You are on page 1of 26

กองทัพคณะราษฎร: การปรับปรุงกองทัพบกช่วงเปลี่ยนผ่านทาง

การเมือง (พ.ศ. 2475-2476)1


ปรัชญากรณ์ ลครพล *
นักวิชาการอิสระ ประเทศไทย

The Army of the People’s Party (Khana Ratsadon): The Reform


of the Thai Army in the Period of Political Transition (1932 - 1933)
Pratyakorn Lakhornphon *
Independent Scholar, Thailand

Article Info บทคัดย่อ


Academic Article บทความนี้มวี ตั ถุประสงค์เพือ่ อธิบายการปรับปรุงกองทัพบกของคณะราษฎร
Article History: ในช่วง 1 ปี หลังการปฏิวตั สิ ยาม 2475 ซึง่ คณะราษฎรได้ให้ความสําคัญกับ
Received 21 May 2019 การปรับปรุง โครงสร้า งและการบัง คับ บัญชาของกองทัพ บก เนื่ อ งจาก
Revised 20 March 2020 ข้อจํากัดของผูน้ ํ าและนายทหารคณะราษฎรฝา่ ยทหารบกทีม่ สี ถานะเพียง
Accepted 13 May 2020
นายทหารระดับ กลางในกองทัพ บก ทํา ให้ไ ม่ส ามารถอยู่ใ นตํา แหน่ ง
ผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงตามโครงสร้างกองทัพบกแบบเดิมได้ คณะราษฎร
คําสําคัญ
จึงได้ลดขนาดโครงสร้างกองทัพบกด้วยการยุบหน่ วยทหารขนาดใหญ่
กองทัพบก ทัง้ หมด (กองทัพ-กองพล) แล้วรวมการบังคับบัญชาหน่ วยย่อย (กองพัน)
โครงสร้าง ทัง้ หมดให้ขน้ึ ตรงต่อผูบ้ ญ
ั ชาการทหารบก เพือ่ ให้สะดวกในการบังคับบัญชา
สายการบังคับบัญชา หน่ วยทหารในกองทัพบกและป้องกันไม่ให้มกี ารรวมกําลังทหารทําการ
คณะราษฎร ปฏิวตั ซิ อ้ นได้
Keywords: Abstract
Thai Army
Structure This article describes the reform of the Thai army by the People’ s
Chain of Command Party ( Khana Ratsadon) from 1932 to 1933. The reform was
The People’s Party primarily focused on the rearrangement of the structure and the
(Khana Ratsadon) chain of command within the army. Since the leaders and the
members of the People’ s Party were middle- ranking officials, they
could not be, under the existing structure, promoted to key positions
in the army. The People’s Party, then, decided to downsize the army
* Corresponding author by dissolving large military units and divisions. All battalions were
E-mail address:
pratyakorn.lak@gmail.com put under direct control of the army commander in order to
strengthen the chain of command within the army and to prevent
members of the army staging a counter-revolution.

1บทความนี้เป็ นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรือ่ ง “คณะราษฎรกับการปรับปรุงกองทัพบกไทย พ.ศ.


2475-2488” สาขาประวัตศิ าสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

1. บทนํา

การปรับปรุงกองทัพถือเป็ นภารกิจสําคัญของคณะราษฎรที่จะต้องดําเนินการอย่าง
เร่งด่วนในช่วงหนึ่งเดือนหลังการปฏิวตั ิ เนื่องจากคณะราษฎรจําเป็ นจะต้องเข้าควบคุมอํานาจ
ในกองทัพเพื่อใช้เป็ นฐานอํานาจในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง และเป็ นหลักประกันความ
อยูร่ อดของทัง้ คณะราษฎรและระบอบการปกครองใหม่ทเ่ี พิง่ สถาปนาขึน้ ซึง่ โจทย์สาํ คัญในการ
ปรับปรุงกองทัพของคณะราษฎรคือการเปลีย่ นกองทัพให้อยู่ในสถานะทีผ่ ูน้ ําคณะราษฎรสาย
ทหารบกสามารถควบคุมอํานาจกองทัพได้ ทัง้ อํานาจการบังคับบัญชาและการกําหนดนโยบาย
หรือเรียกได้วา่ เป็ นการเปลีย่ น “กองทัพพระมหากษัตริย”์ ให้กลายเป็ น “กองทัพคณะราษฎร”
สําหรับงานวิชาการทีศ่ กึ ษาการปรับปรุงกองทัพของคณะราษฎรในช่วง 1 ปี หลังการ
ปฏิวตั สิ ยามได้มผี ศู้ กึ ษาไว้บา้ งแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็ นการศึกษาการปรับปรุงและเปลีย่ นแปลง
กองทัพในภาพรวม และการเข้าควบคุมอํานาจในกองทัพของผูน้ ําคณะราษฎรสายทหาร แต่ไม่ได้
วิเคราะห์ปจั จัย เงื่อนไข และข้อจํากัดต่างๆ ทัง้ ทางการเมืองและสถานะของคณะราษฎรทีม่ ผี ล
ต่อการปรับโครงสร้างกองทัพ เช่น วิทยานิพนธ์ของธํารงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์ และงานวิจยั ของ
อุกฤษฎ์ ปทั มานันท์ เป็ นต้น ส่วนบทความนี้ผูเ้ ขียนต้องการศึกษาอย่างละเอียดเฉพาะในส่วน
ของการปรับปรุงกองทัพบก เนื่องจากคณะราษฎรได้มกี ารปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหมใหม่
และมีผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างกองทัพบก ซึง่ กองทัพบกเป็ นกําลังทหารหลักของกองทัพไทย
และเป็ นเป้าหมายสําคัญในการควบคุมอํานาจของคณะราษฎร ส่วนการอธิบายการปรับปรุง
กองทัพของคณะราษฎร ผูเ้ ขียนจะให้ความสําคัญในการอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างและสายการ
บังคับบัญชาแบบใหม่ของกระทรวงกลาโหมและกองทัพบก ซึ่งเป็ นปจั จัยสําคัญที่ทําให้ผู้นํา
คณะราษฎรสามารถเข้าสู่ตําแหน่ งผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงของกองทัพ รวมถึงเป็ นเครื่องมือใน
การขจัดอิทธิพลของกลุม่ อํานาจเก่าภายในกองทัพ

2. การปรับปรุงกองทัพเพื่อควบคุมอํานาจทางทหารของคณะราษฎร

ปญั หาเศรษฐกิจตกตํ่าอย่างต่อเนื่องภายหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ทําให้รฐั บาลของ


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั จํา เป็ น ต้องปรับปรุงกองทัพให้มขี นาดเล็กลงเพื่อ ลด
งบประมาณรายจ่าย โดยในช่วงปลาย พ.ศ. 2474 ได้ประกาศยุบกระทรวงทหารเรือเข้าเป็ น
ส่วนหนึ่งของกระทรวงกลาโหม 2 และให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหมเป็ นผู้บงั คับบัญชาสูงสุด
รับผิดชอบบังคับบัญชาโดยตรงต่อฝา่ ยอํานวยการ/สนับสนุ น (กรม) ซึ่งเป็ นส่วนราชการกลาง

2 พระบรมราชโองการ ประกาศรวมกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหม, 2474.

