You are on page 1of 46

รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

จัดทำโดย

1. นายธรรมรัตน์ หรั่งเจริญ ชัน


้ ม.4/2
เลขที่ 2
2. นางสาวปฐมาวดี ประเวชไพร ชัน
้ ม.4/2
เลขที่ 14
3. นางสาวกำไรทอง วงษ์เหรียญทอง ชัน
้ ม.4/2
เลขที่ 21

เสนอ
คุณครูเจษฎายุทธ ครองสุข

โครงงานนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและการนำ
เสนอ (IS2)

ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2561

โรงเรียนสิงห์สมุทร

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

เรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร

จัดทำโดย
1. นายธรรมรัตน์ หรั่งเจริญ ชัน
้ ม.4/2
เลขที่ 2
2. นางสาวปฐมาวดี ประเวชไพร ชัน
้ ม.4/2
เลขที่ 14
3. นางสาวกำไรทอง วงษ์เหรียญทอง ชัน
้ ม.4/2
เลขที่ 21

เสนอ

คุณครูเจษฎายุทธ ครองสุข

โครงงานนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของวิชาการสื่อสารและการนำ
เสนอ (IS2)

ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2561

โรงเรียนสิงห์สมุทร

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
สารบัญ

เรื่อง หน้า

กิตติกรรมประกาศ

บทคัดย่อ ข

บทที่ 1 1-2

บทที่ 2 3-12

บทที่ 3 13-14

บทที่ 4 15-16

บทที่ 5 17

ภาคผนวก

บรรณานุกรม
กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้จัดทำ ขอน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระ
ราชดำริ ให้มีโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ให้เป็ นทัง้ ผล
งานทางทัศนศิลป์ คือจิตรกรรม และวรรณศิลป์ คือ คำ
ประพันธ์ที่ทรงคุณค่าแก่ปวงพสกนิกรชาวไทย ให้ได้ช่ น
ื ชม
และภาคภูมิใจตลอดไป

ในโอกาสนี ้ ขอขอบพระคุณ คุณครูเจษฎายุทธ ครอง


สุข คุณครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่ได้ให้ความ
อนุเคราะห์ ตลอดจนให้คำปรึกษาด้านการทำโครงงาน
จนโครงงานนี ้ สำเร็จลุล่วงไปได้ดว้ ยดีเสมอมา

ขอขอบคุณเพื่อนๆในกลุ่ม ที่ได้ให้คำแนะนำ ข้อมูลที่


เป็ นประโยชน์ และคำปรึกษา ในการทำโครงงาน และขอ
ขอบคุณเพื่อนๆนักเรียน ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 4 ทุกคน ที่
ได้ให้ความร่วมมือในการทำแบบประเมินโครงงานนีด
้ ้วย

หากมีข้อผิดพลาดประการใด คณะผู้จัดทำ ขออภัย


มา ณ โอกาสนี ้

คณะผู้จัดทำ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
จัดทำโดย

1. นายธรรมรัตน์ หรั่งเจริญ ช น
ั้ ม .4/2
เลขที่ 2

2. นางสาวปฐมาวดี ประเวชไพร ชน
ั ้ ม .4/2
เลขที่ 14

3. นางสาวกำไรทอง วงษ์เหรียญทอง ชน
ั ้ ม .4/2
เลขที่ 21

คุณครูที่ปรึกษา คุณครูเจษฎายุทธ ครองสุข

วิชา การสื่อสารและการนำเสนอ (IS2)

สถานทึ่ศก
ึ ษา โรงเรียนสิงห์สมุทร ปี ที่พิมพ์
2561

บทคัดย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร นับเป็ นผลงานทางทัศน


