You are on page 1of 26

บทที่ 1

รังสีอาทิตย์ และการวัด

1.1 ดวงอาทิ ตย์

ดวงอาทิตย์เป็ นกลุ่มก๊าซร้อนรูปทรงกลมที่มคี วามหนาแน่ นสูง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง


ประมาณ 1.39  109 เมตร และมีระยะห่างเฉลีย่ จากโลกประมาณ 1.5  1011 เมตร เมื่อสังเกต
จากโลก ดวงอาทิตย์จะใช้เวลาในการหมุนรอบแกนตัวเองประมาณ 4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม
การหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็ นการหมุนแบบของแข็ง กล่าวคือบริเวณศูนย์สูตร
จะใช้เวลาประมาณ 27 วันและประมาณ 30 วันสาหรับบริเวณขัว้
ดวงอาทิต ย์เปรียบเสมือ นวัต ถุ ด าที่อุ ณ หภู มิป ระสิท ธิผ ล 5,777 K อุ ณ หภู มิภ ายใน
บริเวณศูนย์กลางของดวงอาทิตย์มคี ่าประมาณ 8  106 ถึง 40  106 K และมีความหนาแน่ น
ประมาณ 100 เท่ า ของความหนาแน่ น ของน้ า ดวงอาทิ ต ย์ เ ปรีย บได้ กับ เตาปฏิ ก รณ์ ท่ี
เกิดปฏิกริ ยิ าฟิ วชันของก๊าซทีเ่ ป็ นส่วนประกอบอย่างต่อเนื่อง พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ าทีแ่ ผ่
ออกจากดวงอาทิตย์เป็ นพลังงานทีไ่ ด้จากปฏิกริ ยิ าการแตกตัวหลายชนิด ปฏิกริ ยิ าทีส่ าคัญทีส่ ุด
ปฏิกริ ยิ าหนึ่ง คือ การรวมตัวกันของไฮโดรเจนเป็ นฮีเลียม มวลของนิวเคลียสของฮีเลียมมีค่า
น้อยกว่ามวลของไฮโดรเจนสีต่ วั รวมกัน ดังนัน้ มวลส่วนที่หายไป คือ มวลที่เปลี่ยนรูปไปเป็ น
พลังงาน พลังงานนี้จะเกิดขึ้นที่ภายในดวงอาทิตย์ท่อี ุณหภูมหิ ลายล้านเคลวิน พลังงานนี้จะ
ถ่ายเทมาทีผ่ วิ ของดวงอาทิตย์ และแผ่ออกจากผิวสูอ่ วกาศ
รูปที่ 1.1.1 แสดงโครงสร้างของดวงอาทิตย์ ประมาณ 90 % ของพลังงานทีป่ ลดปล่อย
จากดวงอาทิตย์จะเกิดทีบ่ ริเวณแกนกลางดวงอาทิตย์ถงึ ทีบ่ ริเวณ 0.23 R (เมื่อ R คือ รัศมีของ
ดวงอาทิตย์) ซึ่งบริเวณดังกล่าวนี้มมี วลประมาณ 40 % ของมวลทัง้ หมดของดวงอาทิตย์ จาก
จุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ไปถึงบริเวณ 0.7 R อุณหภูมจิ ะลดลงเหลือประมาณ 130,000 K
และความหนาแน่ นจะลดลงเหลือ 70 kg.m-3 ภายในช่วงบริเวณนี้ (0 – 0.7 R) กระบวนการ
ถ่ายเทความร้อนโดยการพา ทีเ่ ริม่ ต้นจะมีบทบาทสาคัญ และสาหรับบริเวณ 0.7 R ถึง 1 R จะ
เรียกว่า บริเวณของการพาความร้อน (Convection Zone) ซึง่ ภายในบริเวณนี้อุณหภูมจิ ะลดลง
เหลือประมาณ 5,000 K และมีความหนาแน่นประมาณ 10-5 kg.m-3
2

Corona T = ~10 K
 = very low
Chromosphere T = 5000 K +
Reversing layer
Hundreds of km

T = 5000 K, = 10-5 kg/m3


Photosphere (upper layer
40% of mass of the convective zone,
15% of volume so urc e of most solar
90% of energy generated
radiation)
R
0.23R r
T = ~ 8-40 x 106 K
0.7R  = 105 kg/m3
Convection zone
T = 130,000 K, = 70 kg/m3

รูปที่ 1.1.1 โครงสร้างของดวงอาทิตย์ [Duffie & Beckman (1991)]

1.2 ค่าคงที่แสงอาทิ ตย์ (The Solar Constant)

โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยทีว่ งโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่เป็ นวงกลม ด้วยเหตุ


นี้ระยะห่ างระหว่างโลก และดวงอาทิต ย์ จึงมีค่าไม่เท่ากันที่เวลาใดๆ โดยมีค่าเปลี่ยนแปลง
ประมาณ 1.7 % ระยะห่างเฉลีย่ ระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ มีค่าประมาณ 1.495  1011 เมตร
ค่าความเข้มรังสีอาทิตย์ท่ตี กกระทบตัง้ ฉาก กับพื้นที่หนึ่งหน่ วยเหนือบรรยากาศโลกที่เวลา
ต่างกัน จึงมีค่าไม่เท่ากัน ค่าคงที่แสงอาทิตย์ (Solar Constant, Gsc ) คือ ค่าความเข้มของรังสี
อาทิตย์ทร่ี ะยะห่างเฉลีย่ ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึง่ มีค่าประมาณ 1,367 W.m-2

1.3 การแปรเปลี่ยนของรังสีอาทิ ตย์ที่ตกกระทบเหนื อบรรยากาศโลก

สาเหตุหลัก 2 ประการที่ทาให้พลังงานแสงอาทิตย์ท่ีตกกระทบเหนือบรรยากาศโลก
(Extraterrestrial Radiation) มีค่าไม่คงที่คอื การเปลี่ยนแปลงของค่ารังสีท่ีปลดปล่อยจากดวง
อาทิ ต ย์ และการเปลี่ ย นแปลงของระยะห่ า งระหว่ า งโลกกับ ดวงอาทิ ต ย์ เนื่ อ งจากการ
เปลีย่ นแปลงของพลังงานทีป่ ลดปล่อยจากดวงอาทิตย์มคี ่าน้อยมาก (น้อยกว่า  1.5 %) ดังนัน้
การเปลี่ยนแปลงของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ จึงเป็ นสาเหตุเดียวที่ทาให้พลังงาน
แสงอาทิต ย์ท่ีตกกระทบเหนือ บรรยากาศโลกมีค่าไม่ค งที่ การเปลี่ยนแปลงของปริมาณรังสี
อาทิตย์เหนือบรรยากาศโลกจะอยู่ในช่วง  3 % สามารถเขียนความสัมพันธ์ระหว่างพลังงาน
3

แสงอาทิตย์ท่ตี กกระทบตัง้ ฉากกับพื้นที่หนึ่งหน่ วยเหนือบรรยากาศโลก G on ที่วนั ลาดับที่ n


ของปี และค่าคงทีแ่ สงอาทิตย์ได้ดงั สมการ

  360n 
Gon=Gsc 1+0.033cos  (1.3.1)
  365 

J F M A M J J A S O N D
Month
รูปที่ 1.3.1 การเปลีย่ นแปลงของพลังงานแสงอาทิตย์ทต่ี กกระทบพืน้ ทีห่ นึ่งตารางเมตร
เหนือบรรยากาศโลกในวันต่างๆ ตลอดปี [Duffie & Beckman (1991)]

1.4 สมดุลพลังงานโลก

สมดุลพลังงานโลก (Global Energy Balance) คือ สมดุลระหว่างพลังงานที่โลกได้รบั


จากดวงอาทิตย์ และความร้อนที่ออกไปจากโลก สมดุลพลังงานโลกควบคุมสภาพฤดูกาลของ
โลก ธรรมชาติ และมนุ ษ ย์ เป็ นตัวการที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมดุลพลังงาน เป็ น
สาเหตุทาให้ฤดูกาลของโลกเปลีย่ นไป
พลังงานทีป่ ลดปล่อยจากดวงอาทิตย์เป็ นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้ ามีอุณหภูมปิ ระมาณ 6000 ๐
C ทีอ่ ุณหภูมนิ ้ีรงั สีแม่เหล็กไฟฟ้ าถูกปล่อยออกมาในรูปของแสงคลื่นสัน้ และคลื่นแสงอุลตราไว
โอเลต ซึ่งเป็ นรังสีคลื่นสัน้ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้ าเดินทางข้ามอวกาศด้วยความเร็วแสง เมื่อมายัง
โลกบางส่ ว นสะท้อ นกลับ ไปยัง เหนื อ ชัน้ บรรยากาศโดยเมฆ บางส่ ว นถู ก ดู ด กลืน โดยชัน้
บรรยากาศ และพื้น ผิว โลกในขณะเดียวกันโลกปล่ อ ยพลังงานจานวนมากที่ได้รบั จากดวง
อาทิตย์กลับไปยังอวกาศแต่เนื่องจากโลกเย็นกว่าดวงอาทิตย์มากทาให้มกี ารแผ่รงั สีในรูปของ
รังสีอนิ ฟาเรด หรือรังสีความร้อน ซึ่งเป็ นรังสีคลื่นยาว ดังนัน้ สมดุลพลังงานโลกจะเกี่ยวข้องกับ
สมดุลพลังงานของรังสีคลื่นสัน้ และรังสีคลื่นยาว
พลัง งานคลื่น สัน้ ที่ ม าจากดวงอาทิ ต ย์ (Solar or short wave radiation) 100 ส่ ว น
ส่ ง ผ่ า นมายัง ส่ ว นบนของชั น้ บรรยากาศผ่ า นเข้ า ไปในบรรยากาศ ก๊ า ซ และโอโซน ใน
บรรยากาศดูดกลืนรังสีคลื่นสัน้ จานวน 25 ส่วน เมฆในบรรยากาศ และพื้นผิวโลกสะท้อนรังสี
4

