You are on page 1of 100

แบบฝึกหัดประกอบการเรียนการสอน

กระบวนวิชา ๐๕๐๑๐๐
การใช้ภาษาไทย

ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ฉบับปรับปรุง ปีการศึกษา ๒๕๖๔


สารบัญ

แบบฝึกหัด การสะกดคำ ............................................................................................................. 1


แบบฝึกหัด การสะกดคำจากคำอ่าน ........................................................................................... 2
แบบฝึกหัด คำที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ........................................................................................ 3
แบบฝึกหัด คำทับศัพท์ ............................................................................................................... 4
แบบฝึกหัด คำลักษณนาม ........................................................................................................... 5
แบบฝึกหัด คำเชื่อม .................................................................................................................... 6
แบบฝึกหัด การเติมคำในเนื้อความ ............................................................................................. 8
แบบฝึกหัด การแก้ไขส่วนของประโยค ......................................................................................11
แบบฝึกหัด การแก้ไขประโยค ...................................................................................................12
บทอ่านและแบบฝึกหัด ความสำเร็จของชีวิตก็เหมือนกับการสร้างปิรามิด ................................13
แบบฝึกหัด การลำดับความ ......................................................................................................18
แบบฝึกหัด ประโยคใจความสำคัญ............................................................................................20
บทอ่านและแบบฝึกหัด มนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลี....................................................................25
แบบฝึกหัด การเขียนโครงเรื่อง กลิ่นรถใหม่ ภัยใกล้ตัว .............................................................33
แบบฝึกหัด การเขียนโครงเรื่อง ฟันสวยและวิธีการดูแลรักษาฟันให้สวย ...................................35
บทอ่านและแบบฝึกหัด ปลาในสำนวนไทย ...............................................................................37
บทอ่านและแบบฝึกหัด เวลาว่าง...............................................................................................45
บทอ่านและแบบฝึกหัด ทำไมผู้หญิงได้เงินเดือนน้อยกว่าผู้ช าย? ไขคำตอบด้วยผลวิจั ยทาง
เศรษฐศาสตร์ ............................................................................................................................49
บทอ่านและแบบฝึกหัด หิ่งห้อย: สัตว์น้อยเรืองแสง ..................................................................53
บทฟังและแบบฝึกหัด ทุเรียน: ราชาแห่งผลไม้ไทย ....................................................................57
บทฟังและแบบฝึกหัด สังเวียนเหล้า ..........................................................................................60
ภาคผนวก .................................................................................................................................62
บทอ่าน วิธีขยายความในย่อหน้า ..............................................................................................63
บทอ่าน การเขียนหลายย่อหน้า ................................................................................................65
บทอ่าน คำว่า “อาทิ, เช่น, เป็นต้น, ได้แก่” ..............................................................................70
ตัวอย่างการเขียนโครงเรื่องแบบหัวข้อ ......................................................................................72
ตัวอย่างการเขียนโครงเรื่องแบบประโยค...................................................................................73
บทอ่าน หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ...........................................................................74
1

แบบฝึกหัด
การสะกดคำ

ชี้แจง: จงขีดเส้นใต้คำที่สะกดถูกต้อง
1. กล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (นานับประการ, นานัปการ)
2. ลูกแมวทั้ง 2 ตัวที่ (ขะมุกขะมอม, ขมุกขมอม) ไปด้วยฝุ่นกำลังเล่นลูกบอลกันอยู่
3. คุณแม่มีฝีมือใน (การประดิษฐ์ประดอย, การประดิดประดอย) งานถักไหมพรม
4. ผู้กระทำความผิดยอมรับคำตัดสินของเจ้าหน้าที่ (โดยดุษณี, โดยดุษฎี)
5. (คริสต์ศาสนา, คริสตศาสนา) เป็นศาสนาที่นับถือและศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว
6. โศกนาฏกรรมในครั้งนี้มีสาเหตุมาจากเหตุการณ์ (รักสามเส้า, รักสามเศร้า)
7. ความเชื่อเรื่อง (เบญจเพศ, เบญจเพส) เป็นความเชื่อที่อยู่ในสังคมไทยมาช้านาน
8. (น้ำแข็งใส, น้ำแข็งไส) เป็นของหวานที่ช่วยดับกระหายและคลายร้อน
9. นักศึกษาจัดโครงการบริจาคสิ่งของให้แก่นักเรียนในถิ่น (ธุรกันดาล, ทุรกันดาร)
10. เครื่องหมาย (ดอกจัน, ดอกจันทน์) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง
11. (การปฏิสันฐาน, การปฏิสันถาร) หมายถึง การทักทายปราศรัยแขกผู้มาเยือน
12. วรรณกรรมเรื่องต่างๆ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มี (ลิขสิทธิ์, ลิกขสิทธิ์)
13. คุณครูชอบรับประทานลูกชิ้นปลาและ (แมงกะพรุน, แมงกระพรุน) ในเย็นตาโฟ
14. แม่ค้าจำหน่ายอาหารราคา (ย่อมเยา, ย่อมเยาว์) ให้แก่นักเรียนและนักศึกษา
15. โรค (บาทยัก, บาดทะยัก) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani
16. ครอบครัวของคุณป้าใช้จ่ายอย่าง (กระเบียดกระเสียร, กระเบียดกระเษียร)
17. บรรจุภัณฑ์ (สุญญากาศ, สูญญากาศ) ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้
18. กิจกรรมนี้ช่วยพัฒนา (เชาว์ปัญญา, เชาวน์ปัญญา) ของเด็กปฐมวัยได้
19. นิทานเรื่องนี้ปลูกฝังให้เด็กมีความรักและความเมตตา (ปรานี, ปราณี) ต่อสัตว์เลี้ยง
20. ผู้สมัครต้องเขียนเรียงความแสดง (เจตจำนง, เจตน์จำนงค์) ในการเข้าศึกษา
2

แบบฝึกหัด
การสะกดคำจากคำอ่าน

ชี้แจง: จงเขียนสะกดคำจากคำอ่านให้ถูกต้อง
1. โรงมหรสพแห่งนี้มี (อัด-ทะ-จัน) 3 ชั้นสำหรับนั่งชมการแสดงต่างๆ
2. นวนิยายเรื่องนี้ใช้ถ้อยคำรุนแรงในบางแห่งเพื่อเพิ่ม (อัด-ถะ-รส)
3. คุณพ่อมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน (กรม-มะ-ทัน)
4. ผู้บังคับบัญชาให้ทำ (ทัน-บน) ผู้กระทำผิดเป็นลายลักษณ์อักษร
5. เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลัง (คาด-คะ-เน) ความสูงของคนร้ายจากรอยเท้า
6. เครื่องหมาย (ทัน-ทะ-คาด) ใช้สำหรับฆ่าตัวอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง
7. คุณตาไปซื้อ (สาย-สิน) และทองคำเปลวที่ร้านขายสังฆภัณฑ์
8. ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นผลงาน (ทัด-สะ-นะ-สิน) ประเภทหนึ่ง
9. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนสามารถพักผ่อนได้ตาม (อัด-ทะ-ยา-ไส)
10. เครื่องใช้ที่จำเป็นของภิกษุ 8 อย่าง เรียกว่า (อัด-ถะ-บอ-ริ-ขาน)
11. คุณย่ามักจะ (สวด-มน) และแผ่เมตตาก่อนเข้านอนทุกคืน
12. จังหวัดนนทบุรีเป็นพื้นที่ในเขต (ปะ-ริ-มน-ทน) ของกรุงเทพมหานคร
13. (วัน-สาด-ไท) ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี
14. (วิด-ทะ-ยา-สาด) และเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กัน
15. กระจาดเป็น (เครื่อง-จัก-สาน) ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากไม้ไผ่
16. คุณครูรวบรวมภาพการจัดสวนถาดจาก (นิด-ตะ-ยะ-สาร) หลายฉบับ
17. ผู้ชายคนนี้ไม่ค่อย (สัน-ทัด) ในด้านการเล่มหมากรุกไทย
18. เจ้าหน้าที่ไปขอยืมไมโครโฟนที่ฝ่าย (โสด-ทัด-สะ-นู-ปะ-กอน)
19. นักศึกษาเขียน (พัน-นะ-นา) ความได้อย่างสละสลวย
20. นักเรียนกำลังค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่ม (ชาด-ติ-พัน) ในประเทศไทย
3

แบบฝึกหัด
คำที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

คำชี้แจง: จงขีดเส้นคำศัพท์ที่เหมาะสม
1. การ (ผัด, ผลัด) วันประกันพรุ่งย่อมส่งผลเสียต่อการทำงานและการดำเนินชีวิต
2. นักท่องเที่ยวเฝ้ารอชมการ (ผัด, ผลัด) เปลี่ยนเวรยามของทหารหน้าพระราชวัง
3. พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงสิ่งของมีค่าในสมัยโบราณมีการป้องกันอย่าง (หนาแน่น, แน่นหนา)
4. กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่าง (หนาแน่น, แน่นหนา)
5. ผู้ที่แพ้อาหารต้องอ่าน (ฉลาก, สลาก) บนผลิตภัณฑ์อย่างถี่ถ้วนทุกครั้งก่อนการรับประทาน
6. ตัวแทนของนักศึกษาแต่ละกลุ่มกำลังจับ (ฉลาก, สลาก) ลำดับการนำเสนอผลการค้นคว้า
7. จำเลยไม่ได้มีเจตนาที่จะเข้าไป (ขัดขวาง, ขัดขืน) การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
8. กลุ่มคนลักลอบเข้าเมือง (ขัดขวาง, ขัดขืน) การจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
9. นักแสดงนำชายของภาพยนตร์เรื่องนี้มีหน้าตา (คมคาย, คมสัน) และอัธยาศัยดี
10. นักศึกษาที่ชนะเลิศการแข่งขันสุนทรพจน์เป็นคนพูดจา (คมคาย, คนสัน) น่าเชื่อถือ
11. บริษัทตัดสิทธิ์การสอบสัมภาษณ์ผู้สมัครที่พบว่า (ปลอมปน, ปลอมแปลง) เอกสาร
12. เจ้าหน้าที่ประกาศห้าม (ปลอมปน, ปลอมแปลง) ข้าวหอมมะลิเพื่อจำหน่ายในภาคเหนือ
13. พนักงานบริษัทคนหนึ่งออกมา (เปิดโปง, เปิดเผย) การทุจริตของผู้จัดการการตลาด
14. เจ้าหน้าที่กู้ภัยและพนักงานดับเพลิง (กุลีกุจอ, ขะมักเขม้น) ช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัย
15. นักศึกษาตั้งใจทำของที่ระลึกสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่าง (กุลีกุจอ, ขะมักเขม้น)
16. องค์กรให้ความสำคัญต่อการ (เปิดโปง, เปิดเผย) ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส
17. มหาวิทยาลัย (สงเคราะห์, อนุเคราะห์) ให้ชมรมนักศึกษาเก่าใช้สถานที่ทำกิจกรรม
18. นายอำเภอบริจาคเงินเดือนละ 10,000 บาทเพื่อ (สงเคราะห์, อนุเคราะห์) เด็กกำพร้า
19. กระเป๋าหน้าท้องของจิงโจ้สามารถช่วย (ปกป้อง, ปกปิด) ลูกจิงโจ้จากอันตรายต่างๆ ได้
20. ช่างกำลังทาสีขาวเพื่อ (ปกป้อง, ปกปิด) รอยเปื้อนบนผนังของห้องรับแขก
4

แบบฝึกหัด
คำทับศัพท์

คำชี้แจง: จงเขียนคำทับศัพท์ลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. นักศึกษาทำงาน (part time) ที่ร้านสะดวกซื้อเพื่อหารายได้พิเศษ
2. เครื่องปรับอากาศรุ่นนี้สามารถเลือกสีให้เข้ากับ (wallpaper) ของห้องได้
3. คุณลุงซื้อ (townhouse) 2 ชั้นที่อยู่ใกล้ตลาดสดในราคาที่ค่อนข้างสูง
4. (application) ของธนาคารช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกขึ้น
5. นักศึกษากลุ่มนี้ได้รับรางวัลภาพยนตร์ (animation) ขนาดสั้นยอดเยี่ยม
6. ร้านค้าแห่งนี้รับสมัครผู้สูงอายุทำงานประจำ (counter) ชำระเงิน
7. ห้องสมุดพัฒนา (platform) ต่างๆ เพื่อรองรับการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น
8. แม่ค้าลดราคาสินค้าผ่านการถ่ายทอดสดใน (facebook) เพื่อดึงดูดความสนใจ
9. รายการการท่องเที่ยวช่องนี้มีผู้กด (subscribe) ประมาณหนึ่งล้านสี่แสนคน
10. คุณแม่กำลังทำไอศกรีม (homemade) สูตรที่ได้รับการถ่ายทอดจากคุณยาย
11. (remote control) เป็นอุปกรณ์ควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าจากระยะไกล
12. พนักงานจากต่างจังหวัดพักอยู่ที่ (apartment) ของบริษัทเพื่อลดค่าใช้จ่าย
13. เจ้าหน้าที่ขอให้ผู้ลงทะเบียนระบุหมายเลขโทรศัพท์และ (email) ในเอกสาร
14. บริษัทประกาศรับสมัครงานในตำแหน่ง (operator) ไม่จำกัดจำนวน
15. สมาชิกสามารถร่วม (Workshop) การจัดดอกไม้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
16. (smoothie) เป็นเครื่องดื่มทีไ่ ด้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีรสชาติอร่อย
17. คุณป้าค้นหาวิธีทอด (french fries) ให้กรอบนอก นุ่มใน และไม่อมน้ำมัน
18. ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้จำหน่ายอาหาร (seafood) ที่มีคุณภาพในราคาย่อมเยา
19. ปัจจุบันมี (web browser) ที่สามารถใช้ค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมากมาย
20. (infographic) สามารถใช้อธิบายข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
5

แบบฝึกหัด
คำลักษณนาม

คำชี้แจง: จงเติมคำลักษณนามที่เหมาะสมลงในช่องว่าง
1. ชมรมผู้สูงอายุถวายผ้าอาสนะจำนวน 10 แด่พระสงฆ์
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ฝึกท่องสูตรคูณวันละ 2 . ก่อนเลิกเรียน
3. ลวดเสียบกระดาษสีสันสวยงามจำนวน 50 อยู่ในกล่อง
4. โรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทยมักแบ่งภาคการศึกษาออกเป็น 2 .
5. ตอนเช้าของวันนี้ คุณพ่อรับประทานปาท่องโก๋ไป 4 .
6. บาทหลวงทั้ง 2 นี้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์
7. ผู้วิจัยได้แบบสอบถามตอบกลับที่มีความสมบูรณ์จำนวนทั้งสิ้น 483 .
8. มนุษย์มีกล้ามเนื้อทั่วร่างกายประมาณ 792 .
9. อาคารนี้มีลิฟต์ 3 พนักงานส่วนใหญ่นิยมใช้ลิฟต์ฝั่งทิศตะวันออก
10. เมื่อปิดอากรแสตมป์บนหนังสือสัญญาแล้ว จะต้องขีดฆ่าอากรแสตมป์ทุก_____________
11. นักศึกษาซื้อเนกไทจำนวน 2 ที่ร้านสหกรณ์ของมหาวิทยาลัย
12. วิศวกรคนนี้มีแผลเป็น 1 ที่บริเวณหลังมือซ้าย
13. เจ้าของธุรกิจเช่าโกดังขนาดใหญ่จำนวน 5 เพื่อจัดเก็บสินค้า
14. บะหมี่เกี๊ยวหมูแดงชามนี้มีเกี๊ยว 4 .
15. คุณป้าซื้อขันโตกไม้ 6 จากร้านค้าในงานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน
16. โรงเรียนสั่งพิมพ์เกียรติบัตรสำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 80 .
17. ร้านอาหารสั่งกระทงใบตอง 50 เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าในวันลอยกระทง
18. คุณปู่วางตะเกียบไว้บนโต๊ะอาหาร 8 .
19. กระเป๋าเครื่องสำอางใบนี้มีขนาดใหญ่พิเศษ เก็บลิปสติกได้มากถึง 12_____________
20. คุณยายจัดขนมทองหยิบ 8 ใส่จานเพื่อรับประทานเป็นของหวาน
6

แบบฝึกหัด
คำเชื่อม

คำชี้แจง: จงขีดเส้นใต้คำเชื่อมที่เหมาะสม
1. แม่สี คือ สีพื้นฐาน มีจำนวน 3 สี (ดังนั้น, เช่น, ได้แก่) สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
2. นมพร่องมันเนยไม่เหมาะกับเด็ก (ที่, ควร, ต่อ) อยู่ในวัยเจริญเติบโต
3. ผู้เข้าสอบต้องแสดงบัตรประจำตัวเข้าสอบ (แด่, ต่อ, อัน) เจ้าหน้าทีผ่ ู้คุมสอบ
4. ความมีน้ำใจที่แท้ไม่ได้มาจากความจำเป็น (หาก, แม้, เพราะ) มาจากความต้องการที่จะให้
5. การลดปริมาณขยะนั้นต้องสร้างจิตสำนึกให้ทุกคน (ซึ่ง, โดย, ใน) เริ่มที่ตนเองก่อน
6. ห้างสรรพสินค้า (ที่, ใน, โดย) เพิ่งเปิดใหม่จำหน่ายสินค้ามีคุณภาพสูง เช่น เสื้อผ้า เครื่องใช้
7. แม้ถุงพลาสติกจะช่วยอำนวยความสะดวก (เพราะ, ทั้งนี้, แต่) ก็เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
8. ค่าใช้จ่ายในบ้านมีมาก ผู้เป็นแม่บ้านจึงต้องรู้จักใช้เงินที่ได้รับ (แม้, เพื่อ, แก่) จะได้ไม่มีหนี้สิน
9. มนุษย์มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติ (หรือ, และ, แต่) สิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด
10. การอยู่ร่วมกัน (ใน, ของ, จาก) คนสองคนที่ต่างกันด้านความคิด ต้องรู้จักให้อภัยกัน
11. การล้างมือด้วยน้ำ (และ, ใน, สำหรับ) สบู่ เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยง (เพราะ, และ,
แต่) แพร่กระจายของโรคติดต่อหลายโรค
12. กีฬาช่วยขจัดความเครียด (เพื่อว่า, ทั้งยัง, เพราะว่า) ช่วยเสริมสร้างจิตใจให้เข้มแข็ง (และ,
หรือ, แต่) ปลอดโปร่ง
13. โครงการนี้จัดขึ้น (ต่อ, เพื่อ, กับ) อบรมความรู้พื้นฐานด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ (แก่,
โดย, หรือ) นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจทั่วไป
14. คนไทยนั้นมีส่วนดีอย่างนี้เสมอ ทุกครั้ง (ต่อ, และ, ที่) ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะลำบาก ทุก
คนจะร่วมแรงร่วมใจกัน (แต่, เพื่อ, เพราะ) ให้ชาติอยู่รอดปลอดภัย
15. ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อยู่ในกลุ่มย่อยเดียว (ซึ่ง, กับ, ที่) ปะการังแข็ง (แต่,
เพราะ, หรือ) ไม่มีโครงสร้างหินปูนเหมือนปะการังแข็ง
7

16. การแตกสลาย (ของ, ที่, จึง) ธรรมชาติจะเกิดขึ้น (เพื่อ, หาก, สำหรับ) ธรรมชาติถูกรุกราน
มากจนเกินกว่าที่ระบบธรรมชาติจะฟื้นฟูตัวเองได้
17. กระฉีกคือของหวาน (หรือ, แต่, ที่) ทำด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับน้ำตาลปึ ก นำไปทำไส้
ขนม (หรือ, เพื่อ, แต่) หรือเป็นหน้าขนมก็ได้
18. ผู้นำชุมชนสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้ (กับ, แก่, ต่อ) สมาชิกในชุมชนด้วยการปฏิบัติตน
(ตาม, ใน, เพื่อ) หลักเศรษฐกิจพอเพียง
19. ธีอะนีน (แต่, และ, ซึ่ง) เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง เป็นสารสำคัญ (หรือ, ที่, จาก) พบมากใน
ชาเขียว ช่วยทำให้ระบบประสาทและสมองผ่อนคลาย
20. น้ำทำให้ไฟดับ (และ, แต่, เพื่อ) ไฟกลับทำให้น้ำเดือดพลุ่ง ผู้มีจิตใจสูง (ที่จะ, อีกทั้ง, จึงควร)
มุ่งหมายเป็นทั้งไฟและน้ำ
8

แบบฝึกหัด
การเติมคำในเนือ้ ความ

คำชี้แจง: จงเติมคำที่เหมาะสมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

1. ลมเป็ น _______________(ปรา-กด-กาน) ทางธรรมชาติ เกิ ด จากการเคลื ่ อ นที่


_______________ (ถึง, ของ, จึง) อากาศในแนวราบ จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง
เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของ _______________(อุน-หะ-พูมิ) และความกดอากาศ ลม
เป็นแหล่งพลังงานสะอาดที่สามารถใช้ได้อย่างไม่มีวันหมดสิ้น ______________________
(หรือ, ที่, และ) ไม่ก่อให้เกิด _______________(อัน-ตะ-ราย) ต่อสภาพแวดล้อม กังหันลม
เป็นเครื่องจักรกลชนิดหนึ่งที่สามารถรับและแปลง _______________(พะ-ลัง-งาน-จน)
จากการเคลื่อนที่ของลมให้กลายเป็นพลังงานกล _______________(ซึ่ง, แต่, แม้) สามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ _______________(ก็, เช่น, แต่) กังหันลมเพื่อสูบน้ำ ซึ่งเป็น
กังหันลมที่ใช้พลังงานกลในการชักหรือสูบน้ำจากที่ต่ำขึ้น ไปสู่ที่สูง เพื่อใช้ในการเกษตร
_______________(กาน-อุ-ปะ-โพก) และการบริโภค กังหันลม ___________________
(เพราะ, โดย, เพื่อ) ผลิตไฟฟ้า ซึง่ เป็นกังหันลมทีน่ ำพลังงานกลมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

2. จระเข้น้ำเค็ม _______________(หรือ, และ, เพราะ) จระเข้น้ำจืด มีลักษณะบางประการ


แตกต่างกัน _______________(กล่าวคือ, ดังนั้น, อาทิ) จระเข้น้ำเค็มจะมี ลำตัวยาว มี
ลักษณะค่อนข้างกลม ท้องแบนราบ _______________(จะ-งอย-ปาก) ยาวและมีส่วน
ปลายค่อนข้างแหลม ไม่มีเกล็ดที่ บริเวณท้ายทอย เท้าหลังมีแผ่น พังผืดระหว่างนิ้วยาว
_______________(จะ-หรด) ปลายนิ้ว จระเข้น้ำเค็มโดยทั่วไปจะมีขนาดความยาวไม่เกิน 4
เมตร _______________(เพราะ, หรือ, แต่ ) ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคย _______________
(บรรทึก, บัณทึก, บันทึก) ไว้ มีความยาวมากกว่า 9.90 เมตร ส่วนจระเข้น้ำจืดนั้น แม้จะมี
รูปร่าง _______________(คล้ายคึง, คล้ายคลึง, ค้ายคลึง) กับจระเข้น้ำเค็ม แต่ก็มีลักษณะ
แตกต่างกันตรงทีม่ ีลำตัวป้อมสั้นกว่า มีปากค่อนข้างทู่ มีเกล็ดตรง ___________________
9

(บอ-ริ - เวน) ท้ายทอย 4 เกล็ด _______________(เช่น, ซึ่ง , บน) เป็นลักษณะพิเศษที่


