You are on page 1of 63

สวนที่ ๔

ความบกพรองเสื่อมเสียแหงเจตนา

บทที่ ๑
ขอความทัว่ ไปวาดวยความบกพรองเสื่อมเสียแหงเจตนา

๑. ขอความเบื้องตน
๑.๑ การแสดงเจตนาที่ปราศจากขอบกพรองเสื่อมเสีย
การแสดงเจตนานั้นโดยทั่วไปเกิดขึ้นตามลําดับดังนี้ กลาวคือกอนที่บคุ คลจะแสดงเจตนา
โดยมุงตอผลทางกฎหมายอันจะกอใหเกิดผลเปนนิติกรรมใด ๆ ออกมานั้น เขายอมตองเริ่มตนดวย
การตกลงใจเสียกอน แตการตกลงใจใด ๆ ก็ยอมตองอาศัยการพิจารณาวาพฤติการณตาง ๆ ที่จะ
สงผลกระทบตอประโยชนไดเสียของตน หรือบุคคลอื่น ๆ ในเรื่องที่จะตกลงใจนั้น ๆ วามีอยางไร
บาง โดยเฉพาะอยางยิ่งยอมจะมีการคาดหมายวาการตกลงใจนั้นจะนําประโยชนสิ่งใดมาใหตน
หรือมีขอดีขอเสียอยางไร เมือ่ ไดพิจารณาพฤติการณทั้งหลายเหลานีแ้ ลว บุคคลจึงตกลงใจทําการ
อยางใดอยางหนึ่ง และถาการนั้นเปนนิตกิ รรม บุคคลนั้นยอมตองกําหนดเจตนาทํานิติกรรมโดยมุง
ตอผลทางกฎหมายอยางหนึง่ อยางใด และแสดงเจตนาทํานิติกรรมไปตามนั้น บรรดาพฤติการณ
ตาง ๆ ที่เปนเครื่องจูงใจใหบุคคลตกลงใจหรือไมตกลงใจในเรื่องหนึ่ง ๆ นั้นอาจมีไดหลายกรณี
และพฤติการณเหลานีเ้ ราเรียกวา “มูลเหตุจูงใจ” การแสดงเจตนาทํานิติกรรมของบุคคลในกรณี
ตาง ๆ จึงยอมจะเปนไปตามการตกลงใจทํานิติกรรมซึ่งยอมเปนไปตามการตกลงใจทําการอยาง
หนึ่งอยางใดโดยอาศัยแรงจูงใจที่ชักนําใหบุคคลตกลงใจอีกชั้นหนึ่งนั่นเอง
ตัวอยางเชน เมื่อเชาวันที่ ๑๕ มกราคม ก. ตองการจะเอาใจ ข. เพื่อนสาวของตนในโอกาส
วันเกิดของเธอ จึงตกลงใจซื้อสรอยคอที่ตนเห็นวางดงามเสนหนึ่ง ซึ่งแสดงอยูในตูแ สดงสินคาใน
รานของ ค. และ ก. เคยแวะเวียนไปดูดว ยความพอใจมาแลวหลายครั้ง เพื่อจะไดมอบเปนของขวัญ
วันเกิดแก ข. เปนราคา ๕,๐๐๐ บาท โดย ก. เขาใจวา สรอยคอที่ตนตั้งใจซื้อนั้นเปนสรอยคอ
ทองคํา และคิดวา ข. ชอบสรอยคอทองคํามาก ในวันเดียวกันนัน้ ก. จึงบอกกลาวขอซื้อสรอยคอ
เสนดังกลาวจาก ค. ในราคาตามปายคือ ๕,๐๐๐ บาท และ ค. ไดตอบตกลงขายใหในราคานั้น
ในกรณีทั่ว ๆ ไปซึ่งไมมีปญหานั้น การตกลงใจกระทําการ และการตกลงใจทํานิติกรรม
เรื่อยไปจนถึงการแสดงเจตนาทํานิติกรรมมักจะเกิดขึ้นโดยปราศจากขอบกพรอง ดังที่เห็นไดจาก
ตัวอยางดังไดกลาวแลว

๑๖๙
๑.๒ การแสดงเจตนาที่บกพรองเสื่อมเสียไป
หลักในการพิจารณาเจตนาที่แสดงออกมาวาเปนการแสดงเจตนาที่มขี อบกพรองเสื่อมเสีย
หรือไมนั้น เปนที่ยอมรับกันตั้งแตสมัยโรมันวา จะตองพิจารณาวาเจตนาที่แสดงออกมานั้น มี
ความหมายตองตรงกันกับเจตนาที่แทจริงของบุคคลที่แสดงเจตนาหรือไม ทั้งนี้โดยเริ่มจากการ
พิจารณาตามหลักการตีความการแสดงเจตนาวาเจตนาทีแ่ สดงออกมานั้นมีวาอยางไร หรือวิญูชน
พึงเขาใจวาอยางไร ถาเจตนาที่แสดงออกมากับเจตนาทีแ่ ทจริงไมตองตรงกัน ก็ถือเปนหลักไดวา
เจตนานัน้ มีขอบกพรอง แตถาเจตนาที่แสดงออกนั้นตองตรงกับเจตนาที่แทจริง ก็ไมใชกรณีเจตนา
นั้นมีขอบกพรอง แมกรณีที่เจตนาที่แทจริงนั้นอาจเกิดจากการตกลงใจที่เปนผลมาจากมูลเหตุจูงใจ
ที่คลาดเคลื่อนจากความเปนจริง กฎหมายโรมันก็ถือวาเมื่อเจตนาที่แสดงออกมาตรงกับเจตนาที่
แทจริง แมเจตนาที่แทจริงจะเกิดจากมูลเหตุจูงใจผิด ๆ ก็เปนเพียงกรณีสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ ซึ่ง
โดยทั่วไป กฎหมายไมถือวามีนัยสําคัญ หรือมีผลกระทบตอความมีผลของเจตนาที่แสดงออกมา
แตอยางใด
อยางไรก็ดี กฎหมายโรมันก็ยอมรับวา ในบางกรณีมีเหตุควรยกเวน ใหถอื วาความสําคัญ
ผิดในมูลเหตุจงู ใจ อาจมีผลกระทบตอความสมบูรณของเจตนาที่แสดงออกมาได โดยเฉพาะอยาง
ยิ่งในกรณีที่พฤติการณอันเปนมูลเหตุจูงใจในการตกลงใจทํานิติกรรมนั้นเปนเรื่องสําคัญเกี่ยวกับ
คุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย ซึ่งถึงขนาดที่หากผูแสดงเจตนาไมสาํ คัญผิดในมูลเหตุจูงใจในเรื่อง
คุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยนั้น ๆ แลวก็คงจะไมตกลงใจทํานิตกิ รรมนั้น ในกรณีเชนนี้เปนที่
เห็นพองกันวาควรถือวา กรณีสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจอันเปนเรื่องสําคัญ คือมูลเหตุจูงใจที่เกี่ยวกับ
คุณสมบัติของบุคคลหรือของทรัพยซึ่งปกติเปนสาระสําคัญของนิติกรรมนั้น ๆ ก็ควรจะมีผล
ทํานองเดียวกันกับกรณีสําคัญผิดและถือวาเจตนาที่แสดงออกมานั้นเปนเจตนาที่มีขอบกพรองได๑
ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยของไทย ไดวางหลักเกณฑเกีย่ วกับเจตนาที่มีขอบก-
พรองเสื่อมเสียไวหลายประการ โดยอาจแบงออกเปนกลุม ใหญ ๆ ได ๓ กลุมสําคัญ คือ
ก) ความบกพรองแหงเจตนาอันเกิดขึ้นจากการที่บุคคลไดตกลงใจโดยเขาใจพฤติการณ
อันเปนมูลเหตุจูงใจผิดไปจากความเปนจริง ในกรณีเหลานี้การตกลงใจทํานิติกรรม หรือการ
กําหนดเจตนาทํานิติกรรม หรือเจตนาที่แทจริงของบุคคลนั้นกับเจตนาที่แสดงออกมาจึงตอง
ตรงกัน เพียงแตเจตนาทีแ่ ทจริงนั้นเปนผลจากความเขาใจพฤติการณอันเปนมูลเหตุจูงใจผิดพลาด
ไป


Kaser/Knuetel, Roemisches Privatrecht, 18.Aufl., Muenchen 2005, § 8.20, S.56-57.

๑๗๐
ตัวอยางเชน ก. เขาใจวาเพื่อนสาวของตนเกิดวันที่ ๑๕ มกราคม และเห็นเปนโอกาส
ดีที่จะแสดงออกวาตนตองการเอาอกเอาใจในโอกาสวันเกิด จึงตกลงใจซื้อของขวัญใหเธอในวัน
นั้น แตอนั ที่จริง ข. เพื่อนสาวของ ก. เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม วันเกิดจึงผานไปแลว หรือ ก.
เขาใจวา ข. เพือ่ นสาวของตนชอบสรอยคอทองคํา แตที่จริง ข. ไมชอบทองคํา และเปนโรคแพ
เครื่องประดับที่ทําจากทองคํา หรือสรอยคอที่ ก. ซื้อจากรานของ ค. นั้นไมใชสรอยคอทองคํา แต
เปนสรอยคอชุบทองคํา ดังนี้เปนตน
ข) ความบกพรองแหงเจตนาอันเกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาที่แตกตางไปจากเจตนาที่
แทจริง ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกมาโดยไมรูวาเจตนาที่แสดงออกมานั้นแตกตางจากเจตนา
ที่แทจริงของตน
ตัวอยางเชน ก. ตองการซื้อสรอยคอทองคําในราคา ๕,๐๐๐ บาท แตแสดงเจตนา
ออกมาวาตองการซื้อสรอยเสนนั้นในราคา ๕๐,๐๐๐ บาท โดยเขาใจวาที่ตนแสดงเจตนาออกมาวา
๕๐,๐๐๐ บาทนั้น ก็คือ ๕,๐๐๐ บาทตามเจตนาที่แทจริงของตน จะเห็นไดวา กรณีนเี้ ปนกรณีที่
เจตนาที่แสดงออกนั้นตางจากเจตนาทีแ่ ทจริง โดยผูแสดงเจตนาเองก็ไมรูตัววาเจตนาที่แทจริงกับ
เจตนาที่ตนแสดงออกนั้นไมตองตรงกัน กรณีทํานองนี้ เปนกรณีที่อาจเกิดจากการพูดผิด เขียนผิด
หรือเขาใจความหมายของสิ่งที่แสดงออกมาผิดไปก็ได
ค) ความบกพรองแหงเจตนาอาจเกิดขึ้นไดในกรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนา
ออกไปโดยปราศจากความประสงคจะกอความผูกพัน หรือประสงคจะทํานิติกรรมใด ๆ ในกรณี
เชนนี้ ผูแสดงเจตนาอาจแสดงเจตนาอยางหนึ่งอยางใดออกมา โดยรูอยูแ ลววาเจตนาทีแ่ สดงออกมา
นั้นไมตรงกับเจตนาที่แทจริงของตน ไดแกกรณีที่ผูแสดงเจตนาแสดงเจตนาออกมาโดยไมได
ประสงคใหเจตนาที่แสดงออกมานั้นมีผลผูกพันใด ๆ กรณีนี้จึงเปนกรณีที่เจตนาที่แสดงออกมานัน้
มีขอบกพรองเพราะเจตนาทีแ่ สดงออกตางจากเจตนาที่แทจริงโดยผูแสดงเจตนารูตวั หรือประสงค
ใหเจตนาที่แสดงออกมานั้นแตกตางจากเจตนาที่แทจริง
ตัวอยางเชน ก. แสดงเจตนาออกมาตอหนา ข. เพื่อนสาวของตน วาประสงคจะซื้อ
แหวนจากรานของ ค. ในราคา ๕๐,๐๐๐ บาท ทั้ง ๆ ที่ ก. ไมตองการซื้อแหวนนั้นเลย การที่ ก.
แสดงเจตนาออกมาเชนนัน้ ก็เพียงแตเพื่อเปนการโออวด หรือเอาใจเพือ่ นสาวของตนเทานั้น แต
แทจริงแลว ก. ไมไดประสงคตอความผูกพันทางกฎหมายจากการแสดงเจตนาของตนเลย

หลักเกณฑทางกฎหมายทีใ่ ชกับการแสดงเจตนาที่มีขอบกพรองหรือเสือ่ มเสียไปนี้ ไดรับ


อิทธิพลทางทฤษฎีจากทฤษฎีเกี่ยวกับการแสดงเจตนาทีเ่ ปนที่รูจักกันกวางขวางในเยอรมันใน
ศตวรรษที่ ๑๙ สองทฤษฎีคือ ทฤษฏีเจตนาที่แทจริง (Willenstheorie หรือ Will Theory) กับ
ทฤษฎีเจตนาที่แสดงออก (Erklaerungstheorie หรือ Declaration Theory)

๑๗๑
ทฤษฎีเจตนาทีแ่ ทจริง เสนอวาความผูกพันในทางนิติกรรมนั้น ยอมเปนไปตามเจตนาที่
แทจริงเปนสําคัญ ดังนั้นการแสดงเจตนาใด ๆ ที่แสดงออกไป โดยปราศจากเจตนาทีแ่ ทจริงซึ่งมี
เนื้อหาเชนเดียวกันนั้นแทรกซึมอยู การแสดงเจตนาเชนนั้นยอมไมกอใหเกิดความผูกพันใด ๆ
ทฤษฎีเจตนาทีแ่ ทจริงนี้จึงเปนทฤษฎีที่มีผลในทางเปนคุณแกผูแสดงเจตนาซึ่งยอมจะประสงคจะ
ผูกพันเฉพาะตามเจตนาที่แทจิงของตน และขณะเดียวกัน ทฤษฎีนี้ยอมเปนโทษแกผูรบั การแสดง
เจตนาซึ่งยอมจะเขาใจวาผูแ สดงเจตนาประสงคจะผูกพันตามเจตนาทีแ่ สดงออก
ตัวอยางเชน การที่ ก. แสดงเจตนาออกมาวาตนประสงคจะซื้อสรอยคอเสนหนึ่งในราคา
๕๐,๐๐๐ บาท เพราะพูดผิด เพราะที่จริงเขามีเจตนาที่จะซือ้ สรอยคอเสนนั้นในราคาเพียง ๕,๐๐๐
บาท ดังนี้ถาถือตามทฤษฎีเจตนาที่แทจริง ความผูกพันตามนิติกรรมควรจะเปนไปตามเจตนาที่
แทจริง คือ ก. ควรผูกพันตองชําระราคาเพียง ๕,๐๐๐ บาทตามเจตนาทีแ่ ทจริง
สวนทฤษฎีเจตนาที่แสดงออกนั้น เสนอวาเจตนาที่มีผลผูกพันคือเจตนาที่แสดงออกเปน
สําคัญ ผลของทฤษฎีนี้ก็คือ เมื่อมีผูแสดงเจตนาออกมาอยางไร เขายอมตองผูกพันตามเจตนาที่เขา
ไดแสดงออกเปนสําคัญ แมวาเขาจะมิไดมเี จตนาผูกพันตามที่ไดแสดงออกมาเลยก็ตาม ทฤษฎีนี้
ยอมจะเปนคุณแกคกู รณีฝายที่เปนผูรับการแสดงเจตนา และขณะเดียวกันก็ยอมจะเปนโทษแกฝาย
ผูแสดงเจตนา
ตัวอยางเชน ในกรณีที่ ก. แสดงเจตนาซื้อขายสรอยคอเสนหนึ่งเปนเงิน ๙,๘,๐๐ บาท ทั้ง ๆ
ที่แทจริงแลว เขาประสงคจะแสดงเจตนาซือ้ ในราคาเพียง ๘,๙๐๐ บาทเทานั้น แตไดพดู ผิดไป
เนื่องจากยังไมชํานาญในทางภาษา หรือเขาใจความหมายผิด ดังนี้หากถือตามทฤษฎีเจตนาที่
แสดงออก หากคูกรณีอีกฝายหนึ่งไดตกลงตามที่ ก. เสนอก็ตองถือวาสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นที่ราคา
๙,๘๐๐ บาท ตามเจตนาที่ ก. แสดงออก แมจะพิสูจนไดวา ก. พูดผิดหรือเขาใจความหมายผิดก็ตาม

๒. การชั่งน้ําหนักประโยชนไดเสียของคูกรณีที่เกี่ยวของ
อยางไรก็ดี ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยมิไดเดินตามทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งแตเพียง
ทฤษฎีเดียว แตไดวางหลักเกณฑในแตละกรณีโดยใชหลักการชั่งน้ําหนักประโยชนไดเสียของ
คูกรณีที่เกีย่ วของในกรณีนั้น ๆ เปนเกณฑเพื่อตัดสินวาฝายใดควรไดรบั ความคุมครองยิ่งหยอน
กวากัน และไดขอสรุปเปนเกณฑ ๓ ประการดวยกัน ซึง่ อาจแสดงใหเห็นไดจากกลุมคดีตัวอยาง
ดังตอไปนี้

๒.๑ กรณีที่ถือวาการแสดงเจตนามีผลสมบูรณปราศจากขอบกพรอง
การแสดงเจตนาที่มีขอบกพรองบางประเภทเปนการแสดงเจตนาที่ประมวลกฎหมายแพง
และพาณิชยถอื วาเปนขอบกพรองที่ไมมีนยั สําคัญ ดังนั้นการแสดงเจตนาที่มีขอบกพรองเหลานี้จึง

๑๗๒
ไมควรสงผลกระทบตอความสมบูรณของการแสดงเจตนาเลย โดยนัยนี้ประมวลกฎหมายยอม
คุมครองเจตนาใหเปนไปตามทฤษฎีเจตนาที่แสดงออก (Erklaerungstheorie) กลาวคือคุมครอง
ผูรับการแสดงเจตนาซึ่งเชื่อถือไววางใจในความแนนอนของเจตนาที่แสดงออกนั้น ๆ
เปนที่ยอมรับกันวา หากกฎหมายวางหลักเกณฑใหเจตนาที่แสดงออกมาโดยมีขอบกพรอง
ในการแสดงเจตนาตองตกเปนโมฆะ หรือไมมีผลผูกพันทุกกรณีไป ก็เปนที่เห็นไดชัดวาความ
เชื่อถือในความแนนอนของเจตนาที่แสดงออกยอมจะเสือ่ มคลายลง และยอมกระทบตอความ
เชื่อมั่นของสังคมอันพึงมีตอความแนนอนมั่นคงของการคาพาณิชย
ดังนั้นเพื่อเปนหลักประกันแกความมั่นคงทางกฎหมาย กฎหมายจึงคุมครองประโยชนของ
ฝายผูรับการแสดงเจตนาใหเชื่อถือในเจตนาที่แสดงออกไดอยางมั่นใจ ดังนั้นกฎหมายจึง
กําหนดใหเจตนาที่แสดงออกมาโดยมีขอบกพรองจากความเขาใจผิดเกี่ยวกับพฤติการณอันเปน
มูลเหตุจูงใจ ใหเปนการแสดงเจตนาที่มีผลสมบูรณ โดยถือวาความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจเปน
ความสําคัญผิดที่ไมมีนยั สําคัญใด ๆ ทางกฎหมาย
ตัวอยางเชน การที่ ก. ตกลงซื้อสรอยคอมูลคา ๕,๐๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม เพราะ
สําคัญผิดวาวันนั้นเปนวันเกิดของ ข. ซึ่งเปนเพื่อนสาวของตน หรือเพราะความเขาใจผิดวา ข. ชอบ
เครื่องประดับที่ทําดวยทอง หรือเพราะเขาใจวาตนมีเงินพอที่จะซื้อไดทั้งที่ตนมีเงินไมพอ เหลานี้
ลวนแตเปนความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ ยอมเปนการแสดงเจตนาที่มผี ลสมบูรณเสมอ เพราะ
ความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจยอมไมกระทบตอความสมบูรณของเจตนาที่แสดงออก และไมอาจ
ยกเปนขออางวาเปนการแสดงเจตนาที่มีขอ บกพรองได
อยางไรก็ดี มีกรณียกเวนที่กฎหมายยอมรับวา การแสดงเจตนาโดยบกพรองเพราะสําคัญ
ผิดในมูลเหตุจงู ใจบางกรณีอาจมีผลกระทบตอความสมบูรณแหงการแสดงเจตนาได โดยกฎหมาย
กําหนดใหมีผลเปนโมฆียะ กลาวคือการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือ
ทรัพยอันปกติเปนสาระสําคัญแหงนิตกิ รรม ถึงขนาดที่หากมิไดสําคัญผิดเชนนั้นก็คงจะไมไดทํา
นิติกรรมนั้นขึน้ นิติกรรมชนิดนีย้ อมตกเปนโมฆียะ คือมีผลจนกวาจะถูกบอกลาง (มาตรา ๑๕๗
และ มาตรา๑๗๕, ๑๗๖ ปพพ.)

๒.๒ กรณีที่ถือวาการแสดงเจตนาบกพรองและตกเปนโมฆะ
การแสดงเจตนาใดที่มีขอบกพรอง ซึ่งกฎหมายถือวาเปนเรื่องบกพรองสําคัญถึงขนาดที่ทํา
ใหการแสดงเจตนาเชนนั้นยอมจะเสื่อมเสียไป โดยไมอาจกอใหเกิดผลผูกพันใด ๆ ตามเจตนาที่
แสดงออกมาเลย กฎหมายยอมกําหนดใหการแสดงเจตนาเชนนัน้ ตกเปนโมฆะ คือไมมีผลตาม
เจตนาที่ไดแสดงออกมามาแตเริ่มแรก โดยที่ผูแสดงเจตนาไมตองทําการใด ๆ เพื่อใหเจตนาเชนนั้น
ตองเสียไปเลย ในกรณีเหลานี้เราเห็นไดชดั วากฎหมายมุง คุมครองผูแสดงเจตนาที่มีขอ บกพรอง

๑๗๓
สําคัญใหไมตอ งผูกพันตามเจตนานั้น ๆ กลาวอีกอยางไดวา เปนกรณีที่กฎหมายคุมครองใหการ
แสดงเจตนามีผลไปตามเจตนาที่แทจริง หรือเดินตามทฤษฎีเจตนาทีแ่ ทจริง (Willenstheorie)
นั่นเอง
ดังเราจะเห็นไดจากกรณีการแสดงเจตนาลวงโดยสมรูกนั ระหวางคูก รณี ซึ่งเปนการแสดง
เจตนาที่ตองมีผูรับ ที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาอยางใดอยางหนึ่งโดยไมประสงคจะผูกพันตาม
เจตนาที่แสดงออก โดยสมรูกันกับคูกรณีซงึ่ เปนผูรับการแสดงเจตนานัน้ กฎหมายกําหนดวานิติ
กรรมเชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๕ วรรคหนึง่ ปพพ.) การที่กฎหมายวางหลักเกณฑไว
เชนนี้ยอมเปนการคุมครองฝายผูแสดงเจตนาใหตองผูกพันตามเจตนาที่แทจริงเปนสําคัญ และ
ขณะเดียวกันก็คุมครองฝายผูรับการแสดงเจตนาดวยพรอมกันไป คือทั้งสองฝายไมตองผูกพันตาม
เจตนาที่แสดงออกซึ่งแตกตางจากเจตนาทีแ่ ทจริง เปนที่เห็นไดวาในกรณีเชนนี้ เมื่อฝายผูรับการ
แสดงเจตนารวมสมรูอยูแลววา ผูแสดงเจตนาไมประสงคผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกนั้น ดังนี้ก็
ไมมีเหตุที่จะคุม ครองความเชื่อถือของฝายผูรับการแสดงเจตนาอันพึงมีตอเจตนาที่แสดงออก
ดังเชนในกรณีทั่วไป เพราะเขารูอยูแลววาการแสดงเจตนาเชนนัน้ เปนการแสดงเจตนาที่ไม
ประสงคผูกพัน นับวาประมวลกฎหมายไดวางหลักเกณฑโดยอนุวัตรใหเปนไปตามทฤษฎีเจตนาที่
แทจริงนั่นเอง
ตัวอยางเชน ก. ซึ่งประสงคจะเอาใจ ข. เพื่อนสาวของตน ไดนัดแนะกับ ค. ทําทีวาตน
ประสงคจะซื้อสรอยคอมูลคา ๕,๐๐๐ บาท เปนของขวัญแก ข. โดยให ข. เลือกสรอยคอเสนหนึง่ ที่
วางจําหนายอยูในรานของ ค. แลว ก. ก็แสดงเจตนาตอ ค. ตอหนา ข. วาตนประสงคจะซื้อสรอยคอ
เสนนั้นราคา ๕,๐๐๐ บาทจาก ค. ทั้ง ๆ ที่ทั้ง ก. และ ค. ตางก็รูดีอยูแ ลววา ก. ไมไดประสงคจะซื้อ
สรอยคอเสนนั้นเลย แม ค. จะไดตกลงขายสรอยคอนั้น ดังนี้สัญญาซื้อขายสรอยคอที่ทั้งสองฝาย
แสดงออกมายอมตกเปนโมฆะเพราะเปนการแสดงเจตนาลวงโดยสมรูกันตามมาตรา ๑๕๕ ปพพ.
นอกจากกรณีการแสดงเจตนาลวงโดยสมรูกับคูกรณีอีกฝายหนึ่งดังกลาวไวขางตนแลว ยัง
มีการแสดงเจตนาที่กฎหมายถือวาตกเปนโมฆะไดหลายกรณีไดแก
การแสดงเจตนาซึ่งผูแสดงเจตนาไดแสดงออกไปโดยแทจริงมิไดมีเจตนาจะผูกพันตาม
เจตนานัน้ เลย หรือที่เรียกกันวาเจตนาซอนเรนนั้น กฎหมายกําหนดวาไมตกเปนโมฆะ เวนแต
คูกรณีอีกฝายหนึ่งจะรูถึงเจตนาอันซอนอยูในใจของผูแสดงเจตนานัน้ (มาตรา ๑๕๔ ปพพ.) ซึ่งเมื่อ
ตีความมาตรานี้ตอไปก็ยอมจะไดผลวา หากเปนการแสดงเจตนาฝายเดียวโดยไมตองมีผูใดมารับ
การแสดงเจตนานั้น ถาผูแสดงเจตนาไมประสงคผูกพัน การแสดงเจตนานั้นยอมตกเปนโมฆะ เชน
การแสดงเจตนาทําพินยั กรรม ซึ่งผูแสดงเจตนามิไดประสงคจะแสดงเจตนาในฐานะเปนเจตนาเผื่อ
ตาย เพียงแตเขียนขึ้นเพื่อระบายอารมณ หรือเขียนขึ้นเพื่อคัดลายมือ เหลานี้ยอมไมมีผลเปน
พินัยกรรมขึ้นได แตถาเปนการแสดงเจตนาชนิดที่ตองมีผูรับการแสดงเจตนา กฎหมายมุงคุมครอง

๑๗๔
คูกรณีที่เปนผูร ับการแสดงเจตนา หากผูรับการแสดงเจตนานั้นไมรวู า ผูแสดงเจตนาไมประสงค
ผูกพัน นิตกิ รรมนั้นยอมไมตกเปนโมฆะ แตในทางกลับกันหากผูรับการแสดงเจตนารูวาผูแสดง
เจตนาแสดงเจตนาออกมาโดยไมประสงคผูกพัน การแสดงเจตนาเชนนัน้ ยอมตกเปนโมฆะ
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรูกับคูกรณีอีกฝายหนึ่งทํานิติกรรมอําพรางนิติกรรมอื่น
กฎหมายใหนาํ บทบัญญัติเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอําพรางมาบังคับใช (มาตรา ๑๕๕ วรรคสอง
ปพพ.) ผลก็คอื นิติกรรมที่ทําขึ้นเพื่ออําพรางอื่นยอมตกเปนโมฆะเพราะเปนนิติกรรมที่คูกรณีสมรู
กันทําลวงขึ้น และการนําบทบัญญัติเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอําพรางมาใชบังคับ ก็คือการบังคับให
เปนไปตามเจตนาที่แทจริงของคูกรณีนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีกรณี การแสดงเจตนาที่ทําขึน้ โดยสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิตกิ รรม
กฎหมายก็กําหนดใหการแสดงเจตนาเชนนั้นตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๖ วรรคแรก ปพพ.) ซึ่งก็คือ
กรณีที่ผูแสดงเจตนาแสดงเจตนาออกมาแตกตางจากเจตนาที่แทจริงในเรื่องที่เปนสาระสําคัญแหง
นิติกรรม การแสดงเจตนานัน้ ยอมตกเปนโมฆะ มีผลใหเจตนาที่แสดงออกมาซึ่งตางจากเจตนาที่
แทจริงนั้นไมมีผล อันอาจถือไดวา การถือวาเจตนาที่แสดงออกมาโดยสําคัญผิดเปนโมฆะนี้ ก็
จัดเปนการคุมครองประโยชนของผูแสดงเจตนาใหสอดคลองกับเจตนาที่แทจริงซึ่งแมไมไดแสดง
ออกมา แตกย็ อ มคาดหมายไดวาเมื่อเจตนาที่แทจริงตางจากเจตนาทีแ่ สดงออกในเรื่องที่เปน
สาระสําคัญแหงนิติกรรม เจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนายอมไมประสงคจะผูกพันตามเจตนาที่
แสดงออกอยูน ั่นเอง กฎหมายจึงบังคับใหเจตนาที่แสดงออกโดยสําคัญผิดในสาระสําคัญตกเปน
โมฆะ

๒.๓ กรณีที่ถือวาการแสดงเจตนาบกพรองตกเปนโมฆียะ
การแสดงเจตนาที่มีขอบกพรองกรณีอื่นหลายกรณีซึ่งแมกฎหมายถือวาเปนเปนเรื่องสําคัญ
แตก็ยังคํานึงถึงประโยชนไดเสียของทั้งฝายผูแสดงเจตนาและฝายผูรับการแสดงเจตนาประกอบกัน
ทําใหกฎหมายไมถึงกับกําหนดใหการแสดงเจตนาที่มีขอ บกพรองเหลานั้นตองตกเปนโมฆะ แต
กําหนดใหมีผลสมบูรณ แตไมถึงกับสมบูรณเด็ดขาด คือมีผลแตไมแนนอน อาจถูกบอกลางไดใน
ภายหลัง โดยกฎหมายถือวานิติกรรมนั้นเมื่อถูกบอกลางแลว ยอมตกเปนโมฆะ เสียผลไปแต
เริ่มแรก
ตัวอยางเชน ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกมาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล
หรือทรัพยอันปกติเปนสาระสําคัญของนิติกรรม ถึงขนาดที่หากไมมีความสําคัญผิดเชนนั้นก็คงจะ
มิไดมีการทํานิติกรรมนั้น ในกรณีเชนนี้กฎหมายกําหนดใหการแสดงเจตนานั้นตกเปนโมฆียะ
(มาตรา ๑๕๗ ปพพ.) เชนผูซอื้ สรอยคอเสนหนึ่งซึ่งมีสีทองจากรานขายเครื่องประดับที่ทําดวยทอง
โดยผูซ้อื เขาใจเอาเองวาสรอยคอดังกลาวเปนสรอยคอทองคํา แตอันทีจ่ ริงสรอยคอเสนนั้นเปน

๑๗๕
สรอยคอชุบทอง ดังนี้หากฝายผูขายไมไดชี้แจงใหเขาใจวา สรอยเสนดังกลาวไมใชสรอยคอทองคํา
แตเปนเพียงสรอยคอทองชุบ และผูซื้อมีสิทธิคาดหมายไดโดยชอบวาสรอยคอที่จําหนายในราน
ขายเครื่องประดับที่ทําจากทองคํายอมเปนสรอยคอทองคํา โดยที่หากผูซื้อรูวาสรอยคอนั้นมิไดทํา
ดวยทองคํา ก็คงจะไมไดตกลงซื้อสรอยคอเสนนั้น ดังนีส้ ัญญาซื้อขายยอมเกิดขึน้ แตสัญญาซื้อขาย
รายนี้เปนนิติกรรมที่ทําขึ้นโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย คือสรองคอซึ่งผูซื้อเขาใจวาเปน
สรอยคอทองคํา ทําใหนิตกิ รรมนี้ตกเปนโมฆียะ คือสมบูรณชนิดอาจถูกบอกลางได
การที่กฎหมายตองกําหนดใหการแสดงเจตนาที่แสดงออกมาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติ
ของบุคคลหรือทรัพยยอมตกเปนโมฆียะนี้ ก็เพราะตามปกติ คุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยยอม
เปนมูลเหตุจูงใจชนิดหนึ่งในการเขาทํานิติกรรม ซึ่งหากบังคับตามหลักทั่วไป ความสําคัญผิดใน
ขอเท็จจริงอันเปนมูลเหตุจูงใจเชนนัน้ ยอมไมกระทบตอความสมบูรณของนิติกรรม แตโดยที่
กฎหมายถือวาเรื่องสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยอันปกติเปนเรื่องสําคัญนั้นเปนกรณี
ที่มีนัยสําคัญอยางยิ่ง แมโดยทั่วไปกรณีเชนนี้อาจจะถือเปนกรณีสําคัญผิดในมูลเหตุจงู ใจและไม
สงผลกระทบตอความสมบูรณแหงนิติกรรมเลยก็ตาม แตกรณีสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล
หรือทรัพยอันปกติเปนสาระสําคัญแหงนิตกิ รรม ก็ไดรับการยกเวนใหถือวาเปนเรื่องที่มีนัยสําคัญ
ทางกฎหมาย กฎหมายจึงกําหนดใหนิตกิ รรมที่ทําขึ้นโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือ
ทรัพยตองตกเปนโมฆียะ
การที่กฎหมายกําหนดใหนิตกิ รรมที่ทําโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยนี้
เปนโมฆียะนี้ ยอมกอใหเกิดประโยชนแกคูกรณีฝายที่เปนผูรับการแสดงเจตนา เพราะนิติกรรมที่
ทําขึ้นนี้ยอมจะมีผลจนกวาจะถูกบอกลางในภายหลัง นับไดวาเปนการคุมครองใหฝายผูรับการ
แสดงเจตนาสามารถเชื่อมั่นในความมีผลของเจตนาที่แสดงออกมาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของ
บุคคลหรือทรัพยนี้ไดในระดับหนึ่ง แตในทางกลับกันการยอมใหบอกลางโมฆียะกรรม ยอมเปน
การคุมครองประโยชนของฝายที่เปนผูแสดงเจตนา เพราะเขายอมมีสิทธิเลือกที่จะยอมใหเจตนาที่
เขาแสดงออกโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยนั้นคงมีผลตอไป หรือจะแสดง
เจตนาบอกลางการแสดงเจตนาเชนนัน้ อันจะมีผลทําใหการแสดงเจตนานั้นตกเปนโมฆะมาแต
เริ่มแรก
จากกรณีขางตนเราจะเห็นไดวา หากผูแสดงเจตนาตองการใหการแสดงเจตนาของตนมีผล
ตอไป เขายอมไมตองทําอะไรเลย เชนในกรณีที่ ก. แสดงเจตนาซื้อสรอยคอชุบทองมาโดยสําคัญ
ผิดวาเปนทองคําแท ดังนีห้ าก ก. ประสงคจะใหนิตกิ รรมซื้อขายรายนีม้ ีผลตอไป ก. ยอมไมตองทํา
อะไรเลย แตถา ก. ตองการทําใหนิตกิ รรมซื้อขายรายนี้สิ้นผลไป เขาก็ตองบอกลางนิติกรรมนี้โดย
การบอกกลาวไปยังคูกรณีวาไมประสงคจะใหนิตกิ รรมนัน้ มีผลตอไป การบอกลางโมฆียะกรรมนี้

๑๗๖
จะสงผลใหนติ ิกรรมนั้นถูกกฎหมายถือวาตกเปนโมฆะมาแตเริ่มแรก (มาตรา ๑๗๖ วรรคแรก
ปพพ.)
การบอกลางโมฆียะกรรมยอมสงผลตอไปใหคูกรณีกลับคืนสูฐานะเดิม คือกลับคืนสู
ฐานะอันคูก รณีเปนอยูในขณะที่ทํานิติกรรม แตถาเปนการพนวิสยั จะใหกลับคืนเชนนั้นได ก็ให
ไดรับคาเสียหายชดใชใหแทน (มาตรา ๑๗๖ วรรคแรก ปพพ.)