คลื่นสัน้ กลับไปยังอวกาศ จานวน 25 และ 5 ส่วน ตามลาดับ บางส่วนถูกดูดกลืนโดยพืน้ ผิวโลก


จานวน 45 ส่วน ปริมาณรังสีคลื่นสัน้ ทีส่ ะท้อนกลับขึน้ อยู่กบั แฟกเตอร์การสะท้อนแสง (albedo
or reflectivity) ค่าการสะท้อนแสงเปลี่ยนไปตามพื้นผิว สาหรับบริเวณน้ าแข็ง และเมฆ มีค่ า
การสะท้อนแสงสูงประมาณ 0.6 – 0.9 ขณะที่มหาสมุทรโดยทัวไป ่ มีค่าต่าประมาณ 0.1 และ
สาหรับผิวโลกโดยทัวไปเฉลี
่ ย่ ประมาณ 0.3 นันหมายความว่
่ า 30 เปอร์เซ็นต์ ของรังสีอาทิตย์ท่ี
ได้รบั จะเกิดการสะท้อนกลับ ก๊ าซเรือ นกระจกในบรรยากาศดูดกลืนรังสีค ลื่นยาว 100 ส่ว น
(บรรยากาศประกอบไปด้วยก๊าซเรือนกระจกจานวนหนึ่ง ซึ่งมีผลกระทบต่อสมดุลพลังงานของ
โลกกับดวงอาทิตย์ ในปั จจุบนั อุณหภูมโิ ลกเฉลี่ยสูงกว่า 33 ๐C ก๊าซเรือนกระจกดูดกลืนรังสี
แม่ เหล็ก ไฟฟ้ าบางช่ ว งคลื่น ไว้แ ต่ ย อมให้บ างช่ ว งคลื่น ผ่ านได้ ) โดยแผ่ รงั สีค ลื่น ยาวมายัง
พื้นผิวโลก 88 ส่วน และอีก 12 ส่วนถูกสะท้อนกลับจากชัน้ บรรยากาศ (ก๊าซเรือนกระจกและ
เมฆ) สู่อวกาศ การพา และการระเหยความร้อนจากผิวโลกสู่บรรยากาศ 29 ส่วน นอกจากนัน้
พืน้ ผิวโลกสามารถปล่อยรังสีคลื่นยาวผ่านทะลุชนั ้ บรรยากาศออกสูอ่ วกาศได้โดยตรง 4 ส่วน
พลังงานทีโ่ ลกได้รบั จากดวงอาทิตย์สมดุลกับพลังงานทีโ่ ลกสูญเสียไปสูน่ อกบรรยากาศ
ในลัก ษณะเช่ น นี้ โลกรัก ษาอุ ณ หภู มิเฉลี่ย ให้ ค งที่ และมีผ ลท าให้ฤ ดู ก าลไม่ เปลี่ย นแปลง
ถึงแม้ว่าวิถที างจะแตกต่างในแต่ละสถานทีท่ วโลกั่

1.5 ประเภทของรังสีที่ผิวโลกและมวลอากาศ

รังสีตรง (Beam or Direct Radiation) คือ รังสีท่มี าจากดวงอาทิตย์โดยตรง และตกลง


บนผิวรับแสง มีทศิ ทางแน่นอนทีเ่ วลาหนึ่งเวลาใด ทิศทางของรังสีตรงอยู่ในแนวลาแสงอาทิตย์
รังสีกระจาย (Diffuse Radiation) คือ รังสีอาทิตย์ส่วนที่ถูกสะท้อนจากบรรยากาศของ
โลกและวัตถุต่างๆ ทีอ่ ยู่ในทางเดินของแสงก่อนตกกระทบผิวรับแสง รังสีกระจายนี้มาจากทุก
ทิศทางของท้องฟ้ า
รังสีรวม (Total or Global Radiation) คือ ผลรวมของรังสีต รง และรังสีกระจายที่ต ก
กระทบผิว รับ แสง ในกรณี ท่ีผ ิว รับ แสงเป็ นแผ่ น ราบที่ว างเอีย งกับ แนวระดับ รัง สีร วมจะ
ประกอบด้วยรังสีตรงจากท้องฟ้ า รังสีกระจายจากท้องฟ้ า และผิวโลก เรียกรังสีรวมนี้ว่า Total
Radiation สาหรับกรณีท่ผี วิ รับแสงเป็ นแผ่นราบที่วางในแนวระดับ รังสีรวมจะมาจากครึง่ ทรง
กลมท้องฟ้ าไม่มสี ว่ นทีม่ าจากผิวโลก เรียกรังสีรวม ในกรณีน้วี ่า Global Radiation
มุมซีนิธ (Zenith Angle,  z ) คือ มุมระหว่างแนวตัง้ ฉากกับระนาบระดับ และแนวล า
แสงอาทิตย์
มวลอากาศ (Air Mass, m ) คือ สัดส่วนของความหนาของบรรยากาศที่รงั สีตรงส่อ ง
ผ่ าน ต่ อ ความหนาของบรรยากาศ เมื่อ ดวงอาทิต ย์อ ยู่ท่ีต าแหน่ งเหนื อ ศีรษะ บริเวณนอก
5

บรรยากาศก าหนดให้มวลอากาศ มีค่ าเท่ากับศูน ย์ ถ้ามุมซีนิ ท มีค่ าระหว่าง 0๐ ถึง 70๐ จะ


สามารถหาค่ามวลอากาศทีร่ ะดับน้ าทะเลได้จากความสัมพันธ์

m = sec θ z (1.5.1)

จากสมการ (1.5.1) จะเห็นได้ว่าที่ระดับน้ าทะเล เมื่อดวงอาทิตย์อยู่เหนือศีรษะ (  z = 0๐) จะได้


มวลอากาศเท่ากับ 1 และเมื่อมุมซีนิธเท่ากับ 60๐ มวลอากาศจะเท่ากับ 2 กรณีทด่ี วงอาทิตย์อยู่
ใกล้ขอบฟ้ า หรือมุมซีนิทมีค่าสูงกว่า 70๐ ส่วนโค้งของผิวโลกจะมีผลต่อมวลอากาศ มวลอากาศ
สามารถหาได้จาก


m = 1229 + ( 614 sin α s ) 2 12
− 614 sin α s
(1.5.2)
= sin α s + 0.15( α s + 3.9 ) 
−1.253 −1

เมื่อ  s คือ มุมระหว่างพืน้ ราบกับแนวลาแสงอาทิตย์ และ  s +  z = 90๐


สมการที่ (1.5.1) และ (1.5.2) ใช้หาค่ามวลอากาศทีร่ ะดับน้าทะเล ในกรณีทต่ี อ้ งการหา
ค่ ามวลอากาศที่ระดับ สูงกว่า ระดับ น้ าทะเล h กิโลเมตร หรือ มีค วามดัน p มิล ลิบ าร์ มวล
อากาศสามารถหาจากสมการต่อไปนี้

 p 
m = mo   (1.5.3)
 1013 .25 
หรือ
m = mo (1− 0.1h) (1.5.4)

โดยที่ mo คือ มวลอากาศทีค่ านวณจากสมการ (1.5.1) หรือ (1.5.2)

1.6 เวลาสุริยะ
6

เวลาสุรยิ ะ (Solar Time) เป็ นเวลาทีข่ น้ึ อยู่กบั ตาแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ า เวลา


เที่ย งสุ ริย ะ (Solar Noon) คือ เวลาที่ด วงอาทิต ย์ข้ามเส้น เมอริเดีย นของต าแหน่ งที่ส ังเกต
สาเหตุทเ่ี วลาสุรยิ ะต่างจากเวลามาตรฐานท้องถิน่ (Standard Time) เนื่องมาจาก
- เส้น เมอริเดียนของต าแหน่ งที่ต้อ งการหาเวลาสุรยิ ะต่างกัน กับ เส้นเมอริเดียนที่ใช้
คานวณเวลามาตรฐานท้องถิน่ ดวงอาทิตย์ใช้เวลาประมาณ 4 นาที ต่อ 1 ลองจิจดู ทีเ่ ปลีย่ นไป
- การกวัดแกว่งของแกนหมุนของโลกมีผลต่อเวลาทีด่ วงอาทิตย์ขา้ มเส้นเมอริเดียนของ
ตาแหน่งทีส่ งั เกต ซึง่ การกวัดแกว่งนี้สามารถหาได้จากสมการเวลา (Equation of Time)
ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาสุรยิ ะ และเวลามาตรฐานสามารถหาได้ดงั นี้

