You are on page 1of 8

ศึกษาขอผิดพลาดการใชสวนขยายนามภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟารอีสเทอรน

An Error Analysis of Using Chinese Attribute by the Students


Studying in The Far Eastern University
กู เมงยู*

บทคัดยอ
บทความนี้เขียนขึ้นจากผลการศึกษาเกี่ยวกับการใชสวนขยายนามภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัย
ฟารอีสเทอรน ทั้งนี้เนื่องจากนักศึกษาสวนใหญจะเริ่มเรียนภาษาจีนในระดับอุดมศึกษา จึงทําใหผูเรียนไมคุนเคย
กับการใชไวยากรณภาษาจีน โดยเฉพาะอยางยิ่งปญหาเรื่องการใชสวนขยายนาม เพราะโครงสรางประโยคของ
ภาษาจีนและภาษาไทยแตกตางกันอยางมาก ภาษาไทยจะวางสวนขยายนามไวดา นหลังของคํานาม สวนภาษาจีน
จะวางสวนขยายนามไวดานหนาของคํานาม ซึ่งจากผลการศึกษาพบวานักศึกษามีคะแนนการทดสอบการใช
สวนขยายนามทีม่ คี าํ เดียวมากกวาคะแนนการใชสว นขยายนามทีม่ หี ลายคํา โดยนักศึกษาทีอ่ ยูใ นชัน้ ปทสี่ งู จะสามารถ
ใชสวนขยายนามภาษาจีนไดดีกวานักศึกษาที่อยูในชั้นปที่ตํ่ากวาโดยเฉพาะการใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา
ทั้งยัง พบวานักศึกษาที่มีเชื้อสายจีนและสามารถพูดภาษาจีนทองถิ่นไดสามารถชวยใหการเรียนการสอนเรื่องสวน
ขยายนามดีขึ้น

คําสําคัญ
สวนขยายนาม ภาษาจีน นักศึกษามหาวิทยาลัยฟารอีสเทอรน

Abstract
This paper studied by the results from analyze of using Chinese attribute by the Thai students
who study in The Far Eastern University. Almost students start to study Chinese language at the university,
so they are not fluent in Chinese grammar, especially using Chinese attribute. Because the structures
between Thai and Chinese are quite different in that Thai structure is “Noun + Attribute” but Chinese
structure is “Attribute + Noun”. The results of this paper were summarized as follows: the score of using
single Chinese attribute was higher than the score of using multiple Chinese attribute. Generally speaking,
senior students were good at using Chinese attribute than junior students, especially in the part of using
multiple Chinese attribute. The interesting result in this paper was the students who is Thai – Chinese
descent and can speak Chinese dialect were easier understand how to use Chinese attribute.

* อาจารยประจําสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยฟารอีสเทอรน


E-mail: gulaoshi2011@gmail.com

ÇÒÃÊÒÃÇÔªÒ¡ÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¿ÒÏÍÕÊà·ÍϹ
22 »‚·Õè 8 ©ºÑº·Õè 2 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 - ¾ÄÉÀÒ¤Á 2558
Keywords
Attribute, Chinese Language, The Far Eastern University Students

