You are on page 1of 18

ใบความรูที่ 5.

1
เรื่อง วงจรจุดระเบิดแบบธรรมดา

ศึกษาในเรื่อง
- วงจรจุดระเบิดแบบธรรมดาและการทํางาน
- โครงสรางของอุปกรณประกอบในวงจรจุดระเบิด
จุดประสงคเชิงพฤติกรรม
1. บอกชื่อสวนประกอบของวงจรจุดระเบิดแบบธรรมดาได
2. อธิบายหนาที่ของสวนประกอบในวงจรจุดระเบิดได
3. อธิบายการทํางานของวงจรจุดระเบิดแบบธรรมดาได
4. บอกผลเสียของการตั้งระยะหนาทองขาวหางและชิดเกินไปได
5. บอกลักษณะของหัวเทียนรอนและเย็นได
6. อธิบายการเลือกใชหวั เทียนใหเหมาะกับงานได
7. แสดงใหเห็นถึงความสนใจในการเรียน
ใบความรูที่ 5.1
วิชา งานไฟฟารถยนต (2101-1004) หนวยการเรียนรูที่ 5 ชื่อหนวย ระบบจุดระเบิด
เรื่อง วงจรจุดระเบิดแบบธรรมดา สัปดาหที่ 11 เวลา 1 ชั่วโมง

วงจรจุดระเบิดแบบธรรมดา

ระบบจุดระเบิด (Ignition System)


ในเครื่องยนตแกสโซลีนสวนผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศ (ไอดี) ที่ถูกอัดตัวในกระบอกสูบ
ของเครื่องยนตจะเกิดการลุกไหมไดตองอาศัยระบบจุดระเบิดซึ่งทําใหเกิดประกายไฟแรงสูงกระโดดขามที่
เขี้ยวหัวเทียนในกระบอกสูบตามจังหวะที่เหมาะสม ประกายไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจะมีแรงเคลื่อนไฟฟาสูง
ประมาณ 20,000โวลต (18,000-25,000โวลต)
ระบบจุดระเบิดจะทํางานไดสมบูรณจะมีองคประกอบดังนี้
1. ความแรงของประกายไฟที่กระโดดขามที่เขี้ยวหัวเทียน
เมื่อไอดีถูกอัดตัวในกระบอกสูบจะทําใหประกายไฟที่กระโดดขามที่เขี้ยวหัวเทียน กระโดด
ขามไดยาก ดังนั้นแรงเคลื่อนไฟฟาที่ผลิตจะตองสูงพอที่จะทําใหเกิดประกายไฟกระโดดขามที่เขี้ยวหัว
เทียนได
2. จังหวะจุดระเบิดที่เหมาะสม
การที่จะใหไอดีเผาไหมไดอยางสมบูรณ หัวเทียนจะตองจุดประกายไฟในตําแหนงหรือ
จังหวะที่เหมาะสมกับความเร็วรอบและภาระของเครื่องยนต
3. อายุการใชงานของอุปกรณที่ยืนนาน
เครื่ อ งยนต แ ก ส โซลี น จะทํ า งานได ต อ งอาศั ย การจุ ด ประกายไฟจากหั ว เที ย นในระบบ
จุดระเบิด ดังนั้นอุปกรณตางๆในระบบจุดระเบิดจะตองมีความทนทาน มีอายุการใชงานที่ยืนนานจึงจะทํา
ใหเครื่องยนตพรอมที่จะทํางานไดอยางเต็มประสิทธิภาพตลอดเวลา
ระบบจุดระเบิดแบงออกเปน 2 ประเภทคือ
1. ระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา
2. ระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร
ระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา
หมายถึงระบบจุดระเบิดที่ใชจานจายแบบหนาทองขาวและใชคอยลจดุ ระเบิดแบบธรรมดา

