You are on page 1of 36

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี บทละครพูดคำฉันท์
เรื่อง มัทนะพาธา ภาคสวรรค์

โดย
นาย ก้องภพ มูลอัต ชัน
้ มัธยมการศึกษาปี ที่ เลขที่ ๕
๕/๔

นางสาว วลัย สิริธันยกานต์ ชัน


้ มัธยมการศึกษาปี ที่ เลขที่ ๑๙
พรรณ ๕/๔

นางสาว ทิพย์อารักษ์ ชัน


้ มัธยมการศึกษาปี ที่ เลขที่ ๒๒
วิภาดา วงศ์ ๕/๔

นางสาว อุตสาหกิจ ชัน


้ มัธยมการศึกษาปี ที่ เลขที่ ๒๓
ปราชญา อำนวย ๕/๔
เสนอ

อาจาร์พนมศักดิ ์ มนูญปรัชญาภรณ์
ภาคเรียนที่ ๒ ปี การศึกษา ๒๕๖๒
โรงเรียนสาธิตนานาชาติมหาวิทยาลัยมหิดล
คำนำ

รายงานเรื่อง การอ่านและการพิจารณาวรรณคดี บทละครพูดฉันท์


เรื่องมัทนะพาธาเป็ นส่วนหนึ่งของโครงงานรายวิชาศึกษาภาษาไทยและ
วัฒนธรรม ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ ๕ โดยรายงานนีม
้ ีจุดประสงค์เพื่อศึกษา
วิเคราะห์ และพิจารณาวรรณคดีไทยเรื่องมัทนะพาธา ซึ่งอ้างอิงมาจาก
หนังสือเรียนวรรณคดีและวรรณกรรม โดยรายงานนีจ
้ ะประกอบไปด้วย
เนื้อหาเกี่ยวกับการพิจารณาเนื้อเรื่อง อุปลักษณ์นิสัยของตัวละคร กลยุทธ์
ในการประพันธ์ คุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากการอ่านวรรณคดีเรื่อง
มัทนะพาธา
้ ยากจะขอขอบคุณอาจาร์พนมศักดิ ์ มนูญ
ทางผู้จัดทำรายงานนีอ
ปรัชญาภรณ์ ที่หยิบยื่นโอกาสให้เราในการศึกษาและให้ความรู้เกี่ยวกับ
วรรณกรรมคดีไทย เรื่องมัทนะพาธา ตลอดจนช่วยเหลือในการทำรายงาน
นี ้ มอบคำแนะนำต่างๆกับแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ จวบจนรายงานเล่มนี ้
สำเร็จลุล่วง ในทางคณะผู้จัดทำ หวังว่ารายงานเล่มนีจ
้ ะเป็ นประโยชน์แก่
ผู้อ่านทุกท่าน ที่กำลังศึกษาวรรณคดีเรื่องมัทนะพาธา หากรายงานนีม
้ ีขอ
ผิดพลาดหรือผู้อ่านมีคำแนะนำมาเสนอ ทางเราก็ขอน้อมรับด้วยความ
ยินดี และขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วย

คณะผู้จัดทํา
๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๓
สารบัญ
หน้า

๑. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและ
วรรณกรรม

๑.๑. เนื้อเรื่อง หรือ เนื้อเรื่องย่อ ๑

๑.๒. โครงเรื่อง ๑

๑.๓. ตัวละคร ๑

๑.๔. ฉากท้องเรื่อง ๓

๑.๕. บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน ๔

๑.๖. แก่นเรื่อง ๕

๒. การอ่านและพิจรณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและ
วรรณกรรม

๒.๑. การสรรคำ ๖

๒.๒. การเรียบเรียงคำ ๑๒

๒.๓. การใช้โวหาร ๑๓

๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและ
วรรณกรรม

๓.๑. คุณค่าด้านอารมณ์ ๑๔

๓.๒. คุณค่าด้านคุณธรรม ๑๔
๓.๓. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑๖

บรรณานุกรม ๑๙
๑. การอ่านและพิจารนาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
๑.๑ เนื้อเรื่อง หรือ เนื้อเรื่องย่อ

บนสรวงสวรรค์ เทพบุตรสุเทษณ์ได้ตกหลุมรักเทพธิดามัทนา หาก


ทว่านางกลับไม่ได้มีความรู้สึกใดๆให้เทพบุตรสุเทษณ์ สุเทษณ์จึงขอให้
วิทยาธรมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมาเจรจาถามไถ่ให้นางมัทนา
รับรักตน มัทนาเจรจาตอบสุเทษณ์เหมือนกับคนที่เหม่อลอย ไม่ร้ส
ู ึกตัว
และไร้ความรู้สึกนึกคิด เอาแต่ถามกลับซึ่งวิทยาธรมายาวินอธิบายว่าเป็ น
์ นตร์มายา สุเทษณ์นน
เพราะฤทธิม ั ้ ไม่พอใจที่เป็ นอย่างนัน
้ จึงขอให้วิทยา
ธรมายาวินคลายมายา มัทนาที่ร้ส
ู ึกตัวแล้วก็ยังปฏิเสธที่จะรับรักสุเทษณ์
สุเทษณ์โกรธจึงสาปให้เธอไปจุติบนโลกมนุษย์ โดยนางมัทนาขอไปเกิด
เป็ นดอกกุหลาบที่มีสีสวยและกลิ่นหอม สุเทษณ์กำหนดว่าให้ดอกกุหลาบ
ดอกนัน
้ มีหนาม และกลายเป็ นมนุษย์เฉพาะวันเพ็ญเพียงวัน แต่ถ้านาง
มัทนามีความรักเมื่อไร จะพ้นสภาพจากเป็ นดอกไม้ และหากเป็ นทุกข์
เพราะความรักพระองค์ก็จะช่วย

