You are on page 1of 23

คู่มือ การซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ ม 1

Best fogger

จัดทำโดย
สำนักงำนป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี
คู่มือ การซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1
“Best Fogger”

จัดพิมพ์โดย
สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข
ถนนสุขุมวิท อาเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
โทรศัพท์ 0-3827-1881-2
โทรสาร 0-3827-4862

พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม..2556

จานวน เล่ม

พิมพ์ที่ สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี


คำนำ

คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นเบื้องต้นนี้ จัดทาขึ้นเ พื่อให้ภาคีเครือข่าย


สามารถใช้ และแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องพ่นเบื้องต้นได้ด้วยตนเองอย่าง
ถูกต้อง โดยเนื้อหาประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ลักษณะความผิดปกติ
ของเครื่องพ่นที่พบบ่อย และ การตรวจสอบแก้ไขความผิดปกติของ
เครื่องพ่น ตามลักษณะความผิดปกติที่พบ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบไฟ
ระบบน้ามัน ระบบอากาศ ระบบไหลเวียนการสารเคมี ซึ่งเป็น
พื้นฐานอย่างง่ายที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถนาไปใช้ได้ทั่วไป
การจัดทาคู่มือ ฯ นี้ได้ผ่านผู้เชี่ยวชาญ /นักวิชาการ /ช่างในศูนย์
ซ่อมเครื่องพ่น ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงทั้ง 5 แห่ง และ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ ผู้บริ หารสานักป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัด
ชลบุรี หัวหน้า ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 3.1-3.5 และผู้ที่
เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ ปรับแก้ไข เนื้อหาให้เข้าใจง่าย
และสามารถนาไปปฏิบัติได้จริง
คณะ ผู้จัดทาหวัง เป็นอย่างยิ่ง ว่า คู่มือนี้ จะ มีประโยชน์ต่อ
หน่วยงานทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน เอกชน
ที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้เครื่องพ่น สามารถ แก้ไขปัญหา และมีทักษะการซ่อม
เครื่องพ่นเบื้องต้นได้ เอง ช่วยให้การ ควบคุม แมลงนาโรค โรคในพื้นที่
เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพ ต่อไป
คณะผู้จัดทา
27 สิงหาคม 2556


สำรบัญ
หน้ า
คานา ก
สารบัญ ข
หลักการทางานเครื่องพ่นหมอกควัน Best Fogger 1
ส่วนประกอบของเครื่องพ่น Best fogger 3
คุณสมบัติของเครื่องพ่นหมอกควัน Best Fogger 4
ชุดเครื่องมือในการซ่อมเครื่องพ่น 5
ขั้นตอนการตรวจสอบระบบการทางานของเครื่องพ่นหมอกควัน 6
ปัญหาที่พบบ่อย 9
การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น 9
1.เครื่องไม่ติด 10
2.เครื่องติดแต่ปล่อยน้ายาแล้วดับ 13
3.เครื่องติดแต่ยกปลายท่อขึ้นลงแล้วดับ 13
4.เครื่องมีไฟลุกที่ปลายท่อ ขณะทางาน 14
5.เครื่องติดแต่ไม่มีหมอกควัน หรือควันออกน้อย 15
ข้อควรระวัง 16
เอกสารอ้างอิง 17
หน่วยงานศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงในเขตพื้นที่ 18
รายชื่อที่ปรึกษาและคณะผู้จัดทา 19


คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

หลักการทางานเครื่องพ่นหมอกควัน
“Best Fogger”

