You are on page 1of 20

THE

21
ST

CENTURY
TEACHER

¤ÃÙÍÒªÕÇÐáË‹§ÈµÇÃÃÉ·Õè 21
¡ÒÃÈÖ¡ÉÒã¹ÈµÇÃÃÉ·Õè 21
(21ST CENTURY EDUCATION)

¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒã¹ÈµÇÃÃÉ·Õè 21
(21ST CENTURY LEARNING)

H
C ,
A
S
E N
E
T S
E
A
R
OR

L
E M
L

:)
THE ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21
21
ST

CENTURY
TEACHER

สงวนลิขสิทธิ์ : มกราคม 2558


สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามลอกเลียน
ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของเอกสารนี้
นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

จัดพิมพ์และเผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ผู้ออกแบบ : ชลัช กลิ่นแก่นจันทร์


สโรชา ไพรีพ่ายฤทธิ์

บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด


เลขที่ 9/99 อาคารแม็ค ซอยลาดพร้าว 38 ถนนลาดพร้าว
แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร 0-2938-2022-7 โทรสาร 0-2938-2028
www.MACeducation.com

พิมพ์ที่ : บริษัท กรีนแอปเปิ้ลพริ้นติ้ง จำ�กัด


THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

การปฏิรูปการศึกษา 21
เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่
ประเทศไทยมี ก ารปฏิ รู ป การศึ ก ษาครั้ ง ใหญ่ ตั้ ง แต่
ปี พ.ศ. 2540 และเรามีกฎหมายการศึกษาเป็นครั้งแรก คือ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542.
ต่อมาปี พ.ศ. 2544 ซึง่ เป็นปีทกี่ า้ วสูศ่ ตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2001)
ระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน เราก็มหี ลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตร
การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2544 ทีม่ าแทนทุกหลักสูตร
ที่มีอยู่ตอนนั้น และถัดมาในปี พ.ศ. 2556-2557 ก็มีการ
พัฒนาหลักสูตรใหม่ในระดับอาชีวศึกษาทีไ่ ด้บรรจุทกั ษะแห่ง
ศตวรรษที่ 21 ไว้อย่างครบถ้วน
ผลจากการปฏิรูปการศึกษาในระดับโลก โดยเฉพาะ
ทางซี ก โลกตะวั น ตกซึ่ ง มี ป ระเทศสหรั ฐ อเมริ ก าเป็ น
แกนหลัก คำ�ว่า “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” หรือ “21st
Century Skills” ได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างยิ่งต่อการจัด
การศึ ก ษาทั่ ว โลก. สิ่ ง ที่ ป รากฏอย่ า งเป็ น รู ป ธรรมคื อ
การกำ�หนดให้เป็นระเบียบวาระแห่งชาติของหลายประเทศ
ในการปฏิ รู ป การศึ ก ษา เช่ น “การเรี ย นรู้ ใ นศตวรรษ
ที่ 21” (21st Century Learning), “การศึกษาในศตวรรษ
ที่ 21” (21st Century Education), “ผู้เรียนในศตวรรษ
ที่ 21” (21st Century Learner) ฯลฯ สำ�หรับประเทศไทย
เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2551 โดยหน่วยงานภาครัฐได้กำ�หนดให้
มีการปฏิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า การปฏิรูป ในชั้ น เรี ย นยั ง คงมุ่ ง เน้ น การเรี ย นรู้ ที่ เ ป็ น สภาพจริ ง
การศึ ก ษาในทศวรรษที่ ส อง (ปี พ.ศ. 2552-2561). (Authentic Learning) และการประเมิ น ผลที่
การปฏิรูปครั้งนี้มีเป้าหมายสำ�คัญประการหนึ่งคือ การเพิ่ม เป็ น สภาพจริ ง (Authentic Assessment) และให้
สั ด ส่ ว นของผู้ ที่ จ ะศึ ก ษาต่ อ สายอาชี พ เมื่ อ สำ � เร็ จ ระดั บ ความสำ � คั ญ กั บ การสอบวั ด มาตรฐานคุ ณ ภาพการ
มัธยมศึกษาให้มากยิง่ ขึน้ และโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในหลักสูตร ศึ ก ษาในทุ ก ระดั บ โดยกำ � หนดให้ นำ � ผลการสอบมาใช้
ระดับอาชีวศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูป ในการเลื่ อ นวิ ท ยฐานะของผู้ ส อน, การประกั น คุ ณ ภาพ
การศึ ก ษาในระดั บ โลกที่ มุ่ ง เน้ น ปฏิ รู ป การเรี ย นรู้ อี ก ครั้ ง การศึ ก ษา ได้ แ ก่ การประกั น คุ ณ ภาพภายใน และ
โดยเน้ น สอนให้ น้ อ ยลง แต่ ใ ห้ ผู้ เ รี ย นเรี ย นรู้ ม ากขึ้ น การประกันคุณภาพภายนอก.
(Teach Less, Learn More). จึงเน้นการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น เพื่อให้ผู้สอนมีแนวทางในการปฏิรูปการเรียนรู้
ควบคู่ กั บ การทำ � งาน (Work-based Learning) ที่เป็นรูปธรรม บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด จึงได้จัดทำ�
และการเรี ย นรู้ จ ากการทำ � โครงงาน (Project-based เอกสาร “ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21” เพื่อใช้เป็นแนวทาง
Learning) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักสูตรระดับอาชีวศึกษา ในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีรายละเอียด
ทั้ ง นี้ ก ารออกแบบการเรี ย นรู้ แ ละการวั ด ผลประเมิ น ผล ดังนี้
3
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

1 การศึกษาในศตวรรษที่ 21
(21st CENTURY EDUCATION)

ส่วนที่ 1
Student
Outcomes

ส่วนที่ 2
Support
systems

Source : Partnership for 21st Century Skil s.

การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ให้ความสำ�คัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 1.7 ภูมิศาสตร์


ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Student Outcomes) และส่วนที่ 2 1.8 ประวัติศาสตร์
ระบบสนับสนุนการจัดการศึกษา (Support Systems) 1.9 การปกครองและสิทธิหน้าที่พลเมือง
ซึ่งการจัดการเรียนรู้ผ่าน 9 สาระวิชาหลักข้างต้น จะต้องให้
ผู้เรียนฝึกฝนจนเกิดผลการเรียนรู้ที่เป็นสมรรถนะสำ�คัญ 3 ประการ
Student เรียกว่า ความสามารถ 3Rs หรือ 3 รู้
ส่วนที่ 1 Outcomes ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 200 ปีที่แล้ว Sir William Curtis
ได้เสนอไว้เช่นเดียวกันว่าผู้เรียนที่เรียนรู้ตามหลักสูตรจะต้องเกิด
ผลการเรียนรู้ 3Rs เหมือนกัน ได้แก่
ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Student Outcomes) สำ�หรับ • Reading หมายถึง อ่านหนังสือออก
การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ • Writing หมายถึง เขียนหนังสือได้
1. การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผูเ้ รียนควรได้เรียนสาระวิชาหลัก • Arithmetic หมายถึง คิดเลขเป็น
(Core Subjects) ดังนี้ แต่ 3Rs สำ�หรับศตวรรษที่ 21 นี้ความหมายเปลี่ยนไปตาม
1.1 ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา ยุคสมัย ซึ่งต่อไปนี้จะเขียนว่า 3 รู้ ได้แก่
1.2 ภาษาสากลต่างๆ
1.3 ศิลปะ รู้ที่หนึ่ง คือ รู้ภาษา (Literacy) ซึ่งมิใช่แค่อ่านออก
1.4 คณิตศาสตร์ เขียนได้ (Reading & Writing) แต่ต้องอ่านเข้าใจ เขียนรู้เรื่อง
1.5 เศรษฐศาสตร์ คือ เข้าใจความหมายของเรื่องราวต่างๆ และสามารถสื่อสารไปยัง
1.6 วิทยาศาสตร์ ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม แบบผู้ที่ “รู้ศัพท์รู้ภาษา”
4
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

รู้ ที่ส อง คือ รู้คณิต (Numeracy) ซึ่งมิใช่แต่คิด


เลขเป็น (Arithmetic) แต่ต้องสามารถตีความหมายและเข้าใจ
ความคิ ด ต่ า งๆ ที่ สื่ อ สารออกมาในรู ป ของคณิ ต ศาสตร์ เช่ น
เลขคณิต พีชคณิต เรขาคณิต ตรีโกณมิติ

