You are on page 1of 37

บทที่ 4

ความสามารถของบุคคล (Capacity)

ความสามารถของบุคคลหมายถึง สภาพที่บุคคลจะมีสิทธิ หรื อใช้สิทธิ และหน้าที่ตาม


กฎหมายได้เพียงใด แบ่งออกเป็ น
1. ความสามารถในการมีสิทธิ (Capacity of acquisition rights) โดยปกติเมื่อบุคคล
เกิดมามีสภาพบุคคลตามมาตรา 15 แล้วก็ยอ่ มจะสามารถมีสิทธิ ได้เท่าเทียมกันทุกคน
ข้อยกเว้นความสามารถในการมีสิทธิ ในบางกรณี กฎหมายอาจจะจำกัดความสามารถ
ในการมีสิทธิโดยกำหนดคุณสมบัติของคนที่จะมีสิทธิ เอาไว้บา้ ง ซึ่ งก็มีกรณี ขอ้ จำกัดน้อยมากเช่น
มาตรา 25 “ผูเ้ ยาว์อาจทำพินยั กรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าเป็ นบริ บูรณ์ มิฉะนั้นเป็ นโมฆะ
(มาตรา 1703)” กฎหมายกำหนดคุณสมบัติของคนที่จะทำพินยั กรรมว่าต้องอยูใ่ นวัยที่โตพอจะทราบ
ว่าควรยกทรัพย์สินให้ใคร
มาตรา 1425 “การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชาย และหญิงมีอายุสิบเจ็ดปี บริ บูรณ์แล้ว
การหมั้นที่ฝ่าฝื นบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็ นโมฆะ”
ในเรื่ องการหมั้น กฎหมายก็ก ำหนดคุณสมบัติของคู่หมั้นว่าจะต้องอยูใ่ นวัยที่โตมี
ร่ างกายที่สมบูรณ์ พร้อมที่จะทำการสมรสและมีบุตรต่อไปได้
ในเรื่ องสิ ทธิเลือกตั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดให้สิทธิ เลือกตั้งเมื่ออายุครบ 18 ปี บริ
บูรณ์ เป็ นต้น
2. ตามความสามารถในการใช้สิทธิ (Capacity of exercise rights)
เมื่อบุคคลมีสิทธิอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันแล้ว แต่การใช้สิทธิ น้ นั จะสามารถใช้ได้
อย่างเท่าเทียม และเสมอภาคกันทางกฎหมายได้หรื อ ไม่ยอ่ มขึ้นอยูก่ บั สภาพของตัวบุคคลแต่ละคนว่า
จะมีสติปัญญา และประสพการณ์เพียงพอที่จะใช้สิทธิ เหล่านั้นอย่างเต็มความสามารถหรื อไม่ ผูท้ ี่อ่อน
ประสพการณ์และอ่อนด้วยสติปัญญากว่าก็อาจจะถูกเอารัดเอาเปรี ยบจากบุคคลที่ไม่ประสงค์ดี และ
ต้องการเอารัดเอาเปรี ยบบุคคลที่ดอ้ ยประสพการณ์ และสติปัญญากว่า ดังนั้นเพื่อให้คุม้ ครองบุคคลผู ้
หย่อนความสามารถไม่วา่ จะด้วยเหตุความอ่อนอายุ หรื อเหตุความบกพร่ องทางด้านร่ างกาย และจิตใจ
มีบุคคลที่กฎหมายจำกัดความสามารถในการใช้สิทธิ อยูด่ ว้ ยกัน 3 ประเภท คือ
1. ผูเ้ ยาว์ (minor)
2. คนไร้ความสามารถ (incompetent person)
3. คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi incompetent person)

1. ผู้เยาว์ (minor)
ผูเ้ ยาว์ คือ บุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถในการใช้สิทธิ เพราะเหตุอ่อนอายุ อ่อน
ประสพการณ์ ยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้เป็ นอย่างดี จึงต้องอยูภ่ ายใต้การคุม้ ครองช่วยเหลือของ
บุคคลที่เป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรม ซึ่ งได้แก่ บิดา มารดา หรื อผูป้ กครอง
การบรรลุนิติภาวะ (Majority) คือการทำให้บุคคลเป็ นผูม้ ีสิทธิ โดยสมบูรณ์ในทางแพ่ง
(Fully complete legal capacity)
53
มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผูเ้ ยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 20 ปี บริ บรู ณ์
มาตรา 20 ผูเ้ ยาว์ยอ่ มบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ท ำตาม
บทบัญญัติมาตรา 1448
ผูเ้ ยาว์จะพ้นภาวะผูเ้ ยาว์ และบรรลุนิติภาวะมี 2 กรณี คือ
1. โดยอายุครบ 20 ปี บริ บรู ณ์
2. โดยการสมรส เมื่อชาย และหญิงอายุครบ 17 ปี บริ บูรณ์ข้ ึนไป ยกเว้นกรณี มีเหตุอนั
สมควรจะขออนุญาตต่อศาลให้ท ำการสมรสก่อนอายุครบ 17 ปี บริ บรู ณ์

1. การบรรลุนิติภาวะโดยอายุ ตามมาตรา 19 เมื่ออายุครบ 20 ปี บริ บูรณ์


การนับอายุครบ 20 ปี บริ บูรณ์จะเริ่ มนับเมื่อใด แต่เดิมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิ ชย์ มาตรา 16 เดิม มิได้บญั ญัติให้เริ่ มนับในวันใด จึงมีความเห็นของนักกฎหมายว่าควรนับระยะ
เวลาตามหลักเกณฑ์ทวั่ ไปในมาตรา 193/3 คือมิให้นบั วันแรกที่เกิดรวมคำนวณด้วยกัน เช่นเกิดวันที่
3 มกราคม 2521 ให้เริ่ มนับวันถัดไป คือ เริ่ มนับวันที่ 4 มกราคม 2541 และพอรุ่ งขึ้นวันที่ 4 มกราคม
2541 เป็ นวันที่ครบ 20 ปี บริ บูรณ์ ซึ่ งก็ไม่ตรงกับวันครบรอบวันเกิด
นักกฎหมายบางท่านก็เห็นว่าน่าจะเริ่ มนับตั้งแต่วนั ที่เกิดเป็ นต้นไป และเป็ นข้อ
ยกเว้นมาตรา 193/3
อย่างไรก็ดี เมื่อมาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่บญั ญัติวา่ “การนับอายุของบุคคลให้
เริ่ มนับตั้งแต่วนั เกิด.....” จึงมีความชัดเจนว่า มาตรา 16 เป็ นข้อยกเว้นการนับระยะเวลาทัว่ ไปตาม
มาตรา 193/3 ดังนั้นถ้าบุคคลเกิดวันที่ 3 มกราคม 2521 เขาก็จะบรรลุนิติภาวะในเวลา 0 นาฬิกาของ
วันที่เป็ นวันครบรอบวันเกิดคือ 3 มกราคม 2541
การกำหนดอายุสำหรับบรรลุนิติภาวะมีเหตุผลเรื่ องวุฒิภาวะของผูเ้ ยาว์ ซึ่ งก็อาจแตก
ต่างกันในแต่ละประเทศที่มีสภาพแวดล้อมต่างกัน

ประเทศ ผูเ้ ยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่ออายุครบ

สหรัฐอเมริ กา (ไม่ทุกรัฐ) 18 ปี
อังกฤษ 18 ปี
มาเลเซีย 18 ปี
เบลเยีย่ ม 18 ปี
สวิสเซอร์แลนด์ 20 ปี
จีน 20 ปี
ญี่ปนุ่ 20 ปี
ไทย 20 ปี
54
ฝรั่งเศส 21 ปี
บราซิล 21 ปี
ฟิ ลิปปิ นล์ 21 ปี
อาร์เจนตินา 22 ปี

2. การบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส
มาตรา 20 “ผูเ้ ยาว์ยอ่ มบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ท ำตาม
บทบัญญัติ มาตรา 1448”
มาตรา 1448 “การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชาย และหญิงมีอายุ 17 ปี บริ บูรณ์แล้ว แต่
ในกรณี ที่มีเหตุอนั สมควร ศาลอาจอนุญาตให้การสมรสก่อนนั้นได้

หลักเกณฑ์ การบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส (มาตรา 20 ประกอบมาตรา 1448)


1. ชาย และหญิงต้องมีอายุ 17 ปี บริ บูรณ์ข้ ึนไป
2. ข้อยกเว้น ถ้ามีเหตุอนั สมควร ศาลอาจอนุญาตให้ท ำการสมรสก่อนนั้นได้
ตัวอย่างเช่น ชาย และหญิงอายุไม่ครบ 17 ปี แต่ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ ศาลก็อาจใช้ดุล
พินิจ อนุญาตให้สมรสก่อนอายุครบ 17 ปี ได้ ทั้งนี้เพื่อคุม้ ครองผลประโยชน์ของเด็กที่จะคลอดออก
มาจะได้มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้ผเู ้ ยาว์บรรลุนิติภาวะโดยการสมรสก็เพราะ เมื่อทำการ
สมรสแล้วคู่สมรสจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริ ยาทั้งในทางส่ วนตัว และในทางทรัพย์สินที่
ต้องอุปการะเลี้ยงดูซ่ ึ งกันและกัน จำเป็ นจะต้องทำนิติกรรมต่างๆ มากมาย ถ้าหากจะต้องขอความ
ยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมตลอดเวลาก็คงจะเป็ นอุปสรรค์ต่อการทำหน้าที่ระหว่างสามีภริ ยา
ดังนั้น เมื่อผูเ้ ยาว์ท ำการสมรสแล้วกฎหมายจึงบัญญัติให้บรรลุนิติภาวะ
ในการบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสนั้น ต้องคำนึงว่าได้ท ำตามเงื่อนไขการสมรสเรื่ อง
อายุตามมาตรา 1448 แล้วหรื อไม่เท่านั้น โดยมิตอ้ งคำนึงว่าขัดต่อเงื่อนไขการสมรสประการอื่น เช่น
ชายอายุ 18 ปี หญิงอายุ 17 ปี สมรสกันโดยมิได้รับความยินยอมจากบิดามารดาตามมาตรา 1454
ประกอบมาตรา 1436 ผลของการสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาย่อมตกเป็ นโมฆียะตาม
มาตรา 1509 และบิดามารดามีสิทธิฟ้องศาลขอให้เพิกถอนการสมรสให้ การสมรสสิ้ นสุ ดลงได้ตาม
มาตรา 1510 แต่การสมรสที่เป็ นโมฆียะสิ้ นสุ ดลง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน ดังนั้นในระหว่างที่
การสมรสยังไม่ได้ถูกเพิกถอนผูเ้ ยาว์ยอ่ มบรรลุนิติภาวะตามมาตรา 20 ประกอบมาตรา 1448 แล้ว

ฎีกาที่ 1320/2506
แม้ชายอายุ 17 ปี บริ บรู ณ์ และหญิงอายุ 15 ปี บริ บรู ณ์ จะจดทะเบียนสมรสกัน (เงื่อนไข
การสมรสเรื่ องอายุตามกฎหมายครอบครัวเก่ากำหนดอายุชาย 17 ปี หญิง 15 ปี บริ บูรณ์) โดยมิได้รับ
ความยินยอมของบิดามารดา หรื อผูป้ กครองก็ตาม ก็หาถือว่าการสมรสนั้นเป็ นโมฆะ หรื อไม่สมบูรณ์
อย่างใดไม่ กฎหมายเพียงแต่ให้อ ำนาจบิดามารดา หรื อผูป้ กครองร้องขอให้ศาลสัง่ เพิกถอนการสมรส
เสี ยได้เท่านั้น หากไม่มีการร้องขอให้เพิกถอน ชายหญิงย่อมบรรลุนิติภาวะ

55
ปัญหาต่อไปคือ ถ้าศาลมีค ำสัง่ เพิกถอนจะถือว่าชายหญิงนั้นกลับไปเป็ นผูเ้ ยาว์ตามเดิม
หรื อไม่ ผูเ้ ขียนเห็นว่าไม่กลับไปเป็ นผูเ้ ยาว์ตามเดิมด้วยเหตุผล
ประการแรก การสมรสที่เป็ นโมฆียะ เมื่อศาลเพิกถอนการสมรสแล้วมิได้มีผลตกเป็ น
โมฆะเสี ยเปล่ามาตั้งแต่เริ่ มต้น คู่กรณี กลับคืนสู่ ฐานะเดิม ดังเช่นหลักทัว่ ไปที่บญั ญัติในบรรพ 1
มาตรา 176 แต่มีผลให้การสมรสสิ้ นสุ ดลงตั้งแต่ศาลมีค ำพิพากษาเพิกถอนเป็ นต้นไป ตามมาตรา
1502 และให้น ำผลของการหย่าโดยคำพิพากษามาใช้บงั คับแก่ผลของการเพิกถอนการสมรสโดย
อนุโลมตามมาตรา 1512 นั้นก็หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริ ยาสิ้ นสุ ดลง และแบ่งทรัพย์สิน
ระหว่างสามีภริ ยากันไป สิ ทธิต่าง ๆ ที่ได้มาเพราะการสมรสก็ยอ่ มไม่เสี ยไปเช่นสิ ทธิ ในการเป็ นผู ้
บรรลุนิติภาวะเพราะสมรสเป็ นต้น
ประการที่สอง สิ ทธิในการบรรลุนิติภาวะเพราะสมรสเป็ นสิ ทธิ ที่ได้รับมา
แล้ว(Acquired right) ถือเป็ นสิ ทธิยิง่ ใหญ่ การจะเสี ยสิ ทธิ ที่ได้รับมาแล้วไปจะต้องมีกฎหมายบัญญัติ
ให้ชดั เจนว่าให้เสี ยสิ ทธิไป และการตีความในทางที่จะทำให้บุคคลเสี ยสิ ทธิ ไปต้องตีความอย่าง
เคร่ งครัด จะนำหลักทัว่ ไปในเรื่ องโมฆียะ ตามมาตรา 176 บรรพ 1 มาตีความปรับใช้กบั ความเป็ น
โมฆียะของการสมรสที่มีบทบัญญัติยกเว้นหลักทัว่ ไปไว้เป็ นพิเศษมิได้
ประการที่สาม หากมองในแง่ความยุติธรรม หากให้กลับไปเป็ นผูเ้ ยาว์ตามเดิมย่อมจะ
สร้างความสับสนยุง่ ยากแก่บุคคลภายนอกที่เข้าทำนิติกรรมกับผูเ้ ยาว์ที่สมรสแล้วพอสมควร ความน่า
เชื่อถือในการทำนิติกรรมกับผูเ้ ยาว์ที่สมรสแล้วก็จะน้อยลงไปเป็ นอุปสรรคต่อการดำรงชีพของเขา
เหล่านั้น และกระทบต่อความมัน่ คงของสถาบันครอบครัวด้วย
ดังนั้น ถ้าผูเ้ ยาว์บรรลุนิติภาวะไปแล้วโดยการสมรส ย่อมไม่กลับไปเป็ นผูเ้ ยาว์อีก ไม่
ว่าการสมรสจะสิ้ นสุ ดเพราะเหตุความตาย การหย่าหรื อศาลพิพากษาให้เพิกถอน
อย่างไรก็ตามหากเป็ นการฝ่ าฝื นเงื่อนไขการสมรสที่มีผลเป็ นโมฆะตาม
1. มาตรา 1449 คู่สมรสเป็ นคนวิกลจริ ต หรื อเป็ นคนไร้ความสามารถ
2. มาตรา 1450 คู่สมรสเป็ นญาติสืบสายโลหิ ตโดยตรงขึ้นไป หรื อลงมา
3. มาตรา 1452 สมรสซ้อน
4. มาตรา 1458 คู่สมรสไม่ยนิ ยอมเป็ นสามี ภริ ยา
การสมรสที่เป็ นโมฆะ เมื่อศาลมีค ำพิพากษา ตามมาตรา 1496 แล้วกฎหมายบัญญัติ
ทำนองเดียวกับหลักเกณฑ์ทวั่ ไปของโมฆะ ซึ่ งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริ ยาไม่เกิดขึ้นตาม
มาตรา 1498 ดังนั้นสิ ทธิที่ได้มาเพราะการสมรส เช่น สิ ทธิ ในการบรรลุนิติภาวะก็ยอ่ มเสื่ อมสิ ทธิ ไป
ด้วย เว้นแต่จะสุ จริ ต ตามมาตรา 1499 เช่น ผูเ้ ยาว์สมรสซ้อนโดยมิทราบว่าคู่สมรสอีกฝ่ ายหนึ่งมีคู่
สมรสอื่นอยูแ่ ล้ว ในกรณี น้ ีผเู้ ยาว์ซ่ ึ งสุ จริ ตย่อมไม่สูญเสี ยสิ ทธิ ในการบรรลุนิติภาวะเพราะการสมรส
ไป
ในทางกลับกัน ถ้าผูเ้ ยาว์มีการสมรสที่ฝ่าฝื นมาตรา 1448 ทั้งชายและหญิงย่อมไม่บรรลุ
นิติภาวะ เช่น ชายอายุ 17 ปี หญิงอายุ 16 ปี สมรสกันย่อมไม่บรรลุภาวะทั้งชายและหญิง
อย่างไรก็ตามการสมรสที่ฝ่าฝื นมาตรา 1448 มีผลเป็ นโมฆียะที่บิดามารดาหรื อผูป้ กครอง
อาจฟ้ องขอให้เพิกถอนการสมรสได้ตามมาตรา 1504 วรรคแรก แต่ถา้ ศาลมิได้สงั่ ให้เพิกถอนการ
สมรสจนชายหญิงมีอายุครบ 17 ปี บริ บรู ณ์ หรื อเมื่อหญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปี บริ บรู ณ์ ให้ถือว่า
การสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส

56
จากตัวอย่างข้างต้นนี้ ถ้าต่อมาอีก 1 ปี ชายมีอายุ 18 ปี และหญิงมีอายุครบ 17 ปี ต้อง
ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส บิดามารดา หรื อผูป้ กครองไม่มีสิทธิ ฟ้องขอเพิกถอนการ
สมรสได้อีกต่อไป
ปัญหาว่าการสมรสที่สมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส จะส่ งผลให้ชายหญิงบรรลุนิติภาวะ
ตามไปด้วยหรื อไม่
ผูเ้ ขียนเห็นว่าน่าจะถือว่าบรรลุนิติภาวะไปด้วย เนื่องจากการที่คู่สมรสจะต้องมีหน้าที่
อุปการะเลี้ยงดูซ่ ึ งกันและกันต่อไปนั้น การตีความในทางที่ผเู ้ ยาว์จะบรรลุนิติภาวะย่อมเป็ นประโยชน์
และส่ งเสริ มสถาบันครอบครัวดังนั้น เมื่อการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรสย่อมส่ งผลให้ชาย
และหญิงบรรลุนิติภาวะมาตั้งแต่เวลาสมรสเช่นเดียวกัน (เทียบเคียง)
ข้ อสังเกต การสมรสในที่น้ ี ตอ้ งหมายถึงการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายคือจดทะเบียน
สมรสแล้วเท่านั้น ฎีกาที่ 1319/2512 ผูเ้ ยาว์อายุ 18 ปี มีภริ ยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส ย่อมยังไม่
บรรลุนิติภาวะ
ความสามารถในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์
ผูเ้ ยาว์เป็ นผูห้ ย่อนความสามารถที่จะต้องอยูภ่ ายใต้การควบคุมดูแลช่วยเหลือของผูแ้ ทน
โดยชอบธรรม ซึ่ งอาจเป็ นกรณี ที่ผเู้ ยาว์ยงั ไม่สามารถทำนิติกรรมเองได้ ก็ตอ้ งให้ผแู ้ ทนโดยธรรมเป็ น
ผูจ้ ดั การดูแลทรัพย์สินของผูเ้ ยาว์ให้ แต่ถา้ ผูเ้ ยาว์โตพอที่จะทำนิติกรรมเองได้ ผูเ้ ยาว์กอ็ าจจะขอความ
ยินยอมทำนิติกรรมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมได้ การพิจารณาหลักเกณฑ์ความสามารถในการทำ
นิติกรรมของผูเ้ ยาว์ ต้องพิจารณาเป็ น 3 ระยะคือ
1. ระยะที่ผเู้ ยาว์ยงั ไม่มีความรู้สึกรับผิดชอบ
2. ระยะที่ผเู้ ยาว์มีความรู้สึกรับผิดชอบแล้ว
3. ผูเ้ ยาว์ท ำกิจการค้า