รูปที่5.1 สวนประกอบของระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา

ระบบจุดระเบิดแบบธรรมดาประกอบดวยสวนประกอบที่สําคัญคือ แบตเตอรี่ สวิตชกุญแจ


คอยลจุดระเบิด หนาทองขาว คอนเคนเซอร จานจายและหัวเทียน ในวงจรของระบบจุดระเบิดสามารถ
แบงออกเปน 2 วงจรยอยคือ
1. วงจรไฟแรงต่ํา (Low-tension circuit) จะเริ่มตนตั้งแต แบตเตอรี่ จายกระแสไฟฟาผาน
สวิตชกุญแจ ผานเขาคอยลจุดระเบิดดานขดลวดปฐมภูมิ (Primary winding) ออกไปเขาจานจายผาน
หนาทองขาวที่ตอกันลงกราวดครบวงจร
2. วงจรไฟแรงสูง (High-tension circuit) จะเริ่มตนจากขั้วบวกของคอยลจุดระเบิด ผาน
ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) ผานไปฝาครอบจานจาย ผานหัวโรเตอรไปยังหัวเทียนลงกราวด
ครบวงจร
วงจรจุดระเบิด
- วงจรจุดระเบิดแบบธรรมดา

รูปที่5.2 วงจรจุดระเบิดแบบธรรมดา
การทํางาน
เมื่อเปดสวิตชกุญแจในตําแหนง On กระแสไฟฟาจากแบตเตอรี่จะไหลผานขั้ว B ของ
สวิตชกุญแจ ผานขั้ว Ig.เขาขั้วบวกของคอยลจุดระเบิด ผานขดลวดปฐมภูมิออกขั้วลบของคอยลจุดระเบิด
เขาจานจาย ถาหนาทองขาวตอกันกระแสไฟฟาจะผานหนาทองขาวที่ตอกันลงกราวดครบวงจร ทําให
ขดลวดปฐมภูมิเกิดอํานาจแมเหล็ก
เมื่อสตารตเครื่องยนต ในขณะที่เครื่องยนตหมุนเพลาลูกเบี้ยวจานจายจะหมุนไปดวย จนกระ
ทั้งลูกเบี้ยวจานจายหมุนเปดหนาทองขาว ทําใหกระแสไฟฟาที่ไหลในขดลวดปฐมภูมิของคอยลจุดระเบิด
ถูกตัดวงจร เปนผลใหเสนแรงแมเหล็กที่เกิดรอบขดลวดปฐมภูมิยุบตัวอยางทันทีทันใด ตัดกับขดลวด
ปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิในคอยลจุดระเบิดเหนี่ยวนําใหเกิดไฟแรงสูงประมาณ 20,000โวลตที่ขดลวด
ทุ ติ ย ภู มิ จ า ยไปยั ง หั ว เที ย นตามจั ง หวะการจุ ด ระเบิ ด และยั ง เหนี่ ย วนํ า ให ข ดลวดปฐมภู มิ เ องเกิ ด
แรงเคลื่อนไฟฟาประมาณ 500โวลต ซึ่งกระแสไฟฟานี้พยายามที่จะกระโดดขามที่หนาทองขาวจึงตองมี
คอนเดนเซอรตอขนานกับหนาทองขาวไว เพื่อทําหนาที่เก็บประจุไฟฟาที่เกิดขึ้นไมใหกระโดดขามหนา
ทองขาว และเมื่อหนาทองขาวตอกัน คอนเดนเซอรซึ่งเก็บประจุไฟฟาอยูเต็มจะคายประจุไฟฟากลับเขาสู
วงจร จนกระทั้งคอนเดนเซอรคายประจุหมด กระแสไฟฟาจากแบตเตอรี่จึงเริ่มตนไหลเขาขดลวดปฐมภูมิ
เปนการเริ่มตนการทํางานของระบบจุดระเบิดอีกครั้งหนึ่ง
- วงจรจุดระเบิดแบบธรรมดาแบบมีตัวความตานทาน

