You are on page 1of 50

คูม

่ อ
ื ...รูไ้ ว้ใช้จริง

ชุด... ความรูใ้ นการก�ำจัด

แมลง
ศัตรูพชื
คู่มือเกษตรกร “รู้ ไว้ ใช้จริง”
ชุด แมลงศัตรูพืช

พิมพ์ครั้งที่ 1 จำ�นวน 3,000 ชุด


ปีที่พิมพ์ สิงหาคม 2562
จัดพิมพ์โดย สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำ�ริ
อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 26 เลขที่ 989 ถนนพระราม 1
แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ : 0 2611 5009 โทรสาร : 0 2658 1413
Website : www.pidthong.org
twitter : www.twitter.com/pidthong
Facebook : www.facebook.com/pidthong
Youtube : www.youtube.com/pidthongchannel
#เชื่อมั่นเศรษฐกิจพอเพียง
ความรู้ใน
การก�ำจัดแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ

หนังสือ “ความรู้ในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืชต่างๆ” เล่มนี้ เป็น 1 ใน


5 หนังสือชุดคู่มือเกษตรกร “รู้ไว้ใช้จริง” ที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมเสียงความ
ต้องการของพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ต้นแบบ 5 จังหวัดดำ�เนินงานของสถาบัน
ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำ�ริ อันได้แก่
จังหวัดน่าน อุดรธานี กาฬสินธุ์ อุทัยธานี และเพชรบุรี ทั้งจากการพบปะโดยตรง
และสะท้อนผ่านข้อเสนอแนะท้ายแบบสอบถามในการศึกษาต่างๆ ที่ต้องการ
ทราบถึงขั้นตอน วิธีการป้องกันรักษา แก้ไขปัญหา ตลอดจนเทคนิคหรือวิธีการ
จัดการที่สร้างสรรค์และมีความเหมาะสม เกี่ยวเนื่องกับการจัดการหมู่แมลงที่มี
ความเกี่ยวข้องในกระบวนการเพาะปลูก ทั้งในชนิดพืชไร่และพืชสวน ทั้งในชนิด
แมลงที่มีประโยชน์และเป็นภัยต่อผลผลิต ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสารชีวภัณฑ์
จากสมุนไพรที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งมีสรรพคุณในการออกฤทธิ์ไล่แมลง
หรืออาศัยกระบวนการทางธรรมชาติ อย่างการนำ� “ตัวห้ำ�” (Predator) และ
“ตั ว เบี ย น” (Parasite) ซึ่ ง เป็ น แมลงชนิ ด ดี แ ละปลอดภั ย มาใช้ ใ นการ
เข้าทำ�ลายแมลงศัตรูที่เป็นภัยแก่พืชชนิดต่างๆ เพื่อทดแทนและหลีกเลี่ยงการใช้
สารเคมี เป็นต้น
จากปั ญ หาและความต้ อ งการข้ า งต้ น จึ ง ได้ ทำ � การสำ � รวจและคั ด กรอง
ปัญหาและองค์ความรู้ที่เป็นที่ต้องการ ทั้งในรูปวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่น
จากครูปราชญ์และหน่วยงานต่างๆ ที่มีองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ มานำ�เสนอ ใน
เนื้อหารูปแบบของการ์ตูนประกอบภาพ เพื่อให้เข้าใจง่าย แต่มีข้อมูลที่ครบถ้วน
และเกษตรกรสามารถนำ�ไปประยุกต์ปรับใช้ได้อย่างแท้จริง
สารบัญ

5 10 12

มารู้จัก แมลงศัตรูพืช เทคนิคเสริมประสิทธิภาพ เชื่อหรือไม่


แต่ละชนิดกันเถอะ หัวเชื้อ Bt กำ�จัดแมลง ใช้ไส้เดือนฝอยกำ�จัดแมลงได้

15 18 20

2 สูตรสมุนไพร “ลูกเหม็น” ปราบเพลี้ยไฟ


ไล่แมลงได้ผลชะงัด ฮีโร่ไล่แมลง ศัตรูตัวร้ายต้นพริก

23 26 31

แมลงหางหนีบ รู้จักหนอนกระทู้ รักษาสมดุลแมลงธรรมชาติ


ฮีโร่ผู้พิทักษ์ไร่ ศัตรูตัวร้ายแห่งไร่ข้าวโพด ใช้พิฆาตแมลงศัตรูพืช

34 38

“น้ำ�หมักพริกไทย” แมลงร้าย
ไล่แมลงได้ทั้งสวน ศัตรูทำ�ลายข้าว

45

“ภาษาของใบไม้”
รู้ไว้ปราบแมลง
มารู้จักแมลงศัตรูพืช
แต่ละชนิดกันเถอะ

ศั ต รู พื ช หมายถึ ง ปั จ จั ย ชี ว ภาพ (biotic factors) ใน


การกสิกรรมที่ก่อความเสียหายต่อพืชปลูก และเป็นสาเหตุทำ�ให้
ศั ก ยภาพของการกสิ ก รรมลดลง หรื อ อาจหมายถึ ง สิ่ ง มี ชี วิ ต
ซึ่งทำ�ให้ผลผลิตของพืชปลูกลดลง ศัตรูพืชที่สำ�คัญ ได้แก่ แมลงศัตรู
พืช โรคพืช วัชพืช และศัตรูอื่นๆ เช่น นก หนู กระรอก ปู ไรแดง
หอยทาก เป็นต้น
แมลงศัตรูพืช หมายถึงสัตว์ที่มีลำ�ตัวเป็นปล้อง ซึ่งสัตว์เหล่านี้
ได้กอ่ ความเสียหายแก่พชื เพาะปลูก แมลงเป็นสัตว์ไม่มกี ระดูกสันหลัง
ลำ�ตัวแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนศีรษะ อก และท้อง มีผนัง
หุ้มลำ�ตัวแข็ง ดังนั้น การเจริญเติบโตของแมลงจึงต้องอาศัยการ
ลอกคราบ การจำ�แนกชนิดของแมลงที่ถูกต้องจะแบ่งตามหลักการ
อนุกรมวิธานโดยนักกีฏวิทยา แต่ในทางการเกษตรจะขอแบ่งชนิด
ของแมลงศัตรูพืชออกตามลักษณะของการทำ�ลายดังนี้

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
5
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ต่อ ตั๊กแตน

หนอนผีเสื้อกลางวัน
หนอนด้วง

แตน
เพลี้ย

ด้วงปีกแข็ง
หนอนผีเสื้อกลางคืน

ปลวก
หนอนแมลงวัน

แมงกระชอน

จิ้งหรีด
ด้วงดิน

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
6
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
แมลงจำ�พวกกัดกินใบ (leaf feeder)

ได้แก่ หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง แมลงพวกนี้


หนอนผีเสื้อกลางวัน
มีปากแบบกัดกิน (chewing) สามารถกัดกินใบทั้งหมด
หรือกัดกินเฉพาะตัวใบแล้วเหลือเส้นใบไว้ ทำ�ให้พืชขาด
ส่วนสังเคราะห์แสง หรือขาดทีส่ ะสมอาหาร หรือขาดยอดอ่อน
สำ�หรับการเจริญเติบโตต่อไป
หนอนผีเสื้อกลางคืน

ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง

แมลงจำ�พวกดูดกินน้ำ�เลี้ยง (juice sucker)

ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ย


เพลี้ยกระโดด เพลี้ยอ่อน
จั๊ ก จั่ น และมวนต่ า งๆ แมลงจำ � พวกนี้ มี
ปากแบบดูด (sucking) สามารถแทงและ
ดู ด น้ำ � เลี้ ย งจากใบ ยอดอ่ อ น กิ่ ง ลำ � ต้ น
ดอกหรื อ ผล ทำ � ให้ ส่ ว นต่ า งๆ ของพื ช ที่
ถูกดูดกินน้ำ�เลี้ยงมีรอยไหม้ ใบม้วนเหี่ยว
ไม่เจริญเติบโต แคระแกร็น และนอกจากนี้
แมลงจำ � พวกนี้ ยั ง เป็ น สาเหตุ สำ � คั ญ ของ
การถ่า ยทอดและแพร่ ก ระจายโรคพื ช ที่ มี
เชื้อไวรัสเป็นสาเหตุอีกด้วย

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
7
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
แมลงจำ�พวกหนอนชอนใบ (leaf minor)

หนอนแมลงวัน

ได้ แ ก่ หนอนผี เ สื้ อ หนอนแมลงวั น


บางชนิด แมลงจำ�พวกนีม้ กั มีขนาดเล็ก กัดกิน
เนือ้ เยือ่ อยูร่ ะหว่างผิวใบพืช ทำ�ให้พชื ขาดส่วน
สังเคราะห์แสงหรือขาดส่วนสะสมอาหาร

แมลงจำ�พวกหนอนเจาะลำ�ต้น (stem borer)

ปลวก

หนอนด้วง
หนอนผีเสื้อ

ได้แก่ หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ และปลวก


แมลงจำ�พวกนี้มักวางไข่ตามใบหรือเปลือกไม้
เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวหนอนก็จะชอนไชเข้าไป
อยู่ ใ นกิ่ ง ลำ � ต้ น หรื อ ผล ทำ � ให้ ต้ น พื ช ขาดน้ำ �
และอาหารแล้วแห้งตายไป หรือทำ�ให้ผลไม้เน่า
หล่นเสียหาย