เครื่องพ่นหมอกควัน ใช้สาหรับป้องกันแล ะกาจัดแมลงบิน ซึ่งเป็น


พาหะนาโรคต่างๆ มาสู่คน เช่น ยุงลาย ยุงราคาญ แมลงวัน มีระบบการ
ทางานโดยการขับเคลื่อนของอากาศร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงผสม
อากาศในห้องเผาไหม้ อากาศร้อนจะเคลื่อนตัวไปสู่ปลายท่อพ่นอย่างรวดเร็ว
และเมื่อสัมผัสกับสารเคมีผสมน้ามันดีเซล หรือผสมน้าที่ถูกปล่อยเข้าสู่ ท่อพ่น
อากาศร้อนจะทาให้สารเคมีผสมแ ตกออกเป็นละอองเล็กๆ และพ่นออกสู่
ภายนอกในรูปของหมอกควันหรือละอองฝอยละเอียด
แรงดันที่เกิดจากการอัดอากาศภายในเครื่องพ่นโดยใช้กระบอกอัด
อากาศจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แรงดันภายในถังบรรจุสารเคมี และ
แรงดันภายในถังบรรจุน้ามันเชื้อเพลิง เมื่อมีการ เปิ ดปุ่มบังคั บการไหล
แรงดัน ภายในถังบรรจุเชื้อเพลิงจะไปดันน้ามันเชื้อเพลิงให้เข้าไปในห้อง
เตรียมผสมอากาศ และเมื่อ ดึงปุ่มควบคุมน้้ามันเชื้อเพลิง ขึ้นพร้อมกับอัด
อากาศและกดปุ่มควบคุมกระแสไฟ น้ามันเชื้อเพลิงจะถูกดันเข้าไปในห้อง
ผสมอากาศและจุดระเบิดขึ้น เกิดเป็นพลังงานความร้อนเคลื่อนตัวออกไปทาง
ปลายท่ออย่างรวดเร็ว เมื่อ โยกคันบังคับปิด- เปิดสารเคมี ลงด้านล่าง
สารเคมีที่ผสมน้ามันดีเซลหรือน้าสะอาดจะไหลเข้าสู่ท่อพ่นโดยผ่านหัวฉีด

1
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

เมื่อสั มผัสกับอากาศร้อนที่ดันตัวออกมา จะแตกตัวออกเป็นละอองเล็กๆ พ่น


ออกสู่ภายนอกในรูปของหมอกควันหรือ ละอองฝอยละเอียด ดังที่กล่าว
ข้างต้น ขนาดของเม็ดละอองสารเคมีที่ถูกพ่นออกมานั้นจะถูกกาหนดโดย
ขนาดของหัวฉีดตามความเหมาะสมของงาน องค์การอนามัยโลก (WHO)
กาหนดว่ามาตรฐานของอัตราการไหลของสารเคมี (Flow rate) ไม่น้อยกว่า
24 ลิตร/ชั่วโมง และขนาดละอองสารเคมี (Volume Median Diameter
หรือ VMD) มีขนาดไม่เกิน 27 ไมครอน

น้ามันเชื้อเพลิง+อากาศ

พลังงานความร้อน

สารเคมี+(น้ามัน)

หมอกควัน

ภาพ 2 หลักการท้างานเครื่องพ่นหมอกควัน

2
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

คุณสมบัติของเครื่องพ่นหมอกควัน Best Fogger


ประเภท คุณสมบัติ
วัสดุตัวถัง ตัวถังเป็นสเตนเลส 304 ไม่เป็นสนิม ทนต่อ
สารเคมี แบตเตอรีชาร์จไฟบ้าน (DC) 12 โวลต์
กาลังไฟทนทาน อายุการใช้งานนาน
ระบบปรับอากาศ ด้วยระบบปรับอากาศเย็น (Double Cooling
System) ทาให้เครื่องไม่ร้อน
ชนิดเครื่องพ่น พ่นหมอกควัน(Thermal aerosol fog)
วิธีติดเครื่อง กดปุ่มจุดชนวนสตาร์ทอัตโนมัติ
กาลังไฟ DC 12V: แบตเตอรรี่แบบชาร์ตได้
ชนิดของน้ามัน เบนซิน 91 หรือแก๊สโซลฮอลล์ 95
กาลังเครื่องยนต์ 30.00 KW/hr (40.23 HP)
ความจุถังน้ามัน 1.8 ลิตร
อัตราสิ้นเปลืองน้ามัน 1.5 ลิตร/ชม.
ความจุถังน้ายา 8 ลิตร
ชนิดถังสารเคมี เหล็กสเตนเลส 304
ความสามารถในการพ่นยา 40 ลิตร/ช.ม.
ระยะการพ่น หมอกควัน 6-10 เมตร
ขนาด(กว้างXยาวXสูง) 230x1350x340มม.
น้าหนักเครื่องเปล่า 9 กก.
ชนิดน้ายา น้ามันดีเซลผสมน้ายาเคมี(พ่นหมอกควัน)