๑.๒ โครงเรื่อง

หญิงงามบนสวรรค์ได้ปฏิเสธที่จะรับรักเทพบุตรคนหนึ่ง ด้วยความ
โกรธเทพบุตรคนนัน
้ จึงสาปนางให้กลายเป็ นดอกกุหลาบ และคำสาปนีจ
้ ะ
คลายต่อเมื่อนางมีความรัก

๑.๓ ตัวละคร
ตัวละครหลักใน บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ประกอบไป
ด้วย เทพบุตรสุเทษณ์ เทพธิดามัทนา และวิทยาธรมายาวิน

เทพบุตรสุเทษณ์

เทพบุตรสุเทษณ์ เป็ นเทพบุตรอาศัยอยู่บนสวรรค์ เป็ นคนที่หมกมุ่น


ในเรื่องตัณหาราคะและความรัก เอาแต่ใจตัวเองและไม่คำนึงถึงความรู้สึก
ของผู้อ่ น
ื เป็ นคนเจ้าอารมณ์ อยากได้สิ่งใด้ต้องได้มาครอบครองนัน

เพราะนิสัยแบบนีจ
้ ึงได้สาปนางมัทนาเมื่อนางปฏิเสธที่จะรับรักเขา นิสัย
ของเทพบุตรสุเทษณ์เป็ นดังบทประพันธ์ต่อไปนี ้

สุเทษณ์. (ตวาด) อุเหม่!

มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชิช่างจํานรรจา,

ตะละคําอุวาทา ฤกระบิดกระบวนความ.

ดนุถามเจ้าก็ไซร้ บมิตอบณคําถาม,

วนิดาพยายาม กะละเลนสํานวนหวน.

ก็และเจ้ามิเต็มจิต จะสดับดนูชวน,

ผิวะใหอนงค์นวล ชนะหล่อนทะนงใจ.

บ่มิยอมจะร่วมรัก และสมัครสมรไซร้,

ก็ดะนูจะยอมให้ วนิดานิวาสสวรรค์

เทพธิดามัทนา
เทพธิดามัทนา เป็ นเทพธิดาที่ซ่ อ
ื ตรงต่อใจตัวเอง เป็ นคนไร้เล่ห์ไร้
เหลี่ยม ไม่พูดโกหกและซื่อสัตย์ เมื่อคิดอย่างไรก็จะพูดอย่างนัน
้ แต่ก็ยัง
เป็ นเทพธิดาที่เคารพผู้ที่มียศหรือายุมากกว่าตน ทว่าเพราะนิสัยที่พูดตรง
กับสิง่ ที่คิดจึงนำความทุกข์มาให้ตัวเองดังบทประพันธ์ต่อไปนี ้

มัทนา. ฟั งถ้อยดํารัสมะธุระวอน ดนุนผ


ี ้ เิ อออวย.

จักเป็ นมุสาวะจะนะด้วย บมิตรงกะความจริง.

อันชายประกาศวะระประทาน ประดิพัทธะแด่หญิง,

หญิงควรจะเปรมกะมะละยิ่ง ผิวะจิตตะตอบรัก;

แต่หากฤดีบอะภิรมย์ จะเฉลยฉะนัน
้ จัก

เป็ นปดและลวงบุรุษะรัก ก็จะหลงละเลิงไป.

ตูข้าพระบาทสิสุจริต บมิคิดจะปดใคร,

จึ่งหวังและมุง่ มะนะสะใน วรเมตตะธรรมา.

อันว่าพระองค์กรุณะข้อย ฤก็ควรจะปรีดา,

อีกควรฉลองวรมหา กรุณาธิคณ
ุ ครัน;

ดังนีค
้ ะนึงฤก็ระบม อุระแห่งกระหม่อมฉัน,

ที่ตน บ อาจจะอภิวัน- ทะนะตอบพระวาจา

ให้ถูกประดุจสุระประสงค์, ผิวะทรงพระโกรธา,
หมฺอมฉันก็โอนศิระณบา- ทะยุคลและกราบกราน

วิทยาธรมายาวิน

วิทยามายาวินเป็ นเทวดาที่มีความสามารถในการใช้มนตร์คถาสะกด
จิต และบังคับการกระทำของคนอื่นได้ ทัง้ ยังมีนส
ิ ัยที่เชื่อฟั งคำสั่งของ
บุคคลที่มีตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิส์ งู กว่าตน ในบทประพันธ์ว่ากล่าว
สุเทษณ์ขอให้วิทยาธรมายาวินใช้อาคมเรียกเทพธิดามัทนามาเจรจากับ
เขา แต่ก็ต้องคลายอาคมให้นางเมื่อ เทพบุตรสุเทษณ์ไม่พอใจ เป็ นดังใน
บทประพันธ์ต่อไปนี ้

สุเทษณ์. น่ะมายาวิน เหตุใดยุพิน จึ่งเป็ นเช่นนี?้


ดูราวละเมอ เผลอเลอฤดี ประดุจไม่มี ชีวิตจิตใจ,
คราใดเราถาม หล่อนก็ย้อนความ เหมือนเช่นถามไป.
ดังนีจ
้ ะยวน ชวนเชยฉันใด ก็เปรียบเหมือนไป พูดกับหุ่น
ยนต์.

