับดินสอ 36 = 3 แท่ง
12
ตอบ มีนักเรียน ๑๒ คน ได้รับส่วนแบ่ง
และแต่ละคนได้รับกระดาษบันทึก ๒ แผ่น ดินสอ ๓ แท่ง

ข้อควรสังเกต ในการนํา ห.ร.ม. มาใช้แก้โจทย์ปัญหานั้น จะเป็นโจทย์ปัญหาที่เกี่ยวกับการแบ่งจํานวน


ของสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วน ส่วนละเท่า ๆ กัน โดยส่วนแบ่งแต่ละส่วนมีปริมาณมากทีส่ ุด
และไม่เหลือเศษ

78 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

แผนภาพแสดงพหุคูณของจํานวนนับ 4 และ 6

พหุคูณของ 4 พหุคูณของ 6 พหุคูณของ 4 และ 6

4, 8, 12, 16, 6, 12, 18, 4 8 16 12 6 18


20, 24, 28, 24, 30, 36, 20 28 24 30 42
32, 36,… 42,… 32 36

จากแผนภาพ
จํานวนนับที่เป็นทั้งพหุคูณของ 4 และ 6 ได้แก่ 12, 24 และ 36
จํานวนนับที่น้อยที่สุดที่เป็นทั้งพหุคูณของ 4 และ 6 คือ 12 เรียก 12 ว่าเป็นตัวคูณร่วมน้อย
หรือ ค.ร.น. ของ 4 และ 6

จํานวนนับที่เป็นพหุคณ ู ของจํานวนนับตัง้ แต่สองจํานวนขึ้นไป เรียกว่า ตัวคูณร่วม


ตัวคูณร่วมทีน่ อ้ ยที่สุดของจํานวนนับเหล่านั้น เรียกว่า ตัวคูณร่วมน้อย หรือ ค.ร.น.

การหา ค.ร.น. โดยวิธีแยกตัวประกอบ


จงหา ค.ร.น. ของ 12 และ 30
12 = 2 × 2 × 3
30 = 2 × 3 × 5
ตัวคูณร่วมน้อยที่สุดเท่ากับ 2 × 2 × 3 × 5 = 60
ดังนั้น ค.ร.น. ของ 12 และ 30 คือ 60

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 79
สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

การนํา ค.ร.น. ไปประยุกต์ใช้


1) การนํา ค.ร.น. ไปใช้หาผลบวกและผลลบของเศษส่วน เมื่อตัวส่วนไม่เท่ากัน
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวก 75 + 14 9
วิธีทํา ค.ร.น. ของ 7 และ 14 คือ 14
ดังนั้น 75 + 14
9 = 10 + 9
14 14
19
= 14
= 1145

ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลลบ 17 - 51
18 90
วิธีทํา ค.ร.น. ของ 18 และ 90 คือ 90
ดังนั้น 17 51 17 × 5 51
18 - 90 = 18 × 5 - 90
85 - 51
= 90 90
= 34
90
= 17
45

ตัวอย่างที่ 3 จงหาค่าของ ( 13 - 27 ) + 79
วิธีทํา ค.ร.น. ของ 3, 7 และ 9 คือ 63
ดังนั้น ( 13 - 27 ) + 79 = ( 1×21 - 2×9 ) + 7×7
3×21 7×9 9×7
= ( 63 - 18
21 49
63 ) + 63
= 633 + 49
63
= 52
63

ตัวอย่างที่ 4 จงหาค่าของ 23 5 37
36 + 12 - 48
วิธีทํา ค.ร.น. ของ 36, 12 และ 48 คือ 144
ดังนั้น 23 5 37 23×4 5×12 37×3
36 + 12 - 48 = 36×4 + 12×12 - 48×3
92 + 60 - 111
= 144 144 144
41
= 144
80 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

