You are on page 1of 22

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี บทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา

จัดทาโดย

นางสาวขวัญชนก ชัยชนะโยธินวัชร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕/๘ เลขที่ ๔

นายปธานิน เจนณรงศักดิ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕/๘ เลขที่ ๗

นายรวีโรจน์ โอพรสวัสดิ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕/๘ เลขที่ ๑๑

นายสุเมธ แซ่โล้ว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕/๘ เลขที่ ๑๕

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐

โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)

รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

คานา

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จัดทาขึ้นเพื่อ ศึกษาเนื้อหา ความรู้ที่


ได้จากวรรณคดีมัทนะพาธา ซึ่งรายงานนี้ได้นาเนื้อหาความรู้มาจาก หนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์ของชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๕ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการดาเนินเรื่องของบทละครพูดคาฉันท์ และการพิจารณาด้านภาษาและ
คุณค่าของวรรณคดี

ผู้จัดทาได้เลือกหัวข้อนี้ เนื่องจากมีความสนใจในวรรณคดีเรื่องนี้ อีกทั้งยังสามารถนา ข้อคิดที่ได้จาก


เรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ ผู้จัดทาขอขอบคุณ อาจารย์พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ผู้ให้ความรู้
และแนวทางการศึกษา หวังว่ารายงาน ฉบับนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆท่าน หากมี
ข้อผิดพลาดหรือข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทาขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

คณะผู้จัดทา
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑

สารบัญ

คานา ก
สารบัญ ข
เนื้อเรื่องย่อ 1
โครงเรื่อง 1
ตัวละคร 1
ฉากท้องเรื่อง 2
บทเจรจา 2
แก่นเรื่อง 3
การสรรคา 3
การเรียบเรียงคา 10
โวหารภาพพจน์ 10
ลีลาคาประพันธ์ 13
คุณค่าทางอารมณ์ 16
คุณค่าทางคุณธรรม 17
คุณค่าทางด้านอื่นๆ 18
บรรณานุกรม 19
1

เนื้อเรื่องย่อ

สุเทษณ์ให้มายาวิน บริวารของสุเทษณ์ใช้เวทมนตร์คาถาไปสะกดให้นางมายังวิมานของสุเทษณ์
เทพบุตร แต่ก็ยังไม่พอใจเพราะว่า สุเทษณ์เห็นว่านางมัทนาตอบคาถามของเขาเหมือนผู้ไม่มีสติอยู่กับเนื้อกับ
ตัว จึงให้มายาวินคลายมนตร์สะกด เมื่อนางรู้สึกตัวก็ตกใจกลัวที่เข้าไปถึงวิมานของสุเทษณ์ สุเทษณ์จึงถือ
โอกาสฝากรัก มัทนาแสดงความจริงใจว่านางไม่ได้รักสุเทษณ์จึงไม่อาจรับรักได้ เมื่อได้ยินดังนั้นสุเทษณ์ไม่พอใจ
นางมัทนา จึงสาปให้นางจุติจากสวรรค์ไปเกิดบนโลกมนุษย์โดยนางเป็นผู้ร้องขอให้ตนเองเกิดไปเป็นดอก
กุหลาบในป่าหิมาวันโดยเปิดโอกาสให้นางกลายร่างเป็นมนุษย์ได้เมื่อถึงคืนวันเพ็ญเพียงหนึ่งวันกับหนึ่งคืน
เท่านั้นและเมื่อใดที่นางมีรักเมื่อนั้นจึงจะพ้นคาสาปและกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อย่างปกติ หากเมื่อใดที่นางมี
ทุกข์เพราะความรักก็ให้นางอ้อนวอนต่อพระองค์และพระองค์จะช่วยเหลือ

โครงเรื่อง

มัทนะพาธา เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพธิดาผู้ตกเป็นเหยื่อของความรักที่ไม่ต้องการของเทพบุตรจนถูกสาป
กลายเป็นดอกกุหลาบ และไม่สมหวังกับความรักที่มีต่อเจ้าชายเพราะกลอุบายของมเหสีของเจ้าชาย

ตัวละคร

เทพบุตรสุเทษณ์ - เทพบุตรที่หลงรักในตัวนางมัทนามาตั้งแต่อดีตแต่กลับได้รับความรักที่ไม่สมหวัง
กลับแทน เป็นคนเอาแต่ใจ และไม่คานึงถึงูอื
ผ้ ่น ดังตัวอย่างบทกวีต่อไปนี้

สุเทษณ์ : เหวยจิตรเสน มึงบังอาจเล่น ล้อกูไฉน?


จิตระเสน : เทวะ, ข้าบาท จะบังอาจใจ ทาเช่นนั้นไซร้ได้บ่พึงมี.
สุเทษณ์ : เช่นนั้นทาไม พวกมึงมาให้ พรกูบัดนี้, ว่าประสงค์ใด ให้สมฤดี? มึงรู้อยู่นี่?
ว่ากูเศร้าจิต เพราะไม่ได้สม จิตที่ใฝ่ชม, อกกรมเนืองนิตย์.
จิตระเสน : ตูข้าภักดี ก็มีแต่คิด เพื่อให้ทรงฤทธิ์ โปรดทุกขณะ.
สุเทษณ์ : กูไม่พอใจ ไล่คนธรรพ์ไป บัดนี้เทียวละ อย่ามัวรอลั้ง
2

เทพธิดามัทนา - เทพธิดาผู้ซื่อตรง เป็นคนซื่อสัตย์ พูดแต่ความจริงและผู้มีรูปโฉมงดงาม มีคุณสมบัติ


ของสตรี โดยเฉพาะในเรื่องการพูด มีความสามารถในการใช้ภาษาและฉลาดในการเจรจาหรือตอบ
คาถาม อย่างเช่นในตอนที่ปฏิเสธรับรักจากสุเทษณ์

“ ฟังถ้อยคาดารัสมะธุระวอน ดนุนี้ผิเอออวย
จักเป็นมุสาวะจะนะด้วย บ มิตรงกะความจริง.
อันชายประกาศวะระประทาน ประดิพัทธะแด่หญิง,
หญิงควรจะเปรมกะมะละยิ่ง ผิวะจิตตะตอบรัก;
แต่หากฤดี บ อะภิรมย์ จะเฉลยฉะนั้นจัก
เป็นปดและลวงบุรุษรัก ก็จะหลงละเลิงไป.”

