You are on page 1of 3

กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21…………………….

นายภาคิน อิศวมงคล 636120014


1.ชื่อกิจกรรม ศิลป์เสมอกัน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 )
2.แนวคิดหรือเหตุผล
การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู ของนักเรียน เพื่อใหบรรลุผลลัพธ์ที่สำคัญและจำเป็นตอตัวนักเรียน
อย่างแท้จริง มุ งไปที่ใหนักเรียนสร้ างองคความรู ด้วยตนเอง ตองก้าวข้ามสาระวิชาไปสู่ การเรียนรู เพื่อการ
ดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ครูตองไม่สอนหนังสือไม่นําสาระที่มีในตํารามาบอกบรรยายใหนักเรียนจดจําแลวนำ
ไปสอบวัดความรู ครูต องสอนคนใหเป็นมนุษย์ที่เรียนรู การใชทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็น
ผู้ออกแบบการเรียนรู และอํานวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรูใหนักเรียนเรียนรูจากการเรียนแบบ
ลงมื อ ทำ โดยมี ป ระเด็ น คํ า ถามอยากรู เ ป็ น ตั ว กระตุ้ น สร้ า งแรงบั น ดาลใจใหอยากเรี ย น ที ่ จ ะนำสู่ ก าร
กระตือรือรนที่จะสืบคน รวบรวมความรูจากแหล่งต่าง ๆ มาสนับสนุนหรือโตแย้งขอสมมติฐานคําตอบที่คุนเคย
พบเจอจากประสบการณเดิมใกลตัว สรางเป็นกระบวนทัศนใหม่แทนของเดิม
จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงนำมาเป็นแนวคิดในการสร้างกิจกรรม “ศิลป์เสมอกัน” โดยใช้วิธีการจัดการ
เรียนรู้แบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role playing) เป็นวิธีการที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติโดยตรง จาก
การทดลองทำ จำลองสถานการณ์ ครูผู้สอนมีหน้าที่เพียงกำหนดขอบเขต ควบคุมหรือให้คำแนะนำ กิจกรรมนี้
จะส่งผลให้นักเรียนเกิดกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และประสบการณ์ ที่
สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
3.รายละเอียดกิจกรรม (ใช้เวลาทำกิจกรรมทั้งหมด 2 คาบ)
คาบที่ 1
ขั้นนำเข้าสู่กิจกรรม ครูผู้สอนเปิดวิดีทัศน์เกี่ยวกับผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านการประกอบอาชีพ
ทางทัศนศิลป์ เช่น จิตรกร สถาปนิก นักออกแบบ นักขายผลงานศิลปะออนไลน์ ฯลฯ แล้วตั้งคำถามเชิง
วิเคราะห์กับนักเรียนว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในแต่ละอาชีพนั้น มาจากอะไร?
ขั้นกิจกรรม จากนั้นให้นักเรียนเลือกอาชีพทางทัศนศิลป์ที่ตนเองสนใจหรือชื่นชอบ โดยให้อิสระกับ
นักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูลในอาชีพเหล่านั้น โดยครูให้ข้อมูล เกี่ยวกับ กระบวนการสืบค้นเป็น
ขั้นตอน จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิเช่น
- เลือกบุคคลที่นักเรียนนำมาเป็นต้นแบบหรือแรงบันดาลใจต่ออาชีพทางทัศนศิลป์ที่นักเรียนสนใจ
- สืบค้นประวัติส่วนตัว ด้านการดำเนินชีวิต ด้านการศึกษาและด้านการประกอบอาชีพ
- นำข้อมูลข้างต้นมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ถึงแนวทางการศึกษาเฉพาะด้าน
ขั้นสรุปกิจกรรม ครูชี้แจงมอบหมายให้นักเรียนเตรียมนำเสนอหน้าชั้นเรียน กำหนดเวลาคนละ
5 นาที โดยให้นักเรียนแสดงบทบาทสมมติอาชีพ ทางทัศนศิลป์ที่นักเรียนศึกษาค้นคว้าพร้อมทั้ง ครูยกตัวอย่าง
ประกอบในการเตรียมข้อมูลมานำเสนอในคาบต่อไป
คาบที่ 2
ขั้นนำเข้าสู่กิจกรรม ครูผู้สอนทบทวนบทเรียนและจับฉลากลำดับการนำเสนอด้วยวิธีการแสดง
บทบาทสมมติหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งครูสาธิตตัวอย่างวิธีการนำเสนอเบื้องต้น
ขั้นกิจกรรม ครูให้นักเรียนแสดงบาบาทสมมติในการเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพทางทัศนศิลป์ที่นักเรียน
สนใจและเลือกศึกษาข้อมูล โดยการแสดงออกทางบุคลิกภาพ การแต่งกาย เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ ในการ
ประกอบอาชีพ ผลงาน/ชิ้นงานตัวอย่างในสายอาชีพ พร้อมทั้งอธิบาย นำเสนอข้อมูลที่นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า
มา คนละ 5 นาที จนครบจำนวนนักเรียน
ขั้นสรุปกิจกรรม เมื่อนักเรียนแสดงบทบาทสมมติจนครบชั้นเรียน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้
ซักถามข้อสงสัยและร่วมกันอภิปรายถึง ผลที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ สุดท้ายครูสรุปกิจกรรม ว่า “ไม่ว่าอาชีพ
ใดๆ ที่นักเรียนต้องการที่จะทำหรือสิ่งที่จะเป็นล้วนแล้วแต่เกิดจากความรัก ความชอบและความสนใจ
ตลอดจนการตั้งใจศึกษาหาข้อมูลจนประสบผลสำเร็จในที่สุด เพราะเหตุนั้นทุกอาชีพทางทัศนศิลป์ก็คงไม่
ต่างอะไรกับอาชีพอื่นๆ อยู่ที่ว่า เราจะได้เลือกในสิ่งที่ต้องการแล้วลงมือทำมันให้ดีที่สุดแล้วหรือยัง นี่แหละ
ที่เรียกว่า ศิลป์เสมอกัน”