2) การนํา ค.ร.น. ไปใช้หาจํานวนที่น้อยที่สุด


ตัวอย่างที่ 5 จงหาจํานวนที่น้อยที่สุด ซึง่ หารด้วย 7 เหลือเศษ 6 ถ้าหารด้วย 9 เหลือเศษ 8
และถ้าหารด้วย 13 เหลือเศษ 12
วิธีทํา หา ค.ร.น. ของ 7, 9 และ 13 ได้ 819
เนื่องจาก หารด้วย 7 เหลือเศษ 6
หารด้วย 9 เหลือเศษ 8
หารด้วย 13 เหลือเศษ 12
ตัวหารกับเศษต่างกัน 7–6 = 1
9–8 = 1
13 – 12 = 1
ดังนั้น จํานวนที่น้อยที่สุด ซึง่ หารด้วย 7, 9 และ 13 เหลือเศษ 6, 8 และ 12 ตามลําดับ
คือ 819 – 1 = 818

ตัวอย่างการนํา ค.ร.น. ไปใช้ในการแก้ปัญหา


ตัวอย่างที่ 1 ระฆังสามใบตีเป็นระยะๆ ใบที่หนึ่งตีทุก 10 นาที ใบที่สองตีทุก 15 นาที ใบที่สาม ตีทุก
30 นาที อยากทราบว่าเมื่อใดระฆังจะตีพร้อมกันทั้ง 3 ใบ
วิธีทํา ต้องการหาว่าเมื่อใดระฆังจะตีพร้อมกัน จึงต้องหา ค.ร.น. ของ 10, 15 และ 30
10 = 2 × 5
15 = 3 × 5
30 = 2 × 3 × 5
ค.ร.น. ของ 10, 15 และ 30 คือ 2 × 3 × 5 หรือ 30
ดังนั้น ระฆังจะตีพร้อมกัน เมื่อเวลาผ่านไปทุก ๆ 30 นาที
ตอบ ระฆังจะตีพร้อมกัน เมื่อเวลาผ่านไปทุก ๆ ๓๐ นาที
ตัวอย่างที่ 2 ถ้าต้องการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน หรือ 8 คน หรือ 10 คน จะต้องมี
นักเรียนอย่างน้อยที่สุดกี่คน จึงจะแบ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มได้หมดพอดี
วิธีทํา ต้องการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน
หรือ กลุ่มละ 8 คน
หรือ กลุ่มละ 10 คน
ค.ร.น. ของ 6, 8 และ 10 คือ 120
ดังนั้น ต้องมีนักเรียนอย่างน้อยที่สุด 120 คน
ตอบ ต้องมีนักเรียนอย่างน้อยที่สุด ๑๒๐ คน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 81
สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

ตัวอย่างที่ 3 ถ้าต้องการซื้อแตงโมราคาผลละ 25 บาท หรือซื้อส้มโอราคาผลละ 40 บาท จะต้องมีเงิน


อย่างน้อยที่สุดเท่าไร จึงจะซื้อผลไม้แต่ละชนิดได้หมดเงินพอดีและซื้อได้อย่างละกี่ผล
วิธีทํา แตงโมราคาผลละ 25 บาท
ส้มโอราคาผลละ 40 บาท
ค.ร.น. ของ 25 และ 40 คือ 200
ดังนั้น ต้องมีเงินอย่างน้อยที่สุด200 บาท
ซื้อแตงโมได้ 200 ÷ 25 = 8 ผล
ซื้อส้มโอได้ 200 ÷ 40 = 5 ผล
ตอบ จะต้องมีเงินอย่างน้อย 200 บาท
ซื้อแตงโมได้ 8 ผล ซื้อส้มโอได้ 5 ผล
ตัวอย่างที่ 4 นาฬิกาปลุก 3 เรือน แต่ละเรือนจะปลุกทุก ๆ 2 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 4 ชั่วโมง ตามลําดับ
ถ้านาฬิกาทั้งสามเรือนปลุกพร้อมกันครั้งแรกเมือ่ เวลา 06.00 น. ทั้งสามเรือนจะปลุก
พร้อมกันครั้งที่สองเมื่อเวลาใด
วิธีทํา นาฬิกาเรือนที่ 1 ปลุกทุก ๆ 2 ชั่วโมง
นาฬิกาเรือนที่ 2 ปลุกทุก ๆ 3 ชั่วโมง
นาฬิกาเรือนที่ 3 ปลุกทุก ๆ 4 ชั่วโมง
ค.ร.น. ของ 2, 3 และ 4 คือ 12
ดังนั้น นาฬิกาทั้งสามเรือนจะปลุกพร้อมกันครั้งที่สองเมื่อเวลาผ่านไป 12 ชั่วโมง
นาฬิกาทัง้ สามเรือน ปลุกครั้งแรกเมื่อเวลา 06.00 น.
ดังนั้น จะปลุกพร้อมกันครั้งที่สอง เวลา 18.00 น.
ตอบ จะปลุกพร้อมกันครั้งที่สอง เวลา ๑๘.๐๐ น.

