You are on page 1of 28

20301

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
REV22-8672

หน่วยที่ 8-15

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

ไม่เผยแพร่ ดัดแปลง แก้ไข คัดลอก จําหน่าย โดยไม่ได้รับอนุญาตนะคะ ไม่อยากขายชีทพร้อม


คดีความลิขสิทธิ์แล้วจ้า

ตั้งใจทํามากอุดหนุนเถอะเล่มหลักสิบเอง

สรุปเป็นเพียงตัวช่วยในการทบทวนบทเรียนไม่ใช่แนวข้อสอบและไม่รับประกันการสอบผ่านนะคะ
8 สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา

สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา หมายถึง สื่อที่ให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียน โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหูและตา สื่อโสตทัศน์


เพื่อการศึกษามีความสําคัญคือ
• ช่วยดึงดูดและเร้าความสนใจของผู้เรียน
• ทําให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
• ทําให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนเอง
• ช่วยให้ครูสามารถนําเนื้อหาที่จํากัดมาสอนในห้องเรียนได้
• ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนานและไม่เบื่อหน่าย
• ช่วยลดภาระในการเตรียมการสอนของครู เพจสรุปทุกวิชามสธ by B

สื่อโสตทัศน์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ สื่อโสตทัศน์ที่ให้ความรู้และประสบการณ์ทางหู


สื่อโสตทัศน์ที่ให้ความรู้ประสบการณ์ทางตา
สื่อโสตทัศน์ ที่ให้ความรู้ประสบการณ์แบบสื่อประสม(หู+ตา)

• สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาแบบสื่อเดี่ยว : เป็นสื่อการเรียนรู้ที่เสนอความรู้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นมาช่วย
ทําให้การเรียนการสอน การนําเสนอความรู้เป็นไปอย่างรวดเร็ว
• สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาแบบที่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นช่วย : ไม่สามารถนํามาใช้ได้ทันที จําเป็นต้องใช้อุปกรณ์อื่นมาช่วย เช่น แผ่นซีดี
แฟลชการ์ด เพจสรุปทุกวิชา มสธ by B
• สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษาแบบสื่อประสม : เพื่อให้เกิดความรู้ ประสบการณ์ เป็นไปอย่างง่ายและต่อเนื่อง

แนวทางการเลือกสื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา
1. เลือกสื่อที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียน เช่น การใช้ฟันปลอมและแปรงสีฟันในการสาธิตการแปรงฟันให้กับนักเรียนดู
2. เลือกสื่อที่ตรงกับลักษณะเนื้อหาของบทเรียน
3. เลือกสื่อให้เหมาะกับประสบการณ์ของผู้เรียน เช่น ที่มีสีสันดึงดูด มีตัวการ์ตูนและใช้เวลาการสอนไม่นานนัก
4. เลือกสื่อให้เหมาะสมกับจํานวนผู้เรียนและกิจกรรมการสอน
5. เลือกสื่อที่ดึงดูดความสนใจและเร้าใจผู้เรียน Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
6. เลือกสื่อที่มีคุณภาพ เพจสรุปทุกวิชา มสธ by B
7. เลือกสื่อที่มีการใช้งาน การเก็บรักษาและบํารุงรักษาได้สะดวก
Rev22-8672
แนวทางการใช้สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา

การเตรียมส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนดําเนินการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อโสตทัศน์ ครูควร
>เตรียมตัวผู้สอน : ต้องอ่านเนื้อหาอย่างถี่ถ้วน และหาข้อมูลเพิ่มเติม ในตอนสุดท้าครูสรุปเนื้อหาอีกครั้ง
>จัดเตรียมอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกในชั้นเรียน
>การเตรียมความพร้อมของผู้เรียน : เตรียมให้พร้อมที่จะฟังหรืออ่านเนื้อหาจากสื่อนั้นให้เข้าใจ

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


ขั้นตอนการใช้สื่อโสตทัศน์

>> อาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งหรือใช้ทุกขั้นตอนในการเรียนการสอนก็ได้ตามความเหมาะสมดังนี้
1. ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน : เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กําลังจะเริ่มโดยใช้สื่อที่เป็นเรื่องสั้นๆ เช่นเนื้อเพลง ภาพนิ่ง
2. ขั้นดําเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน : เป็นขั้นตอนที่สําคัญเนื่องจากเป็นการให้ความรู้ด้านเนื้อหาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การ
เรียนที่ตั้งไว้ การใช้สื่อในขั้นตอนนี้ต้องเป็นสื่อที่มีความละเอียด ถูกต้องชัดเจนและครอบคลุม เช่น กราฟ แผนภูมิ สื่อเสียง
3. ขั้นสรุปบทเรียน : เป็นการนิยามเนื้อหาที่เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจตรงกับวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ โดยจะใช้เวลาสั้นๆ เช่น แผนภาพ
4. ขั้นประเมินผล : เป็นการทดสอบ ว่าผู้เรียนมีความรู้สิ่งที่ได้เรียนรู้ถูกต้องเพียงใด เป็นการนําผลจากการวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความ
หมายและตัดสินคุณค่า เพื่อที่จะทราบว่าสื่อนั้นทําหน้าทีได้ตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนการสอนที่ตั้งไว้หรือไม่ โดยเลือกวัดและประเมินสื่อโดย
ใช้วิธีที่นิยมกันได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกตและแบบตรวจสอบรายการ
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

สื่อโสตทัศน์ประเภทแผนภูมิ แผนภาพ และกราฟ


• แผนภูมิเพื่อการศึกษา เป็นสื่อการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงหรือแนวคิดต่างๆ ทําให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น แผนภูมิ
แสดงด้านสัญลักษณ์หรือภาพ และอาจมีคําบรรยายนั้นๆ แผนภูมิมีหลายประเภท ได้แก่

แผนภูมิแบบต้นไม้ แผนภูมิแบบสายธาร (Stream Charts) แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Chart)

แผนภูมิแบบองค์การ (Organization แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ แผนภูมิแบบตาราง (Tubular Charts)


Chart) (Comparison Chart)

แผนภูมิแบบอธิบายภาพ แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ แผนภูมิแบบขยายส่วน


(Explanation Chart) (Revolution Chart) (Enlarging Chart)

http://pattamawan3.blogspot.com/2011/09/blog-post.html

แผนภาพเพื่อการศึกษา

แผนภาพ เป็นภาพหรือสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่แสดงระบบการทํางานหรือโครงสร้างภายในที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยแผนภาพเพื่อ


การศึกษามีความสําคัญดังนี้ 1. ช่วยเห็นส่วนต่างๆของภาพชัดเจน 2. ช่วยขยายเนื้อหาให้เข้าใจยิ่งขึ้น 3. ช่วยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์
ของภาพที่ปรากฏ 4. แผนภาพช่วยในการตัดสินใจ

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


ประเภทของแผนภาพเพื่อการศึกษา
1. แผนภาพลายเส้น เป็นแผนภาพที่ใช้ลายเส้น รูปทรงและข้อความประกอบกัน เหมาะสําหรับแสดงโครงสร้างทั้งภายในภายนอกพร้อมกับมี
เส้นอยู่แสดงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน
2. แผนภาพแบบบล๊อคไดอะแกรม เป็นแผนภาพที่ใช้รูปทรงได้ง่ายแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบอย่างหยาบๆ ไม่เห็นรายละเอียดของการทํางาน
เช่นแผนภาพวงจรไฟฟ้า
3. แผนภาพแบบรูปภาพ เป็นภาพลายเส้นเขียนภาพง่ายๆ แทนสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงต้องการให้ดูเหมือนใกล้เคียงเท่านั้น เหมาะกับการแสดง
หลักการทํางาน เช่น แผนภาพแสดงการทํานํ้าประปา
4. แผนภาพแบบประสม เป็นแผนภาพที่แสดงทั้งรูปภาพ และภาพลายเส้นผสมภาษาอเข้าด้วยกัน ทําให้เห็นวัตถุทั้งที่เป็นส่วนภาพเหมือนจริง
และภาพลายเส้น

กราฟเพื่อการศึกษา
>> สื่อการสอนที่ใช้สัญลักษณ์หรือภาพแสดงสัดส่วนของข้อมูลต่างๆ ต่อจํานวนข้อมูลทั้งหมดที่คิดเป็น 100% เพื่อเปรียบเทียบปริมาณอย่าง
คร่าวๆ ทําให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่างเวลากับขนาด หรือจํานวนตลอดจนแสดงการก้าวหน้าหรือพัฒนาการ
ความสําคัญของกราฟเพื่อการศึกษา
• กราฟช่วยแสดงความสัมพันธ์และแสดงการเปรียบเทียบของข้อมูลทั้งหมด
• กราฟช่วยสรุปเนื้อหาให้กระชับและชัดเจนขึ้น
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
• กราฟมีหลายรูปแบบทําให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่าย
• กราฟช่วยประหยัดเวลาการสอนของครู

กราฟเส้น Line Chart


ใช้เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อดูแนวโน้ม (Trends) โดยอาจจะเทียบกับมิติของเวลา (Time
Series) เช่น กราฟยอดขายรายไตรมาส กราฟจํานวนลูกค้าใหม่ในแต่ละเดือน เป็นต้น
กราฟในกลุ่มนี้ ก็จะมี Line Chart, Area Chart ซึ่งจะมีทั้งแบบ Cluster และ แบบ Stack
สรุป กราฟเส้น ใช้ดูแนวโน้มของข้อมูล
จุดสําคัญ กราฟเส้นสามารถกําหนดแนวโน้ม (Trend line) ได้แต่ต้องเลือกความสัมพันธ์ให้
เหมาะสม เช่น Linear, Exponential หรือ Power เป็นต้น

กราฟวงกลม Pie Chart


ใช้สําหรับการเปรียบเทียบสัดส่วนของข้อมูลโดยเทียบกับผลรวมของทุกๆ ข้อมูลรวมกัน
เพื่อเปรียบเทียบเชิงสัดส่วน เช่น Market Share เป็นต้น
โดยกราฟที่อยู่ในกลุ่มนี้ที่เลือกใช้ได้ เช่น Donut, Treemap เป็นต้น
สรุป กราฟวงกลม เน้นดูสัดส่วนเทียบกับยอดรวม
จุดสําคัญ ในการนําเสนอไม่ควรมีข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบจํานวนมากเกิน 10 รายการ
เพราะจะดูยากหรือรายละเอียดมากเกินไป อีกทั้งไม่ควรเป็นข้อมูลที่มีการ Filter หรือ
กรองเพื่อเปรียบเทียบ จะทําให้การอ่านค่าผิดเพี้ยนได้