์ นตร์;
มายาวิน. เทวะ, ที่นาง อาการเป็ นอย่าง นีเ้ พราะฤทธิม
โยคะอันขลัง บังคับได้จน ให้ตอบยุบล ได้ตามต้องการ
แต่จะบังคับ ใครใครให้กลับ มโนวิญญาณ,
ให้ชอบให้ชัง ยืนยังอยู่นาน ย่อมจะเป็ นการ สุดพ้นวิสัย
หากว่าพระองค์ มีพระประสงค์ อยู่เพียงจะให้
นงคราญฉลอง รองพระบาทไซร้ ข้าอาจผูกใจ ไว้ด้วยมนตรา.
มิให้นงรัตน์ ดื้อดึงขึง้ ขัด ซึ่งพระอัชฌา,
บังคับให้ยอม ประนอมเป็ นข้า บาทบริจา ริกาเทวัญ.
สุเทษณ์. อ๊ะ! เราไม่ขอ ได้นางละหนอ โดยวิธีนน
ั้ !
เสียแรงเรารัก สมัครใจครัน อยากให้นางนัน
้ สมัครรักตอบ.
ผูกจิตด้วยมนตร์ แล้วตามใจตน ฝ่ ายเดียวมิชอบ,
เราใฝ่ ละโบม ประโลมใจปลอบ ให้นางนึกชอบ นึกรักจริงใจ.
ฉะนัน
้ ท่านครู คลายเวทมนตร์ดู อย่าช้ารำ่ไร,
้ งได้ สิทธิส์ มดังใจ; รีบคลายมนตรา.
หากเราโชคดี ครัง้ นีค

มายาวิน. เอวํ เทวะ.

๑.๔ ฉากท้องเรื่อง

ในเรื่องมัทนะพาธาที่กล่าวถึง ณ ที่นี่ เกิดขึน


้ อยู่บนสวรรค์ มีตัว
ละครสำคัญ ได้แก่ สุเทษณ์ มายาวิน และมัทนา สามารถสังเกตได้จาก
ฉากที่ สุเทษณ์ให้มายาวินคลายมนต์ให้กับมัทนา ตัวมัทนาเมื่อฟื้ นขึน
้ จาก
มนต์ในห้องบันลังก์ของสุเทษณ์ เกิดอาการกลัว แต่เมื่อได้ทราบความจริง
ก็ได้มีการถกเถียงกับสุเทษณ์ ว่าได้ทำให้ตนอับอายต่อหน้า “ชาวฟ้ า” ซึง่
สามารถแปลได้ว่า “ผูค
้ นบนสวรรค์” จึงทราบได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิด
ขึน
้ บนสวรรค์

มัทนา. เหตุใดพนะองค์ทรงธรรม์ จึ่งทำ


เช่นนัน

ให้ข้าพระบาทต้องอาย
แก่หมู่ชาวฟ้ าทัง้ หลาย? โอ้พระฦาสาย
พระองค์จงทรงปรานี.
๑.๕ บทเจรจารำพึงรำพัน

เนื่องจากเรื่องมัทนะพาธาแต่งขึน
้ เพื่อเป็ นบทละคร จึงแต่งเป็ นบท
เจรจาทัง้ เรื่อง โดยผู้แต่งได้ใช้กาพย์ ๓ ชนิด และฉันท์ ๒๑ ชนิดในการ
แต่งบทละคร ฉากแต่ละฉากมีการเลือกใช้บทประพันธ์ที่เหมาะสมกับฉาก
นัน
้ ๆ เช่น การใช้อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เล่าอดีตของสุเทษณ์กับมัทนา ที่มี
ความเร็วเหมาะกับการเล่าเรื่อง เป็ นต้น ผูแ
้ ต่งสามารถสื่อถึงความรู้สึก
และการกระทำของตัวละครได้เป็ นอย่างดี

สุเทษณ์. ช้าก่อน! หล่อนจะไปไหน?

มัทนา. หม่อมฉันอยู่ไป

ก็เครื่องแต่ทรงรำคาญ

สุเทษณ์. ใครหนอบอกแก่นงคราญ ว่าพี่ราคาญ?

มัทนา. หม่อมฉันสังเกตเองเห็น.

สุเทษณ์. เออ! หล่อนนีม


้ าล้อเล่น! อันตัวพี่เป็ น

คนโง่ฤาบ้าฉันใด?

มัทนา. หม่อมฉันเคารพเทพไท ทูลอย่างจริงใจ

ก็ บ มิทรงเชื่อเลย,

กลับทรงดำรัสตรัสเฉลย ชวนชักชมเชย

และชิดสนิทเสนหา.
พระองค์ทรงเป็ นเทวา ธิบดีปรา-

กฏเกียรติยศเกรียงไกร,

มีสาวสุรางค์นางใน มากมวลแล้วไซร้

ในพระพิมานมณี,

จะโปรดปรานข้าบาทนี ้ สักกี่ราตรี?

และเมื่อพระเบื่อข้าน้อย,

จะมิต้องนั่งละห้อย นอนโศกเศร้าสร้อย

ชะเง้อชะแง้แลหรือ?

หม่อมฉันนีเ้ ป็ นผู้ถือ สัจจาหนึ่งคือ

ว่าแม้มิรักจริงใจ,

ถึงแม้จะเป็ นชายใด ขอสมพาสไซร้

ก็จะมิยอมพร้อมจิต.

้ อเทพเรืองฤทธิ ์
ดังนีข โปรดข้าน้อยนิด,

ข้าบาทขอบังคมลา.

แสดงให้เห็นว่าสุเทษณ์รักนางมัทนาฝ่ ายเดียว รักมากจนใช้ให้มายา


วินเสกมนต์เรียกตัวนางมัทนามา ส่วนนางมัทนาก็ไม่มีความรักให้สุเทษณ์

๑.๖ แก่นเรื่อง
ชื่อเรื่องของบทประพันธ์ ซึ่งก็คือ มัทนะพาธา สามารถแปลได้ว่า
ความเจ็บปวดที่เกิดเพราะความรัก เป็ นแก่นเรื่องหลักของบทประพันธ์
ตัวละครทุกตัวในเรื่องล้วนได้รับความเจ็บปวดเพราะความรักทัง้ นัน
้ เช่น
สุเทษณ์เจ็บปวดจากการรักมัทนา แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ถูกปฏิเสธความ
รัก นางมัทนาก็ถูกลงโทษเพราะการปฏิเสธความรักของสุเทษณ์จน
สุดท้ายนางได้ถูกสาปให้กลายเป็ นดอกไม้
๒. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีผู้แต่งและวรรณคดี