ฉากท้องเรื่อง

บทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีฉากท้องเรื่องที่ปรากฏฉากสวรรค์ สามารถสังเกตได้จากตอนที่


นางมัทนาถูกมายาวิน คลายคาถาให้นาง พอมัทนารููสึกตัวก็ถามว่าทาไมมาอยู่ในนี้และมัทนาก็ได้กล่าวว่า

“ เหตุใดพระองค์ทรงธรรม์ จึ่งทาเช่นนั้น ให้ข้าพระบาทต้องอาย


แก่หมู่ชาวฟ้าทั้งหลาย? โอ้พระฦสาย พระองค์จงทรงปราณี”

ในบทที่มัทนาได้กล่าวมานั้น สามารถสังเกตุได้จากคาว่าหมู่ชาวฟ้า ซึ่งคานี้แสดงให้เห็นว่าสถานที่แห่ง


นี้ไม่ใช่บนโลก แต่เป็นบนสวรรค์ เนื่องจากคาว่าชาวฟ้านั้นสื่อถึงเทพ เทวดา นางฟ้าที่อยู่บนสวรรค์

บทเจรจา

เป็นบทตอนที่สุเทษณ์ได้เรียกมัทนาไปพบเพื่อจะบอกรักมัทนาและครู่าครวญให้มัทนารับรักแต่ทว่ามัท
นาอยู่ ในมนตร์สะกด มัทนาจึงตอบสุเทษณ์ทื่อเหมือนคนที่ไม่มีจิตใจ ดัง เช่นบทนี้

สุเทษณ์ “รักจริงมิจริง ฤ ก็ไฉน อรไท บ่ แจ้งการ?”


มัทนา “รักจริงมิจริงก็สุระชาญ ชยะโปรดสถานใด?”
สุเทษณ์ “พี่รักและหวังวธุจะรัก และ บ ทอด บ ทิ้งไป.”
มัทนา “พระรักสมัคร ณ พระหทัย ฤ จะทอดจะทิ้งเสีย?”
สุเทษณ์ “ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย.”
3

มัทนา “ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤ จะหายเพราะเคลียคลอ?”


สุเทษณ์ “โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บ มิตอบพะจีพอ?”
มัทนา “โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี!”
สุเทษณ์ “เสียแรงสุเทษณ์นะประดิพัทธ์ มะทะนา บ เปรมปรีดิ์.”
มัทนา “แม้ข้า บ เปรมปฺริยะฉะนี้ ผิจะโปรดก็เสียแรง.”
สุเทษณ์ “โอ้รูปวิไลยะศุภะเลิศ บ มิควรจะใจแข็ง”
มัทนา “โอ้รูปวิไลยะมละแรง ละก็จาจะแข็งใจ.”

แก่นเรื่อง

มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคาฉันท์ถูกแต่งโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือรัชกาลที่
๖ โดยพระองค์ทรงคิดโครงเรื่องเองทั้งหมดโดยมีแก่นสาคัญของเรื่องอยู่ ๒ ข้อคือ

๑. เพื่อแสดงให้เห็นถึงอานุภาพของความรักและความเจ็บปวดที่เกิดจากความรัก ความหลงอาจจะเกิดขึ้นได้
กับใครก็ตามที่มีความรัก “มัทนะพาธา” คือชื่อเรื่องที่พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้ คาว่ามัทนะ หรือ มทน แปลว่า
ความรัก หรือ ความลุ่มหลง ส่วนคาว่า พาธา หรือ พาธ แปลว่า ความเบียดเบียน หรือ ความทุกข์ ทาให้พอนา
๒ คานี้มารวมกันจึงมีความหมายว่า “ความทุกข์และความเดือดร้อนที่เกิดจากความรัก”

๒. ในสมัยนั้นยังไม่เคยมีตานานดอกกุหลาบในเทพนิยาย ซึ่งจัดเป็นดอกไม้ที่สวยงาม พระองค์จึงนิพนธ์ให้ดอก


กุหลาบมีต้นกาเนิดมาจากนางฟ้าที่ถูกสาปให้จุติลงมาเกิดบนโลกมนุษย์เป็นดอกไม้ที่งดงามชื่อว่า “ดอกกุพฺช
กะ” หรือที่คนส่วนมากรู้จักกันในนาม “ดอกกุหลาบ”

การสรรคา
ในมัทนะพาธามีการใช้การสรรคาอยู่มากมาย ซึ่งการสรรคานั้นผู้แต่งจะต้องเลือกใช้คาให้ตรงตาม
ความต้องการ เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง ตลอดจนสอดคล้องกับลักษณะของคา
ประพันธ์ นอกจากนี้ยังต้องเลือกสรรคาให้เกิดความงามความไพเราะทางด้านเสียง รวมทั้งให้เหมาะสมกับ
บริบทในเรื่องด้วย ดังต่อไปนี้
4