กราฟแท่ง Cluster Column หรือ Cluster Bar


เป็นการนําเสนอเพื่อเน้นแนวเปรียบเทียบของแต่ละอย่าง โดยพยายามสร้างกราฟที่เรียบ
ง่าย และเข้าใจได้ง่าย โดยสามารถเปรียบเทียบได้มากกว่า 1 ด้าน (ใน Excel จะเรียกว่า
Series) สรุป Cluster Column ใช้สําหรับการเปรียบเทียบข้อมูลว่าอะไรมาก อะไรน้อย
จุดสําคัญ หากเปรียบเทียบข้อมูลคนละประเภทกัน ควรใช้คนละแกนกัน เช่น ยอดขาย
กับ %กําไร เป็นต้น
เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B
กราฟแบบรูปภาพ
เป็นแผนสถิติที่ให้ความรู้สึกแบบสามมิติบนพื้นราบโดยใช้รูปภาพมาจัดเป็นแผนสถิติ โดยอาศัยหลักการจากแผนสถิติแบบแท่ง ใช้สัญลักษณ์
ของข้อมูลนั้นแทนจํานวนปริมาณโดยต้องบอกว่าภาพหนึ่งแทนปริมาณเท่าไหร่
กราฟแบบด้วยพื้นที่
เป็นสื่อเปรียบเทียบปริมาณอย่างคร่าวๆให้นักเรียนเห็นความสัมพันธ์และข้อเปรียบเทียบได้ไว แต่ไม่สามารถนําเสนอข้อมูลให้ละเอียดและถูกต้อง
ได้มากนะ

สื่อโสตทัศน์ประเภทภาพนิ่งและเสียงเพื่อการศึกษา

สื่อทัศนะที่เสนอข้อมูลหรือเป็นตัวแทนของบุคคล สถานที่และสิ่งของต่างๆ สําหรับให้ผู้เรียนได้เข้าใจอย่างรวดเร็ว


ความสําคัญของภาพนิ่งเพื่อการศึกษา
• ใช้เป็นสื่อการสอน ได้อย่างกว้างขวางทุกระดับชั้นทุกวิชา
• ช่วยดึงดูดความสนใจให้กับผู้เรียน
• ช่วยให้สื่ออื่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• ถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นจริงให้เป็นรูปธรรมมาสู่ผู้เรียน เช่น การใช้ภาพวิวธรรมชาติ เพื่ออธิบายลักษณะทางธรรมชาติ
ประเภทของภาพนิ่งเพื่อการศึกษา
• ภาพถ่าย
• ภาพวาด สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปร่างบนวัสดุต่างๆ เช่น ภาพคนเหมือน ภาพทิวทัศน์
• ภาพลายเส้น การใช้วัสดุสําเร็จเช่น ดินสอดํา ปากกา สร้างสรรค์งานให้เกิดลายเส้นหรือภาพแรเงา อาจทําให้สมบูรณ์ด้วยการเติมแสงและเงา
•ภาพการ์ตูน ภาพร่างหรือภาพวาดในลักษณะที่ไม่เหมือนจริงแต่มีเค้าโครงมาจากของจริง โดยการจําลองสิ่งของหรือบุคคลทําให้เข้าใจถึงความคิด
การเลือกภาพนิ่งเพื่อการศึกษา
• เลือกภาพที่ตรงกับเนื้อหาวิชาที่จะสอน
• ขนาดพอเหมาะกับห้องเรียน
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
• คุณภาพของภาพดี
• สะดวกในการใช้งาน

สื่อเสียงเพื่อการศึกษา

หมายถึงการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์ความรู้ผ่านทางเสียงที่เป็นจริง แก่นักเรียนจํานวนมากในเวลาเดียวกันโดยเสียงที่
ถ่ายทอดนั้นจะต้องมีคุณภาพชัดเจน อาจนํามาจากวัสดุบันทึกเสียง เสียงจากอินเตอร์เน็ตหรือคลื่นวิทยุก็ได้ เราใช้สื่อเสียงที่นิยมกัน
มากคือ ตําราเสียงเพื่อการศึกษา สื่อเสียงจากวิทยุกระจายเสียง และสื่อเสียงจากนิทานเสียง

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


g สื่อเสียงเพื่อการศึกษา

สื่อเสียงเพื่อการศึกษา หมายถึง สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์ความรู้ผ่านทางเสียง

ความสําคัญของสื่อเสียงเพื่อการศึกษา
1. สื่อเสียงมีความสําคัญทําให้การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่เหมือนจริงไปยังผู้เรียน
2.สื่อเสียงมีความสําคัญทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว
3. สื่อเสียงมีความสําคัญเป็นสื่อที่นําเสนออื่นมารวมทําให้สร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. สื่อเสียงมีความสําคัญทําให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนมากขึ้น
5. สื่อเสียงมีความสําคัญทําให้ผู้เรียนสามารถทํากิจกรรมอื่นๆพร้อมกับการฟังจากสื่อเสียงได้
6. สื่อเสียงความสําคัญทําให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยต้นเองเรียนเป็นกลุ่ม

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
ประเภทของสื่อเสียงเพื่อการศึกษา
• สื่อเสียงที่เกิดจากเสียงพูด
> เสียงพูด หมายถึง เสียงของบุคคล เช่น เสียงบรรยายของผู้สอน เสียงสัตว์ เพจสรุปทุกวิชา มสธ by B
• สื่อเสียงที่เกิดจากเสียงดนตรีหรือเสียงเพลง
> สื่อเสียงเกิดจากเสียงดนตรัหรือเสียงเพลง หมายถึง เสียงเพื่อให้ท่วงทํานองและจังหวะและเนื้อหาที่เป็นคําร้องโดยใช้ดนตรีประกอบ
• สื่อเสียงที่เกิดจากสภาพจริง
> เสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเสียงจากเหตุการณ์จริง แล้วบันทึกเก็บไว้เพื่อนํามาใช้ประกอบการสอน เช่น เสียงลมพายุ เสียงฟ้าร้อง

รูปแบบของสื่อเสียงเพื่อการศึกษา

การจําแนกรูปแบบของสื่อเสียงตามการนํามาใช้ • สื่อเสียงในรูปแบบสื่อเดี่ยว เป็นสื่อที่นํามาประกอบเพียงสื่อเดียว


• สื่อเสียงในรูปแบบสื่อประสม การนําเสียงมาใช้ผสมกับสื่อประเภทอื่น

การจําแนกรูปแบบของสื่อเสียงตามการนําเสนอ • สื่อเสียงในรูปแบบของรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
• ตําราเสียงเพื่อการศึกษา เป็นเสียงที่ถ่ายทอดเนื้อหาไปยังผู้เรียน
• นิทานเสียงเพื่อการศึกษา

แนวทางการเลือกใช้สื่อเสียงเพื่อการศึกษา

• ต้องเลือกตามความถูกต้องของเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่ถ่ายทอดทางสื่อเสียง
• ต้องเลือกสื่อเสียงตามความสอดคล้องของสื่อเสียงกับวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้
• ต้องเลือกสื่อเสียงที่มีคุณภาพเสียงในสื่อเสียง การมีคุณภาพเสียง คือ มีความชัดเจน สมํ่าเสมอต่อเนื่อง มีจังหวะและท่วงทํานองมีความ
ไพเราะชวนให้รับฟัง
• การนําเสนอของสื่อเสียงต้องเร้าความสนใจผู้เรียน จะชวนให้ผู้เรียนติดตามรับฟัง
• ภาษาที่ใช้ในสื่อเสียงควรเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ควรเป็นประโยคสั้นๆ ไม่ควรใช้คําสแลงและคําไม่สุภาพ
• ต้องเลือกสื่อเสียง โดยคํานึงถึงประโยชน์ที่ผู้เรียนจะได้รับ
• ความเหมาะสมของระยะเวลาการนําเสนอทางสื่อเสียง ระยะเวลาที่ไม่ควรยาวนานเกินไป เพราะในเด็กเล็กความสนใจ <ในเด็กโต
แนวทางการใช้สื่อเสียงเพื่อการศึกษา
1. แนวทางการใช้สื่อเสียงเพื่อการสอนโดยตรง จะเป็นขั้นตอนแรกตั้งแต่เริ่มต้นชั่วโมงเรียนไปจนจบ โดยครูอาจจะเปอร์เซ็นต์เสียงจากรายการ
วิทยุกระจายเสียงให้นักเรียนฟัง
2. แนวทางการใช้สื่อเสียงเพื่อประกอบการสอน อาจจะใช้สื่อนําเข้าสู่บทเรียน โดยความยาวไม่ควรเกิน 3 ถึง 5 นาที, การใช้สื่อเสียงในขั้นตอน
การสอน เป็นการนําสื่อเสียงที่ให้ความรู้เนื้อหาสาระตรงกับหัวเรื่องและใช้ในการสอนอาจจะเป็นการอธิบายเนื้อหาเพียงอย่างเดียว หรือเป็นเพลง
ประกอบช่วยในการจดจํา หรือจะเป็นเสียงที่เกิดจากธรรมชาติก็ได้ , การใช้สื่อเสียงในขั้นตอนการสรุปบทเรียน
3. แนวทางการใช้สื่อเสียงเพื่อเป็นแหล่งความรู้ จะเป็นการใช้สื่อเสียงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้
4. แนวทางการใช้สื่อเสียงเป็นสื่อหลักและสื่อเสริม เช่นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนต้องรู้ในกลุ่มสาระวิชาผ่านวิทยุกระจายเสียง (แบบสื่อ
หลัก), การใช้สื่อเสียงประกอบเอกสารการสอน (แบบสื่อเสริม)

รายการวิทยุกระจายเสียง ตําราเสียงและนิทานเสียงเพื่อการศึกษา

รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา เป็นสื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระโดยใช้สื่อเสียงประเภทเสียงพูดเป็นสําคัญไปยังผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล โดย