๑๗๗
บทที่ ๒
กรณีเจตนาที่แสดงออกไมตรงกับเจตนาที่แทจริง
โดยผูแสดงเจตนารูตวั

อุทาหรณ ๑) ก. ผูใหเชา บอกกลาวเลิกสัญญาเชารานคาตอ ข. ผูเชา โดยในใจจริงนั้น ก. มิได


ประสงคจะเลิกสัญญา แตหวังวา ข. มาขอความเมตตาจากตน

อุทาหรณ ๒) กรณีจะเปนอยางไร ถา ข. รูลวงหนาจาก ค. เพื่อนของ ก. วา ก. จะบอกเลิกสัญญา


โดยไมไดตองการเลิกสัญญาจริง ๆ แตจะทําไปเพื่อบีบบังคับให ข. มาออนวอนขอความเมตตา
จาก ก. เทานั้น

อุทาหรณ ๓) กรณีจะเปนอยางไร ถา ก. บอกเลิกสัญญาเชาตอ ข. ในวงเหลา เพื่อโออวดแกเพื่อน


รวมวงคนอืน่ ๆ โดยขยิบตาเปนเชิงบอก ข. วาลอเลน

อุทาหรณ ๔) กรณีจะเปนอยางไร ถา ข. พาซื่อไมรูวา ก. ลอเลน และถือเปนจริงเปนจังลงโฆษณา


หาที่เชาใหมในหนังสือพิมพ ครั้นตอมาเมื่อไดรูวา ก. ลอเลน จึงกลับมาเชาอยูตอไป แตประสงคจะ
เรียกให ก. ชดใชคาใชจายในการลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ

อุทาหรณ ๖) ถา ก. บอกเลิกสัญญาตอ ข. ตอหนา ค. โดยสมรูกันเพื่อให ค. หลงเขาใจวามีหองวาง


จะไดวางเงินมัดจําคาเชา

อุทาหรณ ๗) ก. ตกลงซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจาก ข. โดยทั้งสองฝายตกลงซื้อขายกันในราคา ๑ ลาน


บาท แตเพื่อจะประหยัดเงินคาธรรมเนียมโอนที่ดิน จึงตกลงกันวา ในการจดทะเบียนสัญญาซื้อขาย
ตอพนักงานเจาหนาที่จะแจงตอพนักงานเจาหนาที่วาไดตกลงซื้อขายกันในราคาเพียง ๖ แสนบาท
ตามราคาประเมินของที่ดินแปลงนี้ นิติกรรมที่ไดจดทะเบียนตอพนักงานเจาหนาที่ในกรณีนี้จะมี
ผลสมบูรณ หรือตกเปนโมฆะ หรือโมฆียะหรือไม อยางไร?

๑๗๘
บทที่ ๒
กรณีเจตนาที่แสดงออกไมตรงกับเจตนาที่แทจริง
โดยผูแสดงเจตนารูตวั

๑. ขอความทั่วไป
กรณีเจตนาที่แสดงออกไมตรงกับเจตนาทีแ่ ทจริงโดยผูแ สดงเจตนารูตวั นี้แตกตางจากกรณี
ที่การแสดงเจตนามีขอบกพรองหรือเสื่อมเสียในกรณีอนื่ ๆ ตรงที่ ความบกพรองของเจตนาที่
แสดงออกในกรณีนี้ เกิดขึ้นจากการกระทําของผูแสดงเจตนาที่ไดกระทําไปโดยรูตัววาเจตนาที่ตน
แสดงออกไปนั้นตางจากเจตนาที่แทจริง นับเปนการแสดงเจตนาออกมาโดยในใจจริงของผูแสดง
เจตนามิไดประสงคจะผูกพันตามที่แสดงออกเลย โดยทัว่ ไปการแสดงเจตนาของบุคคลเปนการ
แสดงเจตนาทีป่ ระสงคตอผลทางกฎหมาย และกฎหมายยอมรับใหการแสดงเจตนาของเขามีผล
ผูกพันตามความประสงคนั้น ๆ ได แตกฎหมายก็วางขอยกเวนไวในกรณีที่การแสดงเจตนาอัน
ประสงคตอผลทางกฎหมายนั้น เปนการแสดงเจตนาออกมาโดยบกพรอง ในกรณีเชนนี้กฎหมาย
จะถือวาเจตนาที่แสดงออกมาโดยมีขอบกพรองนั้นไมผกู พันผูแสดงเจตนา ขอบกพรองที่สําคัญก็
คือกรณีที่เจตนาที่แสดงออกนั้นแตกตางจากเจตนาที่แทจริง ซึ่งมีไดทั้งกรณีที่ผูแสดงเจตนาไมรูตัว
วาเจตนาที่แสดงออกนั้นแตกตางจากเจตนาที่แทจริง ไดแกกรณีที่แสดงเจตนาโดยสําคัญผิดใน
สาระสําคัญแหงนิติกรรม (มาตรา ๑๕๖ ปพพ.) และกรณีที่ผูแสดงเจตนารูตัววาเจตนาที่แสดง
ออกมานั้นแตกตางจากเจตนาที่แทจริง เชน กรณีแสดงเจตนาออกมาโดยในใจจริงไมประสงค
ผูกพัน เจตนาลวง และนิตกิ รรมอําพราง (๑๕๔, ๑๕๕ ปพพ.)
โดยทั่วไปกฎหมายถือวา ผูแ สดงเจตนาทีไ่ ดแสดงเจตนาออกมาตางจากเจตนาทีแ่ ทจริง
โดยที่ตนเองไมรูตัว เชนผูแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิติกรรม ควรเปนผูอยูใ น
ฐานะควรไดรบั ความคุมครอง เพราะกฎหมายเห็นวาไมควรจะบังคับใหบุคคลตองผูกพันตาม
เจตนาที่แสดงออก ทั้ง ๆ ที่เจตนาที่แสดงออกนั้นแตกตางจากเจตนาทีแ่ ทจริงของเขา เพราะการฝน
บังคับเชนนั้นยอมทําใหผแู สดงเจตนาตองผูกพันโดยฝาฝนความสมัครใจ และยอมจะอิดเอื้อนทีจ่ ะ
ผูกพันตนตามเจตนาที่แสดงออกอยางยิ่ง เพราะความผูกพันเชนนั้นขัดตอเจตนาที่แทจริงของเขา
ยิ่งเปนกรณีทคี่ วามแตกตางระหวางเจตนาที่แทจริงกับเจตนาที่แสดงออกเปนเพราะพฤติการณที่เขา
ไมตองรับผิดชอบ ก็ยิ่งเปนการยากที่เขาจะรูสึกผูกพันหรือตองรับผิดชอบตอเจตนาทีไ่ ดแสดงออก
ยิ่งขึ้นอีก ดังนัน้ กฎหมายจึงถือวาการแสดงเจตนาที่ทําโดยสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิตกิ รรม
ยอมตกเปนโมฆะ ตามมาตรา ๑๕๖ ปพพ.

๑๗๙
แตในกรณีที่ความสําคัญผิดนั้นเกิดจากความประมาทเลินเลออยางรายแรงของผูแสดง
เจตนา กฎหมายก็จะหันกลับไปคุมครองคูกรณีของผูแสดงเจตนาโดยสําคัญผิด เพราะในกรณี
เชนนี้คูกรณีฝายที่ไดรับการแสดงเจตนา ซึง่ ไมมีสวนผิดหรือมีสวนควรตองรับผิดชอบในความ
บกพรองเสื่อมเสียแหงเจตนานั้น ควรไดรับการคุมครองจากกฎหมายยิ่งกวาฝายผูแ สดงเจตนา เมื่อ
ฝายผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกไปตางจากเจตนาที่แทจริงโดยมีพฤติการณที่ตนตอง
รับผิดชอบ คือแสดงเจตนาออกไปเพราะความประมาทเลินเลออยางรายแรง ดังนี้เขาจึงถูกกฎหมาย
หามมิใหอางวาการแสดงเจตนานั้นตางจากเจตนาที่แทจริง ดังจะเห็นไดจากมาตรา ๑๕๘ ปพพ. ซึ่ง
หามมิใหผแู สดงเจตนาโดยสําคัญผิดอางความสําคัญผิดอันเกิดจากความประมาทเลินเลออยาง
รายแรงของตนขึ้นเปนประโยชนแกตนเอง
แตกรณีที่ผแู สดงเจตนาไมประสงคจะผูกพันตนตามเจตนาที่แสดงออกมา หรือกลาวอีก
อยางไดวา ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกมาแตกตางจากเจตนาที่แทจริงโดยผูแสดงเจตนารูตวั
อันเปนกรณีตามมาตรา ๑๕๔ ปพพ. นี้ เปนที่ยอมรับกันวาเปนกรณีที่ผแู สดงเจตนาควรไดรับความ
คุมครองนอยกวากรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกมาตางจากเจตนาที่แทจริงโดยผูแสดง
เจตนาไมรูตวั หรือกรณีสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิตกิ รรมตามมาตรา ๑๕๖ ปพพ. ดังนั้น
กฎหมายจึงกําหนดหลักเกณฑไววา การแสดงเจตนาที่ในใจจริงของผูแ สดงเจตนาไมประสงคจะ
ผูกพันนั้น หากเปนการแสดงเจตนาที่ตองมีผูรับการแสดงเจตนา และฝายผูรับการแสดงเจตนาไมรู
วาผูแสดงเจตนาออกมานั้นไมประสงคจะผูกพันตามเจตนาที่แสดงออก ดังนี้ผูรับการแสดงเจตนา
ยอมจะเปนผูควรไดรับการคุม ครองใหเชื่อถือในความมีผลตามกฎหมายของเจตนาที่ไดแสดง
ออกมานั้นได ดวยเหตุนี้ กฎหมายจึงไดบญ ั ญัติเปนทํานองวา การแสดงเจตนาที่ในใจจริงไม
ประสงคจะผูกพันนั้น หากคูก รณีอีกฝายหนึ่งไมรูวาผูแสดงเจตนาไมประสงคจะผูกพัน ดังนี้การ
แสดงเจตนาเชนนั้นยอมไมตกเปนโมฆะ คือมีผลบังคับ และกอใหเกิดความผูกพันได นับเปนการ
คุมครองประโยชนของผูรับการแสดงเจตนาใหเปนไปตามทฤษฎีเจตนาที่แสดงออก
(Erklaerungstheorie) นั่นเอง
แตถาเปนกรณีที่ผูรับการแสดงเจตนารูอยูแ ลววา ผูแ สดงเจตนาไมประสงคจะผูกพันตาม
เจตนาที่ตนแสดงออก ดังนี้ผรู ับการแสดงเจตนายอมไมอยูในฐานะควรไดรับความคุมครอง และ
การแสดงเจตนานั้นยอมตกเปนโมฆะ นับวากฎหมายคุมครองประโยชนของฝายผูแสดงเจตนาให
เกิดผลไปตามเจตนาที่แทจริง คือเจตนาไมผกู พัน สงผลใหการแสดงเจตนานั้นตกเปนโมฆะ นับวา
เปนกรณีตามทฤษฎีเจตนาทีแ่ ทจริง (Willenstheorie)
กรณีที่เจตนาที่แสดงออกแตกตางจากเจตนาที่แทจริง โดยผูแสดงเจตนารูตัวนี้ อาจมีได
หลายกรณี เชนกรณีแสดงเจตนาโดยปกปดเจตนาทีแ่ ทจริง หรือเจตนาซอนเรน กรณีแสดงเจตนา
โดยเปดเผยใหเห็นไดวา ผูแสดงเจตนาไมประสงคผูกพันตามกฎหมายตามเจตนาทีแ่ สดงออก เชน

๑๘๐
การแสดงเจตนาในทางแสดงอัธยาศรัยไมตรี หรือการแสดงเจตนาที่ผแู สดงเจตนาคาดหมายหรือ
ถือวาผูรับการแสดงเจตนารูห รือควรรูวาเจตนานั้นไดแสดงออกมาโดยไมประสงคผูกพัน เชนการ
แสดงเจตนาโดยมีวตั ถุประสงคเพื่อลอเลน ไมไดมีเจตนาผูกพันจริงจังแตอยางใด

๒. การแสดงเจตนาโดยในใจจริงไมประสงคผูกพัน
การแสดงเจตนาโดยในใจจริงไมประสงคผูกพัน หรือที่เรียกกันวา เจตนาซอนเรน ไดแก
กรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกมาในลักษณะที่ประสงคผูกพัน แตในใจจริงหรือตาม
เจตนาที่แทจริง บุคคลนั้นมิไดประสงคจะผูกพันตามเจตนาที่แสดงออก ซึ่งเปนกรณีตามมาตรา
๑๕๔ ปพพ.

๒.๑ องคประกอบของการแสดงเจตนาโดยในใจจริงไมประสงคผูกพัน
ประการแรก การแสดงเจตนานั้นเปนการแสดงเจตนาออกมาภายนอกในลักษณะที่
ประสงคผูกพัน แตเจตนาทีแ่ ทจริงนั้นกลับตั้งใจที่จะไมผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกเลย
ประการตอมา การแสดงเจตนาเชนนัน้ ไดแสดงออกมาโดยพฤติการณทคี่ ูกรณีอีกฝายหนึ่ง
มิไดรูหรือรูวาผูแสดงเจตนาไมประสงคจะผูกพันก็ได ทั้งนี้โดยไมตองคํานึงถึงมูลเหตุจูงใจของผู
แสดงเจตนาวาเหตุที่ไมประสงคผูกพันนั้นเปนเพราะอะไร ไมวาจะเปนเพราะตองการหลอกลวง
ทํากลฉอฉล หรือตองการปลอบใจ หรือทําใหผูรับการแสดงเจตนาสบายใจ ฯลฯ หากแสดงเจตนา
ออกมาโดยผูแสดงเจตนาไมประสงคผูกพัน ก็ถือไดวาเปนการแสดงเจตนาโดยในใจจริงไม
ประสงคจะผูกพันได
เจตนาซอนเรน หรือเจตนาที่แสดงออกโดยในใจจริงไมประสงคผูกพันนั้น ตางจากกรณี
แสดงเจตนาโดยไมประสงคตอผลทางกฎหมายเลยตรงที่ การแสดงเจตนาโดยในใจจริงไม
ประสงคผูกพันนั้น เปนการแสดงเจตนาทีป่ รากฏออกมาภายนอกในลักษณะที่ผูแสดงเจตนา
ประสงคตอผลทางกฎหมาย หรือประสงคตอความผูกพันทางกฎหมายตามที่แสดงออก เชนแสดง
เจตนาเลิกสัญญา แสดงเจตนาปลดหนี้ เพียงแตในใจจริงของผูแสดงเจตนานั้นไมประสงคจะ
ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมา สวนการแสดงเจตนาโดยไมประสงคตอผลทางกฎหมายเลย นั้น
เปนกรณีทเี่ จตนาที่แสดงออกนั้นเองมีลักษณะไมประสงคผูกพันมาแตตน เชนการแสดงเจตนาอัน
เปนการแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดี เชิญเพื่อนมาเลี้ยงอาหาร สัญญาจะใหของขวัญเมื่อบรรลุนิติภาวะ
ฯลฯ ซึ่งเปนกรณีที่วิญูชนพึงรูไดวาเปนเจตนาที่แสดงออกโดยไมประสงคตอผลทางกฎหมายเลย
เจตนาซอนเรนหรือเจตนาทีแ่ สดงออกโดยในใจจริงไมประสงคผูกพันยังแตกตางจาก
การณีแสดงเจตนาในทางลอเลน หรือแสดงเจตนาโดยไมประสงคตอผลจริงจัง อันเปนการแสดง
เจตนาออกมาภายนอกในลักษณะที่ประสงคตอผล แตไดแสดงออกมาในพฤติการณซึ่งผูแสดง

๑๘๑
เจตนาเชื่อวา หรือคาดหมายวา คูกรณีอกี ฝายหนึ่งรูถึงเจตนาในใจจริงวาไมประสงคผูกพันตาม
เจตนาที่แสดงออกนั้น เชนสัญญาที่ทํากันในวงเหลา หรือในการเลนหัวกันในหมูเพื่อน ซึ่งเปนที่รู
กันวาไมไดจริงจังอะไร

๒.๒ ผลของการแสดงเจตนาโดยในใจจริงมิไดประสงคผูกพัน
ผลทางกฎหมายของการแสดงเจตนาโดยในใจจริงมิไดประสงคผูกพัน หรือเจตนาซอน
เรนนี้มีแตกตางกัน ตามแตวา คูกรณีอีกฝายหนึ่ง ลวงรูถึงเจตนาอันซอนอยูในใจของผูแสดงเจตนา
นั้นหรือไม โดยกฎหมายแยกออกเปนกรณีที่คูกรณีอีกฝายหนึ่งไมรูถึงเจตนาที่ซอนเรน กับกรณีที่
คูกรณีอีกฝายหนึ่งรูถึงเจตนาอันซอนอยูในใจนัน้
ในกรณีที่เปนการแสดงเจตนาชนิดที่ตองมีผูรับการแสดงเจตนา เชน การทําคําเสนอ การ
ทําคําสนอง การปลดหนี้ การบอกกลาวเลิกสัญญา ฯลฯ โดยในใจจริงของผูแสดงเจตนาไม
ประสงคจะผูกพันตามที่ไดแสดงออก และคูกรณีอีกฝายหนึ่งมิไดรูถึงเจตนาไมประสงคผูกพันที่
ซอนอยูในใจของผูแสดงเจตนา ดังนี้เปนการแสดงเจตนาโดยซอนเรน กฎหมายมุงคุมครอง
ประโยชนของฝายผูรับการแสดงเจตนาอันเกิดจากความเชื่อถือในเจตนาที่แสดงออกวายอมเปน
เครื่องแสดงเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนา ดวยเหตุนแี้ มผูแสดงเจตนาจะไมประสงคผูกพัน เขา
ยอมถูกบังคับโดยกฎหมายใหตองผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกตอผูรับการแสดงเจตนา โดย
กฎหมายถือวาการแสดงเจตนาเชนนัน้ มีผลสมบูรณ (มาตรา ๑๕๔ กรณีแรก ปพพ.)
ตามอุทาหรณ ๑) เมื่อ ก. ไดบอกกลาวเลิกสัญญาเชากับ ข. เมื่อไมปรากฏวา ข. ลวงรูถ ึง
เจตนาอันซอนอยูในใจของ ก. ดังนี้การบอกกลาวเลิกสัญญานั้นยอมมีผลสมบูรณ ไมตกเปนโมฆะ
หรือตัวอยางเชน ก. ทําของมีคาหาย จึงบอกกลาวเปนคํามั่นตอ ข. วาหาก ข. สามารถชี้ตัวผูเก็บได
ได ยินดีจะใหรางวัลเปนเงิน ๕๐๐ บาท แตในใจจริงนั้น ก. ไมตองการผูกพันตามเจตนาดังกลาว
เลย ที่แสดงเจตนาออกไปก็เพียงเพื่อลวงให ข. ติดตามหาตัวผูเก็บของมีคานั้นไดเทานั้น ดังนีห้ าก
ข. มิไดลวงรูถึงเจตนาไมผูกพันอันซอนอยูใ นใจของ ก. เลย และตอมา ข. สามารถชี้ตัวผูเก็บของมี
คาของ ก. ที่หายไปได ดังนี้ ก. ตองใหรางวัลแก ข. ๕๐๐ บาทตามคํามั่นนั้น โดย ก. ไมอาจอางได
วาตนไมประสงคจะผูกพันมาแตตนขึ้นอางไดเลย
แตถาเปนกรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาตอผูรับการแสดงเจตนาโดยรูหรือคาดหมาย
ไดวาคูก รณีอกี ฝายหนึ่งรูอยูว าตนไมประสงคจะผูกฟน ดังนี้ฝายผูรับการแสดงเจตนาซึ่งรูหรือควร
ไดรูถึงเจตนาในใจจริงของผูแ สดงเจตนาวาผูแสดงเจตนาไมประสงคผูกพันยอมไมอยูในฐานะควร
ไดรับการคุมครอง เมื่อรูอยูแลววาในใจจริงของอีกฝายหนึ่งไมประสงคผูกพันตามเจตนาที่
แสดงออก ผูรับการแสดงเจตนาก็ไมมีเหตุควรเชื่อถือในเจตนาที่แสดงออกนั้น ประโยชนของฝาย
ผูรับการแสดงเจตนาที่กฎหมายมุงจะคุมครองใหสามารถเชื่อถือเจตนาทีแ่ สดงออกมาไดโดยชอบ

๑๘๒
ยอมจะตกไป และดังนัน้ กฎหมายจึงกําหนดใหการแสดงเจตนาที่ในใจจริงมิไดประสงคจะผูกพัน
และคูกรณีอกี ฝายหนึ่งรูถึงเจตนาไมผูกพันที่ซอนอยูในใจของผูแสดงเจตนาอยูแ ลว จึงไมมีผล
ผูกพันใด ๆ คือตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๔ กรณีหลัง ปพพ.)
ตามอุทาหรณ ๒) การบอกเลิกสัญญาของ ก. ตอ ข. โดย ข. รูอยูแลววา ก. ไมไดประสงค
เชนนั้น ยอมเปนการแสดงเจตนาโดย ข. ซึ่งเปนคูกรณีอีกฝายหนึ่งลวงรูถึงเจตนาไมผูกพันที่ซอน
อยูในใจของ ก. อยูแลว ดังนีก้ ารที่ ก. บอกเลิกสัญญา ยอมไมมีผล การบอกเลิกสัญญานั้นยอมตก
เปนโมฆะ
กรณีที่นาคิดตอไปก็คือ กรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกไปโดยในใจจริงไม
ประสงคจะผูกพัน และไดแสดงเจตนาออกไปในพฤติการณซึ่งคาดหมายวาคูกรณีอีกฝายหนึ่งรูอยู
แลววาตนไมประสงคจะผูกพัน ในกรณีเชนนี้เจตนาที่ปรากฏยอมมีลักษณะที่วิญูชนควรเขาใจได
วาเปนเจตนาทีไ่ มประสงคผูกพันมาแตตน เชนตกลงกันในวงสนทนาวา หากทีมฟุตบอลซึ่งตน
สนับสนุนชนะการแขงขันก็จะจายเงินใหอกี ฝายหนึ่ง ๑๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้โดยไมตองคํานึงถึง
มูลเหตุจูงใจของผูแสดงเจตนาวาไดแสดงเจตนาไปเพื่อลอเลน เพื่อทาทาย หรือเพื่อโออวด ก็ถือได
วาเปนการแสดงเจตนาโดยในใจจริงไมประสงคผูกพัน และคาดหมายไดวาคูกรณีอีกฝายหนึ่งรู
หรือควรรูอยูแลววาตนไมประสงคจะผูกพันแลว การแสดงเจตนาเชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ
แตมีกรณียกเวน โดยเฉพาะกรณีการแสดงเจตนาที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงออกไปโดยไม
ประสงคผูกพันเพื่อทํากลฉอฉล เชนหลอกขายรถยนตหรือสินคาราคาแพงในราคาถูกโดยไมมี
เจตนาขายมาแตตน ในกรณีเชนนี้ ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาไปโดยมุงหลอกลวงใหคูกรณีอกี
ฝายหนึ่งหลงเชื่อจนยอมเขาทํานิติกรรมดวย ดังนั้นยอมไมอาจจะอางไดวา การแสดงเจตนาเชนนัน้
ของตนเปนการแสดงเจตนาโดยไมประสงคผูกพันที่คูกรณีอีกฝายหนึ่งรูหรือควรไดรอู ยูแลววาผู
แสดงเจตนาใมประสงคจะผูกพัน เพราะการแสดงเจตนาเพื่อทํากลฉอฉลยอมตองแสดงออกให
ปรากฏในลักษณะที่เปนไปเพื่อกอความผูกพัน กรณีจึงเทียบไดกับกรณีแสดงเจตนาโดยซอน
เจตนาที่แทจริง ดวยเหตุนี้ฝายผูแสดงเจตนาหลอกลวงจึงไมอาจอางไดวาการแสดงเจตนาเชนนัน้
ยอมตกเปนโมฆะเพราะเปนเจตนาที่แสดงออกในลักษณะไมผูกพันและอีกฝายหนึ่งรูอ ยูแลววาตน
หลอกลวงและไมประสงคจะผูกพัน โดยเทียบเคียงหลักเกณฑในเรื่องเจตนาซอนเรนตามมาตรา
๑๕๔ ปพพ. มาปรับใชแกกรณีนี้ แตในทางกลับกันคูกรณีอีกฝายหนึ่งซึ่งมิไดมีเจตนาสมรูอยูดวย
อาจอางวาตนรูอยูแลววาผูแสดงเจตนาไมประสงคผูกพันจึง
ตามอุทาหรณ ๓) และอุทาหรณ ๔) การแสดงเจตนาของ ก. เปนการแสดงเจตนาโดยไม
ประสงคจะผูกพัน และคาดหมายไดวาคูกรณีอีกฝายหนึ่งจะรูวา ตนไมประสงคจะผูกพัน แตตาม
อุทาหรณ ๔) นั้น การที่ ก. แสดงเจตนาโดยขยิบตาให ข. ซึ่งเปนคูกรณีอีกฝายหนึ่งรูว า เปนการ
แสดงเจตนาเพือ่ ลอเลน และคูกรณีนั้นรูอยูแ ลววาลอเลน ดังนี้การแสดงเจตนานัน้ เปนการแสดง

๑๘๓
เจตนาที่ปรากฏใหเห็นไดวาไมผูกพัน และยอมตกเปนโมฆะ แตในกรณีที่ ข. เกิดพาซือ่ ไมเขาใจ
สัญญาณขยิบตาของ ก. ถือเปนจริงเปนจังวา ก. บอกเลิกสัญญากับตน ดังนี้ตองพิจารณาวา ตาม
พฤติการณที่ ก. แสดงเจตนาออกมานั้นวิญูชนในฐานะเชน ข. จะพึงรูไ ดหรือไม ถาพึงรูไดก็ตอง
ถือวาการแสดงเจตนานัน้ ตกเปนโมฆะ แตถา ก. ไดแสดงเจตนาโดยพฤติการณที่ ข. ไมรูและไม
ควรรูวา ก. ไมประสงคผูกพัน ก็ตองถือวาการแสดงเจตนาของ ก. ไมตกเปนโมฆะ และมีผล
สมบูรณ ทั้งนี้โดยเทียบเคียงกับกรณีตามมาตรา ๑๕๔ ปพพ.
ในกรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกไปโดยในใจจริงมิไดประสงคจะผูกพัน และรู
หรือควรไดรวู า การแสดงเจตนาของตนซึ่งในใจจริงไมไดประสงคจะผูกพันนั้น เปนเหตุใหคูกรณี
อีกฝายหนึ่งเชือ่ สนิทใจวาประสงคจะผูกพันตามที่แสดงออก ดังนี้ผูแสดงเจตนาโดยไมประสงคจะ
ผูกพันไมอาจอางเจตนาไมผกู พันของตน หรือยกขอตอสูวาเจตนาของตนบกพรองเปนประโยชน
แกตนได เพราะการยอมใหผแู สดงเจตนาโดยไมประสงคผูกพันอางไดในภายหลังยอมเปนการอัน
ขัดตอพฤติการณกอน ๆ ของตน และขัดตอหลักสุจริต

๓. การแสดงเจตนาลวง และนิติกรรมอําพราง

๓.๑ การแสดงเจตนาลวง
การแสดงเจตนาลวง หมายถึงกรณีที่ผูแสดงเจตนาแสดงเจตนาที่ตองมีผูรับออกไป โดย
สมรูกันกับผูรับการแสดงเจตนาอยูแลววา ในใจจริงของผูแสดงเจตนามิไดประสงคจะผูกพันตาม
เจตนาที่แสดงออก (มาตรา ๑๕๕ วรรคแรก ปพพ.)
การแสดงเจตนาลวงจะมีไดเฉพาะการแสดงเจตนาชนิดที่ตองมีผูรับการแสดงเจตนา
เพราะเจตนาลวงจะมีไดก็ตอเมื่อมีการสมรูกันกับผูรับการแสดงเจตนา ถาปราศจากผูสมรูในการ
แสดงเจตนาลวง การแสดงเจตนานั้นก็เปนเพียงการแสดงเจตนาที่ผแู สดงเจตนาไมประสงคผูกพัน
คูกรณีทั้งสองฝายตางสมรูกัน วาผูแสดงเจตนามิไดประสงคจะผูกพันตามเจตนาทีแ่ สดง
ออกมา
ตัวอยางเชน ก. บอกกลาวเลิกจาง ข. ซึ่งเปนเลขานุการของตน ตอหนา ค. ภริยาของ ก.
เพื่อเอาใจ ค. ซึ่งเรียกรองให ก. เลิกจาง ข. ตลอดมา ดังนีห้ าก ก. กับ ข. แสดงเจตนาเลิกจางโดย
สมรูกันวา ก. ไมไดประสงคจะเลิกจางตามเจตนาที่แสดงออกแตอยางใด การบอกกลาวเลิกจางนั้น
ยอมตกเปนโมฆะ เทากับไมมีการบอกเลิกจางเลย แมจะไดทําตามแบบที่กฎหมายกําหนด หรือ
ตามที่ตกลงกัน ก็ไมมีผลเปนการเลิกจางแตอยางใด
เจตนาลวงโดยสมรูกับคูกรณีอีกฝายหนึ่งจึงคลายกับการแสดงเจตนาที่ในใจจริงไม
ประสงคจะผูกพันตรงที่เปนเจตนาที่แสดงออกในลักษณะที่ตองการผูกพัน แตในใจจริงไมตองการ

