You are on page 1of 34

1

การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง
เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
สำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1
Development of multimedia to enhance science learning
on How to learn science
th
for 7 grade students

ชื่อเจ้าของผลงาน : ฉัตรียา ปรีดานนท์, ณิชานาฎ นาคนวน, พัณณิตา


ว่องไวเมธี, น้ำฝน คูเจริญไพศาล
สังกัด : ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ
ชื่อแหล่งทุน : ทุนส่วนตัว

บทคัดย่อ
งานวิจัยนีม
้ ีวัตถุเพื่อ 1) สร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 2) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียน
รู้วิทยาศาสตร์ที่เรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียและประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3)
์ างการเรียนวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิท
ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
สื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็ นนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 จำนวน
1 ห้อง (n=28) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อมัลติมีเดีย 2) แผนการจัดการ
์ างการเรียน 4) แบบตรวจสอบความ
เรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท
สอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับข้อคำถามของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์
ทางการเรียน 5) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย 6) แบบประเมินคุณภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ 7) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อ
มัลติมีเดีย การวิจัยนีใ้ ช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบ
ก่อนเรียนและหลังเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพของสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับ
2

มากที่สุด ( x = 4.65, S.D. = 0.48) 2) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ใน


์ างการเรียนของนักเรียน
ระดับมากที่สุด ( x = 4.71, S.D. = 0.46) 3) ผลสัมฤทธิท
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คิดเป็ นร้อยละความ
ก้าวหน้า 23.35 และมีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .46 และ 4) ความพึงพอใจของ
นักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : สื่อการเรียนรู้, การเรียนวิทยาศาสตร์, ผลสัมฤทธิท์ างการเรียน

Abstract
The objectives of this research were to 1) develop multimedia to
th
enhance science learning on How to learn science for 7 grade
students and assess the quality by experts, 2) develop lesson plans
and assess the quality by experts, 3) compare the students’ learning
achievement before and after learning by using multimedia, and 4)
study the students’ satisfaction toward learning. The sample group
th
was one classroom of 7 grade students (N=28). The research tools
consisted of 1) the multimedia on How to learn science, 2) the lesson
plans, 3) the learning achievement test, 4) the item-objective
consistency assessment form, 5) the multimedia quality assessment
form, 6) the lesson plan quality assessment form, and 7) the students’
satisfaction questionnaire toward the learning using multimedia. The
research design of one group pretest-posttest design was used in this
study. The statistics used for analyzing data were mean ( x ), standard
deviation (S.D.), percentage, and t-test for dependent sample. The
results showed that 1) the quality of the multimedia was at very good
level ( x = 4.65, S.D. = 0.48), 2) the quality of the lesson plans was at
very good level ( x = 4.71, S.D. = 0.46), 3) the mean scores of students’
learning achievement of posttest were higher than of pretest at the
statistically significant .05 level, improvement 23.35%, Effectiveness
3

Index .46, and 4) the students’ satisfaction toward the learning using
multimedia was at very good level.
Keywords: Learning media, Science learning, Learning achievement
Email address : numphon@g.swu.ac.th

ความเป็ นมาและความสำคัญของปั ญหา


กระทรวงศึกษาธิการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ.2563–2565 สำหรับเป็ น
เครื่องมือในการกำกับทิศทางการปฏิบัติงาน โดยได้กำหนดวางยุทธศาสตร์การ
พัฒนาแบ่งเป็ น 6 ยุทธศาสตร์ ในยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนา
ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาทุก
ระดับ ทุกประเภทการศึกษาสามารถเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐานระบบดิจิทัล
แพลตฟอร์มรองรับการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัลที่ทันสมัยและมีระบบ
ฐานข้อมูลกลางทางการศึกษาที่ถูกต้องเป็ นปั จจุบัน และได้มีการส่งเสริมการผลิตสื่อ
การเรียนการสอน หนังสือและตำราเรียน ในระบบดิจิทัล (กระทรวงศึกษาธิการ,
2564) ดังนัน
้ เพื่อให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับสังคมปั จจุบันและแผน
ยุทธศาสตร์จึงจำเป็ นต้องมีการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ จากการศึกษาลักษณะ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่ามีลักษณะสำคัญ 9 ประการ ดังนี ้ เน้นผู้เรียนเป็ น
สำคัญ ใช้ส่ อ
ื ประกอบการสอน ผู้เรียนจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ผู้เรียนสามารถ
ปรับเปลี่ยนและสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ได้ แสดงออกได้อย่างโปร่งใส ผู้เรียนได้รับ
ความรู้ในปริมาณมาก มีการปรับ เปลี่ยนให้เหมาะสมกับภาวการณ์ตลอดเวลา และ
มีการประสานงานและจัดการเรียนรู้ร่วมระหว่างสถานศึกษาและชุมชน รวมถึงเพิ่มมี
ความหลากหลายของกระบวนการวิธีการ เทคนิคและสื่อที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้
ร่วมกันระหว่างผู้สอนและชุมชน (สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ, 2556) ดังนัน
้ การผลิต
สื่อการเรียนการสอนเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้จึงเป็ นทางเลือกที่สำคัญใน
การนำมาจัดการเรียนการสอนในปั จจุบัน
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง เครื่องมือของการเรียนรู้ ทำหน้าที่ถ่ายทอด
ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ สร้างสถานการณ์
การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางการคิด ตลอดจน
4

เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมให้แก่ผู้เรียน (กนกกาญจน์ ทองศฤงคลี


และคณะ, 2556) แบ่งประเภทของสื่อตามช่องทางการส่งและรับสารได้ 3 ประเภท
ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ แผ่นพับ, สื่อบุคคล เช่น ครู ผู้เชี่ยวชาญ, สื่ออิเล็ก-
ทรอนิกส์และโทรคมนาคม เช่น ภาพยนตร์ วิดีทัศน์และสื่อกิจกรรม เช่น ชุด
กิจกรรม โครงงาน (รัฐสภา แก่นแก้ว, 2562) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสร้าง
สื่อการเรียนการสอนจำเป็ นต้องมีการนำสื่อประเภทต่างๆ มาบูรณาการร่วมกัน
เรียกว่า สื่อมัลติมีเดีย โดยอาจมีทัง้ ข้อความ ภาพกราฟิ ก ภาพเคลื่อนไหวและเสียง (
หัสนัย ริยาพันธ์, 2564) โดยสื่อมัลติมีเดียนัน
้ ยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้น
ให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้ดี สามารถโต้ตอบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้
นอกจากนีย
้ ังประหยัดกำลังคน เวลา และงบประมาณโดยลดความจำเป็ นในการใช้ผู้
สอนหรือเครื่องมือที่มีราคาแพงหรืออันตรายได้ด้วย (ธณัชช์นรี สโรบล และคณะ,
2563) รวมถึงยังสามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว เข้าใจง่าย ดึงดูดความสนใจของผู้
เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถตอบสนองได้เป็ นอย่างดีตามความ
แตกต่างของผู้เรียนและสามารถเรียนได้ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
(อลงกต เกิดพันธุ์ และเอกนฤน บางท่าไม้, 2557) ดังนัน
้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะ
สร้างสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และ
เข้าใจเนื้อหาได้ดีมากยิ่งขึน
้ เนื่องจากในปั จจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโร
น่าหรือโควิด-19 จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ
เรียนการสอนมาเป็ นรูปแบบออนไลน์ ด้วยเหตุนีจ
้ ึงจำเป็ นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนควรใช้
สื่อการเรียนรู้แบบสื่อมัลติมีเดียมากระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้มี
ประสิทธิภาพมากขึน

ในการจัดการศึกษาขัน
้ พื้นฐานจะต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมสภาพแวดล้อม และความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนของ
ชาติให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ดังนัน
้ การจัดการ
เรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์จึงมีสำคัญอย่างมาก เนื่องจากวิชาวิทยาศาสตร์เป็ นรากฐาน
สำคัญที่จะช่วยให้มนุษย์มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็ นระบบ
สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน สามารถนำไป
5

ใช้ในชีวิตประจำวันหรือพัฒนางานด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่นำไปสู่
การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
โดยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเองมาก
ที่สุด เพื่อให้ได้ทัง้ กระบวนการและความรู้จากการสังเกต การสำรวจตรวจสอบ การ
ทดลอง แล้วนำผลที่ได้มาจัดระบบเป็ นหลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ (กระทรวง
ศึกษาธิการ, 2564) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชีว้ ัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขัน
้ พื้นฐานพุทธศักราช 2551 ระบุให้หน่วยที่ 1 วิชาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 เป็ นเรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร เนื่องจาก
วิทยาศาสตร์เป็ นทัง้ ความรู้และกระบวนการให้ได้มาซึ่งความรู้ ดังนัน
้ ผู้เรียนจึง
จำเป็ นต้องเรียนรู้ถึงความสำคัญและความหมายของวิทยาศาสตร์ กระบวนการ
ทำงานของนักวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อมุ่ง
เน้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าของความรู้วิทยาศาสตร์ในการดำรงชีวิต ทำความ
เข้าใจกระบวนการและทักษะที่ใช้ในการสร้างองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ รวมถึงเสริม
สร้างให้ผู้เรียนสามารถเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เข้าใจได้มากยิ่งขึน
้ (กระทรวง
ศึกษาธิการ, 2564) ดังนัน
้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะสร้างสื่อมัลติมีเดียเรื่องเรียนรู้
วิทยาศาสตร์อย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความสำคัญ ความหมายของวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึน

จากการศึกษางานวิจัยของ ศิรธันย์ เกียรติโสภณรักษา (2556, น. 634) พบ
ว่า การเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียมีการเพิ่มเติมรูปภาพและเสียงแอนนิเมชั่น มาช่วยใน
การนำเสนอ สามารถกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถ
รับรู้ได้ดีมากยิ่งขึน ์ างการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อน
้ จึงทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิท
เรียน อีกทัง้ จากการศึกษาของ สุภัค โอฬารพิริยกุล (2562, น. 106-109) พบว่า
การสร้างชุดการเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย เป็ นสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่า
สนใจ มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง อักษร คำอธิบายที่ชัดเจน ส่งผลให้นักเรียนเกิด
ความสนใจ มีความสุข สนุกสนาน กระตุ้นให้นักเรียนตัง้ ใจ ฝึ กฝน และพัฒนาทักษะ
์ างการเรียนหลังเรียนสูง
ในการเรียนและทำกิจกรรม จึงทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิท
กว่าก่อนเรียนและพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้ส่ อ
ื มัลติมีเดียใน
6

ระดับมาก งานวิจัยของธนายงค์ จำปาศรีและ ยาใจ พงษ์บริบูรณ์ (2564, น. 502-


504 ) พบว่า สื่อมัลติมีเดีย ช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจดจำเนื้อหาได้ดีขึน
้ สื่อ
มัลติมีเดียที่ผู้วิจัยใช้เป็ นสื่อประเภทภาพเคลื่อนไหว (Animation) สื่อมัลติมีเดียเป็ น
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ เนื้อหามี
ความถูกต้อง การใช้ตัวอักษรอ่านง่าย เสียง มีภาพบรรยายมีความเหมาะสม ภาพ
ประกอบมีความความชัดเจนภาษาที่ใช้ใน การบรรยาย มีความเหมาะสม เข้าใจได้
ง่าย ระยะเวลาการนำเสนอในแต่ละคลิปวีดิโอสอนมีความเหมาะสม สื่อมีความน่า
สนใจเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนส่งผลให้นักเรียนเกิดความสนใจมากยิ่งขึน
้ จึงทำให้
์ างการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนจากผลการวิจัยที่กล่าวมา
ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิท
สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ว่า บทเรียนสื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ ควรจะเป็ นสื่อที่
มีความสร้างสรรค์และน่าสนใจ มีความทันสมัย เหมาะสำหรับวัยของผู้เรียน อีกทัง้
สามารถทำให้เนื้อหาที่มีความยากและซับซ้อนสามารถเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึน
้ โดย
์ างการเรียนที่สูงขึน
สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพจะส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิท ้
จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องเรียน
รู้วิทยาศาสตร์อย่างไร สำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 โดยเนื้อหาจะประกอบ
ด้วย การเรียนเรื่องความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงคุณค่าของ
วิทยาศาสตร์ และมีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์ที่
จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่เนื่องจากเนื้อหาที่กล่าวมาข้าง
ต้น เป็ นเนื้อหาที่มีความซับซ้อน ผู้วิจัยจึงสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อใช้เป็ นสื่อการเรียนรู้
สำหรับนักเรียน โดยสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เป็ นสื่อประเภทวีดิทัศน์ที่มีเนื้อหา คำถาม
ภาพเคลื่อนไหว ภาพการ์ตูน เสียง ภาพประกอบ และการแสดงสาธิต ที่จะทำให้
เนื้อหามีความเข้าใจง่ายมากขึน ์ างการเรียนของนักเรียนให้
้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิท
สูงขึน

วัตถุประสงค์การวิจัย
7

1. เพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องเรียนรู้
วิทยาศาสตร์อย่างไรสำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 และประเมินคุณภาพโดยผู้
เชี่ยวชาญ
2. เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์
อย่างไรสำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 และประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
์ างการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องเรียนรู้
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิท
วิทยาศาสตร์อย่างไรระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่
1 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่องเรียนรู้
วิทยาศาสตร์อย่างไร

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
การเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรสำหรับ
นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 หมายถึง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ใช้ส่ อ

มัลติมีเดียประกอบการเรียนการสอนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 3 ขัน
้ ได้แก่
ขัน
้ นำเข้าสู่บทเรียน ขัน
้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขัน
้ สรุปบทเรียน โดยใช้ส่ อ

มัลติมีเดียที่ผู้วิจัยสร้างขึน
้ ในขัน
้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างสื่อ
มัลติมีเดียจำนวน 4 สื่อ ได้แก่ สื่อที่ 1 เรื่องความสำคัญของวิทยาศาสตร์ สื่อที่ 2
เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน 8 ทักษะ สื่อที่ 3 เรื่องทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณาการ 6 ทักษะ และสื่อที่ 4 เรื่องวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ โดยสื่อที่สร้างนำเสนอเป็ นสื่อวีดิทัศน์ที่มีตัวการ์ตูนและแอนิเมชัน
กราฟิ กภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และข้อความบรรยาย โดยสร้างสื่อด้วย
โปรแกรม Keynote , iMovie และ Final Cut Pro
์ างการเรียนวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้
ผลสัมฤทธิท
เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรของนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการจัดการ
ื มัลติมีเดีย ซึ่งวัดจากคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์
เรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึน
้ เป็ นแบบทดสอบ
ปรนัย แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ (20 คะแนน) ซึ่งวัดพฤติกรรมด้าน
8

พุทธิพิสัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้-ความจำ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้และ


ด้านการวิเคราะห์
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย หมายถึง ความรู้สึกของ
นักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร โดยวัดจากการทำ
แบบสอบถามความพึงพอใจที่ผู้วิจัยสร้างขึน
้ ลักษณะเป็ นแบบมาตราส่วนประมาณ
ค่า 5 ระดับ คือ 5, 4, 3, 2, และ 1 ซึ่งหมายถึง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อย
ที่สุด

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
สื่อมัลติมีเดีย
สื่อมัลติมีเดีย คือ การนำสื่อประเภทต่าง ๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
ข้อความ วีดิทัศน์ ภาพกราฟิ ก และเสียง มาใช้ร่วมกันให้เป็ นสื่อที่สามารถมี
ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ โดยมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยในการผลิตหรือควบคุม
การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการนำเสนอข้อมูล องค์ประกอบของมัลติมีเดียจะ
ต้องประกอบด้วยสื่อการรับรู้ในรูปแบบต่าง ๆ โดยประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี ้
(ณัฐกร สงคราม, 2554 น. 5-6) 1) ตัวอักษร (Text) 2) ภาพนิ่ง (still Image) 3)
เสียง (Sound) 4) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) 5) ปฏิสัมพันธ์ (Interactive) 6) วี
ดิทัศน์ (Video) สื่อมัลติมีเดียแบ่งออกเป็ น
2 ประเภท ดังนี ้ 1) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ เป็ นมัลติมีเดียที่มุ่งสร้างความตื่น
ตาตื่นใจ น่าสนใจและถ่ายทอดประสาทสัมผัสที่หลากหลายผ่านตัวอักษร ภาพและ
เสียง สื่อมัลติมีเดียลักษณะนีจ
้ ัดเป็ นการสื่อสารแบบทางเดียว 2) สื่อมัลติมีเดีย
ปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) เป็ นรูปแบบที่เน้นให้ผู้ใช้สามารถโต้ตอบ
สื่อสารกับสื่อได้โดยตรงผ่านโปรแกรมมัลติมีเดียที่มีลักษณะของสื่อหลายมิติที่เนื้อหา
ภายในสามารถเชื่อมโยงถึงกัน มัลติมีเดียรูปแบบนีน
้ อกจากผู้ใช้จะสามารถดูข้อมูล
ได้หลากหลายลักษณะเช่นเดียวกับรูปแบบมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอแล้ว ผู้ใช้ยัง
สามารถสื่อสารโต้ตอบกับบทเรียนผ่านการคลิกเมาส์ แป้ นพิมพ์หรืออุปกรณ์อ่ น
ื ๆ
เพื่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร มัลติมีเดียรูปแบบนีจ
้ ึงจัดเป็ นการ
สื่อสารแบบสองทาง สื่อมัลติมีเดียช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจดจำเนื้อหาได้ดีขึน
้ มี
9