รูปที่5.3 วงจรจุดระเบิดแบบธรรมดาที่ใชตัวความตานทาน
การทํางาน
เนื่องจากในวงจรจุดระเบิดแบบธรรมดา ในขณะสตารตเครื่องยนตมอเตอรสตารตจะใช
กระแสไฟฟาจํานวนมาก จึงทําใหในขณะทําการสตารตแรงเคลื่อนไฟฟาของแบตเตอรี่จะลดลง ทําใหมี
กระแสไฟฟาไปเลี้ยงขดลวดปฐมภูมิไมเพียงพอ เปนผลใหในขณะทําการสตารตเครื่องยนต ประกายไฟ
ไมแรงพอที่จะกระโดดขามเขี้ยวหัวเทียน เพื่อเปนการแกปญหาดังกลาวจึงใชคอยลจุดระเบิดทีใ่ ชขดลวดทีม่ ี
ความตานทานไฟฟานอยลง จากรูปที่5.3 จะเห็นวาในขณะทําการสตารตจะใหกระแสไฟฟาจากแบตเตอรี่
ไหลผานสวิตชกุญแจทางขั้ว St2 เขาขั้วบวกของคอยลจุดระเบิดเพื่อเลี้ยงขดลวดปฐมภูมิและเมื่อทําการ
สตาร ต เครื่ อ งยนต ติ ด แล ว จะให ก ระแสไฟฟ า จากแบตเตอรี่ ไ หลผ า นสวิ ต ช กุ ญ แจทางขั้ ว Ig. ผ า นตั ว
ความตานทานเพื่อลดแรงเคลื่อนไฟฟากอนจะเขาคอยลจุดระเบิดใหเทากับแรงเคลื่อนไฟฟาที่ขดลวดใน
คอยลจุดระเบิดใช ทําใหคอยลจุดระเบิดทํางานไปตามปกติ
คอยลจุดระเบิด (Ignition coil)
คอยลจุดระเบิด ทําหนาที่เชนเดียวกับหมอแปลงไฟฟาคือเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟาจาก 12โวลต
เปน 20,000โวลตเพื่อใหสามารถกระโดดขามเขี้ยวหัวเทียนได ภายในคอยลจุดระเบิดจะประกอบดวย
ขดลวดปฐมภูมิพันรอบแกนเหล็กออนดวยลวดทองแดงขนาดใหญโดยพัน 150 ถึง 300 รอบทับขดลวด
ทุติยภูมิซึ่งเปนลวดทองแดงขนาดเล็กพันรอบแกนเหล็กออนเดียวกันประมาณ 20,000 รอบและเพื่อปองกัน
การลัดวงจรระหวางขดลวดทั้งสองขดจึงมีกระดาษบางๆคั่นอยูและบรรจุน้ํามันอยูภายในเพื่อชวยระบาย
ความรอน ปลายดานหนึ่งของขดลวดปฐมภูมิจะตออยูกับขั้วบวก(+)และปลายอีกดานจะตอเขากับขั้วลบ(-)
ของคอยลจุดระเบิด สําหรับขดลวดทุติยภูมิจะตอปลายดานหนึ่งเขากับขั้วบวก(+) ของคอยลจุดระเบิดสวน
ปลายอีกดานจะตออยูกับขั้วไฟแรงสูงตรงกลางคอยลจุดระเบิดที่ใชสําหรับตอสายไฟแรงสูงไปฝาครอบจาน
จาย

รูปที่5.4 โครงสรางของคอยลจุดระเบิด

รูปที่ 5.5 วงจรภายในของคอยลจุดระบิด

จานจาย (Distributor)
จานจายจะติดตั้งอยูที่เครื่องยนต ทําหนาที่ใหหนาทองขาวเปนสวิตชปด-เปดวงจรไฟแรงต่ํา
ตามจังหวะการหมุนของลูกเบี้ยวจานจาย จานจายประกอบดวย ฝาครอบจานจาย โรเตอร ชุดหนาทองขาว
และคอนเดนเซอร นอกจากนี้ยังมีชุดกลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาแบบสุญญากาศและชุดกลไก
ควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนยประกอบอยูภายในดวย
ชุดกลไกควบคุมการจุดระเบิดลวง
ชุดกลไกควบคุมการ
หนาแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย
จุดระเบิดลวงหนาแบบ
สุญญากาศ