รู้ที่สาม คือ รู้ ICT (Information and Communi-


cations Technology Literacy) คื อ เข้ า ใจและสามารถใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อันเป็นทักษะจำ�เป็นอย่างยิ่ง
ในโลกปัจจุบัน
2. ผลการเรียนรู้ด้านคุณลักษณะ นอกจากนี้ยังมีคุณลักษณะ
หรืออาจจะเรียกว่าเป็นแนวคิดหลักในศตวรรษที่ 21 นี้ (21st
Century Themes) ที่ควรเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนอีกชุดหนึ่ง ได้แก่ 1) การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
2.1 ความตระหนักเกี่ยวกับโลก (Global Awareness) คือ พฤติกรรมบ่งชี้
การคิดเชื่อมโยงตนเองกับสิ่งต่างๆ รอบตัวบนโลกใบนี้ว่ามีความ • รู้จักใช้เหตุผลในการทำ�ความเข้าใจเรื่องราว
สัมพันธ์กัน มิได้แยกจากกัน การกระทำ�ใดๆ ก็ตามไม่ว่าเรื่องเล็ก ต่างๆ
เรื่องน้อย หรือเรื่องใหญ่ๆ ต่างก็เกิดผลกระทบต่อความเป็นไป • ตัดสินใจโดยใช้ทางเลือกที่หลากหลาย
ในโลก • มองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ
2.2 ความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในด้านการเงิน เศรษฐกิจ • วิ เ คราะห์ สั ง เคราะห์ ข้ อ มู ล เพื่ อ นำ � ไปใช้ ใ น
ธุรกิจ และการเป็ น ผู้ประกอบการ (Financial, Economic, การแก้ปัญหาหรือตอบคำ�ถาม
Business and Entrepreneurial Literacy) จนสามารถนำ�มา 2) การสื่อสาร (Communication)
ประยุกต์ใช้ในการดำ�รงชีวิตได้ พฤติกรรมบ่งชี้
2.3 ความเข้าใจและปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดี (Civic • พูดและเขียนแสดงความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน
Literacy) คือ การรูจ้ กั ทำ�หน้าทีแ่ ละรับผิดชอบในฐานะสมาชิกหนึง่ • ใช้ ICT และจิตวิทยาเพื่อให้การสื่อสารบรรลุ
ของสังคมที่จะช่วยกันทำ�ให้บ้านเมืองสงบสุขและเข้มแข็ง เป้าหมาย
2.4 ความเข้าใจและสามารถดำ�เนินชีวิตให้เป็นผู้มีสุขภาพดี 3) การทำ�งานร่วมกัน (Collaboration)
(Health Literacy) หมายถึง การดำ�รงตนให้เป็นผู้มีสุขภาพที่ดี พฤติกรรมบ่งชี้
ด้วยตนเอง เช่น การรู้จักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รู้จัก • ทำ�งานร่วมกับผู้อื่นได้
ออกกำ�ลังกาย รู้จักป้องกันตนเองให้ปลอดภัย • ปรับตัวได้ดีและตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือใน
2.5 ความเข้ า ใจและปฏิ บั ติ เ ป็ น ในด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม การทำ�งานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
(Environmental Literacy) หมายถึง การมีจิตสำ�นึกที่จะให้ความ 4) การสร้างสรรค์ (Creativity)
ร่ ว มมื อ และปฏิ บั ติ ต นในการดู แ ลทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ พฤติกรรมบ่งชี้
สิ่งแวดล้อม โดยทำ�ให้อยู่ในสภาพที่ดี เหมาะสมต่อการดำ�รงชีวิต • ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการทำ�งาน
ของทุกคน • พัฒนาแนวคิดใหม่อยู่เสมอๆ
3. ผลการเรียนรูด้ า้ นทักษะ ผลการเรียนรูท้ จี่ ะเกิดขึน้ กับผูเ้ รียน • เปิดรับมุมมองที่แตกต่าง
สำ�หรับศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะ ประกอบด้วยกลุ่มทักษะต่างๆ 3.2 ทั ก ษะด้ า นข้ อ มู ล สารสนเทศ สื่ อ และเทคโนโลยี
3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning (Information, Media and Technology Skills) ประกอบด้วย
and Innovation Skills) 2) ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ สื่อ และ ความสามารถในการปฏิบัติดังนี้
เทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) และ 1) ความเข้ าใจและใช้ เ ป็ นในด้ า นข้ อ มู ล ข่ า วสาร
3) ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ซึ่ง (Information Literacy)
รายละเอียดของแต่ละกลุ่มทักษะขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้ พฤติกรรมบ่งชี้
3.1 ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and • แสวงหาและเข้าถึงสารสนเทศอย่างเหมาะสม
Innovation Skills) ประกอบด้วยความสามารถในการปฏิบัติ สามารถประเมิ น สารสนเทศและนำ � ไปใช้ ไ ด้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งและ
4 ทักษะ หรือ 4Cs หรืออาจเรียกว่า 4 การ ได้แก่ สร้างสรรค์
5
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

• พัฒนาตนเองเพื่อยกระดับความรู้ความชำ�นาญ
เพื่ อ ขยายขอบเขตการเรี ย นรู้ แ ละโอกาสที่ จ ะทำ � ให้ เ กิ ด ความ
เชี่ยวชาญ
• แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะมีกระบวนการ
เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
3) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social
and Cross-cultural Skil s)
พฤติกรรมบ่งชี้
• ทำ � งานร่ ว มกั บ ผู้ อื่ น ได้ อ ย่ า งเหมาะสม มี
ประสิทธิภาพ
• ยกระดั บ ความรู้ ค วามคิ ด ของกลุ่ ม ได้ อ ย่ า ง
เหมาะสม
• อยูร่ ว่ มกับวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างได้ และสามารถ
ใช้ความแตกต่างมาช่วยสร้างนวัตกรรมและคุณภาพของงาน
• มีจริยธรรมในการใช้และการเข้าถึงสารสนเทศ 4) การมีผลงานและความรับผิดชอบ (Productivity
• สามารถรับสารที่แตกต่างกันออกไปตามความ and Accountability)
แตกต่างของแต่ละบุคคล ค่านิยม และความเชื่อ พฤติกรรมบ่งชี้
2) ความเข้าใจและใช้เป็นในด้านสือ่ (Media Literacy) • วางแผนงานอย่างมีคุณภาพสูงโดยมีเป้าหมาย
พฤติกรรมบ่งชี้ เพื่อสร้างคุณภาพของงานภายในเวลาที่เหมาะสม
• ผลิตหรือเลือกสื่อได้อย่างเหมาะสม สอดคล้อง • มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบที่ ดี ใ นการทำ � งาน เช่ น
กับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย คุณลักษณะและหลักการใช้งาน การตรงต่อเวลา การทำ�งานที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำ�หนด
3) ความเข้ าใจและปฏิ บั ติ เ ป็ นในด้ า นเทคโนโลยี 5) ภาวะผูน้ �ำ และหน้าทีร่ บั ผิดชอบ (Leadership and
สารสนเทศและการสือ่ สาร (Information and Communications Responsibility)
Technology Literacy) พฤติกรรมบ่งชี้
พฤติกรรมบ่งชี้ • มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถโน้มน้าวและชี้นำ�ให้
• ใช้เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั เครือ่ งมือสือ่ สาร หรือระบบ งานบรรลุเป้าหมาย
เครือข่ายอย่างเหมาะสม • กระตุ้นความสามารถของผู้ร่วมงานให้ทำ�งาน
• ใช้เทคโนโลยีเป็นเครือ่ งมือในการค้นคว้า จัดเตรียม ตามเป้าหมาย
จัดการ ประเมิน และสื่อสาร • แสดงออกถึงความรับผิดชอบที่มีต่อส่วนรวม
• มีจริยธรรมในการใช้และการเข้าถึงสารสนเทศ มากกว่าส่วนตน
3.3 ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills)
ประกอบด้วยความสามารถในการปฏิบัติดังนี้ SUPPORT
1) ความยืด หยุ่นและความสามารถในการปรับตัว ส่วนที่ 2 SYSTEMs
(Flexibility and Adaptability)
พฤติกรรมบ่งชี้ ระบบสนับสนุนการจัดการศึกษา (Support Systems) การที่
• ปรับตัวเข้ากับบทบาทและความรับผิดชอบที่ ผู้ เ รี ย นจะบรรลุ ผ ลการเรี ย นรู้ ดั ง กล่ า วมาทั้ ง หมดจะต้ อ งอาศั ย
แตกต่างกันได้ ระบบสนับสนุน (Support Systems) 4 ระบบ ซึ่งเปรียบดังวงแหวน
• ทำ�งานภายใต้สถานการณ์ทไี่ ม่แน่นอน ตลอดจน 4 วง ที่รองรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ระบบสนับสนุน
การปรับความเร่งด่วนในการทำ�งานได้ ประกอบด้วย
2) การริเริม่ และการกำ�กับดูแลตนเอง (Initiative and
Seft-direction) A. ด้ า นมาตรฐานและการประเมิ น ผล (Standards and
พฤติกรรมบ่งชี้ Assessments)
• กำ�หนดเป้าหมายในการเรียนรู้ของตนเองได้ มาตรฐานการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นในสิ่งต่อไปนี้
6
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