1. ระยะที่ผู้เยาว์ยงั ไม่ มคี วามรู้ สึกรับผิดชอบ ในระยะนี้เริ่ มตั้งแต่เด็กคลอดออกมามี


สภาพบุคคลสามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ และเด็กยังไม่อาจจะมีความรู ้สึกรับผิดชอบในการแสดงเจตนา
ทำนิติกรรมได้เลย ดังนั้น การกระทำของเด็กในระยะนี้ น่าจะถือว่าไม่ใช่การแสดงเจตนาทำนิติกรรม
เลย ไม่มีผลผูกใดในทางกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้ น จะต้องให้ผแู ้ ทนโดยชอบทำแทนให้ท้ งั สิ้ น
ระยะเวลาสิ้ นสุ ดของระยะนี้ ตามกฎหมายไทยมิได้บญั ญัติไว้ จึงต้องพิจารณาเป็ น
กรณี ไป เช่น เด็กชั้นประถมหนึ่งย่อมมีความรู ้สึกผิดชอบพอที่จะซื้ อขนมรับประทานได้แต่จะถือว่า
เด็กมีความรู้สึกผิดชอบในการทำนิติกรรมซื้ อบ้านเพื่ออยูอ่ าศัยมิได้

2. ระยะที่ผู้เยาว์มคี วามรู้ สึกรับผิดชอบแล้ ว ในระยะนี้เป็ นระยะที่ผเู ้ ยาว์พอเริ่ มมีความ


รู ้สึกรับผิดชอบในการทำนิติกรรมได้แล้ว ผูเ้ ยาว์จึงอาจจะเลือกทำนิติกรรมเอง โดยขอความยินยอม
จากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมหรื อผูเ้ ยาว์จะเลือกให้ผแู ้ ทนโดยชอบธรรมทำนิติกรรมแทนผูเ้ ยาว์กไ็ ด้ หรื อ
จะเลือกทั้งสองอย่างในขณะเดียวกันได้

หลักเกณฑ์ ทวั่ ไปในการทำนิติกรรมของผู้เยาว์

57
มาตรา 21 ผูเ้ ยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
ก่อน การใดๆ ที่ผเู้ ยาว์ได้ท ำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็ นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็ น
อย่างอื่น
มีประเด็นที่ต้องพิจารณา 4 เรื่อง คือ
1. กิจการที่ผเู้ ยาว์ตอ้ งขอความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
2. ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผูเ้ ยาว์ได้แก่ใคร มีอ ำนาจหน้าที่อย่างไร
3. วิธีการให้ความยินยอม
4. ผลบังคับเมื่อไม่ได้รับความยินยอม

1. กิจการที่ผู้เยาว์ต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
มาตรา 21 ระบุไว้เฉพาะการทำนิติกรรมของผูเ้ ยาว์เท่านั้นที่จะต้องขอความยินยอม
คำว่านิติกรรม คือ การแสดงเจตนาด้วยใจสมัคร และชอบด้วยกฎหมาย มุ ่ง
โดยตรงต่อการผูกนิติสมั พันธ์เพื่อที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรื อระงับซึ่ งสิ ทธิ เช่น การ
แสดงเจตนาทำคำเสนอและคำสนองตกต้องตรงกัน ทำให้เกิดสัญญามีผลผูกพันระหว่างคู่สญ ั ญา
เป็ นต้น
ดังนั้น หากไม่ใช่นิติกรรม แต่เป็ นนิติเหตุ ไม่ตอ้ งขอความยินยอมจากผูแ้ ทนโดย
ชอบธรรม เช่น
- ผูเ้ ยาว์ท ำละเมิด แม้จะมิได้รับความยินยอมก็ไม่ใช่โมฆียะ ผูใ้ ช้อ ำนาจ
ปกครองไม่มีสิทธิ บอกล้าง เพื่อไม่ให้ผเู ้ ยาว์ตอ้ งชดใช้ค่าสิ นไหมทดแทนตาม
มาตรา 420
- ผูเ้ ยาว์ได้มาซึ่ งสิ ทธิ ครอบครอง ไม่ตอ้ งขอความยินยอม
- การจัดการงานนอกสัง่ เช่น ผูอ้ ื่นจัดทำกิจการแทนผูเ้ ยาว์โดยผูเ้ ยาว์มิได้
ว่าขานวานใช้ ผูเ้ ยาว์มีหน้าที่ตอ้ งชำระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจัดการงานนอก
สัง่ แม้วา่ ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมจะไม่ยนิ ยอมก็ตาม
- ลาภมิควรได้ ผูเ้ ยาว์ได้ทรัพย์สินมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู ้
เยาว์หน้าที่ตอ้ งคืนลาภมิควรได้ แม้ผแู ้ ทนโดยชอบธรรมจะไม่ยนิ ยอม
ก็ตาม ปัญหาว่าการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีจะเป็ นนิติกรรมหรื อ
ไม่
- การฟ้ องร้อง และการต่อสู ้คดี ไม่ใช่นิติกรรม เพราะว่าเป็ นกรณี ที่กฎหมาย
ให้สิทธิเพื่อบังคับให้เป็ นไปตามสิ ทธิ หรื อพิสูจน์สิทธิ ที่มีอยูแ่ ล้วไม่ได้ก่อให้
เกิดการเคลื่อนไหวในสิ ทธิ ใด ๆ เพิ่มขึ้นหรื อลดน้อยลงไปแต่ประการใด
ดังนั้น การร้องทุกข์กด็ ี การฟ้ องคดีกด็ ี หรื อการต่อสู ้คดี การไปเป็ นพยาน จึงไม่ใช่
นิติกรรม ผูเ้ ยาว์สามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ตอ้ งด้วยมาตรา 21

ฎีกาที่ 214/2477
การร้องทุกข์ในคดีอาญาความผิดต่อส่ วนตัว ไม่เป็ นนิติกรรม แต่เป็ นสิ ทธิ ตามกฎหมายที่
ผูเ้ ยาว์ท ำได้ในฐานะผูเ้ สี ยหาย โดยไม่จ ำกัดความสามารถ ผูเ้ ยาว์ร้องทุกข์เองได้

58
ฎีกาที่ 1154/2511
การเป็ นพยาน ไม่ใช่นิติกรรม ไม่ตอ้ งขอความยินยอม

ฎีกาที่ 816 –817/2494


ผูเ้ ยาว์ถูกทำละเมิด ก็ยอ่ มมีอ ำนาจฟ้ องผูล้ ะเมิดได้โดยลำพัง

แต่อย่างไรก็ตามในการฟ้ องคดีแพ่ง หรื อคดีอาญาของผูเ้ ยาว์ ประมวลกฎหมายวิธี


พิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติไว้เป็ นพิเศษ ให้ปฏิบตั ิตามเรื่ องความสามารถที่ตอ้ งได้รับความ
ยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อน เพื่อให้ผแู ้ ทนโดยชอบธรรมพิจารณาดูแลผลประโยชน์ในทาง
คดีอีกขั้นหนึ่งเท่านั้นเอง มิได้หมายความว่าการฟ้ องคดีจะเป็ นนิติกรรม ดังนั้นผูเ้ ยาว์กม็ ีสิทธิ ฟ้องคดี
เองอยูแ่ ล้ว แต่ถา้ การฟ้ องคดีแทนผูเ้ ยาว์โดยบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาบกพร่ อง และภาย
หลังจดทะเบียนสมรสแล้วย่อมถือว่าการฟ้ องคดีแทนเด็กที่บกพร่ องมาแต่ตน้ เป็ นอันบริ บูรณ์ (ฎีกาที่
1804/2509)
แต่การถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดที่ยอมความได้ ผูเ้ ยาว์ตอ้ งขอความยินยอมจากผู ้
แทนโดยชอบธรรมก่อน (ฎีกาที่ 214/2494)

และ ฎีกาที่ 1074/2477 การขอถอนฟ้ องคดีอาญา ผูเ้ ยาว์ไม่มีอ ำนาจถอนฟ้ องด้วยตนเอง


ต้องได้รับความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อน การถอนฟ้ องเป็ นการระงับสิ ทธิ ในการดำเนิน
คดี
ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่า การถอนคำร้องทุกข์กบั การถอนฟ้ องมิใช่นิติกรรม แต่ที่ศาล
ตัดสิ นทำนองว่าการถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดต่อส่ วนตัวเป็ นนิติกรรมต้องได้รับความยินยอม
ของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อน ก็คงมองในแง่ความยุติธรรมว่าการที่ผเู ้ ยาว์จะถอนคำร้องทุกข์ หรื อ
ถอนฟ้ อง ก็ควรจะได้รับการพิจารณาดูแลผลประโยชน์ในทางคดีของผูเ้ ยาว์ โดยผูแ้ ทนโดยชอบ
ธรรมเสี ยก่อน มิใช่ให้ผเู้ ยาว์ตดั สิ นใจโดยลำพัง ซึ่ งผูเ้ ยาว์ที่เป็ นผูเ้ สี ยหายอาจจะมีสภาพจิตใจที่ไม่
สามารถตัดสิ นใจเองได้
นิติกรรมที่ผเู้ ยาว์ตอ้ งขอความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมย่อมหมายถึง นิติกรรมที่
ผูเ้ ยาว์ท ำในนามตนเอง และผูกพันตัวเองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าเป็ นนิติกรรมที่กระทำในนามของตัวการ
และผูพ้ นั ตัวการแล้วไม่จ ำต้องของความยินยอม เพราะโดยหลักผูเ้ ยาว์ที่เป็ นตัวแทนย่อมมีอ ำนาจที่จะ
กระทำการแทนตัวการตามที่ตวั การมอบอำนาจให้ เป็ นการกระทำในนามตัวการผูกพันตัวการมิได้
ผูกพันผูเ้ ยาว์ เช่น ฎีกาที่ 598/2506 ยายยกที่ดินให้หลานโดยมอบฉันทะให้หลานไปทำนิติกรรมยก
ที่ดินให้หลานแทนยาย แม้หลานจะยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็ นผูร้ ับมอบอำนาจทำนิติกรรมได้โดยไม่
ต้องได้รับความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
แต่สญ ั ญาตั้งผูเ้ ยาว์เป็ นตัวแทน ผูเ้ ยาว์ตอ้ งได้รับความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
ก่อน เพราะเป็ นการทำนิติกรรมในนามตนเข้าผูกพันเป็ นตัวแทนของตัวการ ซึ่ งผูเ้ ยาว์มีหน้าที่ความ
รับผิดต่อตัวการที่ตอ้ งให้ผแู้ ทนโดยชอบธรรมพิจารณากลัน่ กรองก่อน

คำพิพากษาฎีกาที่ 708 / 2465


59
อันสัญญาโอนทรัพย์ให้แก่กนั โดยเสน่หา ซึ่ งทำในขณะที่ผโู ้ อนเป็ นผูเ้ ยาว์น้ นั ถ้าเมื่อผู ้
โอนบรรลุนิติภาวะแล้วไม่ปฏิเสธทั้งยังรับรองสัญญาอยู่ ท่านว่าสัญญาโอนนั้นเป็ นสัญญาที่สมบูรณ์

คำพิพากษาฎีกาที่ 594 / 2472


ก. จำเลยและ ต. ซึ่ งเป็ นภริ ยา ย. ผูต้ าย และเป็ นมารดาของ น. โจทก์ ได้ท ำสัญญาแบ่ง
มรดกกัน คือฝ่ าย ก. ทำแทน ล. บุตร ส่ วน ต. ทำแทนโจทก์ สัญญานี้ท ำก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ
1 และ 2 นั้น ย่อมผูกพันถึงโจทก์ดว้ ย เพราะเมื่อบิดาตายแล้ว มารดาก็ตอ้ งเป็ นผูป้ กครองและเป็ นผู ้
แทนโดยชอบธรรมของบุตรซึ่ งเป็ นผูเ้ ยาว์ ฉะนั้น ต. จึงมีอ ำนาจทำสัญญาแทนโจทก์ผบู ้ ุตรได้ใน
เรื่ องเช่นนี้ ส่ วนข้อที่ น. โจทก์อา้ งว่าตนอยูใ่ นความปกครองของอานั้น ก็เพิ่งมาแต่งตั้งขึ้นในเวลา
ฟ้ องคดี ซึ่ งจะแต่งตั้งเอาตามชอบใจของตนไม่ได้ สัญญาแบ่งมรดกนั้นเป็ นอันสมบูรณ์ใช้ได้ตาม
กฎหมาย โจทก์จะมาฟ้ องขอแบ่งมรดกของ ย. อีกไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 725 / 2475


เมื่อโจทก์ช ำระหนี้แทนจำเลย ซึ่ งเป็ นเหตุให้เกิดฟ้ องร้องคดีน้ ี จำเลยมีอายุ 13 ปี บิดา
มารดาถึงแก่กรรมหมดแล้ว จำเลยอยูก่ บั นางบางซึ่ งเป็ นย่า นางเพิ่มมิได้เกี่ยวข้องเป็ นญาติกบั จำเลย
นางเพิ่มเป็ นผูว้ ิ่งเต้นจัดการให้โจทก์ช ำระหนี้แทนจำเลย โดยอ้างว่าเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรม สัญญา
นี้ท ำกันระหว่างนางบางยังมีชีวิตอยูน่ ้ นั ในเรื่ องนี้ไม่มีค ำร้องอย่างใดยืน่ ต่อศาลตั้งใครเป็ นผูแ้ ทนโดย
ชอบธรรมของจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรค 3 ควรนำหลักกฎหมายในพระราชบัญญัติออก
โฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 มาตรา 65 และ 66 ซึ่ งบัญญัติให้ยนื่ คำร้องต่อศาลที่มีอ ำนาจตั้งผูแ้ ทนโดยชอบ
ธรรม เว้นแต่บิดาหรื อมารดาของผูเ้ ยาว์เข้ากระทำการแทนมาใช้ ฉะนั้นนางเพิ่มไม่มีอ ำนาจจะกระทำ
แทนจำเลยได้ จำเลยไม่ตอ้ งรับผิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 214 / 2477


จำเลยได้บงั อาจข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง น. ซึ่ งมีอายุเพียง 14 ปี นั้น เด็กหญิง
น.มีอ ำนาจบริ บูรณ์ที่จะร้องทุกข์ดว้ ยตนเองต่อเจ้าพนักงาน ขอให้ฟ้องร้องจำเลยได้ ถึงแม้วา่ เป็ นผู ้
เยาว์กด็ ี ก็มิพกั ต้องรับอนุญาตจากผูป้ กครองใดเลย

คำพิพากษาฎีกาที่ 449 / 2477


บุตรซึ่ งเป็ นผูเ้ ยาว์ อยูใ่ นความปกครองของมารดาในระหว่างที่บิดาวิกลจริ ตนั้น
มารดามีอ ำนาจเป็ นผูแ้ ทนบุตรในการกูเ้ งินมาเลี้ยงรักษาผูเ้ ยาว์ได้ ซึ่ งผูเ้ ยาว์ตอ้ งรับผิดชอบ

คำพิพากษาฎีกาที่ 1044 / 2477


มารดาถือว่าเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผูเ้ ยาว์ของเด็ก เชิดบุคคลอื่นเป็ นตัวแทนของ
ตนเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็ก เด็กต้องรับผิดชอบต่อคนภายนอกในกิจการที่บุคคลนั้นได้กระทำไปด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 1123 / 2479

60
โจทก์เป็ นผูเ้ ยาว์ อายุ 15 ปี ฟ้ องหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันทำอนาจารและ
ทำร้ายร่ างกายโจทก์น้ นั การฟ้ องความเป็ นกิจการอันหนึ่ง ผูเ้ ยาว์จะทำเองไม่ได้ ต้องทำโดยผูแ้ ทน
โดยชอบธรรม ถ้ายังไม่มีกต็ อ้ งปฏิบตั ิตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ส่ วนทนายความนั้นหาใช่ผแู้ ทนเฉพาะคดีตามความหมายในมาตรา 6 ไม่ เพราะการที่ทนายว่าความ
นั้นเป็ นการที่ตวั ความแต่งตั้งขึ้นให้ท ำการฟ้ องคดี เมื่อตัวผูเ้ ยาว์ฟ้องไม่ได้ การแต่งตั้งก็ไม่มีผล ทั้ง
การตั้งทนายความก็เป็ นนิติกรรมอันหนึ่ง ซึ่ งผูเ้ ยาว์ไม่มีความสามารถทำได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 540 / 2480


บิดามารดาตาย ทรัพย์มรดกตกได้แก่บุตรๆ ได้ปกครองร่ วมกันมา ถือว่าเป็ นเจ้าของ
กรรมสิ ทธิ์ ร่วมกัน บุตรฟ้ องเรี ยกทรัพย์ส่วนของตนเกินกว่า 1 ปี ได้
เจ้ามรดกตาย ผูท้ ี่ควรได้รับมรดกคนใดมิได้เข้ามาเกี่ยวข้องในทรัพย์มรดก ปล่อยให้อยู่
ในความปกครองของทายาทคนอื่น ดังนี้ จะมาฟ้ องของแบ่งมรดกเมื่อเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 727 / 2480


ผูร้ ับมรดกเอาทรัพย์อย่างอื่นตีใช้หนี้ ให้แก่เจ้าหนี้น้ นั เป็ นการชำระหนี้ ตามมาตรา 321
ไม่ใช่เป็ นสัญญาประนีประนอมยอมความ มารดาทำสัญญาแบ่งมรดกในส่ วนตัวและแทนบุตรผูเ้ ยาว์
โดยตกลงเอามรดกตีใช้หนี้ ไปในระหว่างนั้น ภายหลังมารดาจะปฏิเสธว่าการตีใช้หนี้ ไม่ได้ท ำแทน
บุตรด้วยนั้นไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 969 / 2482


มารดาและบุตรผูเ้ ยาว์ลงชื่อเป็ นผูก้ ูใ้ นหนังสื อสัญญากูด้ ว้ ยกัน แต่ในหนังสื อไม่ได้ระบุ
ว่ามารดากูใ้ นฐานะส่ วนตัว หรื อเป็ นผูแ้ ทนเด็ก ดังนี้ ต้องให้คคู่ วามนำสื บพยานต่อไป

คำพิพากษาฎีกาที่ 994 / 2485


ภรรยาน้อยไปทำสัญญารับสภาพหนี้ของผูต้ ายโดยตนมิได้เป็ นผูจ้ ดั การทรัพย์มรดก
หรื อเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผูร้ ้องซึ่ งเป็ นบุตรภรรยาหลวง สัญญานั้นย่อมไม่ผกู มัดผูร้ ้องในอัน
ที่จะมีส่วนได้ในมรดกด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 1039 / 2485


บิดาจำเลยตายโจทก์จ ำเลยได้ตกลงแปลงหนี้ ใหม่ คือ แปลงหนี้ ที่บิดาจำเลยเป็ นหนี้
สามีโจทก์มาเป็ นสัญญาที่จ ำเลยจะขายที่ดินให้โจทก์ แต่ภายหลังจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรม
เพราะในขณะจำเลยทำสัญญาเป็ นผูเ้ ยาว์เช่นนี้ ถือไม่ได้วา่ เป็ นการรับสภาพหนี้ เดิมหรื อให้สตั ยาบัน
อันจะทำให้อายุความมรดกสดุดหยุดลง