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
8
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
แมลงจำ�พวกกัดกินราก (root feeder)

ได้แก่ ด้วงดีด จิ้งหรีด แมลงกระชอน ด้วงดิน ด้วงงวง


แมลงจำ � พวกนี้ มี ป ากแบบกั ด กิ น มั ก มี ชี วิ ต หรื อ วางไข่
จิ้งหรีด
ตามพื้นดิน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะเข้าทำ�ลายรากพืช
ทั้งทำ�ให้พืชยืนต้นแห้งตายเนื่องจากขาดน้ำ�และอาหาร แมงกระชอน
ด้วงดิน

แมลงจำ�พวกที่ทำ�ให้เกิดปุ่มปม (gall maker)

ได้แก่ ต่อ แตน และเพลี้ย แมลงจำ�พวกนี้เมื่อกัดกิน


ต่อ
ดูดน้ำ�เลี้ยงหรือวางไข่บนพืชแล้ว มักจะปลดปล่อยสารบาง
เพลี้ย ชนิดลงบนพืช ทำ�ให้เกิดอาการปุ่มปมผิดปกติบนส่วนต่างๆ
ของพืช เช่น ดอก ใบ ยอดอ่อน ราก และลำ�ต้น
แตน

แมลงศัตรูพชื ทัง้ 6 จำ�พวก ถ้าจัดแบ่งตามระยะเวลาการเข้าทำ�ลายพืชปลูกแล้วแบ่งได้


2 ประเภท คือ
1. แมลงศัตรูพืชประเภทที่เข้าทำ�ลายตั้งแต่ระยะปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว การทำ�ลาย
ของแมลงศัตรูพืชประเภทนี้เกิดโดยการกัดกินใบ ยอดอ่อน ตาดอก ดอก และลำ�ต้น หรือ
การดูดกินน้ำ�เลี้ยงของยอดอ่อน ตาดอก และกิ่งอ่อน หรือการเจาะไชลำ�ต้น หรือการเป็น
พาหะที่ทำ�ให้เกิดการระบาดหรือแพร่กระจายของโรคพืช การทำ�ลายของแมลงประเภทนี้
ทำ�ให้ศักยภาพการให้ผลผลิตของพืชปลูกลดลง
2. แมลงศัตรูพืชประเภททำ�ลายผลผลิตในโรงเก็บเกี่ยว (stored insect pest) แมลง
ศัตรูประเภทนี้อาจจะวางไข่บนดอกหรือผลของพืชปลูกขณะอยู่ในแปลง แล้วตัวแมลง
ไปเจริญเติบโตทำ�ลายผลผลิตขณะที่อยู่ในโรงเก็บ หรือหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้ว
เช่น ด้วงงวงข้าวสาร ด้วงถั่ว มอด แมลงวันผลไม้ หรืออาจจะเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในโรงเก็บ
เช่น แมลงสาบ มด เป็นต้น

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
9
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
เทคนิคเสริมประสิทธิภาพ
หัวเชื้อ Bt ก�ำจัดแมลง
หัวเชือ ้ บีที (Bt) คือ เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis
ที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติของแมลงศัตรูพืช ซึ่งมีการนำ�มาใช้กำ�จัด
แมลงศัตรูพืชที่สำ�คัญและมีการดื้อยาหรือสารเคมีง่าย เช่น หนอน
ใยผัก หนอนผีเสื้อกะหล่ำ� หนอนคืบกะหล่ำ� หนอนกระทู้ผัก หนอน
เจาะผล หนอนเจาะสมอฝ้าย และแมลงดำ�หนาม อย่างได้ผลชะงัด
้ บีที มีทงั้ ในแบบทีเ่ ป็นของเหลวและแบบแห้ง มีจ�ำ หน่ายทัว่ ไป
เชือ

ภายใต้ชอื่ การค้าทีแ่ ตกต่างกัน การจะนำ�มาใช้จงึ ควรเพิม่ ประสิทธิภาพ


ให้แก่เชื้อ Bt ที่ถูกเก็บรักษาไว้ในสภาพไร้อาหารมานานให้มีความ
แข็งแรงดีเสียก่อน จึงจะนำ�ไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างได้ผล
การขยายหัวเชื้อนั้นมีได้หลายวิธี แต่วิธีที่ง่าย รวดเร็ว และต้นทุนต่ำ�
นั้น ก็มีเช่นเดียวกัน

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
10
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
วิธีทำ�
วัตถุดิบในการขยายหัวเชื้อ
นำ � นมถั่ ว เหลื อ ง 250 มิ ล ลิ ลิ ต ร
ผสมกับหัวเชื้อ Bt 1 ช้อนชา จากนั้น
หมักไว้ 24-28 ชั่วโมง

นมถั่วเหลือง
250 มิลลิลิตร

หัวเชื้อ Bt 1 ช้อนชา เมื่อหมักได้ที่แล้ว


ให้ผสมหัวเชื้อที่หมักไว้กับน้ำ� 20 ลิตร
แล้วนำ�ไปฉีดพ่นในบริเวณที่ต้องการ

น้ำ� 20 ลิตร

  เคล็ดลับ
การนำ � นมถั่ ว เหลื อ งมาหมั ก กั บ หั ว เชื้ อ นั้ น ก็ เ พราะว่ า นมถั่ ว เหลื อ งเป็ น อาหาร
เพาะเลี้ยงเชื้อได้อย่างดี และการหมักทิ้งไว้นาน 24-28 ชั่วโมง จะทำ�ให้เชื้อแข็งแรง
และมีการเพิ่มจำ�นวนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเสริมประสิทธิภาพของเชื้อให้กำ�จัดแมลงได้ดี

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
11
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
่ หรือไม่ ใช้ไส้เดือนฝอย
เชือ
ก�ำจัดแมลงได้

ไส้เดือนฝอยกำ�จัดแมลงเป็นชีวภัณฑ์ที่มีศักยภาพ
ในการกำ�จัดแมลงศัตรูพืชได้หลายชนิด สามารถทำ�ให้แมลงตาย
ภายใน 48 ชั่วโมง ทั้งยังมีความปลอดภัยต่อมนุษย์ พืช สัตว์ และ
สิ่งแวดล้อม เนื่องจากไส้เดือนฝอยมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำ�ให้เลือดแมลง
เป็ น พิ ษ นอกจากจะฆ่ า แมลงศั ต รู พื ช ต่ า งๆ ได้ แ ล้ ว ยั ง สามารถ
ฆ่าปลวกและแมลงสาบซึ่งเป็นแมลงในบ้านได้อีกด้วย
ไส้เดือนฝอยจะสามารถเข้าทำ�ลายแมลงได้ทั้งระยะตัวหนอน
และตั ว เต็ ม วั ย ของแมลง ผ่ า นทางช่ อ งเปิ ด ปากหรื อ รู ท วาร แล้ ว
เคลื่ อ นที่ ไ ปยั ง ช่ อ งว่ า งในตั ว แมลงซึ่ ง มี น้ำ � เลื อ ด และปลดปล่ อ ย
แบคทีเรียออกมาและสร้างสารพิษ ทำ�ให้แมลงเกิดอาการเลือด
เป็นพิษและตายลง ไส้เดือนฝอยจะเติบโต ขยายพันธุ์อยู่ในตัวแมลง
จนแมลงเหลือแต่ซาก ตัวอ่อนในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะที่ทนทาน
ต่อสภาพแวดล้อมจะเคลื่อนที่ออกมานอกซากแมลง และรอที่จะ
เข้าสู่แมลงตัวใหม่ต่อไป

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
12
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ใส่ในภาชนะกล่องพลาสติกพร้อมฝาปิด
หรือถุงทนร้อน

ไข่ไก่ ผสมน้ำ�มันหมู และน้ำ�   วิธเี พาะเลีย


้ งไส้เดือนฝอย
คลุกกับก้อนฟองน้ำ� ใช้ไข่ไก่ 4-5 ฟอง ผสมน้ำ�มันหมู 130
ซีซี. และน้ำ� 260 ซีซี. คลุกกับก้อนฟองน้ำ�
ตัดรูปทรงสี่เหลี่ยม 40 กรัม แล้วนำ�ไปใส่
ในภาชนะกล่องพลาสติกพร้อมฝาปิดหรือ
ถุงทนร้อน แบ่งเท่าๆ กัน จำ�นวน 20 กล่อง
หรือถุง จากนั้นนำ�ไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่ง
ไอน้ำ�เดือด เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
เมื่ออาหารเทียมเย็น ใส่หัวเชื้อไส้เดือน
นึ่งฆ่าเชื้อ ฝอย 50,000 ตัวต่อภาชนะ ด้วยกระบอก
ฉีดยาพร้อมเข็มสะอาด นำ�ไปบ่มเพาะเป็น
เวลาเพี ย ง 7 วั น หั ว เชื้ อ ไส้ เ ดื อ นฝอยจะ
ขยายพันธุ์เพิ่มจำ�นวนได้มากกว่า 300 เท่า
หรื อ ได้ ไ ส้ เ ดื อ นฝอยเฉลี่ ย 15 ล้ า นตั ว
ต่อภาชนะ หรือ 20 ภาชนะ ได้ 300 ล้านตัว
ต่อ 1 รอบการผลิต
ใส่หัวเชื้อไส้เดือนฝอย