SolarTime = StandardTime4(Lst − Llocal )+E (1.6.1)

เมื่อ Lst คือ เส้นเมอริเดียนที่ใช้คานวณเวลามาตรฐานท้องถิ่น , Llocal คือ เส้นเมอริเดียนของ


ตาแหน่ งที่ต้องการหาเวลาสุรยิ ะ และ E คือ สมการเวลา (นาที) สามารถหาได้จากรูปที่ 1.6.1
หรือจากสมการ (1.6.2) สาหรับเครื่องหมาย “” หน้าเทอมที่ 2 ทางขวามือ เป็ น (+) สาหรับซีก
โลกตะวันตก และ (-) สาหรับซีกโลกตะวันออก

E = 229 .2( 0.000075 + 0.001868 cos B − 0.032077 sin B


− 0.014615 cos 2 B − 0.04089 sin 2 B )
(1.6.2)
เมื่อ
B = (n − 1) 
360
(1.6.3)
365

และ n คือ วันลาดับที่ n ของปี (1 < n < 365)

รูปที่ 1.6.1 สมการเวลา E ในหน่วยนาที [Duffie & Beckman (1991)]

1.7 ทิ ศทางของรังสีตรง
7

ความสัม พัน ธ์ ท างเรขาคณิ ต ระหว่ า งระนาบของโลกที่เวลาใดๆ กับ รังสีต รง หรือ


ตาแหน่งของดวงอาทิตย์ เมื่อเทียบกับระนาบ สามารถอธิบายได้โดยใช้มุมต่างๆ ดังนี้
ละติจดู (Latitude, φ ) คือ มุมทีอ่ ยู่ทางทิศเหนือ หรือทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตร เมื่อวัดไป
ทางทิศเหนือกาหนดให้มคี ่าเป็ นบวก และเป็ นลบเมื่อวัดไปทางทิศใต้ ละติจูดมีค่าอยู่ระหว่าง -
90๐ ถึง 90๐
มุมเอียง (Slope,  ) คือ มุมระหว่างพื้นผิวของระนาบรับ แสงกับแนวระดับ มีค่ าอยู่
ระหว่าง 0๐ ถึง 180๐
มุมชัวโมง
่ (Hour Angle,  ) คือ มุม ที่แทนต าแหน่ งของดวงอาทิต ย์จากเมอริเดีย น
ท้องถิน่ ไปทางตะวันออก หรือตะวันตก มีค่าเป็ นลบในช่วงเวลาก่อนเที่ยงสุรยิ ะ และเป็ นบวก
หลังเทีย่ งสุรยิ ะ โดยมีค่า 15๐ ต่อหนึ่งชัวโมง

มุมเดคลิเนชัน (Declination Angle,  ) คือ มุมระหว่างแนวลาแสงอาทิต ย์ เมื่อเที่ยง
สุรยิ ะกับระนาบศูนย์สูตร กาหนดให้มคี ่าเป็ นบวกเมื่อวัดไปทางทิศเหนือ และมีค่าเป็ นลบเมื่อวัด
ไปทางทิศใต้ มุมเดคลิเนชันมีค่าเปลีย่ นไปทุกวัน ระหว่าง -23.45๐ ถึง 23.45๐ สามารถคานวณ
ได้จากสมการ

 ( 284 + n ) 
δ = 23.45sin 360  (1.7.1)
 365 

มุมอัลติจูดดวงอาทิตย์ (Solar Altitude Angle,  s ) คือ มุมระหว่างพื้นราบกับแนวลา


แสงอาทิตย์ มุมอัลติจดู ดวงอาทิตย์ทเ่ี วลาใดๆ สามารถคานวณได้จากสมการ

sin α s = cos φ cos δ cos ω + sin φ sin δ (1.7.2)

มุมอะซิมุธพื้นดิน (Surface Azimuth Angle,  ) คือ มุมระหว่างทิศใต้กบั ทิศทางการ


หันหน้าของแผงรับรังสีอาทิตย์ มีค่าอยู่ในช่วง -180๐ ถึง 180๐ โดยเป็ นศูนย์เมื่อหันไปทางทิศ
ใต้ เป็ นบวกเมื่อหันไปทางตะวันตก และเป็ นลบเมื่อหันไปทางตะวันออก
มุมอะซิมุธดวงอาทิตย์ (Solar Azimuth Angle,  s ) คือ มุมระหว่างระนาบแนวดิง่ ของ
ดวงอาทิตย์และระนาบของเมอริเดียนท้องถิน่ โดยกาหนดให้วดั จากทิศใต้ของระนาบแนวดิ่ง
ดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตกมีค่าเป็ นบวก วัดไปทางตะวันออกมีค่าเป็ นลบ และมีค่าเป็ นศูนย์ท่ี
ทิศใต้ มุมอะซิมุธดวงอาทิตย์มคี ่าอยู่ในช่วง -180๐ ถึง 180๐ สามารถคานวณได้จากสมการ

cos δ sin ω
sin γ s = (1.7.3)
cos α s
8

มุมตกกระทบ (Incidence Angle,  ) คือ มุมระหว่างแนวลาแสงอาทิตย์บนพื้นผิวกับ


แนวตัง้ ฉากของพื้นผิว ความสัมพันธ์ระหว่างมุมตกกระทบ และมุมอื่นๆ สามารถคานวณได้
จาก

cos θ = sin δ sin φ cos β − sin δ cos φ sin β cos γ


+ cos δ cos φ cos β cos ω
+ cos δ sin φ sin β cos γ cos ω
(1.7.4)
+ cos δ sin β sin γ sin ω

กรณีพน้ื ราบ (  = 0๐) มุมตกกระทบ คือ มุมซีนิธ

cos θ z = cos φ cos δ cos ω + sin φ sin δ (1.7.5)

สาหรับพืน้ ผิวรับแสงทีห่ นั หน้าไปทางเหนือในซีกโลกเหนือ สมการ (1.7.4) ลดรูปเป็ น

cos θ = cos (φ − β) cos δ cos ω + sin (φ − β) sin δ (1.7.6)

กรณีพน้ื ผิวรับแสงหันหน้าไปทางเหนือในซีกโลกใต้ จะได้

cos θ = cos (φ + β) cos δ cos ω + sin (φ + β) sin δ (1.7.7)

พื้นผิวรับแสง และมุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแสดงในรูปที่ 1.7.1 สามารถหามุมชัวโมงพระ



อาทิตย์ตก (Sunset Hour Angle,  s ) เมื่อ  z เท่ากับ 90๐

cos ω s = − tan φ tan δ (1.7.8)

และสามารถหาความยาวนานของวันได้จากสมการ

cos −1 (− tan φ tan δ )


2
N= (1.7.9)
15

หรืออาจหาเวลาทีพ่ ระอาทิตย์ตก และความยาวนานของวันได้จากโนโมแกรมในรูปที่ 1.7.2


9

Sun Zenith
Normal to horizontal
surface N
z

N
W 
s
W E
s

 s
S E
Sun
S

รูปที่ 1.7.1 พืน้ ผิวรับรังสีอาทิตย์ และมุมต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง [Duffie & Beckman (1991)]

รูปที่ 1.7.2 โนโมแกรมสาหรับหาความยาวนานของวัน และเวลาพระอาทิตย์ตก [Duffie & Beckman


(1991)]

1.8 รังสีอาทิ ตย์ที่ตกกระทบในแนวราบเหนื อบรรยากาศ

ที่เวลาใดๆ สามารถหาค่ารังสีอาทิตย์ท่ตี กกระทบในแนวราบเหนือบรรยากาศได้จาก


ความสัมพันธ์

  360n 
Go = Gsc 1 + 0.033 cos   cos θ z (1.8.1)
  365 
10

เมื่อ Gsc คือ ค่าคงที่แสงอาทิตย์ และ n คือ วันลาดับที่ n ของปี เมื่อแทนสมการ (1.7.5) ลง
ในสมการ (1.8.1) จะได้

  360n 
Go = Gsc 1 + 0.033 cos   (cos φ cos δ cos ω + sin φ sin δ ) (1.8.2)
  365 

ดังนัน้ สามารถหาค่ารังสีทต่ี กกระทบในแนวราบเหนือบรรยากาศ ณ วันทีใ่ ดๆ โดยการ


อินทิเกรตสมการ (1.8.2) ตัง้ แต่ดวงอาทิตย์ขน้ึ ถึงดวงอาทิตย์ตก

24  3600G sc   360n 
Ho = 1 + 0.033 cos  
π   365 
(1.8.3)
 πω S 
 cos φ cos δ sin ω s + sin φ sin δ
 180 

