You are on page 1of 22

มัทนะพาธา

สมาชิก

1102

อาจารี จิรัฐติกาล

ศุภณํ ฐ ศรีทองอินทร์

อัครวัฒน์ ศิลา
การอ่านและพิจารณาเนื้ อหาและ
กลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
เนื้ อเรื่องย่อ

มัทนะพาธาเป็นเรื่องสมมุติว่าเกิดในอินเดียโบราณ เนื้ อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์บนสวรรค์


เทพบุตรสุเทษณ์เทพบุตรบนสวรรค์เป็นทุกข์ด้วยหลงรักนางฟ้ามัทนา แต่นางไม่รักตอบ จึงขอให้วิทยา
ธรชื่อ “มายาวิน” ใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางกเหม่อลอย ไม่มีสติเพราะตกอยู่ใน
ฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์ไม่ตอ ้ งการได้นางด้วยวิธีนั้น จึงให้มายาวินคลายเวทมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้ว นาง
มัทนาก็ปฏิเสธสุเทษณ์ สุเทษณ์โกรธจึงจะสาป มัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์ มัทนาขอเกิดเป็นดอกไม้มี
กลิ่นหอมเพื่อให้มป
ี ระโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึง สาปให้นางมัทนาไปเกิดเป็น ดอกกุหลาบ ไม้งามซึ่งแต่เดิมมี
เพียงบนสวรรค์เท่านั้น เป็นดอกไม้ที่งาม ทั้งกลิ่นและรูป โดยที่ในทุกๆ ๑ เดือน นางมัทนาจะกลายเป็น
หญิงสาวได้ชั่วเวลา ๑ วัน ๑ คืน เฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรัก นางจะพ้น
สภาพจากการเป็นดอกไม้ แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมาณ เพราะความรักจนไม่อาจทนอยู่ได้ และเมื่อ
นั้นให้นางอ้อนวอน ขอความช่วยเหลือจากตน ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง
โครงเรื่อง

มัทนะพาธา เป็นเรื่องราวบนสวรรค์ที่มีเทพบุตรองค์หนึ่ งแอบหลงรักนางฟ้าตนหนึ่ ง เขาได้ให้คน


รับใช้ของเขา เสกเวทย์มนต์เพื่อสะกดนางฟ้าตนนั้น แต่นางฟ้ากลับโต้ตอบ เทพบุตรราวกับว่าตนไร้
ชีวิต เทพบุตรจึงให้คนรับใช้ของ ตน แก้เวทมนตร์และได้บอกรักนางฟ้า ตนนั้น แต่นางฟ้าได้ปฏิเสธ
ความรักของเทพบุตร เทพบุตรจึงโกรธมาก และได้ สาปให้นาง ไปเกิดบนโลกมนุษย์และนางจะ
เปลี่ยนเป็นมนุษย์ถาวรเมื่อมีความรักเท่านั้น
ตัวละคร

สุเทษศ์ ผู้หลงรักนางมัทนาอย่างหมดหัวใจ
นางมัทนา ซื่อสัตย์ นิ สัยตรงไปตรงมา คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น
มายาวิน ผู้มีวิชาอาคมใช้เวทย์มนต์เรียกนางมัทนา
ฉากท้องเรื่อง

บทละครพูดคําฉันท์เรื่องมัทนะพาธา ปรากฏฉากสวรรค์และฉากพื้นดิน โดยภาคที่ศึกษา คือภาค


สวรรค์ เนื้ อหาทั้งหมด จึงมีสวรรค์เป็นฉากท้องเรื่อง
บทเจรจาหรือรําพึงรําพัน และ
บทละครพูดคําฉันท์เรื่องมัทนะพาธา
ประพันธ์ข้น ึ เพื่อใช้แสดงละครพูด กวีทรงคํานึ งถึงรูปแบบในการ ประพันธ์ให้สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ในการใช้ กล่าวคือมีคําฉันท์ประเภทต่างๆเช่น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์ สุรางคนางค์
ทําให้การใช้ภาษามีความหลากหลาย เหมาะสมกับการเจรจาสนทนาของตัวละคร เช่น ตอนที่สุเทษณ์
ตัดพ้อมัทนา และนางเจรจาตอบ ได้แสดงจังหวะที่รวดเร็วของการโต้ตอบกัน กวีจึงเลือกใช้วสันตดิลก
ฉันท์ ซึ่งมีลีลา กระชับฉับไหว
แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง

พระราชนิ พนธ์เรื่องนี้ แสดงว่า แก่นเรื่อง มีอยู่ 2 ประการคือ

๑. กล่าวถึงตํานานของดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สวยงาม แต่ก็มีอันตรายแฝงอยู่เพราะมี