รูปที่5.6 โครงสรางของจานจาย

รูปที่5.7 ลักษณะภายนอกและภายในของจานจาย
รูปที่5.8 ภาพแยกชิ้นสวนของจานจาย

1. ฝาจานจาย 2. ที่ล็อกจานจาย 3. ยางกันฝุน 4. แทงคารบอน


5. โรเตอร 6. ชุดหนาทองขาว 7. แผนรองชุดหนาทองขาว 8. สายกราวด
9. ลูกเบี้ยวจานจาย 10. ตุมน้ําหนัก 11. สปริงดึงตุมน้ําหนัก 12. เพลาจานจาย
13. แหวนรอง 14. เรือนจานจาย 15. สายไฟชุดทองขาว 16. ชุดขั้วตอ
17. คอนเดนเซอร 18. ชุดสุญญากาศ 19. แผนยึดจานจาย 20. เฟองจานจาย
- ชุดหนาทองขาว(Breaker section)ทําหนาที่ตัด-ตอวงจรไฟปฐมภูมิ ชุดหนาทองขาวจะ
ประกอบดวยหนาทองขาว (Contact) ที่อยูกับที่ซึ่งจะตอลงกราวดและหนาทองขาวตัวที่เคลื่อนที่ซึ่งที่จุด
หมุนของสวนนี้จะมีฉนวนปองกันการลงกราวด หนาทองขาวตัวที่เคลื่อนที่นี้จะตอรับกระแสไฟฟาจาก
ขดลวดปฐมภูมิและจะมีไฟเบอรทําหนาที่ถายทอดกําลังจากลูกเบี้ยวจานจายเพื่อทําหนาที่ ปด-เปดหนา
ทองขาว สปริงแผนของหนาทองขาวจะทําหนาที่ปดหนาทองขาวใหสนิท

รูปที่5.9 ชุดทองขาวทีต่ ิดตั้งอยูในจานจาย

- มุมดเวล (Dwell angle) คือมุมของลูกเบี้ยวจานจาย ตัง้ แตหนาทองขาวเริ่มปดจนถึงหนา


ทองขาวเริ่มเปด
มุมดเวลของเครื่องยนต 4 สูบ ประมาณ 52 องศา
มุมดเวลของเครื่องยนต 6 สูบ ประมาณ 41 องศา
คามุมดเวลนอยแสดงวา ระยะหางของหนาทองขาวหางมากเกินไป
คามุมดเวลมากแสดงวา ระยะหางของหนาทองขาวชิดเกินไป
- มุมดเวลนอยเกินไป จะทําใหระยะเวลาที่หนาทองขาวปดสั้น เพราะระยะหางของหนา
ทองขาวหางมากเกินไป (หนาทองขาวจะปดชาและเปดเร็ว) เปนผลใหกระแสไฟฟาที่ไหลผานขดลวดปฐม
ภูมิของคอยลจุดระเบิดมีเวลานอยลง ในขณะที่เครื่องยนตเดินเบาจะไมมีผลตอเครื่องยนตชัดเจน แตเมื่อ
เครื่องยนตมีความเร็วรอบสูงขึ้น กระแสไฟฟาในขดลวดปฐมภูมิจะไมเพียงพอ การเหนี่ยวนําในขดลวด
ทุติยภูมิจะนอยลงทําใหไฟแรงสูงขาดหายเปนชวงๆ จังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนตเกิดการผิดพลาด
รูปที่5.10 มุมดเวลที่มากและนอยเกินไป
- มุมดเวลมากเกินไป ระยะหางของหนาทองขาวจะนอย (หนาทองขาวจะปดเร็วและเปดชา)
จึงมักเกิดประกายไฟที่หนาทองขาวไดงายเมื่อหนาทองขาวเปด การเกิดประกายไฟจะทําใหกระแสไฟฟาที่
ไหลในวงจรไฟแรงต่ํายังคงไหลลงกราวดไดอยูตอไป ทําใหกระแสไฟฟาในวงจรไฟแรงต่ําไมถูกตัดการ
ไหลในทันทีทันใดเปนผลใหแรงเคลื่อนไฟฟาในวงจรทุติยภูมิเกิดขึ้นนอย ประกายไฟมีแรงเคลื่อนไฟฟา
ไมสูงพอที่จะกระโดดขามเขี้ยวหัวเทียน ทําใหจังหวะการจุดระเบิดของเครื่องยนตเกิดการผิดพลาดเชนกัน
คอนเดนเซอร (Condenser)
ทําจากตะกั่วแผนบางๆ ตั้งแต 2 แผนขึ้นไปวางซอนกันและถูกกั้นดวยกระดาษไขมวนบรรจุ
อยูในกลองโลหะรูปทรงกระบอกและปดผนึกปองกันการรั่วของกระแสไฟฟา ปกติคอนเดนเซอรจะติด
ตั้งอยูดานนอกขางจานจายตอขนานกับชุดหนาทองขาว คอนเดนเซอรจะทําหนาที่เก็บประจุไฟฟาใน
ขณะที่หนาทองขาวเปด ซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนําตัวเองของขดลวดปฐมภูมิโดยมีแรงเคลื่อนไฟฟาประมาณ
500โวลต กระแสไฟฟานี้จะพยายามกระโดดขามหนาทองขาวและเพื่อใหเกิดประกายไฟที่หนาทองขาว
นอยที่สุด จึงตอคอนเดนเซอรขนานไวในวงจรเพื่อใหกระแสไฟฟาที่เกิดขึ้นไปสะสมไวในคอนเดนเซอร
ชั่วคราว การเลือกใชคอนเดนเซอรกับระบบจุดระเบิดจะตองเลือกขนาดความจุใหเหมาะกับระบบจุด
ระเบิดของรถยนต ซึ่งบริษัทผูผลิตไดออกแบบไว ความจุของคอนเดนเซอรมีหนวยวัดเปน ไมโครฟารัด
(Microfarad หรือ µF)