บทนํา
ปจจุบนั ภาษาจีนเปนภาษาตางประเทศทีน่ ยิ มใชกนั มากขึน้ ในประเทศไทยรองจากภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ
เมื่อเขาสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาษาจีนจะยิ่งมีบทบาทสําคัญ และในขณะเดียวกันทุกสถาบันอุดมศึกษา
ในจังหวัดเชียงใหมไดมีการเปดการสอนภาษาจีนเพื่อรองรับการเขามาของนักทองเที่ยวชาวจีนที่หลั่งไหลเขามา
เปนจํานวนมาก
ถึงแมวาภาษาจีนจะเปนภาษาที่นิยม แตพื้นฐานทางดานภาษาจีนของคนไทยยังไมเทากับพื้นฐานภาษา
อังกฤษ คนไทยเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแตระดับอนุบาลและเรียนทุกๆ ป หากเรียนถึงระดับอุดมศึกษาจะเนน
การใชภาษาอังกฤษมากกวา แตภาษาจีนสวนมากจะมาเริ่มเรียนในระดับอุดมศึกษา จึงทําใหผูเรียนไมคุนเคย
กับการใชไวยากรณภาษาจีน โดยเฉพาะอยางยิ่งปญหาเรื่องการใชสวนขยายนาม เพราะโครงสรางประโยคของ
ภาษาจีนและภาษาไทยแตกตางกันอยางมาก ภาษาไทยจะวางสวนขยายนามไวดา นหลังของคํานาม สวนภาษาจีน
จะวางสวนขยายนามไวดานหนาของคํานาม มีผูวิจัยไดศึกษาเกี่ยวเรื่องนี้ไวหลายทาน Kittithon (2003, 6) กลาววา
ลําดับการวางของสวนขยายนามของภาษาไทยและจีน สวนมากจะตรงกันขาม กับภาษาไทยทีส่ ว นขยายนามจะวาง
ไวดานหลังคําศัพทหลัก แตในภาษาจีนสวนขยายนามตองวางไวดานหนาคําศัพทหลัก ในชวงเวลาที่นักศึกษาไทย
เรียนไวยากรณจนี เรือ่ งนี้ มักจะมีความสับสนระหวางภาษาไทยและภาษาจีนทําใหเกิดความผิดพลาด แตวา หลังจาก
ทีไ่ ดเรียนรูภ าษาจีนมากขึน้ ความผิดพลาดไวยากรณจนี จะลดลง ซึง่ ในบทความนีจ้ ะศึกษาถึงปญหาการใชสว นขยาย
นามของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟารอีสเทอรน เพื่อวิเคราะหเหตุผลขอผิดพลาดและใหคําแนะนําในดานการเรียน
การสอนเรื่องการใชสว นขยายนามภาษาจีน

สวนขยายนาม (定语)
สวนขยายนาม(定语) หรือนามวลีทําหนาที่เปนสวนประธานหรือสวนกรรมในประโยค มีคําและ
วลีหลายชนิดทําหนาทีเ่ ปนสวนขยายนามได เชน 李老师是中文老师 ครูหลีเ่ ปนครูสอนภาษาจีน ในประโยคนี้
中文 (ภาษาจีน) คือ สวนขยายนาม ที่ทําหนาที่ขยายคําวา 老师 (ครู) แลวใหความหมายวา ครูที่สอนภาษา
จีน (Yang , 2009, 109)
โครงสรางประโยคขยายนามภาษาจีน (定语+的+中心语)
โครงสรางสวนขยายนามภาษาจีน คือ “定语+的+中心语” หมายความวา สวนขยายนามตองวางไว
หนาคําศัพทหลัก และสวนใหญตองใชคําชวยโครงสราง 的 มาแสดงความหมาย เชน 红色的旗袍
(ชุดกี่เพาสีแดง) 红色 หมายถึง สีแดง 旗袍 หมายถึง ชุดกี่เพา (Yang, 2009, 109)
1. การใช 的ในสวนขยายนามภาษาจีนมี 3 ลักษณะ ดังนี้
1) จําตองใชคํา 的
เชน 吃的东西 (ของกิน)
吃 หมายถึง กิน
ÇÒÃÊÒÃÇÔªÒ¡ÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¿ÒÏÍÕÊà·ÍϹ
»‚·Õè 8 ©ºÑº·Õè 2 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 - ¾ÄÉÀÒ¤Á 2558 23
东西 หมายถึงสิ่งของ
ถาไมใชคํา 的 ความหมายจะเปลี่ยนทันที คือ 吃东西 (กินอาหาร)
2) ไมใชคํา 的
เชน 这本书 (หนังสือเลมนี้)
这 หมายถึง นี้
本 หมายถึง เลม 书 หมายถึง หนังสือ
แตถาในกลุมคํานี้ใชคํา 的 จะกลายเปนกลุมคําที่ไมมีความหมาย
3) ใชหรือไมใชคํา 的 ก็ได
เชน 我的爸爸/我爸爸 (พอของฉัน)
ไมวาจะใชหรือไมใชคํา 的 ความหมายของกลุมคําก็ไมไดเปลี่ยนแตอยางใด
Fang (2008, 92) สรุปไววา การใชคํา 的 ในสวนขยายนามภาษาจีน มี 5 ลักษณะดังนี้
1) เมื่อคําศัพทหลักเปนคําคุณศัพทพยางคเดียวสวนมากจะไมใชคํา 的
เชน 红衣服 (เสื้อผาสีแดง)
2) เมื่อบุรุษสรรพนามเปนสวนขยายนามแสดงความเปนเจาของ จําเปนตองใชคํา 的 แตถาคําศัพท
หลักหมายถึงคนไมตองใชคํา 的
เชน 我的书 (หนังสือของฉัน)
3) เมื่อจํานวนเปนสวนขยายนามไมจําเปนตองใชคํา 的
เชน 两本书 (หนังสือสองเลม)
4) เมื่อใชคํานามที่แสดงถึงเวลาและสถานที่เปนสวนขยายนามจําเปนตองใชคํา 的
เชน 两小时的电影 (ภาพยนตรสองชั่วโมง)
5) เมื่อคํากริยาเปนสวนขยายนามสวนมากจะใชคํา 的 โดยเฉพาะคํากริยาที่เปนพยางคเดียวเชน
穿的衣服 (เสื้อผาที่ใส) แตถาคํากริยามีสองพยางคไมตองใชคํา 的 ก็ได เชน 学习计划 (แผนการเรียน)
6) เมื่อคํานามเปนสวนขยายนามและคํานามเปนคําศัพทหลัก จะใชหรือไมใชคํา 的 ก็ได
เชน 上海小吃/上海的小吃 (ขนมของเซี่ยงไฮ)

2. การใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา
ในภาษาจีนสามารถใชคาํ หลายๆ คําเพือ่ ขยายคําศัพทหลักเพียงหนึง่ ตัวได เชน 一本古代著名的
小说 (หนังสือนิทานโบราณที่มีชื่อเสียงเลมหนึ่ง) มีสวนขยายนาม 3 สวน ไดแก 一本 (เลมหนึ่ง) 古代 (โบราณ)
著名 (มีชื่อเสียง)
Fang (2008) สรุปไววา การใชคํา 的 ในสวนขยายนามที่มีหลายคํา มี 2 ลักษณะ ไดแก
1) ถาเรียงลําดับคําศัพทตามโครงสรางนี้ : “คําที่แสดงความเปนเจาของ + สรรพนามชี้เฉพาะ +
จํานวน + คุณศัพท + คําศัพทหลัก” ไมตองใชคํา 的 เชน 她那两本新杂志在哪儿?(นิตยสารใหม 2 เลม
ของหลอนอยูที่ไหน) 她 (หลอน) 那 (นั่น) 两本 (2 เลม) 新 (ใหม) คือ สวนขยายนาม

ÇÒÃÊÒÃÇÔªÒ¡ÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¿ÒÏÍÕÊà·ÍϹ
24 »‚·Õè 8 ©ºÑº·Õè 2 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 - ¾ÄÉÀÒ¤Á 2558
2) ถาเรียงลําดับคําศัพทตามโครงสรางนี้ : “คําทีแ่ สดงความเปนเจาของ + สรรพนามชีเ้ ฉพาะ + จํานวน
+ คํ า กริ ย า / กริ ย าวลี + คุ ณ ศั พ ท + คํ า ศั พ ท ห ลั ก ”ต อ งใช คํ า 的 เช น 他 是 一 个 不 说 假 话 的
人。(เขาเปนคนทีไ่ มพดู โกหก) 一个 (หนึง่ ) 不说 (ไมพดู ) 假话 (คําโกหก) คือสวนขยายนาม (Fang, 2008, 95)

