You are on page 1of 19

“ทัณฑะกาล”

ของจิตร ภูมิศักดิ์ 
และผู้ต้องขังการเมือง
จิตร ภูมิศักดิ์ สมัยเป็นนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จากหนังสือ
จุฬาบัณฑิต ปี พ.ศ. ๒๔๙๙)
“ทัณฑะกาล”
ของจิตร ภูมิศักดิ์ 
และผู้ต้องขังการเมือง
วิลลา วิลัยทอง

ราคา ๑๖๐ บาท
ราคา ๐ บาท
“ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์ และผูตองขังการเมือง
• วิลลา วิลัยทอง
พิมพครั้งแรก : ธันวาคม ๒๕๕๖
ภาพจากปกหน้า ราคา ๑๖๐ บาท
ขอมูลทางบรรณานุกรม
วิลลา วิลัยทอง.
“ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมศิ กั ดิ์ และผตู อ งขังการเมือง.
กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๕๖.
๑๙๒ หนา : ภาพประกอบ.
๑. จิตร ภูมิศักดิ์, ๒๔๗๓-๒๕๐๘.
I. ชื่อเรื่อง
928.95911
จิตร ภูมิศักดิ์และเพื่อน ภายใน ISBN 978 - 974 - 02 - 1226 - 3
ห้องคุมขัง เรือนจำาลาดยาว

ภาพจากปกหลัง • ที่ปรึกษาสำนักพิมพ : อารักษ คคะนาท, สุพจน แจงเร็ว,


นงนุช สิงหเดชะ
• ผูจัดการสำนักพิมพ : กิตติวรรณ เทิงวิเศษ
• รองผูจัดการสำนักพิมพ : รุจิรัตน ทิมวัฒน
• บรรณาธิการบริหาร : สุลักษณ บุนปาน
• บรรณาธิการสำนักพิมพ : พัลลภ สามสี
• หัวหนากองบรรณาธิการ : อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ
จิตร ภูมศิ กั ดิ์ (คนที่ ๒ จากซ้าย) • พิสูจนอักษร : ปารดา นุมนอย
กำ า ลั ง ดี ด จะเข้ กั บ วงดนตรี ผู้ ต้ อ งขั ง • ศิลปกรรม : นุสรา สมบูรณรัตน
การเมือง ในเรือนจำาลาดยาว • ออกแบบปก : มาลินี มนตรีศาสตร
• ประชาสัมพันธ : กานตสินี พิพิธพัทธอาภา
บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) : ๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล
ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๑๓๓๕
โทรสาร ๐-๒๕๘๙-๕๘๑๘
แมพิมพสี-ขาวดำ : กองพิมพสี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๒๔๐๐-๒๔๐๒
พิมพที่ : โรงพิมพมติชนปากเกร็ด ๒๗/๑ หมู ๕ ถนนสุขาประชาสรรค ๒
ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี ๑๑๑๒๐
โทรศัพท ๐-๒๕๘๔-๒๑๓๓, ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๖
โทรสาร ๐-๒๕๘๒-๐๕๙๗
จัดจำหนายโดย : บริษัท งานดี จำกัด (ในเครือมติชน)
๑๒ ถนนเทศบาลนฤมาล ประชานิเวศน ๑ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐
หนังสือเลมนี้พิมพดวยหมึก โทรศัพท ๐-๒๕๘๐-๐๐๒๑ ตอ ๓๓๕๐, ๓๓๕๑
ที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม โทรสาร ๐-๒๕๙๑-๙๐๑๒
เพื่อปกปองธรรมชาติ Matichon Publishing House a division of Matichon Public Co., Ltd.
และสุขภาพของผูอาน 12 Tethsabannarueman Rd, Prachanivate 1, Chatuchak, Bangkok 10900
Thailand
ส�รบั ญ
“ทัณฑะกาล”
ของจิตร ภูมิศักดิ์
และผู้ต้องขังการเมือง