รูปที่5.11 โครงสรางของคอนเดนเซอร
การใชคอนเดนเซอรที่มีคาความจุนอยเกินไป จะทําใหเนื้อโลหะของหนาทองขาวดานบวก
(ตัวที่เคลื่อนที่) นูนออกมาและดานลบ (ตัวที่อยูกับที่) เปนหลุมและการใชคอนเคนเซอรที่มีคาความจุมาก
เกินไปจะทําใหเนื้อโลหะของหนาทองขาวทางดานบวกเปนหลุมและทางดานลบนูนออกมา

รูปที่5.12 ลักษณะของหนาทองขาวที่ใชคอนเดนเซอรผิดขนาด
โรเตอร (Rotor)
โรเตอร หรือ หัวนกกระจอก ทําดวยสารสังเคราะหที่สามารถทนความรอนสูงและตองเปน
ฉนวนที่ดี ที่ตัวโรเตอรจะมีสะพานไฟอยูตรงสวนบนและยื่นออกไปนอกตัวโรเตอร โรเตอรทําหนาทีห่ มุน
จายไฟแรงสูงที่รับมาจากคอยลจุดระเบิดไปยังสายไฟแรงสูงที่ตอไปหัวเทียน

รูปที่5.13 โครงสรางของโรเตอร

ฝาจานจาย (Distributor cap)


ทําจากสารสังเคราะหเชนเดียวกับโรเตอร ที่ฝาครอบจานจายจะมีรูตรงกึ่งกลาง ดานในจะ
ติดตั้งแทงคารบอนโดยมีสปริงดันแทงคารบอนไวเพื่อใหแทงคารบอนสัมผัสกับสะพานไฟที่ตัวโรเตอร
ตลอดเวลาและรอบๆฝาจานจ า ยจะมี รูส ายหั ว เที ย นจํ า นวนเทา กั บกระบอกสู บซึ่ ง จะรับ ไฟแรงสู ง จาก
โรเตอร ระยะหางระหวางสะพานไฟของโรเตอรกับขั้วไฟของฝาจานจายจะประมาณ 0.8 มิลลิเมตร
รูปที่5.14 โครงสรางของฝาจานจาย
กลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนา
หลังจากที่ไอดีถูกจุดดวยประกายไฟจะตองใชระยะเวลาจํานวนหนึ่งที่เปลวไฟจะแพรกระจาย
ไปจนทั่วหองเผาไหม ดวยเหตุนี้จึงมีระยะเวลาลาชาเล็กนอยระหวางเวลาที่เริ่มจุดระเบิดจนกระทั่งไดความ
ดันจากการเผาไหมมากที่สุด (ประมาณ 8 องศาหลังการจุดระเบิดที่รอบเดินเบา) ฉะนั้นจึงตองตั้งจังหวะใน
การจุดระเบิดที่เหมาะสมเพื่อที่จะใหไดกําลังสูงสุดจากเครื่องยนต ดวยเวลาที่ลาชาของการเผาไหมในหอง
เผาไหมหลังจากการจุดระเบิดจึงตองกําหนดใหไอดีถูกจุดระเบิดกอนศูนยตายบน (TDC) ซึ่งเรียกวาจังหวะ
การจุดระเบิด (Ignition timing)
จังหวะการจุดระเบิดของหัวเทียนจําเปนตองมีการเปลี่ยนแปลงใหสัมพันธกับความเร็วรอบ
และภาระของเครื่องยนต ซึ่งในระบบจุดระเบิดจะมีการควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาไวที่ตัวจานจายโดยมี
การควบคุม 2 แบบคือ
1. ชุดกลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาแบบสุญญากาศ (Vacuum advancer)