การใช้คาให้ตรงตามความหมายที่ต้องการ
มัทพาธานั้นเป็นคาฉันท์ที่มีการเลือกสรรคาอย่างดีเยี่ยมจึงทาให้คาฉันท์นี้เป็นคาฉันท์ที่สามารถเข้าใจ
ได้ง่ายและเหมาะกับทุกเพศทุกวัย ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเมื่อมายาวินแนะนาสุเทษณ์ว่ามีไม้ดอกชนิดหนึ่ง
ที่น่าจะกาหนดให้เป็นกาเนิดของมัทนาในโลกมนุษย์ ซึ่งผู้แต่งได้เลือกสรรคาอย่างดีทาให้อธิบายคุณสมบัติของ
ดอกกุหลาบได้อย่างชัดเจน ดังนี้
ไม้เรียกผะกากุพฺ- ชะกะสีอรุณแสง
ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณีณยามอาย;
ดอกใหญ่และเกสร สุวคนธะมากมาย,
อยู่ทนบวางวาย มธุรสขจรไกล;
อีกทั้งสะพรั่งหนาม ดุจะเข็มประดับไว้
ผึ้งเขียวสิบินไขว่ บมิใคร่จะห่างเหิน.
อันกุพฺชะกาหอม บริโภคอร่อยเพลิน,
รสหวานสิหวานเชิญ นรลิ้มเพราะเลิศรส;
กินแล้วระงับตรี พิธะโทษะหายหมด,
คือลมและดีลด ทุษะเสมหะเสื่อมสรรพ์;
อีกทั้งเจริญกา- มะคุณาภิรมย์นันท์,
เย็นในอุราพลัน, และระงับพยาธี.
คาประพันธ์ข้างต้นเป็นคาอธิบายลักษณะและประโยชน์ของดอกกุหลาบว่าดอกไม้นี้ชื่อกุพช
กะมีสีชมพูแดงเหมือนแสงอาทิตย์และเหมือนแก้มผู้หญิงเมื่อเขินอาย มีดอกที่ใหญ่ มีเกสรมีกลิ่นหอมที่
ส่งไปได้ไหและ ยาวนาน มีหนาม ผึ้งชอบมาตอมดอกไม้นี้ ดอกสามารถรับประทานได้ รสชาติหอม
หวาน ใช้ระงับตรีโทษ (อาการไข้ที่มีลม เสมหะ และเลือดเกิดขึ้นพร้อมกัน ๓ อย่าง ซึ่งให้โทษหนัก)
และยังช่วยบารุงร่างกายให้ชื่นใจและระงับโรคได้

การเลือกใช้คาให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง เช่น

สุเทษณ์ น่ะมายาวิน เหตุใดยุพิน จึ่งเป็นเช่นนี้?


ดูราวละเมอ เผลอเลอฤดี ประดุจไม่มี ชีวิตจิตใจ,
คราใดเราถาม หล่อนก็ย้อนความ เหมือนเช่นถามไป.
ดังนี้จะยวน ชวนเชยฉันใด เปรียบเหมือนไป พูดกับหุ่นยนต์.

เหมาะสมเพราะมายาวินเป็นข้ารับใช้ของสุเทษณ์ สุเทษณ์จึงสามารถใช้คาพูดที่ดูเป็นกันเองกับมายาวินได้
5

เลือกใช้คาให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคาประพันธ์ เช่น
มายาวิน อันเวทอาถรรพณ์ ที่พันผูกจิต
แห่งนางมิ่งมิตร อยู่บัดนี้นา
จงเคลือ่ นคลายฤทธิ์ จากจิตกัญญา
คลายคลายอย่าช้า สวัสดีสวาหาย!

เหมาะสมเพราะว่าโคลงสี่สุภาพนั้นต้องมีการใช้คาที่จากัดและต้องมีสัมผัสที่ถูกต้องและยังต้องมีการใส่
วรรณยุกต์ให้ถูกที่อีกด้วย ซึ่งในที่นี้มายาวินกาลังร่ายมนต์เพื่อคลายฤทธิ์ของมนต์ให้นางมัทนากลับมาได้สติ ซึ่ง
ผู้แต่งเลือกสรรคาได้ดีจึงสามารถทาให้ผู้อ่านเห็นภาพได้

เลือกใช้คาโดยคานึงถึงเสียง

ก. คาเลียนเสียงธรรมชาติ
มัทนะพาธาไม่มีการใช้คาเลียนเสียงธรรมชาติ

ข. คาที่เล่นเสียงวรรณยุกต์
สุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บ มิตอบพะจีพอ?
มัทนา โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี!
ค. คาที่เล่นเสียงสัมผัส
อ้าอรเอกองค์อุไร
ชวนชักชมเชย
ง. คาที่เล่นเสียงหนักเบา
สุเทษณ์ : พี่รักและหวังวธุจะรัก และบทอดบทิ้งไป
มัทนา : พระรักสมัครณพระหทัย ฤจะทอกจะทิ้งเสีย?
สุเทษณ์ : ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย
มัทนา : ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ

คาไวพจน์ คือ คาที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า คาพ้อง


ความ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2552 ให้คาอธิบายว่า "คาที่เขียน
ต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า
กับ ดง คาพ้องความ ก็ว่า" (พจนานุกรม 2542 หน้า 1091)
6

ตัวอย่างการใช้คาไวพจน์ในบทกลอน บทกวี

มืดสิ้นแสงเทียนประทีปส่อง ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างส่ง
บุปผชาติสาดเกสรขจรลง บุษบงเบิกแบ่งระบัดบาน
เรณูนวลหวนหอมมารวยริน พระพายพัดประทิ่นกลิ่นหวาน
เฉื่อยฉิวปลิวรสสุมามาลย์ ประสานสอดกอดหลับระงับไป

คาไวพจน์ ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

ผู้หญิง ดูก่อนสุชาตา
บอกหน่อยเถอะว่าดะรุณิเจ้า
อรไท บ่ แจ้งการ?
พี่รักและหวังวธุจะรัก
เหตุใดยุพิน
นงคราญฉลอง
มิให้นงรัตน์
แห่งนางมิ่งมิตร
จากจิตกัญญา
ไหนไหนก็เจ้าสายสมร
อ้ามัทนาโฉมฉาย
อ้าอรเอกองค์อุไร
พี่รักวะธูนวล
อันนาริกับชาย
เพราะพะธูพิถีพิถัน
ขอโฉมเฉลาปลง
พี่รักอนงค์นาง
วนิดาพยายาม
ผิวะให้อนงค์นวล
ดีละ,จะให้มารศรี
โฉมยงจะว่าฉันใด
เมื่อนั้นแหละให้ทรามวัย
7