เนื้อหาครอบคลุมกับวัตถุประสงค์ เนื้อหามีความถูกต้องและยังมีการบูรณาการเข้า
กับชีวิตประจำวัน การใช้ตัวอักษรอ่านง่าย ภาพประกอบมีความความชัดเจน ภาษา
ที่ใช้ในการบรรยายมีความเหมาะสม เข้าใจได้ง่าย ระยะเวลาการนำเสนอในแต่ละ
คลิปวีดิโอสอนมีความเหมาะสม เน้นผู้เรียนเป็ นศูนย์กลาง สื่อมีความน่าสนใจ
เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ส่งผลให้นักเรียนเกิดความสนใจ มีความสุข สนุกสนาน
กระตุ้นให้นักเรียนตัง้ ใจ ฝึ กฝน และพัฒนาทักษะในการเรียนและทำกิจกรรม จึง
์ างการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและนักเรียนมีความ
ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิท
พึงพอใจต่อชุดการเรียนรู้ส่ อ
ื มัลติมีเดียในระดับมาก (Akbar Iskandar, 2018:1-7;
ธนายงค์ จำปาศรีและ ยาใจ พงษ์บริบูรณ์, 2564 น. 502-504; สุภัค โอฬารพิริยกุล,
2562 น. 106-109; ดวงสมร อ่องแสงคุณ, 2564 น. 15-26) ดังนัน
้ จึงสรุปได้ว่า สื่อ
มัลติมีเดียที่มีคุณภาพ ควรจะเป็ นสื่อที่มีความสร้างสรรค์และน่าสนใจ มีความทัน
สมัย เหมาะสำหรับวัยของผู้เรียน อีกทัง้ สามารถทำให้เนื้อหาที่มีความยากและซับ
้ โดยสื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพจะส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ ์
ซ้อนให้เข้าง่ายมากยิ่งขึน
ทางการเรียนที่สูงขึน
้ กว่าก่อนเรียน
สื่อมัลติมีเดียเรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรทัง้ 4 สื่อ มีเนื้อหาเหมาะสม
สำหรับนักเรียนระดับชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1
โดยรูปแบบการนำเสนอภายในสื่อมัลติมีเดียเป็ นการจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึน
้ จริง
ภายในชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และมีการนำ
สถานการณ์การทดลองและโครงงานวิทยาศาสตร์มาเชื่อมโยงกับทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ทัง้ ขัน
้ พื้นฐานและขัน
้ บูรณาการ อีกทัง้ มีการจำลองสถานการณ์
ปั ญหาที่พบเจอได้ในชีวิตประจำวัน โดยให้ใช้วิธีการทางวิทยาศาตร์มาแก้ไข้ปัญหา
สื่อมัลติมีเดียที่สร้างขึน
้ มีการลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนเป็ นไปอย่าง
ต่อเนื่อง มีเนื้อหาเพียงพอที่จะเสริมสร้างความเข้าใจได้ เนื้อหามีความสอดคล้องกับ
จุดประสงค์การเรียนรู้และถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการออกแบบและสร้างสื่อ
มัลติมีเดียที่มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น ข้อความ ภาพกราฟิ ก ภาพ
เคลื่อนไหว และเสียงประกอบ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนระหว่างรับชมสื่อ
มัลติมีเดีย ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสื่อความหมายได้ชัดเจน นอกจากนีย
้ ังมีคำถาม
10

ชวนคิดและคำถามทิง้ ทายเพื่อทบทวนความรู้ของนักเรียนหลังรับชม สื่อมัลติมีเดียนี ้


จึงเหมาะสำหรับนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความสำคัญ ดังนัน
้ หลักสูตรการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน
จึงได้กำหนดให้นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 เรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของ
วิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อ
ให้บุคคลสามารถใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เพราะ
วิทยาศาสตร์เป็ นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน ทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็ น 2 ประเภท ได้แก่ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน

พื้นฐานและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณาการ โดยทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน หมายถึง พฤติกรรมของความสามารถที่
เกิดจากการปฏิบัติและการฝึ กฝนจนชำนาญก่อให้เกิดเป็ นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่อยู่
ในตัวของบุคคล ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็ นทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน มี 8 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการสังเกต 2)
ทักษะการจำแนกประเภท 3) ทักษะการวัด 4) ทักษะการใช้ตัวเลข 5) ทักษะการ
หาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา 6) ทักษะการจัดกระทำ
และสื่อความหมายข้อมูล 7) ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล และ 8) ทักษะการ
พยากรณ์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณาการเป็ นความสามารถ
ด้านการคิดและการลงมือปฏิบัติจนเกิดชำนาญ เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการค้นคว้า
หาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมี 5 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการตัง้
สมมติฐาน 2) ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ 3) ทักษะการกำหนดและ
ควบคุมตัวแปร 4) ทักษะการทดลอง และ 8) ทักษะการตีความหมายและลงข้อสรุป
(อัญชลี เหล่ารอด, 2554 น. 4; อัญชนา ภักดีวงษ์ และอัมพร วัจนะ, 2564 น.113-
126)วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็ นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการค้นหาคำตอบของ
ปั ญหาหรือสิ่งที่สงสัย ใช้สืบเสาะหาความรู้หรือค้นหาความจริง รวมทัง้ แก้ไขปั ญหา
ในด้านต่าง ๆ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 5 ขัน
้ ตอน ดังนี ้ 1) ระบุปัญหา
2) ตัง้ สมมติฐาน 3) รวบรวมข้อมูล 4) วิเคราะห์ข้อมูล และ 5) สรุปผล (สถาบันส่ง
เสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2560) จาก
11

เหตุผลที่ได้กล่าว จึงจำเป็ นอย่างยิ่งที่ ต้องพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของสื่อ


มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
และจากการวิเคราะห์หลักสูตรและตัวชีว้ ัดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
(Independent (Dependent Variable)
Variable) ์ างการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง
1. ผลสัมฤทธิท
การเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร

วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบการวิจัย การวิจัยนีเ้ ป็ นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มทดลองกลุ่ม
เดียวที่มีการสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One group pretest-posttest)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่
กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2
ปี การศึกษา 2564 โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จังหวัด ชลบุรี จำนวน
9 ห้องเรียน มีนักเรียน 316 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ได้แก่ นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี
ที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2
12

ปี การศึกษา 2564 โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จังหวัด ชลบุรี จำนวน


1 ห้องเรียน มีนักเรียน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม
(Cluster random sampling)
วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขัน
้ ตอน ดังนี ้
ขัน
้ ตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการออกแบบสื่อมัลติมีเดีย เช่น ศึกษาและ
วิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญและความหมายของวิทยาศาสตร์ ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตามเนื้อหาสาระหน่วยที่
1 เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.1
เล่ม 1 โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) วิเคราะห์
ตัวชีว้ ัด สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 (ตัวชีว้ ัดแบะ
สารถการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2551, 2560)
กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และขอบเขตเนื้อหาของบทเรียนที่จะนำไปใช้ในการ
สร้างสื่อมัลติมีเดีย ศึกษาทฤษฏีและหลักการการสร้างสื่อมัลติมีเดีย จากนัน

วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียและการ
์ างการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ และศึกษา
สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท
วิธีการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครัง้ นีเ้ ป็ นเนื้อหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ซึ่งแบ่งประเด็นเนื้อหาออกเป็ น 4
สื่อ ดังนี ้ สื่อที่ 1 ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี ้ ความ
หมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
และยกตัวอย่างการนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน สื่อที่ 2 ทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน 8 ทักษะ ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี ้ 1) การ
สังเกต (observation) 2) การวัด (measurement) 3) การจำแนกประเภท
(classification) 4) การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปชกับสเปช และสเปชกับเวลา
(space/space relationships and space/time relationships) 5) การคำนวณ
(using numbers) 6) การจัดกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล (organizing
13

data and communication) 7) การลงความเห็นจากข้อมูล (inferring) 8) การ


พยากรณ์ (prediction) สื่อที่ 3 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณาการ 6
ทักษะ ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี ้ 1) การตัง้ สมมติฐาน (formulating
hypotheses) 2) การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (defining operationally) 3)
การกำหนดและควบคุมตัวแปร (identifying and controlling variables) 4) การ
ทดลอง (experimenting) 5) การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป
(interpreting data conclusion) 6) การสร้างแบบจำลอง (Modeling
Construction) และตัวอย่างการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปปฏิบัติใช้
ในชีวิตประจำวัน สื่อที่ 4 วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหา ดังนี ้ ขัน
้ ตอน
ที่แตกต่างกันและสามารถสลับลำดับกันได้ ประกอบด้วย 5 ขัน
้ ตอน ดังนี ้ ขัน
้ ที่ 1
การสังเกตและระบุปัญหา ขัน
้ ที่ 2 การตัง้ สมมติฐาน ขัน
้ ที่ 3 การวางแผนและการ
สำรวจหรือการทดลอง ขัน
้ ที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำอธิบาย และขัน
้ ที่ 5
การสรุปและการสื่อสาร รวมไปถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์กับชีวิต
ประจำวัน