4.บอกวิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียน
วิธีการเสิรมแรงจูงใจในการทำกิจกรรม ศิลป์เสมอกัน
- ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบและสนใจ
- สร้างกิจกรรมที่แปลกใหม่ จากปกติรายวิชาทัศนศิลป์ จะเน้นการปฏิบัติการทางทัศนศิลป์ แต่กิจกรรมนี้
เสริมสร้างการจำลองสถานการณ์ ให้ประสบการณ์ที่แปลกใหม่โดยตรงแก่ผู้เรียน
- ให้อิสระแก่ผู้เรียนในการศึกษาเรียนรู้ ค้นคว้าหาข้อมูล โดยครูคอยเป็นที่ปรึกษา ช่วยเหลือให้คำแนะนำ
- เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้สวมบทบาทในสถานการณ์ซึ่งมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริง และแสดงออกตาม
ความรู้สึกนึกคิดของตนและนำเอาการแสดงออกของผู้แสดง
- ครูผู้สอนสร้างบรรยากาศในการทำกิจกรรมโดยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความชื่นชม ปรบมือ
ให้กำลังใจกับผู้ที่สวมบทบาทสมมติและนำเสนอ
- ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อสรุปร่วมกันอย่างมีเหตุมีผล
5.ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทำให้ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น ได้เรียนรู้การเอาใจเขามาใส่ใจเราเกิดการ
เรียนรู้ที่ลึกซึ้ง
2. ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ และเกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพฤติกรรมของตนและผู้อื่น
3. ช่วยพัฒนาทักษะในการเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจและแก้ปัญหา
4. ช่วยให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมาก ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน และการเรียนรู้
มีความหมายสำหรับผู้เรียน เพราะข้อมูลมาจากผู้เรียนโดยตรง

นายภาคิน อิศวมงคล 636120014

You might also like