คำ�นำ� (๖)
  ๑ เข้�เรื่อง ๒ 
  ๒ เมื่อจะศึกษ�คุก ๑๒
  ๓ เมื่อจะศึกษ�ชีวิตจิตรในคุก ๒๒
  ๔ เมื่อ “ปฏิวัติ” ๒๐ ตุล�คม พ.ศ. ๒๕๐๑ ๓๔
  ๕ เมื่อถูกจับ ๔๔
  ๖ เมื่อแรกถูกคุมขัง ๖๐
 ๗ เมื่ออยู่ล�ดย�ว ๗๖
  ๘ เมื่อ “คอมมิวนิสต์” อยู่ล�ดย�ว ๑๐๔
  ๙ เมื่อไปศ�ล ๑๒๐
 ๑๐ เมื่อถูกปล่อยตัว ๑๔๐
 ๑๑ ออกจ�กเรื่อง ๑๖๔
 ภาพ “ชาวจี
  นในหม่
บรรณ�นุ กรม
ูมารผจญ” ที่พระอุโบสถวัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี
๑๗๑
คำ�นำ�
“ทัณฑะกาล”
ของจิตร ภูมิศักดิ์
และผู้ต้องขังการเมือง

ดิ ฉั น ชอบประวั ติ ศ าสตร์ วั ฒ นธรรมและไม่ เ ชี่ ย วชาญประวั ติ


ศาสตร์การเมือง หนังสือเล่มนี้ถือเป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์ชิ้น
แรกของดิฉันที่เข้าไปข้องเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง ด้วยความ
พยายามอย่างยิ่งที่จะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เจ้าหน้าที่ของ
รัฐ และประชาชนผ่าน “ทัณฑะกาล” หรือช่วงเวลาที่จิตร ภูมิศักดิ์
และผู้ต้องขังการเมืองสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระหว่างปี พ.ศ.
๒๕๐๑-๒๕๐๖ ถูกลงโทษอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
อันเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องตั้งแต่ถูกจับกุมตามประกาศคณะปฏิวัติ
และได้รับการปล่อยตัว
จิตร ภูมศิ กั ดิ์ เป็นหนึง่ ในปัญญาชนคนสำาคัญของประวัตศิ าสตร์
ไทยสมัยใหม่ เรื่องราวและผลงานของเขาเริ่มเป็นที่รับรู้และได้รับ
การยอมรับจากประชาชนในวงกว้างขึ้น เนื่องมาจากกลุ่มปัญญาชน
นักวิชาการ และนักหนังสือพิมพ์ให้ความสนใจใน “จิตรศึกษา” ตั้งแต่
ทศวรรษ ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ได้สร้างและขยายองค์ความรู้เรื่องจิตร
หลากหลายรูปแบบ มีทั้งการจัดพิมพ์ประวัติและผลงานของจิตร ผล
งานของนักวิชาการ จัดการเสวนา การอภิปราย นิทรรศการ งานวัน
รำาลึก คอนเสิร์ต ตามรอยการเดินทาง จนถึงการสร้างอนุสาวรีย์ ฯลฯ
ย้ อ นกลั บ ไประหว่ า งวั น ที่ ๒๙ และ ๓๐ ตุ ล าคม พ.ศ.
๒๕๕๓ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ
มูลนิธิโครงการตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิจิตร
วิลลา วิลัยทอง (7)