๑๘๔
ผูกพัน แตเจตนาลวงก็แตกตางจากเจตนาทีใ่ นใจจริงไมประสงคผูกพันอยางอื่น ตรงที่มูลเหตุจูงใจ
ของเจตนาลวงตางจากเจตนาไมประสงคจะผูกพันโดยทัว่ ไป เนื่องจากการแสดงเจตนาลวงโดย
สมรูกับคูกรณีอีกฝายหนึ่งไมมีทางเปนกลฉอฉลที่กระทําตอคูกรณีได เพราะคูกรณีรอู ยูแลววาผู
แสดงเจตนาไมประสงคตอผลทางกฎหมายตามที่แสดงออก และโดยทัว่ ไปเจตนาลวงโดยสมรูกับ
คูกรณีอีกฝายหนึ่งก็มกั จะใชเพื่อหลอกลวงบุคคลภายนอกใหหลงเชื่อการเจตนาลวงนั้น ๆ เชนตก
ลงจดทะเบียนซื้อขายและโอนที่ดินกันโดยไมไดประสงคจะผูกพันกันเปนสัญญาซื้อขายจริง ๆ
เพียงแตทําสัญญาซื้อขายและโอนที่ดินที่ขายแกผูซื้อ โดยมีเจตนาลวงเจาหนี้ใหหลงเขาใจผิดวา
ที่ดินเปนของผูซื้อ ไมใชของลูกหนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงมิใหเจาหนี้บังคับชําระหนี้จากที่ดนิ ของลูกหนี้
เพราะเขาใจวาที่ดินแปลงนัน้ เปนของบุคคลอื่นนอกจากลูกหนี้ ดังนี้สัญญาซื้อขายยอมเปนนิติ
กรรมลวง และสัญญาซื้อขายนั้นยอมตกเปนโมฆะ และไมมีผลเปนการซื้อขายและโอนที่ดินกันเลย
นิติกรรมที่ทําลวงขึ้นนี้แมจะไดทําตามแบบ เชนจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตอหนาเจาพนักงาน
นิติกรรมเชนนั้นก็ไมมีผลบังคับ

๓.๒ นิติกรรมอําพราง
การแสดงเจตนาลวงโดยสมรูกับคูกรณีนนั้ อาจเปนการแสดงเจตนาทํานิติกรรมอยางหนึ่ง
เพื่ออําพรางนิติกรรมอีกอยางหนึ่งก็ได ในกรณีเชนนี้คูกรณีตางไมประสงคตอผลตามนิติกรรมลวง
ที่ไดทําขึ้นเพื่ออําพรางนิติกรรมอื่น แตประสงคตอผลตอผลตามนิติกรรมที่ถูกอําพรางนั้น ดวยเหตุ
นี้ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยจึงวางหลักเกณฑไวในมาตรา ๑๕๕ วรรคแรก ปพพ. วาการ
แสดงเจตนาลวงโดยสมรูกับคูกรณีอีกฝายหนึ่งเปนโมฆะ และวางหลักเกณฑในมาตรา ๑๕๕ วรรค
สอง ปพพ. วาถาการแสดงเจตนาลวงนั้นทําขึ้นเพื่ออําพรางนิติกรรมอื่น ใหนําบทบัญญัติของ
กฎหมายอันเกีย่ วกับนิติกรรมที่ถูกอําพรางมาใชบังคับ
ตัวอยางเชน คูก รณีทําคําเสนอ และคําสนองในสัญญาซื้อขาย แตอันทีจ่ ริงคูกรณีมิได
ประสงคจะขายทรัพยนั้น แตประสงคจะใหเชาทรัพย หรือใหทรัพยนั้นแกคูกรณีอีกฝายหนึ่งโดย
เสนหา ดังนี้สัญญาซื้อขายเปนนิติกรรมซึ่งทําขึ้นโดยคูกรณีสมรูกันแสดงเจตนาลวง และนิติกรรม
ซื้อขายนั้นยอมตกเปนโมฆะ และเปนกรณีที่ตองนํากฎหมายลักษณะเชาทรัพย หรือใหโดยเสนหา
มาบังคับใชแกนิติกรรมซึ่งถูกอําพรางนั้นแทน ในกรณีทกี่ ฎหมายเกีย่ วกับนิติกรรมทีถ่ ูกอําพราง
กําหนดใหตองทําตามแบบ หากไมมกี ารทําตามแบบนิตกิ รรมที่ถูกอําพรางยอมตกเปนโมฆะไป
ดวยกัน๒


โปรดเทียบ ฎีกาที่ ๒๗๑๑/๒๕๔๔ คูกรณีเปนหนี้ตามสัญญากูระหวางกัน จึงทําจดทะเบียนทําสัญญาซื้อ
ขายที่ดินเพื่ออําพรางสัญญาขายฝากแทนการชําระหนี้ โดยตกลงใหผูขายไถถอนไดโดยไมมีกําหนดเวลา
แตมิไดจดทะเบียนสัญญาขายฝาก ดังนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน แมจะไดจดทะเบียนตอพนักงานเจาหนาที่ตาม

๑๘๕
การที่กฎหมายกําหนดใหการแสดงเจตนาลวงโดยสมรูกับคูกรณีอีกฝายหนึ่งตกเปนโมฆะ
ยอมเปนคุณแกฝายผูแสดงเจตนาและผูรับการแสดงเจตนาทั้งคู ทั้งนี้เพราะตามเจตนาที่แทจริงนัน้
คูกรณีทั้งสองฝายตางไมประสงคใหการแสดงเจตนาที่ไดทําขึ้นนั้นมีผลใชบังคับดวยกัน และใน
กรณีนิตกิ รรมอําพรางนั้น การที่กฎหมายกําหนดใหใชกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอําพราง
บังคับแกนิตกิ รรมนั้น ก็ยอมสอดคลองกับเจตนาที่แทจริงของคูกรณีอีกดวย

๓.๓ การคุมครองบุคคลภายนอกผูสุจริตและตองเสียหายจากการแสดงเจตนาลวง
แมการแสดงเจตนาลวงจะตกเปนโมฆะ แตประมวลกฎหมายก็ไดวางหลักเกณฑคุมครอง
ความเชื่อถือตอความมีผลของนิติกรรมไวในมาตรา ๑๕๕ วรรคแรก ปพพ. โดยกําหนดเปนขอหาม
ไววา ผูแ สดงเจตนาลวงจะอางวาการแสดงเจตนาลวงนั้นตกเปนโมฆะขึ้นตอสูบุคคลภายนอกผู
สุจริต และตองเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นไมได
การที่กฎหมายวางหลักเชนนี้ เทากับวา แมนิติกรรมที่ทําขึ้นโดยเจตนาลวงจะตกเปนโมฆะ
ไป แตความเปนโมฆะนั้นก็ไมทําใหนิตกิ รรมนั้นเสียเปลาไปเสียทั้งหมด เนื่องจากกฎหมายยังให
ความคุมครองความเชื่อถือตอเจตนาที่แสดงออกไว โดยผูท ี่อยูในฐานะควรไดรับความคุมครอง
ตองไมใชคูกรณี และตองมีสว นไดเสียโดยชอบเกี่ยวของกับความเชื่อถือในความมีผลของเจตนาที่
แสดงออกนั้น กลาวคือตองเปนบุคคลภายนอกผูสุจริตซึ่งตองเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้น
นิติกรรมที่ทําโดยเจตนาลวงจึงเปนโมฆะ แตคูกรณีจะยกโมฆะกรรมขึ้นกลาวอางเพื่อตอสูบุคคล
ภายนอกผูสุจริตและตองเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงไมได ในกรณีเชนนีห้ ากบุคคลภายนอก
ไมอางโมฆะกรรม เขายอมอางความผูกพันตามนิติกรรมลวงนั้นเปนเหตุใหคูกรณีที่ทาํ นิติกรรม
ลวงขี้นตองยอมผูกพันเสมือนนิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ
ตัวอยางเชน ก. แสดงเจตนาลวงทําสัญญาซื้อขายจักรยานของตนแก ข. โดยทําเปนหนังสือ
ลงลายมือชื่อทั้งสองฝายมอบไวแกกนั แตตามเจตนาที่แทจริงนั้น ก. และ ข. ทราบดีวาสัญญาซื้อ
ขายนั้นทําขึ้นเพื่ออําพรางสัญญาให และในใจจริง ก. และ ข. ประสงคจะทําสัญญาใหจักรยานโดย
เสนหา ดังนีห้ าก ก. ยังไมไดสงมอบจักรยานให ข. สัญญาใหยอมไมสมบูรณ (มาตรา ๕๒๓
ปพพ.) ระหวาง ก. กับ ข. ตองนําหลักกฎหมายเรื่องใหมาใชบังคับ เมือ่ ยังไมสงมอบ สัญญาให
ยอมไมสมบูรณ และแมจะตกลงกันแลว กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานรายนี้ก็ไมโอนไปยัง ข.

กฎหมายก็ตกเปนโมฆะเพราะเปนนิติกรรมซึ่งทําขึ้นโดยสมรูกันแสดงเจตนาลวงเพื่ออําพรางนิติกรรมขาย
ฝาก ตองบังคับตามกฎหมายวาดวยขายฝาก เมื่อสัญญาขายฝากไมไดจดทะเบียน จึงตกเปนโมฆะเพราะ
ไมไดทําตามแบบ และคูกรณีตองกลับคืนสูฐานะเดิมตามหลักเรื่องลาภมิควรไดตามมาตรา ๑๗๒ วรรคสอง
ปพพ.

๑๘๖
แตถามีบุคคลภายนอกเขามาเกี่ยวของ หากบุคคลภายนอกนั้นเชื่อถือโดยสุจริตวา ก. กับ ข.
ทําสัญญาซื้อขายกัน โดยไมรูวาคูกรณีทํานิติกรรมซื้อขายอําพรางการให เขายอมเชือ่ ไดวาสัญญา
ซื้อขายมีผลตามที่คูกรณีไดแสดงเจตนาออกมา ดังนั้น หาก ค. ซึ่งเปนบุคคลภายนอกผูสุจริต และ
ไดรูเห็นการซื้อขายระหวาง ก. กับ ข. เกิดสนใจอยากไดจักรยานนั้น จึงตกลงซื้อจักรยานจาก ข. ซึ่ง
เปนผูที่ควรไดกรรมสิทธิ์มาตามสัญญาซื้อขาย ดังนีห้ าก ค. อางวาตนไดจักรยานนั้นมาเปนของตน
ตามสัญญาซื้อขายระหวางตนกับ ข. และเรียกให ก. สงมอบจักรยานแกตนในฐานะผูซื้อจักรยาน
ตอมาจาก ข. ดังนี้ ก. จะอางวาสัญญาซื้อขายเปนโมฆะ และสัญญาใหยงั ไมสมบูรณเพราะยังไมสง
มอบเปนขออางเพื่อจะไมตองสงมอบจักรยานแก ก. ไมได เพราะ ค. เปนผูไดรับความคุมครองตาม
มาตรา ๑๕๕ วรรคแรก ปพพ. และโดยทีก่ ารทํานิติกรรมอําพราง ก็เปนการแสดงเจตนาลวงโดย
สมรูกันอยางหนึ่ง เพียงแตเปนการแสดงเจตนาลวงเพื่ออําพรางนิติกรรมที่คูกรณีประสงคจะใหมี
ผลเทานั้น ดังนั้น ก. และ ข. จึงอางวานิตกิ รรมลวงเปนโมฆะขึ้นตอสู ค. ไมได๓


โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๕๖/๒๕๔๕ ก. เจาของที่ดินโอนที่ดินแก ข. โดยสมรูกันเพื่อ ข. จะไดนําไปใช
ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ตอมา ข. นําที่ดินไปขายฝากแก ค. โดย ข. ไมไดทําการไถถอนภายใน
กําหนดเวลาไถ หลังจากนั้น ก. จึงแจงแก ค. วาที่ดินเปนของตน เพราะการโอนที่ดินแก ข. เปนการทํา
เจตนาลวงโดยสมรูกัน แต ค. ไดโอนที่ดินตอไปยัง ง. และ ง. โอนตอไปยัง จ. จึงเกิดพิพาทกันวา ก. จะ
ฟองเพิกถอนการโอนที่ดินระหวาง ข. กับ ค. ไดหรือไม กรณีนี้ศาลฎีกาตัดสินวา ขณะเวลาขายฝาก ค. ไมรู
วา ก. โอนที่ดินแก ข. โดยสมรูกันทํานิติกรรมลวง ดังนั้น ค. จึงเปนบุคคลภายนอกผูสุจริต และตองเสียหาย
จากการนั้น ก. จึงไมอาจยกนิติกรรมลวงขึ้นตอสู ค. ได แมภายหลัง ค. จะรูวา ก. กับ ข. ทําสมรูกันทํานิติ
กรรมลวง ก็ไมกระทบตอสิทธิของ ค. อันไดมาโดยชอบแลวได

๑๘๗
เอกสารประกอบการศึกษา
วิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมสัญญา (น.๑๐๑)
กิตติศักดิ์ ปรกติ
การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิด

อุทาหรณ ๑. ข. ประกอบกิจการคาเครื่องจักร ประสงคจะทําคําเสนอขายเครื่องจักรเครื่องหนึ่งแก


ก. ในราคาเครือ่ งละ ๑๑๐,๐๐๐ บาท แตในขณะที่ทําคําเสนอนั้น ข. ใชถอยคําผิดไปกลายเปนเสนอ
ขายที่ราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาท ดังนี้ หาก ก. ซึ่งเคยเจรจาตอรองราคากับ ข. มากอนหนานี้แลว รูดวี า
การที่ ข. เสนอราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาทนั้น แทจริง ข. มุงเสนอราคา ๑๑๐,๐๐๐ บาท แตแทนที่ ก. จะ
สอบถาม ข. เสียกอน ก. กลับทําคําสนองกลับไปยัง ข. ตามราคาที่เสนอมา ดังนี้หากตอมา ก. กับ
ข. เกิดพิพาทกันเกี่ยวกับราคาซื้อขายเครื่องจักรรายนี้ ดังนี้ ข. จะอางวาคําเสนอของตนตกเปน
โมฆียะหรือโมฆะ ไดหรือไม เพราะเหตุใด?

อุทาหรณ ๒. กรณีจะเปนประการใด ถาตามอุทาหรณในขอ ๑ นั้น ไมมีพฤติการณใดแสดงไดวา ก.


รูความประสงคอันแทจริงของ ข. อยูกอนเลย?

อุทาหรณ ๓. กรณีจะเปนประการใด ถาแทนที่ ข. จะเสนอราคาต่ํากวาความประสงคแทจริง กลับ


เปนวา ข. เสนอราคาขายเครื่องจักรรายนี้ทรี่ าคา ๑๒๐,๐๐๐ บาท?

อุทาหรณ ๔. ข. เปนผูประกอบกิจการจําหนายสินคาโดยสงรายการสินคาไปใหลูกคาพิจารณา
เลือกสั่งซื้อสินคาทางไปรษณีย ปรากฏวา ข. สงรายการสินคาไปยัง ก. โดยระบุราคาในรายการ
สินคาที่เสนอให ก. เลือกผิดไป โดยระบุตา่ํ กวาราคาที่ตนประสงคจะขาย เชนสินคารายการที่ ๕๕
เปนนาฬิกาขอมือเรือนหนึ่ง ระบุไวในรายการสินคาในราคา ๕,๖๐๐ บาท แตที่จริงแลวราคาที่
ถูกตองคือราคา ๖,๕๐๐ บาท ถาปรากฏวา ก. เห็นวานาฬิกาดังกลาวมีราคาถูกกวาทองตลาดจึง
สั่งซื้อจาก ข. โดยระบุสั่งซื้อสินคารายการที่ ๕๕ และเมือ่ ข. ไดรับหนังสือสั่งซื้อแลวก็ไดจัดสง
นาฬิกาไปยัง ก. โดยมิไดตรวจพบราคาที่ระบุผิดพลาดไวแตอยางใด ตอมาเมื่อ ก. โอนเงินมาให ข.
ตามราคาที่ระบุไวในหนังสือ ข. จึงคอยพบวาตนเองไดเสนอราคาผิดไป ดังนี้ ก. หรือ ข. จะมีสิทธิ
อางวาการตกลงซื้อขายนาฬิกาเรื่อนนี้ไมสมบูรณหรือไม เพราะเหตุใด?

๑๘๘
อุทาหรณ ๕. ก. ใหเชาบานพักอาศัยขนาด ๒ ครอบครัวของตนแก ข. โดยแบงให ข. และ
ครอบครัวเชาอาศัยอยูในบริเวณบานเดียวกันกับตน ตอมา ก. ทราบวาบุตรชายอายุ ๑๖ ปของ ข.
ติดยาเสพติดและเคยถูกพิพากษาจําคุกฐานลักทรัพยมาแลวกอนที่จะมาแบงเชาบานของตน ดังนี้ ก.
จะมีทางบอกลางสัญญาเชาบานของ ข. โดยอางวาสัญญาเชาตกเปนโมฆียะหรือไม เพราะเหตุใด?

อุทาหรณ ๖. ตามอุทาหรณในขอ ๒ ถาปรากฏวาหลังจากการสงมอบเครื่องจักรแลว ทันทีที่ ก.


ชําระเงินโดยโอนเงินเขาบัญชีของ ข. ข. เห็นจํานวนเงินจึงเพิ่งทราบวาตนเสนอราคาต่ํากวาที่ตน
ตองการ และดังนั้นจึงบอกกลาวไปยัง ก. ทันทีวาตนเสนอราคาโดยสําคัญผิดและคําเสนอขายของ
ตนตกเปนโมฆะ จึงเรียกให ก. สงมอบเครื่องจักรคืนโดยตนตกลงจะคืนเงินราคาซื้อขายที่ไดรับไว
ดังนี้ทานจงวินิจฉัยวาขออางของ ข. ฟงขึ้นหรือไม?

อุทาหรณ ๗. ก. ประสงคจะเชาบานพักตากอากาศจาก ข. ในชวงเดือนกรกฎาคมในอัตราคาเชา


เดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท แตในการทําคําเสนอ ก. เผลอเขียนคําเสนอขอเชาเปนเดือนมิถุนายน ครั้น
เมื่อ ก. พบเห็นวาตนแจงเวลาที่ประสงคจะเชาผิดไป ก. จึงแจงไปยัง ข. เพื่อขอถอนคําเสนอเชา
ในชวงเดือนมิถุนายนของตน แต ข. กลับแจงวาหาก ก. ประสงคจะบอกกลาวถอนคําเสนอก็
จะตองชดใชคา เสียหายอันไดแกคาขาดรายไดจากการใหเชาในเดือนมิถุนายนซึ่งตนเพิ่งปฏิเสธผู
เสนอเชารายอืน่ ไปเปนเงิน ๑๘,๐๐๐ บาท และให ก. ชดใชคาใชจายในการติดตอกับ ก. เพื่อทํา
สัญญารายนี้อีก ๕๐๐ บาท ดังนี้ทานจงอธิบายวา ก. จะตองชดใชความเสียหายแก ข. หรือไม
เพียงใด และเพราะเหตุใด?

๑๘๙
สวนที่ ๔
ความบกพรองเสื่อมเสียแหงเจตนา
บทที่ ๓
การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิด

๑. ขอความเบื้องตน
ปญหาวาสําคัญผิดคืออะไร เปนปญหาขอความคิดทางกฎหมายที่ถกเถียงกันมานานแลว
ตั้งแตสองพันปกอนในยุคกฎหมายโรมัน โดยเริ่มตนจากขอสงสัยวา ระหวางเจตนาภายในหรือ
เจตนาที่แทจริง กับเจตนาทีแ่ สดงออก อะไรเปนรากฐานแหงความผูกพันทางสัญญา ตัวอยางที่มีมา
ในกฎหมายโรมัน เชน ก. ตองการซื้อเหลาองุน แตเขาใจวาน้ําสมที่ ข. วางขายอยูเปนเหลาองุนจึง
แสดงเจตนาตกลงซื้อน้ําสมนั้น ดังนี้มีปญหาวา เกิดสัญญาซื้อขายขึ้นหรือไม
คําอธิบายหลักกฎหมายโรมันในเรื่องสําคัญผิดนี้ปรากฏอยูในคําอธิบายของนักกฎหมาย
โรมันหลายทาน๔ ซึ่งนักกฎหมายสมัยใหมวจิ ารณวายังไมชัดเจนเปนระบบเพียงพอ เพราะนัก
กฎหมายโรมันเขาใจงาย ๆ วา สัญญายอมผูกพันกันตอเมื่อคูกรณีมีเจตนาตองตรงกัน เมื่อฝายหนึ่ง
แสดงเจตนาโดยสําคัญผิดกรณีก็ไมอาจกลาวไดวาเจตนาของคูกรณีตอ งตรงกัน สัญญาจึงไมเกิดขึน้
(In.3.19.23) ใน Digest มีการอธิบายไวในสวนที่วาดวยสัญญาที่ผูกพันกันโดยเจตนาของคูกรณี
(bonae fidei) วาความสําคัญผิดในสาระสําคัญ (fundamental mistake) ยอมทําใหสัญญาตกเปน
โมฆะ แตประเด็นก็ยังคงคางอยูตรงปญหาที่วา อยางไรจึงจะเรียกไดวาเปน “สาระสําคัญ” ซึ่งนัก
กฎหมายโรมันก็ยังไมสามารถอธิบายใหชดั เจน ไดแตการยกตัวอยางกันไวกวาง ๆ วา สําคัญผิดใน
สาระสําคัญคือสําคัญผิดในลักษณะแหงนิติกรรม เชนฝายหนึ่งตองการยืม อีกฝายหนึง่ เขาใจวาซื้อ
หรือสําคัญผิดในจํานวนหรือราคา (ในทางเปนโทษแกฝายผูสําคัญผิด) และสําคัญผิดในตัวบุคคล
คูสัญญา เปนเหตุใหสัญญาตกเปนโมฆะ (D.44.7.3.I)
สําหรับปญหากรณีซื้อขายเหลาองุนขางตนนั้น นักกฎหมายโรมันมีชื่อหลายทานพยายาม
อธิบายอยูบาง แตทานเหลานัน้ ก็ยังมีความเห็นไมลงรอยกัน เชน Julian อธิบายวากรณีเหลานีเ้ ปน
สําคัญผิดในสาระสําคัญ๕ เพราะเจตนาซื้อเหลาองุนแตแสดงออกวาซื้อน้าํ สม ดังนี้สัญญายอมไม
เกิดขึ้น เพราะขาดเจตนาทีจ่ ะผูกพันกัน แตปรากฏวา Marcellus นักกฎหมายมีชื่ออีกทานหนึ่งไม


ที่สําคัญไดแก Ulpian, Paul D.18, 1, 9 pr.-11 and 14; Pomponius D.44, 7, 57

(D.18,1,41,1 และโปรดดู Paul D.19,1,21,2)

๑๙๐
เห็นดวย๖ อยางไรก็ดี ในบรรดาคําอธิบายทั้งหลาย ที่นาสนใจที่สุดไดแกคําอธิบายของ Ulpian ซึ่ง
ใหความเห็นแยกเปนสองกรณีคือ ถาตกลงซื้อขายเหลาองุนกันแตเหลาองุนนั้นเสื่อมสภาพไปเปน
น้ําสม ดังนี้ถือวาสัญญาซื้อเหลาองุนนั้นสมบูรณ (เพียงแตทรัพยสินที่ซื้อขายกันนัน้ ชํารุดบกพรอง)
แตถาซื้อเหลาองุนกันโดยสําคัญผิดวาน้ําสมนั้นเปนเหลาองุน (ไมใชเหลาองุนแปรสภาพกลายเปน
น้ําสม) ดังนี้เปนเรื่องสําคัญผิดในวัตถุแหงนิติกรรมจัดเปนสําคัญผิดในสาระสําคัญ แตถาเปนกรณี
เรียกชื่อผิด (error in nomine – falsa demonstration) แตคกู รณีเขาใจตรงกันเชนตองการซื้อขาย
น้ําสมกัน แตเขาใจวาน้ําสมที่ตกลงซื้อขายกันนั้นเรียกวาไวน(เหลาองุน ) ดังนีเ้ ปนกรณีเสนอสนอง
ตองตรงกัน และไมถือวาเปนสําคัญผิดเลย๗ คําอธิบายของ Ulpian นี้ไดเปนที่ยอมรับและกลายเปน
รากฐานของคําอธิบายในสมัยใหมตอมา
ตอมาในสมัยใหม นักกฎหมายโรมันสมัยใหมในชวงศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งเรียกตัวเองวา
Pandectist ไดอธิบายวา ความสับสนในเรื่องนี้เกิดจากความสับสนในวิธีคิดวินจิ ฉัยปญหา
เนื่องมาจากเหตุที่นักกฎหมายโรมันยังไมรจู ักการแยกกรณีสําคัญผิด (error) กับกรณีเจตนาเสนอ
สนองไมตองตรงกัน (dissensus) ออกจากกันอยางชัดเจน และพากันหลงอธิบายวาสําคัญผิดใน
สาระสําคัญก็คือเจตนาเสนอสนองไมตองตรงกัน และเปนเหตุใหคูกรณีไมมีความผูกพันกันนั่นเอง
ดวยเหตุนี้ ในตําราของพวกนักกฎหมายโรมันสมัยใหม (Pandectists) จึงไดอธิบายปญหา
เรื่องสําคัญผิดเสียใหม โดยแยกแยะเจตนาที่แสดงออกออกเปนสองสวนคือ สวนการกอเจตนา
และสวนการแสดงออกซึ่งเจตนา โดยชีใ้ หเห็นวาจะตองทําการตีความความหมายของเจตนาที่
แสดงออกเสียกอนวาเจตนาที่แสดงออกนัน้ ตองตรงกับเจตนาของผูแสดงเจตนาหรือไม และ
อธิบายตอไปวาเฉพาะกรณีทปี่ รากฏวาเจตนาที่แสดงออกไมตรงกับเจตนาที่แทจริงของผูแสดง
เจตนาเทานั้นจึงจะถือไดวามีปญหาวาดวยความสําคัญผิดในสาระสําคัญ หรือเรียกอีกอยางวาเปน
การสําคัญผิดในการแสดงเจตนาเขาทํานิตกิ รรม๘
แตถาปรากฏวาเจตนาที่แสดงออกกับเจตนาที่แทจริงนั้นตรงกัน กรณีกต็ องพิจารณาตอไป
วาในขณะที่ผแู สดงเจตนากอเจตนานัน้ ขึ้น เขาอาจมีเหตุที่ทําใหสําคัญผิดในมูลเหตจูงใจในการกอ
เจตนานั้นขึ้นมาก็ได เปนเหตุใหกอเจตนาขึ้นหลงผิดไป กรณีเชนนี้ไมถือวาเปนสําคัญผิดใน
สาระสําคัญเพราะเจตนาทีแ่ ทจริงกับเจตนาที่แสดงออกนั้นตรงกัน แตเปนกรณีสําคัญผิดในมูลเหตุ
จูงใจในการกอเจตนาเชนนัน้ ขึ้นมาเทานัน้ ซึ่งโดยทั่วไปแลวความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจไมถือวา
มีนัยสําคัญทางกฎหมาย


in Ulpian D.18.1.9.2

Ulpian D.18. 1, 9, 1

Max Kaser, Römisches Privatrecht, ein Studienbuch, 15.Aufl., C.H.Beck München, 1989, § 8 II.

๑๙๑
อยางไรก็ดี ถาปรากฏวาความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจนัน้ เปนกรณีสําคัญผิดในคุณสมบัติ
ของบุคคลหรือทรัพยอันปกติเปนสาระสําคัญ นักกฎหมายโรมันก็ไดพฒ ั นาขอยกเวนขึ้นมา เปนผล
ใหนิตกิ รรมเชนนั้นไมมีผลผูกพันทํานองเดียวกันกับความสําคัญผิดในสาระสําคัญ
ในสวนทีเ่ กีย่ วกับสัญญานั้น มีขอพึงสังเกตคือกรณีตองพิจารณาดวยการตีความการแสดง
เจตนาเสียกอนวาเจตนาเสนอสนองของคูกรณีตองตรงกันหรือไม ถาปรากฏวาเจตนาเสนอสนอง
ตองตรงกันแลวจึงจะมีประเด็นตองพิจารณาวามีเหตุสําคัญผิดหรือไม เชน กรณีตดิ ปายราคาสินคา
ผิด หรือสินคาที่ตกลงซื้อขายกันนั้นผิดจากที่ตองการ เชนซื้อเหลาองุน แตที่แทเปนน้าํ สม หรือ
สินคานั้นสูญหรือเสียหายไปแลวในเวลาที่ทําสัญญา เปนตน แตถาเจตนาเสนอสนองไมตองตรง-
กันแตแรก ก็เปนกรณีที่ไมเกิดสัญญา (Dissensus) ไมวาเหตุที่เจตนาเสนอสนองไมตอ งตรงกันนี้จะ
เปนเพราะความสําคัญผิดของคูกรณีฝายหนึ่ง หรือสําคัญผิดทั้งสองฝาย และในกรณีเชนนี้ เมื่อไม
เกิดสัญญาก็ไมมีประเด็นตองพิจารณาวานิติกรรมหรือสัญญานั้นตกเปนโมฆะเพราะสําคัญผิด
หรือไมอีกตอไป เชนแสดงเจตนาซื้อเหลาองุน แตอีกฝายหนึ่งตองการขายน้ําสม หรือตางฝายตาง
สําคัญผิดวาอีกฝายหนึ่งตองการซื้อดวยกันทั้งคู ดังนี้เปนกรณีไมเกิดสัญญา ไมใชนิตกิ รรมตกเปน
โมฆะเพราะสําคัญผิด
แนวคิดของพวก Pandectist นี้ไดรับการสืบทอดตอมาในประมวลกฎหมายแพงเยอรมัน
สวิส และออสเตรีย สวนในระบบกฎหมายอังกฤษนั้น เรือ่ งที่ใกลเคียงกับสําคัญผิดในระบบซิ
วิลลอวก็คือ Misrepresentation
สวนในประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยของไทยนั้น การแสดงเจตนาที่ไดกระทําไปโดย
สําคัญผิดอาจกอใหเกิดผลทางกฎหมายทีแ่ ตกตางกันได ๒ ประการ คือ
ก) การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสิ่งซึ่งเปนสาระสําคัญ นิติกรรมนั้นตกเปนโมฆะ
(มาตรา ๑๕๖ ปพพ.)
ข) การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินอันปกติถือวา
เปนสาระสําคัญ นิติกรรมนัน้ ตกเปนโมฆียะ (มาตรา ๑๕๗ ปพพ.)
๑.๑ ถาการแสดงเจตนานั้นเปนการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในลักษณะที่เจตนาภายในที่
ตกลงใจเขาทํานิติกรรมกับเจตนาที่แสดงออกสูภายนอกนั้นแตกตางกัน กรณีเชนนี้เปนกรณีสําคัญ
ผิดโดยแท และหากสิ่งที่สําคัญผิดนั้นเปนสาระสําคัญแหงนิติกรรม เชนสําคัญผิดในตัวบุคคลคู-
กรณี ตัวทรัพยอันเปนวัตถุแหงนิติกรรม หรือสําคัญผิดในลักษณะแหงนิติกรรม การแสดงเจตนา
เชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ เราจะเห็นไดวาในกรณีทั่วไปนั้น หากผูทํานิติกรรมมิไดประสงคจะ
ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออก กฎหมายก็ไมมุงหมายใหผแู สดงเจตนาตองผูกพันตอนิติกรรมซึ่งตน

๑๙๒
มิไดประสงคจะผูกพันเลย๙ ดังนั้นหากการแสดงเจตนาใดเปนไปโดยสําคัญผิดในสิ่งซึ่งเปน
สาระสําคัญ คือเจตนาเขาทํานิติกรรมหรือเจตนาตามที่ตกลงใจ กับเจตนาที่แสดงออกตอภายนอก
เกิดแตกตางกันโดยผูแสดงเจตนาไมรูตวั ๑๐ กฎหมายจึงกําหนดใหการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดนั้น
ๆ ไมมีผลทางกฎหมาย หรือที่เรียกวาตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๖ ปพพ.)
จากบทบัญญัติดังกลาว เราพออนุมานไดวา ในเรื่องสําคัญผิดนี้ ระหวางบุคคลสอง
ฝาย คือผูแสดงเจตนาฝายหนึ่ง กับผูรับการแสดงเจตนาอีกฝายหนึ่งนัน้ ถาการแสดงเจตนาออกมา
ภายนอกไมตรงกับเจตนาภายในเปนไปโดยผูแสดงเจตนาไมรูตัว และเปนไปโดยพฤติการณที่ไม
สมควรโทษผูแสดงเจตนา ดังนี้ กฎหมายคุมครองผูแสดงเจตนายิ่งกวาผูรับการแสดงเจตนา
อยางไรก็ดี หลักดังกลาวขางตนมีขอยกเวน คือถาปรากฏวามีเหตุไมควรคุมครองผูแสดงเจตนา
เพราะความสําคัญผิดของผูแสดงเจตนานัน้ เกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเลออยางรายแรงของผู
แสดงเจตนาเอง ดังนี้ผูแสดงเจตนาจะถือเอาความสําคัญผิดนั้นมาเปนประโยชนแกตนไมได
(มาตรา ๑๕๘ ปพพ.)
๑.๒ ถาการแสดงเจตนานั้นเปนการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจบางกรณีซึ่ง
กฎหมายถือเปนเรื่องสําคัญ คือสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินซึ่งตามปกติถือวา
เปนสาระสําคัญ ดังนี้กฎหมายถือวาการแสดงเจตนานัน้ ตกเปนโมฆียะ (มาตรา ๑๕๗ ปพพ.)
การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในมูลเหตุจงู ใจนั้น ปกติกฎหมายไมถือวามีผลกระทบ
ตอความสมบูรณของการแสดงเจตนาเลย๑๑ ทั้งนี้เพราะสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจนั้นไมใชสําคัญผิด
แท ๆ เนื่องจากเปนกรณีที่เจตนาภายในกับเจตนาที่แสดงออกนั้นมักจะตองตรงกัน การแสดง
เจตนาโดยสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ เชนซือ้ ที่ดินโดยเขาใจเอาเองวาจะขายตอไดกําไรงาม ดังนี้การ
แสดงเจตนาซือ้ ที่ดินรายนีเ้ ปนการแสดงเจตนาที่เจตนาภายในและเจตนาที่แสดงออกตองตรงกัน
เพียงแตมูลเหตุจูงใจใหแสดงเจตนานัน้ ผิดไปจากความจริงเทานั้น การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิด
ในมูลเหตุจูงใจจึงเปนการแสดงเจตนาที่มผี ลสมบูรณตามกฎหมาย จะมียกเวนก็เฉพาะกรณีที่
มูลเหตุจูงใจนัน้ เปนเรื่องคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินซึ่งปกติถือวาเปนสาระสําคัญ
ความสําคัญผิดในกรณีหลังนี้กฎหมายถือวากระทบตอความสมบูรณของการแสดงเจตนา ทําให


นักนิติศาสตรบางทานเห็นวาการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิติกรรมนั้นเรียกไดวาเปน
การทํานิติกรรมโดยขาดเจตนาก็ได โปรดดู จี๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา (จิตติ ติงศภัทิย แกไข
เพิ่มเติม), พิมพครั้งที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๒๘), หนา ๑๓๑.
๑๐
ประกอบ หุตะสิงห, นิติกรรมและสัญญา, แกไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๑๘, หนา ๔๖
๑๑
ประกอบ หุตะสิงห, หนา ๕๐, จี๊ด เศรษฐบุตร, หนา ๑๒๙

๑๙๓
การแสดงเจตนาเชนนัน้ ตกเปนโมฆียะ คือสมบูรณจนกวาจะถูกบอกลาง จะเห็นไดวากฎหมาย
คุมครองผูแสดงเจตนาทีแ่ สดงเจตนาเปนสําคัญผิดยิ่งกวาผูรับการแสดงเจตนา
อยางไรก็ดี ถาปรากฏวาความสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินซึ่งปกติ
ถือวาเปนสาระสําคัญของนิติกรรมนั้นเกิดจากความประมาทเลินเลออยางรายแรงของผูแสดง
เจตนา ก็เปนกรณีที่ถือวาเปนพฤติการณที่ผแู สดงเจตนาไมควรไดรับความคุมครอง กฎหมายจึง
หามมิใหผแู สดงเจตนาโดยสําคัญผิดในกรณีนี้อางความสําคัญผิดเปนประโยชนแกตน (มาตรา
๑๕๘ ปพพ.)