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
13
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
  วิธก
ี ารนำ�ไปใช้
ขยำ � ฟองน้ำ � ที่ มี ไ ส้ เ ดื อ นฝอยในน้ำ �
เปล่าเพื่อให้ไส้เดือนฝอยออกมา โดยผสม
ซันไลต์เล็กน้อยเพือ่ ให้ไส้เดือนฝอยออกมา
จากฟองน้ำ�ได้ง่ายขึ้น
2. ล้างฟองน้ำ�ที่ขยำ�แล้วด้วยน้ำ�เปล่า
อีก 2 น้�ำ เพือ่ ให้ไส้เดือนฝอยออกมาให้หมด
3. เทน้ำ�ล้างไส้เดือนฝอยทั้งหมดรวม
กันแล้วนำ�ไปฉีดพ่นกำ�จัดศัตรูพืช

เกษตรกรสามารถนำ�ไปพ่นกำ�จัดแมลงศัตรูพช ื ได้
ในพืน้ ทีเ่ ฉลีย
่ 1 ไร่ คิดเป็นต้นทุนประมาณ 100 บาท
ต่อการพ่น 1 ครัง ้ โดย 1 ฤดูปลูก พ่นกำ�จัดแมลง
เฉลีย
่ 5 ครัง ้ คิดเป็นเงิน 500 บาทต่อไร่

ขอขอบคุณ
ส�ำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
และ www.technologychaoban.com

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
14
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
2 สูตรสมุนไพร
ไล่แมลงได้ผลชะงัด

การใช้พืชสมุนไพร ทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำ�มาใช้
ป้องกันแมลงศัตรูพืช ทดแทนการใช้สารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งพืชส่วนใหญ่เป็นพืชในท้องถิ่น สามารถปลูกและหาได้ง่าย รวมทั้ง
ไม่มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม มีการสลายตัวในธรรมชาติ
ได้รวดเร็ว ต่างจากสารเคมีที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักใช้
ฉะนัน้ มาดูวธิ ที �ำ น้�ำ สกัดชีวภาพสมุนไพรกำ�จัดแมลงและป้องกัน
เชื้อรา แบบไร้สารพิษ ไม่พึ่งสารเคมี

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
15
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
สูตรน�ำ้ หมักสมุนไพร
สูตรที่ 1
การทำ�สารสกัดไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา
วัตถุดิบ

1.  ใบสะเดาแก่ 2.  ใบน้อยหน่า 3. ใบฝรั่ง


หรือเมล็ดสะเดาบด

4.  ใบกะเพรา 5.  หัวข่าแก่ 6.  ตะไคร้หอม

7.  เปลือกต้นแค 8.  เปลือกมังคุด 9.  กากน้ำ�ตาล

วิธีการทำ�

นำ � ส่ ว นผสมที่ 1-8 จำ � นวนพอสมควรเท่ า ๆ กั น สั บ หรื อ หั่ น รวมกั น


ในอั ต รา 3 ส่ ว น (3 กิ โ ลกรั ม ) ผสมคลุ ก เคล้ า กั บ กากน้ำ � ตาล 1 ส่ ว น
(1 กิ โ ลกรั ม ) ใส่ ถั ง พลาสติ ก หมั ก ไว้ 7-10 วั น กรองเอาน้ำ � หมั ก ไปใช้ ใ น
อั ต รา 2 ช้ อ นแกงต่ อ น้ำ � 20 ลิ ต ร นำ � ไปฉี ด พ่ น ต้ น พื ช ในช่ ว งเย็ น หรื อ เช้ า
ที่ยังไม่มีแสงแดด ทุก 7-10 วัน / ครั้ง เพื่อไล่แมลงและป้องกันกำ�จัดเชื้อรา

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
16
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
สูตรที่ 2 น้ำ�หมักสมุนไพรกำ�จัดแมลง

หางไหลหรือต้นบอระเพ็ด ใบสะเดาแก่หรือเมล็ดบด ตะไคร้หอม หัวข่าแก่ น้�ำ สะอาด


2 กิโลกรัม 2 กิโลกรัม 2 กิโลกรัม 2 กิโลกรัม 20 ลิตร

หัน
่ สมุนไพรเป็นชิน
้ เล็กๆ ตำ�หรือบดให้ละเอียด กรองเอาน้�ำ ยาเข้มข้นผสมน้�ำ

วิธีการทำ�

หั่ นสมุ น ไพรทั้ ง 4 ชนิด เป็น


ชิ้ น เล็ ก ๆ รวมกั น ตำ � หรื อ บด
ให้ละเอียด แช่น้ำ� 1 ปี๊บ กรองเอา
น้ำ � ยาเข้ ม ข้ น สู ง 1 ลิ ต ร ผสมน้ำ �
1-2 ปี๊ บ นำ � ไปฉี ด ต้ น ไม้ ป้ อ งกั น
กำ � จั ด เพลี้ ย หนอน แมลงต่ า งๆ
ควรฉีดห่างกัน 3-5 วัน อย่างน้อย
2 ครั้งขึ้นไป
ขอขอบคุณ กรมส่งเสริมการเกษตร

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
17
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
“ลูกเหม็น” ฮีโร่ไล่แมลง

มีเกษตรกรหลายท่านมักบ่นว่า ในแปลงเกษตร
ของตนมีแมลงศัตรูพืชมาวุ่นวายให้รําคาญใจอยู่เสมอๆ ครั้นจะใช้
สารเคมีทำ�ลายก็กลัวอันตราย ทั้งยังมีราคาแพง จึงอยากจะหาวิธี
แก้ไขเบื้องต้นง่ายๆ ค่าใช้จ่ายไม่แพง จะทําอย่างไรได้บ้าง หลายคน
คงไม่ เ ชื่ อ ว่ า วั ส ดุ อุ ป กรณ์ ใ กล้ ตั ว ง่ า ยๆ ที่ มี ใ นบ้ า น ใกล้ ๆ ตั ว
หาซื้อได้ทั่วไป อย่าง “ลูกเหม็น” ก็สามารถไล่แมลงในสวนเกษตร
ได้เช่นกัน

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
18
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
“ลูกเหม็น” เป็นสารประกอบโพลีไซคลิก

อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน ที่ผลิตได้จาก


กระบวนการกลั่นน้ํามันปิโตรเลียม มีสถานะ
เป็นของแข็งสีขาว มีกลิ่นฉุนเฉพาะ สามารถ
ระเหิ ด ได้ ที่ อุ ณ หภู มิ ห้ อ ง นิ ย มนํามาใช้ ใ น
การดับกลิน่ อับและป้องกันแมลงในบ้านเรือน
ด้ ว ยคุ ณ สมบั ติ ด้ า นกลิ่ น เฉพาะของ
ลู ก เหม็ น นี้ ได้ มี เ กษตรกรนํามาประยุ ก ต์
ใช้ ป้ อ งกั น แมลงศั ต รู พื ช แล้ ว ได้ ผ ลด้ ว ย
วิธีง่ายๆ คือ
1. นํา ลู ก เ ห ม็ น ใส่ ใ นถุ ง พลาสติ ก
ประมาณ 5-7 ลูก มัดปากถุง
2. จากนั้ น นําไปห้ อ ยที่ ไ ม้ ผ ลภายใน
ทรงพุ่มประมาณ 5-6 จุด หรือมากกว่านั้น
ขึ้ น อยู่ กั บ ขนาดของไม้ ผ ล เท่ า นี้ ก็ พ อจะ
บรรเทาไม่ ใ ห้ แ มลงเข้ า มารบกวนพื ช ผล
ทางการเกษตรของเราแล้ว

ขอขอบคุณ www.rakbankerd.com

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
19
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ปราบเพลีย
้ ไฟ
ศัตรูตว
ั ร้ายต้นพริก

เพลี้ย ไฟพริ ก     เป็ น แมลงศั ต รู พื ช ที่ มี ค วามสำ � คั ญ มาก


ชนิดหนึ่ง มักพบการระบาดตั้งแต่หลังย้ายปลูก  1  เดือน ส่วนใหญ่
เข้าทำ�ลายบริเวณยอดและใบอ่อน ทำ�ให้ยอดหรือใบอ่อนหงิก เมื่อ
ใบพริกแก่จะเห็นเป็นรอยกร้านสีน้ำ�ตาล ส่งผลให้การสังเคราะห์แสง
ลดลง พริกจะชะงักการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตน้อยลง และมีช่วงอายุ
การเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้น หากเพลี้ยไฟระบาดในระยะที่พริกออกดอก
จะทำ�ให้ดอกพริกหลุดร่วง  ถ้าระบาดในระยะติดผล พริกจะมีลกั ษณะ
บิดงอ แคระแกร็น และมีคุณภาพต่ำ� ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด 
ถ้ า มี ก ารระบาดที่ รุ น แรง ต้ น พริ ก จะชะงั ก การเจริ ญ เติ บ โต หรื อ
แห้งตายในที่สุด

