You are on page 1of 3

๓๒

มาตรา ๗๐ ผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบ


ด้วยกฎหมาย ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ เว้นแต่จะรู้ว่าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งซึ่งมิชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา ๗๑ ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๓๔ ถึงมาตรา ๓๓๖


วรรคแรก และมาตรา ๓๔๑ ถึงมาตรา ๓๖๔ นั้น ถ้าเป็นการกระทำที่ส ามี
กระทำต่อภริยา หรือภริยากระทำต่อสามี ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ
ความผิดดังระบุมานี้ ถ้าเป็นการกระทำที่ผู้บุพการีกระทำต่อผู้สืบสันดาน
ผู้ สืบ สันดานกระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่ห รือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
กระทำต่อกัน แม้กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ก็ให้เป็น
ความผิดอันยอมความได้ และนอกจากนั้นศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมาย
กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

มาตรา ๗๒ ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่
เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อย
กว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

*มาตรา ๗๓ เด็กอายุยังไม่เกินสิบสองปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติ


เป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
ให้พนักงานสอบสวนส่ งตัวเด็กตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
กฎหมายว่าด้ว ยการคุ้มครองเด็ก เพื่อดำเนิน การคุ้มครองสวัส ดิภาพตาม
กฎหมายว่าด้วยการนั้น

* มาตรา ๗๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๙) พ.ศ. ๒๕๖๕
๓๓

*มาตรา ๗๔ เด็กอายุกว่าสิบ สองปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำการอัน


กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะ
ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะ
เรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
(๒) ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้
ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวาง
ข้ อ กำหนดให้ บ ิ ด า มารดา หรื อ ผู ้ ป กครองระวั ง เด็ ก นั ้ น ไม่ ใ ห้ ก ่ อ เหตุ ร ้ า ย
ตลอดเวลาที่ศาลกำหนดซึ่ง ต้องไม่เกิน สามปีและกำหนดจำนวนเงิน ตามที่
เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละหนึ่ง
หมื ่ น บาท ในเมื ่ อเด็ กนั้ นก่ อเหตุ ร้ ายขึ ้ น แต่ ถ้ า เด็ กนั ้ น อาศั ย อยู ่ กั บ บุ คคลอื่ น
นอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และศาลเห็นว่าไม่สมควรจะเรี ยกบิดา
มารดา หรือผู้ปกครองมาวางข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ศาลจะเรียกตัวบุคคลที่
เด็กนั้นอาศัยอยู่มาสอบถามว่าจะยอมรับข้อกำหนดทำนองที่บัญญัติไว้สำหรับ
บิดา มารดา หรือผู้ปกครองดังกล่าวมาข้างต้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าบุคคลที่เด็กนั้น
อาศัยอยู่ยอมรับข้อกำหนดเช่นว่านั้น ก็ใ ห้ศาลมีคำสั่งมอบตัวเด็กให้แก่บุคคล
นั้นไปโดยวางข้อกำหนดดังกล่าว
(๓) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังสถานศึกษา หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถาน
แนะนำทางจิต หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลา
ที่ศาลกำหนด แต่ไม่ให้เกินกว่าวันที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี

* มาตรา ๗๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๙) พ.ศ. ๒๕๖๕
๓๔

ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็ก


นั้นอาศัยอยู่ตาม (๒) ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็ก นั้น
เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๕๖ ด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลแต่งตั้ง
พนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใดเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น
ในกรณีที่เด็กนั้นไม่มีบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ศาลเห็นว่าไม่
สามารถดูแลเด็กนั้นได้ หรือในกรณีที่เด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา
มารดา หรือผู้ปกครอง และบุคคลนั้นไม่ยอมรับข้อกำหนดดังกล่าวใน (๒) ศาล
จะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้อยู่กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควรเพื่อ
ดูแล อบรม และสั่งสอนตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ใ นเมื่อบุคคลหรือ
องค์การนั้นยินยอม ในกรณีเช่นว่านี้ ให้บุคคลหรือองค์การนั้นมีอำนาจเช่น
ผู้ปกครองเฉพาะเพื่อดูแล อบรม และสั่งสอน รวมตลอดถึงการกำหนดที่อยู่
และการจัดให้เด็กมีงานทำตามสมควรหรือให้ดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพ
เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นก็ได้
คำสั่งของศาลดังกล่าวใน (๒) (๓) วรรคสอง และวรรคสามนั้น ถ้าในขณะ
ใดภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ความปรากฎแก่ศาลโดยศาลรู้เองหรือตาม
คำเสนอของผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ หรือบุคคลหรือองค์การที่ศาลมอบ
ตัวเด็กเพื่อดูแล อบรม และสั่งสอน หรือเจ้าพนักงานว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับ
คำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ให้ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้นหรือมี
คำสั่งใหม่ตามอำนาจในมาตรานี้
*มาตรา ๗๕ ผู้ใดอายุกว่าสิบห้าปีแต่ต่ำกว่าสิบแปดปี กระทำการอัน
กฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้ง
ปวงเกี่ยวกับผู้นั้น ในอันที่จะควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่
ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษก็ให้จัดการตามมาตรา ๗๔ หรือถ้าศาล
เห็นว่าสมควรพิพากษาลงโทษ ก็ให้ลดมาตราส่ว นโทษที่กำหนดไว้ส ำหรับ
ความผิดลงกึ่งหนึ่ง

* มาตรา ๗๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล


กฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๑

You might also like