You are on page 1of 8

ภาษาไทยในมิติความมั่นคงแห่งชาติ

Thai language in the dimension of National Security


ดร.ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม
Piyachat Wanchalerm, Ph.D.
ผู้จัดการกฎหมายแรงงานและการควบคุม
Manager of Labour Law and Control
ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน)
Siam Commercial Bank Plublic Company Limited.
นักศึกษา วปอ. หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60

บทคัดย่อ
มนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย ถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการ
ของตนให้ผู้อื่นทราบ รวมถึงถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ ให้แก่กัน ภาษาจึงเป็นเครื่องมือ สาคัญที่ทาให้
คนในสังคมสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ด้วยความเข้าใจ สาหรับประเทศไทยมีภ าษาไทยเป็นภาษา
ประจ าชาติ ที่ ใช้ เป็ น สื่ อ ในการแสดงความรู้ ความคิ ด ประสบการณ์ แ ละวั ฒ นธรรมของชาติ คนในชาติ
จะปรองดองหรือขัดแย้ง จะให้ความร่วมมือหรือต่อต้าน ก็ล้วนขึ้นอยู่กับการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารระหว่าง
คนไทยด้วยกัน ทั้งสิ้น ส่วนความมั่นคงแห่งชาตินั้นหมายถึงภาวะที่ประเทศปลอดจากภัยคุกคามต่าง ๆ โดย
คานึงถึงสวัสดิภาพ ความปลอดภัย และความผาสุกของประชาชนในสังคมเป็นสาคัญ ทั้งนี้ ภัยคุกคามประเภท
ที่ร้ายแรงที่สุดคือการแตกแยกทางความคิด เพราะเป็นภัยคุกคามที่อาจนาไปสู่ภัยคุกคามประเภทอื่น ๆ ได้ ซึ่ง
วิธีที่จะสามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาการแตกแยกทางความคิดได้ก็คือ การใช้ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาประจา
ชาติ ในการสื่ อสารสร้างการรับ รู้และความเข้าใจที่ ถูกต้องระหว่างคนในสั งคมไทย ทาให้ รู้สึ กถึงความเป็ น
พวกพ้องเดียวกันใช้ภาษาเดียวกัน เพื่อให้เกิดความผูกพันสามัคคีปรองดองสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่าง
สัน ติสุ ข อัน เป็ น การสร้างความปลอดภัย และความผาสุ กให้ กับประชาชนในสั งคมและน าไปสู่ ความมั่น คง
แห่งชาติในทุก ๆ ด้านได้ในที่สุด

คาสาคัญ: ภาษาไทย ความมั่นคงแห่งชาติ

Abstract
Human uses language as a tool to communicate, convey own thoughts and
ideas, express feelings and desires including experiences and knowledge sharing to others.
Therefore, language is an important tool that makes human connect and understand each
other. For Thailand, Thai is the official and national language that is used in conveying
2

knowledge, experiences, ideas, and Thai culture. Whether Thai people come to terms or
have conflicts, collaborate or oppose, entirely depend on the language used in
communications. National Security refers to threat and danger free, considering welfare,
safety, and contentment of people living in the society as significance. The worst threat is
the conflict of opinions thereby opening the door to other threats to follow. The only tool
to prevent or resolve conflict is to communicate in national language, Thai language in this
case, so that people have the same understanding and perception, creating unity. Sharing
the same language reflects the sense of belonging, harmony, and ability to live peacefully
together in the society, in return strengthening the welfare, safety, and contentment of
people together with succeeding the National Security and sustainability from all aspects.