คำพิพากษาฎีกาที่ 114 / 2488


หญิงมีสามีกเู้ งินโดยไม่ได้รับความยินยอมของสามี สัญญานั้นเป็ นโมฆียะ เมื่อสามี
บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว หญิงก็ตอ้ งรับผิดเป็ นส่ วนตัวซึ่ งเจ้าหนี้ ฟ้องขอแยกสิ นบริ คณห์เพื่อเอาชำระ

61
หนี้ได้ เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าเป็ นสามีภรรยากันมาก่อนหรื อหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 ศาลย่อมแบ่งสิ น
สมรสให้สามีภรรยานั้นคนละครึ่ ง

คำพิพากษาฎีกาที่ 937 / 2490


ผูท้ ี่อา้ งว่าเป็ นบิดาของเด็กกับมารดาของเด็กเป็ นโจทก์ร่วมกัน ฟ้ องขอให้ท ำลายสัญญา
ยอมในศาล โดยอ้างว่าเด็กทำโดยบิดาไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วย และอ้างด้วยว่าและซึ่ งด้วยประการใด
ก็ตาม เด็กไม่มีสิทธิท ำได้ตามกฎหมาย เพราะไม่ได้รับอนุญาตจากศาลและจากบิดา สัญญานั้นจึง
ตกเป็ นโมฆะ ดังนี้ แม้ทางพิจารณาปรากฏว่าผูท้ ี่อา้ งว่าเป็ นบิดานั้นมิใช่เป็ นบิดาโดยชอบด้วย
กฎหมายของเด็ก แต่มารดาเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของเด็ก ศาลพิพากษาให้ท ำลายสัญญานั้นได้
ไม่ถือว่าผิดประเด็น

คำพิพากษาฎีกาที่ 2051 / 2492


โจทก์ฟ้องว่า ได้ออกเงินรวมกับจำเลยซื้ อที่นาให้จ ำเลยลงชื่อแทน แล้วจำเลยได้แบ่ง
ให้โจทก์ครอบครองทำมาประมาณ 6 ไร่ ขอให้ศาลแสดงกรรมสิ ทธิ์ และห้ามจำเลยอย่าให้
เกี่ยวข้อง
จำเลยให้การว่าจำเลยซื้ อแต่ผเู ้ ดียว การซื้ อขายของโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็ นหนังสื อ เป็ น
โมฆะ หากฟังว่าโจทก์ออกเงินซื้ อ โจทก์ยงั ไม่บรรลุนิติภาวะเป็ นโมฆียะและล่วงเลยการให้สตั ยาบัน
จำเลยให้โจทก์อาศัยทำกินนั้น ที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ไม่ได้คดั ค้านหนังสื อสัญญาซื้ อขายซึ่ งเป็ นเอกสาร
มหาชน แต่โจทก์ขอสื บเหตุแห่งความจริ งว่าได้ร่วมทุนซื้ อด้วยกันซึ่ งโจทก์นำสื บและเรี ยกร้องส่ วน
ของตนได้และฟังว่าโจทก์ได้ออกเงินรวมซื้ อที่นาและได้ครอบครองนาพิพาทตามที่จ ำเลยแบ่งให้
โจทก์จริ ง โจทก์ได้สิทธิ ส่ วนข้อที่วา่ เวลานั้นโจทก์ยงั ไม่บรรลุนิติภาวะนั้น โจทก์มิได้บอกล้างแต่
กลับแสดงกิริยารับรองตลอดมา ไม่มีทางที่จะว่าสัญญานั้นได้เลิกจ้างไปแล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 816 – 817 / 2494


ผูเ้ ยาว์เมื่อได้รับความยินยอมจากบิดาซึ่ งเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมแล้ว ย่อมเป็ นโจทก์
ฟ้ องคดีขอไถ่ถอนการขายฝากจากผูซ้ ้ื อฝากได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1370 / 2494


โจทก์ฟ้องบิดาของเด็กเป็ นจำเลยในฐานะส่ วนตัว และทั้งฐานะบิดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
ของเด็ก ในการต่อสู้คดีบิดาก็คงยอมรับให้การในฐานะเป็ นบิดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของเด็กด้วยมิได้
คัดค้านประการใด ดังนี้ การดำเนินคดีของบิดาในฐานะบิดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของเด็กเช่นนี้ยอ่ ม
เป็ นการชอบ แม้ในคดีน้ ี ศาลได้พิพากษาให้เด็กเสี ยกรรมสิ ทธิ์ ในที่ดินไปก็ตามกรณี หาต้องด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 1546 ไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 660 / 2495
เมื่อผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผูเ้ ยาว์ เจ้าของห้องพิพาทมอบอำนาจให้ฟ้องขับไล่ผเู ้ ช่า
ได้มีอากรแสตมป์ ปิ ดครบถ้วนและได้เสนอใบมอบอำนาจต่อศาลพร้อมกับคำฟ้ องแล้ว ผูร้ ับมอบ
อำนาจย่อมลงลายมือชื่อเป็ นโจทก์ในฟ้ องได้ โดยไม่ตอ้ งให้บิดาของผูเ้ ยาว์ลงลายมือชื่อในฟ้ องด้วย
62
และไม่จ ำเป็ นต้องกล่าวในฟ้ องว่ามอบอำนาจให้ฟ้องความแทน ทั้งไม่จ ำเป็ นต้องคัดสำเนาใบมอบ
อำนาจให้จ ำเลยเพราะจำเลยมีโอกาสขอตรวจดูที่ศาลได้เสมอ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1393 / 2495
โจทก์ซ่ ึ งเป็ นมารดาของผูเ้ ยาว์ เป็ นผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองย่อมมีอ ำนาจฟ้ องในฐานะที่โจทก์
เป็ นมารดาและเป็ นผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองให้จ ำเลยซึ่ งเป็ นบิดาจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรร่ วมกับโจทก์
นัยหนึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยในส่ วนตัวของโจทก์เอง มิได้ฟ้องในนามของบุตรหรื อในฐานะผูแ้ ทนบุตร
ย่อมมีอ ำนาจฟ้ องได้ หาใช่เรื่ องอุทลุมตามมาตรา 1534 ไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 856 – 857 / 2497
เมื่อประกาศใช้ประมวลแพ่งฯ บรรพ 5 แล้ว อำนาจของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผู ้
เยาว์ที่บญั ญัติไว้ในมาตรา 21 ได้ถูกจำกัดอำนาจลงตามลักษณะและรายการตามที่ระบุไว้ในมาตรา
1546
การห้ามขายที่ดินของเด็กซึ่ งต้องขออนุญาตศาลก่อนตามมาตรา 1546 นั้น หมายความ
รวมถึงสัญญาจะขายที่ดินด้วย
การขายที่ดินของผูเ้ ยาว์โดยอ้างว่าเอาเงินไปใช้จ่ายในการศึกษาของเด็ก เข้าลักษณะที่
เป็ นการสมควรแก่ฐานานุรูป และเป็ นการอันจำเป็ นเพื่อความเจริ ญในอนาคตของเด็กตามมาตรา 24
ซึ่ งอนุญาตไว้วา่ แม้เด็กจะทำนิติกรรมเองก็ยงั ได้น้ นั เมื่อมาตรา 1546 ห้ามผูป้ กครองขายที่ดินของ
เด็กโดยลำพังแล้ว เด็กขายที่ดินของเด็กโดยลำพังเองก็ท ำไม่ได้ มาตรา 1546 เป็ นบทยกเว้นทัว่ ไป
ของมาตรา 24 ด้วยเหมือนกัน ความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก็ใช้ไม่ได้
ผูเ้ ยาว์ท ำสัญญาจะขายที่ดินของผูเ้ ยาว์แก่ผซู ้ ้ื อและมอบที่ดินให้ผซู ้ ้ื อไปจัดหาผล
ประโยชน์มาแบ่งกับผูเ้ ยาว์น้ นั โดยผูแ้ ทนโดยชอบธรรมยินยอม นิติกรรมอันเกี่ยวกับการจัดหาผล
ประโยชน์มาแบ่งกันแยกได้จากการซื้ อขาย ไม่ตอ้ งห้ามตามมาตรา 1546 จึงเป็ นการสมบูรณ์ตาม
มาตรา 21

คำพิพากษาฎีกาที่ 303 / 2499


พี่เอาห้องแถวอันเป็ นมรดกตกได้แก่ตนและน้องไปขายแก่ผอู ้ ื่น โดยน้องจงใจรับรู ้ให้พี่
แสดงตนเป็ นเจ้าของห้องแถวนั้นแต่ผเู้ ดียว และได้ให้ถอ้ ยคำต่อพนักงานที่ดินรับรู ้การซื้ อขายไว้
ชัดเจนว่าพี่ขายห้องแถวอันเป็ นส่ วนของพี่ดว้ ย กระทำให้ผซู ้ ้ื อผิดหลงว่าห้องแถวเป็ นของพี่แต่ผเู ้ ดียว
ภายหลังน้องมาฟ้ องขอเพิกถอนนิติกรรมซื้ อขายห้องแถวส่ วนของตนโดยอ้างว่าตนเป็ นผูเ้ ยาว์ไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 598 / 2506
ยายยกที่ดินให้หลาน โดยทำใบมอบอำนาจให้หลานไปทำนิติกรรมแทน แม้หลานนั้น
จะยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เป็ นผูร้ ับมอบอำนาจได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1686 / 2506


การที่บุตรผูเ้ ยาว์ท ำสัญญาเป็ นลูกหนี้แทนบิดา ซึ่ งเป็ นผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองโดยมิได้
รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ย่อมเป็ นที่เห็นได้วา่ ประโยชน์ของผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองขัดกับประโยชน์
ของผูเ้ ยาว์อย่างชัดแจ้ง สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็ นโมฆะ จะบังคับเอาแก่ผเู ้ ยาว์น้ นั ไม่ได้

63
คำพิพากษาฎีกาที่ 181 / 2507
นิติกรรมที่โจทก์ท ำกับจำเลยในขณะที่โจทก์เป็ นผูเ้ ยาว์ แต่มิได้รับความยินยอม
ของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมนั้น เป็ นโมฆียะ เมื่อนิติกรรมนั้นมิได้บอกล้าง จึงมีผลผูกพันโจทก์อยู่

คำพิพากษาฎีกาที่ 244 / 2511


พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีข้ ึนว่ากล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์
มาตรา 1534 ได้ โดยผูเ้ ยาว์ไม่ตอ้ งได้รับความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อน
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิ ได้รับมรดกเสี ยเลย แต่ยอมให้โจทก์ได้รับ
ส่ วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยงกันในเรื่ องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรื อน้อยเท่านั้น จนกระทัง่ ล่วงเลย
กำหนดอายุความมรดก 1 ปี ก็ยงั โต้เถียงกันแต่ในเรื่ องจำนวนเนื้อที่และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บาง
คนซึ่ งเป็ นผูเ้ ยาว์ตอ้ งมีผแู้ ทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น ย่อมถือว่าจำเลยได้ละ
เสี ยแล้วซึ่ งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริ ยาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 192
จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผเู ้ ยาว์จะเสนอ
ข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้
ต้องทำเป็ นหนังสื อยืน่ ต่อศาลนั้น เพื่อรวมไว้ในสำนวนความก็เป็ นเรื่ องที่ผเู ้ ยาว์ใช้สิทธิ ฟ้องร้อง
นัน่ เอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 1638 / 2511


ฟ้ องซึ่ งตั้งรู ปว่า ผูเ้ ยาว์โดยบิดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรมเป็ นโจทก์น้ นั เป็ นเรื่ องผูเ้ ยาว์เป็ น
โจทก์ฟ้องคดีเองโดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่ งอ้างเป็ นบิดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรม ถึงหากจะฟังว่า
บุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และขณะฟ้ องคดีโจทก์ยงั ไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็ น
เรื่ องความสามารถในการฟ้ องคดีของโจทก์ผเู ้ ยาว์บกพร่ อง ซึ่ งศาลมีอ ำนาจสอบสวน และสัง่ แก้ไข
ความบกพร่ องนั้นให้บริ บูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 56 ส่ วนอำนาจของบุคคลซึ่ งอ้างเป็ นบิดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรมนั้น ถ้าไม่มีหรื อไม่ใช่ผแู ้ ทน
โดยชอบธรรม ศาลจะยกฟ้ องหรื อจะสัง่ อย่า งอื่นใดเพื่อ ประโยชน์แห่งความยุติธ รรมโดยไม่ต อ้ ง
ยกฟ้ องคดีกไ็ ด้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66
เมื่อคดีอยูใ่ นระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และฎีกาปรากฎว่าโจทก์ผเู ้ ยาว์บรรลุ
นิติภาวะแล้ว มีอ ำนาจเป็ นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จ ำเป็ นต้องสัง่ ให้โจทก์แก้ไข
เรื่ องความสามารถ

คำพิพากษาฎีกาที่ 1319 / 2512


ผูเ้ ยาว์อายุ 18 ปี มีภริ ยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ย่อมยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ผูเ้ ยาว์ลงนามทำสัญญาโดยมีผแู ้ ทนโดยชอบธรรมลงลายพิมพ์นิ้วมือเป็ นพยานใน
เอกสารสัญญานั้นถือได้วา่ ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว
ทายาททุกคนทำสัญญาแบ่งปั นมรดกซึ่ งไม่มีพินยั กรรม เป็ นการระงับข้อพิพาทแห่งกอง
มรดกที่จะมีข้ ึน จึงเป็ นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 1546 (4) ผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองจะทำ

64
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผูเ้ ยาว์มิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้น เมื่อยัง
มิได้รับอนุญาตจากศาล ผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองในฐานะผูแ้ ทนโดย
ชอบธรรมจึงไม่อาจให้ความยินยอมแก่ผเู ้ ยาว์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
แบ่งปั นมรดก

คำพิพากษาฎีกาที่ 1008 / 2514


การที่จ ำเลยใช้ก ำลังกายประทุษร้ายกอดปล้ำและฉุดคร่ ากระทำอนาจารผูเ้ ยาว์อายุ 13 ปี
บุตรสาวของโจทก์อนั เป็ นการทำละเมิดนั้น ผูไ้ ด้รับความเสี ยหายจากการทำละเมิดก็คือผูเ้ ยาว์ซ่ ึ งถูก
กอดปล้ำและฉุดคร่ ากระทำอนาจาร โจทก์ซ่ ึ งเป็ นมารดามิใช่ผเู ้ สี ยหายจากการกระทำละเมิดด้วย จึง
ไม่มีอ ำนาจฟ้ องเรี ยกค่าเสี ยหายเป็ นส่ วนตัว
ตามคำฟ้ องของโจทก์ระบุฐานะของมารดาผูเ้ ยาว์ซ่ ึ งเป็ นโจทก์ไว้วา่ “นางวิง ยังสุ ข ใน
ฐานะส่ วนตัวและมารดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิงมะลิวลั ย์ ยังสุ ข ผูเ้ ยาว์” แสดงชัดแจ้งว่า
มารดาเป็ นโจทก์ฟ้องจำเลยในสองฐานะ คือ ฟ้ องในฐานะส่ วนตัวฐานะหนึ่งกับฟ้ องแทนผูเ้ ยาว์ใน
ฐานะที่เป็ นมารดาผูแ้ ทนโดยชอบธรรมอีกฐานะหนึ่ง คำฟ้ องนั้นจึงเป็ นคำฟ้ องของผูเ้ ยาว์โดยมารดา
ฟ้ องแทนอีกด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 2425 / 2516


การขายอสังหาริ มทรัพย์ของเด็กผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองจะทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตและ
ผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองจะให้ความยินยอมแก่เด็กโดยรับอนุญาตจากศาลก็ไม่อาจทำได้เช่นเดียวกัน ทั้ง
การขายนั้นหมายความรวมถึงสัญญาจะขายอสังหาริ มทรัพย์ของเด็กด้วยเมื่อผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองไม่มี
อำนาจที่จะทำได้ สัญญาจะขายอสังหาริ มทรัพย์ของเด็กย่อมไม่ผกู พันเด็ก เด็กจะอ้างว่าผูจ้ ะซื้ อผิด
สัญญาและจะริ บมัดจำหาได้ไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 553 / 2518
โจทก์ท้ งั สองเป็ นผูเ้ ยาว์ บิดาตายไปแล้ว มารดาโจทก์ไปกูเ้ งินจำเลยและได้น ำโฉนด
ที่ดินของโจทก์ไปให้จ ำเลยยึดถือไว้เป็ นประกันโดยโจทก์รู้เห็นยินยอม กรณี เช่นนี้ไม่อยูภ่ ายใต้
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 1546 และตามพฤติการณ์ถือได้วา่ มารดาผู ้
ใช้อ ำนาจปกครองโจทก์ได้ให้ความยินยอมในการการทำดังกล่าวนั้น ถึงแม้วา่ โจทก์มิใช่ผกู ้ เู้ งินจาก
จำเลย จำเลยก็มีสิทธิที่จะยึดโฉนดของโจทก์ไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 2302 / 2518
ข้อที่วา่ ผูเ้ สี ยหายมีส่วนร่ วมในการประมาทด้วยหรื อไม่ แม้จ ำเลยจะมิได้ต่อสู ้ไว้ในคดี
อาญา ก็ไม่ตดั สิ ทธิจ ำเลยที่ยกขึ้นเป็ นข้อต่อสู ้ในคดีแพ่ง
ผูเ้ ยาว์ถูกจำเลยขับรถชนได้รับอันตราย มารดาดำเนินคดีแทนผูเ้ ยาว์โดยฟ้ องเรี ยกค่าเสี ย
หาย มิได้ฟ้องในนามของมารดาเองเป็ นการส่ วนตัว เท่ากับผูเ้ ยาว์เป็ นโจทก์ฟ้องคดีนนั่ เอง เมื่อผูเ้ ยาว์
ยังมิได้รับความยินยอมจากบิดา จึงเป็ นการบกพร่ องในเรื่ องความสามารถตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสอง ศาลมีอ ำนาจสอบสวนในเรื่ องความสามารถของคู่ความและ
มีค ำสัง่ ให้แก้ไขข้อบกพร่ องได้ หาใช่วา่ ฟ้ องของโจทก์เสี ยไปเพราะเป็ นการดำเนินคดีโดยผูไ้ ม่มี
อำนาจไม่ การที่ศาลชั้นต้นสัง่ ให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่ องในเรื่ องความสามารถจึงชอบแล้ว
65
คำพิพากษาฎีกาที่ 583 / 2525
ศาลชั้นต้นมีค ำสัง่ เพิกถอนการรับคำให้การของจำเลย เพราะจำเลยเป็ นผูเ้ ยาว์และมีค ำ
สัง่ ใหม่วา่ จำเลยขาดนัดยืน่ คำให้การ ครั้นเมื่อผูร้ ับรองได้เป็ นผูแ้ ทนเฉพาะคดีแล้ว มิได้ร้องคัดค้าน
หรื อขอให้เพิกถอนคำสัง่ ดังกล่าวนั้น โดยอ้างว่าขณะที่ศาลสัง่ นั้นจำเลยยังไม่มีผแู ้ ทนโดยชอบธรรม
ดำเนินคดีแทน และเมื่อศาลดำเนินการพิจารณาสื บพยานโจทก์น้ นั ผูร้ ้องได้เป็ นผูแ้ ทนเฉพาะคดีแล้ว
ทนายจำเลยก็ยงั ได้ซกั ค้านพยานโจทก์จนเสร็ จสิ้ น จึงถือได้วา่ ผูร้ ้องในฐานะผูแ้ ทนเฉพาะคดีของจำเลย
ได้ให้สตั ยาบันต่อคำสัง่ ว่าขาดนัดยืน่ คำให้การนั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 27 วรรคสอง คำสัง่ ว่าขาดนัดยืน่ คำให้การนั้นจึงเป็ นคำสัง่ ที่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลย
จึงมีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็ นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น