๒. ความสําคัญของการตีความการแสดงเจตนาในปญหาสําคัญผิด
๒.๑ การกลาวถึงสําคัญผิดยอมหมายถึงวา เจตนาที่แสดงออกนั้นแตกตางจากเจตนาที่
แทจริง ดังนัน้ กอนที่จะกลาวอางความสําคัญผิดได ประเด็นที่ตองพิเคราะหเสียกอนก็คือ เจตนาที่
แสดงออกกับเจตนาที่แทจริงนั้นแตกตางกันหรือไม? การจะรูไดวาผูแสดงเจตนาออกมาใหปรากฏ
นั้นมีเจตนาที่แทจริงอยางไรก็ตองมีกระบวนการที่แนนอนในการตีความหมายของการแสดง
เจตนานัน้ ๆ
ในกรณีที่ผูรับการแสดงเจตนารูอยูแลว หรือหากไดใชความระวังเพียงเล็กนอยตาม
วิสัยและพฤติการณก็ควรไดรูวาผูแสดงเจตนามีความประสงคหรือเจตนาที่แทจริงแตกตางจาก
เจตนาที่แสดงออก ดังนี้เปนกรณีที่ตองถือตามเจตนาทีแ่ ทจริงยิ่งกวาถอยคําตามตัวอักษร (มาตรา
๑๗๑ ปพพ.) เจตนาที่แสดงออกนั้นแมจะตางจากเจตนาที่แทจริงแตเมือ่ ผูรับการแสดงเจตนารูหรือ
ควรไดรูเจตนาที่แทจริง ดังนี้ตองถือตามเจตนาที่แทจริงเปนสําคัญ เพราะเปนกรณีทเี่ ห็นไดวาไมมี
เหตุควรคุมครองผูรับการแสดงเจตนา กลาวอีกอยางหนึ่งไดวา อันที่จริงกรณีนี้เปนกรณีที่วิญูชน
ยอมเห็นไดวาคูกรณีทั้งสองฝายตางประสงคจะผูกพันกันตามเจตนาทีแ่ ทจริง การที่เจตนาที่
แสดงออกตางจากเจตนาที่แทจริงเปนแตเพียงกรณีใชถอ ยคําผิดไปหรือ falsa demonstratio
เทานั้น๑๒
ตัวอยางเชน กรณีที่ผูซื้อ ๒ รายตางรับโอนโฉนดสับกัน แตตางครอบครองที่ดินที่ซื้อ
ถูกตองตามความเปนจริง ศาลถือวาใหผูซื้อสงมอบโฉนดแกกนั ตามที่ถูกตองได๑๓ เจตนาขาย
ที่ดินสวนของโจทกเพียง ๓๕ ตารางวาใน ๘๘ ตารางวา แตเจาพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนหมด

๑๒
โปรดเทียบ ประกอบ หุตะสิงห, หนา ๔๙ ซึ่งยกตัวอยางวา ก. ตกลงซื้อที่ดินเนื้อที่ ๑๐๐ ตารางเมตร จาก ข.
แตทั้งคูเขาใจผิดคิดวา ๑๐๐ ตารางเมตรเทากับ ๑๐๐ ตารางหลา ในกรณีนี้สัญญาซื้อขายระหวาง ก. และ ข.
ยอมสมบูรณในเนื้อที่ ๑๐๐ ตารางหลา ตรงกับเจตนาของคูกรณีทั้งสองฝาย
๑๓
ฎีกาที่ ๗๔๕/๒๕๑๑ ๒๕๑๑ ฎ. ๙๗๙

๑๙๔
ทั้ง ๘๘ ตารางวา ดังนี้สว นทีจ่ ดทะเบียนเกินเปนโมฆะ แตสมบูรณเพียง ๓๕ ตารางวาตามที่ตกลง
ขายกัน๑๔

๒.๒สวนในกรณีทผี่ ูรับการแสดงเจตนาไมรหู รือหากไดใชความระมัดระวังตามวิสัยและ


พฤติการณแลวก็ไมควรรูไดเลยวาเจตนาทีแ่ ทจริงของผูแสดงเจตนาแตกตางจากเจตนาที่แสดงออก
ดังนี้ผูรับการแสดงเจตนายอมเขาใจเจตนาที่แสดงออกตามหลักการตีความตามธรรมดา คือยอม
เขาใจไดตามความหมายปกติ การตีความเจตนาที่แสดงออกตามหลักการขอนี้อาจสงผลใหสรุปได
ในที่สุดวาเจตนาที่แสดงออกนั้น แตกตางจากเจตนาที่แทจริง และในกรณีเชนนี้ ผูแสดงเจตนาอาจ
อางวาการแสดงเจตนานั้นตกเปนโมฆะหรือโมฆียะแลวแตกรณี
ตัวอยางเชนในอุทาหรณ ๒. เมื่อปรากฏวา ก. ไมรูหรือควรไดรูเจตนาที่แทจริงของ ข.
(ซึ่งประสงคจะขายเครื่องจักรในราคา ๑๑๐,๐๐๐ บาท) ดังนี้เจตนาของ ข. ที่ไดแสดงออกโดยการ
เสนอขายในราคา ๑๐๐,๐๐๐ บาท จึงเปนเจตนาที่มีผล และกรณียอมเห็นไดชัดวาเจตนาที่
แสดงออกแตกตางจากเจตนาที่แทจริง กรณีจึงเปนเรื่องสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิติกรรม และ
การแสดงเจตนาเชนนัน้ ยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๖ ปพพ.)

อยางไรก็ดี แมในกรณีที่เกิดสําคัญผิดในสาระสําคัญ หรือสําคัญผิดในคุณสมบัติของ


บุคคลหรือทรัพยสินอันปกติเปนสาระสําคัญ หากปรากฏวาความสําคัญผิดนั้นเกิดจากความ
ประมาทเลินเลออยางรายแรงของผูแสดงเจตนา ฝายทีแ่ สดงเจตนายอมไมอาจอางโมฆะกรรมหรือ
โมฆียะกรรมนั้นขึ้นเปนประโยชนแกตนได (มาตรา ๑๕๘ ปพพ.)

๓. ลักษณะของความสําคัญผิด
การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดนั้นเราอาจจะแยกออกตามลักษณะอาการเกิดขึ้นของ
ความสําคัญผิดออกเปน ๒ ชวงคือความสําคัญผิดในขณะแสดงเจตนาอยางหนึ่ง กับสําคัญผิด
ในขณะกอเจตนาอีกอยางหนึง่
๓.๑ สําคัญผิดในขณะแสดงเจตนา
ในขณะที่บุคคลแสดงเจตนาอาจเกิดกรณีสาํ คัญผิดขึ้นได หากปรากฏวาเจตนาที่แสดงออก
นั้นแตกตางจากเจตนาทีแ่ ทจริงโดยผูแสดงเจตนาไมรูตวั กรณีสําคัญผิดดังกลาวนีห้ ากเปนกรณี
สําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิติกรรมแลวนิติกรรมนั้นยอมตกเปนโมฆะ

๑๔
ฎีกาที่ ๒๒๔๓/๒๕๑๗ ๒๕๑๗ ฎ. ๑๖๙๓

๑๙๕
ก) สําคัญผิดในการแสดงเจตนา ไดแกกรณีที่ผแู สดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกไปโดย
มิไดประสงคจะผูกพันตามเนือ้ หาของเจตนาที่แสดงออกไปเลย หรือกรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดง
เจตนาในสิ่งที่ตนมิไดประสงคโดยสิ้นเชิงโดยตนเองก็มไิ ดรูตัว
ตัวอยางเชน ข. ประสงคจะขายสินคาใหแก ก. ในราคา ๓๐,๐๐๐ บาท แตแสดงเจตนา
ออกไปโดยไมรูตัววาประสงคจะขายในราคา ๒๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ไมวาจะโดยพูดผิดหรือเขียนผิดก็
ตาม
ข) สําคัญผิดในเนือ้ หาแหงเจตนา ไดแกกรณีทผี่ ูแสดงเจตนาแสดงเจตนาออกไปโดย
เขาใจความหมายของเจตนาที่แสดงออกผิดไปจากที่คนทั่วไปหรือวิญูชนพึงเขาใจ ในกรณีเชนนี้
ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาออกไปตามทีต่ นตองการ แตผูแสดงเจตนานั้นเขาใจความหมายทาง
กฎหมายของการแสดงเจตนานั้น ๆ ผิดไป หรือเปนกรณีที่ผูแสดงเจตนาเขาใจความหมายแหงการ
แสดงเจตนาของตนผิดไปจากคนทั่วไป
ตัวอยางเชนในอุทาหรณ ๔. การที่ ข. สงรายการสินคาออกไปยังกลุมลูกคาเทากับ
เปนการเชิญชวนใหลูกคาทําคําเสนอซื้อ ดังนั้นเมื่อ ก. สงรายการที่ประสงคจะซื้อมายัง ข. เทากับ
ก. เสนอซื้อนาฬิกาในราคาตามที่ระบุในรายการสินคาคือราคา ๕,๖๐๐ บาท และเมื่อ ข. สงนาฬิกา
เรือนนั้นไปยังผูสั่งสินคาแลวก็เทากับ ข. ทําคําสนองคําเสนอซื้อของ ก. ในราคาที่ผูเสนอซื้อเสนอ
ไว กรณีนี้ ข. แสดงเจตนาไปโดยสําคัญผิด โดย ข. เขาใจวาตนเองกําลังตกลงขายสินคาในราคา
๖,๕๐๐ บาท ทั้ง ๆ ที่ไดแสดงเจตนาขายไปในราคา ๕,๖๐๐ บาท กรณีเชนนี้คําเสนอ (ซื้อ ๕,๖๐๐
บาท) ตองตรงกับคําสนอง (ขาย ๕,๖๐๐ บาท) สัญญาซื้อขายนาฬิกาเรือนนี้ยอมเกิดขึน้ โดย ข.
สําคัญผิดในเนือ้ หาแหงเจตนา กรณีนี้ตางจากกรณีที่ผูแสดงเจตนาพูดผิดหรือเขียนผิด เพราะเปน
กรณีที่ขณะนัน้ ผูแสดงเจตนารูดวี าตนแสดงเจตนาวาอยางไร แตในกรณีนี้ผูแสดงเจตนาไมรูวาการ
แสดงเจตนาของตนแทจริงมีความหมายอยางไร
ขอแตกตางระหวางกรณีสําคัญผิดในการแสดงเจตนา กับสําคัญผิดในเนือ้ หาแหง
เจตนานัน้ อยูทวี่ า กรณีสําคัญผิดในการแสดงเจตนานัน้ ผูแสดงเจตนาใชถอยคําหรือสิ่งสื่อ
ความหมายตางจากที่เขาตั้งใจไว สวนกรณีสําคัญผิดในเนือ้ หาแหงเจตนานั้นเปนกรณีที่ผูแสดง
เจตนาใชถอยคําหรือสิ่งสื่อความหมายตรงตามที่ไดตั้งใจไว แตทวาผูแ สดงเจตนาเชนนั้นเขาใจ
สาระหรือความหมายของถอยคําหรือสิ่งสื่อความหมายนัน้ ผิดไป
กรณีตามอุทาหรณ ๔. นั้น ถาแทนที่ ข. จะสงรายการสินคาไปให ก. เลือกในลักษณะ
ชักชวนให ก. ทําคําเสนอ หากปรากฏวา ข. ทําคําเสนอไปยัง ก. โดยตรง แตคําเสนอนั้นระบุราคา
ผิดไปเพราะสําคัญผิด (เชนระบุวา นาฬิการาคา ๕,๖๐๐ บาท แทนที่จะระบุวาราคา ๖,๕๐๐ บาท)
และ ก. สนองรับคําเสนอของ ข. ดังนี้สัญญาซื้อขายนาฬิกาเรือนนี้ยอมเกิดขึ้นที่ราคา ๕,๖๐๐ บาท
แตกรณีนี้ ข. มิไดสําคัญผิดในเนื้อหาแหงเจตนา แตสําคัญผิดในการแสดงเจตนา

๑๙๖
ทั้งในกรณีสําคัญผิดในการแสดงเจตนา (พูดผิดเขียนผิด) หรือกรณีสําคัญผิดในเนื้อ-
หาแหงเจตนา (เขาใจความหมายผิด) หากเปนสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิตกิ รรม นิติกรรมยอม
ตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๖ ปพพ.) หรือถาเปนสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ ในสวนที่เปนคุณสมบัติ
ของบุคคลหรือทรัพยสินอันเปนปกติเปนสาระสําคัญนิติกรรมนั้นยอมตกเปนโมฆียะ (มาตรา
๑๕๗ ปพพ.) แตในทั้งสองกรณีนี้ หากความสําคัญผิดเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเลออยางราย-
แรงของผูแสดงเจตนา ผูนั้นจะยกเอาความสําคัญผิดขึ้นเปนประโยชนแกตวั ไมได (มาตรา ๑๕๘
ปพพ.)
ค) ความสําคัญผิดในการแสดงเจตนานัน้ ยังอาจเกิดขึน้ ไดอกี ลักษณะหนึ่ง คือกรณีสําคัญ
ผิดโดยทางสื่อสารผิดจากความตั้งใจ
ความสําคัญผิดในกรณีนี้อาจมีไดในกรณีที่ผูแสดงเจตนาใชบุคคลหรือหนวยงานหรือ
เครื่องมือชวยสื่อการแสดงเจตนาของตน อาทิเชนสั่งขอความผานคนกลางหรือผูทําหนาที่สื่อสาร
เชนผานไปรษณีย หรือผานเครื่องสื่อเจตนาอยางอื่นและปรากฏวาการคนกลางหรือผูเปนสื่อหรือ
เครื่องชวยสื่อแสดงเจตนานัน้ ๆ ไดแสดงขอความที่เปนเจตนาออกมาผิดไปจากเจตนาที่แทจริง
ตัวอยางเชน ข. มอบหมายให ค. คนสงสารของตัวไปแจงแก ก. วา ข. ประสงคจะขาย
นาฬิกาของตนแก ก. ในราคา ๖,๕๐๐ บาท แตปรากฏวา ค. ไมไดใชความระมัดระวังเพียงพอ
กลับไปแจงแก ก. วา ข. ประสงคจะขายนาฬิกาใหแก ก. ในราคา ๕,๖๐๐ บาท หรือตัวอยางเชน
ข. ประสงคจะทําคําเสนอขายนาฬิกาแก ก. ในราคา ๖,๕๐๐ บาท โดยสงโทรเลขเสนอขายไปยัง ก.
ปรากฏวา ข. ไดจดขอความลงในกระดาษกรอกขอความสําหรับสงโทรเลขตามความประสงคแลว
สงใหนายไปรษณีย แตขอความในโทรเลขที่ไปถึงมือ ก. นั้นเปนคําเสนอขายในราคา ๕,๖๐๐ บาท
ดังนี้จะเห็นไดวาในทั้งสองกรณีขางตนนั้น ก. มิไดประสงคจะเสนอขายนาฬิกาในราคา ๕,๖๐๐
บาทเลย แตการเสนอเชนนั้นเกิดเพราะความผิดพลาดในการสื่อสาร
ความผิดพลาดในการสื่อขอความนี้ จัดเปนการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดอยางหนึ่ง
ดังจะเห็นไดวา ในกรณีขางตนนี้ เจตนาที่แทจริงกับเจตนาที่แสดงออกไมตองตรงกัน ความสําคัญ
ผิดในขณะแสดงเจตนาจึงอาจเกิดขึ้นไดทั้งในกรณีที่ผูแสดงเจตนาไดแสดงเจตนาดวยตัวเองแท ๆ
แตใชคําผิดหรือเขียนผิด หรืออาจเกิดขึ้นในการสื่อขอความที่แสดงเจตนาออกไปผานบุคคลอื่น
หรือผานหนวยงานที่ใชเปนเครื่องสื่อก็ได กรณีหลังนีจ้ ึงจัดเปนความสําคัญผิดของฝายผูแสดง
เจตนาซึ่งเปนผูใชบุคคลหรือหนวยงานหรือเครื่องมืออื่นใดเปนเครื่องสื่อการแสดงเจตนาของตัว
จากตัวอยางตามอุทาหรณขางบนนี้ หาก ก. สนองรับคําเสนอของ ข. สัญญาซื้อขาย
ระหวาง ก. กับ ข. ก็เกิดขึ้นที่ราคา ๕,๖๐๐ บาท แตโดยที่ราคาเปนสาระสําคัญของนิติกรรมซื้อขาย
นิติกรรมนั้นยอมตกเปนโมฆะ แต ก. จะอางวานิติกรรมตกเปนโมฆะไดหรือไมกข็ ึ้นอยูกับขอเท็จ-

๑๙๗
จริงวา ความสําคัญผิดขางตนนี้เกิดจากความประมาทเลินเลออยางรายแรงของ ข. ผูแสดงเจตนา
หรือไม
เรื่องความสําคัญผิดโดยสื่อความหมายผิดนีม้ ีองคประกอบที่สําคัญ ๒ ประการคือ
ประการแรกตองเปนกรณีทผี่ ูแสดงเจตนาอาศัยบุคคลหรือหนวยงานเปนเครื่องสื่อความหมาย โดย
ผูทําหนาที่เปนสื่อเพียงแตนาํ เอาเจตนาของผูแสดงเจตนาไปแสดงตอผูร ับ ผูเปนสื่อจึงเปนเพียง
ผูชวยแสดงเจตนาไมใชกรณีที่ผูเปนสื่อมีอํานาจแสดงเจตนาไดดว ยตนเอง กรณีดังกลาวนีแ้ ตกตาง
จากกรณีแสดงเจตนาโดยตัวแทนหรือผูรับมอบอํานาจ เพราะกรณีตัวแทนหรือผูรับมอบอํานาจนัน้
เปนกรณีที่ตวั แทนหรือผูรับมอบอํานาจมีอํานาจแสดงเจตนาของตัวเองแทนตัวการในนามของ
ตัวการ และการแสดงเจตนาเชนนั้นยอมมีผลผูกพันตัวการ
องคประกอบประการตอมาก็คือ ผูทําหนาที่เปนคนเดินสารหรือเปนสื่อเจตนานัน้
จะตองสื่อผิดไปโดยมิไดตั้งใจหรือโดยไมรูตัว ทั้งนี้ไมวาสาเหตุที่ทําใหสื่อเจตนาผิดไปนั้นเกิดจาก
อะไรก็ตาม (เชนพูดผิด, พูดสับกัน, จําเนื้อหาแหงเจตนาผิด) กรณีที่สื่อเจตนาผิดไปนีอ้ าจเกิดขึ้นได
แมในกรณีที่ผสู ื่อเจตนาแจงเจตนาผิดไปเปนคนละเรื่อง เชนแทนทีจ่ ะแสดงเจตนาขายกลับแสดง
เจตนาใหเชาบานพักอาศัย เปนตน ในกรณีนี้เจตนาที่สื่อออกไปยอมมีผลเปนเจตนาของผูแสดง
เจตนาที่แสดงออกตอภายนอก และผูแสดงเจตนายอมตองรับภาระความเสี่ยงในกรณีสื่อสารผิดไป
อยางไรก็ดหี ากปรากฎวาการสื่อสารผิดไปนี้มิไดเกิดจากความประมาทเลินเลออยางรายแรงของผู
แสดงเจตนา ผูแ สดงเจตนาก็ควรไดรับการคุมครองใหอางสําคัญผิดได
สวนในกรณีทคี่ นเดินสารหรือผูสื่อเจตนาจงใจแกลงแจงเจตนาใหผิดไปจากความ
ประสงคอันแทจริงของผูแสดงเจตนา ก็เปนกรณีที่ไมอาจโทษผูแสดงเจตนาได ในกรณีเชนนีก้ าร
แสดงเจตนาของผูแสดงเจตนายอมไปไมถึงผูรับ เพราะขอความที่ผูชวยในการแสดงเจตนาหรือผู
สื่อเจตนาแสดงออกไปนั้นเปนการจงใจแกลงบอกกลาวใหผิดจากเจตนาที่แทจริงของผูแสดง
เจตนา การบอกกลาวเชนนั้นมีคาเหมือนกับการกลาวอางลอย ๆ อยางไรก็ดี หากปรากฏวาผูรับ
การแสดงเจตนาตองเสียหายเพราะเชื่อถือในความถูกตองของเจตนาทีแ่ สดงออกมา อาจตอง
เทียบเคียงบทกฎหมายวาดวยความรับผิดของตัวแทนทีก่ ระทําการโดยปราศจากอํานาจ (มาตรา
๘๒๒, ๘๒๓ ปพพ.) มาปรับใช ตามแตกรณี
ง) ความสําคัญผิดในสิ่งที่เปนสาระสําคัญแหงนิติกรรมนัน้ ไดแก ความสําคัญผิดใน
ลักษณะของนิติกรรม ความสําคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเปนคูกรณีของนิติกรรม และความสําคัญผิด
ในทรัพยสินซึง่ เปนวัตถุแหงนิติกรรม เปนตน
ผูแสดงเจตนาเขาใจวาเปนสัญญาจางทนายความจึงลงนามในหนังสือเพราะอาน
หนังสือไมออก ตอมาปรากฏวาเปนสัญญาขายที่ดิน ดังนี้จะเห็นไดวาเจตนาที่แทจริงตางจากเจตนา

๑๙๘
ที่แสดงออกในลักษณะแหงนิติกรรม การขายที่ดินนัน้ ยอมตกเปนโมฆะ๑๕ หรือผูแสดงเจตนาพิมพ
ลายนิ้วมือในเอกสารโดยเขาใจวาเปนหนังสือขอใหออกโฉนดที่ดิน แตปรากฏเปนหนังสือยอม
แบงที่นาใหคกู รณีอีกฝายหนี่ง ดังนี้เปนสําคัญผิดในลักษณะแหงนิติกรรม เปนกรณีสําคัญผิดใน
สาระสําคัญแหงนิติกรรมเชนกัน นิติกรรมแบงที่ดินรายนี้จึงตกเปนโมฆะ๑๖
ตกลงทําสัญญาวาจางทนายความ ก. โดยเขาใจวาเปนทนายความ ข. เปนกรณีเจตนา
ที่แทจริงไมตรงกับเจตนาทีแ่ สดงออก เปนสําคัญผิดในตัวบุคคลคูกรณี ดังนี้นิตกิ รรมวาจาง
ทนายความนัน้ ตกเปนโมฆะ อยางไรก็ดคี วามสําคัญผิดในตัวบุคคลผูเปนคูสมรสไมทําใหการสม-
รสตกเปนโมฆะ เพราะกฎหมายกําหนดใหมีผลเพียงโมฆียะเทานั้น (มาตรา ๑๕๐๕ ปพพ.)
ผูแสดงเจตนาลงนามในสัญญาขายที่ดินแปลงหนึ่ง แตกลับปรากฏวาสัญญาที่ลงนาม
นั้นเปนสัญญาขายที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งผูแสดงเจตนามิไดมีเจตนาขายดังนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน
แปลงดังกลาวยอมตกเปนโมฆะเพราะสําคัญผิดในตัวทรัพยสินอันเปนวัตถุแหงนิติกรรม๑๗ แสดง
เจตนาซื้อที่ดินผิดไปจากแปลงที่ตกลงใจซื้อ สัญญาซื้อขายเปนโมฆะเพราะสําคัญผิดในตัว
ทรัพยสินที่ซื้อขาย๑๘

๓.๒ สําคัญผิดในขณะกอเจตนา
ความสําคัญผิดในขณะกอเจตนานั้นเรียกอีกอยางหนึ่งไดวาความสําคัญผิดในมูลเหตุจงู ใจ
ไดแกกรณีที่ผแู สดงเจตนากอเจตนาหรือตกลงใจเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยอาศัยพฤติการณอยางใด
อยางหนึ่งเปนฐานที่ตั้งหลักแหงการตกลงใจนั้นหรือเปนเครื่องจูงใจที่มีนัยสําคัญ ทั้ง ๆ ที่
พฤติการณเชนนั้นมิไดมีอยูจ ริง ๆ
ความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจนั้น โดยทัว่ ไปกฎหมายไมถือวามีความหมายหรือมีผลกระ-
ทบตอความมีผลแหงเจตนาแตประการใด๑๙ เวนแตความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจนั้นจะเปน
ความสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินซึ่งตามปกติถือเปนสาระสําคัญ การแสดง
เจตนาโดยสําคัญผิดเชนนี้เทานั้นจึงจะเปนโมฆียะ (มาตรา ๑๕๗ ปพพ.)

๑๕
ฎีกาที่ ๑๒๐๙/๒๔๙๘ ๒๔๙๘ ฎ. ๑๑๖๕.
๑๖
ฎีกาที่ ๑๕๔๒/๒๔๙๘ ๒๔๙๘ ฎ. ๑๔๔๗.
๑๗
ฎีกาที่ ๘๔๓/๒๕๐๑ ๒๕๐๑ ฎ. ๙๔๗, ฎีกาที่ ๒๕๑๖/๒๕๑๙ ๒๕๑๙ ฎ. ๑๓๒๒.
๑๘
ฎีกาที่ ๑๗๑๐/๒๕๐๐ ๒๕๐๐ ฎ. ๑๘๘๘
๑๙
โปรดดู เสนีย ปราโมช, นิติกรรมและหนี้, หนา ๑๐๒-๑๐๓, ประกอบ หุตะสิงห, นิติกรรมและสัญญา,
หนา ๕๐, จี๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา, (จิตติ ติงศภัทิย แกไขเพิ่มเติม), พิมพครั้งที่ ๖ (พ.ศ.
๒๕๒๘), หนา ๑๒๙.