ขณะยังไมเกิดสุญญากาศ ขณะเกิดสุญญากาศ
รูปที่5.15 ชุดกลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาแบบสุญญากาศ
ในขณะที่เครื่องยนตเดินเบาลิ้นปกผีเสื้อจะปด ทอสุญญากาศซึ่งติดตั้งเหนือลิ้นปกผีเสื้อของ
คารบูเรเตอรจะไมเกิดสุญญากาศ กลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาจะไมทํางานและเมื่อลิ้นผีเสื้อเริ่มเปด
จะเกิด สุญญากาศที่ทอสุญญากาศทําใหหองของไดอะแฟรมด านที่ท อสุญญากาศตออยูเป นสุญญากาศ
อากาศในหองไดอะแฟรมอีกดานหนึ่งจึงดันไดอะแฟรมใหเคลื่อนตัวโดยชนะแรงดันสปริง เปนผลใหกาน
ตอดึงแผนรองชุดทองขาวใหเคลื่อนที่หมุนในทิศทางตรงขามการหมุนของลูกเบี้ยวจานจาย ทําใหจังหวะ
การจุดระเบิดเกิดลวงหนามากขึ้น ซึ่งจะใชควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาในชวงความเร็วต่ําถึงปานกลาง

รูปที่5.16 การทํางานของกลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาแบบสุญญากาศ

2. ชุดกลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย (Governor advancer)

รูปที่5.17 ชุดกลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย
ในขณะที่เครื่องยนตเดินเบาที่ประมาณ 800 รอบ/นาที (800 rpm) การจุดระเบิดลวงหนาปกติ
จะตั้งไวประมาณ 8 องศากอนศูนยตายบน (8° BTDC) ซึ่งเมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนตสูงขึ้นองศาการ
จุดระเบิดจะเพิ่มขึ้นตามไปดวย การทํางานของชุดกลไกควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาแบบสุญญากาศจะ
ทํางานจนกระทั่งความเร็วของเครื่องยนตถึงประมาณ 3 ,000 รอบ/นาทีจึงสิ้นสุดการทํางาน ชุดควบคุมการ
จุด ระเบิด ล ว งหน าแบบแรงเหวี่ย งหนี ศูน ยจ ะเริ่มทํ างานตอจากชุด ควบคุมการจุด ระเบิ ด ล ว งหนา แบบ
สุญญากาศ โดยตุมน้ําหนักของชุดควบคุมการจุดระเบิดลวงหนาจะเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนยมากพอที่จะทําให
ตุมน้ําหนักเหวี่ยงตัวออกดันแผนลูกเบี้ยวใหเคลื่อนที่ไปโดยชนะแรงดึงของสปริง เปนการเพิ่มองศาการจุด
ระเบิดลวงหนา การจุดระเบิดลวงหนาจะเพิ่มขึ้นสัมพันธกับความเร็วรอบของเครื่องยนต ชุดควบคุมการ
จุดระเบิดลวงหนาแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนยนี้จะมีตัวสลักบังคับเปนตัวกําหนดการจุดระเบิดลวงหนาสูงสุด
คือเมื่อตุมน้ําหนักเหวี่ยงตัวออกดันแผนลูกเบี้ยวจนชนสลักบังคับจะเปนการสิ้นสุดระยะการเคลื่อนตัวของ
แผนลูกเบี้ยว การจุดระเบิดลวงหนาจะไมเพิ่มขึ้นอีกถึงแมวาเครื่องยนตจะมีความเร็วรอบเพิ่มสูงขึ้นอีกก็ตาม
ตัวปรับคาออกเทน จังหวะการจุดระเบิดตองมีการปรับตั้งเพื่อใหเกิดการเผาไหมไอดีได
สมบูรณที่สุด การใชน้ํามันที่มีคาออกเทนต่ําระยะเวลาในการเผาไหมจะสั้น ดังนั้นแรงดันจากการเผาไหม
สูงสุดจึงเกิดกอน 8 องศาหลังการจุดระเบิด เมื่อใชน้ํามันที่มีคาออกเทนสูงขึ้นการเผาไหมจะใชเวลามากขึน้
แรงดันสูงสุดของการเผาไหมจะเกิดหลัง 8 องศาหลังการจุดระเบิด เครื่องยนตจะไมสามารถใหสมรรถนะ
เต็มที่ได ดังนั้นเมื่อใชน้ํามันที่มีคาออกเทนต่ําลงจะตองตั้งองศาการจุดระเบิดลวงหนาใหนอยลง แตถาใช
น้ํามันที่มีคาออกเทนสูงขึ้นจะตองตั้งองศาการจุดระเบิดลวงหนามากขึ้น โดยใชตัวปรับคาออกเทนเพื่อ
แกปญหานี้

