You are on page 1of 13

ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.

วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

การพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL
ปัทมวรรณ กองทุน1* และ วีรยุทธ นิลสระคู2
1สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2ภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติและคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
*E-mail : pattamawan.kh.61@ubu.ac.th

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา
และความสามารถในการสื่อสารและความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ ระหว่างกลุ่มที่ได้ รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
โดยใช้ เ ทคนิ ค KWDL กั บ กลุ่ ม ที่ จั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ แ บบปกติ เรื่ อ ง เศษส่ ว น กลุ่ ม ตั ว อย่ า งที่ ใ ช้ ใ นการวิ จั ย ในครั้ ง นี้
เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จานวน 2 ห้องเรียน จานวนนักเรียน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม
เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ 4) แบบทดสอบ
วัดความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL มีความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นั ก เรี ย นที่ ได้ รับ การจัดกิ จ กรรมการเรีย นรู้ ด้ว ยวิ ธี ก ารสอนแบบ KWDL มี ค วามสามารถในการสื่อ สารทาง
คณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL มีความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์
สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

คาสาคัญ : สมรรถนะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL ความสามารถในการแก้ปัญหา


ความสามารถในการสื่อสาร ความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์

Development of Mathematics Learning Competencies on Fractions of Grade 7


with KWDL Teaching Method
Pattamawan Kongtoon1* and Weerayuth Nilsrakoo2
1Program in Mathematics Education, Faculty of Science, Ubon Ratchathani University
2Department of Mathematics Statistics and Computer, Faculty of Science, Ubon Ratchathani University
*E-mail : pattamawan.kh.61@ubu.ac.th

Abstract
The purpose of this research is to compare mathematics learning competencies, problem solving
ability, communication ability, and retention on mathematic of student between the groups that received
learning activities using the KWDL technique with the conventional approach on fractions. The samples
consisted of 26 grade 7 students attending in first semester of the academic year in 2020, Thongnoi School,

29
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

Sangkha District, Surin Province, who were selected through the random cluster sampling technique. The
research instruments were: 1) the lesson plans for organization of using KWDL technique. 2) the lesson
plans for organization of the conventional approach. 3) the test of mathematical problem solving ability
and communication ability. 4) the test of the learning retention of mathematics.
The results of the research were as follows:
1. Students who received KWDL teaching activities had significantly higher math problem solving
ability than students who received regular learning activities at level .05.
2. Students who have been organized learning activities with the KWDL method of teaching have
a mathematical communication ability. Higher than students who received regular learning activities with
statistical significance at the .05 level.
3. Students who have been organized learning activities using the KWDL method have a retention
in mathematics. Higher than students who received regular learning activities.

Keywords : Mathematics learning competencies, Learning Activities Using KWDL Technique, Mathematics
Word Problem Solving Ability, Mathematics Word Communication Ability, Retention on
Mathematics.

บทนา
ที่มาและความสาคัญ
การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนไทยยังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ อยู่หลายปัญหา โดยเฉพาะขาดทักษะ
และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน และแม้ว่าในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ที่ผ่านมานั้น นักเรียนจะมีความรู้
ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียนรู้เป็นอย่างดี แต่ยังมีนักเรียนจานวนไม่น้อยที่ยังขาดทักษะในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสื่อสารหรือการนาเสนอแนวคิดทางคณิตศาสตร์ รวมไปถึงการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์
กับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจาวัน (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551 : 1) นักเรียนจึงไม่สามารถ
นาความรู้และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันและในการศึกษาระดับต่อไปให้มี
ประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ และจากการรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมายังไม่บรรลุผลสาเร็จตามจุดมุ่งหมาย
ของหลักสูตร ดังจะเห็นได้จากการสรุปคะแนนสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-NET) ประจาปีการศึกษา 2562 พบว่า รายวิชา
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโตงน้อย อาเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 27.
94 ซึ่งเป็นคะแนนที่ต่ากว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุของปัญหา พบว่า มีหลายประการ อาทิ เช่น การ
นาหลักสูตรไปใช้ ครูผู้สอนยังขาดความเข้าใจ และความต้องการของหลักสูตร ไม่เข้าใจ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และยังยึดติด
กับการสอนแบบเดิม โดยครูส่วนใหญ่สนใจเพียงการสอน และ วัดผลประเมินผล โดยเน้นที่ตัวคาตอบหรือผลลัพธ์ของปัญหา
ม า ก ก ว่ า วิ ธี ก า ร ห รื อ เ ท ค นิ ค ใ น ก า ร แ ก้ ปั ญ ห า เ มื่ อ นั ก เ รี ย น พ บ กั บ ปั ญ ห า ค ณิ ต ศ า ส ต ร์ ที่ มี ส ถ า น ก า ร ณ์
ในปัญหาที่ต่างจากที่เคยเรียนจึงไม่ทราบว่าจะ แก้ปัญหานั้นได้อย่างไร ดังนั้นถือเป็นหน้าที่สาคัญของครูที่จะต้องนาวิธีการต่าง
ๆ มาใช้ในการจัดสภาพ การเรียนการสอน เพื่อให้เกิดคุณภาพสูงสุดทางการศึกษา จากข้อมูลดังกล่าวทาให้ผู้วิจัยสนใจถึง
สาเหตุของปัญหาที่ทาให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่า ว่ามีสาเหตุจากอะไรและจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
จากปัญหาข้างต้นเห็นได้ว่าความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นสิ่งสาคัญที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ทาความเข้าใจและ
ได้ รั บ การพั ฒ นาเพื่ อ ที่ นั ก เรี ย นสามารถคิ ด เป็ น และแก้ ปั ญ หาได้ สามารถน าทั ก ษะการแก้ ปั ญ หานี้ ไ ปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ น
ชีวิตประจาวัน การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้และฝึกการคิดแก้ปัญหา จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะด้านการคิด เกิดแนวคิดที่หลากหลาย
30
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