๑๙๙
กรณีที่เกิดสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินสินนั้นอันทีจ่ ริงแลวเปนกรณีที่
เจตนาที่แทจริงกับเจตนาทีแ่ สดงออกมิไดแตกตางกัน กรณีนี้ผูแสดงเจตนาเพียงแตสาํ คัญผิดใน
มูลเหตุจูงใจทีช่ ักนําใหตกลงใจแสดงเจตนาทํานิติกรรมเทานั้น
ตัวอยางเชน ข. ทําคําเสนอขายแหวนวงหนึ่งแก ก. ในราคา ๙๐๐ บาท โดย ข. เขาใจวา
แหวนวงนั้นเปนแหวนชุบทองคําไมใชแหวนทองคําแท แตแทที่จริงแลวแหวนดังกลาวเปนแหวน
ทองคําแท ในกรณีดังกลาวนี้หาก ข. ไดรูวาแหวนนั้นทําดวยทอง ข. ก็คงจะไมเสนอขายแหวน
ดังกลาวในราคาเพียง ๙๐๐ บาท แตคงจะตัดใจไมเสนอขายหรือหากจะเสนอขายก็คงเสนอขายใน
ราคาสูงมากถึง ๕,๐๐๐ บาท กรณีนี้ ข. สําคัญผิดในคุณสมบัติของแหวนอันเปนมูลเหตุจูงใจให
ตัดสินใจขายแหวนวงนัน้

๓.๒.๑ ความสําคัญผิดในคุณสมบัตซิ ึ่งปกติถือเปนสาระสําคัญ


มาตรา ๑๕๗ ปพพ. กําหนดใหการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือ
ทรัพยสินตกเปนโมฆียะ
(๑) คุณสมบัตขิ องบุคคล
(ก) บุคคลอาจเปนบุคคลผูเปนคูกรณีในนิติกรรม หรืออาจเปนบุคคลภายนอกก็ได ขอ
สําคัญอยูที่นิติกรรมที่กระทํากันนั้นจะตองเกี่ยวพันกับบุคคลนั้น
ตามอุทาหรณที่ ๕ จะเห็นไดวาแมบตุ รชายของ ข. ซึ่งเปนผูเชาจะไมใชคูกรณีในนิติ
กรรมคือสัญญาเชาระหวาง ก. กับ ข. แตก็เปนบุคคลในครอบครัวหรือบริวารของ ข. และเปน
บุคคลซึ่งมีสิทธิใชสอยบานเชาตามสัญญาเชาไดดว ย ดังนี้ความสําคัญผิดของ ก. เกี่ยวกับคุณสมบัติ
ของบุตรชายของ ข. ซึ่งเปนผูเชาก็ยอมเปนคุณสมบัติอันปกติถือเปนสาระสําคัญดวย เพราะเปน
บุคคลที่มีความเกี่ยวพันกับสัญญาเชาในฐานะผูรับประโยชนโดยตรงดวย
(ข) คุณสมบัติของบุคคลอาจไดแก อายุ เพศ ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อทางการเมือง
การไดรับโทษอาญามากอน (อุทาหรณ ๕) หรือความสามารถในการงาน ฐานะ ความนาเชื่อถือทาง
ธุรกิจการคา ก็ได อยางไรก็ดี คุณสมบัติของบุคคลนั้นปกติจะถือวาเปนสาระสําคัญไดก็ตอเมื่อเปน
คุณสมบัตนิ ั้น ๆ เปนคุณสมบัติที่เกี่ยวพันกับเนื้อหาแหงนิติกรรมโดยตรง
ตัวอยางเชน การตกลงจางชางควบคุมงานกอสรางเปนลูกจางยอมมุงตอคุณสมบัติที่
เปนชางที่ผานการศึกษาดานชางกอสรางมาแลว แตยอมมิไดมุงตอความเชื่อหรือความฝกใฝทาง
การเมืองหรือการเปนสมาชิกพรรคการเมืองแตอยางใด อนึ่ง การที่ผูอํานวยการหรือเจาของ
สํานักพิมพตกลงจางบรรณาธิการฝายการเมืองเขาทํางานในหนังสือพิมพของตนก็ยอมมุงตอ
คุณสมบัติที่เกีย่ วกับทัศนะทางการเมืองของบรรณาธิการนั้นวาจะตองเขากันไดกับแนวทางทางการ
เมืองของหนังสือพิมพฉบับนั้น ๆ ดังนั้นถาตอมาปรากฏวาบรรณาธิการผูนั้นมีความฝกใฝทาง

๒๐๐
การเมืองหรือเปนสมาชิกพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดที่มีทัศนะแตกตางกับทิศทางของ
หนังสือพิมพอยางสิ้นเชิง เจาของสํานักพิมพยอมอางความสําคัญผิดในคุณสมบัติอันปกติเปน
สาระสําคัญของสัญญาจางบรรณาธิการนั้น และบอกลางการแสดงเจตนาจางเพราะเหตุสําคัญผิด
ในคุณสมบัติของบุคคลได นอกจากนี้ความมีฐานะการเงินที่มั่นคงหรือความนาเชื่อถือทางธุรกิจ
การคายอมเปนคุณสมบัติของบุคคลอันปกติยอมเปนสาระสําคัญของสัญญาซื้อขายแบบผอนชําระ
ราคาเปนงวด ๆ แตมิใชคุณสมบัติอันปกติเปนสาระสําคัญของสัญญาซื้อขายเงินสด ดังนี้เปนตน
(๒) คุณสมบัตขิ องทรัพยสิน
(ก) ทรัพยสินในทีน่ ี้หมายถึงสิ่งมีรูปรางและไมมีรูปรางอันอาจมีราคาและอาจถือเอาได
(มาตรา ๑๓๘ ปพพ.) แตจะตองเปนทรัพยสนิ อันเปนวัตถุแหงนิตกิ รรม
(ข) คุณสมบัติไดแกบรรดาปจจัยที่กอใหเกิดมาตรฐานทางคุณคาอยางหนึ่งอยางใด อัน
อาจไดแกปจจัยที่เกีย่ วพันกับลักษณะตามธรรมชาติ หรืออาจเกี่ยวกับความสัมพันธทางขอเท็จจริง
หรือทางกฎหมายที่หากพิจารณาในแงของลักษณะของทรัพยนั้นหรือในแงอายุใชงานแลวยอม
สงผลกระทบตอคุณคา ราคา หรือความมีประโยชนใชสอยของทรัพยสินนั้น ๆ
ตัวอยางเชนคุณสมบัติของที่ดินผืนหนึ่ง ยอมไดแก ทีต่ ั้ง แนวเขต ลักษณะเนื้อดิน
ประโยชนใชสอย ฯลฯ
อยางไรก็ดี ราคา หรือคุณคาของทรัพยสินในตัวของมันเองไมใชคุณสมบัติ ทั้งนี้
เพราะราคาก็ดี คุณคาก็ดีมิไดเปนปจจัยที่สงผลตอคุณคาแหงทรัพยสินนัน้ เอง แตทั้งราคาและคุณคา
ในตัวของมันนั้นเปนผลหรือเปนสิ่งที่ขึ้นอยูกับบริบทหรือพฤติการณแวดลอมทางตลาดของ
ทรัพยสินนั้น ๆ มากกวา อยางไรก็ดี กรณีที่ผูแสดงเจตนาสําคัญผิดในราคาหรือคุณคาของ
ทรัพยสินอยางหนึ่งเพราะประเมินราคาผิด โดยความสําคัญผิดในราคาหรือคุณคา หรือการประเมิน
ราคาผิดพลาดนั้น ๆ แทจริงเกิดจากความสําคัญผิดในปจจัยที่กําหนดคุณคาหรือราคาของทรัพยสิน
เชนเนื้อหา แหลงที่มา ดังนี้กน็ ับเปนสําคัญผิดในคุณสมบัติอยางหนึ่งได
ตัวอยางเชนกรณีที่ ข. สําคัญผิดในราคาของแหวนซึ่งตนเสนอขายในราคา ๙๐๐ บาท
เพราะ ข. สําคัญผิดไปวาแหวนนัน้ เปนแหวนชุบทอง แตในความเปนจริงแหวนวงนัน้ เปนแหวน
ทองแท ดังนี้มใิ ชกรณีที่ ข. สําคัญผิดในราคาหรือคุณคาแท ๆ แตเปนกรณีที่สําคัญผิดในปจจัย
กําหนดคุณคาหรือราคา ดังนั้นจึงเปนสําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพยซึ่งปกติเปนสาระสําคัญ การ
แสดงเจตนาของ ข. จึงตกเปนโมฆียะ ดังนี้ ข. ยอมบอกลางโมฆียกรรมได
(๓) ปกติถือเปนสาระสําคัญ
คุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินจะตองเปนคุณสมบัตซิ ึ่งปกติถือเปนสาระสําคัญ
ดวย หมายความวาตองเปนสาระสําคัญตามปกติในการทํานิติกรรมนัน้ ๆ ไมใชเปนสาระสําคัญ
ตามความประสงคสวนตัวอันอยูภายในใจของผูแสดงเจตนาฝายเดียว การที่กฎหมายกําหนดไว

๒๐๑
เชนนี้ก็เพราะมุงที่จะตัดขอโตแยงอันอาจเกิดจากความเห็นแตกตางกันระหวางคูกรณี โดยเฉพาะ
ในกรณีที่ฝายผูแสดงเจตนาเห็นวาคุณสมบัติอยางหนึ่งอยางใดเปนสาระสําคัญเพียงฝายเดียว ดังนั้น
ปญหาวากรณีใดเปนกรณีทปี่ กติถือเปนสาระสําคัญหรือไมจึงตองพิจารณาตามความมุงหมายทาง
ธุรกิจตามปกติของนิติกรรมนั้น ๆ เปนเกณฑ
อยางไรก็ตามคุณสมบัติอันปกติถือเปนสาระสําคัญนี้อาจเปนสิ่งที่ปกติวญ ิ ูชนควร
คาดเห็นไดจากการแสดงเจตนาในเรื่องนัน้ ๆ ก็ได ถาคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินขอใดเปน
สิ่งที่คูกรณีหรือวิญูชนรูหรือควรรูไดตามปกติวาเปนสวนหนึ่งของเนื้อหาสาระแหงการแสดง
เจตนานัน้ ๆ คุณสมบัติดังกลาวยอมมีฐานะเปนคุณสมบัตซิ ึ่งปกติถือเปนสาระสําคัญ กรณีนี้ถือ
ไมไดวา เปนคุณสมบัติขอนัน้ เปนสิ่งที่ซอนอยูในใจของผูแสดงเจตนาฝายเดียว สวนปญหาวา
คุณสมบัติดังกลาวจะเปนสวนหนึ่งของเนื้อหาสาระแหงการแสดงเจตนาหรือไมนั้น คูก รณีตอง
พิจารณาจากการตีความการแสดงเจตนาเรื่องนั้น ๆ เปนกรณี ๆ ไป
ตัวอยางเชน หากมีพฤติการณอยางหนึ่งอยางใดในระหวางการเจรจา หรือในการ
แสดงเจตนาของผูซื้อที่ดิน ทําใหผูขายที่ดนิ ควรรูไดวาผูซื้อประสงคจะซื้อที่ดินดังกลาวเพื่อใชปลูก
สรางโรงเรือน ดังนี้การที่ที่ดนิ แปลงนี้ตองมีคุณสมบัติใชปลูกสรางโรงเรือนได เชนไมอยูในเขต
พื้นที่หามปลูกสรางจึงเปนคุณสมบัติอันปกติถือเปนสาระสําคัญ

๓.๒.๒ ขอยกเวน
(๑) แมการแสดงเจตนาจะตกเปนโมฆียะเพราะความสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล
หรือทรัพยอันปกติถือเปนสาระสําคัญ แตถาปรากฏวาความสําคัญผิดนั้นเกิดจากความประมาท
เลินเลอของผูแสดงเจตนา กฎหมายก็กําหนดวาผูแ สดงเจตนานั้นจะถือเอาความสําคัญผิดมาเปน
ประโยชนแกตนไมได
ตัวอยางเชน ก. ตกลงซื้อภาพเขียนจาก ข. โดย ก. เขาใจวาภาพเขียนดังกลาวเปน
ภาพเขียนตนฉบับของแทซึ่งวาดโดยจิตรกรคนหนึ่ง แตราคาที่ ก. ตกลงซื้อนั้นเปนราคาที่ต่ํากวาที่
ควรจะเปนมาก ดังนีห้ ากตอมาปรากฏวาภาพนั้นแทจริงเปนเพียงภาพเขียนลอกเลียนแบบจาก
ตนฉบับ ก. ยอมไมอาจอางความสําคัญผิดมาเปนประโยชนแกตนได เพราะ ก. ควรไดรจู ากราคา
ขายอยูแลววาภาพดังกลาวไมนาจะเปนภาพตนฉบับของแท การที่ ก. เสี่ยงเขาซื้อภาพเขียนนั้นเปน
การตกลงซื้อโดยเขารับภาระความเสี่ยงในความเปนของแทหรือไมแทโดยสมัครใจเอง
(๒) ความสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินอันปกติเปนสาระสําคัญในนิติ
กรรมบางประเภท อาจไมตกเปนโมฆียะเพราะเปนกรณีตกอยูใตบังคับกฎหมายอืน่ หรือมีบท
กฎหมายเฉพาะบัญญัติไวเปนอยางอื่นก็ได ทั้งนี้เปนไปตามหลักบทเฉพาะยอมมากอนบททั่วไป

๒๐๒
ตัวอยางเชน ในสัญญาค้ําประกันนั้น ผูค้ําประกันยอมผูกพันตนตอเจาหนี้เพื่อชําระ
หนี้เมื่อลูกหนีไ้ มชําระหนีน้ นั้ (มาตรา ๖๘๐ วรรคแรก ปพพ.) หากปรากฏวาผูค้ําประกันสําคัญผิด
ในฐานะการเงินหรือความสามารถชําระหนี้ของลูกหนี้ อันนับเปนคุณสมบัติของบุคคลซึ่งปกติถือ
เปนสาระสําคัญ ดังนี้ผูค้ําประกันจะอางวาตนสําคัญผิดในคุณสมบัติของลูกหนี้เพื่อบอกลาง
โมฆียกรรมตามมาตรา ๑๕๗ ปพพ. ไมได เพราะความมุงหมายของสัญญาค้ําประกันก็คือการที่ผู
ค้ําประกันยอมรับภาระความเสี่ยงในความสามารถหรือไมสามารถชําระหนี้ของลูกหนี้นั่นเอง หาก
ยอมใหผูค้ําประกันบอกลางโมฆียกรรมเพราะเหตุสําคัญผิดเชนนัน้ ไดสญ ั ญาค้ําประกันยอมหมด
ความหมาย และไมมีผลบังคับใชได
นอกจากนี้ในกรณีที่ผูซื้อสําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพยสินที่ซื้อขายกัน หากการ
ขาดคุณสมบัตินั้น ๆ เปนสาระสําคัญ ถึงขนาดเปนเหตุใหเสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก
ประโยชนอันมุงจะใชเปนปกติก็ดี เชนตกลงซื้อหลอดไฟกัน แตสําคัญผิดไปวาเปนหลอดไฟที่
สามารถใชกับไฟฟากระแสสลับขนาดแรงดันไฟ ๒๒๐ โวลท แตกลายเปนหลอดไฟสําหรับใชไฟ
ขนาดแรงดัน ๑๑๐ โวลท หรือเปนหลอดไฟสําหรับใชไฟกระแสตรง หรือตกลงซื้อที่ดินกันเพื่อ
ปลูกสรางโรงเรือน แตที่ดินนั้นเปนทีด่ ินทีเ่ ปนบอเลนไมสามารถใชกอสรางโรงเรือนตามปกติได
ดังนี้เปนกรณีสําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพยสินอันปกติถือเปนสาระสําคัญ แตขณะเดียวกันก็
เปนกรณีชํารุดบกพรองตามมาตรา ๔๗๒ ปพพ. ซึ่งกฎหมายกําหนดใหผูขายตองรับผิด กรณีเชนนี้
ตองถือหลักที่วาบทเฉพาะตองมากอนบททั่วไป ผูขายยอมตองรับผิดตามหลักความรับผิดเพื่อ
ชํารุดบกพรอง คือตองชําระหนี้ใหตองตามความประสงคอันแทจริงแหงมูลหนี้ หรือชดใชคา
สินไหมทดแทนตามมาตรา ๒๑๕ ปพพ. หรือหากผูขายไมชําระหนี้ผซู ื้อยอมมีสิทธิบอกเลิก
สัญญา (มาตรา ๓๘๖-๓๘๙ ปพพ.)
อนึ่ง กรณีทรัพยสินที่ซื้อขายชํารุดบกพรองนี้ ผูขายตองรับผิดทั้งที่ผูขายรูอยูแลว
หรือไมรูวามีความชํารุดบกพรองอยูก็ตาม (มาตรา ๔๗๒ ปพพ.) ดังนั้น ในกรณีที่ผูขายไมรูวา
ความชํารุดบกพรองมีอยู และสําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพยสินที่ขายอันปกติถือเปนสาระสําคัญ
เชนผูขายไมรวู าภาพเขียนเปนของลอกเลียนแบบ หรือทีด่ ินอยูใ นเขตหามกอสราง ฯลฯ ผูขายจะ
อางความสําคัญผิดของตนโดยอาศัยสิทธิตามมาตรา ๑๕๗ ปพพ. มาบอกลางโมฆียกรรมไมได
แตถาความสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยสินอันปกติถือเปน
สาระสําคัญนั้นมิไดเปนเหตุของความชํารุดบกพรอง เชนคูกรณีตกลงซื้อขายภาพเขียนกันในราคา
ต่ําโดยทั้งผูซ้อื และผูขายเขาใจวาเปนภาพเขียนโดยจิตรกรไมมีชื่อ แตปรากฏวาแทจริงแลวเปน
ภาพเขียนของจิตรกรมีชื่อกองโลก หรือซื้อขายแจกันลายครามโดยเขาใจวาเปนของเลียนแบบแตที่
จริงเปนแจกันลายครามโบราณของแท ดังนี้จะเห็นไดวาไมใชกรณีชํารุดบกพรอง แตเปนกรณี

๒๐๓
สําคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพยสินอันปกติเปนสาระสําคัญ ดังนั้นผูขายอาจอางสําคัญผิดใน
คุณสมบัติบอกลางโมฆียกรรมตามมาตรา ๑๕๗ ปพพ.ได

๔. ปญหานาสนใจบางกรณี
๔.๑ กรณีสําคัญผิดในขณะลงนามในเอกสารซึ่งผูลงนามมิไดอานขอความใหรอบคอบ
กรณีดังกลาวจะตองพิจารณาแยกแยะดังนี้
๑) ถาคูกรณีทั้งสองฝายไดตกลงทําสัญญากันโดยเจรจากันไวดว ยวาจากอน แลวตกลง
กันวาจะทําเปนหนังสือในภายหลัง หากปรากฏวาขอความในหนังสือสัญญาไมตรงกับขอความที่
ไดตกลงกันไวดวยวาจา ดังนีม้ ีปญหานาคิดวา เนื้อหาของสัญญาจะเปนไปตามที่ไดตกลงกันไว
ดวยวาจาหรือจะตองถือตามที่ปรากฏเปนลายลักษณอักษร?
ปญหาขอนี้อาจตอบไดโดยเทียบกรณีที่คกู รณีเขาใจตรงกันแตใชถอยคําผิดไปจากที่
เขาใจ เปนกรณีที่เรียกวา falsa demonstratio ขอความของสัญญาที่ทํากันเปนหนังสือมีคาเปนเพียง
บันทึกของเจตนาที่แทจริง การตีความการแสดงเจตนาในทํานองนี้ตองเปนไปตามหลักการตีความ
ตามเจตนาทีแ่ ทจริงยิ่งกวาถอยคําสํานวนตามตัวอักษร (มาตรา ๑๗๑ ปพพ.) กรณีนี้จงึ มิใชกรณี
สําคัญผิด
๒) แตถาผูลงนามในเอกสารรูอยูวาการลงนามนั้นเปนการแสดงเจตนาทํานิติกรรมอยาง
หนึ่งอยางใดทีม่ ีผลทางกฎหมายแตผูลงนามไมไดสนใจอานขอความในเอกสารดวยความระมัด-
ระวัง และมิไดใสใจดวยวาตนกําลังแสดงเจตนาหรือทําสัญญาเรื่องใด ดังนี้การแสดงเจตนาหรือ
สัญญานั้นยอมมีผลสมบูรณตามกฎหมาย เพราะผูแสดงเจตนาเพราะผูแสดงเจตนาตัง้ ใจทํานิติ
กรรมโดยมิไดคํานึงเลยวานิติกรรมนั้นจะเปนนิติกรรมอะไร ดังนีไ้ มมีเหตุควรคุมครองผูแสดง
เจตนาแตประการใด กรณีไมใชสําคัญผิด เพราะเจตนาทีแ่ ทจริงของผูแสดงเจตนาเปนอยางไรก็ได
ตกลงแสดงเจตนาไปอยางนัน้ แลว
๓) แตถาเปนกรณีที่ขณะลงนามในเอกสารนั้น ผูลงนามไดเขาใจไปวาตนกําลังลงนามใน
สัญญาอยางหนึ่ง เชนสัญญาซื้อขาย แตอันที่จริงสัญญานั้นเปนสัญญาอีกอยางหนึ่ง เชนสัญญากู
ดังนี้จะเห็นไดวาเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนา (ซื้อขาย) แตกตางจากเจตนาทีแ่ สดงออก (กู)
กรณีเชนนี้เปนกรณีสําคัญผิดในสาระสําคัญแหงนิตกิ รรม คือสําคัญผิดในลักษณะแหงนิติกรรม
การแสดงเจตนานั้นยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๖ ปพพ.)
๔) สวนในกรณีทผี่ ูแสดงเจตนาไดลงนามในเอกสารซึ่งตนเปนผูรางหรือเปนผูสั่งให
เขียนขึ้นตามคําบอกของตน แตมิไดอานทบทวนขอความในเอกสารนัน้ ใหละเอียดถีถ่ วนเสียกอน
หากปรากฏวาขอความนั้นไมตรงกับเจตนาที่แทจริงของตนก็เปนกรณีสําคัญผิด ถาเปนขอความอัน
เปนสาระสําคัญแหงนิตกิ รรม การแสดงเจตนาดวยการลงนามนั้นๆ ก็เปนการแสดงเจตนาโดย

๒๐๔
สําคัญผิดในสาระสําคัญ และมีผลเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๖ ปพพ.) อยางไรก็ดี หากความสําคัญผิด
นั้นเกิดจากความประมาทเลินเลออยางรายแรงของผูแสดงเจตนา เชนเปนผูประกอบการที่ทํางาน
เกี่ยวกับเอกสารเปนปกติ หรือเปนทนาย ผูน ั้นจะอางความสําคัญผิดนั้นเปนประโยชนแกตนไมได
(มาตรา ๑๕๘ ปพพ.)

๔.๒ ในกรณีที่ผูแสดงเจตนาไดลงนามในกระดาษเปลาโดยมีผูนําไปใชกรอกขอความใน
ภายหลัง และขอความนั้นขัดตอความประสงคของผูที่ลงนามไว ดังนี้ถอื ไดวาเปนกรณีที่ผูลงนาม
แสดงเจตนาโดยสําคัญผิดไดเชนกัน เพราะในกรณีนี้ผแู สดงเจตนามุงจะแสดงเจตนาอยางหนึ่ง แต
เจตนาที่ปรากฏออกมากลายเปนอีกอยางหนึ่ง ถาเนื้อหาแหงเจตนานั้นเปนสาระสําคัญแหงนิติ
กรรม ก็เปนกรณีสําคัญผิดในสาระสําคัญ การแสดงเจตนานั้นยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา ๑๕๖
ปพพ.)
ตัวอยางเชน ก. ตกลงซื้อเครื่องตกแตงบานจาก ข. ในราคา ๕๐,๐๐๐ บาท ทั้งสองฝายตก
ลงซื้อขายกันโดยให ก. ผอนชําระราคาได โดย ก. มีหนาที่ผอนชําระเงินกับสถาบันการเงินแหง
หนึ่ง ก. จึงลงนามในแบบฟอรมขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และ ข. ตกลงวาจะกรอกขอความที่
เวนวางไวตามความเปนจริง หากปรากฏตอมาวาแทนที่ ข. จะกรอกจํานวนเงินเปน ๕๐,๐๐๐ บาท
กลับกรอกจํานวนเงินเปน ๗๐,๐๐๐ บาท ดังนี้ การแสดงเจตนาของ ก. (ขอสินเชื่อ ๗๐,๐๐๐ บาท)
ตางจากเจตนาที่แทจริง (ขอสินเชื่อ ๕๐,๐๐๐ บาท) จึงเปนการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดใน
สาระสําคัญ
อยางไรก็ดี การพิจารณาปญหาสําคัญผิดกรณีนี้ตองแยกพิจารณาเปน ๒ กรณี
๑) ถา ข. ผูขายซึ่งเปนผูรับการแสดงเจตนาไดกรอกขอความลงไปโดยฝาฝนขอตกลงที่
ไดทํากันไว ดังนี้ ข. ซึ่งเปนผูกรอกขอความในเอกสารนัน้ รูอยูแลววา เจตนาที่แทจริงของ ก. เปน
อยางไร (เชน ตกลงซื้อหรือตกลงกูเปนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท) ดังนีห้ าก ข. ตกลงผูกพันกับ ก. โดยรูอยู
แลววาเจตนาที่แทจริงของ ก. ไมตรงกับเจตนาที่แสดงออกใหปรากฏในเอกสาร กรณีเชนนี้ก็เปน
กรณีที่ไมมีเหตุควรคุมครอง ข. แตประการใด เปนกรณี falsa demonstratio เจตนาทีม่ ีผลคือเจตนา
ที่แทจริง หรืออาจเทียบไดกบั กรณีแสดงเจตนาลวงโดยสมรูกัน กรณีตอ งบังคับตามเจตนาที่แทจริง
ดังนี้หาก ก. ลงนามในสัญญาเงินกู แม ข. จะกรอกขอความวา ก. กูเงินจํานวน ๗๐,๐๐๐ บาท โดย
รูอยูวาแทจริงแลว ก. ประสงคจะกูเงินเพียง ๕๐,๐๐๐ บาท ดังนี้นิตกิ รรมที่มีผลบังคับในกรณีนี้คือ
สัญญากูเงินระหวาง ก. กับ ข. เปนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท ตามที่ตกลงกัน
๒) แตในกรณีที่มบี ุคคลภายนอกมาเกีย่ วของดวย โดยบุคคลภายนอกนั้นมิไดมีสวนรู
เห็นเจตนาที่แทจริงของ ก. วาเปนอยางไร และเชื่อถือการแสดงเจตนาของ ก. ตามที่ปรากฏออกมา
ภายนอก ดังนี้เปนกรณีที่บุคคลภายนอกควรไดรับความคุม ครอง

๒๐๕
ตัวอยางเชน ก. ลงนามในแบบฟอรมสัญญากูของสถาบันการเงิน ค. โดย ก. ตกลง
มอบให ข. เปนผูกรอกจํานวนเงินลงไป ถาปรากฏวา ข. กรอกจํานวนเงินสูงกวาที่ตกลงกัน เชนตก
ลงกันไว ๕๐,๐๐๐ บาท แต ข. กรอกลงไปเปน ๗๐,๐๐๐ บาท ดังนี้การแสดงเจตนาของ ก. ไมตอง
ตรงกับเจตนาที่แทจริงของ ก. เปนการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในสาระสําคัญ การแสดงเจตนา
ของ ก. ยอมตกเปนโมฆะ
อยางไรก็ดี ในกรณีเชนนี้ ก. ไมอาจยกเอาความสําคัญผิดขึ้นเปนประโยชนแกตนได
ทั้งนี้เพราะ ก. ซึ่งเปนผูแสดงเจตนาไมควรไดรับความคุม ครองจากกฎหมาย เพราะในขณะที่ผู
แสดงเจตนาไดลงนามในเอกสารเปลา ๆ นั้น เขาควรคาดหมายไดอยูแ ลววา การกรอกขอความลง
ในเอกสารอาจไมตรงตอความเปนจริงได ดังนั้นจึงเปนกรณีที่ผูแสดงเจตนาประมาทเลินเลออยาง
รายแรง และ ก. ไมอาจอางความสําคัญผิดเปนประโยชนแกตนไดตามมาตรา ๑๕๘ ปพพ.
กรณีทํานองเดียวกันไดแกกรณีที่ ก. ลงนามในหนังสือมอบอํานาจใหแก ข. โดย
ไมไดระบุกิจการที่มอบหมายใหชดั เจน ในกรณีนหี้ าก ข. ไปทําการแทน ก. โดยปราศจากอํานาจ
กฎหมายก็จะใหความคุมครองบุคคลภายนอกผูเชื่อถือในเจตนาทีไ่ ดแสดงใหปรากฏตอภายนอก
เปนสําคัญ (โปรดเทียบมาตรา ๘๒๑, ๘๒๑, ๘๒๒ ปพพ.) ดังนั้น ก. อาจตองผูกพันตอ
บุคคลภายนอกในการกระทําโดยปราศจากอํานาจของ ข. ได

๔.๓ ปญหากรณีที่ผูแสดงเจตนาสําคัญผิดในผลทางกฎหมายของการแสดงเจตนาของตน
การแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในผลทางกฎหมายอาจเปนกรณีสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ
หรือจะเปนสําคัญผิดในสาระสําคัญก็ได
๑) กรณีที่ผลทางกฎหมายของการแสดงเจตนานั้นเปนผลตามที่กฎหมายบัญญัติ เชน
เรื่องความรับผิดเพื่อชํารุดบกพรองของผูขายนั้น หากผูแสดงเจตนาสําคัญผิดในผลทางกฎหมาย
โดยเจตนาที่แทจริงของผูแสดงเจตนายังตองตรงกันกับเจตนาที่แสดงออก ดังนี้ไมใชกรณีสําคัญผิด
ในสาระสําคัญ แตเปนสําคัญผิดในมูลเหตุจงู ใจเทานัน้
ตัวอยางเชน ก. ซื้อรถยนตจาก ข. โดยทําสัญญากันเปนหนังสือ แมคกู รณีทั้งสอง
มิไดเอยถึงความรับผิดเพื่อชํารุดบกพรองไวในสัญญาแตประการใดเลย ความรับผิดเพือ่ ชํารุด
บกพรองตามกฎหมาย (มาตรา ๔๗๒ ปพพ.) ก็ยอมมีผลใชบังคับอยูตอ ไป หาก ข. ตกลงใจเขาทํา
นิติกรรมรายนีโ้ ดยเขาใจผิดไปวาเมื่อไมไดกลาวถึงความรับผิดเพื่อชํารุดบกพรองไวในสัญญาแลว
ข. ยอมไมตองรับผิดเพื่อความชํารุดบกพรองเลย เพราะตนมิไดรับปากหรือประกันคุณภาพเอาไว
ดวย ดังนี้ ข. ก็ยังหนีความรับผิดไปไมพน เพราะเมื่อ ข. แสดงเจตนาเขาผูกพันตนตามสัญญาซื้อ
ขายนั้น ทั้งเจตนาที่แทจริงและเจตนาที่แสดงออกตรงกัน คือตกลงขายรถยนตให ก. สวนกรณีที่ ข.
สําคัญผิดไปวาตนไมตองรับผิดเลยนั้นเปนแตเพียงสําคัญผิดในมูลเหตุจงู ใจเทานัน้

๒๐๖
๒) แตความสําคัญผิดในผลทางกฎหมายของการแสดงเจตนาในบางกรณีอาจกระทบถึง
เนื้อหาของนิตกิ รรมก็ได ในกรณีเชนนี้หากคูกรณีสําคัญผิดในผลทางกฎหมายอาจทําใหเจตนาที่
แสดงออกตอภายนอกไมตรงกับเจตนาทีแ่ ทจริงของผูแสดงเจตนาก็ได
ตัวอยางเชน กรณีที่ ก. ซื้อรถยนตจาก ข. โดยทําสัญญากันเปนหนังสือขอความตอน
หนึ่งวา “ผูขายไมตองรับผิดเพื่อการรอนสิทธิ์ของผูซื้อ” ดังนี้ถาหาก ข. เขาใจผิดไปวาคําวา “รอน
สิทธิ์” นั้นหมายถึงกรณีชํารุดบกพรองดวย ก็จะเห็นไดวา ข. ไดแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในเนื้อหา
แหงเจตนาที่ตนไดแสดงออกไป เจตนาทีแ่ ทจริงของ ข. ไมตรงกับเจตนาที่แสดงออก กรณีเชนนี้
ถือไดวาเปนสําคัญผิด และโดยที่เปนสาระสําคัญ การแสดงเจตนาเชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ
(มาตรา ๑๕๖ ปพพ.) เวนแตจะปรากฏวา ข. ผูขายเปนเจาของตลาดนัดคารถยนต หากเกิดกรณี
ดังกลาวขางตนขึ้น ข. คงจะไมสามารถอางเรื่องสําคัญผิดเปนประโยชนแกตนได (มาตรา ๑๕๘
ปพพ.)