ขัน
้ ตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างสื่อมัลติมเี ดีย แผนการจัดการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรและ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การออกแบบและสร้างสื่อมัลติมีเดียจำนวน 4 สื่อ มีสาระสำคัญดังนี ้
1) สื่อมัลติมีเดียที่ 1 เรื่องความสำคัญของวิทยาศาสตร์ มีการนำเสนอเป็ นก
ราฟิ กภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และข้อความบรรยายความรู้ โดยจะนำเสนอ
ข้อมูลความรู้เรื่องความหมายและความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ผ่านเรื่องราวของตัว
ละคร 3 คนที่สนทนากันเรื่องปรากฏการณ์สุริยุปราคา ความหมายของวิทยาศาสตร์
และยกตัวอย่างการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่ออธิบายความสำคัญ
ของวิทยาศาสตร์ (ความยาวของสื่อ 5.06 นาที)
2) สื่อมัลติมีเดียที่ 2 เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน 8
ทักษะ มีรูปการนำเสนอเป็ นกราฟฟิ กภาพเคลื่อนไหวและมีการสาธิตตัวอย่าง มีเสียง
ประกอบและข้อความบรรยายความรู้ โดยจะนำเสนอข้อมูลความรู้เรื่องทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 8 ทักษะ ได้แก่ การสังเกต, การวัด, การจำแนก
14

ประเภท, การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปชกับสเปช และสเปชกับเวลา, การ


คำนวณ, การจัดกระทำและการสื่อความหมายข้อมูล, การลงความเห็นจากข้อมูล
และ
การพยากรณ์ผ่านเรื่องราวของตัวละคร 3 คนที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำการศึกษา
เกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน 8 ทักษะ เพื่อนำมา
ประกอบการทดลองเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช (ความยาวของสื่อ 6.05
นาที)
3) สื่อมัลติมีเดียที่ 3 เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณา
การ 6 ทักษะ มีรูปการนำเสนอเป็ นกราฟฟิ กภาพเคลื่อนไหวและมีการสาธิตตัวอย่าง
มีเสียงประกอบและข้อความบรรยายความรู้ โดยจะนำเสนอข้อมูลความรู้เรื่องทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณการ 6 ทักษะ ได้แก่ การตัง้ สมมติฐาน, การ
กำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ, การกำหนดและควบคุมตัวแปร, การทดลอง, การ
ตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป และการสร้างแบบจำลองผ่านเรื่องราวของตัว
ละคร 3 คนที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำการศึกษาเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน 6 ทักษะ เพื่อนำมาประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เรื่องดินต่างชนิดกันมีผลต่อความสูงของพืชหรือไม่ (ความยาวของสื่อ 4.34 นาที)
4) สื่อมัลติมีเดียที่ 4 เรื่องวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการนำเสนอเป็ นกรา
ฟิ กภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และข้อความบรรยายความรู้ โดยจะนำเสนอ
ข้อมูลความรู้เรื่องวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขัน
้ ตอน ได้แก่ ระบุปัญหา, ตัง้
สมมติฐาน, รวบรวมข้อมูล, วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล ผ่านเรื่องราวของการนำ
เสนอเรื่องราวด้วยตัวการ์ตูนที่ประสบปั ญหาห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น จึงได้นำวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ 5 ขัน
้ ตอนมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหานี ้ (ความยาวของสื่อ 4.23
นาที)
หลักการสร้างสื่อเริ่มจากการศึกษาเนื้อหาที่ต้องการจะนำมาสร้างสื่อ
มัลติมีเดีย จากนัน
้ ออกแบบโครงร่างขอบเขตเนื้อหา และกำหนดรูปแบบการนำ
เสนอเนื้อหาในสื่อมัลติมีเดีย ทัง้ นีแ
้ บ่งเนื้อหาออกเป็ นหัวข้อย่อยๆ โดยจัดเรียงลำดับ
ความต่อเนื่องของเนื้อหาให้สัมพันธ์กันในแต่ละสื่อ จากนัน
้ เขียนโครงร่างของสื่อ
แต่ละสื่อว่าจะนำเสนอออกมาในรูปแบบใด ใช้โปรแกรมอะไรสำหรับในการสร้างสื่อ
15

โดยศึกษาโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างสื่อเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ออกแบบและ


วาดตัวการ์ตูนประกอบการนำเสนอในแต่ละสื่อ ออกแบบฉากที่ใช้ โดยใช้โปรแกรม
Procreate และนำภาพตัวการ์ตูนและฉากที่ได้มาตัดต่อ ใส่คำบรรยายและเสียงด้วย
โปรแกรม keynote, imovie, และ Final cut pro
Keynote เป็ นโปรแกรมทำ Presentation ยอดนิยมและถูกนำมาใช้อย่าง
แพร่หลาย เนื่องจาก การใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน ช่วยให้การสร้างสรรค์งานให้เป็ น
งานที่น่าสนใจ สามารถใส่เสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ เหมาะแก่
การนำมาใช้ทำ Presentation เพื่อนำเสนองานหรือการสร้างวิดีทัศน์เพื่อเป็ นสื่อ
การสอนสำหรับผู้เรียน
โปรแกรม iMovie เป็ นหนึ่งในแอปพลิเคชันสำหรับระบบ ปฏิบัติการ IOS ที่
ใช้ในการตัดต่อและแก้ไขวิดิทัศน์หรือภาพยนตร์ รวมถึง การใส่ลูกเล่นต่าง ๆ เช่น ใส่
เสียงเพลง อัดเสียง เพิ่มเอฟเฟกต์ ให้เหมาะสม กับการใช้ประกอบการสอนใน
ห้องเรียน แอปพลิเคชันนีม
้ ีขัน
้ ตอนการใช้งาน ไม่ซับซ้อน
โปรแกรม Final Cut Pro เป็ นโปรแกรมตัดต่อที่ให้ใช้งานเฉพาะบนระบบ
MacOS มีเครื่องมือหลากหลายสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดต่อโดยเฉพาะ
สามารถตัดต่องานต่าง ๆ ได้ภายในโปรแกรมเดียว โปรแกรมนีส
้ ามารถรองรับ
นามสกุลไฟล์วีดีโอและเสียงมากมาย ไม่ว่าจะเป็ น MOV MXF HDV MPEG
AppProRes QuickTime ฯลฯ รวมถึงยังสามารถปรับแต่งไฟล์วีดีโอแบบ 360
องศา รองรับกล้อง VR หรือจำลองการใช้งานผ่าน HTC Vive เพื่อทดสอบการแสดง
ผล ในการทำงานร่วมกับไฟล์ 3D อีกทัง้ ยังรองรับการแสดงผลแบบ High Dynamic
Rage ที่จะช่วยแสดงผลภาพที่มีสีสันสดใส สมจริงมากที่สุด
16

ภาพที่ 1 ตัวอย่างภาพในสื่อมัลติมีเดียที่ 1
ภาพที่ 2 ตัวอย่างภาพในสื่อมัลติมีเดียที่ 2

ภาพที่ 3 ตัวอย่างภาพในสื่อมัลติมีเดียที่
3

ภาพที่ 4 ตัวอย่างภาพในสื่อมัลติมีเดีย
ที่ 4

2. ออกแบบและสร้างแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย
โดยกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดขอบเขตเนื้อหาสาระในแต่ละแผน
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดสื่อมัลติมีเดียที่ใช้ กำหนดวิธีการวัดผลและ
ประเมินผล และออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 2 แผน ได้แก่ แผนการ
จัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องความสำคัญของวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน 8 ทักษะ (1 คาบ คาบเรียนละ 50 นาที) และแผนการ
จัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณาการ 6 ทักษะ
17