การใช้เสียงบรรยาย เสียงดนตรีและสื่ออื่นๆประกอบการบรรยายชวนให้ผู้เรียนติดตามอยากฟัง
ความสําคัญของรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
• ผู้เรียนเรียนจากผู้สอนคนเดียวกันจึงมีความเท่าเทียมกันในการเรียน โดยความแตกต่างจะเป็นศักยภาพของผู้เรียน
• ผู้เรียนจํานวนมากสามารถเรียนพร้อมกันได้ในคราวเดียวกัน โดยใช้รายการวิทยุกระจายเสียงแพร่กระจายออกอากาศ
• เนื้อหาสาระน่าเชื่อถือ เพราะมาจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เนื้อหาสาระได้มากกว่าการเรียนผ่านหนังสือ โดยครูถ่ายทอดมาให้ฟังอีกที
• สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนทําให้ผู้เรียนอยากที่จะเรียน เพราะรายการวิทยุสื่อกระจายเสียงที่ใช้มีทั้งเสียงพูดและสื่อประกอบการนําเสนอ
• ใช้สอน แทนครูกรณีครูขาดหรือไม่มีครูสอน หรือครูขาดความรู้ความชํานาญในเรื่องที่จะสอน
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
ประเภทของรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา
1. รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ความรู้ทั่วไป เป็นความรู้ที่ผู้เรียนนํามาใช้เพื่อพัฒนาตนเอง /ใช้ในการดําเนินชีวิต/และประกอบอาชีพ
2. รายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการสอนตามหลักสูตรที่กําหนดไว้

รูปแบบรายการสัมภาษณ์
รูปแบบรายการพูดคนเดียวหรือบรรยาย
รูปแบบรายการสนทนา
รูปแบบรายการแข่งขันตอบปัญหา

รูปแบบรายการอภิปราย รูปแบบรายการวิทยุกระจาย
รูปแบบรายการนิตยสารทางอากาศ
เสียงเพื่อการศึกษา

รูปแบบรายการถ่ายทอดสด
รูปแบบรายการสารคดี

รูปแบบรายการละคร รูปแบบรายการปฏิสัมพันธ์

ตําราเสียงเพื่อการศึกษา
>> สื่อเสียงที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระเป็นความรู้ความสามารถไปยังผู้เรียนโดยมีการจัดโปรแกรมการเรียนไว้ล่วงหน้า ที่มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วน
ร่วมในการทํากิจกรรม และได้ข้อมูลย้อนกลับในทันที เกิดความภูมิใจในความสําเร็จและเกิดการเรียนรู้ โดยเนื้อหาสาระของตําราเสียงจะมี
หัวเรื่อง แนวคิดหรือสาระสําคัญ วัตถุประสงค์ เมื่อผู้เรียนเรียนจบแล้วก็จะมีการสรุปเนื้อหาอีกครั้ง โดยอาจจะมีกิจกรรมประจําหน่วยให้ผู้
เรียนได้ทดลองทํา เพื่อประเมินผลการเรียนรู้
เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B
ความสําคัญของตําราเสียงเพื่อการศึกษา
• ทําให้ผู้เรียนได้ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เพราะว่าครูสามารถนํามาใช้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสะดวกและความสนใจของผู้เรียน
แต่ละคน
• ทําให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะความชํานาญเฉพาะทาง
• ช่วยอธิบายเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เพราะมีการใช้สื่อหลายอย่างทั้งเสียงคําบรรยายและภาพประกอบ
• ทําให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอดหรือการทบทวนเนื้อหาสาระที่เรียน โดยผู้เรียนอาจจะใช้ตําราเสียง เพื่อฝั่งสามทําให้เกิดการจดจําเนื้อหาให้
ได้เพื่อนําไปสู่การคิดวิเคราะห์ต่อไป เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
• ทําให้ผู้เรียนที่มีระดับความสามารถต่างกันสามารถเปลี่ยนไปตามศักยภาพของตนเองได้
• ทําให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับสื่อเสียงและปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน
• การนําเอาสื่ออื่นมาใช้ร่วมกับตําราเสียงทําให้สื่อนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประเภทของตําราเสียงเพื่อการศึกษา
> การจําแนกประเภทตําราเสียงเป็นสื่อเดียวและนําสื่ออื่นมาร่วมด้วย
• ตําราเสียงเป็นสื่อเดียว หมายถึง ตําราเสียงนั้นเสนอเนื้อหาสาระ กิจกรรมแนะแนวตอบและแบบประเมินไว้ครบถ้วน เพียงแต่ผู้เรียนทํา
กิจกรรมและแบบประเมินตนเองลงในสมุด ตําราเสียงแบบนี้มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเอง ไม่ต้องนําสื่ออื่นมาร่วมด้วย
• ตําราเสียงที่นําสื่ออื่นมาร่วมด้วย หมายถึง ตําราเสียงที่เสนอข้อความ ในรูปแผนภูมิ กราฟแผนภาพ หรือภาพนิ่ง
> การจําแนกประเภทตําราเสียงตามช่องทางการผ่านของเสียง
• ตั้งเวลาเสียงที่เสนอผ่านโดยวัสดุบันทึกเสียง อยู่ในรูปของแผ่นซีดี ตําราเสียงประเภทนี้จึงเสนอแต่เสียงเพียงอย่างเดียว
• ตําราเสียงที่เสนอผ่านโดยระบบเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ตหรือผ่านสื่อสังคม คุณภาพของตําราเสียงประเภทนี้จะขึ้นกับระบบส่งสัญญาณ เช่น
สื่อการสอนใน YouTube line Facebook
> การจําแนกประเภทตําราเสียงในการใช้เป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริม
• ตําราเสีบงเพื่อการศึกษาที่ใช้เป็นสื่อหลัก เป็นการเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนต้องรู้ด้วยสื่อเสียง คือใช้สื่อเสียงเป็นสื่อหลัก
• ตําราเสียงเพื่อการศึกษาที่ใช้เป็นสื่อเสริม เป็นการใช้สื่อเสียงในการอธิบายเสริมประกอบสื่อหลัก เช่น ภาพนิ่ง

รูปแบบของตําราเสียงเพื่อการศึกษา
1. ตําราเสียงแบบบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา
2.ตําราเสียงแบบสรุปเนื้อหา
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
3. ตําราเสียงแบบฝึกหัด
4. ตําราเสียงแบบบทเรียนแบบโปรแกรม
5. กําลังเสียงประกอบสื่อทัศนะ

นิทานเสียงเพื่อการศึกษา

หมายถึง สื่อเสียงนี้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาทั้งเรื่องราวที่เป็นเรื่องจริงแล้วก็นิยายที่แต่งขึ้น โดยเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านสื่อ


เสียงที่ใช้ในการสอนอาจจะมีเสียงพูดของตัวละคร หรือไม่มีเสียงพูดของตัวละครก็ได้ โดย มีความสําคัญของสื่อเสียงดังนี้
> ทําให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายและรวดเร็ว
> ทําให้ผู้เรียนสนใจและต้องการเรียนมากขึ้น
> ใช้เป็นตัวอย่างประกอบเนื้อหาช่วยทําให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วขึ้น
> ให้ทั้งความรู้และความสนุกสนานพร้อมกัน
> สร้างบรรยากาศในการเรียนที่ดี
> บูรณาการหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือหลายวิชามาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน
> ใช้เป็นแหล่งความรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเอง
> เสริมสร้างคุณลักษณะพึงประสงค์ที่ดีให้กับผู้เรียนหลายด้านพร้อมกัน
10 สื่อภาพเพื่อการศึกษา

สื่อภาพเพื่อการศึกษา เป็นทัศนวัสดุที่เป็นตัวแทนเสนอข้อมูลหรือสาระสนเทศทางการศึกษาในรูปแบบของคน สัตว์ สิ่งของ และเหตุการณ์


ทั้งรูปธรรมและนามธรรม อุปมาอุปไมย ภาพร่าง ภาพถ่ายภาพดิจิตอล ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว มีความสําคัญเพื่อการศึกษาใน
ฐานะที่ช่วยขยายของจริง เสริมคําพูดหรือเขียนให้ชัดเจนมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น เป็นสื่อภควันตภาพ ที่สามารถนํามาศึกษาอยู่ทบทวน
ได้ทุกที่ทุกเวลาช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนและสร้างความเข้าใจให้ผู้เรียนได้รวดเร็ว

แนวคิดของสื่อภาพเพื่อการศึกษา แนวคิดดั้งเดิม ที่เน้นการผลิตด้วย แบบแอนะล็อก

: แนวคิดใหม่ ที่เน้นการผลิตภาพแบบดิจิทอล
ความหมายของสื่อภาพเพื่อการศึกษา
1. ความสัมพันธ์ในฐานะช่วยขยายของจริงหรือเหตุการณ์ : ช่วยอธิบายคําพูดหรือข้อความให้ชัดเจน
2. ความสําคัญในฐานะช่วยเสริมคําพูดหรือการเขียน : ช่วยเสริมสร้างความคงทนของความจําในเรื่องที่เรียน
3. ความสําคัญในฐานะเป็นสื่อภควันตภาพ : คือเป็นสื่อที่สามารถนํามาศึกษาทบทวนได้ทุกที่ทุกเวลา
4. ความสําคัญในฐานะกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เพจสรุปทุกวิชา มสธ by B
5. ความสําคัญในฐานะช่วยสร้างความเข้าใจให้ผู้เรียนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

☆ • สื่อภาพนิ่ง > เป็นภาพสองมิติหรือสามมิติ

จําแนกตามการเคลื่อนไหว
• • • สื่อภาพเคลื่อนไหว> เป็นภาพสองมิติหรือสามมิติที่ถ่ายต่อเนื่องกันมี
จํานวน 25 ภาพขึ้นไปต่อวินาที

ประเภทสื่อภาพเพื่อการศึกษา จําแนกตามช่องทางการถ่ายทอด ๘ • สื่อภาพถ่ายทอดทางตรง


D.