3
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

5
9

1 2 3 4 12

11
15
เครือ
่ งพ่น 10

14

13

Battery 12V

ภาพ 3 ส่วนประกอบของเครื่องพ่นหมอกควัน Best Fogger


ส่วนประกอบของเครื่องพ่น Best Fogger
1.หัวหยดน้ายา 2.สายส่งน้ายา
3.วาล์วควบคุมการไหลของน้ายาเคมี 4.วาล์วปิด-เปิดน้ายาเคมี
5.สายส่งลมเข้าถังเพื่อดันน้ายาเคมี 6.สวิตส์ปั๊ม
7.หัวเทียน 8.คาร์บูเรเตอร์/วาล์วเปิด-ปิดน้ามันเชื้อเพลิง
9.ชุดอากาศนาเข้า (อยู่ในคาร์บูเรเตอร์)10.ถังน้ามันเชื้อเพลิง
11.ถังน้ายาเคมี 12.ฝาถ่ายถังน้ายาเคมี
13.แบตเตอรี พร้อมคอยล์ 14.ตะแกรงกันความร้อน
15.ปลายท่อ

4
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

ภาพ 4 ชุดเครื่องมือในการซ่อมเครื่องพ่น

ชุดเครื่องมือในการซ่อมเครื่องพ่น
1. ไขควงแฉก, ไขควงปากแบน 2. ปะแจปากตาย เบอร์ 8–24
3. ปะแจหกเหลี่ยม รูปตัวแอล เบอร์ 3 4. ค้อนยาง
5. คีมล๊อค, คีมปากจิ้งจก, คีมตัดสายไฟ 6. แบตเตอรี่ สายชาร์ต
7. กระดาษทราย 8. บล็อกถอดหัวเทียน
9. ชุดบล็อก 10. แส้เหล็กขัดท่อ, เหล็กขูดท่อ
11. กรวยกรองน้ามันเบนซิน กรองน้ายา 12. ปั๊มลม สายลม ไกปล่อยลม
13. กล่องเครื่องมือ 14. ชุดสว่านไฟฟ้าพร้อมดอกสว่าน
15. โรลม้วนสายไฟฟ้า 16. หัวแร้งบัดกรีพร้อมใช้
17. เครื่องวัดไฟฟ้า (มัลติมิเตอร์)

5
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

ขั้นตอนการตรวจสอบระบบการทางานของเครื่องพ่นหมอกควัน

ผิดปกติ ปกติ
เครือ
่ งพ่นหมอกคว ัน

- หัวเทียนไม่มีไฟ/สกปรก - หัวเทียนมีประกายไฟ
- ระยะห่างเขี้ยวมาก/ - ระยะห่างเขี้ยว 4 มม.
น้อยเกินไป 1.ระบบไฟ
- แบตเตอรีมีไฟเต็ม
- แบตเตอรี่ไฟอ่อน - คอยด์ทางานปกติ
- คอยด์ไม่ทางาน

- เบนซิน91 หรือ
- น้ามันมีสภาพเก่า แก๊สโซฮอลล์ 95
- เติมน้ามันเต็มถัง 2.ระบบนา้ ม ัน - น้ามันมีสภาพใหม่
หรือมีติดก้นถัง - เติมเกือบเต็มถัง