๔.๔ ปญหาอีกกรณีหนึ่งไดแกการคํานวณผิดพลาดทําใหระบุจาํ นวนเงินในนิติกรรมผิดไป


ดังนี้ถือไดวาเปนความสําคัญผิดในพฤติการณอันเปนรากฐานแหงนิตกิ รรม
ตัวอยางเชน ก. เปนศิลปนตกลงเขียนภาพฝาผนังใหอาคารสํานักงานใหญธนาคารของ ข.
โดยทั้งสองฝายตกลงกันวา ก. จะตองวาดภาพฝาผนังอาคารให ข. ทั้งหลังคิดเปนเงินทั้งสิ้น
๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท แตถาการคิดคํานวณราคาของ ก. นั้นเปนการคิดคํานวณราคาตามเนื้อที่โดยคิด
เปนอัตราตอตารางเมตร และ ก. คํานวณเนื้อที่ต่ํากวาความเปนจริง หรือถา ก. คิดราคาตาม
ระยะเวลาทํางาน และ ก. คํานวณเวลาผิดไปเพราะคํานวณจากเนื้อที่ทตี่ ่ํากวาความเปนจริง หรือ
หากการคํานวณที่ผิดไปนัน้ เกิดจากการรวมตัวเลขผิด ดังนี้จึงมีปญหานาคิดวาการคํานวณผิดใน
นิติกรรมรายนีจ้ ะมีผลตอความสมบูรณของนิติกรรมอยางไร
๑) ในกรณีที่ฐานแหงการคํานวณราคานั้นมิไดอยูในกรอบขอตกลงของคูกรณีทั้งสอง
ฝาย คือคูกรณีมิไดรูถึงฐานแหงการคํานวณนั้น ๆ ดังนี้จะเห็นไดวาฐานที่ใชในการคํานวณราคา
ของ ก. เปนเพียงมูลเหตุจูงใจธรรมดา และราคาไมใชคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยอันปกติถือ
เปนสาระสําคัญ และยอมไมมีผลกระทบตอความสมบูรณของนิติกรรม นิติกรรมรายนี้ยอม
สมบูรณและ ก. ไมมีสิทธิบอกลางนิติกรรมดวยประการใด ๆ และนิตกิ รรมยอมผูกพัน ก. ตามที่ได
เสนอราคาไว
๒) แตถาการคํานวณราคาโดยอาศัยเนื้อทีห่ รือระยะเวลาเปนฐานแหงการคํานวณราคา
นั้นเปนที่รับรูก ันระหวางคูกรณี ดังนี้นาคิดวาการคํานวณผิดทําใหฐานแหงการแสดงเจตนา
คลาดเคลื่อนจากความจริงจะถือเปนกรณีท่เี จตนาที่แทจริงตางจากเจตนาที่แสดงออกหรือไม จะ
เห็นไดวาผูแสดงเจตนาในกรณีนี้ไดแสดงเจตนาตามความเขาใจของเขา แมความเขาใจนั้นจะผิด

๒๐๗
ไปเพราะคํานวณผิด ก็เปนกรณีที่เจตนาทีแ่ ทจริงตรงกับเจตนาที่แสดงออก ถาจะมีความสําคัญผิด
ก็นาจะเปนเพียงความสําคัญผิดในผลของการแสดงเจตนามากกวา เชนคาดวาตนควรไดกําไรเปน
เงินจํานวนหนึง่ แตเพราะคํานวณผิดทําใหกําไรนอยลงเปนตน กรณีนจี้ ึงเปนเพียงกรณีสําคัญผิดใน
มูลเหตุจูงใจ
อยางไรก็ดี มีปญหาตอไปวามีกรณีที่ควรคุมครองผูแสดงเจตนาหรือไม
ตัวอยางเชน การคํานวณผิดพลาดนั้นเปนการคํานวณผิดเพราะบวกหรือรวมตัวเลข
ของราคาสินคาแตละรายการที่เสนอราคาไวทําใหผลรวมราคาผิดไป ดังนี้ถาพิจารณาในแงของ
ผลรวมราคาทั้งหมดก็เรียกไดวาเปนเพียงกรณีเรียกชื่อผิด หรือใชถอยคําผิด เปนเรื่อง falsa
demenstratio เทานั้น ในกรณีเชนนีต้ องตีความตามเจตนาที่แทจริงวาคูกรณีประสงคจะชําระราคา
ที่ถูกตอง
กรณีสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจนี้ หากเปนกรณีสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือ
ทรัพยอันเปนสาระสําคัญ ดังนี้นิติกรรมนัน้ ตกเปนโมฆียะ และอาจถูกบอกลางได
ตัวอยางเชน การคํานวณราคาผิดพลาดนัน้ เปนเพราะคูก รณีอีกฝายหนึ่งเปนตนเหตุ
ดังนี้ก็อาจเปนกรณีที่คูกรณีฝายนั้นตองรับผิดชอบได ในกรณีเชนนี้ฝา ยที่แสดงเจตนาโดยสําคัญ
ผิดในมูลเหตุจงู ใจยอมมีสิทธิบอกลางหรือเรียกคาเสียหายแลวแตกรณี เชนถา ข. เจาของบานแจง
จํานวนเนื้อที่ของผนังผิดไปจากความเปนจริง เปนเหตุให ก. ซึ่งเปนผูรับเหมาคํานวณราคาผิดไป
ดังนี้เห็นไดวาเปนกรณีมาตรา ๑๕๗ ปพพ. และ ก. ยอมมีสิทธิบอกลางการแสดงเจตนาของตน
และขอกลับสูฐานะเดิม
ปญหายังอาจเกิดขึ้นไดในกรณีที่ผูแสดงเจตนาและผูรับการแสดงเจตนาตางก็สําคัญ
ผิดในมูลเหตุจงู ใจดวยกันทั้งสองฝาย
ตัวอยางเชน ก. ตกลงซื้อหุน หรือแลกเปลี่ยนเงินจาก ข. โดยทั้งสองฝายตางเขาใจวา
หุนที่ตกลงซื้อขายกันมีราคาหนวยละ ๑,๐๐๐ บาท แตแทที่จริงขณะนัน้ หุนที่ตกลงซื้อขายกันมี
ราคาสูงขึ้นหรือตกลงมากเกินกวาทีจ่ ะคาดหมายได เชนขณะตกลงซื้อขายกันนั้นไดมีราคาขึ้นไป
ถึง ๒,๐๐๐ บาทตอหุน หรือตกลงเหลือ ๑ บาทตอหุนแลวแตกรณี ดังนีจ้ ะเห็นไดวาคูก รณีตาง
สําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจในการตกลงใจแสดงเจตนาครัง้ นี้ กรณีนี้จะเรียกวาเปนกรณีสําคัญผิดใน
สาระสําคัญก็ไมถนัด แตอาจถือไดวาเปนสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจที่เปนรากฐานของการตกลงเขา
ทํานิติกรรม หรือในภาษาเยอรมันเรียกวา Geschaeftsgrundlage หรือแปลวาเปน fundamental
mistake และอาจสงผลใหนิตกิ รรมนั้นโมฆะไปเลยทีเดียว๒๐

๒๐
โปรดดูจี๊ด เศรษฐบุตร, นิติกรรมและสัญญา (จิตติ ติงศภัทิย แกไขเพิ่มเติม), พิมพครั้งที่ ๖ (๒๕๒๘), หนา
๑๓๐ ซึ่งอางตําราและนักนิติศาสตรฝรั่งเศส

๒๐๘
ตัวอยางที่เคยเกิดขึ้นในชวงที่เกิดสถานการณวิกฤตทางเศรษฐกิจ ก็มีเชน ก. กับ ข.
เปนคูคากันและเดินทางไปติดตอธุรกิจในตางประเทศดวยกัน ก. ตกลงซื้อเงินหรือตกลงกูเงินรู-
เบิ้ลจาก ข. ที่มอสโควโดยคูกรณีทั้งสองฝายเขาใจวาในเวลานั้นอัตราแลกเปลี่ยนในทองตลาด ๑ รู-
เบิ้ลมีคาเทากับ ๒๕ บาท และ ก. ไดตกลงซื้อหรือกูเงินจาก ข. เปนเงินรูเบิ้ลรวมทั้งสิ้น ๓,๐๐๐ รู-
เบิ้ล และตกลงจะชําระหนี้เปนเงินไทยเมื่อ ข. เดินทางกลับประเทศไทยโดย ก. ไดทําหนังสือกูเงิน
หรือออกเช็คลวงหนาเพื่อชําระเงินแก ข. ตามอัตราแลกเงินที่เขาใจวาเปนอัตราแลกเปลี่ยนในราคา
ตลาดในเวลานั้น คิดเปนเงินไทย ๗๕๐,๐๐๐ บาท แตแทจริงแลว กอนเวลาขณะทีท่ ั้งสองฝายตก
ลงกันนั้น ราคารูเบิ้ลในทองตลาดไดตกลงอยางมาก และมีราคาเพียง ๑ รูเบิ้ลเทากับ ๑ บาทแลว
ในกรณีเชนนีห้ ากไดความวาคูกรณีตกลงกันโดยถือเอาราคาตลาดเปนเกณฑ เมื่อเราตีความตาม
เจตนาที่แทจริงเราก็จะไดความวา ก. เปนหนี้ ข. เปนเงินไทยเพียง ๓๐,๐๐๐ บาทเทานั้น ไมใช
๗๕๐,๐๐๐ บาทตามที่ระบุในเช็ค นับวาราคาตางกันถึง ๒๕ เทา อยางไรก็ดี หากมิไดปรากฏแน
ชัดวาคูกรณีประสงคจะชําระหนีก้ ันตามอัตราแลกเปลี่ยน ก็อาจมีขอโตแยงเกิดขึ้นวา เจตนาที่มีผล
ตามกฎหมายคือเจตนาที่แสดงออก คือจํานวนเงิน ๗๕๐,๐๐๐ บาทที่ระบุในหลักฐานเปนหนังสือ
หรือในเช็คเปนตน
คดีทํานองนี้เคยมีนักนิติศาสตรชาวเยอรมันชื่อศาสตราจารย Werner Flume เสนอขอ
ยุติไววา หากพิเคราะหไดวา ความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจของคูกรณีทั้งสองฝายนั้นถึงขนาดที่เห็น
ไดวามีการแสดงเจตนาสองเจตนาขัดกันเองก็ตองถือวานิติกรรมนั้นตกเปนโมฆะเสมือนเปนสําคัญ
ผิดในสาระสําคัญแหงนิติกรรม ตัวอยางเชนในกรณีพิพาทเรื่องแลกเงินนี้ หากแยกความตกลงใน
นิติกรรมออกเปนสองสวน ก็จะพบวา ในสวนแรกนั้นคูก รณีตกลงกูเ งินหรือซื้อเงินกันตามอัตรา
แลกเปลี่ยนโดยตกลงชําระหนี้กันเปนเงินบาท และสวนหลังคูกรณีทั้งสองฝายไดตกลงคิดอัตรา
แลกเปลี่ยนโดยสําคัญผิดไป และระบุจํานวนที่เปนหนีก้ นั เปนเงิน ๗๕๐,๐๐๐ บาท ดังนี้เห็นไดวา
ขอตกลงสวนแรกกับสวนหลังนั้นขัดกันเอง ในกรณีเชนนี้ตองตีความเจตนาทั้งสองสวนเสียกอน
และชั่งน้ําหนักของเจตนาทัง้ สองสวนที่รวมอยูในนิตกิ รรมนั้นวาสวนใดเปนสวนที่มีน้ําหนัก
มากกวา และถือวานิติกรรมนั้นมีผลตามเจตนาที่มีน้ําหนักมากกวาเปนสําคัญ แตหากเจตนาทั้ง
สองสวนมีน้ําหนักเทากันหรือใกลเคียงกันก็ตองถือวาเปนกรณีทํานองเดียวกับกรณีสําคัญผิดใน
สาระสําคัญ ในกรณีตัวอยางเรื่องแลกเงินนี้หากพิเคราะหตามมาตรฐานความรูสึกนึกคิดของวิญู
ชนยอมเล็งเห็นไดวาคูกรณีมีเจตนาชําระหนี้กนั ตามอัตราแลกเปลี่ยนตามอัตราทองตลาดขณะนัน้ มี
น้ําหนักมากกวา
อยางไรก็ดเี คยมีตัวอยางคดีในเยอรมันที่ปรากฏวาน้ําหนักของเจตนาทั้งสองสวนเทา
เทียมกัน และถือวาเปนกรณีสําคัญผิดในสาระสําคัญใหเห็นไดเชน ก. ตกลงปลดหนีใ้ หแก หาง
หุนสวนจํากัด ข. ซึ่งเปนนิติบุคคลและมี ข. เปนหุนสวนผูไมจํากัดความรับผิด แตในการปลดหนี้

๒๐๙
รายนี้ คูกรณีกลับตกลงกันวา ทั้งนี้ ก. สงวนสิทธิที่จะเรียกให ข. ซึ่งเปนหุนสวนผูไมจํากัดความรับ
ผิดยังคงตองรับผิดเปนสวนตัว และตองชําระหนี้อยูตอไป ในกรณีนี้ศาลฎีกาเยอรมันตัดสินวา การ
ปลดหนี้ดังกลาวตกเปนโมฆะ เพราะจงใจใหมีผลทําใหกฎหมายในเรือ่ งหางหุนสวนจํากัดไรผล
ไป เนื่องจากหากยอมใหหนี้ระหวาง ก. กับหางหุน สวนจํากัด ข. ระงับไป แตกลับให ข. ผูเปน
หุนสวนผูไมจาํ กัดความรับผิดตองชําระหนีอ้ ยูตอไป ก็จะมีผลทําให ข. ผูเปนหุนสวนไมจํากัด
ความรับผิดเสียสิทธิในสาระสําคัญ คือไมอาจจะยกขอตอสูหรือใชสิทธิอื่น ๆ โดยเฉพาะสิทธิ
กอตั้งของหางหุนสวนจํากัดตอสูเจาหนี้ไดอีกตอไป กรณีนี้ถือไดวาเจตนาของคูกรณีขัดกันเองนิติ
กรรมนี้จึงตกเปนโมฆะ

๔.๕ การแยกแยะความแตกตางทีส่ ําคัญระหวางกรณีสําคัญผิดในสาระสําคัญกับกรณี


สําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ อาจทําไดโดยการพิจารณาปญหาวา การแสดงเจตนาในกรณีนั้น ๆ เปน
กรณีที่เจตนาที่แทจริงกับเจตนาที่แสดงออกสอดคลองตองตรงกันหรือไม กรณีที่เจตนาที่แทจริง
ไมตรงกับเจตนาที่แสดงออกนั้น ถาเกิดขึน้ โดยผูแสดงเจตนาไมรูตวั ก็เปนกรณีสําคัญผิดซึ่งหาก
เปนสําคัญผิดในสิ่งซึ่งเปนสาระสําคัญแหงนิติกรรม การแสดงเจตนานัน้ ยอมตกเปนโมฆะ (มาตรา
๑๕๖ ปพพ.) สวนกรณีสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจนั้นไมใชกรณีที่เจตนาที่แทจริงตางจากเจตนาที่
แสดงออก แตเปนกรณีที่เจตนาที่แทจริงตรงกันกับเจตนาที่แสดงออก เพียงแตการกอเจตนาที่
แทจริงหรือที่เรียกกันอีกอยางหนึ่งวาการตกลงใจในการแสดงเจตนานัน้ เกิดจากมูลเหตุจูงใจอยาง
หนึ่งซึ่งไมตรงกับความเปนจริง ดังนี้เรียกวาเปนสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจซึ่งตามปกติยอ มไมสงผล
กระทบตอความสมบูรณของนิติกรรมแตอยางใด เวนแตจะเปนมูลเหตุจูงใจที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ
ของบุคคลหรือทรัพยอันปกติถือวาเปนสาระสําคัญของนิติกรรม (มาตรา ๑๕๗ ปพพ.)
ตัวอยางเชน ก. ตั้งใจจะซื้อของขวัญใหบตุ รสาวที่กําลังจะทําการสมรส จึงตกลงซื้อตู
และเตียงจาก ข. โดยแจงให ข. ทราบวาตูและเตียงนี้ตนจะซื้อเปนของขวัญวันแตงงานของบุตรสาว
ดังนี้แมคูกรณีทั้งสองฝายจะรูวาจะซื้อเครื่องเรือนไปเพื่อเปนของขวัญแตงงาน และอาจกลาวไดวา
การแสดงความมุงหมายดังกลาวเปนสวนหนึ่งของเนื้อหาแหงนิตกิ รรมซื้อขายรายนี้ แตความมุงจะ
ใชในพิธแี ตงงานของบุตรสาว ก. ก็ไมใชสาระสําคัญของนิติกรรม เพราะขอความดังกลาวเปนแต
เพียงการบอกกลาวแสดงมูลเหตุจูงใจหรือความมุงหมายสุดทายของการทําสัญญาซื้อขายรายนี้
เทานั้น ดังนี้หากปรากฏตอมาวาไมมีพิธีแตงงานดวยเหตุใดก็ตาม อาจเกิดปญหาขึ้นไดวา ก. จะมี
สิทธิบอกลางความผูกพันตามสัญญาซื้อขายรายนี้โดยอางวาตนสําคัญผิดไดหรือไม คําตอบก็คือ
ไมได เพราะความสําคัญผิดของ ก. เปนแตเพียงสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจเทานัน้
เพื่อประโยชนในการทําความเขาใจเรื่องสําคัญผิดใหเกิดความกระจางขึ้น เราควร
แยกแยะปญหากรณีตอไปนีอ้ อกจากกันใหชัดเจน

๒๑๐
๑) พฤติการณบางอยางอาจเปนเครื่องบงหรือเครื่องกําหนดตัวคูกรณีในนิติกรรม ดังนั้น
หากผูแสดงเจตนาประสงคจะทํานิติกรรมกับบุคคลคนหนึ่ง หรือมุงตอทรัพยอยางใดอยางหนึ่ง
แตกตางจากทีป่ รากฏในเจตนาที่แสดงออก ดังนี้เปนกรณีสําคัญผิดในตัวบุคคล หรือทรัพยอันเปน
วัตถุแหงสัญญา (mistake of identity) กรณีเชนนี้ถือไดวาเปนสําคัญผิดในสาระสําคัญ นิติกรรม
นั้นตกเปนโมฆะ
ตัวอยางที่ ๑ ก. เดินเขาไปในรานขายเนื้อแพะในชุมชนชาวมุสลิมเชื้อสายจีนใน
จังหวัดเชียงใหมโดยไมรวู าเปนรานขายเนือ้ แพะในชุมชนมุสลิม และ ก. ไดรองสั่งเนื้อสัน ๑
กิโลกรัม โดย ก. เขาใจวาตนกําลังสั่งซื้อเนื้อสันหมู แตคนขายและวิญูชนที่ไดยินคําสั่งของ ก. ก็
ยอมเขาใจโดยสุจริตวา ก. สั่งซื้อ “เนื้อสันของแพะ ๑ กิโลกรัม” ดังนี้จะเห็นไดวาเจตนาที่แทจริง
ของ ก. ไมตรงกับเจตนาทีแ่ สดงออก การแสดงเจตนาของ ก. ยอมเปนการแสดงเจตนาโดยสําคัญ
ผิดในทรัพยอนั เปนวัตถุแหงนิติกรรม เปนสําคัญผิดในสาระสําคัญ (มาตรา ๑๕๖ ปพพ.) นิติกรรม
ซื้อขายยอมตกเปนโมฆะ
ตัวอยางที่ ๒ ก. ตองการจางชาง ข. ซึ่งเคยทํางานซอมแซมบานใหตนเปนที่พอใจ
แลวหลายครั้ง โดย ก. ตองการจางชางมาซอมแซมและปรับปรุงบริษัทของตน บังเอิญ ก. ทําที่อยู
และหมายเลขโทรศัพทของชาง ข. หายไป ก. จึงหาหมายเลขโทรศัพทของชาง ข. จากสมุดโทร-
ศัพท บังเอิญ ก. ไปพบชื่อและหมายเลขโทรศัพทของชางอีกคนหนึ่งซึ่งชื่อ ข. เหมือนกัน (ตอไปจะ
เรียกวา ข.๒) โดย ก. เขาใจวา ข.๒ นัน้ ก็คอื ข. ก. จึงเรียกให ข.๒ มาประเมินราคาและซอมแซม
บริษัทใหตน และ ข.๒ ก็ไดสงชางมือรองจากตนมาดูสถานที่และประเมินราคาจนเปนที่ตกลงกัน
ตอมาเมื่อจะเริม่ ดําเนินงาน ข.๒ ไปที่บริษัทดวยตนเอง ก. จึงเพิ่งรูวาตนจางชางผิดตัว ดังนี้ ก.ยอม
อางไดวาสําคัญผิดในสาระสําคัญ และอางโมฆะกรรมได เพราะ ก. ประสงคจะจาง ข. มาซอมแซม
บริษัท ไมไดประสงคจะจาง ข.๒ เลย
๒) ในกรณีที่ผูแสดงเจตนากําหนดตัวบุคคลคูก รณีหรือทรัพยอันเปนวัตถุแหงนิติกรรม
แนนอนแลว แตผูแสดงเจตนาสําคัญผิดในพฤติการณอื่น ๆ อันเปนเหตุใหตกลงใจแสดงเจตนาเขา
ทํานิติกรรม ดังนี้ไมถือวาเปนกรณีสําคัญผิดในสาระสําคัญ แตเปนเพียงสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ
ตัวอยางที่ ๑ ก. เดินเขาไปในรานขายเนื้อแพะโดยเขาใจวาเปนรานขายเนื้อหมู ปรา-
กฏวาบนเขียงที่ขายเนื้อนัน้ มีเนื้อสันชิ้นหนึง่ ตั้งทิ้งไว ก. ประสงคจะซื้อจึงชี้ไปที่เนื้อชิ้นนั้นแลวสั่ง
ใหผูขายตัดเนือ้ ชิ้นนั้นใหตน ๑ กิโลกรัม ดังนี้จะเห็นไดวา เจตนาในสวนที่เกี่ยวกับสาระสําคัญของ
นิติกรรมทั้งในใจจริงและเจตนาที่แสดงออกนั้นตองตรงกัน จึงไมถือวาเปนสําคัญผิดในสาระสํา-
คัญ กรณีจึงเปนเรื่องสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจ คือสําคัญผิดในคุณสมบัติของเนื้อชิ้นนัน้ โดยเขาใจวา
เปนเนื้อหมูเทานั้น กรณีเชนนี้การแสดงเจตนาดังกลาวของ ก. จึงเปนเพียงโมฆียะกรรมตามมาตรา
๑๕๗ ปพพ.

๒๑๑
ตัวอยางที่ ๒ ก. จางชางมาซอมแซมบานของตน และเขาใจวา ข. เปนลูกคาคนหนึ่ง
ซึ่งมาซื้อของในหางของตนเปนประจํา ก. จึงประสงคจะจาง ข. ซึ่งมีผลประโยชนเกี่ยวพันกันตาง
ตอบแทนกันใกลชิดมาเปนชางซอมบาน ดังนี้เมื่อ ก. ตกลงจาง ข. แลว ถาปรากฏความจริงวา ข.
ไมเคยเปนลูกคาของหาง ก. เลย ดังนีก้ เ็ ปนกรณีที่ ก. สําคัญผิดในคุณสมบัติของ ข. และในกรณี
เชนนี้ ก. จะอางวาการแสดงเจตนาจาง ข. เปนชางของตนตกเปนโมฆียะไดก็ตอเมื่อความเปนลูกคา
หรือไมนั้นปกติถือเปนสาระสําคัญแหงนิตกิ รรมถึงขนาดที่หากไมสําคัญผิดก็คงไมไดทํานิติกรรม
นั้น ๆ ขึ้น (มาตรา ๑๕๗ ปพพ.) ซึ่งกรณีตามตัวอยางนี้เราพอเห็นไดวา คุณสมบัติที่เคยเปนลูกคามา
กอนไมใชสิ่งซึ่งปกติเปนสาระสําคัญแหงนิติกรรม

๔.๖ กรณีที่ผูแสดงเจตนาแสดงเจตนาโดยปราศจากความเขาใจวาเปนการแสดงเจตนาทํา
นิติกรรม เชนกรณียกมือทักทายเพื่อนฝูงในที่ชุมชนซึ่งกําลังประมูลสินคา ดังนี้ถาถือหลักตีความ
การแสดงเจตนาตามที่ปรากฏรับรูกันในหมูวิญูชนเปนหลักก็ตองถือวาการยกมือของ ก. เปนการ
เขาสูราคา แตถาตีความตามหลักเจตนาที่แทจริงก็ตองถือวาเปนการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดใน
สาระสําคัญ เพราะผูแสดงเจตนามิไดประสงคจะทํานิตกิ รรมใด ๆ ผูกพันดวยเลย ดังนั้นการแสดง
เจตนาเชนนั้นยอมตกเปนโมฆะ อยางไรก็ดีผูแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในกรณีนี้ หากเห็นไดวา
ความสําคัญผิดเกิดจากความประมาทเลินเลออยางรายแรงของผูแสดงเจตนา ผูแสดงเจตนาก็อาจ
ถูกกฎหมายหามมิใหยกโมฆะกรรมเปนขออางได (มาตรา ๑๕๘ ปพพ.)

๒๑๒
เอกสารประกอบการศึกษา
วิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา (น. ๑๐๑)
กิตติศักดิ์ ปรกติ

กลฉอฉลและขมขู
อุทาหรณ ๑ ก. เปนผูซื้อรถยนตใชแลวคันหนึ่งจาก ข. โดย ข. หลอก ก. วารถยนตคันนี้เปนรถที่ใช “ขับ
ทดลอง” ในการขายรถแกผูแสดงความจํานงจะซื้อ แตที่จริงรถคันนั้นเปนรถที่ใชงานหนักในการรับจางขนสง
คนโดยสาร

อุทาหรณ ๒. กรณีจะเปนอยางไร ถารถยนตคันดังกลาววิ่งมาถึง ๖๐,๐๐๐ กิโลเมตรแลว แตเครื่องวัดระยะ


ทางการไมไดเมื่อรถวิ่งไปเพียง ๗,๐๐๐ กิโลเมตรและคางอยูเพียงเทานั้น โดย ข. รูวาเครื่องวัดระยะทางเสีย แตก็
มิไดแจงให ก. ทราบ

อุทาหรณ ๓. กรณีจะเปนประการใด ถารถของ ข. ประสบอุบัติเหตุรายแรงมากอน แต ข. มิไดแจงให ก. ทราบ


ในระหวางการเจรจาตกลงกันวา รถยนตคันดังกลาวเคยประสบอุบัติเหตุรายแรงจนบุบสลายมากอน

อุทาหรณ ๔. หลังจากอุบัติเหตุรถยนตของ ก. และ ข. ชนกันโดย ข. เปนฝายผิด ปรากฏวา ก. ซึ่งไดรับความ


เสียหายจากอุบัติเหตุครั้งนี้ไดทําบันทึกยื่นให ข. ลงนามวาตนเปนผูกออุบัติเหตุ และตกลงจะชดใชคาสินไหม
ทดแทน ปรากฏวา ข. ยอมลงนามในหนังสือนี้เพราะเกรงกลัว ก. ที่ขู ข. วาหากไมยอมลงนามจะใชกําลัง
ประทุษราย ดังนี้ทานเห็นวา ข. จะมีสิทธิบอกลางการแสดงเจตนาสารภาพผิดและตกลงชดใชคาสินไหมทดแทน
ที่ไดลงนามไวหรือไม

อุทาหรณ ๕. กรณีจะเปนอยางไร ถาปรากฏวาในกรณีในอุทาหรณ ๔ นั้น ก. ขูวาหากไมยอมลงนามในบันทึกก็


จะเรียกตํารวจจับ และ ข. ซึ่งเสพสุรามึนเมาขณะขับรถเกรงวาจะถูกลงโทษอาญาอยางอื่นได จึงยอมลงนามใน
บันทึกที่ ก. รางขึ้นนั้น

อุทาหรณ ๖. กรณีจะเปนอยางไรถา ก. ขู ข. วาจะแจงตํารวจจับ หาก ข. ไมยอมรวมมือกับ ก. ในการบรรยาย


ความเสียหายของ ก. เกินจริง เพื่อหลอกลวงบริษัทประกันภัยใหชดใชคาเสียหายเพิ่มขึ้น

อุทาหรณ ๗. กรณีจะเปนอยางไร ถา ก. ขูวาหาก ข. ไมยอมลงนามในบันทึกยอมชดใชคาเสียหายที่เกิดขึ้น ก.


จะเรียกตํารวจจับ ข. ในคดีที่ ข. เคยกระทําผิดไวกอนหนานั้นดวย

๒๑๓
สวนที่ ๔
บทที่ ๔
กลฉอฉลและขมขู
๑. กลฉอฉล
การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอฉลหมายถึงการแสดงเจตนาที่กระทําลงเพราะหลงเชือ่ การ
หลอกลวงของคูกรณีอีกฝายหนึ่งหรือเพราะหลงเชื่อการหลอกลวงของผูอื่นซึ่งตามพฤติการณเปน
กรณีที่อีกฝายหนึ่งตองรับผิดชอบ ตามปกติการแสดงเจตนาเพราะกลฉอฉลอาจจะเปนการแสดง
เจตนาโดยสําคัญผิดดวยก็ได แตที่สําคัญก็คือ การแสดงเจตนาเพราะกลฉอฉลนี้อาจเปนการแสดง
เจตนาโดยสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจซึ่งปกติกฎหมายไมถือวามีนัยสําคัญใด ๆ ก็ได แตหาก
ความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจนั้นเกิดจากกลฉอฉล กฎหมายก็หันมาใหความคุมครองผูแสดง
เจตนา ทั้งนีเ้ พือ่ คุมครองใหผูแสดงเจตนาไมตองผูกพันตนตามเจตนาทีไ่ ดตกลงใจเพราะเขาใจผิด
นั่นเอง หลักขอนี้เราเห็นไดจากมาตรา ๑๕๙ ปพพ.

๑.๑ การทํากลฉอฉล
การกระทําที่เรียกไดวาเปนกลฉอฉล หมายถึงการแจงขอความอันเปนเท็จหรือการปกปด
ขอความจริงอันควรแจงใหทราบ เพื่อจูงใจใหบุคคลอื่นสําคัญผิดหรือใหความสําคัญผิดที่มีมากอน
นั้นดํารงอยูตอไป
ก) การทํากลฉอฉลนั้นอาจกระทําโดยการกระทําอยางใดอยางหนึ่ง ซึ่งหมายรวมถึงการ
กลาวอางขอเท็จจริงอันเปนเท็จในเรื่องที่เปนสาระสําคัญ ไมวาจะเปนการกลาวอางโดยตรงหรือ
โดยปริยาย
ตัวอยางเชน การกลาวอางวารถยนตที่นํามาเสนอขายเปนรถยนตที่ใชในการขับทดลอง ซึ่ง
สื่อใหเขาใจไดวาเปนรถที่ใชงานเพียงเล็กนอย ทั้ง ๆ ที่รถนั้นเปนรถซึ่งใชงานปกติ หรือใชงาน
หนักมาแลว หรือการปรับมาตรวัดระยะทางของรถใหแสดงระยะทางทีใ่ ชงานรถนั้นต่าํ กวาความ
เปนจริง หรือการตอบคําถามโดยบิดเบือนความจริงเกีย่ วกับโรคภัยไขเจ็บเมื่อเขาทําสัญญาประกัน
ชีวิต
การกลาวอางขอความอันเปนเท็จนัน้ ไมจําเปนตองเปนการกลาวอางขอเท็จจริงเสมอไป
แตอาจเปนการกลาวอางถึงพฤติการณอยางใดอยางหนึง่ ซึ่งอาจพิสูจนความจริงไดดว ย แตการ

๒๑๔
กลาว “ยกยอ” หรือการกลาวอางโฆษณาเกินจริงโดยเห็นไดวาผูกลาวอางเพียงแตกลาวอางขึ้นตาม
ความรูสึกหรือการประเมินคุณคาสิ่งนั้นเปนสวนตัวไมจดั วาเปนการกลาวอางขอความอันเปนเท็จ
ตัวอยางเชนการโฆษณาบรรยายสรรพคุณของบานวา อยูสบายเหมือนในวัง หรือการกลาว
อางวาน้ําหอมมีกลิ่นหอมสดชื่นเหมือนยืนอยูในแดนสวรรค น้ํายาสระผมที่ใชแลวจะเกิดความ
มั่นใจไดทั้งวัน ดังนี้เปนตน

ข) การทํากลฉอฉลอาจมีขึ้นในรูปของการงดเวนกระทําการหรือการนิ่งก็ได แตการงด
เวนเชนนั้นจะถือวาเปนการทํากลฉอฉลไดก็ตอเมื่อ เปนการงดเวนการกลาวความจริงอันตนมี
หนาที่ที่ตองแสดงใหปรากฏ หรือถึงขั้นปกปดความจริงอันตนกลาวอางใหทราบนั่นเอง และยอม
หมายรวมถึงหนาที่เปดเผยขอความจริงตามหลักสุจริตและตามปกติประเพณีทางธุรกิจการคานัน้ ๆ
ดวย ทัง้ นี้ตองพิเคราะหสวนไดเสียของคูกรณีเปนระยะ ๆ ไป ในกรณีที่คูกรณีมีความสัมพันธกัน
ในลักษณะที่มคี วามไวเนื้อเชือ่ ใจกันเปนพิเศษ เชนกรณีเขากันเปนหางหุนสวน ดังนีห้ นาที่แสดง
ขอความจริงยอมมีเขมขนมากกวากรณีที่บคุ คลมีความสัมพันธเกี่ยวของกันในทางธุรกิจโดยทัว่ ไป
ดังนั้นในการเจรจาซื้อขายสินคาโดยทัว่ ไป การไมตอบคําถามในบางกรณีไมจําเปนตองเปนเหตุ
แหงกลฉอฉลเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยูกับการชั่งน้ําหนักประโยชนไดเสียระหวางคูกรณีใน
ความสัมพันธนั้น ๆ วากอใหเกิดหนาที่ระหวางกันเพียงใดเปนสําคัญ อยางไรก็ตามหากมี
พฤติการณใด ๆ ที่คูสัญญาเห็นไดวาเปนพฤติการณที่คสู ัญญาฝายใดฝายหนึ่งใหความสําคัญ ดังนี้
คูกรณีอีกฝายหนึ่งยอมมีหนาที่ตองเปดเผยขอความเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เปนพิเศษ
ตัวอยางเชน ในการซื้อขายรถยนต การที่ผขู ายแสดงตัวเลขระยะทางทีใ่ ชรถเปนกิโลเมตร
ผิดไปจากความเปนจริง นับวาเปนการแสดงขอความอันเปนเท็จ ทั้งนีเ้ พราะผูขายยอมมีหนาที่
แสดงความจริงวารถคันนั้นไดใชงานตามความเปนจริงเปนระยะทางเทาใดแลว เนื่องจาก
ขอเท็จจริงเกีย่ วกับสภาพของรถวาใชงานมาเพียงใดนั้น ตามประสบการณของผูใชรถโดยทั่วไป
ยอมมีความผลตอการประมาณราคาและคุณคาของรถยนตเปนอยางยิง่ นอกจากนี้การแสดง
ขอเท็จจริงวารถที่ตกลงซื้อขายกันเปนรถที่เคยประสบอุบตั ิเหตุมาแลวหรือไมยอมเปนสาระสําคัญ
หากผูซื้อไดสอบถามถึงขอเท็จจริงนั้น ๆ เพราะกรณีเชนนี้ผูขายยอมเห็นไดวาขอเท็จจริงดังกลาว
เปนสาระสําคัญประกอบการตัดสินใจของผูซื้อ และแมในกรณีที่ผูซื้อมิไดถามถึงขอเท็จจริงนั้นเลย
ก็ตาม โดยพฤติการณทวี่ ไปแลวตองถือวาผูขายมีหนาทีต่ องแสดงขอความจริงเกีย่ วกับการประสบ
อุบัติเหตุของรถใหผซู ื้อไดทราบ