(1 คาบ) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 3 ขัน


้ ได้แก่ ขัน
้ นำเข้าสู่บทเรียน ขัน
้ การจัด
กิจกรรม และขัน
้ สรุปบทเรียน ซึ่งในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียที่ 1
เรื่องความสำคัญของวิทยาศาสตร์และสื่อมัลติมีเดียที่ 2 เรื่องทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน 8 ทักษะ
และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 ใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียที่ 3 เรื่องทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณาการ 6 ทักษะ และสื่อมัลติมีเดียที่ 4 เรื่องวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ ในขัน
้ การจัดการเรียนรู้
์ างการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการกำหนด
3. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท
จุดมุ่งหมายของแบบทดสอบ กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กำหนดผังการสร้าง
ข้อสอบสาระสำคัญประกอบด้วย เนื้อหาที่จะออกสอบ น้ำหนักความสำคัญแต่ละ
เนื้อหา จำนวนข้อสอบ และเลือกรูปแบบข้อคำถาม และสร้างข้อสอบตามที่กำหนด
ไว้ในผังการสร้างข้อสอบ และตรวจสอบคุณภาพข้อสอบ (สันติ งามเสริฐ, 2560
น.48-66) จากนัน
้ จัดทำเป็ นแบบทดสอบปรนัย แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน
30 ข้อ โดยให้ครอบคลุมกับจุดประสงค์การเรียนรู้เนื้อหาและพฤติกรรมด้านพุทธิ
พิสัยที่ต้องการวัด โดยวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้-ความ
จำ ด้านความเข้าใจ ด้านการนำไปใช้ และด้านการวิเคราะห์
4. สร้างแบบประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดีย โดยพิจารณาจุดประสงค์การ
เรียนรู้และเนื้อหาในสื่อมัลติมีเดียเพื่อกำหนดข้อมูลในการสร้างแบบประเมิน
คุณภาพของสื่อมัลติมีเดีย จากนัน
้ สร้างแบบประเมิน แบ่งออกเป็ น 2 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมิน และตอนที่ 2 แบบประเมินคุณภาพสื่อ
มัลติมีเดีย ซึ่งมีลักษณะเป็ นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale)
คือ 5, 4, 3, 2 และ 1 ซึ่งหมายถึง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตาม
ลำดับ โดยข้อคำถามมีจำนวน 20 ข้อ แบ่งเป็ น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการออกแบบและ
รูปแบบการนำเสนอ ด้านเนื้อหาและภาษาที่ใช้ และด้านคุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับ
5. สร้างแบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งออกเป็ น 2
ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมิน และตอนที่ 2 แบบประเมินคุณภาพ
แผนการจัดการเรียนรู้ โดยแบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ มีจำนวน 20
18

ข้อ เป็ นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) คือ 5, 4, 3, 2 และ 1


ซึ่งหมายถึง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตามลำดับ
6. สร้างแบบตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับข้อ
์ างการเรียน โดยศึกษาเอกสารเกี่ยวข้องกับ
คำถามของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท
วิธีการสร้างแบบตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับข้อ
์ างการเรียน และพิจารณาจุดประสงค์การ
คำถามของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท
์ างการเรียนเพื่อใช้เป็ นข้อมูลใน
เรียนรู้และข้อคำถามของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท
การสร้างแบบตรวจสอบความสอดคล้อง จากนัน
้ สร้างแบบตรวจสอบความ
สอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับข้อคำถามของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ ์
ทางการเรียน
7. สร้างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งแบ่ง
ออกเป็ น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมิน และตอนที่ 2 แบบ
ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยแบบประเมินความ
พึงพอใจมีลักษณะเป็ นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) คือ 5,
4, 3, 2 และ 1 ซึ่งหมายถึง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ตามลำดับ
รายการประเมินมีจำนวน 20 ข้อ แบ่งเป็ น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ
มัลติมีเดีย และด้านประโยชน์ที่ได้รับ

ขัน
้ ตอนที่ 3 การประเมินคุณภาพเครื่องมือทีใ่ ช้ในการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ
นำสื่อมัลติมีเดีย แผนการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเสนอแก่
ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญมีจำนวน 5 ท่าน แบ่งเป็ นผู้
เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 2 ท่าน ด้านเทคโนโลยีการศึกษา 2 ท่าน และด้านการวัดและ
ประเมินผล 1 ท่าน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล พบว่า ผลการประเมินคุณภาพ
สื่อในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 แสดงว่า
สื่อมัลติมีเดียมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการ
เรียนรู้ในภาพรวมทัง้ 2 แผน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.46 แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการตรวจสอบความ
สอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของแบบทดสอบที่สร้างขึน

19

30 ข้อ พบว่า ข้อสอบมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.5 – 1.0 มีจำนวน


30 ข้อ ผู้วิจัยเลือกข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์เพื่อนำไปใช้จริงจำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย
ด้านความรู้-ความจำ 5 ข้อ (25 %) ด้านความเข้าใจ 4 ข้อ (20 %) ด้านการนำไปใช้
6 ข้อ (30 %) และด้านการวิเคราะห์ 5 ข้อ (25 %) และปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ใน
การวิจัยตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

ขัน
้ ตอนที่ 4 การนำสื่อมัลติมีเดียเรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรสำหรับนักเรียน
ชัน
้ มัธยมศึกษาที่ 1 และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
ทดลองใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียและแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างกับนักเรียนชัน

มัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน
มีนักเรียน 28 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม ทดสอบก่อน
เรียนและหลังเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนทาง Google form ที่มี
จำนวน 20 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที ซึ่งทำการ
ทดสอบก่อนเรียนล่วงหน้าก่อนนำสื่อไป
ทดลองใช้ 1 สัปดาห์ จากนัน
้ ทดลองใช้ส่ อ

มัลติมีเดียกับนักเรียนโดยจัดการเรียนการ
สอนในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม
Google meet เนื่องจากสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา หรือโรค
โควิด-19 จึงทำให้ทางโรงเรียนกำหนดให้นักเรียนเรียนออนไลน์ ดังนัน
้ ผู้วิจัยจึงได้
ดำเนินการสอนแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Google meet โดยสอนตามแผนการ
จัดการเรียนรู้ที่สร้างไว้ทัง้ 2 แผน จำนวน 2 คาบเรียน เป็ นเวลา 100 นาที ในการ
จัดการเรียนรู้ ครูใช้คำถามในขัน
้ นำเข้าสู่บทเรียน ให้นักเรียนชมสื่อมัลติมีเดียในขัน

การจัดกิจกรรม หลังจากชมสื่อมัลติมีเดียแล้วผู้วิจัยใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียน
อภิปราย ตอบคำถาม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในเนื้อหา และทำการทดสอบหลัง
เรียนโดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียนโดยนักเรียนทำแบบ
20

ทดสอบผ่าน Google form หลังจากนัน


้ ให้นักเรียนทำแบบประเมินพึงพอใจที่มีต่อ
สื่อมัลติมีเดียผ่าน Google form และนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์และ
สรุปผล

ภาพที่ 5 ผู้เรียนชมสื่อมัลติมีเดียและตอบคำถาม

ขัน
้ ตอนที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
นำข้อมูลที่เก็บรวมรวมจากการทดลองใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียและแผนการจัดการ
เรียนรู้กับนักเรียนชัน ์ างการเรียน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 6 มาวิเคราะห์คะแนนผลสัมฤทธิท
โดยนำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบทัง้ ก่อนเรียนและหลังเรียน มาคำนวณหา
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความ
แตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t-test for dependent
sample วิเคราะห์ค่าร้อยละความก้าวหน้า และดัชนีประสิทธิผล และวิเคราะห์
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย โดยนำข้อมูลมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนัน
้ นำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ดังนี ้
4.50-5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 3.50–4.49 หมายถึง มี
ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 2.50–3.49 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
ปานกลาง 1.50–2.49 หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย และ 1.00 –1.49
หมายถึง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด (อโรชา ทองลาวและคณะ, 2564, น.
617-632)

ผลการวิจย

1. ผลการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียเรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
21

ผลการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดียโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ผลดัง


ตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย
ผลการ
สื่อมัลติมีเดีย X S.D.
ประเมิน
สื่อมัลติมีเดียที่ 1 เรื่องความสำคัญของ 0.5
4.61 มากที่สุด
วิทยาศาสตร์ 1
สื่อมัลติมีเดียที่ 2 เรื่องทักษะกระบวนการทาง 0.4
4.62 มากที่สุด
วิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน 8
สื่อมัลติมีเดียที่ 3 เรื่องทักษะกระบวนการทาง 0.4
4.69 มากที่สุด
วิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณาการ 6
0.4
สื่อมัลติมีเดียที่ 4 เรื่องวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 4.68 มากที่สุด
5
0.4
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.65 มากที่สุด
8

จากตารางที่ 1 พบว่า ผลการประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียมีค่าเฉลี่ยใน


ภาพรวมเท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 ซึ่งแสดงว่าสื่อมัลติมีเดีย
เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสื่อมัลติมีเดียที่
1, 2, 3 และ 4 มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61, 4.62,
4.69 และ 4.68 ตามลำดับ

2. ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย
ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ แสดงดังตาราง
ที่ 2
22