ในการประพันธ์วรรณคดีหรือวรรณกรรมนีน
้ น
ั ้ ผู้เเต่งต้องใช้ความ
สามารถในการเลือกสรรถ้อยคําที่มีความประณีตและเหมาะสมสําหรับบท
นัน
้ ๆเเล้วนํามาจัดเรียงเเละเป็ นการจัดวางให้ถูกที่ฟันเเล้วอ่านเเล้วตรงกับ
สิ่งที่ผู้อ่านต้องการซึ่งได้คิดสรรมาเเละผู้ที่มีฝีมือในขัน
้ สูงนัน
้ สามารถเขียน
ให้ผู้อ่านมีความสนุกสนานไป ตามกับเนื้อเรื่องดังกล่าว

๒.๑ การสรรคำ

การสรรคําคือความคิดเเละอารมณ์ของผู้เเต่งนํามาที่มีต่อเรื่องนัน
้ ซึ่ง
อยู่ในการเลือกคําต่างๆเพื่อให้มีเนื้อหาที่ตรงตามที่ผู้เเต่งกำหนดไว้รวมไป
ถึงลักษณะฐานะของตัวละครในเรื่องอีกด้วย

การเลือกใช้คำที่เข้าใจง่าย และสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน

ในพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธาเป็ นบทละครพูดคําฉันท์พระองค์
ทรงเลือกจัดสรรคําด้วยพระเองตัวของเพราะเองสะเป็ นสวนใหญ่เเละพระ
เองทรงคํานิงถึงผู้อ่านหรือผู้ฟงจึกได้เลือกสรรคําที่มาความหมายเข้าใจ
ง่ายใช้ในการทรงพระราชนิพนธ์ฉันท์และกาพย์นอกจากนีย
้ ังได้สามารถ
สื่อความได้อย่างลึกซึง้ และทําให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อ่าน ซึง่ กลวิธี
การใช้คําง่ายมีตัวอย่างดังนี ้
บทสนทนาระหว่างสุเทษณ์และมัทนา ซึง่ ใช้คําประพันธ์ประเภทอิน
ทวงสฉันท์ ๑๒ และ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ส่วนใหญ่ใช้คําง่าย ๆ และมีคํา
ภาษาอื่นที่ใช้เฉพาะในบทประพันธ์ปะปนบ้างเล็กน้อย ความว่า

สุเทษณ์. ที่หล่อนมิยินยอม มะนะรักสมัคสมาน,

มีคู่สะมรมาน อภิรมฤเปนไฉน?

มัทนา. หม่อมฉันบมีบุรุษะผู้ ประดิพัทธะใด


ใด,

เป็ นโสดบมีมะนะสะใฝ่ อภิรมฟสมรส

สุเทษณ์. เช่นนัน
้ ก็เชิญฟั ง ดนุกล่าวสิเนหะพจน์

เจ้างามประเสริฐหมด ก็มิควรฤดีจะดำ

มัทนา. หม่อมฉันสดับมธุระถ้อย ก็สำนึก


เสนาะคำ,

แต่ต้องทํานูลวะจะนะซํา้ ดุจะได้ทำนูล
มา

คําส่วนใหญ่ในบทประพันธ์ดังกล่าวเป็ นคําที่ใช้เป็ นภาษาพูดทั่วไป


โดยไม่ต้องแปลความหมายแต่ก็คําในต่างภาษาปะปนอยู่แต่ว่าคําภาษาอื่น
ที่นํามาปะปนไม่ใช้ศัพท์ยากเพราะสามารถอ่านเเล้วให้เข้าใจได้รวมไปถึง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะ
พาธาดวยฉันท์และกาพย์ซึ่งพระองค์ได้นํามากลวิธีนม
ี ้ าใช้ในการเลือกสรร
ทําให้เข้าใจง่ายเเม้ว่าอาจไม่เข้าใจบางส่วนก็ตาม

การเลือกใช้ศพ
ั ท์สูง

ในที่นก
ี ้ ารใช้ศัพท์สูงหมายถึงการใช้คําที่มาจากภาษาอื่นมาใช้เช่น
ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จะทรงเลือกใช้คําประเภทนีเ้ พราะจะได้ลงตัวกับตัวละครและยัง รวมถึง
การสรรคําที่พระองค์ได้จัดเรียงมาได้อย่างดี เช่น บทที่เกี่ยวกับเทพเจ้า
บทสรรเสริญกษัตริย์ เป็ นต้น

บทบูชาเทพเจ้า 2 องค์ คือ พระพิฆเณศวร เทพเจ้าแห่งศิลปะ


วิทยาการ และพระนารายณ์ เทพเจ้า ผู้ทรงอิทธิฤทธิ ์ ซึง่ อยู่ในตอนมายาวิ
นทําพิธีเรียกมัทนาให้มาพบสุเทษณ์ ความว่า

มายาวิน. โอมบังคมพระคเณศะเทวะศิวะบุตร์

ฆ่าพิฆฺนะสิน
้ สุด ประลัย;

อ้างามกายะพระพรายประหนึ่งระวิอุทัย,

ก้องโกญจะนาทให้ สะ
หรรษ์,

เปนเจ้าสิบปะประสิทธิว์ ิวิธะวรรณ
วิทฺยาวิเศษสรร-
พะสอน;

ยามข้ากอบกรณีย์พิธีมะยะบวร,

จงโปรดประทานพร
ประสาท,

โอมนารายะณะเทพเถลิงอุระคุอาสน์

ขี่ขุนสุบรรณ์ราช จรัล,

ถือศังขจักระคะทาธรณิผัน

ปราบยักษะกุมภัณฑ์ มะ
ลาย,

เชี่ยวชาญโยคะวิธีพระพีระอภิปราย

ดลกิจจะทัง้ หลาย
สมิทธิ.์

ยามข้ากอบกรณีย์พิธีมะยะวิจิตร์

จงสมมะโนสิท-
ธิเทอญ.