Keywords: Thai Language, National Security

บทนา
แม้ว่าโลกกาลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคดิจิตัลและเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย แต่ ภาษาก็ยังคง
เป็นเครื่องมือสาคัญที่มนุษย์จาเป็นต้องใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน ภาษามีคุณลักษณะเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
ที่กล่าวว่าภาษาเป็นศาสตร์เพราะเป็นวิชาการที่มีหลักเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน มีทฤษฎีให้เรียนรู้และสามารถ
พิสูจน์ได้ และที่กล่าวว่าภาษาเป็นศิลป์เพราะภาษามีความงดงามในกระบวนการใช้ โดยเฉพาะภาษาไทยที่มี
ลักษณะเฉพาะแตกต่างจากภาษาอื่น ๆ ในโลก เช่น มีการแบ่งระดับของการใช้ภาษาโดยพิจารณาจากอายุและ
สถานะระหว่างผู้สื่อสาร รวมไปถึงกาละเทศะ ภาษาไทยมีลีลาของภาษาซึ่งจะเห็นได้จากคาประพันธ์ประเภท
โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นต้น ซึง่ การนาภาษาไปใช้อย่างถูกต้องจะช่วยส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ในการ
สื่อความหมาย สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน อันจะนาไปสู่ความรักความสามัคคีในหมู่คณะ สังคม และ
ประเทศชาติได้
อย่างไรก็ตาม ภาษามิได้มีห น้ าที่เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างมนุษย์ในสั งคม
เท่านั้น แต่ภาษายังมีบทบาทต่อสังคมในมิติอื่น ๆ อีกมาก ดังที่ นอร์แมน แฟร์เคลาฟ์ (Norman Fairclough,
2001) นักภาษาศาสตร์ชาวอังกฤษได้มีแนวคิดว่า ภาษามีศักยภาพที่จะเป็นเครื่องมือก่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน
(power as transformative capacity) และเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับการถูกครอบงาโดยบุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคล
อื่น โดยเป็น อานาจที่แฝงอยู่ในวาทกรรม (discourse) เช่น วาทกรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายที่แสดงให้ เห็ นถึง
อานาจของผู้ กาหนดภาษาที่ใช้ในการออกกฎหมาย กฎ ระเบี ยบทางสั งคม เป็น ต้น ซึ่งแนวคิด นี้เป็น การ
กล่าวถึง ภาษาในมิติของอานาจ (Language and Power)
นอกจากนี้ นักภาษาศาสตร์หลายท่าน เช่น Ferdinand de Sauaaure นักภาษาศาสตร์ชาวสวิส
ยังได้เป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาษาในมิติของการเมือง (Language and Politic) ว่า ภาษาเป็นสิ่งที่แสดง
ให้เห็นความเชื่อมโยงทางสังคมที่มีพลังระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร และ Joshua Fishman นักภาษาศาสตร์
ชาวอเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า ชุมชนพหุภาษา (multilingual communities) สะท้อนให้เห็นถึงระดับความสาคัญ
ที่มีสถานะทางการเมืองสูงกว่าก็จะได้รับ การยอมรับให้เป็นภาษามาตรฐาน (Standard Language) และได้รับ
การยกฐานะจากผู้มีอานาจให้เป็นภาษาประจาชาติ (National Language) (ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, 2552)
3

สาหรับภาษากับความมั่นคง (Language and security) ก็เป็นอีกมิติหนึ่งของภาษาที่มีบทบาท


สาคัญต่อประเทศชาติโดยตรง ดังจะเห็ นได้จากการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้นามาตรการทางภาษามาใช้
ให้ส อดคล้องกับ โลกยุ คหลังเหตุการณ์ การโจมตีอาคารแฝด World Trade โดยออกแผนปฏิบัติการเพื่อให้
ประชาชนหันมาเข้าใจความคิด จิตใจ ศาสนา และวัฒนธรรมความเชื่อของกลุ่มคนต่างเผ่าพันธุ์โดยใช้ภาษา
เป็นเครื่องมือ เช่น การศึกษาภาษาต่างประเทศที่จาเป็นต่อความมั่นคง เป็นต้น ทั้งนี้ เพราะภาษามีอานาจด้าน
วาทกรรม เป็นกิจกรรมแสดงความสัมพันธ์เชิงอานาจ แฝงอุดมการณ์ทางการเมืองซึ่งสมาชิกใน ชุมชนและ
ประเทศชาติใช้เป็นหลักในการกาหนดนโยบาย กฎเกณฑ์ กฎหมาย เพื่อเป็นกติกาในการอยู่ ร่วมกัน ตลอดจน
เพื่อความอยู่รอดของชุมชนและประเทศชาติ (ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, 2552)