1) เน้นทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญ


2) เน้นการสร้างความรูใ้ นเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลัก
3) เน้นสร้างความรู้ที่ลึกซึ้ง
4) เน้นการยกระดับความสามารถของผู้เรียน ด้วยการใช้
ข้อมูลจริง การใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และการนำ�ไปประยุกต์ใช้
การประเมินผลในศตวรรษที่ 21
1) สร้างความสมดุลในการประเมินผล
2) การนำ�ผลการประเมินมาพัฒนา
3) การใช้เทคโนโลยีในการวัดผล
4) การประเมินตามสภาพจริง
B. ด้านหลักสูตรและวิธกี ารสอน (Curriculum and Instruction)
หลักสูตรและวิธีการสอนในศตวรรษที่ 21 แตกต่างจาก
ยุคศตวรรษที่ 20 โดยสิ้นเชิง ศตวรรษที่ 21 มวลประสบการณ์
ที่หลักสูตรควรจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จะมิใช่การจดจำ�เนื้อหาวิชา
อีกแล้ว แต่จะเป็นการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้
และต่อยอดความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง
C. ด้านการพัฒนาวิชาชีพให้แก่ผสู้ อนและผูบ้ ริหาร (Professional
Development)
ในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาวิชาชีพให้แก่ผสู้ อนและผูบ้ ริหาร
ต้องดำ�เนินการอย่างเป็นระบบ ดังนี้
1) พัฒนาผู้สอนให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถเชิง
บูรณาการ สามารถทำ�แผนเชิงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
2) จัดการเรียนการสอน โดยวิธีสอนที่หลากหลาย
3) มีความรู้ความสามารถเชิงลึกในการแก้ปัญหา การมี
ทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณ
4) สร้างผู้สอนต้นแบบสำ�หรับเป็นตัวอย่างในการพัฒนา
วิชาชีพผู้สอน
5) สร้างชุมชนการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนที่ปฏิบัติในวิชาชีพ
เดียวกัน (Professional Based Learning)
D. ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (Learning Environments)
สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ควรได้รับ
การออกแบบโดยใช้แนวทางดังนี้
1) จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสม โดยการได้
รับแรงสนับสนุนจากบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อเกื้อหนุนให้การเรียน
การสอนบรรลุเป้าหมาย
2) สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงความรู้หรือ
แลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชน
3) จั ด การเรี ย นรู้ จ ากบรรยากาศและบริ บ ทที่ เ ป็ น โลก
แห่งความเป็นจริง โดยเฉพาะการเรียนรู้จากโครงงาน
4) สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยี เครื่องมือ
และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ
7
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

2 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
(21st CENTURY LEarning)

2.1 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 ตามที่แสดงไว้ในตารางต่อไปนี้

1. Curriculum (เรียนรู้ตามหลักสูตร) 1. Projects (เรียนรู้จากการทำ�โครงงาน)

2. Time-slotted (จัดการเรียนการสอน 2. On-demand (จัดการเรียนการสอน


ตามตารางเรียนตายตัว) ตามความต้องการ)
20th Century (ศตวรรษที่ 20)

21st Century (ศตวรรษที่ 21)


3. One-size-fits-all (แบบเดียวกันทั้งห้อง) 3. Personalized (เหมาะสมรายบุคคล)

4. Competitive (แข่งขัน) 4. Collaborative (ทำ�งานร่วมกัน)

5. Classroom (เรียนในห้องเรียน) 5. Global Community (ห้องเรียน


สู่ชุมชนโลก)

6. Text-based (เรียนรู้ตามหนังสือเรียน) 6. Web-based (เรียนรู้ผ่านเครือข่าย)

7. Summative Tests (สอบเพื่อตัดสินผล 7. Formative Assessment (ประเมินเป็น


การเรียนรู้) ระยะเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้)
8. Learning for School (เรียนรู้เพื่อให้ 8. Learning for Life (เรียนรู้เพื่อชีวิต)
จบจากโรงเรียน)
Source : 21st Century Skil s : Learning for Life in Our Times.

จากตารางข้างต้น การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนแปลงไปจาก


ศตวรรษที่ 20 มาก ดังนี้
1. ศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากการทำ�งานโครงงาน
ซึ่งบางครั้งจะคาดเดาได้ยากว่าจะค้นพบความรู้ใด อาจเป็นความรู้ใหม่
ที่อาจไม่ได้กำ�หนดไว้ในหลักสูตรก็ได้ แต่ในศตวรรษที่ 20 ผู้เรียนจะได้
เรียนรู้เนื้อหาสาระครบถ้วนตามที่กำ�หนดไว้ชัดเจนในหลักสูตรเท่านั้น
2. ศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนสามารถกำ�หนดเวลาการเรียนรู้
ที่ ยื ด หยุ่ น เพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการของผู้ เ รี ย น และเป้าหมาย
การเรียนรู้ท่ีปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม แต่ในศตวรรษที่ 20
การเรียนการสอนจะมีการกำ�หนดตารางเรียนตารางสอนที่แน่นอน
8
ตายตัว
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

3. ศตวรรษที่ 21 ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี การจัด ในเมื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แตกต่างอย่างมากจาก


การเรียนการสอน ผูส้ อนสามารถออกแบบการสอนซึง่ ประกอบด้วย ศตวรรษที่ 20 ดังนั้น ผู้สอนจึงมีความจำ�เป็นต้องเปลี่ยนบทบาท
วิธีสอน วิธีวัดผล การใช้สื่อการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนราย ด้วยเช่นกัน
บุคคล หรือกลุ่มย่อยได้ ซึ่งจะช่วยทำ�ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้
วิธีการเรียนรู้ที่ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง แต่ในศตวรรษ
ที่ 20 การจั ด การเรี ย นการสอนมั ก จะคิ ด ว่ า ผู้ เ รี ย นสามารถ
เรียนรู้ได้เหมือนกัน ผู้สอนจึงออกแบบการสอนไว้แบบเดียวแล้วนำ�
ไปใช้กับผู้เรียนทุกกลุ่ม
4. ศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนทุกคนต้องมาร่วมแรงร่วมใจกัน
ในการเรียนรู้ โดยนำ�ความสามารถหรือความรู้ที่ตนเองมีอยู่มา
ช่ ว ยกั น ทำ � งานตามบทบาทที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายจนประสบผล
สำ�เร็จ แต่ในศตวรรษที่ 20 ผู้เรียนมุ่งเน้นการแข่งขันกันเรียนเพื่อ
ความเป็นเลิศ มีการจัดอันดับทีภ่ ายหลังการวัดผล ทำ�ให้ผเู้ รียนขาด
ความร่วมมือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปันซึ่งกันและกัน
5. ศตวรรษที่ 21 ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย สะดวก
ต่อการเข้าถึง และการใช้งานที่ไม่จำ�กัดเวลาและสถานที่ การจัด
การเรียนรู้จึงไม่ควรจำ�กัดอยู่แค่ความรู้ในชั้นเรียน ผู้เรียนสามารถ
เชื่ อ มโยงห้ อ งเรี ย นไปสู่ โ ลกภายนอกได้ อ ย่ า งไร้ ขี ด จำ � กั ด แต่
ในศตวรรษที่ 20 สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร
ยังไม่สะดวกรวดเร็ว การเรียนรู้จึงจำ�กัดอยู่เฉพาะการเรียนรู้
ในชั้นเรียนจากผู้สอนเท่านั้น
6. ศตวรรษที่ 21 การเรียนรูข้ องผูเ้ รียนโดยผูเ้ รียนสามารถเข้าไป 2.2 บทบาทของผู้สอนสำ�หรับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่
สืบค้นความรูจ้ ากตำ�ราต่างๆ หรือแหล่งเรียนรูอ้ นื่ ๆ หรือจากเว็บไซต์ 21 (Teach Less, Learn More)
ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งผู้สอนต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ บทบาทของผู้สอนควรเปลี่ยนเป็นผู้จัดการเรียนรู้ คือ สอน
สืบค้นเป็นประจำ� แต่ในศตวรรษที่ 20 เน้นการเรียนรูจ้ ากหนังสือเรียน หรือถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลข่าวสารให้น้อยลง (Teach Less) แต่
แบบเรี ย นที่ ถู ก กำ � หนดให้ เ รี ย นรู้ เ ฉพาะที่ มี อ ยู่ ใ นหนั ง สื อ เรี ย น ให้ผู้เรียนเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเองในการแสวงหาข้อมูลความรู้
แบบเรียนเท่านั้น ทำ�กิจกรรมต่างๆ เพื่อค้นพบองค์ความรู้ให้มากขึ้น (Learn More)
7. ศตวรรษที่ 21 การทดสอบควรมุ่งให้น�้ำหนักการทดสอบ ซึ่งหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ทำ�มา
ระหว่างเรียนให้มากขึ้น เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียน แล้ว 5 ปี เริม่ ปรากฏผลทีด่ แี ละเป็นคำ�ตอบให้แก่วงการการศึกษาว่า
ตั้งแต่แรก แต่ในศตวรรษที่ 20 การทดสอบมุ่งเน้นการทดสอบ มาถูกทาง ซึ่งผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
เพื่อตัดสินผล ดังนั้น จึงให้น�้ำหนักกับการวัดผลโดยรวมเมื่อสิ้น - จัดเนื้อหาที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงของผู้เรียน
สุดการเรียนมากกว่าการวัดผลระหว่างเรียน ซึ่งบางครั้งพบว่า - เชื่อมโยงโลกเข้าสู่ห้องเรียน
ผูเ้ รียนถูกละเลยไม่ได้รบั การแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนแต่เนิน่ ๆ - นำ�พาผู้เรียนสู่โลกนอกห้องเรียน
การมาวัดผลเมื่อสิ้นสุดการเรียนจึงไม่มีประโยชน์ในการน�ำไป - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้
ปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน กับผู้อื่นให้มากที่สุด
8. ศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้มุ่งเน้นให้การเรียนรู้ที่โรงเรียน - ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อการใช้ชีวิต โดยต้องเชื่อมโยง จากที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น ผู้ ส อนควรปรั บ เปลี่ ย นโดย
ความรู้นั้นไปใช้ในชีวิตประจำ�วัน แต่ในศตวรรษที่ 20 การเรียนรู้ นำ�การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (8 หัวข้อข้างต้น) มาออกแบบ
มุ่งเรียนให้สำ�เร็จ เพื่อให้ได้ชื่อว่าได้เรียนจนสำ�เร็จการศึกษาแล้ว การเรี ย นรู้ ใ ห้ เ หมาะสม จึ ง พบว่ า การเรี ย นรู้ แ บบโครงงาน
เช่น เรียนจบโรงเรียนแล้ว (สำ�หรับการศึกษาภาคบังคับ) ทำ�ให้ (Project-based Learning: PjBL) เป็นวิธีการที่น่าสนใจ
การเรียนที่โรงเรียนนำ�ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้น้อย
9
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

