You are on page 1of 8

วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ ปีที่ 3 ฉบับพิเศษ (I): M04/93-100, 2559

Songklanakarin Journal of Plant Science, Vol. 3, Suppl. (I): M04/93-100, 2016


Research article
อิทธิพลของสภาพอากาศที่มีต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
Effect of Weather Conditions on Growth and Development of Durian Tree cv. Monthong

สุมิตร คุณเจตน์1 ยศพล ผลาผล1 และปวริศา แก้วช่วย1


Kunjet, S.1, Palapol, Y1 and Keawchuay, P.1

1
สาขาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี 57 หมู่ 1 ต. โขมง อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี 22170
1
Division of Agricultural technology, Faculty of Science and Arts, Burapha university, 57 Moo 1 TambolKhamong, Thamai district, Chanthaburi
Province 22170

บทคัดย่อ
ความแปรปรวนของสภาพอากาศมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของต้นทุเรียน การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาอิทธิพลของสภาพอากาศที่มีต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองทั้งที่ปลูกในโรงเรือนและสภาพแปลงทดลอง
ของเกษตรกรอาเภอท่าใหม่และอาเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี ศึกษาการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองในโรงเรือน
เมื่อต้นทุเรียนอายุ10 เดือน บันทึกผลการเจริญเติบโตตั้งแต่ระยะเริ่มแตกใบอ่อนจนถึงระยะใบเพสลาด สาหรับต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองในสภาพ
แปลงทดลอง บันทึกผลการทดลองในระยะใบเพสลาดที่มีสภาพอากาศแตกต่างกันในรอบปี คือ ปลายฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน จากการ
ทดลองพบว่า ต้นทุเรียนที่ปลูกในกระถางมีการเจริญเติบโตและการพัฒนาของใบทุเรียนพันธุ์หมอนทองในกระถางเริ่มตัง้ แต่แตกใบอ่อนจนถึงระยะ
ใบเพสลาด 35 วัน ส่วนการเจริญเติบโตการพัฒนาของใบทุเรียนพันธุ์หมอนทองในสภาพแปลงทดลอง มีการแตกใบอ่อน 4 ครั้ง ดังนี้ ปลายฤดูฝน
ใบทุเรียนมีความยาวยอดและมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงที่สุดฤดูหนาวใบทุเรียนมีความยาวยอด ปริมาณคลอโรฟิลล์และพื้นที่ใบน้อยที่สุดใบมีสีเ ขียว
ซีด ระยะตั้งแต่แตกใบอ่อนจนถึงระยะใบเพสลาดมากที่สุด50 วัน ส่วนในฤดูฝน ใบทุเรียนมีความยาวยอดและปริมาณคลอโรฟิลล์มากกว่าช่วงฤดู
ร้อน ทั้งสองฤดูกาลมีระยะตั้งแต่แตกใบอ่อนจนถึงระยะใบเพสลาดน้อยที่สุด 30 วัน
คาสาคัญ: ต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง, สภาพอากาศ, การเจริญเติบโต

Abstract
Climate change affects on growth and development of durian trees. The objective was to study the effect of
weather conditions on growth and development of durian tree cv. Monthong in the greenhouse and plantation of durian
in Tha Mai and KhaoKhitchakut district, Chanthaburi province. The growth and development of durian tree in the
greenhouse were recorded from young leaves stage to fully growth stage when the tree aged 10 months. Whereas the
growth and development of durian tree under plantation conditions were collected data when the leaves were reached
fully growth stage in four different periods of the year: the end of the rainy season, the winter season, the dry season and
the rainy season. The results showed that the period of the growth and development of the leaves from young leaves to
fully growth stage was 35 days. In the plantation conditions, the length of the stem and chlorophyll in the leaves were
the highest in the end of the rainy season. While the length of the stem, leaves area and chlorophyll in the leaves were
lowest in the winter season. The period of growth and development of the leaves from young leaves stage to fully growth
stage was about 50 days. However, in the rainy season was higher in the length of the stem and chlorophyll in the leaves
93 ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 (ฉบับพิเศษ I): M04/93-100
Songklanakarin J. Pl. Sci., 3 (Suppl. I): M04/93-100
Kunjet et al. (2016)
than the dry season. The period of growth and development of the leaves from young leaves stage to fully growth stage
was about 30 days.
Keywords: Durian tree cv. Monthong, weather conditions, growth