ตารางที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ส่ อ

มัลติมีเดีย
X
แผนการจัดการเรียนรู้ S.D. ผลการ
ประเมิน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องความ 4.71 0.46 มากที่สุด
สำคัญของวิทยาศาสตร์และทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องทักษะ 4.71 0.46 มากที่สุด
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณา
การ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 4.71 0.46 มากที่สุด

จากตารางที่ 2 พบว่าผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่า


เฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.71
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 ซึ่งแสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพอยู่
ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละแผน พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
และ 2 มีคา่ เฉลี่ยเท่ากับ 4.71 เท่านกัน ซึ่งผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

์ างการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการ
3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิท
เรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย
นำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์
เปรียบเทียบได้ผลดังตารางที่ 3
์ างการเรียน
ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิท
จำน ร้อยละ
การ วน คะแนน ค่า ความ
S.D. % t Sig.
ทดสอบ นักเรี เต็ม เฉลี่ย ก้าวหน้า
ยน
23

ก่อน 28 20 9.79 3.10 48.9 23.35 8.671 .000


เรียน 5 *
หลัง 28 20 14.46 2.90 72.3
เรียน 0
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากตารางที่ 3 พบว่า คะแนนเฉลี่ยการทดสอบก่อนเรียนได้เท่ากับ 9.79 และ
์ างการ
หลังเรียนได้เท่ากับ 14.46 เมื่อวิเคราะห์คา่ สถิติ t-test พบว่าผลสัมฤทธิท
เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบ
เทียบร้อยละความก้าวหน้ามีค่า 23.35 และเมื่อนำคะแนนสอบก่อนเรียนและหลัง
เรียนมาวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลแสดงดังตารางที่ 4

์ างการเรียน
ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของคะแนนผลสัมฤทธิท
ก่อนเรียนและหลังเรียน
จำนวน คะแนนเต็ม ร้อยละของ ร้อยละของ ค่าดัชนี
นักเรียน ผลรวม ผลรวม ประสิทธิผล
คะแนนก่อน คะแนนหลัง
เรียน เรียน
28 20 48.95 72.30 .46

จากตารางที่ 4 พบว่า นักเรียนชัน


้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้
สื่อมัลติมีเดียจำนวน 28 คน มีร้อยละของผลรวมคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ร้อยละ 72.30 มีค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาการเรียนรู้เท่ากับ .46 หรือคิด
เป็ นร้อยละ 46

4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีส่ อ
ื มัลติมีเดีย
นำแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย มาวิเคราะห์
ข้อมูลได้ผลดังตารางที่ 5
24

ตารางที่ 5 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อมัลติมีเดีย

ที่ รายการประเมิน X S.D. ผลการประเมิน


4.6 0.5
1 ด้านเนื้อหา มากที่สุด
7 2
4.6 0.5
2 ด้านสื่อมัลติมีเดีย มากที่สุด
9 3
4.7 0.5
3 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ มากที่สุด
2 2
4.6 0.5
ค่าเฉลี่ยโดยรวม มากที่สุด
9 2

จากตารางที่ 5 พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อ


มัลติมีเดียมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52
ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน ด้านเนื้อหา ด้าน
สื่อมัลติมีเดีย และด้านประโยชน์ที่ได้รับมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่า
เฉลี่ยเท่ากับ 4.67, 4.69 และ 4.72 ตามลำดับ

การอภิปรายผล
1. ผลการประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดียเรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร
สำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 โดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
( x = 4.65, S.D. = 0.48) สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ เนื่องจากผู้วิจัยได้
ทำการการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาวิธี
การออกแบบการสร้างสื่อมัลติมีเดียเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน ซึ่งได้
กำหนดเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และถูกต้องตามหลัก
วิชาการ มีการออกแบบและสร้างสื่อมัลติมีเดียที่มีรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย
เช่น ข้อความ ภาพกราฟิ ก ภาพเคลื่อนไหว และเสียงประกอบ ออกแบบและสร้าง
25

ตัวละครนำเสนอเนื้อหาเป็ นตัวการ์ตูน เพื่อสร้างความสนใจทำให้ส่ อ


ื มัลตมีเดียน่า
ติดตาม น่าเรียนรู้และเหมาะกับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์ในการสร้างภาพเคลื่อนไหวเป็ นการจำลองตัวละครที่เป็ นตัวการ์ตูน
เนื้อหาในแต่ละสื่อใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะกับวัยของนักเรียน และคำนึงถึงรูป
แบบความเหมาะสมของการวางองค์ประกอบของสื่อ เพื่อให้ส่ อ
ื นำเสนอเนื้อหาได้
ชัดเจน ขนาดของตัวอักษรเหมาะสม มีคำบรรยายประกอบระหว่างที่ตัวละครกำลัง
สนทนากัน นอกจากนีย
้ ังมีคำถามชวนคิดและคำถามทิง้ ทายเพื่อทบทวนความรู้ของ
ผู้เรียนหลังรับชมสื่อมัลติมีเดีย เช่น สื่อมัลติมีเดียที่ 1 เรื่อง ความสำคัญของ
วิทยาศาสตร์มีการสอดแทรกคำถามระหว่างสื่อมัลติมีเดียว่าอะไรที่เป็ นวิทยาศาสตร์
และอะไรที่ไม่เป็ นวิทยาศาสตร์ พร้อมทัง้ ให้นักเรียนยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก
วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงยังมีการจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึน
้ จริงใน
ชีวิตประจำวันของผู้เรียนให้เห็นภาพได้ชัดเจน จึงทำให้ผลการประเมินคุณภาพของ
สื่อมัลติมีเดียเรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรสำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1
มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของอมีนา ฉายสุวรรณ และ
ชุมพล จันทร์ฉลอง (2565, น.195-205) ที่พบว่า สื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอเนื้อหาที่
เหมาะสมกับการกับการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และได้ผ่านกระบวนการ
ประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้ทำการปรับปรุงตามข้อเสนอ แนะของผู้
เชี่ยวชาญจะทำให้ได้ส่ อ
ื มัลติมีเดียที่มีเนื้อหา ภาพกราฟิ ก การเคลื่อนไหว และเสียง
ที่เหมาะสม สื่อมัลติมีเดียจึงมีความน่าสนใจและทำให้ผู้เรียนสามารถนำสื่อ
มัลติมีเดียไปเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา รวมถึงสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของผู้
เรียนได้จริง ตามที่ธราพงษ์ กรรขำและทรงภพ ขุนมธุรส. (2563, น.207-219)
อธิบายว่า การใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียจะทำให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยเชื่อมโยงสิ่งที่
เรียนรู้จากประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียน
การสอนที่น่าความสนใจ โดยผู้สอนและผู้เรียนจะมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศ
การเรียนการสอนให้เป็ นไปในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมกัน ผู้เรียนจะเป็ นบุคคลที่ต้อง
ปฏิบัติค้นหาความรู้ด้วยตนเองและผู้สอนเป็ นผู้กระตุ้นความคิดผู้เรียนโดยเปลี่ยน
บทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้ไปสู่การเป็ นผู้จัดการเรียนรู้โดยการใช้เทคโนโลยี
อำนวยความสะดวกด้วยสื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียน
26

2. ผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์
อย่างไร สำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีคุณภาพอยู่ใน
ระดับมากที่สุด ( x = 4.71, S.D. = 0.46) สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการ
สอนได้ เนื่องจากในแผนการจัดการเรียนรู้นไี ้ ด้มีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ไว้
ครอบคลุมทัง้ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการ และด้าน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชีว้ ัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน
้ พื้นฐานพุทธศักราช 2551 เนื้อหาในแผนการ
จัดการเรียนรู้มีสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และมีความยากง่ายเหมาะสมกับ
ระดับชัน
้ ของผู้เรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีลำดับขัน
้ ตอนและระยะเวลาที่
หมาะสมกัน สื่อมัลติมีเดียที่ผู้วิจัยสร้างขึน
้ และนำไปใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้มีรูป
แบบการนำเสนอที่น่าสนใจ มีความหลากหลายและมีความเหมาะสมกับเนื้อหา รวม
ถึงในการวัดและประเมินผลยังมีความเหมาะสมกับระดับชัน
้ ของผู้เรียนและมีการ
ระบุเครื่องมือสำหรับการวัดผลประเมินผลไว้อย่างชัดเจน นอกจากนีใ้ นแผนการ
จัดการเรียนรู้ยังมีการตัง้ คำถามให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบ เช่น ในขัน

