You are on page 1of 10

การตรวจสอบการหาร

ลงตัวของจำานวนเต็ม
นฤพนธ์ สายเสมา1

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในเรื่องเกี่ยวกับการจำานวนเต็ม ทฤษฎีจำานวน และเรื่องอื่นๆ


ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบการหารลงตัว โดยเฉพาะการตรวจสอบจำา นวนเฉพาะนั ้น นั กเรียนจะมี
ปั ญหาในการหารว่าควรจะเลือกจำานวนใดมาหารจำานวนนับที่กำาหนดให้ดี ถึงจะรวดเร็วที่สุด ได้คำาตอบ
ไวที่สุดก และถูกต้องที่สุด มีผู้คิดการสอบหลายวิธี ในที่นี้ผู้เขียนจะได้นำาเสนอการตรวจสอบการหาร
ลงตัวด้วยจำานวนเต็มตัง้ แต่ 2 – 20 โดยยังไม่แสดงการพิสูจน์ไว้

อนึ่ ง ในบทความนี้ ผู้เขียนใช้คำา ว่า “หาร” และ “หารด้วย” ปะปนกัน เพื่อต้องการให้ผู้อ่าน


เห็นความแตกต่างในการใช้คำาทัง้ สองนี้ ในการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ซึ่งแตกต่างกันอย่างสิ้น
เชิง โดยคำาว่า “หาร” ใช้ในกรณีจำานวนที่มาก่อน “หาร” เป็ น “ตัวหาร” เช่น ข้อความ 3 หาร 6 ลงตัว
หมายถึง 6 เป็ นตัวตัง้ และ 3 เป็ นตัวหาร ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็ น 2 ส่วนคำาว่า “หารด้วย” นั ้นใช้ในกรณีที่
จำานวนที่มาก่อน “หารด้วย” เป็ นตัวตัง้ เช่น 8 หารด้วย 4 ลงตัว หมายถึง 8 เป็ นตัวตัง้ และ 4 เป็ น
ตัวหาร ซึ่งได้ผลลัพธ์เป็ น 2
โดยในการเขียนเป็ นประโยคสัญลักษณ์ “หารด้วย” มักจะใช้เครื่องหมายหาร (÷ ) เช่น 8 หาร
ด้วย 4 เขียนเป็ นสัญลักษณ์ได้ว่า “8 ÷ 4” และ “หาร” มักจะถูกกล่าวถึงในเรื่องการหารลงตัว ซึ่งมี
การใช้สัญลักษณ์แทนการหารลงตัว คือ | เช่น 3|6 หมายถึง 3 หาร 6 ลงตัว เป็ นต้น
ดังนัน
้ การเขียนแทนสัญลักษณ์การหาร จึงอ่านได้สองอย่าง กล่าวคือ ถ้าเขียน “15 ÷ 3” อาจ
จะอ่านจากซ้ายไปขวาว่า “15 หารด้วย 3” แต่ถ้าอ่านจากขวาเป็ นซ้าย (อ่านตัวหารก่อน) จะได้ “3
หาร 15”
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ การหาร ไม่มีสมบัติการสลับที่ (เหมือนกับการลบ) นั ่นคือ 15 ÷
3 ≠ 3 ÷ 15 (และ 15 – 3 ≠ 3 – 15) ดังนัน
้ การอ่านสัญลักษณ์แทนการหาร จึงควรต้องแตกต่างกัน
ไม่ เ หมื อ นกั บ การบวกและการคู ณ ที่ มี ส มบั ติ ก ารสลั บ ที่ ดัง นั ้น ในการจั ด การเรี ย นการสอนครู ค วร
ระมัดระวังการใช้ และสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนตัง้ แต่เล็กๆ เพื่อให้เกิดว่าเข้าใจทีค
่ งทนต่อไป

1
ข้าราชการครู โรงเรียนสำาโรงทาบวิทยาคม สำานักงานเขตพื้นทีก
่ ารศึกษาสุรินทร์ เขต 1
2 การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม

สำาหรับวิธีการตรวจสอบการหารลงตัวด้วยจำานวนนั บตัง้ แต่ 2 – 20 มีดังนี้

่ ารด้วย 2 ลงตัว ได้แก่ จำานวนคู่ หรือจำานวนเต็มที่ลงท้ายด้วย 0, 2, 4, 6


 จำานวนเต็มทีห
และ 8
ตัวอย่าง จำานวนที่หารด้วย 2 ลงตัว เช่น 12, 54, 296, 568, 1000 เป็ นต้น

่ ารด้วย 3 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่เมื่อนำ าเลขโดดทุกตัวมารวมกันไปเรื่อยๆ


 จำานวนเต็มทีห
จนได้ผลลัพธ์เป็ นจำานวนหลักเดียว หรือสองหลัก แล้วดูว่าจำานวนที่ได้นัน
้ หารด้วย 3 ลงตัวหรือไม่
ตัวอย่าง 3 หาร 27 ลงตัว
เพราะ 2 + 7 = 9 ซึ่ง 3 หาร 9 ลงตัว
3 หาร 147 ลงตัว
เพราะ 1 + 4 + 7 = 12 ซึ่ง 3 หาร 12 ลงตัว
3 หาร 134 ไม่ลงตัว
เพราะ 1 + 3 + 4 = 8 ซึ่ง 3 หาร 8 ไม่ลงตัว

่ ารด้วย 4 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่เมื่อนำ า 4 ไปหารเลขโดดสองหลักสุดท้าย


 จำานวนเต็มทีห
(หลักสิบ และหลักหน่วย) ไม่เหลือเศษ หรือ จำานวนเต็มที่ 4 หารเลขโดดสองตัวสุดท้ายลงตัว แล้ว 4
จะหารจำานวนเต็มนัน
้ ลงตัวด้วย
ตัวอย่าง 4 หาร 136 ลงตัว เพราะ 4 หาร 36 ลงตัว
4 หาร 4560 ลงตัว เพราะ 4 หาร 60 ลงตัว
4 หาร 23,416 ลงตัว เพราะ 4 หาร 16 ลงตัว
4 หาร 4,382 ไม่ลงตัว เพราะ 4 หาร 82 ไม่ลงตัว

่ ารด้วย 5 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่ลงท้ายด้วย 0 และ 5 เท่านัน


 จำานวนเต็มทีห ้ (ลอง
สังเกตสูตรคูณแม่ 5 ดูก็ได้ครับ)
ตัวอย่าง จำานวนเต็มที่หารด้วย 5 ลงตัว เช่น 25, 350, 2455, 5670 เป็ นต้น

่ ารด้วย 6 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่หารด้วย 2 และ 3 ลงตัว หรือพูดให้ง่าย


 จำานวนเต็มทีห
กว่านัน
้ คือ “จำานวนคู่ที่หารด้วยสามลงตัวนัน
่ เอง” (จำานวนที่ 2 หารลงตัวเรียกว่าจำานวนคู่นะครับ)
ตัวอย่าง 6 หาร 135 ไม่ลงตัว
เพราะ 135 เป็ นจำานวนคี่
6 หาร 2,456 ไม่ลงตัว
เพราะ 2,456 เป็ นจำานวนคู่
แต่ 2 + 4 + 5 + 6 = 17 ซึ่ง 3 หาร 17 ไม่ลงตัว
การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม 3

6 หาร 678 ลงตัว


เพราะ 678 เป็ นจำานวนคู่
และ 6 + 7 + 8 = 21 ซึ่ง 3 หาร 21 ลงตัว

่ ารด้วย 7 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่เมื่อนำ าจำานวนในหลักหน่วยมาคูณด้วย 2