ภูมศิ กั ดิ์ จัดการสัมมนาวิชาการเรือ่ ง “๘๐ ปี จิตร ภูมศิ กั ดิ์ (๒๔๗๓-


๒๕๕๓)” งานเขียนชิ้นนี้ถือกำาเนิดจากการสัมมนาในครั้งนั้น ดิฉัน
ตัง้ ใจว่าจะศึกษาจิตรในทางวัฒนธรรมจากมุมมองทีย่ งั ไม่มใี ครได้ศกึ ษา
จึงเริ่มต้นด้วยการเสนอบทความเรื่อง “ดาวยังพราย ศรัทธาเย้ยฟ้าดิน
: การใช้ชวี ติ ประจำาวันของจิตร ภูมศิ กั ดิ์ และนักโทษการเมืองในคุกช่วง
ทศวรรษ ๒๕๐๐” เพราะคิดว่าเป็นช่วงเวลาทีจ่ ติ รผลิตผลงานออกมา
จำานวนมากภายใต้โลกแห่งการคุมขัง ชีวิตไม่น่าจะหยุดนิ่ง หมดอาลัย
และอับเฉาไปตามประกาศิตการลงทัณฑ์ของรัฐบาล พวกเขาน่าจะ
สร้างสังคมและวัฒนธรรมของผู้ต้องขังร่วมกัน ประกอบกับในปี พ.ศ.
๒๕๕๓ ประเด็นนักโทษการเมืองตกเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์
สมำ่าเสมออันเป็นผลมาจากการชุมนุมทางการเมืองในปีเดียวกัน ดิฉัน
หวังว่างานชิ้นนี้อาจเป็นตัวอย่างช่วยชี้ให้เห็นถึงบทบาทของรัฐในการ
จัดการกับผูท้ รี่ ฐั เห็นว่าอยูฝ่ า่ ยตรงข้าม เป็นอันตรายต่อความมัน่ คงของ
ประเทศ ตลอดจนความพยายามต่อสู้ เรียกร้องความเป็นธรรม และการ
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพการถูก “ลงโทษ” ของผูถ้ กู กล่าวหาและถูกจับกุม
อย่างไรก็ตาม การเดินทางค้นหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์เพื่อ
ปรับปรุงบทความให้สมบูรณ์ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ต้องตอบคำาถาม
ตลอดเวลาว่าจะเขียนงานอย่างไรให้นา่ สนใจและแตกต่างจากงานทีเ่ คย
ศึกษากันมาแล้ว ทำาอย่างไรที่จะอ่านหลักฐานชุดเก่าเพื่อเปิดประเด็น
ใหม่ได้ เช่น ประกาศคณะปฏิวัติ บันทึกความจำา ข่าวหนังสือพิมพ์
สารคดี และบทสัมภาษณ์ เป็นต้น การพบหลักฐานกลุ่มใหม่ๆ ไม่ว่า
จะเป็นวารสารราชทัณฑ์หรือคำาพิพากษาศาลฎีกา จึงนำาความตื่นเต้น
ความกระชุ่มกระชวย และความสนุกมาให้ จากบทความยาวประมาณ
๓๐ หน้า จึงเพิ่มจำานวนหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนถึงหลักหนึ่งร้อย และยังได้
รับการสนับสนุนจากโครงการมหาวิทยาลัยวิจยั แห่งชาติ รหัสโครงการ
HS 1025A อีกด้วย
ถึงจุดนี้ ดิฉันไม่แปลกใจเลยว่าทำาไมอาจารย์เครก เรย์โนลด์ส์
(Professor Craig Reynolds) อาจารย์ทปี่ รึกษาวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก
ทีด่ ฉิ นั เคารพ จึงสนใจค้นคว้าเรือ่ งจิตร ภูมศิ กั ดิ์ อย่างจริงจัง และเขียน
(8) “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์
และผู้ต้องขังการเมือง

เรือ่ ง “Jit Poumisak in Thai History” ไว้เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อาจารย์


เครกคงผ่านเส้นทางความยากลำาบากในการรูจ้ กั และเข้าถึงจิตรเหมือน
กัน ดิฉนั อดภูมใิ จไม่ได้ทไี่ ด้เดินตามทางของอาจารย์ อีกทัง้ ยังร่วมใช้บท
สัมภาษณ์เพื่อนของจิตรที่อาจารย์ได้สัมภาษณ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒
ศิษย์ขอถือโอกาสเขียนงานชิ้นนี้เพื่อบูชาครู
นอกจากอาจารย์เครกแล้ว การสนับสนุน ความช่วยเหลือ
คำาแนะนำา ตลอดจนกำาลังใจอันมีค่าจาก รองศาสตราจารย์ ฉลอง
สุนทราวาณิชย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุวิมล รุ่งเจริญ กระตุ้นให้
ดิฉนั กล้าคิด กล้าแสดงออกในวิถที างวิชาการประวัตศิ าสตร์อย่างมุง่ มัน่
ไม่เฉพาะเรื่องจิตรเท่านั้น เรื่องอื่นๆ ก็เช่นกัน นอกจากนี้ ดิฉันใคร่
ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ พี่สุพจน์
แจ้งเร็ว อาจารย์จีรพล เกตุจุมพล อาจารย์ธีระพล อันมัย อาจารย์
อนุสรณ์ ติปยานนท์ สำาหรับคำาแนะนำาและความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์
ต่อการพัฒนางาน ขอบคุณมิตรภาพจาก ดร. ธนาพล ลิ่มอภิชาต และ
ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ทอแสง เชาวชุติ ขอบคุณอนรรฆ พิทกั ษ์ธานิน
และวริศรา ตั้งค้าวานิช ผู้ช่วยวิจัยและมหาบัณฑิตสาขาประวัติศาสตร์
ผู้มากความสามารถ ซึ่งมีส่วนสำาคัญทำาให้งานวิจัยสำาเร็จลุล่วงด้วยดี
ขอบคุณอพิสทิ ธิ์ ธีระจารุวรรณ สำาหรับทุกขัน้ ตอนของการจัดทำาหนังสือ
ท้ า ยสุ ด ด้ ว ยความรั ก ขอมอบหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ใ ห้ แ ก่ จอยซ์
เบเกอร์ (Joyce Baker) ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ดร. ถิรพัฒน์ วิลยั ทอง
ศจี วิลัยทอง ดร. รัมมิยา วิลัยทอง สุปรีดิ์ สมุทระประภูต ครอบครัว
สมุทระประภูต
รวมทัง้ จิตร ภูมศิ กั ดิ์ และผูต้ อ้ งขังการเมืองสมัย จอมพล สฤษดิ์
ธนะรัชต์ ทุกท่าน
วิลลา วิลัยทอง
ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ทัณฑะกาล”
ของจิตร ภูมิศักดิ์ 
และผู้ต้องขังการเมือง