66
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

ของกระทรวง ส่วนฝ่ายกําลังรบ (กองทัพบกและกองทัพเรือ) ให้เสนาบดีกระทรวงกลาโหมมี


อํานาจบังคับบัญชาโดยตรงต่อแม่ทพั ของแต่ละกองทัพ 3
เสนาบดีกระทรวงกลาโหมถือเป็ นตําแหน่ งทีม่ อี ํานาจมากจากการต้องรับผิด ชอบ
ราชการของกองทัพแทนพระมหากษัตริย ์ บุคคลทีจ่ ะได้รบั แต่งตัง้ ในตําแหน่ งนี้จงึ ต้องเป็ น
พระบรมวงศานุ วงศ์หรือนายทหารระดับสูงทีพ่ ระมหากษัตริยท์ รงไว้พระทัย เมือ่ พิจารณาสถานะ
ผูน้ ําคณะราษฎรสายทหารบกทีม่ ยี ศสูงสุดคือพันเอก สามารถดํารงตําแหน่งสูงสุดคือผูบ้ งั คับการ
กรมหรือรองเจ้ากรม เช่น พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา รองจเรทหารบก หรือพันเอกพระยา
ฤทธิอคั เนย์ ผูบ้ งั คับการกรมทหารปื นใหญ่ ที่ 1 รอ. เป็ นต้น 4 จากข้อจํากัดชัน้ ยศของผูน้ ํ า
คณะราษฎรสายทหารบกทําให้ไม่สามารถถูกแต่งตัง้ ในตําแหน่ งเสนาบดีหรือผูบ้ งั คับบัญชา
ระดับสูงได้ ด้วยเหตุน้ีคณะราษฎรต้องปรับโครงสร้างกองทัพแบบใหม่ เพื่อให้ผนู้ ําคณะราษฎร
สายทหารบกที่มยี ศพันเอกสามารถถูกแต่งตัง้ ในตําแหน่ งผู้บงั คับบัญชาระดับสูง รวมถึงลด
อํานาจและบทบาทของเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและปลดนายทหารระดับสูงออกจากกองทัพ

2.1 การปรับโครงสร้างกองทัพเพื่อขจัดอิ ทธิ พลกลุ่มอํานาจเก่าในกองทัพ


โครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2474 ประกอบด้วยฝา่ ยอํานวยการ/สนับสนุ นการรบ
ของทหารบกและทหารเรือ เป็ นส่วนราชการกลางของกระทรวงกลาโหมมีการจัดหน่ วยเป็ นกรม
ส่วนฝา่ ยกําลังรบของทหารบกและทหารเรือจัดกําลังรบออกเป็ นทหารบก 2 กองทัพ (กองทัพ
ที่ 1, 2) ทหารเรือ 1 กองทัพ (กองทัพเรือ) ในส่วนการบังคับบัญชาได้กําหนดให้ฝา่ ยอํานวยการ/
สนับสนุ นกับฝา่ ยกําลังรบเป็ นอิสระไม่ขน้ึ ต่อกันและมีฐานะหน่ วยเท่ากัน เช่น กรมเสนาธิการ
ทหารบก กรมพลาธิการทหารบก หรือกรมอากาศยานมีฐานะเทียบเท่ากองทัพบก จะเห็นว่า
ตําแหน่งเสนาธิการทหารบก พลาธิการทหารบก เจ้ากรมอากาศยาน หรือแม่ทพั มีชนั ้ ยศเท่ากัน
คือพลโท และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของเสนาบดีกระทรวงกลาโหม 5

3 กรมเสนาธิการทหารบก, สมุดแสดงหลักการปกครองในกองทัพบก (พระนคร: กรมแผนทีท่ หาร,


2456), 16-17.
4 ปนั ้ บุณยเกียรติ และ เฮง เล้ากระจาย, สยามรัฐ เปลีย่ นแปลงการปกครองแผ่นดินอย่างมีพระราชาธิบดี

ใต้พระธรรมนูญการปกครอง ภาค 1 (พระนคร: เดลิเมล์, 2475), 28-30.


5 ธํารงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์, “รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476,” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534), 162.


67
แผนภาพที่ 1 โครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2474 (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) 6

68
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

ทีม่ า หอจดหมายเหตแห่งชาติ. ร.7 ก.1/9 เรือ่ ง ทําเนียบย่อ พ.ศ. 2474 5

6 เรือ
่ งเดียวกัน, 162.
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

ในการเข้าควบคุมอํานาจกองทัพของคณะราษฎรมีอุปสรรคสําคัญประการหนึ่ง คือ
ข้อจํากัดด้านสถานะและชัน้ ยศของผู้นําคณะราษฎรสายทหารบกที่ไม่สามารถดํารงตําแหน่ ง
ผู้บงั คับบัญชาระดับสูงในกองทัพตามโครงสร้างกระทรวงกลาโหมแบบเดิมได้ ดังนัน้ ในการ
ปรับโครงสร้างกองทัพแบบใหม่ตอ้ งดําเนินไปเพือ่ ตอบสนองวัตถุประสงค์สาํ คัญ 3 ข้อ ได้แก่
1) ผูน้ ํ าคณะราษฎรสายทหารบกสามารถดํารงตําแหน่ งผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงด้วย
ชัน้ ยศเดิม
2) ลดอํานาจและบทบาทของเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในด้านการบริหารและการ
บังคับบัญชาในกองทัพ
3) ขจัดอิทธิพลของกลุม่ อํานาจเก่าและปลดนายทหารระดับสูงออกจากกองทัพ
ในการปรับปรุงกองทัพของคณะราษฎรได้ปรับโครงสร้างใหม่ทงั ้ ของกระทรวงกลาโหม
กองทัพบก และกองทัพเรือ ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะกระทรวงกลาโหมและกองทัพบก
เนื่องจากกระทรวงกลาโหมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หวั ช่วงก่อน พ.ศ.
2474 รับผิดชอบเฉพาะราชการทหารบก ทําให้การปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหมมีผลกระทบ
โดยตรงต่อโครงสร้างกองทัพบก และทีส่ าํ คัญกองทัพบกเป็ นเป้าหมายหลักของคณะราษฎร
ในการเข้าควบคุมอํานาจ ซึ่งในการปรับโครงสร้างกองทัพเพื่อให้บรรลุวตั ถุประสงค์ทงั ้ 3 ข้อ
ตามที่กล่าวข้างต้นนัน้ คณะราษฎรได้ดําเนินการลดขนาดกองทัพให้เล็กลงด้วยการยุบหน่ วย
ทหารหลักในกระทรวงกลาโหมและกองทัพบก ซึง่ เป็ นหน่วยทหารทีผ่ นู้ ําคณะราษฎรสายทหารบก
ไม่สามารถดํารงตําแหน่ งผูบ้ งั คับบัญชาได้ โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2475 ได้มพี ระบรม
ราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. 2475 เพื่อปรับโครงสร้างและสายการ
บังคับบัญชาใหม่ในกระทรวงกลาโหม
โครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475 ได้ถูกปรับปรุงขึน้ ตามแนวคิดของพันเอก
พระยาทรงสุรเดช หนึ่งในสีผ่ นู้ ําคณะราษฎรสายทหารบก ซึง่ พันเอกพระยาทรงสุรเดชเคยเสนอ
แนวทางการปรับปรุงกองทัพตัง้ แต่ช่วงวางแผนก่อการปฏิวตั สิ ยาม โดยเสนอให้ปรับโครงสร้าง
กองทัพบกด้วยการยุบหน่ วยทหารระดับกองทัพและกองพล 7 จะเห็นว่าโครงสร้างกระทรวง
กลาโหม พ.ศ. 2475 ได้ยุบกรมใหญ่ทหารบกเกือบทัง้ หมด ส่วนโครงสร้างกองทัพบกได้ยุบ
หน่วยทหารระดับกองพลและกรมทหารทัง้ หมด ทําให้กองทัพบกมีกองทัพเดียว โดยมีรายละเอียด
ดังต่อไปนี้

7 ประยูร ภมรมนตรี, ชีวต


ิ 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า (กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2518)
69
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