ศิลป์ ที่อ้างอิงมาจากพระราชพงศาวดาร ตัง้ แต่สมัยกรุง
ศรีอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ภาพจิตรกรรม เป็ นส่วน
ที่ทำให้บทประพันธ์โคลงสี่สุภาพที่แต่งขึน
้ มีชีวต
ิ ชีวา และ
เห็นภาพเป็ นรูปธรรมมากขึน
้ จึงมีความสนใจที่จะทำโครง
งานเรื่องนี ้ เพื่อเป็ นการนำเสนอเกี่ยวกับภาพจิตรกรรมใน
การบรรยายถึงเหตุการณ์ในอดีต ให้อนุชนรุ่นหลังได้ภาค
ภูมิใจ ที่บรรพบุรุษได้สละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้ อง
และรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ จนมีผบ
ู้ ันทึกเกียรติคุณ
ผ่านภาพจิตรกรรม เป็ นเกียรติประวัตข
ิ องพสกนิกรชาว
ไทยชั่วกาลนาน

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

“...พระบาทบรมนาถบพิตร ปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
มหิศรอิศรกระษัตริย์ เบญจมรัชถวัลยราช บรมนารถทรง
อนุศร ถึงภูธรนฤบาล ครัง้ โบราณอโยธยา สื่บเนื่องมาถึง
กรุงรัตนโกสินทร์ผลัดบุรี พระคุณมีนานา...”
“...หนึ่งพระประสงค์จะบำรุงผดุงฝี มือช่างสยาม
รจเรขงามเอี่ยมสอาด เชิงฉลาดลายประดิษฐ์ ล้วนพิจิตรพึง
ชม หนึ่งพระบรมราชประสงค์ จะใคร่ทรงทำนุก ปลุกปรีชา
เชิงฉลาด แห่งนักปราชญ์กาพย์โคลง เพื่อชระโลงชูเชิด
เพื่อบรรเจิดเกียรติยศ ให้ปรากฏยาววัน...”

จากบทร่ายนำข้างต้น แสดงให้เห็นถึงพระราชดำริใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระ
ราชดำริให้เขียนภาพและแต่งโคลงประกอบภาพพระราช
พงศาวดาร ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะสรรเสริญพระ
เกียรติคุณของพระมหากษัตริย์ ตัง้ แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีต่อประเทศชาติและ
ประชาชนชาวไทย

นอกจากนี ้ ยังมีพระราชประสงค์ที่จะบำรุงช่างฝี มือ


ช่างไทยและสนับสนุนกวีที่มีความสามารถในการประพันธ์
ให้ปรากฏชื่อเสียงสืบไป

จึงมีความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี ้ เพื่อศึกษา
แนวคิด ผลงาน ของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ที่
เป็ นการผสมผสานระหว่างทัศนศิลป์ และวรรณศิลป์ ได้
อย่างวิจิตรงดงาม นับเป็ นมรดกอันล้ำค่าอีกชิน
้ หนึ่งของ
ชาวไทย ที่ควรรักษาไว้สืบไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานที่ประกอบด้วย
ทัศนศิลป์ และวรรณศิลป์
2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาในผลงานโคลงภาพพระราช
พงศาวดาร

ขอบเขตการศึกษา

- สิ่งที่ศึกษา โคลงภาพพระราชพงศาวดาร จำนวน 5


รูป จากทัง้ หมด 92 รูป ได้แก่
1. รูปที่ 1 ภาพสร้างกรุงศรีอยุธยา
2. รูปที่ 10 ภาพพระสุริโยทัยขาดคอช้าง
3. รูปที่ 29 ภาพสมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถี
กับพระมหาอุปราชา
4. รูปที่ 56 ภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวต

5. รูปที่ 82 ภาพไฟไหม้อินทราภิเศกมหาปราสาท
- สถานที่ โรงเรียนสิงห์สมุทร
- ระยะเวลา 20 มิถุนายน - 26 ธันวาคม 2561

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ทราบเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานที่ประกอบด้วยทัศน
ศิลป์ และวรรณศิลป์ ทัง้ แนวคิด และภาพผลงานอย่าง
เป็ นรูปธรรม
2. เมื่อผู้ชมได้ชมภาพแล้ว จะทำให้ร้ส
ู ึกภาคภูมิใจใน
ความเสียสละของบรรพบุรุษไทย

บทที่ 2

เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
(บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม)