เข้�เรอง
ของจิตร ภูมิศักดิ์
“ทัณฑะกาล” และผ้ ูต้องขังการเมือง

จิตร ภูมิศักดิ์ นั่งทางานในคุกลาดยาว

ภาพด้านบนนี้เป็นมุมหนึ่งของจิตรและเพื่อนภายในห้องคุมขัง
เรือนจ�าชั่วคราวลาดยาว จิตร ภูมิศักดิ์  นั่งอยู่ที่โต๊ะหนังสือที่เขาท�า
ขึ้ น เพื่ อ นคนหนึ่ ง ก� า ลั ง ท� า ความสะอาดกรอบมุ ้ ง ลวด ส่ ว นสอง
พ่อลูกด้านหลังภาพนั่งอยู่ตรงโต๊ะที่เต็มไปด้วยเครื่องครัว เช่น หม้อ
และกาต้มน�้า ขณะที่มือของทั้งสองจับอุปกรณ์การเขียน เราไม่รู้ว่า
ใครเป็นผู้ถ่าย๑ ทั้งหมดถูกจัดองค์ประกอบเพื่อถ่ายภาพหรือไม่ เป็น
ความสมั ค รใจและจงใจของทั้ ง ผู ้ ถ ่ า ยและผู ้ ถู ก ถ่ า ยให้ ภ าพออกมา
เช่นนี้หรือไม่ แต่อย่างน้อยจากภาพนี้ เรารู้ว่าภายในพื้นที่จ�ากัด ถูก
ตัดขาดจากโลกภายนอกแห่งนี้ พวกเขามีวิถีชีวิตอย่างไร พวกเขา
ไม่ถูกใส่เครื่องพันธนาการ ไม่ได้สวมชุดนักโทษ เขาใช้ห้องร่วมกัน
อาจท�ากิจกรรมร่วมกัน เช่น การกินอาหาร หรือต่างฝ่ายต่างมีกจิ กรรม
ของตนเอง เช่น การอ่านและเขียนหนังสือ อยู่กับเพื่อนและครอบ
ครัว ภาพนี้ได้ถูกเผยแพร่ผ่านการพิมพ์งานเกี่ยวกับจิตร ภูมิศักดิ์
หลายชิน้ ในระยะ ๑๐ ปีทผี่ า่ นมา อาทิ หลายชีวติ จิตร ภูมศิ กั ดิ ์ (๒๕๔๖)
วิลลา วิลัยทอง

จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย จากมหาวิทยาลัยลาดยาว


ถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๙ (๒๕๕๒) และ จิตร
ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนอกคอก บันทึกค�าอภิปราย “สัมมนา ๗๒ ปี
จิตร ภูมิศักดิ์” วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕ (๒๕๕๓)๒ ค�าอธิบาย
ประกอบภาพในหนังสือ เช่น “จิตร ภูมิศักดิ์ ขณะถูกจองจ�าในคุก
หรือเรียกติดปากว่า ‘มหาวิทยาลัยลาดยาว’ ซึง่ เขาได้ผลิตงานชิน้ ส�าคัญ
ออกมาเป็นจ�านวนมาก”๓
  ช่ ว งชี วิ ต ของจิ ต รใน “ลาดยาว” กลายเป็ น ช่ ว งชี วิ ต ที่ 
ส�าคัญช่วงหนึ่งในการเข้าใจจิตร ผลงานของเขา และกระทั่ง 
เรื่องราวรายล้อมรอบตัวเขาภายใต้บริบททางการเมือง สังคม 
และวัฒนธรรมต้นทศวรรษ ๒๕๐๐ 
งานเขียนชิ้นนี้ต้องการศึกษา “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์
และผู้ต้องขังการเมืองโดยเฉพาะกลุ่มปัญญาชน ที่สัมพันธ์กับเวลา
และสถานที่ ตั้งแต่พวกเขาถูกจับกุมจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัว
หรือระหว่างช่วงเวลานับจาก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ท�าการปฏิวัติ
พ.ศ. ๒๕๐๑ จนถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. ๒๕๐๖
“ทัณฑะกาล” ควรสะกดว่า “ทัณฑกาล” ตามหลักไวยากรณ์
ภาษาไทยที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ผู้เขียนเลือกใช้ “ทัณฑะกาล” ซึ่งเป็นค�าที่
ร.ต. เหรียญ ศรีจันทร์ และ ร.ต. เนตร พูนวิวัฒน์ นักโทษการเมือง
คดีกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ (พ.ศ. ๒๔๕๔ ตามการนับของ ร.ต. เหรียญและ
ร.ต. เนตร) ใช้อธิบายระยะเวลาที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจ�ามหันตโทษ
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๖๗ หลังจากที่ศาลทหารพิพากษาตัดสิน
จ�าคุกผูต้ อ้ งหา และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั มีพระบรม
ราชวินิจฉัยเด็ดขาด
ร.ต. เหรียญและ ร.ต. เนตรไม่ได้เขียนอธิบายความหมายโดย
ตรง แต่ได้ใช้ค�านี้เมื่อย้อนเขียนถึงสิ่งที่พวกเขาได้กระท�ากันในเรือนจ�า
ค�านี้กระตุ้นให้เราเห็นว่าวัฒนธรรมของผู้ต้องขังทางการเมืองเป็นสิ่ง
ประดิษฐ์สร้างทางประวัติศาสตร์และสังคม ส่งผ่านหรือสืบทอดกันได้
ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นกบฏหรือศัตรูกลุ่มเล็กๆ ของพระมหากษัตริย์และ
ของจิตร ภูมิศักดิ์
“ทัณฑะกาล” และผ้ ูต้องขังการเมือง

ร ต เหรียญ ศรีจันทร์ (ซ้าย) ละ ร ต เนตร พูนวิวั น์ (ขวา) นักโทษการเมืองคดี


กบ ร ศ เป็นผูที่ ใชคาว่า “ทัณ ะกาล” ในงานเ ียนเรอง “หมอเหลงราลก
ภาคป ิวัติครัง รก อง ทย ร ศ ”

แผ่นดินก่อนสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕๔ หรือเป็น


นักโทษการเมืองและผูต้ อ้ งขังกลุม่ ใหญ่แห่งรัฐประชาธิปไตย ร.ต. เหรียญ
และ ร.ต. เนตรเขียนไว้ว่า
อาชีพทางประพันธกรรมของพวกเราที่ในเรือนจ� า นับว่าเป็น
ล�่าเป็นสันแน่นอนอยู่จนตลอด ทัณฑะกาล [เน้นโดยผู้เขียน] จึง
เห็ น ได้ ว ่ า วิ ท ยาลั ย ใช่ แ ต่ จ ะมี ไ ด้ เ ฉพาะในหมู ่ อิ ส ระเท่ า นั้ น ก็ ห าไม้
[เขียนตามต้นฉบับ] แม้ในเรือนจ�าก็มีวิทยาลัยได้เช่นกัน และทั้งนี้
มิใช่แต่วิทยาลัยทางหนังสือพิมพ์ ทางประพันธกรรม หรือกวีกรรม
เท่านั้น วิทยาลัยทางการช่าง การแพทย์และการปกครอง ก็อ�านวย
ประโยชน์ให้มิใช่น้อยแก่ผู้ที่ใฝ่ใจและหวังดี๕
“ทัณฑะกาล” ในงานชิ้นนี้หมายถึงเวลาแห่งโทษทัณฑ์ รวม 
ถึงระยะเวลาต้องโทษทีร่ ฐั เป็นผูก้ า� หนด และระยะเวลาต้องโทษ 
ก�าหนดโดยความคิดของตัวผูต้ อ้ งขังเอง  แม้วา่ ผูต้ อ้ งขังจะได้รบ ั  
วิลลา วิลัยทอง 7