 จำานวนเต็มทีห
แล้วนำ าไปลบออกจากจำานวนที่เหลือจะได้ผลลัพธ์เป็ นจำานวนที่ 7 หารลงตัว
ตัวอย่าง 7 หาร 182 ลงตัว
เพราะ 18 – (2 × 2) = 18 – 4 = 14
ซึ่ง 7 หาร 14 ลงตัว
7 หาร 476 ลงตัว
เพราะ 47 – (6 × 2) = 47 – 12 = 35
ซึ่ง 7 หาร 35 ลงตัว
7 หาร 576 ไม่ลงตัว
เพราะ 57 – (6 × 2) = 57 – 12 = 45
แต่ 7 หาร 45 ไม่ลงตัว

่ ารด้วย 8 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่เมื่อนำ า 8 ไปหารเลขโดดสามหลักสุดท้าย


 จำานวนเต็มทีห
(หลักร้อย หลักสิบ และหลักหน่วย) ไม่เหลือเศษ หรือ จำานวนเต็มที่ 8 หารเลขโดดสามตัวสุดท้าย
ลงตัว แล้ว 8 จะหารจำานวนเต็มนัน
้ ลงตัวด้วย
ตัวอย่าง 8 หาร 1,320 ลงตัว เพราะ 8 หาร 320 ลงตัว
8 หาร 7,248 ลงตัว เพราะ 8 หาร 248 ลงตัว
8 หาร 13,100 ไม่ลงตัว เพราะ 8 หาร 100 ไม่ลงตัว

่ ารด้วย 9 ลงตัว เนื่องจาก 9 เป็ นพหุคูณของสาม หลักการตรวจสอบ


 จำานวนเต็มทีห
จำานวนเต็มที่ 9 หารลงตัวจึงมีลักษณะคล้ายกัน จำานวนเต็มที่ 9 หารลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่เมื่อนำ า
เลขโดดทุกตัวมารวมกันไปเรื่อยๆ จนเหลือคำาตอบเพียงตัวเดียว คำาตอบสุดท้ายนัน
้ ต้องเป็ น 9 หรือ
เมื่อนำ าเลขโดดมารวมกันแล้ว 9 หารลงตัวก็ได้
บางคนอาจกล่าวว่า เลข 9 คูณอะไรก็ได้ 9 เพราะผลลัพธ์ที่เกิดจากการคูณด้วย 9 เมื่อนำ า
เลขโดดมารวมกันแล้ว ย่อมจะได้ผลลัพธ์สุดท้ายเป็ น 9 เสมอ
ตัวอย่าง 9 หาร 234 ลงตัว เพราะ 2 + 3 + 4 = 9
9 หาร 5,632 ไม่ลงตัว เพราะ 5 + 6 + 3 + 2 = 16
และ 1 + 6 = 7 (ซึ่ง 7 ≠ 9)
9 หาร 42,687 ลงตัว เพราะ 4 + 2 + 6 + 8 + 7 = 27
และ 2+7=9
4 การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม

 ่ ารด้วย 10 ลงตัว ได้แก่ จำานวนจำานวนเต็มที่มีเลขโดดในหลักหน่วย หรือ


จำานวนเต็มทีห
ลงท้ายด้วย 0 นัน
่ เอง
ตัวอย่าง จำานวนเต็มที่ 10 หารลงตัว เช่น 100, 12090, 10010 เป็ นต้น

 ่ ารด้วย 11 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่เมื่อนำ าผลรวมของเลขโดดในหลักคู่


จำานวนเต็มทีห
(หลักที่ 2: หลักสิบ, หลักที่ 4: หลักพัน, หลักที่ 6: หลักแสน, ...) ลบด้วย ผลรวมของเลขโดดในหลัก
คี่ (หลักที่ 1: หลักหน่วย, หลักที่ 3: หลักร้อย, หลักที่ 5: หลักหมื่น, ...) แล้วได้ผลลัพธ์เป็ นจำานวนที่
11 หารลงตัว เช่น ผลลัพธ์เป็ น 0, 11, -11 เป็ นต้น
ตัวอย่าง 11 หาร 253 ลงตัว
เพราะ 5 – (2 + 3) = 0
และ 11 หาร 0 ลงตัว
11 หาร 2794 ลงตัว
เพราะ (2 + 9) – (7 + 4) = 0
และ 11 หาร 0 ลงตัว
11 หาร 45876 ไม่ลงตัว
เพราะ (5 + 7) – (4 + 8 + 6) = -6
แต่ 11 หาร -6 ไม่ลงตัว