รูปที่ 1 แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ภาพสร้างกรุง


ศรีอยุธยา

แถลงปางพระเจ้าอู่- ทองปรา-รภเฮย

จักประดิษฐนครา ใหม่ยงั ้

ชีพ่อหมู่พฤฒา- จารย์จัด-การแฮ

กลบบาทว์สุมเพลิงตัง้ สวดพร้องพุทธมนต์

ชนงานขุดภาคพื้น ภูมิมณ- ฑลเฮย

สบพระสังข์เสวตรกล กษิรแผ้ว
เปนทักษิณวัฏดล แสดงศุภ- อรรถ
เอย

เสร็จกิจพิธีแล้ว สืบสร้างการผอง

หนองโสนแนะถิ่นด้าว เดิมมี ชื่อนา

ขนานเปลี่ยนนามธานี เทพไท้

ทวารวดีศรี อยุธ- ยาเฮย

กรุงกระษัตริย์สถิตได้ สี่ร้อยปี ปลาย

บรรยายพระยศไท้ ธเรศตรี- ศวรเฮย

เฉลิมนิเวศน์ธานี ภิเศกซ้ำ

รามาธิบดี นามเพิ่ม พระแฮ

ปฐมรัชขัตย
ิ เลิศล้ำ ผ่านหล้าแหล่งสยาม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อหาจากภาพ

เป็ นภาพการสร้างกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระ


รามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งทรง
สร้างกรุงศรีอยุธยาบนพื้นที่หนองโสน มีพระราชประสงค์
เพื่อสร้างเป็ นราชธานีแห่งใหม่ของชาวสยาม ต่อมา เมื่อมี
การขุดดินเพื่อสร้างบ้านเมือง ก็ได้มีการพบกับหอยสังข์สี
ขาวสะอาด ต้องตามลักษณะมงคล และได้ตงั ้ ชื่อว่า “กรุง
ทวารวดีศรีอยุธยา” ก่อนที่ในสมัยหลังจะเปลี่ยนชื่อเป็ น “
กรุงอยุธยาศรีรามเทพนคร” และได้ทรงครองสิริราชสมบัติ
ขึน
้ เป็ นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และกรุงศรีอยุธยาก็
ดำรงอยู่มาถึง 417 ปี

รูปที่ 10 แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ภาพพระสุริโย


ทัยขาดคอช้าง

บุเรงนองนามราชเจ้า จอมรา- มัญ


เฮย
ยกพยุหแสนยา ยิ่งแกล้ว

มอญม่านประมวลมา สามสิบ หมื่น


แฮ

ถึงอยุธเยศแล้ว หยุดใกล้นครา

พระมหาจักรพรรดิเผ้า ภูวดล สยาม


เฮย

วางค่ายรายรีพ
้ ล เพียบหล้า

ดำริจักใคร่ยล แรงศึก

ยกนิกรทัพกล้า ออกตัง้ กลางสมร

บังอรอัคเรศผู้ พิสมัย ท่าน


นา

นามพระสุริโยทัย ออกอ้าง

ทรงเครื่องยุทธพิไชย เช่นอุป- ราชแฮ

เถลิงคชาธารคว้าง ควบเข้าขบวนไคล

พลไกรกองน่าเร้า โรมรัน กันเฮย

ช้างพระเจ้าแปรประจัญ คชไท้
สารทรงซวดเซผัน หลังแล่น เตลิดแฮ

เตลงขับคชไล่ใกล้ หวิดท้ายคชาธาร

นงคราญองค์เอกแก้ว กษัตรีย์

มานมนัสกัตเทวี ยิ่งล้ำ

เกรงพระราชสามี มลายพระ- ชนม์


เฮย

ขับคเชนทรเข่นค้ำ สะอึกสู้ดส
ั กร

ขุนมอญร่อนง้าวฟาด ฉาดฉะ

ขาดแล่งตราบอุระ หรุบดิน

โอรสรีบกันพระ- ศพสู่ นคร


แฮ

สูญชีพไป่ สูญสิน
้ พจน์ผู้สรรเสริญ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื้อหาจากภาพ