๒๑๕
๑.๒ ความสัมพันธระหวางเหตุและผล
การทํากลฉอฉลจะตองเปนเหตุแหงการแสดงเจตนา ดังจะเห็นไดจากถอยคําใน
มาตรา ๑๕๙ ปพพ. ที่วา “การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอฉลเปนโมฆียะ” ดังนั้นจึงควรเขาใจวากล
ฉอฉลตองเปนเหตุใหผูแสดงเจตนา “หลงเชื่อ” หรือ “สําคัญผิด” และแสดงเจตนาเพราะความ
หลงเชื่อ หรือเพราะความสําคัญผิดนั้น
ก) การทํากลฉอฉลตองเปนเหตุแหงความสําคัญผิด ทั้งนี้ไมตองคํานึงถึงวา
ความสําคัญผิดนั้นจะเปนความสําคัญในสาระสําคัญแหงนิติกรรม (มาตรา ๑๕๖ ปพพ.) หรือ
ความสําคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพยอันปกติเปนสาระสําคัญ (มาตรา ๑๕๗ ปพพ.)
หรือความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจอยางใดอยางหนึ่งก็ได
ดวยเหตุนี้ ความสําคัญผิดในความสามารถชําระหนี้คาเชาบานของผูเชาบานหลังซึ่ง
คูกรณีจะซื้อขายกันยอมไมอาจถือไดวาเปนคุณสมบัติของบานที่ตกลงจะซื้อขายกันนั้น เพราะ
ไมใชปจจัยกําหนดคุณคาที่ดาํ รงอยูในตัวทรัพยนั้น ความสามารถชําระหนี้ของผูเชาเปนเพียง
มูลเหตุจูงใจอยางหนึ่งเทานัน้ ปกติยอมไมกระทบตอความสมบูรณของสัญญาจะซื้อขายแต
ประการใด แตหากความสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจนั้นเกิดจากถูกกลฉอฉลในความสามารถชําระหนี้
ของผูเชา ซึ่งหากไมถูกฉอฉลเชนนั้น ผูจะซื้อก็คงจะไมไดตกลงเขาทํานิติกรรมรายนี้ ดังนี้การ
แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอฉลเชนนั้นยอมถูกบอกลางได
ความสัมพันธเชิงเหตุและผลระหวางกลฉอฉลกับความสําคัญผิดนั้น นอกจากอาจมี
ไดในกรณีกลฉอฉลเปนเหตุแหงความสําคัญผิดเทานั้น แตยังรวมถึงกรณีที่กลฉอฉลเปนเหตุให
ความสําคัญผิดที่มีอยูแลวยังคงดําเนินตอไปดวย
ดวยเหตุนี้ แมผูซื้อบานหลังดังกลาวจะสําคัญผิดในฐานะทางการเงินของผูเชาอยูกอน
แลว โดยมิไดเปนเพราะถูกกลฉอฉลมากอนก็ตาม หากความสําคัญผิดนี้ยังคงดําเนินตอไปเพราะ
ถูกกลฉอฉล กรณีดังกลาวผูซ ื้อยอมอางไดวาไดแสดงเจตนาไปเพราะกลฉอฉล และยอมมีสิทธิอาง
โมฆียะกรรม และบอกลางนิติกรรมนั้นได
ดังนั้น หากผูซื้อหลงเชื่อวาผูเชามีฐานะการเงินดี และสามารถจายคาเชาไดโดยผูซื้อ
เขาใจฐานะของผูเชาผิดไปอยูกอนทีจ่ ะเจรจาทําสัญญาซื้อขายบานแลว หากความสําคัญผิดเชนวา
นั้นดํารงอยูไ ดเพราะผูขายมีสวนยืนยันในความมีฐานะดี หรือปกปดฐานะที่แทจริงทัง้ ๆ ที่ควรแจง
ใหทราบเมื่อฝายผูซื้อถามขึ้น ดังนี้นับไดวาการทําสัญญาซื้อขายรายนี้ยอ มเกิดขึ้นเพราะกลฉอฉล
ของผูขายแลว แมผูขายจะมิไดเปนผูกอใหเกิดความสําคัญผิดมาแตตนก็ตาม
โดยที่ความสัมพันธเชิงเหตุและผลระหวางกลฉอฉลและความสําคัญผิดนี้จะมีไดก็
เพราะกรณีที่เกิดความสําคัญผิดขึ้นเพราะกลฉอฉล ดังนั้นหากผูถูกกลฉอฉลรูความจริงอยูแลว
ไมไดแสดงเจตนาเพราะหลงเชื่อกลฉอฉล ดังนี้แมมีผูทํากลฉอฉลขึ้น กลฉอฉลนั้นก็ไมใชเหตุแหง

๒๑๖
ความสําคัญผิด หรือกรณีทผี่ ูแสดงเจตนานั้นสําคัญผิดไปเองโดยไมเกีย่ วกับกลฉอฉล ดังนี้การ
แสดงเจตนาของเขายอมไมไดกระทําลงเพราะถูกกลฉอฉล และไมอยูใ ตบังคับของหลักกฎหมาย
ในมาตรา ๑๕๙ ปพพ. แตอยางไรก็ดี หากผูถูกกลฉอฉลเกิดสําคัญผิด คือหลงเชื่อกลฉอฉลนั้น
เพราะขาดความระมัดระวัง เชนเพราะประมาทเลินเลอ หรือประมาทเลินเลออยางรายแรง ก็ยังถือ
ไดวาผูนนั้ แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอฉลไดอยูดี
เชนในกรณีซอื้ บานขางตนนี้ ถาผูซื้อบานรูอยูแลววาผูเชามีฐานะการเงินไมดี และไม
สามารถชําระหนี้คาเชาได ดังนี้ผูซื้อมิไดสําคัญผิด หรือไมไดถูกหลอกลวง ดังนั้นหากผูขายปดบัง
ขอเท็จจริงหรือแจงขอความอันเปนเท็จเกีย่ วกับฐานะของผูเชา ก็ไมทําใหผูซื้อแสดงเจตนาเพราะ
ถูกกลฉอฉล สวนในกรณีทผี่ ูซื้อสามารถรูไดวาผูเชาไมสามารถชําระคาเชาไดโดยวิธีอนั ไมยุงยาก
แตผูซื้อมิไดแสวงหาขอเท็จจริงนั้น กลับหลงเชื่อถอยคําของผูขาย หรือสําคัญผิดโดยประมาท
เลินเลออยางรายแรง ดังนี้ก็ยงั ถือไดวาผูซื้อซื้อเพราะกลฉอฉลอยูดี และนิติกรรมรายนีย้ อมเปน
โมฆียะ

ข) ความสําคัญผิดของผูถูกกลฉอฉลตองเปนเหตุแหงการแสดงเจตนา
กลฉอฉลที่ทําใหนิตกิ รรมตกเปนโมฆียะนี้ตองเปนกลฉอฉลถึงขนาด หมายความวา
ถึงขนาดเปนเหตุแหงการทํานิติกรรม กลาวคือถามิไดมีกลฉอฉลนั้น การอันเปนโมฆียะนัน้ ก็คงจะ
มิไดกระทําขึน้ เชนคงจะมิไดมีการแสดงเจตนากันเลย หรือคงจะมิไดแสดงเจตนาในเวลานัน้ หรือ
หากมีการแสดงเจตนาก็คงจะไดแสดงเจตนาเปนอยางอื่น (มาตรา ๑๕๙ ปพพ.) แตถากลฉอฉลนั้น
ไมถึงขนาดเปนเหตุแหงการทํานิติกรรม เพราะแมไมถูกกลฉอฉลก็คงจะทํานิตกิ รรมอยูแลว หาก
กลฉอฉลนั้นมีสวนเปนสาเหตุใหผูทํานิตกิ รรมโดยกลฉอฉลตองยอมรับภาระหนักขึน้ ดังนี้นิติ
กรรมนั้นไมเปนโมฆียะเพราะมิไดเกิดจากกลฉอฉล แตโดยที่ผูถูกกลฉอฉลไดรับความเสียหายอัน
เกิดจากการตองยอมรับภาระหนักขึ้น ดังนีก้ ฎหมายจึงกําหนดใหผูถูกกลฉอฉลมีสิทธิเรียก
คาเสียหายอันเกิดจากกลฉอฉลนั้น (มาตรา ๑๖๑ ปพพ.) อยางไรก็ตาม กลฉอฉลนั้นไมจําเปนตอง
เปนเหตุชี้ขาดเพียงประการเดียวที่ทาํ ใหเกิดการแสดงเจตนาเชนนัน้ คืออาจจะเปนเหตุประการหนึ่ง
ที่รวมกับเหตุอื่น ๆ อันชักนําไปสูการแสดงเจตนาก็ได ขอสําคัญอยูที่วาหากมิไดมีกลฉอฉลก็คงจะ
มิไดแสดงเจตนาเชนนัน้ ไมวาจะเปนกรณีที่คงจะมิไดทําการนั้นขึ้นเลย หรือกรณีที่คงจะมิได
ยอมรับภาระหนักขึ้นกวาที่จะยอมรับโดยปกติก็ตาม
ตัวอยางเชน ถา ก. รูวา รถยนตคันที่ตกลงซื้อขายกันนั้นเปนรถยนตที่เคยประสบ
อุบัติเหตุมาแลว (อุทาหรณ ๓) ก. ก็คงจะมิไดตกลงซื้อรถยนตคันดังกลาว (หรือถาตกลงซื้อก็คงจะ
ซื้อในราคาต่ําลง) หรือในกรณีที่ ก. ตกลงซื้อบานเพื่อเก็บคาเชาเปนรายได ดังนี้ความสามารถชําระ
หนี้ของผูเชายอมเปนเหตุจูงใจในการซื้อบาน ความสําคัญผิดเกี่ยวกับฐานะการเงินของผูเชายอม

๒๑๗
เปนเหตุใหเกิดโมฆียะกรรมได แตถา ก. ประสงคจะซื้อบานหลังดังกลาวเพราะตองการที่ดินเพือ่
กอสรางอาคารขึ้นใหม และตองการรื้อบานเกาทิ้ง ดังนี้ความสําคัญผิดในฐานะการเงินของผูเชา
ยอมไมเปนเหตุแหงการตกลงซื้อขายรายนี้ และไมเปนเหตุใหนิตกิ รรมรายนี้ตกเปนโมฆียะเพราะ
กลฉอฉล

๑.๓ กลฉอฉลนั้นตองไมชอบดวยกฎหมาย
กลฉอฉลจะตองเปนการกระทําโดยไมมีอํานาจหรือโดยชอบดวยกฎหมาย ทั้งนี้แม
กฎหมายจะมิไดบัญญัติไวชัดแจงเหมือนเรือ่ งขมขู (มาตรา ๑๖๖ ปพพ.) แตก็เห็นไดวากลฉอฉล
หรือการกลาวอางขอความอันเปนเท็จ หรือการปกปดขอความจริงนั้นจะตองเปนไปโดยไมชอบ
ดวยกฎหมายเสมอจึงจะเรียกไดวาเปนกลฉอฉล แตบางกรณี การปกปดขอความจริงหรือการกลาว
อางขอความเท็จอาจจะไมขดั ตอกฎหมายก็ได ในกรณีเชนนี้จะถือวาการทํานิติกรรมเชนนั้นตกเปน
โมฆียะกรรมไมได
ตัวอยางเชน นายจางถามผูมาสมัครทํางานวาเคยถูกตกเปนจําเลยหรือเคยถูกศาลพิพากษา
ลงโทษมากอนหรือไม ถาปรากฏวาผูสมัครงานกลาวอางขอความอันเปนเท็จเพราะมีสิทธิหรือ
อํานาจหนาทีต่ ามกฎหมาย หรือเพราะมีกฎหมายกําหนดใหกลาวอางเชนนั้นได ดังนี้การกลาวอาง
เชนนั้นยอมไมจัดเปนกลฉอฉลโดยนิตินยั และนิติกรรมเชนนั้นยอมไมตกเปนโมฆียะ เชนผูตก
เปนจําเลยหรือถูกลงโทษซึ่งตอมามีกฎหมายมานิรโทษกรรมไวแลว ดังนี้กฎหมายถือวาการกระทํา
ของเขาไมเปนความผิด และถือวาไมเคยตองรับโทษ หรือกรณีที่มีกฎหมายใหสิทธิแกผูเคย
ตองโทษจําคุกที่ไดรับการลบประวัติตองโทษไปแลว ดังที่มีในหลายประเทศ เพื่อสงเสริมใหผูเคย
ตองโทษมีงานทํา ดังนี้แมผูเคยตองโทษจะปกปดความจริง หรือแสดงขอความอันเปนเท็จก็ไมอาจ
นับวาเปนกลฉอฉลอันจะเปนเหตุใหนิตกิ รรมตกเปนโมฆียะได

๑.๔ เจตนาหลอกลวง
การทํากลฉอฉลนั้นผูกระทําตองกระทําโดยจงใจหลอกลวง คือกระทําการฉอฉลโดยมุง
กอใหเกิดความสําคัญผิด หรือมุงตอการชักนําใหเกิดการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดขึ้น ผูทํากลฉอ
ฉลตองรูและประสงคตอผลใหผูแสดงเจตนาหลงเชื่อเพื่อใหทําการอันเปนโมฆียะกรรมนั้นขึ้น ซึ่ง
หากผูแสดงเจตนามิไดถูกกลฉอฉลก็คงมิไดแสดงเจตนาหรือทําการอันเปนโมฆียะกรรมนั้นเลย
หรือหากกระทําก็คงมีขอความหรือเนื้อหาเปนอยางอื่น
ตัวอยางเชน ข. สําคัญผิดไปวา ก. รูอยูแ ลววารถที่ตกลงซื้อขายกันนัน้ เปนรถที่เคยประสบ
อุบัติเหตุ ดังนี้ ข. ยอมขาดเจตนาฉอฉล และนิติกรรมซื้อขายรายนีย้ อมไมไดเกิดจากกลฉอฉล และ

๒๑๘
ไมตกเปนโมฆียะ ทั้งนีแ้ มการที่ ข. ไมรูวา ก. สําคัญผิดนั้นจะเกิดเพราะความประมาทเลินเลอของ
ข. เอง อยางไรก็ตาม การกลาวอางขอเท็จจริงอันเปนเท็จโดยมิไดจงใจใหหลงเชื่อ แตคาดหมาย
ไดวาอาจจะหลงเชื่อหรือที่เรียกวาโดยมีเจตนาเล็งเห็นผล (dolus eventualis) คือไมไดจงใจหลอก
ใหเชื่อ แตแสดงขอความอันเปนเท็จหรือไมแสดงขอความจริงโดยประมาท คือมิไดจงใจจะใหเชื่อ
แตจะเชื่อหรือไมก็ไมไดใสใจ ดังนี้ก็ถือไดวาเปนการทํากลฉอฉลแลว๒๑
กรณีกลฉอฉลนี้ มีขอสังเกตวาองคประกอบของการทํากลฉอฉลตามมาตรา ๑๕๙ ปพพ.
กับองคประกอบความผิดทางอาญาฐานฉอโกง จะมีลักษณะคลายกันเปนสวนใหญ ดังจะเห็นได
จากความในประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๔๑ วา
“ผูใดทุจริต หลอกลวงผูอื่น ดวยการแสดงขอความอันเปนเท็จ หรือปกปดขอความจริงซึ่ง
ควรบอกใหแจง และโดยการหลอกลวงดังวานั้น ไดไปซึง่ ทรัพยสินจากผูถูกหลอกลวง
หรือบุคคลที่สาม...”
แตในสวนที่เกีย่ วกับกลฉอฉลตามกฎหมายแพงนั้นมีขอบเขตกวางกวาการฉอโกงทาง
อาญา เพราะในทางแพงนัน้ เพียงแตแสดงขอความอันเปนเท็จหรือปกปดขอความอันควรบอกให
แจง โดยประสงคตอผลหรือโดยเล็งเห็นผล หรือขาดความระมัดระวังอันตนพึงมี ทําใหผูถูกกลฉอ
ฉลจะแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในมูลเหตุจูงใจก็เพียงพอแลว ผูทํากลฉอฉลไมจําเปนตองมีเจตนา
ประสงคตอผลหรือเล็งเห็นผลวาตนหรือบุคคลที่สามจะตองไดไปซึ่งทรัพยสินจากผูถูกกลฉอฉล
หรือกอใหเกิดความเสียหายทางทรัพยสินแกผูถูกกลฉอฉลครบตามองคประกอบที่กาํ หนดไวใน
กฎหมายอาญาแตประการใด เหตุผลก็คือความมุงหมายของกฎหมายแพงในเรื่องนี้ มิไดมุง
คุมครองทรัพยสิน แตมุงคุมครอง “เสรีภาพในการตกลงใจ” เปนสําคัญ ดวยเหตุนี้ ผูท ํากลฉอฉลจะ
มีมูลเหตุจูงใจในการทํากลฉอฉลอยางใดไมเปนขอสําคัญ หากมีเจตนาปกปดความจริง หรือแสดง
ขอความอันเปนเท็จก็เพียงพอจะเปนกลฉอฉลแลว แมในบางกรณีผูทํากลฉอฉลอาจจะทําไปดวย
ความหวังดี หรือเพื่อประโยชนของผูแสดงเจตนาก็ถือไดวาเปนกลฉอฉลอยูดี

๑.๕ บุคคลผูทํากลฉอฉล
ผูทํากลฉอฉลอันเปนเหตุใหผูแสดงเจตนาแสดงเจตนาไปโดยมีความบกพรองนั้น มีได
หลายกรณีแตกรณีที่กฎหมายใหความสําคัญนั้นแยกเปนกรณี ๆ ดังนี้

๒๑
มีขอสังเกตวา การทํากลฉอฉลโดยประมาทเลินเลอนี้เทียบไดกับ negligent misrepresentation ซึ่งในระบบ
กฎหมายคอมมอนลอวก็มีการแยกแยะออกเปน fraudulent, negligent and innocent misrepresentation โดย
สองกรณีแรกเทียบไดกับกลฉอฉลตามกฎหมายไทยนั่นเอง

๒๑๙
ก) กรณีการแสดงเจตนาที่ไมตองการผูรับการแสดงเจตนาเชนการโฆษณาคํามั่นจะให
รางวัล พินัยกรรม หรือการสละกรรมสิทธิ์ ดังนี้ใครจะเปนผูทํากลฉอฉลไมสําคัญ เพราะกฎหมาย
มุงคุมครองเสรีภาพในการตกลงใจ และเมือ่ ไมมีคูกรณีผรู ับการแสดงเจตนาก็ไมมเี หตุที่จะคุมครอง
คูกรณีอีกฝายหนึ่ง ดังนั้นแมบุคคลภายนอกจะเปนผูทํากลฉอฉล เชนหลอกใหเจาของทรัพยเชื่อวา
ทรัพยของตนหายไปจะไดโฆษณาคํามั่นจะใหรางวัล หลอกใหเจามรดกทําพินยั กรรมหรือตัด
มรดกทายาทหรือหลอกเจาของทรัพยสินวาทรัพยสินนั้นเสียหายใชการไมไดจนทําใหเขาสละ
กรรมสิทธิ์ ดังนี้การโฆษณาคํามั่นจะใหรางวัล พินัยกรรม การสละกรรมสิทธิ์ก็ยอมตกเปนโมฆียะ
โดยไมตองคํานึงถึงวาผูไดรบั ประโยชนจากการนั้นจะมิไดมีสวนรูเห็นหรือมีสวนกอขึ้นดวยก็ตาม
ดังจะเห็นไดจากกรณีมาตรา ๑๗๐๙ ปพพ. เรื่องพินัยกรรม เปนตน
ข) กรณีเปนการแสดงเจตนาซึ่งมีผูรับ การแสดงเจตนานั้นจําเปนตองแยกพิจารณาเปน
๓ กรณี ดังตอไปนี้
๑) ถาผูรับการแสดงเจตนาเปนผูทํากลฉอฉล ดังนี้ผูแสดงเจตนาบอกลางไดทุกเมื่อ
กรณีนี้เปนกลฉอฉลแท ๆ (เชนกรณีอุทาหรณ ๑ – ๓) แตถาเปนกรณีทผี่ ูแสดงเจตนาเพราะถูกกล
ฉอฉลเองก็มีสวนทํากลฉอฉลดวย ดังนี้ ผูแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอฉลนั้นยอมไมควรไดรับการ
คุมครองเพราะเปนฝายทีไ่ ดทํากลฉอฉลดวยเชนกัน ดวยเหตุนี้กฎหมายจึงหามมิใหฝา ยที่ทํากลฉอ
ฉลดวยอางกลฉอฉลของอีกฝายหนึ่ง ไมวาจะอางวาเปนโมฆียะ หรืออางวาตองรับภาระหนักขึ้น
กวาปกติเปนเหตุใหเรียกคาเสียหายไดก็ตาม เพราะหากเปนฝายที่ทํากลฉอฉลเสียเองดวยแลวยอม
ไมอยูในฐานะอันพึงไดรับความคุมครองใหบอกลางหรืออางกลฉอฉลของอีกฝายหนึ่งมาเปนคุณ
แกตนไดนนั่ เอง (มาตรา ๑๖๓ ปพพ.)
๒) ถาบุคคลภายนอกเปนผูทํากลฉอฉลใหผูแสดงเจตนาเขาทํานิติกรรม ดังนี้ตอง
พิจารณาวาผูรับการแสดงเจตนาที่กระทําโดยถูกกลฉอฉลนั้นควรไดรบั การคุมครองในเหตุทเี่ ขา
เชื่อถือในการแสดงเจตนานัน้ โดยสุจริตหรือไม ซึ่งโดยหลักแลวเขาควรไดรับความคุมครอง
อยางไรก็ดี มีกรณีที่ผูรับการแสดงเจตนาไมควรไดรับความคุมครองอยูสองกรณีคือ
(ก) ผูรับการแสดงเจตนนัน้ เปนผูไ มสุจริต กลาวคือรูอยูแลวหรือควรรูอยูแลว
วามีการทํากลฉอฉล (มาตรา ๑๕๙ วรรคสาม ปพพ.)
ในกรณีที่ ค. บุคคลภายนอก หลอกลวง ก. ผูแสดงเจตนาวา รถที่ ก. ซื้อจาก
ข. นั้นเปนรถยนตที่ใชตั้งแสดงและขับขี่ทดลอง และมีอปุ กรณอํานวยความสะดวกมากมายและ
ไดรับการดูแลอยางดี ดังนี้ หาก ข. ผูขายรูอยูในขณะทําสัญญาซื้อขาย หรือไมรูเพราะประมาท
เลินเลอ วา ค. ซึ่งเปนบุคคลภายนอกหลอกลวงหรือทํากลฉอฉล ก. และกลฉอฉล หรือการ
หลอกลวงนั้นถึงขนาดให ก. ตกลงใจซื้อรถยนตคันนัน้ ดังนี้นิตกิ รรมซื้อขายรายนี้ยอ มตกเปน
โมฆียะและ ก. ยอมมีสิทธิบอกลางได

๒๒๐
(ข) แมในกรณีที่ผรู ับการแสดงเจตนาที่ถูกกลฉอฉลหรือคูกรณีอีกฝายหนึง่ จะ
สุจริต แตเขาก็ไมควรไดรับการคุมครอง หากการที่บุคคลภายนอกทํากลฉอฉลนั้นเปนพฤติการณที่
ผูรับการแสดงเจตนานัน้ ตองเปนฝายรับผิดชอบ กรณีนี้ตอ งชั่งน้ําหนักประโยชนไดเสียแกคูกรณี
ทั้งสองฝาย เชนกรณีทีผูทํากลฉอฉลเปนลูกจางของผูขาย ดังนี้ตองถือวาผูขายควรไดรู หรือในกรณี
ที่ผูทํากลฉอฉลนั้น เปนตัวแทนของผูขาย ก็ตองถือวาตัวแทนนั้นไมใชบุคคลภายนอกตามมาตรานี้
นอกจากนี้ หากผูทํากลฉอฉลเปนคนใกลชดิ ของผูรบการแสดงเจตนา หรือมีประโยชนไดเสีย
ใกลชิดกัน ก็ตอ งถือวาไมใชบุคคลภายนอกเชนกัน
ตัวอยางเชน นายหนาขายสินคา หรือนายหนาจัดหาบานเชา ทํากลฉอฉลตอผู
ซื้อหรือผูเชา นายหนาคาที่ดนิ หลอกลวงผูซ ้อื ที่ดินวาที่ดนิ ดังกลาวไมอยูในเขตถูกเวนคืน ดังนีแ้ ม
ผูขายจะไมรหู รือไมควรไดรถู ึงกลฉอฉลนั้น กรณีก็ตองนับเปนพฤติการณที่ผูขายตองรับผิดชอบ
และแมไมมกี ฎหมายบัญญัตไิ วโดยตรง ก็เปนกรณีที่ควรปรับใชมาตรา ๑๕๙ วรรคสาม ปพพ. ใน
ฐานะเปนบทใกลเคียงอยางยิง่ แกกรณีดังกลาวดวย
๓) ในกรณีที่บุคคลภายนอกทํากลฉอฉลนั้น กฎหมายถือหลักวา การแสดงเจตนานัน้
จะเปนโมฆียะก็ตอเมื่อคูกรณีอีกฝายหนึ่งรูหรือควรไดรถู ึงกลฉอฉลนั้น (มาตรา ๑๕๙ วรรคสาม
ปพพ.) ดังนี้ในกรณีที่คูกรณีฝายนัน้ สุจริต คือไมรูหรือควรไดรูถึงกลฉอฉล นิติกรรมนั้นยอมมีผล
สมบูรณไมตกเปนโมฆียะ อยางไรก็ดี มีกรณีนาคิดวา ถาคูกรณีสุจริตแตมีผูอื่นที่ไดรบั
ผลประโยชนโดยตรงไมสุจริต คือรูหรือควรไดรูถึงกลฉอฉลนั้น การแสดงเจตนานั้นจะตกเปน
โมฆียะหรือไม
เมื่อคํานึงถึงความมุงหมายของการคุมครองบุคคลภายนอกผูสุจริตแลว กรณีที่
บุคคลภายนอกไดรูหรือควรไดรูถึงกลฉอฉลเขายอมไมไดรับความคุมครอง ดังนั้นเรายอมเห็นได
วากรณีที่บุคคลภายนอกผูไดรับประโยชนโดยตรงไมสุจริต คือรูหรือควรไดรูถึงกลฉอแลนั้น การ
แสดงเจตนานัน้ ควรตกเปนโมฆียะ และผูแสดงเจตนายอมมีสิทธิบอกลางการแสดงเจตนาเชนนัน้
ได ในกรณีเชนนี้ตองบอกลางโมฆียะกรรมยอมตองบอกลางตอคูกรณีอีกฝายหนึ่งหรือตอบุคคลผู
ไดรับประโยชนจากการแสดงเจตนานัน้ โดยตรง โดยเฉพาะอยางยิ่งจะเห็นไดในกรณีสัญญาเพื่อ
ประโยชนบุคคลภายนอก (มาตรา ๓๗๔ – ๓๗๖ ปพพ.)
ในกรณีเหลานีเ้ ราอาจแยกพิจารณาปญหาเปนกลุม ๆ ไปดังนี้
(ก) ถาคูกรณีของผูแสดงเจตนาเปนผูทํากลฉอฉลหรือบุคคลอื่นทํากลฉอฉล
โดยพฤติการณซึ่งคูกรณีของผูแสดงเจตนานั้นตองรับผิดชอบ ดังนี้เปนกรณีทนี่ ิติกรรมตกเปน

๒๒๑
โมฆียะ (มาตรา ๑๕๙ วรรคแรก และวรรคสาม ปพพ. แลวแตกรณี) ผูแ สดงเจตนายอมมีสิทธิบอก
ลางโมฆียะกรรม๒๒
ตัวอยางเชน ก. กับ ข. เปนสามีภริยากัน ก. ทําสัญญาประกันชีวิตกับริษทั
ค. โดยให ข. เปนผูรับประโยชน ดังนี้ในกรณีที่ ก. ทํากลฉอฉล ค. ในการทําสัญญาประกันชีวิต
เชนแจงขอความอันเปนเท็จหรือปกปดขอความจริงอันควรบอกใหแจงเกี่ยวกับประวัติโรคภัย
ไขจ็บของตน ดังนี้เปนกรณีที่ ค. แสดงเจตนาทํานติกรรมเพราะถูก ก. ทํากลฉอฉล นิติกรรมยอม
ตกเปนโมฆียะ โดยไมตองพิจารณาวา ข. ซึง่ เปนผูรับประโยชนจะรูหรือควรไดรูถึงกลฉอฉลนั้น
หรือไม
(ข) ถาบุคคลภายนอกผูไมมีสวนเกี่ยวของในนิตกิ รรมนั้นเลยเปนผูทํากลฉอฉล
ดังนี้นิตกิ รรมจะเปนโมฆียะก็ตอเมื่อคูกรณีของผูแสดงเจตนาเพราะกลฉอฉลนั้นรูหรือควรไดรูถึง
กลฉอฉลนั้น (มาตรา ๑๕๙ วรรคสาม ปพพ.)
ตัวอยางเชน ง. ทํากลฉอฉลให ค. ซึ่งเปนบริษัทประกันชีวิตทําสัญญา
ประกันชีวิตให ก. ดังนี้ถา ก. ซึ่งเปนคูกรณีของบริษัทประกันชีวิตรูหรือควรไดรูถึงกลฉอฉลนั้น
ดังนี้นิตกิ รรมนั้นยอมเปนโมฆียะ และบริษัทประกันชีวติ ยอมมีสิทธิอางกลฉอฉลบอกลาง
โมฆียะกรรมนั้นได
(ค) อาจมีบางกรณีที่มีผูเกี่ยวของในนิตกิ รรมดวยกันหลายฝาย โดยเฉพาะ
สัญญาที่กระทบถึงสิทธิและหนาที่ของบุคคลภายนอก หรือบุคคลภายนอกเปนผูไดรับประโยขน
ฝายแรกก็คือผูแ สดงเจตนา ฝายที่สองคือผูรับการแสดงเจตนา หากนิติกรรมนั้นเปนนิติกรรมเพื่อ
ประโยชนบุคคลภายนอกโดยตรง ในกรณีนี้บุคคลภายนอกก็เปนฝายทีส่ าม แตก็ยังอาจมีบุคคลฝาย
ที่สี่ซึ่งเปนบุคคลภายนอกของนิติกรรมนี้ และไมเกี่ยวกับนิติกรรมนี้กไ็ ด ถาบุคคลนั้นเปนผูทํากล
ฉอฉลใหมีการแสดงเจตนานั้น ในกรณีเชนนี้ผูแสดงเจตนาซึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอฉลยอมมี

๒๒
เพื่อปองกันขอโตแยงวาเปนกรณีกลฉอฉลถึงขนาดหรือเปนเพียงกลฉอฉลเพื่อเหตุ กฎหมายลักษณะ
ประกันภัยไดวางบทบัญญัติใหเกิดความชัดแจงไวอีกชั้นหนึ่งวา
“มาตรา๘๖๕ ถาในเวลาทําสัญญาประกันภัย ผูเอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการ
ใชเงินยอมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รูอยูแลวละเวนเสียไมเปดเผยขอความจริงซึ่งอาจจะ
ไดจูงใจผูรับประกันภัยใหเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือใหบอกปดไมยอมทําสัญญาหรือวารูอยูแลว
แถลงขอความนั้นเปนความเท็จไซร ทานวาสัญญานั้นเปนโมฆียะ
ถามิไดใชสิทธิบอกลางภายในกําหนดเดือนหนึ่งนับแตวันที่ผูรับประกันภัยทราบมูลอันจะบอก
ลางไดก็ดี หรือมิไดใชสิทธินั้นภายในกําหนดหาปนับแตวันทําสัญญาก็ดี ทานวาสิทธินั้นเปนอันระงับสิ้น
ไป”

๒๒๒
สิทธิบอกลางกลฉอฉลนั้นตอบุคคลภายนอกผูไดรับประโยชนจากนิตกิ รรมนั้นโดยตรงได หาก
บุคคลภายนอกผูไดรับประโยชนนนั้ รูหรือควรไดรูถึงกลฉอฉลนั้น
ตัวอยางเชน ก. ทําสัญญาประกันชีวิตโดยยกประโยชนให ข. ภริยา โดยทํา
สัญญากับบริษัทประกันชีวติ ค. ปรากฏวาสัญญาประกันชีวิตรายนี้ บริษัท ค. ไดตกลงรับประกัน
ชีวิต ก. เพราะถูก ง. ซึ่งเปนบุคคลภายนอกทํากลฉอฉล ดังนี้ หาก ข. ซึ่งเปนผูรับประโยชนโดยครง
รูหรือควรไดรถู ึงกลฉอฉลนั้น สัญญาประกันชีวิตรายนีย้ อ มตกเปนโมฆียะ
(ง) ในกรณีที่บุคคลภายนอกผูไดรับผลประโยชนจากการแสดงเจตนานัน้
เปนผูทํากลฉอฉล ดังนี้ผูแสดงเจตนาก็อาจบอกลางกลฉอฉลนั้นตอผูรับประโยชนนนั้ ไดโดยตรง
ในฐานะที่เปนคูกรณี๒๓

๑.๖ การบอกลางโมฆียะกรรม
ผูมีสิทธิบอกลางโมฆียะกรรมตองบอกลางโมฆียะกรรมภายใน ๑ ป นับแตเวลาที่มูลเหตุ
ใหเปนโมฆียะกรรมนั้นไดหมดสิ้นไปแลว (มาตรา ๑๘๑, ๑๗๙ ปพพ.) คือผูแสดงเจตนาพนจาก
สภาวะที่ถกู ฉอฉลแลว หรือไดรูความจริง หรือรูวาตนถูกกลฉอฉลแลวนั่นเอง หรือมิฉะนั้นสิทธิ
บอกลางนี้ยอมระงับสิ้นไปเมื่อพนกําหนด ๑๐ ปนบั แตเวลาที่ไดทํานิตกิ รรมอันเปนโมฆียะนัน้
(มาตรา ๑๘๑ ปพพ.) เวลาที่อาจบอกลางโมฆียะกรรมไดนี้ก็คือเวลาที่ใหสัตยาบันได หรือเวลาที่
อาจรับรองใหนิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณและไมอาจถูกบอกลางไดตอไปนั่นเอง กลาวคือเมื่อมูลเหตุ
แหงโมฆียะกรรม ซึ่งในกรณีนี้คือสภาวะที่ถูกหลอกไดหมดสิ้นไปแลว ผูแสดงเจตนาเพราะถูกกล
ฉอฉลอาจรับรองนิติกรรมนัน้ หรือบอกลางโมฆียะกรรมนั้นภายในเวลาที่กฎหมายกําหนดก็ได
ทั้งนี้เปนไปตามมาตรา ๑๘๑ ประกอบกับมาตรา ๑๗๙ ปพพ.
ก) ใครบางเปนผูมีสิทธิบอกลางโมฆียะกรรม
ผูมีสิทธิบอกลางโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉอฉลปกติไดแกผูแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอ
ฉลนั้นเอง (มาตรา ๑๘๕ (๓) ปพพ.) อยางไรก็ดี ถาผูแสดงเจตนาอันตกเปนโมฆียะนั้นเปนผูเยาว
ผูเยาวจะบอกลางโมฆียะกรรมไดตอเมื่อตนไดบรรลุนิตภิ าวะแลว หรือไดรับความยินยอมจาก
ผูแทนโดยชอบธรรมแลว มิฉะนั้นจะตองใหผูแทนโดยชอบธรรมของผูเยาวเปนผูบอกลาง (มาตรา
๑๗๕ (๑) ปพพ.)