การใชสวนขยายนาม(定语)ของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟารอีสเทอรน
เพือ่ ศึกษาการใชสว นขยายนามของนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนธุรกิจ ผูเ ขียนจึงไดสรางแบบทดสอบสวนขยาย
นามใหนักศึกษาแตละชั้นป จํานวน 54 คน แบงออกเปน ชั้นปที่ 1 จํานวน 13 คน ชั้นปที่ 2 จํานวน 27 คน ชั้นปที่ 3
จํานวน 14 คน ในจํานวนนี้มีนักศึกษาที่มีเชื้อสายจีนจํานวน 17 คน คิดเปนรอยละ 32.1 นักศึกษาที่ไมมีเชื้อสายจีน
จํานวน 36 คน คิดเปนรอยละ 67.9
แบบทดสอบแบงออกเปน 2 สวน คือ ในสวนที่หนึ่งเปนการเลือกคําตอบเกี่ยวกับสวนขยายนามที่มีคําเดียว
และสวนที่สอง เปนการเลือกคําตอบที่เกี่ยวกับความซับซอนของสวนขยายนาม ซึ่งนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนธุรกิจ
มหาวิทยาลัยฟารอสี เทอรน จํานวน 54 คน ไดใชเวลาหลังเลิกเรียน 20 นาทีในการทําแบบทดสอบ โดยมีอาจารยคอย
ควบคุม ไดขอมูลดังตารางตอไปนี้

1. การใชสวนขยายนามที่มีคําเดียวและการใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา

ตารางที่ 1
รอยละของความถูกตองในแบบฝกหัดสวนขยายนามที่มีคําเดียว
…o° ‡Îµ™µ¤ ¦o°¥¨³
1. Ҫⱘкࣙ „¦³Ážlµ…°ŠÁ…µ 18.8
2. ⌏⋐ৃ⠅ⱘᇣᄽ Á—È„š¸É¤¸¸ª·˜¸ªµ 39.6
3. ᆑᬲⱘᬭᅸ ®o°ŠÁ¦¸¥œš¸É„ªoµŠ…ªµŠ 16.9
4. ᄺд∝䇁ⱘᄺ⫳ œ´„Á¦¸¥œš¸ÉÁ¦¸¥œ£µ¬µ‹¸œ 50.9
5. ϔᶊ亲ᴎ Á‡¦ºÉ°Š·œ®œ¹ÉŠ¨Îµ 26.4
6. ϔϾᄽᄤ Á—È„‡œ®œ¹ÉŠ 45.2
7. ᮙ␌ಶ ‡–³š´ª¦r 39.6
8. कѠߚПϔ ®œ¹ÉŠÄœ­·­°Š 24.5
9. ⮙Ҏⱘᖗ㛣 ®´ªÄ‹…°ŠŸ¼ožiª¥ 26.4
10. ⢤⣌ሒᏈ ®µŠ‹·ÊŠ‹°„ 35.8

คาเฉลี่ย 32.4
ÇÒÃÊÒÃÇÔªÒ¡ÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¿ÒÏÍÕÊà·ÍϹ
»‚·Õè 8 ©ºÑº·Õè 2 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 - ¾ÄÉÀÒ¤Á 2558 25
ตารางที่ 1 จะเห็นวา ผลคะแนนเฉลี่ยของการใชสวนขยายนามที่มีคําเดียว คิดเปนรอยละ 32.4 ซึ่งเปน
คะแนนที่ไมสูงนัก ขอที่ 1- 4 เปนขอที่จําเปนตองใช 的 ซึ่งนักศึกษาสวนใหญจะสามารถทําคะแนนไดสูง เพราะใน
ภาษาไทยก็จําเปนตองใชคําวา “ที่” เชน ภาษาจีน 买的书 ภาษาไทย หมายถึง หนังสือที่ซื้อมา ตามโครงสราง “คํา
กริยา +的+ คําศัพทหลัก” และบางครั้งภาษาไทยก็จําเปนตองใชคําวา “ของ” เชน ภาษาจีน 我的书 ภาษาไทย
หมายถึง หนังสือของฉัน ตามกฎการใช 的 ของ Fang (2008) คือ เมื่อบุรุษสรรพนามเปนสวนขยายนามแสดงความ
เปนเจาของ จําเปนตองใชคํา 的 แตภาษาไทยคําวา “ของ” จะใชหรือไมใชก็ได โดยเฉพาะอยางยิ่งในภาษาพูด ซึ่ง
ไมคอยใชคําวา “ของ” ทําใหนักศึกษาเกิดความเคยชินจนใชภาษาจีน 的 ผิดพลาด
ขอที่ 5-8 เปนขอที่ไมจําเปนตองใช 的 ซึ่งนักศึกษาสวนใหญจะสามารถทําคะแนนไดคอนขางสูง ซึ่งใน
ภาษาไทยก็เชนเดียวกัน เชน ภาษาจีน 一个孩子 ภาษาไทยหมายถึง เด็กหนึง่ คน ตามกฎการใช 的ของ Fang (2008)
คือ เมือ่ จํานวนเปนสวนขยายนามไมจาํ เปนตองใชคาํ 的 และถาคํากริยามีสองพยางคไมตอ งใชคาํ 的 (Fang ,2008,
92) เชน ภาษาจีน 旅游团 ภาษาไทยหมายถึง คณะทัวร ซึ่งในภาษาไทยก็ไมใชคําวา “ของ” เชนเดียวกัน
ขอที่ 9-10 เปนขอที่ใชหรือไมใชคํา 的 ก็ได ซึ่งนักศึกษาสวนใหญจะสามารถทําคะแนนไดคอนขางสูง
ซึง่ ภาษาไทยก็มหี ลักการใชทไี่ มแตกตางกัน เชน ภาษาจีน 狐狸(的)尾巴 ภาษาไทย หมายถึง หาง (ของ) จิง้ จอก
ตามกฎการใช 的 ของ Fang (2008) คือ เมื่อคํานามเปนสวนขยายนามและคํานามเปนคําศัพทหลัก จะใชหรือไม
ใชคํา 的 ก็ได