2.1.1 การยุบกรมใหญ่ทหารบก
โครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475 ได้มกี ารยุบกรมใหญ่ทหารบก 2 กรม คือ
กรมเสนาธิการทหารบกและกรมพลาธิการทหารบก ซึ่งเป็ นกรมสําคัญของฝา่ ยอํานวยการ/
สนับสนุ นการรบให้กบั กองทัพ เนื่องจากการจัดกองทัพในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้จดั
กําลังรบออกเป็ นหลายกองทัพกระจายตามพืน้ ทีส่ าํ คัญทางยุทธศาสตร์และเป็ นกองทัพประจํา
มณฑล 8 ซึ่งต้องมีนายทหารทําหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการและพลาธิการประจํากองทัพและกองพล
ทําให้ตอ้ งมีกรมเสนาธิการทหารบกและกรมพลาธิการทหารบกเพื่อเป็ นฝา่ ยอํานวยการ/สนับสนุน
การรบส่วนกลางให้กบั ทุกกองทัพและกองพล 9 เมื่อคณะราษฎรทําการปรับโครงสร้างกองทัพบก
ด้วยการยุบกองทัพบกให้เหลือกองทัพเดียวและยุบกองพลทัง้ หมด ทําให้ตอ้ งยุบกรมเสนาธิการ
ทหารบกและกรมพลาธิการทหารบกตามไปด้วย ส่วนกรมอากาศยานซึง่ เป็ นกรมใหญ่ทหารบก
อีกกรมหนึ่งไม่ได้ถกู ยุบลง แต่ถกู ลดฐานะลงเป็ นกรมหนึ่งในกองทัพบก

2.1.2 การยุบกรมน้ อยทหารบก


เมื่อการปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหมด้วยการยุบกรมใหญ่ทหารบก 2 กรม คือ
กรมเสนาธิการทหารบกกับกรมพลาธิการทหารบก ทําให้กรมน้อยทหารบกทีเ่ คยอยูใ่ นกรมใหญ่
ทัง้ 2 กรม ถูกยุบโอนไปอยูใ่ นโครงสร้างกองทัพบก ได้แก่ กรมยุทธศึกษาทหารบก กรมแผนที่
ทหาร กรมช่างแสงทหารบก และกรมยกบัตรทหารบก มีเพียงกรมจเรทหารบกกับกรมโยธาธิการ
ทหารบกทีถ่ กู ยุบลง นอกจากนี้ได้มกี ารตัง้ กรมยุทธการทหารบกขึน้ เป็ นกรมหนึ่งในกองทัพบก

2.1.3 การยุบกรมที่ เกี่ ยวกับราชการทหารทัวไป



กรมใหญ่ทร่ี บั ผิดชอบราชการทหารทัวไปและงานธุ
่ รการมี 2 กรม คือ กรมปลัดกลาโหม
และกรมปลัดบัญชีกลาโหม แต่มเี พียงกรมปลัดกลาโหมทีม่ กี รมน้อยในบังคับบัญชารวม 4 กรม
ได้แก่ กรมเสมียนตรา กรมสัสดี กรมพระธรรมนูญทหาร และกรมแพทย์สุขาภิบาล ซึ่งในการ
ปรับโครงสร้างได้ปรับเปลี่ยนกรมปลัดกลาโหมเป็ นกองบังคับการกระทรวงกลาโหม ส่วน
กรมปลัดบัญชีกลาโหมถูกลดฐานะลงเป็ นกรมหนึ่งในกองบังคับการกระทรวงกลาโหม ทําให้
กองบังคับการกระทรวง กลาโหมมีกรมในบังคับบัญชา 5 กรม ได้แก่ กรมเสมียนตรา กรมสัสดี

8
ภาวดี มหาขันธ์, “การปฏิรูปการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ห วั ,”
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2519),
194-198.
9 สุดใจ พูลทรัพย์, “วิชายุทธวิธ ี การจัดและการบังคับบัญชากองทหารขนาดใหญ่,” ยุทธโกษ 47, ฉ. 10

(2482): 156.
70
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

กรมพระธรรมนูญ กรมแพทย์สุขาภิบาล และกรมปลัดบัญชี มีปลัดทูลฉลองเป็ นผูบ้ งั คับบัญชา


และทําหน้าทีเ่ ป็ นผูช้ ว่ ยเสนาบดีกระทรวงกลาโหม

2.1.4 การยุบกองพลและกรมทหาร
โครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2474 ได้จดั กําลังหน่ วยรบผสมออกเป็ น 2 กองทัพ คือ
กองทัพที่ 1 กับกองทัพที่ 2 มีกําลังรบรวมกันจํานวน 4 กองพล 10 (16 กรมทหาร 30 กองพัน
ทหาร) ในการปรับโครงสร้างกองทัพบกของคณะราษฎรได้ยุบหน่ วยทหารระดับกองพลและ
กรมทหารทัง้ หมด รวมทัง้ รวมกองทัพที่ 1 กับกองทัพที่ 2 เป็ นกองทัพเดียวคือ กองทัพบก ทําให้
โครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2475 มีหน่วยรบสูงสุดคือระดับกองพันทหาร (อธิบายในหัวข้อ 2.2)

10 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ม-ร.7.รล/1 เรือ่ ง เบ็ดเสร็จกรมราชเลขานุ การ (2474).

71
แผนภาพที่ 2 โครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475 ตามพระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. 2475 11

72
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

11 ผูเ้ ขียนรวบรวมจาก “พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. 2475,”


Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

ตารางที่ 1
เปรียบเทียบโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2474 กับโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475 (ไม่รวม
ส่วนของกองทัพเรือ) 12
โครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2474 โครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475
1. กรมปลัดกลาโหม 1. กองบังคับการกระทรวงกลาโหม
1.1 กรมเสมียนตรา 1.1 กรมเสมียนตรา
1.2 กรมสัสดี 1.2 กรมสัสดี
1.3 กรมพระธรรมนูญทหาร 1.3 กรมพระธรรมนูญ
1.4 กรมแพทย์สขุ าภิบาล 1.4 กรมแพทย์สขุ าภิบาล
2. กรมปลัดบัญชี 1.5 กรมปลัดบัญชี
3. กรมอากาศยาน 2. กองทัพบก
4. กรมราชองครักษ์ 2.1 หน่วยทางฝา่ ยรบ
5. กรมเสนาธิ การทหารบก 2.1.1 กรมยุทธการทหารบก
5.1 กรมจเรทหารบก 2.1.2 กรมยุทธศึกษาทหารบก
5.2 กรมยุทธศึกษาทหารบก 2.1.3 กรมอากาศยาน
5.3 กรมแผนทีท่ หาร 2.1.4 เหล่าทหารราบ
6. กรมพลาธิ การทหารบก 2.1.5 เหล่าทหารปื นใหญ่
6.1 กรมช่างแสงทหารบก 2.1.6 เหล่าทหารม้า
6.2 กรมยกกระบัตรทหารบก 2.1.7 เหล่าทหารช่างและสือ่ สาร
6.3 กรมยุทธโยธาทหารบก 2.2 หน่วยทางฝา่ ยธุรการ
7. กองทัพบก 2.2.1 กรมยกกระบัตรทหารบก
7.1 กองทัพที่ 1 (กรุงเทพฯ) 2.2.2 กรมช่างแสงทหารบก
7.1.1 กองพลที่ 1 (กรุงเทพฯ) 2.2.3 กรมแผนที่
7.1.2 กองพลที่ 2 (ปราจีนบุร)ี 2.3 หน่วยทางฝา่ ยจังหวัดทหารบก
7.2 กองทัพที่ 2 (อยุธยา) 2.3.1 จังหวัดทหารบกกรุงเทพ
7.2.1 กองพลที่ 3 (นครราชสีมา) 2.3.2 จังหวัดทหารบกอยุธยา
7.2.2 กองพลที่ 4 (นครสวรรค์) 2.3.3 จังหวัดทหารบกปราจีนบุร ี
2.3.4 จังหวัดทหารบกนครสวรรค์
2.3.5 จังหวัดทหารบกนครราชสีมา

12 ผูเ้ ขียนรวบรวมจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.7 ก.1/9 เรือ่ ง ทําเนียบย่อ พ.ศ. 2474 อ้างถึงใน
ธํารงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์, “รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476.” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะ
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534), 162.; พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร
พ.ศ. 2475 .
73
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