ดอกไม้ ขอเป็นซึ่งมาลี
ก็บุปผาอย่างใดมี
ธ โปรดเป็นยอดมาลา
ไม้เรียกผะกากุพฺ-
ใน สวนมาลิศ

คาพูด วรพจน์ประการใด,
ฤ ก็ตอบพะจีพลัน.
จะเฉลยพระวาที
ข้าขอแถลงวะจะนะตาม
มะทะนาและตอบวจี

การเล่นคาแบบสะบัดสะบิ้ง ซึ่งจะแบ่งคาออกเป็นสองกลุ่มเท่าๆ กัน แล้วซ้าคาเดียวกันที่มีเสียงสระ


สั้นในพยางค์หน้า ส่วนพยางค์หลังเล่นเสียงพยัญชนะเดียวกันแต่ต่างเสียงสระกัน ก่อให้เกิดจังหวะคาที่ไพเราะ
เช่น คาว่า “สะอึกสะอื้น” ในข้อความว่า “พระนางยิ่งหมองศรีโศกกาสรดสะอึกสะอื้น” และคาว่า “ตระ
ตรากตระตรา” ในข้อความว่า “อุตสาหะตระตรากตระตราเตร็ดเตร่หาผลาผลไม้” และการเล่นคาซ้าดังนี้

“…ควรจะสงสารเอ่ยด้วยต้นหว้าใหญ่ใกล้อาราม งามด้วยกิ่งก้านประกวดกัน ใบชอุ่มเป็นชุ่มช่อ


เป็นฉัตรชั้นดั่งฉัตรทอง แสงพระจันทร์ดิ้นส่องต้องน้าค้างที่ขังให้ไหลลงหยดย้อย เหมือนหนึ่งน้าพลอยพร้อยๆ
อยู่พรายๆ … พระพายราเพยพัดมาฉิวเรื่อย เรไรระรี่เรื่อยร้องอยู่หริ่งๆ”

การเล่นคาแบบสะบัดสะบิ้ง ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

อย่าทรงพระโศกี วรพักตร์จะหม่นจะหมอง.
พี่นี้นะรักเจ้า และจะเฝ้าประคับประคอง
คู่ชิดสนิทน้อง บ่ มิให้ระคางระคาย.
พี่รักวะธูนวล บ่ มิควรระอาระอาย,
อันนาริกับชาย ฤ ก็ควรจะร่วมจะรัก.
รูปเจ้าวิไลราว ระแสร้งประจิตประจักษ์,
มิควรจะร้างรัก เพราะพะธูพิถีพิถัน;
และรักสมัครมี มนะมุ่งทะนุถนอม.
8

ขอโฉมเฉลาปลง พระฤดีประนีประนอม.
รับรักและยินยอม ดนุรักสมัครสมาน.
หากนางมิข้องขัด ประดิพัทธ์ประสมประสาน
ทั้งสองจะสุขนาน มนะจ่อ บ จืด บ จาง.
อ้าช่วยระงับดับ ทุขะพี่ระคายระคาง;
ชีพอยู่ก็เหมือนตาย, เพราะมิวายระทวยระทม
พอให้ดนูนี้ สุขะรื่นระเริงระรวย.
ยิ่งฟังพะจีศรี ก็ระตีประมวลประมูล,
จะมิต้องนั่งละห้อย นอนโศกเศร้าสร้อย ชะเง้อชะแง้แลหรือ?

การเล่นคา ล้อความ คือ จะเปลี่ยนตาแหน่งคาหรือความ หรือคงตาแหน่งไว้แห่งใดแห่งหนึ่ง


การเล่นคา ล้อความ ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

สุเทษณ์ บอกหน่อยเถอะว่าดะรุณิเจ้า ก็จะยอมสมัครรัก.


มัทนา ตูข้าสมัคร ฤ มิสมัคร ก็มิขัดจะคล้อยตาม

สุเทษณ์ จริงฤๅนะเจ้าสุมะทะนา วจะเจ้าแถลงความ?


มัทนา ข้าขอแถลงวะจะนะตาม สุระเทวะโปรดปราน.

สุเทษณ์ รักจริงมิจริง ฤ ก็ไฉน อรไท บ่ แจ้งการ?


มัทนา รักจริงมิจริงก็สุระชาญ ชยะโปรดสถานใด?

สุเทษณ์ พี่รักและหวังวธุจะรัก และ บ ทอด บ ทิ้งไป.


มัทนา พระรักสมัคร ณ พระหทัย ฤ จะทอดจะทิ้งเสีย?

สุเทษณ์ ความรักระเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย.


มัทนา ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤ จะหายเพราะเคลียคลอ?

สุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บ มิตอบพะจีพอ?


มัทนา โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี!
9

สุเทษณ์ เสียแรงสุเทษณ์นะประดิพัทธ์ มะทะนา บ เปรมปรีดิ์.


มัทนา แม้ข้า บ เปรมปฺริยะฉะนี้ ผิจะโปรดก็เสียแรง.

สุเทษณ์ โอ้รูปวิไลยะศุภเลิศ บ มิควรจะใจแข็ง.


มัทนา โอ้รูปวิไลยะมละแรง ละก็จาจะแข็งใจ.

คาอัพภาส คือ คาประสมที่เกิดจากคามูลสองคาเสียงซ้ากัน ต่อมาเสียงคาหน้ากร่อนเหลือเป็นเสียง


ประวิสรรชนี ตัวอย่าง

ยิ้มยิ้ม เป็น ยะยิ้ม


วับวับ เป็น วะวับ
ริกริก เป็น ระริก
เฉื่อยเฉื่อย เป็น ฉะเฉื่อย
คึกคึก เป็น คะคึก
รื่นรื่น เป็น ระรืน่
โครมโครม เป็น คระโครม
ฉานฉาน เป็น ฉะฉาน

คาอัพภาส ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

สุขะรื่นระเริงระรวย

การเล่นเสียงพยัญชนะ คือคาที่คล้องจองกันด้วยเสียงพยัญชนะต้น
เช่น
เมื่อมั่งมีมากมายมิตรหมายมอง
เมื่อมัวหมองมิตรมองหม่นเหมือนหมูหมา
เมื่อไม่มีมิตรหมางเมินไม่มองมา
เมื่อมอดม้วยแม้หมูหมาไม่มามอง
10