มีระเบียบในการคิด มีเหตุผล และสามารถตัดสินใจสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างฉลาด ซึ่งการแก้ปัญหาเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง


ประสบการณ์เดิมกับความรู้ความเข้าใจและดาเนินการโดยใช้ข้อมูลที่กาหนดให้ ผู้เรียนจะต้องอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่
เพื่อสารวจ พร้อมทั้งทาความเข้าใจในปัญหา วางแผนในการแก้ปัญหา เลือกวิธีการในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
รวมทั้งสามารถตรวจสอบความถูกต้องของคาตอบที่ได้ ตลอดจนมองความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงกับคาตอบ
สามารถขยายผลลัพธ์ที่ได้ พิจารณาผลที่ได้ และสร้างสรรค์ปัญหาที่มีความน่าสนใจจากปัญหาเดิมตามกระบวนการแก้ปัญหา
(Krulik and Rudnick., 1993) และ Kennedy และ Tipps (1994) ได้กล่าวว่า ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งที่สาคัญของการเรียน
การสอนคณิตศาสตร์ ที่จะช่วยทาให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เพราะการสื่อสารเป็น ตัวเชื่อมโยงระหว่างข้อมูล
ความรู้ และสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งทักษะการสื่อสารเป็นความสามารถของผู้เรียนในการอธิบาย
ชี้แจง แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจตรงกัน โดยการใช้ภาษาและสัญลักษณ์
ทางคณิตศาสตร์ ในการอธิบายขั้นตอนของการทางาน แสดงเหตุผลเพื่อสนับสนุนข้อสรุปที่ได้ การใช้ตาราง กราฟหรือค่าสถิติ
ต่าง ๆ เพื่ออธิบายหรือการนาเสนอข้อมูล (อัมพร, 2553) สอดคล้องกับสมาคมครูคณิตศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (1989) ที่ได้
กล่าวว่าความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เป็นความสามารถในการใช้คาศัพท์ สัญลักษณ์และโครงสร้างทาง
คณิตศาสตร์ เพื่อแสดงแนวคิด และสามารถทาความเข้าใจแนวคิด ซึ่งในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีความจาเป็นต้องใช่
ทักษะการสื่อสาร เพราะนอกจากการอ่านเพื่อทาความเข้ าใจสถานการณ์ปัญหาและค้นหาคาตอบแล้ว การแก้ปัญ หาทาง
คณิตศาสตร์ยังต้องมีการพูดหรือเขียนเพื่ออธิบายความรู้ความเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์ ทักษะการสื่อสารจึงเป็นอีกทักษะ
หนึ่งที่มีความสาคัญในวิชาคณิตศาสตร์
กระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดและการจัดการเพื่อให้
คิดค้น ค้นคว้าแก้ปัญหา ลักษณะการจัดกิจกรรมจะต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ในชีวิตจริง ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ
แสดงความคิดเห็น ทั้งการคิดและการจัดการ มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับการคิด สามารถสร้างองค์ความรู้ได้
วิธีการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบซึ่งครูต้องจัดให้เหมาะสมกับความแตกต่างตามลักษณะของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้
โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWDL เป็นเทคนิคการสอนรูปแบบหนึ่งที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสาร
ทางคณิตศาสตร์โดยเทคนิค K-W-D-L (Know-Want-Do-Learned) พัฒนาจากแนวคิด KWL ของโอเกิล (Shaw; & ; et al.,
1997) โดยครูสามารถนามาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ เนื่องจากวิธีการสอนแบบ K-W-D-L เป็นเทคนิคที่
ฝึกให้นักเรียน คิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาอย่างหลากหลาย อันจะเป็นผลให้นักเรียนสามารถนาไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง
ๆ ในชีวิตประจาวันของตนเองได้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ K (What We Know) นักเรียนรู้ อะไรบ้างในเรื่องที่จะเรียน
หรือสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบมีอะไรบ้าง เป็นขั้นที่นักเรียนต้องอ่านอย่างวิเคราะห์ โดยอาจต้องใช้ความรู้เดิมที่เรียนไปแล้ว W
(What We Want To Know) นั ก เรี ย นหาสิ่ งที่ โ จทย์ ต้ อ งการทราบหรื อ สิ่ ง ที่ นั ก เรี ย นต้ อ งการรู้ และต้ อ งการค้ น หาจาก
แหล่งข้อมูลอื่น ๆ เพื่อที่จะหาคาตอบ และข้อมูลเหล่านั้น D (What We Do To Find Out) นักเรียนจะต้องทาอะไรบ้าง มีวิธี
ใดบ้าง เพื่อหาคาตอบตามที่โจทย์ต้องการหรือสิ่งที่ตนเองต้องการรู้ โดยดาเนินการแก้ปัญหาตามแผนและขั้นตอนที่วางไว้ ซึ่ง
เป็นขั้นที่นักเรียนลงมือแก้ปัญหา และเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาอย่างกระจ่างชัด L (What We Learned) นักเรียนสรุป
สิ่งที่ได้เรียนรู้โจทย์ต้องการทราบอะไร เป็นขั้นที่นักเรียนต้องตอบคาถามได้ว่าโจทย์ต้องการอะไร คาตอบที่ได้คืออะไร ได้มา
อย่างไร ถูกต้องหรือไม่ โดยเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ให้ได้รวมถึงขั้นการวางแผนการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ จากข้อมูล
ที่ได้ในขั้นตอนแรกจากการแก้โจทย์ปัญหาตามขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นได้ว่านักเรียนได้ฝึ กกระบวนการทางคณิตศาสตร์อย่ าง
หลากหลายรู้จักการคิดวิเคราะห์ จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาได้อย่างถูกต้องหลากหลายวิธีมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ เทคนิค KWDL เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนคิดหาข้อมูลของคาตอบตามที่
ต้องการในแต่ละขั้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการอ่านมากขึ้น โดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์ นักเรียนสามารถใช้กระบวนการ
แก้ปัญหาในการหาคาตอบได้ดียิ่งขึ้น ทาให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ความสามรถในการสื่อสาร และมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น ส่งที่สนับสนุนแนวคิดนี้คืองานวิจัยของ วีระศักดิ์ (2544) ได้ทาการวิจัยเรื่อง
31
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