บทนา
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพในการส่งออกสูงและมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแหล่งผลิตที่สาคัญของทุเรียนในประเทศไทยอยู่ในภาค
ตะวันออกและภาคใต้ มีพื้นที่ปลูกรวม 651,926 ไร่ ในปี 2557 คิดเป็น 443,926.5 ตัน ที่เหลืออีกร้อยละ 30 เป็นผลผลิตในภาคใต้ จังหวัดที่ผลิต
ได้มากทีส่ ุด คือ จังหวัดจันทบุรี ผลิตได้ 242,688 ตัน พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ หมอนทอง กระดุมทอง ชะนี และก้านยาว ในจานวนนี้เป็นผลผลิตใน
ภาคตะวันออกร้อยละ 70 ความต้องการบริโภคทุเรียนในต่างประเทศส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนเอเชีย ตลาดสาคัญของการส่งออกทุเรียน คือ
ตลาดในเอเชีย ได้แก่ ไต้หวัน จีน ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ รองลงมา คือ ตลาดยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย(สานักงานเศรษฐกิจ
การเกษตร, 2558)
ปัจจุบันความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี โดยการแปรปรวนของสภาพอากาศในแต่ละรอบปีมีผลกระทบ
ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของต้นทุเรียน การออกดอก การติดผล ตลอดจนการเจริญเติบโตและการพัฒนาของผลที่ผิดปกติ (ศิริพร และ
คณะ, 2554) ทาให้ปริมาณและคุณภาพของผลทุเรียนลดลง ส่งผลทาให้รายได้ของเกษตรกรลดลงการศึกษาครั้งนี้ทาให้ทราบอิทธิพลของการ
เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของต้นทุเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่จาเป็นที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถเตรียม
ความสมบูรณ์ของต้นให้พร้อมในการออกดอกและแก้ปัญหาเมื่อมีการแตกใบอ่อนในระหว่างที่มีการเจริญเติบโตของผลทาให้ลดความเสียหายของ
ผลผลิตได้

อุปกรณ์และวิธีการ
การทดลองที่ 1 ทาการศึกษาการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองในสภาพโรงเรือน
ทาการปลูกต้นทุเรียนลงในกระถางพลาสติกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 นิ้ว เมื่อต้นต้นทุเรียนอายุ 4 เดือน บันทึกการเจริญเติบโตและ
การพัฒนาของต้นทุเรียนตั้งแต่เริ่มผลิใบจนถึงระยะใบเพสลาดของทุเรียนพันธุ์หมอนทอง โดยพิจารณาจากระยะการแตกใบอ่อน ความยาวของ
ยอดที่เกิดใหม่ ขนาดของใบ พื้นที่ใบ ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ และสีของใบ
การทดลองที่ 2 ทาการศึกษาเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่มีสภาพอากาศแตกต่างกันในสภาพแปลง
ทดลอง
ทาการคัดเลือกโดยสุ่มเลือกต้นทุเรียนที่มีสภาพความสมบูรณ์ใกล้เคียงกัน (พิจารณาความสูงของต้น ขนาดทรงพุ่มและความหนาแน่น
ของใบ) ทาการวัดเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนที่มีการแตกยอดอ่อนในระยะเวลาที่มีสภาพอากาศแตกต่างกันประกอบด้วย 4 ฤดู ที่
แตกต่างกัน ฤดูกาลละ 3 แปลงทดลอง แปลงละ 5 ต้น ดังนี้ ฤดูที่ 1 เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2557 ฤดูที่ 2 เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558
ฤดูที่ 3 เดือนมีนาคม-เมษายน 2558 ฤดูที่ 4 เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558 ทาการสุ่มเลือกต้นทุเรียนที่มีสภาพความบริบูรณ์ใกล้เคียงกัน
พิจารณาจากความสูงของต้น ขนาดทรงพุ่มและความหนาแน่นของ ทาการคัดเลือกต้นทุเรียน 5 ต้นต่อแปลงทดลอง รวม 3 แปลงทดลอง จานวน
ทั้งหมด 15 ต้น ทาเครื่องหมายที่ใบตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อน เมื่อใบทุเรียนเข้าสู่ระยะใบเพลสลาด ทาการเก็บข้อมูล ดังนี้ ความสมบูรณ์ของยอดโดย
การวัดความยาวของยอดใหม่ ปริมาณคลอโรฟิลล์โดยใช้ Spad meter(รุ่น SPAD 502DL) ต้นล่ะ 5 ใบ วัดพื้นที่ใบโดยใช้ Leaf area meter (รุ่น
LI-3100 C) วัดสีใบ ด้วยเครื่อง Color meter เก็บข้อมูลสภาพอากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แสง ลม ปริมาณน้าฝน หลังจากนั้นทาการ
วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (mean) วิธี Standard division (SD)
และ Standard error (SE)