การเล่นเสียงพยัญชนะ ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

อ้าอรเอกองค์อุไร
ชวนชักชมเชย

การเล่นเสียงวรรณยุกต์ คือ การใช้เสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ในคาที่มีพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด


เหมือนกัน โดยไล่เรียงไปตามระดับเสียงวรรณยุกต์ เช่น

บัวตูมตุมตุ่มตุ้ม กลางตม
สูงส่งทงทานลม ล่มล้ม
แมลงเม้าเม่าเมาฉม ซมซราบ
รูรู่รู้ริมก้ม พาดไม้ไทรทอง
เขาขันคูคู่คู้ เคียงสอง
เยื้องย่างนางยูงทอง ท่องท้อง
ทิวทุ้งทุ่งทุงมอง มัจฉพราศ
เทาเท่าเท้ายางหย้อง เลียบลิ้มริมทาง

การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

โอ้โอ๋ละเหี่ยอุระสดับ

สุเทษณ์ โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บ มิตอบพะจีพอ?


มัทนา โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี!

การเรียบเรียงคา

การเรียบเรียงประโยคในเรื่องนี้ เนื้อหาเข้มข้นขึ้นตามลาดับตั้งแต่ความสาคัญน้อยจนถึงขั้นสุดท้ายที่
สาคัญที่สุด ในบทประพันธ์เรื่องมัทนะพาธา มีการเรียบเรียงคาหลากหลายรูปแบบ โดยคาประพันธ์นั้น มีการ
เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลาดับโดยมีประโยคสุดท้ายสาคัญที่สุด
11

โวหารภาพพจน์

อุปมาโวหาร คือ สานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ


มักมีคาว่า เหมือน ดุจ คล้าย เปรียบอย่าง ดัง ดั่ง ปาน เพียง เพี้ยง ประหนึ่ง ประดุจ พ่างฯลฯ
ตัวอย่าง: ดีใจเหมือนได้แก้ว, เล่าปี่ดีใจเหมือนปลาได้น้า

อุปมาโวหารที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้
ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กาลังคึกผิขังไว้
ก็โลดออกจากคอกไป บ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ดูราวละเมอ เผลอเลอฤดี ประดุจไม่มี ชีวิตจิตใจ
ดังนี้จะยวน ชวนเชยฉันใด เปรียบเหมือนไป พูดกับหุ่นยนต์.
อ้ามัทนาโฉมฉาย เฉิดช่วงดังสาย วิชชุประโชติอัมพร
แต่อยู่ดีดีทันใด บังเกิดร้อนใน อุระประหนึ่งไฟผลาญ
รูปเจ้าวิไลราว สุระแสร้งประจิตประจักษ์
พี่รักอนงค์นาง ผิมิสมฤดีถวิล
เหมือนพี่มิได้คง วรชีวะชีวิติน-
ชีพอยู่ก็เหมือนตาย เพราะมิวายระทวยระทม
ไม้เรียกผะกากุพฺ- ชะกะสีอรุณแสง
ปานแก้มแฉล้มแดง ดรุณีณยามอาย
อีกทั้งสะพรั่งหนาม ดุจะเข็มประดับไว้

บุคคลวัต คือ การกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อิฐ ปูน หรือ
สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ต้นไม้ สัตว์ โดยให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือน
มนุษย์ เช่น
- ลมละเมอ
- ก้อนหินร้องไห้
- มองซิ...มองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
- บางครั้งมันบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนครืน
- ทะเลไม่เคยหลับใหลใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น
- บางครั้งยังสะอื้น ทะเลมันตื่นอยู่ร่าไป
12

บุคคลวัต ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

ด้วยกลิ่นของข้าบาท ก็จะได้ประณตน้อม
ใจนิตย์บูชาจอม สุระบ่มบาเพ็ญบุญ

ปฏิพากย์ คือ การใช้ถ้อยคาที่มีความหมายตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกันมากล่าวอย่างกลมกลืนกันเพื่อ


เพิ่มความหมายให้มี น้าหนักมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
เลวบริสุทธิ์
บาปบริสุทธิ์
สวยเป็นบ้า
สวยอย่างร้ายกาจ
สวรรค์บนดิน
ยิ่งรีบยิ่งช้า
น้าร้อนปลาเป็น
น้าเย็นปลาตาย
เสียน้อยเสียยาก
เสียมากเสียง่าย
รักยาวให้บั่น
รักสั้นให้ต่อ
แพ้เป็นพระ
ชนะเป็นมาร

ปฏิพากย์ ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

ให้ชอบให้ชัง ยืนยังอยู่นาน ย่อมจะเป็นการ สุดพ้นวิสัย

ทั้งสองจะสุขนาน มนะจ่อ บ จืด บ จาง.


อ้าช่วยระงับดับ ทุขะพี่ระคายระคาง

ชีพอยู่ก็เหมือนตาย, เพราะมิวายระทวยระทม
เพียงหนึ่งทิวาราตรี; แต่หากนางมี ความรักบุรุษเมื่อใด
13

ลีลาคาประพันธ์
๑) เสาวรจนี (เสาว ว. ดี, งาม. + รจนี ก. ตกแต่ง, ประพันธ์; ว. งาม) รสนี้เป็นการชมความงาม ชมโฉม พร่า
พรรณาแลบรรยายถึงความงามแห่งนาง ทั้งตามขนบกวีเก่าก่อนแลในแบบฉบับส่วนตัว ตัวอย่างเช่น
...หนุ่มน้อยโสภาน่าเสียดาย ควรจะนับว่าชายโฉมยง
ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง
เกศาปลายงอนงามทรง เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา...
จากบทข้างต้น เป็นการกล่าวชมรูปโฉมของวิหยาสะกา ซึ่งถูกสังคามาระตาสังหาร กล่าวว่าวิหยา
สะกานั้น เป็นชายหนุ่มรูปงาม ฟันนั้นเป็นแสงแวววาวสีแดงราวกับแสงของทับทิม ซึ่งตัดรับกับคิ้ว รวมทั้งปลาย
เส้นผมซึ่งงอนงามขึ้นเป็นทรงสวยงาม รับกับทรวดทรงองค์เอวของวิหยาสะกา

