You are on page 1of 69

1

สารและสมบัติของสาร

การจัดสาร
การจัดสารออกเป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกต่อการศึกษา โดยอาศัยเกณฑ์กาหนดต่างๆ กัน เช่น
- แบ่งตามสถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
- แบ่งตามลักษณะของเนื้อสาร ได้แก่ สารเนื้อเดียว สารเนื้อผสม
- แบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี ได้แก่ ธาตุ สารประกอบ ของผสม
 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียวตลอด ซึ่งเป็นสารบริสุทธิ์ก็ได้ เช่น ทองคา เงิน น้า หรือเป็นสาร
ไม่บริสุทธิ์ก็ได้ เช่นอากาศ ทองเหลือง (Cu + Zn) และสารละลายเกลือ (NaCl)
 สารผสม หมายถึง สารที่มีส่วนผสมที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน สามารถมองเห็นความแตกต่างได้ง่าย เป็นสารที่ไม่
บริสุทธิ์ที่สามารถแยกออกจากกันได้ง่ายๆ
 สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารที่มีส่วนประกอบหรือองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
เฉพาะ เช่น สี จุดเดือด จุดหลอมเหลว การทาปฏิกิริยาเคมี ซึ่งได้แก่ ธาตุ (โลหะ อโลหะและกึ่งโลหะ) และ
สารประกอบ
 สารละลาย เป็นของผสมเนื้อเดียวกันที่ประกอบด้วย ตัวทาละลาย (solvent) และตัวละลาย (solute) ซึ่งรวมกัน
ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
สารละลายมีทั้ง 3 สถานะ
o ของแข็ง : เช่น ทองเหลือง (Cu + Zn)
2

o ของเหลว : เช่น น้าเชื่อม น้าปลา


o แก๊ส : เช่น อากาศ (O2, N2, CO2 และอื่นๆ )
 สารประกอบ หมายถึง สารที่เกิดจากการรวมตัวทางเคมีของธาตุตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป โดยมีอัตราส่วนของ
องค์ประกอบที่แน่นอน สารประกอบเป็นสารบริสุทธิ์ที่มีสมบัติแตกต่างไปจากสมบัติเดิมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
ต้องแยกออกจากกันได้โดยทางเคมี มีสูตรแสดงส่วนประกอบของธาตุ เช่น น้า มีสูตรเป็น H2O โดยมีอัตราส่วน
ระหว่าง "H" ต่อ "O" เป็น 2 : 1 กรดน้าส้มสายชู CH3COOH อัตราส่วนระหว่าง H : C : O เป็น 4 : 2 : 2 หรือ 2 :
1 : 1 หรือเกลือแกงมีสูตรอย่างง่ายคือ NaCl เป็นต้น
สมบัติของสาร
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- สมบัติทางเคมี (chemical property) เช่น การเผาไหม้ การทาปฏิกิริยา
- สมบัติทางกายภาพ (physical property) เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว การละลาย สี กลิ่น
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี หลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีสารใหม่เกิดขึ้น ซึ่งสารบางตัวอาจจะมีสาร
ใหม่เกิดขึ้นที่สังเกตได้ง่ายเช่น มีแก๊ส เกิดตะกอน สีของสารเปลี่ยนไป เช่น
- ปฏิกิริยาระหว่างลวดแมกนีเซียม (Mg(s)) กับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ได้แก๊สเกิดขึ้น ตามสมการ
Mg(s) + 2HCl → MgCl2(aq) + H2(g)
- ปฏิกิริยาระหว่างสารละลายโซเดียมคลอไรด์กับซิลเวอร์ไนเตรต ได้ตะกอนสีขาวเกิดขึ้น ตามสมการ
NaCl + AgNO3 → AgCl(s) + NaNO3(aq)
- ปฏิกิริยาระหว่างสารละลายด่างทับทิมในกรดเจือจางซึ่งมีสีม่วง กับสารละลายกรดออกซาลิก H2C2O4 จะได้
แมงกานีส (II) ไอออนสีชมพูกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ดังสมการ
2MnO4- + 6H+(aq) + 5H2C2O4(aq) → 2Mn+(aq) + 8H2O(l) + 10CO2(g)

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสาร ไม่ทาให้เกิดสารใหม่และไม่ทาให้สมบัติทางเคมีของสารเปลี่ยนแปลง เช่น การ


ละลายของน้าแข็ง เมื่อนาไปแช่แข็งยังคงได้น้าแข็งเช่นเดิม หรือ การละลายเกลือแกง
การทดสอบความบริสุทธิ์ของสาร
- สารที่เป็นของแข็ง → หาจุดหลอมเหลว (melting point (mp.)) สารบริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวคงที่และมีช่วงแคบส่วน
สารที่ไม่บริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเหลวไม่คงที่ มีช่วงกว้างและมีค่าต่ากว่าสารบริสุทธิ์
- สารที่เป็นของเหลว → หาจุดเดือด (boiling point (bp.)) สารบริสุทธิ์จะมีจุดเดือดคงที่และมีช่วงแคบ ส่วนสารที่ไม่
บริสุทธิ์จะมีจุดหลอมเดือดไม่คงที่ มีช่วงกว้างและมีค่าสูงกว่าสารบริสุทธิ์
3

การแยกสารและทาให้สารบริสุทธิ์ สารที่มีอยู่ในธรรมชาติและที่สังเคราะห์ขึ้นส่วนใหญ่เป็นสารที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งอาจจะอยู่ใน


รูปสารเนื้อเดียวหรือสารเนื้อผสมก็ได้ เมื่อเราต้องการแยกสารใดสารหนึ่งออกจากที่ไม่บริสุทธิ์อาจทาได้หลายแบบ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับลักษณะของสาร ดังนี้
1. สารเนื้อผสม
- การร่อน: ใช้แยกสารเนื้อผสมระหว่างของแข็ง – ของแข็งที่มีขนาดต่างกัน ต้องใช้ตระแกรงร่อน (sieve)
- การกรอง: ใช้แยกสารเนื้อผสมระหว่างของแข็ง – ของเหลว เช่น สารแขวนลอยต่างๆ ถ้าอนุภาคของของแข็งมีขนาด
> 10-4 cm. ต้องกรองด้วยกระดาษกรอง และถ้าอนุภาคของของแข็งมีขนาด < 10-4 cm. แต่ > 10-7 cm. ต้องกรองด้วย
เซลโลเฟน
- การแยกด้วยกรวยแยก: ใช้แยกสารเนื้อผสมระหว่างของเหลว – ของเหลวที่ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น น้ากับน้ามัน

2. สารเนื้อเดียว
- การตกผลึก : ใช้แยกสารเนื้อเดียวที่เป็นของแข็ง เป็นการแยกโดยอาศัยความสามารถในการละลายต่างกัน เช่นเกลือแกง
กับแนฟทาลีน
- การกลั่น : ใช้แยกสารเนื้อเดียวที่เป็นของเหลว เป็นการแยกโดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือดของสาร การกลั่นมีหลาย
แบบ ดังนี้
1.) การกลั่นธรรมดา ใช้แยกสารที่ต้องการแยกมีจุดเดือดต่างกันมาก หรือเป็นของแข็งที่ละลายในของเหลว
2.) การกลั่นลาดับส่วน ใช้แยกสารจุดเดือดต่างกันน้อย เช่น ในการกลั่นน้ามันดิบ เป็นต้น
3.) การกลั่นไอน้า ใช้ในกรณีที่ของเหลวนั้นมีสารใดสารหนึ่งจุดเดือดต่ากว่าน้าและไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้า
เมื่อเย็นตัวลง แต่ส่วนใหญ่ใช้ในการสกัดน้ามันหอมระเหย เช่น ตะไคร้หอม เป็นต้น
4

- โครมาโตกราฟี (chromatography) : ใช้แยกสารเนื้อเดียวได้ทุกชนิดที่มีความเป็นขั้วแตกต่างกัน โครมาโตกราฟีสามารถ


ใช้เป็นทั้งเครื่องมือตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารอินทรีย์เบื้องต้นโดยเปรียบเทียบค่า Rf ซึ่งเป็นค่าเฉพาะตัวของสารหรือใช้
ในการแยกสาร เพื่อทาให้สารบริสุทธิ์ หลักการทางานของโครมาโตกราฟีคืออาศัยความสามารถในการดูดซับของสารกับตัว
ดูดซับที่เป็นเฟสคงที่ (stationary phase) กับความสามารถในการละลายในตัวทาละลายที่ใช้เป็นเฟสเคลื่อนที่ (mobile
phase) ซึ่งเราเรียกว่า ตัวชะ (eluent) ได้ต่างกัน สารที่ โครมาโตกราฟีมีหลายชนิด เช่น
1.) เปเปอร์โครมาโตกราฟี (paper chromatography)
2.) TLC (thin layer chromatography)
3.) คอลัมน์โครมาโตกราฟี (column chromatography)
ค่า Rf (Retardation factor) = ระยะทางที่สารเคลื่อนที่/ระยะทางที่ตัวชะเคลื่อนที่

หลักการจาแนกสาร
ถ้าใช้ลักษณะเนื้อสารเป็นการจาแนกสาร เป็นสารเนื้อเดียวและสารเนื้อผสมนั้น ยังสามารถแยกย่อยออกได้เป็น สาร
แขวนลอย (suspension) คอลลอยด์ (colloid) และสารละลาย (solution) นั้น อาจใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ คือ
5

1. ขนาดอนุภาค
สารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอย
ขนาด < 10-7 cm. 10-7 cm. - 10-4 cm. > 10-4 cm.
2. การกรอง สาหรับสารแขวนลอยใช้กระดาษกรองและคอลลอยด์ใช้เซลโลเฟน ส่วนสารละลายไม่สามารถกรองได้
3. การฉายแสงผ่านสาร ถ้าฉายแสงผ่านสารชนิดต่างๆ จะพบว่าใน
สารละลาย คอลลอยด์ สารแขวนลอย
ไม่เห็นลาแสง เห็นลาแสงอย่างชัดเจน ทึบแสง
“Titridol’s Effect”
คอลลอยด์ มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับสถานะของอนุภาคที่กระจายอยู่มนตัวกลางและสถานะของตัวกลาง ได้แก่
 แอโรซอล (aerosol) เป็นการกระจายตัวของของเหลวหรือของแข็งในอากาศ เช่น หมอก เมฆ ฝุ่น
 อิมัลชัน (emulsion) เป็นการกระจายตัวของของเหลวชนิดหนึ่งในของเหลวอีกชนิดหนึ่ง เช่น น้าใน น้ามัน
ปกติน้าจะไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ามัน แต่ถ้าเราใส่สบู่หรือผงซักฟอกลงไปเล็กน้อยจะทาให้ได้สารละลายที่เรียกว่า
อิมัลชัน ซึ่งสบู่หรือผงซักฟอกที่ใส่ลงไปเพื่อทาให้น้ารวมตัวกับน้ามันเรียกว่าตัวประสาน หรือ อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifier)

โจทย์สารและสมบัติของสาร
1. ข้อความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารที่อุณหภูมิห้อง ข้อใดผิด
ก. น้าแข็งไม่ระเหิดเพราะโมเลกุลมีพันธะไฮโดรเจนระหว่างกัน
ข. แนพทาลีนระเหิดได้เพราะมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้อย
ค. การเปลี่ยนแปลงเป็นไอของโลหะปรอทจัดอยู่ในประเภทการระเหิด
ง. ควันที่เกิดจากน้าแข็งแห้งตั้งทิ้งไว้ประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับไอน้า
2. ข้อความใดต่อไปนี้เป็นข้อที่ถูกต้อง
ก. สารเนื้อเดียวจะต้องเป็นสารชนิดเดียวกัน
ข. สารละลายทุกชนิด จัดเป็นของเหลวเนื้อเดียวกัน
ค. สารละลายบางชนิดจัดเป็นสารบริสุทธิ์
ง. สารบริสุทธิ์ทุกชนิดจัดเป็นสารเนื้อเดียวกัน แต่สารเนื้อเดียวกันไม่จาเป็นต้องเป็นสารบริสุทธิ์
6

3. ข้อความใดต่อไปนี้ บอกความบริสุทธิ์ของของเหลวได้
ก. เมื่อระเหยให้แห้งแล้วมีสารบริสุทธิ์เหลือ
ข. เมื่อสกัดด้วยอีเทอร์แล้วระเหยอีเทอร์ออก จะมีสารบริสุทธิ์เหลืออยู่
ค. เมื่อกลั่นด้วยวิธีธรรมดาจุดเดือดจะคงที่
ง. เมื่อกลั่นด้วยไอน้า จุดเดือดของของเหลวที่กลั่นได้ต่ากว่าเมื่อกลั่นโดยวิธีธรรมดา

4. เมื่อนาของเหลว A มากรองผ่านกระดาษเซลโลเฟนจะได้ของเหลว B ส่วนของเหลวที่ค้างอยู่ในเซลโลเฟนนาไปกรองด้วย


กระดาษกรองจะได้ของเหลว C และไม่มีสารตกค้างอยู่บนกระดาษกรองข้อสรุปใดเป็นไปไม่ได้
ก. A เป็นสารแขวนลอย ข. อนุภาคในของเหลว B มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10-7cm.
ค. ของเหลว C แสดงปรากฏการณ์ทินดอลล์ ง. B เป็นสารละลาย

5. ของเหลวใส 2 ชนิด ต่างก็ไม่มีสีและกลิ่น ของเหลวชนิดหนึ่งเป็นสารบริสุทธิ์และอีกชนิดหนึ่งเป็นสารละลาย การ


ทดสอบข้อใดใช้จาแนกของเหลวทั้งสองได้
ก. การระเหยแห้ง ข. วัดความหนาแน่น ค. วัดจุดเดือด ง. ทาทั้ง 3 วิธีแล้วนาข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน

6.พิจารณาสมบัติของสารต่อไปนี้

ในสารละลายที่มี A และ B ปนอยู่ วิธีใดต่อไปนี้ จะแยกสารทั้งสองออกจากกันได้ดีและเหมาะสม


ก. การกลั่นลาดับส่วน ข. กลั่นด้วยไอน้า
ค. สกัดแยกด้วยน้า ง. สกัดแยกด้วยคลอโรฟอร์ม
7

อะตอมและตารางธาตุ
1. แบบจาลองอะตอม
1.1 แบบจาลองอะตอมของดอลตัน ดอลตัน ( John Dalton ) กล่าวว่า “สสารทั้งหลายประกอบด้วยอะตอมซึ่งเป็น
หน่วยที่เล็กที่สุด มีลักษณะเป็นทรงกลมทึบตันไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก”

1.2 แบบจาลองอะตอมของทอมสัน ทอมสัน (J.J Thomson) ได้ทาการทดลองโดยใช้หลอดแก้วสุญญากาศค้นพบ


ว่าภายในอะตอมจะมีอนุภาคไฟฟ้าลบ (อิเล็กตรอน) อยู่ ต่อมาโกลด์สไตน์ (Eugen Goldstei) พบว่าภายในอะตอมยังมี
อนุภาคไฟฟ้าบวก (โปรตอน) อยู่อีกด้วย ทอมสันจึงได้เสนอแบบจาลองของอะตอมไว้ว่า “อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลม
ประกอบไปด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบกระจายอยู่ทั่วไปอย่างสม่าเสมอและในอะตอมที่ เป็น
กลางทางไฟฟ้าจะมีจานวนโปรตอนเท่ากับจานวนอิเล็กตรอน”
ในเวลาต่อมานักวิทยาศาสตร์ชื่อมิลลิแกน ( Robert A. Millikan) ได้ทาการทดลองโดยใช้หยดน้ามันแล้วสามารถหา
ค่าประจุของอิเล็กตรอน 1 ตัวได้ค่าเท่ากับ 1.6x10–19คูลอมบ์ และสามารถคานวณหาค่ามวลของอิเล็กตรอน 1 ตัวได้เท่ากับ
9.11x10–28กรัม อีกด้วย