ผลของการใช้เทคนิคการสอน เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการแก้โจทย์ปัญ หาคณิตศาสตร์ข องนักเรี ย นชั้ น


ประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนการแก้โจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล สูงกว่า นักเรียนที่เรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามปกติอย่างมี
นัยสาคัญที่ระดับ 0.05 และนักเรียนพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้เทคนิคการสอน เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล ระดับมาก
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจนาวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้เทคนิค KWDL มาแก้ปัญหาดังกล่าว อีก
ทั้งยังเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนา
ศักยภาพของตนเองและนาไปใช้ในชีวิตประจาวันให้เกิดประโยชน์สงู สุด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทาวิจัย เรื่องการพัฒนาสมรรถนะการ
เรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL

วัตถประสงค์ของงานวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
3. เพื่อเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน

สมมติฐานการวิจัย
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
วิธีการสอนแบบ KWDL สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

ขอบเขตการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย
ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านโตงน้อย อาเภอ
สังขะ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสานั กงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จานวน 2 ห้องเรียน จานวนนักเรียน
ทั้งหมด 26 คน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านโตงน้อย อาเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จานวน 2
ห้องเรียน ที่จัดนักเรียนแบบคละความสามารถทุกห้องเรียน ดังนั้นผู้วิจัยจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียน
เป็นหน่วยในการสุ่ม จากนั้นจับฉลากเพื่อเลือกกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL ได้เป็นนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จานวน 13 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ได้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1/1 จานวน 13 คน

32
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

2. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้
ตัวแปรอิสระได้แก่วิธีการจัดการเรียนรู้ 2 วิธีดังนี้
1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL
2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ
ตัวแปรตามได้แก่
1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
2) ความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์
3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย
เนื้อหาที่ใช้ในการผู้วิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหารายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง เศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560)
4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยใช้เวลาในการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 17 ชั่วโมง ทั้งนี้
ไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน
กรอบแนวคิดการวิจัย
การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอน
แบบ KWDL มีกรอบแนวคิดในการวิจัยดังนี้
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL - ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ - ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
- ความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์

ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย
วิธีการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL สาหรับกลุ่ม
ทดลอง และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติสาหรับกลุ่มควบคุม ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ในแผนเหมือนกัน มีเพียง
กิจกรรมการเรียนรู้ขั้นสอนเท่านั้นที่มีขันตอนที่แตกต่างกัน จานวน 7 แผน ใช้เวลาในการสอนทั้งหมด 17 ชั่วโมง ซึ่งครอบคลุม
เนื้อหาสาระการเรียนรู้เรื่องเศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการ
สื่อสารทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นข้อสอบอัตนัยแบบขนาน 3 ฉบับ ฉบับละ 5 ข้อ โดยแต่ละฉบับประกอบด้วยโจทย์ปัญหา
คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ 1 โดยใช้เวลาในการทา
แบบทดสอบฉบับละ 60 นาที ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการทดลองผ่าน
ไป 2 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งแบบทดสอบผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาความเหมาะสม
ด้านภาษาของข้อคาถาม และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ทดสอบก่อนการทดลองโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ฉบับ
ก่อนเรียน กับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพร้อมกัน ใช้เวลาในการทดแบบทดสอบ 60 นาที