เสาวรจนี ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้


อ้ามัทนาโฉมฉาย เฉิดช่วงดังสาย วิชชุประโชติอัมพร
แปลความได้ว่า นางมัทนา ผู้สวยงามราวกับสายฟ้าที่สว่างบนท้องฟ้า

อ้าเจ้าลาเพาพักตร์ สิริลักษะณาวิไล,
แปลความได้ว่า มัทนาคนงาม

๒) นารีปราโมทย์ (นารี น. หญิง + ปราโมทย์ น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมช ก็ว่า)


คือ การทาให้ "นารี" นั้น ปลื้ม "ปราโมทย์" ซึ่งรูปแบบหนี่งก็คือ การแสดงความรักผ่านการเกี้ยวแล
โอ้โลมปฏิโลม. อันคาว่า "โอ้โลมปฏิโลม" นี้ ความหมายอันแท้จริงของคาก็คือ การใช้มือลูบไปตาม (โอ้) แนวขน
(โลมา) และย้อน (ปฏิ) ขนขึ้นมา เมื่อโอ้โลมไปมา ในเบื้องปลาย นารีก็จักปรีดาปราโมทย์ ในตอนที่ศึกษา มี
เพียงแค่ตอนที่อิเหนากาลังสั่งลาจากนางจินตะหรา ซึ่งเมื่ออ่านดูแล้วบางทีอาจจะไม่ถึงกับเป็นการ
โอ้โลมปฏิโลมเท่าใดนัก เพียงจะจัดไว้ ณ ที่นี้ เนื่องเพราะเป็นบทที่แสดงถึงความรัก กล่าวคือ
เมื่อนั้น พระสุริย์วงศ์เทวัญอสัญหยา
โลมนางพลางกล่าววาจา จงผินมาพาทีกับพี่ชาย
ซึ่งสัญญาว่าไว้กับนวลน้อง จะคงครองไมตรีไม่หนีหน่าย
มิได้แกล้งกลอกกลับอภิปราย อย่าสงกาว่าจะวายคลายรัก

จากบทข้างต้น ก็คือบทที่อิเหนาได้บอกกล่าวกับจินตะหรา ว่าตนไปก็คงไปเพียงไม่นาน ขอจินตะหรา


อย่าร้องไห้โศกเศร้าเลย
14

นารีปราโมทย์ ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

อ้ายอดสิเนหา มะทะนาวิสุทธิศรี,
อย่าทรงพระโศกี วรพักตร์จะหม่นจะหมอง.
พี่นี้นะรักเจ้า และจะเฝ้าประคับประคอง
คู่ชิดสนิทน้อง บ่ มิให้ระคางระคาย.

แปลความได้ว่า มัทนายอดรัก อย่าได้เศร้าไปเลยหน้าเจ้าจะหม่นหมอง พี่รักและจะคอยดูแลเจ้า จะไม่ให้เจ้า


ต้องราคาญ

ธาดา ธ สร้างองค์ อรเพราพิสุทธิสรรพ์


ไว้เพื่อจะผูกพัน- ธนะจิตตะจองฤดี.
อันพี่สิบุญแล้ว ก็เผอิญประสบสุรี

แปลความได้ว่า พระพรหมท่านสร้างเจ้ามาให้งาม ก็เพื่อที่จะให้ผูกพันและมีความรัก พี่ช่างมีบุญจริงๆ ที่ได้


เผอิญมาพบเจ้า

๓) พิโรธวาทัง (พิโรธ ก. โกรธเกรี้ยว ไม่สบอารามณ์ + วาทัง น. วาทะ คาพูด) คือการแสดง


ความโกรธแค้นผ่านการใช้คาตัดพ้อต่อว่าให้สาใจ ทั้งยังสาแดงความน้อยเนื้อต่าใจ, ความผิดหวัง, ความแค้น
คับอับจิต แลความโกรธกริ้ว ตามออกมาด้วย เหมือนกล้วยกับเปลือก. กวีมักตัดพ้อและประชดประเทียดเสียด
แลสี เจ็บดังฝีกลางกระดองใจ อ่านสนุกดีไซร้แฮ!
ตัวอย่างของรสพิโรธวาทังนี้ก็มีอยู่มากมาย ที่จะยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างก็จะมี
เมื่อนั้น พระผู้ผ่านไอศูรย์สูงส่ง
ประกาศิตสีหนาทอาจอง จะณรงค์สงครามก็ตามใจ
ตรัสพลางย่างเยื้องยุรยาตร จากอาสน์แท่นทองผ่องใส
พนักงานปิดม่านทันใด เสด็จเข้าข้างในฉับพลันฯ
ในบทที่ยกมานี้ เป็นตอนที่ท้าวดาหาได้ฟังความจากราชทูตของเมืองกะหมังกุหนิง ที่กล่าวไว้ว่าถ้า
ท้าวดาหาไม่ยอมยกบุษบาให้กับวิหยาสะกา ก็ขอให้เตรียมบ้านเมืองไว้ให้ดี เพราะเมืองกะ-หมังกุหนิงจะยกทัพ
มารบ เมื่อท้าวดาหาได้ฟังก็โกรธเดือดดาลทันใด จึงบอกไปว่าจะมารบก็มา แล้วก็ลุกออกไปทันที
15

พิโรธวาทัง ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

เหตุใดพระองค์ทรงธรรม์ จึ่งทาเช่นนั้น ให้ข้าพระบาทต้องอาย


แก่หมู่ชาวฟ้าทั้งหลาย? โอ้พระฦๅสาย พระองค์จงปรานี.