ตารางที่ 2
รอยละของความถูกตองในแบบฝกหัดสวนขยายนามที่มีหลายคํา
…o° ‡Îµ™µ¤ ¦o°¥¨³
1. ៥ᆊ䙷༫ᮻᓣ㑶᳼ᆊ‫݋‬ᕜؐ䪅DŽ 26.4
Á¢°¦rœ·Á‹°¦rŤo­´„Á„nµ»—œ´œÊ …°ŠoµœŒ´œ¦µ‡µÂ¡Š¤µ„
2. Ҫ䙷ϸᴀᮄᴖᖫᬒ೼ા‫ܓ‬њ˛ 30.1
œ·˜¥­µ¦Ä®¤n 2 Á¨n¤œ´œÊ …°ŠÁ…µªµŠ°¥¼šn ¸ÉÅ®œ
3. ៥䖭ಯԡ㗕乚ᇐDŽ 26.4
®´ª®œoµ 4 šnµœ…°ŠŒ´œ
4. ៥䙷ӊ߮фⱘ⏅㪱㡆ⱘ㕞㒦໻㸷ᬒ೼ા˛ 39.6
Á­ºÊ°„´œ®œµª…œÂ„³­¸œÊεÁŠ·œš¸ÉŒ´œ¡¹ÉŠŽºÊ°¤µ˜´ªœ´œÊ ªµŠ°¥¼šn ¸ÉÅ®œ
5. 䙷Ͼ催໻ⱘᥦ⧗䖤ࡼਬDŽ 32.0
œ´„ª°¨Á¨¥r°¨š¸É˜´ª­¼ŠÄ®n‡œœ´œÊ
6. Ҫ䙷ϸϾ᳔དⱘ᳟টᰃЁ೑ҎDŽ 28.3
Á¡ºÉ°œš¸É—¸š¸É­»— 2 ‡œœ´œÊ …°ŠÁ…µÁž}œ‡œ‹¸œ
7. 䙷ᰃϔᶊ៥᳟টⱘ䭓ජ⠠ᨘ‫ڣ‬ᴎDŽ 16.9
œ´Éœ‡º°„¨o°Šª¸—¸Ã°¥¸É®o°ŒµŠÁŒ·ŠÁ‡¦ºÉ°Š®œ¹ÉŠ…°ŠÁ¡ºÉ°œŒ´œ