เป็ นภาพการทำยุทธหัตถีระหว่างพระมหาจักรพรรดิ
แห่งกรุงศรีอยุธยา กับพระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี
สมเด็จพระสุริโยทัยทรงเครื่องเป็ นชายตามเสด็จไปรบ เมื่อ
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียที พระเจ้าแปรไสช้างไล่ตาม
มา สมเด็จพระสุริโยทัยจึงขับช้างออกรับช้างศึกไว้ เป็ น
จังหวะที่เดียวกันกับที่พระเจ้าแปรจ้วงฟั น สมเด็จพระสุริโย
ทัยถูกพระแสงของ้าวฟั นขาดสะพายแล่ง สิน
้ พระชนม์ซบ
อยู่กับคอช้าง พระมหินทราธิราช และพระราเมศวรได้กัน
พระศพกลับสู่พระนคร

รูปที่ 29 แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ภาพสมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุป
ราชา

แถลงเรื่องอุปราชเจ้า รามัญ

ยกพยุห์สู่สยามขัณฑ์ เขตรกว้าง

คร้ามอาจขลาดแขงขยัน เจ้าอยุธ- ยาฤๅ


พลางเพิ่มขุนขี่ช้าง ฉัตรล้อมปลอมปน

ยุคลฤทธิราชเจ้า อยุธยา

องค์เชษฐ์นเรศรา- ธิราชเจ้า

อนุชนารถนุชเอกา- ทศรถ
นามฤๅ

ทราบศึกซ่องพลเต้า ตัดสู้ดูแรง

เห็นแขงแสร้งล่าล้อ ให้ขบวน บางนา

เข้าถนัดตัดต้นชวน รบช้าง

พ้อพาทอุปราชหวน อายออก องค์แฮ

สมคาดขับคชคว้าง ไขว่ค้ำบำรู

สองข้างละคู่เข้า โรมรณ

นเรศวร์ฟาดแสงพล พ่ายฟ้ อง

อุปราชขาดอุระบน คอพัท
กอนา

อนุราชทศรถน้อง ฆ่าม้วยมางจา

โยธาทัพต่อต้อน มอญมละ หนีนา


เห็นอย่างทางแพ้ชนะ เช่นนี ้

ใช่มากหากจำจะ ไชยเที่ยง แท้เลย

หัวน่าถ้าดีชี ้ ชักได้ไชยเสมอ

สยามรัฐพัฒน์แผ่นพ้น สองครา นีแ


้ ล

หนึ่งเขตรนเรศรา ชะนี ้

กับทัง้ เทพมหา- นคร เรานอ

ุ สิทธิไ์ ชยชี ้
สิทธิศข ชิดอ้างปางสอง

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร

เนื้อหาจากภาพ

เป็ นภาพการทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวร
มหาราชกับพระมหาอุปราชา ปรากฏว่า สมเด็จพระ
นเรศวรมหาราชทรงได้รับชัยชนะ ทรงฟั นพระมหาอุป
ราชา ด้วยพระแสงของ้าว จนขาดสะพายแล่ง สิน
้ พระชนม์
บนคอช้าง ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชา ทรง
กระทำยุทธหัตถีกบ
ั มางจาชโร ก็ทรงได้รบ
ั ชัยชนะเช่นกัน
ทำให้พม่าไม่กล้ารุกรานสยามมาเป็ นเวลานานอยู่หลาย
ศตวรรษ ด้วยพระบารมีแห่งองค์สมเด็จพระนเรศวร
มหาราช

รูปที่ 56 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ ภาพพันท้ายนรสิงห์