 ่ ารด้วย 12 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่หารด้วย 3 และ 4 ลงตัว นัน


จำานวนเต็มทีห ่ คือ
ตรวจว่าจำานวนนั ้นหารด้วย 3 ลงตัวหรือไม่ และตรวจอีกครัง้ ว่า 4 หารลงตัวหรือไม่ (อาจตรวจสอบ
การหารลงตัวด้วย 4 ก่อนก็ได้เพราะต้องเป็ นจำานวนคู่แน่นอน)
ตัวอย่าง 12 หาร 696 ลงตัว
เพราะ (1) 6 + 9 + 6 = 21 และ 3 หาร 21 ลงตัว
ทำาให้ 3 หาร 696 ลงตัว
และ (2) 4 หาร 96 ลงตัว ทำาให้ 4 หาร 696 ลงตัวด้วย
12 หาร 1128 ลงตัว
เพราะ (1) 4 หาร 28 ลงตัว
ทำาให้ 4 หาร 1128 ลงตัวด้วย
และ (2) 1 + 1 + 2 + 8 = 12 ซึ่ง 3 หาร 12 ลงตัว
ทำาให้ 3 หาร 1128 ลงตัว
12 หาร 1239 ไม่ลงตัว
เพราะ จำานวนที่ 4 หารลงตัวต้องเป็ นจำานวนคู่เท่านัน

การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม 5

ดังนัน
้ 12 จึงไม่มีทางหาร 1239 ลงตัว
แม้ว่า 1 + 2 + 3 + 9 = 15 และ 3 หาร 15 ลงตัวก็ตาม
12 หาร 1148 ไม่ลงตัว
แม้ว่า 4 หาร 48 ลงตัว ทำาให้ 4 หาร 1148 ลงตัวก็ตาม
แต่ 1 + 1 + 4 + 8 = 14 ซึ่ง 3 หาร 14 ไม่ลงตัว
ทำาให้ 3 หาร 1148 ไม่ลงตัว

 ่ ารด้วย 13 ลงตัว ได้แก่ จำานวนจำานวนเต็มที่เมื่อนำ าเลขโดดตัวสุดท้าย


จำานวนเต็มทีห
(เลขโดดในหลักหน่วย) คูณด้วย 4 แล้วบวกด้วยจำานวนที่เหลือ แล้วดูว่า 13 หารลงตัวหรือไม่ ถ้า
จำานวนยังมากอยู่ก็ให้ดำาเนินการในทำานองเดียวกันไปเรื่อยๆ จนเหลือจำานวนที่น้อยและตรวจได้ว่า
หารด้วย 13 ลงตัวหรือไม่
ตัวอย่าง 13 หาร 546 ลงตัว
เพราะ 54 + (6 × 4) = 54 + 24 = 78 (ยังเยอะอย่)ู
7 + (8 × 4) = 7 + 32 = 39
ซึ่ง 13 หาร 39 ลงตัว
13 หาร 7618 ลงตัว
เพราะ 761 + (8 × 4) = 761 + 32 = 793 (ยังเยอะอย่)ู

79 + (3 × 4) = 79 + 12 = 91 (ตรวจต่อก็ได้)
9 + (1 × 4) = 9 + 4 = 13
ซึ่ง 13 หาร 13 ลงตัว
13 หาร 12564 ไม่ลงตัว
เพราะ 1256 + (4 × 4) = 1256 + 16 = 1272
127 + (2 × 4) = 127 + 8 = 135
13 + (5 × 4) = 13 + 20 = 43
ซึ่ง 13 หาร 43 ไม่ลงตัว