ความหมายและความสาคัญของภาษา
มนุษย์เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นสังคม นับตั้งแต่การเป็นสังคมครอบครัว ชุมชน เผ่าพันธุ์ ไปจนถึงการ
รวมตัวเป็นสังคมขนาดใหญ่ระดับประเทศและสังคมโลก ย่อมต้องอาศัยการสื่อสารเป็นพื้นฐานเพื่อทาความ
เข้าใจระหว่างกัน ซึ่งการสื่อสารสามารถเกิดขึ้นระหว่างคนที่มีเชื้อชาติเดียวกันหรือระหว่างคนที่มีเชื้อชาติ
ต่างกัน (Interracial Communication) ก็ได้ รวมทั้ง สามารถเป็นการสื่อสารระหว่างวัฒ นธรรมที่แตกต่าง
(Cross-cultural or Intercultural Communication) ไปจนถึงการสื่อสารระหว่างประเทศ (International
Communication) ด้ว ยเหตุนี้ การสื่ อสารจึงมีความส าคัญ ทั้ งต่อชีวิตประจาวัน และต่อสั งคม ซึ่งเครื่องมือ
สาคัญทีเ่ ป็นหัวใจของการสื่อสารก็คือ “ภาษา”
“ภาษา” เป็นคาที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า ภาษ (พา-สะ) แปลว่า กล่าว, พูด หรือ บอก (ภาษา
บาลีใช้คาว่า “ภาส”) เมื่อนามาใช้เป็นคานามก็เปลี่ยนรูปเป็น ภาษา แปลตามรูปศัพท์ได้ว่าคาพูดหรือถ้อยคา
หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสื่อความถึงกัน โดยอาจเป็นถ้อยคาที่มีระเบียบหรือเป็นการ
แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ที่มีความหมาย ซึ่งมนุษย์เป็นผู้กาหนดขึ้นโดยตกลง รับรู้และเข้าใจความหมายร่วมกัน
(กาชัย ทองหล่อ, 2522, ประยูร ทรงศิลป์, 2553) สาหรับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 นั้น
ได้ให้ความหมายของคาว่า “ภาษา” ไว้ว่า หมายถึงถ้อยคาที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่ม
หนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม
นอกจากนี้ ยังหมายถึง เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง
ภาษามือ เป็นต้น (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556)
กล่าวโดยสรุป “ภาษา” จึงหมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อสื่อความถึงกัน และ
เพื่อสร้างการรับรู้ของคนในสังคมใดสังคมหนึ่งหรือของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยอาจเป็นถ้อยคาที่มีระเบียบหรือ
เป็นการแสดงกริยาท่าทางต่าง ๆ ที่มีความหมาย ซึ่งมนุษย์ในสังคมเป็นผู้กาหนดขึ้นโดยตกลง รับรู้ และเข้าใจ
ความหมายร่วมกัน
ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งของชาติ เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายของคนในชาติ
อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความต้องการของตนให้ผู้อื่นทราบ ถ่ายทอด
ประสบการณ์ความรู้ให้แก่กัน ภาษาจึงเป็นเครื่องมือสาคัญที่ทาให้คนในชาตินั้น ๆ สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกัน
และกัน ได้ด้วยความเข้าใจ ส่งผลให้ เกิดความเจริญทางวัฒ นธรรมในทุก ๆ ด้าน หากไม่มีภาษา มนุษย์ก็คง
ไม่สามารถสืบทอดวิชาความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ไม่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ให้ ชนรุ่นหลัง
ได้ศึกษาและเรียนรู้ จนไม่อาจพัฒนาหรือรักษาความเป็นชาติของตนไว้ได้ ดังที่ ผะอบ โปษกฤษณะได้กล่าวไว้
4