ข้ อยกเว้นนิติกรรมที่ผู้เยาว์ สามารถทำได้ โดยลำพัง


1. นิติกรรมที่เป็ นคุณประโยชน์ แก่ ผู้เยาว์ ฝ่ายเดียว
มาตรา 22 ผูเ้ ยาว์อาจทำการใดๆทั้งสิ้ น หากเป็ นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่ งสิ ทธิ อนั ใดอัน
หนึ่ง หรื อเป็ นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อนั ใดอันหนึ่ง
ต้องเป็ นกรณี ที่ผเู้ ยาว์ได้สิทธิ หรื อหลุดพ้นหน้าที่อนั ใดอันหนึ่ง โดยไม่มีเงื่อนไข
หรื อภาระติดพันใด ๆ ทั้งสิ้ น เช่น มีคนยกทรัพย์สินให้ผเู ้ ยาว์โดยเสน่หา ผูเ้ ยาว์ท ำนิติกรรมรับ
ทรัพย์สินนั้นได้โดยลำพัง แต่ถา้ มีเงื่อนไขว่าจะต้องสมรสกับผูใ้ ห้ หรื อต้องเลี้ยงดูผใู ้ ห้ตลอดชีวิตของ
ผูใ้ ห้ เช่นนี้ ผูเ้ ยาว์ตอ้ งขอความยินยอมก่อน

คำพิพากษาฎีกาที่ 1074 / 2477


การถอนฟ้ องเป็ นนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 112 เพราะ
เป็ นการระงับซึ่ งสิ ทธิที่จะดำเนินคดีต่อไป ไม่เหมือนกับการร้องทุกข์ ซึ่ งไม่ใช่นิติกรรมตาม ป.พ.พ.
และตามมาตรา 21 ผูเ้ ยาว์อายุ 15 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หามีอ ำนาจถอนฟ้ องโดยมิได้รับความ
ยินยอมของผูป้ กครองได้ไม่ ทั้งการขอถอนฟ้ องมิได้อยูใ่ นจำพวกข้อยกเว้นในมาตรา 22 ถึง 25 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ ฉะนั้น ผูเ้ ยาว์ซ่ ึ งเป็ นเจ้าทุกข์จะมาร้องขอถอนฟ้ องโดยพลการ
ตนเองหาได้ไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 994 / 2485


ภรรยาน้อยไปทำสัญญารับสภาพหนี้ของผูต้ ายโดยตนมิได้เป็ นผูจ้ ดั การทรัพย์มรดก
หรื อเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผูร้ ้องซึ่ งเป็ นบุตรภรรยาหลวง สัญญานั้นย่อมไม่ผกู มัดผูร้ ้องในอัน
ที่จะมีส่วนได้ในมรดกด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 1497 / 2498


ผูร้ ้องทั้งสี่ เป็ นผูเ้ ยาว์ อายุ 4 ถึง 9 ปี โดยมารดาซึ่ งเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมได้ยนื่
คำร้องว่าเป็ นบุตรธิดาของนายอัศนีย ์ และนายอัศนียไ์ ด้หายไปจากบ้านเกินกว่า 1 ปี แล้ว ไม่มีผใู ้ ด
66
ทราบว่าเป็ นตายร้ายดีอย่างไรและมิได้ต้ งั ตัวแทนไว้ นายอัศนียเ์ ป็ นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแปลงหนึ่ง
ไม่มีผใู ้ ดดูแลผลประโยชน์ จึงขอให้ศาลตั้งผูร้ ้องทั้งสี่ โดยมีมารดาเป็ นผูแ้ ทนโดยชอบธรรมเป็ นผู ้
จัดการทรัพย์สินของนายอัศนีย ์ กรณี ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22, 23, 24 และ 25 ผูร้ ้องเป็ นผูเ้ ยาว์
จะทำนิติกรรมใดๆ ยังไม่ได้ ให้ยกคำร้อง

2. นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว
มาตรา 23 ผูเ้ ยาว์อาจทำการใด ๆ ได้ท้ งั สิ้ น ซึ่ งเป็ นการต้องทำเองเฉพาะตัว
นิติกรรมที่ผเู้ ยาว์ตอ้ งทำเองเฉพาะตัว หมายถึง นิติกรรมที่มีลกั ษณะเป็ นการส่ วนตัว
ของผูเ้ ยาว์โดยเฉพาะ และต้องเป็ นผูเ้ ยาว์เท่านั้นที่จะทำนิติกรรม ผูอ้ ื่นทำแทนไม่ได้ ลักษณะความ
เป็ นส่ วนตัวนี้ กฎหมายประสงค์ให้เกิดจากการแสดงเจตนาด้วยความบริ สุทธ์ใจของผูเ้ ยาว์เท่านั้น
โดยไม่ให้ผแู้ ทนโดยชอบธรรมเข้ามาก้าวก่ายแสดงเจตนาของผูเ้ ยาว์ เช่น
- การรับรองบุตร ตามาตรา 1547 การที่ผเู ้ ยาว์จะรับรองบุตรของตนเองเป็ นการทำ
หน้าที่อนั สมควรที่พอ่ พึงกระทำต่อลูก เป็ นความสัมพันธ์ระหว่างผูเ้ ยาว์ซ่ ึ งเป็ นบิดากับลูกโดยเฉพาะ
ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผูเ้ ยาว์กม็ ิอาจทำหน้าที่เป็ นบิดาแทนผูเ้ ยาว์ได้ จึงเป็ นนิติกรรมที่ผเู ้ ยาว์ตอ้ งทำ
เองเฉพาะตัว ถึงแม้วา่ การรับรองบุตร เช่นนี้อาจสร้างภาระค่าใช้จ่ายแก่ผเู ้ ยาว์อย่างมากก็ตาม
- การเพิกถอนการสมรส ตามมาตรา 1508 “การสมรสที่เป็ นโมฆียะ เพราะคู่สมรส
สำคัญผิดตัว หรื อถูกกลฉ้อฉล หรื อถูกข่มขู่ เฉพาะคู่สมรสที่สำคัญผิดตัว หรื อถูกกลฉ้อฉล หรื อถูก
ข่มขู่เท่านั้น ขอเพิกถอนการสมรสได้”
- การแสดงเจตนายินยอมเข้าผูกพันเป็ นคู่สญ ั ญาหมั้น ปกติการทำสัญญาหมั้น คู่
สัญญาหมั้นอาจจะเป็ นบิดามารดาของชายตกลงหมั้นกับบิดามารดาของหญิงได้เพราะคู่สญ ั ญาหมั้น
ตามมาตรา 1437 นั้น ใช้ค ำว่าฝ่ ายชาย หรื อฝ่ ายหญิง ดังนั้น คู่สญ ั ญาหมั้นจึงไม่จ ำเป็ นต้องเป็ นตัวชาย
หรื อหญิง แต่เมื่อสัญญาหมั้นเป็ นสัญญาที่น ำไปสู่ การสมรสของชาย และหญิงคู่หมั้น จึงอาจมีกรณี ที่
ชาย และหญิงจะต้องแสดงเจตนายินยอมเข้าผูกพันเป็ นคู่สญ ั ญาหมั้นด้วย การตัดสิ นใจว่าจะยินยอม
หรื อไม่ มีลกั ษณะเป็ นการส่ วนตัวของผูเ้ ยาว์โดยเฉพาะ จึงเป็ นนิติกรรมที่ตอ้ งทำเองเฉพาะตัว ผูแ้ ทน
โดยชอบธรรมตัดสิ นใจแทนไม่ได้
- การแสดงเจตนายินยอมเป็ นคู่สมรส ตามมาตรา 1558 เป็ นนิติกรรมที่ตอ้ งทำเอง
เฉพาะตัว
- การทำพินยั กรรมของผูเ้ ยาว์ การที่ผเู ้ ยาว์จะยกทรัพย์สินให้ใครย่อมเป็ นเรื่ องเฉพาะ
ตัวของผูเ้ ยาว์ คนอื่นทำพินยั กรรมแทนไม่ได้ ดังนั้นผูเ้ ยาว์สามารถทำพินยั กรรมได้โดยลำพัง แต่
กฎหมายได้บญั ญัติคุณสมบัติของคนที่จะทำพินยั กรรมได้ จะต้องอยูใ่ นวัยที่โตพอจะพิจารณารอบ
ครอบยกทรัพย์สินให้ใครได้ ดังนั้น มาตรา 25 จึงกำหนดให้ผเู ้ ยาว์อาจทำพินยั กรรมได้เมื่อมีอายุ 15
ปี บริ บรู ณ์ หากฝ่ าฝื นมีผลให้พินยั กรรมเป็ นโมฆะ ตามมาตรา 1703

คำพิพากษาฎีกาที่ 1074 / 2477


การถอนฟ้ องเป็ นนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 112 เพราะ
เป็ นการระงับซึ่ งสิ ทธิที่จะดำเนินคดีต่อไป ไม่เหมือนกับการร้องทุกข์ซ่ ึ งไม่ใช่นิติกรรมตาม
ป.พ.พ.และมาตรา 21 ผูเ้ ยาว์อายุ 15 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หามีอ ำนาจถอนฟ้ องโดยมิได้รับความ
ยินยอมของผูป้ กครองได้ไม่ ทั้งการขอถอนฟ้ องมิได้อยูใ่ นจำพวกข้อยกเว้นในมาตรา 22 ถึง 25
67
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ ฉะนั้นผูเ้ ยาว์ซ่ ึ งเป็ นเจ้าทุกข์จะมาร้องขอถอนฟ้ องโดยพลการ
ตนเองหาได้ไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 1497 / 2498


บุตรผูเ้ ยาว์ของบุคคลซึ่ งไปเสี ยจากภูมิล ำเนาโดยมิได้ต้ งั ตัวแทนไว้ และไม่มีใครรู ้วา่ เป็ น
ตายร้ายดีอย่างไรนั้น จะยืน่ คำร้องขอให้ศาลตั้งตนเป็ นผูจ้ ดั การทรัพย์สินของบุคคลนั้นโดยมารดาผู ้
แทนโดยชอบธรรมย่อมไม่ได้ เพราะกรณี เช่นนี้ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิ ชย์ มาตรา 22, 23, 24 และ 25 ที่ผเู ้ ยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ได้
ข้อสังเกต คำว่า “นิติกรรมที่ผเู ้ ยาว์ตอ้ งทำเองเฉพาะตัว” ตามมาตรา 23 ไม่ใช่เป็ น
“หนี้ที่ผเู้ ยาว์ตอ้ งชำระเอง” ตามมาตรา 1572 “ผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดย
มิได้รับความยินยอมของบุตรไม่ได้” เช่น บิดามารดาจะทำสัญญารับจ้างถ่ายละครแทนผูเ้ ยาว์ที่เป็ น
ดาราละคร โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบุตรผูเ้ ยาว์มิได้ เพราะเป็ นหนี้ ที่ผเู ้ ยาว์จะต้องกระทำการ
เล่นละครเองตามมาตรา 1572 และถ้าผูเ้ ยาว์จะทำสัญญารับจ้างโดยมิได้รับความยินยอมของบิดา
มารดาไม่ได้ เพราะไม่ใช่นิติกรรมที่เป็ นเรื่ องส่ วนตัวของผูเ้ ยาว์ที่ผเู ้ ยาว์ตอ้ งทำเองเฉพาะตัว คนอื่นทำ
แทนให้ไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 927 / 2485


ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผูเ้ ยาว์กูย้ มื แทนผูเ้ ยาว์ เอาทรัพย์ของผูเ้ ยาว์ไปเป็ นประกันเงินกู้
ไม่ จำต้องขออนุญาตต่อศาล ดังที่บญั ญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1546 (3) เพราะไม่ใช่กรณี ที่เอา
ทรัพย์ของผูเ้ ยาว์ไปให้กูย้ มื

3. นิติกรรมที่จำเป็ นเพือ่ การเลีย้ งชีพของผู้เยาว์


มาตรา 24 ผูเ้ ยาว์อาจทำการใดๆ ได้ท้ งั สิ้ น ซึ่ งเป็ นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน
และเป็ นการอันจำเป็ นในการดำรงชีพตามสมควร

หลักเกณฑ์
1. ต้องเป็ นนิติกรรมที่จ ำเป็ นเพื่อการเลี้ยงชีพ หมายถึง การทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับ
ปั จจัยแห่งการดำรงชีพ เช่น การจัดหาปั จจัยสี่ การซื้ ออาหาร เสื้ อผ้า ยารักษาโรค การเสี ยค่า
ธรรมเนียมการศึกษา เป็ นต้น
2. ต้องสมแก่ฐานานุรูปของผูเ้ ยาว์ ซึ่ งต้องพิจารณาฐานะ และรายได้ของผูเ้ ยาว์
ประกอบเป็ นราย ๆ ไป เช่น การที่ผเู้ ยาว์ซ้ื อรถจักรยานเพื่อขี่มาโรงเรี ยน น่าจะเป็ นการเพื่อการเลี้ยง
ชีพ และสมแก่ฐานานุรูปของผูเ้ ยาว์ แต่ถา้ ผูเ้ ยาว์ซ้ื อรถมอร์เตอร์ไซค์ ซึ่ งต้องผ่อนส่ งเดือนละ 3,500
บาท ในขณะที่ผเู้ ยาว์ยงั ไม่มีรายได้ทางอื่น นอกจากได้รับเงินรายเดือนจากทางบ้าน เดือนละ 4,000
บาท น่าจะไม่ถือว่าสมแก่ฐานานุรูปของผูเ้ ยาว์
คำพิพากษาฎีกาที่ 856 – 857/2497
เมื่อประกาศใช้ประมวลแพ่งและพาณิ ชย์ บรรพ 5 แล้ว อำนาจของผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
ของผูเ้ ยาว์ที่บญั ญัติไว้ในมาตรา 21 ได้ถูกจำกัดอำนาจลงตามลักษณะ และรายการตามที่ระบุไว้ใน
มาตรา 1546 (เดิมเปลี่ยนเป็ นมาตรา 1574 ใหม่)

68
การห้ามขายที่ดินของเด็กซึ่ งต้องขออนุญาตศาลก่อน ตามมาตรา 1546 นั้น หมายความ
รวมถึงสัญญาจะขายที่ดินด้วย
การขายที่ดินของผูเ้ ยาว์ โดยอ้างว่าเอาเงินไปใช้จ่ายในการศึกษาของเด็กเข้าลักษณะที่
เป็ นการสมควรแก่ฐานานุรูป และเป็ นการอันจำเป็ นเพื่อความเจริ ญในอนาคตของเด็ก ตามมาตรา 24
ซึ่ งอนุญาตไว้วา่ แม้เด็กจะทำนิติกรรมเองก็ยงั ได้น้ นั เมื่อมาตรา 1546 ห้ามผูป้ กครองขายที่ดินของ
เด็กโดยลำพังแล้ว เด็กขายที่ดินของเด็กโดยลำพังเองก็ท ำไม่ได้ มาตรา 1546 เป็ นบทยกเว้นทัว่ ไป
ของมาตรา 24 ด้วยเหมือนกัน ความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมก็ใช้ไม่ได้
ผูเ้ ยาว์ท ำสัญญาจะขายที่ดินของผูเ้ ยาว์แก่ผซู ้ ้ื อ และมอบที่ดินให้ผซู ้ ้ื อไปจัดหาผล
ประโยชน์มาแบ่งกับผูเ้ ยาว์น้ นั โดยผูแ้ ทนโดยชอบธรรมยินยอม นิติกรรมอันเกี่ยวกับการจัดหาผล
ประโยชน์มาแบ่งกัน แยกได้จากการซื้ อขาย ไม่ตอ้ งห้าม ตามมาตรา 1546 จึงเป็ นการสมบูรณ์ มาตรา
21 (มาตรา 1546 เดิม เปลี่ยนเป็ น มาตรา 1574)
ถ้าเป็ นกิจการตามที่ระบุในมาตรา 1574 แม้จะจำเป็ นเพื่อการเลี้ยงชีพและสมแก่
ฐานานุรูป ผูเ้ ยาว์กไ็ ม่อาจทำเองโดยลำพัง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา 1574 เสี ยก่อน ดัง
นั้น มาตรา 1574 จึงเป็ นข้อยกเว้น มาตรา 24 ดังฎีกาข้างต้นนี้

2. ผู้แทนโดยชอบธรรม (Legal representative) ได้ แก่


2.1 ผู้ใช้ อำนาจปกครอง (person exercising parental power)
2.2 ผู้ปกครอง (guardian)

2.1 ผู้ใช้ อำนาจปกครอง หมายถึง บุคคลที่กฎหมายให้อ ำนาจปกครองทั้งในทาง


ส่ วนตัว และในทางทรัพย์สินของผูเ้ ยาว์ อำนาจปกครองจะอยูก่ บั บิดาและมารดา ตามาตรา 1566
“บุตรซึ่ งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยูใ่ ต้อ ำนาจปกครองของบิดามารดา”
ยกเว้น อำนาจปกครองอยูก่ บั บิดา หรื อมารดาในกรณี ดงั ต่อไปนี้
(1) มารดา หรื อบิดาตาย
(2) ไม่แน่นอนว่ามารดาหรื อบิดามีชีวิตอยูห่ รื อตาย
(3) มารดาหรื อบิดาถูกศาลสัง่ ให้เป็ นคนไร้ความสามารถ หรื อเสมือนไร้
ความสามารถ
(4) มารดา หรื อบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟื อน
(5) ศาลสัง่ ให้อ ำนาจปกครองอยูก่ บั บิดาหรื อมารดา
(6) บิดา และมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
นอกจากนี้ ยังมีกรณี ที่อ ำนาจปกครองอาจจะอยูก่ บั บิดา หรื อมารดา ได้แก่
1. กรณี เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ถือว่าเด็กเป็ นบุตรชอบด้วย
กฎหมายของหญิงเสมอ ตามมาตรา 1546 มารดาเท่านั้นจึงเป็ นผูใ้ ช้อ ำนาจ
ปกครองบุตร
2. กรณี ที่บุตรติดมาเมื่อสมรสใหม่ อำนาจปกครองยังคงอยูก่ บั บุคคลที่บุตร
ติดมา ตาม มาตรา 1568

69
3. ตามข้อตกลงสัญญาหย่าด้วยความยินยอม ระบุให้อ ำนาจปกครองอยูก่ บั
บิดา หรื อมารดา ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็ นผูส้ ัง่ ชี้ขาด รวมทั้งกรณี มีค ำ
พิพากษาให้หย่าและชี้ขาดให้บิดา หรื อมารดาเป็ นผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองบุตร
4. มีกรณี ที่ให้ศาลสัง่ ให้อ ำนาจปกครองอยูก่ บั บิดา หรื อมารดา เช่น บิดา หรื อ
มารดาใช้อ ำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวผูเ้ ยาว์โดยมิชอบ หรื อประพฤติชวั่ ร้าย
ตามมาตรา 1582

2.2 ผู้ปกครอง (Guardian) หมายถึง บุคคลที่ศาลตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ปกครอง