33
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

2. ดาเนินการสอนตามแผนการจั ดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL สาหรับกลุ่มทดลอง และสอนตาม


แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติสาหรับกลุ่มควบคุม จานวน 7 แผน รวมใช้เวลา 17 ชั่วโมง
3. ดาเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเนื้อหาที่กาหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกแผน แล้ว
ผู้วิจัยดาเนินการทดสอบหลังจากเสร็จสิ้นการทดลองโดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทาง
คณิตศาสตร์ฉบับหลังเรียนกับนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพร้อมกัน ใช้เวลาในการทาแบบทดสอบ 60 นาที
4. ทดสอบวัดความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการ
สื่อสารทางคณิตศาสตร์ฉบับหลังเรียนผ่านไป 2 สัปดาห์ กับนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพร้อมกัน ใช้เวลาในการทา
แบบทดสอบ 60 นาที
5. นาข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อสรุปผลการทดลอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการทดลอง
ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยคานวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการ
ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-Independent Sample Test) ที่ระดับนัยสาคัญ .05
2. วิเคราะห์ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสือ่ สารทางคณิตศาสตร์ ของกลุ่มทดลองและกลุม่
ควบคุมเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านแต่ละด้าน และพิจารณาในภาพรวม
3. วิเคราะห์ความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยคานวณหาค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-Independent Sample Test)
ที่ระดับนัยสาคัญ .05
4. วิเคราะห์ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์จากการทาแบบทดสอบ
ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แบบแยกเป็นรายด้าน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3 ด้าน คือ
การทาความเข้าใจปัญหา การแสดงวิธีทาเพื่อหาคาตอบ และการสรุปคาตอบและตรวจสอบคาตอบ และความสามารถในการ
สื่อสารทางคณิตศาสตร์ 2 ด้าน คือ การแปลผลจากปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่ประโยคภาษาหรือประโยคสัญลักษณ์ และการ
แปลงปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่รูปแบบที่เข้าใจง่าย

ผลการวิจัย
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลแล้วนาเสนอตามลาดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุม ปรากฏดังตารางที่ 1 และ 2 ตามลาดับ
ตารางที่ 1 แสดงผลการเปรียบเทียบค่าเฉลีย่ ของคะแนนก่อนการทดลอง ของกลุ่มทดลองและกลุม่ ควบคุม
ความสามารถ กลุ่ม n 𝑥̅ S.D. t p
ความสามารถใน กลุ่มทดลอง 13 12.38 3.23 0.606 0.550
การแก้ปญั หา กลุ่มควบคุม 13 11.54 3.87
ความสามารถใน กลุ่มทดลอง 13 3.08 2.53 -0.277 0.784
การสื่อสาร กลุ่มควบคุม 13 3.38 3.10
จากตารางที่ 1 พบว่ า คะแนนทดสอบวั ด ความสามารถในการแก้ ปัญ หาและความสามารถในการสื่อ สารทาง
คณิ ต ศาสตร์ ก่ อ นการทดลองของกลุ่ ม ทดลองและกลุ่ ม ควบคุ ม ไม่ มี นั ย ส าคั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ .05 แสดงให้ เ ห็ น ว่ า
ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ก่อนการทดลองของนักเรียนทั้งสองกลุ่มไม่
แตกต่างกัน

34
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

ตารางที่ 2 แสดงผลการเปรียบเทียบค่าเฉลีย่ ของคะแนนหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลองและกลุม่ ควบคุม


ความสามารถ กลุ่ม n ̅
𝒙 S.D. t p
ความสามารถใน กลุ่มทดลอง 13 17.62 3.15 3.378 0.002*
การแก้ปญั หา กลุ่มควบคุม 13 12.54 4.41
ความสามารถใน กลุ่มทดลอง 13 15.00 2.61 8.789 0.000*
การสื่อสาร กลุ่มควบคุม 13 6.46 2.33
* มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากตารางที่ 2 พบว่ า คะแนนทดสอบวั ด ความสามารถในการแก้ ปัญ หาและความสามารถในการสื่อ สารทาง
คณิตศาสตร์ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เมื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-Independent Sample
Test) พบว่า กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ หลังการทดลองสูง
กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุมเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและพิจารณาในภาพรวม ปรากฏดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 แสดงผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการทดลอง ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยวิเคราะห์แยก
เป็นรายด้านและวิเคราะห์ในภาพรวม
ความสามารถในการแก้ปัญหา คะแนนเต็ม กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม
̅
𝒙 S.D. ร้อยละ ̅
𝒙 S.D. ร้อยละ
การทาความเข้าใจปัญหา 10 9.08 1.75 90.77 7.31 2.50 73.08
การแสดงวิธีทาเพื่อหาคาตอบ 5 3.08 0.76 61.54 2.00 1.53 40.00
การสรุปคาตอบและตรวจสอบคาตอบ 10 5.46 1.56 54.62 2.77 2.35 27.69
รวม 25 17.62 3.15 70.46 15.00 2.61 60.00
ความสามารถในการสื่อสาร
การแปลผลจากปัญหาหรือสถานการณ์ 10 6.46 1.45 64.62 6.15 2.64 61.54
ไปสู่ประโยคภาษาหรือประโยค
สัญลักษณ์
การแปลงปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่ 15 8.54 1.39 56.92 0.00 0.00 0.00
รูปแบบที่เข้าใจง่าย