1. ข้อมูลใดที่ทราบจากการทดลองโดยใช้หลอดรังสีแคโทด
ก. นิวเคลียสของธาตุมีโปรตอน ข. สสารทุกรูปแบบประกอบด้วยอิเล็กตรอน
ค. รังสีบวกจะเป็นโปรตอน ง. อนุภาคแอลฟาหนักกว่าโปรตอน
8

1.3 แบบจาลองอะตอมของรั ทเทอร์ฟอร์ด รัทเทอร์ฟอร์ด ( Ernest Rutherford ) เสนอ แบบจาลองอะตอม


เอาไว้ว่า “อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมากอยู่ตรงกลาง และมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก โดยมีอิเล็กตรอนวิ่งวน
อยู่รอบๆ”

เพราะเมื่อรัทเทอร์ฟอร์ดได้ทาการทดลองยิงรังสีแอลฟา ซึ่งเป็นอนุภาคไฟฟ้าบวกเข้าไปกระทบอะตอมในแผ่นทองคาบางๆ
ผลปรากฏว่ารังสีส่วนมากจะลอดช่องว่างระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนแล้วทะลุออกไปเป็นเส้นตรงรังสีส่วนน้อยจะพุ่งเข้า
ใกล้นิวเคลียสซึ่งมีขนาดเล็ก แล้วเกิดแรงผลักระหว่างประจุบวกของนิวเคลียสกับประจุบวกของรังสีแอลฟาแล้วทาให้รังสี
แอลฟาเกิดการเบี่ยงเบน และรังสีส่วนน้อยที่สุดจะพุ่งเข้าชนนิวเคลียสตรงๆ แล้วเกิดการสะท้อนย้อนกลับออกมา แต่การพุ่ง
เข้าใกล้กับการพุ่งชนตรงๆ จะเกิดได้น้อยเพราะนิวเคลียสมีขนาดเล็กนั่นเอง

2. แผ่นโลหะบางมากแผ่นหนึ่งถูกยิงด้วยอนุภาคที่มีประจุบวก แผนภาพใดต่อไปนี้แสดง ทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาค


เหล่านี้ได้ถูกต้องที่สุด
9

3. ถ้าทาการทดลองโดยใช้หลอดรังสีแคโทดที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษและจัดอุปกรณ์ดังนี้ ผลการทดลองต่อไปนี้ข้อใดถูก

1. เกิดจุดสว่างตรงจุดกึ่งกลางของฉากเรืองแสง ก.
2. เกิดจุดสว่างเหนือจุดกึ่งกลางของฉากเรืองแสง ก.
3. เกิดจุดสว่างตรงจุดกึ่งกลางของฉากเรืองแสง ข.
4. เกิดจุดสว่างเหนือจุดกึ่งกลางของฉากเรืองแสง ข.
คาชี้แจง ใช้รูปหลอดรังสีแคโทดและอุปกรณ์สร้างสนามไฟฟ้าต่อไปนี้ในการตอบคาถาม 2 ข้อถัดไป

4. ถ้าเลื่อนอุปกรณ์สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปไว้ที่ตาแหน่งต่างๆ จะมีปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้น
1. ที่ตาแหน่ง 1 รังสีจะเบนขึ้นด้านบน
2. ที่ตาแหน่ง 2 รังสีจะคงที่เพราะหักล้างกันหมด
3. ที่ตาแหน่ง 2 รังสีจะเบนขึ้นและเบนลง
4. ที่ตาแหน่ง 3 รังสีจะเบนลงด้านล่าง
5. ถ้าใช้แก๊สไฮโดรเจนและดิวเทอเรียม ทาการทดลองเปรียบเทียบกัน โดยเลื่อนอุปกรณ์สร้างสนามไฟฟ้าไปไว้ที่ตาแหน่ง
ต่างๆ เช่นเดิม แก๊สทั้งสองชนิดจะให้ผลไม่แตกต่างกันเมื่ออุปกรณ์สร้างสนามไฟฟ้าอยู่ที่ตาแหน่งใด
1. ตาแหน่ง 1 2. ตาแหน่ง 2 3. ตาแหน่ง 1 และ2 4. ตาแหน่ง 3
10

1.4 อนุภาคมูลฐานของอะตอม ในปัจจุบันนี้เป็นที่ทราบกันแล้วว่า อะตอมประกอบไปด้วยอนุภาคที่สาคัญสาม


ชนิด ได้แก่ อิเล็กตรอน โปรตอน และนิวตรอน อนุภาคทั้งสามชนิดนี้เรียกว่า อนุภาคมูลฐาน ของอะตอม ซึ่งมีคุณสมบัติดัง
แสดงในตารางต่อไปนี้

หมายเหตุ : 1 a.m.u = 1.66 x 10–24กรัม


สัญลักษณ์ของธาตุที่เขียนโดยแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับจานวนอนุภาคมูลฐานของอะตอม เรียกว่าสัญลักษณ์นิวเคลียร์
รูปแบบการเขียนเป็นดังนี้

เลขอะตอม ( Z ) คือจานวนโปรตอนที่มีในนิวเคลียสและหากเป็นอะตอมปกติจะเป็นกลางทางไฟฟ้า ( ประจุไฟฟ้ารวมเป็น


ศูนย์ ) จานวนโปรตอนจะเท่ากับจานวนอิเล็กตรอน ดังนั้นเลขอะตอมจะเท่ากับจานวนอิเล็กตรอนด้วย
เลขมวล ( A ) คือมวลรวมของอะตอม ปกติแล้วอิเล็กตรอนจะมีมวลน้อยมากเมื่อเทียบกับ มวลโปรตอนและนิวตรอน
ดังนั้นมวลรวมของอะตอมจึงเป็นมวลของโปรตอนรวมกับมวลของนิวตรอนนั่นเอง และเนื่องจากโปรตอนกับนิวตรอนแต่ละ
ตัวจะมีมวลเท่ากับ 1 มวลอะตอม รวมแล้วจึงเท่ากับจานวนโปรตอนรวมกับจานวนนิวตรอน นั่นคือเลขมวลจะเท่ากับ
จานวนโปรตอน + จานวนนิวตรอน นั่นเอง
ข้อควรทราบเกี่ยวกับสัญลักษณ์นิวเคลียร์
1. เลขอะตอม = จานวนโปรตอน = ลาดับของธาตุในตารางธาตุ
11

 ถ้ารู้จานวนโปรตอน จะรู้ว่าเป็นธาตุลาดับที่เท่าไรในตารางธาตุ และเป็นธาตุอะไร


 ถ้าจานวนโปรตอนของอะตอมเปลี่ยนไปชนิดและสมบัติของอะตอมจะเปลี่ยนไป
 อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจานวนโปรตอนเท่ากัน
2. อะตอมปกติ จานวน p = จานวน e จะทาให้ประจุไฟฟ้ารวม = 0 (เป็นกลางทางไฟฟ้า)
 หากอะตอมปกติรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้า 1 ตัว ประจุรวม = –1 เขียนสัญลักษณ์เป็น AZ X 1
 หากรับอิเล็กตรอนเพิ่มเข้า 2 ตัว ประจุรวม = –2 เขียนสัญลักษณ์เป็น AZ X 2
 หากเสียอิเล็กตรอนออกไป 1 ตัว ประจุรวม = +1 เขียนสัญลักษณ์เป็น AZ X 1
 หากเสียอิเล็กตรอนออกไป 2 ตัว ประจุรวม = +2 เขียนสัญลักษณ์เป็น AZ X 2
จาไว้ว่า ถ้ามีประจุเป็นลบแสดงว่ารับอิเล็กตรอนเพิ่ม ถ้าประจุเป็นบวกแสดงว่าเสียอิเล็กตรอนไป
3. จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์

จะได้ว่า จานวนโปรตอน ( p ) = Z
จานวนนิวตรอน ( n ) = A – Z
+ จานวนอิเล็กตรอนที่รับเพิ่ม
จานวนอิเล็กตรอน ( e ) = Z
- จานวนอิเล็กตรอนที่เสียไป
เมื่อ A คือเลขมวล Z คือ เลขอะตอม K คือ เลขบอกประจุไฟฟ้า

6. จงหาจานวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน จากสัญลักษณ์ของอะตอมต่อไปนี้


40
1. 18 Ar ตอบ p = …….. n = ……..…. e = ……….

2. 39
19 K ตอบ p = …….. n = ……..…. e = ……….

3. 235
92 U ตอบ p = …….. n = ……..…. e = ……….
12

4. 83
36 Kr ตอบ p = …….. n = ……..…. e = ……….

5. 232
90Th ตอบ p = …….. n = ……..…. e = ………..

7. จงหาจานวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน จากสัญลักษณ์ของอะตอมต่อไปนี้


31 P 3
1. 15 ตอบ p = …….. n = …….. e = ……….
2. 178 O 2 ตอบ p = …….. n = …….. e = ……….
3. 35 1 ตอบ p = …….. n = …….. e = ……….
17 Cl
4. 9 2 ตอบ p = …….. n = …….. e = ……….
4X
8. จงเลือกข้อความที่ถูกต้องที่สุด

1. นิวเคลียสของ Cl- มีประจุลบ

2. 11Na+ มีจานวนอิเล็กตรอนมากกว่า 8S2- สามอิเล็กตรอน


35 Cl มีจานวนอิเล็กตรอนมากกว่า 35 S หนึ่งอิเล็กตรอน
3. 17 16
35 S กับ 35 Cl มีจานวนอิเล็กตรอนเท่ากัน
4. 16 17
คาชี้แจง ใช้ตารางต่อไปนี้ตอบคาถาม 2 ข้อถัดไป

9. ถ้าสามารถดึงโปรตอนจากธาตุ P ออกได้ 2 ตัว และดึงเอาอิเล็กตรอนออกได้ 5 ตัว ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร

1. P+3 2. P+5 3. Al+3 4. Mg+2


13

10. แคลเซียมไอออนมีจานวนอิเล็กตรอนไม่เท่ากับไอออนใด
1. คลอไรด์ไอออน 2. โพแทสเซียมไอออน
3. ซัลไฟด์ไอออน 4. แมกนีเซียมไอออน

1.5 ไอโซโทป ไอโซบาร์ ไอโซโทน และไอโซอิเล็กทรอนิก


ไอโซโทป คือ อะตอมของธาตุเดียวกัน แต่มีมวลไม่เท่ากัน

เช่น 12 C กับ 13 C กับ 14 C


6 6 6
16 O กับ 17 O กับ 18 O
8 8 8
สาเหตุที่เลขมวลไม่เท่ากัน เพราะมีจานวนนิวตรอนไม่เท่ากัน
เพิ่มเติม
 ไอโซบาร์ คือ อะตอมของธาตุต่างชนิดกัน แต่มีมวลเท่ากัน …………………………………………………….
เช่น 146 C กับ 147 N
…………………………………………………….
 ไอโซโทน คือ อะตอมธาตุต่างชนิดกัน แต่มีจานวนนิวตรอนเท่ากัน
…………………………………………………….
เช่น 39 19 K กับ
40 Ca ทั้งสองตัวนี้มีจานวนนิวตรอน 20 ตัวเท่ากัน
20
 ไอโซอิเล็กทรอนิก คือ อะตอมธาตุต่างชนิดกัน แต่มีจานวนอิเล็กตรอนเท่ากัน …………………………………………………….
เช่น 168 O 2 กับ 20 10 Ne ทั้งสองตัวนี้มีจานวนอิเล็กตรอน 10 ตัวเท่ากัน …………………………………………………….

11. จงเลือกธาตุที่เป็นไอโซโทป ไอโซบาร์ ไอโซโทน และไอโซอิเล็กทรอนิก จากธาตุที่กาหนดให้ต่อไปนี้


12 C , 13 C , 14 C , 10 B , 11 B , 14 N , 15 N , 16 O , 32 S2 - และ 40 Ar
6 6 6 5 5 7 7 8 16 18
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
14

1.6 แบบจาลองอะตอมของโบร์
1.6.1 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือคลื่นที่เกิดจากการเหนี่ ยวนาของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก เหนี่ยวนา ซึ่งกันและกัน อย่ าง
ต่อเนื่องไม่รู้จบแหล่งกาเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาลนี้คือดวงอาทิตย์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ออกมาจากดวง
อาทิตย์ แบ่งแยกได้ 8 ชนิด แต่ละชนิดเรียกว่า สเปกตรัม ดังแสดงในตารางต่อไปนี้

อย่าลืม คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกสเปกตรัม จะมีความเร็วเท่ากันหมด คือ 3x108 m/s เราสามารถคานวณหาค่าความถี่ และ


ความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ได้จากสมการ

C = fλ
และสามารถคานวณหาค่าพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้จากสมการ

E = h f และ E = hc
λ
เมื่อ E = พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (หน่วยเป็น จูล )
h = ค่าคงที่ของพลังค์ ( Plank , constant) = 6.625 x 10-34 Js
f ,  = ความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Hz หรือ s-1)
C = ความเร็วแสงในสุญญากาศ (3.0 x 108 ms-1)

λ= ความยาวคลื่นมีหน่วยเป็นเมตร ( m ) นาโนเมตร (nm) โดย 1 nm = 10-9 เมตร


15

สรุปสูตรของคลื่น

12. จงหาความถี่และพลังงานคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร (h = 6.63 x10-34 จูล•วินาที)


……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
13. ธาตุชนิดหนึ่งเมื่อนาไปเผาไฟ จะเกิดเส้นสเปกตรัมหลายเส้น จากการทดลองพบว่าเส้นสเปกตรัมเส้นหนึ่งมีพลังงาน
4.0 x 10-19 J สเปกตรัมเส้นดังกล่าวจะมีความยาวและความถี่ คลื่นเป็นเท่าใด และมีสีอะไร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
16

1.6.2 สเปกตรัมของธาตุ และแบบจาลองอะตอมของโบร์


โบร์ ได้เสนอแบบจาลองอะตอมของไฮโดรเจนขึ้นมา โดยอาศัยความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงพลังงานของอิเล็กตรอนและการ
เกิดสเปกตรัม โดยกล่าวว่าอะตอมไฮโดรเจนจะมีโปรตอน 1 ตัวอยู่ในนิวเคลียสตรงกลางอะตอม อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบ
นิว เคลี ย ส โดยมีแนวการเคลื่ อนที่เป็ น วงหลายๆ วงคล้ ายวงโคจรของดาวเคราะห์ รอบดวงอาทิตย์แต่ละวงจะมีระดับ
พลังงานเฉพาะตัว ระดับพลังงานในสุดจะเรียกระดับ K ถัดออกมาจะเรียกเป็นระดับ L , M , N , …. ตามลาดับ ต่อมาได้มี
การใช้ตัวเลขแสดงถึงระดับพลังงานของอิเล็กตรอน โดย n = 1 หมายถึงระดับพลังงานที่ 1 คือชั้นในสุด และชั้นถัดออกมา
จะเป็นชั้น n = 2 , n = 3 , ….. ตามลาดับ