ว่า ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนให้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่ารักษาความเป็นชาติ (ผะอบ โปษกฤษณะ,


2554)

ความสาคัญของภาษาไทย
ประเทศไทยมีภ าษาไทยเป็ น ภาษาประจาชาติมากว่า 700 ปี แต่โดยที่คนไทยคุ้นเคยกับการ
สื่อสารด้วยภาษาไทยในชีวิตประจาวันมานานด้วยความเคยชิน จนทาให้บางครั้งอาจหลงลืมไปว่าภาษาไทยนั้น
มีคุณค่าและมีความสาคัญต่อประเทศชาติมากเพียงใด
หลายประเทศในโลกแม้จะมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและมีเอกราชทางการเมือง แต่ก็ยัง
ไม่มีเอกราชทางภาษา เช่น ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาประจาชาติและเป็นภาษาราชการ แต่ก็ยัง
มีภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเพิ่มเติม ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ใช้ภาษา
มาเลย์เป็น ภาษาราชการเช่นกัน โดยใช้ภ าษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาราชการเพิ่มเติม ส่วนประเทศ
เกาหลี กว่าจะได้ประกาศใช้ภาษาเกาหลีเป็นภาษาประจาชาติ ก็ถูกญี่ปุ่นบังคับให้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษา
ราชการมาเป็นระยะเวลานาน ดังนี้เป็นต้น บางประเทศต้องต่อสู้และใช้ความพยายามเป็นอย่างมากเพื่อที่จะได้
มีภาษาประจาชาติของตน ซึ่งอาจต้องใช้เวลานับสิบปีหรือนับร้อยปีกว่าจะสัมฤทธิผล จึงนับว่าเป็นโชคดีของ
คนไทยที่มีภาษาประจาชาติของเรามาแต่โบราณกาลและสามารถรักษาไว้ได้ตลอดมา เพราะคาว่า “ภาษา
ประจาชาติ ” นั้ น นอกจากจะแสดงให้ เห็ น ถึงเอกราชทางภาษาแล้ ว ยังแสดงให้ เห็ นถึงเอกลั กษณ์ ของชาติ
อีกด้วย (ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, 2552)
สิ่งส าคัญที่สุดของการมีภาษาไทยเป็นภาษาประจาชาติไทย ก็คือ การที่ คนไทยพูดภาษาไทย
เหมือนกันย่อมทาให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพวกพ้องเดียวกัน รักใคร่สามัคคีกัน ภาษาไทยจึงเป็นเครื่องมือสาคัญ
ในการสร้างความรู้สึกเป็นไทยร่วมกัน สร้างความสามัคคีของคนในชาติและความเป็นปึกแผ่นของสังคมไทย อัน
จะยังประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง ดังข้อความตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “ความเป็ นชาติโดยแท้จริง ” ความว่า “...ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อ
มนุษย์แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไรที่จะทาให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือแน่นอนยิ่งไปกว่าพูดภาษา
เดียวกัน” (อ้างถึงใน ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, 2552)

ความหมายของความมั่นคงแห่งชาติ
ความมั่ น คงแห่ งชาติ (National Security) เป็ น เรื่อ งส าคั ญ ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ความอยู่ รอดของ
ประเทศ ความเจริญของประเทศ ความสงบสุขและความมีศักดิ์ศรีของประเทศ “ความมั่นคงแห่งชาติ” จึงเป็น
คาที่มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง
สังคมจิตวิทยา และการทหาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิธ รัชกาลที่ 9 ได้ทรงมีพระราชดารัส
อธิบายความหมายของ “ความมั่นคงแห่งชาติ ” ไว้อย่างชัดเจนในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนามของ
ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2544 ณ ลานพระราชวังดุสิตความว่า “...ประเทศชาตินั้น
ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินกับประชาชน และผืนแผ่นดินนั้นเป็นที่เกิด ที่อาศัย ที่อานวยประโยชน์สุข ความ
มั่นคง ร่มเย็นแก่ประชาชน ให้สามารถรวมกันอยู่เป็นปึกแผ่นเป็นชาติได้ ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
5