☆ • สื่อภาพถ่ายทอดทางอ้อม

จําแนกตามการผสมสื่อ B • สื่อเดียว สื่อเพียงประเภทเดียวที่บรรจุเนื้อหาสาระการศึกษา

☆ • สื่อผสม ซึ่งมีตั้งแต่สองประเภทขึ้นไปนํามาใช้ในเนื้อหาเดียวกัน

จําแนกตามการนําเสนอ k • สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย เช่น ภาพชุด ภาพโทรทัศน์ ภาพในหนังสือหรือตํารา


* ใช้มากที่สุดในสื่อประกอบการเรียนการสอน*

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B k • สื่อใช้เครื่องฉาย

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


รูปแบบสื่อภาพเพื่อการศึกษา
• สื่อภาพนิ่งในรูปแบบสิ่งพิมพ์ : สื่อภาพนิ่งที่เสนอในรูปแบบหนังสือภาพ ในรูปแบบตํารา และที่เสนอในรูปแบบหนังสือทั่วไป
• สื่อภาพนิ่งหรือรูปแบบสื่ออิเล็คทรอนิกส์
• สื่อภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบสื่ออิเล็คทรอนิกส์ แนวทางการใช้สื่อภาพเพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน
> การใช้สื่อภาพเสนอเนื้อหาสาระสําหรับเป็นส่วนหนึ่งของ
แนวทางเลือกสื่อภาพเพื่อการศึกษา บทเรียน
• พิจารณาคุณลักษณะเฉพาะของสื่อภาพ > การใช้สื่อภาพบันทึกบทเรียนจากบรรยากาศการสอนจริง
• พิจารณาวัตถุประสงค์ของการสอน > การใช้สื่อภาพเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการสอนประเภทอื่น
• พิจารณาผู้เรียน > สถานการณ์การใช้สื่อภาพในการเรียนการสอน
• พิจารณาเนื้อหาของบทเรียน -ใช้ในการนําเข้าสู่บทเรียน
• พิจารณากิจกรรมการเรียนการสอน - ใช้ขยายแนวคิด/สาระในระหว่างการนําเสนอการสอน
• พิจารณาข้อจํากัดในการใช้ - ใช้เป็นเครื่องมือในการทํากิจกรรมการเรียนการสอน
• พิจารณาคุณภาพและราคาของสื่อ -ใช้สรุปบทเรียน

แนวทางการใช้สื่อภาพเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน
รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
• การใช้สื่อภาพสําหรับการศึกษาทางไกล
> รายการที่นําเสนอเนื้อหาสาระ ที่ให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ชมทางวิทยุ > ใช้สื่อภาพเป็นสื่อหลัก : ใช้ทั้งในบทเรียน ในรายการ
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา มีความสําคัญต่อการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ชมทั้งการศึกษา วิทยุโทรทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และในตําราหลัก
ในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย โดย > ใช้สื่อ ภาพเป็นสื่อเสริม : เติมเต็มสื่อหลักที่ไม่สามารถ
มีความสําคัญในการให้ความรู้พื้นฐาน การส่งเสริมความรู้ การส่งเสริมอาชีพ การ ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นรูปธรรมทําให้ผู้เรียนได้เข้าใจชัดเจน
เป็นสื่อหลักและสื่อเสริมในการสร้างแรงจูงใจ และการ เพิ่มประสิทธิภาพในการ • การใช้สื่อภาพสําหรับการฝึกอบรม
เรียนการสอน
ประเภทของรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ภาพเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษา
• รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา : เป็นรายการที่เสนอเนื้อหาสาระประเภท
หมายถึง สื่อภาพที่แสดงภาพเคลื่อนไหวและทําให้ปรากฏด้วยการ
ความรู้ทั่วไปสําหรับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายทั่วไปที่ไม่สังกัดสถานศึกษา เช่น
ฉายบนจอฉายหรือจอคอมพิวเตอร์
รายการที่ นําเสนอความรู้เกี่ยวกับกีฬาประเภทต่างๆ , รายการสุขภาพเพื่อ
ความสําคัญของภาพเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษา
ประชาชน
1. เพื่อการใช้สอนโดยตรง
• รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการสอน : เป็นรายการวิทยุโทรทัศน์ที่เสนอเนื้อหา
2. เพื่อใช้ประกอบการสอน
สาระตามที่กําหนดไว้ในคําอธิบายรายวิชา แบ่งออกเป็น
3. เพื่อใช้เป็นสื่อเสริมความรู้
> รายการสอนตรง : คือการบรรยายคนเดียวหรือสองคนนําเสนอเนื้อหาสาระที่
4. เพื่อกระตุ้นความสนใจ
เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอนในห้องเรียนโดยตรง โดยผู้เรียนอาจจะอยู่ตามสถานที่
5. เพื่อใช้ในการทํากิจกรรมกลุ่มการสอนและการฝึกอบรม
ต่างๆก็ได้
6. เพื่อใช้ในการเผยแพร่ความรู้
> รายการประกอบการสอน : จะเป็นการเน้นแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งในบทเรียน
7. เพื่อใช้เป็นสื่อภควันตภาพ
ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจมากขึ้น
ประเภทของภาพเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษา
> รายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการฝึกอบรม : คล้ายกับวิทยุโทรทัศน์เพื่อการสอน
• แบ่งตามการผลิต
แต่เน้นรายการแสดงขั้นตอนหรือกระบวนการ ประกอบการสาธิต
> ภาพเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ เช่น ภาพทะเล
> ภาพเคลื่อนไหวที่ทําเอง เช่น การ์ตูนญี่ปุ่น
• แบ่งตามการใช้งานเพื่อการศึกษา
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
> นําเสนอสาระทางการศึกษา เช่น สารคดี
> นําเสนอสาระทางการเรียนการสอน
> นําเสนอเนื้อหาสาระในการฝึกอบรม
ตําราภาพเพื่อการศึกษา
หมายถึง สื่อพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการจัดระบบเสนอเนื้อหาสาระ ในเรื่องราวด้วยรูปแบบภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว เพื่อให้ความรู้และ
ประสบการณ์ที่เป็นความรู้ทั่วไป และสาระที่เป็นส่วนของหลักสูตรการศึกษา การเรียนการสอน การฝึกอบรมและการศึกษาตามอัธยาศัย
องค์ประกอบของสื่อพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตํารา >> คํานํา สารบัญ เนื้อหาสาระที่มีการแบ่งเป็นเรื่องย่อย มีภาพพร้อมคําอธิบาย มีสรุป
เรื่อง มีการอ้างอิงและบรรณานุกรม อาจจะมีแบบทดสอบและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านเพิ่มเติมก็ได้
ความสําคัญของตําราภาพเพื่อการศึกษา
1. ความสําคัญของตําราภาพเพื่อการศึกษาในการมีมาตรฐานวิชาการทําให้เชื่อถือได้ : จะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้เชี่ยวชาญหรือ
ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องที่เกี่ยวข้องว่ามีเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง
2. ความสําคัญของตําราภาพเพื่อการศึกษาในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน : เป็นตําราภาพประกอบการเรียนการสอนบรรจุภาพพร้อมเนื้อหา
สาระที่มีความยากง่ายตามหลักสูตร เพจสรุปทุกวิชามสธ byB
3. ความสําคัญของตําราภาพเพื่อการศึกษาในการสร้างความสนใจให้ผู้เรียน : การนําเสนอบทเรียนด้วยตําราภาพ ย่อมทําให้ผู้เรียนตื่นตาตื่นใจ
4. ความสําคัญของตําราภาพเพื่อการศึกษาในการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลได้กว้างไกล : สื่ออิเล็กทรอนิกส์มีการจัดเก็บที่ง่ายสามารถนําออกมา
อ่านได้ทันทีและเผยแพร่ข้อมูลได้กว้างไกล ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงได้
5. ความสําคัญของตําราภาพเพื่อการศึกษาในการเป็นสื่อภควันตภาพ : หมายถึงการเป็นตําราภาพที่สามารถศึกษาได้ทุกสถานที่ทุกเวลา
ประเภทตําราภาพเพื่อการศึกษา
• ตําราภาพสิ่งพิมพ์ > เป็นตําราที่นําเสนอด้วยภาพนิ่ง พิมพ์ด้วยกระดาษชนิดต่างๆ มีการใช้กันมานานมักพบเห็นเป็นรูปแบบหนังสือ
• ตําราภาพอิเล็คทรอนิกส์> e-Book เป็นวิธีที่เปลี่ยนจากการพิมพ์ในกระดาษมาบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบสื่อประสม

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


สื่อสามมิติและสื่อนิทรรศการเพื่อการศึกษา

สื่อสามมิติเพื่อการศึกษา หมายถึง สื่อที่ผู้สอนนํามาสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน เป็นสื่อที่มีสภาพการณ์ที่เป็นจริงมากที่สุด จึงสร้าง


ประสบการณ์เรียนรู้ที่เป็นสภาพจริงให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สื่อสามมิติมี 3 ประเภท ได้แก่ สื่อของจริง สื่อของตัวอย่าง และสื่อหุ่นจําลอง
ความสําคัญของสื่อสามมิติการศึกษา
1. สื่อสามมิติช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาครูที่สอน เพราะความใกล้เคียงวัตถุจริง ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามสภาพความเป็นจริง
2. สื่อสามมิติสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรมได้ เพราะคล้ายของจริงจับต้องได้
3.สื่อสามมิติสามารถจําลองสถานการณ์ที่ซับซ้อน ที่ยากต่อการเข้าใจให้เข้าใจง่าย