ÇÒÃÊÒÃÇÔªÒ¡ÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¿ÒÏÍÕÊà·ÍϹ
26 »‚·Õè 8 ©ºÑº·Õè 2 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 - ¾ÄÉÀÒ¤Á 2558
ตารางที่ 2
รอยละของความถูกตองในแบบฝกหัดสวนขยายนามที่มีหลายคํา (ตอ)
…o° ‡Îµ™µ¤ ¦o°¥¨³
8. ϔԡӬ⾔ⱘ᳝ⴔ 20 ໮ᑈᬭᄺ㒣偠ⱘ㗕ᬭᏜDŽ 20.7
°µ‹µ¦¥r­Š¼ ª´¥š¸É¤¸ž¦³­„µ¦–r„µ¦­°œ¥°—Á¥¸É¥¤¤µ„„ªnµ 20 že
šnµœ®œ¹ÉŠ
9. ҪᰃϔϾҢᴹϡ䇈‫؛‬䆱໻䆱ⱘҎDŽ 45.2
Á…µÁž}œ‡œ®œ¹ŠÉ š¸ÉŤnÁ‡¥¡¼—Ä®„
10. ϔԡϡᜢ䘫༅њ 1500 ‫ܗ‬Ҏ⇥Ꮥⱘᖋ೑໪ᆒDŽ 13.2
…„µªÁ¥°¦¤´œš¸ÉŤn¦³¤´—¦³ª´ŠšÎµÁŠ·œ®µ¥ 1500 ®¥ªœ‡œ®œ¹ÉŠ
คาเฉลี่ย 27.8
จากตารางที่ 2 ผลคะแนนเฉลี่ยของการใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา คิดเปนรอยละ 27.8 จะเห็นวา
ขอที่ 1- 3 เปนขอที่ไมจําเปนตองใชคํา 的 แสดงถึงโครงสราง “คําที่แสดงความเปนเจาของ + สรรพนามชี้เฉพาะ +
จํานวน + คุณศัพท + คําศัพทหลัก” ไมตองใชคํา 的 เชน ภาษาจีน 我这两个好老师 ภาษาไทย หมายถึง
อาจารยที่ดี 2 คนของฉัน ในภาษาจีนตามโครงสรางไมตองใชคํา 的 แตในความหมายของภาษาไทยจําเปนตองมี
คําวา “ที่” หรือคําวา “ของ” ดวย
ขอที่ 4 – 10 เปนขอทีจ่ าํ เปนตองใชคาํ 的 ตามโครงสราง “คําทีแ่ สดงความเปนเจาของ + สรรพนามชีเ้ ฉพาะ
+ จํานวน+ คํากริยา / กริยาวลี + คุณศัพท + คําศัพทหลัก” ตองใชคํา เชน ภาษาจีน 我这两个会说泰语的
老师 ภาษาไทยหมายถึง อาจารย 2 คนทีส่ ามารถพูดภาษาไทยไดของฉัน จะเห็นไดวา ตามโครงสรางการใชคาํ 的
ในขอนี้ ทั้งในภาษาจีนและภาษาไทยจะใชคําแสดงโครงสรางเหมือนกัน
2. คะแนนเฉลีย่ การใชสว นขยายนามของนักศึกษาทีเ่ รียนในชัน้ ปตา ง ๆ และนักศึกษาทีม่ พ ี นื้ ฐาน
ภาษาจีนทองถิ่น
‡³ÂœœÁŒ¨¸É¥…°Š„µ¦Äo­nªœ…¥µ¥œµ¤…°Šœ´„«¹„¬µ´Êœže˜nµŠÇ
45
40
35
30
25
20
15
10
5
0
´Êœžeš¸É 1 ´Êœžeš¸É 2 ´Êœžeš¸É 3