เมื่อ H o คือ ปริมาณรังสีอาทิตย์รายวันในแนวราบเหนือบรรยากาศ (J.m-2), Gsc คือ ค่าคงที่


แสงอาทิตย์ (1,367 W.m-2) และ  s คือ มุมชัวโมงพระอาทิ
่ ตย์ต ก (องศา) หาได้จากสมการ
(1.7.8)

1.9 อัตราส่วนรังสีตรงบนพื้นเอียงต่อรังสีตรงบนพื้นราบ

รูปที่ 1.9.1 แสดงมุมตกกระทบของรังสีตรงบนแผ่นราบในแนวระดับ และบนพื้นเอียง


ซึง่ อัตราส่วนรังสีตรงทีต่ กกระทบพืน้ เอียงต่อรังสีตรงทีต่ กกระทบในแนวระดับ ( Rb ) ทีเ่ วลาใดๆ
หาได้จากความสัมพันธ์

GbT G cos θ cos θ


Rb = = bn = (1.9.1)
Gb Gbn cos θ z cos θ z

โดยที่ GbT และ Gb คือ รังสีตรงทีต่ กกระทบระนาบเอียง และแนวระดับ ตามลาดับ สาหรับซีก


โลกเหนือ และแผงรับรังสีอาทิตย์หนั หน้าไปทางทิศใต้ จะได้ความสัมพันธ์

cos ( φ − β )cos δ cos ω + sin ( φ − β ) sin δ


Rb = (1.9.2)
cos φ cos δ cos ω + sin φ sin δ

และสาหรับซีกโลกใต้ และแผงรับรังสีอาทิตย์หนั หน้าไปทางทิศเหนือ


11

cos ( φ + β )cos δ cos ω + sin ( φ + β ) sin δ


Rb = (1.9.3)
cos φ cos δ cos ω + sin φ sin δ
GbT


G bn  z Gb G bn 

รูปที่ 1.9.1 รังสีตรงบนแผ่นราบในแนวระดับ และแนวเอียง [Duffie & Beckman (1991)]


สามารถคานวณค่าอัตราส่วนรังสีรวมทีต่ กกระทบพืน้ เอียงต่อรังสีรวมทีต่ กกระทบแผ่น
ราบในแนวระดับ ( R ) ได้จากสมการ (1.9.4) เนื่องจากเป็ นการคานวณตลอดทัง้ ชัวโมง ่ จึงใช้
สัญ ลัก ษณ์ I แทนสัญ ลักษณ์ G ซึ่งหมายถึง ค่ ารังสีอาทิตย์ สาหรับสัญ ลักษณ์ H ที่จะพบ
ต่อไป หมายถึง ปริมาณพลังงานของรังสีตลอดทัง้ วัน

IT
R= (1.9.4)
I

เมื่อ I T และ I คือ รังสีรวมรายชัวโมงที


่ ่ตกกระทบระนาบเอียง และในแนวระดับ ตามลาดับ
อาจแสดงในเทอมของรังสีตรง และรังสีกระจายได้ดงั นี้

Ib I
R= Rb + d Rd (1.9.5)
I I
โดยที่
I bT
Rb = (1.9.6)
Ib
และ
I dT
Rd = (1.9.7)
Id

เมื่อ Rb คือ อัต ราส่ ว นรัง สีต รงบนพื้ น เอีย งต่ อ รัง สีต รงบนพื้ น ราบในแนวระดับ , Rd คือ
อัตราส่วนรังสีกระจายบนพืน้ เอียงต่อรังสีกระจายบนพืน้ ราบในแนวระดับ , I bT และ I b คือ รังสี
ตรงรายชัวโมงที
่ ต่ กกระทบพื้นเอียง และพืน้ ราบในแนวระดับ ตามลาดับ และ I dT และ I d คือ
รังสีกระจายรายชัวโมงที
่ ต่ กกระทบพืน้ เอียง และพืน้ ราบในแนวระดับ ตามลาดับ
ถ้า  คือ อัตราการสะท้อนแสงของพืน้ ดิน

Ib I  1+ cos β   1- cos β 
R= Rb+ d  + ρ (1.9.8)
I I  2   2 
12

Liu & Jordan (1963) ได้แนะนาให้ใช้ค่าอัตราส่วนการสะท้อนแสงของพื้นดินประมาณ


0.2 สาหรับพืน้ ทีไ่ ม่มหี มิ ะปกคลุม และ 0.7 สาหรับพืน้ ทีท่ ห่ี มิ ะตกใหม่ๆ
สาหรับกรณีของค่าเฉลีย่ รายเดือนของค่ารายวัน สามารถหาค่า R ได้ดงั นี้

HT  H  H  1 + cosβ   1 − cosβ 
R= = 1 − d  Rb + d   + ρ  (1.9.9)
H  H  H  2   2 
และ
 H   1 + cosβ   1 − cosβ 
H T = H 1 − d  Rb + H d   + H ρ  (1.9.10)
 H   2   2 

สาหรับซีกโลกเหนือ

πωs
cos (φ − β ) cos δ sin ωS + sin (φ − β ) sin δ
Rb = 180
πω s
(1.9.11)
cos φ cos δ sin ω S + sin φ sin δ
180
เมื่อ
cos −1 (− tan φ tan δ ), 
ωs = min −1  (1.9.12)
cos (− tan (φ − β ) tan δ )

โดยที่ “ min ” หมายถึง จานวนทีม่ คี ่าน้อยกว่าของ 2 เทอมในวงเล็บ

สาหรับซีกโลกใต้

πωs
cos (φ + β ) cos δ sin ωS + sin (φ + β ) sin δ
Rb = 180
πω s
(1.9.13)
cos φ cos δ sin ω S + sin φ sin δ
180
และ
cos −1 (− tan φ tan δ ), 
ωs = min −1  (1.9.14)
cos (− tan (φ + β ) tan δ )

1.10 การประมาณค่ารังสีอาทิ ตย์


13

ข้อมูลรังสีอาทิตย์ท่ไี ด้จากการวัดเป็ นข้อมูลที่ดที ่สี ุดในการใช้ประมาณค่าปริมาณรังสี


อาทิตย์โดยเฉลี่ยที่ตกกระทบผิวโลก ในกรณีท่ไี ม่มขี อ้ มูลรังสีอาทิตย์สามารถประมาณค่ารังสี
อาทิตย์เฉลีย่ ได้โดยอาศัยความสัมพันธ์เชิงสถิตขิ องรังสีอาทิตย์กบั ชัวโมงที ่ ม่ แี ดด โดยทีบ่ ริเวณ
ที่ใช้ห าความสัม พันธ์ข องข้อ มู ล จะต้อ งมีล ักษณะภู มิป ระเทศใกล้เคีย งกับ บริเวณที่ต้อ งการ
ประมาณค่ารังสีอาทิตย์ ข้อมูลจานวนชัวโมงที ่ ่มแี ดดสามารถทาการเก็บได้ง่าย และมีการเก็บ
ข้อมูลนี้หลายสถานีทวประเทศั่ จึงเป็ นที่นิยมใช้ในการประมาณค่ารังสีอาทิตย์ โดยทัวไปการ ่
ประมาณค่ารังสีอาทิตย์มกั จะใช้ขอ้ มูลไร้มติ ใิ นการวิเคราะห์แทนการใช้ขอ้ มูลดิบ เนื่องจากการ
วิเคราะห์โดยใช้ขอ้ มูลไร้มติ จิ ะให้ค่าสัมประสิทธิสหสั ์ มพันธ์สูงกว่าการวิเคราะห์โดยใช้ขอ้ มูลดิบ
ตัวแปรไร้มติ ทิ ส่ี าคัญทีใ่ ช้ในการวิเคราะห์มดี งั นี้
ดัชนีเมฆรายชัวโมง ่ (Hourly Cloudiness Index, k T ) คือ อัต ราส่ว นระหว่างรังสีรวม
รายชัวโมงบนพื
่ ้นราบในแนวระดับ ( I ) ต่อค่ ารายชัวโมงของรั่ งสีอาทิต ย์ในแนวระดับเหนือ
บรรยากาศ ( I o )

I
kT = (1.10.1)
Io

ดัชนีเมฆรายวัน (Daily Cloudiness Index, K T ) คือ อัตราส่วนระหว่างรังสีรวมรายวัน


บนพืน้ ราบในแนวระดับ ( H ) ต่อค่ารายวันของรังสีอาทิตย์ในแนวระดับเหนือบรรยากาศ ( H o )

H
KT = (1.10.2)
Ho

ดัชนีเมฆเฉลี่ยรายเดือน ( KT ) คือ อัตราส่วนระหว่างค่าเฉลี่ยรายเดือนของค่ารายวัน


ของรังสีรวมบนพืน้ ราบในแนวระดับ ( H ) ต่อค่าเฉลีย่ รายเดือนของค่ารายวันของรังสีอาทิตย์ใน
แนวระดับเหนือบรรยากาศ ( H o )