บุคคลสำ�คัญที่สุดที่จะทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำ�ให้เกิดการ
เรียนรู้ของผู้เรียนก็คือผู้สอน ถ้าผู้สอนยังสอนด้วยวิธีการเดิมๆ ต่อ
ให้โลกเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ก็ไม่ทำ�ให้เด็กเปลี่ยนแปลงตาม
โลกนี้ไปได้มากนัก ข้อเสนอแนะของเพียร์สัน (Pearson, 2012) ซึ่ง
ได้ทำ�การจัดลำ�ดับการศึกษานานาชาติได้เสนอผู้กำ�หนดนโยบาย
ทางการศึกษาไว้ว่า ผู้สอนที่ดีเท่านั้นที่จะทำ�ให้การศึกษามีคุณภาพ
สูงได้ ผู้สอนต้องเปลี่ยนเป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้และอำ�นวยความ การจัดการเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นฐานมีการเรียกต่างกันไป เช่น
สะดวกในการเรียนรู้ ให้ผเู้ รียนเรียนรูจ้ ากการเรียนแบบลงมือทำ�หรือ การเรียนรูแ้ บบโครงงาน การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานหรือ
ปฏิบัติ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนการสอนแบบโครงการ โดยมีค�ำ อธิบายทีค่ ล้ายคลึงกัน อาทิ
(วิจารณ์ พานิช, 2555) การจัดการเรียนการสอนที่จะทำ�ให้ผู้เรียน สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550) ได้อธิบายการเรียนรู้
ได้ลงมือปฏิบตั โิ ดยผูส้ อนเป็นผูจ้ ดั การเรียนรูแ้ ละอำ�นวยความสะดวก แบบโครงงานว่า เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ หรือการค้นคว้า
นัน่ คือ การเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน เพือ่ ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ หาคำ�ตอบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ เป็น
ยุคดิจทิ ลั จึงจำ�ต้องบูรณาการให้เข้ากับทักษะในศตวรรษที่ 21 อันจะ วิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาตามความสนใจของตนเอง
ทำ�ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาในที่สุด หรือของกลุ่ม เป็นการตัดสินใจร่วมกัน จนได้ชิ้นงานที่สามารถนำ�
ผลการศึกษาไปใช้ได้ในชีวิตจริง
การเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning: PjBL)
การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานคืออะไร หมายถึง การจัดการเรียนการสอนทีเ่ น้นประสบการณ์ในการปฏิบตั ิ
งานให้แก่ผู้เรียนผ่านประสบการณ์ตรง ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
การคิดสร้างสรรค์ในการทำ�งาน รู้จักการวางแผนการทำ�งาน
แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนในแบบโครงงาน เป็นแนวทาง ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สื่อสารและทำ�งานร่วมกันกับผู้อื่น
การเรียนรูต้ ามแนวปรัชญากลุม่ ประสบการณ์นยิ ม (Experimentalism) ตลอดจนประเมินผลงานและการทำ�งานของตนเองได้
ซึ่งมีจอห์น ดิวอี้ เป็นผู้ที่ริเริ่มและผลักดันในการจัดการเรียนรู้ เนือ่ งจากมีเทคนิคการเรียนรูแ้ บบปัญหาเป็นฐาน (Problem-based
โดยเน้นที่การเรียนรู้จากการกระทำ�จริง (Learning by Doing) Learning : PBL) ซึง่ มักจะใช้ตวั ย่อภาษาอังกฤษเป็น PBL เช่นเดียวกัน
โดยปรัชญาการศึกษาในแนวทางนี้จะเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาก กับการเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นฐาน ดังนัน้ ในการกล่าวถึงการเรียนรู้
การปฏิบัติจริง การได้รับประสบการณ์จริงจะทำ�ให้การเรียนรู้คง แบบโครงงานเป็นฐานจะใช้ภาษาอังกฤษเป็น “พีเจบีแอล (PjBL)”
อยู่กับผู้เรียนตลอดไป เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้เรียน ไม่ได้เกิด เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ซึ่งได้รับการยอมรับเป็นสากลทั่วไป
จากการบอกเล่าหรือรับฟังมาจากผูอ้ นื่ แนวทางนีก้ อ่ ให้เกิดแนวทาง ความแตกต่างระหว่างการเรียนรูแ้ บบโครงงานกับการทีผ่ สู้ อนให้
ในการจัดการศึกษาขึ้นอีก 2 กลุ่มคือ กลุ่มแนวคิดทฤษฎีการสร้าง ทำ�โครงงานนัน่ คือ การเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นการจัดกระบวนการ
องค์ความรู้ด้วยตนเองหรือกลุ่มคอนสตัคติวิซึ่ม (Constructivism) เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ กำ�หนดขั้นตอนเพื่อให้ผู้เรียนได้
ซึง่ มีแนวคิดว่าผูเ้ รียนสามารถสร้างองค์ความรูด้ ว้ ยตนเอง และกลุม่ เกิดการเรียนรูด้ ว้ ยตนเองและเป็นหมูค่ ณะ ขณะทีก่ ารให้ท�ำ โครงงาน
แนวคิดทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาหรือกลุม่ คอนสตัคชัน่ นิซมึ่ คือ การมอบหมายให้ผเู้ รียนหรือกลุม่ ผูเ้ รียนทำ�โครงงานตามรายวิชาต่างๆ
(Constructionism) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดว่าผู้เรียนสามารถ ในหลักสูตร มีลักษณะงานเหมือนที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง และ
สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ดังนั้น การเรียนรู้แบบโครงงาน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
เป็ น ฐานได้ รั บ แนวคิ ด ของปรั ช ญากลุ่ ม ประสบการณ์ นิ ย ม ภายใต้การดูแลและให้คำ�ปรึกษาของผู้สอน ตั้งแต่การคิดสร้าง
(กลุ่มคอนสตัคติวิซึ่มและกลุ่มคอนสตัคชั่นนิซึ่ม) เป็นฐานใน โครงงาน การวางแผนการดำ�เนินการ การออกแบบลงมือปฏิบัติ
การอธิบายการจัดการเรียนรู้ และส่งงานในที่สุด