ทั้งในทางส่ วนตัว และในทางทรัพย์สินของผูเ้ ยาว์ ในกรณี ที่ผเู ้ ยาว์ไม่มีผใู ้ ช้อ ำนาจปกครอง หรื อ ผูใ้ ช้
อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครอง ซึ่ งอาจจะมีคนเดียว หรื อ หลายคนร่ วมกันก็ได้
มาตรา 1585 “บุคคลที่ยงั ไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดา หรื อบิดามารดา
ถูกถอนอำนาจปกครองเสี ยแล้วนั้น จะจัดให้มีผปู ้ กครองขึ้นในระหว่างที่เป็ นผูเ้ ยาว์กไ็ ด้
- จะมีผปู้ กครอง หรื อไม่กไ็ ด้ ไม่ใช่บทบังคับว่าจะต้องมีผปู ้ กครอง
- แต่จะมีได้ผปู้ กครองในกรณี ที่ผใู ้ ช้อ ำนาจปกครองตาย หรื อถูกถอนอำนาจ
ปกครองทั้งหมด (1585 วรรค 1)
- มีได้ในกรณี ถูกอำนาจปกครองบางส่ วนอาจตั้งผูป้ กครองเฉพาะส่ วนที่ถูกถอน
อำนาจปกครองได้ (1585 วรรค 2)
- โดยปกติผปู้ กครองมีคนเดียว ยกเว้นพินยั กรรมตั้งผูป้ กครองระบุวา่ หลายคน
(1590)
- ยกลูกเป็ นบุตรบุญธรรมคนอื่น อำนาจปกครองหมดไป การยกเลิกการเป็ นบุตร
บุญธรรม อำนาจปกครองไม่กลับสู่ บิดา – มารดาเป็ นผูป้ กครอง

อำนาจหน้ าที่ของผู้ใช้ อำนาจปกครอง ผู้ปกครอง ตามมาตรา 1598/3


1. ในทางส่ วนตัว (มาตรา 1567) ได้แก่ - ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม
- กำหนดภูมิล ำเนา (มาตรา 44)
- อุปการะเลี้ยงดู
- ให้การศึกษา
- ว่ากล่าว / สัง่ สอน
- ให้บุตรทำงานตามสมควร
2. ในทางทรัพย์สิน มาตรา (1571) จัดการทรัพย์สินแทนผูเ้ ยาว์ โดยใช้ความ
ระมัดระวังในการจัดการทรัพย์สินของผูเ้ ยาว์ในระดับของวิญญูชนจะพึง กระทำ

ข้ อยกเว้นอำนาจหน้ าที่ของผู้ใช้ อำนาจปกครอง ผู้ปกครอง


1. ผูโ้ อนทรัพย์สินให้ผเู้ ยาว์ ระบุเงื่อนไขให้ผอู ้ ื่นเป็ นผูจ้ ดั การทรัพย์สิน (มาตรา 1577)
2. ผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองสละมรดก (มาตรา 1615 , 1616 และ 1577)
3. หนี้ที่ผเู้ ยาว์ตอ้ งชำระเอง (มาตรา 1572)
4. ประโยชน์ของผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองขัดต่อผูเ้ ยาว์ (มาตรา 1575)
5. กิจการที่กฎหมายกำหนดให้ขออนุญาตต่อศาล ตามมาตรา 1574
70
- ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน
- ขออนุญาตภายหลัง น่าจะทำได้ ( ความเห็นของศ. จิตติ ติงศภัทิย)์
- การฝ่ าฝื น มาตรา 1574 ผลไม่สมบูรณ์ ไม่ผกู พันผูเ้ ยาว์ แต่ระหว่างผูใ้ ช้อ ำนาจ
ปกครอง กับบุคคลภายนอกบังคับได้ (ฎีกาที่ 1903/2514) ไม่ใช่โมฆียะ
- ต้องทั้งบิดา และมารดา ตามมาตรา 1566 เป็ นผูข้ ออนุญาต
มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผูเ้ ยาว์ดงั ต่อไปนี้ ผูใ้ ช้อ ำนาจ
ปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
(๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้ อ จำนอง ปลดจำนอง หรื อโอนสิ ทธิ จ ำนอง ซึ่ ง
อสังหาริ มทรัพย์หรื อสังหาริ มทรัพย์ที่อาจจำนองได้
- คำว่าขาย รวมถึงจะขายด้วย
- รถยนต์ ปื น หุน้ ไม่ใช่ สังหาริ มทรัพย์พิเศษ
- การรับจำนอง ไม่เข้ามาตรา 1574 (1 ) ยกเว้นว่ารับจำนองโดยให้กยู้ มื เงิน
(๒) กระทำให้สุดสิ้ นลงทั้งหมดหรื อบางส่ วน ซึ่ งทรัพยสิ ทธิ ของผูเ้ ยาว์อน ั เกี่ยวกับ
อสังหาริ มทรัพย์
(๓) ก่อตั้งภาระจำยอม สิ ทธิ อาศัย สิ ทธิ เหนื อพื้นดิน สิ ทธิ เก็บกิน ภาระติดพันใน
อสังหาริ มทรัพย์ หรื อทรัพยสิ ทธิอื่นใดในอสังหาริ มทรัพย์
(๔) จำหน่ายไปทั้งหมดหรื อบางส่ วนซึ่ งสิ ทธิ เรี ยกร้องที่จะให้ได้มาซึ่ งทรัพยสิ ทธิ ใน
อสังหาริ มทรัพย์ หรื อสังหาริ มทรัพย์ที่อาจจำนองได้ หรื อสิ ทธิ เรี ยกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้น
ของผูเ้ ยาว์ปลอดจากทรัพยสิ ทธิที่มีอยูเ่ หนือทรัพย์สินนั้น
(๕) ให้เช่าอสังหาริ มทรัพย์เกินสามปี

- ถ้าเช่าสังหาริ มทรัพย์ท ำได้ หรื อถ้าให้เช่าอสังหาริ มทรัพย์เกินสามปี บังคับได้ 3 ปี


(๖) ก่อข้อผูกพันใด ๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (๑) (๒) หรื อ (๓)เช่น สัญญาจะซื้ อจะขาย
(๗) ให้กยู้ ม
ื เงิน
- แต่พอ่ แม่กยู้ มื เงินเพื่อประโยชน์ของผูเ้ ยาว์ ผูเ้ ยาว์ตอ้ งผูกพัน
(๘) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผูเ้ ยาว์ให้แทนผูเ้ ยาว์เพื่อการกุศล
สาธารณะ เพื่อการสังคม หรื อตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผูเ้ ยาว์
(๙) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรื อค่าภาระติดพัน หรื อไม่รับการให้โดย
เสน่หา
(๑๐) ประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้ผเู ้ ยาว์ตอ้ งถูกบังคับชำระหนี้หรื อทำ
นิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผเู้ ยาว์ตอ้ งรับเป็ นผูร้ ับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรื อแทนบุคคลอื่น
(๑๑) นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณี ที่บญ ั ญัติไว้ในมาตรา
๑๕๙๘/๔ (๑) (๒) หรื อ (๓) เช่น ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์, รับจำนอง, รับขายฝาก เกินกึ่งราคาตลาด
ของอสังหาริ มทรัพย์
71
(๑๒) ประนี ประนอมยอมความ
- ถ้าประนี ประนอมยอมความในศาลไม่ตอ้ งขออนุญาตจากศาลก่อน แต่ถา้ เป็ น
ประนีประนอมยอมความนอกศาลต้องขอก่อนจึงจะทำได้
(๑๓) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
อนึ่ง กรณี ที่ผเู้ ยาว์มีผปู้ กครอง มีอายุไม่ต ่ำกว่า 15 ปี บริ บูรณ์ เมื่อผูป้ กครองจะทำกิจการใด
ที่สำคัญให้ปรึ กษาผูอ้ ยูใ่ นความปกครองก่อนเท่าที่จะทำได้ มาตรา 1598/5

การสิ้นสุ ดอำนาจปกครองของ บิดา – มารดา


1. ผูเ้ ยาว์ตาย
2. ผูเ้ ยาว์บรรลุนิติภาวะ
3. ผูใ้ ช้อ ำนาจปกครองตาย
4. ถูกถอนอำนาจปกครองด้วยเหตุต่างๆ เช่น เป็ นผูไ้ ร้ความสามารถ ประพฤติชวั่
(มาตรา 1592) ล้มละลาย ฯลฯ
5. บุตรเป็ นบุตรบุญธรรมคนอื่น (มาตรา 1598/28)
สำหรับกรณี ของผูป้ กครอง จะมีหลักเกณฑ์ท ำนองเดียวกับการสิ้ นสุ ดอำนาจปกครอง
ของบิดา ตามมาตรา 1598/6, 1598/7 และ 1598/8

3. การให้ ความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
ความยินยอมของผู้แทนของผู้แทนโดยชอบธรรม [ มาตรา 1566 ]
อำนาจปกครองโดยปกติแล้วอยูท่ ี่บิดา – มารดา เพราะฉะนั้น ต้องได้รับความยินยอม
จากทั้งบิดาและมารดา
ข้อยกเว้น ถ้าบิดา หรื อมารดาตาย อำนาจอยูท่ ี่บิดา หรื อมารดาที่ยงั มีชีวิตอยู่ ต้องได้รับ
ความยินยอมจากบิดา หรื อมารดานั้น
ถ้าบิดา หรื อมารดา ถูกศาลสัง่ ให้เป็ นบุคคลไร้ความสามารถ แต่คนวิกลจริ ตที่ศาลยังไม่
สัง่ นั้น ยังมีอ ำนาจปกครองบุตร จนกว่าจะถูกศาลสัง่ ให้เป็ นคนไร้ความสามารถ
การให้ความยินยอมต้องให้ก่อนการมีนิติกรรมเกิดขึ้น แต่ถา้ ให้ในภายหลังเป็ นการให้
สัตยาบัน
แบบของการให้ ความยินยอม
ความยินยอมเป็ นนิติกรรมที่ไม่ตอ้ งทำตามแบบ จะให้ดว้ ยวาจา หรื อเป็ นลายลักษณ์
อักษรก็ได้ และจะเป็ นการให้โดยชัดแจ้ง หรื อโดยปริ ยายก็ได้

ฎีกาที่ 1319/2521 มารดาเซ็นเป็ นพยานในนิติกรรมเป็ นการให้ความยินยอมโดยปริ ยาย


ข้อยกเว้นการให้ความยินยอมในการสมรสนั้นต้องทำตามแบบ ตามมาตรา 1454 , 1455
การยินยอมในการทำนิติกรรม ตามมาตรา 1574 ต้องขออนุญาตจากศาล บิดามารดาให้
ความยินยอมให้ผเู้ ยาว์ท ำไม่ได้ และทำแทนผูเ้ ยาว์กไ็ ม่ได้ เพราะยิง่ ต้องเป็ นเช่นนั้น คือยิง่ ต้องขอ
อนุญาตจากศาล
การให้ความยินยอมเป็ นการทัว่ ไป ได้ หรื อไม่?

72
ความยินยอมเป็ นการทัว่ ไปเป็ นโมฆะใช้บงั คับไม่ได้ เพราะกฎหมายต้องการให้มีการ
ให้ความยินยอมเป็ นกรณี ฯ ไป ซึ่ งแต่ละครั้งนั้นจะมีขอบเขตเพียงใดก็ได้
การให้ความยินยอมนั้น ถอนได้หรื อไม่?
เช่น พ่อให้เงินลูก 500 บาท ไปซื้ ออะไรก็ได้ จะถอนคืนได้หรื อไม่
การให้ความยินยอมนั้น จะถอนเมื่อใดก็ได้ แต่จะต้องถอนก่อนจะเข้าทำนิติกรรม ถ้ามี
นิติกรรมเกิดขึ้นแล้วไม่มีสิทธิถอน ถ้าถอนพร้อมกันนั้นก็เป็ นไปไม่ได้ เพราะคำเสนอคำสนองตก
ต้องตรงกัน มีนิติกรรมเกิดขึ้นแล้ว
ข้อยกเว้นของการให้ความยินยอมที่ไม่สามารถถอนความยินยอมได้ ได้แก่ การให้ความ
ย นิ ย อ ม ใ น ก า ร ท ำ ก า ร ส ม ร ส ต า ม ม า ต ร า 1455
และการให้ความยินยอมทำการค้าตาม มาตรา 27 วรรค 3 เว้นแต่การประกอบธุรกิจหรื อ
การงานที่ได้รับความยินยอมก่อให้เกิดความเสี ยหายถึงขนาด หรื อเสื่ อมเสี ยแก่ผเู ้ ยาว์ ผูแ้ ทนโดยชอบ
ธ ร ร ม อ า จ บ อ ก เ ล ิก ค ว า ม ย นิ ย อ ม ท ี่ไ ด ใ้ ห แ้ ก ่ผ เู ้ ย า ว เ์ ส ี ย ไ ด ้
ถ้าขอความยินยอมแล้วบิดา – มารดาไม่ให้ความยินยอม ผูเ้ ยาว์จะขอให้ศาลอนุญาตได้
หรื อไม่?
มีกรณี ที่กฎหมายบัญญัติตามมาตรา 1456 ผูเ้ ยาว์อาจจะขอให้ศาลสัง่ อนุญาตให้ท ำการ
สมรสได้ ซึ่ งเป็ นกรณี ที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็ นพิเศษ
ส่ วนในกรณี ทวั่ ไปนั้น จะขอให้ศาลอนุญาตไม่ได้ และจะตีความเทียบเคียงมาตรา 1456
ก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เหตุผลทำนองเดียวกัน
สิ ทธิในการให้ความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรม เป็ นสิ ทธิ เฉพาะตัวของผูแ้ ทนโดย
ชอบธรรม ศาลไม่มีอ ำนาจให้ความยินยอมแทนผูแ้ ทนโดยชอบธรรม ยกเว้นกรณี กฎหมายบัญญัติให้
สิ ทธิ ฟ้องศาลให้อนุญาตแทนได้ ดังบัญญัติตามมาตรา 27 ผูเ้ ยาว์ท ำการค้า และมาตรา 1456 ในกรณี
การสมรส
ถ้าบิดามารดา ประพฤติชวั่ ใช้อ ำนาจปกครองโดยมิชอบ จะถอนอำนาจปกครองบางส่ วน
หรื อทั้งหมดก็ได้ แต่ผเู้ ยาว์กต็ อ้ งได้รับความยินยอมจากผูป้ กครองอยูด่ ีในกรณี ที่ศาลตั้งผูป้ กครอง หรื อ
ขออนุญาตศาลให้ท ำนิติกรรมไปพลางก่อนได้
กรณี ที่ถึงแม้จะเป็ นนิติกรรม แต่กไ็ ม่ตอ้ งขอความยินยอม ถ้าเป็ นการทำนิติกรรมที่ท ำ
ในนามของผูอ้ ื่น นิติกรรมนั้นไม่ผกู พันผูเ้ ยาว์ แต่ผกู พันผูท้ ี่ผเู ้ ยาว์ท ำแทน
เพราะฉะนั้น ตัวการมอบอำนาจให้ตวั แทนที่เป็ นผูเ้ ยาว์ไปทำนิติกรรมแทนนั้น ผูเ้ ยาว์ที่
เป็ นตัวแทนไม่ตอ้ งขอความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบธรรมในการทำนิติกรรมนั้น
แต่ผเู้ ยาว์จะเข้าเป็ นตัวแทนของผูอ้ ื่นนั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากผูแ้ ทนโดยชอบ
ธรรมด้วย เพราะตัวแทนนั้นอาจต้องรับผิดในการที่ได้ท ำแทนตัวการแล้วเกิดความเสี ยหาย

ข อ บ เ ข ต ท ี่ใ ห ้ ค ว า ม ย นิ ย อ ม ม า ต ร า 26
มาตรา 26 ถ้ าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ ผู้เยาว์ จำหน่ ายทรัพย์ สินเพือ่ การอันใด
อันหนึ่งอันได้ ระบุให้ ผู้เยาว์จะจำหน่ ายทรัพย์ สินนั้นเป็ นประการใดภายในขอบของการที่ระบุให้ น้ันก็
ทำได้ ตามใจสมัคร อนึ่ง ถ้ าได้ รับอนุญาตให้ จำหน่ ายทรัพย์ สินโดยมิได้ ระบุว่าเพือ่ การอันใด ผู้เยาว์ ก็
จำหน่ ายได้ ตามใจสมัคร

73
ข อ บ เ ข ต ท ี่ใ ห ค้ ว า ม ย นิ ย อ ม ม า ต ร า 26
1. ระบุการอันใดอันหนึ่ง ผูเ้ ยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็ นประการใดภายในขอบ
ของการที่ระบุให้น้ นั ก็ท ำได้ตามใจสมัคร
2. ถ้าได้รับอนุญาตให้จ ำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุวา่ เพื่อการอันใด ผูเ้ ยาว์ก็
จำหน่ายได้ตามใจสมัคร

คำพิพากษาฎีกาที่ 927 / 2485


จำเลยที่ 1 อายุ 19 ปี จำเลยที่ 2 อายุ 15 ปี อยูใ่ นความปกครองของจำเลยที่ 3 และที่
4 ผูเ้ ป็ นบิดามารดา จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ไปทำสัญญาต่อกรมการอำเภอในนามผูแ้ ทนโดยชอบ
ธรรมของจำเลยทั้งสอง กูเ้ งินโจทก์ และได้มอบโฉนดซึ่ งมีชื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็ นเจ้าของ
โฉนดให้โจทก์ยดึ ไว้เป็ นประกันด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในหนังสื อรับรองว่าได้รู้
เห็นยินยอมให้จ ำเลยที่ 3 ที่ 4 กูเ้ งินรายนี้จากโจทก์น้ นั ได้พิเคราะห์ดู ป.พ.พ. มาตรา 1546 (3) แล้ว
เห็นว่า เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ชดั แจ้งแล้วว่าห้ามแต่ให้กอู้ ย่างเดียวที่จะต้องขออนุญาต ถ้าจะไปแปล
ถึงกูก้ ต็ อ้ งขออนุญาตด้วยแล้วก็จะขัดกับตัวบทไป เมื่อตามกฎหมาย จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ตอ้ งขอ
อนุญาตศาล และทั้งเจ้าหนี้กใ็ ห้กไู้ ปโดยสุ จริ ต จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ตอ้ งรับผิดด้วย
4. ผ ล บ ัง ค บั เ ม ื่อ ไ ม ่ ไ ด ้ ร ับ ค ว า ม ย นิ ย อ ม
ผลคือนิติกรรมตกเป็ นโมฆียะ กล่าวคือ นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์มีผลบังคับไปเรื่ อย ๆ
จนกว่า จะมีก ารบอกล้า งให้เ ป็ น โมฆะ หรื อ อาจให้ส ตั ยาบ นั ให้ม ีผ ลสมบูร ณ์ต ลอดไป
การบอกล้าง คือการแสดงเจตนาให้นิติกรรมที่เป็ นโมฆียะตกเป็ นโมฆะเสี ยเปล่าให้คู่
กรณี กลับคืนสู่ ฐานะเดิม เช่น ผูเ้ ยาว์ซ้ื อรถยนต์โดยไม่ได้รับความยินยอม เมื่อ พ่อแม่บอกล้าง ทำให้
เป็ นโมฆะ คู่กรณี กลับคืนสู่ ฐานะเดิม เอารถคืนไป เอาเงินคืนมา
ถ้าเป็ นการพ้นวิสยั ที่จะกลับคืนสู่ ฐานะเดิมได้ ก็ให้ชดใช้คา่ เสี ยหายกันไป เช่น หัก
ค่าเสื่ อมราคา (มาตรา 176)