 ่ ารด้วย 14 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่หารด้วย 2 และ 7 ลงตัว หรือพูด


จำานวนเต็มทีห
ง่ายๆ กว่านัน
้ ก็คือ จำานวนคู่ที่หารด้วย 7 ลงตัวนัน
่ เอง
ตัวอย่าง 14 หาร 112 ลงตัว
เพราะ 112 เป็ นจำานวน (2 หารลงตัว)
และ 11 – (2 × 2) = 11 – 4 = 7 ซึ่ง 7 หาร 7 ลงตัว
14 หาร 8274 ลงตัว
6 การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม

เพราะ 8274 เป็ นจำานวนคู่


และ 827 – (4 × 2) = 827 – 8 = 819 (คิดต่อนะครับ)
81 – (9 × 2) = 81 – 18 = 63
ซึ่ง 7 หาร 63 ลงตัว
14 หาร 5213 ไม่ลงตัว
เพราะ 5213 เป็ นจำานวนคี่ ซึ่ง 2 หารไม่ลงตัว
14 หาร 5312 ไม่ลงตัว
เพราะ 5312 เป็ นจำานวนคู่
แต่ 531 – (2 × 2) = 531 – 4 = 527
52 – (7 × 2) = 52 – 14 = 38
ซึ่ง 14 หาร 38 ไม่ลงตัว

 ่ ารด้วย 15 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่หารด้วย 3 และ 5 ลงตัว หรือพูด


จำานวนเต็มทีห
ง่ายๆ ก็คือ จำานวนเต็มที่ลงท้ายด้วย 0 หรือ 5 และหารด้วย 3 ลงตัวนัน
่ เอง (ลองยกตัวอย่างเองนะ
ครับ)
ตัวอย่าง 15 หาร 345 ลงตัว
เพราะ 345 ลงท้ายด้วย 5 (หารด้วย 5 ลงตัว)
และ 3 + 4 + 5 = 12 ซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว
15 หาร 36210 ลงตัว
เพราะ 36210 ลงท้ายด้วย 0 (หารด้วย 5 ลงตัว)
และ 3 + 6 + 2 + 1 + 0 = 12 ซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว
15 หาร 1254 ไม่ลงตัว
เพราะ 1254 ไม่ได้ลงท้ายด้วย 5 (5 หารไม่ลงตัว)
15 หาร 1405 ไม่ลงตัว
เพราะ 1 + 4 + 0 + 5 = 10 ซึ่งหารด้วย 3 ไม่ลงตัว

 ่ ารด้วย 16 ลงตัว การตรวจสอบจำานวนที่หารด้วย 16 ลงตัวแบ่งได้ 3


จำานวนเต็มทีห
กรณี
กรณี ที่ 1 ถ้าจำานวนเต็มที่กำาหนดมีคา่ ไม่ถึงพัน ให้นำาจำานวนในหลักร้อยคูณด้วย 4 แล้วบวก
ด้วยจำานวนที่เหลือ
ตัวอย่าง 16 หาร 176 ลงตัว
เพราะ (1 × 4) + 76 = 4 + 76 = 80
(8 × 4) + 0 . = 32 + 0 = 32
การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม 7