๒๓
คําวาคูกรณีที่ผูแสดงเจตนาอาจแสดงเจตนาบอกลางโมฆียะกรรมไดนี้ ในวงวิชาการก็ยอมรับอยูวาไมจํากัด
เฉพาะคูสัญญาเทานั้น แตยังหมายรวมถึงบุคคลภายนอกผูรับประโยชนดวย โปรดดู จิ๊ด เศรษฐบุตร, นิติ
กรรมและสัญญา, พิมพครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๒๘, หนา ๑๙๙

๒๒๓
ถาผูทํานิติกรรมอันเปนโมฆียะกรรมนัน้ ถึงแกความตายกอนที่จะมีการบอกลางโมฆียะ-
กรรม ทายาทของบุคคลนั้นยอมเขาสวมสิทธิและหนาทีข่ องเขา และเปนผูมีสิทธิบอกลางโมฆียะ-
กรรมได (มาตรา ๑๗๕ วรรคสอง ปพพ.)
สําหรับการบอกลางโมฆียะกรรมนั้น ผูมีสิทธิบอกลางจะตองบอกลางโดยแสดงเจตนาแก
คูกรณีอีกฝายหนึ่งซึ่งเปนบุคคลที่มีตัวกําหนดไดแนนอน (มาตรา ๑๗๘ ปพพ.) คําวาคูกรณีในทีน่ มี้ ี
ปญหาวาอาจมีความหมายไดหลายระดับดังนี้
(๑) คูกรณีโดยตรงไดแกผูรับการแสดงเจตนาทีต่ กเปนโมฆียะนั้น ๆ
(๒) บุคคลภายนอกผูไดรับประโยชนโดยตรงจากการแสดงเจตนาอันตกเปนโมฆียะนั้นๆ
ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขวา บุคคลผูนั้นจะตองรูห รือควรไดรูถงึ การอันเปนโมฆียะนัน้
ข) กําหนดเวลาบอกลาง
กําหนดเวลาบอกลางเปนไปตามมาตรา ๑๘๑ ปพพ. กลาวคือผูมีสิทธิบอกลางจะตองบอก
ลางโมฆียะกรรมภายในกําหนดหนึ่งปนับแตเวลาที่อาจใหสัตยาบันได เวลาที่อาจใหสัตยาบันไดนี้
หมายถึงเวลาตามมาตรา ๑๗๙ ปพพ. คือเวลาที่มูลเหตุแหงโมฆียะกรรมหมดสิ้นไปแลว ในกรณี
กลฉอฉลระยะเวลาบอกลางก็คือภายในกําหนด ๑ ป นับแตเวลาที่ผูมีสิทธิบอกลางรูวาตนเองทํานิติ
กรรมเพราะถูกกลฉอฉลนั้นเอง สิทธิบอกลางโมฆียะกรรมเพราะกลฉอฉลนี้ยอมระงับสิ้นไปเมื่อ
พนกําหนด ๑๐ ปนับแตเวลาที่ทํานิติกรรมขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อใหเกิดความแนนอนชัดเจนในสถานะแหง
สิทธิและหนาที่ระหวางคูก รณีนั่นเอง

๑.๗ ปญหากรณีมีการใชสิทธิอยางอื่นในมูลเดียวกัน
ก) ขอเท็จจริงในกรณีหนึ่งกรณีใด อาจครบองคประกอบเปนเรื่องกลฉอฉล ตามมาตรา
๑๕๙ ปพพ. หรืออาจจะครบองคประกอบเปนเรื่องสําคัญผิด ตามมาตรา ๑๕๗ ปพพ. ก็ได ตัวอยาง
เชน กลฉอฉลเปนเหตุของการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในคุณสมบัติอนั ปกติเปนสาระสําคัญแหง
นิติกรรม ในกรณีเหลานี้ผูมสี ิทธิบอกลางยอมมีสิทธิเลือกไดวาจะบอกลางโมฆียะกรรมโดยอาศัย
สิทธิอยางใด เชน ก. หลอก ข. วาแหวนที่ ข. สนใจซื้อนัน้ เปนทอง ทั้ง ๆ ที่เปนเพียงโลหะชุบทอง
เปนเหตุให ข. ตกลงใจซื้อแหวนวงนัน้ โดยหาก ข. รูว าแหวนนั้นไมใชทองก็คงจะไมเขาทําสัญญา
ซื้อขายแหวนวงนี้ ดังนี้เปนกรณีที่ ข. แสดงเจตนาเพราะถูก ก. ฉอฉล ในขณะเดียวกัน การแสดง
เจตนาของ ข. ก็เปนการแสดงเจตนาโดยสําคัญในคุณสมบัติของแหวน อันเปนคุณสมบัติของ
ทรัพยอันปกติยอมเปนสาระสําคัญแหงนิตกิ รรม ในกรณีเชนนี้ นิตกิ รรมยอมตกเปนโมฆียะ เพราะ
กลฉอฉล และเพราะสําคัญผิดควบคูกันไป และ ข. ยอมมีสิทธิเลือกวาจะบอกลางโมฆียะกรรมโดย
เลือกไดวา จะอางกลฉอฉล หรืออางสําคัญผิด

๒๒๔
อยางไรก็ดี การบอกลางโมฆียะกรรมโดยอาศัยเหตุกลฉอฉลเปนฐาน ยอมมีขอดี
ตรงที่แมผูแสดงเจตนาจะไดแสดงเจตนาเพราะประมาทเลินเลออยางรายแรง ซึ่งปกติยอมตองหาม
ไมใหถือเอาความสําคัญผิดเปนประโยชนแกตน คือบอกลางไมไดตามมาตรา ๑๕๘ ปพพ. แตใน
เมื่อการแสดงเจตนานั้นเปนเพราะกลฉอฉล กฎหมายมุงคุมครองผูแสดงเจตนาใหบอกลางโมฆียะ-
กรรมเพราะกลฉอฉลได ไมวาจะไดแสดงเจตนาเพราะประมาทเลินเลออยางรายแรงหรือไมก็ตาม
และยอมเปนธรรมดาอยูเองที่การแสดงเจตนาเพราะกลฉอฉลนั้น มักจะเกิดจากความไวเนื้อเชื่อใจ
กันจนผูแ สดงเจตนาไดแสดงเจตนาไปโดยมิไดระมัดระวังในกรณีที่พึงระวัง กฎหมายจึงคุมครองผู
แสดงเจตนายิง่ กวากรณีสําคัญผิดทั่วไป แตระยะเวลาทีอ่ าจบอกลางไดก็ยังคงเหมือนกับกรณีสําคัญ
ผิดในคุณสมบัติอันปกติเปนสาระสําคัญแหงนิติกรรม คือจะตองบอกลางภายในกําหนดตามมาตรา
๑๘๑ ปพพ. คือภายใน ๑ ป นับแตเวลาที่มูลเหตุแหงโมฆียะกรรมหมดสิ้นไป ซึ่งในกรณีกลฉอฉล
ก็คือ ๑ ป นับแตรูความจริงวาตนไดแสดงเจตนาไปเพราะกลฉอฉล
แตการบอกลางโมฆียะกรรมเพราะกลฉอฉลก็มีขอดอย กลาวคือ หากเกิดพิพาทกัน
ขึ้น ผูกลาวอางกลฉอฉลยอมมีภาระการพิสจู นวา คูก รณีอกี ฝายหนึ่งจงใจทํากลฉอฉล คือไดจงใจ
บอกกลาวขอความอันเปนเท็จ หรือไดจงใจปกปดความจริงอันควรแจงใหทราบ อันเปนภาระใน
การพิสูจนยิ่งกวาการพิสูจนวา ตนไดแสดงเจตนาไปโดยสําคัญผิด
ข) ในกรณีทรัพยสินที่ซื้อขายกันเปนทรัพยสินที่ชํารุดบกพรอง คือขาดคุณสมบัติอยาง
หนึ่งอยางใดตามที่ไดตกลงกัน จนเปนเหตุใหเสื่อมแกประโยชนอนั มุงใชเปนปกติ หรือที่มุงหมาย
โดยสัญญาอันผูขายตองรับผิด (มาตรา ๔๗๒ ปพพ.) นั้น ผูขายตองรับผิดแมจะไมรูวาความชํารุด
บกพรองนั้นมีอยู (มาตรา ๔๗๒ วรรคสอง ปพพ.) แตกรณีดังกลาวอาจเปนกรณีที่ตกลงซื้อขายกัน
เพราะกลฉอฉลไดดวย ในกรณีเชนนี้ผูทําสัญญาซื้อขาย หรือผูซื้อซึ่งตกเปนเหยื่อของการทํากลฉอ
ฉลรายนี้จึงอาจมีสิทธิเลือกวา จะบอกลางโมฆียะกรรมตามมาตรา ๑๘๑ ปพพ. มาตรา ๑๗๙ วรรค
แรก ปพพ. หรือจะใชสิทธิเรียกใหผูขายรับผิดตามหลักกฎหมายวาดวยความรับผิดเพื่อชํารุด
บกพรอง (มาตรา ๔๗๒ ปพพ.) ประกอบกับมาตรา ๒๑๕ ปพพ. ก็ยอ มได อยางไรก็ดี ในกรณีไม
มีความเสียหายที่จะเรียกใหชดใชกัน การเลือกวิธีบอกลางโมฆียะกรรมยอมสะดวกแกผูบอกลาง
มากกวา เพราะเมื่อบอกลางไปแลว การโอนกรรมสิทธิ์ที่ไดทํากันไวเพราะกลฉอฉลยอมตกเปน
โมฆะมาแตเริม่ แรก และมีผลใหคูกรณีกลับคืนสูฐานะเดิม (มาตรา ๑๗๖ วรรคแรก ปพพ.) และ
ผูขายหรือผูซื้อยอมมีสิทธิเรียกทรัพยหรือเรียกราคาคืนทันที ตางจากกรณีเรียกใหรับผิดฐานชํารุด
บกพรอง ซึ่งปกติผูซื้อตองเรียกใหผูขายรับผิดเพื่อชํารุดบกพรองตามมาตรา ๔๗๒ ปพพ. เสียกอน
ซึ่งขึ้นอยูกับวาทรัพยที่ซื้อขายกันนั้นเปนอะไร ในบางกรณีผูขายยอมมีสิทธิที่จะเสนอซอมแซม
หรือสงมอบทรัพยสินใหมชนิด ปริมาณ หรือคุณภาพเดียวกันทีไ่ มชํารุดบกพรองได ตอเมื่อการ
ชําระหนี้เปนพนวิสัย ผูขายไมยอมรับผิด หรือรับผิดโดยชําระหนี้ไมตอ งตามความประสงคแหงมูล

๒๒๕
หนี้ (มาตรา ๒๑๕ ปพพ.) ผูซ ึ้อจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญา (มาตรา ๓๘๗ และตอ ๆ มา ปพพ.) ซึ่ง
จะเปนผลใหคกู รณีแตละฝายตองใหอีกฝายหนึ่งกลับคืนสูฐ านะเดิมตามมาตรา ๓๙๑ วรรคแรก
ปพพ. เมื่อไดบอกเลิกสัญญาแลว สัญญายอมระงับสิ้นไป และไมมีสญ ั ญาใหเปนฐานแหงสิทธิ
เรียกรองใหตอ งปฏิบัติตาม รับผิด หรือบอกเลิกกันไดอีก
ค) กรณีที่นิตกิ รรมตกเปนโมฆียะเพราะกลฉอฉลนี้ ผูที่แสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอฉล
ยอมมีสิทธิเรียกคาเสียหายไดดวย และคาเสียหายนี้อาจเกิดจากมูลตางกันไดหลายมูล
โดยทั่วไปเมื่อมีการทํากลฉอฉล ยอมมีการกระทําผิดอาญาฐาน “ฉอโกง” โดยมีการ
หลอกลวงจนอีกฝายหนึ่งหลงเชื่อเปนเหตุใหผูหลอกลวงไดไปซึ่งประโยชนทางทรัพยสินตาม
มาตรา ๓๔๑ ป.อาญาอยูดวย ในกรณีเชนนี้ ผูกระทํากลฉอฉลยอมเขาขายเปนผูตองรับผิดฐาน
ละเมิด และมีหนาที่ตองชดใชคาสินไหมทดแทนทางละเมิดตามมาตรา ๔๒๐ ปพพ. ดวย หรือแม
ในบางกรณีอาจไมครบองคประกอบเปนฉอโกง แตการหลอกลวงหรือปกปดขอความจริงก็อาจ
เปนกรณีใชสิทธิในทางที่มีแตจะกอความเสียหายแกผูอนื่ ตามมาตรา ๔๒๑ ปพพ. ก็ได ในกรณี
เชนนี้ ผูกระทํายอมไดชื่อวากระทําการอันมิชอบ และตองรับผิดฐานละเมิดอยูนนั่ เอง เมื่อผูทํากล
ฉอฉลไดชื่อวาไดทําละเมิด หากผูถูกกลฉอฉลไดรับความเสียหาย ผูทํากลฉอฉลยอมตองชดใชคา
สินไหมทดแทนความเสียหายเพื่อการทําละเมิดของตน ไมวาผูถูกกลฉอฉลจะไดบอกลาง
โมฆียะกรรมหรือไมก็ตาม กรณีทํานองนีเ้ ห็นไดจากหลักความรับผิดของผูทํากลฉอฉลในกรณีเปน
เพียงกลฉอฉลเพื่อเหตุ อันเปนกรณีที่ทําใหผูถูกกลฉอฉลยอมรับขอกําหนดอันเปนภาระหนักขึ้น
กวาปกติซึ่งหากรูก็คงไมยอมรับภาระเชนนัน้ แตภาระดังกลาวก็ไมถึงขนาดที่หากไดรกู ็คงจะมิได
ทํานิติกรรมนัน้ ขึ้น (มาตรา ๑๖๑ ปพพ.) ดังนี้ผูแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉอฉลไมมีสิทธิบอกลางนิติ
กรรมนั้น แตมสี ิทธิเรียกคาสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉอฉลได อยางไรก็ดี
โดยที่อายุความบอกลางโมฆียะกรรมตามมาตรา ๑๘๑ ปพพ. นั้นคือกําหนด ๑ ปนับแตเวลาที่อาจ
ใหสัตยาบันได หรือ ๑ ป นับแตเวลาที่มูลเหตุใหเกิดโมฆียะกรรมสิ้นไป ทั้งนี้ไมเกิน ๑๐ ปนับแต
ไดทํานิติกรรมอันเปนโมฆียะนัน้ เปนกําหนดอายุความที่ไมแตกตางจากอายุความละเมิดตาม
มาตรา ๔๔๘ ปพพ. คือ กําหนด ๑ ปนับแตวันที่ผูเสียหายรูถึงการละเมิดและรูตัวผูพึงใชสินไหม
ทดแทน หรือเมื่อพน ๑๐ ปนบั แตวันทําละเมิด การเลือกฟองโดยอาศัยมูลนิติกรรมที่ทําโดยกลฉอ
ฉล หรืออางมูลละเมิดจึงไมตางกันมาก แตถาเปนกรณีฟองใหรับผิดในคดีแพงเกี่ยวเนื่องกับ
คดีอาญา คือฟองใหรับผิดฐานฉอโกงดวย กรณียอมตางออกไป เพราะอายุความในกรณีเชนนีย้ อม
นับตามอายุความที่ยาวกวาในคดีอาญา (มาตรา ๔๔๗ วรรคสอง ปพพ.) ซึ่งตองพิจารณาตามมาตรา
๙๕ ป.อาญา ประกอบกับ มาตรา ๓๔๑ ป.อาญา คือ ๑๐ ป

๒๒๖
๒. ขมขู
องคประกอบกรณีขมขูนั้นแตกตางจากกรณีสําคัญผิดและกรณีแสดงเจตนาเพราะกลฉอ
ฉลตรงที่ขมขูนั้นไมมีความสําคัญผิดในการแสดงเจตนา คือผูแสดงเจตนาไปโดยเจตนาภายใน
และเจตนาที่แสดงออกตรงกัน และรูตวั วาไดแสดงเจตนาไปอยางไร แตเหตุที่การแสดงเจตนา
เพราะถูกขมขูต กเปนโมฆียะ เพราะกฎหมายมุงคุมครองเสรีภาพในการแสดงเจตนา หรือคุมครอง
ความสมัครใจใหผูแสดงเจตนาตองผูกพันตนตามเจตนาที่ไดแสดงออกเฉพาะกรณีทไี่ ดแสดง
เจตนาไปดวยความสมัครใจเทานั้น

๒.๑ การขมขูคืออะไร
ขมขูหมายถึงการกอใหเกิดความกลัวภัยอยางใดอยางหนึง่ ซึ่งผูขมขูแสดงใหเห็นวาตนอาจ
ทําใหเกิดภัยนัน้ ขึ้นแกผูถูกขมขูได
ก) ภัยทีใ่ ชขมขูนนั้ อาจเปนเพียงภัยอันเกิดจากการไดรับผลรายหรือการเสียประโยชน
อยางใดอยางหนึ่งก็ได
ตัวอยางเชน การขมขูวาจะแจงความดําเนินคดีอาญาหรือจะโฆษณาใหรายทาง
สื่อมวลชน หรือจะเลิกสัญญากูเงิน หรือจะใชกําลังประทุษราย
กรณีที่จะเรียกไดวาเปนการขมขูนั้นจะตองเปนการกอใหเกิดความกลัวภัยอันจะมีมา
ในอนาคต และภัยนั้นเปนภัยอันใกลจะถึงซึ่งรายแรงถึงขนาดใหผูถูกขมขูมีมูลตองหวาดกลัว ซึ่ง
เปนภาวะที่บบี บังคับทางจิตใจใหตองแสดงเจตนา เปนแรงจูงใจอันมีลักษณะบังคับใหยอมตกลง
ใจ (vis compulsiva) ไมใชเพราะเปนการใชกําลังบังคับทางกายภาพ (vis absoluta) ใหตอ งกระทํา
การอยางใดอยางหนึ่งโดยปราศจากการตกลงใจ ซึ่งกรณีทาํ ไปเพราะกําลังบังคับทางกายภาพนั้นไม
อาจเรียกไดวาเปนการแสดงเจตนาเลย
ตัวอยางเชน ก. บังคับให ข. ซึ่งนอนปวยอยูในโรงพยาบาลลงนามในหนังสือ เมื่อ ข.
ไมยินยอม ก. จึงใชกําลังจับมือของ ข. ลงลายมือชื่อในหนังสือหรือเอกสารสําคัญ ดังนี้ถือไมไดวา
ข. แสดงเจตนาเลย ทั้งนี้เพราะการลงลายมือชื่อของ ข. เปนการกระทําโดยปราศจากเจตนาโดย
สิ้นเชิง
ในทางกลับกัน หาก ก. ผูขมขูมิไดประสงคจะขมขูจริงจัง เพียงแตกลาวเลนๆ เทานัน้
หากปรากฏวา ข. เกิดความหวาดกลัว คิดไปวาภัยจะมาถึงจริง จึงยอมแสดงเจตนาตามที่ถูกขมขู
ดังนี้ถือไดวาการแสดงเจตนานั้นไดกระทําไปเพราะถูกขมขูแลว

๒๒๗
ตัวอยางเชน ก. ขู ข. วาจะแจงความดําเนินคดีกับ ข. เพื่อจูงใจให ข. ยอมลงนามใน
เอกสาร โดย ก. มิไดตั้งใจจะทําตามคําขูแตอยางใด หากปรากฏวา ข. ลงนามในเอกสารเพราะความ
หวาดกลัวเชนนั้นก็ถือไดวา ข. ไดแสดงเจตนาเพราะขมขูแลว
ข) ภัยอันใกลจะถึงนั้นจะตองเปนภัยที่ผูถูกขมขูคาดหมายไดวา เปนภัยอันอยูในความ
ควบคุมของผูขมขู การเพียงแตแสดงใหเห็นภัยอันใกลจะถึง ซึ่งอยูนอกเหนืออํานาจหรือมิได
เกิดขึ้นโดยอํานาจของผูขมขูไมถือวาเปนการขมขู
ตัวอยางเชน ผูใหเชา ก. บอกกลาวแก ข. ผูเชาวา ก. จะแจงความจับ ข. ฐานลักทรัพย
หาก ข. ไมตกลงเลิกสัญญากับตน เปนกรณีขมขู แตถา ก. เพียงแตบอกกลาวแก ข. วา การกระทํา
ของ ข. เปนการกระทําความผิดอาญาและอาจถูกตํารวจจับ หรือถูกดําเนินคดีอาญา ดังนี้ไมถือวา
เปนการขมขู

๒.๒ ความสัมพันธเชิงเหตุและผลระหวางการขมขูและการแสดงเจตนา
การขมขูจะตองเปนสาเหตุใหผูถูกขมขูแสดงเจตนา แตปญ  หาวาการขมขูเปนสาเหตุใหผู
ถูกขมขูแสดงเจตนาหรือไม มิไดขึ้นอยูก ับมาตรฐานความรูสึกนึกคิดของวิญูชน แตขึ้นอยูกับ
มาตรฐานความรูสึกนึกคิดของผูถูกขมขูเปนสําคัญ การพิจารณาวาการขมขูนั้น ๆ เปนเหตุแหงการ
แสดงเจตนาหรือไม กฎหมายกําหนดใหตอ งคํานึงถึงเพศ อายุ ฐานะ สุขภาพรางกาย และภาวะทาง
จิตใจของผูแสดงเจตนาและพฤติการณแวดลอมอันเกี่ยวกับการนั้นเปนเกณฑ (มาตรา ๑๖๗ ปพพ.)
การขมขูที่กระทําตอบุคคลซึ่งเปนผูมีจิตใจเขมแข็ง เชนเมือ่ ใชมีดขมขู ก. ซึ่งเปนนักรบ
ผานสมรภูมิอันตรายมามาก อาจจะไมกอใหเกิดผลใหเขาตองหวาดกลัวอะไร นอกจากทําใหบุคคล
นั้นรูสึกเบื่อหนายรําคาญ แตการขมขูอยางเดียวกันอาจเกิดผลตอผูมีจิตใจออนไหว เชน ข. ซึ่งเปน
หญิงรับใช ดังนี้อาจกอความหวาดกลัวถึงขนาดทําใหตัวสั่นงันงกดวยความหวาดกลัว และตอง
ยอมแสดงเจตนาตามที่ผูขมขูเรียกรองก็ได

๒.๓ การขมขูตองไมชอบดวยกฎหมาย
การขมขูใหยอมแสดงเจตนาตามที่ขมขูนั้นตองปรากฏดวยวาผูกอใหเกิดความหวาดกลัว
ภัยนัน้ ไมมีอํานาจกระทําไดโดยชอบดวยกฎหมาย ทั้งนี้โดยความไมชอบดวยกฎหมายนั้น อาจเกิด
ไดทั้งจากภัยทีย่ กขึ้นขมขูนนั้ เอง เชน การขูว าจะใชกําลังประทุษราย หรือเกิดจากความไมชอบดวย
กฎหมายที่ผลอันอาจเกิดจากภัยนั้น หรือไมชอบดวยกฎหมายในแงความสัมพันธระหวางภัยที่
ยกขึ้นขมขูและผลอันอาจเกิดขึ้นก็ได

๒๒๘
ก) การขมขูดวยการกระทําอันไมชอบดวยกฎหมายเพื่อบังคับใหแสดงเจตนา การทําให
หวาดกลัวดวยการกระทําอันไมชอบดวยกฎหมายยอมไมชอบดวยกฎหมายเสมอ แมวาจะเปนไป
เพื่อบรรลุความประสงคที่ชอบดวยกฎหมายก็ตาม
ตัวอยางเชน การขูวา จะฆา ทําราย หรือทําลายทรัพยสิน ยอมเปนขมขู แตการขูดว ย
การกระทําโดยชอบ เชน ขูว า จะแจงตํารวจจัดวาเปนการใชสิทธิตามปกตินิยม ไมอาจจัดเปนการ
ขมขู (มาตรา ๑๖๕ วรรคแรก ปพพ.)
ข) การบังคับใหบุคคลตองแสดงเจตนายอมไมชอบดวยกฎหมาย ถาปรากฏวาวัตถุที่
ประสงคหรือ ความมุงหมายสุดทายของผูขมขูนั้นไมชอบดวยกฎหมาย ทั้งนี้แมวาปจจัยที่ใชนนั้ จะ
ชอบดวยกฎหมายก็ตาม
ตัวอยางเชน ในกรณีตามอุทาหรณ ๖ นัน้ การขูวาจะแจงตํารวจปกติถือวาเปนการใช
สิทธิตามปกตินิยม แตการแจงขอความผิด ๆ เกี่ยวกับความเสียหายเพื่อหลอกลวงบริษัทประกันภัย
ยอมเปนการกระทําความผิด ดังนั้นการทําความหวาดกลัวใหเกิดขึน้ ดวยการขูแจงตํารวจเพื่อให
บรรลุความมุงหมายที่ไมชอบ ยอมไมอาจเรียกไดวาเปนการใชสิทธิตามปกตินิยม และมีผลเปน
การขมขูอันมิชอบ ไมตางอะไรจากการใชสิทธิในทางที่มีแตจะใหเสียหายแกบุคคลอื่น ซึ่งกฎหมาย
ถึอวาเปนการอันไมชอบดวยกฎหมาย
ค) อยางไรก็ดี แมวามาตรการและความมุงหมายจะชอบดวยกฎหมาย แตการนํามาตร-
การอันชอบดวยกฎหมายมาใชในการบรรลุความมุงหมายอันชอบดวยกฎหมาย อาจเปนไปใน
ลักษณะที่ไมชอบดวยกฎหมายก็ได โดยเฉพาะถาการนํามาตรการนั้นมาใชเปนไปในลักษณะมิ
ชอบ
ตัวอยางเชน ในกรณีตามอุทาหรณ ๗ นัน้ การที่ ก. ขูวาหาก ข. ไมยอมชดใชคาเสีย-
หายเพื่อการละเมิดที่ ข. กระทําตอ ก. แลว ก. จะแจงตํารวจจับ ข. ในคดีที่ ข. ไดเคยกระทําความผิด
อาญาไวกอนนั้น เราจะเห็นไดวา การที่ ก.จะเรียกคาเสียหายจาก ข. ก็ดี หรือการที่ ก. จะแจงให
ตํารวจดําเนินคดีอาญาที่ ข. เคยกระทําไวกอ นหนานัน้ ก็ดี ลวนแลวแตเปนการกระทําที่ ก. มีอํานาจ
กระทําไดโดยชอบทั้งสิ้น แตการนําเอามาตรการมาใช (คือการแจงความดําเนินคดี แก ข. นั้น หาก
เปนไปเพื่อบรรลุจุดมุงหมาย (ชําระคาเสียหาย) ยอมเปนการกระทําที่ไมชอบ เพราะการเรียก ให ก.
ตองชดใชคาเสียหายนั้น หาไดมีความสัมพันธทางกฎหมายใด ๆ กับการกระทําความผิดของ ข. แต
ประการใดไม
สวนกรณีในอุทาหรณ ๕ นัน้ มาตรการที่ ก. ใช คือการแจงตํารวจจับ ข. ซึ่งเสพสุรา
มึนเมาขณะขับขี่รถยนต กับผลที่ ก. มุงจะใหเกิดขึ้น คือ ข. ชดใชคาสินไหมทดแทนแก ก. นัน้ มี
ความสัมพันธเปนเหตุเปนผลกันในลักษณะที่ใหความชอบธรรมแกการกระทําเชนนั้นของ ก. แม

๒๒๙
ก. จะไมมีสิทธิเรียกให ข. ยอมลงนามยอมรับผิดในบันทึก แตการทําให ข.หวาดกลัวจน ยอมลง
นามรับผิดนั้นยอมชอบดวยกฎหมาย หากการขูวาจะใชสิทธินั้นมิไดเปนการกระทําที่เกินกวาเหตุ

๒.๔ องคประกอบในแงฝายผูขมขู
การที่มาตรา ๑๖๔ ปพพ. กําหนดวา การแสดงเจตนาเพราะถูกขมขูยอมตกเปนโมฆียะทํา
ใหเห็นไดวา การแสดงเจตนาของผูถูกขมขูตองเปนผลของการขมขู ดังนั้นการขมขูจะเกิดขึน้ ได
จะตองเปนกรณีที่ผูขมขูประสงคที่จะขมขูเพื่อบีบบังคับใหผูถูกขมขูตองยอมแสดงเจตนาตามที่ผู
ขมขูประสงค
อยางไรก็ดี การขมขูนั้นเพียงแตผูขมขูจงใจจะขมขู และประสงคตอผลคือการบีบบังคับให
ผูถูกขมขูแสดงเจตนาเทานั้นก็เพียงพอแลว ทั้งนี้โดยผูขมขูไมจําเปนตองมีเจตนากระทําการโดยมิ
ชอบดวยกฎหมายหรือมีเจตนาทุจริตประกอบไปดวยแตประการใด เพราะหากการขมขูนั้นเปนการ
อันไมชอบแลว แมผูขมขูจะเห็นวาตนกระทําไดโดยชอบดวยกฎหมาย ก็ถือไดวาเปนการขมขูแลว
ทั้งนี้เพราะความมุงหมายของ มตรา ๑๖๔ ปพพ. มิไดเปนไปเพื่อลงโทษหรือตําหนิผูขมขู แต
แทจริงแลวเปนไปเพื่อคุมครองผูถูกขมขูซึ่งเปนผูแสดงเจตนาโดยไมสมัครใจ อันเปนเจตนาที่
วิปริตไปเปนสําคัญ

๒.๕ บุคคลผูข มขู


โดยที่กฎหมายเกีย่ วกับนิตกิ รรมที่ทําขึ้นโดยขมขูมุงคุมครองความสมัครใจในการทํานิติ
กรรม ดังนั้นเราจึงเห็นไดวา มาตรา ๑๖๖ ปพพ. บัญญัติใหการแสดงเจตนาเพราะบุคคลภายนอก
เปนผูขมขูก็ตกเปนโมฆียะ ซึ่งแตกตางจากหลักในเรื่องฉอฉลตามมาตรา ๑๕๙ วรรคสอง ปพพ.ซึ่ง
วางเปนหลักไววา ถาการแสดงเจตนาเปนเพราะถูกบุคคลภายนอกทําการฉอฉล การแสดงเจตนา
เชนนั้นจะเปนโมฆียะก็ตอเมือ่ คูกรณีในการทํานิติกรรมนั้นรูหรือควรไดรูถึงกลฉอฉลนั้น จะเห็น
ไดวา กฎหมายสองเรื่องนี้เดินตามหลักคนละหลักกัน เพราะในเรื่องขมขูนั้น กฎหมายมุงคุมครองผู
แสดงเจตนาโดยวิปริตไปเพราะถูกบีบบังคับจนเกิดความกลัว ในลักษณะที่ไมอาจหลีกเลี่ยงได อัน
เปนการคุมครองการแสดงเจตนาอันเปนผลจากการตกลงใจโดยขาดความมีอิสระในการตกลงใจ
ดังนั้นในเรื่องขมขูนั้น หากมีการแสดงเจตนาโดยขาดความมีอิสระในการตกลงใจ คือแสดงเจตนา
ออกมาเพราะถูกขมขู แมคูกรณีอีกฝายหนึง่ จะมิไดเปนผูข มขู และมิไดรูเห็น หรือควรไดรเู ห็น
เกี่ยวกับการขมขูนั้นเลยก็ตาม การแสดงเจตนานั้นก็ยังคงตกเปนโมฆียะอยูนั่นเอง เห็นไดชัดวา ผู
แสดงเจตนาควรไดรับการคุม ครองเพราะถูกบังคับใหทาํ ไปโดยไมมีทางเลือกนั่นเอง

๒๓๐
๒.๖ ผลของการบอกลางโมฆียกรรมในกรณีขมขู
การบอกลางโมฆียกรรมจากการขมขูก็เปนเชนเดียวกับกรณีกลฉอฉล คือจะตองบอกลาง
เสียภายใน ๑ ป นับแตเวลาที่อาจใหสัตยาบันได คือเวลาที่เหตุบีบบังคับในการขมขูน ั้นสิ้นสุดลง
หรือพนจากความหวาดกลัวภัยนัน้ ๆ นั่นเอง หรือมิฉะนัน้ จะตองบอกลางเสียภายใน ๑๐ ปนับแต
ไดแสดงเจตนา

๒.๗ ผลของการบอกลาง
ผลยอมเปนเชนเดียวกับกรณีบอกลางโมฆียกรรมเพราะกลฉอฉล กลาวคือนิติกรรมที่ถูก
บอกลางแลวยอมตกเปนโมฆะมาแตตน

๒.๘ สิทธิเรียกรองโดยอาศัยฐานอืน่
การขมขูอาจเปนการละเมิดเนื่องจากความผิดอาญาในฐานกรรโชก หรือฐานความผิดตอ
เสรีภาพอยางอื่น เปนเหตุใหเรียกคาเสียหายฐานละเมิดไดดวย

๒๓๑

You might also like