10
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

ประเภทของโครงงานเมื่อแบ่ง
ตามลั ก ษณะของกิ จ กรรม
ในการท�ำโครงงาน สามารถ
แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้
4 ประเภท ได้แก่
มาเขียนกระบวนการขั้นตอนการทดลอง และสรุปผลการแก้
ปัญหา ตลอดจนข้อเสนอแนะในลักษณะของการรายงาน
1 หรือการวิจัยเชิงทดลอง เช่น โครงงานการทดลองผสมพันธุ์
โครงงานประเภทส�ำรวจ ข้าวโพดแบบไร้ดิน โครงงานทดลองจุดไฟในบ่อบาดาล ฯลฯ
(Survey Research Project) โครงงานประเภทสิง่ ประดิษฐ์เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์
ของผูเ้ รียน โดยคำ�แนะนำ�และข้อเสนอแนะของผูส้ อนกำ�หนด
เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ต้องการสร้าง มีการออกแบบและพัฒนา
2 สิง่ ประดิษฐ์ขน้ึ มาเป็นรูปร่าง มีการทดสอบและทดลองใช้งาน
สิง่ ประดิษฐ์จนสามารถใช้งานได้ นำ�ไปใช้งานจริงและปรับปรุง
โครงงานประเภททดลอง
(Experimental Research Project) แก้ไขจนได้สงิ่ ประดิษฐ์ทสี่ มบูรณ์ เขียนเป็นรายงานการพัฒนา
หรือการวิจยั และพัฒนาเชิงนวัตกรรมได้ เช่น โครงงานหุน่ ยนต์
แบบแมงมุม โครงานเครื่องตัดหญ้าใบพัดเส้นลวด ฯลฯ
โครงงานประเภททฤษฎี เ ป็ น โครงงานที่ จั ด ทำ � ขึ้ น ใน
3 ลักษณะการสร้างหลักการ ทีก่ �ำ หนดวิธกี าร รูปแบบ และขัน้ ตอน
โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนเงือ่ นไขในการปฏิบตั ใิ นเชิงทฤษฎี แนวคิด หลักการ
(Development Research Project) โดยวิเคราะห์สูตร กฎเกณฑ์ ข้อบังคับใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิด
ขึ้น หรือประยุกต์หลักการทฤษฎีใหม่ๆ โดยสร้างขึ้นมาเป็น
แบบจำ�ลอง สูตรการคำ�นวณ แผนธุรกิจ นำ�เสนอในรูปของ
4 โครงการ แผนภูมิ แผนผัง วงจร มีลักษณะเป็นนามธรรมที่
ใช้วิธีการคิดขั้นสูง เป็นสิ่งใหม่ที่ปรับประยุกต์มาจากแนวคิด
โครงงานประเภททฤษฎี
(Theoretical Research Project) เดิมแล้วอธิบายด้วยวิธีใหม่ๆ เช่น โครงงานคำ�นวณจุดคุ้ม
ทุนของร้านสะดวกซื้อ โครงงานแบบจำ�ลองบ้านประหยัด
พลังงาน ฯลฯ

โครงงานประเภทสำ�รวจจะเป็นโครงงานในลักษณะที่ผู้สอนและ
ผู้เรียนร่วมกันทำ�โครงงานโดยการตั้งประเด็นปัญหา ทำ�การศึกษา
เอกสารข้อมูลต่างๆ กำ�หนดหัวข้อที่จะศึกษา สามารถทำ�งานแบบราย
บุคคลหรือแบบร่วมมือกันเป็นกลุม่ จากนัน้ จัดทำ�เครือ่ งมือในการสำ�รวจ
ในลักษณะแบบสอบถาม แบบสำ�รวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ หรือ
อื่นๆ เพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการศึกษา นำ�มาสรุปเป็นรายงานหรือเขียน
เป็นการวิจัยที่ได้จากผลการสำ�รวจ เช่น โครงงานการสำ�รวจผู้สูงอายุ
ในชุมชนรอบโรงเรียน โครงงานศึกษาเด็กสายตาสั้นในโรงเรียน ฯลฯ
โครงงานประเภททดลองเป็นการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เริ่มจากการศึกษาปัญหา ผู้เรียนจัดกลุ่มกันศึกษาปัญหาแล้วนำ�มา
กำ�หนดเป็นโครงงาน จัดทำ�เครื่องมือเพื่อใช้ทำ�การทดสอบและทดลอง
กับพืชพรรณ สัตว์ และสิง่ ของต่างๆ จากนัน้ นำ�ผลทีไ่ ด้จากการทดลอง
11
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

การบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21

เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพือ่ ทักษะการเรียนรูใ้ น
ศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills, 2009)
หรือชื่อย่อเรียกว่า เครือข่าย P21 ได้พัฒนาวิสัยทัศน์เพื่อ
ความสำ�เร็จของผูเ้ รียนภายใต้บริบทการสอนความรูส้ าระ
วิชาหลัก ผู้เรียนจะต้องเกิดทักษะที่จำ�เป็น เช่น การคิด
แบบมีวิจารณญาณ การสร้างสรรค์ การสื่อสาร และ
การทำ�งานร่วมกัน กรอบแนวคิดข้างต้นจำ�เป็นต้องมีระบบ
สนับสนุนการจัดการศึกษาทีจ่ �ำ เป็น ได้แก่ มาตรฐานและ
การประเมินผล หลักสูตรและวิธีการสอน การพัฒนา
วิชาชีพให้แก่ผู้สอนและผู้บริหาร และสภาพแวดล้อมใน
การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการ
เรียนรู้มากขึ้น ประกอบไปด้วยหลักการสำ�คัญที่เรียกว่า
3Rs และ 4Cs โดยหลักการของ 3Rs นั่นคือ การรอบรู้
สาระวิชาหลักซึ่งมีความสำ�คัญและจำ�เป็นอย่างยิ่งต่อ
ความสำ�เร็จของผูเ้ รียน แต่จะต้องให้ผเู้ รียนฝึกฝนจนเกิด
ผลการเรียนรู้ที่เป็นสมรรถนะสำ�คัญ 3 ประการ ได้แก่
รู้ภาษา รู้คณิต และรู้ ICT การจัดทำ�มาตรฐานสำ�หรับ
การเรี ย นรู้ แ บบโครงงานเป็ น ฐานในศตวรรษที่ 21
จะบูรณาการร่วมกับ 4Cs นั่นคือ Critical Thinking,
Collaboration, Communication, Creativity ซึง่ หมายถึง
ผลของการเรียนรู้แบบโครงงานจะนำ�ไปสู่การคิดแบบมี
วิจารณญาณ การทำ�งานร่วมกัน การสื่อสาร และการ
สร้างสรรค์ (Soule, 2014)
การบูรณาการระหว่างการเรียนรู้แบบโครงงานเป็น
ฐานกับทักษะในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
โดยตรง เนื่องจากการทำ�โครงงานจะทำ�ให้ผู้เรียนได้เกิด
การคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงาน และการแก้ปัญหา
ตลอดจนทำ�งานร่วมกัน (ปรีดา แสงวิรุณ, 2555) โดย
เฉพาะทางด้านการเรียนการสอนวิชาชีพทีจ่ ะได้ฝกึ ปฏิบตั ิ
จริง ทำ�งานในสภาพจริงควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในสถาน
ศึกษา (สุวัฒน์ นิยมไทย, 2554) ซึ่งเป็นเทคนิควิธีการที่
สอดคล้องและมีขั้นตอนที่เหมาะสม