ซึ่ง 32 หารด้วย 16 ลงตัว


16 หาร 698 ไม่ลงตัว
เพราะ (6 × 4) + 98 = 32 + 98 = 130
(1 × 4) + 30 = 4 + 30 = 34
ซึ่ง 34 หารด้วย 16 ไม่ลงตัว
กรณี ที่ 2 ถ้าจำานวนเต็มนัน
้ มีเลขโดดในหลักพันเป็ นจำานวนคู่ ให้นำาจำานวนในสามหลัก
สุดท้าย (หลักร้อย, หลักสิบ, หลักหน่วย) ไปตรวจสอบดูว่าหารด้วย 16 ลงตัวหรือไม่
ตัวอย่าง 16 หาร 254176 ลงตัว
เพราะ หลักพัน คือ เลข 4 เป็ นจำานวนคู่
และ 16 หาร 176 ลงตัว (ดูกรณีที่ 1)
16 หาร 258698 ไม่ลงตัว
เพราะ หลักพัน คือ 8 เป็ นจำานวนคู่
แต่ 16 หาร 698 ไม่ลงตัว (ดูกรณีที่ 1)
กรณี ที่ 3 ถ้าจำานวนเต็มนัน
้ มีเลขโดดในหลักพันเป็ นจำานวนคี่ ให้นำาจำานวนในสามหลัก
สุดท้าย (หลักร้อย, หลักสิบ, หลักหน่วย) บวกด้วย 8 แล้วดูว่าหารด้วย 16 ลงตัวหรือไม่
ตัวอย่าง 16 หาร 23408 ลงตัว
เพราะ หลักพัน คือ เลข 3 ซึ่งเป็ นจำานวนคี่
และเนื่องจาก 408 + 8 = 416 (ตรวจสอบ 416)
พบว่า (4 × 4) + 16 = 16 + 16 = 32
ซึ่ง 32 หารด้วย 16 ลงตัว
16 หาร 55784 ไม่ลงตัว
เพราะ หลักพัน คือ เลข 5 ซึ่งเป็ นจำานวนคี่
แต่เนื่องจาก 784 + 8 = 792 (ตรวจสอบ 792)
พบว่า (7 × 4) + 92 = 28 + 92 = 120
(1 × 4) + 20 = 4 + 20 = 24
ซึ่ง 24 หารด้วย 16 ไม่ลงตัว
8 การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม

 ่ ารด้วย 17 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่เมื่อนำ าจำานวนในหลักสุดท้ายไปคูณ


จำานวนเต็มทีห
ด้วย 5 แล้วนำ าจำานวนที่เหลือมาตัง้ แล้วลบด้วยผลคูณของจำานวนในหลักสุดท้ายกับ 5 (ถ้าจำานวนยัง
มากอยู่ให้ดำาเนินการในทำานองเดียวกันต่อไปเรื่อย) แล้วดูว่าผลลัพธ์ที่ได้หารด้วย 17 ลงตัวหรือไม่
ตัวอย่าง 17 หาร 85 ลงตัว
เพราะ 8 – (5 × 5) = 8 – 25 = -17 ซึ่งหารด้วย 17 ลงตัว
17 หาร 612 ลงตัว
เพราะ 61 – (2 × 5) = 61 – 10 = 51
5 – (1 × 5) = 5–5 = 0 ซึ่งหารด้วย 17 ลงตัว
17 หาร 2295 ลงตัว
เพราะ 229 – (5 × 5) = 229 – 25 = 204
20 – (4 × 5) = 20 – 20 =0
ซึ่ง 0 หารด้วย 17 ลงตัว
17 หาร 2569 ไม่ลงตัว
เพราะ 256 – (9 × 5) = 256 – 45 = 211
21 – (1 × 5) = 21 – 5 = 16
ซึ่ง 16 หารด้วย 17 ไม่ลงตัว
17 หาร 69586 ไม่ลงตัว
เพราะ 6958 – (6 × 5) = 6958 – 30 = 6928
692 – (8 × 5) = 692 – 40 = 652
65 – (2 × 5) = 65 – 10 = 55
5 – (5 × 5) = 5 – 25 = -20
ซึ่ง -20 หารด้วย 17 ไม่ลงตัว

 ่ ารด้วย 18 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่หารด้วย 2 และ 9 ลงตัว หรือพูด