- แผ่นเซ็นจูรี่หัก - แผ่นเซ็นจูรี่
- ประเก็นความร้อนชารุด 3.ระบบ - คาร์บูเรเตอร์
- วาล์วลมกลับชารุด อากาศ

- ฝาถังสารเคมีแตก - สายส่งสารเคมีไม่
ไม่ใช่ของเดิม 4.ระบบไหล อุดตัน
- สายส่งสารเคมี เวียนสารเคมี - หัวพ่นไม่อุดตัน
อุดตัน - ท่อพ่นไม่แตกร้าว
- หัวพ่นอุดตัน
- ท่อพ่นแตกร้าว

ภาพ 5 ขั้นตอนการตรวจสอบระบบการท้างานของเครื่องพ่นหมอกควัน

6
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

หมายเหตุ
ก่อนที่จะนาเครื่องพ่นสารเคมีไปใช้งาน เจ้าหน้าที่ควรทาการ
ตรวจสอบระบบการทางานของเครื่องทั้ง 4 ระบบ จะทาให้เครื่องพ่นที่นา
ออกใช้งานอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะใช้งานได้ในภาคสนาม
1. การเตรียมเครื่องพ่นหมอกควันให้พร้อมก่อนการใช้งาน
ก่อนหรือหลังใช้งานทุ กครั้ง ควรชาร์จแบตเตอรีให้เต็มเสมอ หรือกรณีที่
สตาร์ทเครื่องนานเกิน 10 ครั้ง จะทาให้กระแสไฟอ่อนลง จ้าเป็น ต้อง
ชาร์จแบตเตอรีให้เต็มใหม่ กรณีออกพื้นที่ จาเป็นต้องมีแบตเตอรี่สารอง
ไปด้วยเสมอ
2. วิธีชาร์จแบตเตอรี โดยต่อขั้วแบตเตอรีสีแดงเข้ากับสายไฟสี
แดง และต่อขั้วสีเหลืองเข้ากับสายไฟเหลือง (แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลท์
สามารถชาร์ตไฟซ้าใหม่ได้ โดยใช้ไฟบ้านเป็นแหล่งพลังงานในการชาร์ ต
ไฟ แบตเตอรีใหม่ชาร์ตครั้งแรกไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ครั้งต่อไป
ชาร์ต 1-2 ชั่วโมง อายุการใช้งานแบตเตอรีประมาณ 2 ปี
3. ปั้มลม และคอยล์จุดระเบิดภายในใช้แรงดันไฟ 12 โวลท์ ทา
ให้เกิดแรงอัด และกาลังไฟแรงสูงทาให้เครื่องพ่นสตาร์ทติดง่าย

7
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

วิธีการเปิ ดเครือ่ งพ่นควั น


1. ชาร์ทแบตเตอรี่ให้เต็มเสมอ
2. เติมน้ามันโดยผ่านกรวยกรอง
(เบนซิน 91 หรือแก๊สโซลฮอลล์ 95) ให้
มีปริมาณ ¾ ของถัง และปิดฝาถัง
น้ามันเชื้อเพลิง
3. เติมน้ายาเคมี ปิดฝาถังน้้ายาเคมี ให้แน่นและปิดวาล์วน้ายา
เคมี
4. หมุนวาล์วเปิด- ปิดน้้ามันเชื้อเพลิง ไปตาแหน่ง ปิด โดยหมุน
ตามเข็มนาฬิกาให้สุด
5. กดปุ่มสตาร์ท เครื่องค้างไว้
25- 30 วินาที แล้ว เปิดวาล์วน้้ามัน
เชื้อเพลิง ทีละน้อย

