You are on page 1of 14

รายงาน

เรื่อง สื่อการสอนประเภทวัสดุ
เสนอ

อาจารย์ สุจิตตรา จันทร์ลอย

จัดทาโดย
1.นายอัธยา เขาเลียง เลขที่ 8 รหัสนักศึกษา 537190058

2. นางสาวจันทิมา บรรดาศักดิ์ เลขที่ 14 รหัสนักศึกษา 537190064

3.นางสาวชลิตสา หงษ์ทอง เลขที่ 16 รหัสนักศึกษา 537190066

4.นางสาวดาริกา เหล็กขา เลขที่ 19 รหัสนักศึกษา 537190069

5.นางสุกัญญา ตรีเดชา เลขที่ 38 รหัสนักศึกษา 537190095

6.นางสาวนภาพร กรประดิษฐ์ เลขที่ 42 รหัสนักศึกษา 537190162

7.นางสาวรุ่งกมล ฤทธิ์น้อย เลขที่ 52 รหัสนักศึกษา 537190125

วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
คานา

รายงาน ฉบั บ นี้ เ ป็ น ส่ วนหนึ่ ง ของวิ ช า นวั ต กรรมและเทคโนโลยี ท างการศึ ก ษาของนั ก ศึ ก ษา


ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาความรู้เรื่องสื่อการสอนประเภทวัสดุ ซึ่งต้อง
อาศัยการค้นคว้าหาข้อมูล และความร่วมมือของสมาชิกภายในกลุ่ม เพื่อให้ได้มาซึ่งรายงานที่มีคุณภาพตรง
ตามความต้องการ
ผู้จัดทาหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจ หากมีข้อบกพร่อง
หรือข้อผิดพลาด ทางคณะผู้จัดทาต้องขออภัย และขอน้อมรับ ไว้เพื่อนาไปปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์และ
มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป

คณะผู้จัดทา
สารบัญ
หน้า
สื่อการเรียนการสอน 1
สื่อการสอนประเภทวัสดุ 2
หลักการในการเลือกสื่อการสอน 5
ประโยชน์ของสื่อการสอน 7
การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน 8
คุณค่าของสื่อการสอน 8
สื่อการเรียนการสอนจาแนกตามประสบการณ์ 9
สื่อการเรียนการสอน
สื่อนับ เป็ นสิ่ง ที่ มี บ ทบาทส าคั ญอย่ างมากในการสอนตั้งแต่ใ นอดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็น
ตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจ
ความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ตรงกับผู้สอนต้องการ ไม่ ว่าสื่อนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามล้วนแต่เป็น
ทรัพยากรที่สามารถอานวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
สื่อ (medium,pl.media) เป็นคามาจากภาษาลาตินว่า “ระหว่าง” (between) สิ่งใดข้อตามที่
บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ
สามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
ในการเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนาสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า “สื่อสอนการสอน” และ
เมื่อนามาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า “สื่อการเรียน” โดยเรียกรวมกันว่า “สื่อการเรียนการสอน” หรืออาจจะเรียก
สั้นๆ ว่า “สื่อการสอน” หมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอด
เนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นามาใช้ เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือ
ช่องทางทาให้การสอนส่งไปถึงผู้เรียน สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึง
ปั จ จุ บั น เนื่ อ งจากเป็ น ตั ว กลางที่ ช่ ว ยให้ ก ารสื่ อ ระหว่ า งผู้ ส อนและผู้ เ รี ย นด าเนิ น การไปได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ ทาให้ผู้เรียนมีความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ใน
การใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจาเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับ
วัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องการวางแผนอย่างเป็น
ระบบในการใช้สื่อด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่สาคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนาไปประกอบการเรียนการสอน
นั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสาคัญที่
จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการ
มาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
สื่อการสอน คือ การนาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนาวัสดุ เครื่องมือและ
วิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้
ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วย
ประหยัดเวลา
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะ ประสบการณ์
จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทาให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
สื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ
1.สื่อประเภทวัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่มีขนาดเล็ก ทาหน้าที่เก็บ เนื้อหาความรู้ในลักษณะของ
ภาพและเสียง สื่อประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 สื่อประเภทวัสดุสิ่งพิมพ์ (Printed) เช่น เอกสารคาสอน หนังสือ ตารา และสื่อประเภทที่
ต้องเขียน หรือพิมพ์ทุกชนิด
1.2 สื่อวัสดุประเภทไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (non printed) เป็นสื่ออื่นๆ ที่นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์ เช่น
ของจริง ของตัวอย่าง ของจาลอง กระดานดา ป้ายชนิดต่างๆ รวมถึงวัสดุที่ต้องใช้กับเครื่องมือ เช่น
ม้วนเทปบันทึกเสียง ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส เทปบันทึกภาพหรือแผ่นดิสก์
2. สื่อประเภทอุปกรณ์ (hardware) เป็นสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้า
เมื่อจะทางาน เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องเทปบันทึกเสียง วิทยุ
วิดีโอเทป เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์
3.สื่อประเภทวิชาการ (technique) เป็นสื่อประเภทวิธีการและกิจกรรมหรือกระบวนการและวิธีการ
สอนต่างๆ เช่นการบรรยาย การสาธิต การสอนรายบุคคล เกมส์ การแสดงละคร กลุ่มสัมพันธ์ การศึกษา
4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนาเสนอด้วยคอมพิวเตอร์
(Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้
WWW (World Wide Web)
สื่อการสอนประเภทวัสดุ
เป็นสื่อที่มีประโยชน์และคุ ณค่าต่อการเรียนการสอน ทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ไ ด้เป็นอย่างดี
ความหมายของสื่อการสอนประเภทวัสดุคาว่า “วัสดุ” ตรงกับคาว่าภาษาอังกฤษว่า materal ซึ่งจอห์น ซิน
แคลร์ ให้ความหมายว่าวัสดุหมายถึง สิ่งที่มีคุณสมบัติ แข็งแรง ควบแน่น เป็นสารหรือสสารอาจเป็นสิ่งที่
เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาสื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งที่ช่วยสอน
ที่มีการผุพัง สิ้นเปลือง เช่น ฟิล์ม ภาพถ่ายภาพยนตร์ สไลด์ และสิ่งของราคาสิ่งของหรือสสารที่ถูกนามาใช้
งานจะมีคุณสมบัติต่างๆ กันบางอย่างก็แข็งแรง บางอย่างก็ยืดหยุ่นดีบางอย่างแข็งเปราะ บางอย่างมีความ
ทนทานสูง แต่บางอย่างฉีกแตกหักชารุดเสียหายได้ง่าย เมื่อนาวัสดุเหล่านี้มาใช้ประกอบการเรียนการสอนจึง
เรียกว่า “สื่อการสสอนประเภทวัสดุ” หรือ “สื่อวัสดุ” ซึ่งเป็นสื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหา
และถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิท ธิภาพซึ่งเป็น สื่อขนาดเล็กมีศักยภาพในการบรรลุเก็บเนื้อหาและ
ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อวัสดุสื่อ ประเภทของวัสดุที่ใช้กับการเรียนการสอน
ในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่สื่อวัสดุกราฟิก มีลักษณะเป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างแบบแบนบางไม่มี
