You are on page 1of 5

วิทยาศาสตร์ ม.

คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1) ข้อความใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอุณหภูมิของอากาศ
ก. อุณหภูมิพื้นน้ำจะสูงกว่าอุณหภูมิพื้นดิน
ข. กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกัน
ค. ระดับความสูงจากผิวโลกต่างกัน อุณหภูมิของอากาศต่างกัน
ง. อุณหภูมิบนพื้นดินจะเปลี่ยนแปลงได้ช้ากว่าอุณหภูมิใต้ผิวดิน
2) ความกดอากาศกับความสูงจากระดับน้ำทะเลมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใด
ก. ความสูงลดลง ความกดอากาศคงที่ ค. ความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศลดลง
ข. ความสูงลดลง ความกดอากาศลดลง ง. ความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศเพิ่มขึ้น
3) เครื่องวัดความกดอากาศประเภทใดสำหรับใช้งานบรเครื่องบิน
ก. บารอกราฟ ค. แอลติมิเตอร์
ข. บารอมิเตอร์ ง. แอนิรอยด์บารอมิเตอร์
4) การเคลื่อนของลมเป็นไปในลักษณะใด
ก. จากหย่อมความกดอากาศสูงไปสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ
ข. จากหย่อมความกดอากาศสูงไปสู่บริเวณความกดอากาศสูง
ค. จากบริเวณความกดอากาศต่ำไปสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ
ง. จากบริเวณความกดอากาศต่ำไปสู่หย่อมความกดอากาศสูง
5) สาเหตุของการเกิดเมฆ คืออะไร
ก. ไอน้ำในอากาศอิ่มตัว
ข. ไอน้ำในอากาศมีอุณหภูมิลดลง
ค. ไอน้ำในอากาศเย็นตัวลงรวมตัวเป็นกลุ่มละอองน้ำ
ง. อากาศเย็นลอยต่ำลง อากาศร้อนลอยสูงขึ้นไปกระทบความเย็นในชั้นบรรยากาศ
6) ลมฟ้าอากาศ คืออะไร
ก. ลักษณะของอากาศที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในระยะยาว
ข. ค่าทางสถิติชองลมฟ้าอากาศในระยะเวลายาวนาน
ค. การคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับสภาวะอากาศบนพื้นที่ใด ๆ
ง. สภาวะโดยทั่วไปของลมฟ้าอากาศบนพื้นที่ใด ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ
7) ลักษณะอากาศแบบใดที่จะมีผลทำให้เกิดพายุฟ้าคะนองได้มากที่สุด
ก. ความชื้นสูง อุณหภูมิต่ำ ค. ความชื้นสูง อุณหภูมิสูง
ข. ความชื้นต่ำ อุณหภูมิสูง ง. ความชื้นต่ำ อุณหภูมิต่ำ
วิทยาศาสตร์ ม.1

8) พายุฟ้าคะนองที่มีความรุนแรงในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงเดือนใด
ก. มกราคา-กุมภาพันธ์ ค. กรกฎาคม-กันยายน
ข. มีนาคม-พฤษภาคม ง. ตุลาคม-ธันวาคม
9) ข้อใดเรียงลำดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนจากน้อยไปหามากได้ถูกต้อง
(1) พายุไต้ฝุ่น
(2) พายุดีเปรสชันเขตร้อน
(3) พายุโซนร้อน
ก. 1 2 3 ค. 2 1 3
ข. 2 3 1 ง. 3 2 1
10) พายุหมุนเขตร้อนจะเกิดขึ้นเมื่อใด
ก. ลมเย็นปะทะกับลมร้อน
ข. ความดันอากาศ 2 บริเวณต่างกันมาก
ค. หย่อมความกดอากาศต่ำมีบริเวณแคบ ๆ
ง. ความดันอากาศเหนือดินและเหนือน้ำต่างกัน
11) กระแสลมจะพัดจากบริเวณใดไปยังบริเวณใด
ก. จากบริเวณความดันอากาศสูงไปยังบริเวณความดันอากาสต่ำ
ข. จากบริเวณความดันอากาศต่ำไปยังบริเวณความดันอากาศสูง
ค. จากบริเวณความดันอากาศสูงไปยังบริเวณความดันอากาศปานกลาง
ง. จากบริเวณความดันอากาศปานกลางไปยังบริเวณความดันอากาศสูง
12) พื้นที่ที่อยู่ในบริเวณตาพายุ จะมีลักษณะเป็นอย่างไร
ก. ลมพัดแรง
ข. อากาศมืดครึ้ม และมีลมแรง
ค. มีเมฆมาก และมีฝนตกหนัก
ง. อากาศแจ่มใส มีเมฆเล็กน้อย และมีลมพัดอ่อน
13) พายุหมุนเขรร้อนในข้อใดที่ทำให้เกิดฝนตกในประเทศไทยบ่อย ๆ
ก. พายุไต้ฝุ่น ค. พายุเฮอริเคน
ข. พายุไซโคลน ง. พายุดีเปรสชัน
14) ลมมรสุมมีลักษณะการเกิดคล้ายกับข้อใด
ก. ลมบก ลมทะเล ค. พายุหมุนเขตร้อน
ข. พายุฟ้าคะนอง ง. ถูกต้องทุกข้อ
15) ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลมมรสุมที่เกิดในประเทศที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ เมื่อซีกโลกใต้เอียงเข้าหาดวงอาทิตย์
(1) ความดันอากาศเหนือทวีปจะสูงกว่าความดันอากาศเหนือมหาสมุทร
(2) อุณหภูมขิ องอากาศเหนือทวีปจะต่ำกว่าอุณหภูมิของอากาศเหนือมหาสมุทร
(3) ลมจะพัดจากมหาสมุทรไปสู่พื้นทวีป
ก. 1 และ 2 ค. 1 และ 3
ข. 2 และ 3 ง. 1 2 และ 3
วิทยาศาสตร์ ม.1