บทประพันธ์ข้างต้นประกอบด้วยคําที่มาจากภาษาอื่นหลายคํา
ได้แก่ ภาษาบาลีและภาษาเขมรซึ่งคําเหล่านีเ้ มื่ออยู่ในบทประพันธ์ได้จัด
สรรคําเเละเรียงคําอย่างเหมาะสมกับตัวละครเเละเนื้อหาของเรื่องได้ดี
เป็ นอย่างยิ่งก็ทําให้บทประพันธ์เหมือนมีพลังซึ่งเป็ นไปตามสมควรกับบท
บูชาเทพเจ้าผู้มีฤทธิ ์

การใช้คําศัพท์สูงซึ่งส่วนใหญ่เป็ นคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสก
ฤตช่วยทําให้การเล่นคําเป็ นเรื่องง่ายเพราะมีคําให้จัดสรรใส่จํานวนมากก
ว่าภาษาอื่นๆก่อให้เกิดความรู้สึกสง่างามมีอํานาจบารมีอันสูงส่งด้วยเหตุนี ้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกใช้คําชนิดนีใ้ นบทที่
เกี่ยวกับเทพเจ้าและกษัตริย์ จํานวนหลายคํา

การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับประเภทของคำประพันธ์

ในวรรณคดีเรื่องมัทนะพาธาซึ่งเป็ นคําประพันธ์บทละครพูดคําฉันท์
ได้มีการสรรหาเลือกใช้คําบาลีและสันสกฤตเป็ นหลักประกอบกับการใช้
ประเภทคําประพันธ์ต่างซึ่งตรงตามแบบแผ่นเพื่อสื่ออารมณ์ หรือ ความ
รู้สึกอื่นได้อย่างมีคุณภาพ เช่น

ฟั งถอยคําดํารัสมะธุระวอน ดนุนผ
ี ้ ิเอออวย

จักเป็ นมุสาวะจะนะด้วย บมิตรกะความ


จริง

วันชายประกาศวะระประทาน ประดิพัทธะ
แด่หญิง

หญิงควรจะเปรมกะละมะยิ่ง ผิวะจิตตะตอบรัก
บทประพันธ์ดังกล่าวที่ได้ยกมาเป็ นตัวอย่างนัน
้ ต้องการเน้นอารมณ์
ที่อ่อนหวานผู้แต่งจึงเลือกใช้คํา ประพันธ์ประเภทวสันตดิลกฉันท์ 14 เพื่อ
สื่ออารมณ์โดยได้คํามาจากภาษาสันสกฤต และบาลี

คำที่เล่นเสียงหนักเบา

ลักษณะสําคัญของการเล่นเสียงหนักเบานัน
้ มีอยู่ในแทบทุกภาษาผู้
เเต่งมักเลือกใช้คือการเล่นเสียงหนักเบาและจังหวะเป็ นหลักเพื่อให้การ
ร้อยแก้วเเละร้อยกรองเพื่อประพันธ์ให้ลงตามจังหวะเเละรวมไปถึงการใช้
เสียงหนักเบาเพื่อก่อให้เกิดอารมณ์เเละความรู้สึกนัน
้ ของผู้อ่านรวมไปถึง
ทําให้ผู้อ่านเกิดความสนุกสนานเวลาเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังไม่เกิดความ
เบื่อขณะที่ได้รับฟั งหรืออ่านบทความดังกล่าว

ในบทประพันธ์เรื่องมัทนะพาธา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัวได้ใช้คําประพันธ์ ประเภท ฉันท์ในตอนที่ต้องการจังหวะเสียงและ
เน้นอารมณ์ และในการประพันธ์ฉันท์ ก็ได้นําคํา ครุ-ลหุ มาใช้ประกอบ
เช่น ดูก่อนสุชาตา มะทะนาวิไลศรี

ยามองค์สุเทษณ์มี วรพจน์ประการใด,

นางจงทํานูลตอบ มะธุรสธตรัสไซร้;

เข้าใจมิเข้าใจ ฤก็ตอบพะจีพลัน
ในบทประพันธ์ข้างต้นเป็ นคําประพันธ์ประเภทอินทรวิเชียร
ฉันท์11 ซึ่งหมายถึงฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้ าอันเป็ น
อาวุธของพระอินทร์ซึ่งบทประพันธ์ประเภทอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ได้มี กา
รนําคําครุ-ลหุ มาใช้ ดังนี ้

ดูก่อนสุชาตา มะทะนาวิไลศรี

ยามองค์สุเทษณ์มี วรพจน์ประการใด,

นางจงทํานูลตอบ มะธุรสธตรัสไซร้;

เข้าใจมิเข้าใจ ฤก็ตอบพะจีพลัน

โดยคําที่เป็ นตัวหนา คือคําครุ หรือคําเสียงหนัก ในขณะคําที่เป็ นตัวบาง


คือคําลหุ หรือคําเสียงเบา

คำพ้องเสียงและคำซ้ำ

การซํา้ คําคือการใช้คําคําเดียวกันหลายๆครัง้ ในการเรียบเรียงคํา


ประพันธ์ในตอนใดตอนหนึ่งซึ่งคําที่ซาํ้ กันจะเรียงชิดกันหรือมีคําอื่นมาคั่น
ก็ได้และจะอยู่ในวรรคเดียวกันหรือต่างวรรคต่างบาทกันก็ได้ ส่วน ตํา
แหน่งของการซํา้ คําจะอยู่ที่ต้นวรรค กลางวรรค หรือ ท้ายวรรคก็ได้ ทัง้ นี ้
เพื่อความไพเราะและช่วยสื่อความหมายของคําประพันธ์การซํา้ คําที่
ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา มีดังนี ้
1. การซํา้ คําเพื่อให้เกิดเสียงและจังหวะ เป็ นการซํา้ คําที่ทําให้เกิดเสียง
ซํา้ ๆ กันหลายๆครัง้ เป็ นจังหวะที่ไพเราะ และช่วยสื่อความหมายของคํา
ประพันธ์ให้ชัดเจนลึกซึง้ รวมถึงทําให้อ่านงานมาก ดังตัวอย่าง