6. เมื่อเครื่องติดแล้ว 1-2 นาที จึง เปิดวาล์วควบคุมสารเคมี


เพื่อทาการพ่น

8
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

วิธีการปิ ดเครือ่ งพ่นหมอกควั น


1.วาล์วปิด-เปิดน้้ายาเคมี 2. คลายฝาถังสารเคมี

3.ปิดวาล์วน้้ามันเชื้อเพลิง

4. คลายฝาถังน้้ำมันเชื้อเพลิง

1. ปิดวาล์วปิด-เปิดน้ายาเคมี

2. คลายฝาถังสารเคมี เพื่อลดความดัน

3. ให้ติดเครื่องยนต์ไว้ ปล่อยให้เครื่องพ่นทางานต่อไปสักพัก
รอจนไม่มีควันที่ปลายท่อ
4. ปิดวาล์วเปิด-ปิดน้ามันเชื้อเพลิง
5. คลายฝาถังน้ามันเชื้อเพลิง เพื่อปล่อย
ความดันในถังออกมา

9
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

ปัญหาที่พบบ่อย
1. เครื่องไม่ติด
2. เครื่องติดแต่ปล่อยน้ายาแล้วดับ
3. เครื่องติดแต่ยกปลายท่อขึ้นลงแล้วดับ
4. เครื่องมีไฟลุกที่ปลายท่อ ขณะทางาน
5. เครื่องติดแต่ไม่มีหมอกควัน หรือควันออกน้อย
6. เครื่องร้อนมากขณะทางาน

การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
1. เครือ่ งไม่ตดิ
กรณีเครื่องไม่ติด ให้ตรวจสอบ ระบบ การทางานของเครื่อง ที่
สาคัญได้แก่ ระบบไฟ ระบบน้ามัน และระบบอากาศ (เอกสารหน้า 6 )
1.1 ตรวจสอบระบบไฟ
เกิดจาก การชารุดหรือเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ ระบบไฟ ให้
ตรวจสอบอุปกรณ์ที่คาดว่าจะชารุด มีดังนี้
1) หัวเทียนสกปรก/ชารุด
2) แบตเตอรีเสื่อมสภาพ
3) สายไฟเครื่องชารุดหรือขาด
4) คอยล์ไฟชารุด

10
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

 ตรวจสอบหัวเทียน
โดยใช้บล็อกถอดหัวเทียนออกมา
จากเครื่อง แล้วนาหัวเทียนมาใส่ขั้วหัว
เทียนนาไปวางที่เครื่องบริเวณที่เป็น
โลหะ แล้วกดสวิทซ์ สตาร์ท 1-2 ครั้ง
ดูว่ามีประกายไฟสีฟ้า หรือไม่ ถ้าไม่มี
ประกายไฟสี ฟ้า เกิดจาก หัวเทียน
สกปรก ให้ทาความสะอาดหัวเทียน
โดยใช้กระดาษทรายขัดที่เขี้ยว หัว
เทียนแล้วทดสอบใหม่ ถ้าเครื่องยังไม่
ติดแสดงว่า หัวเทียนช้ารุด ให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่ นอกจากนี้ให้
ตรวจสอบระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียนกับแกนกลาง ระยะห่างที่
เหมาะสมคือ 4 มิลลิเมตร หรือ ทดสอบโดยใช้เหรียญบาท 2 เหรียญ
ซ้อนกันสอดระหว่างเขี้ยวหัวเทียนได้

ตรวจสอบระบบไฟที่แบตเตอรี
โดยตรวจสอบกระแสไฟของ
แบตเตอรี่ที่อยู่ด้านล่างของเครื่องว่า มี
กระแสไฟหรือไม่ โดยใช้เครื่องวัด
ความจุ กระแสไฟฟ้ าวัดที่ขั้วบวกและ
ลบ (ขนาด 12 โวลต์ )ว่า ไฟ อ่อน
หรือไม่ ถ้าไฟอ่อนเครื่องจะไม่ติด
ให้ชาร์ ตแบตเตอรี่ใหม่ให้เต็ม ถ้ากระแสไฟในแบตเตอรี่เต็ม เมื่อกด
สวิทซ์สตาร์ท ปั๊มลมจะมีเสียงดังและน้ามันไหลแรงขึ้น