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
20
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ฟอง/ครง
้ั
0-150 ไข่ 1
่ 10
างไข -2
วนั

วนั
5
-4
30
วยั
เตม็
ตวั

ตว
ั ออ

ระยะดก

นระยะที่ 1 1-2 วัน


ั แด้ 1-3 วัน

ะย วั
ะก

4
อ่ นเ 2-
ขา้
ดก ที่ 2
ั แ
ด้ 1 นระยะ
-2 ว ่อ
นั ตัวอ

โดยสาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้พริกใบหงิก ได้แก่ แมลงศัตรูพืชสองชนิด คือ เพลี้ยไฟ ไรแดง


และไรขาว ซึ่งอาจเข้าทำ�ลายพร้อมๆ กันก็ได้ หรือสลับกันเข้าทำ�ลาย โดยปกติจะพบว่า
ถ้าเพลี้ยไฟระบาดมาก จะมีไรแดงและไรขาวน้อย และถ้าพบไรแดงและไรขาวมาก เพลี้ยไฟ
จะระบาดน้อย

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
21
ชุด “แมลงศัตรูพืช”

  ธิ กี ารป้องกันกำ�จัด
1. ควรฉีดพ่นเชื้อราเมทาไรเซียมสลับ
กั บ เชื้ อ ราบิ ว เวอเรี ย ก่ อ นการระบาดของ
เพลี้ยไฟ  ตามอัตราแนะนำ�พ่นทุก 5-7  วัน
ให้ ทั่ ว ทรงพุ่ ม และบริ เ วณดิ น โคนต้ น พริ ก
ในกรณี ที่ เ ริ่ ม พบการระบาดควรฉี ด พ่ น
ทุก 3 วัน
2. ควรเพิ่ ม ความชื้ น โดยการให้ น้ำ �
อย่าให้พืชขาดน้ำ� เพราะจะทำ�ให้พืชอ่อนแอ
และเพลี้ยไฟพริกจะระบาดอย่างรวดเร็ว
3. พ่นสารป้องกันกำ�จัดแมลงเมื่อพบ
มีการระบาด เพื่อทำ�ลายไข่ ตัวอ่อน และ
ตัวเต็มวัย
เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ชอบหลบ
อยู่ ต ามใต้ ใ บและซอกยอดอ่ อ น เวลาพ่ น
ควรใช้เครื่องมือที่สามารถพ่นได้อย่างทั่วถึง
ขอขอบคุณ กรมวิชาการเกษตร

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
22
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
แมลงหางหนีบ
ฮีโร่ผพ
ู้ ท
ิ ก
ั ษ์ไร่

แมลงหางหนีบ เป็นแมลงตัวห้ำ�อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็น


ฮี โ ร่ ผู้ พิ ทั ก ษ์ ตั ว ใหม่ ที่ จ ะมาช่ ว ยกำ � จั ด แมลงศั ต รู พื ช ในไร่ ไ ด้ และ
ช่วยควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน 
ชนิดต่างๆ หนอนเจาะลำ�ต้นข้าวโพด หนอนกระทู้ข้าวโพด  หนอน
เจาะสมอฝ้ า ย หนอนเจาะเปลื อ กลำ � ต้ น ลองกอง หนอนกออ้ อ ย 
แมลงดำ�หนามมะพร้าว ไข่และหนอนของด้วงกุหลาบ เป็นต้น 
โดยแมลงหางหนีบมีหลายชนิด ทั้งแมลงหางหนีบสีดำ� แมลง
หางหนีบสีน้ำ�ตาล และแมลงหางหนีบขาวงแหวน ซึ่งแต่ละชนิด
มีคุณสมบัติใช้ควบคุมศัตรูพืชต่างกัน เช่น แมลงหางหนีบสีน้ำ�ตาล
ใช้ควบคุมหนอนเจาะลำ�ต้นข้าวโพด ส่วนแมลงหางหนีบขาวงแหวน
ใช้ควบคุมหนอนกออ้อย

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
23
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
แมลงขาหนีบสีด�ำ แมลงขาหนีบสีน�ำ้ ตาล

  ลักษณะเด่น
มีแพนหางรูปคีม ใช้ในการจับเหยือ่ ป้องกัน
ตัว สร้างรัง และช่วยในการผสมพันธุ์ ลำ�ตัวเล็ก
ยาวรีค่อนข้างแบน ยาวเฉลี่ย 4-18 มิลลิเมตร
แมลงหางหนีบชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามซอก
ตามใบพื ช หรื อ ตามซอกดิ น ที่ มี เ ศษซากพื ช
หรือใบไม้ที่มีความชื้นพอเหมาะ ส่วนตัวเต็มวัย
จะวางไข่ในดิน สามารถหาเหยื่อตามซอกมุม
ได้ ดี จะทำ � ลายเหยื่ อ ที่ เ ป็ น ตั ว หนอนด้ ว ย
แพนหางซึง่ มีลกั ษณะคล้ายคีม หนีบลำ�ตัวเหยือ่
แล้วกินเป็นอาหาร แต่ถ้าเป็นเพลี้ยอ่อนก็จะ
กัดกินโดยตรง แมลงหางหนีบจึงเป็นแมลงที่มี
ศักยภาพในการนำ�ไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช
ได้หลายชนิด

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
24
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ตัวเต็มวัย กล่องเพาะเลีย
้ ง

  วิธเี ลีย
้ งและขยายพันธุ์
นำ � แมลงหางหนี บ ตั ว เต็ ม วั ย เพศผู้ แ ละ
เพศเมียจำ�นวน 50 ตัว ที่เก็บจากธรรมชาติมาเลี้ยง
ในกล่ อ งพลาสติ ก ทรงกลมที่ บ รรจุ ดิ น ผสมวั ส ดุ
ธรรมชาติอื่นๆ เช่น ดิน แกลบดำ� หรือขุยมะพร้าว
ไข่อายุประมาณ 8-10 วัน
ในอัตราส่วน 2 : 1 : 1 แล้วพ่นน้ำ�ให้ชื้น แล้วให้
อาหารเป็นเพลี้ยอ่อน แมลงศัตรูพืชอื่นๆ หรือใช้
อาหารแมวบดละเอี ย ดก็ ไ ด้ ควรเปลี่ ย นอาหาร
สัปดาห์ละ  1  ครั้ง และรักษาความชื้นของดินและ
วัสดุผสมให้มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา
เพลีย
้ อ่อนและอาหารแมว

การนำ�ไปใช้ แมลงหางหนีบ 1 ตัว สามารถ


กินหนอนกออ้อยได้  6-10 ตัวต่อวัน โดยทั่วไป
ใช้ในอัตราไร่ละ  1,000  ตัว ให้ปล่อยช่วงเย็น
และกระจายทั่วแปลง ในแปลงควรมีความชื้น
และแหล่งหลบอาศัยได้ ขอขอบคุณ
www.mitrpholmodernfarm.com

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
25
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
รูจ
้ ก
ั หนอนกระทู้
ศัตรูตว
ั ร้ายแห่งไร่ขา้ วโพด
หนอนกระทู้ นับเป็นศัตรูสำ�คัญของข้าวโพด นอกจากนี้
ยังมีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว
มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ฝ้าย ทานตะวัน กล้วย กระเทียม ขิง
มั น เทศ พริ ก พื ช ตระกู ล กะหล่ำ � พื ช ตระกู ล แตง และพื ช ผั ก ที่
หนอนกระทู้เข้าทำ�ลาย
วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ (Fall armyworm) ใช้เวลา 30-40 วัน
เมื่ อ ผสมพั น ธุ์ แ ล้ ว ผี เ สื้ อ เพศเมี ย จะวางไข่ ใ นเวลากลางคื น โดย
วางไข่เป็นกลุ่ม ประมาณ 100-200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อ
เพศเมี ย หนึ่ ง ตั ว วางไข่ ไ ด้ ป ระมาณ 1,500-2,000 ฟอง ระยะไข่
2-3 วัน ตัวเต็มวัยมีชีวิต 10-21 วัน และสามารถบินได้ไกลเฉลี่ย
100 กิโลเมตรต่อคืน

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
26
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
วงจรชีวิตผีเสื้อหนอนกระทู้