94 ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 (ฉบับพิเศษ I): M04/93-100


Songklanakarin J. Pl. Sci., 3 (Suppl. I): M04/93-100
Kunjet et al. (2016)
ผลและวิจารณ์ผลการทดลอง
1. ศึกษาการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกในสภาพโรงเรือน
การเจริญเติบโตและการพัฒนาของใบทุเรียนพันธุ์หมอนทองในโรงเรือน สามารถแบ่งการเจริญเติบโตได้เป็น 4 ระยะโดยการพัฒนาของ
ใบอ่อนทุเรียนจะพัฒนาจากตาใบเป็นใบอ่อน จากใบอ่อนเริ่มคลี่และขยายเป็นใบระยะก่อนใบเพสลาด จากนั้นจะพัฒนาใบเป็นระยะใบเพสลาด
เต็มที่จะใช้ระยะเวลาประมาณ 35 วันสามารถแบ่งระยะได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะแตกใบอ่อน 2. ระยะหางปลา 3. ระยะเริ่มแตกใบ 4. ระยะ
ใบเพสลาด (Figure 1)ในช่วงที่ใบเพสลาดพัฒนาเป็นใบแก่นั้นการสังเคราะห์แสงที่ใบจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ใบแก่จะหยุดการเจริญเติบโตมีเพียง
กิจกรรมต่างๆ ที่จะยืดอายุและความยืนยาวของใบเท่านั้น พลังงานที่สะสมในใบจะสูงสุดเมื่อใบแก่มีปริมาณพลังงานสะสมจะเริ่มเปลี่ยนแปลงอีก
ครั้งหนึ่ง เมื่อใบแก่นั้นเริ่มเสื่อมสภาพและหลุดร่วงไป ใบอ่อนเกิดขึ้นมาแทนที่และเป็นเช่นนี้เรื่อยไปในระหว่างที่ต้นทุเรียนกาลัง มีการเจริญเติบโต
นั้น กระบวนการต่างๆ ภายในจะดาเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง จึงจาเป็นต้องใช้พลังงานซึ่งพลังงานส่วนใหญ่ได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงใบ
พืชที่มีสีเขียวและสามารถสังเคราะห์แสงได้จัดเป็นแหล่งผลิตอาหาร (ซอร์ส) ที่สาคัญของพืช การพิจารณาประสิทธิภาพของซอร์ส ควรคานึงถึ ง
ปริมาณพื้นที่ของใบที่ได้รับแสง อายุ และความยืนยาว (longevity) ของใบ การจัดเรียงตัวของใบ อัตราและความสามารถของใบในการสังเคราะห์
แสง อุณหภูมิมีส่วนข้องกับกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ เช่น การสังเคราะห์แสงการ หายใจ กระบวนการเมทาโบลิซึม การคายน้า และการดูด
ธาตุอาหารจากดินมาใช้โดยทาให้การทางานของเอนไซม์ช้าลง (หิรัญ และคณะ, 2551)

