You are on page 1of 4

“Telemedicine” “ระบบการแพทย์ทางไกล” ในยุค 5G

“เทเลเมดิซิน” คืออะไร
ย้ อ นไปในยุ ค 1970s ในเวลานั้ น วงการการแพทย์ ได้ มี ก ารนำระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศ หรื อ
Information Communication Technology (ICT) มาใช้ ในการปรั บ ปรุ ง การรั ก ษาผู้ ป่ ว ย โดยการเพิ่ ม ช่ อ ง
ทางการเข้าถึงการรักษา ข้อมูลการดูแลรักษาผู้ป่วยและข้อมูลด้านการแพทย์ ซึ่ง เรียกสิ่งนี้ว่าคือ “การเยียวยา
ระยะไกล” หรื อ ภาษาอั งกฤษใช้ ค ำว่า “healing at a distance” แต่ ในช่ ว งเวลานั้ น ยั งไม่ ได้ มี ก ารใช้ ค ำว่ า
“telemedicine” อย่างแพร่หลาย
ต่อมาในปี 1990 “telemedicine” ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการแพทย์ การสาธารณสุข องค์การ
อนามัยโลกจึงได้มีคำอธิบายแบบกว้าง ๆ ต่อ “เทเลเมดิซิน” ว่าคือ “การส่งผ่านบริการด้านสุขภาพ ในกรณีที่
ความห่ า งไกลเป็ น ปั จ จั ย หลั ก ” โดยผู้ เชี่ ย วชาญด้ า นสุ ข ภาพสามารถใช้ ข้ อ มู ล เทคโนโลยี ส ารสนเทศในการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลในการรักษาโรค การเยียวยา และการป้องกันโรคและการบาดเจ็บ รวมถึงการให้คำปรึกษาด้าน
การแพทย์ผ่านช่องทางนี้
ปัจจุบัน “เทเลเมดิซิน (Telemedicine)” หรือ “ระบบการแพทย์ทางไกล” หรือ “โทรเวช” ถือเป็นอีก
หนึ่งรูปแบบของการให้บริการทางการแพทย์ ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ ตรวจและ
วินิจฉัยโรคและยังรวมไปถึงการศึกษาด้านแพทย์อีกด้วย โดย “เทเลเมดิซิน” เป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกและ
พัฒนากลไกการให้บริการทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขในประเทศต่าง ๆ ทำให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้าน
สุขภาพสามารถช่วยผู้ที่อยู่ในชนบทและถิ่นห่างไกล ให้สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างสะดวกและ
ทันท่วงทีมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่โรงพยาบาลด้วยตนเอง ซึ่งตรงนี้เอง ทำให้ผู้ด้อยโอกาสหรือคน
ยากจนในชนบทสามารถรับบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่ต้องห่วงกังวลเรื่องค่าเดินทางในการพบแพทย์ ในเมือง
ใหญ่แต่ละครั้ง แต่เพียงไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมชนก็สามารถรับบริการต่อสายหรือวีดิโอคอลกับแพทย์เฉพาะ
ทางได้
นอกจากนี้ “เทเลเมดิ ซิ น ” ยั งส่ งเสริ ม ระบบการศึ ก ษาด้ านการแพทย์ โดยฉพาะในกรณี ที่ ปั จ จุ บั น
บุคคลากรทางการแพทย์อาจจะยังไม่เพียงพอมากนัก บริบทเหล่านี้เอง ที่ทำให้ “เทเลเมดิซิน” ก้าวเข้ามามีส่วน
ช่ ว ยระบบการแพทย์ แ ละสาธารณสุ ข รวมไปถึ ง การศึ ก ษาด้ า นสาธารณสุ ข ให้ ส ามารถดำเนิ น ต่ อ ไปได้ โดย
ลดขีดจำกัดหรืออุปสรรคด้านระยะทาง
➢ ข้อดีของ “เทเลเมดิซิน”หรือ “โทรเวช”
ปั จ จุ บั น “เทเลเมดิ ซิ น ” มี บ ทบาทสำคั ญ ต่ อ ระบบสาธารณสุ ข ของประเทศต่ า ง ๆ เป็ น สิ่ งที่ ช่ ว ยให้
ประชาชนได้รับและเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งข้อดีของ “เทเลเมดิซิน” ที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่
1. ผู้ป่วยที่อยู่ในชนบทห่างไกลสามารถเข้าถึงการตรวจรักษาและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ได้ทันท่วงที
2. ระบบมี ป ระสิ ท ธิ ผ ลคุ้ ม ค่ า การลงทุ น (Cost Efficiencies) เนื่ อ งจากช่ ว ยลดค่ า ใช้ จ่ า ยในการ
รักษาพยาบาลโดยรวม และเพิ่มประสิ ทธิผ ลในการรั กษาโรคเพราะใช้บุคลากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่าง
โรงพยาบาล อีกทั้งยั งช่วยลดระยะเวลาของแพทย์ในการเดินทางเพื่ อมารักษาพยาบาล และช่ว ยให้ ผู้ ป่ว ยลด
ระยะเวลาการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลได้
3. ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการทางด้านการแพทย์จะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกล
มาที่โรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ผู้ป่วยลดความเครียดจากการเดินทางได้
อีกด้วย
เทคโนโลยี 5G จะมาสนับสนุน “เทเลเมดิซิน” ได้อย่างไร
เทคโนโลยี 5G นับเป็น Generation ใหม่ของเทคโนโลยีดิจิทัล หรือเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบ
ที่ จ ะถู กนำมาใช้ แทนระบบ 4G ที่ ใช้อ ยู่ ในปั จ จุบั น ซึ่งเทคโนโลยี ใหม่นี้ ไม่ได้ เป็ น เทคโนโลยีที่ จ ำกั ด เฉพาะใน
โทรศัพท์มือถือเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ หรือที่เรียกว่า
ไอโอที หรื อ Internet of Things (IoT) ซึ่งเทคโนโลยี 5G นั บ ว่า ดีก ว่าเทคโนโลยี 4G หลายๆ ด้าน อย่างเช่ น
สามารถตอบสนองได้เร็วขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างชนิดที่เรียกว่าทัน ท่วงที รองรับการ
รับ-ส่งข้อมูลได้มากกว่าระบบ 4G ถึง 7 เท่า และรองรับการใช้งานที่มากขึ้น สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น
10 เท่า เป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. (จากเดิมระบบ 4G สามารถรับได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.)
นอกจากนี้ ยังมีคลื่นความถี่ให้เลือกใช้มากกว่า โดยรองรับคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่
เคยมีการใช้งานมาก่อน
ด้วยความที่ระบบเทคโนโลยี 5G มีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายและคุณภาพความคมชัดที่มาก
ขึ้น ดังนั้น จุดเด่นที่ระบบ 5G จะมาสนับสนุน “เทเลเมดิซิน” คือ การที่ คุณภาพของภาพที่ส่งผ่านระบบ 5G มี
ความคมชัดและรวดเร็ว หรือการที่สามารถทำงานและเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Cloud ไม่ว่าจะรูปแบบภาพ
หรือวิดีโอ ได้แบบทันทีที่ต้องการ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดที่สูง
ทำให้การผ่าตัดทางไกล การส่งข้อมูลคนไข้ รวมทั้งฟิลม์เอกซ์เรย์ผ่านระบบสื่อสารมีความรวดเร็ว คมชัด จึงทำให้
แพทย์สามารถตอบสนองได้ทันท่วงที และวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำขึ้น
นอกจากนี้ “เทเลเมดิซิน” จะช่วยให้เกิดการใช้งาน Virtual Reality (VR)1 และ Augmented Reality
(AR)2 ในกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถใช้เทคโนโลยีสมาร์ทโฟนในการทำให้วัตถุ 2 มิติ สามารถปรากฏเป็น ภาพหรือ
วีดีโอดิจิทัลบนหน้าจอ ซึ่งภาพหรือวีดีโอที่ว่าจะต้องดึงมาจาก Cloud ทำให้ 5G มีบทบาทมากในการดึงข้อมูล
ดังกล่าวมาจาก Cloud ให้ปรากฏบนหน้าจอได้อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้า จึงจะเป็นตัวช่วยให้คนที่อยู่ในชนบทได้รับ
บริการทางการแพทย์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ง่ายและเสมือนจริงขึ้น
➢ ประโยชน์ของ 5G ต่อ “เทเลเมดิซิน”
การพัฒนาระบบสาธารณสุขสู่อนาคต ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล 5G มาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีการแพทย์
ใหม่ๆ จะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ป่วยและแพทย์อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างโอกาสการเข้าถึง
บริการสาธารณสุขได้อย่างกว้างขวาง ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการดูแลจากโรงพยาบาล
ใกล้บ้านได้ แม้ว่าจะไม่มีแพทย์เฉพาะทางประจำอยู่ แต่สามารถใช้ “เทเลเมดิซิน” ในการสื่อสารระหว่างกันได้
และในที่สุดจะสามารถดูแลโดยตรงถึงบ้านผู้ป่วยได้ด้วย
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยี 5G ต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์
หลายประเภท แต่ ที่ ใช้ ได้ อ ย่ างแพร่ ห ลายและสะดวกมาก คื อ “การใช้ เครือ ข่ าย IoT (Internet of things)”
ที่สามารถติดกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ เช่น การวัดชีพจร อุปกรณ์วัดความดัน อุปกรณ์วัดวิเคราะห์ผลเลือด
หรื อ แม้ ก ระทั่ งสมาร์ ท วอทช์ เป็ น ต้ น การเชื่ อ มต่ อ เหล่ านี้ เองทำให้ ผู้ ป่ ว ยได้ รับ การรัก ษาและสามารถเข้ าถึ ง