ข้อควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับแบบจาลองอะตอมของโบร์
1. ระดับพลังงานในสุด ( n = 1 ) จะเป็นระดับที่มีพลังงานต่าสุด และถัดออกมาจะเป็นระดับที่ มีพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ และ
ปกติอิเล็กตรอนชอบที่จะอยู่ชั้นในสุด ( n = 1 ) เพราะจะมี เสถียรภาพมากที่สุด ภาวะเช่นนี้เรียกสภาวะพื้น ( Ground
State )
2. หากอิเล็กตรอนได้รับพลังงานที่เหมาะสมอิเล็กตรอนจะดูดพลังงานนั้นแล้วเคลื่อนย้ายจากระดับ พลังงานต่าขึ้นไประดับ
พลั งงานสู งกว่าเดิม เรี ย กภาวะเช่น นี้ ว่าเป็ น สภาวะกระตุ้น ( Excited State ) แต่ภ าวะถูกกระตุ้นนี้อิเล็ กตรอนจะมี
พลังงานมากเกินไปจึงไม่เสถียร อิเล็กตรอนจะคาย พลังงานส่วนหนึ่งออกมาแล้วเคลื่อนย้ายลงมาอยู่ในระดับพลังงานที่ต่า
กว่าเดิม
3. พลังงานที่อิเล็กตรอนคายออกมาจะอยู่ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเสมอ
17

ตัวอย่างการคายพลังงานของอิเล็กตรอนของอะตอมไฮโดรเจนเกิดเป็นสเปกตรัมดังนี้

14. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
ก. การที่สเปกตรัมในช่วงแสงขาวของธาตุไฮโดรเจนมีเพียง 4 เส้น แสดงว่าอิเล็กตรอนใน ไฮโดรเจนอะตอม มี
ระดับพลังงาน เพียง 4 ระดับ
ข. ถ้าอะตอมของธาตุ ก มีอิเล็ กตรอนมากกว่าอะตอมของธาตุ ข จานวนเส้ นสเปกตรัมในแสงขาวของธาตุ ก
จะต้องมากกว่าของธาตุ ข ด้วย
ค. จานวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในธาตุชนิดต่างๆ จะเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม
ง. ธาตุต่างชนิดกันอาจมีเส้นสเปกตรัมบางเส้นอยู่ที่ตาแหน่งเดียวกัน ( ความถี่เท่ากัน )ได้
18

15. ถ้าแผนผังการเปลี่ยนแปลงระดับพลังงานของอิ เล็กตรอนของธาตุหนึ่งเป็นดังแสดง และถ้าเส้นสเปกตรัมสีแดงเกิดจาก


II เส้นสีม่วง มีโอกาสเกิดจากข้อใด

ก. I
ข. III
ค. III หรือ IV
ง. IV หรือ V
16. แสงสีส้มมีความยาวคลื่น 620 นาโนเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับแสงสีครามซึ่งมีความยาวคลื่น 430 นาโนเมตร ข้อความ
ใดถูกต้องที่สุด
ก. แสงสีส้มมีพลังงานสูงกว่าแสงสีครามเนื่องจากมีความถี่สูงกว่า
ข. แสงสีครามมีพลังงานสูงกว่าแสงสีส้มเนื่องจากมีความถี่ต่ากว่า
ค. แสงสีครามมีพลังงานสูงกว่าแสงสีส้มเนื่องจากมีความถี่สูงกว่า
ง. แสงสีส้มมีพลังงานสูงกว่าแสงสีครามเนื่องจากมีความถี่ต่ากว่า
1.6.3 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
1.6.3.1 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมในระดับพลังงานหลัก
จากแบบจ าลองอะตอมของโบร์ ระดับพลั งงานของอิ เล็ ก ตรอนแต่ล ะระดั บ จะมีความสามารถในการบรรจุ
อิเล็กตรอนได้ไม่เท่ากัน โดยจานวนอิเล็กตรอนที่มีได้มากที่สุดในระดับพลังงานที่ n= 2n2 เมื่อ n คือ ลาดับที่ของชั้นพลังงาน
เช่น ชั้น K (ชั้นที่ 1) มีจานวน e ได้เพียง = 2(12) = 2
ชั้น L (ชั้นที่ 2) มีจานวน e ได้เพียง = 2(22) = 8
19

ชั้น M (ชั้นที่ 3) มีจานวน e ได้เพียง = 2(32) = 18


หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมสาหรับ 20 ธาตุแรกของตารางธาตุ
1. ต้องจัดเรียงอิเล็กตรอนลงระดับพลังงานในสุด (ชั้น K) ให้เต็มก่อน แล้วจึงจัดเรียงอิเล็กตรอนลงระดับพลังงานถัดออกมา
ข้างนอกให้เต็มทีละระดับ
2. จานวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุด (เรียกว่าเวเลนซ์อิเล็กตรอน, valence electron) จะมีได้ไม่เกิน 8 ตัวเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นระดับพลังงานที่เท่าใดก็ตาม

หมายเหตุ: พิจารณาธาตุที่ 19 ( K ) มีอิเล็กตรอน 19 ตัว ควรจัดเรียง เป็น เพราะ


ระดับพลังงาน M เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุดถึง 18 ตัว แต่เนื่องจากระดับพลังงานนอกสุดจะมี อิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 8 ตัวไม่ว่า
จะเป็นชั้นอะไรก็ตาม
ดังนั้นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของ K จึงต้องเปลี่ยนเป็น
และสาหรับธาตุที่ 20 (Ca ) มีอิเล็กตรอน 20 ตัว จะจัดเรียงเป็น

คาชี้แจง ให้เขียนจานวนอิเล็กตรอนลงในตารางต่อไปนี้ให้สมบูรณ์
20

เทคนิคการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก (เบื้องต้น)
ขั้น 1. นาจานวนอิเล็กตรอนทั้งหมดลบออกด้วย 2 , 8 , 18 , 32 หรือ 18 , 32หรือ 18 , 18 , 8 , 2 ทีละตัวจนกว่าจะลบ
ต่อไม่ได้
ขั้น 2. ให้นาตัวที่ใช้ลบทั้งหมด และผลลบที่เหลือสุดท้ายมาเรียงเป็นคาตอบได้เลย
 แต่ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 9ให้แบ่งเป็น 8 , 1
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 10 ให้แบ่งเป็น 8 , 2
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 11 ให้แบ่งเป็น 9 , 2
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 12 ให้แบ่งเป็น 10 , 2
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 13 ให้แบ่งเป็น 11 , 2
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 14 ให้แบ่งเป็น 12 , 2
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 15 ให้แบ่งเป็น 13 , 2
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 16 ให้แบ่งเป็น 14 , 2
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 17 ให้แบ่งเป็น 15 , 2
 ถ้าผลลบสุดท้ายเหลือ 18 ให้แบ่งเป็น 16 , 2
แล้วจึงนาไปต่อท้ายตัวที่ใช้ลบ
หมายเหตุ :
21

1) ธาตุที่ 24 ( Cr ) , 29( Cu ) , 41 ถึง 45 , 47 , 78 , 110 , 111 ต้องแบ่งอิเล็กตรอนนอกสุดโดยเขียนเป็นเลข 1ไว้วงนอก


สุด แล้วเขียนจานวนอิเล็กตรอนที่เหลือไว้ชั้นถัดเข้ามาด้านใน ธาตุที่ 46 ( Pd ) ต้องแบ่งอิเล็กตรอนนอกสุดโดยเขียนเป็น
เลข 0 ไว้วงนอกสุด แล้วเขียนจานวนอิเล็กตรอนที่เหลือไว้ชั้นถัดเข้ามาด้านใน
2) หลักเกณฑ์ทั้งหมดนี้ไม่สามารถใช้ได้กับธาตุแทรนซิชันใน (แลนทาไนด์, แอกทิไนท์)
ฝึกทา อะตอมที่มีจานวนอิเล็กตรอนดังต่อไปนี้ จะมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนอย่างไร
82 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
53 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
33 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
37 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
88 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
21 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
25 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
28 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
31 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
39 อิเล็กตรอน เรียงเป็น............
คาชี้แจง จงใช้ข้อมูลนี้ตอบคาถาม 2 ข้อถัดไป ธาตุ 5 ชนิดมีการจัดอิเล็กตรอน ดังนี้
A 2, 8, 8, 2
B 2, 8, 2
C 2, 8
D 2, 8, 4
E 2, 1
17. ข้อใดเป็นธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันแต่อยู่ในหมู่ต่างกัน
22

ก. A, B ข. C , E ค. B , C ง. D , E
18. ธาตุใดอยู่หมู่ 8A
ก. A ข. B ค. C ง. D
19. อะตอมและไอออนในแต่ละกลุ่มข้อใดมีจานวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุดเท่ากัน กาหนดเลขอะตอม
B = 5, C = 6 , N = 7 , O = 8 , F = 9
ก. B, F+, O, N- , C2- ข. B3- , C2- , N- , O, F+
ค. F+, N- , O, C2- , B3- ง. O, B3- , F+, C2-, N-
คาชี้แจง ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคาถาม 2 ข้อถัดไป
31 32 S 35 39 K 40 Ca
15 P 16 17 Cl 19 20
20. Y2- มี 3 ระดับพลังงาน มีจานวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 มีจานวนนิวตรอนเท่ากับ 16 ธาตุ Y เป็นไอโซโทป กับ
ธาตุใด

ก. 32
16 S
35 C
ข. 17 ค. 39
19 K ง. 40
20 Ca
21. ถ้าดึงโปรตอน 2 อนุภาค และดึงอิเล็กตรอน 1 อนุภาค ออกจาก 39
19 K ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ
ก. 39
17 K ข. 39
19 K
35 Cl -
ค. 17 35Cl-
ง 17
22. ถ้า Y มีอิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานต่างๆ 3 ระดับ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 5 มีเลขมวล 31 ข้อความใดต่อไปนี้
เกี่ยวข้องกับธาตุ Y ไม่ถูกต้อง
ก. ธาตุ Y ควรมีสัญลักษณ์นิวเคลียร์เป็น 3115Y
ข. ธาตุ Y มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 , 8 , 5
ค. ธาตุ Y มีจานวนนิวตรอน 15 ตัว
ง. ธาตุ Y มีสมบัติเป็นอโลหะ
1.6.3.2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมในระดับพลังงานย่อย
23

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ทาการศึกษาสเปกตรัมของธาตุต่างๆ โดยละเอียดทาให้ทราบว่าระดับพลังงานหลัก ( n ) ยัง


แบ่งออกเป็นระดับพลังงานย่อย ( Energy Sublevels ) ได้อีก ระดับพลังงานย่อยที่ค้นพบแล้วได้แก่
1. s เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 2 ตัว 2. p เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 6 ตัว
3. d เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 10 ตัว 4. f เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 14 ตัว
5. g เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 18 ตัว 6. h เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 22 ตัว
ระดับพลังงานหลักแต่ละระดับ จะมีจานวนระดับพลังงานย่อยไม่เท่ากัน
 ระดับพลังงาน K (1)มี 1 ระดับพลังงานย่อย ได้แก่ 1s
 ระดับพลังงาน L (2)มี 2 ระดับพลังงานย่อย ได้แก่ 2s 2p
 ระดับพลังงาน M (3) มี 3 ระดับพลังงานย่อย ได้แก่ 3s 3p 3d
 ระดับพลังงาน N (4) มี 4 ระดับพลังงานย่อย ได้แก่ 4s 4p 4d 4f
 ระดับพลังงาน O (5)มี 5 ระดับพลังงานย่อย ได้แก่ 5s 5p 5d 5f 5g
หมายเหตุ : ตัวเลขที่อยู่หน้าระดับพลังงานย่อย เขียนเพื่อแสดงให้รู้ว่า ระดับพลังงานย่อยนั้นอยู่
ในระดับพลังงานหลักที่เท่าใด เช่น 1s ให้รู้ว่าระดับพลังงานย่อย s อยู่ในระดับพลังงานที่ 1 คือ ชั้น K เป็นต้นเนื่องจาก
ระดับพลังงานหลักชั้นบนๆ แต่ละระดับจะอยู่ชิดกันมาก จึงทาให้ระดับพลังงานย่อยของชั้นเหล่านั้นเกิดการเหลื่อมล้ากัน
เช่นดังรูปพิจารณาชั้น 3d กับ 4s จะพบว่า ชั้น 3d ควรอยู่ด้านในกว่าเพราะเป็นระดับย่อยของชั้น 3 แต่ในอะตอมจริงๆ นั้น
ชั้น 4s จะอยู่ในกว่าชั้น 3d เพราะระดับพลังงานหลักชั้น 4 กับชั้น 3อยู่ชิดกันมากจึงทาให้เกิดการเหลื่อมล้ากันนั่นเอง

เราสามารถหาลาดับการเรียงระดับพลังงานย่อยจากชั้นต่าสุดออกไปได้ดังนี้
24

ขั้น 1. เขียนแผนภาพดังนี้

ขั้น 2. เขียนระดับพลังงานย่อยตามแนวลูกศรทีละเส้นจากล่างสุดขึ้นบนสุด จะได้ระดับพลังงานย่อยเรียงลาดั บจากต่าสุด


ขึ้นไปดังนี้
1s, 2s , 2p, 3s , 3p , 4s, 3d , 4p , 5s , 4d , 5p , 6s , 4f , 5d , 6p , 7s , 5f , ….
วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
ขั้น 1.ให้จัดเรียงอิเล็กตรอนแบบระดับพลังงานหลักก่อน แล้วจึงเขียนระดับพลังงานย่อยที่มีในแต่ละระดับพลังงานหลัก
โดยต้องเรียงให้ถูกต้องตามการเหลื่อมล้าของระดับพลังงานด้วย
ขั้น 2.ใส่จานวนอิเล็กตรอนลงในแต่ละระดับพลังงานย่อย โดยใส่ชั้นในให้เต็มก่อน แล้วจึงใส่ชั้นนอกถัดมา อย่าลืมว่าระดับ
พลังงานย่อยแต่ละระดับจะเก็บอิเล็กตรอนได้ดังนี้
s เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 2 ตัว p เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 6 ตัว
d เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 10 ตัว f เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 14 ตัว
g เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 18 ตัว h เก็บอิเล็กตรอนได้สูงสุด 22 ตัว
ตัวอย่าง จงจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบระดับพลังงานย่อยและระดับพลังงานหลักของอะตอม 19K
แนวคิด 19K มี 19 อิเล็กตรอน จัดเรียงอิเล็กตรอนแบบระดับพลังงานย่อยได้ดังนี้
ขั้น 1.ให้จัดเรียงอิเล็กตรอนแบบระดับพลังงานหลักก่อน แล้วจึงเขียนระดับพลังงานย่อยที่มีในแต่ละระดับพลังงานหลักจะ
ได้
25

19K = 2,8,8,1
= 1s , 2s 2p , 3s 3p 3d , 4s
แต่เนื่องจากชั้น 4s จะมาก่อน 3d จึงต้องสลับเป็นดังนี้

19K = 1s2s 2p 3s 3p 4s 3d
ขั้น 2.ใส่จานวนอิเล็กตรอนลงในแต่ละระดับพลังงานหลัก โดยใส่ชั้นในให้เต็มก่อน แล้วจึงใส่ชั้นนอกถัดมา

19K = 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1

คาชี้แจง จงจัดเรียงอิเล็กตรอนของอะตอมต่อไปนี้แบบระดับพลังงานย่อย

23. ธาตุ A B และ C มีการจัดอิเล็กตรอนดังนี้


ธาตุ A 1s2 2s2 2p6 3s2 3p2
ธาตุ B 1s2 2s2 2p6 3s2
ธาตุ C 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6