H
KT = (1.10.3)
Ho

โดยที่ I , H และ H เป็ นค่าที่ได้จากการเก็บข้อมูลรังสีอาทิตย์ สาหรับ I o , H o และ


H o เป็ นค่าทีไ่ ด้จากการคานวณ
การประมาณค่ า รัง สีอ าทิ ต ย์ จ ะอ้ า งอิ ง จากความสัม พั น ธ์ เ ชิ ง เส้ น ของอัง สตรอม
(Angstrom) โดยความสัมพันธ์น้ีเป็ นความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลีย่ รายเดือนของค่ารายวันของ
14

รังสีอาทิตย์ต่อค่ารังสีอาทิตย์ในวันทีท่ อ้ งฟ้ าแจ่มใส และค่าเฉลีย่ ของชัวโมงที


่ ม่ แี ดด ซึ่งแสดงได้
ดังสมการ

H S 
= a  + b   (1.10.4)
Hc N 

เมื่อ Hc คือ ค่ าเฉลี่ยรายเดือ นของค่ ารายวัน ของรังสีอ าทิต ย์ในวัน ที่ท้อ งฟ้ าแจ่มใส, S คือ
ค่าเฉลีย่ รายเดือนของค่ารายวันของชัวโมงที
่ ม่ แี ดด และ N คือ ค่าเฉลีย่ รายเดือนของค่ารายวัน
ของความยาวนานของวัน
จากความสัม พัน ธ์ท่ีไ ด้พ บว่ าตัว แปรที่มีปั ญ หาในการหาค่ า ก็ค ือ Hc เนื่ อ งจากไม่
สามารถก าหนดมาตรฐานที่แ น่ นอนลงไปได้ว่า วันใด จึงเรียกได้ว่าเป็ นวันที่ท้อ งฟ้ าแจ่มใส
ดังนัน้ Page (1964) จึงได้ปรับปรุงโดยเปลีย่ นไปใช้ค่ารังสีอาทิตย์ทต่ี กกระทบเหนือบรรยากาศ
ในแนวระดับแทนการใช้ Hc รูปแบบของสมการจึงเปลีย่ นเป็ น

H S 
= a + b  (1.10.5)
Ho N 

เมื่อมีขอ้ มูลรังสีอาทิตย์ และความยาวนานของวัน ก็สามารถที่จะหาค่าคงที่ a และ b


ได้โดยวิธที างสถิติ เมื่อทราบค่า a และ b แล้วจะสามารถประมาณค่ารังสีอาทิตย์จากชัวโมงที
่ ่
มีแดดได้
พิชยั นามประกาย และคณะ (2532) ได้วเิ คราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนรังสี
รวมต่อรังสีนอกบรรยากาศกับอัตราส่วนระหว่างชัวโมงที
่ ม่ แี ดดต่อความยาวนานของวัน โดยใช้
ข้อ มูล ของกรุงเทพฯ ในช่ว งปี 2524-2531 ซึ่งวัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพ ระจอมเกล้าธนบุ รี
ได้ผลการวิเคราะห์ดงั นี้
กรณีใช้ค่ารังสีอาทิตย์รายวัน

S
KT = 0.327 + 0.439   (1.10.6)
N

กรณีใช้ค่ารังสีอาทิตย์เฉลีย่ รายเดือน

S 
KT = 0.297 + 0.389  (1.10.7)
N 
15

จิ ร ส รณ์ สั น ติ สิ ริ ส ม บู รณ์ (2536) แ ล ะ Hirunlabh et al. (1994) ได้ วิ เ ค ราะห์


ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนรังสีรวมรายวันต่อรังสีนอกบรรยากาศกับชัวโมงที ่ ่มแี ดด และ
ความยาวนานของวัน โดยใช้ขอ้ มูลจาก 4 สถานี คือ
- เชียงใหม่ ใช้ขอ้ มูลในช่วงปี 2526 ถึง 2531
- อุบลราชธานี ใช้ขอ้ มูลในช่วงปี 2527 ถึง 2531
- กรุงเทพฯ ใช้ขอ้ มูลในช่วงปี 2525 ถึง 2535
- หาดใหญ่ ใช้ขอ้ มูลในช่วงปี 2526 ถึง 2530
ทาการวิเคราะห์ในรูปแบบเชิงเส้น และโพลีโนเมียล

S
K T = a + b  (1.10.8)
N

2
S S
K T = a + b  + c   (1.10.9)
N N

และวิเคราะห์โดยใช้ขอ้ มูลเฉลีย่ รายเดือนของค่ารายวัน ทัง้ แบบเชิงเส้น และโพลีโนเมียล

S 
K T = a + b  (1.10.10)
N 

2
S  S 
KT = a + b  + c  (1.10.11)
N N

ผลการวิเคราะห์แสดงในตารางที่ 1.10.1 ถึง 1.10.4


ตารางที่ 1.10.1 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนรังสีรวมรายวันต่อรังสีนอกบรรยากาศ กับ
อัตราส่วนชัวโมงที
่ ม่ แี ดดต่อความยาวนานของวัน โดยใช้สมการ (1.10.8) [Hirunlabh et al. (1994)]

ค่าเฉลีย่
สัมประสิทธิ ์ ค่าคลาดเคลื่อน
สถานี a b ของ
สหสัมพันธ์ มาตรฐาน
KT

กรุงเทพ ฯ 0.3224 0.3697 0.8646 0.0876 0.5194


เชียงใหม่ 0.3302 0.4087 0.9194 0.1111 0.5727
อุบลราชธานี 0.3009 0.4076 0.9308 0.1006 0.5495
หาดใหญ่ 0.2978 0.3826 0.8000 0.0916 0.5088
16

ตารางที่ 1.10.2 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนรังสีรวมรายวันต่อรังสีนอกบรรยากาศ กับ


อัตราส่วนชัวโมงที
่ ม่ แี ดดต่อความยาวนานของวัน โดยใช้สมการ (1.10.9) [Hirunlabh et al. (1994)]

ค่าเฉลีย่
สัมประสิทธิ ์ ค่าคลาดเคลื่อน
สถานี a b c ของ
สหสัมพันธ์ มาตรฐาน
KT

กรุงเทพฯ 0.2873 0.4826 -0.1018 0.8916 0.0929 0.5194


เชียงใหม่ 0.3055 0.5556 -0.1426 0.9172 0.1117 0.5727
อุบลราชธานี 0.3042 0.3911 0.0152 0.9155 0.1006 0.5496
หาดใหญ่ 0.3195 0.2662 0.1174 0.8023 0.0919 0.5088

ตารางที่ 1.10.3 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนรังสีรวมรายวันต่อรังสีนอกบรรยากาศ กับ


อัตราส่วนชัวโมงที
่ ม่ แี ดดต่อความยาวนานของวัน โดยใช้สมการ (1.10.10) [Hirunlabh et al. (1994)]

ค่าเฉลีย่
สัมประสิทธิ ์ ค่าคลาดเคลื่อน
สถานี a b ของ
สหสัมพันธ์ มาตรฐาน
KT
กรุงเทพฯ 0.3149 0.3859 0.8724 0.0544 0.5082
เชียงใหม่ 0.3579 0.3531 0.9049 0.0625 0.5694
อุบลราชธานี 0.2626 0.4526 0.9369 0.0695 0.5534
หาดใหญ่ 0.2733 0.4344 0.8584 0.0416 0.5271

ตารางที่ 1.10.4 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนรังสีรวมรายวันต่อรังสีนอกบรรยากาศ กับ


อัตราส่วนชัวโมงที
่ ม่ แี ดดต่อความยาวนานของวัน โดยใช้สมการ (1.10.11) [Hirunlabh et al. (1994)]

สัมประสิทธิ ์ ค่าคลาดเคลื่อน ค่าเฉลีย่ ของ


สถานี a b c
สหสัมพันธ์ มาตรฐาน KT
กรุงเทพ ฯ 0.2613 0.5702 -0.1801 0.9096 0.0546 0.5082
เชียงใหม่ 0.3037 0.5635 -0.1841 0.9091 0.0628 0.5694
อุบลราชธานี 0.2938 0.3468 0.0844 0.9372 0.0695 0.5534
หาดใหญ่ 0.1761 0.7556 -0.2582 0.8599 0.0416 0.5271

1.11 การประมาณค่ารังสีกระจายจากรังสีรวม
17

พิชยั นามประกาย และคณะ (2532) ได้วเิ คราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่ วนรังสี


กระจายต่อรังสีรวม ( K D ) กับอัตราส่วนรังสีรวมต่อรังสีนอกบรรยากาศ ( K T ) โดยใช้ขอ้ มูลรังสี
อาทิตย์ในช่วงปี 2524-2531 ของกรุงเทพฯ ได้ผลดังนี้
กรณีใช้ขอ้ มูลรายวัน