ข้อสังเกตประการหนึ่งภายหลังการปรับปรุงกองทัพของคณะราษฎรคือโครงสร้า ง
กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475 มีลกั ษณะคล้ายโครงสร้างกระทรวงยุทธนาธิการในรัชสมัยพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั คือ เสนาบดีกระทรวงไม่มอี ํานาจบังคับบัญชาฝา่ ยกําลังรบ
ของกรมทหารบกและกรมทหารเรือ เนื่องจากการบังคับบัญชาอยูใ่ นอํานาจของสมเด็จพระบรม
โอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั 13 และการทีโ่ ครงสร้างกระทรวง
กลาโหม พ.ศ. 2475 มีรปู แบบคล้ายโครงสร้างกระทรวงยุทธนาธิการ น่ าจะมาจากเหตุผลสําคัญ
2 ประการ คือ
ประการแรก สถานการณ์การเมืองภายใน กรมยุทธนาธิการถูกยกฐานะขึน้ เป็ นกระทรวง
ยุทธนาธิการเมื่อ พ.ศ. 2433 โดยส่วนหนึ่งเป็ นผลจากการปราบฮ่อครัง้ ที่ 4 ทําให้ต้องขยาย
กิจการทหารเพื่อเตรียมพร้อมในการปราบจลาจลภายในประเทศ ซึง่ เป็ นปญั หาความมันคงหลั ่ ก
ของรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในขณะนัน้ แต่การขยายกิจการทหารถูกจํากัดอยู่เฉพาะ
ในพืน้ ที่กรุงเทพฯ ส่วนพืน้ ที่หวั เมืองยังไม่มกี ารตัง้ หน่ วยทหาร เนื่องจากปญั หาขาดแคลน
งบประมาณ 14 ซึ่งเมื่อพิจารณาสถานการณ์ช่วงแรก ๆ หลังการปฏิวตั สิ ยาม จะพบว่ามีบริบท
ทางการเมืองทีค่ ล้ายกันคือปญั หาการเมืองภายในทีเ่ ป็ นผลจากการตัง้ รัฐบาลระบอบใหม่ ทําให้
คณะราษฎรต้องรีบปรับปรุงกองทัพเพื่อเข้ายึดกุมอํานาจทางทหารโดยเฉพาะกําลังทหารใน
กรุงเทพฯ ซึง่ โครงสร้างแบบกระทรวงยุทธนาธิการเป็ นรูปแบบทีเ่ อือ้ ให้ผนู้ ําคณะราษฎรสามารถ
ควบคุมกําลังทหารหลักของกองทัพบก เนื่องจากเป็ นโครงสร้างทีอ่ อกแบบมาเพือ่ ควบคุมทหาร
ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ
ประการทีส่ อง สถานะกองทัพ ตามทีก่ ล่าวมาแล้วข้างต้นว่ากระทรวงยุทธนาธิการ
ถูกยกฐานะเป็ นกระทรวงนัน้ มีวตั ถุประสงค์สาํ คัญในการเตรียมความพร้อมด้านการรักษา
ความมันคงภายในประเทศหลั
่ ก เนื่องจากช่วงก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ภัยคุกคามจากภายนอก
ประเทศยังไม่รุนแรงหรือมีความเสีย่ งมากนัก อีกทัง้ รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยงั ขาดแคลน
งบประมาณในการบํารุงกิจ การทหาร ทําให้การจัดกํา ลังทหารกระจุก ตัวอยู่เฉพาะในพื้น ที่
กรุงเทพฯ ซึ่งในการจัดกองทัพช่วงปลายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฐบาลพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หวั ได้จดั กําลังทหารส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน แม้ว่า
เหตุผลส่วนหนึ่งจะมาจากปญั หาเศรษฐกิจตกตํ่าทําให้ตอ้ งยุบกําลังทหารหัวเมืองบางส่วนเพื่อ
รักษากําลังทหารในกรุงเทพฯ ไว้ แต่ด้วยรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ได้ถูกคุกคามจาก

13กรมเสนาธิการทหารบก, เอกสารประวัตศิ าสตร์ พระราชบัญญัต-ิ ข้อบังคับ-คําสั ่งทีส่ าํ คัญ พ.ศ.


2430-2433 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2515), 107-113.
14 ภาวดี มหาขันธ์, “การปฏิรป
ู การทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ,” 151.
74
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

ประเทศเจ้าอาณานิคมนับแต่ช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 1 เป็ นต้นมา ทําให้สามารถทีจ่ ะยุบ


กําลังทหารในพืน้ ทีห่ วั เมืองได้โดยไม่ตอ้ งกังวลกับการถูกรุกราน 15
จากเหตุผ ล 2 ประการที่ก ล่า วมาข้า งต้น พอจะสรุป ได้ว่า การที่ค ณะราษฎรปรับ
โครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475 ให้มรี ูปแบบคล้ายโครงสร้างกระทรวงยุทธนาธิการ
เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงกองทัพในช่วงเวลาทัง้ สองมีลกั ษณะคล้ายกันคือ เพื่อ
แก้ไ ขป ญั หาการเมือ งภายในซึ่ง เป็ น ป ญั หาความมั ่นคงหลัก ในการปรับ ปรุงกองทัพจึง ให้
ความสํา คัญ กับ การสร้า งความเข้ม แข็ง ให้ก บั กํา ลัง ทหารในกรุง เทพฯ นอกจากนี้ก ารปรับ
โครงสร้างที่คล้ายกับโครงสร้างกระทรวงยุทธนาธิการยังเอื้อให้ผู้นําคณะราษฎรที่มขี อ้ จํากัด
ด้านสถานะบุคคลสามารถเข้าควบคุมอํานาจในกองทัพได้ (อธิบายในหัวข้อ 2.2)

15
พิมพ์พลอย ปากเพรียว, “การปฏิวตั สิ ยาม 2475 ในทัศนะของพันโทอองรี รูซ์,” (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553), 103.
75
แผนภาพที่ 3 โครงสร้างกระทรวงยุทธนาธิการ พ.ศ. 2433 16

76
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

16 กรมเสนาธิการทหารบก. เอกสารประวัตศ
ิ าสตร์ พระราชบัญญัต-ิ ข้อบังคับ-คําสังที
่ ส่ าํ คัญ พ.ศ. 2430-2433 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2515),
107-113.
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

ผลกระทบภายหลังการปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475 ทําให้มกี ารยุบ


กรมใหญ่ท่สี าํ คัญ 2 กรม อย่างกรมเสนาธิการทหารบกกับกรมพลาธิการทหารบก และยุบ
หน่วยทหารระดับกองพลและกรมทหารทัง้ หมดในโครงสร้างกองทัพบก ส่วนสายการบังคับบัญชา
ในกระทรวงกลาโหมถูกแบ่งใหม่เป็ น 3 ส่วน คือ กองบังคับการกระทรวงกลาโหม กองทัพบก
และกรมทหารเรือ ซึ่งแต่ละส่วนต่างมีผู้บงั คับบัญชาสูงสุดไม่ขน้ึ ต่อกันคือ เสนาบดีกระทรวง
กลาโหม ผูบ้ ญั ชาการทหารบก และผูบ้ ญ ั ชาการทหารเรือ 17 จะเห็นว่าเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ถูกปรับเปลีย่ นอํานาจหน้าทีใ่ หม่ ให้รบั ผิดชอบเฉพาะราชการด้านธุรการและกิจการทหาร
ทัวไป
่ 18 นอกจากนี้ผลกระทบที่สําคัญอย่างหนึ่งจากการลดขนาดกองทัพคือทําให้นายทหาร
ระดับสูงยศพลตรีขน้ึ ไปถูกปลดประจําการออกจากกองทัพเกือบทัง้ หมด 19
ตารางที่ 2
นายทหารระดับสูง ในกระทรวงกลาโหมและกองทัพบกทีถ่ ูก ปลดออกจากราชการในช่ว งเดือ นมิถุน ายน-
สิงหาคม พ.ศ. 2475 20
พระนาม/ชื่อนายทหาร ตําแหน่ ง สังกัด
พล.ร.อ.กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสนาบดีกระทรวงกลาโหม กระทรวงกลาโหม
พล.ท.พระองค์เจ้าอลงกฎ รองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม กระทรวงกลาโหม
พล.ท.หม่อมเจ้าเสรฐศิร ิ กฤดากร พลาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม
พล.ท.พระยาสีหราชเดโชไชย เสนาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม
พล.ท.พระยาเฉลิมอากาศ เจ้ากรมอากาศยาน กระทรวงกลาโหม
พล.ท.พระยาสีหราชฤทธิไกร แม่ทพั ที่ 2 กองทัพที่ 2
พล.ต.พระยาสุรเสนา ยกกระบัตรทหารบก กระทรวงกลาโหม
พล.ต.พระยาจินดาจักรรัตน์ เจ้ากรมช่างแสงทหารบก กระทรวงกลาโหม
พล.ต.หม่อมเจ้านิลประภัศร เกษมศรี เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก กระทรวงกลาโหม
พล.ต.หม่อมเจ้าฉัตรมงคล โสณกุล จเรทหารบก กระทรวงกลาโหม
พล.ต.พระยาศัลวิธานนิเทศ เจ้ากรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม
พล.ต.พระยาพิไชยสงคราม แม่ทพั ที่ 1 กองทัพที่ 1
พล.ต.พระยาเสนาสงคราม ผูบ้ ญ
ั ชาการกองพลที่ 1 กองทัพที่ 1
พล.ต.หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ ผูบ้ ญั ชาการกองพลที่ 2 กองทัพที่ 1
พล.ต.พระยาอานุ ภาพไตรภพ ผูบ้ ญ ั ชาการกองพลที่ 3 กองทัพที่ 2
พล.ต.พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ ์ ผูบ้ ญ ั ชาการกองพลที่ 4 กองทัพที่ 2