16) ในเวลากลางวัน ความดันอากาศบริเวณเหนือพื้นดิน และพื้นน้ำเป็นอย่างไร


ก. ความดันอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำเท่ากัน
ข. ความดันอากาศเหนือพื้นดินน้อยกว่าเหนือพื้นน้ำ
ค. ความดันอากาศเหนือพื้นดินมากกว่าเหนือพื้นน้ำ
ง. ความดันอากาศเหนือพื้นดินอาจจะมากกว่าหรือเท่ากันกับเหนือพื้นน้ำ
17) เหตุการณ์ใดจะไม่เกิดขึ้นกับประเทศที่อยูทางซีกโลกเหนือเมื่อซีกโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์
ก. พื้นทวีปได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าพื้นน้ำ
ข. เกิดลมพัดจากมหาสมุทรเข้าสู่แผ่นดินทำให้เกิดฝนตก
ค. ความดันอากาศเหนือทวีปสูงกว่าความดันอากาศเหนือมหาสมุทร
ง. อุณหภูมิของอากาศเหนือทวีปสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศเหนือมหาสมุทร
18) ลมมรสุมที่พัดจากมหาสมุทรอินเดียมายังประเทศไทย เรียกว่าอะไร
ก. มรสุมฤดูร้อน ค. มรสุมฤดูฝน
ข. มรสุมฤดูหนาว ง. มรสุมฤดูใบไม้ผลิ
19) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร
ก. พื้นดินแห้งแล้ง ค. อากาศหนาวเย็น
ข. ฝนตกชุกทั่วไป ง. ท้องฟ้าโปร่งใสและมีแดดจัด
20) ลมมรสุมใดที่มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือ และลมมรสุมนี้จะกอให้เกิดผลกระทบ
ต่อประเทศไทยอย่างไร
ก. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือทำให้อากาศร้อน
ข. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ท้องฟ้าโปร่งใส
ค. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้มีเมฆมากและเกิดฝนตกหนัก
ง. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทำให้อากาสหนาวเย็นและแห้งแล้ง
21) ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินและพื้นน้ำจะทำให้เกิดสภาวะอากาศแบบใด
(1) มรสุม
(2) พายุฝนฟ้าคะนอง
(3) พายุหมุนเขตร้อน
(4) ลมบกลมทะเล
(5) ลมภูเขา ลมหุบเขา
ก. 1 และ 4 ค. 1 4 และ 5
ข. 1 2 และ 3 ง. 1 3 และ 4
22) ข้อใดเป็นผลที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา
(1) บริเวณที่แห้งแล้งจะยิ่งแห้งแล้งยิ่งขึ้น
(2) บริเวณที่มีฝนมากอยู่แล้ว จะมีฝนเพิ่มขึ้นอีก
(3) บริเวณที่เคยมีฝนน้อย จะมีฝนเพิ่มขึ้นมาก
(4) บริเวณที่เคยมีฝนตกชุกจะมีปริมาณฝนลดลงอย่างมาก
วิทยาศาสตร์ ม.1

ข้อ เอลนีโญ ลานีญา


ก. 12 34
ข. 14 23
ค. 34 12
ง. 23 14

23) แก๊สเรือนกระจกชนิดใดที่ก่อให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลกมากที่สุด
ก. แก๊สมีเทน ค. แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ข. แก๊สไนตรัสออกไซด์ ง. แก๊สคอลโรฟลูออโรคาร์บอน
24) ข้อใดเติมข้อความลงในช่องว่างได้ถูกต้อง
สาร แหล่งทีม่ า ผลกระทบ
_____(1)_____ เครื่องปรับอากาศ ทำลายชั้นโอโซน
คาร์บอนไดออกไซด์ _____(2)_____ _____(3)_____
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันเตา _____(4)_____

ข้อ 1 2 3 4
ก. CFC รถยนต์ กั้นแสงอาทิตย์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
ข. ไนโตรเจนไดออกไซด์ เครื่องจักร ฝนกรด ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ค. คาร์บอนมอนอกไซด์ การเผาไหม้ อากาศเป็นพิษ ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ง. CFC โรงงาน ปรากฎการณ์เรือนกระจก ฝนกรด

25) ผู้ที่จะทำการพยากรณ์อากาศจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดบ้าง
(1) สภาวะอากาศปัจจุบัน
(2) ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางอุตุนิยมวิทยา
(3) การคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศที่กำลังจะเกิดขึ้น
ก. 1 ค. 1 และ 3
ข. 1 และ 2 ง. 1 2 และ 3
วิทยาศาสตร์ ม.1

เฉลย

1) ค 4) ก 7) ค 10) ข 13) ง 16) ข 19) ข 22) ค 25) ง


2) ค 5) ค 8) ข 11) ก 14) ก 17) ค 20) ง 23) ค
3) ค 6) ง 9) ข 12) ง 15) ก 18) ก 21) ก 24) ง

You might also like