3 Days

Initial stage Longtail leaf stage


อ่อนระยะใบ พสลาด
7 Days

25 Days

Mature stage Leaf spacing stage


ระยะใบเพสลาด
Figure 1 Growth and development of durian tree in the greenhouse

95 ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 (ฉบับพิเศษ I): M04/93-100


Songklanakarin J. Pl. Sci., 3 (Suppl. I): M04/93-100
Kunjet et al. (2016)
1.1 ความยาวของใบ
เมื่อต้นทุเรียนมีอายุ 3-10 วัน จะมีความยาวของใบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นเมื่อต้นทุเรียนอายุได้ 10-15 วัน ความยาวของใบจะ
มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ความยาวของใบจะมีค่าคงที่เมื่อต้นทุเรียนอายุ 15-35 วัน โดยมีค่าความยาวของใบเฉลี่ย เท่ากับ 16 เซนติเมตร (Figure 2)

20
15
Leaf leight (cm)
10
5
0
0 3 7 11 15 19 23 27 31 35
Period (days)
Figure 2 The leaf length of durian tree in the greenhouse

1.2 ความกว้างของใบ
เมื่อต้นทุเรียนที่มีอายุ 3-10 วัน จะมีความกว้างของใบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น 10-26 วัน จะมีความกว้างของใบเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง ความกว้างของใบจะมีค่าคงที่เมื่อต้นทุเรียนอายุ 26-35 วัน โดยมีค่าความกว้างของใบเฉลี่ย เท่ากับ 5.5 เซนติเมตร (Figure 3)

6
5
Leaf width (cm)

4
3
2
1
0
0 3 7 11 15 19 23 27 31 35
Period (days)
Figure 3 The leaf width of durian tree in the greenhouse

1.3 พื้นที่ใบ
เมื่อต้นทุเรียนที่มีอายุ 3-10 วันจะมีพื้นที่ของใบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นเมื่อต้นทุเรียนอายุได้ 10-26 วัน ขนาดพื้นที่ของใบจะมี
ค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งใบมีอายุ 35 วัน โดยมีค่าพื้นที่ของใบเฉลี่ย เท่ากับ 75 ตารางเซนติเมตร (Figure 4)

96 ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 (ฉบับพิเศษ I): M04/93-100


Songklanakarin J. Pl. Sci., 3 (Suppl. I): M04/93-100
Kunjet et al. (2016)

100

80

Leaf area (cm3)


60

40

20

0
0 3 7 11 15 19 23 27 31 35
Period (days)
Figure 4 The leaf area of durian tree in the greenhouse

1.4 ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ
เมื่อต้นทุเรียนที่มีอายุ 6 วัน มีปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น 6-14 วัน ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบมีค่า
เพิ่มขึ้น หลังจากนั้นปริมาณคลอโรฟิลล์ของใบทุเรียนจะมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งอายุ 35 วัน โดยมีค่าปริมาณคลอโรฟิลล์เฉลี่ย เท่ากับ
47 Unit SPAD (Figure 5)

20
Chlorophyll in the leaves

15

10

0
0 3 7 11 15 19 23 27 31 35
Period (days)
Figure 5 The chlorophyll in the leaves of durian tree in the greenhouse

2. ศึกษาการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองในสภาพแปลงทดลอง
2.1. ข้อมูลสภาพอากาศจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศในสวนเกษตรกร อ.เขาคิชฌกูฏ
2.1.1 ความเข้มแสง พบว่า ค่าความเข้มแสงในอาเภอเขาคิชฌกูฏ มีค่าความเข้มแสงสูงสุดเท่ากับ 370 w/m2 และต่าสุดเท่ากับ 25
w/m2 ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงปลายฤดูฝนมีค่าความเข้มแสงที่สูงเท่ากับ 250 w/m2 หลังจากนั้นค่าความเข้มแสงจะมีค่าลดลงสลับกลับ

97 ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 (ฉบับพิเศษ I): M04/93-100


Songklanakarin J. Pl. Sci., 3 (Suppl. I): M04/93-100
Kunjet et al. (2016)
สูงขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน เท่ากับ 170 w/m2 ส่วนในช่วงฤดูร้อนเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มี
ค่าความเข้มแสงสูงขึ้นเท่ากับ 270 w/m2 (Figure6A)
2.1.2 ปริมาณน้าฝน พบว่า ปริมาณน้าฝนสูงสุดเท่ากับ 28 mm. และปริมาณน้าฝนต่าสุดเท่ากับ 2 mm. เริ่มมีฝนตกในช่วงปลาย
เดือนกุมภาพันธ์และต้นเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม เท่ากับ 10 mm. โดยจะมีฝนตกหนักในช่วงเดือนเมษายน เท่ากับ 28 mm. และ
ปริมาณฝนลดลงในเดือนพฤษภาคม (Figure6A)
2.1.3 ความชื้นสัมพัทธ์ พบว่าความชื้นสัมพัทธ์ ในอาเภอเขาคิชฌกูฏ มีค่าสูงสุดเท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ และต่าสุดเท่ากับ 75
เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์ในอาเภอเขาคิชฌกูฏ มีค่าลดลงในเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นความชื้น
สัมพัทธ์มีค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เท่ากับ 90 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีฝนตกลงมา (Figure6B)
2.1.4 อุณหภูมิเฉลี่ย พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 29 องศาเซลเซียส และต่าสุดเท่ากับ 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยในอาเภอ
เขาคิชฌกูฏ มีค่าลดลงในช่วงเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เท่ากับ 22 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เท่ากับ
27 องศาเซลเซียส สัมพันธ์กับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ (Figure6B)

350 30
rainfall
300 25
Radiation
250 20

Rainfall (mm)
Radiation (wm-2)

200
15
150
100 10
50 5
0 0
7/6/2015
7/1/2015
7/2/2015
7/3/2015
7/4/2015
7/5/2015

7/7/2015
7/8/2015
7/9/2015
7/11/2014
7/12/2014

Date 7/10/2015
120 35
100 30
Relative humidity (%)

80 25 Temperature (°C )
20
60
15
40 Relative humidity
10
Temperature
20 5
0 0
7/11/2014

7/7/2015
7/1/2015
7/2/2015
7/3/2015
7/4/2015
7/5/2015
7/6/2015

7/8/2015
7/9/2015
7/12/2014

7/10/2015

Date

Figure6. Weather conditions in the plantation of durian in Kitchakood district, Chanthaburi province during November
2014 and September 2016 (A = radiation/rainfall, B =temperature/relative humidity)

98 ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 (ฉบับพิเศษ I): M04/93-100