ผีเสือ
้ ตัวเต็มวัย
มีชว
ี ต
ิ 10-21 วัน

ระยะหนอน 14-22 วัน

ระยะไข่ 2-3 วัน


ระยะดักแด้ 7-13 วัน

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
27
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ผี เ สื้ อ หนอนกระทู้ ข้ า วโพดลายจุ ด
จะเริ่มวางไข่บนต้นข้าวโพด ตั้งแต่ข้าวโพด
งอก อายุ 3-4 วัน โดยพบกลุ่มไข่ทั้งด้าน
บนใบ ใต้ใบ และที่ลำ�ต้น หลังจากฟักจากไข่
หนอนขนาดเล็ ก จะรวมกลุ่ ม กั ด กิ น ผิ ว ใบ
เห็นเป็นรอยทำ�ลายสีขาวทีผ่ วิ ใบเมือ่ ข้าวโพด
อายุ 6-7 วัน (10-11 วันหลังปลูก) ลักษณะ
เป็นจุดหรือเป็นแถบสีขาว หนอนตัวเล็กที่
เพิ่งฟักสามารถกระจายไปยังต้นข้างเคียง
โดยปลิ ว ไปกั บ ลม หนอนเข้ า ไปกั ด กิ น อยู่
ในส่วนยอดของข้าวโพด
ในสภาพที่ อ ากาศร้ อ นจั ด ก่ อ นเข้ า สู่
ฤดู ฝ น (เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ - เมษายน) หรื อ
ในช่วงที่มีอากาศร้อนแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง
สภาพดังกล่าวหนอนที่มีอายุประมาณ 5 วัน
มักจะหลบอาศัยใต้ผวิ ดิน กัดกินเนือ้ เยือ่ เจริญ
ส่ ว นโคนต้ น ทำ � ให้ เ กิ ด อาการยอดเหี่ ย ว
ต้ น ตาย ต้ น ข้ า วโพดที่ ย อดตายบางต้ น
มักจะมีการแตกหน่อข้าง ถ้าดินมีสภาพเปียก
หรื อ แฉะ หรื อ ช่ ว งอากาศเย็ น ในการผลิ ต
ข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา หนอนจะไม่ลงมา
ทำ�ลายใต้ดินบริเวณโคนต้น

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
28
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
การปลูกข้าวโพดในฤดูฝน หากมีการ
กระจายของฝนดี ต่อเนื่องอย่างสม่ำ�เสมอ
ความรุนแรงในการระบาดของหนอนกระทู้
ข้าวโพดลายจุดจะลดลง ฝนที่ตกหนักจะชะ
กลุ่มไข่หรือหนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟัก หรือ
ทำ�ให้หนอนที่อยู่ในดินซึ่งกำ�ลังจะเข้าดักแด้
รวมทั้งดักแด้ที่อยู่ในดินมีชีวิตรอดน้อยลง
ทำ�ให้สามารถเว้นระยะห่างในการพ่นสาร
และลดจำ � นวนครั้ ง ในการพ่ น สารลงได้
อย่างไรก็ตาม ควรมีการติดตามสำ�รวจแปลง
อย่างสม่ำ�เสมอ
ช่ ว งที่ ต้ อ งมี ก ารป้ อ งกั น กำ � จั ด หนอน
กระทูข้ า้ วโพดลายจุด คือ ระยะตัง้ แต่ขา้ วโพด
งอกจนถึงอายุ 30-43 วัน เนือ่ งจากเป็นช่วงที่
มีการระบาดสูงที่สุด และเป็นช่วงที่ข้าวโพด
ฟื้นตัวได้ หลังจากช่วงนี้ไปแล้วการระบาด
ลดลงตามธรรมชาติ การป้องกันกำ�จัดหนอน
กระทูข้ า้ วโพดลายจุด ควรมีการสำ�รวจแปลง
อย่างสม่ำ�เสมอ

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
29
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
การป้องกันกาํ จัดหนอนกระทู้

  การใช้สารฆ่าแมลง
1. สารสไปนีโทแรม (spinetoram) 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ� 20 ลิตร
2. สารคลอแรนทรานิลิโพรล (chlorantraniliprole) 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร
ต่อน้ำ� 20 ลิตร หรือสารฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiamide) 20% WG อัตรา
6 กรัมต่อน้ำ� 20 ลิตร
3. สารคลอร์ฟีนาเพอร์ (chlorfenapyr) 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ� 20 ลิตร
4. สารอินดอกซาคาร์บ (indoxacarb) 15% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ� 20 ลิตร
ทั้งนี้ ให้พ่นสารฆ่าแมลงทุก 7 วัน ติดต่อกัน 2-4 ครั้ง และต้องสลับกลุ่มสาร
ทุก 30 วัน เพื่อลดความต้านทานสารป้องกันกำ�จัดศัตรูพืช

  การใช้ชว
ี วิธี
1. เชื้ อ แบคที เ รี ย บาซิล ลัส ทูริงจิเอน สายพันธุ์ไ อซาไว หรื อสายพั นธุ์ เ คอร์ สตา
อัตรา 80 กรัม/ต่อน้ํา 20 ลิตร พ่นทุก 4-7 วัน เมื่อพบการระบาด
2. แตนเบียนไข เช่น แมลงหางหนีบ มวนพิฆาต และมวนเพชฌฆาต

หมายเหตุ หากพบการทําลายรุนแรงจนไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ ให้ไถทําลายแปลง


และไถพรวนเพื่อทําลายดักแด้ที่อยู่ในดิน เพื่อไม่ให้ระบาดในปีถัดไป
ขอขอบคุณ สํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
30
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
รักษาสมดุลแมลงธรรมชาติ
ใช้พฆ
ิ าตแมลงศัตรูพช

ในปัจจุบน ั การใช้สารเคมีก�ำ จัดแมลงศัตรูพชื เป็นทีใ่ นนิยมกัน


อย่ า งแพร่ ห ลาย ทำ � ให้ เ กิ ด สารพิ ษ ตกค้ า ง ซึ่ ง เป็ น อั น ตรายต่ อ
ตั ว เกษตรกรผู้ ใ ช้ ผู้ บ ริ โ ภค และตกค้ า งอยู่ ใ นสิ่ ง แวดล้ อ ม เช่ น
ในอากาศ ในดิน ในทุ่งนา และยั ง เป็ น การทำ � ลายระบบนิ เ วศใน
ธรรมชาติให้สูญเสียไป
ตามหลักการทำ�เกษตรธรรมชาติ จะอาศัยสารสกัดสมุนไพร
มาช่ ว ยในการควบคุ ม แมลงศั ต รู พื ช เหล่ า นั้ น แต่ เ นื่ อ งจากแมลง
ศั ต รู พื ช สามารถแพร่ พั น ธุ์ เพิ่ ม ปริ ม าณได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว จึ ง ทำ � ให้
บางครัง้ การใช้สารสกัดสมุนไพรเพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถควบคุม
แมลงศัตรูพืชเหล่านั้นได้

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
31
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
แต่ทราบไหมว่า โดยธรรมชาติแมลงศัตรูพืชเหล่านั้นก็ยังมีศัตรูตามธรรมชาติอยู่มากมาย
ที่คอยควบคุมประชากรของแมลงให้อยู่ในสภาวะสมดุลได้ ศัตรูธรรมชาติของแมลง ได้แก่
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และยังมีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
ที่เป็นศัตรูสำ�คัญของแมลงศัตรูพืช ก็คือแมลงศัตรูธรรมชาติซึ่งมีอยู่หลายชนิด มีทั้งแบบ
ที่ เ ข้ า ทำ � ลาย หรื อ จั บ แมลงศั ต รู พื ช กิ น เป็ น อาหารโดยตรง แมลงกลุ่ ม นี้ เ รี ย กว่ า “ตัวห้ำ�”
ซึ่งมาจากคำ�ว่า “ห้�ำ หัน่ ” ให้ตายไปทันที และอีกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยดูดกินน้ำ�ในไข่ หรือตัวหนอน
เรียกว่า “ตัวเบียน” ซึ่งมาจากคำ�ว่า “เบียดเบียน” นั่นเอง
ปกติแล้วในธรรมชาติแมลงเหล่านี้ จะมีอยู่จำ�นวนมากพอที่จะควบคุมจำ�นวนประชากร
ของแมลงชนิดหนึ่งๆ ให้อยู่ในสมดุล แต่มาถึงปัจจุบันเกษตรกรได้ทำ�ลายแมลงที่เป็นประโยชน์
ไปเสียมาก ทั้งการฆ่าโดยตรง และที่ไปรบกวนเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ซึ่งกระทบกระเทือน
ต่อวงจรชีวิตของมัน จนทำ�ให้แมลงตัวห้ำ�และตัวเบียนน้อยลงเรื่อยๆ จนไม่เพียงพอจะกำ�จัด
แมลงศัตรูพืช
หากเกษตรกรต้องการอนุรักษ์แมลงที่เป็นประโยชน์ไว้ ควรงดใช้สารเคมี หันมาใช้สาร
สมุนไพรทดแทนไปสักระยะ ก็จะสามารถอนุรักษ์และเพิ่มจำ�นวนประชากรของแมลงที่เป็น
ประโยชน์ได้ จนเมื่อเกิดความสมดุลแล้ว จึงค่อยๆ ลดการใช้สารสกัดสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะ
เท่าที่จำ�เป็นเท่านั้นเพื่อเป็นการช่วยอนุรักษ์