17 พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร, 2475.


18 พระบรมราชโองการ ประกาศกําหนดหน้าทีเ่ สนาบดีและตัง้ คณะกรรมการกลางกลาโหม พ.ศ. 2475.
19 ประกาศกระทรวงกลาโหม เรือ่ ง นายทหารออกจากประจําการ, 2475.
20 เรือ
่ งเดียวกัน
77
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

2.2 การควบคุมอํานาจกองทัพบกเพื่อสร้างกองทัพคณะราษฎร
ตามทีก่ ล่าวมาแล้วในหัวข้อ 2.1 ในการปรับปรุงกองทัพของคณะราษฎรภายหลังการ
ปฏิวตั สิ ยามมีวตั ถุประสงค์สาํ คัญ 3 ประการ คือ ผูน้ ําคณะราษฎรสายทหารบกสามารถดํารง
ตําแหน่ งผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงในกองทัพด้วยชัน้ ยศเดิม ลดอํานาจและบทบาทของเสนาบดี
กระทรวงกลาโหมในด้านบริหารและการบังคับบัญชา และปลดนายทหารระดับสูงออกจากกองทัพ
ซึ่งคณะราษฎรได้ใช้การปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหมและกองทัพบกเพื่อลดขนาดกองทัพ
ให้เล็กลง ทําให้มกี ารยุบกรมใหญ่ในกระทรวงกลาโหมและยุบหน่ วยทหารระดับกองพลและ
กรมทหารในกองทัพ บก ส่ง ผลให้น ายทหารระดับ สูง ยศนายพลเกือ บทัง้ หมดต้อ งถูก ปลด
ประจําการจากการทีไ่ ม่มตี าํ แหน่งในโครงสร้างใหม่ของทัง้ กระทรวงกลาโหมและกองทัพบก
ในส่วนของกองทัพบกซึง่ เป็ นกําลังทหารหลักของกองทัพไทย และเป็ นเป้าหมายของ
คณะราษฎรในการเข้าควบคุมอํานาจในกองทัพ แต่ดว้ ยข้อจํากัดของผูน้ ําคณะราษฎรที่เป็ น
นายทหารระดับกลางมียศเพียงพันเอก ไม่สามารถดํารงตําแหน่ งผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงตาม
โครงสร้างกองทัพบกแบบเดิมได้ ไม่วา่ จะเป็ นตําแหน่งแม่ทพั (ยศพลโท) หรือตําแหน่งผูบ้ ญ ั ชาการ
กองพล (ยศพลตรี) ด้วยเหตุน้ีการทีผ่ นู้ ําคณะราษฎรสายทหารบกจะสามารถเป็ นผูบ้ งั คับบัญชา
สูงสุดในกองทัพบกได้นนั ้ จําเป็ นจะต้องปรับโครงสร้างกองทัพบกใหม่ให้มขี นาดเหมาะสมกับ
การบังคับบัญชาของนายทหารยศพันเอก ซึง่ ตามโครงสร้างกองทัพบกแบบเดิมในสมัยระบอบเก่า
นายทหารยศพันเอกดํารงตําแหน่งสูงสุดคือผูบ้ งั คับการกรมทหารหรือรองเจ้ากรมน้อย 21
เมื่อได้ยุบหน่วยทหารและตําแหน่งทีเ่ คยมีในโครงสร้างกองทัพบกสมัยระบอบเก่า ซึง่
ผูน้ ําคณะราษฎรสายทหารบกไม่สามารถบังคับบัญชาและดํารงตําแหน่งนัน้ ได้ ดังนัน้ คณะราษฎร
จึงได้ตงั ้ ตําแหน่งผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงขึน้ ใหม่ เพือ่ ให้เหมาะสมกับโครงสร้างและสายการบังคับ
บัญชาใหม่ของกองทัพบก และทีส่ าํ คัญสามารถคุมกําลังทหารส่วนใหญ่ของกองทัพบกทีต่ งั ้ ใน
กรุงเทพฯ เพือ่ เป็ นกําลังสําคัญในการป้องกันการทํารัฐประหารซ้อน

2.2.1 การควบคุมกําลังทหารในกรุงเทพฯ
การที่คณะราษฎรสายทหารบกเป็ นนายทหารระดับกลางในกองทัพ ประกอบด้วย
นายทหาร 34 นาย เป็ นยศพันเอก 3 นาย ยศพันโท 1 นาย ยศพันตรี 4 นาย ยศร้อยเอก 12 นาย
ยศร้อยโท 10 นาย ยศร้อยตรี 3 นาย และยศนายดาบ 1 นาย 22 ย่อมไม่สามารถทีจ่ ะควบคุมและ
บังคับบัญชากําลังทหารทัง้ หมดในกองทัพบกได้ แม้จะมีการปรับโครงสร้างกองทัพบกใหม่และ
ลดขนาดกองทัพบกให้เล็กลง อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายการจัดกําลังทหารสมัยสมบูรณาญา-

21 แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรือ่ ง เลือ่ นย้ายและปลดนายทหารกับตัง้ ราชองครักษ์เวร พ.ศ. 2474.


22 ธํารงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์, “รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476,” 382.
78
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

สิทธิราชย์ทใ่ี ห้ความสําคัญกับการปกป้องเมืองหลวง ทําให้กําลังทหารส่วนใหญ่ของกองทัพบก


ตัง้ กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ม-ร.7.รล/1 เรื่อง เบ็ดเสร็จกรมราช-
เลขานุ การ, 2474) ด้วยเหตุน้ีการควบคุมกําลังทหารของคณะราษฎรจึงมีเป้าหมายอยู่ท่กี ําลัง
ทหารที่ตงั ้ อยู่ในกรุงเทพฯ เท่านัน้ ภายหลังการปรับ โครงสร้า งและลดขนาดกองทัพ บกให้
เล็ก ลงด้ว ยการยุบ หน่ ว ยทหารระดับ กองพลและกรมทหารทัง้ หมด ส่ง ผลให้โ ครงสร้า ง
กองทัพบก พ.ศ. 2475 มีหน่ วยทหารระดับสูงสุด คือ กองพันทหาร และมีจํานวนทัง้ สิน้ 34
กองพัน โดย มีกําลังทหารตัง้ อยูใ่ นกรุงเทพฯ มากทีส่ ดุ จํานวน 13 กองพัน แบ่งเป็ นทหารราบ
8 กองพัน ทหารปืนใหญ่ 2 กองพัน ทหารม้า 1 กองพัน และทหารสือ่ สาร 2 กองพัน 23

ตารางที่ 3
จํานวนกองพันในโครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2475 24
จํานวนหน่ วยทหาร (กองพัน)
ร้อยละ
จังหวัด ทหาร ทหาร ทหาร ทหาร ทหาร รวม
(%)
ราบ ปืนใหญ่ ม้า ช่าง สือ่ สาร
กรุงเทพฯ 8 2 1 - 2 13 38
อยุธยา - - - 2 - 2 6
สระบุร ี - - 1 - - 1 3
ราชบุร ี - 1 - - - 1 3
เพชรบุร ี 1 - - - - 1 3
ปราจีนบุร ี 1 1 1 - - 3 9
นครราชสีมา 2 2 1 - - 5 14
อุบลราชธานี 1 - - - - 1 3
อุดรธานี 1 - - - - 1 3
นครสวรรค์ 1 2 - - - 3 9
พิษณุโลก 1 - - - - 1 3
ลําปาง 1 - - - - 1 3
เชียงใหม่ 1 - - - - 1 3

23 กระทรวงกลาโหม, ทําเนียบทหาร ตอน 1 (พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที.่ 2475), 52-102.