K D = 1.663 − 7.307K T + 27.853K T2 − 49.639K T3 + 29.241K T4 ,


(1.11.1)
0.17  K T  0.75

กรณีใช้ขอ้ มูลเฉลีย่ รายเดือนของค่ารายวัน

K D = −83.06 + 629.84K T − 1759.50K T2 + 2164.0K T3 − 991.39K T4 ,


(1.11.2)
0.4  K T  0.6

จิ ร ส รณ์ สั น ติ สิ ริ ส ม บู รณ์ (2536) แ ล ะ Hirunlabh et al. (1994) ได้ วิ เ ค ราะห์


ความสัม พัน ธ์ระหว่ างอัต ราส่ว นรังสีก ระจายต่ อ รังสีรวมกับ อัต ราส่ว นรังสีรวมต่ อ รังสีน อก
บรรยากาศ โดยใช้ค่ารายวันและค่าเฉลี่ยรายเดือนของค่ารายวันของกรุงเทพฯ ในช่วงปี 2525-
2535 ซึง่ วัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

K D = 0.9853 + 0.1334K T − 1.2107K T2 − 3.9617K T3 + 4.3459K T4 ,


(1.11.3)
0.17  K T  0.75
และ
K D = −4.6408 + 26.5495K T − 28.3422K T2 − 31.4546K T3 + 46.4421K T4 ,
(1.11.4)
0.4  K T  0.6

1.12 การประมาณค่ารังสีอาทิ ตย์จากภาพถ่ายดาวเทียม

นอกจากการประมาณค่ ารังสีอ าทิต ย์โดยวิธีก ารในหัว ข้อ 1.10 และ 1.11 แล้ว อาจ
ประมาณค่ า รัง สีอ าทิต ย์ท่ีต กกระทบพื้น โลกจากภาพถ่ า ยดาวเทีย มอุ ตุ นิ ย มวิท ยาได้ ซึ่ ง
โดยทัวไปจะอาศั
่ ยหลักของสมดุลพลังงาน โดยมีตวั แปรต่างๆ ดังนี้

GO = ปริมาณรังสีอาทิตย์นอกบรรยากาศ
GG = ปริมาณรังสีอาทิตย์ทถ่ี ูกดูดกลืนโดยพืน้ โลก
GA = ปริมาณรังสีอาทิตย์ทถ่ี ูกดูดกลืนในชัน้ บรรยากาศ
GR = ปริมาณรังสีอาทิตย์ทส่ี ะท้อนกลับออกนอกบรรยากาศ
18

GS = ปริมาณรังสีอาทิตย์ทต่ี กกระทบพืน้ โลก


AS = อัตราการสะท้อนแสงของพืน ้ โลก (Surface Albedo)
ปริม าณรังสีอ าทิต ย์นอกบรรยากาศของโลก จะมีค่ าเท่ ากับ ผลรวมของปริม าณรังสี
อาทิตย์ทถ่ี ูกดูดกลืนโดยพืน้ โลก ปริมาณรังสีอาทิตย์ทถ่ี ูกดูดกลืนในชัน้ บรรยากาศ และปริมาณ
รังสีอาทิตย์ทส่ี ะท้อนกลับออกนอกบรรยากาศ ดังสมการ

GO = GG + G A + G R (1.12.1)

สมมติว่าปริมาณรังสีท่ถี ูกดูดกลืนในชัน้ บรรยากาศ และอัตราการสะท้อนแสงของพื้น


โลกมีค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลาที่ศึกษา จะได้สมการที่ใช้ในการประมาณค่ารังสี
อาทิตย์ คือ
GS G
= a+b R (1.12.2)
GO GO

เมื่อ a = (1 − G A GO ) (1 − AS ) และ b = −1 (1 − AS ) เป็ นค่ า คงที่ ห าได้ จ ากการวิเ คราะห์ ก าร


ถดถอยเชิงเส้นระหว่าง GS GO กับ G R GO , ค่า GS ได้จากการวัดโดยสถานีภาคพื้นดิน , G R
ได้จ ากข้อ มู ล ภาพถ่ า ยดาวเทีย ม, GO สามารถค านวณได้โดยสมการในหัว ข้อ 1.7, เทอม
GS GO เรีย กว่ า ค่ า สภาพการส่ ง ผ่ า นรัง สี ข องบรรยากาศ (Atmospheric Transmissivity),

เทอม G R GO อาจเรียกว่า ค่าการสะท้อน หรืออัลบีโด (Albedo, A ) ทีว่ ดั โดยดาวเทียม ดังนัน้

GS
= a + bA (1.12.3)
GO

วิธนี ้ีได้ถูกพัฒนา และใช้โดย Hay & Hanson (1978) ความสาเร็จของวิธีน้ี ขึ้นอยู่กบั


ความคงทีข่ องพารามิเตอร์ a และ b จากการวิเคราะห์โดยใช้หลักวิธที างกายภาพของ Nunez
(1983) พบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพ ลต่อ การส่งผ่ านรังสีมากที่สุ ด คือ การดูดกลืนของละอองใน
อากาศ รองลงมา คือ การสะท้อนรังสีของเมฆ การดูดกลืนรังสีของไอน้ า และการสะท้อนรังสี
ของพืน้ โลก ตามลาดับ
รังสิต ศรจิต ติ (2539) และ Hirunlabh et al. (1998) ใช้ข้อ มู ล จากดาวเทีย ม NOAA
ในช่วงคลื่น 0.725-1.1 m ประมาณค่ารังสีอาทิตย์ในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลรังสีอ าทิต ย์
รายวันภาคพื้นดินจาก 17 สถานี ทาการวิเคราะห์ขอ้ มูลของปี 2538 ได้ผลการวิเคราะห์แสดง
ในตารางที่ 1.12.1
ตารางที่ 1.12.1 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนรังสีรวมรายวันต่อรังสีนอก
บรรยากาศกับค่าอัลบีโด (%) [Hirunlabh et al. (1998)]
19

ค่า
สัมประสิทธิ ์ จานวนค่า
เดือน a b คลาดเคลื่อน
สหสัมพันธ์ สังเกต
มาตรฐาน
มกราคม 0.6024 -0.0594 0.7225 0.1287 13
กุมภาพันธ์ 0.5413 -0.0237 0.6421 0.0728 13
มีนาคม 0.6912 -0.0318 0.5543 0.0585 11
เมษายน 0.8049 -0.0196 0.4950 0.1208 16
พฤษภาคม 0.5862 -0.0216 0.4984 0.1049 14
มิถุนายน 0.6486 -0.0114 0.7585 0.0734 12
กรกฎาคม 0.5294 -0.0047 0.6271 0.0989 16
สิงหาคม 0.6740 -0.0118 0.7003 0.0630 13
ตุลาคม 0.8405 -0.0244 0.6966 0.0875 14
พฤศจิ ก าย
0.6315 -0.0113 0.8354 0.0736 17

ธันวาคม 0.7143 -0.0160 0.5979 0.1113 13

หมายเหตุ จานวนค่าสังเกตในแต่ละเดือนไม่เท่ากันเนื่องจากบางสถานีวดั ไม่มขี อ้ มูลรังสีอาทิตย์


ในบางวัน และเนื่องจากข้อมูลในเดือนกันยายนให้ความคลาดเคลื่อนสูงจึงไม่ได้แสดงผล

1.13 อุปกรณ์วดั พลังงานแสงอาทิ ตย์

การแผ่รงั สีอาทิตย์ทม่ี คี วามสาคัญต่อกระบวนการพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปความร้อน


จะพิจารณาใน 2 ช่วงความยาวคลื่น
1. รัง สี อ าทิ ต ย์ ห รื อ รั ง สี ค ลื่ น สั ้น (Solar or Short-Wave Radiation) เป็ น รัง สี ท่ี
ปลดปล่อยออกจากดวงอาทิตย์ มีความยาวคลื่นตัง้ แต่ 0.3 ถึง 3.0 m ซึ่งประกอบ
ไปด้วยรังสีตรงและรังสีกระจาย
2. รังสีค ลื่น ยาว (Long-Wave Radiation) เป็ น รังสีท่ีแผ่ อ อกจากแหล่ งก าเนิ ดความ
ร้อนทีอ่ ุณหภูมแิ วดล้อมปกติ มีความยาวคลื่นมากกว่า 3 m เช่น รังสีทแ่ี ผ่ออกจาก
บรรยากาศ ตัวเก็บรังสีอาทิตย์ หรือวัตถุต่างๆ ทีอ่ ุณหภูมปิ กติ
อุปกรณ์หลักที่ใช้ในการวัดพลังงานแสงอาทิตย์ประกอบด้วยอุปกรณ์ วดั รังสีรวม รังสี
ตรง รังสีกระจาย และชัวโมงที
่ ม่ แี ดดมีดงั นี้
1. ไพรานอมิเตอร์ เป็ นอุ ป กรณ์ ว ัด ค่ ารังสีรวม ปกติจ ะใช้ว ัด บนพื้น ราบ และอาจ
ประยุกต์ใช้วดั รังสีกระจายได้โดยติดแหวน หรือจานเงา
2. ไพร์เฮลิโอมิเตอร์ เป็ นอุปกรณ์วดั รังสีตรงจากดวงอาทิตย์
20