11
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

 ตรวจสายไฟมีรอยขาด/ หักหรือไม่ หากพบว่าขาด/ หัก


ให้เชื่อม ต่อใหม่โดยใช้หัวแร้งบัดกรีเชื่อม หรือส่งช่างซ่อมสายไฟ

 ตรวจสอบ คอยล์ไ ฟว่า ช้ารุด


หรือไม่ โดยถอดหัวเทียนออกวางไว้
กับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องพ่น
ถอดสายไฟของคอยล์ที่ต่อเข้าสวิทซ์
ออก แล้วต่อสายไฟขั้วบวกของ
คอยล์เข้ากับขั้วบวก ของแบตเตอรี
และ สายไฟขั้วลบของคอยล์เข้ากับ
ขั้วลบของแบตเตอรี ถ้ามีกระแสไฟ
สปาร์คที่หัวเทียน แสดงว่าคอยล์ไม่
ชารุด หากไม่มี กระแส ไฟสปาร์คที่
หัวเทียนแสดงว่าคอยล์ไฟชารุด ให้
ส่งช่างผู้ชานาญต่อไป

1.2 ตรวจสอบสายส่งน้้ามัน ขณะกดปุ่มสตาร์ท หากน้ามันไม่


ขึ้น ตามสายส่งน้ามัน อาจเกิดจาก น้้ามันมีสภาพเก่า หรือ ตัวกรอง
น้ามันตัน ให้เทน้ามันที่มีอยู่ในถังออกให้หมด หลังจากนั้นเติมน้ามัน
เบนซินใหม่ ประมาณ ¾ ของถัง
แล้วกดปุ่มสตาร์ทใหม่ หากน้ามัน
ขึ้นตามสายส่งน้ามัน ให้ตรวจสอบ
ระบบระบบอากาศต่อไป แต่ ถ้า
น้ามัน ไม่ขึ้นน่าจะเป็น ปัญหาที่ปั๊ม
ลม ให้ส่งช่างผู้ชานาญซ่อมต่อไป

12
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

1.3 ตรวจสอบระบบอากาศ
เกิดจากแผ่นเซ็นจูรี่แตกหักหรือ
สกปรก ให้เปิดฝาคาร์บูเรเตอร์
จะพบแผ่นเซ็นจูรี่มีลักษณะคล้าย
ดอกจิก ถ้าพบว่า แผ่นแตกหัก
ให้เปลี่ยนใหม่เท่านั้น
กรณี แผ่นสกปรก ให้นา
แผ่นออกมาแล้วใช้ผ้าชุบน้ามันเช็ด
ทาความสะอาด การใส่แผ่นเซ็น
จูรี่กลับที่เดิมต้องให้แผ่นปิดรู
อากาศให้สนิท

2. เครือ่ งติดแต่ปล่ อยน้ายาแล้ วดั บ


กรณี เมื่อเครื่องสตาร์ทติด
สักพักแล้วเครื่องดับ เกิดจาก
ประเก็นความร้อนแตกหรือ
ช้ารุด ทาให้ แรงดัน อากาศ ไม่
เพียง พอที่ดันน้ามันและน้ายา
ออกมาได้ ทาให้เครื่องดับ ต้อง
ส่งให้ช่างผู้ชานาญการเปลี่ยน
อุปกรณ์ต่อไปเท่านั้น

13
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

3. เครือ่ งติดแต่ยกปลายท่อขึ้นลงแล้ วดั บ


อาจเกิดจาก ความผิดปกติ
ชองระบบ อากาศ จากการที่
วาล์วลมกลับ (ลักษณะคล้าย
ปากเป็ด ) ช้ารุด ให้ถอด
เปลี่ยนแผ่นวาล์ว ลมกลับ อันใหม่
หรือ เกิดจาก คาร์บูเรเตอร์
สกปรก ให้ส่งช่างเพื่อทาการ
ตรวจสอบแก้ไขต่อไป