ถวายชีวิต

สรรเพชญที่แปดเจ้า อยุธยา

เสด็จประพาสทรงปลา ปากน้ำ

ล่องเรือเอกไชยมา ถึงโคก- ขามพ่อ

คลองคดโขนเรือค้ำ ขัดไม้หักสลาย

พันท้ายตกประหม่าสิน
้ สติคิด

โดดจากเรือทูลอุทิศ โทษร้อง

พันท้ายนรสิงห์ผิด บทฆ่า เสียเทอญ


หัวกับโขนเรือต้อง คู่เส้นทำศาล

ภูบาลบำเหน็จให้ โทษถนอม ใจนอ

พันไม่ยอมอยู่ยอม มอดม้วย

พระโปรดเปลี่ยนโทษปลอม ฟั นรูป แทนพ่อ

พันกราบทูลทัดด้วย ท่านทิง้ ประเพณี

ภูมีปลอบกลับตัง้ ขอบรร- ลัยพ่อ

จำสั่งเพชฌฆาตฟั น- ฟาดเกล้า

โขนเรือกับหัวพัน เซ่นที่ ศาลแล

สืบกฤติคุณเค้า คติไว้ในสยาม

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร

เนื้อหาจากภาพ

เป็ นภาพที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้า


เสือ) เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ไปประพาสทรงเบ็ดที่
ปากน้ำ เมืองสาครบุรี (ปั จจุบัน คือจังหวัดสมุทรสาคร)
เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขาม ซึ่งเป็ นคลองคดเคีย
้ ว
โขนเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักลง พันท้ายนรสิงห์ นาย
ท้ายเรือพระที่นั่งตกใจมาก จึงกระโดดขึน
้ ฝั่ งแล้วกราบ
บังคมทูลให้ทรงลงพระราชอาญา สมเด็จพระเจ้าเสือ
พระราชทานอภัยโทษ ด้วยเห็นว่าเป็ นเหตุสด
ุ วิสย
ั จึงโปรด
เกล้าฯให้ตัดศีรษะหุ่นเหมือนแทน แต่พันท้ายนรสิงห์ไม่
เห็นด้วย เพราะเป็ นการขัดราชประเพณี สมเด็จพระเจ้า
เสือจึงรับสั่งให้ประหารชีวต
ิ แล้วให้ตงั ้ ศาลเพียงตา นำโขน
เรือและศีรษะของพันท้ายนรสิงห์ ตัง้ เซ่นที่ศาล สืบ
เกียรติคุณมาตราบเท่าวันนี ้

รูปที่ 82 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ า
ภาพไฟไหม้อินทราภิเศกมหาปราสาท

ปี พันร้อยเศษห้า สิบเอ็ด รกาแล

เกิดพิรุณลงเม็ด พร่างพร้อย

อสนีตกมุขเด็จ ปราสาท

นามอมรินทรภิเศกสร้อย ศัพท์ก้องเกิด
เพลิง

คุไหม้มุขสี่ด้าน โชมลง

ลามติดพระปรัศองค์ ฝ่ ายซ้าย

สนมนาฏราชสุริวงศ์ ต่างวุ่น -
วายแฮ

พาพวกระเห็จผ้าย ออกพ้นวังสถาน

ขณะนัน
้ บรมราชเจ้า จักรี กระ
ษัตริย์แฮ

ดำรัสสั่งเสนี พรั่งพร้อม
ให้ยกราชวรอาศน์มี เสวตรฉัตร
กัน
้ เฮย

ออกจากที่เพลิงล้อม รอดพ้นเพลิง
กัลป์

ทั่วพระวงศใหญ่น้อย บรรดา มี
เอย

หลวงพระขุนคณา- มาตย์ไท้

อีกสงฆ์ทุกวัดมา ทั่วหมด

ช่วยดับอัคคีไหม้ เหือดสิน
้ เพลิงสูญ

พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค

เนื้อหาจากภาพ

ในปี จุลศักราช 1151 (พ.ศ. 2332) ได้เกิดอสนีบาต (ฟ้


าผ่า) ตกต้องหน้ามุขเด็จพระที่นั่งอมรินทราภิเศกมหา
ปราสาท เกิดเป็ นเพลิงลุกลามไหม้เครื่องบนและหลังคา
ลุกลามไหม้ทัง้ องค์พระมหาปราสาท และพระปรัศว์ซ้ายลง
หมดสิน
้ พระบาทสมเด็จพระ-พุทธยอดฟ้ าจุฬาโลก จึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน)
สมุหนายก เป็ นแม่กองรื้อซากพระมหาปราสาทที่ถูกไฟ
ไหม้ออกแล้วสร้างพระมหา-ปราสาทขึน
้ ใหม่ นามว่า “พระ
ที่นั่งดุสิตมหาปราสาท” ตราบเท่าทุกวันนี ้