สุเทษณ์. งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ,

งามแก้มแฉล้มฉัน พระอรุณแอร่มละลาน,

งามเกศะดําฃำ กลน้าณทองละหาน,

งามเนตร์พินิศปาน สุมณีมะโนหะรา;

งามทรวงสล้างสอง วรถันสุมนสุมา-

ลีเลิดประเสริฐกว่า วรุบลสุโรชะมาศ;

งามเอวอนงค์ราว สุระศิลปิ ชาญฉลาด

เกลากลึงประหนึง่ วาด วรรูปพิไลยพะวง;

งามกรประหนึ่งงวง สุระคชสุเรนทะทรง,

นวยนาฏวิลาศวง ดุจะรำระบำระเบง;

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงซํา้ คําว่า งาม หลาย


ครัง้ ที่ต้นวรรคหน้า ทําให้เกิดเสียงและจังหวะอันนุ่มนวลเพื่อแสดงความ
งดงามของส่วนต่างๆของร่างกายรวมถึงการทําแบบนีท
้ ําให้เกิดจังหวะที่
ช่วยในเรื่องการแสดงในหารําเเละการเล่นดนตรีไทย ได้แก่ ผิวพรรณ
แก้ม ผม ตา อก เอว และแขนเพื่อ ให้ เห็นว่า มัทนาเป็ นสตรีที่มี รูปกาย
งดงามสมบูรณ์แบบอีกหนึ่งลักษณะของการซํา้ คําที่วรรคหน้าคือการวาง
คํา เป็ นคู่ อยู่ในวรรคเดียวกันและมีคําอื่นมาคั่นกลาง ลักษณะนีค
้ ําซํา้ จะ
อยู่ใกล้กันมาก เวลาอ่านออกเสียง จะทําให้เกิดเป็ นจังหวะที่ไพเราะ ดัง
ตัวอย่าง

มายาวิน. อันกุพฺชะกาหอม, บริโภคอร้อยเพลิน,

รสหวานสิหวานเชอญ นรลิม
้ เพราะเลิดรส;

พระองค์ทรงซํา้ คําว่า หวาน โดยทรงวางไว้คู่กันในวรรคหน้า และ


มีคําว่า สิ มาคั่นไว้หนึ่งคํา เพื่อให้เกิดเสียงสัมผัสใกล้ๆ กันและแสดงความ
หมายว่า ดอกกุพฺชกะ (ดอกกุหลาบ) เป็ น ดอกไม้ที่บริโภคได้ และมีรส
หวานเลิศ

การซํา้ คําที่วรรคหน้าอีกลักษณะหนึง่ คือทรงนําคําซํา้ ประกอบเข้า


กับคํากริยาอื่นๆ เพื่อช่วยสื่อ ความหมายของความรู้สึกที่ทวีขน
ึ ้ เรื่อยๆ ดัง
ตัวอย่าง

สุเทษณ์. ยิ่งฟั งพะจีศรี ก็ระตีประมวญประมูล

ยิ่งขัดก็ยิ่งพูน ทุขะท่วมระทมหะทัย

พระองค์ทรงซํา้ คําว่า ยิ่ง โดยทรงใช้คู่กับคํากริยา ได้แก่ ยิ่งฟั ง ยิ่ง


ขัด ยิ่งพูน ซึ่งมีความหมายดังนี ้ ยิ่งฟั ง หมายถึง สุเทษณ์ฟังคําพูดของ
มัทนา ยิ่งฟั งก็ยิ่งทวีความรู้สึกรักของตน ยิ่งขัด หมายถึง คําพูดของมัทนา
เป็ นคําตอบปฏิเสธ จึงขัดกับความต้องการ ของสุเทษณ์ยิ่งพูน หมายถึง สุ
เทษณ์ยิ่งฟั งคําตัดรอนของมัทนามาก เท่าไร ความรู้สึก ทุกข์ใจก็ยิ่งทวี
มากขึน

ความไพเราะของคําประพันธ์ตอนนีเ้ กิดขึน
้ จากกลวิธีอีกอย่างหนึ่ง
คือ ทรงใช้ความ ขัดแย้งขอเพราะคําประพันธ์แสงเนื้อเรื่องดึงให้เห็นความ
รักที่มากมายของสุเทษณ์ แต่ผลที่สุเทษณ์ได้รับคือ ความทุกข์ทรมาน
อย่างน่าเห็นใจ

2. การซํา้ คําเพื่อเน้นเสียง การซํา้ คําลักษณะนีค


้ ําที่ซาํ้ จะวางอยู่ชิดกัน
เพื่อทําให้เสียงของคําที่นํามาซํา้ มีความชัดเจนขึน
้ และ ส่งผลให้การสื่อ
ความหมายในคําประพันธ์อย่างเด่นชัด รวมทัง้ มีความไพเราะ เพิ่มขึน
้ ด้วย
ดังตัวอย่าง

สุเทษณ์. มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชิช่างจํานรรจา,

ตะละคําอุวาทา ฤกระบิดกระบวนความ.