จึงมิได้อยู่ที่การปกป้องรักษาแผ่นดินไว้ด้วยแสนยานุภาพแต่เพียงอย่างเดียว หากจาเป็นที่ประชาชนจะต้อง
มีความวัฒนาผาสุก ปราศจากทุกข์ยากเข็ญด้วย...” (อ้างถึงใน พันเอกหญิง เจษฎา มีบุญลือ, 2553)
ในทางกฎหมายนั้ น มาตรา 4 แห่ ง พ.ร.บ.สภาความมั่ น คงแห่ งชาติ พ.ศ.2559 ได้ นิ ย าม
ความหมายของคาว่า ความมั่นคงแห่งชาติ ไว้ว่า หมายถึง ภาวะที่ประเทศปลอดจากภัยคุกคามต่อเอกราช
อธิป ไตยบู ร ณภาพแห่ งอาณาเขต สถาบั น ศาสนา สถาบัน พระมหากษั ตริย์ ความปลอดภัยของประชาชน
การดารงชีวิตโดยปกติสุ ขของประชาชน หรือที่ กระทบต่อผลประโยชน์แห่ งชาติห รือการปกครองระบอบ
ประชาธิป ไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งความพร้อมของประเทศที่จะเผชิญสถานการณ์
ต่าง ๆ อันเกิดจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ (ราชกิจจานุเบกษา, 2559)
พั น เอกหญิ ง เจษฎา มี บุ ญ ลื อ ได้ ก ล่ าวถึ ง ความหมายทั่ ว ไปของความมั่ น คงแห่ งชาติ ไว้ ว่ า
หมายถึง ความอยู่รอดปลอดภัย (Survival) และความเจริญก้าวหน้า (Growth) ของชาติ ตลอดจนความเป็น
ปึกแผ่นแน่นแฟ้นคงทนของชาติ พร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ทุกรูปแบบได้ในอนาคต ซึ่งการที่ชาติจะมี
ความมั่น คงและปลอดภั ย จากอั น ตรายทั้ งปวงได้ นั้ น จะต้องปราศจากสิ่ งที่ เรียกว่า ภั ยคุก คาม (Threats)
ทั้ งปวง (พั น เอกหญิ ง เจษฎา มี บุ ญ ลื อ , 2553) ซึ่ งค าว่า “ภั ย คุก คาม” ในที่ นี้ มิ ได้ ห มายความถึงเฉพาะ
ภัยคุกคามทางทหาร (Military threats) ที่กระทาโดยรัฐต่อรัฐ ต่ออานาจอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดน
ของรัฐซึ่งเป็นภัยคุกคามในรูปแบบเดิม (Traditional threats) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่
ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศโดยตรงอีกด้วย ซึ่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ได้กาหนด
ประเภทของภั ย คุ ก คามรู ป แบบใหม่ ที่ ส่ งผลกระทบต่ อ ความมั่ น คงของประเทศไทยไว้ 9 ประการ ได้ แ ก่
(1) ความแตกแยกทางความคิดของคนในสังคม (2) ความไม่เชื่อมั่นต่อระบบและสถาบันการเมือง (3) การขาด
การสมดุลของการจัดทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (4) ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติ และโรคระบาด (5) ความมั่น คงในพื้ นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (6) การก่อการร้ายและ
อาชญากรรมข้ามชาติ (7) แรงงานต่างด้าวและผู้หลบหนีเข้าเมือง (8) ยาเสพติด และ (9) ความยากจน ซึ่ง
ภัยคุกคามรูปแบบใหม่นี้มีแนวโน้มทีจ่ ะเป็นภัยที่มีความซับซ้อน หลากหลายมิติร่วมกัน และจะทวีความรุนแรง
ขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของสังคมไทยโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความมั่นคง
ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา, 2551)
โดยสรุป จึงอาจกล่าวได้ว่า ความมั่นคงแห่งชาตินั้น มิได้คานึงถึงความมีอยู่ หรือความคงอยู่ของ
ผื น แผ่ น ดิ น แต่ เพี ย งอย่ า งเดี ย ว แต่ จ ะต้ อ งค านึ งถึ ง สวั ส ดิ ภ าพ ความปลอดภั ย ตลอดจนความผาสุ ก ของ
ประชาชนในประเทศชาติเป็นสาคัญด้วย