­nªœ…¥µ¥œµ¤š¸É¤¸‡ÎµÁ—¸¥ª ­nªœ…¥µ¥œµ¤š¸É¤¸®¨µ¥‡Îµ

แผนภูมิที่ 1: คะแนนเฉลี่ยของการใชสวนขยายนามของนักศึกษาชั้นปตางๆ
ÇÒÃÊÒÃÇÔªÒ¡ÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¿ÒÏÍÕÊà·ÍϹ
»‚·Õè 8 ©ºÑº·Õè 2 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 - ¾ÄÉÀÒ¤Á 2558 27
จากแผนภูมทิ ี่ 1 จะเห็นวาผลจากแบบทดสอบในเรือ่ งสวนขยายนามของนักศึกษาทีอ่ ยูใ นชัน้ ปทสี่ งู ขึน้ จะสามารถ
ทําคะแนนไดดีกวานักศึกษาที่อยูในชั้นปที่ตํ่ากวา ดังนี้ ชั้นปที่ 3 ไดผลคะแนนสูงที่สุด คือ การใชสวนขยายนาม
ที่มีคําเดียว คิดเปนรอยละ 42.6 การใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา คิดเปนรอยละ 36.4 ชั้นปที่ 2 ไดผลคะแนน
รองลงมา คือ การใชสว นขยามนามทีม่ คี าํ เดียว คิดเปนรอยละ 35.4 การใชสว นขยายนามทีม่ หี ลายคํา คิดเปนรอยละ
30.3 ชัน้ ปที่ 1 ไดผลคะแนนนอยทีส่ ดุ คือ การใชสว นขยายนามทีม่ คี าํ เดียว คิดเปนรอยละ 32.9 การใชสว นขยายนาม
ที่มีหลายคํา คิดเปนรอยละ 15.2

‡³ÂœœÁŒ¨¸É¥„µ¦Äo­nªœ…¥µ¥œµ¤…°Šœ´„«¹„¬µš¸É¤¸¡ºÊœ“µœ£µ¬µ‹¸œšo°Š™·Éœ
60
50
40
30
20
10
0

­nªœ…¥µ¥œµ¤š¸É¤¸‡ÎµÁ—¸¥ª ­nªœ…¥µ¥œµ¤š¸É¤¸®¨µ¥‡Îµ

แผนภูมิที่ 2: คะแนนเฉลี่ยของการใชสวนขยายนามของนักศึกษาที่มีพื้นฐานภาษาจีนทองถิ่น

จากแผนภูมิที่ 2 จะเห็นวาผลจากแบบทดสอบในเรื่องสวนขยายนาม นักศึกษาที่มีพื้นฐานภาษาจีนทองถิ่น


จะสามารถทําคะแนนไดดกี วานักศึกษาทีไ่ มมพี นื้ ฐาน ดังนี้ นักศึกษาทีม่ เี ชือ้ สายจีนและสามารถพูดภาษาจีนทองถิน่
ไดผลคะแนนสูงที่สุด คือ การใชสวนขยายนามที่มีคําเดียว คิดเปนรอยละ 48.2 การใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา
คิดเปนรอยละ 48.1 นักศึกษาที่มีเชื้อสายจีนแตไมสามารถพูดภาษาจีนทองถิ่นได ไดผลคะแนนรองลงมา คือ การใช
สวนขยามนามที่มีคําเดียว คิดเปนรอยละ 33.4 การใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา คิดเปนรอยละ 18.3 นักศึกษา
ทีไ่ มมเี ชือ้ สายจีน และไมสามารถพูดภาษาจีนทองถิน่ ได ไดผลคะแนนนอยทีส่ ดุ คือ การใชสว นขยามนามทีม่ คี าํ เดียว
คิดเปนรอยละ 31.3 การใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา คิดเปนรอยละ 19.5

สรุป
จากแบบทดสอบในเรือ่ งสวนขยายนามครัง้ นี้ จะเห็นไดวา ผลคะแนนของนักศึกษามหาวิทยาลัยฟารอสี เทอรน
ไมวาจะเปนผลคะแนนของการใชสวนขยายนามที่มีคําเดียวหรือการใชสวนขยายนามที่มีหลายคํา มีผลคะแนน
ที่ไมสูงนัก เรียกไดวาเปนจุดออนหนึ่งของการเรียนการสอนภาษาจีน เหตุผลหนึ่งที่นาสนใจในการเรียนการสอน