รูปที่5.18 ตัวปรับองศาการจุดระเบิดตามคาออกเทน
รูปที่5.19 ชุดกลไกตัวปรับองศาการจุดระเบิดตามคาออกเทน

หัวเทียน (Spark plug)


หั ว เที ย นทํ า หน า ที่ จุ ด ประกายไฟให ไ อดี เ กิ ด การเผาไหม หั ว เที ย นที่ อ ยู ใ นสภาพดี แ ละ
การเลือกใชหัวเทียนใหถูกตองกับสภาพการใชงานจะเปนผลทําใหเครื่องยนตทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพ
- โครงสรางของหัวเทียน

รูปที่5.20 โครงสรางของหัวเทียน
1. ขั้วหัวเทียน (Terminal stud) เปนที่เสียบของสายไฟแรงสูง
2. แกนกลาง (Center electrode) ทําจากโลหะพิเศษทีท่ นตอการกัดกรอนของเชื้อเพลิงที่เผา
ไหมและยังสามารถนํากระแสไฟฟาไดดี
3. กระเบื้องฉนวน (Insulator) ทําหนาที่ปอ งกันแกนกลางไมใหลงกราวด
4. เปลือกนอกและเกลียว (Metal shell) เปนสวนทีย่ ึดกับฝาสูบ
5. ปะเก็น (Gasket) เปนแหวนปองกันการรั่วของแกสในหองเผาไหม
6. เขี้ยวหัวเทียน (Ground electrode) ทําหนาที่เปนกราวด ใหไฟแรงสูงกระโดดขามชองวาง
หัวเทียนทองคําขาว (Platinum spark plug)
หั ว เที ย นปกติ โ ดยทั่ ว ไปแกนกลางของหั ว เที ย นจะทํ า จากโลหะผสมนิ เ กลกั บ โครเมี ย ม
แมงกานีส ซิลิคอนหรือโลหะอื่นๆ
สําหรับหัวเทียนทองคําขาวเปนหัวเทียนที่แกนกลางทําจากโลหะทองคําขาว (Platinum) ที่มี
ความบริสุทธิ์ถึง 99.99% มีเสนผาศูนยกลางประมาณ 0.3 ถึง 1.1 มิลลิเมตร (แกนกลางเล็กกวาหัวเทียนแบบ
ธรรมดา) มีคุณสมบัติพิเศษทนตอการกัดกรอนมีประสิทธิภาพดีกวาหัวเทียนแบบธรรมดา
- การแบงประเภทของหัวเทียน
สามารถแบ ง ประเภทของหั ว เที ย นตามคุ ณ สมบั ติ ก ารระบายความร อ นของหั ว เที ย นได
3 ประเภทคือ
1. หัวเทียนรอน คือหัวเทียนที่มีกระเบื้องแกนกลางยาว ความรอนจึงสะสมไดมากใชกับ
เครื่องยนตที่ทํางานความเร็วต่ําหรือระยะเวลาในการทํางานชวงสั้นๆความรอนจึงถึงอุณหภูมิทํางานเร็ว
2. หัวเทียนมาตรฐาน คือหัวเทียนที่มีกระเบื้องแกนกลางยาวปานกลาง ใชกับเครื่องยนตที่
ทํางานดวยความเร็วปานกลางหรือวิ่งในระยะทางใชงานทั่วๆไป
3. หัวเทียนเย็น คือหัวเทียนที่มีกระเบื้องแกนกลางสั้นระบายความรอนไดดี ใชกับเครื่องยนต
ที่ทํางานดวยความเร็วสูงหรือวิ่งในระยะทางไกลๆ
หัวเทียนรอน หัวเทียนมาตรฐาน หัวเทียนเย็น