ข้อ ก ธาตุ A B และ C มีเลขอะตอมเท่าใด


26

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ข้อ ข. ธาตุแต่ละธาตุมีอิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานใดบ้าง จานวนเท่าใด
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
24. ในสภาวะพื้นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Fe2+ คือข้อใด (เลขอะตอมของ Fe = 26)
ก. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d4
ข. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 3d5
ค. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p5 4s2 3d5
ง. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s0 3d6
25. ในสภาวะพื้นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของ 24Cr3+ คือข้อใด
ก. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s1 3d2
ข. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s0 3d3
ค. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 4s2 3d1
ง. 1s2 2s2 2p6 3s2 3p3 4s1 3d5
การเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบระดับพลังงานย่อยในรูปแก๊สเฉื่อย พิจารณาอะตอมแก๊สเฉื่อยต่อไปนี้

2He มี 2 อิเล็กตรอน จัดเรียงเป็น 1s2

10Ne มี 2 อิเล็กตรอน จัดเรียงเป็น 1s2 , 2s2 , 2p6

18Arมี 18 อิเล็กตรอน จัดเรียงเป็น 1s2 , 2s2 , 2p6 , 3s2 , 3p6


27

36Kr มี 36 อิเล็กตรอน จัดเรียงเป็น 1s2 , 2s2 , 2p6 , 3s2 , 3p6 , 4s2 , 3d10 , 4p6

54Xeมี 54 อิเล็กตรอน จัดเรียงเป็น 1s2 , 2s2 , 2p6 , 3s2 , 3p6 , 4s2 , 3d10 , 4p6 , 5s2 , 4d10 , 5p6

86Rn มี 86 อิเล็กตรอน จัดเรียงเป็น 1s2, 2s2, 2p6, 3s2, 3p6, 4s2, 3d10, 4p6, 5s2, 4d10, 5p6, 6s2, 4f14, 5d10, 6p6
พิจารณาการจัดเรียงอิเล็กตรอนอะตอมธาตุต่อไปนี้
15P รูปแบบจัดเรียงอิเล็กตรอน 1s2 , 2s2 , 2p6 , 3s2 , 3p3 อาจเขียนย่อเป็น [ Ne ] , 3s2 , 3p3
37Rb รูปแบบจัดเรียงอิเล็กตรอน 1s2 , 2s2 , 2p6 , 3s2 , 3p6 , 4s2 , 3d10 , 4p6 , 5s1 อาจเขียนย่อเป็น [ Kr ] , 5s1

26. จงระบุสัญลักษณ์ของธาตุที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังต่อไปนี้
ก. 2, 8,
ข. [Ar] 4s2 3d10 4p2
ค. [Ne] 3s2 3p3

27. ธาตุที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังต่อไปนี้จะมีอิเล็กตรอนจานวนเท่าใด
ก. [ Ne ] 3s2 3p3 ข. [ Ar ] 4s2 3d10 4p2 ค. [ Kr ] 5s2 4d5
1. ก. 15 ข. 30 ค. 43 2. ก. 16 ข. 30 ค. 40
3. ก. 15 ข. 32 ค. 43 4. ก. 20 ข. 32 ค. 40

ตารางธาตุ
28

2.1 ลักษณะของตารางธาตุปัจจุบัน ตารางธาตุในปัจจุบันจะมีลักษณะดังนี้

ธาตุที่เรียงอยู่ในแนวนอนเดียวกัน เรียกว่าคาบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 คาบ


ธาตุที่เรียงอยู่ในแนวดิ่งเดียวกัน เรียกว่า หมู่ ซึ่งมีอยู่ 2 พวก คือธาตุหมู่ A มี 8 หมู่ และหมู่ B เรียกธาตุแทรนซิชัน
สาหรับธาตุ 2 แถว ซึ่งแยกไว้ด้านล่าง เรียก ธาตุแทรนซิชันใน
แถวบนเรียก กลุ่มธาตุแลนทาไนด์ ซึ่งจริงแล้วควรเป็นธาตุ หมู่IIIB คาบ 6
แถวล่างเรียก กลุ่มธาตุแอกทิไนด์ ซึ่งจริงแล้วควรเป็นธาตุ หมู่ IIIB คาบ 7
ธาตุหมู่ IAเรียก โลหะแอลคาไลน์ ธาตุหมู่IIA เรียกโลหะแอลคาไลน์เอิร์ท
ธาตุหมู่ VIIA เรียกแฮโลเจน ธาตุหมู่ VIIIA เรียกแก๊สเฉื่อย
ธาตุที่อยู่บริเวณเส้นขั้นบันไดเป็นธาตุกึ่งโลหะ หรือเมตัลลอยด์ ซึ่งได้แก่ โบรอน (B) , ซิลิกอน (Si) , เจอร์เมเนียม (Ge) ,
อาร์เซนิก(As) , พลวง (Sb) , เทลลูเรียม (Te) , พอโลเนียม (Po) , แอสทาทีน (As)
 ธาตุหมู่ A ซึ่งอยู่ในหมู่เดียวกันจะมีสมบัติคล้ายกัน และมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน และเวเลนซ์อิเล็กตรอนจะ
เท่ากับเลขหมู่ที่ธาตุนั้นๆ อยู่ เช่น ธาตุ Li และ Na มีเวเลนซ์-อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 ดังนั้นทั้งสองธาตุนี้จะอยู่หมู่ IA
29

 ธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เว้นบางธาตุมีเวเลนซ์-อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 เช่น Cr , Cu


เป็นต้น
 ธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกัน จะมีจานวนระดับพลังงานหลักของอิเล็กตรอนเท่ากัน และจะเท่ากับลาดับของคาบที่ธาตุ
นั้นๆ อยู่ เช่น Li และ Be มีจานวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ระดับ คือ K L ดังนั้นทั้งสองธาตุนี้จะอยู่
ในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ
การเรียกชื่อธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 100 ขึ้นไป ตามระบบ IUPAC
ให้เรียกเลขอะตอมเป็นภาษาละติน แล้วลงท้ายด้วย -ium จานวนนับในภาษาละตินมีดังนี้
0= นิล (nil) 1 = อูน (un) 2 = ไบ(bi) 3 = ไต (tri) 4 = ควอด (quad )
5 = เพนท์ (pent ) 6 = เฮกซ์ (hex) 7 = เซปท์ (sept) 8 = ออกต์ (oct ) 9 = เอนน์ ( enn )
ตัวอย่างการเรียกชื่อ
ธาตุที่ 104 เรียกชื่อ อูนนิลควอเดียมใช้สัญลักษณ์ Unq
ธาตุที่ 105 เรียกชื่อ อูนนิลเพนเทียมใช้สัญลักษณ์ Unp
ธาตุที่ 106 เรียกชื่อ อูนนิลเฮกเซียมใช้สัญลักษณ์ Unh
ธาตุที่ 107 เรียกชื่อ อูนนิลเซปเทียมใช้สัญลักษณ์ Uns
การบอกตาแหน่งของธาตุในตารางธาตุ
การตรวจสอบว่าธาตุหนึ่งๆ จะอยู่หมู่ใด คาบใด ในตารางธาตุ ให้ทาดังนี้
ขั้น 1 จัดเรียงอิเล็กตรอนแบบระดับพลังงานหลัก
ขั้น 2 จานวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน จะเท่ากับคาบที่ธาตุนั้นอยู่
ขั้น 3 หากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 3 ถึง 8 จะเป็นธาตุหมู่ IIIA ถึงหมู่ VIII Aตามลาดับ
หากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 หรือ 2
กรณี1 หากจานวนอิเล็กตรอนชั้นถัดเข้ามามี 8ตัว จะเป็นธาตุหมู่ IA,IIA ตามลาดับ
กรณี2 หากจานวนอิเล็กตรอนชั้นถัดเข้ามาไม่ใช่ 8ตัว จะเป็นธาตุแทรนซิชัน
30

33. ธาตุมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนกี่ตัว และจัดอยู่ในธาตุพวกใด 7533 X


ก. 13 ตัว , ธาตุแทรนซิชัน ข. 5 ตัว , ธาตุแฮโลเจน
ค. 5 ตัว , ธาตุกึ่งโลหะ ง. 3 ตัว , โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท
34. พิจารณาตา แหน่งของธาตุสมมติในตารางธาตุคาบที่ 2 – 4

ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ธาตุ A มีความเป็นโลหะมากกว่าธาตุ I
ข. ธาตุ G มีความเป็นอโลหะมากกว่าธาตุ F
ค. ธาตุ B ทา ปฏิกิริยากับน้า ได้รุนแรงกว่าธาตุ C
ง. ธาตุ E และ D เป็นอโลหะ
2.2 สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ
31

2.2.1 แนวโน้มของขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขั้นตอนการพิจารณาแนวโน้มของขนาดอะตอม
 ขั้นที่ 1. พิจารณาจากคาบที่อะตอมนั้นอยู่ในหมู่เดียวกันขนาดอะตอมจะเล็กลงจากล่างขึ้นบน เพราะอะตอมธาตุ
ด้าน บนจะมีระดับพลังงานอิเล็กตรอนน้อยกว่าอะตอมธาตุด้านล่าง
 ขั้นที่ 2. พิจารณาจากหมู่ที่อะตอมนั้นอยู่ในคาบเดียวกันขนาดอะตอมจะเล็กลงจากซ้ายไปขวา เพราะอะตอมธาตุ
ด้าน ขวาจะมีจานวนโปรตอนมากกว่า จึงมีแรงดึงดูดอิเล็กตรอนรอบนอกให้เข้าใกล้นิวเคลียสมากขึ้น ทาให้ขนาด
อะตอมเล็กลง
35. ข้อใดที่เรียงลาดับสารตามขนาดจากเล็กไปใหญ่
ก. N, O, F ข. Na, Mg, K ค. Cr, Cr2+, Cr3+ ง. Cl, Cl-, S2-
36. ธาตุ A, B และ C เป็นธาตุที่อยู่ในคาบที่ 2 เรียงลา ดับตั้งแต่หมู่ VA ถึง VIIA ธาตุทั้ง 3 ควรมีสมบัติเป็นอย่างไร
1. มีขนาดอะตอมเท่ากัน
2. มีจานวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
3. มีเลขอะตอมเท่ากัน
4. มีจานวนระดับพลังงานของอิเล็กตรอนเท่ากัน
2.2.2 แนวโน้มของของอิเล็กโทรเนกาติวิตี ( Electronegativity , EN )
32

อิเล็กโทรเนกาติวิตี คือค่าที่แสดงถึงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะของอะตอมของธาตุต่างๆ ที่รวมกัน


เป็นสารประกอบธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงจะสามารถ ดึงดูดอิเล็กตรอนได้ดีกว่าธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ากว่า
 ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของโลหะจะน้อยกว่าของอโลหะเสมอ
 ในหมู่เดียวกันค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะเพิ่มขึ้นจากล่างขึ้นบน เพราะขนาดของอะตอมเล็ก ลงจากล่างขึ้นบน แรง
ดึงดูดระหว่างประจุบวกในนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนวงนอกจึงเพิ่ม
 ในคาบเดียวกันค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา เพราะขนาดของอะตอม เล็กลงจากซ้ายไปขวาทา
ให้แรงดึงดูดระหว่างประจุบวกในนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนวงนอก เพิ่มขึ้นดังนั้นในคาบเดียวกัน ธาตุหมู่ IA มีค่าอิ
เล็กโทรเนกาติวิตีต่า สุด ส่วนธาตุหมู่ VII A มี ค่าสูงสุด He , Ne , Arไม่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี ส่วน Kr , Xeมีค่าอิ
เล็กโทรเนกาติวิตีต่า ๆ
ธาตุที่มีค่า EN สูงสุดตามลาดับที่ควรจา คือ F > O > Cl ≈ N > Br > I ≈S ≈ C > H
2.2.3 แนวโน้มของสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน ( Electron affinity , EA )
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนหรืออิเล็กตรอนอัฟฟินิตี หมายถึงพลังงานที่คายออกมาเมื่ออะตอมในสถานะแก๊สรับอิเล็กตรอน
แล้วกลายเป็นไอออนลบ เช่นCl(g) + e  → Cl-(g) Ea = – 347 kJ/mol

ค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนจะมีค่าเป็นลบเพราะเป็นพลังงานที่คายออกมา (ยกเว้นธาตุหมู่ 2A และ 8A ) เป็นค่าที่


บอกความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของอะตอม ธาตุใดมีค่าค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนเป็นลบมาก อะตอมของธาตุนั้น
ก็จะเกิดไอออนลบได้ง่าย และค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนของอโลหะจะมีค่าเป็นลบมากกว่าโลหะเสมอ
 ในคาบเดียวกันค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาเพราะขนาดของอะตอมเล็กลงจากซ้ายไปขวา
นิวเคลียสจึงดึงดูดอิเล็กตรอนที่เข้ามาใหม่ได้ดีขึ้นตามลาดับด้วย
 ในหมู่เดียวกันค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมีค่าเพิ่มจากล่างขึ้นบน เพราะจานวนชั้นของอิเล็กตรอนลดลงทาให้
ขนาดของอะตอมเล็กลงเช่นกัน
2.2.4 แนวโน้มของพลังงานไอออไนเซชัน ( Ionization Energy , IE )
พลังงานไอออไนเซชัน คือพลังงานที่ใส่เข้าไปเพื่อให้อิเล็กตรอนของอะตอมในสภาวะแก๊สหลุดออกมาจากอะตอม ข้อควรรู้
เกี่ยวกับพลังงานไอออไนเซชัน
1. พลังงานไอออไนซ์ของธาตุอโลหะจะมากกว่าของธาตุโลหะเสมอ และพลั งงานไอออไนซ์ของแก๊สเฉื่อย (หมู่ 8A ) จะมี
ค่าสูงสุด
33

2. โดยทั่วไปแล้ว เมื่ออะตอมมีขนาดเล็กลง แรงดึงดูดระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนสูงขึ้นทาให้พลังงานไอออไนซ์


มีค่ามากขึ้นด้วย
 ดังนั้นธาตุในหมู่เดียวกัน ค่าพลังงานไอออไนซ์เพิ่มขึ้นจากล่างขึ้นบน
 ธาตุในคาบเดียวกัน พลังงานไอออไนซ์จะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวาและสาหรับธาตุแทรนซิชัน พลังงานไอออไนซ์ไม่
แตกต่างกันมากนัก
2.2.5 เลขออกซิเดชัน
เลขออกซิเดชันคือตัวเลขที่แสดงถึงประจุไฟฟ้าจริงหรือประจุเสมือนของอะตอม เช่น NaCl เมื่อแตกตัวจะได้ Na+และCl–
จะมีเลขออกซิเดชันเป็น +1 และ –1 ตามลาดับ
หลักเกณฑ์ในการกาหนดเลขออกซิเดชัน
1. ธาตุอิสระทุกตัวไม่ว่าในหนึ่งโมเลกุลจะมีกี่อะตอมก็ตาม จะมีเลขออกซิเดชันเท่ากับ 0 เช่น Ca , H2, P4, S8, Na
ทุกตัวมีเลขออกซิเดชันเป็น 0
2. ธาตุไฮโดรเจนส่วนมากมีเลขออกซิเดชันเป็น +1
3. ธาตุออกซิเจนส่วนมากมีเลขออกซิเดชันเป็น –2
4. เลขออกซิเดชันของไอออนใด ๆ ปกติจะมีค่าเท่ากับประจุของไอออนนั้น ๆ เช่น Na+ มีเลขออกซิเดชัน เป็น +1
Cl– มีเลขออกซิเดชัน เป็น –1 Al3+มีเลขออกซิเดชันเป็น+3
5. สารประกอบใดๆ ผลรวมของเลขออกซิเดชันจะต้องเป็นศูนย์เสมอ เช่น H2O มีเลขออกซิเดชัน = (+1 x 2) + (–2)
= 0 แต่หมู่ไอออนใดๆ ผลรวมของเลขออกซิเดชันจะเท่ากับประจุของไอออนนั้น เช่น CrO2-4 มีเลขออกซิเดชัน =
(+6) + (–2 x 4)= +6 – 8 = –2
6. ธาตุหมู่ IA , IIA และหมู่ IIIA จะมีเลขออกซิเดชัน = +1 , +2 , +3 ตามลาดับ
7. ธาตุอโลหะในสารประกอบต่างๆ ส่วนมากมักมีเลขออกซิเดชันหลายค่าเช่น พิจารณาจากธาตุ Cl สารประกอบ
ต่อไปนี้
HCl ในนี้ Cl มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ –1
HClO ในนี้ Cl มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +1
34