1 Virtual Reality (VR) คือ การสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนขึ้นมาใหม่เพื่อตัดขาดผู้ใช้งานออกจากโลกความจริง โดยสิ่งแวดล้อมเสมือนนี้อาจเป็นได้ทั้ง


ภาพและเสียง และอาจดูคล้ายหรือแตกต่างกับความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง
2 Augmented Reality (AR) คือ การรวมวัตถุเสมือนเข้ากับ สภาพแวดล้อมจริงที่อยู่ รอบตัวเรา โดยวัตถุเสมือนนี้อาจเป็นได้ทั้งภาพ วิดีโอ หรือเสียงที่

ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เช่น มือถือ หรือแท็บเล็ท เทคโนโลยี AR จึงไม่ใช่การสร้างสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการ


พยายามสอดแทรกเทคโนโลยีเข้าไปในสภาพแวดล้อมจริง
ผู้เชี่ยวชาญได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากข้อมูลของผู้ป่วยถูกส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบ “เทเลเมดิซิน” นอกจากนี้
“เทเลเมดิซิน” ยังช่วยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สามารถทำการติดตามหรือมอนิ เตอร์ ผู้ป่ วย เพื่ อตรวจสอบติดตามอาการผู้ป่ วยและรวบรวมข้อมูล ที่ส ามารถ
นำมาใช้เพื่อปรับปรุงการดูแลส่วนบุคคลได้
➢ บทวิเคราะห์
การนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมทั้งประเทศ จะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ที่อยู่
ห่างไกลสามารถเข้ารับการรักษาดูแลจากโรงพยาบาลในชุมชนได้ และยังส่งเสริมการบูรณาการในการทำงานของ
แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ระหว่างโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทุกฝ่าย
ควรคำนึงถึงอย่างยิ่งน่าจะเป็นเรื่องของความปลอดภัยข้อมูลทางการแพทย์ส่วนบุคคล เมื่อเทียบกับยุคก่อนที่ข้อมูล
ผู้ป่วยได้รับการเก็บรักษาในห้องข้อมูลผู้ป่วยตามสถานพยาบาลต่าง ๆ แต่เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น
มีการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายดิจิทัล จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ด้วย โดยเฉพาะ
ข้อมูลของคนไข้หรือผู้ป่วยที่ถือเป็นความลับ รวมถึงข้อมูลทางการแพทย์การรักษา การวิจัยตัวยา หรือแนวทางการ
รักษาใหม่ๆ ที่ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญต้องได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย ดังนั้น “เทเลเมดิซิน” ที่ใช้เทคโนโลยี
ในการพัฒนาระบบให้ก้าวไกลและสามารถดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องเดินทางควบคู่ไปกับการ
ใช้เทคโนโลยีในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลด้วย
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในบริบทของการค้าบริการ หากคำนึงถึงว่าการให้บริการ “เทเลเมดิซิน” หรือ