ประเภทสื่อสามมิติเพื่อการศึกษา
• สื่อของจริง ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนในการเรียนรู้สิ่งที่เป็นจริงที่อย่างรักษาลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆไว้
> สื่อของจริงที่คงสภาพเดิม หมายถึง สื่อของจริงที่ยังคงรักษาสภาพเดิมคุณลักษณะเดิม เช่นต้นไม้ ดอกไม้ เครื่องยนต์ เครื่องมือการเกษตร
> สื่อของจริงที่แปรเปลี่ยนสภาพ หมายถึง สู้ของจริงที่ถูกแปลสภาพไปจากเดิมเมื่อนํามาใช้ในการเรียนการสอน ผู้สอนจะนําเฉพาะส่วน
สําคัญของสื่อมาสอน เช่น เครื่องยนต์ผ่าซีก
• สื่อของตัวอย่าง ในการสอนบางครั้งไม่สามารถนําเข้าจริงมาให้ผู้เรียนได้ศึกษาทั้งหมด ดังนั้นผู้สอนนําของตัวอย่างมาเป็นสื่อประกอบการ
สอน ของตัวอย่างหมายถึง สื่อที่ใช้เป็นตัวแทนของสื่อที่เป็นประเภทเดียวกัน อาจนํามาแสดงหรือเพียงบางส่วนก็ได้ เช่นชิ้นส่วน
เครื่องปั้นดินเผา ใช้แสดงลักษณะเครื่องปั้นดินเผาทั้งหมดในยุคนั้น
• สื่อหุ่นจําลอง หมายถึง สื่อสามมิติที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเลียนแบบของจริง เนื่องจากบางครั้งของจริงอาจมีอันตราย มีความซับซ้อนราคาแพง ิ
โดยสื่อหุ่นจําลองสามารถแบ่งได้เป็น
- หุ่นจําลองแสดงรูปทรงภายนอก เช่น สี พื้นผิว หุ่นจําลองผลไม้ หุ่นจําลองรูปร่างมนุษย์
- หุ่นจําลองแบบเท่าของจริง เช่น หุ่นจําลองบุคคลในประวัติศาสตร์ Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
- หุ่นจําลองแบบเคลื่อนไหวทํางานได้ เช่น หุ่นจําลองแสดงทํางานวงจรไฟฟ้า
- หุ่นจําลองแบบผ่าซีก เช่น หุ่นจําลองแสดงชั้นผิวของโลก
- หุ่นจําลองแบบแยกส่วน เช่น หุ่นจําลองแสดงส่วนประกอบร่างกายมนุษย์
- หุ่นจําลองแบบเลียนแบบของจริง เช่น การฝึกทักษะเบื้องต้นก่อนการควบคุมสถานการณ์จริง ในห้องบังคับโปรแกรมฝึกบิน
- หุ่นจําลองแบบกล่องอันตรทัศน์ เช่น วัสดุสามมิติ
• สื่อเสมือนจริง สื่อที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ผสานเอาสภาพแวดล้อมแห่งความเป็นจริง และความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน การ
ประยุกต์ใช้สื่อเสมือนจริงสามารถใช้ได้ใน 3 ด้าน
- ด้านการศึกษา เช่น การทําเป็นหนังสือเรื่องโลกใต้นํ้า
- ด้านการท่องเที่ยว เช่น การสร้างพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงจากซอฟต์แวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทําให้ผู้ชมสามารถดูพิพิธภัณฑ์ได้
- ด้านการแพทย์ เช่น การจําลองการผ่าตัดเสมือนจริงในระบบภาพสามมิติ

รูปแบบสื่อสามมิติเพื่อการศึกษา • การจําแนกตามการผสมสื่อ •• ใช้เป็นสื่อเดียว


•• ใช้ร่วมกับสื่ออื่น
•การจําแนกตามช่องทางการถ่ายทอดสด •• ใช้ถ่ายทอดทางตรง
A• ใช้ถ่ายทอดผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
• การจําแนกตามการนําเสนอ •• ใช้เป็นสื่อประกอบการสอน
•• ใช้เป็นสื่อประกอบกิจกรรม
แนวทางการเลือกใช้สื่อสามมิติเพื่อการศึกษา แนวทางการใช้สื่อสามมิติเพื่อการศึกษา
• ช่วยกระตุ้นความสนใจ ในการเรียน • การใช้สื่อสามมิติเพื่อการศึกษาในระบบโรงเรียน
• ตรงตามวัตถุประสงค์ของการสอน > การเลือกสื่อสามมิติ : ผู้สอนต้องทราบวัตถุการสอนแล้วจึงพิจารณาว่าจะเลือกสื่อสาม
• มีขนาดที่เหมาะสม มิติประเภทใด
• ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม ขั้นนําเข้าสู่บทเรียน> สื่อสามมิติในขั้นตอนนี้ควรกระตุ้นหรือเร้าความสนใจผู้เรียน
• มีการใช้งานที่สะดวก ขั้นประกอบกิจกรรมการเรียน > ผู้สอนต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่ถูกต้องให้กับผู้เรียนอย่าง
• มีความคุ้มค่า ละเอียด สื่อสามมิติที่ควรใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียน
ขั้นสรุปบทเรียน > เป็นขั้นตอนที่ยํ้าทบทวนเนื้อหาแกผู้เรียนสื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่ใช้เวลา
ไม่มากและเน้นเฉพาะจุดสําคัญ
> การเตรียมตัวผู้สอน ผู้สอนต้องศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสื่อนั้น และวิธีการใช้
> การเตรียมตัวของผู้เรียน
สื่อนิทรรศการเพื่อการศึกษา > การใช้สื่อสามมิติ

การถ่ายทอดการเรียนรู้โดยการแสดงผลงาน หรือ > การประเมินผลการใช้สื่อสามมิติ


กิจกรรมโดยนําเอาสื่อเพื่อการศึกษา และกิจกรรมมา • การใช้สื่อสามมิติเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
จัดแสดงเพื่อให้ผู้ชมได้รู้ ในเรื่องที่ผู้จัดตั้งเป้าหมายไว้ > ขั้นเตรียมการ
ครอบคลุม พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย > ขั้นวางแผน กําหนดชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ , ศึกษารวบรวมข้อมูลด้านต่างๆ, กําหนด
ความสําคัญต่อการศึกษา รูปแบบของการอบรม เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
• ช่วยกระตุ้นความสนใจผู้ชมเป็นอย่างดี > ขั้นการผลิต
• ช่วยส่งเสริมการแสดงออกทางความคิดของผู้เรียน > ขั้นดําเนินการ
• สามารถถ่ายทอดความคิดที่เป็นนามธรรมได้ > ขั้นประเมินผลการใช้สื่อสามมิติ
• สามารถนําเสนอความรู้หลากหลายวัตถุประสงค์
• สามารถให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน
ได้อย่างทั่วถึง Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

ประเภทของสื่อนิทรรศการเพื่อการศึกษา
1. การจัดนิทรรศการตามสภาพจริง เป็นนิทรรศการให้การจัดแสดงความรู้โดยผ่านสื่อและกิจกรรมให้ผู้ชมได้รับความรู้
• นิทรรศการถาวร : เป็นการจัดแสดงสื่อนําเสนอเรื่องราวที่สําคัญต้องการให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนที่สนใจเข้ามาชม มีระยะเวลานานและ
ตลอดเวลา ข้อควรคํานึงถึงของการจัดนิทรรศการถาวรคือการลงทุนค่อนข้างสูง
• นิทรรศการชั่วคราว : เป็นการเน้นการจัดลักษณะเฉพาะกิจ ใช้เวลาในการจัดแสดงไม่มากมีช่วงระยะเวลา ข้อควรคํานึงถึงคือควรมีการวางแผนการ
ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ชมได้ทราบและเข้ามาชมงานอย่างทั่วถึง เพราะจัดในเวลาที่จํากัด
• นิทรรศการเคลื่อนที่ : เป็นนิทรรศการที่จัดทําขึ้นเป็นชุดเพื่อแสดงในหลายๆสถานที่ หมุนเวียนเปลี่ยนที่จัดแสดง
2. การจัดนิทรรศการแบบเสมือนจริง คือ นิทรรศการที่ถูกพัฒนาขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยสร้างเป็นสื่อมัลติมีเดียในลักษณะสามมิติ นํา
เสนอเป็นภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวก็ได้ เช่น นิทรรศการแสดงพิพิธภัณฑ์หอศิลปกรรมเสมือนจริง
รูปแบบของสื่อนิทรรศการเพื่อการศึกษา
1. การจําแนกรูปแบบของสื่อนิทรรศการการเพื่อการศึกษาตามวัตถุประสงค์
> เพื่อการให้ความรู้ เน้นเนื้อหาสาระความรู้ไปสู่กลุ่มชุมชน เน้นเนื้อหาข้อมูลที่เป็นความรู้วิชาการ
> เพื่อการประชาสัมพันธ์
> เพื่อการรณรงค์
2. การจําแนกรูปแบบของสื่อนิทรรศการเพื่อการศึกษาตามสถานที่ที่ใช้จัด
> นิทรรศการในร่ม : ภายในห้อง , ระเบียงทางเดิน , ห้องโถง
> นิทรรศการกลางแจ้ง

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


การใช้สื่อนิทรรศการเพื่อการศึกษา
1. การใช้สื่อนิทรรศการเพื่อการศึกษาในโรงเรียน
> ครูอาจจะให้นักเรียนเป็นผู้จัดนิทรรศการ โดยกําหนดให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลมาประกอบรวมทั้งให้หาสื่อประเภทต่างๆ มาจัด
แสดงร่วมกับการจัดงานนิทรรศการด้วยตนเอง เพื่อทําให้นักเรียนได้รับความรู้เพิ่มขึ้นและนักเรียนจะมีความภาคภูมิใจในตนเองเพราะเป็นผู้
ลงมือทําเอง
2. การใช้สื่อนิทรรศการเพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
> กลุ่มเป้าหมายในการจัดการนิทรรศการสําหรับการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ประชาชน
ทั่วไป เกษตรกร บุคคลที่ทํางานในอาชีพต่างๆ

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา หมายถึง สื่อการสอนในลักษณะใดก็ได้ที่ใช้เป็นตัวกลางที่ผู้สอนใช้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทักษะความ
ชํานาญ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ไปสู่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่ม ผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์และแบบอออฟไลน์
โดยมีความสําคัญต่อสถานศึกษาใน
1. ด้านบริหาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา
• สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา
• สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้
• สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยสร้างมาตรฐานการศึกษามากขึ้น
• สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยให้สถานศึกษาประหยัดค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเนื้อหาสาระ แบบฝึกหัดและแบบทดสอบ
2.ด้านวิชาการ
• ความสําคัญที่มีต่อครูผู้สอน
> สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยให้ครูผู้สอนมีเครื่องมือและแนวทางการถ่ายทอดเนื้อหาสาระที่เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละเรื่อง
> สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยให้ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเหมาะสมกับระดับวัย
> สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยให้ผู้สอนอธิบายเนื้อหาสาระที่ยากและเป็นนามธรรมให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย
> สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยให้ผู้สอนจัดการเรียนรู้ที่คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้
• ความสําคัญที่มีต่อผู้เรียน
> อิเล็คทรอนิกส์สามารถช่วยให้ผู้เขียนมีสื่อการเรียนการสอนสําหรับการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง
> สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน
> สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาช่วยให้ผู้เรียนเกิดการจดจําเนื้อหาสาระได้มากขึ้น
> สื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น ช่วยเน้นผู้เรียนฝึกปฏิบัติ
3.ด้านบริการ
• สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาเป็นช่องทางในการแพร่กระจายข่าวสารของสถานศึกษากับกลุ่มเป้าหมาย
• สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาเป็นช่องทางในการสื่อแพร่เนื้อหาสาระเพื่อการบริการวิชาการกับกลุ่มเป้าหมาย