HClO2 ในนี้ Cl มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +3


HClO3 ในนี้ Cl มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +5
8. ธาตุทรานสิชันส่วนใหญ่มีเลขออกซิเดชันได้มากกว่า 1 ค่า เช่น FeO ในนี้ Fe มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +2
Fe2O3 ในนี้ Fe มีเลขออกซิเดชัน เท่ากับ +3

42. เลขออกซิเดชันของโลหะในข้อใดมีค่าน้อยที่สุด
1. NH4 VO3 2. Na2 MnO4 3. K2Cr2O7 4. Fe2O3
43. เลขออกซิเดชันของ Cr ใน Cr2O72- (aq) ,CrO42- (aq)และ K3Cr(CN)6(s) ตามลาดับตรงกับข้อใด
1. +7 , +4 และ +3 2. +6 , +5 และ +2 3. +6 , +6 และ +3 4. +6 , +6 และ +2
44. เลขออกซิเดชันของโลหะแทรนซิชันในข้อใดรวมกันสูงสุด
1. Cu2O K2[Ni(CN)4] 2. MnO2 [FeSCN] Cl2
3. V2O5 NH4Fe (SO4)2 4. HgCl2 [Co (NH3)4Cl2]Cl
45. โลหะทรานสิชันในข้อใดที่มีเลขออกซิเดชันเท่ากัน
1. (NH4)2CrO4 Na[Au(CN)2] V2O5
2. K3Fe(CN)6 [Ni(NH3)6]SO4 PbCrO4
3. [Cu(NH3)3]SO4 [Co(H2O)6]Cl2 Na2CoCl4
4. [Co(NH3)4Cl2]Cl NH4Fe(SO4)2 K2Cr2O7

พันธะเคมี
ความเป็นโลหะและอโลหะ
35

ธาตุในหมู่เดียวกัน ความเป็นโลหะจะเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง เพราะอะตอมใหญ่ขึ้นแรงที่นิวเคลียสดึงดูดอิเล็กตรอนจะน้อยลง


จึงจ่ายอิเล็กตรอนได้ง่าย
ธาตุในคาบเดียวกัน ความเป็นโลหะจะเพิ่มขึ้นจากขวาไปซ้าย เพราะอะตอมใหญ่ขึ้น แรงที่นิวเคลียสดึงดูดอิเล็กตรอนจะ
น้อยลง จึงจ่ายอิเล็กตรอนได้ง่ายเช่นกัน
สาหรับความเป็นอโลหะจะมีแนวโน้มตรงกันข้ามกับความเป็นโลหะ กล่าวคือ
 ธาตุในหมู่เดียวกัน ความเป็นอโลหะจะเพิ่มขึ้นจากล่างขึ้นบน
 ธาตุในคาบเดียวกัน ความเป็นอโลหะจะเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา

พันธะเคมี คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมกับอะตอม หรือไอออนกับไอออนภายในสสาร พันธะเคมีมี 3 ประเภทได้แก่


1. พันธะไอออนิก
2. พันธะโคเวเลนต์
3. พันธะโลหะ
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลกับโมเลกุลในสสาร ไม่ถือว่าเป็นพันธะเคมี แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล มี 2 ประเภท
ได้แก่ 1. พันธะไฮโดรเจน 2. แรงแวนเดอร์วาลส์
36

1. จากรูปภาพที่กาหนด หมายเลขใดแสดงถึงพันธะเคมีและหมายเลขใดแสดงถึงแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
1. (1) พันธะเคมี (2) พันธะเคมี
2. (1) พันธะเคมี (2) แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
3. (1) แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล (2) พันธะเคมี
4. (1) แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล (2) แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่พันธะเคมี
1. พันธะไอออนิก 2. พันธะโคเวเลนต์ 3. พันธะโลหะ 4. พันธะไฮโดรเจน

2.1 พันธะโคเวเลนต์
2.1.1 การเกิดพันธะโคเวเลนต์
พันธะโคเวเลนต์ คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมที่เกิดจากอะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกันเป็นคู่ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง การเกิดพันธะของคลอรีน ( Cl ) กับฟลูออรีน ( F ) ทั้งคลอรีน ( Cl ) และฟลูออรีน ( F ) ล้วนเป็นอโลหะหมู่ 7A
เหมือนกัน อะตอมของธาตุทั้งสองต่างต้องการอิเล็กตรอนอีก 1 ตัวเหมือนกัน แต่เนื่องจากธาตุทั้งสองล้วนมีค่าอิเล็กโทรเน
กาติวิตี (EN) สูง อะตอมทั้งสองจึงไม่ยอมจ่ายอิเล็กตรอนให้แก่กัน จึงต้องมีการนาเอาเวเลนซ์อิเล็กตรอน มาใช้ร่วมกัน 1 คู่
ดังรูป เพื่อให้อะตอมทั้งสองเสมือนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 8 ตัวเหมือนกันทั้งคู่ อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันนี้ จะเรียก อิเล็กตรอน
คู่ร่วมพันธะ และอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกันนี้จะมีแรงดึงดูดกับนิวเคลียสของอะตอมที่เข้ามาร่วมพันธะกันแรงดึงดูดตรงนี้จะ
เรียกเป็นพันธะโคเวเลนต์ และโมเลกุลที่เกิดขึ้นจะเรียก โมเลกุลโคเวเลนต์ สารประกอบที่มีโมเลกุลโคเวเลนต์จะเรียก สาร
ประกอบโคเวเลนต์
37

3. เหตุที่อะตอมของธาตุต่างๆ ต้องเข้ามารวมตัวกันสร้างพันธะเคมีคือข้อใดต่อไปนี้
1. เพื่อรวมกันเป็นกลุ่มก้อนที่ใหญ่ขึ้น
2. เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงาน
3. เพื่อให้เวเลนส์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมครบ 8 ตัว
4. ถูกทุกข้อ
โดยทั่วไปแล้วพันธะโคเวเลนต์จะเกิดจากการรวมตัวของ ธาตุอโลหะรวมตัวกับอโลหะ หรือ ธาตุกึ่งโลหะรวมตัวกับอโลหะ
หรือโลหะบางชนิด (Be , Sn ) รวมตัวกับอโลหะ ทั้งนี้เพราะอะตอมของธาตุพวกนี้จะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ (EN) สูง
เหมือนๆ กัน เมื่อมารวมกันจะไม่มีอะตอมใดยอม จ่ายอิเล็กตรอนให้แก่กัน จึงต้องมีการนาอิเล็กตรอนมาใช้ร่วมกันเกิดเป็น
พันธะโคเวเลนต์นั่นเอง
หมายเหตุ ไอออนเชิงซ้อนที่ประกอบด้วยโลหะแทรนซิชันกับอโลหะ โลหะแทรนซิชันกับอโลหะจะเกิดพันธะชนิด
โคเวเลนต์กัน เช่น MnO4-, CrO42- , Fe(CN)34- เป็นต้น (ไอออนเชิงซ้อนคือไอออนที่ประกอบด้วยธาตุมากกว่า 1 ชนิด)
4. อะตอมคู่ใดในข้อใดต่อไปนี้ที่รวมตัวด้วยพันธะโคเวเลนต์
1. คาร์บอนกับซัลเฟอร์ 2. แคลเซียมกับออกซิเจน
3. เหล็กกับคลอรีน 4. คลอรีนกับโซเดียม
5. ถ้าธาตุ X , Y และ Z มีเลขอะตอมเป็น 7 , 11 และ 30 ตามลาดับ สารประกอบในข้อ ใดจัดเป็นสารโคเวเลนต์
1. XCl3 2. YCl 3. ZCl2 4. ถูกทุกข้อ
6. จงพิจารณาว่าสารประกอบในข้อใดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ล้วนๆ
1. K2O , Al2O3 2. BeCl2 , SnCl4 3. MgBr2 , NaCl2 4. CsCl , MgCl2

2.1.2 ชนิดของพันธะโคเวเลนต์ พันธะโคเวเลนต์มี 3 ชนิด ได้แก่


1) พันธะเดี่ยว คือพันธะมีการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอน
ร่วมกัน 1 คู่ เช่น พันธะใน Cl F
38

2) พันธะคู่ คือพันธะมีการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอน
ร่วมกัน 2 คู่ เช่น พันธะใน O2
3) พันธะสาม คือพันธะมีการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอน
ร่วมกัน 3 คู่ เช่น พันธะใน N2
พลังงานพันธะ คือพลังงานที่ใช้ไปเพื่อสลายพันธะระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลซึ่งอยู่ในสถานะแก๊สให้แยกออกจากกัน
เป็นอะตอมในสถานะแก๊ส โดยทั่วไปแล้ว พันธะสามจะมีพลังงานพันธะมากที่สุด ทั้งนี้เพราะมีการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วม
พันธะกันถึง 3 คู่ ส่วนพันธะเดี่ยวจะมีพลังงานพันธะน้อยที่สุ ด เมื่อเรียงลาดับพลังงานพันธะจากมากไปหาน้อยจึงได้ว่า
พลังงานพันธะของ
พันธะสาม > พันธะคู่ > พันธะเดี่ยว
ความยาวพันธะ คือระยะห่างระหว่างนิวเคลียสของอะตอมสองอะตอมที่เข้าร่วมพันธะกันในโมเลกุล โดยทั่วไปแล้วพันธะ
สามจะมีความยาวพันธะสามจะมีความยาวพันธะน้อยที่สุด เพราะมีการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกันถึง 3 คู่ จึงทาให้มีแรง
ดึงดูดนิวเคลียสมากทาให้นิวเคลียสขยับเข้าใกล้กันทาให้ความยาวพันธะน้อยนั่นเอง ส่วนพันธะเดี่ยวจะมีความยาวพันธะ
มากที่สุด เมื่อเรียงลาดับความยาวพันธะจากมากไปหาน้อยจึงได้ว่าความยาวพันธะของ
พันธะสาม < พันธะคู่ < พันธะเดี่ยว
7. ความยาวพันธะใดต่อไปนี้ ยาวที่สุด

1. C – H 2. C – C 3. C = C 4. C≡C
8. จงเรียงพลังงานของพันธะต่อไปนี้ จากพลังงานต่าสุดไปหาพลังงานสูงสุด
ก. H – F ข. H – Cl ค. H – Br
1. ก , ค , ข 2. ค , ก , ข 3. ค , ข , ก 4. ข , ก , ค

2.1.3 การเขียนสูตร และการเรียกชื่อของสารโคเวเลนต์


2.1.3.1 การเขียนสูตรสารโคเวเลนต์ สูตรของสารโคเวเลนต์สามารถที่สาคัญได้แก่สูตรโมเลกุล สูตร
โครงสร้างแบบเส้น และ สูตรโครงสร้างลิวอิส (สูตรแบบจุด)
39

ก) การเขียนสูตรโมเลกุลของสารโคเวเลนต์
ขั้นที่ 1 ต้องเรียงลาดับธาตุที่เข้ามารวมตัวกันตามลาดับ ตามหลักสากลดังนี้ B Bi C Sb As P N H Te Se S At I Br Cl O
F ตามลาดับ
ขั้นที่ 2 หาจานวนอิเล็กตรอนที่แต่ละธาตุต้องการแล้วนาจานวนอิเล็กตรอนนั้นไขว้สลับไปเขียนห้อยไว้หลังแต่ธาตุแต่ละตัว
ตัวอย่าง จงเขียนสูตรโมเลกุลของสารโคเวเลนต์ที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุออกซิเจน ( O ) กั บไฮโดรเจน ( H )
แนวคิด ขั้นที่ 1 ต้องเขียนธาตุ H ก่อน O ตามหลักสากล
ขั้นที่ 2 หาจานวนอิเล็กตรอนที่แต่ละธาตุต้องการ แล้วไขว้สลับห้อยไว้หลังธาตุแต่ละตัว H รับ
อิเล็กตรอน 1 ตัว ส่วน O อยู่หมู่ 6A รับอิเล็กตรอน 2 ตัว

9. เมื่อธาตุ C รวมตัวกับ Cl และ N รวมตัวกับ O และ C รวมตัวกับ O จะได้สารโคเวเลนต์ที่มีสูตรดังข้อใดตามลาดับ


1. CCl4 , N2O , CO2 2. CCl2 , NO2 , CO
3. CCl4 , N2O3 , CO2 4. CCl2 , N2O5 , CO
10. ธาตุ X อยู่หมู่ 4 เมื่อรวมตัวกับธาตุ Y อยู่หมู่ 6 สูตรของสารประกอบที่ได้คือข้อใด
1. XY 2. XY2 3. X2Y 4. X2Y3
11. ธาตุ P และ Q จัดอิเล็กตรอนเป็น P = 2 , 8 , 18 , 5 ; Q = 2 , 8 , 18 , 32 , 18 , 6 สารประกอบระหว่าง P และ Q
ควรมีสูตรดังข้อใด
1. PQ2 2. P2Q 3. P2Q3 4. P3Q2

ข) การเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นจากสูตรโมเลกุล
เมื่อเราเขียนสูตรโมเลกุลของสารโคเวเลนต์ได้แล้ว เราสามารถเปลี่ยนให้เป็นสูตรโครงสร้างแบบเส้นได้ โดยทาตามขั้นตอน
ดังนี้
40

ขั้นที่ 1 หาอะตอมกลาง คืออะตอมที่มีอะตอมเดียว และต้องการเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากที่สุดหรือมีแขนมากที่สุด


โดยจานวนแขนของอะตอมต่างๆ ที่ควรรู้ได้แก่ H และธาตุหมู่ 7A ( F , Cl , Br , I ) มี 1 แขน ( เพราะต้องการ e 1 ตัว ) O
, S ( หมู่ 6A ) มี 2 แขน ( เพราะต้องการ e 2 ตัว ) N ( หมู่ 5A ) มี 3 แขน ( เพราะต้องการ e 3 ตัว ) C , Si ( หมู่ 4A ) มี
4 แขน ( เพราะต้องการ e 4 ตัว )
ขั้นที่ 2 วางตาแหน่งอะตอมกลาง แล้วเอาอะตอมอื่นล้อมรอบ
ขั้นที่ 3 ใส่แขนของแต่ละอะตอม โดยนาแขนของอะตอมที่ติดกันมาเชื่อมต่อเป็นเส้นเดียวกัน
ตัวอย่าง จงเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นของ CH4
แนวคิด ขั้นที่ 1 หาอะตอมกลาง ข้อนี้คือ C เพราะ C มีอะตอมเดียวและมีแขนมากที่สุดคือ 4 แขน
ขั้นที่ 2 นาอะตอม C วางไว้ตรงกลาง แล้ววาง H 4 อะตอม ล้อมรอบ C

ขั้นที่ 3 เขียนแขนของ แต่ละอะตอม โดย C มี 4 แขน และ H มี 1 แขน และ C กับ H ที่อยู่ติดกันให้นา
แขนมาต่อกันดังรูป