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
32
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
วิธอี นุรก ั ษ์แมลงทีเ่ ป็นประโยชน์
1. หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีและสารพิษทางการเกษตร เพราะ
จะท�ำให้ดินเป็นกรดจัด เป็นอันตรายต่อวงจรชีวิตของแมลง
2. หลี ก เลี่ ย งการใช้ ย าฆ่ า หญ้ า ให้ ใ ช้ วิ ธี ก ารตั ด นาบ หรื อ
คลุมด้วยฟาง ใบไม้ หรือกิ่งไม้แทน
3. หลีกเลี่ยงการใช้สารก�ำจัดแมลงและสารฆ่าเชื้อรา ควรใช้
สารสกัดสมุนไพรแทน
4. ปลูกพืชหลายๆ ชนิด หลายๆ ระดับ เพื่อจัดระบบนิเวศใน
แปลงหรื อ สวน เช่ น ปล่ อ ยให้ วั ช พื ช ขึ้ น หลากหลายชนิ ด
ปลูกไม้ดอกหลายชนิดให้ขึ้นปะปนกัน
5. ห้ า มท�ำอั น ตรายสั ต ว์ กิ น แมลง เช่ น กบ เขี ย ด กิ้ ง ก่ า แย้
คางคก อึ่งอ่าง และนก เป็นต้น
6. หมั่นศึกษาและส�ำรวจแมลงในสวนอย่างสม�่ำเสมอ หาก
พบว่ า แมลงศั ต รู พื ช เข้ า ท�ำลายมากเกิ น ที่ ต ้ น พื ช จะงอก
ทดแทนได้ ควรใช้ ส ารสกั ด สมุ น ไพรก�ำจั ด แมลงศั ต รู พื ช
ฉีดพ่นอย่างต่อเนื่องทุกวัน (ประมาณ 1-3 วัน) จนแมลง
ลดลงหรือหายไป

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
33
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
“นำ�้ หมักพริกไทย”
ไล่แมลงได้ทง
ั้ สวน

สูตรสมุนไพรไล่แมลงนัน
้ มีหลากหลายมาก แต่นอ้ ย
คนที่จะรู้ว่า “พริกไทย” วัตถุดิบทำ�อาหารที่มักจะมีติดอยู่ในครัว
แทบทุกบ้านนั้น ก็สามารถไล่แมลงศัตรูพืชได้เหมือนกัน
โดยสูตรน้ำ�หมักไล่แมลงพริกไทยสูตรนี้ นอกจากจจะไล่แมลง
ต่างๆ ได้ดีแล้ว ยังไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย
และสามารถใช้ได้ผลกับพืชทุกชนิด เนือ่ งจากน้�ำ หมักจากพริกไทยนัน้
มีกลิ่นฉุนรุนแรงและประกอบด้วยสารรสเผ็ดและสารที่มีกลิ่นฉุน
และเผ็ดร้อน จึงทําให้สามารถมีฤทธิ์ในการขับไล่แมลงได้ดีทีเดียว

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
34
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
น้�ำ หมักพริกไทย

สูตรที่ 1
  วัตถุดบ

1. เมล็ดพริกไทยดํา
หรือเมล็ดพริกไทยขาว 4 ช้อนโต๊ะ
2. น้�ำ สะอาด 1 ลิตร

  ขัน
้ ตอนการทํา

1. ตําพริกไทยดําและพริกไทยขาวให้ละเอียด
(การตําจะช่วยให้สารที่ให้รสเผ็ดและสารให้กลิ่นฉุน
ในพริกไทยออกมาได้ดีขึ้น)
2. จากนั้นนําพริกไทยที่ตําละเอียดดีแล้ว
กรอกใส่ขวดที่บรรจุน้ำ�สะอาดไว้แล้ว
3. หมักทิ้งไว้ 1 คืน สามารถนําไปใช้ได้เลย

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
35
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
  วัตถุดบ

น้�ำ หมักพริกไทย

สูตรที่ 2
เมล็ดพริกไทยดํา
หรือเมล็ดพริกไทยขาว
4 ช้อนโต๊ะ
  ขัน
้ ตอนการทํา

น้�ำ สะอาด
500 มิลลิลต ิ ร 1. ตั้งหม้อบนเตา ใส่น้ำ� 250 มิลลิลิตร ลงไป
จากนั้นนําพริกไทยที่ตําละเอียดดีแล้วใส่ตามลงไป

น้�ำ ยาล้างจาน
1 ช้อนชา
2. ต้ ม น้ำ � ให้ เ ดื อ ดพล่ า นจนได้ ก ลิ่ น พริ ก ไทยที่
ฉุนมากลอยออกมา แล้ ว น้ำ � กลายเป็ น สี น้ำ � ตาลเข้ ม
ทิง้ ไว้ให้เย็น (วิธกี ารต้มให้เดือดนีจ้ ะช่วยสกัดน้�ำ มันหอม
มะนาว 1 ผล ระเหยจากพริกไทยออกมาได้มากที่สุด โดยที่ไม่ต้อง
หมักทิ้งไว้)

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
36
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
3. เมื่ อ น้ำ � เย็ น ดี แ ล้ ว ให้ ก รองเศษพริ ก ไทยออก
แล้วกรอกใส่ขวดพร้อมเติมน้ำ�ตามไปอีก 250 มิลลิลิตร
(น้ำ � ต้ ม พริ ก ไทยมี ป ริ ม าณเท่ า ไหร่ ให้ ใ ส่ น้ำ � สะอาด
ตามลงไปเท่านั้น ในอัตราส่วน น้ำ�พริกไทย 1 ส่วน ต่อ
น้ำ�สะอาด 1 ส่วน)
4. จากนั้ น นําน้ำ � ยาล้ า งจานและน้ำ � มะนาวใส่
ตามลงไป เขย่าให้ส่วนผสมเข้ากัน
5. เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว สามารถนําไปใช้
ได้เลย น้ำ�พริกไทยสูตรนี้ไม่ต้องหมักทิ้งไว้ เพราะลัด
ขั้นตอนโดยการนําไปต้มแล้ว

  วิธก
ี ารใช้

สูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 มีวิธีการใช้เหมือนกัน คือ ไม่ต้อง


ผสมน้ำ�ใดๆ ทั้งสิ้น สามารถกรอกใส่ขวดแล้วฉีดพ่นได้เลย
โดยสามารถฉีดพ่นในบริเวณที่มีเพลี้ย หรือมด แมลงต่างๆ
มากวนต้ น พื ช เช่ น ในบริ เ วณที่ พ บแมลงศั ต รู พื ช บ่ อ ยครั้ ง
บริเวณยอด หรือบริเวณรากพืช

ขอขอบคุณ ยูทูปชาแนล Playground KIDS channel

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
37
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
แมลงร้าย
ศัตรูท�ำลายข้าว

แมลงศั ต รู ข้ า วไร่ มี ห ลายชนิ ด นอกจากจะเป็ น


แมลงศัตรูข้าวชนิดที่ระบาดทำ�ลายในนาข้าวทั่วไป ซึ่งมีปริมาณน้อย
และจัดว่าไม่ค่อยมีความสำ�คัญในการเพาะปลูกข้าวไร่แล้ว ยังมี
ชนิ ด ที่ สำ � คั ญ และระบาดทำ � ความเสี ย หายอยู่ เ สมอ โดยเฉพาะ
ในการเพาะปลูกข้าวไร่ในภาคเหนือ ได้แก่ มดง่าม ปลวก แมลงวัน
เจาะยอด ด้วงหมัดดำ� ด้วงแทะใบ แมลงค่อมทอง แมลงนูน ด้วงดีด
เพลี้ยอ่อน หนอนใย ตั๊กแตน เพลี้ยแป้ง

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
38
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
มดง่าม 

เป็ น แมลงศั ต รู พื ช ที่ ทำ � ให้ เ กิ ด ปั ญ หาในระยะ


หยอดเมล็ ด เมื่ อ เกษตรกรหว่ า นโรยหรื อ หยอด
เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ลงไปในดิน มดง่ามซึ่งอาศัยอยู่ใน
รังในดิน จะขนเมล็ดข้าวนำ�ไปเป็นอาหารหรือเก็บ
สะสมเป็นอาหารในรัง ทำ�ให้สูญเสียเมล็ดพันธุ์ที่ใช้
เพาะปลูก ก่อปัญหาในด้านจำ�นวนกอต่อพื้นที่และ
การซ่อมเมล็ด ทำ�ให้ผลผลิตลดลง
  การป้องกันกำ�จัด

1. ถ้าพบรังหรือทางเดินของมดง่าม ใช้สารฆ่า
แมลงคาร์บาริล (เซฟวิ น 85%) หรื อเฮปตะคลอร์
(อาลามอน 40%) ชนิดผงโรยที่รังหรือทางเดินของ
มดง่าม
2. ถ้าพบรังมดง่ามอยู่กระจัดกระจายทั่วแปลง
เพาะปลูกหรือบริเวณใกล้เคียง ใช้วิธีคลุกเมล็ดพันธุ์
ข้าวไร่ดว้ ยสารฆ่าแมลงชนิดผง เช่น คาร์บาริล (เซฟวิน
85%) เมทิโอคาร์บ (เมซูโรล 50%) เฟนวาลีเรต (ซูมิ
ไซดิน 20%) เตตระคลอร์วินฟอส (การ์โดนา 50%)
ในอัตรา 1% ต่อน้ำ�หนักเมล็ด (สารฆ่าแมลง 85% ใช้
อัตรา 12 กรัมต่อเมล็ดข้าว 1 กิโลกรัม สารฆ่าแมลง
50% ใช้ อั ต รา 20 กรั ม ต่ อ เมล็ ด ข้ า ว 1 กิ โ ลกรั ม )
ควรคลุกให้สารฆ่าแมลงติดเมล็ดสม่ำ�เสมอที่สุดแล้ว
นำ�ไปปลูกทันที
คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
39
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ปลวก  ตั๊กแตน