แตกต่างจากจระเข้ น้ำเค็มอย่างชัดเจน เท้าหลังมีแผ่นพังผืดยึดระหว่างนิ้วเพียงบางส่วน
จระเข้น้ำจืดโดยทั่วไปมีความยาวประมาณ 2 _______________(แต่, และ, ถึง) 3.60 เมตร

3. คัมภีร์ใบลานแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภท คือ คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงและคัมภีร์ใบลานฉบับ


ราษฎร์ _______________(แต่, หรือ, เพื่อ) ฉบับ _______________(ชะ-เลย-สัก) คัมภีร์
ใบลานฉบับหลวง คือ คัมภีร์ที่สร้างขึ้นโดย ____________________________________
(พระ-บอ-รม-มะ-ราด-ชะ-โอง-กาน) ของพระมหากษัตริย์ มีความถูกต้องแม่นยำสูง และเป็น
ต้นฉบับให้แก่ฉบับอื่นๆ ได้คัดลอก มีการตกแต่งสวยงาม ในแต่ละฉบับจะมีสัญลักษณ์ประจำ
รั ช กาล _______________(จาก, เพราะ, ที ่ ) ใบรองปก มี เ นื ้ อ ความเป็ น เรื ่ อ ง
_______________(พระ-ไตร-ปิ-ดก) _______________(หรือ, แม้, ส่วน) คัมภีร์ใบลาน
ฉบับราษฎร์ คือ คัมภีร์ที่พระสงฆ์ _______________(สามเณร, สามมเณร, สามเนร) หรือ
ราษฎรทั ่ ว ไปสร้ า งขึ ้ น มี ฉ บั บ ลานดิ บ ฉบั บ รั ก ทึ บ ฉบั บ ล่ อ งรั ก ฉบั บ ล่ อ งชาด
_______________(และ, ใน, อัน) ฉบับทองทึบ คัมภีร์ใบลานทั้งฉบับหลวงและฉบับราษฎร์
เป็นคัมภีร์สำคัญที่มักใช้ในพระราชพิธี หรือพิธีทางสงฆ์ ___________________________
(หรือ, เพราะ, เช่น) มีน้ำหนักเบา เก็บรักษาง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก เหมาะแก่การใช้
ประกอบ _______________(การณ์เทศ, การเทศน์, การเทษ)

4. แบบเรียนของไทยที่ใช้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ จินดามณี ____________________


(ถึง, ซึ่ง, ใน) ใช้ต่อเนื่องมาจนถึงสมัย _______________(กรุง-รัด-ตะ-นะ-โก-สิน) ตอนต้น
โดยมีแบบเรียนเพิ่มเติม คือ ประถม ก กา และประถมมาลา _______________________
(แม้ว่า, ทั้งนี้, ครั้นถึง) สมัยของการพิมพ์ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นใน
_______________(พระ-บอ-รม-มะ-หา-ราด-ชะ-วัง) เมื่อปี _______________________
(พุด-ทะ-สัก-กะ-ราด) 2414 แล้วโปรดเกล้าฯ ให้หลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ หลวง
สารประเสริฐได้แต่งแบบเรียนหลวงสำหรับใช้ในโรงเรียนหลวง 6 เล่ม _______________
(ได้แก่, ดังนั้น, ระหว่าง) มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยตพิธาน ไวพจน์
พิจารณ์ และพิศาลการันต์ แบบเรียนชุดนี้ได้ใช้สอน _______________(กุน-ละ-บุด) ธิดา
10

มาจนถึงปีพุทธศักราช 2431 จึงยกเลิก _______________(ก็, เพื่อ, แม้) มาใช้แบบเรียน


เร็ว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรง __________________
(นิพน, นิพนธ์, ณิพนธ์) มีทั้งหมด 3 เล่ม ได้แก่ แบบเรียนเร็ว เล่ม 1 แบบเรียนเร็ว เล่ม 2
_______________(หรือ, และ, แต่) แบบเรียนเร็ว เล่ม 3

5. พื ช เ บ ี ย น ( parasitic plants) _______________( เ พ ร า ะ , ค ื อ , โ ด ย ) พ ื ช ท ี ่ ขึ้ น


_______________(จะ-เริ น ) บนต้ น ไม้ อ ื ่ น เพื ่ อ ดู ด ซึ ม อาหารและน้ ำ พื ช เบี ย น
_______________(ที่, ใน, จาก) เป็นพันธุ์ไม้ดอกมีหลายชนิด เช่น ดอกดินแดงหรือหญ้า
ด อ ก ข อ ม ี ช ื ่ อ ท า ง ว ิ ท ย า ศ า ส ต ร ์ ว ่ า Aeginetia indica Linn ม ี ล ั ก ษ ณ ะ เ ป็ น
_______________(ไม้ร้มรุก, ไม้ล้มลุก, ไม้ล้มรุก) ลำต้นอยู่ใต้ดิน อาศัยเกาะอยู่กับรากไม้
ชนิดอื่น โดยเฉพาะกก หญ้า _______________(แต่, ถึง, และ) ไผ่ ดอกมีสีม่วงแดง ลักษณะ
เป็นถ้วยคว่ำ บัวผุด _______________(ที่, หรือ, ของ) บัวตูม ก็เป็นพืชเบียนที่เป็นพันธุ์ไม้
ดอกชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rafflesia kerri Meijer อาศัยอยู่บนรากของต้นย่าน
ไก่ต้ม ไม่มีราก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีกลีบหนา 5 กลีบ เมื่อบานเต็มที่จะมีรูปร่างคล้าย
_______________(กถาง, กะถาง, กระถาง) ขนาดใหญ่สีแดง มี ____________________
(เส้ น ผ่ า นสู ญ กลาง, เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง, เส้ น ผ่ า ศู น กลาง) ประมาณ 70 ถึ ง 80
_______________(เซน-ติ-เมด) บัวผุดเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด _______________
(ใน, เมื่อ, ก็) ประเทศไทย
11

แบบฝึกหัด
การแก้ไขส่วนของประโยค

คำชี้แจง: จงปรับแก้เนื้อความที่ขีดเส้นใต้ให้เป็นภาษาเขียนที่สละสลวย
1. หัวหน้าฝ่ายการเงินเชื่อว่านโยบายใหม่จะไม่ส่งผลกระทบด้านลบกับพนักงาน
ตอบ_________________________________________________________________
2. นักศึกษาตื่นเต้นที่จะได้ฟังการบรรยายเรื่องอภิปรัชญาของอาจารย์ณัฐภัทร
ตอบ_________________________________________________________________
3. เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเข้มข้นมากขึ้นหลังจากเกิดเหตุลอบวางระเบิด
ตอบ_________________________________________________________________
4. ณัฐกิจวิ่งออกมาเพื่อลงชื่อรับจดหมายและพัสดุด้วยเท้าเปล่าจากบุรุษไปรษณีย์
ตอบ_________________________________________________________________
5. เหตุการณ์ดินถล่มทางภาคตะวันตก ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 23 ราย
ตอบ_________________________________________________________________
6. เทียนหอมชุดนี้มีแพคเกจสวยงามสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้
ตอบ_________________________________________________________________
7. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการจะทำการชี้แจ้งนโยบายปรับลดเวลาเรียน
ตอบ_________________________________________________________________
8. ผู้อำนวยการโรงเรียนมอบหมายให้ครูณัฐดนัยเป็นผู้เกษียณหนังสือราชการ
ตอบ_________________________________________________________________
9. ณัฐนรีเชิญพระสงฆ์จำนวน 9 รูปไปเจริญพระพุทธมนต์ในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ตอบ_________________________________________________________________
10. เมื่อเช้า ณัฐพลทำเงินหายและยังประสบอุบัติเหตุอีกเหมือนเคราะห์ซ้ำด้ามพลอย
ตอบ_________________________________________________________________
12

แบบฝึกหัด
การแก้ไขประโยค

คำชี้แจง: จงปรับแก้ประโยคต่อไปนี้ให้เป็นภาษาเขียนที่สละสลวย
1. สมศักดิ์เป็นผู้ที่พยายามพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอๆ เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
ตอบ__________________________________________________________________
2. เมื่อวานที่เพิ่งผ่านมา อาจารย์จับเครื่องบินไปประชุมที่เมืองโคราชนครราชสีมา
ตอบ__________________________________________________________________
3. สมฤทัยแสดงหนังมาแล้วหลายเรื่อง แต่เพิ่งแจ้งเกิดมีคนรู้จักอย่างมากมายจากเรื่องนี้
ตอบ__________________________________________________________________
4. แพทย์มารวมตัวกันและเข้าร่วมการประชุมเรื่องโรคอ้วนจากต่างจังหวัดจำนวนมากมาย
ตอบ__________________________________________________________________
5. ด้วยเหตุการณ์อันรุนแรงนี้ นำมาซึ่งโศกนาฏกรรมอันเลวร้ายน่าสลดใจของสมชาย
ตอบ__________________________________________________________________
6. ราคาของ USB ไดรฟ์ที่มีความจุมากกว่า 64 MB ในปัจจุบันมีราคาต่ำพอที่จะซื้อมาใช้งานได้
ตอบ__________________________________________________________________
7. น.ส.พ. มักจี้จุดอ่อนข้อเสียที่ไม่ดีของรัฐบาล ทำให้รัฐมนตรีบางคนออกอาการนอตหลุด
ตอบ__________________________________________________________________
8. ภารกิจที่มีความสำคัญคือการปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเหตุการณ์ไม่สงบ
ตอบ__________________________________________________________________
9. ถ้าไม่มีพ่อแม่ให้การทะนุถนอมเลี้ยงดูบุตร บุตรอาจไม่มีชีวิตตายไปจากโลกนี้แล้ว
ตอบ__________________________________________________________________
10. มันเป็นการยากที่จะตัดสินว่าใครผิดใครถูก เพราะต่างคนก็ต่างมีเหตุผลมาอ้างกับแทบทั้งนั้น
ตอบ__________________________________________________________________
13

บทอ่านและแบบฝึกหัด
ความสำเร็จของชีวิตก็เหมือนกับการสร้างปิรามิด

ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์

ปิรามิดเป็นสิ่งบอกให้เรารับทราบถึงความสามัคคีที่ทุกคนล้วนมีความสำคัญ หินก้อน
น้อยทุกก้อนของปิรามิดจะต้องรับผิดชอบในน้ำหนักที่จะรับ และต้องเรียงลำดับกันอย่างมี
ระเบียบ ปิรามิดจึงงามสง่า สูงส่ง และอยู่ได้หลายพันปี หากหินชุดใดชุดหนึ่งไม่ทำหน้าที่ ไร้วินัย
ปิรามิดก็ล้มครืนล่มสลายลงมาแน่นอน หินที่ประกอบเป็นสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่แต่ละก้อน
อาจจะไม่จำเป็นต้องเท่ากันหรือเหมือนกัน แต่การจัดเรียงอย่างเป็นระบบ ทำให้หินก้อนเล็ก หรือ
หินก้อนใหญ่ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น
แม้ปิรามิดบางแห่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ปิรามิดแต่ละแห่ง ย่อมต้องอยู่ได้ตัวเอง
ต้องถ่ายน้ำหนักและดูแลตัวเองให้ได้ แม้อาจจะมีปิรามิดอื่นยื่นฐานมาช่วยรักษาสมดุลได้บ้าง แต่
ก็ไม่สามารถดูแลความล่มสลายให้ปิรามิดอื่นได้ ดังนั้น การช่วยเหลือและดูแลตนเองจึงสำคัญกว่า
สถาบันหรือเครือญาติทั้งหลาย มนุษย์บางคนโชคดี มีผู้คอยช่วยเหลือ แต่มนุษย์ต้องไม่ลืมว่า เขา
คือผู้ที่สำคัญที่สุด ที่จะต้องช่วยเหลือตัวเอง
ปิรามิดนั้นที่เป็นที่ยอมรับ ไม่ได้อยู่ที่ “ความสวยงาม” หรือ “ความน่ารัก ” แต่อยู่ที่
“ความมั่นคง” มนุษย์จึงต้องสร้างชีวิตให้มีความมั่นคงเสียก่อน แล้วจึงมองหาถึงความงดงามและ
น่ารัก จงอย่าใช้ความงดงามหรือความน่ารักไปแก้ปัญหา หรือกำหนดชะตาชีวิต เพราะสิ่งนั้นคือ
"ความไม่แน่นอน"
หินแต่ละก้อนของปิรามิด ต่างทำหน้าที่ของตนเองอย่างแน่วแน่ และมี “วินัย” เป็นอย่าง
ยิ่ง ทำให้ ปิรามิดทั้งองค์ ยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงและยาวนาน ดังปรัชญา ของ “ซุนหวู่”
ปราชญ์ทางพิชัยสงครามของจีนเคยบอกไว้เมื่อกว่า 2,000 ปีที่แล้ว
ซุนหวู่เป็นเจ้าของวลีที่ว่า “รู้เรา รู้เขา ชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว” “การชนะโดยไม่ต้องรบ ถือ
เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด” และอีกหลายๆ วลี ที่ทุกคนต่างจำได้เสมอ แต่พิชัยสงครามทั้งหมดที่
ซุน หวู่เขีย นเอาไว้ ซุน หวู่ กล่าวว่า ไม่มีทางที่จะมีประโยชน์ได้ หากนักบริห ารผู้นั้นขาดซึ่ง
14

คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ซุนหวู่บอกว่า “ตำราพิชัยสงครามของข้าพเจ้าทั้งหมดที่กองอยู่


จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ยุทธวิธีทั้งหลายที่กล่าวในพิชัยสงครามใดๆ ก็จะไม่ปรากฏผลเลย หาก
การบริหารและกองทัพนั้นๆ ขาดซึ่ง “วินัย” แห่งผู้ปฏิบัติ” ดังนั้น ปิรามิดแสดงให้เราเห็นถึง
วินัยของการอยู่ร่วมกัน ที่หินทุกก้อนของปิรามิด ก็เป็นดังคนทุกคนในสังคมที่จะต้องทำหน้าที่
ของตนให้สมบูรณ์เสมอ ด้วยคนเพียงคนเดียวที่ ไม่ทำหน้าที่หรือขาดวินัย ก็อาจทำให้ส ัง คม
ทั้งหมดล่มสลาย เพราะซุนหวู่บอกว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดของการบริหารก็คือเรื่องของ “วินัย” มาก
ว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น”
ความเข้มแข็ง มั่นคง งามสง่าท้าแดดฝนของปิรามิดนั้น ภายในมี “ สิ่งมีค่า” และ “สิ่งมี
ความหมาย” แฝงอยู่ และคงอยู่ได้ยาวนาน เพราะเหล่าหินแต่ละก้อนพิทักษ์ไว้ มนุษย์ที่เข้มแข็ง
แข็ ง แกร่ ง มั ่ น คง ตั ้ ง มั ่ น มิ ไ ด้ ห มายความถึ ง เป็ น มนุ ษ ย์ ท ี ่ ไ ร้ อ ารมณ์ ขาดจิ ต วิ ญ ญาณและ
สุนทรียภาพ มนุษย์ทุกชีวิต ที่ยังมีความเป็นมนุษย์ ย่อมมีหัวใจและความรู้สึกทั้งสิ้น และมนุษย์ผู้
โชคดี ก็คือมนุษย์ที่สามารถรักษาความเข้มแข็งทางกายและจิตวิญญาณที่อ่อนโยน
ท่ามกลางความเวิ ้งว้ างร้อ นแรงของทะเลทรายกว้า งไกลสุ ดลู กหูล ู ก ตา “ปิรามิ ด ”
สัญลักษณ์และเป้าหมายของผู้เดิ นทาง เป็นจุดที่สร้างความหวังและรักษาความหวัง ความหวังที่
เกิดขึ้นได้เพราะความมั่นคงแข็งแรงของหินแต่ละก้อนที่ก่อตัวเป็นสถาปัตยกรรมใหญ่ มนุษย์และ
สังคมของมนุษย์ล้วนต้องการ “ความหวัง” เพราะความหวังคือยาวิเศษของความเป็นมนุษย์ หาก
มนุษย์ใดตั้งใจมั่นที่จะยืนหยัด มนุษย์นั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งของ “ความหวัง” ของสังคมรอบข้าง
เป็นความหวังที่เกิดจาก “ความเชื่อมั่นในความมั่นคง” ทำให้มีพลังที่จะสร้างความหวังให้ผู้อื่น
ต่อไป
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปิรามิดจะมีผู้คอยเฝ้าดูแลอยู่เสมอ แต่ผู้เฝ้าดูแล ก็ไม่สามารถ
เข้าไปช่วยการถ่ายน้ำหนักของหินทุกก้อนของปิรามิดได้ ปิรามิดจะอยู่ได้คงทนถาวร ก็ต้อง “ดูแล
ตัวเอง” ก่อนเสมอ มนุษย์บางชีวิต ที่คิดว่าตนเองนั้นมีผู้คอยช่วยเหลือโอบอุ้มอยู่ตลอดเวลาอย่าง
แข็งแรง ไม่สามารถจะอยู่ได้นานนัก เพราะวันหนึ่ง ผู้ดูแลก็จะจากไป หายไป หรือดูแลได้ไม่
ครบถ้วนของทุกอณูของชีวิต
ครั้งเมื่อ “อิมโฮเทพ” คิดทำปิรามิดที่ซักคารา ปิรามิดในยุคแรกเป็นเพียงปิรามิดที่เป็น
รูปขั้นบันได (Step Pyramid of Saqgara) ไม่ได้มีผิวสามเหลี่ยมทุกด้านที่เรียบสวยงาม แต่การ
ปรั บ ปรุ ง ลัก ษณะของ ปิ ร ามิ ด ก็ ย ั ง ดำเนิ น การต่ อ ไปท่า มกลางแดดแผดเผา จนในที ่ ส ุ ด ก็
15

กลายเป็นปิรามิดที่ยิ่งใหญ่ดังที่เราเห็นปัจจุบัน มนุษย์ที่ไม่หยุดตนเอง ณ จุดที่ยังไม่น่าหยุด ก็จะ


ทำให้ชีวิตมีรอยยิ้มมากขึ้น แต่มนุษย์พึงหยุด เมื่อชีวิตวิเคราะแล้วว่าเพียงพอ มนุษย์ก็จะไม่เครียด
และทรมานกับชีวิตปัจจุบันและอนาคตมากเกินไปบางครั้งก่อนจะสร้างปิรามิดขนาดใหญ่ที่มั่นคง
ถาวร มนุษย์อาจจะลองสร้างปิรามิดขนาดเล็กดูก่อน เพื่อเป็นแบบอย่างและข้อคิดในการสร้างปิ
รามิดขนาดใหญ่ที่ถาวรต่อไป มนุษย์จึงต้องมีการฝึกหัดและเรียนรู้วิถีแห่งชีวิต อาจจะลองผิดลอง
ถูกได้บ้างเสียเวลาหน่อย เหนื่อยเพิ่มขึ้นอีกบ้าง แต่ก็จะพบจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเองได้
เมื่อรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตนแล้ว การกำหนดวิถีชีวิตแห่งอนาคตตนเองก็ง่ายขึ้น
เพราะปิรามิดถูกสร้างมาอย่างมั่นคงแข็งแรง ก่อสร้างอย่างไม่ทิ้งรายละเอียดที่ผิดพลาด ทำให้ปิ
รามิดสามารถยืนหยัดในความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติได้ดีและยาวนาน มนุษย์ใดที่มีความตั้งใจ
และตั้งมั่น ก็เป็นดังปิรามิดนั้น คือมีความมั่นคงและสามารถ “ยืนหยัดต่อสู้กับวิกฤติ ” ได้เสมอ
และเป็นที่ยอมรับนับถือในสังคมทั่วไป
ปิรามิดแต่ละแห่งอาจจะมีการสลักเสลาตกแต่งลวดลายให้งดงามและแตกต่างกัน มี
ความหมาย มีการบอกเล่าเรื่องราวได้ แต่เมื่อตกแต่งเล่าเรื่องเสร็จแล้ว จะต้องมั่นใจว่า ปิรามิด
จะต้องมีความยั่งยืนที่จะรักษาเรื่องราวที่น่าสนใจเหล่านั้นเอาไว้ มนุษย์ก็เป็นเช่นนั้น การตกแต่ง
หรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ สามารถบันทึกได้เป็นธรรมดา แต่ต้องมั่นใจว่า เรื่องราวดีๆ ของชีวิต
จะต้องอยู่ต่อไป ไม่ถูกทำลายหรือล่มสลายเพราะพฤติกรรมปัจจุบันและอนาคตของตนเอง
การจัดเรียงหินแต่ละก้อนเพื่อเป็นปิรามิดที่ยิ่งใหญ่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหรือเรื่องบังเอิญ แต่
เป็น เรื่องของ “ความรอบรู้ ” และ “ความมุ่งมั่น ตั้งใจ” มนุษย์ที่จะคงความเป็นสิ่งมีช ีว ิตที่
ภาคภูมิใจ จะต้องมีความมุ่งมั่นและใช้หยาดเหงื่อในการสร้างความมั่นคงและจีรังของชีวิต เพราะ
ความรู้ ความมุ่งมั่น หยาดเหงื่อจะนำมาซึ่งความสำเร็จของชีวิต
ปิรามิดที่มีความมั่นคง จะมี “โครงสร้าง” ที่แข็งแรง แม้ “ผิวประดับ” จะกร่อนสลายไป
บ้าง แต่ ปิรามิดก็ยังคงยืนสง่าอยู่ได้นานเท่านาน มนุษย์ที่มีพื้นฐานที่มั่นคง สร้าง “ทรัพยากร
ชีวิต” อย่างตั้งใจ ก็จะมีชีวิตที่มั่นคง แม้เปลือกหรือกระพี้ที่ใช้ประดับชีวิตจะหลุดร่วงหรือจากไป
บ้าง มนุษย์ผู้นั้นก็ยังคงยืนอยู่หน้ากระจกเงาอย่างมีรอยยิ้มได้ทุกเช้า
ปิรามิดอาจจะมีหลากหลายรูปแบบได้ บางแห่งจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และบางแห่งจะอยู่
ร่วมกันเป็นกลุ่ม รูปทรงปิรามิดมีความแตกต่างกัน แม้จะมีแนวทางในการก่อสร้างคล้ายคลึงกัน
มนุษย์ย่อมต้องมีความหลากหลายของวิถีชีวิตเป็นธรรมดา ชีวิตไม่ต้องเหมือนกันเพราะชีวิตไม่ได้
16

ถูกผลิตมาจากสายพานเครื่องจักร ขอเพียงให้ชีวิตมีความมั่นคงและมีประโยชน์ต่อสังคม ไม่เป็น


ภาระหรือเบียดเบียนสังคม แนวทางการดำเนินชีวิตจึงอาจจะแตกต่างกันไปได้ ไม่ใช่เรื่องแปลก
ใดๆ
การก่อสร้างปิรามิดนั้นต้องใช้เวลาและความอดทน ต้องใจเย็นและต้องไม่ท้อถอย ต้องมี
การรวมพลังกันเพื่อสร้างปิรามิดขึ้นมา ชีวิตมนุษย์ก็เป็นเช่นนั้น เพราะชีวิตไม่ได้เป็นระบบดิจทิ ัล
ที่จะเปิด-ปิดได้ง่ายๆ การจะทำให้ชีวิตมั่นคงและประสบความสำเร็จ จึงต้องมีความอดทน ทนได้
และทนรอได้ แต่ก็มิได้หมายความว่าจะให้ “รอไป งอมือ งอเท้า” เพราะนั่นก็จะไม่มีทางทำให้
ชีวิตมั่นคงได้
ปิรามิดประกอบด้วย “ก้อนหิน” มากมาย หลากขนาดและรูปทรง ต้องมีการออกแบบ
ให้หินแต่ละก้อนนั้นมีขนาดและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หินแต่ละก้อนจะต้องประสานกันเพื่อ
ช่วยกันรับแรงที่มาจากทุกทิศทาง หากหินก้อนใดก้อนหนึ่งจัดเรียงอยู่ผิดที่หรือย่อยสลายไป
อาจจะทำให้ปิรามิดทั้งองค์พังครืนลงมาได้เสมอ ชีวิตมนุษย์มีองค์ประกอบมากมาย ทั้งทางวัตถุ
และจิตวิญญาณ การเลือกองค์ประกอบของชีวิต การเลือกวิถีชีวิต การหมั่นดูแลองค์ประกอบ
ชีวิต เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตมั่นคง เพราะชีวิตมนุษย์คนหนึ่งอาจจะล่มสลายได้เพียงชั่วพริบตาหากมี
องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง ล้มป่วย ผิดพลาด หมดสภาพ ไม่ทำหน้าที่ของตน การพิจารณา
และรู้ตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญมากแห่งการเป็นมนุษย์
ปิรามิดสำเร็จได้ตามจุดมุ่งหมาย ก็ต้องมี “ผู้นำทาง” และมี “การวางแผน”ประสานกัน
หากต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างสร้าง ปิรามิดไม่มีทางสำเร็จได้ หากสำเร็จก็จะขาดความแข็งแรง
มั่นคง ชีวิตมนุษย์ก็เป็นเช่นนั้น การมีแนวทางชีวิตที่ชัดเจน แนวทางที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว และ
บริหารชีวิตให้ทุกการกระทำนั้นสอดประสานกันให้ดีและเหมาะสม ก็จะสร้างปิรามิดชีวิตที่มั่นคง
งดงามได้

___________________________

(ปรับปรุงจาก ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ . (2559). 8 ร้อยพันมุมดลใจจากอีเมลของยอดเยี่ยม.


