You are on page 1of 9

กรณีศึกษา โรงเรียนรุงอรุณ

(Roong Aroon School of Dawn)

1. ภาพรวมของธุรกิจ

1.1 ประวัติ ความเปนมา


เมื่อป พ.ศ. ๒๕๓๗ คณะทำงานจัดตั้งโรงเรียนรุงอรุณ โดยรองศาสตราจารยประภาภัทร นิยม ไดนำเสนอราง
โครงการกอตั้งโรงเรียนแนวใหมตอผูทรงคุณวุฒิทางดานการเรียนรูหลายทาน ไดแก ศาสตราจารยนายแพทย
ประเวศ วะสี ศาสตราจารยนายแพทยอารีย วัลยะเสวี และศาสตราจารย ดร. เอกวิทย ณ ถลาง เพื่อพิจารณา
ใหคำแนะนำในการกอตั้งโรงเรียนซึ่งไดรับการสนับสนุนและใหคำชี้แนะอยางสรางสรรคจากทานเปนอยางดี
V
ตอมาคณะทำงานฯ จึงไดจัดทำรางหลักสูตรนำเสนอตอที่
ประชุมซึ่งประกอบดวยนักการศึกษา นักวิชาการ และผู
สนใจในการศึ ก ษาแนวใหม ซึ ่ ง ได ร ั บ คำแนะนำที ่ ม ี
ประโยชน อ ย า งยิ ่ ง โดยเฉพาะจากศาสตราจารย ส ุ ม น
อมรวิวัฒน ตอการปรับปรุงหลักสูตรใหมีลักษณะบูรณาการ
แบบองครวมที่ ชัดเจนขึ้น โดยอาศัยทัศนคติและสายตา
ของครูที่เขาใจ ทั้งสาระวิชาและผูเรียนเปนอยางดีมาเปน
แนวทางในการจั ด สร า งหน ว ยการเรี ย น การสอนที ่
ครอบคลุมเปาหมายการเรียนรูไดจริง
V
วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๐ โรงเรียนรุงอรุณจึงไดเริ่มตนเปด
ดำเนินการสอนเปนปการศึกษาแรก ระดับอนุบาล ประถม
ศึกษา และมัธยมศึกษา โดยอาศัยแนวทางการบริหาร
โรงเรียนรุงอรุณใหเปนองคกรที่มิไดแสวงหากำไร แตเปน
ทางเลือกใหมสำหรับเยาวชนในระบบการศึกษาของไทย
และเปนหนวยงานที่ใหบริการทางวิชาการแกสังคม

1.2 แนวคิดของธุรกิจ
สรางคุณคาและความแตกตางของโรงเรียน โดยการพัฒนา “วิธีการสอน” ที่ผูเรียนและผูสอนมีปฏิสัมพันธซึ่ง
กันและกันอยางใกลชิด เนนกิจกรรมภาคสนามและการสัมผัสกับของจริงมากกวาการหยุดนิ่งอยูกับเนื้อหาใน
ตำรา โดยเฉพาะการสรางกระบวนการจัดการความรู (Knowledge Management) ที่ครูทุกคนมีสวนรวม ทำให
เกิดการสะสม “ฐานความรู” ในการสอนที่เฉพาะตัว ยากที่โรงเรียนอื่นจะเลียนแบบได

“ตนทุน (Cost of Production)” ที่สูงกวาโรงเรียนทั่วไป ไดนำมาใชสรางบรรยากาศและกิจกรรมเพื่อการเรียนรู


อยางบูรณาการของนักเรียน จึงทำใหผูปกครองที่ปรารถนาใหบุตรหลานมี “จุดเดน” แตกตางจากเด็กอื่น
ยินยอมจายคาเลาเรียนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อโรงเรียนเปดโอกาสใหผูปกครองเขามามีสวนรวมในกระบวนการ
เรียนการสอนเปนครั้งคราว จึงทำใหผูปกครองตระหนักถึงคุณคาและยอมรับราคาที่เพิ่มขึ้นได

“วิธีการสอนเฉพาะตัว” ยอมเปนจุดขายที่มีคุณคาและเลียนแบบไดยากยิ่ง จึงทำใหโรงเรียนรุงอรุณเติบโตและ


ขยายกิจการอยางรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อการแขงขันในยุคโลกาภิวัตนเรียกรองรูปแบบการศึกษาที่เปดกวางตอ
การเรียนรูและสอนใหผูเรียนมีทักษะในการคนควาเพื่อตอยอดความรูดวยตนเอง

1.3 วิสัยทัศนของบริษัท
การเติบโตเพียงลำพัง อาจทำใหเกิดปญหาได ดังนั้น โรงเรียนรุงอรุณจึงมุงที่จะสราง “เครือขาย” เพื่อเรียนรูและ
ชวยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อนำไปสูภาวะ Harmony ที่กิจกรรมและการเรียนรูของโรงเรียนมีความสอดคลองกับ
สภาพสังคม

V “เซลลที่เติบโตอยางโดดเดี่ยว เมื่อถึงจุดหนึ่งยอมกลายเปนมะเร็ง”

โรงเรียนรุงอรุณจึงมีวิสัยทัศนที่จะสราง “ระบบการศึกษาแนวใหม” ที่สอดคลองและเปนหนึ่งเดียวกับวิถีชีวิต


ของคนไทย

1.4 วัตถุประสงค
1. พัฒนาการศึกษา วิจัย ประมวล และวิเคราะหกระบวนการเรียนรูของมนุษย
2. พัฒนาคุณคาที่แทจริงของมนุษยใหมีความรู ความสามารถ เปนคนดีและมีความสุข
3. สื่อกลางเพื่อสรางความเขาใจอันดีระหวาง เด็ก ผูใหญ สรางความรับผิดชอบรวมกันระหวาง
โรงเรียนและครอบครัว ครูและผูปกครองในการวางแผนพัฒนาการศึกษา
4. ประสานความรวมมือกับบุคคล คณะบุคคล สถานศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาและสราง
ภูมิปญญา ศิลปวัฒนธรรม วิทยาศาสตร นวัตกรรม การสังคมสงเคราะห และสันติภาพ

1.5 ขั้นตอนการเริ่มดำเนินการ
ป 2538 ครูอาจารยพูดคุยกันเรื่องปฏิรูปการศึกษากันมาก จึงมีคำถามวา “คนรูก็เยอะ แตทำไมโรงเรียนแบบนี้
ไมเกิดขึ้นจริงๆเสียที” ดังนั้น ดวยแรงยุและการสนับสนุนจากเพื่อนๆและผูหลักผูใหญ ในที่สุด “รศ. ประภาภัทร
นิยม” จึงตัดสินใจเริ่มลงมือทำ
แตเนื่องจากเปนสิ่งใหมในสังคมไทย และทีมงานทั้งหมดยังขาดความชัดเจน จึงไมประสบความสำเร็จ และมี
ทีมงานบางสวนแยกไปเปดโรงเรียนตามแนวทางของตน
V
หลังจากนั้น จึงไดศึกษาคนควาเพิ่มเติม โดยนำหลักการที่ดีของโรงเรียนวอลดอรฟ ที่เนนดาน ศิลปะและดนตรี
ที่เชื่อมโยงไปสูการเรียนรูถึงจิตวิญญาณ มาผสมผสานกับภูมิปญญาการเรียนรูเดิมที่มีอยูในสังคมไทย ในที่สุด
จึงทดลองสราง “แผนการสอน” แลวไปทดสอบกับโรงเรียนของ กทม. แหงหนึ่ง ฝกครูใหลองสอนตามแผนการ
สอนที่คิดขึ้นมา มีการเลานิทาน มีการทำกิจกรรม แลวถายวีดีโอไว เหมือนทำงานวิจัย จากนั้นนำวีดีโอกลับมา
ใหบรรดาที่ปรึกษาของโรงเรียนวิจารณและแสดงความคิดเห็น แลวจึงนำมาปรับปรุงคัดเลือกวาจะใหแผนการ
เรียนการสอนออกมารูปรางหนาตาอยางไร เริ่มจาก ป.1 ชั้นเดียว วิชาเดียว แลวคอยๆ ขยายจนเต็มหลักสูตร
ทุกวิชา