12
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานกับการศึกษาไทย

การจัดการเรียนรูแ้ บบโครงงานเป็นหนึง่ ในแนวทางการจัดการ


เรียนรูท้ เี่ น้นผูเ้ รียนเป็นสำ�คัญ เป็นการจัดการเรียนรูท้ สี่ อดคล้องกับ
พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ เน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด
การฝึกทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้
ที่หลากหลาย การฝึกปฏิบัติจริง และการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อ
การป้องกันและแก้ไขปัญหา
ขั้นตอนการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวทางของสำ�นักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา (2550) ประกอบด้วยขัน้ ตอนหลัก 4 ขัน้ ตอน
ได้แก่ ขัน้ นำ�เสนอ ขัน้ วางแผน ขัน้ ปฏิบตั ิ และขัน้ ประเมินผล โดย
แบ่งกิจกรรมทั้งผู้สอนและผู้เรียนที่ขั้นตอนย่อยแตกต่างกันไป
กระบวนการในการจั ด ทำ � โครงงานมี ห ลากหลายวิ ธี ก าร
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี (2557)
ได้กล่าวถึงกลยุทธ์แยบยลเสริมสร้างทักษะในศตรวรรษที่ 21
โดยเฉพาะการส่งเสริมทักษะการคิดด้วยกระบวนการทำ�โครงงาน
ใน 5 ขั้นตอน ได้แก่ การระบุคำ�ถามโครงงาน การวางแผน
ทำ�โครงงาน การดำ�เนินการทำ�โครงงาน การวิเคราะห์และสื่อ
ความหมายข้อมูล และการสรุปผลและประเมิน อันเป็นวิธีการ
ที่สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคสมัยใหม่ ในส่วนของการ
สอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้การวิจยั เป็นฐาน มีขนั้ ตอน
ในการทำ�งานทีเ่ หมือนกัน โดยเริม่ จากความข้องใจ สงสัย อยากรู้
อยากเห็น นำ�ไปสู่การกำ�หนดปัญหาการวิจัย หรือหัวข้อโครงงาน
และกำ�หนดวิธีการศึกษา กำ�หนดสมมติฐาน และขอบเขตของ
การศึกษาเพื่อลงมือปฏิบัติ การเก็บข้อมูล บันทึกผลการศึกษา
ทดลอง ทำ�การประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการวิจัย
หรือการศึกษา และอภิปรายผล (ลัดดา ภู่เกียรติ, 2552) ทำ�ให้มี
การนำ�เอาการสอนแบบใช้การวิจัยเป็นฐานบูรณาการเข้ากับการ
สอนแบบโครงงาน เพราะในส่วนของการนำ�เสนอผลของโครงงาน
ในรูปรายงานก็นิยมเขียนในลักษณะการวิจัยเช่นกัน การเรียนรู้
แบบโครงงานจึงเป็นเทคนิคที่บูรณาการเข้ากับวิธีสอนแบบต่างๆ
ได้เป็นอย่างดี

13
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

การเรียนรู้แบบโครงงานกับการอาชีวศึกษา

การจัดการศึกษาทางด้านอาชีวศึกษานับว่าให้ความสำ�คัญกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นอย่างยิ่ง โดยกำ�หนดเอาไว้เป็น
นโยบายในการจัดการเรียนการสอนทางด้านอาชีวศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ มีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ในปี พ.ศ. 2557 แนวทาง
ในการขับเคลือ่ นในการพัฒนาหลักสูตรและการนำ�หลักสูตรไปใช้ของสถานศึกษา ถูกกำ�หนดให้บรู ณาการในการจัดการเรียนรูเ้ ป็น
เรื่องเป็นชิ้นงาน จัดเป็นโครงงานในแต่ละภาคเรียน (สำ�นักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ, 2557) การจัดการเรียนรู้ที่ให้
ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะของการศึกษา สำ�รวจ ค้นคว้า ทดลอง ประดิษฐ์คิดค้น โดยผู้สอนเป็นผู้อำ�นวยความสะดวก
หรือให้คำ�แนะนำ� ทำ�หน้าที่ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ กระตุ้น แนะนำ� ให้คำ�ปรึกษาเพื่อให้โครงงานสำ�เร็จลุล่วงด้วยดี โดยมี
ขัน้ ตอนในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานเป็น 6 ขัน้ ตอน (ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์ และวัลลภา อยูท่ อง, 2557) ได้แก่

ขั้นตอนที่
การเตรียมความพร้อม ผู้สอนจัดเตรียมขอบเขตของโครงงาน แหล่งข้อมูล และ
คำ�ถามนำ� โดยระบุในแผนการจัดการเรียนรู้ 1

ขั้นตอนที่
การกำ�หนดและเลือกหัวข้อ กลุ่มผู้เรียนร่วมกันกำ�หนดหัวข้อที่จะทำ�
เป็นโครงงาน ศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละหัวข้อเพื่อเลือกโครงงานที่
จะจัดทำ� นำ�เสนอผู้สอนให้ความเห็นชอบ
2

การเขียนเค้าโครงของโครงงาน ผู้เรียนศึกษาขอบเขตโครงงาน ขั้นตอนที่


แหล่งข้อมูล ตลอดจนค้นหาแหล่งข้อมูล แล้วร่วมวางแผนการจัดทำ�
โครงงาน โดยระบุกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งบทบาทหน้าที่ 3
ภาระงานของสมาชิกในกลุ่ม ตลอดจนระยะเวลาในการดำ�เนินงาน

การปฏิบัติโครงงาน สมาชิกในกลุ่มร่วมดำ�เนินงานตามแผนงาน ขั้นตอนที่


และหน้าที่รับผิดชอบ ด้วยการบูรณาการความรู้ ทักษะ แลกเปลี่ยน
ประสบการณ์และค้นหาความรูใ้ หม่ โดยมีผสู้ อนคอยให้ค�ำ ปรึกษาและ 4
หรือร่วมแก้ปัญหาไปพร้อมกับผู้เรียน
ขั้นตอนที่
การนำ�เสนอผลงาน ผู้เรียนสรุปผลการดำ�เนินงาน จัดทำ�รายงานและ
นำ�เสนอผลงานกิจกรรมของโครงงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม 5

การประเมินผล ผู้สอนประเมินผลโครงงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่


ขั้นตอนที่
หลากหลาย เน้นการประเมินตามสภาพจริง ทั้งความรู้ กระบวนการ ผลงาน และพฤติกรรม
ของผู้เรียน 6
14
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

แนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสำ�หรับผู้เรียนอาชีวศึกษาที่เรียกว่า วีโปรเจคเบสเลิร์นนิ่ง (V-Project Based Learning)


มี 5 ขั้นตอน (วัชรินทร์ โพธิ์เงิน พรจิต ประทุมสุวรรณ และสันติ หุตะมาน, 2557) ดังนี้

ขั้นตอนที่
การเตรียมความพร้อม ผู้สอนจัดเตรียมขอบเขตของโครงงาน แหล่งข้อมูล และคำ�ถามนำ� โดยสามารถนำ�เสนอ
1 ได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น text, video clip หรือ online news

ขั้นตอนที่ ศึกษาความเป็นไปได้ ผู้เรียนศึกษาขอบเขตโครงงาน แหล่งข้อมูล ตลอดจนค้นหาแหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ


และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับสมาชิกในกลุ่ม เพื่อพยายามตอบคำ�ถามนำ�ที่ผู้สอนได้ตั้งไว้ ผ่านเครื่องมือติดต่อสื่อสาร
แบบไม่ประสานเวลาต่างๆ เช่น group discussion board, wiki หรือเครื่องมือแบบประสานเวลาต่างๆ เช่น chat,
2 web conference แล้วศึกษาโครงงานอย่างคร่าวๆ ถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำ�โครงงาน

ขั้นตอนที่ การกำ�หนดหัวข้อ ผูเ้ รียนปรึกษากันภายในกลุม่ เพือ่ กำ�หนดหัวข้อทีจ่ ะทำ�โครงงาน เมือ่ ผูส้ อนได้เห็นชอบกับหัวข้อที่
กลุม่ ของตนได้น�ำ เสนอแล้ว ผูเ้ รียนในแต่ละกลุม่ วางแผนการจัดทำ�โครงงาน โดยระบุกจิ กรรมในแต่ละขัน้ ตอนและตาราง
การดำ�เนินการ ตลอดจนกำ�หนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจนตามความสะดวกของสมาชิกในกลุ่ม
3 จากนั้นนำ�เสนอข้อสรุปแก่ผู้สอนอีกครั้ง

ขั้นตอนที่ การดำ�เนินงานสร้างชิ้นงานและทดสอบ สมาชิกในกลุ่มแบ่งงานและภาระความรับผิดชอบของแต่ละคนเพื่อ


สร้างชิ้นงาน โดยใช้ความรู้ในการจัดทำ�โครงงาน จากนั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ใหม่กับสมาชิกในกลุ่ม
ซึง่ สามารถทำ�ได้ทงั้ แบบประสานเวลาและแบบไม่ประสานเวลา ตามความสะดวกของสมาชิกในกลุม่ โดยมีผสู้ อนคอย
4 ให้ค�ำ ปรึกษา หลังจากดำ�เนินการสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องมีการทดสอบเพือ่ วัดประสิทธิภาพของงานทีส่ ร้างขึน้ นัน้