ความแตกต่ างระหว่ างโมฆะกับโมฆียะ


โมฆะ โมฆียะ
1. เสี ยเปล่าเสมือนไม่ได้ท ำ 1. สมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้างให้เป็ นโมฆะภายหลัง
2. ผูม้ ีส่วนได้เสี ยคนใดก็ได้กล่าวอ้างโมฆะ 2. เฉพาะบุคคลตาม มาตรา 175 ที่จะมีสิทธิ บอกล้าง
(มาตรา 172)
3. ไม่อาจให้สตั ยาบันแก่ความเสี ยเปล่าได้ 3. ให้สตั ยาบันได้ (มาตรา 179-180)
4. มีระยะเวลาแสดงเจตนาบอกล้าง
- มาตรา 181 (มิให้บอกล้างได้เมื่อพ้น 1 ปี นับแต่
เวลาที่อาจให้สตั ยาบันได้ หรื อเมื่อพ้น 10 ปี นับ
4. กล่าวอ้างโมฆะได้ทุกเวลา ตลอดไป แต่ได้ท ำนิติกรรมอันเป็ นโมฆียะนั้น)
- มาตรา 178 (บอกล้างได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่
กรณี อีกฝ่ ายซึ่ งเป็ นบุคคลที่มีตวั กำหนดได้แน่
74
นอน)
5. การคืนทรัพย์ ต้องคืนในฐานะ 5. คืนสู่ ฐานะเดิมให้มากที่สุด ถ้าพ้นวิสยั ที่กลับคืนสู่
ลาภมิควรได้ ฐานะเดิม ก็ให้ชดใช้ค่าเสี ยหายแทน (มาตรา 176)
บุคคลทีม่ ีสิทธิบอกล้างได้ (มาตรา 175)
1. บุคคลที่เป็ นคู่กรณี ท ำนิติกรรม
1.1 ผูเ้ ยาว์,คนไร้ความสามารถ,คนเสมือนไร้ความสามารถ แต่ตอ้ งพ้นภาวะความเป็ นผูไ้ ร้ความ
สามารถเสี ยก่อน หรื อผูแ้ ทนโดยชอบธรรมยินยอมให้บอกล้าง
1.2 ผูแ้ สดงเจตนาบกพร่ อง เพราะ
- ถูกข่มขู่
- ถูกหลอก
- สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล / ทรัพย์
2. ผูแ้ ทนโดยชอบธรรม
- ผูเ้ ยาว์ ได้แก่ บิดามารดา หรื อผูป้ กครอง
- คนไร้ความสามารถ ได้แก่ ผูอ้ นุบาล
- คนเสมือนไร้ความสามารถ ได้แก่ ผูพ้ ิทกั ษ์
3. ทายาทของผูท้ ำโมฆียะกรรม
- ผูร้ ับพินยั กรรม
- ทายาทโดยธรรม

วิธีการบอกล้าง
กฎหมายไม่ได้ก ำหนดแบบพิธี เพราะฉะนั้นจะแสดงเจตนา (นิติกรรมระงับสิ ทธิ ) อย่างไร
ก็ได้ โดยวาจา หรื อ ลายลักษณ์อกั ษร ก็ได้ แต่บอกล้างโดยปริ ยายไม่ได้

อายุความบอกล้าง
- มิให้บอกล้างเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจบอกล้างหรื อให้สตั ยาบันได้
- หรื อมิให้บอกล้างเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ท ำนิติกรรมที่เป็ นโมฆียะ เช่น พ่อแม่ทราบว่าลูกทำ
สัญญาซื้ อรถยนต์โดยไม่ได้รับความยินยอม
- ต้องบอกล้างได้ภายใน 1 ปี นับแต่วนั ที่รู้วา่ ลูกทำสัญญา แต่ถา้ ไม่รู้ อายุความความ 1 ปี จะ
ยังไม่เริ่ มนับ แต่อย่างไรก็ตามต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วนั ซื้ อรถยนต์
- ถ้าผูเ้ ยาว์จะบอกล้าง ต้องบอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่วนั บรรลุนิติภาวะ
- ถ้าถูกข่มขู่ ต้องบอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่วนั ที่ถูกข่มขู่ได้ผา่ นพ้นไป
- ถ้าถูกหลอก หรื อสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล / ทรัพย์ ต้องบอกล้างภายใน 1 ปี นับแต่
วันที่ทราบว่าได้ถูกหลอกหรื อสำคัญผิด

การให้ สัตยาบัน คือ


- การแสดงเจตนาที่ท ำให้นิติกรรมที่เป็ นโมฆียะนั้น มีผลสมบูรณ์ตลอดไป จะบอกล้างอีกไม่
ได้แล้ว
75
- ผูม้ ีสิทธิให้สตั ยาบัน เช่นเดียวกับผูม้ ีสิทธิ บอกล้าง
- วิธีการให้สตั ยาบัน กฎหมายไม่ได้ก ำหนดแบบพิธีเพราะฉะนั้นให้สตั ยาบันได้โดยชัดแจ้ง
ด้วยวาจา / หนังสื อ หรื อโดยปริ ยาย

การให้ สัตยาบันโดยปริยาย (ไม่มีการโต้แย้งสงวนสิ ทธิ ตามมาตรา 180) จะกระทำอย่างใด


ก็ได้ที่ให้มีผลเป็ นการให้สตั ยาบัน เช่น
1. ได้มีการชำระหนี้นิติกรรมที่เป็ นโมฆียะแล้วทั้งหมดหรื อบางส่ วน เช่นรู ้วา่ ถูกหลอกให้ซ้ื อ
แหวนเพชรแต่กย็ งั เอาเงินไปชำระตามสัญญา
2. ได้มีการเรี ยกร้องทวงให้ช ำระหนี้ตามโมฆียะกรรม เช่นรู ้วา่ ถูกหลอกว่าเป็ นแหวนปลอม
แต่กย็ งั ทวงให้ผขู้ ายส่ งมอบแหวนเพชรปลอม
3. ได้มีการแปลงหนี้ ใหม่ เช่นรู ้วา่ เป็ นแหวนเพชรปลอมแต่กย็ งั ตกลงแลกเปลี่ยน จากการที่
ต้องชำระเงินสดก็ช ำระเป็ นเช็คแทน
4. ได้มีการวางประกันเพื่อชำระหนี้ที่เป็ นโมฆียะ เช่นผูเ้ ยาว์ซ้ื อรถยนต์เงินผ่อนแล้ว บิดา
มารดาเอาบ้านไปจำนองเป็ นประกันการชำระหนี้ของผูเ้ ยาว์
5. ได้มีการโอนสิ ทธิ หรื อความรับผิดอันเกิดจากโมฆียะกรรมทั้งหมด หรื อบางส่ วน เช่น
ซื้ อแหวนปลอมมาแล้ว แทนที่จะบอกล้างกลับขายต่อให้คนอื่นไป
6. การกระทำอย่างอื่นที่ให้ผลเป็ นการให้สตั ยาบัน เช่น ผูเ้ ยาว์ซ้ื อรถยนต์มาแล้ว บิดามารดา
ยืมรถไปใช้ต่อ ฯลฯ

ผู้เยาว์ ประกอบกิจการค้า (มาตรา 27)


มาตรา 27 ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผเู ้ ยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการ
ค้าหรื อธุรกิจอื่น หรื อในการทำสัญญาเป็ นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณี ที่ผแู ้ ทนโดยชอบ
ธรรมไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอนั สมควร ผูเ้ ยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สงั่ อนุญาตได้
ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรื อการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่งให้ผเู ้ ยาว์มีฐานะเห
สมือนดังบุคคลซึ่ งบรรลุนิติภาวะแล้ว
ถ้าการประกอบธุรกิจหรื อการทำงานที่ได้รับควาายินยอมหรื อที่ได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง
ก่อให้เกิดความเสี ยหายถึงขนาดหรื อเสื่ อมเสี ยแก่ผเู ้ ยาว์ ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิกความยินยอม
ที่ได้ให้แก่ผเู้ ยาว์เสี ยได้ หรื อในกรณี ที่ศาลอนุญาต ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอต่อศาลให้เพิกถอน
การอนุญาตที่ได้ให้แก่ผเู้ ยาว์น้ นั เสี ยได้
ในกรณี ที่ผแู้ ทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอนั สมควร ผูเ้ ยาว์อาจร้องขอ
ต่อศาลให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผูแ้ ทนโดยชอบธรรมได้
การบอกเลิกความยินยอมโดยผูแ้ ทนชอบธรรม หรื อการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล ย่อม
ทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่ งบรรลุนิติภาวะแล้วของผูเ้ ยาว์สิ้นสุ ดลง แต่ไม่กระทบกระเทือนการใด
ๆ ที่ผเู ้ ยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอม หรื อเพิกถอนการอนุญาต

ผูเ้ ยาว์ประกอบกิจการค้า หลักคือ ต้องขอความยินยอมในการทำการค้า (เป็ นการทัว่ ไป)


และเมื่อได้รับความยินยอมแล้วมีสิทธิท ำนิติกรรมที่เกี่ยวพันการค้าเสมือนหนึ่งบรรลุนิติภาวะ
- ความยินยอมให้แล้วถอนไม่ได้
76
- หากบิดามารดาไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ขอศาลอนุญาตแทนได้
- ถอนคืนได้กรณี ไม่สามารถทำกิจการค้าได้

คนไร้ ความสามารถ (Incompetent)


มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้ าภริยาสามีกด็ ี ผู้บุพการี กล่ าวคือ บิดามารดา ปู่ ย่ า ตา ยาย
ทวด ก็ดี ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลือ้ ก็ดี ผู้อนุบาลหรือผู้พทิ ักษ์ กด็ ี หรือพนักงานอัยการ
ก็ดี ร้ องขอต่ อศาลแล้วศาลจะสั่งให้ บุคคลผู้น้ันเป็ นคนไร้ ความสามารถก็ได้
คนไร้ ความสามารถ คือ บุคคลวิกลจริต ที่ศาลสั่ งให้ เป็ นคนไร้ ความสามารถ

หลักเกณฑ์ การเป็ นคนไร้ ความสามารถ


1. เป็ นคนวิกลจริ ต คือ พวกสมองพิการ โรคจิต จิตฟั่นเฟื อง หรื อมีจิตบกพร่ อง
- ต้องเป็ นอย่างมากถึงขนาดขาดความรำลึก พูดจาไม่รู้เรื่ อง ไม่สามารถจัดทำกิจ
การงานของตนเองได้
- ต้องเป็ นอยูป่ ระจำ แต่ไม่จ ำเป็ นต้องเป็ นตลอดเวลา
คนวิกลจริ ตไม่จ ำเป็ นว่าต้องบ้า หรื อ โรคจิต แต่หมายถึงคนที่ขาดความรู ้สึกรับ
ผิดชอบ ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตนเองได้
2. ผูม้ ีสิทธิร้องขอต่อศาล ให้สงั่ ให้บุคคลวิกลจริ ตเป็ นคนไร้ความสามารถ
2.1 คู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรส อาจจะต้องเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์
หรื อผูซ้ ่ ึ งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่
2.2 บุพการี ไม่ตอ้ งคำนึงถึงอำนาจปกครอง
- กรณี บุตรบุญธรรม พ่อแม่ผใู ้ ห้ก ำเนิดก็มีสิทธิ มาตรา 1598/28 และผูร้ ับบุตร
บุญธรรมมีสิทธิ เช่นเดียวกับบิดามารดา เพราะฉะนั้นจะเป็ นผูร้ ้อง หรื อ
อนุบาลก็ได้
2.3 ผูส้ ื บสันดาน (ให้พิจารณาตามความเป็ นจริ ง) ดังนั้น บุตรนอกกฎหมาย ก็มีสิทธิ เช่น
เดียวกับบุตรบุญธรรม และบุตรชอบด้วยกฎหมาย
การร้องขอต่อศาล ไม่ใช่คดีมีขอ้ พิพาท และไม่เป็ นคดีอุทลุม (ห้ามฟ้ องบุพการี
ตามมาตรา 1562) และไม่ใช่นิติกรรมที่ตอ้ งขอความยินยอม เพราะฉะนั้น ก็มีสิทธิ ร้องขอให้พอ่
หรื อแม่เป็ นคนไร้ความสามารถได้ ถึงแม้พอ่ หรื อแม่ไม่ยนิ ยอม แต่ถา้ มีการคัดค้านว่าไม่ได้เป็ นไป
ตาม มาตรา 56 แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลก็อาจอนุญาตให้ร้องต่อศาล โดย
อาศัย มาตรา 56 วรรค ท้ายได้
2.4. ผูป้ กครอง ที่ศาลตั้ง
2.5. ผูพ้ ิทกั ษ์
2.6 ผูซ้ ่ ึ งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ เช่น ลุง ป้ า น้า อา หรื อ คนอื่น
2.7 พนักงานอัยการ
ข้อสังเกต เจ้าหนี้ หรื อบุคคลวิกลจริ ตเองไม่มีสิทธิ เป็ นผูร้ ้องขอตามมาตรานี้
3. ศาล สัง่ ให้บุคคลวิกลจริ ตเป็ นคนไร้ความสามารถ
- ศาลจะไต่สวนคำร้องก่อนสัง่
- มีผลเป็ นคนไร้ความสามารถตั้งแต่วนั มีค ำสัง่

77
- ต้องโฆษณาคำสัง่ ในราชกิจจานุเบกษา

คำพิพากษาฎีกาที่ 727 / 2472


การจะตั้งใครเป็ นผูอ้ นุบาลจะต้องเพ่งเล็งถึงการให้ประโยชน์ของผูไ้ ร้ความสามารถเป็ น
ข้อใหญ่ และความสนิทสนมแก่ผไู้ ร้ความสามารถเป็ นข้อพิเคราะห์ เพราะจะทำให้มีแก่ใจรักษา
พยาบาลปกครองทรัพย์ ผูร้ ้องเป็ นภริ ยาช้านานจนมีบุตร ไม่ปรากฏว่ามีความประพฤติเลวทราม และ
ทรัพย์สมบัติที่มีอยูก่ ท็ ำมาหาได้มาด้วยกัน ความเกี่ยวพันย่อมมีมากกว่าผูค้ ดั ค้านซึ่ งเป็ นแต่เพียงพี่นอ้ ง
ต่างมารดากันเท่านั้น ควรให้ผรู้ ้องเป็ นผูอ้ นุบาล

คำพิพากษาฎีกาที่ 101 / 2477


ตามกฎหมายและประเพณี นิยม ภริ ยาย่อมดีกว่าผูอ้ ื่นในการที่จะเป็ นผูอ้ นุบาลหรื อผู ้
พิทกั ษ์สามีซ่ ึ งเป็ นโรคจิต นอกจากจะปรากฏว่าภริ ยาเป็ นผูไ้ ม่สมควร

คำพิพากษาฎีกาที่ 1086 / 2477


ป.พ.พ. มาตรา 35 บุคคลผูเ้ สมือนไร้ความสามารถจะทำกิจการอันเกี่ยวด้วยคดีความใน
ศาล ต้องได้รับความยินยอมของผูพ้ ิทกั ษ์ก่อนจึงจะทำได้ การที่ศาลล่างเรี ยก บ.เข้ามาเป็ นจำเลยหรื อ
ในฐานะเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ ฮ. จำเลย ยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้ศาลเดิมดำเนินการเรี ยก บ. ผู ้
พิทกั ษ์มาให้ความยินยอมหรื อให้ ฮ. แต่งทนายใหม่โดยได้รับความยินยอมจากผูพ้ ิทกั ษ์แล้วสื บพยาน
และพิพากษาใหม่ตามกระบวนความ ถ้าผูพ้ ิทกั ษ์ไม่ให้ความยินยอม ก็มีทางร้องขอศาลขอถอน
ผูพ้ ิทกั ษ์และตั้งผูพ้ ิทกั ษ์ใหม่ ถ้าไม่เป็ นการสะดวกที่จะทำดังกล่าว บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา 29
จะร้องต่อศาลให้ต้ งั ผูพ้ ิทกั ษ์จ ำเลยเพื่อดำเนินคดีต่อไปตามกระบวนความก็ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 95 / 2483
ภริ ยาผูร้ ้องป่ วยเป็ นอัมพาตมือเท้าตายไม่สามารถลุกนัง่ ด้วยตนเองได้ ผูร้ ้องขอให้ศาลมี
คำสัง่ แสดงว่าภริ ยาของตนเป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น เพียงแต่กายพิการดังกล่าวยังไม่พอ
ถือว่าผูป้ ่ วยนั้นไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ และผูร้ ้องไม่มีพยานนำสื บว่า ผูค้ ดั ค้านมีจิต
ฟั่นเฟื อนไม่สมประกอบ ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ พิพากษาให้ยกคำร้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 288 / 2486


โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมที่ภรรยาโจทก์ได้ท ำกับจำเลย และเนื่องจากการทำ
นิติกรรมรายนี้ โจทก์ได้ยนื่ คำร้องขอให้ศาลสัง่ แสดงว่าภรรยาโจทก์เป็ นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
โดยให้โจทก์เป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ ต่อมาโจทก์ได้ขอถอนคำร้องนี้เสี ย การถอนคำร้องนี้ไม่ถือว่าเป็ นการให้
สัตยาบันแก่นิติกรรมรายที่ภรรยาโจทก์ได้ท ำไว้กบั จำเลย

คำพิพากษาฎีกาที่ 1886 / 2492


น้ายืน่ คำร้องขอให้ศาลสัง่ ให้หลานซึ่ งตนเลี้ยงดูมาและเป็ นบุตรบุญธรรมของตนเป็ น
บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ แต่ปรากฏว่ามิได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมและหลานนั้นมีภริ ยาแยก

78
ไปอยูต่ ่างหากแล้ว ดังนี้นา้ ย่อมไม่เป็ นบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 29 ที่จะ
ร้องขอให้ศาลสัง่ เป็ นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 964 / 2504


ผูท้ ี่จะร้องขอต่อศาลเพื่อสัง่ ให้บุคคลใดเป็ นผูเ้ สมือนไร้ความสามารถตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 34 นั้น คือ ผูท้ ี่ระบุในมาตรา 29 ซึ่ งรวมทั้งผูพ้ ิทกั ษ์ตามพฤตินยั
ของบุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ดว้ ย

คำพิพากษาฎีกาที่ 1552 / 2504


ตาม ป.พ.พ. มาตรา 34 กล่าวถึงบุคคลจำพวกหนึ่งซึ่ งเห็นว่าไม่สามารถจะจัดทำการ
งานของตนเองได้ กฎหมายจึงให้ความคุม้ ครองโดยให้ศาลมีค ำสัง่ ให้เป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถ
และให้อยูใ่ นความพิทกั ษ์ แต่สภาพคนจำพวกนี้ตาม ป.พ.พ. ยังนับว่ามีความบริ บูรณ์จนกว่าศาลจะมี
คำสัง่ ให้เป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่ถึงแม้ศาลจะได้มีค ำสัง่ ให้ผนู ้ ้ นั เป็ นคนเสมือนไร้ความ
สามารถแล้ว มาตรา 35 (4) ก็ยงั บัญญัติวา่ บุคคลที่ศาลสัง่ ให้เป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถแล้วนั้น
ก็ยงั ทำกิจการต่างๆ ด้วยตนเองได้ เว้นแต่ในบางเรื่ องดังบัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว และก็เพียงจะต้อง
ได้รับความยินยอมของผูพ้ ิทกั ษ์เสี ยก่อนเท่านั้น การดำเนินคดีในโรงศาลก็เช่นเดียวกัน หากจำเป็ นศาล
ก็เพียงให้ความยินยอมตามที่ตอ้ งการเท่านั้น หาใช่กรณี จะตั้งผูแ้ ทนดำเนินคดีให้ไม่ ก็ไฉนนายฟ้ อนคน
ใบ้ในคดีซ่ ึ งศาลยังมิได้สั่งเป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถจะดำเนินคดีในศาลโดยตนเองไม่ได้ เมื่อศาล
ยังมิได้สงั่ ว่านายฟ้ อนเป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถ นายฟ้ อนจึงไม่ใช่บุคคลผูไ้ ร้ความสามารถ จึง
ดำเนินคดีได้อย่างบุคคลธรรมดา กล่าวคือนายฟ้ อนอาจเป็ นผูร้ ้องขัดทรัพย์เอง หรื อทำหนังสื อมอบ
อำนาจให้ผรู้ ้องเป็ นผูด้ ำเนินคดีกย็ อ่ มทำได้ ที่ผรู ้ ้องขอให้ต้ งั ผูแ้ ทนเฉพาะคดีของนายฟ้ อน จึงไม่มี
กฎหมายสนับสนุน พิพากษาให้ยกคำร้องของผูร้ ้อง