โรงเรียนรุงอรุณเริ่มระดมทุน โดยการกูเงินจากธนาคาร เพื่อมาสรางอาคาร รวมถึงคาใชจายดานการบริหาร


และเงินเดือนครู โดยมีเงินลงทุนครั้งแรก 10 ลานบาท เริ่มสรางจากกลุมอาคารอนุบาล แลวสรางเพิ่มปละหลัง

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการระดมทุนที่นาสนใจและถือเปน “นวัตกรรม” ก็คือ การสรางความไววางใจใหผูปกครอง


และริเริ่มโครงการจายคาเลาเรียนลวงหนาเพื่อชวยระดมทุนขยายโรงเรียน เชน ถาผูปกครองประเมินวาลูกของ
ตนจะเรียนทั้งหมด 3 ป ก็สามารถจายเงินคาเรียนลวงหนา 3 ป โดยไดรับสวนลด เพื่อชดเชยดอกเบี้ยเงินฝากที่
จะไดจากธนาคาร วิธีนี้ทำใหโรงเรียนไมตองรับความเสี่ยงจากการกูธนาคารมากเกินไป และยังถือเปนการ
ประกันรายไดในอนาคตอีกทางหนึ่งดวย

1.6 สรุปผลการทำงานที่ผานมา
ในทามกลางวิกฤตของแวดวงการศึกษาไทยที่มุงเนนแตการสอบแขงขันจนละเลยเรื่องกระบวนการเรียนรูแบบ
บูรณาการที่สอดคลองกับวิถีชีวิต “โรงเรียนรุงอรุณ” กลับสามารถยืนหยัดในแนวทางที่แตกตางไดอยางนา
สนใจ โดยสามารถ “พิสูจน” ใหผูปกครองจำนวนหนึ่งไวใจและเกิดความเชื่อมั่นในการศึกษาแนวใหมที่เนน
บูรณาการวิถีชีวิตเขาเปนสวนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู
โรงเรียนรุงอรุณสามารถขยายกิจการจากโรงเรียนอนุบาลที่มีนักเรียนไมกี่คน กลายมาเปนโรงเรียนที่มีนักเรียน
นับพันคน ตั้งแตระดับอนุบาลจนถึงมัธยมปลาย และยังเลยไปถึงสถาบันอาศรมศิลปที่เปนการศึกษาในระดับ
ปริญญาโทอีกดวย

โรงเรียนรุงอรุณประสบความสำเร็จอยางงดงาม ในการพิสูจนคุณคาของระบบการศึกษาแบบใหม ใหกับ


เยาวชนไทยรุนแลวรุนเลา แตก็ตองยอมรับวา “โรงเรียนรุงอรุณ” ยังเปนเพียง Model ที่ตองลงทุนสูง ตองใช
ความพยายามและทุมเทของครูและนักเรียนมหาศาล และยังตองอาศัยความไวเนื้อเชื่อใจจากผูปกครองที่ยัง
ยึดติดในการเรียนการสอนแบบเกา จึงนาจะมีอุปสรรคในการขยายโรงเรียนแนวใหมนี้ใหเติบโตงอกงามกลาย
เปนกระแสหลักของสังคมไทย

2. ผลิตภัณฑ/บริการ

2.1 ภาพรวมผลิตภัณฑ/บริการ
“การศึกษาแนวใหม” ที่นักเรียนสามารถเรียนรูอยางเปนองครวมทั้งทางรางกาย อารมณ สังคม และจิตใจ โดย
มีกระบวนการเรียนการสอนที่ปรับใหสอดคลองกับการเรียนรูของแตละคน สภาพแวดลอมของโรงเรียนจึงเนน
ความเปนธรรมชาติ เพื่อกระตุนใหนักเรียนในแตละวัยใชเปนหองเรียนธรรมชาติ และบูรณาการการเรียนรูได
ดวยตนเอง โดยมีสัดสวน ครูตอนักเรียน ๑ : ๘ และจำนวนนักเรียนตอหอง ๒๕ คน ซึ่งทำใหบรรยากาศ
หองเรียนมีความอบอุนเหมือนบาน ความสัมพันธของครู - นักเรียนใกลชิด โดยสอนทั้งชีวิตและวิชาเพื่อบม
เพาะเมล็ดพันธุแหงชุมชน เรียนรูนี้ให หยั่งราก และเติบโตยั่งยืนตอไป