การปล่อยตัวแล้ว ทัณฑะกาลอาจจะคงไม่ไปจากพวกเขา ไม่ได้ 
สิ้นสุดตามแนวทางกฎหมาย  
งานชิ้นนี้จึงต้องการเสนอว่าการจับกุมและคุมขังผู้ต้องหาคอม
มิวนิสต์ของรัฐบาลอย่างไม่มีก�าหนดหรือ “ขังลืม” (preventive 
detention) ภายใต้อ�านาจของประกาศคณะปฏิวัติเป็นปัจจัยส�าคัญ
ที่ก�า หนด “ทัณ ฑะกาล” ของพวกเขา แม้ จ ะยัง ไม่ ไ ด้ รับ การตัด สิน
พิจารณาคดีจากศาลทหาร แต่การถูกขังระหว่างรอเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ด�าเนินการสอบสวน ส่งส�านวนฟ้อง และพิจารณาคดี อาจจะถือว่า
เป็นการตัดสินลงโทษเชิงการฟื้นฟู (rehabilitation) จากรัฐได้ พวก
เขามีอิสระในการจัดสรร ใช้สถานที่ และด�าเนินกิจกรรมในแต่ละวัน
ตามภูมิหลังด้านอาชีพ ความรู้ ความช�านาญ และครอบครัว สะท้อน
ให้เห็นถึงขบวนการเจรจาต่อรองและประนีประนอมระหว่างรัฐ เจ้าหน้าที่
รัฐ และผู้ต้องขังด้วยกันเอง ท�าให้การใช้ชีวิตของพวกเขาในที่คุมขัง
แต่ละที่กลายเป็นพื้นที่ของการเคลื่อนไหว ซึ่งมีส่วนในการสร้างตัวตน
และชุมชนของความเป็น “ผู้ต้องขังคอมมิวนิสต์” และการต่ อ สู ้ โ ดย
เฉพาะทางศาลพลเรือนเพื่ออิสรภาพร่วมกัน
ภายในพื้นที่จ�ากัดและถูกตัดขาดจากโลกภายนอก เวลาของ
พวกเขาแบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ คือ
หนึง่ เวลาทางการ (offificial time) ทีก่ า� หนดโดยทางการ เช่น
เวลาขังไม่มีก�าหนดจนกระทั่งศาลทหารสั่งปล่อยตัว เวลาเปิดและปิด
ตึกคุมขัง เวลาเยี่ยม
สอง เวลาส่วนรวม (collective time) เวลาที่ท�ากิจกรรมร่วม
กัน ก�าหนดเองโดยกลุ่มผู้ถูกคุมขัง อาทิ เวลาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
รั บ ประทานอาหาร เล่ น ดนตรี เล่ น กี ฬ า เรี ย นหนั ง สื อ และท� า คดี
เป็นต้น
สาม เวลาส่วนตัว (individual time) เป็นเวลาที่ผู้ถูกคุมขัง
แต่ละคนก�าหนดการใช้เวลาของตนเองแล้วแต่ภูมิหลัง ได้แก่ เวลา
อ่านและเขียนหนังสือ เวลาพบญาติ เวลาไปพบหมอ
การแบ่งเวลาเช่นนี้เพื่อแสดงว่าการใช้เวลาร่วมกันทั้งที่ก�าหนด
8 “ทัณฑะกาล” ของจิตร ภูมิศักดิ์
และผู้ต้องขังการเมือง