ตัวอย่าง จงเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นของ CO2


แนวคิด ขั้นที่ 1 หาอะตอมกลาง ข้อนี้คือ C เพราะ C มีอะตอมเดียวและมีแขนมากที่สุดคือ 4 แขน
ขั้นที่ 2 นาอะตอม C วางไว้ตรงกลาง แล้ววาง O 2 อะตอม ล้อมรอบ C

ขั้นที่ 3 เขียนแขนของ แต่ละอะตอม โดย C มี 4 แขน และ O แต่ละอะตอม มี 2 แขน และ C กับ O ที่
อยู่ติดกันให้นาแขนมาต่อกันดังรูป
41

ฝึกทา จงเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นของสารโคเวเลนต์ต่อไปนี้
SiH4
CHCl3
NH3
H 2O
HClO
COCl2
CS2

ค) การเขียนสูตรโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลโคเวเลนต์ ( สูตรแบบจุด )
เมื่อเราเขียนสูตรโครงสร้างแบบเส้นได้แล้ว เราสามารถเปลี่ยนให้เป็นสูตรโครงสร้างลิวอิส (แบบจุด) ได้ โดยทาตามขั้นตอน
ดังนี้
ขั้นที่ 1 เปลี่ยนเส้นพันธะ 1 เส้น เป็นจุด 2 จุด
ขั้นที่ 2 หากอะตอมกลางยังเหลืออิเล็กตรอนซึ่งไม่ได้ใช้สร้างพันธะ อาจเขียนด้วยก็ได้
ตัวอย่าง จงเขียนสูตรโครงสร้างลิวอิสของ
แนวคิด ขั้นที่ 1 เปลี่ยนเส้นพันธะ 1 เส้นเป็น 2 จุด
ขั้ น ที่ 2 เนื่ อ งจาก N มี เ วเลนซ์ อิ เ ล็ ก ตรอน 5 ตั ว ใช้ ส ร้ า งพั น ธะกั บ H ไป 3 ตั ว ดั ง นั้ น N จึ ง เหลื อ
อิเล็กตรอนที่ไม่ได้ใช้สร้างพันธะอีก 2 ตัวดังรูป

หมายเหตุ ; เวเลนซ์อิเล็กตรอนที่ใช้สร้างพันธะโคเวเลนต์เรียกอิเล็กตรอนคู่รวมพันธะ ในตัวอย่างนี้อิเล็กตรอนคู่


รวมพันธะระหว่าง N กับ H มี 3 คู่ ส่วนเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่ไม่ได้ใช้สร้างพันธะเรียกอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ในตัวอย่างนี้
อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวมี 1 คู่ อยู่ที่ N
42

ฝึกทา จงเขียนสูตรโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลโคเวเลนต์ต่อไปนี้

2.1.3.2 การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ให้ใช้หลักการดังนี้


1) ให้อ่านชื่อธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อนแล้วตามด้วยชื่อของอีกธาตุหนึ่งโดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็นไอด์ (ide)
2) ให้บอกจานวนอะตอมของธาตุแต่ละธาตุด้วยจานวนในภาษากรีก ได้แก่
หนึ่ง = โมโน (mono) หก = เฮกซะ (hexa)
สอง = ได (di) เจ็ด = เฮปตะ (hepta)
สาม = ไตร (tri) แปด = ออกตะ (octa)
สี่ = เตตระ (tetra) เก้า = โนนะ (nona)
ห้า = เพนตะ (penta) สิบ = เดคะ (deca)
3) ในกรณีของธาตุที่นาหน้า หากมีจานวนอะตอมเพียงหนึ่งอะตอมไม่ต้องบอกจานวนอะตอมธาตุนั้น แต่สาหรับ
ธาตุที่ตามหลังแม้ว่าจะมีเพียงหนึ่งอะตอมจะต้องบอกด้วย
43

ตัวอย่างการอ่านชื่อสารประกอบโคเวเลนต์

2.1.4 กฏออกเตต
กฎออกเตต กล่ าวว่า “ อะตอมของธาตุต่างๆ ที่เข้าทาปฏิกิริยากัน จะมีการเปลี่ ยนแปลงจานวนอิเล็ กตรอน
เพื่อที่จะให้มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบเดียวกับแก๊สเฉื่อย คือมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน ครบ 8 ( ยกเว้น H ครบ 2 ) ”
อย่างไรก็ตามโมเลกุลบางอย่างเวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมกลางอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า 8 ก็ได้ ซึ่งได้แก่
1. ธาตุที่มีวาเลนส์อิเล็กตรอนน้อยกว่า 4 คือ Be และ B เมื่อเกิดพันธะอาจจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนน้อยกว่า 8

2. ธาตุที่มีว าเลนซ์อิเล็กตรอนมากกว่า 4 และอยู่ในคาบที่ 3 ขึ้นไปในตารางธาตุ เมื่อเกิดพันธะอาจมีวาเลนซ์


อิเล็กตรอนมากกว่า 8
44

ควรทราบเพิ่มเติม
1. สารประกอบไฮโดรคาร์ บ อน (สารประกอบของ C กับ ) และโมเลกุล กรดออกซี อะตอมกลางจะมีจานวน
อิเล็กตรอนเป็นไปตามกฏออกเตตเสมอ
2. อะตอม Be , B , P , S , ธาตุหมู่ 8A เมื่อเป็นอะตอมกลางมักไม่เป็นไปตามกฏออกเตต เช่น BeCl2 , BF3 , PCl5
SF6 , XeF4 เป็นต้น
14. สารประกอบในข้อใดที่มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนเป็นไปตามกฏออกเตตทั้งหมด
1. H2 , BF3 , CS2 2. N2 , Br2 , PCl5
3. PBr3 , CH2O , OF2 4. H2O , O2 , BeH2

2.1.5 พลังงานพันธะ
ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีหนึ่งๆ นั้น ปกติแล้วจะต้องมีการสลายพันธะของสารตั้งต้นแล้วจึงมีการสร้างพันธะของผลิตภัณฑ์
การสลายพันธะจะเป็นกระบวนการที่มีการดูดพลังงานเข้าไปเพื่อใช้ทาลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคให้แตกออกจากกัน
ส่วนการสร้างพันธะจะเป็นกระบวนการที่มีการคายพลังงานออกมา สาหรับพลังงานรวมของปฏิกิริยาอาจเป็นแบบดูด
พลังงานเข้าหรือคายพลังงานออกก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าพลังงานที่ดูดหรือคาย อย่างไหนจะมากกว่ากัน เราสามารถหาพลังงาน
รวมของปฏิกิริยาได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง กาหนดพลังงานพันธะดังนี้
H–H = 436 kJ/mol I–I = 151 kJ/mol H–I = 298 kJ/mol
จงหาว่าการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ ดูดหรือคายพลังงานเท่าใด

H2(g) + I2(g) → 2HI (g)


45

แนวคิด

พลังงานรวมของปฏิกิริยา ( ∆H ) มีค่าเป็นลบแสดงว่าเป็นการคายพลังงาน นั่นคือปฏิกิริยานี้จะมีการคายพลังงาน 9 กิโลจูล


(คือการสลาย H2 1 โมล I2 1 โมล แล้วสร้าง HI 2 โมล รวมแล้วคายพลังงาน 9 กิโลจูล)

15. กาหนดพลังงานพันธะให้ดังนี้
H – H = 436 kJ / mol F – F = 159 kJ/mol H – Fl = 567 kJ / mol
จงหาว่าการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ ดูดหรือคายพลังงานเท่าใด

H2(g) + F2(g) → 2 HF (g)


1. ดูดพลังงานเท่ากับ 539 kJ 2. คายพลังงานเท่ากับ 539 kJ
3. ดูดพลังงานเท่ากับ 629 kJ 4. คายพลังงานเท่ากับ 629 kJ
16. กาหนด พลังงานพันธะดังนี้

H–H = 436 kJ/mol N≡N = 945 kJ/mol N–H = 391 kJ/mol


จงหาว่าการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ดูดหรือคายพลังงานเท่าใด

2NH3 → N2 + 3H2 ในสภาวะแก๊ส


1. ดูดพลังงาน 93 kJ 2. คายพลังงาน 93 kJ
3. ดูดพลังงาน 186 kJ 4. คายพลังงาน 186 kJ
46

2.1.6 รูปร่างของโมเลกุล
การทานายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์เราอาจใช้แบบจาลองการผลักกันระหว่างคู่อิเล็กตรอนที่อยู่ในวงเวเลนซ์ (
Valence Shell Electron Pair Repulsion model เขียนย่อเป็น VSEPR ) โดยพิจารณาจากจานวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน
ของอะตอมกลาง ซึ่งอิเล็กตรอนเหล่านี้จะอยู่ห่างกันให้มากที่สุดเพื่อลดแรงผลักกันระหว่างคู่อิเล็กตรอน รูปร่างของโมเลกุล
อาจแบ่งพิจารณาได้ดังนี้
47

22. โมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยมแบนราบ (Trigonal plane) คือ


1. BeF2 2. PH3 3. BCl3 4. CH4
23. สารในข้อใดมีรูปร่างโมเลกุลเป็นรูปทรงสี่หน้า
1. BF3 2. SO3 3. NO-3 4. POCl3
24. โมเลกุลโคเวเลนต์ของสารในข้อใดต่อไปนี้มีรูปร่างเป็นรูปพีระมิดฐานสามเหลี่ยม
1. BrF-4 2. ICl-4 3. XeF4 4. ClO-3
25. สารคู่ใดมีรูปร่างเป็นรูปมุมงอ
1. ICl-2 2. H2S 3. CO2 4. BeCl2
26. สารคู่ใดมีรูปร่างเป็นรูปเส้นตรง
1. ICl-2 2. XeF4 3. CCl4 4. H2O

2.1.7 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์มี 2 ประเภท ได้แก่ 1. แรงแวนเดอร์วาลส์ 2. พันธะไฮโดรเจน
1. แรงแวนเดอร์วาลส์ แรงแวนเดอร์วาลส์มี 3 ประเภทย่อย ได้แก่
1.1 แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีขั้ว เมื่อโมเลกุลมีขั้วหลายๆ โมเลกุลมาอยู่รวมกัน แต่ละโมเลกุลจะมีการ
จัดเรียงตัวโดยโมเลกุลหนึ่งจะหันขั้วบวกของตัวเองเข้าหาขั้วลบของโมเลกุลอื่น ทั้งนี้เพราะขั้ว ไฟฟ้าต่างกันจะมีแรงดึงดูดซึ่ง
48

กันและกัน แรงดึงดูดระหว่างขั้วไฟฟ้าตรงนี้จะกลายเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลที่มีขั้ว เรียกแรงนี้อีกอย่างว่า แรงได


โพล-ไดโพล

1.2 แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีขั้วกับโมเลกุลไม่มีขั้ว เมื่อโมเลกุลที่มีขั้วมารวมตัวอยู่กับโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว


โมเลกุลมีขั้วจะเหนี่ยวนาให้โมเลกุลไม่มีขั้วกลับกลายเป็นมามีขั้วน้อยๆ ทาให้เกิดแรงดึงดูดได้ แรงดึงดูดตรงนี้จะกลายเป็น
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลอีกแบบหนึ่ง เรียกชื่อแรงนี้อีกอย่างว่า แรงไดโพล-นอนไดโพล ตัวอย่างเช่น แรงดึงดูดระหว่าง
โมเลกุล O2 กับ H2O ซึ่งจะเป็นแรงที่ทาให้ O2 ละลายลงไปในน้าได้
1.3 แรงดึ งดู ด ระหว่า งโมเลกุลไม่มีขั้ว ปกติแล้ ว อิเล็ กตรอนคู่ ร่วมพันธะในโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว จะมีการ
สั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา และบางครั้งอิเล็กตรอนนั้นอาจโน้มเอียงเข้าใกล้อะตอมหนึ่งอะตอมใด ทาให้โมเลกุลนั้นกลายเป็น
มีขั้วชั่วคราว จากนั้นโมเลกุลดังกล่าวจะเหนี่ยวนาทาให้โมเลกุลใกล้เคียงมีขั้วชั่วคราวตามกันไป และก่อให้เกิดแรงดึงดูด
ระหว่างโมเลกุล เรียกแรงนี้อีกอย่างว่า แรงลอนดอน
2. พันธะไฮโดรเจน พันธะไฮโดรเจนเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลซึ่งเกิดกับโมเลกุลที่มีพันธะโคเวเลนต์ของ
อะตอม H–O หรือ H–F หรือ H–N อยู่ภายในโมเลกุล ทั้งนี้เพราะอะตอม H กับ O หรือ F หรือ N มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี
แตกต่างกันมากจึงทาให้มีความเป็นขั้วอย่างแรง เมื่อโมเลกุลที่มีพันธะเหล่านี้อยู่ภายในมาอยู่รวมกัน จะมีการหันขั้วบวกของ
โมเลกุลหนึ่งไปหาขั้วลบของอีกโมเลกุลหนึ่งแล้วเกิดเป็นแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลอย่างแรงกว่าแรงแวนเดอร์วาลส์ เรียกแรง
ดึงดูดระหว่างโมเลกุลเช่นนี้ว่า พันธะไฮโดรเจน
*โปรดระวังว่าแรงดึงดูดระหว่างอะตอม H กับ O หรือ F หรือ N ในโมเลกุลจะเป็นพันธะโคเวเลนต์ ไม่ใช่พันธะไฮโดรเจน
แต่แรงดึงดูดระหว่าง H กับโมเลกุลอื่นภายนอกโมเลกุลถึงจะเรียกเป็นพันธะไฮโดรเจน
49

ตัวอย่างสารที่เกิดพันธะไฮโดรเจนได้ เช่น HF , H2O , NH3 , CH3OH , HCOOC สารที่มีพันธะไฮโดรเจนจะมีจุดหลอมเหลว


และจุดเดือดสูงกว่าสารอื่นๆ ที่มวลโมเลกุลเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมาก
37. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของสารใดเป็นชนิดแรงลอนดอน
1. H2O 2. HCN 3. N2 4. NaCl
38. สารประกอบต่อไปนี้ ข้อใดที่โมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวอย่างเดียวกัน
1. H2S , NO และ CHCl3 2. O2 , N2 และ CHCl3
3. CH4 , HF และ NH3 4. Ne , CCl4 และ H2S
39. สารใดไม่มีพันธะไฮโดรเจน
1. H2S 2. NH3 3. CH3COOH 4. CH3OH

2.1.8 สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์
1. มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดต่า เพราะการหลอมเหลวและการเดือดทาลายเฉพาะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่าน้อย
2. ไม่นาไฟฟ้าทั้งในสถานะของแข็ง ของเหลวและแก๊สหรือเมื่อละลายน้าอยู่ในสภาพสารละลายส่วนใหญ่ก็ไม่นา
ไฟฟ้า เพราะการละลายน้าของสารโคเวเลนต์ไม่แตกตัวออกเป็นไอออน ยกเว้นสารโคเวเลนต์ที่โมเลกุลมีสภาพขั้วแรงมาก
เช่น HCl HBr Hi HNO3 HClO4 H2SO4 เมื่อละลายน้า นาไฟฟ้าได้
3. โมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีขั้วจะละลายในโมเลกุลโคเวเลนต์ที่มีขั้ว เช่น CH3OH ละลายน้า ได้ ส่วนโมเลกุลโคเวเลนต์
ที่ไม่มีขั้วก็จะละลายในโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ไม่มีขั้วเหมือนกัน เช่น กามะถันละลายได้ใน CS2 เป็นต้น
50