V โรงเรียนรุงอรุณแบงเปน 3 สวนดังนี้

V ๑. โรงเรียนเล็ก ระดับอนุบาล ๑-ประถม๑


V ๒. โรงเรียนประถม ระดับประถม ๒ - ประถม ๖
V ๓. โรงเรียนมัธยม ระดับมัธยม ๑ - มัธยม ๖
ในแตละโรงเรียนมีครูใหญเปนผูดูแลโรงเรียนละ ๑ คน โดยมีหนาที่สรางความเขาใจในภาวะความเปนครู การ
ทำงานเปนทีม รวมทั้งการนำเนื้อหามาสูการสอน ซึ่งเปนการเรียนรูแบบองครวม ในการทำงานมีการประชุม
รวมกันทั้งในระดับโรงเรียนยอย ระดับชั้น และเฉพาะสายวิชา

2.2 ศักยภาพและขอบเขตของผลิตภัณฑ/บริการ
โรงเรียนรุงอรุณมีศักยภาพสูงมากในการผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลัง
เคลื่อนเขาสู “สงครามความรู” เนื่องจากสามารถผลิตนักเรียนที่เรียนรูไดดวยตนเอง กลาคิด กลาทำ และบูรณา
การการเรียนรูเขาเปนสวนหนึ่งของวิถีชีวิต ดังนั้น จึงไมจำเปนตองสงสัยเลยวา “โรงเรียนรุงอรุณ” จะกลายเปน
โรงเรียนชั้นแนวหนาของสังคมไทยในอนาคตอันใกลนี้
V
อยางไรก็ตาม เนื่องจากการศึกษาแนวบูรณาการและเรียนรูดวยตนเองของโรงเรียนรุงอรุณมีตนทุนที่สูงมาก มี
กระบวนการที่ซับซอนและขึ้นอยูกับบริบทของนักเรียนและครูอาจารย ที่สำคัญยังตรงขามกับความเชื่อของคน
สวนใหญในสังคม ดังนั้น การขยายขอบเขตการศึกษาแนวใหมออกไปในวงกวางจึงยังคงมีขีดจำกัด ถึงแมวา
จะเปนแนวโนมของสังคมโลกก็ตาม

3. โอกาสทางธุรกิจ

3.1 แผนการตลาด
กระบวนการเรียนการสอนที่ไมแยกระหวาง “ครู นักเรียน ผูปกครอง” ทำใหแนวคิดที่แตกตางจากการศึกษา
ทั่วไปไดรับการเขาใจและยอมรับจากผูปกครอง จึงนำไปสูกระบวนการ “ปากตอปาก” ที่ชวยขยายคุณคาของ
โรงเรียนออกไปในวงกวาง
V
นอกจากนี้ ยังเปดโอกาสให “บุคคลภายนอก” ที่สนใจไดมาเยี่ยมชมการเรียนการสอนของโรงเรียน เดือนละ 2
ครั้ง โดยเฉพาะผูที่เคยสัมผัสจากเว็บไซตของโรงเรียนรุงอรุณ แตยังไมเคยมาสัมผัสในโลกจริง
V
3.2 แผนการผลิต
โรงเรียนรุนอรุณ ไดสรางกระบวนการที่ครูมารวมกันออกแบบการเรียนรูของนักเรียน ซึ่งแตกตางจากโรงเรียน
หรือมหาวิทยาลัยในประเทศไทยสวนใหญ ซึ่งเนนที่การ “สอน” โดยละเลยการ “เรียน”

การเรียนรูในแตละปการศึกษาจะไมเหมือนกันทั้งหมด โดยสวนที่เหมือนคือสาระ สวนที่ตางคือวิธีการ การที่ครู