กั ด กิ น ทำ � ลายส่ ว นรากของข้ า วไร่ ที่พบเป็นประจำ�ในแปลงเพาะปลูก


ทุกระยะ และยังกัดกินทำ�ลายโดยเริ่มจาก ข้าวไร่เป็นตั๊กแตนขนาดเล็กซึ่งมีปริมาณ
ส่วนใต้ดินขึ้นไปตามภายในลำ�ต้น ต้นข้าว ไม่มากนัก ทั้งตัวแก่และตัวอ่อนกัดกิน
ที่ถูกทำ�ลายในระยะแรกจะมีลำ�ต้นเหลือง ใบข้าวทำ�ให้ใบขาดแหว่ง ถ้ามีการทำ�ลาย
หรือเหลืองซีดทั้งกอและแห้งตายในเวลา มากจะกั ด กิ น จนกระทั่ ง เหลื อ แต่ เ ส้ น
ต่อมา การป้องกันกำ�จัด กลางใบ ทำ � ให้ ต้ น ข้ า วเจริ ญ เติ บ โตไม่
1. ขณะทำ�การเตรียมดิน ถ้าพบรัง เต็มที่ ผลผลิตต่ำ�ลง แต่ตั๊กแตนชนิดที่
ปลวกใต้ดินให้ขุดทำ�ลายรังหรือไถพรวน สำ � คั ญ ซึ่ ง ควรระวั ง การระบาดทำ � ลาย
ดิ น หลายๆ ครั้ ง เพื่ อ เป็ น การทำ � ลายรั ง ได้แก่ตั๊กแตนปาทังกา ตั๊กแตนโลคัสตา
และเปิดโอกาสให้มดและนกชนิดต่างๆ ตั๊กแตนไซทาแคนทาคริส และตั๊กแตน
เข้าช่วยกินปลวก คอนดราคริส ซึ่งจัดว่าเป็นแมลงศัตรูที่
2. ถ้าพบรังปลวกมากและอยูก่ ระจาย สำ�คัญ
ในแปลงเพาะปลู ก ควรพ่ น ด้ ว ยสารฆ่ า
แมลงชนิดผงละลายน้ำ� เช่น เฮปตะคลอร์   การป้องกันกำ�จัด
(อาลามอน 40%) อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ วิธกี ารป้องกันกำ�จัดตัก๊ แตนให้ได้ผล
พ่ น ให้ ทั่ ว แปลงแล้ ว พรวนให้ เ ข้ า กั บ ดิ น ควรใช้ วิ ธี ก ารทุ ก อย่ า งที่ ส ามารถลด
หรืออาจใช้วิธีพ่นหรือโรยตามแถวปลูก ประชากรของตั๊ ก แตนให้ น้ อ ยลง ทั้ ง นี้
ควรจะทราบชนิด อุปนิสยั นิเวศวิทยา ฯลฯ
ของตั๊กแตนที่จะป้องกันกำ�จัดเสียก่อน
จึงจะสามารถวางมาตรการในการป้องกัน
กำ�จัดได้ โดยทั่วไปควรทำ�ดังนี้

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
40
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
1. เกษตรกรควรร่วมกันดำ�เนินการจับตั๊กแตนในฤดูหนาว
(ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ถ้าอุณหภูมิต่ำ�กว่า 13 ํC ลงไป ตั๊กแตน
จะเคลื่อนไหวช้าหรือแข็งตัวบินไม่ได้ ซึ่งสามารถจับได้ง่ายด้วย
มือเปล่า และยังนำ�ตัก๊ แตนทีจ่ บั ได้ไปแปรรูปเป็นอาหารได้อกี ด้วย
2. กำ�จัดวัชพืชที่เป็นอาหารหรือเป็นที่อาศัยของตั๊กแตน
ทั้งในไร่และในบริเวณใกล้เคียง
3. ไถและพรวนดินในบริเวณที่มีตั๊กแตนอาศัยเพื่อตากดิน
และช่วยทำ�ลายไข่ของตั๊กแตนที่อยู่ในดิน ซึ่งควรเริ่มดำ�เนินการ
ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
4. ภายหลังการเก็บเกี่ยวควรเก็บตอซังและซากพืชให้หมด
เพื่อมิให้เป็นที่อยู่อาศัยของตั๊กแตน
5. ปลูกพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลิสง สลับกับแปลงเพาะปลูก
ข้าวไร่ เพื่อดึงดูดตั๊กแตนให้มาอาศัยร่มเงาหลบแสงแดดใน
ถั่วลิสง และกำ�จัดโดยวิธีปล่อยลูกเป็ดเข้าไปกินหรือเกษตรกร
จับมาใช้ประโยชน์หรือพ่นสารฆ่าแมลงคาร์บาริลผสมน้ำ�และ
กากน้ำ�ตาลหรือน้ำ�อ้อยแดง
6. หมั่นตรวจแปลงเพาะปลูกอยู่เสมอ
7. การใช้สารฆ่าแมลงพ่นกำ�จัด ควรใช้ให้ถูกต้องตามชนิด
และวัยของตั๊กแตน เช่น คาร์บาริล (เซฟวิน เซฟ 85 ดี เอส 85)
85% ชนิดผงละลายน้�ำ ซึง่ เป็นสารฆ่าแมลงชนิดกินตาย พ่นคลุม
พื้ น ที่ ที่ มี ตั๊ ก แตนซึ่ ง เป็ น ระยะตั ว อ่ อ นอยู่ ห นาแน่ น ในฤดู ก าร
เพาะปลูก ในอัตรา 70-80 กรัมต่อน้ำ� 20 ลิตร และผสมด้วย
กากน้ำ�ตาลหรือน้ำ�อ้อยแดง 2-3 ช้อนแกง โดยพ่นบนใบข้าว
หรือถั่วลิสงที่ปลูกเป็นพืชสลับ

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
41
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
เพลี้ยอ่อน

เป็ น แมลงขนาดเล็ ก เคลื่ อ นไหวช้ า


มีขนาด 1-2 มม. สีน้ำ�ตาลหรือน้ำ�ตาลแดง
รูปร่างคล้ายผลฝรัง่ ผ่าครึง่ และเป็นเพลีย้ อ่อน
ชนิดไม่มีปีก การทำ�ลายพบอาศัยเกาะดูด
กินน้ำ�เลี้ยงอยู่ที่ส่วนรากในดินของต้นข้าว
ในระยะเริ่ ม แตกกอและเกาะเป็ น กลุ่ ม ๆ
บางครั้งพบเกาะดูดกินส่วนรากของต้นข้าว
ที่อยู่โคนต้นใกล้ระดับดิน ต้นข้าวมีอาการ
เหลืองซีดและเตี้ยแคระแกร็นผิดปกติ ถ้ามี
การระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการ
เหี่ยวเฉาและตายในเวลาต่อมา

  การป้องกันกำ�จัด
เพลี้ยอ่อนที่อาศัยดูดกินน้ำ�เลี้ยงบริเวณ
ราก การระบาดทำ�ลายจะเป็นหย่อมๆ ควร
ใช้ ส ารฆ่ า แมลงพวกคาร์ บ าริ ล (เซฟวิ น )
ชนิดผงละลายน้ำ�หรือชนิดน้ำ� ซึ่งชนิดหลัง
มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำ�จัดได้นาน
กว่าพ่นบริเวณโคนต้นข้าว และไม่ควรพ่น
สารฆ่าแมลงคลุมไปทั้งแปลง ควรพ่นเฉพาะ
บริเวณที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดเท่านั้น

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
42
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
  เพลี้ยกระโดดหลังขาว

เพลี้ยกระโดดหลังขาว สามารถแยกชนิดออกจาก
เพลี้ยกระโดดชนิดอื่นในระยะตัวเต็มวัยได้โดยมีแถบ
สีขาวตามยาวของด้านหลังส่วนอกอยู่ระหว่างฐานปีก
ทั้ ง สอง แมลงในสกุ ล นี้ มี ห ลายชนิ ด ที่ พ บในนาข้ า ว
แต่ข้าวไม่ใช่พืชอาหารหลัก และสามารถจำ�แนกแมลง
แต่ละชนิดออกจากกันโดยดูที่ปีก ส่วนหัว และลักษณะ
อวัยวะเพศผู้ ถึงแม้ว่าไม่ได้เป็นแมลงพาหะนำ�โรคไวรัส
แต่ก็พบเพลี้ยกระโดดหลังขาวได้ทั่วไป และอาจดูดกิน
น้ำ�เลี้ยงต้นข้าวทำ�ให้แห้งตายได้ แต่สามารถป้องกัน
กำ � จั ด ได้ โ ดยใช้ ส ารฆ่ า แมลง เพลี้ ย กระโดดหลั ง ขาว
ระบาดได้ทุกสภาพแวดล้อม