43. โมเลกุลโคเวเลนต์มักมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่า แสดงว่า


1. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมมีค่าน้อย
2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่าน้อย
3. พลังงานพันธะของโคเวเลนต์มีค่าต่า
4. แรงแวนเดอร์วาลส์มีค่ามากแต่แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมมีค่าน้อย
44. สารประกอบที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่า ไม่นาไฟฟ้าขณะหลอมเหลวเกิดจากการรวมตัว ระหว่างธาตุใด
1. ธาตุ X เลขอะตอม = 19 กับธาตุ Y เลขอะตอม = 35
2. ธาตุ A เลขอะตอม = 12 กับธาตุ B เลขอะตอม = 9
3. ธาตุ C เลขอะตอม = 7 กับธาตุ D เลขอะตอม = 17
4. ธาตุ E เลขอะตอม = 20 กับธาตุ F เลขอะตอม = 8

2.2 พันธะไอออนิก
พันธะไอออนิก คือพันธะที่เกิดจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนบวกและไอออนลบที่เข้ามารวมตัวกัน
2.2.1 การเกิดพันธะไอออนิก พันธะไออนิกเกิดจากการรวมตัวของธาตุโลหะ (ยกเว้น Be , Sn ) กับอโลหะซึ่งมีค่า
EN แตกต่างกันมากกว่า 1.7 โดยโลหะจะเป็นตัวจ่ายอิเล็กตรอนแล้วกลายเป็นไอออนบวก อโลหะจะเป็นตัวรับอิเล็กตรอน
แล้วกลายเป็นไอออนลบ แล้วไอออนบวกและไอออนลบจะจะมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกันเกิดเป็นพันธะไอออนิก
ตัวอย่าง การเกิดพันธะของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ ( NaCl )
เมื่อโซเดียม (Na) ซึ่งเป็นโลหะหมู่ 1A ทาปฏิกิริยากับคลอรีน (Cl) ซึ่งเป็นอโลหะหมู่ 7A โซเดียม (Na) จะจ่ายอิเล็กตรอน
ออกไป 1 ตัวแล้วกลายเป็นโซเดียมไอออน (Na+) ส่วนคลอรีน (Cl) จะรับอิเล็กตรอนเข้า 1 ตัวแล้วกลายเป็นคลอรีนไอออน
(Cl–) จากนั้น Na+ กับ Cl– ไอออนซึ่งมีประจุต่างกันจะมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกันทาให้เข้ามารวมตัวกันกลายเป็นสารประกอบ
NaCl แรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกและลบเช่นนี้เรียกพันธะไอออนิก สารประกอบที่ได้จะเรียกเป็นสารประกอบไอออนิก
51

46. เหตุใดพันธะระหว่างโซเดียมกับคลอรีน จึงเรียกพันธะไอออนิก


1. เพราะประกอบไปด้วยไอออนบวกและลบ
2. เพราะเกิดจากแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกและลบ
3. เพราะมีประจุไฟฟ้าบวกและลบอยู่ภายใน
4. ไม่มีข้อใดถูก
47. ข้อใดที่มีสารบางตัว ไม่ใช่สารประกอบไอออนิก
1. NaBr , Li2S 2. SrCl2 , SiC 3. CaO , Na2S 4. MgCl2 , KBr

2.2.2 โครงสร้างสารประกอบไอออนิก

 โครงสร้างแบบโซเดียมคลอไรด์ ( NaCl )
ในสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ Na+ ไอออน
จะถูกล้อมรอบโดย Cl– ไอออน ถึง 6 ไอออน ใน
ลักษณะ 3 มิติ และ Cl– ไอออน ก็จะถูกล้อมรอบ
โดย Na+ ไอออน 6 ไอออนเช่นกัน การล้อมของ
ไอออนจะเรียงสลับกันไปอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นผลึกอันแข็งแรง

48. พิจารณาโครงสร้างภายในผลึกของโซเดียมคลอไรด์ กรณีเมื่อมี Na+ เป็นศูนย์กลาง ของผลึกจะมี Cl– ล้อมอยู่กี่ ไอออน


(กรณีที่มีระยะห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากัน) และมี Cl– ที่อยู่ ใกล้ Na+ ศูนย์กลางที่สุดอยู่กี่ไอออน
1. 4 และ 4 2. 6 และ 6 3. 8 และ 12 4. 12 และ 6
52

49. เหตุใดสารประกอบไอออนิกจึงถือว่าเป็นสารที่ไม่มีสูตรโมเลกุล
1. เพราะอัตราส่วนของอะตอมที่มารวมตัวกันมีค่าไม่แน่นอน
2. เพราะสารประกอบไอออนิกมีโครงสร้างเป็นผลึกตาข่าย
3. เพราะระหว่างไอออนบวกและลบไม่มีการสร้างพันธะเคมี
4. เพราะจานวนชนิดอะตอมที่เข้ามารวมตัวกันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

2.2.3 การเขียนสูตร และการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก


2.2.3.1 การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก วิธีการเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิก ให้ศึกษาจาก
ตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุโซเดียม (Na) กับธาตุ ซัลเฟอร์ (S)
แนวคิด ขั้นที่ 1 ต้องเขียนธาตุโลหะก่อนอโลหะเสมอ
ขั้นที่ 2 หาจานวนอิเล็กตรอนที่แต่ละธาตุจะรับและจ่าย แล้วไขว้สลับห้อยไว้หลังธาตุแต่ละตัว
Na จะจ่ายอิเล็กตรอน 1 ตัว ส่วน S จะรับอิเล็กตรอน 2 ตัว

ตัวอย่าง จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุแคลเซียม (Ca) กับธาตุ คลอรีน (Cl)


แนวคิด ขั้นที่ 1 ต้องเขียนธาตุโลหะก่อนอโลหะเสมอ
ขั้นที่ 2 หาจานวนอิเล็กตรอนที่แต่ละธาตุจะรับและจ่าย แล้วไขว้สลับห้อยไว้หลังธาตุแต่ละตัว
Ca จะจ่ายอิเล็กตรอน 2 ตัว ส่วน Cl จะรับอิเล็กตรอน 1 ตัว
53

เพิ่มเติม กลุ่มอะตอมต่อไปนี้ทาหน้าที่รับจ่ายอิเล็กตรอนแล้วกลายเป็นไอออนได้ดังนี้

ตัวอย่าง จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากการรวมตัวของ Ca กับ OH


แนวคิด ขั้นที่ 1 ต้องเขียนธาตุโลหะก่อนอโลหะเสมอ
ขั้นที่ 2 หาจานวนอิเล็กตรอนที่แต่ละธาตุจะรับและจ่าย แล้วไขว้สลับห้อยไว้หลังธาตุแต่ละตัว
Ca จะจ่ายอิเล็กตรอน 2 ตัว ส่วน OH จะรับอิเล็กตรอน 1 ตัว

ตัวอย่าง จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากการรวมตัวของ Na กับ PO4


แนวคิด ขั้นที่ 1 ต้องเขียนธาตุโลหะก่อนอโลหะเสมอ
54

ขั้นที่ 2 หาจานวนอิเล็กตรอนที่แต่ละธาตุจะรับและจ่าย แล้วไขว้สลับห้อยไว้หลังธาตุแต่ละตัว


Na จะจ่ายอิเล็กตรอน 1 ตัว ส่วน PO4 จะรับอิเล็กตรอน 3 ตัว

50. สูตรที่ถูกต้องของสารประกอบที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุแบเรียมกับออกซิเจน และอะลูมิเนียมกับออกซิเจน คือข้อ


ใดต่อนี้
1. BaO , AlO 2. BaO , Al2O3 3. Ba2O , AlO 4. Ba2O , Al2O3
51. สูตรที่ถูกต้องของสารประกอบ ที่เกิดจากอะลูมิเนียมรวมตัวกับหมู่ซัลเฟตและโพแทสเซียม รวมตัวกับหมู่เปอร์คลอเรต
ได้แก่
1. Al(SO4)3 , KClO4 2. Al2(SO4)3 , KClO4
3. Al(SO4)2 , KClO4 4. Al2(SO4)3 , KClO3

52. ธาตุ 40 35
20 A สามารถเกิดสารประกอบธาตุ 17 B สารประกอบที่เกิดขึ้นควรมีสูตรเคมีเป็นดังข้อใด
1. AB 2. AB2 3. A2B 4. A3B2
53. กาหนดธาตุ 3X 7Y และ 17Z สูตรของสารประกอบธาตุคู่ที่เกิดจากธาตุทั้งสาม ข้อใดเป็นไปได้
1. X3Y , YZ3 , XZ 2. X3Y , YZ3 , XZ2
3. XY3 , YZ3 , XZ 4. X3Y , YZ5 , X2Z

2.2.3.2 การเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
1) กรณีที่โลหะมีประจุบวกได้ค่าเดียว ( เช่น โลหะหมู่ 1A , 2A และ 3A ) ให้อ่านชื่อโลหะ หรือ ไอออนบวกก่อน แล้วตาม
ด้วยชื่ออโลหะหรือไอออนลบ โดยเปลี่ยนพยางค์ท้ายเป็นไอด์ (ide) ยกเว้นถ้าธาตุต่อไปนี้อยู่ที่ท้ายให้อ่านดังนี้
ไฮโดรเจน ให้อ่านเป็น ไฮไดรด์ (ไม่ใช่ ไฮโดรไจด์)
ไนโตรเจน ให้อ่านเป็น ไนไตรด์ (ไม่ใช่ ไนโตรไจด์)
ออกซิเจน ให้อ่านเป็น ออกไซด์ (ไม่ใช่ ออกซิไจด์)
55

ฟอสฟอรัส ให้อ่านเป็น ฟอสไฟด์ (ไม่ใช่ ฟอสฟอไรด์) เป็นต้น


ในกรณีที่สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนเชิงซ้อนให้อ่านชื่อไอออนเชิงซ้อนนั้น ตรงๆ ดังตัวอย่าง

2) กรณีที่โลหะมีประจุบวกได้หลายค่า ให้อ่านชื่อโดยถือหลักการณ์เดียวกับข้อที่ 1 แต่ต้องระบุค่าประจุบวกของโลหะเป็น


ตัวเลขโรมันในวงเล็บไว้ท้ายชื่อโลหะนั้นด้วย เช่น

สาหรับสารประกอบไอออนิกที่มีผลึกของน้าอยู่ด้วย ให้เรียกน้าผลึกว่า ไฮเดรต และจานวนน้าผลึกให้บอกด้วยจานวนนับใน


ภาษากรีก เช่น CuSO4 . 5H2O เรียกว่า คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต เพนตะไฮเดรต
Na2CO3 . 10H2O เรียกว่า โซเดียมคาร์บอเนต เดคะไฮเดรต
56

2.2.4 พลังงานกับการเกิดพันธะไอออนิก พิจารณาตัวอย่างการเกิด โซเดียมคลอไรด์ ( NaCl ) 1 โมล ขั้นตอนการ


เกิดเป็นดังนี้
ขั้น 1 โซเดียม ( Na ) ของแข็ง เกิดการระเหิดกลายเป็นไอ

Na (s) → Na (g) ∆Hs = S = +109 kJ


ขั้ น ตอนนี้ จ ะมี ก ารดู ด พลั ง งาน +109 กิ โ ลจู ล ( พลั ง งานที่ ดู ด จะใช้ ค่ า เป็ น + ) พลั ง งานที่ ดู ด นี้ เ รี ย ก
พลังงานการระเหิด ( Heat of sublimation , ∆Hs , S )
ขัน้ 2 โซเดียมแก๊สจะจ่ายเวเลนซ์อิเล็กตรอนออกมา 1 ตัว

Na (g) → Na+ (g) + e- IE = I = +502 kJ


ขั้นตอนนี้จะมีการดูดพลังงาน +502 กิโลจูลพลังงานที่ดูดนี้เรียก พลังงานไอออไนเซชั่น (Ionization
energy , IE , I )
ขัน้ 3 สลายพันธะโมเลกุลคลอรีน ( Cl2 ) ให้แตกเป็นอะตอมย่อย

Cl2 (g) → 2Cl (g) ∆Hdis = D = +242 kJ


ขั้นตอนนี้จะมีการดูดพลังงาน +242 กิโลจูลพลังงานที่ดูดนี้เรียก พลังงานสลายพันธะ หรือ พลังงานการ
แตกตัว ( Dissociation energy , ∆Hdis , D ) จริงๆ แล้วเราต้องการคลอรีนเพียง 1 อะตอมเท่านั้น จึงต้องเอา 1/2 คูณ
ตลอด

1/2Cl2 (g) → Cl (g) 1/2∆Hdis = 1/2D = +121 kJ


ขัน้ 4 อะตอมคลอรีนรับ e- เข้ามา

Cl (g) + e– → Cl– (g) EA = –349 kJ


ขั้นตอนนี้ จะมีการคายพลั งงาน –349 กิโลจูล ( พลั งงานที่คายจะใช้ค่าเป็นลบ ) พลั งงานที่คายนี้เรียก
สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน หรือ พลังงานอิเล็กตรอนอัฟฟินิตี้ (Electron affinity , EA )
ขั้น5 Na+ กับ Cl– เข้ามารวมตัวกัน

Na+(g) + Cl–g) → NaCl (s) U = Ec = –787 kJ


57

ขั้นตอนนี้จะมีการคายพลังงาน –787 กิโลจูล พลังงานที่คายนี้เรียก พลังงานโครงผลึก ( Lattic energy ,


Ec , U )

เมื่อนาขั้นที่ 1+2+3+4+5 จะได้ Na (s) + 1/2Cl2 (g) → NaCl (s)


พลังงานรวม = ∆H = S + IE + D + EA + U = 109 + 502 + 121 + (–349) + (–787) = –404 kJ
แสดงว่า ปฏิกริยารวมจะมีการคายพลังงานออกมา 404 กิโลจูล ต่อการเกิด NaCl 1 โมล
(หากพลังงานรวม, ∆H มีค่าเป็นลบ แสดงว่า เป็นการคายพลังงาน)
(หากพลังงานรวม, ∆H มีค่าเป็นบวก แสดงว่า เป็นการดูดพลังงาน)
ฝึกทา . การเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ ในแต่ละขั้นตอนต่อไปนี้จะดูดหรือคายพลังงาน และพลังงานนั้นเรียกว่า
พลังงานอะไร พร้อมทั้งหาพลังงานรวมของการเกิด NaCl 1 โมล

2.2.5 สมบัติของสารประกอบไอออนิก
2.2.5.1 สมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก
 สารประกอบไอออนิกทุกชนิดจะมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง และเปราะ
 พันธะไอออนิ กเป็ นพันธะที่มีความแข็งแรงมาก สารประกอบไอออนิกจึงมีจุดเดือดและ จุดหลอมเหลวสู ง เช่น
จุดหลอมเหลวของ NaCl คือ 801 oC และจุดเดือดจะขึ้นกับความแต่ต่างของ ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี ( EN ) ของ
อะตอมคู่ร่วมพันธะด้วย เช่น
เมื่อเรียงลาดับค่าค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะพบว่า Cl > Br > I
58