3. เครื่องบันทึกแดด เป็ นอุปกรณ์วดั จานวนชัวโมงที


่ ม่ แี ดด

ไพรานอมิ เตอร์ (Pyranometer)

ไพรานอมิเตอร์ เป็ นเครื่องมือวัดรังสีรวม โดยทัวไปประกอบด้่ วยตัวรับแสง (Detector)


ที่ประกอบด้วยเทอร์โมไพล์ (Thermopile) หลายชุดต่ออนุ กรมกัน ตัวรับแสงบรรจุอยู่ในโดม
แก้วครึ่งทรงกลม โดมแก้วนี้มีหน้าที่ป้องกันตัวรับแสงจากฝุ่น และลม ซึ่งจะทาให้ตวั รับแสง
สูญเสียความร้อนไปเนื่องจากการพา และการแผ่รงั สี ปกติโดมแก้วจะมี 2 ชัน้ ทาด้วยแก้วพิเศษ
ซึ่งจะต้องมีความหนาสม่าเสมอ เพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดการกระจายของรังสีทจ่ี ะตกกระทบตัวรับ
แสง เทอร์โมไพล์ ประกอบด้วยลวดโลหะต่างชนิดเชื่อมกันอยู่ ลวดโลหะแต่ละชิ้นข้างหนึ่งชุบ
เคลือบด้วยสีดาและอีกด้านหนึ่งชุบเคลือบด้วยสีขาวสลับกันไป ลวดโลหะด้านทีช่ ุบเคลือบด้วย
สีขาวจะมีสมบัตสิ ะท้อนรังสีอาทิตย์ท่ตี กกระทบ ลวดโลหะสีดามีสมบัตกิ ารดูดกลืนรังสีอาทิตย์
เมื่อมีแสงตกกระทบจะก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมขิ องผิวทัง้ สอง เนื่องจากโลหะ
ข้างหนึ่งดูดกลืนรังสีอาทิตย์ อีกข้างหนึ่งสะท้อนรังสีอาทิตย์ ทาให้เกิดแรงดันไฟฟ้ า เนื่องจาก
ปรากฏการณ์เทอร์โมอิเลคตริค โดยที่แรงดันไฟฟ้ าที่เกิดขึน้ นี้จะขึ้นกับความแตกต่างระหว่าง
อุณหภูมขิ องจุดเชื่อมโลหะขาว และดา ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมจิ ะขึ้นอยู่กบั ความเข้ม
แสงอาทิตย์ทต่ี กกระทบตัวรับแสง แรงดันไฟฟ้ าทีไ่ ด้จะมีค่าประมาณ 5-10 mV.cal-1.cm-2.min-1
ใต้โดมแก้วมีจานกลมสีขาวสวมอยู่ จานกลมนี้มหี น้าทีป่ ้ องกันรังสีกระจายที่สะท้อนจากพื้นดิน
และสิง่ แวดล้อม เพือ่ ทีจ่ ะให้รงั สีทเ่ี ข้าโดมเป็ นรังสีทม่ี าจากครึง่ ทรงกลมท้องฟ้ าเท่านัน้

รูปที่ 1.13.1 ไพรานอมิเตอร์

ในการที่จะวัดรังสีกระจายในแนวราบสามารถทาได้โดยใช้ไพรานอมิเตอร์ชนิดเดียวกับ
ทีใ่ ช้วดั รังสีรวม แต่จะต้องมีอุปกรณ์ทใ่ี ช้บงั รังสีตรงไม่ให้รงั สีตรงตกลงบนตัวรับแสง อุปกรณ์บงั
รังสีตรงทีส่ าคัญมี 2 ชนิดคือ
1. จานเงา (Shading Disc) มีล ัก ษณะเป็ น จานกลมเล็ก ซึ่งขับ ดัน โดยใช้เครื่อ งมือ
ติดตามแสงอาทิตย์ (Solar Tracking) โดยที่เงาของจานกลมจะตกลงบนผิวรับแสง
21

ตลอดทัง้ วัน และขนาดของเงาจะต้องมีขนาดพอดีกบั ผิวรับแสง เพื่อไม่ให้จานกลม


บังรังสีสว่ นอื่นทีไ่ ม่ใช่รงั สีตรง รังสีทต่ี กกระทบผิวรับแสง จึงเป็ นรังสีกระจายเท่านัน้
2. แหวนเงา (Shading Ring) มีลกั ษณะเป็ นส่วนของวงแหวนโดยที่วงแหวนนี้จะต้อง
วางให้มมี ุมเอียงเท่ากับเส้นรุง้ ของตาแหน่ งที่ต้องการวัด และจะต้องมีการขยับวง
แหวนให้เงาของวงแหวนตกลงบนผิวรับแสงตลอดเวลา
เนื่องจากวงแหวนมีขนาดใหญ่ เงาของวงแหวนนอกจากจะบังรังสีตรงแล้วยังบังรังสี
กระจายบางส่วนไม่ให้ตกกระทบตัวรับแสง ดังนัน้ จึงจะต้องมีค่าชดเชยรังสีกระจายทีว่ ดั ได้ โดย
ทีค่ ่าชดเชยนี้จะขึน้ อยู่กบั ขนาดของวงแหวน สถานทีต่ งั ้ และฤดูกาล
ถ้าสมมติว่ารังสีกระจายจากครึ่งทรงกลมท้องฟ้ ามีลกั ษณะสม่าเสมอตลอดทัง้ ท้องฟ้ า
(Isotropic) สามารถหาค่าชดเชยได้จากสมการ

2b  πω 
X= cos 3 δ s sin φ sin δ + cos φ cos δ sin ω s  (1.13.1)
πr  180 

เมื่อ X = สัดส่วนของรังสีจากครึง่ ทรงกลมท้องฟ้ าทีถ่ ูกวงแหวนบัง


b = ความกว้างของวงแหวน
r = รัศมีของวงแหวน
 = มุมเดคลิเนชันดวงอาทิตย์ (องศา)
φ = เส้นละติจดู ของสถานทีว่ ดั รังสี (องศา)
s = มุมชัวโมงพระอาทิ
่ ตย์ตก (องศา)

และสามารถหาค่ารังสีกระจายได้จาก

 1 
Rd =   R d ,Measure (1.13.2)
1− X 

เมื่อ Rd และ Rd , Measure คือ ค่ารังสีกระจายรายวันทีถ่ ูกต้อง (อาจจะเป็ นรายชัวโมง


่ หรือรายวันก็
ได้)และค่ารังสีกระจาย ทีว่ ดั ได้ ตามลาดับ
22

รูปที่ 1.13.2 ไพรานอมิเตอร์วดั รังสีกระจาย


ไพร์เฮลิ โอมิ เตอร์ (Pyrheliometer)
ไพร์เฮลิโอมิเตอร์ เป็ นอุปกรณ์ท่ใี ช้วดั รังสีตรง มีหลักการทางานคล้ายไพรานอมิเตอร์
แต่ไพร์เฮลิโอมิเตอร์ต่างจากไพรานอมิเตอร์ตรงทีม่ ชี ุดขับเคลื่อนตามดวงอาทิตย์ เพื่อทีจ่ ะให้ผวิ
รับแสงตัง้ ฉากกับลาแสงตลอดเวลา ผิวรับแสงติดอยู่ส่วนท้ายของท่อทีใ่ ห้แสงเข้า มุมรับแสงที่
ปากกล้องมีค่าไม่เท่ากันแล้วแต่บริษทั ผู้ผลิต พลังงานแสงอาทิตย์ท่ตี กกระทบ จึงเป็ นรังสีตรง
และรังสีกระจายรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งในทางปฏิบตั จิ ะถือว่ารังสีทว่ี ดั ได้เป็ นรังสีตรงอย่างเดียว

รูปที่ 1.13.3 ไพร์เฮลิโอมิเตอร์

เครื่องบันทึกแดด (Sunshine Recorder)


เครื่องบันทึกแดดวัดช่วงเวลาทีร่ งั สีตรงมีความเข้มสูงพอที่จะกระตุ้นเครื่องบันทึก โดย
ทีช่ ่วงเวลาทีว่ ดั ได้สนั ้ ทีส่ ุด คือ 0.1 ชัวโมง
่ การกระตุ้นเครื่องมือจะใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์
หรื อ ใช้ ป ฏิ กิ ริ ย าโฟ โต โวลต าอิ ค องค์ ก ารอุ ตุ นิ ยมวิ ท ยาโลก (World Meteorological
Organization, WMO) ใช้ เ ครื่อ งบั น ทึ ก แดดชนิ ด แคมป์ เบลล์ -สโตกส์ (Campbell-Stokes
Sunshine Recorder) เป็ นมาตรฐาน เครื่องบันทึกแดดชนิดนี้ ประกอบด้วยลูกแก้วทรงกลมขัด
ผิว มันเรีย บโดยที่แ กนของลู ก แก้ว จะขนานกับ แกนของโลก ทรงกลมแก้ว จะรวมรังสีให้ต ก
23