ข้อควรสังเกต ในการนํา ค.ร.น. มาแก้โจทย์ปัญหานั้น จะใช้เมื่อต้องการหาจํานวนของสิ่งใด


สิ่งหนึ่งให้มีจํานวนน้อยที่สุด โดยเมื่อนํามาแบ่งตามจํานวนที่ต้องการจะแบ่งได้พอดี

82 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

ความรู้เพิ่มเติมสําหรับผูส้ อน

จํานวนที่ 1 ถึง 50 มีจํานวนเฉพาะกี่จํานวน

1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 26 27 28 29 30
31 32 33 34 35 31 32 33 34 35
36 37 38 39 40 36 37 38 39 40
41 42 43 44 45 41 42 43 44 45
46 47 48 49 50 46 47 48 49 50

จํานวนนับที่เป็นจํานวนเฉพาะมีจํานวนมากน้อยเพียงใด... ???...
จากการพิสูจน์โดยใช้ตะแกรงของเอราโตสเทเนส ทําให้ทราบว่า
จํานวนเฉพาะมีได้ไม่จํากัดจํานวน

ตัวอย่าง จงหาจํานวนเฉพาะระหว่าง 1 ถึง 30


ขั้นที่ 1 1 ไม่เป็นจํานวนเฉพาะตัด 1 ทิ้ง
2 เป็นจํานวนเฉพาะวงเอาไว้
ตัดจํานวนที่มี 2 เป็นตัวประกอบทิ้ง
1 6 11 16 21 26
2 7 12 17 22 27
3 8 13 18 23 28
4 9 14 19 24 29
5 10 15 20 25 30

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 83
สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

ขั้นที่ 2 3 เป็นจํานวนเฉพาะวงเอาไว้
ตัดจํานวนที่มี 3 เป็นตัวประกอบทิ้ง
1 6 11 16 21 26
2 7 12 17 22 27
3 8 13 18 23 28
4 9 14 19 24 29
5 10 15 20 25 30

ขั้นที่ 3 5 เป็นจํานวนเฉพาะวงเอาไว้
ตัดจํานวนที่มี 5 เป็นตัวประกอบทิ้ง
1 6 11 16 21 26
2 7 12 17 22 27
3 8 13 18 23 28
4 9 14 19 24 29
5 10 15 20 25 30
ทําเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยวงกลมล้อมรอบจํานวนเฉพาะและตัดจํานวนที่ไม่ใช่จํานวนเฉพาะทิ้ง
ดังนั้น จํานวนเฉพาะระหว่าง 1 ถึง 30 คือ 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29