ดังนั้นค่า EN ที่แตกต่างของอะตอมคู่ร่วมพันธะ NaCl > NaBr > NaI


เมื่อเรียงลาดับจุดเดือดจึงได้ว่า NaCl > NaBr > NaI
 ในสถานะของแข็งจะไม่นาไฟฟ้า แต่ในสถานะของเหลวหรือสารละลาย จะนาไฟฟ้าได้ เพราะในสถานะทั้ง 2 นี้
ไอออนบวกและลบสามารถเคลื่อนที่ได้
58. ข้อพิสูจน์ใดที่แสดงว่าโซเดียมคลอไรด์เป็นสารประกอบไอออนิก
1. ในโมเลกุลของโซเดียมคลอไรด์มีพันะที่แข็งแรง
2. เมื่อโซเดียมคลอไรด์ละลายน้าแล้วดูดความร้อน
3. โซเดียมคลอไรด์เมื่อหลอมเหลวนาไฟฟ้าได้
4. เมื่อนาโซเดียมคลอไรด์ละลายน้า สารละลายที่ได้มีจุดเยือกแข็งลดลง
2.2.5.2 การละลายน้าของสารประกอบไอออนิก
 สารประกอบไอออนิกที่ ละลายน้าได้ดี ตัวสาคัญได้แก่
สารประกอบของ โลหะหมู่ 1A NH4+, NO3- ,ClO4- , ClO3- และ CH3COO– ( ยกเว้น CH3COOAg , KCLO4 )
SO42- (ยกเว้นซัลเฟตของ Pb2+, Ca2+, Sr2+, Ba2+, Ra2+, Ag+)
Cl–, Br–, I– (ยกเว้นเมื่อรวมตัวกับ Ag+, Pb2+, Hg22+, Cu2+)
 สารประกอบไอออนิกที่ไม่ละลายน้า ตัวสาคัญได้แก่
สารประกอบฟลูออไรด์ , คลอไรด์ , โบร์ไมด์ , ไอโอไดด์ของ Ag+ , Cu2+, Hg2+, Pb2+
สารประกอบซัลไฟด์ , ไฮดรอกไซด์ , ออกไซด์ , คาร์บอเนต
(เว้นประกอบกับโลหะหมู่ 1 , NH4+ , Ca2+ , Sr2+ , Ba2+ )
59

59. สารประกอบต่อไปนี้ กลุ่มใดละลายน้าได้ทั้งหมด


1. (NH4)2CO3 , K2HPO4 , BaSO4
2. Ba(NO3)2 , CH3COONa , Na2CO3
3. PbI2 , NaH2PO4 , SrCO3
4. K2SO4 , SrSO4 , ZnO
ฝึกทา เมื่อผสมสารละลายต่อไปนี้เข้าด้วยกัน จงหาตะกอนที่เกิดขึ้น
1. KCl + Pb(NO3)2 จะเกิดตะกอนของ .......................................
2. LiS + CuSO4 จะเกิดตะกอนของ.......................................
3. AlCl3 + KOH จะเกิดตะกอนของ.......................................
4. AgNO3 + K2Cr2O7 จะเกิดตะกอนของ.......................................
5. Na2O + Zn(NO3)2 จะเกิดตะกอนของ .......................................

2.3 พันธะโลหะ
อะตอมของโลหะมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่า จึงไม่หวงแหนอิเล็กตรอน ทาให้อิเล็กตรอนมีความเป็นอิสระสูงและจะ
วิ่งไปมาระหว่างอะตอมใกล้เคียงได้ อิเล็กตรอนเหล่านี้จะส่งแรงดึงดูดกับโปรตรอนใกล้เคียงกลายเป็นแรงดูดยึดระหว่าง
อะตอม แรงดูดยึดแบบนี้เรียกว่าพันธะโลหะ ซึ่งมีความแข็งแรงมาก
สมบัติของสารที่มีพันธะโลหะ
1) นาไฟฟ้าได้ดี เพราะมีอิเล็กตรอนอิสระอยู่จึงทาให้นาไฟฟ้าได้
2) นาความร้อนได้ดี อิเล็กตรอนอิสระที่มีสามารถนาความร้อนได้ด้วย
3) โลหะสามารถตีเป็นแผ่นหรือดึงให้หลุดออกจากกันได้ เพราะไอออนบวกสามารถเลื่อนไถลผ่านกันได้โดยไม่หลุดจากกัน
เพราะมีอิเล็กตรอนคอยยึดไอออนบวกเหล่านี้ไว้ด้วยกัน
4) โลหะมีผิวมันเป็นวาว อิเล็กตรอนอิสระสามารถรับ และกระจายแสงมาได้
60

5) โลหะมีจุดเดือด และจุดหลอมเหลวสูง เพราะพันธะโลหะมีความแข็งแรงมาก

66. เหตุผลเกี่ยวกับสมบัติของธาตุในข้อใดผิด
1. โลหะมีความมันวาว เพราะดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไว้ได้มาก
2. โลหะตีแผ่เป็นแผ่นแบนๆ ได้ เพราะระหว่างอนุภาคของอะตอมโลหะยังมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนยึดไว้
3. โลหะนาไฟฟ้าได้เพราะมีอิเล็กตรอนอิสระสามารถเคลื่อนที่ได้
4. อะตอมในโลหะสร้างพันธะโดยใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน

เพิ่มเติม ก. สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์ ไอออนิก สารโครงผลึกตาข่าย และโลหะ


61

ปริมาณสัมพันธ์
มวลอะตอม
จากการทดลองพบว่า He 1 อะตอม มีมวลเป็น 4 เท่าของ (1/12ของมวล C–12 1 อะตอม)
จึงถือกันว่า He มีมวลอะตอม = 4 หรือ 4 a.m.u.
โดย 1 a.m.u. = 1.66 x 10–24 กรัม
มวลของอะตอมที่มีหน่วยเป็น a.m.u. (หรือไม่มีหน่วย) เราจะเรียกว่ามวลอะตอมของธาตุ ส่วนมวลของอะตอมที่มีหน่วย
เป็นกรัมจะเรียกว่า มวลธาตุ 1 อะตอม ซึ่งหาค่าได้จาก มวลธาตุ 1 อะตอม = มวลอะตอมของธาตุ x 1.66 x 10–24
เมื่อ มวลธาตุ 1 อะตอม คือมวลที่มีหน่วยเป็นกรัม
มวลอะตอมของธาตุ คือมวลที่มีหน่วยเป็น a.m.u. หรือไม่มีหน่วย
ตัวอย่าง. ธาตุ Be มีมวลอะตอมเท่ากับ 9 ถามว่า Be 1 อะตอม จะมีมวลกี่กรัม
1. 1.66 x 10–24 2. 1.66 x 10–23 3. 1.49 x 10–24 4. 1.49 x 10–23
ตอบข้อ 4.
วิธีทา โจทย์บอก มวลอะตอมของ Be = 9 a.m.u.
มวล Be 1 อะตอม = ?
จาก มวลธาตุ 1 อะตอม = มวลอะตอมของธาตุ x 1.66 x 10–24
จะได้ มวล Be 1 อะตอม = 9 x 1.66 x 10–24
มวล Be 1 อะตอม = 14.9 x 10–24 กรัม
มวล Be 1 อะตอม = 1.49 x 10–23 กรัม
นั่นคือธาตุ Be 1 อะตอม จะมีมวล 1.49 x 10–23 กรัม
_________________________________________________________________________
62

1.ธาตุ B มีมวลอะตอมเท่ากับ 7 ถามว่า B 1 อะตอม จะมีมวลกี่กรัม


1. 1.66 x 10–24 2. 1.66 x 10–23 3. 1.16 x 10–24 4. 1.16 x 10–23

2. ธาตุไนโตรเจนมีมวลอะตอม 14 ดังนั้นไนโตรเจน 2 อะตอม จะมีมวลกี่กรัม


1. 3.320 x 10–24 2. 3.320 x 10–23 3. 4.648 x 10–24 4. 4.648 x 10–23

3. ธาตุ D 2 อะตอมมีมวล 36.52 x 10–24 กรัม ถามว่าธาตุ D จะมีมวลอะตอมเท่าใด


1. 10 2. 11 3. 20 4. 22

 เนื่องจากธาตุบางชนิดจะมีหลายไอโซโทปทาให้มวลของแต่ละอะตอมมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อจะกล่าวถึงมวล
อะตอมของธาตุเหล่านี้จึงต้องหามวลอะตอมเฉลี่ยมาใช้อ้างอิง
มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุใดๆ สามารถหาค่าได้จากสมการ

มวลอะตอมเฉลี่ย = Σ(%  M)
100
เมื่อ M คือมวลอะตอมของแต่ละไอโซโทป
% คือเปอร์เซ็นต์ของแต่ละไอโซโทปที่มีในธรรมชาติ
63

4. สมมติธาตุ M มี 3 ไอโซโทปคือ

จงหามวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ M
1. 1.25 2. 1.73 3. 1.88 4. 2.01

มวลโมเลกุล
เนื่องจากโมเลกุลเกิดจากการรวมตัวกันของอะตอม ดังนั้นการหามวลโมเลกุลจึงหาได้จากการนาเอามวลอะตอมของอะตอม
ที่เข้ามารวมกันนั้นมาบวกกัน
เช่น NO มีมวลโมเลกุล = มวลอะตอมของ N + มวลอะตอมของ O
= 14 + 16
= 30
หรือ H2O มีมวลโมเลกุล = ( มวลอะตอมของ H x 2 ) + มวลอะตอมของ O
= ( 1 x 2 ) + 16
= 18
ฝึกทา. จงหามวลโมเลกุลของสารต่อไปนี้
1) HCN 2) CO2 3) H2O 4) H2SO4 5) CH3COOH
64

โมล
ปริมาณ 1 โมลของสารใดๆ มีความหมายได้ 3 แบบ ได้แก่
1) หมายถึงปริมาณสารที่มีจานวนอนุภาค 6.02 x 1023 อนุภาค (เลขอาโวกาโดร)
เช่น อะตอม H 1 โมลของอะตอม = 6.02 x 1023 อะตอม
โมเลกุล NO 1 โมลของโมเลกุล = 6.02 x 1023 โมเลกุล
ไอออน Cl– 1 โมลของอิออน = 6.02 x 1023 ไอออน
2) หมายถึงสารใดๆ ซึ่งมีมวลเท่ากับมวลโมเลกุลหรือมวลอะตอมแต่มีหน่วยเป็นกรัม
เช่น H2O 1 โมเลกุล จะมีมวลเท่ากับ 18 ( เรียกมวลโมเลกุล )
ดังนั้น H2O 1 โมล ( 6.02 x 1023 โมเลกุล )
จะมีมวลเท่ากับ 18 กรัม (คือเท่ากับมวลโมเลกุลแต่มีหน่วยเป็นกรัม)
3) หมายถึงแก๊สหรือไอใดๆ ที่มีปริมาตร 22.4 ลูกบาศก์เดซิเมตร (ลิตร) ที่ STP
65

สูตรที่ใช้คานวณเกี่ยวกับโมล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
5. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จานวน 22 กรัม ที่ STP จะมีปริมาตรกี่ลิตร
1. 11.2 2. 22.4 3. 44.8 4. 67.2

6. แก๊สโพรเพน (C3H8) จานวน 88 กรัม ที่ STP จะมีปริมาตรกี่ลิตร


1. 11.2 2. 22.4 3. 44.8 4. 67.2

7. แก๊สชนิดหนึ่งมีปริมาตร 67.2 ลิตร ที่ STP จะมีจานวนโมเลกุลกี่โมเลกุล


1. 3.01 x 1023 2. 12.04 x 1023 3. 15.05 x 1023 4. 18.06 x 1023

8. แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ปริมาตร 56000 cm3 ที่ STP จะมีจานวนโมเลกุลกี่โมเลกุล


1. 3.01 x 1023 2. 12.04 x 1023 3. 15.05 x 1023 4. 18.06 x 1023
66

9. แก๊ส A4B6 ซึ่งมีจานวนอะตอมทั้งหมด 6.02 x 1023 อะตอม จะมีปริมาตรเท่าใด


1. 22.4 dm3 2. 224 dm3 3. 2400 cm3 4. 2240 cm3

สารละลาย
 การหาความเข้มข้นเป็นโมลาร์ (M) โมแลล (m) และเศษส่วนโมล

*โมลาร์ ใช้คานวณปริมาณสัมพันธ์ทุกชนิด รวมทั้งสมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลายเกี่ยวกับการออสโมซิส


**โมแลล ใช้คานวณสมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย เกี่ยวกับจุดเดือดที่เพิ่มขึ้นและจุดเยือกแข็งที่ลดลง
10. นากลูโคส (C6H12O6) 90 กรัม มาละลายน้าจนได้สารละลายอันมีปริมาตร 500 cm3 จงหาว่าสารละลายนี้มีความ
เข้มข้นกี่โมล/ลิตร
1. 1.0 2. 1.8 3. 3.0 4. 3.5

11. ในการเตรียมสารละลาย NaOH เข้มข้น 0.1 mol / dm3 จานวน 5 ลิตร ต้องใช้ NaOH กี่กรัม ( Na = 23 , O = 16 ,
H=1)
1. 1.0 2. 2.0 3. 10.0 4. 20.0
67

 การเตรียมสารละลาย

12. สารละลายชนิดหนึ่งเข้มข้น 5 mol/dm3 ปริมาตร 1 dm3 เมื่อเติมน้าลงไปจนปริมาตรสุดท้ายรวมเป็น 10 dm3 ความ


เข้มข้นจะเปลี่ยนเป็นเท่าใด
1. 0.40 2. 0.50 3. 4.00 4. 5.00

13. มี NaOH 1 mol/dm3 อยู่ 500 cm3 แบ่งมา 100 cm3 ทาให้เจือจางเป็น 1 ลิตร สาร ละลายนี้เข้มข้นเท่าใด
1. 0.10 2. 0.70 3. 2.00 4. 5.00
68

14. สารละลายชนิดหนึ่งเข้มข้น 2 mol/dm3 ปริมาตร 1 dm3 เมื่อเติมน้าลงไปอีก 4 dm3 ความเข้มข้นจะเปลี่ยนเป็น


เท่าใด
1. 0.40 2. 0.50 3. 4.00 4. 5.00

15. เมื่อละลายน้าตาลทราย (C12H22O11) 34.2 กรัม ในน้า 500 กรัม สารละลายจะมีความเข้มข้นเท่าใดในหน่วยโมแลล(m)


1. 0.1 2. 0.2 3. 0.4 4. 0.8

16. สารละลายหนึ่งประกอบด้วยสาร A 2 โมล B 1 โมล และ C 2 โมล เศษส่วนโมล ของสารแต่ละชนิดคือข้อใดต่อไปนี้


(ตอบตามลาดับ)
1. 0.2 , 0.1 , 0.2 2. 0.4 , 0.2 , 0.4
3. 2.0 , 1.0 , 2.0 4. 4.0 , 1.0 , 2.0

 การหาความเข้มข้นเป็นสัดส่วนของตัวละลายในสารละลาย
69

17. เมื่อละลายกลูโคส 30 กรัม ในน้ากลั่น 120 กรัม จงหาว่าสารละลายนี้มีความเข้มข้นร้อยละโดยมวลเท่ากับข้อใดต่อไปนี้


1. 10 2. 15 3. 18 4. 20

18. สารละลาย HCl เข้มข้น 2% โดยปริมาตร/ปริมาตรจานวน 200 cm3 จะมี HCl ปริมาตรกี่ cm3
1. 2.00 2. 2.80 3. 4.00 4. 4.80

19. เมื่อใช้ NaOH 0.5 โมล เตรียมสารละลายให้มีความเข้มข้น 30% โดยมวล/ปริมาตร จะ ได้สารละลายกี่ cm3
1. 33.33 2. 40.00 3. 66.67 4. 80.00

20. เมอร์คิวรี (II) ไนเตรต (Hg(NO3)2) 0.1 กรัม ละลายในน้า 100 กรัม สารละลายนี้จะมี ความเข้มข้นกี่ส่วนในล้านส่วน
โดยมวล
1. 10 2. 100 3. 1000 4. 10000

You might also like