“ระบบการแพทย์ทางไกล” มีการให้บริการข้ามประเทศ อาจถือได้ว่าเป็นการให้บริการในรูปแบบที่ 1 (Mode 1)
หรือการบริการข้ามพรมแดน (Cross-Border Supply) ภายใต้สาขาบริการธุรกิจในส่วนบริการวิชาชีพสุขภาพ
(แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์) หรือสาขาบริการสุขภาพที่รวมถึงบริการโรงพยาบาลและบริก ารด้าน
สุขภาพอื่นๆ ซึ่งในส่วนของไทยไม่ได้ผูกพัน เปิดตลาดบริการดังกล่าวในโหมด 1 แต่มีการผูกพันโหมด 1 สาขานี้
ในข้ อผู กพั น เปิ ดตลาดบริก ารชุ ดที่ 10 ภายใต้ กรอบความตกลงว่าด้ ว ยบริการอาเซี ยน (ASEAN Framework
Agreement on Services) ทั้ ง นี้ ไทยไม่ ได้ ห้ า มการให้ บ ริ ก ารดั ง กล่ า วผ่ า นโหมด 1 หรื อ การให้ บ ริ ก ารผ่ า น
แอปพลิ เคชั่ น โดยขณะนี้ ไทยยั งไม่ มี ก ฎหมายควบคุ ม กรณี ที่ ส ถานพยาบาลให้ บ ริ ก าร “เทเลเมดิ ซิ น ” ผ่ า น
แอปพลิเคชั่น เนื่องจากแพทยสภากำกับดูแลเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ ไม่ได้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการ
ให้บริการรูปแบบเทเลเมดิซิน แต่ในเบื้องต้นสำหรับแอปพลิเคชั่นเทเลเมดิซิ น ผู้ที่จะให้บริการคำปรึกษาได้จะต้อง
เป็นแพทย์ที่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา ซึ่งแพทยสภาอยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือและแนวทางการ
ให้คำปรึกษาทางไกล โดยมีการแต่งตั้งอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการใช้สื่อสารสนเทศทางการแพทย์ของผู้
ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้น ไทยจึงควรมีแนวทางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับ
“เทเลเมดิซิน” เพื่อทำให้มีความปลอดภัยและเกิดประโยชน์สูงสุดกับแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย
หรือผู้รับบริการ
---------------------------------------
นางสาววรรณพร นามเสถียร
นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ
สำนักเจรจาการค้าบริการและการลงทุน

บรรณานุกรม
▪ 5G: คลื่นและเทคโนโลยี, สำนักงาน กสทช https://www.nbtc.go.th/
▪ 5G’s positive impact on Telemedicine + “not in my backyard” (NIMBY) problem of small cells
https://techblog.comsoc.org/
▪ 4 Ways Telemedicine is changing healthcare, https://www.healthleadersmedia.com/
▪ Telemedicine, Opportunities and developments in member states, World Health Organisation
▪ What is Telelmedicine, https://www.news-medical.net/
▪ What is Telemedicine? http://www.telemedicine.com/whatis.html
▪ เทเลเมดิซีนบูมรับกระแสสุขภาพ “รพ.-สตาร์ตอัพ” ผุดแอปปรึกษา 24 ชม.

You might also like