ความหนา มีองค์ ป ระกอบส าคั ญคื อ รู ป ภาพ ตั วหนังสือสื่ อวัส ดุ 3 มิติ เป็ นสื่อที่ส ร้า งมาจากวัส ดุต่างๆ
สามารถตั้งแสดงได้ด้วยตัวเองที่นิยมใช้กับกระบวนการเรียนการสอนเช่น หุ่นจาลองสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
เป็นสื่อที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีทั้งประเภทเสียงอย่างเดียวและประเภทที่มีทั้งภาพและเสียงอยู่
ด้วยกัน เช่นเทปบันทึกเสียง เทปวีดิทัศน์สื่อวัสดุกราฟิก
1. ความหมายของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิก หมายถึง สื่อการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบสาคัญคือ
งานกราฟิกได้แก่ ภาพเขียนทั้งทีเป็นภาพสี ภพขาวดา ตัวหนังสือ เสนและสัญลักษณ์
2. คุณค่าของวัสดุกราฟิกวัสดุกราฟิกเป็นสื่อวัสดุ 2 มิติ ที่ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ทางตาซึ่งถือว่าเป็น
อวัยวะที่ปริมาณการรับรู้มากที่สุดเมื่อเทียบกับกี่รับรู้ด้วยประสาทรับสัมผัสด้านอื่นๆ สื่อวัสดุกราฟิกที่เห็น
ได้โดยทั่วไปมากมายรูปแบบ เช่น โปสเตอร์ หนังสือ วารสาร
3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิกคือ ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกัน ช่วยให้ผู้
เรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังคาบรรยายเพียงอย่างเดียว ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้น
ประหยัดเวลาการเรียนรู้
4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดีคือ ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียนมีรูปแบบง่ายต่อการ
เรียนรู้และการทาความเข้าใจไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนสื่อความหมายได้รวดเร็วชัดเจน
5. การออกแบบวัสดุกราฟิกคือ เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์
ของบทเรียน การออกแบบวัสดุกราฟิกต้องคานึงถึงการสื่อความหมายเป็นสาคัญ นอกจากนี้ควรคานึงถึง
ความเหมาะสมในการออกแบบ
6. ข้อดีและข้อจากัดของวัสดุกราฟิกสื่อวัสดุกราฟิกมีข้อดีต่อกระบวนการเรียนการสอนและการ
เรียนรู้ดังนี้ คือ แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อความเข้าใจให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สามารถผลิตได้ง่ายไม่
จาเป็นต้องอาศัยความชานาญเป็นพิเศษส่วนข้อจากัดของวัสดุกราฟิกได้แก่ ใช้ได้กับเป้าหมายขนาดเล็ก
เท่านั้น การออกแบบและการผลิตไม่ดีอาจทาให้ผู้เรียนเข้าใจยาก
7. ประเภทของวัสดุกราฟิก
1 ประเภทของวัสดุกราฟิก
7.1.1 แผนภูมิ (chats) มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์รูปภาพ และตัวอักษร
7.1.1.1 แผนภูมิต้นไม้
7.1.1.2 แผนภูมิแบบสายธาร
7.1.1.3 แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
7.1.1.4 แผนภูมิแบบองค์การ
7.1.1.5 แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
7..1.1.6 แผนภูมิแบบตาราง
7.1.1.7 แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
7.1.1.8 แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
7.1.2 แผนสถิติ (graphs) สื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลข
7.2.1 ชนิดของแผนสถิติ เปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่งๆ จะ
นาเสนอในรูปแบบของแผนสถิติแบบใดก็ได้
7.2.1.1 แผนสถิติแบบเส้น ข้อมูลที่แสดงความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
7.2.1 .2 แผนสถิติแบบแท่ง ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบ เคียงกัน
เป็นคู่ๆ หรือเป็นชุด
7.2.1.3 แผนสถิติแบบวงกลม ใช้เปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบ
ต่างๆ ว่าเป็นเท่าไร
7.2.1.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ เป็นการแปลงข้อมูลเป็นรูปภาพหรือ
สัญลักษณ์
7.2.1.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่าง
รวดเร็ว โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วนๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่า
เท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด
7.3 แผนภาพ แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงาน
7.4 ภาพพลิก
7.5 ภาพชุด
7.6 แผนภาพ
7.7 ภาพโฆษณา
7.8 แผนโปร่งใสสื่อวัสดุ 3 มิติ
2. ประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ
2.1 หุ่นจาลอง (models) เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง
ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงมีข้อจากัดไม่สามารถนามาแสดง
ได้
2.2 ของจรอง (real objects) หมายถึง สิ่งเร้าต่างๆ ที่มีภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่ง
นั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาท
รับสัมผัสทั้ง 5
2.3 ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นวัสดุที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่เมื่อเปรียบเทียบ
กับสื่อทัศนวัสดุอื่นๆ ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ ด้วยวัสดุต่างๆ ด้วยวัสดุหลายชนิด ลักษณะ
ของป้ายนิเทศที่ดีมีเนื้อหาแนวคิดและตรงวัตถุประสงค์ มีจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว
2.4 ตู้อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศนวัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบ
ธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีสื่อวัสดุ
อิเล็กทรอนิกส์1. ความหมายของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นส่วนหนึ่ง
ของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการนาเสนอบทเรียนจาก
เอกสาร ตารา ให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์
3. ประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์
3.1 เทปบรรทุกเสียง ใช้บันทึกเสียงในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
3.2 เทปวิดีทัศน์ ใช้บันทึกภาพและเสียง
3.3 แผ่นซีดี
3.4 แผ่นวีซีดี
3.5 แผ่นดีวีดี
3.6 แผ่นเอสวีซีดี
3.7 แผ่นเอ็กซ์วีซีดี
3.8 แผ่นเอ็กเอสวีซีดีบทสรุปสื่อประเภทวัสดุ เป็นสื่อที่มีขนาดเล็กสามารถเก็บบรรจุความรู้