กรุงเทพฯ: แลททิซเวิร์ค.)
17

แบบฝึกหัด

คำชี้แจง จงอ่านเรื่อง ความสำเร็จของชีวิตก็เหมือนกับการสร้างปิรามิด แล้วทำกิจกรรมการคิด

กิจกรรมการคิด

เมื่ออ่านเรื่อง ความสำเร็จของชีวิตก็เหมือนกับการสร้างปิรามิด แล้ว ให้นักศึกษา


อภิปรายกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ตัวอย่าง เช่น
1) การมีวินัยมีความสำคัญต่อการทำงานอย่างไร
2) ความมุ่งมั่นตั้งใจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร
3) การฝึกหัดเรียนรู้มีความสำคัญต่ออนาคตอย่างไร
4) มนุษย์แต่ละบุคคลมีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร
5) ชีวิตของมนุษย์กับปิรามิดมีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่างไร
อนึ่ง นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมได้ โดยเชื่อมโยง
ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นอื่นๆ เพิ่มเติมกับประเด็นที่กล่าวไปข้างต้น
18

แบบฝึกหัด
การลำดับความ

คำชี้แจง จงนำข้อความที่กำหนดให้ไปจัดลำดับให้เหมาะสม โดยเขียนลำดับเฉพาะหมายเลข


1. 1 - ส่วนสิ่งที่สัญลักษณ์นั้นสื่อแทน อาจเป็นบุคคล สิ่งรูปธรรม หรือสิ่งนามธรรมก็ได้
2 - มีความหมายว่า สิ่งที่กำหนดขึ้นใช้เพื่อให้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง
3 - เช่น เครื่องหมายกากบาทสีแดงบนพื้นสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของสภากาชาดไทย
4 - สิ่งที่กำหนดนั้น อาจเป็นตัวอักษร รูปภาพ สิ่งของ สี หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้
5 - คำว่า สัญลักษณ์ เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า symbol ในภาษาอังกฤษ
ตอบ__________________________________________________________________

2. 1 - ว่านดอกสามสีเป็นพืชเบียน ขึ้นบนรากของพืชชนิดอื่น ลำต้นอยู่ใต้ดิน ออกดอก


2 - ว่านดอกสามสี หรือเอื้องดิน มีต้นกำเนิด และพบครั้งแรกในประเทศไทย
3 - มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Christisonia siamensis Craib อยู่ในวงศ์ Orobanchaceae
4 - พบตามทุง่ หญ้าและป่าผลัดใบทางภาคเหนือ กลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ
5 - เป็นดอกเดี่ยว สีม่วงแกมชมพู ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม
ตอบ__________________________________________________________________

3. 1 - ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันยาวที่สุดในรอบปี ซึ่งจะถือเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อน
2 - ของประเทศที่อยู่บริเวณซีกโลกเหนือ ในขณะทีป่ ระเทศที่อยู่บริเวณซีกโลกใต้นั้น
3 - วันครีษมายัน (summer solstice) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก
4 - ช่วงเวลากลางวันของจะสั้นที่สุดในรอบปี ซึ่งถือเป็นวันที่เริ่มต้นเข้าสู่ฤดูหนาว
5 - เฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตก เฉียงไปทางเหนือมากที่สุด
ตอบ__________________________________________________________________
19

4. 1 - นอกจากนี้ ยังมีการนำไปปิ้งให้กรอบ แล้วโรยหน้าด้วยเครื่องปรุง กุ้งแห้ง


ผักชี เรียกว่า ข้าวตังทรงเครื่อง
2 - เช่น นำข้าวตังไปปิ้งไฟพอเหลืองกรอบ แล้วชุบน้ำกะทิที่ผสมน้ำตาล กินเป็น
ขนม เรียกว่า ข้าวตังปิ้ง
3 - การหุงข้าวในอดีต หากดงข้าวนาน ข้าวที่ก้นหม้ออาจเกรียม ติดก้มหม้อเป็น
แผ่นข้าวแข็ง เรียกว่า ข้าวตัง
4 - คนไทยไม่ได้ขูดข้าวตังทิ้ง แต่แกะออกมาเป็นแผ่น แล้วนำไปประกอบเป็น
ของกินได้หลากหลายอย่าง
5 - อาจนำไปทอดน้ำมันร้อนๆ ให้พองกรอบ กินกับหน้าตั้ง ซึ่งเป็นอาหารอีก
ชนิดหนึ่ง เรียกว่า ข้าวตังหน้าตั้ง
ตอบ__________________________________________________________________

5. 1 - คลองที่มนุษย์ขุดขึ้นในประเทศไทยมีจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณลำน้ำ
เจ้าพระยา ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ
2 - คลองเหล่านี้เรียกว่า คลองลั ด เพราะเป็นคลองที่ขุดขึ้นเพื่อปรับให้ลำน้ำ
เจ้าพระยาที่ไหลคดเคี้ยวมาก ให้ตัดตรงไป เป็นการย่นระยะทางเดินเรือ
3 - นอกจากนี้ ยังมีคลองที่ขุดเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำใกล้เคียงอีก เช่น
คลองสำโรง ซึ่งขุดเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง
4 - คำว่า คลอง ในภาษาไทย หมายถึง ทางน้ำหรือลำน้ำที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำ
หรือทะเล ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์ขุดขึ้น
5 - ยกตัวอย่างคลองลัดในลำน้ำเจ้าพระยา เช่น คลองลัดเกร็ดใหญ่ในจังหวัด
ปทุมธานี คลองลัดบางกอกในกรุงเทพฯ
ตอบ__________________________________________________________________
20

แบบฝึกหัด
ประโยคใจความสำคัญ

คำชี้แจง: จงขีดเส้นใต้ประโยคใจความสำคัญของย่อหน้าที่กำหนดให้

1. ปลาทูไทยไม่ได้มาจากอ่าวตังเกี๋ยตามที่เคยพูดกันในอดีต กรมประมงได้ศึกษาและทราบ
รายละเอียดของปลาทูในอ่าวไทยว่าปลาทูในอ่าวไทยมี 2 พวก ได้แก่ พวกฝั่งตะวันออก และ
พวกฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย พวกฝั่งตะวันออกนั้นจะวางไข่บริเวณน่านน้ำเขมรแถว ๆ กำปง
โสม เมื่อเป็นปลาตัวเล็ก ๆ ก็จะว่ายน้ำเข้าในเขตไทย ผ่านจังหวัดตราด จันทบุรี และอาจ
มาถึงระยอง ส่วนพวกฝั่งตะวันตกจะหากินอยู่บริเวณก้นอ่าว เมื่อถึงฤดูวางไข่จะเคลื่อนที่ลง
ไปผสมพันธุ์และวางไข่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
2. เมื่อเด็กมีความตระหนักในส่วนรวมในระดับครอบครัวแล้ว เด็กจะมีความรับผิดชอบต่อ
ส่วนรวมในระดับนอกครอบครัว ซึ่งได้แก่โรงเรียนและสังคมโดยทั่วไป สิ่งใดที่จะกระทบ
ในทางเสียหายแก่ส่วนรวม เด็กจะไม่กล้าทำ เช่น การทำลายสาธารณสมบัติ การขีดเขียน
ตามกำแพง การละเมิดกฎหมาย กฎจราจร การก่อความวุ่นวายต่าง ๆ เป็นต้น เด็กที่มีความ
รับผิดชอบต่อส่วนรวมจะไม่กระทำในสิ่งที่ทำให้ส่วนรวมได้รับความเดือดร้อน เสียหาย แต่จะ
กระทำในสิ่งซึ่งจะยังประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม จรรโลงสังคมให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป ดังนั้น การ
สร้างความรู้สึกรับผิดชอบต่อส่วนร่วมให้แก่เด็กจึงเป็นการปลูกฝังความมีวินัยในตนเองให้แก่
เด็กอีกทางหนึ่ง
3. คลื่นในทะเลที่พัดข้าสู่ฝั่ งทุกเมื่อเชื่อวันนั้น บางครั้งดูไม่รุนแรงอะไร แต่อำนาจการพังทลาย
ของคลื่นเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เหมือนคำโบราณที่ว่า “อันซุงเสาสิบศอกตอกเป็น
หลัก ถูกคลื่นผลักบ่อยเข้าเสายังโค่น ” ความลาดเอียงของหาดเป็นตัวลดความรุนแรงของ
คลื่นได้อย่างดี คลื่นขนาดใหญ่ในทะเลจะสูญเสียพลังงานไปกับพื้นหากทีละน้อย ๆ จนเมื่อถึง
ชายฝั่งก็จะเหลือเพียงคลื่นขนาดไม่ใหญ่และมีความเร็วไม่มากนัก ตรงข้ามกับบริเวณชายฝั่งที่
ไม่ได้เป็นหาดลาดเอียง คลื่นยังคงมีพลังงานสูง เมื่อซัดถึงฝั่งจะมีความรุนแรงมาก อำนาจการ
พังทลายก็มีมากด้วยเช่นกัน
21

4. เศรษฐกิจของประเทศจะดำเนินไปด้วยดีและมั่นคงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการมีเงินในปริมาณที่
เหมาะสม ถ้าในขณะใดขณะหนึ่งมีปริมาณเงินน้อยเกินไปก็จะก่อให้เกิดปัญหาเงินฝืด แต่ถ้ามี
มากเกิน ไปก็จ ะก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาทั้งสองแบบนี้ล ้ว นก่อให้เกิดผลเสีย ต่ อ
เศรษฐกิจของประเทศ และผลเสียดังกล่าวก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในประเทศด้วยเช่นกัน
จึงสามารถกล่าวได้ว่าเงินเปรียบเสมือนปัจจัยที่ใช้หล่อลื่นเศรษฐกิจของประเทศ
5. ประเทศไทยมีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นอาหารประเทศ
หนึ่งในโลก นับ ตั้งแต่โ บราณกาลตลอดมา คนไทยส่ว นใหญ่ซึ่งเป็นชาวไร่ช าวนาก็เ ป็ น
ชาวประมงโดยปริยาย จับปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง เป็นต้น
เพื่อใช้บริโภคกันในครอบครัว ส่วนที่เหลือก็นำไปแลกเปลี่ยนหรือขาย ส่วนประชาชนซึ่งอยู่
ตามจังหวัดชายทะเล ส่วนใหญ่ยังดำรงชีพอยู่ด้วยการทำการประมง และในรอบยี่สิบห้าปีที่
ผ่านมาก็ได้มีการใช้อวนลากทำการประมงในทะเล ทำให้กิจการประมงของประเทศเจริญ
รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ปริมาณปลาที่จับได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ทำให้บังเกิดผลดี แก่
เศรษฐกิจ ของประเทศของเรา ดังนั้นจึงเห็นได้ว ่าทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปลา มี
ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศของเรา
6. การเลี้ยงดูเด็กเล็กจำเป็นต้องอาศัยความพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ เช่น ต้องคอยทำความ
สะอาดร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ทุกครั้งหลังจากที่เด็กปัสสาวะหรืออุจจาระแล้ว เพื่อขจัด
ความสกปรก ความเลอะเทอะ และทำให้เด็กสบายตัว ต้องอุ้มเด็กขึ้นพาดบ่าเพื่อไล่ล ม
หลังจากที่ให้นมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้นมมารดาหรือนมขวด ทั้งนี้จะได้ไม่เกิดอาการปวด
ท้องตามมาในภายหลัง รวมทั้งต้องล้างขวดนมทันทีหลังจากที่ใช้แล้ว เพื่อกันมิให้มีเชื้อโรค
อันเนื่องมาจากการบูดเสียของนมที่เหลือติดค้างอยู่ในขวด นอกจากนี้ ยังต้องคอยสังเกต
อาการของเด็กอยู่ตลอดเวลา เช่น หากมีลมในท้องมากเกินไป ก็ต้องให้ยาขับลม หากบริเวณ
โคนขาพับถูกผ้าอ้อมกัดจนเป็นผื่นแดงก็ต้องทายาให้ หรือหากเด็กร้องไห้กวนเพราะหงุดหงิด
อันเนื่องมาจากอากาศร้อน ก็ต้องเช็ดตัวหรืออาบน้ำ หรือเปิดเครื่องปรับอากาศให้
22

7. ศิลปะแห่งการฟังนั้นไม่ได้หมายถึงการที่นั่งนิ่งปล่อยให้คนพูดฝ่ายเดียว แล้วก็ฟังเหมือนฟัง
เทศน์ การทำเช่ น นั ้ น ง่ า ยเกิ น กว่ า ที ่ จ ะนั บ ว่ า เป็ น ศิ ล ปะ ศิ ล ปะแห่ ง การฟั ง หมายถึ ง
ความสามารถที่จะชักจูงผู้พูดให้หันเหเข้าหาเรื่องที่เขาถนัดที่สุด คือ แสดงให้เห็นว่าตนกำลั ง
ฟังคำพูดของเขาด้วยความตั้งใจ อยากรู้ อยากฟังจริงๆ รู้จักสอดคำถามในโอกาสที่เหมาะ
รู้จักปล่อยให้ผู้พูดพูดจนสิ้นกระแสความ รู้จักช่วยผู้พูดที่กำลังจะหมดเรื่องพูดให้กลับมีเรื่อง
ขึ้นมาใหม่เพื่อให้เขาพูดได้ต่อไป
8. สังคมที่มีพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีอยู่แล้วมักให้ความสนใจในเรื่องของไสย
ศาสตร์น้อยมาก ในขณะที่ความสนใจในเรื่องทางศาสนาก็แคบลง กลายเป็นเรื่องที่เน้นในทาง
ปรัชญามากกว่า ส่วนสังคมในประเทศที่ยังล้าหลังทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ยังให้
ความสนใจกับเรื่องไสยศาสตร์และศาสนาที่เน้นการสยบต่อสิ่งนอกเหนือ ธรรมชาติอยู่ ความ
แตกต่างกันระหว่างสังคมทั้งสองระดับนี้เห็นได้จากการประกอบพิธีกรรม สังคมที่พัฒนาแล้ว
ไม่สนใจในเรื่องพิธีกรรมในระบบความเชื่อทั้งศาสนาและไสยศาสตร์ ส่วนสังคมที่กำลังพัฒนา
หรือด้อยพัฒนา มักเน้นความสำคัญของพิธีกรรมในกิจกรรมต่างๆ อยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย จึง
สามารถกล่าวได้ว ่า สังคมมนุษย์ให้ความสำคัญกับความเชื่อทางศาสนาและไสยศาสตร์
แตกต่างกันโดยแสดงผ่านการประกอบพิธีกรรม
9. ในสังคมโบราณของโลก การเขียนการบันทึกทั้งหมดเกิดขึ้นในสังคมที่เป็นเมืองแล้ว สังคมที่
เป็นเมืองในที่นี้หมายถึงสังคมที่มีคนมาก และคนเหล่านั้ นก็ประกอบอาชีพต่างกัน ยังผลให้
ลักษณะของสังคมที่เป็นเมืองไม่เหมือนสังคมหมู่บ้านที่ส่วนใหญ่คนมักมีอาชีพเดียวกัน คนใน
เมืองนั้นมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่นหลากหลายมากกว่า มีการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน
ฯลฯ รวมความแล้วก็คือกิจกรรมต่าง ๆ ของคนในสังคมเมืองเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้
เกิดการเขียนการบันทึกขึ้น ดังจะเห็นได้จากภาษาเขียนสุเมเรียน ซึ่งเป็นภาษาเขียนที่เก่าแก่
ที่สุดในโลก มีอายุประมาณ 5,000 ปี ก็มีบันทึกรายชื่อสิ่งของและรายชื่อคนอันเป็นสิ่งซึ่ง
สะท้อนให้เห็นกิจกรรมที่หลากหลายของสังคม
23

10. โคเลสเตอรอลเหมือนดาบ 2 คม คือมีทั้งคุณและโทษ จริง ๆ แล้วโคเลสเตอรอลก็มีประโยชน์


ต่อร่างกายเพราะเป็นส่วนประกอบของเซลล์ประสาทและสมอง ช่วยสร้างฮอร์โมน เป็นต้น
ร่างกายเราสามารถสร้างโคเลสเตอรอลได้เองจากตับ และสามารถรับจากภายนอกด้วยการ
กิน อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้าหากร่างกายรับโคเลสเตอรอลมากไป เกินวันละ 250
มิลลิกรัม ก็จะทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง ถ้าสูงมากจะทำให้ไปพอกอยู่ตามผนังหลอด
เลือด อาจทำให้เส้นเลือดตีบตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้อย่างสะดวก เป็นเหตุให้เกิด
เส้นเลือดอุดตันหรือแข็งตัว จนทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรืออัมพาตได้ อาจกล่าวได้ว่า
โคเลสเตอรอลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
11. คนเรามีเซลล์สมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายอยู่ที่บริเวณก้านสมองในส่ว นที่
เรี ย กว่ า ซั บ สแตนเที ย ไนกราคอมแพกทา (substantia nigra compacta : SNc) เซลล์
ดั ง กล่ า วมี ห น้ า ที ่ ส ร้ า งสารสื ่ อ ประสาท (neurotransmitter) ที ่ เ รี ย กว่ า สารโดปามี น
(dopamine) สารนี้จะออกฤทธิ์ทำให้คนเราเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ เมื่อความเสื่อมของสมอง
เกิดขึ้น เซลล์สมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายก็จะมีจำนวนลดลง เป็นเหตุให้
สมองขาดสารโดปามีนและเกิดเป็นโรคพาร์กินสัน ผู้ป่วยเป็นโรคดังกล่าวจะมีอาการแสดง
ออกมาในรูปของอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า ตัวแข็งเกร็ง และการทรงตัวลำบาก จึงกล่าวได้ว่า
ปริมาณของสารโดปามีนมีความสำคัญต่อการควบคุมกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย
12. การดื่มน้ำอัดลมบางครั้งอาจให้โทษ เพราะในน้ำอัดลมมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มาก ทำ
ให้ผู้ดื่มมีลมอัดแน่นอยู่ในกระเพาะ ก่อให้มีอาการท้องอืด ทั้งยังมีสีผสมอยู่ อาจก่อให้เกิด
อันตรายต่อตับ หากดื่มติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะสีดังกล่าวจะสะสมอยู่ในตับมากขึ้น
นอกจากนี้ในน้ำอัดลมยังมีสารคาเฟอีนผสมอยู่ คาเฟอีนเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง สารนี้จะ
กระตุ้นประสาทให้ตื่นตัว มีผลให้นอนไม่หลับได้ หรือการบริโภคมากเกินไปก็อาจบีบหัวใจ
และข้อสำคัญในน้ำอัดลมมีน้ำตาลอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมมากจึงทำให้น้ำหนักตัว
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตามมา เช่น เบาหวาน การดื่มน้ำอัดลม
เสมอจึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
24

13. ในพิธีไหว้ครู ดอกมะเขือเป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพนบนอบและกตัญญูกตเวที อัน


เนื่องมาจากดอกมะเขือทุกดอกจะมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากดอกไม้ทั่วไปอยู่อย่างหนึ่งคือ
กลีบดอกจะน้อมลงเบื้องล่าง จะไม่ชูกลีบดอกขึ้ นเบื้องบนเหมือนดอกไม้อื่น ๆ คล้ายกับจะ
บอกว่าตัวเราเกิดมาจากดินและจากปุ๋ยอันสกปรก ถ้าเราไม่ลืมดิน ไม่ลืมปุ๋ย นับเป็นบทเรียน
ที่ศิษย์ควรถือเป็นแบบอย่าง คือไม่ควรลืมอุปการคุณของครู อาจารย์ ควรเคารพนอบน้อม
และกตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ตลอดไป
14. เด็กผู้หญิงในหมู่บ้านในสมัยก่อนจะเรียนรู้การทอผ้าจากการเฝ้าสังเกตการทำงานของยาย
แม่ น้า หรือพี่สาว เมื่อเด็กโตพอจะนั่งกี่สำหรับใช้ทอผ้าได้ ก็จะเริ่มทอผ้าง่าย ๆ ก่อน แล้วจึง
เริ่มพัฒนาเทคนิคการทอ จนสามารถทอผ้าที่มีลวดลายวิจิตร สำหรับงานพิธีได้ การทอผ้าจึง
เป็นงานศิลปหัตถกรรมของผู้หญิงที่เรียนรู้สืบทอดต่อกันภายในครอบครัวหลายชั่วคน โดย
นับเป็นการอบรมบ่มนิสัยลูกผู้หญิงให้มีความละเอียด มีระเบียบ อดทน รู้จักใช้เวลาว่างให้
เป็นประโยชน์ และรู้จักศิลปะ นอกจากนี้ยังถือเป็นการสืบทอดเทคนิควิธี และเอกลักษณ์ทาง
วัฒนธรรมของครอบครัวและของชุมชนอีกด้วย
15. การปลูกมะละกอลงทุนน้อยกว่าการปลุกพืชชนิดอื่น กล่าวคือ หาเมล็ดพันธุ์ได้ง่าย เช่น ใช้
เมล็ดจากมะละกอที่เราซื้อมารับประทานแล้วก็ได้ ในการปลูกใช้ปุ๋ยน้อยกว่าต้นไม้อื่นที่มี
ขนาดเดียวกัน และในการบำรุงรักษาก็ทำได้ง่ายกว่าการปลูกต้นไม้อื่น เพราะมะละกอเป็น
พืชที่มีศัตรูน้อยกว่า ไม่มีแมลงหรือเชื้อรารบกวน จึงไม่จำเป็นต้องเสียเวลาพ่นยาฆ่าแมลง
หรือยากำจัดเชื้อราเหมือนปลูกพืชผักชนิดอื่น นอกจากนี้มะละกอยังให้ผลมากกว่าการปลูก
ผลไม้หรือผักอื่น กล่าวคือ สามารถให้ผลได้ตลอดปีอย่างต่อเนื่อง และคราวละเป็นจำนวน
มาก ด้วยเหตุนี้การปลูกมะละกอจึงดีกว่าการปลูกพืชผักชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัดเจนทีเดียว
25