โดยทางการและก�าหนดกันเอง มีส่วนสร้างสังคมในที่คุมขังและตัว
ตนของผู ้ ถู ก คุ ม ขัง ซึ่ง สัม พัน ธ์ กับ สถานที่คุ ม ขัง เช่ น กัน ถ้าพวกเขา
ถูกขังเดี่ยวตลอดเวลาและมีการควบคุมอย่างเข้มงวด การใช้เวลาและ
กิจกรรมของพวกเขาคงจะเปลี่ยนไป ความหมายของทัณฑะกาลก็จะ
เปลี่ยนไปเช่นกัน แต่ด้วยช่วงเวลาที่พวกเขาถูกคุมขังที่ลาดยาวเป็น
เวลาหลายปีนั้น พวกเขาถูกขังรวมตามขนาดของพื้นที่คุมขังที่แตกต่าง
กันไป มีโอกาสเลือกห้องคุมขังเอง ใช้พื้นที่บริเวณรอบห้องขังอย่าง
ค่อนข้างอิสระ กลับกลายเป็นผู้ที่ให้ความหมายของพื้นที่ของรัฐ ซึ่ง
เหมือนว่าเป็นพื้นที่ปิด พื้นที่ภายในถูกตัดขาดจากภายนอก กระนั้น
พวกเขาไม่ได้ถูกปิดจากโลกภายนอกเสียทีเดียว โลกภายนอกถูกน�าสู่
ภายในผ่านตัวกลาง เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สมาชิกภายในครอบครัว และ
การออกไปท�ากิจกรรมข้างนอกที่คุมขังของตัวผู้ถูกคุมขังเอง
แม้นกั ประวัตศิ าสตร์บางคนจะมองว่าช่วง จอมพล สฤษดิ ์ ธนะรัชต์
จะแยกออกจากช่วง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ครั้งที่ ๒ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๑-๒๕๐๐๖ และถือเป็นอีกช่วงหนึ่งของ
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่โดยใช้การเมืองและผู้นา� เป็นปัจจัยในการ
แบ่งประวัตศิ าสตร์ แต่ประวัตศิ าสตร์การถูกคุมขังของจิตรและผูต้ อ้ งขัง
การเมืองในช่วง จอมพล สฤษดิ์ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงและ
ความต่อเนื่องของวัฒนธรรมบางประการของผู้ถูกคุมขังทางการเมือง
มาตั้งแต่สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้บริบทของสงครามเย็น
และกระทั่ ง สามารถย้ อ นไปได้ ไ กลถึ ง ช่ ว งก่ อ นเปลี่ ย นแปลงการ
ปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕๗
ผู ้ ถู ก คุ ม ขั ง บางคนต้ อ งข้ อ หากบฏการเมื อ ง เช่ น กรณี ก บฏ
สันติภาพ พ.ศ. ๒๔๙๕ ถูกโยงกับเรื่อง “คอมมิวนิสต์” ฉะนั้น เราจะ
เห็ น แนวประพฤติ ป ฏิ บั ติ (practice) หรื อ การใช้ ชี วิ ต ประจ� า วั น
(everyday life) ของผู้ต้องขังบางประการที่ยังสืบทอดต่อกันมา ไม่
ว่าจะเป็น วัฒนธรรมการอ่านและเขียนหนังสือ การสอนและเรียน
หนั ง สื อ วั ฒ นธรรมการเยี่ ย มผู ้ ต ้ อ งขั ง ที่ ผู ้ ห ญิ ง (แม่ ภรรยา และ
ลูกสาว) มักจะเป็นตัวกลางติดต่อระหว่างโลกภายนอกและภายใน
วิลลา วิลัยทอง