และประสบการณ์ไว้เป็นอย่างดีบางชนิดสามารถสื่อความหมายหรือถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง
หลักการในการเลือกสื่อการสอน
จากแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญต่างๆ สามารถสรุปเป็นหลักการอย่างง่ายในการเลือกสื่อการเรียนการ
สอนได้ดังนี้
1. เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
ผู้ส อนควรศึ ก ษาถึง วัตถุประสงค์ ก ารเรีย นรู้ที่หลักสูตรก าหนดไว้ วัตถุประสงค์ใ นที่นี้หมายถึง
วัตถุประสงค์เฉพาะในแต่ละส่วนของเนื้อหาย่อย ไม่ใช่วัตถุประสงค์ในภาพรวมของหลักสูตร เช่น หลักสูตร
กาหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่า หลังการเรียนผู้เรียนควรจาแนกรสเปรี้ยวและรสหวานได้ ดังนั้นงานการเรียนรู้
ควรเป็นประสบการณ์ตรง ผู้สอนควรพิจารณาว่าสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้กับการให้ประสบการณ์ตรง
ได้แก่อะไรบ้าง ซึ่งจากตัวอย่าง อาจเลือกใช้ผลไม้ที่มี รสเปรี้ยว กับขนมหวานให้ผู้เรียนได้ชิมรสด้วยตนเอง
เป็นต้น
2. เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
เนื้ อ หาของบทเรี ย นอาจมี ลั ก ษณะแตกต่ า งกั น ไป เช่ น เป็ น ข้ อ ความ เป็ น แนวคิ ด เป็ น ภาพนิ่ ง
ภาพเคลื่อนไหว เป็นเสียง เป็ นสี ซึ่ง การเลือกสื่อการสอนควรเลือกให้ เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา
ตัวอย่างเช่ น การสอนเรื่องสีต่างๆ สื่อก็ ควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกได้ถึงลัก ษณะของสีต่างๆ ตามที่สอน
ดังนั้นควรเลือกสื่อการสอนที่ให้เนื้อหาสาระครอบคลุมตามเนื้อหาที่จะสอน มีการให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
และมีรายละเอียดมากเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้
3. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
ลักษณะเฉพาะตัวต่างๆ ของผู้เรียนเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้สื่อการสอน ในการเลือกสื่อการ
สอนต้องพิจารณาลักษณะต่างๆ ของผู้เรียน เช่น อายุ เพศ ความถนัด ความสนใจ ระดับสติปัญญา วัฒนธรรม
และประสบการณ์เดิม ตัวอย่างเช่น การสอนผู้เรียนที่เป็นนักเรียนระดับประถมศึ กษาควรใช้เป็นภาพการ์ตูน
มีสีสันสดใส ในขณะที่การสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอาจใช้เป็นภาพเหมือนจริงได้ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ
การเลือกสื่อให้เหมาะสมกับลักษณะผู้เรียนนั้นควรศึกษาจากผลงานวิจัย
4. เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับจานวนของผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน
ในการสอนแต่ละครั้งจานวนของผู้เรียนและกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนสอน ในห้องก็เป็นสิ่งสาคัญที่
ต้องนามาพิจารณาควบคู่กันในการใช้สื่อการสอน เช่น การสอนผู้เรียนจานวนมาก จาเป็นต้องใช้วิธีการสอน
แบบบรรยาย ซึ่งสื่อการสอนที่นามาใช้อาจเป็นเครื่องฉายต่าง ๆ และเครื่องเสีย ง เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและ
ได้ยินอย่างทั่วถึง ส่วนการสอนผู้เรียนเป็นรายบุคคล อาจเลือกใช้วิธีการสอนแบบค้นคว้า สื่อการสอนอาจ
เป็นหนังสือบทเรียนแบบโปรแกรม หรือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
5. เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมในที่นี้อาจได้แก่ อาคาร สถานที่ ขนาดพื้นที่ แสง ไฟฟ้า เสียงรบกวน อุปกรณ์อานวย
ความสะดวก หรือ บรรยากาศ สิ่งเหล่านี้ควรนามาประกอบการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอน ตัวอย่างเช่น
การสอนผู้เรียนจานวนมากซึ่งควรจะใช้เครื่องฉายและเครื่องเสียง แต่สถานที่สอนเป็นลานโล่งมีหลังคา ไม่มี
ผนังห้อง มีแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาถึง ดังนั้นการใช้เครื่องฉายที่ต้องใช้ความมืดในการฉายก็ต้อง
หลีกเลี่ยง มาเป็นเครื่องฉายประเภทที่สามารถฉายโดยมีแสงสว่างได้ เป็นต้น
6. เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
ควรเลือกใช้สื่อการสอนที่มีลักษณะน่ าสนใจและดึงดูดความสนใจผู้เรียนได้ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของ เสียง
สีสัน รูปทรง ขนาด ตลอดจนการออกแบบและการผลิตด้วยความประณีต สิ่งเหล่านี้จะช่วยทาให้สื่อการ
สอนมีความน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ อาจก่อให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน
น่าสนใจ หรือสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้เรียน
7. เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษา และบารุงรักษา ได้สะดวก
ในประเด็นสุดท้ายของการพิจารณา ควรเลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งานได้สะดวก ไม่ยุ่งยาก
และหลังใช้งานควรเก็บรักษาได้ง่ายๆ ตลอดจนไม่ต้องใช้วิธีการบารุงรักษาที่ สลับซับซ้อนหรือมีค่าใช้จ่าย
ในการบารุงรักษาสูง
สื่อการสอน คือ การนาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนาวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมา
ประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวม
ไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา
ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่
ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับ
ความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นามาใช้ควรทาให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้าง
แนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจาได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทากิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นาประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนาสื่อ
ไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทาให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทาให้การสอนนั้นไม่
ได้ผลเต็ม ที่ ดังนั้นครูควรมี ค วามรู้ค วามเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่ อให้สื่อนั้นมี
ประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน

การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน
ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจาเป็นต้อง
คานึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการ
สอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอานวยความสะดวกที่มีอยู่
นอกจากนี้ยังต้องคานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการ
เรียนการสอน
คุณค่าของสื่อการสอน จาแนกได้ 3 ด้านคือ
1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทาให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
1.2 ทาให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน
1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้
กว้างขวางและ
เป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจาเรื่องราวได้มากและได้นาน
1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 ทาให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
2.2 ทาให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
2.3 เร้าความสนใจ ทาให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทากิจกรรมด้วยตนเอง
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
3.2 ประหยัดเวลาในการทาความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะ
แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนาสื่อ
ไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทาให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทาให้การสอนนั้นไม่
ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมี
ประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนจาแนกตามประสบการณ์
1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้ นนี้ เป็นรากฐานสาคัญของการศึกษาทั้ง
ปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้
เห็น ได้จับ ได้ทา ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้น
นี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
2. ประสบการณ์จาลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมด
สิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อ
การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจาลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจาลองบางอย่าง
อาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถ
ประสบได้ด้วยตนเอง เช่ น เหตุก ารณ์ใ นอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรีย นในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ ย วกั บ
สถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมาก
ที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้
ผู้ฟั งแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิท ยาศาสตร์เตรีย มก๊ าซออกซิเจนให้นัก เรียนดู ก็ เป็นการสาธิต การสาธิตก็
เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวม
เอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคาพู ดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่
เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสาคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
เพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอก
สถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้
ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียน
มามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับ
ด้วยตัวของเขาเอง
7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้ง
ภาพและได้ยิ น เสีย งในเวลาเดีย วกั น และยั งสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุ ก ารณ์ ที่ก าลัง เกิ ดขึ้น ได้ด้ว ย
นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนามาใช้ในการเรียนการ
สอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์
เป็นสื่อที่จาลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถ
ถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กาลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียน
การสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่ง
แสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์ม
สตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจาลองความเป็นจริงมาให้เรา
ศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และ
เครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนามาใช้อย่างอิสระในการ
เรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่
ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จากัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่
ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
9. ทั ศ นสั ญ ลั ก ษณ์ สื่ อ การสอนประเภททั ศ นสั ญ ลั ก ษณ์ นี้ มี ม ากมายหลายชนิ ด เช่ น แผนภู มิ
แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สาหรับ
ถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือ
หรืออักษร สัญลั กษณ์ทางคาพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย
อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้
มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลา
อ้างอิง
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=3183.0;wap2
http://max2012305.blogspot.com/
http://labnamtok5.blogspot.com/2008/09/5.html

You might also like