บทอ่านและแบบฝึกหัด
มนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลี

แผนผังมโนภาพ

มนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลี

1) คำนำ 2) เนื้อเรื่อง 3) สรุป

1.1) สมญานาม 3.1) การเชิญชวนให้มาสัมผัส


มนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลีด้วยตนเอง

2.1) ธรรมชาติที่งดงาม 2.3) โครงสร้างทางสังคมและ 2.5) ความสามารถ


ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ด้านกีฬา

2.1.1) ภูมิประเทศ
2.3.1) โครงสร้างทางสังคมคล้าย 2.5.1) คนเกาหลี
กับประเทศไทย รักกีฬา
2.1.2) ฤดูกาล
2.3.2) ชุดประจำชาติ 2.5.2) เทควันโด
ของตนเอง ซึ่งได้รับการบรรจุ
2.2) สถานที่ท่องเที่ยว เป็นกีฬาสากล
สวยงามและบรรยากาศน่า
2.3.3) ภาษาและ
ประทับใจ
ตัวอักษรของตนเอง 2.5.3) การเป็นเจ้าภาพ
ร่วมกับญี่ปุ่น
ในการจัดฟุตบอลโลก
2.2.1) กรุงโซล 2.4) อาหารประจำชาติ

2.2.2) เกาะเซจู
2.4.1) กิมจิ

2.4.2) โสมเกาหลี
26

เรียงความชนะการประกวดดีเยี่ยม
เรื่อง “มนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลี”

สรรพสิทธิ์ บุญเลิศ

หลายประเทศในแถบทวีปเอเชียต่างมีมนต์เสน่ห์ของตนแตกต่างกันไป แต่ถ้าเอ่ยถึง
ประเทศที่ได้รับสมญานามว่า “ดินแดนแห่งความสงบยามเช้า ” หรือ “สวิสเซอร์แลนด์ แห่ ง
เอเชีย” หลายคนคงไม่ทราบว่าประเทศที่ถูกเอ่ยถึงคือประเทศใด แต่สำหรับผู้ที่รู้จักหรือได้ศึกษา
เกี่ยวกับดินแดนแห่งนี้เป็นอย่างดี หรือบางคนอาจไปเยือนดินแดนแห่งนี้มาแล้ว ก็คงทราบได้
ทันทีว่าดินแดนที่ถูกเอ่ยถึง คือ สาธารณรัฐเกาหลี
มนต์ เ สน่ ห ์ ข องประเทศเกาหลี น ั ้ น มี ห ลายประการ แต่ ม นต์ เ สน่ ห ์ ท ี ่ ส ามารถดึ งดูด
นักท่องเที่ยวให้มาเยือน และนำความประทับใจกลับไปด้วยนั้น ได้แก่ สภาพธรรมชาติอันงดงาม
ราวกับฉากละคร สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ศิลปวัฒนธรรม อาหาร และความสามารถทางด้าน
กีฬาของเกาหลี
สำหรับมนต์เสน่ห์ประการแรก คือ สภาพธรรมชาติอันงดงามราวกับฉากละคร นับเป็น
มนต์เสน่ห์สำคัญที่สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะสภาพภูมิประเทศ
ของเกาหลีนั้นเป็นคาบสมุทร มีภูเขาน้อยใหญ่ลดหลั่นกันสลับไปมาดูสวยงาม และมีแม่น้ำหลาย
สายเลี้ยวลดคดเคี้ยวดูแปลกตา เหมือนกับว่าภูมิประเทศของเกาหลีนั้นถูกจัดฉากให้สวยงาม
เหมือนละครฉากหนึ่งโดยฝีมือของมนุ ษย์ แต่ในความเป็นจริงภูมิประเทศที่งดงามนี้เกิดจาก
ธรรมชาติที่แต่งแต้มมาด้วยตัวของมันเอง
ภูมิอากาศของเกาหลีนับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างสีสันให้สภาพธรรมชาติของ
เกาหลีดูงดงามเหมือนฉากละครตลอดระยะเวลารอบปี สำหรับภูมิอากาศของเกาหลีมีถึง 4
ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ฤดูแต่ละฤดูมีเสน่ห์
แตกต่างกันออกไป ฤดูร้อนเป็นฤดูแห่งพระอาทิตย์ที่ส่องแสงให้ความอบอุ่นตลอดทั้งฤดู จึงทำให้
นักท่องเที่ยวที่ต้องการพักผ่อนมาท่องเที่ยวทุ่งหญ้าในป่าอันร่มรื่นสีเขียวขจีตัดกับท้องฟ้าสีค ราม
ที่ถูกแสงอาทิตย์สาดแสง ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูกาลแห่งความหนาวเย็นเข้ามาแทนที่แต่ฟ้าใสจากฤดู
27

ร้อนยังมิทันจางหายไป นับเป็นอีกฤดูหนึ่งที่ชวนหลงใหล เพราะฤดูนี้ทำให้มีความรู้สึกสดใส และ


เบิกบานไปกับใบไม้ที่เริ่มร่วงหล่นพรมพร่างเต็มพื้นดิน ส่วนฤดูต่อมา คือ ฤดูหนาวซึ่ งเป็นฤดูกาล
แห่งลมหนาวโชยมา ชวนให้ประทับใจไปกับหิมะเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยที่หล่นมาต้อนรับลมหนาว
สภาพภูเขาถูกปกคลุมไปด้วยหิมะสีขาวชวนให้สัมผัสเป็นอย่างยิ่ง และฤดูกาลสุดท้าย คือ ฤดู
ใบไม้ผลิ เป็นฤดูที่เสน่ห์อยู่ที่ดอกไม้นานาพรรณกำลังผลิบานมีสีสันงดงาม ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นได้ว่า
เกาหลีมีสภาพธรรมชาติที่สวยงามเหมือนฉากละคร หากเปรียบสภาพธรรมชาติของเกาหลี
เหมือนฉากละครแล้วก็คงเป็นฉากละครที่ทุ่มทุนสร้างมหาศาล และสภาพธรรมชาติที่สวยงามนี้
เองที่จะนำรายได้เข้าสู่ประเทศเกาหลีเป็นจำนวนมาก
สถานที่ท่องเที่ยวของเกาหลีที่มีเสน่ห์อี กแห่งหนึ่ง คือ กรุงโซลที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่
สวยงามมากมาย และเกาะเซจูที่มีบรรยากาศอันติดตราตรึงใจ สำหรับกรุงโซลนั้น นอกจากจะ
เป็นเมืองหลวงที่คับคั่งไปด้วยผู้คนแล้ว ยังมีสภาพธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวสวยงาม ทั้งนี้
เพราะกรุงโซลมีภูเขาล้อมรอบเป็นวงแหวน ไม่ว่ายืนตรงส่วนไหนของเมืองย่อมเห็นภูเขาที่งดงาม
เสมือนเป็นปราการธรรมชาติให้กับกรุงโซลซึ่งแตกต่างจากเมืองหลวงของไทยที่มีแต่ตึกสูงบดบัง
ทัศนียภาพ รวมถึงมีแหล่งเสื่อมโทรมกระจายอยู่ทั่วเมือง ด้วยเหตุที่มีทัศนียภาพที่งดงามนี้เองจึง
ทำให้กรุงโซลเป็นเมืองหลวงแห่งหนึ่ง ในทวีปเอเชียที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนติดอันดับต้น ๆ ของ
ทวีปเอเชีย อีกทั้งมีพระราชวังเคียงบกที่เป็นพระราชวังเก่าแก่นั้นมีสิ่งที่น่าสนใจต่าง ๆ มากมาย
เช่น อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่มีลักษณะอย่างพระที่นั่งอนันตสมาคมของไทย และ
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีภาพศิลป์ที่ สวยงาม โดยเป็นภาพพระคริสต์จากฝีมือของซันโดวา จิตรกรชาว
ญี่ปุ่น และรูปประติมากรรมบุคคลสำคัญของเกาหลี นอกจากนี้ยังมีประตูเข้าเมืองทั้ง 4 ทิศ คล้าย
กับประตูเมืองของเมืองแถบภาคเหนือของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันคงเหลือแต่ประตูใหญ่
ทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้เท่านั้น คล้ายกับว่าประตูทั้งคู่ที่เหลืออยู่เป็นคนโบราณยืนดู
ความวุ่นวายของคนรุ่นใหม่ และสถานที่สุดท้าย คือ เนินเขาอารีรังที่คนไทยออกเสียงเป็น “อารี
ดัง” เป็นสถานที่ที่มีจินตนาการทางด้านความรักระหว่างหนุ่มสาวชาวเกาหลี สะท้อนให้เห็นถึง
จินตนาการทางความรักซึ่งกลายเป็นมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่ง
ส่วนเกาะเซจูนั้นมีเสน่ห์อยู่ที่บรรยากาศอันน่าประทับใจ ไม่ว่าจะเป็นจากผู้คนหรือสภาพ
ธรรมชาติบนเกาะ ชาวเกาะเซจูนั้นนับถือเจ้าที่เจ้าทางเรียกว่า “ปู่ฮารูบัง” ทำมาจากหินสลักเป็น
รูปคนเตี้ย ๆ สวมหมวก มีดวงตาและจมูกโต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่คล้ายกับคนไทยนั่นคือ
28

เมื่อไปเยือนสถานที่ต่าง ๆ จะต้องเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลสถานที่แห่งนั้นอยู่ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ


และฤดูร้อนบนเกาะเซจูมีสีสันของดอกไม้ที่สวยงามมาก โดยเฉพาะดอกยูชาเฮวาลีที่มีสีเหลื อง
บานสะพรั่ง น้ำหวานจากละอองเกสรดอกไม้นี้ได้หล่อเลี้ยงฝูงผึ้งจำนวนมหาศาล จึงทำให้น้ำผึ้ง
ของเกาะเซจูมีชื่อเสียงและเป็นสินค้าที่สำคัญ เมื่อพูดถึงน้ำผึ้งแล้วก็คงต้องนึกถึงน้ำผึ้งพระจันทร์
เพราะเกาะเซจูเป็นสวรรค์ของหนุ่มสาวชาวเกาหลีหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแต่งงานแล้ว คู่บ่าวสาวจะ
เดินทางมาดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ที่เกาะแห่งนี้ เกาะเซจูจึงเป็นเกาะที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่เพิ่ง
แต่งงานใหม่ให้มาสัมผัสบรรยากาศอันชวนติดตราตรึงใจของเกาะนี้
มนต์เสน่ห์ประการต่อมา คือ สภาพสังคมและศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ของเกาหลี เช่น โครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม เครื่องแต่งกายประจำชาติ ภาษาและตัวอักษร
เป็นต้น
ลักษณะโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีส่วนใหญ่จะมีลักษณะ
คล้ายคลึงกับไทย เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาเหมือนกัน วิถีชีวิตครอบครัวของ
ประชาชนทั้งไทยและเกาหลีในอดีตเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยคนหลายชั่วอายุ
รวมกัน มีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้มีอำนาจ ทุกคนต้องเคารพเชื่อฟังหัวหน้าครอบครัวและผู้อาวุโส
กว่า แต่ในปัจจุบัน ทั้งครอบครัวของไทยและเกาหลีกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวขนาด
เล็ ก มากขึ ้ น ทั ้ ง นี ้ เ พราะเกิ ด การเปลี ่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ สั ง คม และวั ฒ นธรรม แต่ ใ น
ขณะเดียวกัน ชาวเกาหลียังคงรักษาความมีระเบียบวินัยและการเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสได้เป็น
อย่างดี ส่วนวัฒนธรรมของไทยเริ่มเลือนหายไปกับวัฒนธรรมของชาวตะวันตก เช่น เริ่มไม่ไหว้ผู้
อาวุโสก่อน เป็นต้น สังคมของชาวเกาหลียังอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามไว้ นับเป็นการกระทำที่น่า
ทำตามอย่างยิ่ง
อนึ่ง เครื่องแต่งกายประจำชาติของเกาหลีมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร
ถึงแม้ว่าปัจจุบันวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวเกาหลีจะถูกแทรกแซงจากวัฒนธรรมการแต่งกาย
แบบชาวตะวันตก เช่น การสวมชุดสากล และผูกเน็กไท แต่ชาวเกาหลียังคงสวมชุดประจำชาติ
ของตนไปในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีทำบุญวันเกิด เป็นต้น ชุดประจำชาติของชาว
เกาหลีที่เรียกว่า “ฮันบก” ซึ่งมีส่วนประกอบหลายส่วน คือ มีส่วนที่เป็นเสื้อคลุม กางเกง และ
หมวก กลับใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าชุดสากลตามอย่างฝรั่งเสียอีก เช่น ใช้เป็นเสื้อคลุมเพื่อความ
อบอุ่นในยามฤดูใบไม้ผลิที่ยังมีอากาศหนาวเย็น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของเครื่อง
29

แต่งกายประจำชาติเกาหลีที่ยังคงดำรงอยู่ได้ ถึงแม้ว่าจะถูกรบกวนจากวัฒนธรรมการแต่งกาย
ของชาติตะวันตกก็ตาม แต่ชนชาวเกาหลียังคงเอกลักษณ์การแต่งกายของชนชาติตนไว้อย่าง
เหนียวแน่น และการยังคงเอกลักษณ์ของชนชาวเกาหลีนี้เองทำให้วัฒนธรรมการแต่งกายของชน
ชาตินี้ไม่สูญหายไป เพราะการมีชุดประจำชาตินั้นสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นปึกแผ่นของชาติ
เกาหลี
ภาษาและตัวอักษรของเกาหลีนับเป็นเสน่ห์อย่า งหนึ่ง เพราะชาวเกาหลีนิยมแต่งบทกวี
มาตั้งแต่โบราณ ดังนั้น หลังจากมีการประดิษฐ์ตัวอักษรเกาหลีแล้ว ชาวเกาหลีจึงนำตัวอักษรของ
ตนมาร้อยเรียงเป็นภาษาในบทกวีของตน เช่น บทกวีประเภทซกโยเป็นบทกวีของชาวบ้าน ใช้
สำหรับขับร้อง ส่วนบทกวีประเภทกาซาเป็นบทกวีที่ชนชั้นสูงแต่ง เสียเป็นส่วนใหญ่ ใช้พรรณนา
ธรรมชาติระหว่างการเดินทาง บทกวีนี้คล้ายคลึงกับนิราศของไทย แต่ปัจจุบัน รูปแบบและเนื้อหา
ของบทกวีได้เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของบทกวีตะวันตก เช่น เป็นกลอนอิสระหรือกลอน
เปล่า แต่ยังคงมีชาวเกาหลีบางกลุ่มที่ยังคงอนุรักษ์แนวทางของบทกวีโบราณไว้ หากใครที่ได้
ศึกษาถึงบทกวีของชาวเกาหลีและซึมซับสำนวนโวหาร รวมถึงความหมายของบทกวีอย่างถ่องแท้
แล้ว เขาเหล่านั้นย่อมหลงเสน่ห์ในสำนวนโวหารของภาษาเกาหลีอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ประเทศเกาหลียังมีมนต์เสน่ห์ในด้านอาหารด้วย โดยอาหารของเกาหลีนั้น
มีทั้งความอร่อยและมีคุณค่าอย่างมาก อาหารที่ขึ้นชื่อของเกาหลี ได้แก่ กิมจิและโสม กิมจิเป็นผัก
ดองอันเป็นอาหารประจำวันที่ชาวเกาหลีขาดไม่ได้ คล้ายของแกล้มช่วยชูรสชาติอาหารแต่ละจาน
ให้มีรสชาติมากยิ่งขึ้น ส่วนโสมเป็นอาหารบำรุงร่างกายที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเกาหลี
ไปแล้ว เสน่ห์ของโสมอยู่ที่สรรพคุณที่บำรุงร่างกายให้มีสภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จะ
เห็นได้จากประชาชนชาวเกาหลีส่วนใหญ่จะมีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืน โสมเกาหลีจึงเป็นที่
ต้องการของชาวต่างชาติที่ต้องการมีสุขภาพดี การปลูกโสมของเกาหลีนั้นช่วยสร้างรายได้ให้กับ
ประเทศเกาหลีอีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ คนเกาหลีมีความสามารถด้านการกีฬา กีฬาจึงกลายเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของ
เกาหลี เพราะคนเกาหลีรักกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาเพื่อความบันเทิง เพื่อการแข่ง ขัน
หรือศิลปะป้องกันตัว รัฐบาลของเกาหลีก็ให้ความสนับสนุนเป็นอย่างดี เช่น การจัดกีฬาโอลิมปิก
ในปี ค.ศ. 1988 เป็นต้น ส่วนศิลปะป้องกันตัวที่เรียกว่าเทควันโดนั้นกลายเป็นกีฬาที่ถูกบรรจุเป็น
กีฬาสากลของทั่วโลกแล้ว ความสามารถทางด้านกีฬาที่เกาหลีจะแสดงให้ชาวโลกประจักษ์แก่
30

สายตาในเร็ววันนี้ คือ ความสามารถทางด้านฟุตบอล เพราะเกาหลีใต้ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ


ร่วมกับญี่ปุ่น ในการจัดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี ค.ศ. 2002 อย่างไรก็ตาม การได้รับเกียรติให้
เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันครั้งนี้คงสำคัญไม่น้อยไปกว่าการแสดงฝีเท้าเชิงลูกหนังให้คนทั้ง
โลกรู้ว่าชาวเกาหลีมีความสามารถกับกีฬาฟุตบอลมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปเล่นใน
ฟุตบอลโอลิมปิก หรือการเข้าไปเล่นฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายมาแล้วถึง 6 ครั้ง โดยที่ประเทศ
หลาย ๆ ประเทศในโลกยังไม่เคยสัมผัสเกมการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายแม้แต่ครั้งเดียว
เช่น ประเทศไทย เป็นต้น ความสามารถทางกีฬาชนิดนี้เองจะทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลไปชม
การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ และการแข่งขันทุกนัดที่จะถึงในปีหน้านี้จะต้องเป็นเกมฟุตบอลที่มี
ความตื่นเต้นเร้าใจมากที่สุด เพราะนักกีฬาฟุตบอลของทุกประเทศต่างก็มีฝีเท้าทัดเทียมกัน โดย
เฉพาะตัวเจ้าภาพเกาหลีนั้นพัฒนาฝีเท้าขึ้นจนอยู่ในระดับแนวหน้าของทวีปเอเชียจะสร้างความ
ประทับใจให้กับผู้มาชมอย่างแน่นอน
ในปี ค.ศ. 2001 นี้ รัฐบาลเกาหลีได้ประกาศให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวของเกาหลี โดย
ชักชวนให้ไปสัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลี แต่การจะสัมผัสมนต์เสน่ห์ของดินแดนแห่งนี้จาก
การฟังเพียงคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา หรือดูรูปภาพคงไม่สามารถรับรู้ถึงเสน่ห์ที่แ ท้จริงได้ ดังนั้น
การจะสัมผัสมนต์เสน่ห์ที่ชวนสะกดให้ใครต่อใครหลงใหลดินแดนแห่งนี้ต้องสัมผัสด้วยตนเอง

___________________________

(นั ก ศึ ก ษารหั ส 4304337 คณะสั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ส่ ง ประกวดเมื ่ อ 2
พฤศจิกายน 2544)
31

แบบฝึกหัด

คำชี้แจง จงอ่านเรื่อง “มนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลี” แล้วตอบคำถาม


1. สาธารณรัฐเกาหลีมีสมญานามว่าอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
2. มนต์เสน่ห์ที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ทไี่ ปเยือนสาธารณรัฐเกาหลีมากที่สุดคืออะไร
ตอบ _______________________________________________________________
3. เจ้าที่เจ้าทางที่ชาวเกาะเซจูในสาธารณรัฐเกาหลีให้ความนับถือมีลักษณะอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
4. บทกวีที่ชนชั้นสูงใช้แต่งเพื่อพรรณนาธรรมชาติระหว่างเดินทางคือบทกวีประเภทใด
ตอบ _______________________________________________________________
5. เหตุใดโสมจึงเป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของสาธารณรัฐเกาหลี
ตอบ _______________________________________________________________
6. สาธารณรัฐเกาหลีเป็นเจ้าภาพ (ร่วม) ในการจัดฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปีพุทธศักราชใด
ตอบ _______________________________________________________________
7. เรื่อง “มนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลี” กล่าวถึงประเด็นกี่ประเด็น อะไรบ้าง
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
32

8. ประเด็นที่ปรากฏในเรื่อง “มนต์เสน่ห์แห่งแดนเกาหลี” มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย


ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
9. นักศึกษาเห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “วัฒนธรรมของไทยเริ่มเลือนหายไปกับวัฒนธรรมของ
ชาวตะวันตก” หรือไม่ อย่างไร จงแสดงความคิดเห็น
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
10. นักศึกษาคิดว่าท้องถิ่นของนักศึกษามี “มนต์เสน่ห์” หรือไม่ อย่างไร จงแสดงความคิดเห็น
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
33

แบบฝึกหัด
การเขียนโครงเรื่อง กลิน่ รถใหม่ ภัยใกล้ตัว

คำชี้แจง: จงนำข้อความที่กำหนดให้มาจัดลำดับให้เป็นโครงเรื่องของเรียงความที่สมบูรณ์

1. รณรงค์ให้ลดปริมาณสารพิษในวัสดุอุปกรณ์ภายในรถยนต์
2. ที่วางแขน
3. พวงมาลัย
4. มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบปริมาณสารพิษจากรถยนต์
5. ผู้ที่เกี่ยวข้องควรหันมาใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
6. เบาะที่นั่ง
7. อุปกรณ์ที่อาจปนเปื้อนสารเคมี
8. โบรมีน
9. โรคตับเป็นพิษ
10. สถิติผู้เจ็บป่วยจากสารปนเปื้อนในรถยนต์ใหม่
11. โรคภูมิแพ้
12. ฟอร์มาดีไฮต์
13. รณรงค์ให้เปลี่ยนไปใช้วัสดุอื่นที่ปลอดภัยกว่าทดแทน
14. สารเคมีที่สำรวจพบในรถยนต์ใหม่
15. การแก้ไขปัญหา
16. โรคมะเร็ง
17. แผงหน้ารถ
18. “กลิ่นรถใหม่ ภัยใกล้ตัว”
19. ผลกระทบต่อสุขภาพ
20. สารตะกั่ว
34

โครงเรื่อง

______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
35

แบบฝึกหัด
การเขียนโครงเรื่อง ฟันสวยและวิธีการดูแลรักษาฟันให้สวย

คำชี้แจง: จงนำข้อความที่กำหนดให้มาจัดลำดับให้เป็นโครงเรื่องของเรียงความที่สมบูรณ์

1. ฟันแท้ขึ้นไม่เป็นระเบียบ
2. ลักษณะฟันสวย
3. ฟันเป็นอวัยวะสำคัญในช่องปาก การรักษาฟันให้สวยมีผลต่อบุคลิกภาพ
4. งดหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการดื่มกาแฟ
5. ดูแลฟันน้ำนมไม่ให้ถูกถอนเพื่อให้ฟันแท้ขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง
6. สีของฟันต้องมีสีขาว
7. ระวังการรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อสีของฟัน
8. การรับประทานยาบางชนิดที่มีผมต่อสีของฟัน
9. ฟันต้องเรียงกันเป็นระเบียบ
10. สาเหตุที่ทำให้ฟันไม่สวย
11. หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวานหรือน้ำอัดลม
12. พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
13. การดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นสิ่งจำเป็นจึงควรใส่ใจอยู่เสมอ
14. การไม่ดูแลรักษาโรคในช่องปาก
15. ฟันมีคราบหินปูน คราบบุหรี่ หรือคราบกาแฟ
16. สภาพของฟันต้องไม่ผุ
17. วิธีการดูแลรักษาฟันให้สวย
18. บ้วนปากหรือแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
19. “ฟันสวยและวิธีการดูแลรักษาฟันให้สวย”
20. การถอนฟันน้ำนมที่ผุไปก่อนเวลาอันควร
36