รวม 25 12.08 4.77 48.31 6.15 2.64 24.62


จากตารางที่ 3 พบว่า คะแนนทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
คือ ด้านการทาความเข้าใจปัญหา กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ ากับ 9.08 กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.31 ด้านการแสดงวิธีทา
เพื่อหาคาตอบ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08 กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.00 ด้านการสรุปคาตอบและตรวจสอบ
คาตอบ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.46 กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.77 และความสามารถในการสื่อสาร เมื่อพิจารณา
เป็นรายด้านคือ ด้านการแปลผลจากปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่ประโยคภาษาหรือประโยคสัญลักษณ์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 6.46 กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.14 ด้านการแปลงปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่รูปแบบที่เข้าใจง่าย กลุ่มทดลองมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.54 กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.00 จากค่าเฉลี่ยของคะแนนข้างต้น แสดงให้เห็นว่านักเรียนกลุ่มทดลองมี
ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนในแต่ละด้านทุกด้าน
และในภาพรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุม

35
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารในการพัฒนาในรายด้าน โดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเป็นดังนี้
การทาความเข้าใจปัญหา
เมื่อพิจารณาด้านการทาความเข้าใจปัญหา พบว่า กลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาสูงกว่ากลุ่ม
ควบคุม โดยมีนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 และกลุ่มควบคุมจานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 53.85
ที่สามารถระบุสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบและสิ่งที่โจทย์กาหนดให้ได้ถูกต้อง และมีนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 3 คน คิดเป็นร้อย
ละ 23.02 และกลุ่มควบคุมจานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15 ที่ยังไม่สามารถระบุสิ่งที่โจทย์กาหนดให้และสิ่งที่โจทย์ต้องการ
ทราบได้ หรือเขียนข้อมูลไม่ครบถ้วน ระบุได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 ตัวอย่างการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปญั หาทางคณิตศาสตร์ด้านการทาความเข้าใจปัญหา


การแสดงวิธีทาเพื่อหาคาตอบ
เมื่อพิจารณาด้านการแสดงวิธีทาเพื่อหาคาตอบ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่า
กลุ่มควบคุมโดยมีนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 และกลุ่มควบคุมจานวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ
30.77 ที่สามารถแสดงวิธีทาเพื่อหาคาตอบได้ถูกต้องมีการนาความรู้ หลักการและวิธีการต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ช่วยในการแก้
โจทย์ปัญหาได้ ทาให้แสดงวิธีหาคาตอบได้ถูกต้อง ครบถ้วน และมีนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 15.38
และกลุ่มควบคุมจานวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 69.23 ที่ยังไม่สามารถแสดงวิธีเพื่อหาคาตอบได้หรือแสดงวิธีทาเพื่อหาคาตอบได้
เพียงบางส่วน เนื่องจากไม่สามารถสร้างสมการที่ถูกต้อง จึงส่งผลให้หาคาตอบได้ไม่ถูกต้อง หรือเกิดปัญหาผิดพลาดตั้งแต่
เริ่มต้นทาให้แก้ปัญหาในขั้นอื่น ๆ ผิดพลาดไป ดังภาพที่ 3

ภาพที่ 3 ตัวอย่างการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปญ ั หาทางคณิตศาสตร์ด้านการแสดงวิธีทาเพื่อหาคาตอบ


การสรุปคาตอบและตรวจสอบคาตอบ
เมื่อพิจารณาด้านการสรุปคาตอบและตรวจสอบคาตอบ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยมีนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 38.46 และกลุ่มควบคุมจานวน
1 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 7.69 ที่ ส ามารถสรุ ป ค าตอบได้ ถู ก ต้ อ งชั ด เจนและแสดงวิ ธี ท าเพื่ อ ตรวจสอบค าตอบได้ ถู ก ต้ อ ง
และมีนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 61.54 และกลุ่มควบคุม จานวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 92.31 ที่ยังไม่
สามารถสรุปคาตอบได้ สรุปได้ไม่ครบถ้วนหรือได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ดังภาพที่ 4
36
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

ภาพที่ 4 ตัวอย่างการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปญ ั หาทางคณิตศาสตร์ด้านการสรุปคาตอบและตรวจสอบคาตอบ


การแปลผลจากปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่ประโยคภาษาหรือประโยคสัญลักษณ์
เมื่อพิจารณาด้านการแปลผลจากปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่ประโยคภาษาหรือประโยคสัญลักษณ์ พบว่ากลุ่ม
ทดลองมีคะแนนความสามารถด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยมีนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 12 คน
คิดเป็นร้อยละ 92.31 และกลุ่มควบคุมจานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 ที่สามารถแปลผลจากปัญหาหรือสถานการณ์ที่
กาหนดให้ไปสู่ประโยคภาษาหรือประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้อง และมีนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69
และกลุ่มควบคุมจานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 ที่ยังไม่สามารถแปลผลจากปัญหาหรือสถานการณ์ไปสูป่ ระโยคภาษาหรือ
ประโยคสัญลักษณ์ได้ ดังภาพที่ 5