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้คําซํา้ คําว่า ชิ ที่ตน


วรรคหลัง พระองค์ทรงวางคํา ชิดกัน แล้วได้เสียงของคําว่า ชิชิ เพื่อแสดง
ความรู้สึกของผูพ
้ ูด คือ สุเทษณ์ ว่าสุเทษณ์ร้ส
ู ึกโกรธมัทนาเพราะถูก
ขัดใจ

การซํา้ คําในพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธามีทงั ้ การซํา้ คําที่วรรค


หน้าและวรรคหลัง ทัง้ ต้นวรรค และข้างในวรรค โดยอาจซํา้ คําหนึ่งคํา
หรือหลายคํา เพื่อให้เกิดเสียงและ จังหวะที่ไพเราะสละสลวย เเละสร้าง
ความเข้าใจและเพลิดเพลิน ตลอดจนช่วยสื่อความหมายในบทประพันธ์
ให้อย่างเห็นได้เด่นชัดขึน

๒.๒ การเรียบเรียงคำ

ในการประพันธ์ บทละครพูดคําฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา นี ้ ได้มีการ


ใช้รูปแบบการแต่งหลากหลายรูปแบบ แบบหลักๆ 2 ชนิด คือ กาพย์
และ ฉันท์

กาพย์

กาพย์คือคําประพันธ์ที่มีกําหนดคณะ พยางค์ และ สัมผัส มีลักษณะ


คล้ายกับคําฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์ กาพย์ใช้ในการแต่งนี ้
มีทงั ้ หมด 3 ชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์สุรางค์
นางค์ 28

ตัวอย่างกาพย์ - กาพย์ยานี 11

ฉันท์

ฉันท์คือลักษณะถ้อยคํา ที่กวีได้ร้อยกรองขึน
้ ให้เกิดความไพเราะ
โดยกําหนดคณะ ครุ ลหุ และ สัมผัสไว้เป็ นมาตรฐาน ฉันท์ที่ใช้ในการแต่ง
นี ้ มีทงั ้ หมด 21 ชนิด เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ 8 อินทรวิเชียรฉันท์ 11 และ
อุปชาติฉันท์ 11 เป็ นต้น
ตัวอย่างฉันท์ - อินทรวิเชียรฉันท์
๒.๓ การใช้โวหาร

ในเรื่องมัทนะพาธามีการใช้โวหารภาพพจน์มากมาย ประกอบไป
ด้วย อุปมา และ อติพจน์ เป็ นต้น

อุปมา

ครานางสนมเปรียบ ประหนึ่งและถ่อยที

วูธยอดฤดีพี่ ประหนึ่งหงส์สพ
ุ รรณ
พรรณ

อุปมา คือ การเปรียบเทียบหรือเปรียบเปรยโดยนัยของสิ่งหนึ่งกับ


อีกสิ่งหนึ่งมีคํา ที่ใช้เป็ นตัวอย่าง เช่น ประหนึ่ง, เหมือน, ราวกับ เเละ
คล้าย

โดยความหึงส์หนักเพราะรักครัน
้ คะดิประทะทุษะ
พลัน

หลุง่ ประหนึ่งควัน กระทบตา

บทประพันธ์ข้างต้นได้แสดงอุปมาเปรียบเทียบระหว่างนางสนมและ
มัทนาของท้าวชันเสน เเละนําเสนออย่างเห็นได้ชัดว่าความหึงได้พุ่งขึน
้ มา
เหมือนควันที่ลอยมากระทบตา ทําให้ตาระคายเคือง ได้โกรธ แค้นมาก
จนทําในที่สุด สุเทษณ์ จึงได้ทําการสั่งจบชีวิตมัทนาในที่สุด

อติพจน์
อติพจน์คือการกล่าวเกินจริงซึ่งเป็ นความรู้สึกหรือความคิดของผู้
แต่งที่ต้องการที่จะเน้นยํา้ ความหมาย ให้ผู้อ่านรู้สึกว่าหนัก และ จริงจัง
เน้นความรู้สึกให้เด่นชัด และ น่าสนใจ

ตัวอย่างอติพจน์

“ชีพอยู่ก็เหมือนตาย เพราะมิวายระทวยระทม

ทุกข์ยากและกรากกรม อุระชํา้ ระกําทวี.”


๓. การอ่านและพิจรนาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
๓.๑ คุณค่าด้านอารมณ์

เรื่องมัทนะพาธานัน
้ เป็ นบทพระราชนิพนธ์ที่ถูกเขียนขึน
้ โดย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๖) เป็ นบทละครพูดคำ
ฉันท์ที่มีการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในเรื่องของความรัก ความโกรธ
และความโศกเศร้าของตัวละครเอกอย่างมัทนา และสุเทษณ์เทพบุตรออก
มาได้เป็ นอย่างดี ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร้ส
ู ึกคล้อยตาม และอยากติดตาม
เนื้อเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น ตอนสุเทษณ์เทพบุตรสารภาพรักกับนางมัทนา
และขอให้นางมัทนาช่วยรับรักตน

ฟั งถ้อยดํารัสมะธุระวอน ดนุนผ
ี ้ เิ อออวย.

จักเป็ นมุสาวะจะนะด้วย บมิตรงกะ


ความจริง.

อันชายประกาศวะระ ประดิพัทธะแด่
ประทาน หญิง,

หญิงควรจะเปรมกะมะ ผิวะจิตตะตอบ
ละยิ่ง รัก;
แต่หากฤดีบอะภิรม จะเฉลยฉะนัน

จัก

เป็ นปดและลวงบุรุษะรัก ก็จะหลงละเลิง


ไป.

ตูข้าพระบาทสิสุจริต บมิคิดจะปด
ใคร,

จึ่งหวังและมุ่งมะนะสะ วรเมตตะธร
ใน รมา.