4. เครือ่ งมีไฟลุกทีป่ ลายท่อ ขณะทางาน


เกิดจาก ระบบน้้ามันขัดข้อง เนื่องจาก ยกปลายท่อ ขึ้นลงมาก
เกิน 30 องศา อาจเกิดเปลวไฟขึ้นได้ที่ปลายท่อ หรือหากปิดวาล์ว
น้ามันทันทีก่อน โดยไม่ปิดวาล์วน้ายาก่อน จะเกิดไฟติดที่ปลายท่อ ต้อง
รีบแก้ไขตามลาดับ ดังนี้
1. ให้นาเครื่องพ่นออกนอกอาคารไปยังที่ที่มีอากาศถ่ายเท
2. ปิดวาล์วน้ายา(วาล์วปิด-เปิด) โดยหมุนตามเข็มนาฬิกา
3. เปิดฝาถังน้ายาเคมีออก เพื่อระบายแรงดันอากาศออก
4. ปิดวาล์วน้ามันโดยหมุนตามเข็มนาฬิกาจนสุด แล้ว กดสวิสต์
สตาร์ทไล่ลม สักพักไฟก็จะดับเอง

14
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

1. ปิดวาล์วน้ายา 2. ปิดฝาน้ายา 4.กดสวิสต์ไล่ลม

3.ปิดวาล์วน้ามัน
เครือ
่ งพ่น

ข้อควรระวัง
ในการพ่น ไม่ควรหันปลายท่อขึ้นหรือลงเกินแนว 30 องศากับ
พื้นดินควรหันปลายท่อขนานกับพื้นดินหรือกดเฉียงลงเล็กน้อย

5. เครือ่ งติดแต่ไม่มหี มอกควั น หรือควั นออกน้อย


อาจเกิดจาก ความผิดปกติของ ระบบ ไหลเวียนสารเคมี และ
ระบบอากาศ ให้ตรวจสอบ ดังนี้
 เกิดจากท่อน้้ายาอุดตัน
ตรวจสอบโดยให้เปิดวาล์วแล้วเปิด
ฝาถังน้ายา แล้วใช้ ลมเป่าสวนจาก
ปลาย หัวหยด เข้า ไปในถังน้ายา
สารเคมี จนเศษผงหรือตะกอนที่อุด
ตันหลุดเข้าไปในตัวถัง หลังจากนั้น
ถ่ายน้ายาในถังออกจนหมด ล้างด้วยน้าสะอาดแล้วเป่าด้วยลมจน
แห้ง เสร็จแล้วนามาติดตั้งตามเดิม

15
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

 เกิดจากเขม่าเกาะปลายท่อ เนื่องจากการใช้งานไปนานๆ จะมี


เขม่าอุดตันปลายท่อพ่นเครื่องพ่น จะเป็นสาเหตุทาให้เครื่องไม่มีแรงดัน
ให้ทาความสะอาดบริเวณปลายท่อพ่น โดยใช้ แท่งเหล็กขูด ทาความ
สะอาด แล้วจึงใช้แส้เหล็กด้ามยาวทาความสะอาดอีกครั้ง

ข้อควรระวั ง
เครื่องร้อนมาก ขณะทางานเกิดจากการ ใช้งานอย่างต่อเนื่อง
เป็นเวลานานโดยไม่หยุดพัก จะทาให้ท่อพ่นน้ายาแตกได้ ซึ่งเป็นปัญหา
ที่พบบ่อย ดังนั้นเมื่อพ่นน้ายาหมดประมาณครึ่งถัง ให้หยุดพักเครื่อง
15 นาที เพื่อปล่อยให้เครื่องเย็นตัวลงก่อนพ่นต่อไป
(หมายเหตุ : ถังบรรจุน้ายาของเครื่อง Best Fogger มีขนาด
ใหญ่กว่าเครื่องชนิดอื่นๆ กรณี พ่นน้ายาจนหมดถัง ต้องใช้เวลานาน
มากกว่า 1 ชม. ซึ่งจะทาให้อุณหภูมิท่อเพิ่มสูงมาก จนอาจทาให้ท่อแตก
หรือชารุดได้ง่าย)