24 เรือ
่ งเดียวกัน, 52-102.
79
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

ตามทีก่ ล่าวมาแล้วข้างต้นว่าเป้าหมายในการควบคุมกําลังทหารของคณะราษฎร คือ


หน่วยทหารบกทีต่ งั ้ ในกรุงเทพฯ จํานวน 13 กองพันเท่านัน้ ทําให้ในการปรับโครงสร้างกองทัพบก
จะต้องออกแบบโครงสร้างและสายการบังคับบัญชาที่ทําให้คณะราษฎรสามารถควบคุมกําลัง
ทหารในกรุงเทพฯ ได้อย่างรัดกุม เพื่อทีจ่ ะป้องกันการทํารัฐประหารซ้อนจากฝา่ ยตรงข้ามหรือ
กลุ่มอํานาจเก่า จากทีก่ ล่าวมาแล้วในหัวข้อ 2.1 พันเอกพระยาทรงสุรเดชผูร้ บั ผิดชอบหลักใน
การปรับโครงสร้างกองทัพ ได้ปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหมให้มรี ปู แบบคล้ายกับโครงสร้าง
กระทรวงยุท ธนาธิก ารในรัช สมัย พระบาทสมเด็จ พระจุล จอมเกล้า เจ้า อยู่ห วั ช่ว งก่อ นเกิด
วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ที่ขณะนัน้ การดําเนินกิจการทหารยังจํากัดอยู่เฉพาะในพืน้ ที่กรุงเทพฯ
ดังนัน้ เมื่อมีการปรับโครงสร้างกองทัพบกแบบใหม่ขน้ึ สิง่ ทีจ่ ะต้องเปลีย่ นแปลงตามไปด้วยคือ
ตําแหน่ งผู้บงั คับบัญชาและสายการบังคับบัญชาที่ต้องเหมาะสมกับผู้บงั คับบัญชาสูงสุดของ
กองทัพบกทีม่ ยี ศพันเอก
1) การตัง้ ตําแหน่งผูบ้ งั คับบัญชาใหม่ โครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2475 ได้ยุบรวม
กองทัพที่ 1 กับกองทัพที่ 2 เป็ นกองทัพบก แล้วยุบหน่ วยทหารระดับกองพลและกรมทหาร
ทัง้ หมดให้เหลือหน่วยทหารสูงสุดเพียงระดับกองพัน ส่งผลให้ตําแหน่ งแม่ทพั ผูบ้ ญ ั ชาการ
กองพล และผูบ้ งั คับการกรมถูกยุบตามไปด้วย ดังนัน้ จึงต้องมีการตัง้ ตําแหน่ งผูบ้ งั คับบัญชา
ระดับสูงในกองทัพบกขึน้ ใหม่ทไ่ี ม่เคยมีในโครงสร้างกระทรวงกลาโหม และเหมาะสมกับขนาด
ของกองทัพบกทีเ่ ล็กลง คณะราษฎรจึงได้รอ้ื ฟื้นตําแหน่ง “ผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก” ให้เป็ นตําแหน่ง
ผูบ้ งั คับบัญชาสูงสุดของกองทัพบก ซึ่งผูบ้ ญ
25 ั ชาการทหารบกเคยเป็ นตําแหน่ งผูบ้ งั คับบัญชา
สูงสุดของกรมทหารบกในโครงสร้างกระทรวงยุทธนาธิการ26 แต่ต่อมาถูกยุบตําแหน่ งจากการ
ขยายโครงสร้างกองทัพบกออกเป็ นหลายกองทัพกระจายตามพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ช่วงหลัง
วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 27 นอกจากนี้ได้มกี ารตัง้ ตําแหน่งผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงอีกหลายตําแหน่ง
ั ชาการทหารบก 3 ฝา่ ย (ยุทธการ ธุรการ และจังหวัดทหารบก) ผูบ้ งั คับทหาร
ได้แก่ ผูช้ ่วยผูบ้ ญ
4 เหล่า (ทหารราบ ทหารม้า ทหารปื นใหญ่ และทหารช่างและสื่อสาร) และผูบ้ งั คับการจังหวัด
ทหารบก 28

25 พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร, 2475.


26 กรมเสนาธิการทหารบก, เอกสารประวัตศ
ิ าสตร์ พระราชบัญญัต-ิ ข้อบังคับ-คําสังที
่ ส่ าํ คัญ พ.ศ. 2430-
2433 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2515), 107-113.
ู การทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ,” 194-198.
27 ภาวดี มหาขันธ์, “การปฏิรป
28 พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. 2475.

80
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

ั ชาการทหารบกคนแรกหลังการปฏิวตั สิ ยาม 2475 29


แผนภาพที่ 4 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผูบ้ ญ

2) การเปลี่ยนแปลงสายการบังคับบัญชาใหม่ โครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2475 มี


หน่ วยราชการภายในที่แตกต่างจากโครงสร้างกองทัพบกในสมัยระบอบเก่า คือมีกรมฝ่าย
อํานวยการรบและกรมฝ่ายสนับสนุ นการรบอยู่ในโครงสร้างกองทัพบก จากที่ก่อนหน้านัน้
โครงสร้างกองทัพบกมีเพียงหน่วยทหารฝา่ ยรบเท่านัน้ ซึง่ เป็ นผลจากการปรับโครงสร้างกระทรวง
กลาโหมของคณะราษฎรเพื่อลดอํานาจและบทบาทของเสนาบดีกระทรวงกลาโหม โดยการยุบ
กรมใหญ่ทหารบก คือ กรมเสนาธิการทหารบกและกรมพลาธิการทหารบก แล้วโอนกรมน้อย
ทหารบกทีไ่ ม่ถกู ยุบตามกรมใหญ่ทหารบกให้มาอยูใ่ นโครงสร้างกองทัพบก (ดูตารางที่ 1)
โครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2475 ประกอบด้วยหน่ วยทหาร 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรบ
ฝา่ ยธุรการ และฝา่ ยจังหวัดทหารบก ส่วนการบังคับบัญชากําหนดให้ผูบ้ งั คับบัญชาสูงสุดของ
หน่วยทหารต่างๆ ทีอ่ ยูใ่ นแต่ละฝา่ ยอยูภ่ ายใต้การบังคับบัญชาโดยตรงของผูบ้ ญ
ั ชาการทหารบก
นอกจากนี้การที่ผู้บญั ชาการทหารบกต้องรับผิดชอบราชการทัง้ ฝ่ายรบและฝ่ายอํานวยการ/
สนับสนุ นการรบเช่นเดียวกับเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในสมัยระบอบเก่า จึงจําเป็ นต้องมี
นายทหารทําหน้าทีเ่ ป็ นคณะทีป่ รึกษาหรือเสนาธิการเพื่อช่วยเหลือราชการแก่ผูบ้ ญ ั ชาการ
ั ชาการทหารบก 3 ฝาย คือ ฝายยุทธการ ฝา่ ยธุรการ
ทหารบก และได้มกี ารตัง้ ตําแหน่งผูช้ ว่ ยผูบ้ ญ ่ ่
และฝา่ ยจังหวัดทหารบก 30 โดยมีพนั เอกพระยาทรงสุรเดช หนึ่งในผูน้ ําคณะราษฎรสายทหารบก
และผู้รบั ผิดชอบหลักในการปรับปรุงกองทัพ ดํารงตําแหน่ งผู้ช่วยผู้บญ ั ชาการทหารบกและ
เจ้ากรมยุทธการทหารบก 31

29 ไพบูลย์ กาญจนพิบล
ู ย์, 111 ปี ฯพณฯ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา "เชษฐบุรษุ " 29 มีนาคม
2541 (กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. 2542), 33.
30 พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. 2475.
31 แจ้งความประธานคณะกรรมการราษฎร ย้ายและบรรจุนายทหาร พ.ศ. 2475.