โครงเรื่อง

______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
37

บทอ่านและแบบฝึกหัด
ปลาในสำนวนไทย

แผนผังมโนภาพ

ปลาในสำนวนไทย

1) คำนำ 2) เนื้อเรื่อง 3) สรุป

1.1) ประโยชน์ของปลา 3.1) สำนวนไทย


ที่เกี่ยวกับปลาแสดงถึง
ความอุดมสมบูรณ์
2.1) ที่มาของ
สำนวนไทยที่เกี่ยวกับปลา

2.1.1) ความสัมพันธ์ 2.1.5) ความสัมพันธ์


ระหว่างปลากับน้ำ ระหว่างปลากับวิถีชีวิต

2.1.2) วิธีการจับปลา 2.1.4) ชนิดของปลา


2.1.1.1) ภาคเหนือ
ภาคกลาง ภาคอีสาน
เหมือนกัน 2.1.3) ภูมิปัญญา
ในการถนอมอาหาร

2.1.1.2) ภาคใต้
ต่างจากภาคอื่น
38

บทคัดสรร
เรื่อง ปลาในสำนวนไทย

นันทริยา สาเอี่ยม

ปลาเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ในหลายด้าน ในด้านอาหาร ปลาเป็นสัตว์ที่มีคุณค่า


ทางอาหารสูง และมีไขมันน้อย ในด้านเศรษฐกิจปลาช่วยสร้างรายได้ให้แก่มนุษย์ นอกจากนี้ปลา
ยังเป็นสัตว์สวยงามที่ช่วยสร้างความเพลิดเพลินให้แก่มนุษย์ ตลอดจนช่วยปรับสมดุลในแหล่งน้ำ
ธรรมชาติอีกด้วย
เนื่องจากปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำดังนั้นจึงมีสำนวนไทยหลายสำนวนที่แสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างปลากับน้ำ เช่น ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึง ปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึง
บุญคุณ หรือ สำนวน ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง หมายถึง สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย ทำการอันใดที่เป็น
สิ่งสำคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป ในภาษิตล้านนาของสมร เจนจิจะ ได้รวบรวมภาษิตล้านนาไว้
จำนวนมาก มีภาษิตที่ เกี่ยวข้องกับปลาหลายภาษิต เช่น ชาติว่าปลา คันบ่มีน้ำจะอยู่ได้ฉันใด
หมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกต้องอาศัยซึ่งกันและกันไปตามธรรมชาติ หรือ ชาติว่าปลา
คันลาจากน้ำ บ่หันพอกผ้ายคืนมา นั่นคือ ปลาที่หากออกจากน้ำไปแล้ว ไม่หันกลับคืนอีก ภาษิต
นี้ชาวล้านนาใช้เปรียบเทียบผู้หญิงที่หนีสามีไปแล้ว ยากที่จะกลับมาคืนดีกันอีก
สำนวนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปลากับน้ำที่มีเหมือนกันทั้งในสำนวนไทยภาคกลาง
ภาคเหนือ และภาคอีสานคือ น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย ซึ่งในสำนวนไทยภาคกลาง
เปรียบ น้ำ กับ คำพูด และเปรียบ ปลา กับ คน ความหมายของสำนวนนี้คือคำพูดที่ตรงไปตรงมา
แบบขวานผ่าซาก (ซึ่งเปรียบเหมือนกับน้ำร้อน) อาจไม่ถูกใจผู้ฟัง แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย นั่นคือ ทำ
ให้ปลายังเป็นอยู่ มีชีวิตอยู่ ส่วนคำพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน (ซึ่งเปรียบกับน้ำเย็น) ถูกใจผู้ฟัง แต่
อาจเป็นโทษเป็นภัยได้ นั่นคือ ทำให้ปลาตายได้ เนื่องจากปลาอาศัยอยู่ในน้ำ อุณหภูมิของปลากับ
อุณหภูมิของน้ำต้องพอดีกัน ถ้าอุณหภูมิของน้ำสูงหรือต่ำเกินกว่าที่ปลาจะทนอยู่ได้ ปลาก็จะตาย
39

ส่วนในสำนวนเปรียบล้านนาที่อาจารย์สุดา ธนะวงศ์ ได้ศึกษาไว้นั้นได้เปรียบ น้ำเย็น กับ


การมีความเมตตากรุณา และเปรียบ น้ำร้อน กับ การไม่มีความกรุณา และเปรียบ ปลา กับ คน
ดังในสำนวนว่า น้ำเย็นปลาข้อน น้ำร้อนปลาหนี หมายความว่า ผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น
จะมีผู้มาพบปะ เยี่ยมเยือนบ่อย เหมือนมีน้ำเย็นที่ไหน ปลาก็จะมารวมกันอยู่ แต่ถ้าไม่มีความ
กรุณาต่อผู้อื่นจะมีคนหนีไปเหมือนมีน้ำร้อนที่ไหน ปลาก็จะหนีไปไกล
ในผญาก้อมของ อุดม บัวศรี บันทึกไว้ว่า น้ำเย็นปลาข่อน น้ำฮ้อนปลาหนี ซึ่งเปรียบ
น้ำเย็น กับ ความมีเมตตากรุณา และเปรียบ น้ำร้อน กับ ความใจร้อน ความมุทะลุดุดัน ใช้
อำนาจ รศ.อุดม ได้ให้ ความหมายของผญานี้ว่า ปลาจะมารวมกั นอยู่ที่ที่น้ำเย็น ส่วนที่น้ำร้อน
ปลาจะหนี เพราะมันทนอยู่ไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ผู้ใดมีจิตใจเมตตากรุณาเท่ากับมีน้ำเย็น คน
เขาก็รักและนับถือ ส่วนคนใจร้อน มีแต่ความมุทะลุดุดัน ใช้อำนาจ ผู้อยู่ใกล้ชิดก็หวาดเสียว จึง
รู้สึกว่าอยู่บนกองไฟ วันหนึ่งจะมีอันตราย
สิ่งที่น่าสังเกตคือ แม้ข้อความของสำนวนไทยภาคกลางจะคล้ายกับภาคเหนือและภาค
อีสาน แต่มุมมองในเรื่องน้ำร้อนกับน้ำเย็นต่างกัน กล่าวคือ คนไทยภาคกลางเปรียบน้ำกับคำพูด
แต่คนภาคเหนือและภาคอีสานเปรียบน้ำกับจิตใจ
สำหรับสำนวนไทยถิ่นใต้ของ วิไลลักษณ์ เล็กศิริรัตน์ นั้นพบเพี ยง 2 สำนวนที่แสดง
ความสัมพันธ์ระหว่างปลา กับ น้ำ ได้แก่สำนวนที่ว่า ดิกดิกเหมือนปลาเดได้น้ำ หมายถึง แสดง
กิริยาดีดดิ้น ร่าเริง เหมือนปลากระดี่ได้น้ำ (ปลาเด คือ ปลากระดี่) ส่วนอีกสำนวนหนึ่งคือ นก
สองหัว ปลาสองน้ำ หมายถึง เข้าด้วยกันทั้งสองฝ่าย มักใช้พูดตำหนิคนที่ทำตัวฝักใฝ่เข้าด้วยกัน
ทั้งสองฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกันโดยหวังผลประโยชน์ เพื่อตน
ในสำนวนไทยยังสะท้อนให้เห็นวิธีการจับปลาของคนไทยหลายวิธี เช่น ขุดบ่อ ดักไซ
เหวี่ยงแห ดังในสำนวนว่า ขุดบ่อล่อปลา ตีปลาหน้าไซ และปลาติดหลังแห
ส่วนในภาษิตล้านนาสะท้อนให้เห็นวิธีจั บปลาของคนล้านนาในอดีตหลายวิธี ได้แก่ การ
ตกเบ็ด การดักไซ และการใช้เครื่องดัก ดังในภาษิตที่ว่า ตามใจปลาจะกินเบ็ด ตามใจเป็ดจะกิน
หอย ดาวอยู่ยังฟ้า เลือกเอาแก่นใสๆ ปลาอยู่ยังไซ เลือกเอาตัวกล้าๆ ปลาตัวหลวง บ่แพ้เจ้า
คั้ง เพิ่นอยู่ใกล้ยอเอา และเมื่อจับปลาต้องจับให้มั่น ดังในภาษิตว่า พ่ายช้างหื้อเข้าหว่างงา งม
ปลาหื้อกำหมั้นๆ
40

สำหรับในสำนวนไทยถิ่นใต้มีว่า ดักช้างได้ไร ดักไซได้หอย ซึ่งแสดงวิธีการจับปลาด้วย


การดักไซ อีกสำนวนหนึ่งคือ ออกหัดออกอวน (หัดในที่นี้คือระหัดวิดน้ำ) ซึ่งแสดงวิธีการจับปลา
ด้วยอวน ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลาและมีขนาดใหญ่ มีหลายชนิด เป็นตาข่ายผืนใช้ขึงหรือกางเป็น
วงล้อมปลา
ในสำนวนไทยภาคกลางมีว่า ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภูมิ
ปัญญาของคนไทยในการใช้เกลือถนอมอาหารไม่ให้เน่าเสียไปก่อน ส่วนในสำนวนไทยถิ่นใต้มีว่า
คน-ยา ปลา-เกลือ เรือ-ขี้ชัน ซึ่งหมายถึง สิ่งที่เป็นคู่กัน สิ่งที่ช่วยค้ำจุนกัน คนต้องมียารักษายาม
ป่วยไข้ ปลาต้องมีเกลือ ไว้ใส่กันเน่า เรือต้องมีชันไว้อุดซ่อมรอยรั่ว
การเน่าเสียเป็นสิ่งที่ต้องระวังเพราะมีผลกระทบต่อสิ่งที่อยู่รอบข้างดังในสำนวนไทยภาค
กลางว่า ปลาข้องเดียวกัน หมายถึง คนที่อยู่ร่วมกันเป็นพวกเดียวกัน ส่วนในสำนวนเปรียบ
ล้านนา ก็มีคล้ายๆ กัน คือ ปลาตัวเดียว เน่าทึงข้อง (ซ้า) หมายถึง ใครมีพฤติกรรมไม่ดีย่อมทำ
ให้พรรคพวกเสียไปด้วย
ปลาที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด ปลาที่ถูกกล่าวถึงในสำนวนของคนไทยทั้ง 4 ภาค
ได้แก่ ปลาไหล หรือ ปลาเหยี่ยน ในสำนวนไทยภาคกลางมี เกลียดปลาไหล กินน้ำแกง หมายถึง
เกลียดตัวเขา แต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา ในภาษิตล้านนามี พระจันทร์อยู่ฟ้า เป็นเหยื่อ
ราหู ปลาเหยี่ยนอยู่รูยังรู้ถูกส้อม หมายถึง ทุกชีวิตย่อมหนีเคราะห์กรรมต่างๆ ไม่พ้น ปลาไหล
อยู่ในรูยังถูกแทงได้ ส่วนในผญาก้อมมีว่า ปล่อยเอี่ยนลงตม หมายถึง ปลาไหลที่หลุดมือลงไปใน
โคลนตมแล้ว โอกาสที่จะจับคืนมาเป็นเรื่องยาก คนเราก็เช่นกัน ถ้าปล่อยไปตามความอยากแล้ว
ก็ยากที่จะนำกลับสู่กระแสแห่งความดีได้ จึงมีระเบียบวินัยกำกับ สำหรับในสำนวนไทยถิ่นใต้มี 2
สำนวน ที่กล่าวถึงปลาไหลคือ บิดเหมือนลูกไหล และ เมลิ่นเหมือนไหล ซึ่งหมายถึง ตลบตะแลง
พลิกแพลงเก่งจนจับได้ยาก จะเห็นได้ว่า คนไทยรู้จักปลาไหลเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในคุณสมบัติ
ของปลาไหลที่เป็นปลาไม่มีเกล็ด และเมือกตามตัวปลาทำให้ตัวปลาลื่น จับตัวได้ยาก
สำนวนต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของคนไทยกับปลาได้เป็นอย่างดี ที่
สำคัญที่สุด คือ คนไทยทั้ง 4 ภาคใช้ปลาทำอาหารในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้แกงเป็นแกงปลา ทำ
ปลาปิ้ง ปลาแห้ง หรือปลาเค็ม เป็นต้น อนึ่งในสำนวนไทยยังมีสำนวนที่กล่าวถึง ปลา กับ แมว ว่า
ปลากับแมวเป็นของคู่กัน ดังในสำนวนไทยว่า ฝากปลาไว้กับแมว หรือ ปิ้งปลาประชดแมว ส่วน
ในภาษิตล้านนามีว่า ชิ้นใกล้หมา ปลาใกล้แมว ของกินแมวบ่รักษา ของกินหมาบ่เอาไว้ อีก
41

ภาษิตหนึ่งคือ ปลาแห้งใกล้ปากแมว แมวบ่กินแมวง่าว สาวใกล้บ่าว บ่าวบ่หยุบ ก็ซวาม เป็น


ต้น
สำนวนที่เกี่ยวกับปลาดังกล่าวข้างต้นได้สะท้อนให้เห็นลักษณะสังคมไทยในอดีตได้เป็น
อย่างดี ว่าเป็นสังคมที่อุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว นั่นเอง

___________________________

(ออกอากาศในรายการนิตยสารไทย วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เวลา 20.00-20.15


น. ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงสื่อมวลชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
42

แบบฝึกหัด

คำชี้แจง จงอ่านเรื่อง “ปลาในสำนวนไทย” แล้วตอบคำถามที่กำหนดให้


1. ปลามีประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านอาหารอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
2. สำนวน “ชาติว่าปลา คันบ่มีน้ำจะอยู่ได้ฉันใด” หมายความว่าอะไร
ตอบ _______________________________________________________________
3. สำนวน “น้ำเย็นปลาข่อน น้ำฮ้อนปลาหนี” หมายความว่าอะไร
ตอบ _______________________________________________________________
4. สำนวนไทยถิ่นใต้ที่เกี่ยวกับปลาสำนวนใดมีความหมายกล่าวถึงการแสดงกิริยาท่าทางของคน
ตอบ _______________________________________________________________
5. สำนวนไทยถิ่นกลางที่เกี่ยวกับปลาสำนวนใดสะท้อนให้ทราบถึงภูมิปัญญาการถนอมอาหาร
ตอบ _______________________________________________________________
6. ปลาทีป่ รากฏการกล่าวถึงในสำนวนไทยทั้ง 4 ถิ่นคือปลาอะไร
ตอบ _______________________________________________________________
7. เรื่อง “ปลาในสำนวนไทย” กล่าวถึงประเด็นกี่ประเด็น อะไรบ้าง
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
43

8. จากประเด็นที่ปรากฏในเรื่อง “ปลาในสำนวนไทย” สะท้อนให้เห็นว่าผู้เขียนมีวัตถุประสงค์


อย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
9. นักศึกษาคิดว่าเพราะเหตุใดสำนวนที่เกี่ย วกับปลาในแต่ล ะภาค จึงปรากฏทั้งสำนวนที่
คล้ายคลึงกันและสำนวนที่แตกต่างกัน
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
44

10. นักศึกษาเห็นด้วยหรือไม่ว่าสำนวนที่เกี่ยวกับปลาสามารถสะท้ อนให้เห็นลักษณะความอุดม


สมบูรณ์ของไทยในสมัยอดีตได้เป็นอย่างดี
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
45

บทอ่านและแบบฝึกหัด
เวลาว่าง

เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษนี้ นักปราชญ์ในยุโรปยังมีความเชื่อมั่นในการปฏิวัติ ทาง


วิทยาศาสตร์อย่างสูง โดยเฉพาะการประยุกต์เอาวิทยาศาสตร์เป็นเทคโนโลยีเพื่อการผลิตต่างๆ
ด้ ว ยเหตุ ด ั ง นั ้ น จึ ง เชื ่ อ มั ่ น ว่ า เครื ่ อ งจั ก รเครื ่ อ งกล (ซึ ่ ง น่ า จะหมายรวมถึ ง เครื ่ อ ง
อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งตอนนั้นยังไม่ก้าวหน้าเท่าไรนักด้วย) จะช่วยทำงานแทนมนุษย์ จนกระทั่ง
มนุษย์ต้องใช้เวลาในการทำงานน้อยลงไปเรื่อย ๆ ก็ยังสามารถมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงได้
และเพราะมนุษย์ใช้เวลาทำงานน้อยลง จึงทำให้เกิดเวลาที่เรียกว่า “เวลาว่าง” ในชีวิต
ของแต่ละคนมากขึ้น ปัญหาที่นักปราชญ์ฝรั่งคิดกัน ก็คือ จะให้มนุษย์ใช้เวลาว่างนี้ไปในทางใดจึง
จะเกิดความงอกงามแก่อารยธรรมของมนุษย์เอง
“เวลาว่าง” กลายเป็นปัญหาที่นักปราชญ์ต้องคิดล่วงหน้าเอาไว้ เพราะมนุษย์อาจใช้เวลา
ว่างทำลายตนเองก็ได้
“เวลาว่าง” จึงมาผูกผันกับการศึกษาในความหมายกว้าง กล่าวคือต้องมีสิ่งอำนวยความ
สะดวกแก่การศึกษาหรือการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ เรียนรู้ที่จะชื่นชมกับสุนทรียรสทางดนตรี
วรรณกรรม ละคร หรือจิตรกรรม เรียนรู้ความเป็นจริงของธรรมชาติ เช่น วิทยาศาสตร์แขนง
ต่างๆ รวมทั้งเรียนรู้ที่จะครุ่นคิดทางศาสนาและปรัชญา
ในโลกสมัยโบราณ ไม่ว่าในเมืองฝรั่งหรือเมืองไทย เวลาว่างเป็นความฟุ่มเฟือยอย่างหนึ่ง
เพียงเพื่อจะดำรงชีวิตในสภาพที่ไม่อู่ฟู่ มนุษย์ก็ต้องใช้เวลาที่เหลือจากการพักผ่อนหลับนอนไปจน
แทบหมดแล้ว คนที่สามารถครอบครองเวลาว่างได้จึงมีอยู่เพียงหยิบมือเดียวในทุกสังคม ฝรั่งบาง
กลุ่มเรียกคนหยิบมือเดียวนี้ว่า “ชนชั้นเวลาว่าง” หรือจะเรียกให้สมสมัยได้ว่า “ชนชั้นรู้กัน” คือมี
เวลาว่างมาเสพเหล้าดีๆ ที่ “รู้กัน”
คนหยิบมือเดียวที่เป็นเจ้าของเวลาว่างในสมัยโบราณเอาเวลาว่างของตัวเองไปทำอะไร?
ส่วนหนึ่งก็เอาไปแสวงหาความสุขความบันเทิงใส่ตัวด้วยประการต่างๆ แต่ในอีกส่วนหนึ่งอาจ
กล่าวได้ว่าเอาไปสร้างอารยธรรม กล่าวคือสร้างสิ่งอำนวยความสุขให้ประณีตและซับซ้อนขึ้น
46

สิ่งที่ถือกันว่าเป็นศิลปวัฒนธรรมอันดีเลิศของสังคมต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นโขน ดนตรี


คลาสลิก งิ้วหลวง หรือเช็กสเปียร์ทัชมาฮาล ฯลฯ ว่าที่จริงแล้วก็เป็นมรดกตกทอดมาจากการ
สร้างสรรค์ของกลุ่มคนหยิบมือเดียวที่เป็นเจ้าของเวลาว่างนี้แหละ
ผมเข้าใจว่า เพราะประวัติของเวลาว่างมีส่วนสร้างสรรค์อย่างนี้ จึงทำให้นักปราชญ์ฝรั่ง
คิดว่า ถ้าคนจำนวนมากขึ้นมีเวลาว่างถ้วนทั่วกันแล้ว การสร้างสรรค์ยิ่งจะมีมากขึ้นไปอีก
มาถึงวันนี้เมื่อใกล้จะสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ร่อมร่อแล้วนี้ เราก็พบว่านักปราชญ์ฝรั่ง
มีทั้งผิดและถูก คนจำนวนมากขึ้นมีโอกาสที่จะครอบครองเวลาว่างได้จริงอย่างที่นักปราชญ์
ทำนายไว้ แต่เวลาว่างไม่ได้กระจายไปสู่คนจำนวนมากอย่างรวดเร็วอย่างที่นักปราชญ์สมัยต้น
ศตวรรษนี้คิด ในหลายสังคมด้ว ยกัน กระบวนการดึ งแรงงานจากภาคเกษตรกรรมมาป้ อ น
อุตสาหกรรมกลับริบเอาเวลาว่างของคนจำนวนมาก
เวลาว่างก็เหมือนทรัพย์ หากปราศจากมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมที่เหมาะสมแล้ว
ก็ไม่ได้กระจายไปยังทุกคนอย่างเท่าเทียมกันเพียงเพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานควาย
ร้ายยิ่งไปกว่านั้น คนชั้นบนๆ ซึ่งควรจะครอบครองเวลาว่างได้มากขึ้น กลับไม่ได้เอาเวลา
ว่างที่ได้มาไปใช้ในการสร้างสรรค์อารยธรรมอะไร แต่เอาเวลาว่างนี้ไปสร้างงานให้แก่ตนเอง เช่น
เจ้าของโรงงานอยากรวย จึงต้องเดินเครื่อง 24 ชั่วโมง ทำให้เจ้าของโรงงานเองก็ไม่มีเวลาว่างและ
คนงานเองก็ไม่มีเวลาว่าง
ลัทธิบริโภคนิยมทำให้เวลาว่างที่มีผู้ครอบครองมากขึ้นไม่เป็นเวลาแห่งการสร้างสรรค์
อารยธรรมอย่างที่นักปราชญ์ฝรั่งคิด ถึงแม้ว่าจะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่การสร้างสรรค์
อารยธรรมไว้สักเพียงไร เช่น หอสมุด โรงดนตรี โรงละคร สวนสาธารณะ ฯลฯ ก็ไม่มีใครเข้าไปใช้
เวลาว่างในนั้น หรือเข้าไปใช้ในทางที่ผิด

(ดัดแปลงจาก “เวลาว่าง” ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2555) ใน ความ (ไม่) รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์


หน้า 154-159)
47

แบบฝึกหัด

คำชี้แจง จงอ่านเรื่อง “เวลาว่าง” แล้วตอบคำถามที่กำหนดให้


1. จากบทอ่าน ท่านคิดว่า “มนุษย์อาจใช้เวลาว่างทำลายตนเอง” ได้อย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
2. จากบทอ่าน เวลาว่างกับการศึกษาเกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
3. “ส่วนสร้างสรรค์” ของเวลาว่างที่นักปราชญ์ในยุโรปเล็งเห็นคืออะไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
4. เหตุใดเวลาว่างจึงถือเป็นความฟุ่มเฟือยในสมัยโบราณ
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
48

5. แม้ปัจจุบันจะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตหลาย
ด้าน แต่เพราะอะไร เวลาว่างของคนในปัจจุบันกลับมีน้อยลง
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
6. หากมีมาตรการทางเศรษฐกิจและสังคมที่เหมาะสม ท่านคิดว่าคนในปัจจุบันจะมีเวลาว่าง
มากขึ้นหรือไม่
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
7. จุดประสงค์หลักของผู้เขียนคืออะไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
49

บทอ่านและแบบฝึกหัด
ทำไมผู้หญิงได้เงินเดือนน้อยกว่าผู้ชาย?
ไขคำตอบด้วยผลวิจัยทางเศรษฐศาสตร์