บทที่ 3

วิธีการศึกษาค้นคว้า

วัสดุอุปกรณ์
1. คอมพิวเตอร์
2. เครื่องถ่ายเอกสาร
3. หนังสือโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ของกรม
ศิลปากร
4. หนังสือวรรณคดีและวรรณกรรม

วิธก
ี ารดำเนินงาน

1. ประชุมปรึกษาหารือกับสมาชิกในกลุ่ม เพื่อเลือกหัว
เรื่องในการทำโครงงาน
2. นำหัวเรื่องโครงงานและแผนการดำเนินการที่สรุปได้
ไปปรึกษาคุณครูที่ปรึกษาและแก้ไข จนเสร็จสมบูรณ์
3. แบ่งเนื้อหาที่ต้องไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโคลงภาพ
พระราชพงศาวดาร ว่าจากทัง้ 92 ภาพ มีภาพใดบ้าง
ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สำคัญบ้าง
4. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโคลงภาพพระราชพงศาวดารที่
คัดเลือกมา
5. นำข้อมูลที่สืบค้นได้ มาตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล
ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
6. พิมพ์ข้อมูลลงบนโปรแกรม Microsoft Word
7. ถ่ายเอกสารโครงงาน
8. นำแบบประเมินไปให้เพื่อนๆ ได้สอบถามตามความ
เป็ นจริง
9. นำโครงงานและแบบประเมินรวบรวมเป็ นรูปเล่มนำ
ส่งคุณครู
10. เตรียมการนำเสนอโครงงานหน้าชัน
้ เรียน

วิธก
ี ารดำเนินงาน

ขัน
้ ตอนการศึกษาและการดำเนินการตัง้ แต่วันที่ 20
มิถุนายน 2561 ณ โรงเรียนสิงห์สมุทร ตำบลสัตหีบ
อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

รายละเอียดการดำเนินการ

วัน เดือน ปี กิจกรรมที่ปฏิบัติ


20 มิถุนายน จัดตัง้ กลุ่ม
2561
27 มิถุนายน นำหัวเรื่องโครงงานและแผนการดำเนิน
2561 การที่สรุปได้ ไปปรึกษาคุณครู ที่
ปรึกษาประจำวิชา
4 กรกฎาคม แบ่งเนื้อหาที่ต้องไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
2561 โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
18,27 สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโคลงภาพพระราช
กรกฎาคม และ พงศาวดารที่ได้คัดเลือกมา
1,8 สิงหาคม
2561
15 สิงหาคม นำข้อมูลที่สืบค้นได้มาตรวจสอบและ
2561 รวบรวมให้สมบูรณ์
14 พฤศจิกายน พิมพ์ข้อมูลลงบนโปรแกรม Microsoft
2561 Word
21 พฤศจิกายน ถ่ายเอกสารข้อมูลโครงงาน และแบบ
2561 ประเมิน
28 พฤศจิกายน นำแบบประเมินให้เพื่อนนักเรียนได้
2561 ประเมินตามความเป็ นจริง
19 ธันวาคม นำเอกสารโครงงานและแบประเมินมาทำ
2561 เป็ นรูปเล่ม
26 ธันวาคม เตรียมการนำเสนอโครงงานและเผยแพร่
2561
บทที่ 4

ผลการดำเนินการ

ในการวิเคราะห์ข้อมูล โคลงภาพพระราชพงศาวดาร
ของนักเรียนโรงเรียนสิงห์สมุทร ระดับชัน
้ มัธยมศึกษา
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 มีวต
ั ถุประสงค์เพื่อศึกษาและสำรวจผู้ที่
สนใจในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ซึ่งเป็ นผลงานที่ผสม
ผสานระหว่างภาพจิตรกรรม และวรรณคดีไว้ดว้ ยกัน เพื่อ
ให้เป็ นมรดกของชาติไทยสืบไป ผู้จัดทำโครงงาน ได้นำ
เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ดำเนินการ ตามลำดับ

ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพทั่วไป ของกลุ่ม


ตัวอย่าง
ตารางที่ 1 จำแนกร้อยละของสภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
จำแนกตาม เพศ

เพศ จำนวน (คน) ร้อยละ (%)


ชาย 13 52
หญิง 12 48
รวม 25 100

สรุปได้ว่า กลุ่มสำรวจ คือเพื่อนนักเรียนชัน



มัธยมศึกษาปี ที่ 4 จากทุกห้อง ทัง้ หมด 25 คน เป็ น
นักเรียนชาย 13 คน คิดเป็ นร้อยละ 52 และนักเรียนหญิง
12 คน คิดเป็ นร้อยละ 48

ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพของคะแนนแบบ
ประเมิน โดยมีคะแนนทัง้ หมด 25 คะแนน

คะแน 0–5 6–9 10 – 15 16 – 20 – 25


น (ไม่ (สนใจ (สนใจปาน 19 (สนใจมาก
เพศ สนใจ) น้อย) กลาง) (สนใจ ที่สุด)
มาก)
ชาย
หญิง
รวม

ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพ ของภาพที่เพื่อน


ชื่นชอบสนใจในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

โคลงภาพฯ รูปที่ รูปที่ รูปที่ 29 รูปที่ 56 รูปที่


เพศ 1 10 82
ชาย
หญิง
รวม
บทที่ 5

สรุปผลการศึกษาและอภิปรายผล

คณะผู้จัดทำ มีวัตถุประสงค์ในการทำโครงงาน ดังนี ้

1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานที่ประกอบด้วย
ทัศนศิลป์ และวรรณศิลป์
2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาในผลงานโคลงภาพพระราช
พงศาวดาร

จากวัตถุประสงค์ที่กล่าวมาข้างต้น คณะผู้จัดทำ จึงได้


สอดแทรกเนื้อหา ทัง้ ในเชิงวรรณศิลป์ และเชิง
ประวัติศาสตร์ ซึ่งบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย และกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และ
วัฒนธรรมอีกด้วย
สรุปผลการศึกษา

เพื่อนๆนักเรียนมีความสนใจในผลงานทางจิตรกรรม
และวรรณกรรมอันทรงคุณค่าเป็ นอย่างมาก ทำให้เกิด
ความรู้สึกรักชาติ และได้ทราบถึงความกล้าหาญ ความเสีย
สละของบรรพบุรุษไทย ที่ได้บันทึกไว้ ผ่านงานจิตรกรรม
และวรรณกรรม

ประเมินความสำเร็จของโครงงาน

เพื่อนๆนักเรียนได้ร้ส
ู ึกภาคภูมิใจในความเป็ นชาติที่มี
ศิลปะอันงดงาม และได้ศึกษารูปแบบการวาดภาพในการ
ปลุกใจรักชาติ และเป็ นการศึกษาศิลปะที่มีเนื้อหาทาง
ประวัติศาสตร์ประกอบอีกด้วย

ข้อเสนอแนะ

ควรมีการนำเสนอโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ที่มี
เนื้อหาที่สำคัญให้มากกว่านี ้
แบบประเมินความสนใจเกี่ยวกับการเข้า
กิจกรรม IS

เรื่องโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 4 เพศ
ชาย หญิง

ตอนที่ 1 ให้ทำเครื่องหมายถูก ในช่องที่กำหนด ตามความ


เป็ นจริง

ข้ รายการประเมิน ระดับความเหมาะสม
อ ดีมาก ดี ปาน พอ ปรับ
(5) (4) กลาง ใช้ ปรุง
(3) (2) (1)
1 เนื้อหาของกิจกรรม
มีความเหมาะสม
มากน้อยเพียงใด
2 ระยะเวลาในการ
บรรยายกิจกรรม
3 รูปแบบของ
กิจกรรมมีความ
เหมาะสมเพียงใด
4 มีสว่ นร่วมกับ
กิจกรรมมากน้อย
เพียงใด
5 เมื่อได้ชมภาพแล้ว
มีความรู้สึกในภาพ
รวมอย่างไร

มีต่อหน้าหลัง...