หัวเทียนเย็น หัวเทียนมาตรฐาน หัวเทียนรอน

รูปที่ 5.21 แสดงลักษณะและเบอรของหัวเทียนรอนและเย็น

- โคดของหัวเทียน
โคดหัวเทียนจะเปนตัวอักษรและตัวเลขบอกลักษณะตางๆของหัวเทียน เชนขนาดของเกลียว
ชนิดของหัวเทียน ความยาวของเกลียวเปนตน ทั้งนี้ขึ้นอยูกับบริษัทผูผลิต
เชน โคดหัวเทียน(ยี่หอNGK) B P 6 E S 11
1 2 3 4 5 6
โคดตัวที่ 1 หมายถึงความโตของเกลียวหัวเทียน (ในที่นี้คอื ตัว B)
โคดตัวที่ 2 หมายถึงลักษณะการยื่นออกมาของแกนหัวเทียน (ในที่นี้คือตัว P)
โคดตัวที่ 3 หมายถึงตัวเลขทีบ่ อกวาเปนหัวเทียนรอนหรือเย็น (ในทีน่ ี้คือเลข 6)
โคดตัวที่ 4 หมายถึงขนาดความยาวของเกลียวหัวเทียน (ในที่นี้คือตัว E)
โคดตัวที่ 5 หมายถึงลักษณะโครงสรางพิเศษของหัวเทียน (ในทีน่ ี้คือตัว S)
โคดตัวที่ 6 หมายถึงระยะเขี้ยวหัวเทียน (ในที่นี้คือเลข 11)
- การเลือกใชหัวเทียน
1. ใชขนาดความยาวเกลียวหัวเทียนใหถูกตองกับฝาสูบ
2. เลือกใชเบอรหัวเทียนใหถูกตองกับสภาพการใชงาน
3. ใชขนาดการยื่นของแกนหัวเทียนใหถูกตองตามที่คูมือกําหนด
4. ใชหัวเทียนทีไ่ ดมาตรฐาน
- การวิเคราะหสภาพหัวเทียนจากการใชงาน
1. หัวเทียนมีสภาพแหง มีสนี ้ําตาลออนๆแสดงวาการเผาไหมของเครื่องยนตสมบูรณเปนปกติ
2. หัวเทียนมีสภาพสีดําแหง สามารถเช็ดออกไดงาย แสดงวาอัตราสวนผสมของไอดีหนา
เกินไป ใหทําการปรับแตงสวนผสมของไอดีใหถูกตอง
3. หัวเทียนมีสภาพคราบน้ํามันเครื่องติดเปยก แสดงวาลูกสูบ กระบอกสูบหรือแหวนลูกสูบ
สึกหรอ ใหทําการตรวจซอมเครื่องยนต
4. หัวเทียนมีสภาพไหมและกรอน แสดงวาอาจใชหัวเทียนไมเหมาะสม ใหเปลี่ยนใชหัวเทียน
เบอรเย็นลง
5. หัวเทียนมีสภาพสีขาวหรือสีเหลืองจับ แสดงวาตั้งไฟออนเกินไป หรือใชหัวเทียนเบอรเย็น
เกินไป ใหตั้งไฟหรือเปลี่ยนหัวเทียนใหม

You might also like