สำหรับคุณผู้หญิงทั้งหลาย คุณว่าคุณได้รับเงินเดือนเท่ากับเพื่อนร่วมงานที่มีตำแหน่ง
หน้ า ที ่ เ ท่ า กั น กั บ คุ ณ แต่ แ ตกต่ า งกั น แค่ ว ่ า เขาเป็ น ผู ้ ช ายไหมครั บ จากงานวิ จ ั ย ของนั ก
เศรษฐศาสตร์ในสิงคโปร์พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในประเทศไทยของเรา เงินเดือนของผู้ชายมักจะสูง
กว่าเงินเดือนของผู้หญิงที่มีหน้าที่การงาน รวมไปถึงอายุและการศึกษาเท่าๆ กัน หรือพูดง่ายๆ ก็
คือประเทศไทยของเรากำลังเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ระหว่างเพศ ซึ่งเป็น
ปัญหาที่ประเทศอีกหลายประเทศก็กำลังประสบอยู่เหมือนกัน
คำถามที่สำคัญก็คือ ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงที่เราสามารถ
พบเห็นกันอยู่เป็นประจำนี้มีที่มาอย่างไรกันแน่
เพราะผู้หญิงไม่เคยขอขึ้นเงินเดือน?
คำอธิบายหนึ่งที่หลายคนซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ชายมักยกขึ้นมาใช้อธิ บายว่าทำไม
ผู้หญิงได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชายก็คือ ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่เคยขอขึ้นเงินเดือนกับเจ้านาย ทั้งนี้ก็
เป็นเพราะว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่อยากทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองและเจ้านายเสียหาย ตรง
ข้ามกันกับผู้ชายซึ่งไม่แคร์ในเรื่องพวกนี้เท่ากับผู้หญิง
เป็นความจริงหรือที่ผู้หญิงส่วนใหญ่มีเงินเดือนน้อยกว่าเพราะพวกเธอไม่เคยขอเจ้านาย
ขึ้นเงินเดือน?
ในการพิสูจน์ เบนจามิน อาตซ์ จากมหาวิทยาลัย Wisconsin, อแมนดา กูดอลล์ จาก
Cass Business School, และแอนดรูว์ ออสวอลด์ จากมหาวิทยาลัย Warwick ได้นำข้อมูลของ
คนทำงานในประเทศออสเตรเลีย (Australian Workplace Relations Survey : AWRS) มาทำ
การวิจัยเพื่อใช้ในการตอบคำถาม
ทั้งนี้ ใน AWRS มีคำถามที่ถามคนทำงานกว่า 4,600 คนว่า
• คุณเคยลองเจรจาขอขึ้นเงินเดือนให้กับตัวคุณเองตั้งแต่เริ่มทำงานที่นี่ไหม
50

• ทำไมคุณถึง ไม่ เ คยลองเจรจาขอขึ ้นเงิ นเดื อนให้ตั ว คุณ เองตั ้ง แต่เริ่ ม ทำงานที่น ี่ …
เพราะว่าคุณไม่อยากทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเจ้านายเสียหรือเปล่า
• ถ้าคุณเคยเจรจาขอขึ้นเงินเดือนให้กับตัวคุณเองตั้งแต่เริ่มทำงานที่นี่ การเจรจาในครั้งนั้น
เป็นการเจรจาที่ประสบความสำเร็จหรือไม่
จากการศึกษา พวกเขาทั้งสามพบว่าทั้งผู้หญิงและผู้ชายเคยลองขอเจรจาขึ้นเงินเดือน
ให้กับตัวเองในจำนวนใกล้เคียงกัน แต่โอกาสที่การเจรจาขอขึ้นเงินเดือนของผู้หญิงจะประสบ
ความสำเร็จนั้นน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีตำแหน่ง หน้าที่ อายุ และการศึกษาพอๆ กันมาก
ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังพบอีกว่าผู้หญิงไม่ได้กลัวในเรื่องของการทำลายความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวเองกับเจ้านายไปกว่าผู้ชายเลย ถ้าเธอตัดสินใจขอเจ้านายตัวเองขึ้นเงินเดือน
คำถามที่สำคัญก็คือ แล้วประเทศไทยของเราเป็นเหมือนกันหรือเปล่า คำถามนี้ตัวผมเอง
ก็ไม่มีคำตอบให้นะครับ มันอาจจะเป็นจริงก็ได้ที่ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ระหว่างผู้ชายกับ
ผู้หญิงในประเทศของเราเกิดขึ้นเพราะสาเหตุอื่น แต่ผมก็อยากจะบอกกับเพื่อนๆ ที่เป็นผู้หญิง
ทำงานทั้งหลายว่าถ้าคุณไม่เคยลองขอ คุณก็จะไม่มีทางรู้ได้นะครับว่าเจ้านายของคุณคิดกับคุณ
อย่างไร ไม่แน่ การขอขึ้นเงินเดือนของคุณอาจจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศ
ของเราได้
ดัดแปลงจาก “ทำไมผู้หญิงได้เงินเดือนน้อยกว่าผู้ชาย?” ของ ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
จาก https://thestandard.co/happiness-behavior-gender-pay-gap/
51

แบบฝึกหัด

คำชี้แจง จงอ่านเรื่อง “ทำไมผู้หญิงได้เงินเดือนน้อยกว่าผู้ชาย? ไขคำตอบด้วยผลวิจั ยทาง


เศรษฐศาสตร์” แล้วตอบคำถามที่กำหนดให้
1. จากบทอ่าน เหตุใดผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่เคยขอขึ้นเงินเดือนกับเจ้านาย
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
2. จากบทอ่าน ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงมีที่มาจากอะไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
3. จากบทอ่าน ข้อความในบรรทัดที่ 30-32 สะท้อนทรรศนะของผู้เขียนเรื่องใด
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
4. บทอ่านชี้ให้เห็นมุมมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในมิติทางเพศอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
52

5. วัตถุประสงค์หลักของผู้เขียนคืออะไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
6. จากบทอ่าน ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ระหว่างเพศไม่ได้
เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
7. จากบทอ่าน ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่า ปัจจุบัน วัฒนธรรม “ชายเป็นใหญ่ ” ยังคงมีอิทธิพล
สำคัญต่อสังคมโลก
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
53

บทอ่านและแบบฝึกหัด
หิ่งห้อย: สัตว์น้อยเรืองแสง

ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน

ในบันทึกของของ H.M. Smith นักชีววิทยาชาวอเมริกันที่มาเยือนประเทศไทยในปี พ.ศ.


2478 ได้เขียนรายงานว่า ในยามโพล้เพล้ของวันในฤดูร้อน ขณะเรือกำลังลอยอยู่ในคลอง ซึ่งริม
ฝั่งมีป่าต้นโกงกางขึ้นหนาแน่น เขาเห็นหิ่งห้อยจำนวนหมื่นโผบินมาเกาะที่ต้นโกงกาง ซึ่งสูง
ประมาณ 12 เมตร
ในระยะแรกเขาสังเกตเห็นว่า หิ่งห้อยแต่ละตัวต่างกะพริบแสงในจังหวะที่เร็วช้าต่ างกัน
แต่เมื่อเวลาผ่านไปจังหวะการกะพริบแสงของหิ่งห้อยก็เริ่มพร้อมกันมากขึ้นๆ จนในที่สุดหิ่งห้อย
ทั้งฝูงก็กะพริบแสงพร้อมกันทุกตัว การแสดงคอนเสิร์ตแสงที่ปิดและเปิดเหมือนไฟต้นคริสต์มาสที่
ไม่มีผู้อำนวยเพลงนี้ทำให้เขาเพลิดเพลินนานเป็นชั่วโมง เขารู้สึกประทับใจในการแสดงแสง
สามัคคีของหิ่งห้อยครั้งนี้มาก จึงตั้งคำถามว่า หิ่งห้อยแสดงกิจกรรมเข้าจังหวะลักษณะนี้เพื่ออะไร
และเพราะอะไร
Smith มิได้เป็นบุคคลแรกที่สนใจศึกษาหิ่งห้อย ประวัติศาสตร์จารึกว่า มนุษย์รู้จัก
หิ่งห้อยมานานประมาณ 2,000 ปีแล้ว คนจีนโบราณและคนบราซิล ที่ยากจนในอดีต มักจับ
หิ่งห้อยใส่ขวดแก้ว เพื่อใช้ต่างตะเกียง และก็ได้พบว่าหิ่งห้อยที่เติบโตเต็มที่ประมาณ 6 ตัว
สามารถให้แสงสว่างที่เพียงพอสำหรับการอ่านหนังสือในเวลากลางคืนได้ คนญี่ปุ่นในสมัยก่อนก็
นิยมใช้ตะเกียงหิ่งห้อยเช่นกัน และในปานามาชาวพื้นเมืองที่ยากจนนิยมจับหิ่งห้อยใส่ในกรง
กระดาษเล็กๆ เพื่อนำมาติดต่างหู เป็นต้น
หิ่งห้อยที่เราเห็นบินว่อนตามพุ่มไม้มักเป็น หิ่งห้อยตัวผู้ ส่วนหิ่งห้อยตัวเมียนั้นชอบเกาะ
นิ่งตามกิ่งไม้และใบไม้ นักชีววิทยาพบว่าหิ่งห้อยใช้แสงกะพริบในการสื่อสารกับเพศตรงข้าม เพื่อ
บอกความพร้อมในการสืบพันธุ์และตำแหน่งที่ที่มันอยู่ โดยตัวผู้จะกะพริบแสงก่อน หากตัวเมีย
เห็น แสง เห็น ลีล าการกะพริบ หรือเห็นความถี่ในการส่งสัญญาณ และมันพอใจ มันก็จะส่ ง
สัญญาณตอบเพื่อให้ตัวผู้รู้และสามารถบินไปหามันได้ถูก นักชีววิทยายังพบอีกว่า หิ่งห้อยต่าง
54

ชนิดกันจะมีวิธีส่งแสงสื่อสารที่ไม่เหมือนกัน เช่น กะพริบแสงเร็วช้าต่างกัน นอกจากนี้แสงที่เปล่ง


ออกมาก็อาจเปลี่ยนสีได้ตามสถานที่ที่มันอยู่
หิ่งห้อยตัวเมียบางชนิดชอบกินหิ่งห้อยด้วยกันเอง โดยในขั้นตอนการล่อจับเหยื่อนั้น มัน
จะส่งแสงสัญญาณล่อให้ตัวผู้บินเข้ามาหา โดยการปรับความถี่และความเข้มแสงให้ตัวผู้คิดว่า มัน
ติดเนื้อต้องใจตัวผู้ตัวนั้นๆ จะเห็นได้ว่า หิ่งห้อยก็สามารถส่งรหัสแสงถึงกันได้
นั ก ชี ว วิ ท ยาเรี ย กแสงหิ ่ ง ห้ อ ยว่ า แสงเย็ น (cold light) ทั ้ ง นี ้ เ พราะกระบวนการ
ปลดปล่อยแสงจากตัวหิ่งห้อยให้ความร้อนไม่มาก ตามปกติหลอดไฟทั่วไปเวลารับกระแสไฟฟ้า
มันจะแปลงร้อยละ 90 ของพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับเป็นความร้อนและปลงพลังงานอีกร้อยละ 10 ที่
เหลือเป็นแสงสว่าง หากเราเปิดไฟทิ้งไว้นานๆ หลอดไฟจึงร้อน แต่ในกรณีหิ่งห้อยมันจะแปลง
ร้อยละ 90 ของพลังงานเคมีในร่างกายเป็นแสง และพลังงานร้อยละ 10 ที่เหลือเป็นพลังงาน
ความร้อน ดังนั้นอุณหภูมิของตัวหิ่งห้อยจึงไม่สูง
นอกจากนี้ ใช่ว่าหิ่งห้อยจะกะพริบแสงตลอดเวลา ในยามกลางวันมันจะไม่ กะพริบแสง
เลย แต่เมื่อถึงเวลาโพล้เพล้มันก็จะเริ่มโชว์ตัว และจะกระทำกิจกรรมกะพริบแสงทุก 24 ชั่วโมง
เสมือนมีนาฬิกาใจในตัว เพราะหากเรานำหิ่งห้อยมาขังในห้องมืดที่แสงสว่างไม่สามารถเล็ดลอด
เข้ามาได้เลย เราก็จะเห็นว่าในทุก 24 ชั่วโมง มันจะกะพริบแสงทั้งๆ ที่มันไม่รู้เลยว่าขณะนั้นเป็น
เวลาอะไร
นั ก เคมี พ บว่ า เมื ่ อ เอาโปรตี น luciferase เป็ น ตั ว เร่ ง ปฏิ ก ิ ร ิ ย าระหว่ า งสารอิ น ทรีย์
luciferin (คำ luciferin เป็นคำละตินแปลว่า การนำแสง) กับออกซิเจน โดยมี adenosine
triphosphate และ magnesium ion ช่วย จะมีแสงลักษณะเดียวกับแสงหิ่งห้อยเกิ ดขึ้น ดังนั้น
เขาจึงสรุปว่าการลุกไหม้ไม่สามารถบังเกิดได้ ถ้าไม่มีออกซิเจนฉันใด แสงหิ่งห้อยก็ไม่มีเช่นกัน ถ้า
ร่างกายมันขาดออกซิเจน
ในการอธิบ ายเหตุผ ลว่า หิ่งห้อยสามารถแสดงแสงสามัค คี ได้เ พราะเหตุ ใดนั้ น นัก
ชีววิทยาได้ตั้งข้อสังเกตุว่า โลกนี้มีสัตว์เพียงไม่กี่ชนิ ดที่สามารถแสดงกิจกรรมเข้าจังหวะได้ เช่น
คนเดินสวนสนามหรือลีลาศได้ ปลาที่ว่ายน้ำเป็นฝูงก็สามารถกลับทิศการว่ายน้ำได้อย่างกะทันหัน
พร้อมกันทุกตัว แต่ก็ทำได้ชั่วคราว มันมิสามารถทำอย่างต่อเนื่องได้เป็นชั่วโมงเช่นหิ่งห้อย หรือ
กบเวลาส่งเสียงร้องหาคู่ มันก็มิได้ประสานเสียงกัน เพราะเวลากบตัวหนึ่งร้อง อีกตัวก็จะไม่ร้อง
และถึงแม้กบจะผลัดกันร้อง ความสามารถในการประสานเสียงก็ไม่ดีเท่าหิ่งห้อยเวลากะพริบแสง
55

S.H. Strogatz แห่ ง Massachusetts Institute of Technology ในสหรั ฐ อเมริ ก า


สังเกตเห็นว่า เวลาหิ่งห้อยบินโดดเดี่ยว หิ่งห้อยแต่ละตัวจะมีจังหวะการกะพริบแสงที่แตกต่างกัน
แต่พอมันบินเข้าใกล้กัน หิ่งห้อยทุกตัวจะปรับจังหวะการกะพริบแสงจนมันทุกตัวกะพริบแสงด้วย
ความถี่เดียวกัน Strogatz คิดว่าหิ่งห้อยเป็นสัตว์สังคมที่รู้จักปรับตัวให้มีพฤติกรรมเดียวกัน
เช่นเดียวกับนักกรีฑา เวลาวิ่งรอบสนามพร้อมกันหลายคน นักกรีฑาบางคนวิ่งเร็ว บางคนวิ่งช้า
แต่เมื่อวิ่งกันเป็นกลุ่ม คนที่วิ่งเร็วก็จะปรับความเร็วลง ส่วนคนวิ่งช้าก็จะวิ่งเร็วขึ้น จนในที่สุดคน
ทั้งกลุ่มก็วิ่งด้วยความเร็วเดียวกันรอบสนาม
ในวารสาร Science ฉบั บ วั น ที ่ 29 มิ ถ ุ น ายน พ.ศ. 2545 Barry Trimmer แห่ ง
มหาวิทยาลัย Tufts ในสหรัฐอเมริกา รายงานว่าในอดีตนักชีววิทยาเข้าใจว่าบริเวณท้องของ
หิ่งห้อยมีเซลล์พิเศษชนิดหนึ่งชื่อ photocyte ซึ่งสามารถเปล่งแสงได้และ photocyte นี้มี
โปรตีนชื่อ luciferin ซึ่งเวลาถูกเอนไซม์ luciferase กระตุ้นด้วยออกซิเจน โปรตีนดังกล่าวจะ
ปลดปล่อยแสงและเซลล์ประสาท octopamine จะทำหน้าที่ควบคุมจังหวะกะพริบแสง แต่
ปัญหาก็มีว่าเมื่อเซลล์ประสาทกับเซลล์แสง photocyte อยู่ห่างไกลกัน แล้วเซลล์ทั้งสองใช้อะไร
เป็นสื่อติดต่อถึงกัน ซึ่ง Trimmer ก็ได้พบว่า เซลล์ทั้งสองชนิดนี้ติดต่อสื่อสารกันด้วยแก๊ส NO
(nitric oxide) และเมื่อเขาเพิ่มความเข้มข้นของ NO ในภาชนะที่มีหิ่งห้อย หิ่งห้อยได้กะพริบแสง
ถี่มากขึ้นๆ ซึ่งก็เป็นการยืนยันอีกว่า NO คือแก๊สที่เซลล์ของสัตว์ใช้ในการสื่อสารถึงกัน
ตามปกติเวลาเห็นหิ่งห้อย ชาวบ้านมักรู้ว่านั่นคือ สัญญาณบอกการมาเยือนของหน้าร้ อน
และชาวบ้านยังรู้อีกว่า เวลาที่ดีที่สุดในการดูหิ่งห้อยคือ ยามโพล้เพล้หลังพระอาทิตย์ตกดิน
เล็กน้อย และถ้าเป็นคืนข้างแรม แสงหิ่งห้อยจะสุกใสที่สุด

คัดจาก ปริศนานานาสัตว์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2549 หน้า119-124


56

แบบฝึกหัดสรุปความ

_______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________

_______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
57

บทฟังและแบบฝึกหัด
ทุเรียน: ราชาแห่งผลไม้ไทย

*บทฟัง*
แบบฝึกหัด

คำชี้แจง จงฟังเรื่อง “ราชาแห่งผลไม้ไทย” แล้วตอบคำถามที่กำหนดให้


1. ทุเรียนสามารถปลูกได้ในบริเวณพื้นที่ใด
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
2. ทุเรียนสามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศแบบใด
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
3. ดินที่เหมาะกับการปลูกทุเรียนควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
4. ลำต้นของทุเรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
5. ใบของทุเรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
58

6. ดอกของทุเรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
7. เมล็ดของทุเรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
8. ทุเรียนให้ผลผลิตในช่วงเวลาใด
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
9. ทุเรียนมีวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด จงยกตัวอย่างมา 4 ชนิด
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
10. ใยอาหารของทุเรียนมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
11. รากของทุเรียนมีสรรพคุณทางยาอย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
12. เปลือกทุเรียนมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
13. เรื่อง “ทุเรียน: ราชาแห่งผลไม้ไทย” กล่าวถึงประเด็นกี่ประเด็น อะไรบ้าง
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
59

14. นักศึกษาคิดว่าเหตุใดทุเรียนจึงได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งผลไม้ไทย”


ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
15. ถ้านักศึกษาสามารถเสนอ “ราชาแห่งผลไม้ไทย” ได้ นักศึกษาจะเสนอผลไม้ชนิดใด จง
อธิบาย
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
60

บทฟังและแบบฝึกหัด
สังเวียนเหล้า

*บทฟัง*
แบบฝึกหัด

คำชี้แจง จงฟังเรื่อง “สังเวียนเหล้า” แล้วตอบคำถามที่กำหนดให้


1. วัตถุดิบหลักที่ผู้พูดใช้ในการผลิตสุราคืออะไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
2. ปัญหาหลักที่ผู้พูดต้องประสบในอุตสาหกรรมการผลิตสุราคืออะไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
3. จากบทฟัง อุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนเหล้าขาวให้เป็นเหล้าสีคืออะไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
4. จากบทฟัง นอกจากปัญหาที่ผู้พูดต้องประสบแล้ว การขาดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการ
ผลิตสุรายังก็ให้เกิดปัญหาด้านใดตามมา
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
61

5. ผู้พูดเสนอให้ทางออกอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาที่ต้องประสบ
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
6. “ประโยชน์ที่คืนสู่สังคม” ที่ผู้พูดกล่าวถึงในตอนท้ายของบทฟังคืออะไร
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
7. จากสภาพปัญหาที่ปรากฏในบทฟัง ท่านเห็นว่าควรแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ผู้พูดเสนอ
หรือไม่
ตอบ _______________________________________________________________
______________________________________________________________________
______________________________________________________________________
62

ภาคผนวก
63

บทอ่าน
วิธีขยายความในย่อหน้า

ชนบทเป็นท้องถิ่นที่น่าอยู่

1. วิธีให้คำจำกัดความ
คำ “ชนบท” ตามความหมายในพจนานุกรมแปลว่า บ้านนอก ซึ่งหมายถึงท้องถิ่นที่อยู่
ห่างไกลจากหัวเมืองออกไป ตามความเข้าใจของคนทั่วไป ชนบทเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ คนที่มาจาก
ชนบทจึงมักถูกเรียกเป็นเชิงหยามในทีว่า มาจากบ้านนอก อันมีความหมายว่าเป็นคนที่ยังไม่เจริญ
ซึ่งเเท้จริง การตีความเช่นนั้นหาได้ถูกต้องไม่เพราะยังไม่มีใครตั้งเกณฑ์กำหนดไว้ว่า อย่างไรคือ
เจริญและอย่างไรคือไม่เจริญ

2. วิธีให้รายละเอียด
ชนบทเป็นท้องถิ่นที่น่าอยู่ ยิ่งเมื่อเราได้พิจารณากันด้วยใจเป็นธรรมแล้ว ก็ยิ่งมองเห็นว่า
น่าอยู่กว่าในเมืองใหญ่หลายเท่า เพราะคนที่ชอบธรรมชาติ เช่น ทุ่งนา ป่าเขา สายลม แสงแดดที่
บริสุทธิ์สมเป็นธรรมชาติจริงๆ นั้นก็ต้องไปดูในชนบท คนที่รักความสงบร่มเย็นก็ต้องไปอยู่ใน
ชนบทอีก จะไปศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมก็เห็นจะต้องไปศึ กษาในชนบท
เพราะสิ่งเหล่านี้ยังไม่สู้จะเปลี่ยนแปลงไปจากชนบทเท่าไรนัก แม้ว่าจะล่วงเลยมานานแล้วก็ตาม

3. วิธีให้ตัวอย่าง
ชนบทเป็นท้องถิ่นที่น่าอยู่ ใครที่เคยไปเที่ยวอำเภอลานสกามาแล้ว ก็คงจะยืนยันได้ว่าที่
นั่นน่าอยู่เพียงใด เมื่อพูดถึงป่า ป่าลานสกาก็เขียวชอุ่ม พูดถึงเขา เขาที่ลานสกาก็โอบล้อมตัว
อำเภอทุกด้าน จนเเทบไม่น่าเชื่อว่า เราจะมีหนทางผ่านเข้าไปในตัวอำเภอนั้นได้ อาหารการกินก็
บริบูรณ์ เเต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับเรื่องที่ราคาถูกจนน่าใจหาย เเละเมื่อพูดถึงชาวท้องถิ่นอำเภอ
ลานสกาแล้ว ใครๆ ก็ต้องชมว่ามีน้ำใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กว่าชาวใดๆ ทั้งหมด สิ่งเหล่านี้
พอจะยืนยันได้ว่า ชนบทท้องถิ่นน่าอยู่เพียงใด
64