• ในกรณีเมื่อแยกตัวประกอบแล้วได้ตัวประกอบเฉพาะซ้ํากัน เราจะเขียนตัวประกอบเฉพาะ
ที่ซ้ํากันในรูปของเลขยกกําลัง โดยให้ตัวประกอบเฉพาะเป็น ฐาน และจํานวนตัวที่ซ้ํากันเป็น
เลขชี้กําลัง เช่น
108 = 3 × 3 ×3 × 2 × 2
= 33 × 22
ดังนั้น an = a × a × a ×a × ... × a ซึ่งเรียกว่า เลขยกกําลัง
n จํานวน
โดย a เป็นฐาน
n เป็นเลขชี้กําลัง
n
a อ่านว่า เอยกกําลังเอ็น
33 อ่านว่า สามยกกําลังสาม

84 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

การตรวจสอบจํานวนเฉพาะ
การตรวจสอบว่าจํานวนที่กําหนดให้เป็นจํานวนเฉพาะหรือไม่ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 หาจํานวนเฉพาะทุกจํานวนที่ยกกําลังสองแล้วได้ผลลัพธ์ไม่เกินจํานวนที่ต้องการตรวจสอบ
ขั้นที่ 2 นําจํานวนเฉพาะทุกจํานวนที่หาได้ในขั้นที่ 1 ไปหารจํานวนที่ต้องการตรวจสอบ
– ถ้ามีจํานวนเฉพาะตัวใดตัวหนึ่ง หารจํานวนที่ต้องการตรวจสอบได้ลงตัว
แสดงว่า จํานวนที่ต้องการตรวจสอบนั้น ไม่เป็นจํานวนเฉพาะ
– ถ้าไม่มีจํานวนเฉพาะตัวใด หารจํานวนที่ต้องการตรวจสอบได้ลงตัว
แสดงว่า จํานวนที่ต้องการตรวจสอบนั้น เป็นจํานวนเฉพาะ
ตัวอย่างที่ 1 จงตรวจสอบว่า 221 เป็นจํานวนเฉพาะหรือไม่
ขั้นที่ 1 หาจํานวนเฉพาะทุกจํานวนที่ยกกําลังสองแล้วได้ผลลัพธ์ไม่เกิน 221
เพราะว่า 22 = 4
32 = 9
52 = 25
72 = 49
112 = 121
132 = 169
172 = 289 (เกิน 221)
ดังนั้น จํานวนเฉพาะทุกจํานวนที่ยกกําลังสองแล้วได้ผลลัพธ์ไม่เกิน 221 ได้แก่ 2, 3, 5, 7, 11 และ 13
ขั้นที่ 2 นํา 2, 3, 5, 7, 11 และ 13 ไปหาร 221 พบว่า
221 ÷ 13 = 17 (หารลงตัว)
ดังนั้น 221 ไม่เป็นจํานวนเฉพาะ

จากตัวอย่าง ในขั้นตอนที่ 1 การนําจํานวนเฉพาะทุก ๆ จํานวนยกกําลังสองเป็นวิธีที่ช้า


จึงอาจทําให้เร็วขึ้น ดังนี้
เพราะว่า 202 = 400 (เกิน 221)
และ 102 = 100 (ไม่เกิน 221)
จํานวนเฉพาะระหว่าง 10 ถึง 20 ได้แก่ 11, 13 และ 17
แต่ 172 = 289 (เกิน 221)
และ 132 = 169 (ไม่เกิน 221)
ดังนั้น จํานวนเฉพาะทุกจํานวนที่ยกกําลังสองแล้วได้ผลลัพธ์ไม่เกิน 221
ได้แก่ 2, 3, 5, 7, 11 และ 13

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 85
สาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.

ตัวอย่างที่ 2 จงตรวจสอบว่า 1,103 เป็นจํานวนเฉพาะหรือไม่


ขั้นที่ 1 หาจํานวนเฉพาะทุกจํานวนที่ยกกําลังสองแล้วได้ผลลัพธ์ไม่เกิน 1103
อาจทําให้เร็วขึ้น ดังนี้
เพราะว่า 402 = 1,600 (เกิน 1103)
และ 302 = 900 (ไม่เกิน 1103)
จํานวนเฉพาะระหว่าง 30 ถึง 40 ได้แก่ 31 และ 37
แต่ 372 = 1390 (เกิน 1103)
และ 312 = 961 (ไม่เกิน 1103)
ดังนั้น จํานวนเฉพาะทุกจํานวนที่ยกกําลังสองแล้วได้ผลลัพธ์ไม่เกิน 1103
ได้แก่ 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29 และ 31
ขั้นที่ 2 นํา 2, 3, 5, 7, 11, 13, 17, 19, 23, 29 และ 31 ไปหาร 1103
พบว่า ไม่มีจํานวนใดหาร 1103 ได้ลงตัว
ดังนั้น 1103 เป็นจํานวนเฉพาะ