Songklanakarin J. Pl. Sci., 3 (Suppl. I): M04/93-100
Kunjet et al. (2016)
2.2 ศึกษาการเจริญเติบโตและการพัฒนาของต้นทุเรียนพันธุ์หมอนทองในสภาพแปลงทดลอง
ต้นทุเรียนที่มีการแตกใบอ่อนช่วงเดือนกรกฎาคมและตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูฝนจะพบว่าใช้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อนจนถึงระยะใบ
เพสลาด นาน 35 วัน ใบจะมีสีเขียวเข้ม ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบและความยาวยอดสูงกว่าในช่วงระยะเวลาอื่น ซึ่งเป็นการแตกใบอ่อนในระยะที่มี
ฝนตก มีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงทาให้ต้นทุเรียนมีการเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากน้าเป็นส่วนประกอบที่สาคัญของเซลล์ โดยการทาให้เซลล์พืช
มีความเต่ง ถ้าหากเซลล์ปราศจากน้าหรือมีน้าไม่เพียงพอแล้ว จะทาให้รูปร่างของเซลล์ผิดไปจากเดิม นอกจากนี้น้ายังเป็นตัวทาละลายช่วยในการ
ละลายของธาตุอาหารพืชในดินให้อยู่ในรูปของสารละลายที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ น้าเป็นสารเริ่มต้นในกระบวนการต่างๆ ภายในพืชและช่วย
ควบคุมอุณหภูมิของต้นพืช (สมบุญ, 2548) ดังนั้นจึงถือได้ว่าน้ามีความสาคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ต้นทุเรียนที่มีการแตกใบอ่อนในช่วงเดือน
มกราคม ซึ่งเป็นฤดูหนาว ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อนจนถึงระยะใบเพสลาด นานถึง 50 วัน ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ ความยาวยอดและ
พื้นที่ใบมีค่าน้อยกว่าในช่วงเวลาอื่นๆ เนื่องจากเป็นการแตกใบอ่อนที่มีการออกดอกและต้นทุเรียนได้รับปริมาณแสงแดดที่มีความเข้มแสงต่าใน
ช่วงเวลาสั้นๆ ในแต่ละวัน จะทาให้การเจริญเติบโตด้านกิ่งก้านสาขาเกิดขึ้นช้า ดังนั้นต้นทุเรียนจะต้องใช้เวลานานในการสร้างความพร้อ มต้น เพื่อ
การออกดอกและในช่วงที่มีอุณหภูมิต่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ กระบวนการเมทา
โบลิซึม การคายน้า และการดูดธาตุอาหารจากดินมาใช้ โดยทาให้การทางานของเอนไซม์ต่างๆช้าลง ซึ่งทาให้อัตราการเกิดกระบวนการทาง
สรีรวิทยาต่างๆ ข้างต้นช้าลงด้วย ต้นทุเรียนต้องใช้เวลานานในการสร้างความพร้อมต้นเพื่อการออกดอกและยังมีผลต่อเนื่องทาให้การพัฒนาการ
ของตายอดช้าลงหรือหยุดชะงัก จึงมีความสมบูรณ์ของยอดน้อย และใช้ระยะเวลานานจึงทาให้ใบแก่โดยใบมีสีเขียวซีด สาหรับต้นทุเรียนที่มีการ
แตกใบอ่อน ในช่วงเดือนมีนาคมซึ่งเป็นฤดูร้อนจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อนจนถึงระยะใบเพสลาด นานถึง 30 วัน จะมีความยาวยอดน้อย
กว่าต้นทุเรียนที่มีการแตกใบอ่อนในช่วงฤดูฝน เพราะเป็นการแตกใบอ่อนในระยะที่มีผลอ่อนอยู่บนต้นจึงมีความสมบูรณ์ของใบน้อยกว่าฤดูฝน
เนื่องจากต้นทุเรียนได้รับปริมาณแสงแดดในระดับความเข้มแสงที่เหมาะสมและในเวลาที่นานพอและมีอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้นตลอดจนมีฝนตก
ในระยะนี้ ทาให้การเจริญเติบโตด้านกิ่งก้านสาขาเกิดขึ้นได้เร็วและดาเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ(หิรัญ และคณะ ,2551;Watson, 1993,
Table 1)