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
ประเภทของสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษา

สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาแบบออนไลน์ หมายถึงว่า สื่อการสอนที่ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายการสื่อสาร มาเป็นตัวกลางในการรับส่ง


ข้อมูลเข้าถึงแหล่งที่อยู่ของเนื้อหา ถ่ายทอดเนื้อหา ทํากิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์และประเมินผล เครือข่ายในการเข้าถึงชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาแบบ
ออนไลน์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. เครือข่ายระดับท้องถิ่น( LAN ) : ระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณจํากัด เช่น ภายในสถานศึกษา
2. เครือข่ายระดับเมือง (MAN) : เป็นเครือข่ายขนาดกลางนิยมใช้ภายในเมืองหรือในจังหวัด การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ
3. เครือข่ายระดับประเทศ (WAN) : เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์จํานวนมากเข้าด้วยกัน
4. เครือข่ายอินเตอร์เน็ต : เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ครอบคลุมทั่วโลกมีคอมพิวเตอร์ใช้อยู่เป็น ล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบ
>> การเผยแพร่สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาแบบออนไลน์ปัจจุบันจึงเป็นการเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นส่วนมาก เนื่องจากโครงข่ายแบบ
ใช้สายและไร้สาย มีการพัฒนาก้าวหน้ามาก ทุกคนนิยมใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเลต โน๊ตบุ๊ก

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


สื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาแบบออฟไลน์
หมายถึง สื่อการสอนที่บันทึกเนื้อหาสาระด้วยวัสดุบันทึกประเภทต่างๆ และนําเสนอผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้อง
เชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เนื้อหาสาระอาจจัดอยู่ในรูปของข้อความ รูปภาพ เสียง แอนิเมชั่น
อุปกรณ์ในการใช้งานสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาแบบออนไลน์
• อุปกรณ์ในระบบแอนะล็อก
1. เครื่องฉาย เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง เช่น แผ่นใส ฟิล์มภาพยนตร์
2. เครื่องเสียง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงสัญญาณคลื่นไฟฟ้าให้เป็นคลื่นเสียง เช่น วิทยุและลําโพง
3. เครื่องแปลงสัญญาณ/ถ่ายทอดสัญญาณ
4. เครื่องวิดิโอโปรเจกเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากภาพอุปกรณ์อื่น เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายภาพสามมิติ
•อุปกรณ์ในระบบดิจิตอล
1.เครื่องแปลง/ถ่ายทอดสัญญาณ เช่น กล้องดิจิตอล, เครื่องเล่นเพลงซีดีและดีวีดี, เครื่องวิดีโอโปรเจคเตอร์,
2.สื่อมัลติมีเดีย เป็นการใช้อุปกรณ์เพื่อร่วมกันนําเสนอข้อมูลเป็นหลักโดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากเทคนิคการนําเสนอ

การออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา

> เป็นการกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบขั้นตอนการสอน ขั้นตอนการผลิตสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและองค์ประกอบทางทัศนศิลป์


เพื่อให้การผลิตและการใช้สื่อมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ ประกอบด้วยขั้นตอน กําหนดองค์ประกอบของระบบ , กําหนดขั้นตอนการสอน
และกําหนดขั้นตอนการผลิตสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
ความสําคัญของการออกแบบสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษา
• มีความมั่นใจในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษา
• มีสื่อการสอนที่มีคุณภาพ
• มีสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย
• มีลําดับขั้นตอนการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาที่สามารถตรวจสอบได้
• มีสื่อการสอนที่สวยงามเร้าความสนใจ
• มีสื่อการสอนที่นําเสนอเนื้อหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
• มีการต่อยอดความรู้

การเลือกสื่ออิเล็คทรอนิกส์และการศึกษาพิจารณาจาก
ความเหมาะสม ความถูกต้อง การส่งเสริมกระบวนการคิด
ของผู้เรียน ประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับ อายุและ
ประสบการณ์ของผู้เรียน ความทันสมัยของสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา ความประหยัดงบประมาณ
ความคุ้มค่า การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม ระยะ
เวลา และความยากง่ายที่เหมาะสม และความปลอดภัย

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทเว็บไซต์
เป็นแหล่งความรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบเว็บไซต์ และบล็อค ที่ จัดทําขึ้นโดยหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และส่วนบุคคล รูปแบบการนํา
เสนออาจจะเป็นข้อความ รูปภาพ แอนิเมชั่น และวิดิทัศน์ เนื้อหาสาระที่นําเสนอครอบคลุมการบริหาร วิชาการและบริการทางการศึกษา
ประเภทของสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทเว็บไซต์
• เว็บไซต์เพื่อการสอน
• เว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์
• เว็บไซต์ที่เสนอข่าวสารประจําวัน
• เว็บไซต์ส่งเสริมการบริการเป็นสื่อกลางของข้อมูล
• เว็บไซต์ส่วนตัว
• เว็บไซต์ที่จํากัดเฉพาะสมาชิก
องค์ประกอบของสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทเว็บไซต์
1. ชื่อและที่อยู่ของเว็บไซต์ (Domain name) : เป็นชื่อที่บ่งบอกถึงผู้จัดทํา องค์กร สถาบัน
2. การออกแบบและจัดทําเว็บไซต์
3. เนื้อหา : เป็นส่วนที่สําคัญที่สุดในองค์ประกอบของเว็บไซต์เพราะคือสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมต้องการค้นหา
4. พื้นที่ติดตั้งเว็บไซต์ : จะทําให้ ผู้เยี่ยมชมที่ต้องการค้นหาเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่าย
5. การประชาสัมพันธ์ : การประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มเป้าหมายย่อมทําให้เว็บไซต์มีการใช้งานอย่างคุ้มค่า
แนวการประเมินสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการศึกษาประเภทเว็บไซต์
• หน้าที่ของเว็บไซต์ : ต้องดูว่าใครผู้ใช้เว็บไซต์นี้ อะไรคือความถูกต้องเหมาะสมชอบธรรม
• ความถูกต้อง : เนื้อหาที่นํามาใช้ในเว็บไซต์จะต้องแยกแยะประเด็นต่างๆที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้
• จุดประสงค์
• ความเป็นปัจจุบัน : ข้อมูลจะต้องอัพเดท
• ความครอบคลุม : เป็นการประเมินเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ที่ตรงจุดสนใจหัวเรื่องมีความชัดเจน เนื้อหาสามารถตอบจุดมุ่งหมายได้

สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสําหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้ในการนําเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์และ
เสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ การสื่อสารทางไกลด้วยการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และสายโทรศัพท์ในการถ่ายทอดเนื้อหา มีการสื่อสารระหว่างผู้
สอนและผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนกันเองทั้งแบบประสานเวลาและไม่ประสานเวลาผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ได้แก่ ไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์ เครือข่าย
สังคม กระดานสนทนาและการประชุมทางไกล
หลักการออกแบบหน้าจอสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ครอบคลุม
• การออกแบบหน้าจอ
• การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้
องค์ประกอบที่นํามาประกอบการออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ครอบคลุม
• ตัวหนังสือ
• ภาพกราฟฟิค
• ปุ่มและไอคอน
• Control Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
• รูปภาพ
• เสียงประกอบ

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การเผยแพร่สัญญาณภาพและเสียงโดยอาศัยเทคโนโลยีการบีบอัดภาพและเสียงให้สามารถนําเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ทั้งการเผยแพร่แบบ
ประสานเวลาและไม่ประสานเวลา เพื่อใช้เป็นสื่อหลักในการสอนทดแทนครูในสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกล หรือใช้เป็นสื่อเสริมเพื่อเพิ่มเติมความรู้ในชั้นเรียน
สามารถแบ่งประเภทได้เป็น
1. รายการประเภทให้ความรู้ทางวิชาการ
2. รายการประเภทสาระบันเทิง เช่น รายการนําเสนอการประดิษฐ์สิ่งของ
กระบวนการผลิตสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทโทรทัศน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใช้หลักการ 3P
• ขั้นตอนการเตรียมงาน (pre- production) คือจุดเริ่มต้นของการทํางานหากมีการวางแผนเตรียมงานไว้ดี มีรายละเอียดขั้นตอน วิธีการชัดเจน โดยมี
รายละเอียดในแต่ละหัวข้อดังนี้
>Plan การวางแผน กําหนดว่าจะทําอะไร ทําอย่างไร จะได้อะไร โดยตั้งคําถามหลักๆ 7 หัวข้อคือ 5W+2H
• การจัดทําเนื้อหา (Content) เมื่อตั้งคําถามและหาคําตอบได้แล้ว ก่อนที่จะผลิตรายการจําเป็นต้องมีเนื้อหาสําหรับใช้เขียนบทที่มีความถูกต้อง ชัดเจน
และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
• เขียนบท เหมือนแผนที่เดินทาง หรือแบบแปลนการก่อสร้าง หากมีรายละเอียดชัดเจนอ่านแล้วเข้าใจก็จะทําให้การถ่ายทําสะดวกรวดเร็ว มีขั้นตอนดังนี้
> สร้างสรรค์รูปแบบการนําเสนอ , การกําหนดแก่นของเรื่อง , การกําหนดเค้าโครงเรื่อง , เขียนบทร่าง/บทสมบูรณ์ และตรวจแก้ไขก่อนนําไปถ่ายทํา
• การประสานงาน คือการทํางานเป็นกลุ่มให้ทุกคนในกลุ่มรู้และเข้าใจตรงกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
• ขั้นตอนการ ผลิตรายการ (production) เมื่อถึงขั้นตอนนี้คือการนําแผนที่คิดไว้มาปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม
• ขั้นตอนการตัดต่อก่อนที่จะนําไปเผยแพร่ (post -production) แบ่งออกเป็น2 รูปแบบ
1. แบบLiner เป็นการตัดต่อโดยใช้สายสัญญาณเป็นตัวส่งสัญญาณจากเครื่องเล่นเทป มายังเครื่องผสมสัญญาณภาพและสร้าง effectก่อนนําออกไป
สู่เครื่องบันทึกเทป
2. แบบ Non-liner เป็นการตัดต่อโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยการนําเอาภาพที่ถ่ายทํามาลงฮาร์ดดิสก์ แล้วใช้โปรแกรมทําการตัดต่อทําการตัดเอา
ออก เมื่อเสร็จแล้วก็ถ่ายสัญญาณลงสู่เครื่องบันทึกเทปเป็นไฟล์ดิจิตอล พี่สามารถนําเสนอผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ทันที

สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทการประชุมทางไกล

เป็นการนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ที่อยู่ต่างสถานที่ให้สามารถถ่ายทอด จัด


กิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้โดยการส่งสัญญาณเสียง วิดิทัศน์ ข้อความและข้อมูลในรูปแบบต่างๆผ่านทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ
สายไฟเบอร์ออปติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมรจากห้องเรียนต้นทางไปสู่ห้องเรียนปลายทางทั้งแบบจุดเดียวและ
หลายจุด ทําให้ผู้เรียนได้รับความรู้เช่นเดียวกับการเรียนแบบเผชิญหน้า
สื่อประเภทนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทการประชุมทางไกลด้วยเสียง
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทการประชุมทางไกลด้วยวีดีทัศน์
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทการประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์

สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สื่อการสอนที่ใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนําเสนอเนื้อหาสาระในลักษณะสื่อประสม โดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะ
จัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กัน มีการแสดงเนื้อหาลําดับที่ต่างกัน เพื่อสอดคล้องกับผู้เรียนแต่ละคน
ประเภทของสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
• บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทการสอน โดยส่วนมากจะนิยมพัฒนาเฉพาะเนื้อหาแต่ละเรื่องเป็นการเฉพาะโดยนําเสนอภาคทฤษฎี
• บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทสถานการณ์จําลอง จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับงานบ้านและงานอาชีพ
• บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทฝึกปฏิบัติ จะให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนเน้นการประเมินผลจากการสร้างผลงานตามตัวอย่าง
ที่กําหนดไว้ เช่น การสร้างภาพกราฟฟิกในโปรแกรมสําเร็จรูป
• บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกม พบว่าหวยการสอนเนื้อหาเกี่ยวกับงานบ้าน การแต่งบ้าน การแต่งกายและเกมฝึกทักษะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอนดังนี้
1. การเตรียม : กําหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์, เก็บรวบรวมข้อมูล, เรียนรู้เนื้อหา , สร้างความคิด
2. การออกแบบบทเรียน : ทอนความคิด, วิเคราะห์งานและแนวความคิด , ออกแบบบทเรียนขั้นแรก , ประเมินและแก้ไขการออกแบบ
3. การเขียนแผนผังงาน
4. การเขียนแผนภูมิโครงร่างเนื้อหา
5. การสร้าง /การเขียนโปรแกรม
6. การผลิตเอกสารประกอบบทเรียน
7. การประเมินและแก้ไขบทเรียน

สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์

เป็นสื่อการสอนทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ ในการนําเสนอเนื้อหาสาระในลักษณะของสื่อประสม โดยอาศัยความสามารถของเครื่อง


คอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลําดับ ที่ต่างกันของบทเรียนตามโปรแกรมที่จัดเตรียมไว้อย่างเหมาะสม
องค์ประกอบของสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ ตามโครงสร้างการประยุกต์หลักจิตวิทยาการ
เรียนรู้ และการนําเสนอบนจอภาพ เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
การผลิตสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทชุดการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 8ขั้นตอน
1. วิเคราะห์และออกแบบเนื้อหา
2. เขียนเนื้อหา
3. กําหนดกิจกรรม แนวตอบและ สร้างแบบประเมิน
4. ผลิตงานเสียงและภาพ
5. จัดทําคู่มือการเรียน
6. ทดสอบประสิทธิภาพและปรับปรุงบทเรียน
7. นําเสนอและถ่ายทอดการสอน
8. ติดตามและประเมินการสอน

สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

เป็นเอกสารที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเหมือนหนังสือที่เป็นสิ่งพิมพ์ โดยเป็นเอกสารที่สามารถอ่านผ่านทางจอคอมพิวเตอร์และ


อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ได้
ประเภทของสื่ออิเล็คทรอนิกส์เพื่อการศึกษาประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
• ประเภทหนังสือแบบตํารา • ประเภทหนังสือภาพเคลื่อนไหว • ประเภทหนังสือเชื่อมโยง
• ประเภทหนังสืออ่าน • ประเภทหนังสือสื่อประสม • ประเภทหนังสืออัจฉริยะ
• ประภทหนังสือภาพนิ่ง • ประเภทหนังสือสื่อหลากหลาย • ประเภทสื่อประสมทางไกล
• ประเภทหนังสือไซเบอร์สเปซ
องค์ประกอบจะมีเหมือนหนังสือทั่วไปเช่นคํานํา สารบัญ เนื้อหา บรรณานุกรม ดัชนี

Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


3 สื่อสังคมเพื่อการศึกษา

สื่อสังคมเพื่อการศึกษา หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ประสบการณ์และกระบวนการการเรียนรู้ ผ่านสื่อที่มีการรวบรวมกลุ่มบุคคลบน


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยสามารถสร้าง แบ่งปัน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เนื้อหาสาระและประสบการณ์ในรูปแบบเสียง ตัวอักษร ข้อความ ภาพ
ความสําคัญ
• สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
• กระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กว้างขวาง
• ส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B
• ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานตามความสนใจและความถนัด
• ส่งเสริมการเรียนรู้แบบเปิด
• ทําให้การจัดการศึกษาสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อสังคมเพื่อการศึกษา
1. สื่อสังคมเพื่อการศึกษาต้องการนําเสนอผลงาน สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการนําเสนอผลงานประเภทสื่อเสียง
สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการนําเสนอผลงานประเภทสื่อภาพและภาพเคลื่อนไหว
2. สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการสร้างเครือข่าย สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการสร้างเครือข่ายประเภทส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์และ
ชุมชนการเรียนรู้
สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการส่งเสริมการ ระดมสมองและทํางานร่วมกัน
รูปแบบสื่อสังคมเพื่อการศึกษา
1. การสร้างและประกาศตัวตน ใช้สําหรับให้ผู้เข้ามาใช้งานได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตนขึ้นมาบนเว็บไซต์
2. การสร้างและประกาศผลงาน เป็นช่องทางสําหรับผู้เรียนใช้ในการแสดงออกและนําเสนอผลงานของตัวเอง เช่น YouTube multiply
3. ความชอบในสิ่งเดียวกัน ทําหน้าที่เก็บสิ่งที่ชอบไว้บนเครือข่ายเป็นการสร้างที่ขั้นหนังสือแบบออนไลน์ เช่น Zickr digg
4. เวทีทํางานร่วมกัน ต้องการความคิด ความรู้และการต่อยอดจากผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความรู้เพื่อให้ความรู้ที่ได้มามีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนเกิด
พัฒนาในที่สุด เช่น Wikipedia , google maps
5. ประสบการณ์เสมือนจริง มีลักษณะเป็นเกมออนไลน์หรือห้องปฎิบัติการเสมือนจริง เช่น second life
6. เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ รวบรวมกลุ่มเกี่ยวกับงานโดยนําประโยชน์จากเครือข่ายสังคมมาใช้ในการเผยแพร่ประวัติผลงานตนเอง เช่น
LinkedIn เพจสรุปทุกวิชา มสธ by B

การเลือกสื่อสังคมเพื่อการศึกษามีแนวทางการเลือกโดย
การใช้สื่อสังคมเพื่อการศึกษาสามารถใช้ได้ทั้งในการศึกษาในระบบโรงเรียน
• สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
นอกโรงเรียน การฝึกอบรมและการศึกษาทางไกลโดยจะครอบคลุมถึง
• สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเรียนรู้
1. การใช้สื่อสังคมเพื่อการศึกษาแทนผู้สอน
• สอดคล้องกับลักษณะผู้เรียน
2. การใช้สื่อสังคมเพื่อการศึกษาในฐานะสื่อการสอน
• สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน
3. การใช้สื่อสังคมเพื่อการศึกษาในฐานะแหล่งเรียนรู้
• สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม
4. การใช้สื่อสังคมเพื่อการศึกษาในการสื่อสาร
• คํานึงถึงจรรยาบรรณการใช้
5. การใช้สื่อสังคมเพื่อการศึกษาเพื่อระดมสมองและทํางานร่วมกัน

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการนําเสนอผลงาน
เป็นสื่อสังคมที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสร้าง นําเสนอ แบ่งปันและแลกเปลี่ยนผลงานในรูปแบบเสียง ภาพ
และภาพเคลื่อนไหว ผลงานเหล่านั้นอาจเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเองหรือนํามาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ความสําคัญ
• ส่งเสริมการแสวงหาความรู้
• ส่งเสริมการสร้างผลงาน
• ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงาน
• ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
• ส่งเสริมการเรียนรู้แบบเปิด : เรียนที่ไหนก็ได้เมื่อไหร่ก็ได้
ประเภท
1. สื่อสังคมการศึกษาด้านการนําเสนอผลงานประเภทสื่อเสียง
2. สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการนําเสนอผลงานประเภทสื่อภาพและภาพเคลื่อนไหว
ทั้งสองประเภทแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบคือ รูปแบบที่ใช้สอนแทนผู้สอน, รูปแบบที่ใช้เป็นสื่อการสอน , รูปแบบที่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ และรูป
แบบที่ใช้เป็นช่องทางในการสร้างนําเสนอและเผยแพร่ผลงาน

สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการสร้างเครือข่าย

เป็นสื่อสังคมที่เน้นการรวมกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างเครือข่าย โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ สร้างกลุ่ม ร่วมกันระดมสมองและ