นำเข้าสู่บทเรียนครูใช้คำถามกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ว่านักเรียนคิดว่าเรา
สามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างไร มีการยกตัวอย่างสถานการณ์เพื่อให้นักเรียน
ร่วมกันวิเคราะห์ว่าจากสถานการณ์ขา้ งต้นต้องใช้ทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์อะไรบ้าง ซึ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเข้าใจ
เนื้อหาได้ดี สามารถโต้ตอบมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้สอนจากการร่วมกันแลก
เปลี่ยนเรียนรู้กันได้ รวมถึงยังมีการให้ยกตัวอย่างสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ส่ง
เสริมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง ตามที่ของอารีรักษ์ มีแจ้ง และ
วรรณประภา สุขสวัสดิ ์ (2564, น. 1-12) และนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ (2560, น.
111-127) ได้อธิบายว่า ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ จะต้องเรียงลำดับอย่าง
เหมาะสม มีความละเอียด ถูกต้อง และมีความชัดเจน การกำหนดวัตถุประสงค์การ
เรียนรู้ต้องครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ทงั ้ 3 ด้าน กิจกรรมการเรียนการสอนต้อง
มีวิธีสอนที่เหมาะสมกับธรรมชาติของการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีรายละเอียดที่
ชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทครู ผู้เรียน การใช้ส่ อ
ื และการใช้เครื่องมือวัดประเมินผล ใน
27

การวัดและประเมินผลต้องมีการตรวจสอบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ของบทเรียน และมีการระบุเครื่องมือที่ใช้ให้ชัดเจน ซึ่งจะทำให้บทเรียนที่สอนมี
ความหมายต่อผู้เรียน สามารถสร้างแรงจูงใจและความสนใจให้แก่ผู้เรียน ทำให้ผู้
เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียนและชีใ้ ห้เห็นถึงประสิทธิภาพของการเรียนการ
สอนได้
์ างการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรของ
3. ผลสัมฤทธิท
นักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.79
คะแนน และหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 14.46 คะแนน ทัง้ นีอ
้ าจเนื่องมาจากการเรียนรู้
เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรของนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 โดยใช้ส่ อ

มัลติมีเดียเป็ นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านการ
ใช้ประสาทสัมผัสด้านการมอง การฟั งด้วยตนเอง การนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้ในการ
จัดการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึน
้ เนื่องจากภายในสื่อ
มัลติมีเดียมีการลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและครบถ้วน มี
การเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวัน เช่น สื่อมัลติมีเดียที่ 2 และ 3 มีการยกตัวอย่าง
สถานการณ์การทดลองและการทำโครงงานที่ต้องอาศัยทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่ง
ขึน
้ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงยังสามารถนำ
ทักษะและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ การ
เรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียส่งผลให้ผู้เรียนจดจำและเข้าใจเนื้อหาได้ดี เกิดการเรียนรู้
ได้ดีมากยิ่งขึน ์ างการเรียน
้ สามารถทบทวนความรู้ได้ด้วยตนเอง จึงทำให้ผลสัมฤทธิท
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ตามที่ชัชชนันท์ ตระกูลอยู่สบาย (2558, น. 9) อธิบายว่า
สื่อมัลติมีเดียสามารถนำเสนอเนื้อหาได้ลึกซึง้ กว่าการบรรยายแบบปกติ มัลติมีเดีย
เพื่อการเรียนรู้ก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี ้ 1) สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และดึงดูด
ความสนใจของกลุ่มเป้ าหมายโดยการใช้เทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย สวยงาม
ช่วยให้เกิดความคงทนในการจดจำเพราะรับรู้ได้จากหลายช่องทางทัง้ ภาพและเสียง
2) ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดี อธิบายสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึน

เป็ นรูปธรรม สามารถทบทวนบทเรียนซ้ำได้ตามความต้องการ อีกทัง้ ยังสอดคล้อง
28

กับ มณฑล อินแบน, อัคพงศ์ สุขมาตย์ และพรรณี สีกิจวัฒนะ (2561, น. 43) ได้
ศึกษาการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียที่อธิบายว่า การพัฒนาและออกแบบบทเรียน
มัลติมีเดีย มีการผสมผสานในส่วนของสื่อมัลติมีเดียเข้าด้วยกันประกอบด้วยข้อความ
ภาพ กราฟิ ก ภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงหลักการออกแบบที่มีความทันสมัย
์ างการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
เหมาะสมกับนักเรียน จึงส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิท
ก่อนเรียน
แต่อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ พบปั ญหาที่เกิดขึน
้ เนื่องจาก
นักเรียนส่วนใหญ่จะปิ ดกล้อง จึงทำให้ผู้วิจัยซึ่งเป็ นผู้สอนไม่สามารถสังเกต
พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้ แต่ผู้วิจัยได้กระตุ้นนักเรียนให้คิด ให้มีส่วนร่วม
ในการตอบถามคำถาม และแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ส่งเสริมให้นักเรียนสนใจใน
การเรียนรู้มากขึน

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่อง
เรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ
0.52 โดยสื่อมัลติมีเดียมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.69, S.D. =
0.52) ทัง้ นีอ
้ าจเนื่องมาจาก สื่อมัลติมีเดียเรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไรทัง้ 4 สื่อ
ได้ออกแบบและสร้างตามหลักการสร้างสื่ออย่างเป็ นระบบ มีการจัดวางโครงร่าง
การดำเนินเรื่องโดยใช้สถานการณ์ ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวละคร ใช้ตัวการ์ตูนที่
ออกแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใส่เสียงบรรยายประกอบ รวมทัง้ มีคำบรรยาย
ใต้ภาพในแต่ละฉากที่นำเสนอเนื้อหา มีการลำดับเนื้อหาและการใช้ภาษาที่เหมาะ
สมกับวัยของผู้เรียนเป็ นไปอย่างต่อเนื่อง มีเนื้อหาเพียงพอที่จะเสริมสร้างความ
เข้าใจของผู้เรียนได้ อีกทัง้ ขนาดและรูปแบบตัวอักษรชัดเจน โดยสื่อมัลติมีเดียที่
สร้างขึน
้ มีการเรียงลำดับเนื้อหาจากเรื่องที่ง่ายไปยาก และเป็ นเรื่องที่เกี่ยวข้องใน
ชีวิตประจำวันของนักเรียน จึงสร้างความสนใจในการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนได้
เรียนรู้ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้นฐาน
และขัน
้ บูรณาการ และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยในสื่อมัลติมีเดียมีการอธิบาย ยก
ตัวอย่าง มีสถานการณ์การทำการทดลองต่าง และมีการใช้คำถามกระตุ้นความสนใจ
คำถามท้ายทายความคิด ในด้านสื่อมัลติมีเดียมีการการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสม
กับวัยของผู้เรียนและเพียงพอที่จะเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียนได้ มีการลำดับ
29

ภาพอย่างดีทำให้เข้าใจได้ง่าย มีการใช้น้ำเสียงพูดบรรยายถูกต้องเหมาะสม และ


ขนาดของตัวอักษรมีความชัดเจน เช่น สื่อมัลติมีเดียที่ 4 ที่นำเสนอเนื้อหาเรื่องวิธี
การทางวิทยาศาสตร์โดยจัดทำในรูปแบบของการประยุกต์ใช้กับสถานการณ์แก้
ปั ญหากลิ่นเหม็นในห้องน้ำ ผูเ้ รียนจะได้เรียนรู้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ผ่านบท
สนทนาของตัวละครที่เข้าใจได้ง่าย และลำดับเนื้อหาเป็ นเรื่องราวต่อกันอย่างชัดเจน
จากเหตุผลที่กล่าวมาส่งผลให้ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากบทเรียนผู้เรียน ทำให้ผู้เรียน
เข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้ดีมากยิ่งขึน
้ เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เห็นความสำคัญ
ของวิทยาศาสตร์รวมถึงสามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และถ่ายทอดได้ จึงทำให้ผู้
เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุด ตามที่ริพล แสนบุญส่ง,
นิป เอมรัฐ และศักดา จันทราศรี. (2561, น.11-12) กล่าวว่า ในภาพรวมผู้เรียนมี
ความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึน
้ อยู่ในระดับมากที่สุด ทัง้
เนื่องจากการออกแบบสื่อมัลติมีเดีย เพื่อการเรียนรู้ในครัง้ นี ้ ประกอบด้วยตัวอักษร
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงบรรยาย เสียงดนตรีประกอบ และปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ
ระหว่างผู้เรียนกับสื่อ จึงทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกกับการใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย อีกทัง้ ยัง
สอดคล้องกับทัศนาวลัย อินทร์ยาและอรนุช ลิมตศิริ. (2564, น.85-98) อธิบายว่า
สื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึน
้ สามารถตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียน มีภาพ มีสี
ประกอบและการออกแบบที่ดึงดูดความสนใจและสนุกสนานไปกับการเรียน
นอกจากนีน
้ ักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้บ่อยตามความต้องการจึงทำให้ผู้เรียน
มีความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับมากที่สุด จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลการ
ประเมินความพึงพอใจ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียอยู่ในระดับ
มากทุกรายการ