กระทบบนกระดาษพิเศษ ซึ่งมีช่วงเวลากากับ เมื่อดวงอาทิตย์เปลีย่ นตาแหน่ ง จุดรวมแสงบน


กระดาษก็จะเปลี่ยนต าแหน่ งไปด้ว ย ถ้าแสงมีค วามเข้มสูงก็จะทาให้กระดาษไหม้เป็ น แถ บ
ความยาวของแถบไหม้ บ นกระดาษจะสมนั ย กับ ช่ ว งเวลาที่ มีแ ดด (Sunshine Duration)
กระดาษแผ่นหนึ่งจะใช้บนั ทึกหนึ่งวัน และชนิดของกระดาษจะขึน้ กับฤดูกาล

รูปที่ 1.13.4 เครื่องบันทึกแดด

แบบฝึ กหัด

1. ทาไมการดารงชีวติ ของมนุษย์ในปั จจุบนั จึงส่งผลต่อสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ และสมดุล


พลังงานของโลก
2. ถ้ามวลของดวงอาทิตย์ลดลงในอัต รา 4  109 kg.s-1 และถ้าระยะห่างเฉลี่ยระหว่างดวง
อาทิตย์กบั โลกเท่ากับ 1.496  1011 m จงประมาณค่าคงทีแ่ สงอาทิตย์ (Solar Constant)
(คาตอบ 1280 W.m-2)
3. จากข้อ 2. ถ้าโลกมีอุ ณ หภู มิเฉลี่ย 20 ๐C จงประมาณค่ าอัต ราการสะท้อ นรังสีข องโลก
(Albedo)
(คาตอบ 33 %)
4. ณ กรุงเทพฯ (14 ๐N) วันที่ 30 มิถุนายน จงคานวณหาค่ารังสีอาทิตย์รายวันในแนวราบ
เหนือบรรยากาศ
(คาตอบ 38.05 MJ.m-2)
5. จงประมาณค่ ารังสีรวมรายวันเฉลี่ยของเดือนมิถุนายนที่กรุงเทพฯ บนพื้นเอียง 14๐ หัน
หน้าไปทางทิศใต้ โดยให้ระบุสมมติฐานอื่นๆ ทีใ่ ช้ในการคานวณถ้ามี
(คาตอบ 21.2 MJ.m-2)
24

สัญลักษณ์
A อัลบีโด
As อัตราการสะท้อนแสงของพืน้ โลก
b ความกว้างของวงแหวน, m
E สมการเวลา, min
G ความเข้มรังสีอาทิตย์, W.m-2
GA รังสีอาทิตย์ทถ่ี ูกดูดกลืนในชัน้ บรรยากาศ, MJ.m-2.day-1
Gb รังสีตรงทีต่ กกระทบพืน้ ราบ, W.m-2
GbT รังสีตรงทีต่ กกระทบพืน้ เอียง, W.m-2
GG รังสีอาทิตย์ทถ่ี ูกดูดกลืนโดยพืน้ โลก, MJ.m-2.day-1
GO รังสีอาทิตย์นอกบรรยากาศ, MJ.m-2.day-1
G on พลังงานแสงอาทิตย์ทต่ี กกระทบพืน้ ทีห่ นึ่งหน่วยเหนือบรรยากาศโลก, W.m-2
GR รังสีอาทิตย์ทส่ี ะท้อนกลับนอกบรรยากาศ, MJ.m-2.day-1
GS รังสีอาทิตย์ทต่ี กกระทบพืน้ โลก, MJ.m-2.day-1
G sc ค่าคงทีแ่ สงอาทิตย์, W.m-2
h ความสูง, km
H รังสีอาทิตย์รายวัน, J.m-2.day-1
Hc ค่าเฉลี่ยรายเดือนของค่ ารายวันของรังสีอ าทิต ย์ในวันที่ท้อ งฟ้ าแจ่มใส, J.m-
2.day-1

H ค่าเฉลีย่ รายเดือนของค่ารายวันของรังสีอาทิตย์บนพืน้ ราบ, J.m-2.day-1


I รังสีอาทิตย์รายชัวโมง,
่ J.m-2.h-1
kT ดัชนีเมฆรายชัวโมง

KT ดัชนีเมฆรายวัน
KT ค่าเฉลีย่ รายเดือนของ K T
KD อัตราส่วนรังสีกระจายต่อรังสีรวม
KD ค่าเฉลีย่ รายเดือนของ K D
L st เส้นเมอริเดียนมาตรฐานท้องถิน่
Llocal เส้นเมอริเดียนท้องถิน่
m , mo มวลอากาศ
25

n วันลาดับที่ n ของปี
N ความยาวนานของวัน, h
N ความยาวนานของวันเฉลีย่ รายเดือน, h
p ความดัน, mbar
r รัศมีของวงแหวน, m
R อัตราส่วนรังสีรวมทีต่ กกระทบพืน้ เอียงต่อรังสีรวมทีต่ กกระทบพืน้ ราบ
R ค่าเฉลีย่ รายเดือนของ R
Rb อัตราส่วนรังสีตรงบนพืน้ เอียงต่อรังสีตรงบนพืน้ ราบ
Rb ค่าเฉลีย่ รายเดือนของ Rb
Rd อัตราส่วนรังสีกระจายบนพืน้ เอียงต่อรังสีกระจายบนพืน้ ราบ
S ชัวโมงที
่ ม่ แี ดด, h
S ชัวโมงที
่ ม่ แี ดดเฉลีย่ รายเดือน, h
X สัดส่วนของรังสีจากครึง่ ทรงกลมท้องฟ้ าทีถ่ ูกวงแหวนบัง

สัญลักษณ์กรีก
s มุมอัลติจดู ดวงอาทิตย์, องศา
 มุมเอียง, องศา
 มุมอะซิมุทพืน้ ดิน, องศา
s มุมอะซิมุทดวงอาทิตย์, องศา
 มุมเดคลิเนชัน, องศา
 มุมตกกระทบ, องศา
z มุมซีนิท, องศา
 อัตราการสะท้อนแสงของพืน้ โลก
φ ละติจดู , องศา
 มุมชัวโมง,
่ องศา
s มุมชัวโมงพระอาทิ
่ ตย์ตก, องศา

สัญลักษณ์กากับล่าง
b รังสีตรง
d รังสีกระจาย
o เหนือบรรยากาศ
T พืน้ เอียง
26

เอกสารอ้างอิ ง

1. จิรสรณ์ สันติส ิรสิ มบูรณ์ , 2536, “การประเมินศักยภาพรังสีอาทิตย์สาหรับประเทศไทย”,


วิท ยานิ พ นธ์ป ริญ ญาวิท ยาศาสตรมหาบัณ ฑิต สาขาเทคโนโลยีพ ลังงาน มหาวิท ยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
2. พิชยั นามประกาย, ศิรชิ ยั เทพา และ จงจิตร์ หิรญ ั ลาภ, 2532, “การประมาณทางสถิตขิ อง
ค่ารังสีอาทิตย์สาหรับกรุงเทพ ฯ”, วารสารวิจยั และพัฒนา สจธ., ปี ท่ี 12, ฉบับที่ 2
3. รังสิต ศรจิตติ, 2539, “การประมาณค่ารังสีอาทิตย์จากภาพถ่ายดาวเทียมในประเทศไทย”,
วิท ยานิ พ นธ์ป ริญ ญาวิท ยาศาสตรมหาบัณ ฑิต สาขาเทคโนโลยีพ ลังงาน มหาวิท ยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4. Duffie, J.A. and Beckman, W.A., 1991, Solar Engineering of Thermal Processes, 2nd
edition, John Wiley & Sons, Inc., New York.
5. Hay, J.E. and Hanson, K.J., 1978, “A Satellite-Based Methodology for Determining
Solar Irradiance at the Ocean Surface during GATE”, Bulletin of the American
Meteorological Society, Vol.59.
6. Hirunlabh, J., Santisirisomboon, J. and Namprakai, P., 1994, “Assessment of Solar
Radiation for Thailand”, Proceedings of International Workshop: Calculation
Methods for Solar Energy Systems, 29-30 September, University of Perpignan,
France.
7. Hirunlabh, J., Sarachitti, R. and Namprakai, P., 1998, “Estimating Solar Radiation at
the Earth’s Surface from Satellite Data”, Thammasat International Journal of
Science and Technology, Vol. 3, No. 2.
8. Liu, B.Y.H. and Jordan, R.C., 1963, “The Long-Term Average Performance of Flat-
Plate Solar Energy Collectors”, Solar Energy, Vol. 7, No. 53.
9. Nunez, M., 1983, “Use of Satellite Data in Regional Mapping of Solar Radiation”, In
Szokology, S.V., Solar World Congress, Vol.4. The International Solar Energy
Society Congress, Perth.
10.Page, J.K., 1964, “The Estimation of Monthly Mean Values of Daily Total Short-
Wave Radiation of Vertical and Inclined Surfaces from Sunshine Records for
Latitudes 40๐ N-40๐ S.”, Proc. of the UN Conference on New Sources of Energy, 4,
378.

You might also like