หนามคม ดอกกุหลาบนั้น เปรียบเสมือนหญิง ที่เมื่อชายไหนเข้าใกล้ก็ควรระวังตัวมากขึ้น
๒. ดอกกุหลาบไม่เคยมีตํานานเป็นเทพนิ ยาย สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราช
นิ พนธ์ให้ดอกกุหลาบมี กําเนิ ดจากจากนางฟ้า ที่ถูกสาปให้เกิดบนโลกมนุษย์เนื่ องมาจากความรักที่ไม่
สมปรารถนาของเทวดาตนหนึ่ งกับ นางฟ้า กลายเป็นโศกนาฏกรรมของความรัก และดอกกุหลาบเป็น
สัญลักษณ์ของความรักที่ไม่สมหวังตามบทพระราช
การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษา
ในวรรณคดีและวรรณกรรม
การสรรคํา
1.การเลือกใช้คําที่เข้าใจง่าย มีความหมายชัดเจน

พี่นี้นะรักเจ้า และจะเฝ้าประคับประคอง
คู่ชิดสนิ ทน้อง บ่ มิให้ระคางระคาย

2.การใช้คําพ้องเสียงและคําซํ้า
2.1 คําซํ้าที่ทําให้เกิดจังหวะ

งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ,
งามแก้มแฉล้มฉัน กลนํ้ าณทองแอร่มละลาน,
งามเกศะดําฃํา กลนํ้ าญทองละหาน,
งามเนตร์พินิศปาน สุมณี มะโนหะรา
และ

นึ กน่ าอนาถจิต ก็จะคิดประการใด


นึ กแล้วว่าทรามวัย ฤก็ควรกะทรงศักดิ์
นึ กเล่าก็สงสาร วนิ ดายุพาพักตร์
นึ กถึงจะต้องหนัก อุระแนละนงคราญ
2.2คําซํ้าที่อยู่ในวรรคเดียวกันแต่มีคําอื่นมาคั่นกลาง

อันกุพุชะกาหอม บริโภคอร่อยเพลิน
รสหวานสิหวานเชอญ นรลิ้มเพราะเลิดรส

2.3คําซํ้าเพื่อใช้เน้นเสียง

มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชช
ิ ่างจํานรรจา
ตะละคําอุวาทา ฤกระบิดกระบวน
ความ
การเรียบเรียงคํา

1.เรียงข้อความที่บรรจุสารสําคัญไว้ท้ายสุด

นางมทะนา จุติอย่านาน
จงมะละฐาน สุระแมนสวรรค์
ไปเถอะกําเนิ ด ณ หิมาวัน
ดังดนุลั่น วสิสาปไว้!
2.เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นประโยคคําถามเชิงวาทศิลป์

(วสัน
ตะดิลก,๑๔)
สุเทษณ์. ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย.
มัทนา. ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ?
สุเทษณ์. โอ้โอ๋กระไรนะมะทะนา บมิตอบพะจีพอ?
มัทนา. โอ้โอ๋กระไรอะมระง้อ มะทะนามิพอดี!
สุเทษณ์. เสียแรงสุเทษณ์นะประดิพัทธ์ มะทะนาบเปรีมปรีย.์
มัทนา. แม้ข้าบเปรมปฺริยะฉะนี้ ผิจะโปรดก็เสียแรง.
การใช้โวหาร

1.การเปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่ ง
1.1 การอุปมา (simile)

ปรากฏพระนามนาง วิมาลาสุนารี
วิสุทธิ์วิศิษฏ์ที่ จะตินั้นบ่พึงหา
พระโฉมบ่แพ้โฉม สุระเทวะกัญญา

และ

แพ้ยอดฤดีฃ้า ดุจุกากะเปรียบหงส์
1.2การอุปลักษณ์ (metaphor)

ใดจะพึงกะมละกว่า พระสามิที่

เป็นวราภะระณะศรี ณเกศถกล
2.การใช้คําเกินจริง (อติพจน์/hyperbole)

รูปเจ้าวิไลราว สุระแสร้งประจิตประจักษ์

มิควรจะร้างรัก เพราะพะธูพิถีพิถัน

และ

เจ้านายองค์ใดในตรีโลก ฤาจะมี เหมือนพระผู้นั่งเกศา


ไปทั่วแดนมนุษย์สุดไลก บ่เว้นแห่งใด กระทั่งยังขอบ
จักรวาล
ไปทั่วในแดนบาดาล ทั่วทุกสถาน ทุกถิ่นจนจบภพไตร
การอ่านและพิจารณาประโยชน์
หรือคุณค่าในวรรณคดีและ
วรรณกรรม
คุณค่าด้านวัฒนธรรม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกําหนดเนื้ อเรื่อง ตัวละคร และ ฉากตามวัฒนธรรมของชาว


อินเดียโบราณ ซึ่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย เนื่ องจากไทยวัฒนธรรมส่วนใหญ่มาจากอินเดียโดยเฉพาะความ
เชื่อต่างๆ

คติความเชื่อ
-ขอความเชื่อเรื่องสวรรค์ ซึ่งเทวดาอันมีฤธานุภาพสามารถดลบันดาลให้เป็นไปต่างๆได้ ได้เห็นจากที่สุ
เทษณ์ สามารถสาปมัทนาให้ไปจุติเป็นดอกกุหลาบบนโลกมนุษย์ได้ตามที่นางขอ

-ความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถา ที่สามารถบังคับบางสิ่งให้เป็นไปตามต้องการได้ เห็นจากที่มายาวินใช้เวท


มนตร์สะกดมัทนามาหาและพูดโต้ตอบกับสุเทษณ์ โดยที่นางไม่รู้สึกตัว
คุณค่าด้านอารมณ์

กวีเขียนถ่ายทอดอารมณ์ของการได้รู้สึกรักและความเจ็บปวดที่ได้จากความรักออกมาเป็นตัวหนังสือได้อย่างดี
เยี่ยม จึงทําให้ผู้อ่านสื่อถึงอารมณ์และเข้าใจอารมณ์ของตัวละครอย่างเช่น ตัวอย่างในตอนที่สุเทษณ์ได้สลายมนตร์
ของตนต่อมัทนาและเมื่อมัทนารู้สก ึ ตัวก็ร้องไห้โอดครวญว่าทําไมสุเทษณ์จึงทําเช่นนี้

สุเทษณ์ “ อ ้ามัทนาโฉมฉาย เฉิ ดช่วงดังสาย วิชชุประโชติอม


ั พร
ไหนไหนก็เจ ้าสายสมร มาแล ้วจะร ้อน จะรนและรีบไปไหน?”
มัทนา “ เทวะ, อันข ้านี ไซร ้ ้ มานี่ อย่างไร บทราบสานึ กสักนิ ด;
จาได ้ว่าข ้าสถิต ในสวนมาลิศ และลมราเพยเชยใจ,
แต่อยูด
่ ดี ท
ี นั ใด บังเกิดร ้อนใน อุระประหนึ่ งไฟผลาญ,

ร ้อนจนสุดทีทนทาน แรงไฟในราน ้
ก็ล ้มลงสินสมฤดี .
ฉันใดมาได ้แห่งนี ? ้ หรือว่าได ้มี ผูใ้ ดไปอุมข
้ ้ามา?
ขอพระองค ์จงเมตตา และงดโทษข ้า ผูบ้ ุกรุกถึงลานใน.”
สุเทษณ์ “ อ ้าอรเอกองค ์อุไร ่
พีจะบอกให ้ เจ ้าทราบคดีดงั จินต ์;

พีเองใช ้มายาวิน ใหเ้ ชิญยุพน ิ ่ ด
มาทีนี ้ ้วยอาถรรพณ์”
มัทนา “ เหตุใดพระองค ์ทรงธรรม ์ จึงท ่ าเช่นนั้น ใหข
้ ้าพระบาทต ้องอาย

แก่หมู่ชาวฟ้ าทังหลาย? โอ ้พระฦาสาย พระองค ์จงทรงปรานี .”
คุณค่าด้านคุณธรรม
บทละครคําฉันท์นี้ แสดงให้เห็นว่า “การมีรักนั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง” ตรงตาม พุทธวัจนะที่ว่า “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์”
ซึ่งหมายความว่าเมื่อเรามีความรัก เราจะต้องรักอย่างมีสติ ใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ มิใช่รักอย่างลุ่มหลงจนอาจจะ
เกิดความทุกข์ตามมาได้
เช่น:
สุเทษณ์รักนางมัทนาแต่ไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ แม้เมื่อได้เสวยสุขเป็นเทพบุตรก็ยังรักนางมัทนาอยู่ จึงทําทุกอย่าง
เพื่อให้ได้นางมาแต่ไม่สมหวังก็พร้อมที่จะทําลาย ความรักเฉกเช่นนี้ เป็นความรักที่เห็นแก่ตัวควรหลีกหนี ให้ไกล

กวียังได้แสดงให้เห็นข้อคิดในการครองตน เช่น หญิงใดที่ตกอยู่ในฐานะอย่างนางมัทนาจะต้องมีความระมัดระวัง


ตัว หลีกหนี ให้ไกลจากผู้ชายมากราคะ กวีจึงกําหนดให้มัทนาถูกสาปกลายเป็นดอกไม้ ชื่อดอกกุพชกะ หรือ เรียกอีกชื่อ
ว่าดอกกุหลาบ ซึ่งดอกกุพชกะนั้นมีความสวยงามมีหนามแหลมคมที่เป็นเกราะป้องกันตนให้พ้นจากมือผู้ที่ ปรารถนาจะ
เด็ดดอกไปเชยชมดอกไม้นี้จึงเป็นสัญลักษณ์แทนหญิงสาวที่มีรูปสวยย่อมเป็นที่หมายปองของชายทั่วไป หนามแหลม
คมเปรียบเหมือนสติปัญญา ดังนั้นถ้าหญิงสาวที่รูปงามและมีความเฉลียวฉลาดรู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของ ชายมากราคะ ย่อม
สามารถเอาตัวรอดจากผู้ที่หมายจะหยามเกียรติหรือหมิ่นศักดิ์ศรีได้

You might also like