4. วิธีให้เหตุผล
ชนบทเป็นท้องถิ่นที่น่าอยู่ เพราะเหตุที่ว่ายังมีสิ่งที่ธรรมชาติสร้างเหลืออยู่มากมายไม่ว่า
จะเป็นป่าเขา ห้วยหนองคลองบึง ธรรมชาติได้สร้างความสดชื่น ความเบิกบานแก่ผู้อาศัยมองไป
ทางใดก็เป็นที่เจริญตาเจริญใจ พืชพันธุ์ธัญญาหารมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ คนในชนบทก็มีน้ำใจ
โอบอ้อมอารี ไม่แก่งแย่งแข่งขันเหมือนคนในเมือง มีการมีงานต่างช่วยเหลือกันด้วยน้ำใสใจจริง
ชวนให้สรรเสริญน้ำใจเป็นอย่างยิ่ง

5. วิธีเปรียบเทียบ
ชนบทเป็นท้องถิ่นที่น่าอยู่กว่าในเมือง ในขณะที่คนชนบทตื่นขึ้นมาเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์
ในตอนเช้า คนในเมืองยังคงนอนกระสับกระส่ายและหายใจเอาอากาศเสียจากควันโรงงานอยู่
ในขณะที่ชาวชนบทครองชีวิตอยู่อย่างสบาย เพราะอาหารการกินไม่ฝืดเคือง คนในเมืองกลับต้อง
แย่งกัน ทำมาหากิน เพีย งเพื่อให้ช ีว ิต อยู ่ร อดในภาวะที ่เ ศรษฐกิจฝืดเคื องเช่นนี้ ได้ และใน
ขณะเดียวกันภาพชาวชนบทที่ยินดีช่วยเหลือเกื้อกูลพวกพ้องเพื่อนบ้านด้วยกันด้วยความเต็มใจ
นั้น กลับหาดูในเมืองใหญ่ๆ ได้ยากเหลือเกิน

________________________________

(ชนะ เวชกุล, การเขียนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. ๒๕๒๔ หน้า ๑๙-


๒๑.)
65

บทอ่าน
การเขียนหลายย่อหน้า

1. ความสัมพันธ์กัน/ความต่อเนื่องกัน
ตัวอย่าง
การไปวัดมีประโยชน์หลายประการ ประการแรกคือ ทำให้เราได้บุญหรือได้ความสุข บุญ
ที่เห็นชัดเจนได้แก่ความสงบวิเวก เมื่อเข้าไปในวัดเราจะพบบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่สงบ
ร่มเย็น พระเณรในวัดจะอยู่กันอย่างสมถะสงบเสงี่ยม ไม่มีเสียงอึกทึกครึกโครม คนไปวัดก็จะสงบ
เสงี่ยม สำรวมกิริยามารยาทด้วยเพื่อเคารพสถานที่รวมทั้งพระเณรในวัด ยิ่งกว่านั้นหลายๆ วัดยัง
มีต้นไม้น้อยใหญ่แผ่กิ่งก้านสาขาร่มครึ้มไปทั่ววัดจึงสงบและร่มเย็น และถ้าเราไปวัดแล้วหาโอกาส
บริจาคทรัพย์สินบำรุงวัดและหรือพระเณรบ้าง ก็เท่ากับว่าเราได้มีโอกาสฝึกการให้ ฝึกการ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น รวมทั้งฝึกลดความโลภอีกด้วย การมีความโลภน้อยลงจะทำให้เราเย็นใจ
สุขใจ พระพุทธศาสนายกย่องการให้ทานเป็นบารมีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด การไปวัดจึงได้บุญคือ ความเย็น
กายและเย็นใจไปพร้อมๆ กัน
นอกจากนี้การไปวัดยังทำให้เราได้มีโ อกาสค้ำจุนพระพุทธศาสนา เนื่องจากวัดเป็น
สถาบันหลักอย่างหนึ่งของสังคม มีหน้าที่อบรวมสั่งสอนธรรมะเพื่อให้ประชาชนทำความดี พระ
จะทำหน้าที่ดังกล่าวได้สำเร็จจะต้องมีอุบาสกอุบาสิกาคอยเกื้อกูลอุดหนุนเรื่องปัจจัยสี่ เพราะพระ
โดยเฉพาะพระในศาสนาพุทธไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพเลี้ยงปากท้อง ท่านเลี้ยงชีพด้วย
การบิณฑบาตเพียงอย่างเดียว การที่อุบาสกอุบาสิกาพากันไปวัด พากันบริจาคทรัพย์สินแก่วักแก่
พระเณร จึงเท่ากับสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของสงฆ์ให้สำเร็จ อนึ่งการไปวัดยังทำให้เรามี
โอกาสได้เห็นความเป็นไปของวัดและพระสงฆ์ ถ้าสิ่งที่วัดและสงฆ์ทำไปเหมาะสมดีอยู่แล้ว เราก็
จะได้สนับสนุนให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป แต่ถ้ามีสิ่งบกพร่องเกิ ดขึ้น เราก็จะได้หาทางแก้ไขปรับปรุง
ศาสนาก็จะได้พัฒนาสถาพรสืบไป นับเป็นการค้ำจุนศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย
(รศ.ดร.พิชิต อัคนิจ)
*********************
66

2. ความตรงข้ามกัน/ขัดแย้งกัน
ตัวอย่าง

ความเหมือน

ความแตกต่าง

การออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานและการเต้นแอโรบิคให้ผลเหมือนกัน คือ ทำให้


หัวใจสูบฉีดเลือดดีขึ้น กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ผ่อนคลาย ผู้ที่ปั่นจักรยานนอกจากจะ
รู้สึกสดชื่นขึ้นเพราะได้สูดอากาศบริสุทธิ์แล้วยังได้พบเห็นสถานที่ที่ผ่านไป ยิ่งหากเป็นเส้นทาง
แปลกใหม่ในหมู่บ้าน หรือชานเมือง ก็ยิ่งทำให้เกิดความเพลิดเพลินขณะปั่นจักรยานด้วย ส่วนผู้ที่
เต้นแอโรบิคนั้นจะรู้สึกเพลิดเพลินไปกับจังหวะของดนตรีและรู้สึกสนุกเพราะมีท่าเต้นที่แปลก
ใหม่อยู่เสมอ ทั้งยังเป็นสิ่งท้าทายเพราะผู้เต้นต้องพยายามเต้นให้เข้าจังหวะใหม่ๆ ให้ ทัน จึงทำ
ให้ผู้ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคได้ผ่อนคลายไปพร้อมกับความสนุกสนาน
อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายทั้งสองประเภทนี้ก็มีความแตกต่างกัน คือ ผู้ที่ชอบออก
กำลังกายโดยการปั่นจักรยานจะต้องมีจักรยานเป็นอุปกรณ์สำคัญ บางคนอาจใช้จักรยานที่มี
อุปกรณ์เสริมช่วยเพิ่ มความเร็ว ที่สำคัญผู้ที่ปั่นจักรยานควรสวมหมวกนิรภัยด้วยเพื่อป้องกัน
อุบัติเหตุ ส่วนผู้ที่ชอบเต้นแอโรบิคนั้นจะต้องมีเพลงประกอบท่าเต้นจึงจะทำให้รู้สึกสนุก และสิ่ง
ที่ควรคำนึงคือ ผู้เต้นแอโรบิคควรสวมผ้ายืดสำหรับรัดข้อเข่า เพื่อป้องกันการเคลื่อนของข้อขณะ
ออกกำลังกาย นอกจากนี้ การออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานนั้น อวัยวะที่เคลื่อนไหวมีเพียง
กล้ามเนื้อขาส่ว นบน กล้ามเนื้อน่อง และข้อเท้าเท่านั ้น แต่การเต้นแอโรบิคผู้เต้น จะได้
เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วน ทั้งแขน ขา คอ ไหล่ และสะโพก เป็นต้น เมื่อทราบเช่นนี้แล้วก็
ควรเลือกออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของร่างกายเป็นสำคัญ

*********************
67

ข้อดี/ประโยชน์

ข้อเสีย/โทษ

ข้อดีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันมีหลายประการ นอกจากจะใช้ติดต่อสื่อสารกันแล้ว
ยังช่วยให้คู่สนทนาเห็นภาพของฝ่ายตรงข้ามด้วยขณะสนทนา ไม่ว่าคู่สนทนาจะอยู่ใกล้หรือไกล
กันคนละทวีปก็ตาม นอกจากนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่ยังใช้ค้นหาข้อมูลข่าวสาร หรือใช้ประโยชน์ใน
ด้านความบันเทิง อาทิ ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง เล่นเกม ฯลฯ โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่สำคัญ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยังใช้ค้นหาสถานที่ต่างๆได้ด้วยระบบ GPRS จึงทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก
และรวดเร็วในการค้นหาสถานที่เป้าหมาย ยิ่งไปกว่านั้น โทรศัพท์เคลื่อนที่ยังสามารถเชื่อมต่อกับ
กล้องวงจรปิดซึ่งติดตั้งไว้ที่บ้าน ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ทุกเมื่อ หากเกรงว่าจะมีภัย
อันตราย รวมทั้งมีปุ่มฉุกเฉินที่จะส่งเสียงดังทันทีหากผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง
อีกด้วย ในอดีตที่ผ่านมาโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้เป็นกล้องถ่ายภาพ ซึ่งมีความคมชัดระดับหนึ่ง เมื่อ
เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น โทรศัพท์เคลื่อนที่ยังสามารถสแกน QR code เพื่อบันทึก
ข้อมูลในโทรศัพท์ได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่
เพียงแต่ให้ประโยชน์ขั้นพื้นฐานในการสื่อสาร ใช้บอกเวลาแทนนาฬิกา หรือใช้แทนไฟฉายเท่านั้น
หากยังให้ประโยชน์มากกว่าที่คาดคิด
อย่างไรก็ตาม โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็มีข้อเสียอยู่ไม่น้อย ประการแรก คือ ผู้ใช้ต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งมูลค่าของเครื่องและค่าใช้บริการ เช่นค่าบริการอินเทอร์เน็ต เนื่องจาก
โทรศัพท์รุ่นใหม่มักมีระบบการใช้งานที่มากกว่าการเป็นโทรศัพท์ที่ใช้สื่อสารพูดคุยกันเพียงอย่าง
เดียว ข้อเสียประการต่อมาคือ ทำให้ผู้ใช้เสียสมาธิขณะกำลังทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ฟังคำบรรยายใน
ชั้นเรียน หรือในที่ประชุม เพราะการเชื่อมโยงโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต อาจทำ
ให้ผู้ใช้จดจ่อกับข้อมูลข่าวสารต่างๆ จนทำให้เสียสมาธิในการเรียนหรือการทำงาน ใน
ขณะเดียวกันก็ทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างอีกด้วย ข้อเสียประการสำคั ญ ยั ง ส่ ง ผลต่ อ
ระบบประสาทและสมองหากใช้ โ ทรศั พ ท์ เ คลื่ อ นที่ ต่ อ เนื่ อ งเป็ น เวลานาน เนื่องจาก
โทรศัพท์จะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตลอดระยะเวลาการใช้งาน ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้ผู้ใช้เป็น
โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ประการสุดท้ายหากใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยขาดความระมัดระวัง
68

อาจนำภัยมาสู่ผู้ใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น ใช้โทรศัพท์ขณะฝนฟ้าคะนองอาจถูกฟ้าผ่าเป็นอันตรายถึงชีวิต


หรืออาจถูกมิจฉาชีพฉกชิงวิ่งราว เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นทรัพย์สินที่มีราคาแพง

หมายเหตุ GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service หมายถึง การเพิ่มมาตรฐาน


ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบจีเอสเอ็ม (GSM) ให้มีสมรรถนะในการรองรับการสื่อสาร เช่นการ
ส่ง FAX, ข้อความเสี ย ง MMS, รูปภาพไฟล์ VDO ผ่านระบบของผู้ ใ ห้ บริก ารบนเครื อ ข่ า ย
อินเทอร์เน็ต
QR code ย่อมาจาก Quick Response Code หมายถึง บาร์โค้ดสองมิติชนิด
หนึ่ง ที่ประกอบด้วยมอดูลสีดำเรียงตัวกัน มีสัณฐานสี่เหลี่ยม มีพื้นหลังสีขาว ที่สามารถอ่านได้
ด้ว ยเครื่องสแกนคิวอาร์ ในโทรศัพท์มือถือ ที่มีกล้อง และสมาร์ทโฟน เพื่อถอดข้อมูล ในรูป
ข้อความ หรือโปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล และอื่นๆ โดยรหัสคิวอาร์

*********************
69

3. ความเป็นเหตุเป็นผลกัน
ตัวอย่าง

เหตุ

ผล

วิธีที่จะทำให้คนในท้องถิ่นเป็นเจ้าบ้านที่ดีได้นั้นก็ต้องมีการให้ความรู้ คือทุกคนต้องรู้จัก
ท้องถิ่นของตนเป็นอย่างดี และถูกต้อง เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้มาเยือนด้วยความมั่นใจ ต้องมีการ
ฝึกฝน อบรมให้เป็นผู้ที่งามทั้งกาย วาจา และใจ อีกทั้งต้องปลูกฝังให้มีวินัยในการอยู่ร่วมกันใน
สังคม ตลอดจนรักษาวินัยนั้นเท่าชีวิตของตน ดังนั้น ความปลอดภัย ความสงบสุข ความอิ่มเอิบ
เบิกบานใจที่ผู้มาเยือนจะได้รับคือสิ่งที่เจ้าบ้านที่ดีต้องเป็นผู้มอบให้ เจ้าบ้านที่ดีต้องระลึกไว้เสมอ
ว่า คงไม่มีนักท่องเที่ยวคนใดอยากเข้าไปเที่ยวใน “ดงโจร” “หลุ มฝังศพ” “คลองน้ำเน่า” หรือ
“ภูเขาขยะ” อย่างแน่นอน
ผลพลอยได้ จ ากการเป็ น เจ้ า บ้ า นที ่ ด ี โ ดยไม่ ต ้ อ งลงทุ น คื อ ผู ้ ม าเยื อ นจะเป็ น ผู้
ประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นได้รู้จักท้องถิ่นต่างๆ โดยใช้ประสบการณ์ของตนเป็นข้อมูล เป็นการ
ประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลอย่างดียิ่ง และเป็นผลระยะยาว ทำให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นคล่องตัวขึ้นจาก
รายจ่ายของผู้มาเยือนที่เพิ่มขึ้น เป็นการกระจายรายได้อีกทางหนึ่ง การพัฒนาท้องถิ่นสามารถทำ
ได้ง่ายขึ้น ต้นทุนในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่นก็มีมากขึ้น และความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นก็ดี
ขึ้นด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวัฒนธรรม
ซึ่งกันและกัน ระหว่างเจ้าบ้านกับผู้มาเยือนอีกด้วย ประสบการณ์เช่นนี้ถือเป็นแนวทางสำคัญที่
นำมาเป็นพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรในท้องถิ่นของเจ้าบ้านได้อย่างดีเยี่ยม

*********************
70

บทอ่าน
คำว่า “อาทิ, เช่น, เป็นต้น, ได้แก่”

สุปัญญา ชมจินดา

คำว่า “อาทิ”, “เช่น”, “เป็นต้น”, “ได้แก่” มีหลักเกณฑ์หรือวิธีใช้อย่างไรหรือไม่ เป็น


คำถามหนึ่งที่ราชบัณฑิตยสถานมักได้รับจากครูอาจารย์ผู้ที่ต้องเขียนตำรับตำรา นักเขียน หรือ
สำนักพิมพ์ ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงการใช้ตามความนิยมและตามเหตุผลเฉพาะตัวบุคคลที่ยังมีการ
ใช้ว่า “เช่น...เป็นต้น ”, “อาทิเช่น”, “ได้แก่...ฯลฯ” ว่าเป็นเรื่องผิดหรือถูกหรือเหมาะสมไม่
เหมาะสมประการใดหรือไม่ เพราะหากผู้ใช้ยืนยันการใช้ด้วยมีเหตุผลและความนิยมเฉพาะตัว
ย่อมอยู่น อกเหนือหลักเกณฑ์ทางภาษาที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดและมีแบบแผนไว้ ทั้งนี้
ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ประธานคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์
เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยแห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ข้อมูลว่า ราชบัณฑิตยสถานมีหลักเกณฑ์
การใช้คำดังกล่าวเป็นแบบแผนสืบเนื่องมาจนปัจจุบันว่า
คำว่า “เช่น” ใช้ยกตัวอย่างซึ่งตัวอย่างดังกล่าวไม่ได้อยู่ในชุด กลุ่มของเรื่องเดียวกัน และ
ไม่ต้องเรียงตามลำดับ เช่น “มีสัตว์เลี้ยงอยู่ที่บ้าน เช่น สุนัข แมว เป็ด ไก่ ฯลฯ” ทั้งนี้คำว่า
“เช่น” ที่ใช้ในกรณีนี้ไม่มีคำว่า “เป็นต้น” ปิดท้ายตัวอย่าง ส่วนเครื่องหมายไปยาลใหญ่คือ ฯลฯ
นั้น จะใช้ปิดท้ายตัวอย่างนั้นหรือจะไม่ใช้ก็ได้
คำว่า “ได้แก่” ใช้ระบุถึงสิ่งที่อยู่ในชุดเดียวกับครบทั้งชุด เช่น “อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค”
คำว่า “เป็นต้น” อยู่ท้ายตัวอย่างคำที่อยู่ในชุดเดียวกัน ซึ่งเรียงลำดับจากลำดับแรกเป็น
ต้นไป แต่ไม่ต้องแสดงตัวอย่างทั้งหมด เช่น “อริยสัจ 4 มี ทุกข์ สมุทัย เป็นต้น”
คำว่า “อาทิ” มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “เป็นต้น” แต่คำว่า “อาทิ” ตามด้วย
ตัวอย่างในลำดับแรก เช่น “อริยสัจ 4 อาทิ ทุกข์” อย่างไรก็ตาม คำว่า “อาทิ” ที่อยู่ท้ายตัวอย่าง
ก็มี ซึ่งตัวอย่างนั้นต้องเป็นตัวอย่างลำดับแรก เช่น “อริยสัจ 4 มีทุกข์เป็นอาทิ”
71

หลักเกณฑ์และแบบแผนนี้ถือเป็นมติของคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการ
ใช้ภาษาไทยแห่งราชบัณฑิตยสถาน และนักวรรณศิลป์ซึ่งเป็นนักวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน
ได้ใช้เป็นแบบแผนสืบเนื่องมาในการทำงานวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน ตลอดจนนำไปใช้ใน
การตอบคำถามเพื่อให้บริการประชาชนที่สงสัยในเรื่องดังกล่าว.

สุปัญญา ชมจินดา. 2550. คำว่า "อาทิ, เช่น, เป็นต้น, ได้แก่" [ออนไลน์]. สามารถเข้าถึงได้ทาง
www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1814
72

ตัวอย่างการเขียนโครงเรื่องแบบหัวข้อ
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

คำนำ : อธิบายความหมายของชื่อเรื่อง
เนื้อเรื่อง : 1. สาเหตุที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
1.1 การเพิ่มจำนวนของประชากร
1.2 การก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ
1.3 การตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
2. อันตรายจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
2.1 ต่อร่างกาย
2.2 ต่อจิตใจ
3. การแก้ไขและป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
3.1 ปรับปรุงสภาพธรรมชาติ
3.1.1 ปลูกต้นไม้
3.1.2 ขุดคูคลองระบายน้ำ
3.2 ปรับปรุงงานด้านบริหาร
3.2.1 ควบคุมการก่อสร้างอาคารสถานที่และโรงงาน
อุตสาหกรรม
3.2.2 ควบคุมการใช้งานพาหนะต่างๆ
3.2.3 กวดขันด้านสาธารณะสุข
3.2.4 ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
สรุป : เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โดยเน้นความ
ร่วมมือจากประชาชน
73

ตัวอย่างการเขียนโครงเรื่องแบบประโยค
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

คำนำ : สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษ หมายถึง สภาพต่างๆ รอบตัวเปลี่ยนแปลงไป จน


ก่อให้เกิดผลเสีย ได้แก่ อากาศเป็นพิษ น้ำเสีย และเสียงดังอึกทึก
เนื้อเรื่อง : 1. สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีสาเหตุดังนี้
1.1 การเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้มีการบริโภคปัจจัยต่างๆ มากขึ้น
และมีข้อเสียเพิ่มขึ้น
1.2 การก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ อย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้
เกิดชุมชนแออัดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1.3 โรงงานอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน ปล่อย
ของเสีย สู่ อากาศ แหล่งน้ำ และก่อมลภาวะทางเสียง
2. อันตรายจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มี 2 ด้าน
2.1 สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ทำให้ร่างกายเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
2.2 สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ทำให้เกิดอาการทางประสาทและทางจิต
3. วิธีแก้ไขและป้องกันสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีดังต่อไปนี้
3.1 รัฐบาลต้องปรับปรุงสภาพธรรมชาติ โดยการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับ
อากาศเสีย และเพื่อความสวยงาม และขุดคูคลองเพื่อระบายน้ำไม่ให้
ท่วมขัง
3.2 รัฐบาลต้องปรับปรุงงานด้านบริหารให้มีประสิทธิภาพ โดยควบคุม
การก่อสร้างอาคาร สถานที่ และโรงงานอุตสาหกรรมให้ถูกตามแบบ
แผน ควบคุมการใช้งานพาหนะ มิให้ส่งเสียงดัง หรือปล่อยควันพิษ
กวดขันการรักษาความสะอาดของบ้านเมือง ตลอดจนให้ การศึกษา
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
สรุป : การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ จะประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยความ
ร่วมมือจากประชาชน
74

บทอ่าน
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ โดยเทียบเสียงสระ


ภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาอังกฤษ
2. พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบพยัญชนะ
ภาษาอังกฤษ
3. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต
3.1 พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ
ไว้ เช่น
Horn = ฮอร์น
Windsor = วินด์เซอร์
3.2 คำหรือพยางค์ที่ตัวสะกดมีพยัญชนะตามมาหลายตัว ให้ใส่เครื่องหมาย
ทัณฑฆาต ไว้บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงตัวสุดท้ายแต่เพียงแห่งเดียว เช่น
Okhotsk = โอค็อตสก์
Barents = แบเร็นตส์
3.3 คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะ
ตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออก และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้
บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
World = เวิลด์
Quartz = ควอตซ์
Johns = จอนส์
First = เฟิสต์
75

4. การใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้
4.1 เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น
Log = ล็อก
4.2 เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น
Okhotsk = โอค็อตสก์
5. การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ การเขียนคำทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์
ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย จนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์
ได้ เช่น
Coke = โค้ก
Coma = โคม่า
6. พยัญชนะซ้อน (double letter) คำที่มีพยัญชนะซ้อนเป็นตัวสะกด ถ้าเป็นศัพท์ทั่วไป
ให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น
Football = ฟุตบอล
แต่ถ้าเป็นศัพท์ทางวิชาการหรื อวิสามานยนามให้เก็บไว้ทั้ง 2 ตัว โดยใส่เครื่องหมาย
ทัณฑฆาตไว้ที่ตัวท้าย เช่น
Cell = เซลล์
James Watt = เจมส์ วัตต์
ถ้าพยัญชนะซ้อนอยู่กลางศัพท์ให้ถือว่า พยัญชนะซ้อนตัวแรกเป็นตัวสะกดของพยางค์
หน้า และพยัญชนะซ้อนตัว หลังเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป ฉะนั้น การใช้พยั ญชนะ
ตัวสะกดและพยัญชนะต้น จะต่างกันตามหลักเกณฑ์การเทียบพยัญชนะในตารางข้างท้าย เช่น
Pattern = แพตเทิร์น
Missouri = มิสซูรี
Broccoli = บรอกโคลี
76