ขั้นตอนที่ การนำ�เสนอผลงาน ผู้เรียนจัดทำ�รายงานและเตรียมการนำ�เสนอที่แสดงให้เห็นถึงผลของกิจกรรมโครงงาน


ผลงานและกระบวนการ แล้วนำ�เสนอผ่านเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น video clip, online text, webpage,
5 blog, facebook เป็นต้น

สถานศึกษาทางด้านอาชีวศึกษามีการจัดการเรียนรูแ้ บบโครงงาน ในวิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด (2557) จะจัดการเรียนการสอนโดย


เป็นนโยบาย โดยกำ�หนดแนวทางเอาไว้อย่างชัดเจนใน 3 ขัน้ ตอนหลักคือ ใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการในทุกรายวิชา โดยมีรูปแบบการ
ขัน้ ตอนการวางแผน ขัน้ ตอนการปฏิบตั งิ าน และขัน้ ตอนการตรวจสอบ เรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาหรือแนวทางคอนสตัคชั่นนิซึ่ม
(สำ�นักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ, 2552) โดยเฉพาะ (Constructionism) พั ฒ นาหลั ก สู ต รเป็ น รายวิ ช าในทุ ก
อย่างยิ่งในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ชลบุรี ชั้ น ปี ใ นหมวดวิ ช าเลื อ กเสรี ขณะที่ วิ ท ยาลั ย เทคนิ ค บ้ า นค่ า ยก็
ที่กำ�หนดให้การเรียนการสอนเน้นโครงงานและวัดสมรรถนะผู้เรียน กำ�หนดให้ผู้เรียนที่จะสำ�เร็จการศึกษาต้องจัดทำ�โครงงานร่วมกับ
ในแบบการศึกษาสเต็ม (จิระ เฉลิมศักดิ์, 2557) กระบวนการ สถานประกอบการ ทำ�ให้ได้ผลงานที่นำ�ไปใช้ประโยชน์ได้จริง
จัดการเรียนรูท้ ใี่ ช้โครงงานเป็นฐานในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยี สถานประกอบการพึงพอใจและวิทยาลัยก็ได้รบั การประเมินคุณภาพ
ฐานวิทยาศาสตร์ออกแบบไว้ 5 ขั้นตอน ทุกขั้นตอนเชื่อมโยง ตามมาตรฐาน (ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ, 2556)
สัมพันธ์กัน ได้แก่ ขั้นเปิดโลกแนวความคิด ขั้นค้นหาความเป็น แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความสำ � คั ญ ของการเรี ย นรู้ แ บบโครงงานเป็ น
ไปได้ ขั้นเลือกเรื่องที่โดนใจ ขั้นสร้างและทดสอบ และขั้นนำ�เสนอ ฐานทั้งในระดับนโยบาย ระดับสถานศึกษา ระดับผู้สอนและผู้เรียน
อย่างมืออาชีพ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2555) (สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, 2557)
15
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

การสังเคราะห์การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

เมื่อได้ศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของ
นักวิชาการไทยและต่างประเทศ เทคนิควิธกี ารสอนของสถาบันการศึกษาไทยในสถาบันต่างๆ ทัง้
ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา สามารถนำ�เอาหลักการและวิธกี าร
ต่างๆ มาสังเคราะห์เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานดังตารางสังเคราะห์ดังนี้

ตารางที่ 1 การสังเคราะห์การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550)

สุวรรณ และสันติ หุตะมาน (2557)

ยินดีสุข และราเชน มีศรี (2557)


วัชรินทร์ โพธิเงิน พรจิต ประทุม

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ พเยาว์


ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์ และ
วัลลภา อยู่ทอง (2557)

ขั้นตอนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

Thomas (2000)
สอศ. (2555)
มจธ. (2555)

Intel (2013)
การเตรียมความพร้อม ü ü ü ü ü
การวางแผน ü ü ü
การศึกษาความเป็นไปได้ ü ü ü ü ü
การกำ�หนดหัวข้อ ü ü ü ü
การดำ�เนินการสร้างและทดสอบ ü ü ü ü ü ü ü ü
การวิเคราะห์และสื่อความหมายข้อมูล ü ü
การนำ�เสนอผลงาน ü ü ü ü ü ü
การประเมินผล ü ü ü ü

จากตารางสังเคราะห์ขั้นตอนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สูข่ นั้ ตอนการน�ำเสนอผลงาน ขัน้ ตอนการน�ำเสนอผลงานจะเป็นการ


จะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่ได้รับการ วิเคราะห์และแสดงข้อมูลของโครงงานทีไ่ ด้มาจากการสร้างและทดสอบ
ยอมรับจะมีแนวทางคล้ายคลึงกันและมีขนั้ ตอนไม่มากนัก เมือ่ ศึกษา ตลอดจนผลของการท�ำงานและคู่มือโครงงาน ในส่วนสุดท้ายของ
ในรายละเอียดก็จะพบว่าในบางขั้นตอนที่สังเคราะห์มา สามารถ การเรียนรูก้ จ็ ะเป็นขัน้ ตอนการประเมินผล ซึง่ ขัน้ ตอนการประเมินผล
รวมอยูใ่ นประเด็นและหัวข้อเดียวกัน เช่น ในขัน้ ตอนการเตรียมความ มีตั้งแต่การประเมินกระบวนการจนถึงการประเมินสรุปผลโครงงาน
พร้อมก็จะมีสว่ นของการวางแผนประกอบอยูใ่ นนีด้ ว้ ย ขัน้ ตอนการก�ำหนด สามารถประเมินด้วยตนเอง กลุม่ ผูท้ �ำโครงงาน ผูส้ อน หรือผูเ้ ชีย่ วชาญใน
หัวข้อก็จะเป็นการร่วมกันในการสรุปการศึกษาความเป็นไปได้ และ โครงงานนั้น จึงสรุปกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็น
ประเด็นปัญหาในการท�ำโครงงานพร้อมกับการตัง้ ชือ่ โครงงาน จากนัน้ ฐานประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม
ก็จะเริม่ ลงมือในขัน้ ตอนการด�ำเนินการสร้างและพัฒนาโครงงานจน ขั้นตอนการก�ำหนดหัวข้อ ขั้นตอนการด�ำเนินการสร้างและทดสอบ
ส�ำเร็จ มีการทดสอบการท�ำงานของโครงงานจนส�ำเร็จพร้อมที่จะไป ขั้นตอนการน�ำเสนอผลงาน และขั้นตอนการประเมินผล
16
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

บทบาทผู้สอนและผู้เรียนในการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

ผูท้ จี่ ะทำ�ให้การจัดการเรียนรูแ้ บบโครงงาน ผู้ที่จะต้องศึกษาค้นคว้า ลงมือปฏิบัติ ทำ�งาน


เป็ น ฐานประสบความสำ � เร็ จ คื อ ผู้ ส อนและ ร่วมกันเป็นกลุม่ และสร้างผลงานร่วมกันอย่าง
ผู้เรียน บทบาทของทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะ สร้างสรรค์ บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
ต้องเรียนรูร้ ว่ มกันไป ผูส้ อนเป็นผูใ้ ห้ค�ำ แนะนำ� อันสอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 จาก
และเสนอแนะแนวทางอันเป็นประโยชน์ใน ผลการสังเคราะห์สามารถกำ�หนดบทบาทของ
การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนเป็น ผู้สอนและผู้เรียนได้ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 2 บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
ขั้นตอนการเรียนรู้ บูรณาการทักษะ บทบาทของผู้สอน บทบาทของผู้เรียน
แบบโครงงานเป็นฐาน ในศตวรรษที่ 21
การเตรียมความพร้อม สาระวิ ช าหลั ก และสมรรถนะ ให้คำ�ปรึกษาและแนะนำ� ศึกษาค้นคว้า
สำ�คัญ 3 ประการ การจัดกลุ่มทำ�งาน
ทักษะด้านการเรียนรูแ้ ละนวัตกรรม ระดมความคิด
ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี ศึกษาความเป็นไปได้
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ สรุปปัญหา
การกำ�หนดหัวข้อ สาระวิ ช าหลั ก และสมรรถนะ เห็นชอบโครงงาน จัดทำ�แผนงานโครงงาน
สำ�คัญ 3 ประการ ให้ข้อเสนอแนะ นำ�เสนอหัวข้อโครงงาน
ทักษะด้านการเรียนรูแ้ ละนวัตกรรม
ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
การดำ�เนินการสร้าง สาระวิ ช าหลั ก และสมรรถนะ ติดตามและตรวจสอบ ลงมือสร้างโครงงาน
และทดสอบ สำ�คัญ 3 ประการ การดำ�เนินงาน ทดสอบการทำ�งาน
ทักษะด้านการเรียนรูแ้ ละนวัตกรรม ของโครงงาน
ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี แก้ปัญหาโครงงาน
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
การนำ�เสนอผลงาน สาระวิ ช าหลั ก และสมรรถนะ รับฟังและให้ข้อเสนอแนะ นำ�เสนอผลสำ�เร็จโครงงาน
สำ�คัญ 3 ประการ ให้กำ�ลังใจและสนับสนุน รับฟังข้อเสนอแนะ
ทักษะด้านการเรียนรูแ้ ละนวัตกรรม การทำ�โครงงาน ปรับปรุงแก้ไขผลงาน
ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
การประเมินผล สาระวิ ช าหลั ก และสมรรถนะ ประเมินผลงานตามสภาพ ประเมินผลงานตนเอง
สำ�คัญ 3 ประการ จริง
ทักษะด้านการเรียนรูแ้ ละนวัตกรรม
ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ
สื่อ และเทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
17
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