ภาษาไทยในมิติความมัน่ คงแห่งชาติ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติในปัจจุบันนี้ นอกจาก
จะได้แก่ภัย คุกคามด้านการทหาร ภัย คุกคามจากการก่อการร้ายและจากอาชญากรรมข้ามชาติแล้ ว ยังมี
ภัยคุกคามประเภทอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสวัสดิภาพ ความปลอดภัย และความผาสุกของประชาชน
เช่ น ภั ย คุ ก คามด้ านเศรษฐกิ จ ด้ า นสิ่ งแวดล้ อ ม หรือ ด้ านสุ ข ภาพอนามั ย เป็ น ต้ น อย่ างไรก็ ต าม ผู้ เขี ย น
มีความเห็นว่า ภัยคุกคามที่ส่งผลร้ายแรงต่อประเทศชาติมากที่สุดก็คือการแตกแยกทางความคิดของคนใน
สังคม ทั้งนี้ เพราะการแตกแยกทางความคิด ของคนในสังคมย่อมเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งต่าง ๆ ในสังคม
และยังอาจเป็นที่มาของภัยคุกคามด้านอื่น ๆ อีกด้วย
6

โดยที่ภ าษาเป็ น เครื่องมือส าคัญ ที่ใช้ในการสื่ อสารและถ่ายทอดความคิดระหว่างคนในสั งคม