แปลความได้ว่า นางมัทนาตัดพ้อต่อองค์สุเทพณ์ว่าทาไมจึงต้องทาเช่นนี้ด้วย การกระทานี้เป็นเหตุให้นางต้อง


อับอายต่อชาวฟ้าชาวสวรรค์

อุเหม่! มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชิช่างจานรรจา,


ตะละคาอุวาทา ฤ กระบิดกระบวนความ.
ดนุถามก็เจ้าไซร้ บ มิตอบ ณ คาถาม,
วนิดาพยายาม กะละเล่น

แปลความได้ว่า อุเหม่! มัทนาเจ้าช่างเจ้าเล่ห์ เล่นสาบัดสานวน พยายามเลี่ยงตอบคาถาม

๔) สัลลาปังคพิไสย (สัลล น. ความโศกโศกาเศร้าร่าน้าตานอง, ความเจ็บปวดแปลบ ๆ แลบแล่น


ในเนื้อใจ, การครวญคร่าราพันราพึง / สัลลาป น. การพูดจากัน + องค์ น. บท, ชิ้น อัน, ตัว + พิไสย น.
ความสามารถ ฤาจะแผลงมาจาก วิสัย ซึ่งแปลว่า ธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ฤาสันดาน ก็อาจเป็นได้) คือ การโอด
คร่าครวญ หรือบทโศกอันว่าด้วยการจากพรากสิ่งอันเป็นที่รัก. มีใช้ให้เกลื่อนกล่นไปในบรรดานิราศ (ก. ไปจาก
, ระเหระหน, ปราศจาก, ปราศจากความหวัง, ไม่มีความต้องการ, หมดอยาก, เฉยอยู่) เนื่องเพราะกวี อันมี
ท่านสุนทรภู่นาเริ่ดบรรเจิดรัศมีอยู่ที่หน้าขบวน จาต้องจรจากนางอันเป็นที่รัก อกจึงหนักแลครวญคร่าจานรรจ์
ประหนึ่งหายห่างกันไปครึ่งชีวิต ในตอนนี้ก็มีเช่นกัน เป็นบทที่อิเหนากาลังชมนกชมไม้ระหว่างจะไปดาหา

ว่าพลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
จากพรากจับจากจานรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี
แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา ฯลฯ
16

จากบทข้างต้น จะเห็นได้ว่าอิเหนากาลังโศกเศร้าอย่างหนัก จะเรียกว่าอยู่ในขั้นโคม่าเลยก็ว่าได้


เพราะไม่ว่าจะมองอะไร ก็นึกถึงแต่นาง ทั้งสามที่ตนรัก อันได้แก่ จินตะหรา มาหยารัศมี และสการะวาตี มอง
สิ่งใด ก็สามารถเชื่อมโยงกับนางทั้งสามได้หมด

สัลลาปังคพิไสย ที่ปรากฏในบทละครพูดคาฉันท์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี้

อ้าเทพศักดิ์สิทธิ์ซึ่ง พระจะลงพระอาญา,
ข้าเป็นแต่เพียงข้า บ มิมุ่งจะอวดดี.
หม่อมฉันนี่อาภัพ และก็โชคบ่พึงมี,
จึ่งไม่ได้รองศรี วรบาทพระจอมแมน.

แปลความได้ว่า องค์สุเทษณ์หากพระองค์จะลงพระอาญา หม่อมฉันก็เป็นเพียงแต่ข้ารับใช้ ไม่ได้คิด


จะอวดหม่อมฉันเป็นคนอาภัพและไม่มีโชค จึงไม่ได้รับใช้พระองค์

คุณค่าทางอารมณ์

มัทนะพาธาเป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของตัวละครออกมาได้ดี
ทาให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจในเนื้อเรื่องได้อย่างดีโดยวรรณคดีเรื่องนี้ได้เน้นถึงความรู้สึกถึงความรัก แต่นิยามของ
คาว่าความรักในเรื่องมัทนะพาธาไม่ใช่เรื่องราวของความรักที่โรยไปด้วยกลีบกุหลาบแต่วรรณคดีเรื่องนี้ยังสื่อถึง
ความรักที่เห็นแก่ตัวของตัวละครหลักซึ่งก็คือเทพบุตรสุเทษณ์

อารมณ์ของความรักที่เห็นแก่ตัวของเทพบุตรสุเทษณ์คือสาเหตุของเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเรื่อง
โดยที่ เทพบุตรสุเทษณ์ต้องการให้เทพธิดามัทนารับรักของตนแต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อนางไม่ยอมรับความรักของ
เขา เขาโกรธแล้วจึงสาปเธอให้นางจุติไปเกิดบนโลกมนุษย์ในครั้งแรก

อารมณ์ของรักแบบไม่ไว้วางใจก็เป็นอีกหนึ่งในอารมณ์ที่รัชกาลที่ ๖ ต้องการจะสื่อถึง อารมณ์ของนาง


จัณฑี มเหสีของท้าวชัยเสนที่มีความรักที่มีความใคร่และหลงอยู่ เมื่อนางถูกแย่งความรักจากคนรักไป จึงทาให้
นางมีอารมณ์หึงหวงและทาทุกวิถีทางแม้กระทั่งทาลายชีวิตของคนๆนั้นเพื่อแย่งชิงความรักกลับมา

นอกจากอารมณ์ของอารมณ์รักที่เห็นแก่ตัวและรักแบบไม่ไว้วางใจนั้น มัทนะพาธายังมีอีกหนึ่งอารมณ์
ที่แอบแฝงอยู่ในวรรณคดีเรื่องนี้ นั่นก็คือเรื่องราวของความรักระหว่างพ่อลูกแบบพ่อแม่รังแกฉันทลูกใน
17

วรรณคดีเรื่องนี้กล่าวถึงนางจัณฑี มเหสีของท้าวชัยเสน และพ่อของนาง ท้าวมคธ ราชาแคว้นมคธ หลังจากที่