๓.๒ คุณค่าด้านคุณธรรม

ในเรื่องของวรรณคดี และวรรณกรรมไทยทุกเรื่องนัน
้ มักจะมีการ
สอดแทรกคุณธรรม คติสอนใจ และหลักคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
เพื่อเป็ นการปลูกฝั งคุณธรรมในเรื่องต่างๆให้แก่ผู้อ่าน เช่นในเรื่องของ
ความกรุณาเมตตา ความพยายามขยันหมั่นเพียร หรือ การทำดีได้ดีทำชั่ว
ได้ชั่ว
บทละครพูด เรื่องมัทนะพาธา มีการสอดแทรกคติสอนใจที่เน้นไป
ในเรื่องของความรัก ซึง่ คำสอนของบทละครพูดนี ้ ได้มีการสอคล้องกับ
พุทธวัจนะของทางพุทธศาสนาที่ได้กล่าวไว้ว่า ‘ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์’
รวมไปถึงการสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของผู้หญิงไทย และการครองรัก
ของทัง้ ฝั่ งชายและฝ่ ายหญิง

๓.๓ คุณค่าด้านวรรณศิลป์

คือการเลือกสรรคำที่ไพเราะและเหมาะสมมาใช้เพื่อให้ส่ อ
ื ถึงความ
คิดและอารมณ์ของผู้แต่งและตัวละครในเนื้อเรื่อง รวมไปถึงการพรรณนา
ให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ และมีอารมณ์คล้อยไปตามเนื้อเรื่อง

การใช้คำให้เหมาะสมกับประเภทของบทประพันธ์
มีการเลือกใช้ถ้อยคำในการแต่งบทพูด บทเจรจาที่มีความสละ
สลวยและคมคาย และเหมาะสมกับเนื้อหา เช่น ตอนมายาวินร่ายมนตร์
ใส่นางมัทนา

มะทะนาชะเจ้าเลห์ ชิชิชางจํานรรจา,....

....................................

ก็และเจ์ามิเต็มจิต จะสดับดนูชวน,

ผิวะใหอนงค์นวล ชนะหล่อนทนงใจ.

บ่มิยอมจะร่วมรัก และสมัครสมรไซร้,
ก็ดะนูจะยอมให้ วนิดานิวาศสวรรค์,....

การใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง
มีการเล่นเสียงและสัมผัสคล้องจองเพื่อให้เกิดความไพเราะ
เมื่ออ่าน หรือฟั ง เช่น

อ้าสองเทเวศร์ โปรดเกศข้าบาท ทรงฟั งซึ่งวาท ที่กราบทูลเชอญ,

โปรดช่วยดลใจ ทรามวัยใหเพลิน จนลืมขวยเขิน แล้วรีบเร็วมา,

ด้วยเดชเทพไท้ ทรามวัยรูปงาม จงได้ทราบความ ข้าขอนีน


้ า.

แม้คิดขัดขืน ฝื นมนตร์คาถา ขอให้นิทรา เข้าสึงถึงใจ

มาเถิดนางมา อย่าช้าเชื่องช้อย ตูข้านีค


้ อย ต้อนรับทรามวัย,

อ้านางโศภา อย่าช้ามาไว ตูข้าสั่งให้ โฉมตรูรีบจร.

โฉมยงอย่าขัด รีบรัดมาเถิด ขืนขัดคงเกิด ในทรวงเร่าร้อน,

มาเร็วบัดนี ้ รีบลีลาจร มาเร็วบังอร ข้าเรียกนางมา.


การใช้โวหาร
มีการใช้อุปมาโวหารในการบรรยายความงามของนางมัทนา
ในเรื่องของผิวพรรณ รูปร่าง หน้าตา ให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการเห็น
ภาพได้มากขึน

สุเทษณ์. งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ,

งานแก้มแฉล้มฉัน พระอรุณแอร่มละลาน,

งามเกศะดำขลำ กลนำ้ ณ ท้องละหาน,

งามเนตร์พินศ
ิ ปาน สุมณีมะโนหะรา;

งามทรวงสล้างสอง วรถันสุมนสุมา-

ลีเลิดประเสริฐกว่า วรุบลสะโรชะมาศ;

งามเอวอนงค์ราว สุระศิลปชาญฉลาด

เกลากลึงประหนึ่งวาด วรรูปพิไลยพะวง;

งามกรประหนึ่งงวง สุระคชสุเรนทะทรง,

นวยนาฏวิลาศวง ดุจะรําระบําระเบง;
ซํา้ ไพเราะนํา้ เสียง อรเพียงภิรมย์ประเลง,

ไดฟั งก็วังเวง บ มิว่างมิวายถวิล.

นางใดจะมีเทียบ มะทะนา ณ ฟา ณ ดิน,

เป็ นยอดและจอดจิน- ตะนะแน่ว ณ อก ณ


ใจ.

การใช้คำครุ ลหุ
มีการใช้กมลฉันท์ซึ่งมีคำครุ ลหุ ยกตัวอย่างเช่น ตอนสุเทษณ์
เทพบุตรโกรธนางมัทนา

สุเทษณ์ : พี่รักและหวังวธุจะรัก และบทอดบทิง้ ไป

มัทนา : พระรักสมัครณพระหทัย ฤจะทอกจะ


ทิง้ เสีย?

สุเทษณ์ : ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะ


คลอเคลีย

มัทนา : ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหาย


เพราะเคลียคลอ
บรรณานุกรม

กาสกร เกิดอ่อน, ระวีวรรณ อินทรประพันธ์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, กัลยา


สหชาติโกสีย์. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีและวรรณกรรม ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ ๕. หน้า ๔๒-๗๓

พลอย แก้วเกื้อ. “มัทนะพาธา” ตำนานรักดอกกุหลาบ. [ออนไลน์].


เข้าถึงเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒. สืบได้จาก
https://www.gotoknow.org/posts/519717

มัทนะพาธา. ความเป็ นมาเรื่องมัทนะพาธา. [ออนไลน์]. เขาถึงเมื่อวันที่


๓๑
พฤษภาคม ๒๕๖๒. สืบคนได้จาก
http://matanapata.blogspot.com/2016/03/blog-
post_18.html

You might also like