ดังนั้น ภาษาจึงเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคม และในขณะเดียวกัน ภาษา
ก็เป็นสิ่งที่สามารถสร้างความแตกแยกหรือสร้างความร้าวฉานในสังคมได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ บทบาทของภาษา
ในมิติของความมั่นคงแห่งชาติจึงมีความชัดเจนมากขึ้นเป็นลาดับ หลายประเทศมีความพยายามที่จะให้มีการ
เรี ย นรู้ ภ าษาต่ า งประเทศอื่ น ๆ ที่ จ าเป็ น ต่ อ ความมั่ น คง รวมทั้ ง ให้ มี ก ารขยายการเรี ย นการสอน
ภาษาต่างประเทศที่มีอยู่ แ ล้ว ให้ กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การที่ ประเทศสหรัฐ อเมริกาได้กาหนด
หลั กการนโยบายความมั่น คงยุคหลังเหตุการณ์ 9 กันยายน โดยกระตุ้นให้ มีการส่งเสริมความเข้าใจในหมู่
ประชาชนชาวอเมริกันให้เคารพและชื่นชมวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประเทศอื่นได้เรียนรู้และ
รู้จักประเทศสหรัฐอเมริกาและประชาชนชาวอเมริกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะประเทศสหรัฐอเมริกาวิเคราะห์แล้ว
ว่า การที่ประชาชนชาวอเมริกันไม่ค่อยรู้จักภาษาต่างประเทศก่อให้เกิดผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อความมั่นคง
แห่งชาติเพราะไม่มีความสามารถในการสื่อสารกับประชาชนที่ พูดภาษาอื่นได้อย่างเข้าใจกัน อันส่งผลกระทบ
ต่อการดาเนินนโยบายทางการทูต การบังคับใช้กฎหมายในประเทศ และอื่นๆ (ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, 2552)
สาหรับประเทศไทย การธารงรักษาไว้ซึ่งภาษาไทยอัน เป็นภาษาประจาชาติ เป็นสิ่งจาเป็นและ
สาคัญ เพราะภาษาไทยเป็ นเอกลั กษณ์ สาคัญ ที่แสดงให้ เห็ นถึงความเป็นชาติและความมีเอกราชทางภาษา
ตลอดจนเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวคนทั้งชาติไว้ให้คานึงถึงความเป็นชาติเดียวกัน (ทิพย์สุดา นัยทรัพย์ , 2535) การใช้
คาว่า “เอกราช” อันมีความหมายทางการเมืองว่าเป็นการมีอิสระทางการเมือง ไม่ขึ้นต่อกัน แสดงว่าภาษา
มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติอย่างมีนัยสาคัญ และถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์
ต่างๆ อยู่เป็นจานวนมาก แต่ประเทศไทยก็สามารถดารงตนได้อย่างมีเสถียรภาพด้วยการยอมรับให้ภาษาไทย
เป็นภาษาของคนทั้งชาติและเป็นภาษาประจาชาติ อย่างไรก็ตาม การกาหนดให้ทุกคนต้องใช้ภาษาเดียวกัน
เพื่อสร้างเอกภาพของชนในชาติ ย่อมเท่ากับเป็นการทาลายภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนอัตลักษณ์ของกลุ่ม
ชาติพันธุ์อื่น
ดังตัวอย่างเช่น ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การจัดการศึกษาโดยให้ โรงเรียนรัฐบาลจัดการเรียน
การสอนภาษาไทยแต่เพียงภาษาเดียว การออกกฎหมายบังคับให้ทุกโรงเรียนสอนภาษาไทยตามแบบแผนของ
ทางราชการ เช่ น พระราชบั ญ ญั ติ โ รงเรี ย นราษฎร์ (ชื่ อ กฎหมายในขณะนั้ น ) และพระราชบั ญ ญั ติ ก าร
ประถมศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2464 เป็นต้น หรือในสมัยของรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามที่ได้
มีการยกเลิกการเรียนภาษามลายูในโรงเรียนชั้นประถม และห้ามนาหนังสือจากมาเลเซียมาสอนในโรงเรียน
จนเป็ น เหตุให้ ห ะยีสุ ห รงยื่น ข้อเรียกร้องจ านวน 7 ข้อต่อรัฐบาลในขณะนั้น เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2490 ซึ่ง
ข้อเรียกร้อง 2 ข้อเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิทางภาษา โดยขอให้รัฐบาลในขณะนั้นอนุญาตให้สอนภาษามลายู
ในโรงเรีย นตามตาบลต่ าง ๆ จนถึงชั้น ประถมปีที่ 4 และขอให้ รัฐบาลในขณะนั้นใช้ภ าษามลายูในสถานที่
ราชการควบคู่ไปกับภาษาไทย แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ไม่เป็นผล (ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, 2552)
อีกกรณี ห นึ่ งคือ เมื่อวัน ที่ 19 ตุล าคม 2516 พรรคประชาชาติปัตตานีได้เรียกร้องต่อรัฐบาล
ในขณะนั้น ขอให้มีการใช้ภาษามลายูใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่มีผลเช่นเดิม
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2518 ขบวนการก่อการร้ายต่อต้านผู้ทาลายภาษามลายูจึงได้ทาการปิดโรงเรียนไทย
จับ ครูเรียกค่าไถ่ ยิ งครูและเจ้ าหน้ าที่ผู้เปลี่ ยนหลั กสูตรภาษามลายู การเขียน การอ่านภาษามลายูให้ เป็ น
ภาษาไทย รวมไปถึงการเผาโรงเรียนไทยต่าง ๆ ด้วยความเชื่อที่ว่าโรงเรียนไทยเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อทาลาย
วัฒ นธรรมมลายู อิ ส ลามปั ต ตานี และในปี เดีย วกัน ก็ ได้ เกิด เหตุการณ์ ป ระท้ ว งขึ้ นที่ จังหวัด ปัต ตานี มี การ
ปลุกระดมให้ใช้ภาษามลายูพื้นเมืองและภาษามาเลเซียกลาง (ทรงพร ทาเจริญศักดิ์, 2552)
7

จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ดังที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น ทาให้สามารถ


มองเห็นภาษาไทยในอีกมิติหนึ่ง นั่นคือ ภาษาไทยในมิติความมั่นคงแห่งชาติ เพราะภาษาไทยได้ถูกนามาเป็น
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และกลายเป็นสาเหตุที่สาคัญประการหนึ่งของการก่อความไม่สงบในจังหวัด
ชายแดนใต้ อันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

สรุป
ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ ทาให้มนุษย์สามารถติดต่อและเข้าใจกันได้ ภาษา
เป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน การพูดภาษาเดียวกันเป็นสิ่งที่ทาให้มนุษย์รับรู้ถึงความ
เป็นพวกพ้องเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชนชาติเดียวกัน มีความสานึกในเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
ภาษาทาให้เกิดเป็นพลังในการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม
ภาษาไทยเป็ น ภาษาประจ าชาติ ไทย เป็ น สื่ อ กลางในการติ ด ต่ อ สื่ อ สารของชนในชาติ เป็ น
เครื่องมือในการศึกษาวิชาการและประกอบอาชีพ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้และวัฒนธรรม
ไทยไปสู่ชนรุ่นหลัง และโดยที่ ความมั่นคงแห่งชาติหมายถึงสภาวะที่ประชาชนในสังคมมี สวัสดิภาพ มีความ
ปลอดภัยและความผาสุก ปราศจากภัยคุกคามต่าง ๆ ซึง่ ความมั่นคงแห่งชาติในทุก ๆ ด้าน ทั้งในด้านการเมือง
เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การป้องกันประเทศ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม และด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ล้วนต้องใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการ
สื่อสาร สร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างคนในสังคมทั้งสิ้น เพื่อจะได้เป็นการป้องกันและแก้ไข
ปัญหาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของคนในสังคม ซึ่งจะนาไปสู่การแตกแยกทางความคิดจนเกิดเป็นภัยคุกคาม
ในที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ภาษาไทยที่เราใช้สื่อสารกันในสังคมไทยมาช้านานจนเป็นเรื่อง
ปกติธรรมดาในชีวิตประจาวันนั้นมีมิติของความมั่นคงแห่งชาติแฝงอยู่ เพราะภาษาไทยเป็นปัจจัยสาคัญในการ
สร้างความเข้าใจ สร้างความปลอดภัยและความผาสุกให้กับประชาชนในสังคมไทย อันจะนาไปสู่ความมั่นคง
แห่งชาติในทุกๆ ด้าน

บรรณานุกรม
กาชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2522. หน้า 1.
เจษฎา มีบุญลือ, พัน เอกหญิง. เอกสารทางวิชาการ เรื่อง ความมั่นคงแห่งชาติ : การสร้างชาติไทยให้
ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 2553. หน้า 1-54.
ทิพย์สุดา นัยทรัพย์. ภาษากับวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา, 2535. หน้า 15.
ทรงพร ทาเจริญศักดิ์. รายงานวิจัย เรื่อง นโยบายภาษากับความมั่นคงของชาติ . โครงการความมั่นคง
ศึกษา สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2552.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา. กองทัพไทยกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์อักษรข้าวสวย, 2551.
หน้า 13-17.
ประยูร ทรงศิลป์. หลักและการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2553. หน้า 1.
ผะอบ โปษกฤษณะ, พันตรีหญิง. ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : อมร
การพิมพ์, 2554. หน้า 13-15.
8

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559. เล่มที่ 133 ตอนที่ 85 ก., 2559.


หน้า 1-8.
ราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน. 2556. พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒ นา
อินเตอร์พริ้นท์. หน้า 868-869.
Fairclough, N. “Language and Power”. Concise Encyclopedia of Sociolinguistics. Sawyer,
J.F.A. & Simpson, J.M.Y., eds., Amsterdam : Elsevier, 2001. p. 255.

You might also like