16
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

เอกสารอ้ างอิ ง
กสินทร์ ศุภปฐม . (2551). เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง การทดสอบคุณภาพเครื่องพ่นสารเคมี .
สานักโรคติดต่อนาโดยแมลง, กรมควบคุมโรคติดต่อ . (2543). คู่มือการ
ใช้และบารุงรักษาเครื่องพ่นสารเคมี . กรุงเทพ : โรงพิมพ์กรมการ
ศาสนา.
สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี . (2549). เอกสารเย็บ
เล่มเรื่องคู่มือการใช้และซ่อมบารุงเครื่องพ่นสารเคมีที่ใช้ในการ
ควบคุมโรคไข้เลือดออก.
.. (2555). เอกสารเย็บเล่มเรื่อง คู่มือ การปฏิบัติงาน การซ่อม
บารุงเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น.
สุภาณี พิมพ์สมาน. (2540). สารฆ่าแมลง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น :
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
World Health Organization. (2003). Space spray application of
insecticides for vector and public health pest control.
Geneva, Switzerland.
. (1990). Equipment for vector control. Third edition.
Geneva, Switzerland.

17
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

หน่วยงานศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงในเขตพื้นที่

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลง 3.1 ศรีราชา โทรศัพท์ 038-311536


ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลง 3.2 สระแก้ว โทรศัพท์ 037-518100
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลง 3.3 ระยอง โทรศัพท์ 038-652000
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลง 3.4 ตราด โทรศัพท์ 039-520331
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลง 3.5 จันทบุรี โทรศัพท์ 039-322108

18
คู่มือการซ่อมเครื่องพ่นสารเคมีเบื้องต้น เล่ม 1 Best Fogger

รายชื่อที่ปรึกษาและคณะผูจ้ ัดทา
รายชื่อทีป่ รึกษา
1. ดร.ปิติ มงคลางกูร สานักโรคติดต่อนาโดยแมลง
2. ดร.นิภา มหารัชพงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
3. พ.ญ.รุ่งนภา ประสานทอง สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จ. ชลบุรี

รายชือ่ คณะผู จ้ ั ดทา


1. นาง วรรณา ผลอ้อ นักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 3.3 จ.ระยอง
2. นายชัยนันท์ อินทรปาน พนักงานปฏิบัติการควบคุมพาหะนาโรค
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 3.3 จ.ระยอง
3. นายประวัติ ชูชีพ พนักงานปฏิบัติการทดลองพาหะนาโรค
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 3.3 จ.ระยอง
4. นายเพชร์ พงศ์แพทย์ พนักงานขับรถยนต์
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 3.3 จ.ระยอง
5. นายนิมิตต์ ถนอมญาติ นักวิชาการสาธารณสุข ชานาญการ
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา
6. นายมานัส มีทรัพย์ปรุง พนักงานปฏิบัติการชันสูตรโรค
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา
7. นายสมหมาย คาสมาน พนักงานปฏิบัติการชันสูตรโรค
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนาโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา
8. นายผาสุก ญาณสมบัติ นักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ
สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จ.ชลบุรี
9. นางปิ่นกมล สมพีร์วงษ์ เภสัชกรปฏิบัติการ
สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จ.ชลบุรี
10. นางสาวสมปอง โรจน์รงุ่ ศศิธร นักวิชาการสาธารณสุขชานาญการ
สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จ.ชลบุรี

19

You might also like