81
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

แผนภาพที่ 5 พันเอกพระยาทรงสุรเดช ผูร้ บั ผิดชอบหลักในการปรับปรุงกองทัพของคณะราษฎร


ั ชาการทหารบกฝา่ ยยุทธการและเจ้ากรมยุทธการทหารบก 32
ดํารงตําแหน่งผูช้ ว่ ยผูบ้ ญ

32 สํานักงานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร, สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา 2475-2502 (ม.ป.พ., 2502), ไม่ม ี

เลขหน้า.
82
แผนภาพที่ 4 โครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2474 33

83
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

33 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.7 ก.1/9 เรือ่ ง ทําเนียบย่อ พ.ศ. 2474 อ้างถึงใน ธํารงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์, เรือ่ งเดียวกัน.
แผนภาพที่ 5 โครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2475 34

84
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

34 พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. 2475.


Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

2.2.2 การป้ องกันการเกิ ดปฎิ วตั ิ ซ้อน


โครงสร้างกองทัพบกในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้แบ่งกําลังทหารเป็ นกองทัพและ
กองพลกระจายออกไปตัง้ ตามพืน้ ทีม่ ณฑลต่างๆ เพื่อเป็ นหน่วยทหารประจํามณฑลตามการปฏิรปู
การปกครองทีร่ วมศูนย์อํานาจเข้าสูร่ ฐั บาลหรือส่วนกลาง เมื่อมีจาํ นวนหน่วยทหารเพิม่ มากขึน้
ในมณฑลต่างๆ ทําให้การปกครองบังคับบัญชาหน่ วยทหารในมณฑลถูกกําหนดให้หน่วยย่อย
ต่าง ๆ (กรมทหารและกองพัน) ขึน้ ตรงต่อหน่ วยใหญ่ (กองพลและกองทัพ) เรียกเป็ นมณฑล
ทหารบก (สํานักงานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร รายงานการประชุมสภาผูแ้ ทนราษฎร ครัง้ ที่ 26,
2476) ส่วนการปกครองและบังคับบัญชาหน่ วยทหารประจํามณฑลในเวลาปกตินัน้ ให้แม่ทพั
หรือผูบ้ ญั ชาการกองพลทําหน้าทีเ่ ป็ นผูบ้ ญ
ั ชาการมณฑลทหารบก 35
การปรับโครงสร้างกองทัพบก พ.ศ. 2475 ได้ยุบกองทัพรวมเป็ นเป็ นกองทัพเดียวคือ
กองทัพบก และยุบหน่ วยทหารระดับกองพลและกรมทหารทัง้ หมด ทําให้ตําแหน่ งแม่ทพั และ
ผูบ้ ญ
ั ชากองพลต้องถูกยุบตามไปด้วย เมื่อทัง้ 2 ตําแหน่ งดังกล่าวถูกยุบแล้วย่อมส่งผลให้
ตําแหน่ งผูบ้ ญั ชาการมณฑลและมณฑลทหารบกต้องถูกยุบด้วย ซึ่งคณะราษฎรได้เปลีย่ นเขต
กิจการท้องที่ทหารบกแบบมณฑลทหารบกเป็ น “จังหวัดทหารบก” ซึ่งความแตกต่างระหว่าง
มณฑลทหารบกกับจังหวัดทหารบกคือ มณฑลทหารบกมีเขตครอบคลุมพืน้ ทีห่ ลายจังหวัดทีม่ ี
หน่ วยทหารตัง้ อยู่ ส่วนจังหวัดทหารบกมีเขตครอบคลุมพืน้ ที่เพียงจังหวัดเดียว จังหวัดใดที่ม ี
หน่ วยทหารตัง้ อยู่หลายหน่ วยเป็ นจังหวัดใหญ่ จังหวัดใดมีหน่ วยทหารตัง้ อยู่หน่ วยเดียวเป็ น
จังหวัดน้อย สําหรับหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบนัน้ ผูบ้ ญ
ั ชาการมณฑลทหารบกมีอํานาจปกครอง
และสังการโดยตรงต่
่ อหน่วยทหารทัง้ หมดในมณฑลทหารบก ส่วนผูบ้ งั คับการจังหวัดทหารบก
ทําหน้าทีด่ แู ลและรับผิดชอบงานธุรการต่างๆ ทัง้ หมดในจังหวัดทหารบก 36 แต่ไม่มอี าํ นาจสังการ

โดยตรงต่อหน่วยทหารในจังหวัดทหารบก เนื่องจากอํานาจสังการโดยตรงต่
่ อหน่วยทหารทัง้ หมด
ในกองทัพบก เป็ นอํานาจของผูบ้ ญ ั ชาการทหารบกเพียงผูเ้ ดียว 37

จะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเขตกิจการท้องที่ทหารบกจากมณฑลทหารบกไปเป็ น
จังหวัดทหารบก และการรวมศูนย์อํานาจสั ่งการหน่ วยทหารทัง้ หมดทีต่ งั ้ ในจังหวัดทหารบก
ให้อยูใ่ นอํานาจของผูบ้ ญั ชาการทหารบก ถือเป็ นปจั จัยสําคัญในการป้องกันการรวมกําลังทหาร

35 สํานักงานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร, รายงานการประชุมสภาผูแ้ ทนราษฎร ครัง้ ที ่ 10, วันที่ 22

กรกฎาคม 2475
36 พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร, 2475.
37 เผ่า ศรียานนท์, “เหตุการณ์ก่อนเปลีย
่ นแปลงการปกครองและการชิงอํานาจระหว่างผูก้ ่อการ,” ใน
เบื้องแรกประชาธิปไตย: บันทึกความทรงจําของผูอ้ ยู่ในเหตุการณ์สมัย พ.ศ. 2475-2500 (กรุงเทพฯ: มิตรนภา
การพิมพ์, 2516), 206.
85
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

ของฝ่ายต่อต้านคณะราษฎรในการทํารัฐประหารซ้อน เนื่องจากที่ตงั ้ ของหน่ วยทหาร ในพืน้


หัวเมืองมีลกั ษณะกระจายตัวและผูบ้ งั คับบัญชาของหน่ วยไม่ว่าจะเป็ นผูบ้ งั คับการจังหวัดทหารบก
หรือผูบ้ งั คับกองพันไม่มอี ํานาจสังการเคลื
่ ่อนย้ายกําลังทหารในหน่ วย ซึ่งแตกต่างจากหน่ วย
ทหารในกรุงเทพฯ ทีต่ งั ้ กระจุกตัวใกล้ชดิ กันและอยูใ่ กล้ชดิ ผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงของกองทัพบก
ทํา ให้กํา ลัง ทหารในกรุงเทพฯ มีค วามเป็ น ปึ ก แผ่น มากกว่า กํา ลัง ทหารในหัวเมือง จากข้อ
แตกต่างดังกล่าวของหน่ วยทหารในกรุงเทพฯ กับหน่ วยทหารในหัวเมือง กลายเป็ นปจั จัย
สําคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้กองทัพคณะราษฎรสามารถเอาชนะกองทัพคณะกู้บ้านกู้เมือง
ในสงครามกลางเมืองเมือ่ ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476

แผนภาพที่ 8 แผนทีต่ งั ้ หน่ วยทหารระดับกองพันในจังหวัดทหารบกทัวประเทศ


่ พ.ศ. 2475 38

38
ผูเ้ ขียนรวบรวมจาก กระทรวงกลาโหม, ทําเนียบทหาร ตอน 1 (พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที,่
2475), 52-102.