การหา ห.ร.ม. ตามขั้นตอนวิธียุคลิด (Euclidean Algorithm)

1 45 126 2 ขั้นตอนที่ 1 นําจํานวนที่น้อยกว่าไปหารจํานวนที่มากกว่า


36 90 ในที่นี้ 126 ÷ 45 ได้ 2 เศษ 36

9 36 4
36 ขั้นตอนที่ 2 นําเศษที่เหลือในขั้นตอนที่ 1 คือ 36 ไปหาร 45
0 จะได้ 45 ÷ 36 ได้ 1 เศษ 9

ขั้นตอนที่ 3 นําเศษที่เหลือในขั้นตอนที่ 2 คือ 9 ไปหาร 36


จะได้ 36 ÷ 9 ได้ 4 เศษ 0
ดังนั้น ห.ร.ม. คือ 9

สรุปหลักการ 1. เมื่อเศษเป็นศูนย์ แสดงว่าการหารจบสิ้นแล้ว


2. หารกลับไปกลับมาทางขวาและทางซ้าย โดยนําตัวเศษไปหารต่อๆไป ตัวหารตัวสุดท้าย
คือ ห.ร.ม. ในที่นี้คือ 9

86 การอบรมครูด้วยระบบทางไกล หลักสูตรมาตรฐานการอบรมครู ปีที่ 2 (ฉบับปรับปรุง)


กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
6. ตัวประกอบ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. คณิตศาสตร์ประถมศึกษา

ตัวอย่าง จงหา ห.ร.ม. ของ 348 และ 1,024


1 348 1,024 2 วิธีการหาร
328 696 1. นําจํานวนที่น้อยกว่าไปหารจํานวน
2 20 328 16 ที่มากกว่า ในที่นี้คือ
16 320 นํา 348 ไปหาร 1,024 ได้ 2
4 8 2 ใส่ผลลัพธ์ไว้ นํา 348 × 2 ได้ 696
8 ไปหักออกจาก 1,024 คงเหลือ 328
0 2. นํา 328 ไปหาร 348 ได้ 1 ครั้ง
348 - 328 คงเหลือ 20
ดังนั้น ห.ร.ม. ของ 348 และ 1,024 3. นํา 20 ไปหาร 328 ได้ 16 ครั้ง
คือ 4 328 - 320 คงเหลือ 8
4. นํา 8 ไปหาร 20 ได้ 2 ครั้ง
20 - 16 คงเหลือ 4
5. นํา 4 ไปหาร 8 ได้ 2 ครั้ง
8 - 8 คงเหลือ 0
6. จํานวนสุดท้าย คือ 4 ไปหาร 8
ได้ลงตัว เหลือเศษ 0 จํานวน 4
คือ ห.ร.ม.
ข้อควรสังเกต การหา ห.ร.ม. โดยวิธีนี้จะใช้เมื่อจํานวนนับนั้นมีค่ามากๆ โดยนํามาตั้งทีละ
สองจํานวน ตั้งคู่กันไป นําจํานวนน้อยหารจํานวนมาก เมื่อลบกันแล้วนําผลลบไปหาร
อีกจํานวนหนึ่ง สลับกันไปจนกว่าจะหารได้ลงตัว เหลือเศษศูนย์ จํานวนที่เป็นตัวหารได้
ลงตัว จํานวนสุดท้ายคือ ห.ร.ม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 87

You might also like