ÇÒÃÊÒÃÇÔªÒ¡ÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¿ÒÏÍÕÊà·ÍϹ
28 »‚·Õè 8 ©ºÑº·Õè 2 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 - ¾ÄÉÀÒ¤Á 2558
ภาษาจีนคือ นักศึกษาที่อยูในชั้นปที่สูงขึ้นจะสามารถใชสวนขยายนามภาษาจีนไดดีกวานักศึกษาที่อยูในชั้นปที่ตํ่า
กวา และคะแนนที่สูงสุดอยูในนักศึกษาชั้นปที่ 3 คือ การใชสวนขยายนามที่มีคําเดียว คิดเปนรอยละ 42.6 การใช
สวนขยายนามทีม่ หี ลายคํา คิดเปนรอยละ 36.4 โดยเฉพาะการใชสว นขยายนามทีม่ หี ลายคํา ผลคะแนนแบบทดสอบ
ของนักศึกษาในแตละชั้นปจะแตกตางกันมาก เพราะวาการเรียนรูคําศัพท และไวยากรณจีนที่มากขึ้นตามลําดับ
ชั้นป โดยคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาชั้นปที่ 3 มากกวานักศึกษาชั้นปที่ 1 คิดเปนรอยละ 21.2 อีกหนึ่งเหตุผลที่ผูเขียน
คนพบ คือ นักศึกษาเชื้อสายจีนที่สามารถพูดภาษาจีนทองถิ่นได ชวยการเรียนเรื่องสวนขยายนามไดดี จากผลการ
ทดสอบ นักศึกษาที่มีพื้นฐานภาษาจีนทองถิ่นจะสามารถทําคะแนนไดดีกวานักศึกษาที่ไมมีพื้นฐาน คิดเปนรอยละ
28.6 เนื่องจากภาษาจีนกลางและภาษาจีนทองถิ่นมีโครงสรางภาษาที่คลายคลึงกัน โดยเฉพาะอยางยิ่งโครงสราง
การใชคําขยายนาม
ดังนั้น ผูเขียนขอเสนอแนะแนวทางในการเรียนการสอนภาษาจีนที่เกี่ยวกับการใชสวนขยายนาม ดังนี้
1. ชีใ้ หนกั ศึกษาเห็นความแตกตางของการใชสว นขยายนามภาษาไทยและภาษาจีนอยางชัดเจน โดยเฉพาะ
อยางยิ่งโครงสรางการใชสวนขยายนามในการสนทนาและการเขียน
2. หากนักศึกษามีพนื้ ฐานภาษาจีนเบือ้ งตนจะสงผลใหการเรียนรูเ รือ่ งการใชสว นขยายนามไดเขาใจและเร็ว
ยิ่งขึ้น นอกจากนี้หากนักศึกษามีคลังคําศัพทภาษาจีนมากพอ ก็จะทําแบบทดสอบไดงายขึ้น
3. หากนักศึกษาที่มี่เชื้อสายจีนและพูดภาษาจีนทองถิ่นได จะทําใหไดเปรียบในการเรียนรูเรื่องการใชสวน
ขยายนาม และขอควรระวังสําหรับนักศึกษาทีม่ เี ชือ้ สายจีน คือ ความเคยชินของการใชภาษาจีนทองถิน่ อาจจะทําให
เกิดขอผิดพลาดในการใชภาษาจีนกลาง ดังนัน้ ผูส อนจึงตองศึกษาภาษาจีนทองถิน่ เพิม่ เติม เพือ่ แกไขปญหาดังกลาว

เอกสารอางอิง
Fang, Yuqing. (2008). A Practical Chinese Grammar. ( 实用汉语语法). Beijing: Peking Language
University Press.
He, Yuanjian. (2010). A Generative Grammar of Mandarin Chinese. (现代汉语生成语法).
Beijing: Peking University Press.
Kittithon Yongprapat. (2000). Taiguo Xuesheng Hanyu Dingyu Shunxu de Pianwu Fenxi ji qi Xide Shunxu.
Master of Art. (泰国学生汉语定语顺序的偏误分析及其习得顺序)
Beijing: Modern Chinese Major, Faculty of Culture, Beijing Language and Culture University.
Yang, Defeng. (2009). Essential Grammar on Teaching Chinese as a Second Language.
(对外汉语教学核心语法). Beijing: Peking University Press.
Zhu, Hua & Zeng, Shaocong. (2010). An Analysis of Some Chinese Word Order Errors by Thai Students
and the Relevant Teaching Strategies. (泰国学生汉语语序学习的偏误分析及教学对策).
Academic Journal of Yunnan Normal University. 2010(8),78-84.

ÇÒÃÊÒÃÇÔªÒ¡ÒÃÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑ¿ÒÏÍÕÊà·ÍϹ
»‚·Õè 8 ©ºÑº·Õè 2 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2557 - ¾ÄÉÀÒ¤Á 2558 29

You might also like