86
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

3. บทสรุป

สถานะของผู้นําคณะราษฎรสายทหารบกเป็ นโจทย์สําคัญในการปรับปรุงกองทัพ
ภายหลังการปฏิวตั สิ ยาม ทําให้การออกแบบและปรับโครงสร้างกระทรวงกลาโหมดําเนินไป
เพือ่ บรรลุวตั ถุประสงค์สาํ คัญ 3 ประการ ได้แก่
1) ผูน้ ํ าคณะราษฎรสายทหารบกสามารถกุมอํานาจในกองทัพและดํารงตําแหน่ ง
ผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงของกองทัพบกด้วยชัน้ ยศเดิมคือพันเอก
2) ลดอํานาจและบทบาทของเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
3) ขจัดกลุม่ อํานาจเก่าและปลดนายทหารระดับสูงออกจากกองทัพ
ในการปรับปรุงกองทัพของคณะราษฎรเพื่อให้บรรลุวตั ถุประสงค์ทงั ้ 3 ประการนัน้
คณะราษฎรได้ดาํ เนินการปรับโครงสร้างเพือ่ ลดขนาดกองทัพให้เล็กลง โดยการยุบหน่วยทหาร
หลักและตําแหน่ งผูบ้ งั คับบัญชาระดับสูงในโครงสร้างกองทัพแบบเดิม ซึ่งคณะราษฎรได้ปรับ
โครงสร้างกระทรวงกลาโหมให้มลี กั ษณะคล้ายกับกระทรวงยุทธนาธิการในช่วงต้นรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ทีม่ ุ่งเน้นการควบคุมและจัดกําลังทหารในกรุงเทพฯ
เป็ นหลัก ซึ่งตรงกับความต้องการของคณะราษฎรที่ต้องการควบคุมกําลังทหารในกรุงเทพฯ
เพื่อใช้เป็ นฐานอํานาจทางการเมืองและเป็ นกําลังทหารในการป้องกันการทํารัฐประหารซ้อน
จากฝา่ ยปรปกั ษ์คณะราษฎร
ส่วนสายการบังคับบัญชามีการเปลีย่ นแปลงให้เหมาะสมกับโครงสร้างกองทัพบกแบบ
ใหม่ ซึ่งคณะราษฎรได้รอื้ ฟื้ นตําแหน่ ง “ผูบ้ ญ
ั ชาการทหารบก” เพื่อเป็ นผูบ้ งั คับบัญชาสูงสุด
ตําแหน่งใหม่ของกองทัพบก โดยมีพนั เอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ผูน้ ําคณะราษฎรสายทหารบก
คนสําคัญได้ดาํ รงตําแหน่ง “ผูบ้ ญ ั ชาการทหารบกคนแรก” ภายหลังการปฏิวตั สิ ยาม และตลอด
ช่วงประมาณ 1 ทศวรรษทีผ่ นู้ ําคณะราษฎรสายทหารบกครองอํานาจทางการเมือง ทําให้ตําแหน่ง
ผูบ้ ญ ั ชาการทหารบกกลายเป็ นตําแหน่งทีค่ วบคูก่ บั นายกรัฐมนตรี

87
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

รายการอ้างอิ ง

เอกสารชัน้ ต้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ม-ร.7.รล/1 เรือ่ ง เบ็ดเสร็จกรมราชเลขานุการ (2474).

หนังสือและบทความในหนังสือ
กระทรวงกลาโหม. ทําเนียบทหาร ตอน 1. พระนคร: โรงพิมพ์กรมแผนที.่ 2475.
กรมเสนาธิการทหารบก. สมุดแสดงหลักการปกครองในกองทัพบก. พระนคร: กรมเสนาธิการ
ทหารบก, 2456.
กรมเสนาธิการทหารบก. เอกสารประวัติศาสตร์ พระราชบัญญัติ-ข้อบังคับ-คําสังที ่ ส่ าํ คัญ
พ.ศ. 2430-2433. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมยุทธศึกษาทหารบก, 2515.
ประยูร ภมรมนตรี. ชีวติ 5 แผ่นดินของข้าพเจ้า. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ, 2518.
ปนั ้ บุณยเกียรติ และ เฮง เล้ากระจาย. สยามรัฐ เปลีย่ นแปลงการปกครองแผ่นดินอย่างมี
พระราชาธิบดีใต้พระธรรมนูญการปกครอง ภาค 1. พระนคร: เดลิเมล์, 2475.
เผ่า ศรียานนท์. “เหตุการณ์ก่อนเปลีย่ นแปลงการปกครองและการชิงอํานาจระหว่างผูก้ ่อการ,”
ใน เบื้องแรกประชาธิปไตย: บันทึกความทรงจําของผูอ้ ยูใ่ นเหตุการณ์สมัย พ.ศ. 2475-
2500. กรุงเทพฯ: มิตรนภาการพิมพ์, 2516.
ไพบูลย์ กาญจนพิบลู ย์. 111 ปี ฯพณฯ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา "เชษฐบุรษุ " 29 มีนาคม
2541. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. 2542.
สํานักงานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร. สมุดภาพสมาชิกรัฐสภา 2475-2502. ม.ป.พ., 2502.

บทความวารสาร
สุดใจ พูลทรัพย์. “วิชายุทธวิธี การจัดและการบังคับบัญชากองทหารขนาดใหญ่,” ยุทธโกษ 47,
ฉ. 10 (2482): 35.

วิ ทยานิ พนธ์
ธํารงศักดิ ์ เพชรเลิศอนันต์. “รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2534.
พิมพ์พลอย ปากเพรียว. “การปฏิวตั สิ ยาม 2475 ในทัศนะของพันโทอองรี รูซ์.” วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

88
Thammasat Journal of History, Vol.7, No.2 (July - December 2020)

ภาวดี มหาขันธ์. “การปฏิรปู การทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั .”


วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร, 2519.

เอกสารอิ เล็กทรอนิ กส์


“แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายและปลดนายทหารกับตัง้ ราชองครักษ์เวร พ.ศ.
2474.” www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/4930.PDF
(สืบค้นเมือ่ วันที่ 8 พฤษภาคม 2561).
“แจ้งความประธานคณะกรรมการราษฎร ย้ายและบรรจุนายทหาร พ.ศ. 2475.”
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/1281.PDF
(สืบค้นเมือ่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2561).
“ประกาศกระทรวงกลาโหม เรือ่ ง นายทหารออกจากประจําการ พ.ศ. 2475.”
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/1343.PDF
(สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2561).
“พระบรมราชโองการ ประกาศผลัดเปลีย่ นเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และรวม
กระทรวง ,” www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/180.PDF
(สืบค้นเมือ่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2561).
“พระบรมราชโองการ ประกาศรวมกระทรวงทหารเรือเข้ากับกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2475.”
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/A/394.PDF
(สืบค้นเมือ่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2561).
“พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร พ.ศ. 2475.”
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/190.PDF
(สืบค้นเมือ่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2561).
“พระบรมราชโองการประกาศกําหนดหน้าทีเ่ สนาบดีและตัง้ คณะกรรมการกลางกลาโหม พ.ศ. 2475.”
www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/209.PDF
(สืบค้นเมือ่ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559).
“รายงานการประชุมสภาผูแ้ ทนราษฎร ครัง้ ที่ 10 วันที่ 22 กรกฎาคม 2475.”
http://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/375694/10_24750722_wb.pdf?se
quence=1
(สืบค้นเมือ่ วันที่ 30 ตุลาคม 2559).

89
วารสารประวัตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีท่ี 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

“รายงานการประชุมสภาผูแ้ ทนราษฎร ครัง้ ที่ 26 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2476.”


http://dl.parliament.go.th/bitstream/handle/lirt/375896/26_24761123_wb.pdf?se
quence=1
(สืบค้นเมือ่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2561).

90

You might also like