ภาพที่ 5 ตัวอย่างการเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการแปลผลจากปัญหา
หรือสถานการณ์ไปสู่ประโยคภาษาหรือประโยคสัญลักษณ์
การแปลงปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่รูปแบบที่เข้าใจง่าย
เมื่อพิจารณาด้านการแปลงปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่รูปแบบที่เข้าใจง่าย พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถ
ด้านการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมโดยมีเพียงนักเรียนกลุ่มทดลองจานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15 ที่
สามารถแปลงปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่รูปแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนาเสนอแนวคิดในการสื่อสารแปลงรูปแบบโจทย์ปัญหา
ให้เป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายได้อย่างถูกต้อง และมีนั กเรียนกลุ่มทดลองจานวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 53.85 และกลุ่มควบคุม
จานวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ที่ไม่สามารถแปลงปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่รูปแบบที่เข้าใจง่ายได้ เช่น ไม่สามารถเขียน
ภาพจากโจทย์ปัญหาได้ หรือเขียนแต่ข้อมูลไม่ครบถ้วน ดังภาพที่ 6

ภาพที่ 6 ตัวอย่างการเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการแปลงปัญหาหรือสถานการณ์ไปสู่รปู แบบทีเ่ ข้าใจง่าย


37
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

3. ผลการเปรียบเทียบความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ปรากฏดังตารางที่ 4


ตารางที่ 4 แสดงผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการทดลองและหลังการทดลองผ่านไป 2 สัปดาห์ ของกลุ่ม
ทดลองและกลุ่มควบคุม
ความสามารถ กลุ่ม การทดสอบ n ̅
𝒙 S.D. t p
หลังการทดลอง 13 17.62 3.15
กลุ่มทดลอง หลังการทดลองผ่านไป 2 1.109 0.297
13 16.23 3.219
ความสามารถใน สัปดาห์
การแก้ปญ
ั หา หลังการทดลอง 13 12.54 4.409
กลุ่มควบคุม หลังการทดลองผ่านไป 2 -0.306 0.762
13 13.08 4.555
สัปดาห์
หลังการทดลอง 13 15 2.614
กลุ่มทดลอง หลังการทดลองผ่านไป 2 0.196 0.846
13 14.77 3.345
ความสามารถใน สัปดาห์
การสื่อสาร หลังการทดลอง 13 6.46 2.332
กลุ่มควบคุม หลังการทดลองผ่านไป 2 0.483 0.634
13 5.85 3.955
สัปดาห์
จากตารางที่ 4 พบว่า คะแนนการทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทาง
คณิตศาสตร์หลังการทดลองและหลังการทดลองผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่มีนัยสาคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์หลังการทดลอง
และหลังการทดลองผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน
ตารางที่ 5 แสดงผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการทดลองผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม
ควบคุม
N 𝑥̅ S.D. t p
กลุ่มทดลอง 13 25.15 5.367 2.352 0.028*
กลุ่มควบคุม 13 18.92 7.900
* มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากตารางที่ 5 พบว่า คะแนนทดสอบวัดความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ หลังการทดลองผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์
ของกลุ่ ม ทดลองมี ค่ า เฉลี่ ย เท่ า กั บ 25.15 และกลุ่ ม ควบคุ ม มี ค่ า เฉลี่ ย เท่ า กั บ 18.92 เมื่ อ ทดสอบสมมติ ฐ านโดยใช้ ค่ า ที
(t-Independent Sample Test) พบว่า กลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์สงู กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05

อภิปรายและสรุปผลการวิจัย
จากการวิจัยเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการเรี ยนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอน
แบบ KWDL อภิปรายผลได้ดังนี้
1. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL มีความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตาม
สมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL เป็นกระบวนการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะ
กระบวนการทางคณิตศาสตร์ เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์คาถามได้ ดียิ่งขึ้น ที่จะช่วยให้
ง่ายขึ้นในการหาคาตอบ ซึ่งสอดคล้องกับ วัชรา เล่าเรียนดี (2554: 150) เมื่อนาการเรียนรู้รูปแบบ KWDL มาประยุกต์ใช้ใน
การสอนเพื่อพัฒนาทักษะและสมรรถนะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยมีขั้นตอนในการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้น K สิ่งที่โจทย์
38
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

กาหนดให้ เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่โจทย์กาหนดให้ 2) ขั้น W สิ่งที่โจทย์ต้องการทราบ


และวางแผนการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนที่นักเรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบและนาข้อมูลจากสิ่งที่
โจทย์กาหนดมาให้ และสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบมาใช้ พร้อมทั้งเลือกวิธีการที่เหมาะสมในการวางแผนการแก้ปัญหา 3) ขั้น D
ดาเนินการแก้ปัญหาเป็นขั้นตอนที่นักเรียนแสดงวิธีการหาคาตอบของปัญหาเพื่อให้ได้คาตอบในขั้นตอนนี้นักเรียนลงมือ
แก้ปัญหาที่ได้วางแผนด้วยวิธีการเขียนประโยคสัญลักษณ์ เพื่อให้เห็นแนวทางว่าจะเริ่มต้นในการแก้ปัญหาโดยการคิดคานวณ
จ านวนใดก่ อ น จากนั้ น จึ ง ลงมื อ แก้ ปั ญ หาเพื่ อ หาค าตอบที ล ะขั้ น ตอน 4) ขั้ น L เสนอผลการแก้ ปั ญ หา เป็ น การศึ ก ษา
ความสามารถในการสรุปผลของการแก้ปัญหาและความรู้ที่ได้รับ
ดังจะเห็นได้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริม
กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ทาให้นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ข้อมูลจากปัญหา ซึ่งกระบวนการสอนนั้นช่วย
กระตุ้นให้นักเรียนฝึกแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอน ทาให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้อย่า งถูกต้อ งตามลาดั บขั้นตอนตาม
วัตถุประสงค์ที่โจทย์ต้องการให้หาคาตอบ (ทัศนชัย, 2553) เช่นเดียวกับ เสาวนีย์ (2553) ที่ได้กล่าวถึงเทคนิค KWDL ว่าเป็น
เทคนิคที่ทาให้นักเรียนคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ละเอียดถี่ถ้วน ทาให้นักเรียนเข้าใจโจทย์ปัญหาได้อย่ าง
ชัดเจน สอดคล้องกับ กาญจนา (2554) ที่ทาการวิจัยโดยใช้เทคนิค KWDL ในการจัดการเรียนการสอบเปรียบเทียบกับการ
จัดการเรียนการสอนแบบปกติ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL มีประสิทธิภาพสูงกว่า การจัดการเรียนรู้แบบปกติ
2. นั ก เรี ย นที่ ไ ด้ รั บ การจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ด้ ว ยวิ ธี ก ารสอนแบบ KWDL มี ค วามสามารถในการสื่ อ สารทาง
คณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้อาจ
เนื่องจากการจัดการเรียนด้วยเทคนิค KWDL ในการแก้ปัญหาแต่ละครั้ง นักเรียนจะต้องเขียนขั้นตอนการทางานทั้ง 4 ขั้น
ลงไปในแผนผัง KWDL โดยขั้น K และ W นักเรียนจะต้องเขียนที่สิ่งที่โจทย์กาหนดให้และสิ่งที่โจทย์ต้องการออกมาในรูปของ
สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จะตรงกับความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ในด้านภาษาคณิตศาสตร์ คือ การใช้ภาษา
คาศัพท์ สัญลักษณ์ (เครื่องหมาย) ทางคณิตศาสตร์แทนข้อความได้ถูกต้อง ซึ่งในขั้นนี้จะวัดความสามรถในการสื่อสารทาง
คณิตศาสตร์ด้ายความชัดเจนในการนาเสนอคือสามารถเขียนอธิบายสรุปกระบวนการคิดเป็นลาดับขั้นตอนได้สมบูรณ์ จะเห็น
ว่าเทคนิค KWDL จะช่วยให้นกั เรียนสื่อสารสิ่งที่นักเรียนคิดออกมาให้อยู่ในรูปของตัวหนังสือได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL มีความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์
สูงกว่านักเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เมื่อเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มทดลองมี
นักเรียนจานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 กลุ่มควบคุมมีจานวนนักเรียน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 ที่มีผลต่างของ
คะแนนหลังการทดลองผ่านไป 2 สัปดาห์ สูงกว่าหลังการทดลอง ผลต่างของคะแนนหลังการทดลองผ่านไป 2 สัปดาห์ เท่ากับ
หลังการทดลอง และผลต่างของคะแนนหลังการทดลองผ่านไป 2 สัปดาห์ ลดลงไม่เกิน 10% ของคะแนนหลังการทดลอง และ
เมื่อเทียบความสามารถในการสือ่ สารทางคณิตศาสตร์ กลุ่มทดลองมีนักเรียนจานวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 92.31 กลุ่มควบคุม
มีจานวนนักเรียน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 ที่มีผลต่างของคะแนนหลังการทดลองผ่านไป 2 สัปดาห์ สูงกว่าหลังการ
ทดลอง ผลต่างของคะแนนหลังการทดลองผ่านไป 2 สัปดาห์ เท่ากับหลังการทดลอง และผลต่างของคะแนนหลังการทดลอง
ผ่านไป 2 สัปดาห์ ลดลงไม่เกิน 10% ของคะแนนหลังการทดลอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
ทั้งสองกลุ่มต่างมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามลาดับเนื้อหาอย่างเป็นขั้นตอนตามความยากง่ายโดยมีกระบวนการเรียนรู้ที่
คล้ายคลึงกันคือ ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน และขั้นสรุป แต่จะมีความแตกต่างกันในขั้นสอน ซึ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้
เทคนิ ค KWDL เน้ น ให้ นั ก เรี ย นได้ ล งมื อ ด้ ว ยตนเอง มี ก ารฝึ ก ท าแบบฝึ ก ทั ก ษะทบทวนความเข้ า ใจ เรี ย นรู้ ร่ ว มกั น จาก
กระบวนการกลุ่ม และมีการร่วมกันสรุปเนื้อหาที่เรียนทุกครั้ง จึงทาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ จดจาและเกิดความเข้าใจซึ่ง
ความเข้าใจที่เกิดจากการฝึกฝนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทาให้นักเรียนมีความคงทนในการเรียนและทาให้เกิดการจดจาได้นาน