ตอนที่ 2 เลือกภาพจากโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ที่ช่ น



ชอบ

ภาพสร้างกรุงศรีอยุธยา

ภาพพระสุริโยทัยขาดคอช้าง

ภาพพันท้ายนรสิงห์ถวายชีวต

ภาพสมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหา
อุปราชา

ภาพไฟไหม้อินทราภิเศกมหาปราสาท

ตอนที่ 3 ข้อชีแ
้ จงและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงงาน

จุดเด่นของโครงงานนี ้

............................................................................................
............................................................................................
............................................................................................
..

ข้อเสนอ
แนะ.....................................................................................
............................................................................................
............................................................................................
.........

ขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือ
ภาคผนวก
ข้อมูลเกี่ยวกับโคลงภาพพระราชพงศาวดาร

ชื่อภาพ การสร้างกรุงศรีอยุธยา

ศิลปิ น นายอิม

เหตุการณ์ในภาพ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้า
อู่ทอง) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนคร
บริเวณหนองโสน

ปี ที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ พ.ศ. 1893

รัชสมัยที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(พระเจ้าอู่ทอง)

ผู้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงประกอบภาพ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อภาพ พระสุริโยทัยขาดคอช้าง

ศิลปิ น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ ากรม


พระยานริศรานุวัดติวงศ์

เหตุการณ์ในภาพ สมเด็จพระสุริโยทัย กับสมเด็จพระ


มหาจักรพรรดิ พระราช-สวามี ออกสงครามรบกับพระเจ้า
บุเรงนอง และพระเจ้าแปร

ปี ที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ พ.ศ. 2091

รัชสมัยที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงประกอบภาพ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชื่อภาพ สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระ
มหาอุปราชา

ศิลปิ น หลวงพิศณุกรรม์

เหตุการณ์ในภาพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรง


ออกสู้รบกับพระมหาอุปราชา และสมเด็จพระเอกาทศรถ
พระอนุชา ทรงออกสู้รบกับมางจาชโร

ปี ที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ พ.ศ. 2135


รัชสมัยที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ สมเด็จพระนเรศวร
มหาราช

ผู้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงประกอบภาพ พระเจ้าน้องยา
เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (ต่อมา คือ พระเจ้าบรมวงศ์
เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร)

ชื่อภาพ สมเด็จพระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระ
มหาอุปราชา

ศิลปิ น นายทอง (พระวรรณวาดวิจิตร)


เหตุการณ์ในภาพ พันท้ายนรสิงห์ ทูลขอให้สมเด็จ
พระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) ทรงลงพระราช
อาญาแก่ตน ในฐานทำให้โขนเรือพระที่นั่งเอกไชยหัก ซึ่ง
ตามกฎมณเฑียรบาล ได้ระบุว่า หากโขนเรือพระที่นั่งหัก ผู้
ที่เป็ นนายท้ายเรือ มีโทษถึงประหารชีวิต

ปี ที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ พ.ศ. 2241

รัชสมัยที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
(สมเด็จพระเจ้าเสือ)

ผู้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงประกอบภาพ พระเจ้า
น้องยาเธอ พระองค์-เจ้าวรวรรณากร (ต่อมา คือ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์)
ชื่อภาพ ภาพไฟไหม้อินทราภิเศกมหาปราสาท

ศิลปิ น ไม่ปรากฏนาม

เหตุการณ์ในภาพ ไฟไหม้พระที่นั่งอินทราภิเษกมหา
ปราสาท

ปี ที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ พ.ศ. 2135

รัชสมัยที่เกิดเหตุการณ์ในภาพ พระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้ าจุฬาโลก (ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200
ปี ในปี พ.ศ.2525 ได้รับการยกย่องเป็ น “มหาราช”)
ผู้ทรงพระราชนิพนธ์โคลงประกอบภาพ พระเจ้าน้องยา
เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรี- ศุภโยค (ต่อมา คือ พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ)

You might also like