คำพิพากษาฎีกาที่ 346 / 2509


ตามปกติสามียอ่ มเป็ นผูอ้ นุบาลภริ ยาซึ่ งศาลสัง่ ว่าเป็ นคนไร้ความสามารถ ต้องจัดให้อยู่
ในความอนุบาล เมื่อผูม้ ีส่วนได้เสี ยผูใ้ ดคัดค้านต่อศาล ผูค้ ดั ค้านชอบที่จะนำสื บแสดงเหตุสำคัญให้
เห็นว่าศาลควรตั้งผูอ้ ื่นเป็ นผูอ้ นุบาล

คำพิพากษาฎีกาที่ 490 / 2509


คำว่าบุคคลวิกลจริ ตตามที่บญั ญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 29 นั้น
มิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผูม้ ีจิตผิดปกติ หรื อตามที่เข้าใจทัว่ ๆ ไปว่าเป็ นคนบ้าเท่านั้นไม่ แต่หมายถึง
บุคคลที่มีอาการกิริยาผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือขาดความรำลึก ขาดความรู ้สึก และขาดความรู ้สึก
ผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตนหรื อประกอบกิจการส่ วน
ตัวของตนได้ทีเดียว
ผูท้ ี่ป่วยเป็ นโรคเนื้ องอกในสมอง ต้องนอนอยูบ่ นเตียงตลอดเวลา มีอาการพูดไม่ได้ หู
ไม่ได้ยนิ ตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสมั ปชัญญะใดๆ ถือว่าเป็ นบุคคลวิกลจริ ต
ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์มาตรา 29 แล้ว

79
คำพิพากษาฎีกาที่ 371 / 2510
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว บุตรบุญธรรม
ย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผูร้ ับบุตรบุญธรรม ตามนัยประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 1586 วรรคต้น (ตรงกับมาตรา 1598/28 บรรพ 5 ใหม่)
และย่อมเป็ นผูส้ ื บสันดานของผูร้ ับบุตรบุญธรรม มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สงั่ ให้ผรู้ ับบุตร
บุญธรรมเป็ นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยูใ่ นความพิทกั ษ์ของผูร้ ้องได้ ตาม
มาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29

คำพิพากษาฎีกาที่ 330 / 2511


บุคคลที่ศาลจะตั้งให้เป็ นผูพ้ ิทกั ษ์น้ นั ไม่จ ำต้องเป็ นบุคคลที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 29 ในการตั้งผูพ้ ิทกั ษ์น้ นั ศาลพิจารณาว่าผูใ้ ดเหมาะสมที่จะเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ได้
ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาฎีกาที่ 912 / 2520


ผูร้ ้องเป็ นบุตรของพี่ชายของ ค. ไม่ใช่ผสู ้ ื บสันดานของ ค. และไม่เคยเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ของ
ค. มาก่อน ผูร้ ้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สงั่ ว่า ค. เป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยูใ่ น
ความพิทกั ษ์ของผูร้ ้อง แม้ถา้ ค. ตายผูร้ ้องเป็ นทายาทแต่เพียงผูเ้ ดียวที่มีสิทธิ จะได้รับมรดกของ ค.
เพราะ ค. ไม่มีทายาทอื่นอีกก็ตาม แต่ในกรณี น้ ีกไ็ ม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ผรู ้ ้องมีสิทธิ ร้องขอ
ต่อศาลได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 74 / 2527
คำว่า บุคคลวิกลจริ ต ตามที่บญั ญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 29
นี้ มิได้หมายถึงเฉพาะบุคคลผูท้ ี่มีจิตผิดปกติหรื อตามที่เข้าใจกันทัว่ ๆ ไปว่าเป็ นบ้าเท่านั้น แต่หมาย
รวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู ้สึก และขาด
ความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรื อประกอบกิจส่ วน
ตัวของตนได้ทีเดียว
มารดาผูร้ ้องและผูค้ ดั ค้านมีอาการไม่รู้สึกตัวเอง ไม่รู้จกั สถานที่และเวลาพูดจารู ้เรื่ องบ้าง
ไม่รู้เรื่ องบ้าง ซึ่ งนายแพทย์เรี ยกอาการเช่นนี้วา่ สมองเสื่ อมหรื อวิกลจริ ต และไม่มีโอกาสที่จะรักษา
ให้หายได้ ทั้งเดินทางไปไหนไม่ได้อีกด้วย แสดงให้เห็นว่ามารดาผูร้ ้องเป็ นคนไม่มีสติสมั ปชัญญะ
ไร้ความสามารถที่จะดำเนินการทุกสิ่ งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้วา่ เป็ นบุคคลวิกลจริ ตตามความ
หมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 29 แล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 490 / 2509
ประชุมใหญ่)

ผลของการเป็ นคนไร้ ความสามารถ


1. ต้องจัดอยูใ่ นความอนุบาลของผูแ้ ทนโดยชอบธรรม คือ ผูอ้ นุบาล
คุณสมบัติตามมาตรา 1598/18 และ 1587

80
กรณี ยงั ไม่สมรส ผูอ้ นุบาล ได้แก่ บิดา – มารดา (ผูใ้ ช้อ ำนาจปกครอง) มาตรา
1569 เว้นแต่ศาลจะสัง่ เป็ นอย่างอื่น และถ้าเป็ นกรณี บรรลุนิติภาวะแล้วบิดา – มารดาเป็ นผูอ้ นุบาล มี
อำนาจปกครองตามมาตรา 1569/1
กรณี สมรสแล้ว ผูอ้ นุบาล ได้แก่ คู่สมรส ตามมาตรา 1463 เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็ น
อย่างอื่น
กรณี ที่ศาลสัง่ ผูอ้ ื่นเป็ นผูอ้ นุบาล มาตรา 1569/1 (อำนาจปกครองถูกถอน) และ
ให้น ำบทบัญญัติวา่ ด้วยอำนาจปกครองมาบังคับ โดยอนุโลม 1598/3 รวม 1598/18

คำพิพากษาฎีกาที่ 727 / 2472


การจะตั้งใครเป็ นผูอ้ นุบาลนั้นจะต้องเพ่งเล็งถึงการให้ประโยชน์ของผูไ้ ร้ความสามารถ
เป็ นข้อใหญ่ และความสนิทสนมแก่ผไู้ ร้ความสามารถเป็ นข้อพิเคราะห์ เพราะจะทำให้มีแก่ใจรักษา
พยาบาลปกครองทรัพย์ ผูร้ ้องเป็ นภริ ยาช้านานจนมีบุตร ไม่ปรากฏว่ามีความประพฤติเลวทราม และ
ทรัพย์สมบัติที่มีอยูก่ ท็ ำมาหาได้มาด้วยกัน ความเกี่ยวพันย่อมมีมากกว่าผูค้ ดั ค้าน ซึ่ งเป็ นแต่เพียงพี่ต่าง
มารดากันเท่านั้น ควรให้ผรู้ ้องเป็ นผูอ้ นุบาล

คำพิพากษาฎีกาที่ 710 / 2490


ผูอ้ นุบาลมีสิทธิท ำสัญญาขายที่ดินของผูว้ ิกลจริ ตตามลำพังได้ ดังนั้น ภรรยาซึ่ งเป็ นผู ้
อนุบาลสามี มีสิทธิท ำสัญญาขายที่ดินสิ นบริ คณห์ได้ตามลำพังทำสัญญาขายที่ดินแก่คนหนึ่งแล้วไป
โอนขายให้แก่อีกคนหนึ่งโดยสมยอมกัน ผูซ้ ้ื อคนแรกเพิกถอนโอนรายหลังได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1006 / 2508


จำเลยที่ 1 เป็ นคนไร้ความสามารถ จำเลยที่ 2 เป็ นผูอ้ นุบาลตามคำสัง่ ศาล จำเลยที่ 2
ได้สมยอมทำสัญญากูเ้ งินกับโจทก์เพื่อเรี ยกร้องเอาทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เมื่อเป็ นเช่นนี้ จำเลยที่ 1
ไม่ตอ้ งรับผิด

คำพิพากษาฎีกาที่ 346 / 2509


ตามปกติสามียอ่ มเป็ นผูอ้ นุบาลภริ ยา ซึ่ งศาลสัง่ ว่าเป็ นคนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่
ในความอนุบาล เมื่อผูม้ ีส่วนได้เสี ยผูใ้ ดคัดค้านต่อศาล ผูค้ ดั ค้านชอบที่จะนำสื บแสดงเหตุสำคัญให้
เห็นว่าศาลควรตั้งผูอ้ ื่นเป็ นผูอ้ นุบาล

คำพิพากษาฎีกาที่ 2159 / 2517


กรณี ภริ ยาเป็ นผูอ้ นุบาลสามี ซึ่ งเป็ นผูไ้ ร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิ ชย์ มาตรา 1457 นั้น มาตรา 1581 ไม่ให้น ำบทบัญญัติวา่ ด้วยความปกครองมาบังคับจึงจะนำ
มาตรา 1561, 1562, 1563 ซึ่ งเป็ นบทบัญญัติวา่ ด้วยความปกครองมาบังคับแก่ภริ ยาซึ่ งเป็ นผูอ้ นุบาล
สามีหาได้ไม่
ภริ ยาซึ่ งเป็ นผูอ้ นุบาลสามี มีสิทธิ ท ำนิติกรรมขายสิ นบริ คณห์ได้โดยลำพัง หากกระทำ
ไปเพื่อประโยชน์ของสามี ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 710 / 2490 แต่การที่ภริ ยาเอาที่ดินสิ นบริ คณห์
ไปยกให้แก่บุตรคนหนึ่งโดยเสน่หา มิใช่กระทำไปเพื่อประโยชน์ของสามีแต่อย่างใด ภริ ยาในฐานะผู ้

81
อนุบาลจึงไม่มีสิทธิเอาที่ดินส่ วนที่เป็ นของสามีไปยกให้แก่บุตรโดยเสน่หาได้ คงมีสิทธิ กระทำได้ใน
ฐานะที่เป็ นภริ ยา ซึ่ งมีส่วนเป็ นเจ้าของที่ดินสิ นบริ คณห์น้ นั ด้วย โดยมิพกั ต้องได้รับอนุญาตจากสามี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 39 นิติกรรมให้ที่ดินโดยเสน่หาดังกล่าวจึงผูกพันส่ วน
ที่เป็ นของภริ ยา แต่ไม่ผกู พันส่ วนของสามี เมื่อข้อเท็จจริ งไม่ ปรากฏว่าที่ดินสิ นบริ คณห์น้ นั สามีกบั
ภริ ยามีส่วนคนละเท่าใดและภริ ยาก็ท ำนิติกรรมให้บุตรมีชื่อถือกรรมสิ ทธิ์ ในที่ดินร่ วมกับสามี อันมีผล
เท่ากับภริ ยายอมสละส่ วนของตนให้แก่บุตรเท่านั้น นิติกรรมรายนี้ ไม่เป็ นโมฆะ

คำพิพากษาฎีกาที่ 876 / 2518


โจทก์ผอู้ นุบาล ฟ้ องคดีบอกล้างสัญญาที่บุคคลวิกลจริ ตทำลงก่อน ศาลสัง่ ให้เป็ นคนไร้
ความสามารถ ระหว่างที่โจทก์อุทธรณ์ค ำพิพากษาซึ่ งยกฟ้ อง คนไร้ความสามารถตาย มีผลให้ความ
เป็ นผูอ้ นุบาลสิ้ นสุ ดลตามทประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 1572, 1581 แต่ไม่ท ำให้สิทธิ
และหน้าที่ของผูอ้ นุบาลที่มีอยูข่ ณะฟ้ องเปลี่ยนแปลงไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผูอ้ นุบาลฎีกาได้

อำนาจหน้ าที่ของผู้อนุบาล
ในกรณี ที่บิดามารดา เป็ นผูอ้ นุบาล ตามมาตรา 1598/18 ถ้าคนไร้ความสามารถเป็ นผู ้
เยาว์ บิดามารดามีฐานะเป็ นผูใ้ ช้อ ำนาจปกครอง และถ้าคนไร้ความสามารถยังไม่บรรลุนิติภาวะ บิดา
มารดา เป็ นผูป้ กครอง
ยกเว้นอำนาจในการทำโทษ หรื อให้บุตรทำงานตาม มาตรา 1567 (2) , (3)
ในกรณี ที่คู่สมรสเป็ นผูอ้ นุบาล ตามมาตรา 1598/15 ให้น ำบทบัญญัติวา่ ด้วยผูใ้ ช้อ ำนาจ
ปกครองบังคับโดยอนุโลม ยกเว้น 1567 (2) , (3) และมีสิทธิ จดั การสิ นส่ วนตัวของคนไร้ความ
สามารถ รวมทั้งสิ นสมรส มาตรา 1598/16
ยกเว้นกิจการตาม 1476 วรรค 1 ต้องขออนุญาตจากศาล
ในกรณี ที่บุคคลอื่น หรื อผูป้ กครองเป็ นผูอ้ นุบาล อำนาจหน้าที่เป็ นไปตามมาตรา
1598/18 วรรค 2
2. ความสามารถในการทำนิติกรรมของคนไร้ ความสามารถ
มาตรา 29 การใดๆ ทีค่ นไร้ ความสามารถทำเป็ นโมฆียะ
โดยหลักทัว่ ไป คนไร้ความสามารถ ไม่มีความสามารถเลย แม้แต่จะเป็ นนิติกรรมที่
ต้องทำเองเฉพาะตัว และผูอ้ นุบาลไม่มีอ ำนาจให้ความยินยอม แต่มีอ ำนาจทำแทนคนไร้ความสามารถ
ในฐานะผูใ้ ช้อ ำนาจปกครอง หรื อผูป้ กครอง และถ้าเป็ นกิจการตาม มาตรา 1574 ต้องขออนุญาตจาก
ศาล ก่อนจึงจะทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถได้
ค น ว กิ ล จ ร ิต ท ี่ศ า ล ย งั ไ ม ่ ไ ด ้ ส ั่ ง ใ ห ้ เ ป็ น ค น ไ ร ้ ค ว า ม ส า ม า ร ถ
มาตรา 30 การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้ สั่งให้ เป็ นคนไร้ ความสามารถ ได้
กระทำลง การนั้นจะเป็ นโมฆียะต่ อเมื่อได้ กระทำในขณะทีบ่ ุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอกี ฝ่ าย
หนึ่งได้ ร้ ู แล้วด้วยว่าผู้ทำเป็ นคนวิกลจริต
หลักทัว่ ไปคนวิกลจริ ตทำนิติกรรมใด ๆ ถือว่าสมบูรณ์ ยกเว้นพิสูจน์ได้วา่
1. ทำในขณะผูน้ ้ นั วิกลจริ ต และ
82
2. คู่กรณี อีกฝ่ ายหนึ่ง ได้รู้แล้วว้าผูท้ ำนิติกรรมวิกลจริ ต
ผล คือ ตกเป็ นโมฆียะ

คำพิพากษาฎีกาที่ 346 / 2480


ฉ. เป็ นคนบ้าวิกลจริ ตรักษาไม่หาย ได้ท ำหนังสื อมอบอำนาจให้ ผ. ไปทำสัญญาโอนที่
นาให้แก่จ ำเลย โดยจำเลยหลอกลวง ฉ. ว่าจะกระทำกิจการอย่างหนึ่ง ภายหลังจำเลยโอนขายที่พิพาท
นี้ให้แก่ ด. โดย ด. รับซื้ อไว้โดยสุ จริ ตนั้น การที่โจทก์ขอให้ท ำลายการโอนโฉนดรายนี้ ได้ต่อเมื่อใบ
มอบฉันทะที่จ ำเลยได้มาจาก ฉ. เป็ นโมฆะ แต่โจทก์วา่ ได้มาโดยฉ้อโกงอันเป็ นโมฆียะกรรม การใดที่
บุคคลวิกลจริ ตทำไปนั้นหาเป็ นโมฆะมาแต่เริ่ มต้นไม่ ข้อที่โจทก์กล่าวว่าใบมอบฉันทะเสี ยเปล่านั้น
เห็นว่าการที่จ ำเลยหลอกลวงเอาใบมอบฉันทะจาก ฉ. เป็ นเพียงโมฆียะตามมาตรา 121 เท่านั้น
และคดีน้ ีศาลมิได้ช้ ีขาดว่าได้มีการบอกล้างให้ตกเป็ นโมฆะก่อนที่ ด. ได้รับโอน แต่ปรากฏ ด. ได้รับ
โอนโดยสุ จริ ต และเสี ยค่าตอบแทน จึงต้องบังคับตามมาตรา 1329 การบอกล้างในภายหลังนี้ จึงไม่ช่วย
คดีโจทก์ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 1645 / 2520


ส. มีลกั ษณะปัญญาอ่อน หูไม่ดี ได้ยนิ ไม่ชดั ไม่มีอาการทางจิต ไม่สามารถดูแลรับผิด
ชอบตนเองตามลำพังได้ ม. สติไม่ค่อยดี ฟั่นเฟื อนเป็ นครั้งคราว บางครั้งพูดรู ้เรื่ องบางครั้งไม่รู้เรื่ อง
ดังนี้ เป็ นแต่สติฟั่นเฟื อนไม่สมประกอบ ไม่ถึงกับวิกลจริ ต

คนเสมือนไร้ ความสามารถ (Quasi – Incompetent)


คนเสมือนไร้ความสามารถ เป็ นบุคคลที่มีความบกพร่ องด้านร่ างกายและจิตใจ หรื อ
ความประพฤติที่ยงั ไม่ถึงกับเป็ นคนวิกลจริ ต ยังพอมีความสามารถอยูบ่ า้ ง และศาลมีค ำสัง่ ให้เป็ นคน
เสมือนไร้ความสามารถ
หลักเกณฑ์ การเป็ นคนเสมือนไร้ ความสามารถ
1. มีเหตุบกพร่ องบางอย่างใน 4 ประการ
1.1 กายพิการไม่สมประกอบ เช่น หูหนวก ตาบอด เป็ นใบ้
1.2 จิตฟั่นเฟื อน ไม่สมประกอบ ยังไม่ถึงขั้นวิกลจริ ต
1.3 ประพฤติสุรุ่ยสุ ร่าย เสเพลเป็ นอาจิณ หมายถึง มีนิสยั ใช้จ่ายอย่างไม่มี
ประโยชน์ เกินกว่ารายได้ เช่น ชอบเล่นการพนัน
1.4 ติดสุ รายาเมาซึ่ งขาดเสี ยมิได้ เช่น เป็ นโรคพิษสุ ราเรื้ อรัง หรื อติดยาเสพติด
2. ไม่สามารถจัดทำการงานของตนได้ เพราะเหตุบกพร่ อง
3. ศาลสัง่ ให้เป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถ
สำหรับผูม้ ีสิทธิร้องขอต่อศาล มีหลักเกณฑ์เช่น เดียวกับคนไร้ความสามารถ

คำพิพากษาฎีกาที่ 95 / 2483
เพียงแต่เป็ นโรคอัมพาตเดินไม่ได้ ไม่พอถือว่าผูป้ ่ วยนั้นไม่สามารถจะจัดทำการงานของ
ตนเอง จะขอให้ศาลสัง่ เป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถหาได้ไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 927 / 2485