ทุกคนตองรวมกันออกแบบการเรียนรูของนักเรียนเปนทีม ๆ นี้ มองในมุมหนึ่งก็คือ Team Learning นั่นเอง
เรียนการเรียนรูของทีมครู โดยอาศัยการปฏิบัติงานประจำของตน คือทำใหการปฏิบัติงานประจำเปนการเรียนรู
แมวาในตอนเริ่มกอตั้ง รร. รุงอรุณใหม ๆ มีครูทนไมไหว ลาออกไปหลายคน แตตอนนี้ครูมีทักษะนี้แลว กลาย
เปนสภาพการทำงานที่สนุก เพราะตองคิดอยูตลอดเวลา

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษานอกสถานที่อยูเปนระยะ เชน การเขาไปดำเนินโครงการ “รวมมือ – สานฝน”


อันดามัน/สึนามิ โดยถือเปน “หองปฏิบัติการ” เพื่อเรียนรูจากสภาพชีวิตจริงของผูคน โดยเฉพาะผูคนที่ประสบ
ความทุกขยากจากภัยพิบัติ เมื่อเขาไปเรียนแลวก็ถายทอด tacit knowledge ของแตละคนออกมาเปนบันทึก มี
การรวบรวมสรุป นำมารวมกันตีความและตอยอดความรูอยางตอเนื่อง เทากับเปนการหา “กิจกรรม” ใหครู ผู
ปกครอง และนักเรียน ไดเรียนรูรวมกันในลักษณะไป “ดูดซับ” (capture) เพื่อนำขอมูลและความรูมาตีความ
หลาย ๆ ชั้น สั่งสมเปนความรูของบุคคลและของสถาบัน

ทำใหทั้งครูและนักเรียนของโรงเรียนรุงอรุณและอาศรมศิลปเกงขึ้นเรื่อย ๆ มีผลงานดีขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีการ


“ตอยอด” จากทั้งความรูจากประสบการณของตนเอง และจากประสบการณของคนอื่น

3.3 วิเคราะหตลาด และคูแขง


โรงเรียนที่มีระบบการศึกษาแนวใหมแบบโรงเรียนรุงอรุณ ยังมีอยูไมมากนักในสังคมไทย และสวนใหญยังได
สรางเปน “เครือขาย” ที่สนับสนุนแลกเปลี่ยนเรียนรูซึ่งกันและกันอีกดวย จึงทำให “ตลาด” มีโอกาสเติบโตไดอีก
มากมาย

ที่สำคัญ คือ โรงเรียนรุงอรุณ อาจไดรับปรัชญาการศึกษาจากหลายแหลงทั้งไทยและตางประเทศ แตกระนั้น


โรงเรียนรุงอรุณก็ไดพัฒนา “ทฤษฎีและวิธีการศึกษา” ของตนเองขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งมีความโดดเดนเฉพาะตัวที่
ยากจะเลียนแบบได ดังนั้น จึงไมนาจะเปนคูแขงกับโรงเรียนทั่วไป แตขึ้นอยูกับ “ผูเรียน” วาจะถูกจริตกับการ
เรียนการสอนแบบใด โดยโรงเรียนรุงอรุณก็มีนโยบายที่เปดกวางใหผูที่สนใจสามารถเขามาทดลองเรียนรูได จึง
ทำให “ผูเรียนและผูปกครอง” สามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของขอมูลไดเปนอยางดี

3.4 วิเคราะหการเติบโตของธุรกิจ
ในยุคโลกาภิวัตนที่สังคมมีความซับซอนมากขึ้นทุกขณะ ระบบการศึกษาแบบเดิมไมอาจตอบสนองไดดีอีกตอ
ไป ดังนั้น จึงเปน “โอกาส” ของโรงเรียนรุงอรุณในการเติบโตอยางรวดเร็ว
V
อยางไรก็ตาม เนื่องจากระบบการศึกษาที่เนนองครวมและการปฏิบัติจริง จึงทำใหยากที่จะเฟนหาบุคลากรที่
เหมาะสมมารองรับได ขณะที่โรงเรียนรุงอรุณตองลงทุนในการฝกฝน “ครู” อยางยาวนานถึง 3 ป จึงจะได
มาตรฐานของโรงเรียน ดังนั้น การเติบโตของโรงเรียน จึงอาจจะถูกจำกัดโดยบุคลากร (Supply) มากกวาความ
ตองการของสังคม (Demand)
4. ผลทางสังคม/สิ่งแวดลอม

