You are on page 1of 3

16/04/2563

ถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้แบบ Home-based Learning (HBL) ของสิงคโปร์:


มุมมองที่น่าคิดและนำมาปรับใช้สำหรับชั้นเรียนประถมศึกษาของประเทศไทยในช่วงเวลานี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศวีร์ สายฟ้า


คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
yotsawee.s@chula.ac.th

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีผลทำให้กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเลื่อน


กำหนดการเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2563 ออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคมนั้น โรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่ง
จึงเริ่มปรับแนวคิดการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นได้ อย่าง
ราบรื่นภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ประเทศสิงคโปร์ (โดยกระทรวงศึกษาธิการ) ได้กำหนดให้มีการจัดการ
เรียนรู้แบบ Home-based Learning (HBL) ภายหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศปิดโรงเรียนเป็นช่วงระยะเวลา
หนึ่ง เพื่อลดความรุนแรงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยการกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์มีคำสั่ง
ให้ทุกโรงเรียนที่อยู่ในความดูแลจัดการเรียนรู้แบบ HBL อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา และ
มีกำหนดจัดการเรียนรู้ดังกล่าวถึงวันที่ 4 พฤษภาคม สิงคโปร์เตรียมการอย่างไร? นีค่ ือคำถามสำคัญที่น่าสนใจ
และน่าจะนำมาซึ่งคำตอบที่ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาหลายๆ แห่งกำลังต้องการในช่วงเวลานี้
ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่พบคือ เพราะเหตุใดสิงค์โปร์จึงเริ่มมีคำสั่งให้โรงเรียนจัด การเรียนรู้แบบ HBL
หลังวันที่ 8 เมษายน 2563 แทนที่จะมีคำสั่งในทันทีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มต้น คำตอบพบนัน้ เป็น
เพราะสิงคโปร์มีการวางแผนและเตรียมการอย่างรอบคอบ ก่อนที่ให้บุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมทั้งครู
เด็ก และผู้ปกครอง ทำงานผ่านการจัดการเรียนรูแ้ บบ HBL นั้น สิงคโปร์ใช้เวลาเตรียมการในการ Implement
การจัดการเรียนรู้แบบ HBL อย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากการทดลองจัดการเรียนรู้ดังกล่าวหนึ่งวันต่อสัปดาห์
และค่อยๆ ปรับเพิ่ม สู่การใช้เต็มรูปแบบทั้งสัปดาห์หลังวันที่ 8 เมษายน โดยก่อนการใช้อย่างเต็มรูปแบบนีจ้ ะมี
จัดสรรเวลาก่อนล่วงหน้าสำหรับครู นักเรียน ผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้แบบ HBL ที่
โรงเรียน (อย่างปลอดภัยภายใต้มาตรการการป้องกันฯ) ยกตัวอย่างเช่น (1) การ Training ครูในการวางแผน
และเตรียมการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ของบทเรียนไว้อย่างครบถ้วน (2) การให้
ความรู้กับเด็กและผู้ปกครอง (เน้นที่ผู้ปกครองอย่างมาก) ในการทำความเข้าใจวิธีการ/ขั้นตอนการเรียนรู้แบบ
HBL จนมั่นใจว่าทุกฝ่ายมีความพร้อมในการทำงานและเรียนรู้แบบ HBL อย่างแท้จริง (3) การจัดเตรียม
อุปกรณ์ต่างๆ ให้เพียงพอสำหรับบุคลากรและเด็กนักเรียนทุกคน โดยเฉพาะสื่อการเรียนรู้ทุกรูปแบบที่ใช้ในแต่
ละบทเรียน รวมถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือ Tablet หรือแม้แต่ Sim-card สำหรับการเข้าถึง Internet ที่มี
เพียงพอสำหรับนักเรียน “ทุกคน” ในโรงเรียนนำไปใช้ในการเรียนรู้ที่บ้านได้! และ (4) การเตรียมความพร้อม
การใช้งาน Platform สำหรับการสอนออนไลน์ ต่างๆ อาทิ (1) Zoom (มีข้อสังเกตว่าในเวลาต่อมาสิง คโปร์มี
ประกาศให้ระมัดระวังการใช้งาน Platform นีเ้ นื่องจากมีช่องโหว่ของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล) (2)
Google Meet (3) Facebook Live หรือ (4) Cisco WebEx สิ่งที่สิงคโปร์เตรียมการนี้ หากวิเคราะห์แล้วจะ

1
16/04/2563

พบว่าเป็นการทำงานแบบ Proactive คือมีการวางแผนเตรียมการอย่างรัดกุม เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจคือ


ต้องมั่นใจว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องจะสามารถทำงานหรือเรียนรู้แบบ HBL ได้อย่างประสบผลสำเร็จและต้อง “ไม่มี
อุปสรรค!” ที่สำคัญคือไม่รีบร้อน รอคอยเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้การเตรียมการหรือเตรียมความพร้อมเป็น ไป
อย่างสมบูรณ์แบบและไม่ทิ้ งใครให้เขว้งขว้างเดียวดายไว้ภายหลัง นี่คือมุมมองและวิธีคิดที่สำคัญที่ผ้บู ริหาร
โรงเรียนประถมศึกษาของไทยควรพิจารณานำไปปรับใช้ เพราะหากมีการวางแผนเตรียมการอย่างดีแล้ว ย่อม
เป็นการลดการสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้สำหรับเด็กไปได้ อย่างมาก การจัดการเรียนรู้แบบ HBL ในมุมมอง
ของสิงคโปร์ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นการจัดการเรียนรูใ้ นรูปแบบ Online ทั้งหมด 100% สิงคโปร์มองว่าการ
เรียนรู้สำหรับเด็กในภาวะการณ์วิกฤติเ ช่นนี้ ควรเป็นทั้งการเรียนรู้ Online และ Offline ดัง นั้น ไม่ใช่ทุก
กิจกรรมการเรียนรู้จะต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เสมอไป การวางแผนเตรียมการบทเรียนสำหรับครูจึงเป็น
สิ่งที่ท้าทาย และอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ต้องให้ “เวลา” ครูในการเตรียมการ สิ่งนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุด!
ข้อสังเกตประการต่อมาจากกรณีศึกษาของสิงคโปร์ คือ สิงคโปร์มองว่าการจัดการเรียนรูแ้ บบ HBL ไม่
ใช้การเน้นการเรียนเนื้อหาสาระมากมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น สิงคโปร์มองว่าการจัดการเรียนรู้แบบ HBL
จำเป็นต้องมีความสมดุลในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น ครูต้องวางแผนกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามช่วงวัย
ตอบสนองความต้องการของเด็ก รวมถึงธรรมชาติการเรี ยนรู้ของรายวิชาต่างๆ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบ
HBL ในแต่ละวิชาจึงไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบกิจกรรมลักษณะเดียวกัน หรือในเชิงของการรักษาสมดุลระหว่าง
การสอนทางตรงและการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครู อาจเลือกใช้หรือผสมผสานการสอนบรรยายแบบออนไลน์
ด้วยการใช้ video conferencing platforms ต่างๆ โดยสิงคโปร์กำหนดเวลาในการเรียนออนไลน์เฉลี่ย 2 – 3
ชั่วโมงต่อวัน ประกอบกับการชี้แจงงานที่มอบหมายหรือการบ้านให้เ ด็กทำหรือศึกษาด้วยตนเอง รวมถึง
อุป กรณ์ก ารเรียนต่างๆ รายการหนัง สือ หรือ แบบฝึก หัดที่ม อบหมายให้เ ด็ก ทำ ช่วงระยะเวลา วิธีก าร
ติดต่อสื่อสารหรือ ช่องทางการขอความช่วยเหลือครู เป็นต้น นอกจากนี้ สิงคโปร์ยัง ให้ความสำคัญกับการ
ส่งเสริมสุขภาวะเด็กขณะที่เรียนรู้ แบบ HBL เห็นได้จากการเน้นย้ำให้ครูและผู้ปกครองตระหนักว่าในภาวะ
เช่นนี้เด็ก (รวมถึงครูและผู้ปกครอง) อาจเกิดความเครียดกับ disruption นี้ เด็กอาจรู้สึกว่าสูญเสียอิสระภาพ
คิดถึง เพื่อน คิดถึง การไปโรงเรียน ฯลฯ ดัง นั้น ขณะที่เ รียนรู้แบบ HBL ที่บ ้านนี้ ผู้ป กครองจึง ควรหมั่น
ตรวจสอบสุขภาวะของเด็กเป็นระยะๆ หากพบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่แสดงความเครียดหรือผิดปกติ ผู้ปกครอง
สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือครูหรือทีมสนับสนุนการเรียนรู้ (learning support) ของโรงเรียนได้ทันที
รวมถึงในการจัดการเรียนรู้แ บบ HBL นี้ สิงคโปร์ยังให้ครูวางแผนจัดกิจกรรมที่ประกอบด้วยการให้เด็กได้
เคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงการให้ใช้งานเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารหรือทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนบ้าง ทั้งนี้
เพื่อให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่เกิดความรู้สึกว่าตนเองอยู่โดดเดี่ยวแต่ภายในบ้านเพียงลำพัง จะเห็นได้
ว่าการจัดการเรียนรู้ แบบ HBL ของสิง คโปร์นั้น ผู้ป กครองมี บ ทบาทอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก
ประถมศึกษา ที่ยังมีความต้องการการพึ่งพาผู้ใหญ่ในการทำกิจกรรมต่างๆ อยู่บ้าง ด้วยเหตุนี้เอง สิงคโปร์จึง
เตรียมการสนับสนุนการทำงานของผู้ปกครองเพื่อช่วยให้ เด็กเรียนรู้แบบ HBL ได้อย่างประสบความสำเร็จ
ยกตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องทำงาน แม้แต่การทำงานแบบ Work from Home สิงคโปร์ได้
แสดงความห่วงใยและแสดงความเข้าใจในข้อจำกัด แต่ได้ขอความร่วมมือผู้ปกครองให้ช่วยดูแลการเรียนรู้ของ
2
16/04/2563