เรือนจ�าให้แก่ผู้ต้องขัง หรือถ้าย้อนกลับไปถึงกรณีกบฏการเมืองก่อน
เปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น ร.ศ. ๑๓๐ วัฒนธรรมนี้ก็ปรากฏอยู่
เช่นกัน๘
ค�าที่ใช้เรียกผู้ถูกจับคุมขังในงานเขียนชิ้นนี้มีอยู่ ๓ ค�า และ
เป็นค�าที่ต้องการเน้น คือ
หนึ่ง ค�าว่า “แดง” ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้น
หมายถึงผู้ต้องหาที่มีการกระท�าอันเป็นคอมมิวนิสต์ ผู้ฝักใฝ่ในลัทธิ
คอมมิวนิสต์ และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
  สอง ค�าว่า “ผู้ต้องหา” ปรากฏในข่าวเกี่ยวกับการจับกุม
บุคคลที่ “มีการกระท�าอันเป็นคอมมิวนิสต์” โดยเฉพาะในหนังสือ
พิมพ์อยู่ฝ่ายรัฐบาล เช่น สารเสรี ค�านี้เป็นค�าที่ทางรัฐและตัวแทนของ
รัฐ เช่น สันติบาลใช้ นอกจากนัน้ พระราชบัญญัตกิ ารควบคุมผูต้ อ้ งหา
ว่ากระท�าความผิดต่อกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระท�าอันเป็น
คอมมิวนิสต์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ยังใช้คา� ว่า “ผูต้ อ้ งหา” การเรียกเช่นนีส้ ามารถ
อธิ บ ายถึ ง สถานะของผู ้ ที่ ถู ก คุ ม ขั ง หลายคนที่ ยั ง อยู ่ ใ นขั้ น ตอนการ
สอบสวน ยั ง ไม่ ถู ก อั ย การศาลทหารฟ้ อ ง และยั ง ไม่ ถู ก ศาลทหาร
พิพากษา
สาม ค�าว่า “ผู้ต้องขัง” เป็นค�าที่ฝ่ายถูกจับกุมใช้ โดยเฉพาะ
เมื่อเขียนบันทึกย้อนความทรงจ�าครั้งเมื่อถูกคุมขัง เช่น เรื่อง คอม
มิวนิสต์ลาดยาว : บันทึกเรื่องราวการต่อสู้ของผู้ต้องหาคอมมิวนิสต์
ในคุกลาดยาว ของทองใบ ทองเปาด์ ใต้ดาวแดง-คนสองคุก ของ
สุวัฒน์ วรดิลก และจดหมายจากลาดยาว ของศิวะ รณชิต๙ อย่างไร
ก็ตาม ต้องพึงระวังว่าบันทึกทั้ง ๒ เล่มนี้เป็นการเขียนย้อนหลังถึง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผู้เขียนอาจต้องการเน้นถึงสถานะของตนเองที่
ควรจะเป็น และไม่ยอมรับในสถานะที่รัฐมอบให้ เพราะฉะนั้น ขอให้
สังเกตว่างานเขียนเรื่องนี้จะใช้สรรพนามการเรียกผู้ที่ถูกรัฐบาลจับกุม
ในข้อหามีการกระท�าอันเป็นคอมมิวนิสต์และถูกคุมขังตามกลุ่มผู้เรียก
อย่างน้อยเพื่อชี้ให้เห็นถึงจุดยืนของแต่ละฝ่าย๑๐
๑ า าย อง ิ ล อง งั ลา ยาว ง ย วท า
อง ง งิ ิ ั ิ า า อง ิ งา วง วา
วิ ัย า ั หลายชีวิต จิตร ภูมิศักดิ์. ง ท า ยว ั
วิ ั ย า ั า ิ า จิ ต ร ภู มิ ศั ก ดิ์   คนยั ง คงยื น เด่ น 
โดยท้าทาย จากมหาวิทยาลัยลาดยาวถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต พ.ศ.  ๒๕๐๐- 
๒๕๐๙. ง ท า ยว ั วิ ล ง ิ าิ า
จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนอกคอก  บันทึกคำาอภิปราย “สัมมนา ๗๒ ปี  จิตร  
ภูมิศักดิ์” วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๕. ง ท า วิ า วั ิ า
อั า าลง าวิทยาลัย องท ิ ิ ั ิ ล า ั
วิ ัย ัง าลง าวิทยาลัย
วิ ัย า ั า ิ า จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดย 
ท้าทาย จากมหาวิทยาลัยลาดยาวถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต พ.ศ.  ๒๕๐๐-
๒๕๐๙.
ย ั อง า ั ิย (enemies of the 
King) า า อา ท วา ท ล อา วา ทิ (Cyril Arvanitis) ย
วิ า ัง อ อง ล อ ิ ว ลิ (Polymeris Voglis) อง Becoming
a Subject: Political Prisoners during the Greek Civil War (2002)
Cyril Arvanitis.  Becoming a Subject: Political Prisoners during  
the Greek Civil War  (review), Journal of Modern Greek Studies. 21, 1  
(May 2003), p. 148. 
อ ลง าล า ิ วั ิ ั ง อง ทย
อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ คุณแม่ระเบียบ ศรีจนั ทร์ วั ั ยิ า า
วั ท ั ยาย วลา อ ลง าล า
ิวั ิ ัง อง ทย ย ย ย ั ท ล
วิวั ั า ิ ัง อ อ
อ งา อ ทวย า ิ ทั าย ทย ลง ั ท
ิ ว ล ย า า ย วา า ิ งา ิ
ังท ย า ั ิ ั ลย อ ัง อ ั อ า ลย า
า าวา ทั าล ท ทั าล ย
ั ท ล วิวั กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ (การปฏิวัติครั้งแรกของ 
ไทย). ง ท ั

You might also like