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำงานวิจัยไปใช้
ผู้สอนควรชีแ
้ จงให้ผู้เรียนเตรียมความพร้อมในด้านอุปกรณ์ และสัญญาณ
อินเตอร์เน็ต ให้พร้อมก่อนจัดการเรียนรู้ควรมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการใช้งานสื่อ
มัลติมีเดียให้แก่ผู้เรียน สนับสนุน ส่งเสริม และให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียน
เกิดข้อสงสัยหรือปั ญหาขึน
้ ระหว่างการรับชมสื่อมัลติมีเดีย และก่อนการจัดเรียนรู้ผู้
30

สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าเรียนพร้อมกัน เพื่ออธิบายวิธีการใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย และ
กฎระเบียบในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนชีแ
้ จงการปฏิบัติตนของผู้เรียนในระหว่าง
การรับชมสื่อมัลติมีเดีย ผู้สอนควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สร้างความ
สนใจ ใช้คำถามควบคู่ไปกับการเรียนการสอนออนไลน์ และให้นักเรียนอภิปรายและ
แสดงความคิดเห็นในประเด็นคำถามต่างๆ หลังจากเรียนรู้ด้วยสื่อมัลติมีเดีย
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครัง้ ต่อไป
ควรมีการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบทเรียนบนเครือ
ข่ายอินเตอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ ควรมีการศึกษาทักษะการใช้
เทคโนโลยีของนักเรียนหลังจากการเรียนรู้โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดีย เพิ่มสถานการณ์
จำลองภายในสื่อมัลติมีเดียให้มีความหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และ
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึน
้ และควรพัฒนาทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม
จริง ได้ทำการทดลอง และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับทักษะต่างๆ ของนักเรียน โดยใช้การ
วัดผลและประเมินผลด้วยการทดสอบการปฏิบัติงาน

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564.
จาก
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF
กนกกาญจน์ ทองศฤงคลี, ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ และสุวิมล กฤชคฤหาสน์.
(2556). การพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมิน
สื่อการเรียนการสอนสำหรับการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา. วารสาร
วิจัยราชภัฏพระนคร, 8(2), 1-10.
ชัชชนันต์ ตระกูลอยู่สบาย. (2558). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง
ระบบนิเวศชายเลย อุทยานสิ่งแวดล้อม
นานาชาติสิริรธร (การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิต
วิทยาลัย). สืบค้นจาก http://ithesis-
31

ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/124
ณัฐกร สงคราม. (2554). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์
ครัง้ ที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดวงสมร อ่องแสงคุณ. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการ
สาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
วิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎ์บำรุง) วารสาร
ชัน
คุรุสภาวิทยาจารย์ journal of teacher
professional development, 2(3), 15-26
์ างการ
ทัศนาวลัย อินทร์ยาและอรนุช ลิมตศิริ. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิท
เรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชัน

มัธยมศึกษาปี ที่2 โรงเรียนหนองใหญ่ศิริวรวาทวิทยา ที่เรียนโดยใช้ส่ อ

มัลติมีเดียในวิชาประวัติศาสตร์. Journal of Roi
Kaensarn Academi, 6(9), 85-98
ธณัชช์นรี สโรบล, นิตยา บุญลือ, สมพร สิทธิสงคราม และสุมิตรพร จอมจันทร์.
(2563). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องการ
สื่อสารเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,
7(12), 252-263.
ธนายงค์ จำปาศรี และยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2564). การพัฒนาทักษะและผล
์ างการเรียน เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์
สัมฤทธิท
เบื้องต้นของนักเรียนชัน ื มัลติมีเดีย. วารสาร
้ ประถมศึกษาปี ที่ 2 โดยใช้ส่ อ
มจร อุบลปริทรรศน์, 6(1), 495-508.
ธราพงษ์ กรรขำ และทรงภพ ขุนมธุรส. (2563). การพัฒนาความสามารถการคิด
วิเคราะห์บทอาขยานสำหรับนักเรียนชัน

มัธยมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้.
วารสารครุพิบูล, 7(2), 207-219.
32

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2560). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในการจัดการ


เรียนสอนวิชาวิทยาศาสตร์. Veridian E-
Journal, Silpakorn University, 10(1), 111-127.
มณฑล อินแบน, อัคพงศ์ สุขมาตย์ และพรรณี สีกิจวัฒนะ. (2561). การพัฒนาบท
เรียนมัลติมีเดีย เรื่อง โลกและอวกาศ
้ ประถมศึกษาปี ที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,
สำหรับนักเรียนชัน
17(1), 38-44.
รัฐสภา แก่นแก้ว. (2562). สื่ออิเล็กทรอนิกส์และการพัฒนาสื่อฯ เพื่อใช้ในการ
ปฏิบัติการจิตวิทยา. สืบค้นเมื่อ
21 สิงหาคม 2564, จาก
http://dspace.spu.ac.th/bitstream/123456789/6522/1/Electronics-
Media-Psycology.pdf
ริพล แสนบุญส่ง, นิป เอมรัฐ และศักดา จันทราศรี. (2561) การพัฒนาสื่อ
มัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง โปรแกรมค้นหา
สำหรับนักเรียนระดับชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนวัดพระขาว (ประชานุ
เคราะห์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร
นวัตกรรมการเรียนรู้, 4(2), 11-12
ศิรธันย์ เกียรติโสภณรักษา. (2556). ผลการเรียนด้วยสื่อมัลติมิเดียร่วมกับการสืบ
เสาะหาความรู้ เรื่องทักษะกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนละแมวิทยา.
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2),
634.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2563).
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ชัน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
สกสค.ลาดพร้าว.
์ างการเรียน. วารสาร
สันติ งามเสริฐ. (2560). การสร้างข้อสอบวัดผลสัมฤทธิท
วิชาการโรงเรียนนายเรือ, 4(1), 48-66.
33

สุภัค โอฬารพิริยกุล. (2563). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ส่ อ


ื มัลติมีเดีย เรื่อง
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชัน

เด็กเล็ก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ าย
ประถม). วารสารศรีนครินทรวิโรฒและพัฒนา
(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(23), 106-109.
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21.
วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียน, 4(1), 53-63.
หัสนัย ริยาพันธ์. (2564). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนและการฝึ กอบรมทาง
ไกล. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564,
จาก https://www.stou.ac.th/offices/Oce/publication/pr3/pr
%20117561.pdf
อมีนา ฉายสุวรรณ และชุมพล จันทร์ฉลอง. (2565). ผลการใช้ส่ อ
ื มัลติมีเดียที่มีต่อ
์ างการเรียน เรื่อง ความเป็ น
ผลสัมฤทธิท
กรดเบสทางเคมี ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(1),
195-205
อลงกต เกิดพันธุ์ และเอกนฤน บางท่าไม้. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียวิชา
คอมพิวเตอร์ เรื่องอินเทอร์เน็ต สำหรับ
้ ประถมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. วารสารวิชาการ
นักเรียนชัน
Veridian E-Journal, 7(3), 1092-1112.
อโรชา ทองลาว, พัลลภ สุวรรณฤกษ์, สมเกียรติ ไทยปรีชา และศศิน เทียนดี.
(2564). การศึกษาความพึงพอใจของนิสิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อการจัดการเรียนการสอน
รูปแบบออนไลน์ ประจำภาคต้น
ปี การศึกษา 2563. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริหาร, 4(2), 617-
632.
34

อัญชนา ภักดีวงษ์ และอัมพร วัจนะ. (2564). การพัฒนาทักษะกระบวนการทาง


วิทยาศาสตร์ขัน
้ บูรณาการด้วยชุดกิจกรรม
การทดลองแบบสืบเสาะบนเฟซบุ๊ก (Facebook) เรื่องสารบริสุทธิข์ องนักเรียน
้ มัธยมศึกษาปี ที่ 1. วารสารวิชาการ
ชัน
และวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 113-126
อัญชลี เหล่ารอด. (2554). ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขัน
้ พื้น
ฐานของนักเรียนมัธยมศึกษาปี ที่ 3
โดยใช้คำถามควบคู่กับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.
(วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ). สืบค้นจาก
http://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/99719/1/Anchalee_L.pdf
อารีรักษ์ มีแจ้ง และวรรณประภา สุขสวัสดิ.์ (2564). การประยุกต์ใช้การประเมิน
ตนเองและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนา
คุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ. วารสารครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(3), 1-12.
Muhammad Rizal, Nuning Kurniasih, Dian Utami Sutiksno and Agung
Purnomo .(2018). The effects of
Multimedia Learning on Students Achievement in Terms of
Cognitive Test Results. Journal of Physics
: Conference Series,

You might also like