4.1 การแกปญหาทางสังคม/สิ่งแวดลอมของบริษัท

1. โรงเรียนรุงอรุณตั้งอยูบนพื้นที่สีเขียวประมาณ ๕๐ ไรในเขตบางขุนเทียน ซึ่งเชาจากมูลนิธิญมาลุดดีน เปน


พื้นที่เปดโลงมี อาคารเรียน ๒ ชั้น หรือ ๓ ชั้น บริเวณโดยรอบแวดลอมดวยธรรมชาติที่นักเรียนสามารถออกไป
เรียนรูได มีการออกแบบอาคารและสภาพแวดลอมเพื่อเอื้อตอการเรียนรูของนักเรียนทั้งภายในและภายนอก
หองเรียน
V
ที่สำคัญ ยังมีการนำนักเรียนออกนอกสถานที่ เพื่อการเรียนรูและสัมผัสของจริง เชน การไดไปลงมือปลูกขาว
ดวยตนเอง ทำใหไดเห็นความยากลำบากของการทำนา ไดเรียนรูระบบนิเวศของทองนา ไดสังเกตเห็นสิ่งตางๆ
ในธรรมชาติ ทำใหมีจินตนาการกวางไกล

V
ดังนั้น นักเรียนจึงไดฝกฝนและเรียนรูในการดำรงอยูรวมกับธรรมชาติและสิ่งแวดลอมโดยอัตโนมัติ ที่สำคัญยัง
เปนการเรียนรูแบบองครวมไมแยกขาดจากบริบททางสังคม โดยเฉพาะความยากลำบากของชาวนาที่ทำนา
หลอเลี้ยงคนทั้งประเทศ

2. โครงการ “ของเสียเหลือศูนย” เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียน โดยกอนที่จะมีวิธีการจัดการกับ "ขยะ" อยาง


เหมาะสมนั้น โรงเรียนรุงอรุณมีขยะเกิดขึ้นในแตละวันเปนจำนวนมาก เฉลี่ยวันละ ๒๐๖ กิโลกรัม (กุมภาพันธ
๒๕๔๗) เนื่องจากไมไดมีการคัดแยกขยะกอนทิ้ง โดยทางกทม.สามารถเขามาจัดเก็บขยะใหไดเพียงสัปดาหละ
๑ ครั้ง จึงปรากฏกองขยะขนาดใหญสะสมอยูในคอกขยะของโรงเรียนกวา ๑ ตัน ทุกชวงสัปดาห ที่สรางทัศนะ
อุจาด สงกลิ่นเหม็น เปนแหลงแพรพันธุแมลงวัน สรางความอึดอัดใจแกทุกคน ทั้งยังรบกวนชุมชนที่อยูติดกัน
กับอาณาเขตโรงเรียน โดยลาสุด ม.ค.51 สามารถลดน้ำหนักไดเหลือ 26.13 กิโลกรัม/วัน

3. สรางระบบการศึกษาที่สอดคลองกับลักษณะนิสัยที่แตกตางกันของนักเรียนแตละคน ทำใหนักเรียนทุกคน
ไดรับโอกาสในการเรียนรูและเติบโตเปนผูใหญที่มีคุณภาพ แทนที่จะกลายเปนอันธพาลเพราะขาดระบบการ
ศึกษาที่เหมาะสมในการกลอมเกลา
V
การเรียนการสอนที่เปดกวางและเนนการปฏิบัติจริง ทำใหนักเรียนรูสึกมีสวนรวมอยางแทจริงกับสิ่งที่เรียน
ทำใหเกิดความสนุกและซึมซับความรูไดมากกวาการเรียนในโรงเรียนทั่วไป
4. ตนแบบของ “การศึกษาแนวใหม” ที่องคกรการศึกษาทั่วประเทศ สามารถมาศึกษาดูงานและนำไปปรับ
ใชได โดยไมตองเสียเวลาลองผิดลองถูก โดยในปจจุบันไดมีการสรางเครือขายเพื่อปรับปรุงและขยายแนวคิด
ออกไปสูสังคมในวงกวาง