  การป้องกันกำ�จัดโดยชีววิธี
เพลี้ยกระโดดหลังขาวมีศัตรูธรรมชาติทำ�ลายทุกระยะการเจริญเติบโต ไข่ของ
เพลี้ยกระโดดหลังขาวถูกเบียนโดยแตนเบียนตัวเล็กๆ หรือถูกมวนเขียวดูดไข่ หรือไร
ตัวห้ำ�กิน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยถูกเบียนโดยแตนเบียน dryinid หรือถูกเชื้อราทำ�ลาย
ตัวห้ำ�ของตัวอ่อนและตัวเต็มวัย รวมทั้งตัวห้ำ�ที่อยู่ใต้ผิวน้ำ� ได้แก่ แมลงเหนี่ยง ด้วงดิ่ง
ตัวอ่อนแมลงปอบ้าน แมลงปอเข็ม พวกทีอ่ ยูบ่ นผิวน้�ำ ได้แก่ จิงโจ้น�้ำ ก็เป็นตัวห้�ำ ทีส่ �ำ คัญ
ด้ ว ยเช่ น กั น ตั ว ห้ำ � ที่ อ ยู่ ใ นน้ำ � เหล่ า นี้ จ ะคอยจั บ กิ น เพลี้ ย กระโดดที่ ห ล่ น ลงบนผิ ว น้ำ �
และยังสามารถจับเพลี้ยกระโดดบนใบข้าวที่อยู่ใกล้ๆ ระดับน้ำ�ได้อีกด้วย ด้วงก้นกระดก
ด้วงดิน และมวนดอกรัก รวมทั้งแมงมุมต่างๆ จับตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ยกระโดด
หลังขาวที่อยู่ตามใบข้าวกินเป็นอาหาร แมลงปอเข็มตัวเต็มวัยจับกินเพลี้ยกระโดดที่
เกาะตามใบข้าว ส่วนแมลงปอบ้านตัวเต็มวัยจับกินเพลี้ยกระโดดที่บินในนาข้าว

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
43
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
แมลงสิง 

มวนในสกุล Leptocorisa เรียกว่า แมลงสิง มวน


เหล่านี้มีลักษณะการระบาด ชีววิทยา และการทำ�ลายข้าว
คล้ า ยคลึ ง กั น การเป็ น ศั ต รู พื ช ปกติ ก ารสู ญ เสี ย ผลผลิ ต
เนื่องจากแมลงสิงมีน้อย เพราะประชากรแมลงสิงมีมาก
เป็นบางช่วง และทำ�ลายข้าวเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ของการ
เจริญเติบโตของข้าว แมลงสิงพบได้ในทุกสภาพแวดล้อม
แต่จะพบมากในนาน้ำ�ฝนและข้าวไร่ ปัจจัยที่ทำ�ให้แมลงสิง
มีปริมาณมาก คือ อยู่ใกล้ชายป่า มีวัชพืชขึ้นอยู่มากมาย
ใกล้นาข้าว และมีการปลูกข้าวเหลื่อมเวลากัน
ความเสี ย หายจากการทำ � ลายของแมลงสิ ง ทำ � ให้
เมล็ดข้าวเสื่อมเสียคุณภาพมากกว่าทำ�ให้น้ำ�หนักเมล็ดข้าว
ลดลง เมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทำ�ลาย เมื่อนำ�ไปสีจะแตกหัก
ได้ ง่ า ย เกษตรกรโดยทั่ ว ไปมั ก ไม่ ไ ด้ สู ญ เสี ย รายได้ จ าก
คุณภาพเมล็ดที่เสียหายดังกล่าว เนื่องจากโดยทั่วไปไม่มี
การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดที่มีการซื้อขายกัน
 
  การป้องกันกำ�จัดโดยชีววิธี
ไข่แมลงสิงถูกเบียนโดยแตนเบียน โดยจะเห็นเป็นรู
ทางออกของแตนเบียนได้ชัดเจน ตั๊กแตนหนวดยาวเป็น
ตัวห้ำ�กินไข่ของแมลงสิง แมงมุมในนาข้าวกินตัวอ่อนและ
ตัวเต็มวัยของแมลงสิง นอกจากนี้ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย
ของแมลงสิงยังถูกเชื้อราทำ�ลายด้วยเช่นกัน

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
44
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
“ภาษาของใบไม้”
รูไ้ ว้ปราบแมลง

ใบหงิกงอ เหลืองร่วง : เพลี้ยอ่อน

เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กเท่าหัวเข็ม ดูดกินน้ำ�เลี้ยง
ตามใบ ยอด หรือดอก ทําให้มีอาการใบหงิกงอ ใบเหลืองร่วง ต้น
ไม่แตกยอดอ่อน ไม่ออกดอก ดอกเหี่ยวและอ่อนแอ
กำ � จั ด ด้ ว ยชี ว วิ ธี : ใช้ แ มลงห้ำ � อย่ า งด้ ว งเต่ า ลาย แมลงปอ

กินตัวเพลี้ยอ่อน
สูตรสมุนไพร : บดพริกสด พริกไทยสด และดีปลีสด อย่างละ

1 กิโลกรัม ให้ละเอียด นำ�ส่วนผสมทั้งหมดไปผสมกับน้ำ� 20 ลิตร


หมักนาน 3-5 วัน กรองเอาแต่น้ำ�หัวเชื้อ โดยอัตราส่วนการใช้ให้
ผสมน้ำ�หัวเชื้อปริมาณ 200-500 ซีซี.ต่อน้ำ� 20 ลิตร นำ�ไปฉีดพ่น
ให้ทั่วทรงพุ่มต้น ทุก 3-5 วัน 

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
45
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ใบพืชมีจุดด่างขาว  : ไรแดง

ใบพืชมีจุดด่างบางๆ สีใบจางลง และขอบใบม้วนงอ จากนั้น


ใบจะร่วง และต้นพืชอาจตายได้ ไรแดงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าไรแมงมุม
เพราะสามารถสร้างใยได้เหมือนแมงมุม ทำ�ลายใบเป็นจุดด่างขาว
ตามเส้นใบ แพร่ขยายในวงกว้าง ทำ�ให้ใบขาวซีด กระด้างกรอบ
แล้วค่อยๆ แห้งและร่วงจากต้น
กำ�จัดด้วยชีววิธี :  ใช้แมลงห้ำ� เช่น ไรตัวห้ำ�กินตัวไรแดง

สูตรสมุนไพร : สับใบสะเดา ข่า และตะไคร้หอม อย่างละ 1

กิโลกรัม ให้ละเอียด  นำ�ส่วนผสมทั้งสามอย่างมาตำ�รวมกัน ผสมกับ


น้ำ� 20 ลิตร หมักไว้ 1 คืน กรองเอาน้ำ�หัวเชื้อที่ได้นำ�ไปผสมน้ำ�
ในสัดส่วน 1 : 1 ฉีดพ่นทุก 7 วัน ในตอนเย็น 

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
46
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
มีจุดสีเหลือง หงิกงอ  :  แมลงหวี่ขาว

แมลงหวี่ขาวและตัวอ่อนจะรวมกลุ่มอยู่ใต้ใบของพืช แมลงหวี่
ขาวจะดูดกินน้ำ�เลี้ยงจากใบและยอดของต้นไม้ ทำ�ให้เกิดจุดสีเหลือง
บนใบพืช ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนลงด้านล่าง ต้นแคระแกร็น และเป็น
พาหะนำ�เชื้อไวรัสสาเหตุของโรคใบด่าง
กำ�จัดด้วยชีววิธี :  ใช้แมลงเบียน เช่น แตนเบียน วางไข่ใน

ตัวแมลงหวี่ขาว
สู ต รสมุ น ไพร :   เลื อ กพื ช ที่ มี ก ลิ่ น แรง เช่ น ใช้ ย าสู บ แช่ น้ำ �

คั้นน้ำ�บอระเพ็ด คั้นน้ำ�ดอกดาวเรือง ผสมน้ำ�สะอาดแล้วนำ�ไปฉีดรด


ต้นไม้ กลิ่นฉุนๆ จะไล่แมลงหวี่ไม่ให้เข้ามาใกล้ต้นไม้

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
47
ชุด “แมลงศัตรูพืช”
ใบแหว่ง มีรอยกัด :  หอยทาก

อีกหนึ่งศัตรูตัวร้ายในสวนคือหอยทาก จะเติบโตและขยายพันธุ์
จำ�นวนมากในช่วงฤดูฝน วางไข่ในพื้นที่อับชื้นอย่างซากกองใบไม้
ซากไม้ผุ เมื่อแพร่ขยายเติบโตขึ้นออกหากินในช่วงเวลากลางคืน
ทีม่ อี ากาศเย็นลง และกัดกินใบไม้เกือบทุกชนิดเป็นอาหาร การป้องกัน
หอยทากในเบื้องต้นคือต้องรู้จักสร้างนิเวศในสวนไม่ให้เป็นแหล่ง
เพาะพั น ธุ์ หรื อ หากพบว่ า หอยทากบุ ก แล้ ว ให้ เ ก็ บ ไปทิ้ ง ให้ ไ กล
จากพื้นที่สวนของเรา
วิธีป้องกัน :  ใช้ ปู น ขาว กากกาแฟ กระเที ย มสั บ โรยรอบๆ

โคนต้ น ไม้ แปลงปลู ก ฤทธิ์ ก รด ด่ า งจะทำ � ให้ ตั ว หอยทากรู้ สึ ก


ระคายเคืองและไม่เข้ามาใกล้บริเวณนั้นอีก

ขอขอบคุณ www.baanlaesuan.com

คูม
่ อ
ื เกษตรกร “รูไ้ ว้ใช้จริง”
48
ชุด “แมลงศัตรูพืช”

You might also like