ท้าวชัยเสนตกหลุมรักเทพธิดามัทนาและพานางกลับวังไปด้วยนั้นเป็นเหตุทาให้นางจัณฑีซึ่งเป็นมเหสีหึงหวง
และไม่พอใจเป็นอย่างมาก นางจึงไปขอให้พระบิดาของนางยกทัพมาตีเมืองหัสตินาปุระของท้าวชัยเสน เนื้อ
เรื่องส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูกได้อย่างชัดเจนเพราะว่าการยกทัพมาตีเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องที่
สามารถทาได้กันโดยไม่มีเหตุผลหรือด้วยเหตุผลไร้สาระ แต่เพราะเป็นคาร้องขอจากลูก ท้าวมคธจึงยอมยกทัพ
ไปตี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ท้าวมคธเลี้ยงลูกแบบพ่อแม่รังแกฉันโดยท้าวมคธรักและตามใจนางจัณฑีมากเกินไป
ทาให้นางเชื่อมั่นในตัวเองในทางที่ผิดและสร้างปัญหา

คุณค่าทางคุณธรรม

ในเรื่องมัทนะพาธานี้ได้ให้คุณค่าทางคุณธรรมและข้อคิดหลักๆถึง ๓ หัวข้อได้แก่
๑. การครองตนของผู้หญิง
๒. การมีบริวารที่ไร้คุณธรรมอาจส่งผลให้ผู้เป็นนายต้องเดือดร้อน
๓. ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์

ในช่วงแรกของเรื่องมัทนะพาธา จะเห็นได้ว่านางถูกมายาวินใช้เวทมนตร์เรียกนางมาที่พักของ
เทพบุตรสุเทษณ์ ในทางกลับกัน ถ้านางระมัดระวังและอยู่ให้ไกลจากผู้ชายที่มีกิเลสตัณหาสูง นางอาจจะไม่ถูก
มนตร์ของมายาวินและไม่ถูกสาปให้กลายเป็นกุหลาบ กุหลาบเป็นดอกไม้สวยงามที่มีหนามเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่
ได้ชมเด็ดหรือจะหักกิ่งไปชม ซึ่งดอกกุหลาบสามารถเปรียบได้กับผู้หญิงที่มีความสวยงามและเป็นที่หมายปอง
ของเพศตรงข้ามพร้อมด้วยสติปัญญาที่เฉียบขาดแหลมคม รู้ทันพวกผู้ชายเหล่านั้น จะทาให้ผู้หญิงคนนั้น
สามารถเอาตัวรอดจากผู้ที่คิดจะหมิ่นศักดิ์ศรีหรือหยามเกียรติได้

นอกจากเรื่องการครองตนของผู้หญิงแล้วนั้น มัทนะพาธายังได้พูดเกี่ยวกับการมีบริวารที่ไร้คุณธรรม
อาจส่งผลให้ผู้เป็นนายต้องเดือดร้อน โดยในตอนต้น เทพบุตรสุเทษณ์เป็นผู้ออกคาสั่งให้มายาวินร่ายมนตร์
คาถาใส่นางมัทนาเพื่อเรียกนางมาในที่ของตน ถึงแม้การกระทาของมายาวินจะทาให้นายของตนเองมีความสุข
ที่ได้พบหน้านาง แต่การกระทานั้นทาให้นางมัทนารู้สึกอับอายและทาให้นางร้องไห้ออกมา

ในตอนจบของมัทนะพาธา ตัวละครหลักทั้งสามซึ่งคือ เทพธิดามัทนา เทพบุตรสุเทษณ์และท้าวชัยเสน


ไม่ได้สมหวังในความรักโดยเทพธิดามัทนาถูกสาปกลายเป็นดอกกุหลาบตลอดกาล เทพบุตรสุเทษณ์ก็ไม่ได้รับ
รักจากนางมัทนาและท้าวชัยเสนก็ไม่ได้รักกับนางมัทนาเพราะนางถูกสาปกลายเป็นดอกกุหลาบเสียก่อน จึง
สามารถสรุปได้ว่า “ผู้ใดมีความรักต้องเจ็บปวดจากความรักทั้งสิ้น” ซึ่งข้อคิดนีส้ ามารถเชื่อมโยงกับสุภาษิตนึง
ที่ว่า “ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์” ได้
18

คุณค่าทางด้านอื่นๆ

นอกจากคุณค่าทางเนื้อหา, อารมณ์ และ คุณธรรมแล้ว มัทนะพาธามีการสอดแทรกคุณค่าทางสังคม


และความเชื่อไทยเข้าไปในเรื่องด้วยเช่น
๑. ความเชื่อเรื่องสวรรค์นรก ซึ่งจะตรงกับเนื้อหาช่วงแรกของมัทนะพาธาว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนสวรรค์
๒. การจุติลงไปเกิดในโลกมนุษย์ ซึ่งจะตรงกับเนื้อหาช่วงนี้นางมัทนาถูกสาปและต้องไปจุติบนโลกเป็นดอก
กุหลาบ
๓. เวทมนตร์คาถา ซึ่งจะตรงกับเนื้อหาช่วงแรกที่เทพบุตรสุเทษณ์ขอให้มายาวิน บริวารของเทพบุตรสุเทษณ์ใช้
เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา
19

บรรณานุกรม
อ.บุญกว้าง ศรีสุทโธ ๓. คุณค่าด้านสังคม [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สืบค้นได้
จาก https://sites.google.com/a/htp.ac.th/mathna-phatha/7-bth-wikheraah/7-3-khunkha-dan-
sangkhm
Maneerat Panwai บทวิเคราะห์ [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก
http://arrow1203.blogspot.com/p/blog-page_97.html
พ่อแม่รังแกฉัน (บาป 14 ประการของมารดาบิดา)
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก
http://campus.sanook.com/1373333/
ที่มาของเรื่อง[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก
http://arrow1203.blogspot.com/p/blog-page.html ๑.คุณค่าด้านเนื้อหา[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สืบค้นได้จาก https://sites.google.com/a/htp.ac.th/mathna-phatha/7-bth-
wikheraah/7-1-khunkha-dan-neuxha

You might also like