39
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

สรุปผลการศึกษา
จากการวิจัยเรื่องการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอน
แบบ KWDL สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL มีความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นั ก เรี ย นที่ ได้ รับ การจัดกิ จ กรรมการเรีย นรู้ ด้ว ยวิ ธี ก ารสอนแบบ KWDL มี ค วามสามารถในการสื่อ สารทาง
คณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการสอนแบบ KWDL มีความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์
สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
1. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วงแรกนักเรียนยังทาการบันทึกในแผนผัง KWDL ได้ไม่ครบถ้วน ดังนั้น ครูจึงควรให้
ความสาคัญกับการตรวจแบบฝึกหัด การบ้านและใบงานของนักเรียนพร้อมทั้งให้ผลสะท้อนกลับ มีการเสริมแรงในทางบวก
เพื่อให้นักเรียนทราบข้อบกพร่องและมีกาลังใจในการแก้ไขและพัฒนาตนเองต่อไป
2. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL อาจจะใช้เวลามากกว่าปกติเนื่องจากผู้เรียนต้องเขียนขั้นตอนใน
การแก้ปัญหาอย่างละเอียด ครูจะต้องให้เวลานักเรียนอย่างเพียงพอ ดังนั้นครูจะต้องมีการวางแผนในการจัดการเรียนการสอน
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเวลาที่มี
3. ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และเปิดใจให้กว้างยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างของ
นักเรียนแต่ละคน พร้อมทั้งให้กาลังใจ ชื่นชม และเสริมแรงให้กับนักเรียน เพื่อส่งเสริมบรรยากาศในห้องเรียน
ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยต่อไป
1. ควรมีการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL ที่มีต่อสมรรถนะด้านอื่น ๆ เช่น ความสามารถ
ในการคิด ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเป็นต้น
2. ควรมีการศึกษากับเนื้อหาในเรื่องอื่น ๆ ว่ามีความเหมาะสมและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL ได้กับ
เนื้อหาในเรื่องใดบ้าง
3. ควรมีการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL โดยใช้บูรณาการกับเทคนิคการสอนวิธีอื่น ๆ
เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้โดยใช้เกม การใช้ผังกราฟิก เป็นต้น

กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สาเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรยุทธ นิลสระคู
อาจารย์ที่ปรึกษาวิ ทยานิ พนธ์ ที่ได้ให้คาปรึกษาแนะน า และตรวจแก้ไขจนวิทยานิ พนธ์ฉ บับนี้ส มบูรณ์ ขอขอบพระคุ ณ
คณาจารย์ประจาหลักสูตรคณิตศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณา
ให้คาแนะนาและช่วยเหลืออย่างดีเสมอมา ผู้วิจัยขอขอบพระคุณอย่างสูง ณ โอกาสนี้

40
ประมวลบทความในการประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 15 | ผลงานนาเสนอแบบบรรยาย

เอกสารอ้างอิง
กาญจนา รัตนวงศ์. (2554). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการจัดการ
เรียนรู้แบบ KWDL กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ทัศนชัย เก่ากาลังพล. (2553). การพัฒนาชุดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ KWDL เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปร
เดียว รายวิชาคณิต ศาสตร์พื้นฐานสาหรับนักเรีย นชั้นมัธยมศึก ษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณ ฑิต , มหาวิทยาลัย
นเรศวร, พิษณุโลก.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถานบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ส.
เจริญการพิมพ์.
เสาวนีย์ บุญแก้ว. (2553). การศึกษาความสามารถในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง ภาคตัดกรวย โดยการจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
อัมพร ม้าคะนอง. (2546). คณิตศาสตร์ : การสอบและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัมพร ม้าคะนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตาราและเอกสารทาง
วิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Car, E., & Ogle, D., (1987). KWL plus: A strategy comprehension and summariza. Journal of Reading, 30, 626-631.
Hunter. (1993). Retention Theory for Teacher: A Programma Book (36th ed.). El Segundo, California: Tip.
Krulik, S., Rudnick, J., & Milou, E. (1980). Teaching Mathematics in Middle School. Boston: Allyn and Bacon.
Polya, G. (1957). How To Solve it: A New Aspect of Mathematical Method. New York: Doubleday and Company.
Shaw, J. W., Chambless, M. S., Chessin, D. A., Price, V., & Beardain, G. (1997). Cooperative Problem Solving: Using K
W D L as an Organizational Technique. Teaching Children Mathematics, 3(39), 482-486.

41

You might also like