7. คำที่ตัวสะกดของพยางค์หน้าออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ตัวต่อไปด้วย ให้
ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
7.1 ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นเสียงสระอะ ซึ่งเมื่อทับศัพท์ต้องใช้รูปไม้หัน
อากาศ ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้าเข้าอีกตัวหนึ่งเพื่อเป็นพยัญชนะต้น
ของพยางค์ต่อไป เช่น
Couple = คัปเปิล
Double = ดับเบิล
7.2 ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นสระอื่นที่ไม่ใช่สระอะ ให้ทับศัพท์ตามรูป
พยัญชนะภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องซ้อนพยัญชนะ เช่น
California = แคลิฟอร์เนีย
General = เจเนอรัล
7.3 ถ้าเป็นคำที่เกิดจากการเติมปัจจัย เช่น -er, -ing, -ic, -y และการทับศัพท์
ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษดังข้อ 7.2 อาจทำให้ออกเสียงผิดไปจากภาษาเดิมมาก ให้
ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์ต้นอีกหนึ่ง เพื่อให้เห็นเค้าคำเดิม เช่น
Sweater = สเวตเตอร์
Booking = บุกกิง
Snoopy = สนูปปี
8. คำประสมที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ (hyphen) ให้ทับศัพท์โดยเขียนติดต่อกันไป เช่น
cross-stitch = ครอสสติตช์
ยกเว้นในกรณีที่เป็นศัพท์ทางวิชาการหรือวิสามานยนาม เช่น
cobalt-60 = โคบอลต์-60
McGraw-Hill = แมกกรอว์-ฮิลล์
77

9. คำประสมซึ่งในภาษาอังกฤษเขียนแยกกัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยก


คำตามภาษาเดิม เช่น
calcium carbonate = แคลเซียมคาร์บอเนต
night club = ไนต์คลับ
New Guinea = นิวกินี
10. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนาม ซึ่งมีปัญหาว่าจะทับศัพท์ในรูปคำนามหรือคำคุณศัพท์
นั้น ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
10.1 ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนคำนาม หรือหมายความว่า "เป็น
ของ" หรือ "เป็นเรื่องของ" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนาม เช่น
hyperbolic curve = ส่วนโค้งไฮเพอร์โบลา
electronic charge = ประจุอิเล็กตรอน
focal length = ความยาวโฟกัส
10.2 ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายว่า "เกี่ยวข้องกับ" หรือ "เกี่ยวเนื่องจาก"
คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามโดยใช้คำประกอบ เชิง แบบ อย่าง ทาง ชนิด ระบบ
ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น
atomic absorption = การดูดกลืนโดยอะตอม
electronic power conversion = การแปลงผันกำลังเชิง
อิเล็กทรอนิกส์
10.3 ในกรณีที่การทับศัพท์ในรูปคำนามตามข้อ 10.1 และข้อ 10.2 ทำให้เกิด
ความหมายกำกวมหรือคลาดเคลื่อน ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์ เช่น
sulpuric acid = กรดซัลฟิวริก
feudal system = ระบบฟิวดัล
metric system = ระบบเมตริก
78

hyperbolic function = ฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก


11. คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล ให้ทับศัพท์ตามชื่อของบุคคลนั้น ๆ โดยใช้คำประกอบ
ของ แบบ ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น
Euclidean geometry = เรขาคณิตระบบยุคลิด
Eulerian function = ฟังก์ชันแบบออยเลอร์
Napierian logarithm = ลอการิทึมแบบเนเปียร์
ยกเว้นในกรณีที่คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล เป็นชื่อเฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในแต่ละวงการ
ซึ่งอาจสังเกตได้จากการที่ในภาษา อังกฤษไม่ได้ใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้น ให้ทับศัพท์ในรูป
คำคุณศัพท์ เช่น
abelian group = กลุ่มอาบีเลียน
12. คำคุณศัพท์เกี่ยวกับชนชาติต่าง ๆ ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามที่เป็นชื่อประเทศ เช่น
Swedish people = คนสวีเดน
Hungarian dance = ระบำฮังการี
ยกเว้นชื่อที่เคยใช้มานานแล้ว ได้แก่
ประเทศเยอรมนีใช้ว่า …เยอรมัน เช่น ภาษาเยอรมัน
ประเทศกรีซ ใช้ว่า …กรีก เช่น เรือกรีก
ประเทศไอร์แลนด์ ใช้ว่า …ไอริช เช่น ชาวไอริช
ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้ว่า …ฮอลันดา เช่น ชาวฮอลันดา หรือ ...ดัตช์ เช่น ภาษาดัตช์
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใช้ว่า …สวิส เช่น ผ้าสวิส
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ใช้ว่า ...อังกฤษ เช่น คนอังกฤษ
สหรัฐอเมริกา ใช้ว่า …อเมริกัน เช่น รถอเมริกัน
สำหรับสหภาพโซเวียต ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำคุณศัพท์ ๒ คำ คือ Soviet…และ Russian…ใช้ว่า
…โซเวียต และ …รัสเซีย เช่น
79

Soviet Style (of architecture) = (สถาปัตยกรรม) แบบโซเวียต


Russian food = อาหารรัสเซีย
13. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
13.1 คำคุณศัพท์ที่ประกอบคำนามที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นคำทับศัพท์ แต่ได้
ใช้ในภาษาไทยมาจนถือเป็นคำไทยแล้ว ให้วางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม เช่น
cosmic ray = รังสีคอสมิก
gross ton = ตันกรอส
13.2 ถ้าทั้งคำคุณศัพท์และคำนามเป็นคำทับศัพท์ที่ยังไม่ถือเป็นคำไทย ให้ทับ
ศัพท์ตรงตามศัพท์เดิม เช่น
hyperbolic curve = ส่วนโค้งไฮเพอร์โบลา
electronic charge = ประจุอิเล็กตรอน
focal length = ความยาวโฟกัส
Arctic Circle = อาร์กติกเซอร์เคิล
adrenal cortex = อะดรีนัลคอร์เทกซ์
13.3 ถ้าต้องการเน้นว่าคำนามนั้นเป็นสิ่งที่มีหลายชนิดและคำคุณศัพท์ที่
ประกอบเป็นชนิดหนึ่งของคำนามนั้น อาจทับศัพท์โดยใช้คำประกอบ แบบ ชนิด ระบบ
ฯลฯ มาแทรกไว้ระหว่างคำนามกับคำคุณศัพท์ เช่น
normal matrix = เมทริกซ์แบบนอร์แมล
thermoseting plastic = พลาสติกชนิดเทอร์โมเซตติง
14. คำย่อ ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้น ๆ ลงเป็นภาษาไทย ดังนี้
A = เอ B = บี C = ซี
D = ดี E = อี F = เอฟ
G = จี H = เอช I = ไอ
80

J = เจ K = เค L = แอล
M = เอ็ม N = เอ็น O = โอ
P = พี Q = คิว R = อาร์
S = เอส T = ที U = ยู
V = วี W = ดับเบิลยู X = เอกซ์
Y = วาย Z = แซด
และให้เขียนโดยไม่ต้องใส่จุดและไม่เว้นช่องไฟ เช่น
BBC = บีบีซี
F.B.I = เอฟบีไอ
DDT = ดีดีที
15. คำทับศัพท์ที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียง
เรียงตัวอักษร ให้เขียนตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด เช่น
USIS = ยูซิส
UNESCO = ยูเนสโก
ASEAN = อาเซียน
16. ตัวย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุด และเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น
D.N. Smith = ดี.เอ็น. สมิท
G.H.D. Cold = จี.เอช.ดี. โคลด์
81

ตารางเทียบเสียงสระภาษาอังกฤษ A - E - I - O - U – Y

สระ ใช้ ตัวอย่าง

A
a แอ badminton = แบดมินตัน
อะ aluminium = อะลูมิเนียม
อา Chicago = ชิคาโก
เอ Asia = เอเชีย
ออ football = ฟุตบอล
ar แอ arrow = แอร์โรว์
อา bar = บาร์
ออ ward = วอร์ด
เออ Edward = เอดเวิร์ด
are แอ mare = แมร์

หมายเหตุ ยกเว้น are (verb to be) ใช้อาร์

aa อา bazaar = บาซาร์
แอ Aaron = แอรอน
ae อี Aegean = อีเจียน
82

แอ aerosphere = แอโรสเฟียร์
เอ sundae = ซันเด
aea เอีย Judaea = จูเดีย
aer เออ kaersutite = เคอร์ซูไทต์
ai เอ Spain = สเปน
ไอ Cairo = ไคโร
air แอ Bel Air = เบลแอร์
ao เอา Mindanao = มินดาเนา
au อา laugh = ลาฟ
ออ Augusta = ออกัสตา
เอา Bissau = บิสเซา
โอ Auger = โอเจอร์
แอ Laughlin = แลฟลิน
aw ออ lawernce = ลอว์เรนซ์
ay เอ Malay = มาเลย์
ayr แอ Ayrshire = แอร์เชอร์

e อี Sweden = สวีเดน
83

เอ Lebanon = เลบานอน
อิ electronics = อิเล็กทรอนิกส์
เอะ Mexico = เม็กซิโก
er เออ Canberra = แคนเบอร์รา
อา Clerk = คลาร์ก
ere เอีย Cashmere = แคชเมียร์
ea อี Guinea = กินี
เอ Dead Sea = เดดซี
เอีย Caribbean = แคริบเบียน

ear แอ Bear = แบร์


เอีย gear = เกียร์
อา Heart = ฮาร์ต
เออ Pearl Harbour = เพิร์ลฮาร์เบอร์
eau โอ Beaufort = โบฟอร์ด
อิว beauty = บิวตี
ee อี Greenwich = กรีนิช
eer เอีย beer = เบียร์
ei อี Neit = นีล
ไอ Einsteinium = ไอน์สไตเนียม
84

เอ Beirut = เบรุต
eir แอ heir = แอร์
เอีย Peirse = เพียร์ส
เออ Peirce = เพิร์ซ
eo อี people = พีเพิล
เอ Leominster = เลมินสเตอร์
เอีย Napoleon = นะโปเลียน
เอียว Borneo = บอร์เนียว
eou โอ Seoul = โซล
eu อิว leukemia = ลิวคีเมีย

ยุ Europe = ยุโรป
ยู Euphrates = ยูเฟรทีส
เอีย oleum = โอเลียม
อู Reuben = รูเบ็น
eur เออ fleur-de-lis = เฟลอร์เดอลีส์
ew อิว New York = นิวยอร์ก
โอ sew = โซว์
อู Andrew = แอนดรูว์
85

ey เอ Yardley = ยาร์ดเลย์
อี Key = คีย์

i อิ King = คิง
อี ski = สกี
ไอ Liberia = ไลบีเรีย
ir เออ zircon = เซอร์คอน
อี Pamir = ปามีร์
ire ไอ Ireland = ไอร์แลนด์
แเฮมป์เชอร์,
เออ, เอีย Hampshire =
แฮมป์เชียร์
ia เอีย India = อินเดีย
ie อี riebeckite = รีเบกไกต์
เอีย Soviet = โซเวียต
อาย pie = พาย
ไอ necktie = เนกไท
ier เอีย glacier = เกลเชียร์
iew อิว view = วิว
ion เอียน Union = ยูเนียน
86

อัน lotion = โลชัน


iu เอีย aluminium = อะลูมิเนียม

o โอ Cairo = ไคโร
ออ Tom = ทอม
อะ Washington = วอชิงตัน
อู Today = ทูเดย์
or ออ corruption = คอร์รัปชัน
เออ Windsor = วินด์เซอร์

ore ออ Thomas More = ทอมัส มอร์


โอ Ben More = เบนโมร์
oa ออ Broadway = บรอดเวย์
โอ Oakland = โอกแลนด์
อัว Samoa = ซามัว

oar ออ board = บอร์ด


oe โอ Joe = โจ
อู Shoemaker = ชูเมกเกอร์
87

เออ goethite = เกอไทต์


อี Phoenix = ฟีนิกซ์
oer เออ oerlikon = เออร์ลิคอน
oi ออย thyroid = ไทรอยด์
อัว chamois = ชามัวส์
oo อุ foot = ฟุต
อู wood = วูด

อะ Bloodsworth = บลัดส์เวิร์ท
oor อัว Moor = มัวร์
ออ door = ดอร์
โอ Doorn = โดร์น
ou เอา counter = เคาน์เตอร์
อาว ground = กราวนด์
โอ Boulder = โบลเดอร์
อะ thermocouple = เทอร์โมคัปเปิล
ออ Gough = กอฟ
อุ soup = ซุป

อู Vancouver = แวนคูเวอร์
88

our ออ bournonite = บอร์โนไนต์


เออ Melbourne = เมลเบิร์น
อัว tour = ทัวร์
โอ Mourne = โมร์น
ow โอ bowling = โบว์ลิง
เอา Cowpens = เคาว์เพนส์
อาว townhouse = ทาวน์เฮาส์
อู Cowper = คูว์เปอร์
oy ออย Lloyd = ลอยด์

u อะ Hungary = ฮังการี
อิว Cuba = คิวบา
อุ Lilliput = ลิลลิพุต
อู Kuwait = คูเวต
ยู Uranium = ยูเรเนียม
อิ busy = บิซี
ur เออ hurricane = เฮอร์ริเคน
ure อัว Sure = ชัวร์
89

เออ lecture = เลกเชอร์


เอียว Pure = เพียวร์
ua อัว Guadalupe = กัวดาลูป
ue อิว Tuesday = ทิวส์เดย์
อู wuestite = วูสไทต์
ui อุ fruit = ฟรุต
อู juice = จูซ
อิ circuit = เซอร์คิต
Ruislip ไรสลิปนอร์
ไอ =
Northwood ทวูด
uir อิว Muir = มิวร์
uy ไอ Schuyler = สไกลเลอร์
อาย Guy = กาย

Y อิ Odyssey = โอดิสซีย์
อี Syria = ซีเรีย
ไอ cyclone = ไซโคลน
ye ไอ rye = ไรย์
yr เออ Myrna = เมอร์นา
90

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
ตารางเทียบพยัญชนะภาษาอังกฤษ

พยัญชนะ พยัญชนะต้น ตัวสะกดและตัวการันต์


ภาษาอังกฤษ ใช้ ตัวอย่าง ใช้ ตัวอย่าง
b บ base = เบส บ Gibb = กิบบ์
c+a ค cat = แคต ก cubic = คิวบิก
+o cone = โคน
+u Cuba = คิวบา
+r crown = คราวน์
+l Cleo = คลีโอ
c+e ซ cell = เซลล์ ซ Greece = กรีซ
+i cigar = ซิการ์
+y cyclone = ไซโคลน
c (ออกเสียง ช) ช glacier = เกลเชียร์ - -

หมายเหตุ คำที่พยางค์สุดท้ายเป็น ca, co และ cer (ที่ออกเสียงเกอร์) ซึ่งไทยเรานิยมใช้


เสียง ก ให้ใช้ ก ตัวอย่าง
America = อเมริกา
Disco = ดิสโก
Soccer = ซอกเกอร์
91

พยัญชนะ พยัญชนะต้น ตัวสะกดและตัวการันต์


ภาษาอังกฤษ ใช้ ตัวอย่าง ใช้ ตัวอย่าง
ch ช Chicago = ชิคาโก ช Beach = บีช
(ออกเสียง ช)
ch ค Chios = คิออส ก Angioch = แอนติออก
(ออกเสียง ค)
-ck ก Brunswick = บรันสวิก

หมายเหตุ ck เมื่อเป็นตัวสะกดและพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไปให้ใช้ กก เช่น


Rocky = รอกกี
Locket = ล็อกเกต

d ด dextrin = เดกซ์ทริน ด Dead Sea = เดดซี


f ฟ Fox = ฟอกซ์ ฟ Clifion = คลิฟตัน
g+e จ gestagen = เจสตาเจน จ rouge = รูจ
+i engineer = เอนจิเนียร์
+y gyro = ไจโร
g+a ก galaxy = กาแล็กซี ก magnesium = แมกนีเซียม
+e forget-me-not =
ฟอร์เกตมีนอต
+i gift = กิฟต์
+o golf = กอล์ฟ
+u gulf = กัลฟ์
+l Gladstone = แกลดสโตน
+r grand = แกรนด์
gh ก ghetto = เกตโต ฟ Gough = กอฟ
92

ก Pittsburgh = พิตส์เบิร์ก
gh - - Hugh = ฮิว
( ไม่ออกเสียง)
gn น gneiss = ไนส์ น design = ดีไซน์
(g ไม่ออกเสียง)

หมายเหตุ gn ถ้าเป็นตัวสะกดและพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป แล้วออกเสียง /ñ/ ใช้ นญ เช่น


Bologna = โบโลนญา
Cognac = คอนญัก

gu กว penguin = เพนกวิน
(ออกเสียง กว)
gu ก Guildford = กิลด์ฟอร์ด ก league = ลีก
(ออกเสียง ก)
h ฮ Haematite = ฮีมาไทต์
h (ไม่ออกเสียง) - honour = ออเนอร์ ห John = จอห์น
j จ Jim = จิม
k ค Kansas = แคนซัส ก York = ยอร์ก
k (เมื่อเป็น ก bunker = บังเกอร์
พยัญชนะต้น market = มาร์เกต
ของพยางค์ Yankee = แยงกี
สุดท้าย)
kh ค khartoum = คาร์ทูม ก Sikh = ซิก
l ล locket = ล็อกเกต ล Shell = เชลล์
m ม micro = ไมโคร ม Tom = ทอม
n น nucleus = นิวเคลียส น cyclone = ไซโคลน
93

หมายเหตุ n เมื่อเป็นตัวสะกดและมีพยัญชนะ c ch g k qu ฯลฯ ตามแล้วทำให้เสียง n ที่เป็น


ตัวสะกดออกเสียงเป็น ง ให้ถอด n เป็น ง เช่น
Anglo-Saxon = แองโกลแซกซัน
Function = พังก์ชัน
Parenchyma = พาเรงคิมา
Frank = แฟรงก์

p พ parabola = พาราโบลา ป capsule = แคปซูล

หมายเหตุ p เมื่อเป็นพยัญชนะต้นให้ใช้ พ โดยตลอด ยกเว้นกลุ่มพยัญชนะบางกลุ่มที่ไทย นิยม


ใช้เสียง ป ให้ใช้ ป ดังนี้ super-, -pa, -pean, -per, -pia, -pic, -ping, -pion, -po, -pus และ –
py ตัวอย่าง
Superman = ซูเปอร์แมน
Europa = ยูโรปา
Bumper = บัมเปอร์
Topic = ทอปปิก
Shopping = ชอปปิง
Hippy = ฮิปปี
Hippo = ฮิปโป
Olympus = โอลิมปัส

พยัญชนะ พยัญชนะต้น ตัวสะกดและตัวการันต์


ภาษาอังกฤษ ใช้ ตัวอย่าง ใช้ ตัวอย่าง
ph ฟ phosphorous = ฟ graph = กราฟ
ฟอสฟอรัส
q ก Qatar = กาตาร์ ก Iraq = อิรัก
94

qu คว Quebec = ควิเบก - -
(ออกเสียง คว)
qu ค Liquor = ลิเคอร์ ก Mozambique = โมซัมบิก
(ออกเสียง ค)
r ร radium = เรเดียม ร barley = บาร์เลย์
rh ร rhodonite = โรโดไนต์ ห myrrh = เมอรห์
Murrha = เมอร์รา
s (+ สระ) ซ silicon = ซิลิคอน ส Lagos = ลากอส
(+ พยัญชนะ) ส Sweden = สวีเดน - -
(ออกเสียง ช) ช Asia = เอเชีย - -
son สัน Johnson = จอห์นสัน
(อยู่ท้ายชื่อ)
's - - ส์ King's Cup = คิงส์คัป
sc (ออกเสียง ซ) ซ scene = ซีน
(ออกเสียง สก) สก screw = สกรูว สก disc = ดิสก์
sch ซ scheelite = ซีไลต์
(ออกเสียง ซ)
(ออกเสียง ช) ช schism = ซิซมึ
(ออกเสียง สก) สก school = สกูล
sh ช shamal = ชามาล ช harsh = ฮาร์ช
sk สก skyros = สกิรอส สก task = ทาสก์
sm - - ซึม protoplasm =
โพรโทพลาซึม
sp สป spray = สเปรย์
spore = สปอร์
st สต Stanford = สแตนฟอร์ด
95

strip = สตริป

หมายเหตุ sc sk sp และ st ที่ถอดเป็น สก, สก, สป, และ สต ตามลำดับ ถ้า s อยู่กลางศัพท์
และเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า ให้ถอด c k p และ t นั้น เป็น ค ค พ และ ท เช่น
Wisconsin = วิสคอนซิน
Muskegon = มัสคีกัน
Asparagus = แอสพารากัส
Distemper = ดิสเทมเปอร์

พยัญชนะ พยัญชนะต้น ตัวสะกดและตัวการันต์


ภาษาอังกฤษ ใช้ ตัวอย่าง ใช้ ตัวอย่าง
t ท Tasmania = แทสเมเนีย ต Kuwait = คูเวต
trombone = ทรอมโบน

หมายเหตุ t เมื่อเป็นพยัญชนะต้น ใช้ ท โดยตลอด ยกเว้นกลุ่มพยัญชนะบางกลุ่มที่ไทยเรานิยม


ใช้เสียง ต ให้ใช้ ต ดังนี้ anti-, auto-, inter-, multi-, photo-; ta, -ter, -ti, -tic, -ting, -tis, -
to, -ton, - tor, -tre, - tum, -tus และ -ty เช่น
Antibody = แอนติบอดี
Intercom = อินเตอร์คอม
Computer = คอมพิวเตอร์
Quantum = ควอนตัม
Zygomata = ไซโกมาตา

พยัญชนะ พยัญชนะต้น ตัวสะกดและตัวการันต์


ภาษาอังกฤษ ใช้ ตัวอย่าง ใช้ ตัวอย่าง
th ท thorium = ทอเรียม ท zenith = เซนิท
thm - - ทึม biorhythm = ไบโอริทึม
96

logarithm = ลอการิทึม
ti (ออกเสียง ช) ช nation = เนชัน -
strontium = สตรอนเชียม
v (เมื่อเป็น ว volt = โวลต์ ฟ love = เลิฟ
ตัวสะกดของ
พยางค์ต้น และ
เป็นตัวนำของ
พยางค์ต่อไป
ด้วย)
perovskite = เพอรอฟส
ไกต์
- - ฟว Livingstone = ลิฟวิงสโตน
w ว Wales = เวลส์ ว cowboy = คาวบอย
wh ว White = ไวต์ - -
(ออกเสียง ว)
wh ฮ Whewell = ฮิวเอลล์
(ออกเสียง ฮ)
x ซ Xenon = ซีนอน กซ boxer = บอกเซอร์
oxford = ออกซฟอร์ด
onyx = โอนิกซ์
y ย Yale = เยล ย key = คีย์
z ซ zone = โซน ซ Vaduz = วาดุซ
97

หมายเหตุ
1. คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะต้นหลายตัว และตัวหน้าไม่ออกเสียง เมื่อเขียนทับศัพท์
เป็นภาษาไทย ไม่ต้องใส่พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียง เช่น
Gnat = แนต
Knight = ไนต์
Psycho = ไซโค
Pneumonia = นิวมอเนีย
2. วิสามานยนาม ที่ในภาษาอังกฤษออกเสียงเฉพาะพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ใน
ตาราง ให้ถอดตามการออกเสียง เช่น
Worcester = วูสเตอร์
Marble Arch = มาร์บะลาช

You might also like