บุตรหลานอยู่ภายในบ้าน หากพบว่ามีปัญหาใดติดขัดสามารถขอความช่วยเหลือโรงเรียนได้ทันที แม้แต่การยืม


อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ เด็กจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้แบบ HBL ที่บ้าน หากผู้ปกครองมีปัญหาติดขัดหรือมี
อุปกรณ์สนับสนุนการเรียนไม่เพียงพอ สามารถประสานงานกับโรงเรียนเพื่อให้ความช่วยเหลือหรือ ขอรับการ
ดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเน้นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการทำงานร่วมกับเด็ก ขณะที่เรียนรู้
แบบ HBL โดยให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้
(1.) กำหนดตารางหรือกิจวัตรประจำวันของเด็กประจำวัน รวมถึงตั้งเป้าหมายระยะสั้นร่วมกับเด็กในการ
เรียนรู้แต่ละวัน ตลอดจนงานต่างๆ ที่ต้องทำให้เสร็จในแต่ละช่วงเวลาของวันนั้นๆ
(2.) สร้างข้อตกลงการใช้งานอุปกรณ์หน้าจอ (screen devices) ร่วมกับเด็ก เมื่อใดเป็นเวลาที่ควรใช้งาน
คอมพิวเตอร์เพื่อเรียนรู้แบบ HBL และกำหนดช่วงเวลาพักขณะเรียน โดยลดเวลาพักด้วยการเล่นเกม
หรือการใช้งานอุปกรณ์หน้าจอ แต่สามารถให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อละสายตาจากหน้าจอ เช่น
อ่านหนังสือ เล่นบอร์ดเกม หรือออกกำลังกายยืดเส้นยืดสายภายในบ้าน
(3.) กระตุ้นให้เด็กมองบวก คิดบวก ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ให้มีความสามารถในการยืดหยุ่น
และปรับตัวได้ ส่งเสริมให้เด็กมี Growth Mindset ภายใต้สถานการณ์นี้
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่สิงคโปร์ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองคือการดูแลสุขภาวะของเด็กขณะเก็บตัวอยู่
กับบ้าน โดยขอความร่วมมือให้เด็ก งดการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่น ที่ไม่ใช้บุคคลในครอบครั วที่
ใกล้ชิด (ปฏิสัมพันธ์แบบ in-person) งดการให้แขกมาเยี่ยมเยียนที่บ้านหรือการสังสรรค์ทุกรูปแบบ รวมถึง
การตรวจสอบอุณหภูม ิภายในร่างกาย รวมถึงอาการบ่ง ชี้อื่นๆ อยู่ เ สมอ และที่สำคัญที่สุ ดคือการติดตาม
ข่าวสารอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการอย่างเข้มงวด สาระเหล่านี้ยังคงจำเป็น ต้องถูก
สื่อสารไปยังผู้ปกครอง เพื่อให้การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล และที่สำคัญ
ที่สุดเพื่อป้องกันสุขภาพของเด็กในครอบครัว
โดยสรุปแล้ว การจัดการเรียนรู้แบบ HBL ของสิงคโปร์สะท้อนวิธีคิดและมุมมองในการจัดการศึกษาที่
เน้นการเรียนรู้ของเด็กหรือผู้เรียนและครอบครัวเป็นตัวตั้ง ความพร้อมของเด็ก ทั้งในแง่ของการเรียนรู้ดว้ ย
ตนเอง การเข้าถึงอุปกรณ์และ Platform การเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนความพร้อมของครูและผู้ปกครองที่มีฐานะ
เป็นผู้ช่วยสำคัญสำหรับเด็กในการเรียนรู้ภายใต้สถานการณ์และการจัดเรียนรู้แบบ HBL เป็นสิ่งที่สิงคโปร์ให้
ความสำคัญและไม่ปล่อยผ่านไปสักประเด็นเดียว ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการจัดการเรียนรู้แบบ
HBL เต็มรูป ถูกคิดและวางเตรียมการแก้ปัญหาไว้ หมดทุกช่องทาง การช่วยเหลือสนับสนุนถูกกำหนดและ
เตรียมการให้พร้อมตลอดเวลา แม้ว่าเด็กหรือผู้ปกครองเรียนรู้แบบ HBL ไปแล้ว เกิดปัญหาใดก็ตาม โรงเรียน
จะเป็นหลักสำคัญในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทุกรูปแบบ การดำเนินการทั้งหมดนี้ เชื่อมั่นได้ว่าเด็ก
สิงคโปร์จะไม่มีทางสูญเสียโอกาสทางการเรียนรู้ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ไปได้
อย่างแน่นอน

ที่มาของข้อมูล: https://www.moe.gov.sg/faqs-covid-19-infection

You might also like