จำานวนเต็มทีห
ง่ายๆ คือ จำานวนคู่ที่หารด้วย 9 ลงตัวนัน
่ เอง
ตัวอย่าง 18 หาร 36 ลงตัว เพราะ 36 เป็ นจำานวนคู่
และ 3 + 6 = 9 ซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว
18 หาร 966 ลงตัว เพราะ 966 เป็ นจำานวนคู่
และ 9 + 6 + 6 = 21 ซึ่งหารด้วย 3 ลงตัว
18 หาร 1496 ไม่ลงตัว
แม้ว่า 1496 จะเป็ นจำานวนคู่
แต่ 1 + 4 + 9 + 6 = 20 ซึ่งหารด้วย 3 ไม่ลงตัว
การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม 9

18 หาร 2469 ไม่ลงตัว เพราะ 2469 เป็ นจำานวนคี่

 ่ ารด้วย 19 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่เมื่อนำ าจำานวนในหลักสุดท้าย (หลัก


จำานวนเต็มทีห
สิบ, หลักหน่วย) คูณด้วย 2 จากนัน
้ นำ าไปบวกกับจำานวนที่เหลือ (ถ้าจำานวนยังมากอยู่ให้ดำาเนินการใน
ทำานองเดียวกันต่อไปเรื่อย) แล้วดูว่าหารด้วย 19 ลงตัวหรือไม่
ตัวอย่าง 19 หาร 152 ลงตัว
เพราะ 15 + (2 × 2) = 15 + 4 = 19
ซึ่ง 19 หาร 19 ลงตัว
19 หาร 741 ลงตัว
เพราะ 74 + (1 × 2) = 74 + 2 = 76
7 + (6 × 2) = 7 + 12 = 19
ซึ่ง 19 หาร 19 ลงตัว
19 หาร 1485 ไม่ลงตัว
เพราะ 148 + (5 × 2) = 148 + 10 = 158
15 + (8 × 2) = 15 + 16 = 31
ซึ่ง 19 หาร 31 ไม่ลงตัว
19 หาร 5698 ไม่ลงตัว
เพราะ 569 + (8 × 2) = 569 + 16 = 585
58 + (5 × 2) = 58 + 10 = 68
6 + (8 × 2) = 6 + 16 = 22
ซึ่ง 19 หาร 22 ไม่ลงตัว

 ่ ารด้วย 20 ลงตัว ได้แก่ จำานวนเต็มที่มีหลักหน่ วยเป็ น 0 และหลักสิบเป็ น


จำานวนเต็มทีห
จำานวนคู่
ตัวอย่าง จำานวนนับที่หารด้วย 20 ลงตัว เช่น
520 มีหลักหน่วยเป็ นเลข 0 และหลักสิบเป็ นเลข 2 (เลขค่)ู
6580 มีหลักหน่วยเป็ นเลข 0 และหลักสิบเป็ นเลข 8 (เลขคู่
98560 มีหลักหน่วยเป็ นเลข 0 และหลักสิบเป็ นเลข 6 (เลขค่)ู
จำานวนนับที่หารด้วย 20 ไม่ลงตัว เช่น
630 มีหลักหน่วยเป็ นเลข 0 แต่หลักสิบเป็ นเลข 3 (เลขคี)่
6590 มีหลักหน่วยเป็ นเลข 0 แต่หลักสิบเป็ นเลข 9 (เลขคี)่
6569 มีหลักหน่วยเป็ นเลข 9 (ไม่ใช่เลข 0)
10 การตรวจสอบการหารลงตัวของจำานวนเต็ม

หมายเหตุท้ายบทความ
ผู้เขียนกราบขอบพระคุณ พระภิกษุ (รองศาสตราจารย์ ดร.) พิชชากร แปลงประสบโชค ที่จด

ประกายเรื่องนี้เมื่อครัง้ เรียนวิชาทฤษฎีเซต ทีม
่ หาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และขอบใจน้ องเบส ที่
ช่วยนำ าวิธีการตรวจสอบบางจำานวนมาให้ผู้เขียนได้ศึกษาเพิ่มเติม ได้นำามาปรับปรุงและใช้เป็ นวัตถุดิบ
สำาคัญในการเขียนบทความนี้

You might also like