83
ผูแ้ ทนโดยชอบธรรมของผูเ้ ยาว์กูย้ มื แทนผูเ้ ยาว์ เอาทรัพย์ของผูเ้ ยาว์ไปเป็ นประกันเงินกู้
ไม่จ ำต้องขออนุญาตต่อศาล ดังที่บญั ญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1546 (3) เพราะไม่ใช่กรณี ที่เอาทรัพย์
ของผูเ้ ยาว์ไปให้กูย้ มื

คำพิพากษาฎีกาที่ 863 / 2490


คนใบ้ที่ไม่อาจทำให้เจ้าพนักงานเข้าใจความประสงค์ที่จะทำนิติกรรมได้น้ นั เมื่อมีผขู ้ อ
เป็ นผูพ้ ิทกั ษ์และจัดการจำนองหรื อขายที่ดินของคนใบ้ จนได้รับแต่งตั้งเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์และได้รับอนุญาต
จากศาลแล้ว ผูพ้ ิทกั ษ์ยอ่ มจัดการจำนองหรื อขายฝากที่ดินแทนได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 666 / 2495
ผูเ้ สมือนไร้ความสามารถย่อมประกอบกิจการต่าง ๆ ได้ เว้นแต่ในบางกรณี จึงต้องได้รับ
ความยินยอมจากผูพ้ ิทกั ษ์ก่อนเท่านั้น กฎหมายมิได้ให้อ ำนาจผูพ้ ิทกั ษ์มีอ ำนาจปกครองผูเ้ สมือนไร้
ความสามารถด้วยไม่ ฉะนั้น ผูพ้ ิทกั ษ์จะฟ้ องความแทนผูเ้ สมือนไร้ความสามารถโดยลำพังตนเองโดย
มิได้รับมอบอำนาจจากผูเ้ สมือนไร้ความสามารถไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 39 / 2496
ร้องขอเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ผเู้ สมือนไร้ความสามารถ เมื่อคดีอยูใ่ นระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา
ปรากฏว่าผูเ้ สมือนไร้ความสามารถตาย การพิจารณาคดีร้องขอตั้งผูพ้ ิทกั ษ์ไม่มีประโยชน์ ศาลย่อม
จำหน่ายคดีเสี ยเพราะทรัพย์มรดกของผูต้ ายย่อมตกทอดไปยังทายาทโดยอำนาจแห่งกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาฎีกาที่ 964 / 2504
ผูท้ ี่จะร้องขอต่อศาลเพื่อสัง่ ให้บุคคลใดเป็ นผูเ้ สมือนไร้ความสามารถตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 34 นั้น คือ ผูท้ ี่ระบุไว้ในมาตรา 29 ซึ่ งรวมทั้งผูพ้ ิทกั ษ์ตามพฤตินยั
ของบุคคลที่ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้ดว้ ย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1552 / 2504
บุคคลใดแม้จะเป็ นใบ้มาแต่ก ำเนิดก็ตาม เมื่อศาลยังไม่ได้สงั่ ให้เป็ นบุคคลเสมือนไร้
ความสามารถ ก็ยอ่ มไม่ใช่บุคคลผูไ้ ร้ความสามารถตามกฎหมาย ฉะนั้น จึงมีอ ำนาจดำเนินคดีได้อย่าง
บุคคลธรรมดา ผูอ้ ื่นจะร้องขอให้ต้ งั ตนเป็ นผูแ้ ทนเฉพาะคดีไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 490 / 2509
คำว่า บุคคลวิกลจริ ต ตามที่บญั ญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 29
นั้น มิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผูม้ ีจิตผิดปกติหรื อตามที่เข้าใจทัว่ ๆ ไปว่า เป็ นบ้า เท่านั้นไม่ แต่หมาย
รวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู ้สึก และขาด
ความรู ้สึกผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตน หรื อประกอบกิจ
ส่ วนตัวของตนได้ทีเดียว
ผูป้ ่ วยเป็ นโรคเนื้ องอกในสมอง ต้องนอนอยูบ่ นเตียงตลอดเวลา มีอาการพูดไม่ได้ หูไม่
ได้ยนิ ตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสมั ปชัญญะใด ๆ ไร้ความสามารถที่จะ
ดำเนินการทุกสิ่ งทุกอย่าง ถือว่าเป็ นบุคคลวิกลจริ ตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิ ชย์ มาตรา 29 แล้ว

คำพิพากษาฎีกาที่ 1778 / 2509

84
สิ ทธิการเช่าเป็ นสิ ทธิเฉพาะตัวของผูเ้ ช่าแต่ผเู ้ ดียว แม้ภรรยาจะเป็ นผูเ้ ช่า สามีกเ็ ป็ นบุคคล
ภายนอก จะเข้ามามีสิทธิดว้ ยตามสัญญาเช่าไม่ได้ และถือไม่ได้วา่ สามีหรื อภรรยาซึ่ งลงชื่อในสัญญา
เช่า ได้ท ำการเพื่อทั้งสองฝ่ าย
แม้จะถือสิ ทธิการเช่าเป็ นทรัพย์สิน แต่กเ็ ป็ นสิ ทธิ ตามสัญญาอันเป็ นสิ ทธิ เฉพาะตัว
การโอนสิ ทธิการเช่าของภรรยาให้แก่บุคคลอื่น ย่อมเป็ นสิ ทธิ ของภรรยาแต่ผเู ้ ดียวไม่ตอ้ งรับความ
ยินยอมจากสามี
คำพิพากษาฎีกาที่ 371 / 2510
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว บุตรบุญธรรมย่อมมี
ฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผูร้ ับบุตรบุญธรรม ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิ ชย์ มาตรา 1586 (ตรงกับมาตรา 1598/28 บรรพ 5 ใหม่) และย่อมเป็ นผูส้ ื บสันดานของผูร้ ับบุตร
บุญธรรม มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สงั่ ให้ผรู ้ ับบุตรบุญธรรมเป็ นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้
อยูใ่ นความพิทกั ษ์ของผูร้ ้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29
คำพิพากษาฎีกาที่ 330 / 2511
บุคคลที่ศาลจะตั้งให้เป็ นผูพ้ ิทกั ษ์น้ นั ไม่จ ำต้องเป็ นบุคคลตามที่ระบุไว้ในประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ มาตรา 29 ในการตั้งผูพ้ ิทกั ษ์น้ นั ศาลพิจารณาว่าผูใ้ ดเหมาะสมที่จะเป็ นผู ้
พิทกั ษ์ได้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาฎีกาที่ 2102 / 2517
คดีเรื่ องถอดถอนผูพ้ ิทกั ษ์ ไม่เป็ นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความได้
คดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอดถอนจำเลยจากการเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์โจทก์ เมื่อโจทก์ซ่ ึ งอยู่
ในความพิทกั ษ์ถึงแก่ความตายในระหว่างฎีกา ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อ
ไป ศาลฎีกาย่อมมีค ำสัง่ ให้จ ำหน่ายคดี
คำพิพากษาฎีกาที่ 912 / 2520
ผูร้ ้องเป็ นบุตรของพี่ชายของ ค. ไม่ใช่ผสู ้ ื บสันดานของ ค. และไม่เคยเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ของ
ค. มาก่อน ผูร้ ้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สงั่ ว่า ค. เป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยูใ่ น
ความพิทกั ษ์ของผูร้ ้อง แม้ถา้ ค. ตายผูร้ ้องเป็ นทายาทแต่เพียงผูเ้ ดียวที่มีสิทธิ จะได้รับมรดกของ ค.
เพราะ ค. ไม่มีทายาทอื่นอีกก็ตาม แต่ในกรณี น้ ีกไ็ ม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ผรู ้ ้องมีสิทธิ
ร้องขอต่อศาลได้ ค. อายุ 74 ปี ป่ วยเป็ นโรคเบาหวาน และเป็ นอัมพาต เคลื่อนไหวร่ างกายได้
เฉพาะแถบด้านซ้ายพูดประโยคยาวไม่ได้ เป็ นผูไ้ ม่สามารถจัดทำการงานได้เพราะกายพิการ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1044 / 2522
น้าไม่ใช่บุพพการี และไม่เคยให้ความอุปการะเลี้ยงดูที่พอจะฟังได้วา่ เป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ตาม
พฤตินยั จึงไม่มีอ ำนาจตามกฎหมายที่จะร้องต่อศาลเพื่อสัง่ ให้หลานเป็ นคนเสมือนไร้ความสามารถได้

ผลของการเป็ นคนเสมือนไร้ ความสามารถ


1. จัดอยูใ่ นความดูแลของผูพ้ ิทกั ษ์ มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับผูอ้ นุบาล
ผูพ้ ิทกั ษ์ มีอ ำนาจต่างจากผูอ้ นุบาล คือ ไม่มีอ ำนาจปกครอง หรื อ ไม่มีสิทธิ จดั การ
ทรัพย์สินแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่มีอ ำนาจคือให้ความยินยอมในกิจการตาม มาตรา 34
และบอกล้าง หรื อ ให้สตั ยาบันแก่นิติกรรมที่เป็ นโมฆียะของคนเสมือนไร้ความสามารถ เว้นแต่ถา้ คน

85
เสมือนไร้ความสามารถ ไม่สามารถทำกิจการตาม มาตรา 34 วรรค 1, 2 ได้ ผูพ้ ิทกั ษ์อาจขอให้ศาลสัง่
ให้ผพู ้ ิทกั ษ์เป็ นผูม้ ีอ ำนาจกระทำแทนได้ ตามมาตรา 34 วรรค 3
2. ค ว า ม ส า ม า ร ถ ข อ ง ค น เ ส ม ือ น ไ ร ้ค ว า ม ส า ม า ร ถ
มาตรา 34 บุคคลผู้เสมือนไร้ ความสามารถนั้น ต้ องได้ รับความยินยอมของผู้พทิ ักษ์
ก่ อนแล้ วจึงจะทำการอย่ างหนึ่งอย่างใดได้
โดยหลักทั่วไป คนเสมือนไร้ความสามารถยังพอมีความสามารถอยูบ่ า้ ง เพราะฉะนั้น
หลักคือ มีสิทธิท ำนิติกรรมโดยลำพัง
ข้ อยกเว้น กิจการตาม มาตรา 34 ต้องขอความยินยอมของผูพ้ ิทกั ษ์ มิฉะนั้นเป็ น
โมฆียะ ได้แก่
(๑) นำทรัพย์สินไปลงทุน

(๒) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรื อทุนอย่างอื่น


(๓) กูย้ มื หรื อให้กยู้ มื เงิน ยืมหรื อให้ยมื สังหาริ มทรัพย์อนั มีค่า
(๔) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
(๕) เช่าหรื อให้เช่าสังหาริ มทรัพย์มีก ำหนดระยะเวลาเกินกว่าหกเดือนหรื อ
อสังหาริ มทรัพย์มีก ำหนดระยะเวลาเกินกว่าสามปี
(๖)
ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศล การสังคม หรื อ
ตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(๗) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรื อค่าภาระติดพัน หรื อไม่รับการให้โดย
เสน่หา
(๘)ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรื อปล่อยไปซึ่ งสิ ทธิ ในอสังหาริ มทรัพย์
หรื อในสังหาริ มทรัพย์อนั มีค่า
(๙) ก่อสร้างหรื อดัดแปลงโรงเรื อนหรื อสิ่ งปลูกสร้างอย่างอื่น หรื อซ่อมแซมอย่าง
ใหญ่
เสนอคดีต่อศาลหรื อดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ เว้นแต่การร้องขอตามมาตรา
(๑๐)
๓๕ หรื อการร้องขอถอนผูพ้ ิทกั ษ์
(๑๑) ประนีประนอมยอมความหรื อมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
กรณี ที่คนเสมือนไร้ความสามารถยังเป็ นผูเ้ ยาว์อยู่ ถือว่ายังมีสถานะผูเ้ ยาว์อยู่ ย่อมมี
สิ ทธิ ท ำนิติกรรมโดยลำพังตามมาตรา 22 – 25 ได้ และต้องได้รับความยินยอมจากผูใ้ ช้อ ำนาจปกครอง
ตามมาตรา 21 ด้วย
แต่ถา้ ผูพ้ ิทกั ษ์ไม่ให้ความยินยอมปราศจากเหตุผลอันสมควร คนเสมือนไร้ความ
สามารถ มีสิทธิขอให้ศาลอนุญาตได้ ตามมาตรา 35

86
คำพิพากษาฎีกาที่ 377 / 2469
ผูพ้ ิทกั ษ์ทรัพย์ท ำสัญญาใดแทนผูท้ ี่อยูใ่ นความพิทกั ษ์ ถ้าไม่ปรากฏว่าได้กระทำโดยการ
ทุจริ ตแล้ว ผูอ้ ื่นจะขอให้ถอนจากเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์หาได้ไม่
คำพิพากษาฎีกาที่ 1086 / 2477
ป.พ.พ. มาตรา 35 บุคคลผูเ้ สมือนไร้ความสามารถจะทำกิจการอันเกี่ยวด้วยคดีความใน
ศาลต้องได้รับความยินยอมของผูพ้ ิทกั ษ์ก่อนจึงจะทำได้ การที่ศาลล่างเรี ยก บ. เข้ามาเป็ นจำเลยหรื อ
ในฐานเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ ฮ. จำเลย ยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้ศาลเดิมดำเนินการเรี ยก บ. ผู ้
พิทกั ษ์มาให้ความยินยอมหรื อให้ ฮ.แต่งทนายโดยได้รับความยินยอมจากผูพ้ ิทกั ษ์แล้วสื บพยานและ
พิพากษาใหม่ตามกระบวนความ ถ้าผูพ้ ิทกั ษ์ไม่ให้ความยินยอม ก็มีทางร้องขอต่อศาลขอถอนผูพ้ ิทกั ษ์
และตั้งผูพ้ ิทกั ษ์ใหม่ ถ้าไม่เป็ นการสะดวกที่จะทำดังกล่าว บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา 29 จะร้องต่อ
ศาลให้ต้ งั ผูพ้ ิทกั ษ์จ ำเลยเพื่อดำเนินคดีต่อไปตามกระบวนความก็ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 863 / 2490
คนใบ้ที่ไม่อาจทำให้เจ้าพนักงานเข้าใจความประสงค์ที่จะทำนิติกรรมได้น้ นั เมื่อมีผขู ้ อ
เป็ นผูพ้ ิทกั ษ์และจัดการจำนองหรื อขายที่ดินของคนใบ้ จนได้รับแต่งตั้งเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์ ได้รับอนุญาตจาก
ศาลแล้วผูพ้ ิทกั ษ์ยอ่ มจัดการจำนองหรื อขายฝากที่ดินแทนได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 666 / 2495
ผูเ้ สมือนไร้ความสามารถย่อมประกอบกิจการต่างๆ ได้เว้นแต่ในบางกรณี จึงต้องได้รับ
ความยินยอมจากผูพ้ ิทกั ษ์ก่อนเท่านั้น กฎหมายมิได้ให้อ ำนาจผูพ้ ิทกั ษ์มีอ ำนาจปกครองผูเ้ สมือนไร้
ความสามารถด้วยไม่ ฉะนั้น ผูพ้ ิทกั ษ์จะฟ้ องความแทนผูเ้ สมือนไร้ความสามารถโดยลำพังตนเอง
โดยมิได้รับมอบอำนาจจากผูเ้ สมือนไร้ความสามารถไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 380 / 2496


ผูพ้ ิทกั ษ์ไม่มีอ ำนาจฟ้ องคดีแทนผูเ้ สมือนไร้ความสามารถ เพราะตามกฎหมายหาได้มี
บัญญัติให้ผพู้ ิทกั ษ์ท ำแทนได้ไม่ มาตรา 35 ก็แสดงอยูว่ า่ ผูเ้ สมือนไร้ความสามารถยังสามารถประกอบ
กิจการต่าง ๆ ได้ เว้นแต่ในบางกรณี จะต้องได้รับความยินยอมจากผูพ้ ิทกั ษ์เสี ยก่อนเท่านั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 905 / 2523
ผูพ้ ิทกั ษ์มีอ ำนาจหน้าที่เพียงแต่ให้ความยินยอมหรื อไม่ แก่ผเู ้ สมือนไร้ความสามารถใน
กิจการที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่มีบทบัญญัติใดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ที่ให้อ ำนาจผู ้
พิทกั ษ์ฟ้องคดีแทนผูเ้ สมือนไร้ความสามารถ ผูพ้ ิทกั ษ์จึงไม่มีอ ำนาจฟ้ องคดีแทนผูเ้ สมือนไร้ความ
สามารถ
การสิ้นสุ ดการเป็ นคนเสมือนไร้ ความสามารถ
มาตรา 36 ถ้ าเหตุอนั ทำให้ เป็ นบุคคลเสมือนไร้ ความสามารถนั้นได้ สุดสิ้นไปแล้ ว ท่ านให้
นำบทบัญญัตมิ าตรา 31 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาฎีกาที่ 377 / 2469
ผูพ้ ิทกั ษ์ทรัพย์ท ำสัญญาใดแทนผูท้ ี่อยูใ่ นความพิทกั ษ์ ถ้าไม่ปรากฏว่าได้กระทำโดยการ
ทุจริ ตแล้ว ผูอ้ ื่นจะขอให้ถอนจากเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์หาได้ไม่
87
คำพิพากษาฎีกาที่ 2102 / 2517
คดีเรื่ องถอดถอนผูพ้ ิทกั ษ์ ไม่เป็ นคดีที่ทายาทจะรับมรดกความได้
คดีที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาถอดถอนจำเลยจากการเป็ นผูพ้ ิทกั ษ์โจทก์ เมื่อโจทก์ซ่ ึ งอยู่
ในความพิทกั ษ์ถึงแก่ความตายในระหว่างฎีกา ก็ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของจำเลยต่อ
ไป ศาลฎีกาย่อมมีค ำสัง่ ให้จ ำหน่ายคดี

เอกสารอ้ างอิง
ภาษาไทย
กรมร่ างกฎหมาย . ประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2466 บรรพ 1 และบรรพ 2 กับ
อุทาหรณ์ , พระนคร : โรงพิมพ์กองลหุโทษ, 2467.
จิตติ ติงศภัทิย ์ . กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้ วยบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุ งเทพมหานคร
:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2530.
จี๊ด เศรษฐบุตร . คำสอนชั้นปริญญาตรี พุทธศักราช 2583 กฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ ว่าด้ วยบุคคล,
พระนคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2483.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ . ประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่ าด้ วยครอบครัว,
กรุ งเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2537.
ประสิ ทธิ์ โฆวิไลกูล . คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ ว่าด้ วยบุคคล, กรุ งเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2540.
พรชัย สุ นทรพันธุ์ . กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้ วยบุคคล, กรุ งเทพมหานคร : กิ่งจันทร์การพิมพ์,
2526.
เพรี ยบ หุตารกูร, คำบรรยายกฎหมายลักษณะมรดก , กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรม
ศาสตร์, 2520.
ศักดิ์ สนองชาติ . คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ ว่ าด้ วยนิติกรรมและสั ญญา,
กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์ แสวง สุ ทธิ การพิมพ์.
สมทบ สุ วรรณสุ ทธิ . ประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ ว่าด้ วยบุคคล, กรุ งเทพมหานคร : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2514.

88
เสนีย ์ ปราโมทย์ . ม.ร.ว. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้ วยครอบครัวมรดก, กรุ งเทพมหานคร : โรง
พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2508.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา . ข้ อเสนอแก้ ไขเพิม่ เติมประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ บรรพ
1 ,กันยายน 2534.

ภ า ษ า ต ่า ง ป ร ะ เ ท ศ
Keith J. Eddey, The English Legal System , London : Sweet and Maxwell, 4 ed, 1987.
Th

Thomas J. Harron. Business Law, U.S.A : Allyn and Baconing ,4Th ED, 1981.

89

You might also like