การบูรณาการสเต็มศึกษากับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

การจัดการศึกษาในลักษณะของสเต็มศึกษา (STEM Education)


เป็ น การจั ด การศึ ก ษาที่ เ น้ น การสอนในทางด้ า นวิ ท ยาศาสตร์
(Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรม (Engineering)
และคณิตศาสตร์ (Mathematic) ในประเทศที่ได้รับการจัดลำ�ดับ
การศึกษาเป็นลำ�ดับต้นๆ ของโลก จะใช้วิธีการจัดการศึกษา
แบบสเต็มนั่นคือ การบูรณาการการสอน 4 ด้านเข้าไปในรายวิชา
เป็นการจัดการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างครอบคลุมทั้ง 4
ด้าน การบูรณาการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเข้าไปเป็นเทคนิค
วิธีการสอนในการจัดสเต็มศึกษา จึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมและ
สอดคล้องกันอย่างยิ่ง ทำ�ให้มีการบูรณาการร่วมกัน เป็นการเรียนรู้
แบบโครงงานเป็นฐานสเต็ม (STEM Project-based Learning)
เพื่อใช้กระบวนการทำ�โครงงานมาสนับสนุนการจัดสเต็มศึกษา
เนือ่ งจากเป็นการเรียนรูท้ สี่ ง่ เสริมทักษะให้กบั ผูเ้ รียนได้อย่างแท้จริง
(Capraro and Slough, 2013) ดังนั้น การจัดการเรียนรู้โดยนำ�
โครงงานเข้ามาให้ผเู้ รียนได้มปี ระสบการณ์จริง ได้ท�ำ งานเป็นชิน้ งาน
และเกิดทักษะที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำ�วัน เป็นการเรียนรู้ในวิถีที่
สอดคล้องกับการใช้ชวี ติ จริงมากกว่าการเรียนจากตำ�ราหรือหนังสือ
แต่เพียงอย่างเดียว สิ่งสำ�คัญที่ต้องระลึกถึงเสมอในการเรียนรู้แบบ
โครงงานเป็นฐานคือ การทำ�ให้เป็นเรื่องสนุกเสมอ (Patton, 2012)

บทสรุป

การจัดการเรียนการสอนโดยอาศัยโครงงานเป็นฐาน เป็น
กระบวนการเรี ย นรู้ ที่ ช่ ว ยพั ฒ นาผู้ เ รี ย นให้ มี ทั ก ษะที่ จ ะใช้ ชี วิ ต
ในศตวรรษที่ 21 สามารถนำ�ขัน้ ตอนต่างๆ ไปใช้ในการจัดการเรียน
การสอน ส่งเสริมการเรียนรูท้ เี่ น้นผูเ้ รียนเป็นสำ�คัญ พัฒนาการเรียน
การสอนในชัน้ เรียนให้มปี ระสิทธิภาพ ผูเ้ รียนรูจ้ กั ทีจ่ ะแก้ไขปัญหา มี
วิธกี ารคิดแบบมีวจิ ารณญาณ ผูเ้ รียนสามารถนำ�เสนอผลงานอันเป็น
การส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ การทำ�งานเป็นทีมและเรียนรูร้ ว่ มกัน
ตลอดจนการสื่อสารระหว่างกันโดยอาศัยเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล
บูรณาการการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย การเรียนรู้แบบ
โครงงานเป็ น ฐานจึ ง เป็ น อี ก หนึ่ ง กระบวนการเรี ย นรู้ ที่ ค วรจะ
บูรณาการเข้าสูก่ ารจัดการเรียนการสอน เพือ่ ให้สอดคล้องกับทักษะ
ในศตวรรษที่ 21

18
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

บรรณานุกรม

จิระ เฉลิมศักดิ์. (2557). การจั ด การเรี ย นรู้ แ บบใช้ โ ครงงานเป็ น ฐานสำ � หรั บโครงการวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี
ฐานวิ ท ยาศาสตร์ “Project Based Learning”. ชลบุรี : วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐาน
วิทยาศาสตร์ (ชลบุรี).
ปรีดา แสงวิรุณ. (2555). “การพัฒนาการสอนแบบวิศวกรรมดิจิตอลโดยโครงงานเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างการคิด
วิเคราะห์และการแก้ปัญหา” วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน
2555. หน้า 53-60.
ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). “การปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี:
กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย” วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2556. หน้า 148-153.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ พเยาว์ ยินดีสุข และราเชน มีศรี. (2557). “กลยุทธ์แยบยลเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21.”
งานมหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพผู้สอน ครั้งที่ 7. วันที่ 15-17 ตุลาคม พ.ศ. 2557.
(EDUCA 2014) อิมแพค เมืองทองธานี.
ไพฑูรย์ นันตะสุคนธ์ และวัลลภา อยู่ทอง. (2557). หลักสูตรการอาชีวศึกษาและการนำ�ไปใช้. กรุงเทพฯ :
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2555). คู่มืออบรมพัฒนาครูผู้สอนรื่องการจัดการเรียนรู้แบบ
ใช้โครงงานเป็นฐานสำ�หรับโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี.
แม็คเอ็ดดูเคชั่น, บริษัท จำ�กัด. (2557). ครูแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : บริษัทแม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำ�ได้.
กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน. ระยอง : สำ�นักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา.
วัชรินทร์ โพธิ์เงิน พรจิต ประทุมสุวรรณ และสันติ หุตะมาน. (2557). การจั ด การเรี ย นการสอนแบบ
โครงงานเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุวฒั น์ นิยมไทย. (2554). “การเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการ :
แนวคิดใหม่ในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ” วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 2
กรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2554. หน้า 57-64.
สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). อาชี ว ะสร้ า งชาติ . กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

19
THE
21
ST

CENTURY
TEACHER

สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ : สำ�นักงานเลขาธิการ


สภาการศึกษา.
สำ�นักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2552). แนวทางการจัดทำ�โครงการ. กรุงเทพฯ : สำ�นักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา.
. (2557). บทสรุปสำ�หรับผู้บริหาร : การขับเคลื่อนงานวิชาการ ปีการศึกษา 2557. กรุงเทพฯ : สำ�นักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

Capraro, R.M and Slough, S.W. (2013). “Why PBL? Why STEM? Why Now? An Introduction to
STEM Project-based Learning: An Integrated Science, Technology, Engineering, and Mathematics
(STEM) Approach.” in STEM Project-Based Learning: An Integrated Science, Technology, Engineering,
and Mathematics (STEM) Approach. 2nd edition. Rotterdam, The Netherlands: Sense Publishers.
Intel. (2013). Intel® Teach Elements: Project-Based Approaches. Retrieved January 6, 2015, from:
https://educate.intel.com/download/K12/elements/pba_html/resources/01_PBL_Action_Plan.pdf
Partnership for 21st Century Skills. (2009). Framework for 21st Century Learning. Washington: http://www.p21.org
Patton, A. (2012). Work that matters: The teacher’s guide to project-based learning. Paul Hamlyn Foundation.
Pearson. (2012). The Learning Curve: Lessons in Country, Performance in Education.
London : Pearson. Available : http://thelearningcurve.pearson.com/the-report.
Soule, H. (2014). The Power of the 4Cs: The Foundation for Creating a Gold Standard for Project Based Learning (PBL).
http://bie.org/blog/the_power_of_the_4cs_the_foundation_for_creating_a_gold_standard_for_projec.
Thomas, J.W. (2000). A Review of Research on Project-based Learning. California: The
Autodesk Foundation.

35% Aliquip
50% Nostrud
75% Amet
83% Ipsum
100% Lorem

20

You might also like