5. แผนการบริหารจัดการ
V
5.1 ขอมูลบริษัท

โรงเรียนรุงอรุณ
ที่อยู V V ๙/๙ หมู ๕ ถนนพระราม ๒ ซอย ๓๓ แขวงทาขาม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ ฯ ๑๐๑๕๐
โทรศัพท V ๘๗๐-๗๕๑๒-๔
โทรสาร V ๘๗๐-๗๕๑๔
e-mail V V info@roong-aroon.ac.th

5.2 แผนผังบริษัท
โรงเรียนรุงอรุณไมไดเริ่มตนจากแรงจูงใจดานธุรกิจ ดังนั้น โครงสรางผูถือหุนและผูบริหารของโรงเรียน จึงมี
ลักษณะพิเศษที่แตกตางจากโรงเรียนทั่วไป ดังนี้

เบญจภาคี คือ มิติใหมแหงความรวมมือกันระหวางมูลนิธิเพื่อสังคมกับภาคธุรกิจและการเงิน ในการที่จะลงทุน


เพื่อความดีเปนสัญลักษณแหงรุงอรุณของความรวมมือของภาคตางๆในสังคม เพื่อความเจริญ ทางปญญา
โดยเปนการลงทุนที่ไมหวังผลกำไรเขาสูองคกร แตหวังผลกำไรเขาสูสังคม ซึ่งเบญจภาคี นี้ประกอบดวย

V ๑. มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี


V ๒. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย ศ.นพ.วิจารณ พานิช
V ๓. บริษัทเงินทุนหลักทรัพยธนชาติจำกัด (มหาชน) โดยคุณบันเทิง ตันติวิท
V ๔. บริษัทบางจากการปโตรเลียมจำกัด (มหาชน) โดยคุณ โสภณ สุภาพงษ
V ๕. กลุมบริษัทแปลน โดยคุณธีรพล นิยม
คณะผูกอตั้งโรงเรียนรุงอรุณ หรือเบญจภาคี ไดเรียนเชิญ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เปน ประธานคณะกรรมการ
โรงเรียน โดยมี คณะกรรมการโรงเรียนชุดแรก ดังนี้

V ๑. ศ.นพ.วิจารณ พานิช
V ๒. คุณบันเทิงV ตันติวิท
V ๓. คุณโสภณV สุภาพงษ
V ๔. คุณธีรพลV นิยม
V ๕. รศ.ประภาภัทร นิยม

คณะกรรมการโรงเรียนไดลงความเห็นรวมกันวา เพื่อใหโรงเรียนแหงนี้เปนสมบัติของสังคมไทย มิใชของกลุม


ใดกลุมหนึ่ง หรือ ของกลุมผูกอตั้ง เพื่อใหโรงเรียนนี้เปนโครงการนำรองในการจัดการศึกษาที่ดีที่สุด และขยาย
ผลสูโรงเรียนอื่นๆทั้งรัฐและเอกชน อันถือเปนยุทธศาสตรทางปญญาแหงชาติที่จะแกไขวิกฤตการณทางการ
ศึกษาของชาติ โรงเรียนรุงอรุณควรมีลักษณะเปนองคกรที่ไมแสวงกำไร หรือ NOT FOR PROFIT
ORGANIZATION ซึ่งหมายถึง องคกรที่กระทำกิจการที่สามารถมีรายได และเกิดผลกำไรได แตผลกำไรนั้นไม
ไดปนผลไปเปนโภคทรัพยสวนบุคคล หรือ นิติ บุคคลที่เปนผูถือหุน หากนำไปใชเพื่อพัฒนาภารกิจของกิจการ
อันหมายรวมถึงผูคน ทรัพยากรตางๆ ระบบงานและอื่นๆ ที่จะทำใหภารกิจและกิจการนั้นเจริญกาวหนายั่งยืน
ตอไปได
V
V

You might also like