Table 1 The length of the new shoot, chlorophyll in the leaves, leaf area, color of the leaves, the period of growth and
development of the leaves from young leaves stage to fully growth stage, and the time for new flushing
Growth and development of the leaves The end of the rainy Winter season Dry season Rainy season
season (January 2015) (March 2015) (July 2015)
(October 2014)
1. The length of the new shoot (cm) 34.99±1.19 8.37±0.49 24.60±0.86 25.76±0.64
2. Chlorophyll in the leaves (Unit SPAD) 63.86±0.79 30.40±0.56 52.65±0.88 55.80±1.01
2
3. Leaf area (cm ) 64.36±1.25 44.78±1.75 66.45±1.28 60.80±1.50
4. color of the leaves
L 45.12±0.15 62.13±0.03 38.25±0.04 41.28±0.18
a -6.52±0.20 -7.40±0.01 -7.20±0.06 -11.11±0.29
5. The time for new flushing 20/10/2557 6/1/2558 10/3/2558 28/7/2558
6. The period of growth and development 35 50 30 35
of the leaves from young leaves stage to
fully growth stage (day)

99 ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 (ฉบับพิเศษ I): M04/93-100


Songklanakarin J. Pl. Sci., 3 (Suppl. I): M04/93-100
Kunjet et al. (2016)
สรุปผล
การเจริญเติบโตและการพัฒนาของใบทุเรียนพันธุ์หมอนทองในสภาพโรงเรือน สามารถแบ่งการเจริญเติบโตเป็น 4 ระยะ โดยมี
ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อนจนถึงระยะใบเพสลาด ใช้ระยะเวลา 35 วัน เมื่อพิจารณาการเจริญเติบโตการพัฒนาของใบทุเรียนพันธุ์หมอนทอง
ในสภาพแปลงทดลอง มีการแตกใบอ่อนเป็น 4 ระยะ ตามสภาพอากาศที่แตกต่างกันดังนี้ ช่วงปลายฤดูฝน ฤดูฝนและฤดูร้อนใบทุเรียนมีความยาว
ยอดและมีปริมาณคลอโรฟิลล์สูงกว่าในช่วงฤดูหนาว ใบทุเรียนมีสีเขียมเข้ม ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อนจนถึงระยะใบเพสลาด ใช้ระยะเวลา
30-35 วันส่วนในช่วงฤดูหนาว ใบทุเรียนมีความยาวยอดน้อย ปริมาณคลอโรฟิลล์และพื้นที่ใบน้อยที่สุดใบมีสีเขียวซีด ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มแตกใบ
อ่อนจนถึงระยะใบเพสลาด ใช้ระยะเวลา 50 วัน

คาขอบคุณ
ขอขอบคุณสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่สนับสนุนทุนวิจัยในโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนยุคใหม่แบบมี
ส่วนร่วมขอบคุณคุณปัญญา ผลาผล และคุณวุฒิชัย คุณเจตน์ ที่ให้ความอนุเคราะห์ต้นทุเรียนและสถานที่สาหรับการทดลองในครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง
ศิริพร วรกุลดารง, นาฏสุดา ภูมิจานงค์, เตือนใจ ดุลจินดาชบาพร และ ชมพู จันที. 2554. การศึกษารูปแบบการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ
ต่อการผลิตทุเรียนในจังหวัดจันทบุรี โครงการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือและเครือข่ายนักวิจัยสิง่ แวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้าน
สิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2548. สรีรวิทยาของพืช. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพฤษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สานักงานเกษตรจังหวัดจันทบุร.ี 2558. สถานการณ์การผลิตทุเรียนจังหวัดจันทบุรีปี 2557-2558. เข้าถึงได้จาก: http://www.chanthaburi.
doae.go.th. [เข้าถึวเมื่อ4 พฤศจิกายน 2558].
หิรัญ หิรญ
ั ประดิษฐ์, สุขวัฒน์ จันทรปรรณิก, เสริมสุข สลักเพ็ชร. 2551. เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี.
Watson, B.J. 1993. Current status and future strategies in tropical fruit development in Australia.In Proceeding of the Third
National Fruit Symposium,Kuala Lumpur, 20-24 September 1991, pp.39-51.

NHC2016

100 ว. พืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 (ฉบับพิเศษ I): M04/93-100


Songklanakarin J. Pl. Sci., 3 (Suppl. I): M04/93-100

You might also like