ทํางานร่วมกัน
ความสําคัญ
• เพื่อส่งเสริมให้มีการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างบุคคลในเครือข่าย
• ส่งเสริมให้มีทักษะการแสวงหาความรู้
• ส่งเสริมให้มีทักษะการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนความรู้
• ส่งเสริมให้การศึกษามีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
ประเภทและรูปแบบของสื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการสร้างเครือข่าย
1. สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการสร้างเครือข่ายประเภทส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์และชุมชน
> บล็อก เป็นเสมือนบันทึกรายละเอียดข้อมูลที่เก็บไว้ จึงเป็นโปรแกรมประยุกต์บนเว็บไซต์ที่ใช้เก็บบันทึกเรื่องราว หรือเนื้อหาที่เขียนไว้
ด้วยเจ้าของเว็ปบล็อค โดยทั่วไปจะมีผู้ที่ทําหน้าที่หลักเรียกว่าบล็อกเกอร์ การนํามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเช่น ครูผู้สอนกําหนด
ประเด็นของเรื่องที่จะให้ผู้เรียนเขียนบันทึกกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมลงบนบล็อก แล้วให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มเพื่อน
> ไมโครบล็อก สื่อสังคมประเภทนี้มีลักษณะเด่นด้วยการจํากัดขนาดข้อความที่เขียน ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความสั้นๆผ่านเว็บผู้ให้บริการ และ
สามารถกําหนดให้ส่งข้อความนั้นเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้อื่นที่ติดตามได้ง่ายและรวดเร็ว
> Facebook เป็นรูปแบบบล็อคประเภทหนึ่งของโลกประเภทหนึ่งที่สร้าง และประกาศตัวตนผ่านเครือข่ายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
การนํามาประยุกต์ใช้เช่นนํามาสร้างเป็นกลุ่มผู้เรียน ถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนเรื่องราวภายในกลุ่ม
2. สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการสร้างเครือข่ายประเภทส่งเสริมการระดมสมองและทํางานร่วมกัน
> วิกิพีเดีย เป็นลักษณะเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้ รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆที่มีความชํานาญเฉพาะ
เรื่องมาแก้ไขข้อมูลอัพเดทข้อมูล
> Google Drive โปรแกรมการจัดการเอกสารร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารแบบออนไลน์โดยผ่านการใช้เว็บ
browserต่างๆ เพจสรุปทุกวิชามสธby B
สื่อสังคมเพื่อการศึกษาด้านการสร้างเครือข่าย มี 3 รูปแบบได้แก่ รูปแบบเพื่อการสื่อสาร , รูปแบบการทํางานร่วมกัน และรูปแบบการใช้เป็น
แหล่งเรียนรู้

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสําหรับการจัดการศึกษาที่บ้าน

การจัดการศึกษาที่บ้าน เป็นการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมีบิดามารดาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้สอน เพื่อให้ลูกหลานได้รับการศึกษาขั้น


พื้นฐาน
ความสําคัญของการจัดการศึกษาที่บ้าน
1. การจัดประสบการณ์การเรียนตามธรรมชาติให้ผู้เรียน การศึกษาที่ดีที่สุด คือ การมาเรียนจากธรรมชาติรอบตัว เมื่อนักเรียนเข้าระบบ
โรงเรียนโอกาสในการเรียนตามธรรมชาติก็จะหายไป
2. การจัดการศึกษาตามบทบัญญัติแห่งศาสนา ทุกศาสนาจะมีบทบัญญัติสําหรับการประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้ศาสนิกชนสามารถรละชั่ว ทําดี
และทําจิตใจให้ผ่องใสเพื่อไปสู่ภาวะสูงสุด แนวคิดนี้รวมไปถึงการมีสํานักพิเศษเพื่ออบรมเด็ก เช่นสํานักสงฆ์/สํานักชีที่รับอบรมเด็กหญิงเด็ก
ชายตั้งแต่ยังเล็ก เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
3. การพัฒนาคุณลักษณะตามความต้องการของครอบครัว ความต้องการของพ่อและแม่ต่างอาชีพ ต่างวัฒนธรรมมีหลากหลายมาก สังคมไทย
ต้องการลูกที่ว่านอนสอนง่าย ฝรั่งต้องการเด็กที่กาคิดกล้าแสดงความคิดเห็น โดยคุณลักษณะเหล่านี้อาจหาไม่ได้ในระบบโรงเรียนพ่อและแม่
จึงต้องการทําการอบรมสั่งสอนลูกด้วยตัวเอง
4. การพัฒนาคุณลักษณะตามความต้องการของชุมชน ในสังคมที่มีขนบประเพณีพิเศษหรือโดดเด่นจากชุมชนทั่วไป พ่อและแม่จึงประสงค์ให้
ลูกได้รับการถ่ายทอดลักษณะเด่นของชุมชนซึ่งไม่มีในโรงเรียน เช่น การประกอบกิจการสังคมด้านพลศึกษา ดนตรี และกิจกรรมสังคมอื่นๆ
5. การพัฒนาคุณลักษณะ ความรู้ ความสามารถตามความต้องการเฉพาะอาชีพ นักการศึกษาจํานวนมากเชื่อว่านักเรียนที่บ้าน สามารถพัฒนา
ทักษะทางวิชาการได้เหนือกว่าเด็กในโรงเรียนโดยเฉพาะอย่างทางด้านวิชาชีพ
6. การหลีกเลี่ยงอันตรายจากสังคมนอกบ้าน เนื่องจากการคบกลุ่มเพื่อนอาจจะนําไปสู่แหล่งอบายมุข พ่อแม่จะมีความเป็นห่วงแล้วก็ต้องการ
ป้องกันภัยที่อาจจะเกิดขึ้น
ปัจจัยต่อการจัดการศึกษาที่บ้าน
1. ปัจจัยต่อการจัดการศึกษาที่บ้านในต่างประเทศ
• ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสาระสนเทศและเทคโนโลยีทางการศึกษา
• มนุษย์สามารถเรียนเองได้
• การแพร่หลายเกี่ยวกับความเสื่อมศรัทธาต่อโรงเรียน
• ปัญหาความล้มเหลวของระบบการศึกษาของหลายประเทศ
• ปัญหาเด็กและเยาวชนความรุนแรงในโรงเรียน
ปัจจัยของการจัดการศึกษาที่บ้านในประเทศไทย
• ปัจจัยภายในที่ส่งผลให้มีการศึกษาที่บ้าน
> การมีทัศนะที่แตกต่างไปจากการศึกษาในระบบปัจจุบันโดยเฉพาะความเชื่อมั่นต่อศักยภาพการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก
> ลูกหลานประสบปัญหาในโรงเรียนเกิดขึ้นจากระบบการเรียนการสอนที่บังคับและกดดันมากเกินไป
> ลูกหลานมีความต้องการพิเศษซึ่งเป็นลักษณะความแตกต่างที่เป็นความบกพร่องหรือมีมากกว่าเด็กปกติ
• ปัจจัยภายนอกของสังคมและการศึกษาที่ส่งผลให้มีการศึกษาที่บ้าน
> ปัญหาการศึกษาในโรงเรียนยังไงความล้มเหลวและความเสื่อมของระบบการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม
> ปัญหาความสับสนของการปฏิรูปการศึกษาที่ทําให้การจัดการศึกษาคุณภาพไม่เท่าเทียม
> ปัญหาและวิกฤตการณ์อื่นในสังคมทําให้เกิดความเหลื่อมลํ้าในโอกาสที่จะได้รับการศึกษา
> ปัญหาความรุนแรง โดยทั่วไปเกิดกับครอบครัวเด็กและเยาวชน
> การเปลี่ยนแปลงเรื่องผมแดนการเรียนรู้ที่ขยายกว้างออกไปทําให้เนื้อหาสาระมากเกินกว่าที่จะอาศัยการเรียนและท่องจํา

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


การจัดการศึกษาที่บ้านจําแนกตามจํานวนครอบครัว
1. การจัดการศึกษาโดยครอบครัวเดียว เป็นการจัดการศึกษาที่บ้านอย่างเป็นเอกเทศที่พ่อแม่มีหน้าที่สอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของลูก
2. การจัดการศึกษาโดยกลุ่มครอบครัว เป็นการจัดการศึกษาที่บ้านของครอบครัวตั้งแต่สองครอบครัวขึ้นไป ร่วมมือกันโดยพ่อและแม่แบ่งภาระทํา
หน้าที่สอนและจัดกิจกรรมการเรียนตามความสะดวก ส่วนมากจะเป็นกลุ่มครอบครัวที่เป็นญาติกันหรืออยู่ละแวกเดียวกัน
การจัดการศึกษาที่บ้านจําแนกตามการดําเนินการ
1. การจัดการศึกษาที่บ้านโดยครอบครัวดําเนินการ พ่อแม่เป็นคนสอนเองหรือจ้างครูมาสอนที่บ้าน
2. การจัดการศึกษาที่บ้านโดยมีองค์กรณ์ภายนอกมาดําเนินการ เป็นการเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรที่มีหน้าที่เป็นศูนย์รวมการจัดหาครูและสื่อการ
สอน เพื่อประกันคุณภาพการศึกษาของนักเรียน

เทคโนโลยีการศึกษาภควันตภาพกับการศึกษาภควันตภาพที่บ้าน

ครอบคลุมการจัดระบบการศึกษาที่บ้าน พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาภควันตภาพที่บ้าน การกําหนดวิธีการให้การศึกษา การจัดสภาพแวดล้อม


และการประเมินการศึกษาภควันตภาพที่บ้าน บทบาทของบิดามารดาหรือผู้ปกครองและบุตรหลานในการเรียนให้ประสบความสําเร็จที่บ้าน คือ
บทบาทของพ่อและแม่ > จัดเนื้อหาสาระ กรรมกับดูแลการเรียนและประกอบกิจกรรม การใช้เวลาและการตรวจสอบคุณภาพการเรียน
บทบาทของนักเรียนที่บ้าน > ต้องปรับพฤติกรรมให้เอื้ออํานวยต่อการเรียนให้ประสบความสําเร็จ ต้องเชื่อฟังพ่อแม่ศึกษาอย่างจริงจัง บริหารเวลาและ
เตรียมความพร้อมในการประเมินการทดสอบการเรียนการสอน
ขั้นตอนการจัดการศึกษาภควันตภาพที่บ้าน
ในประเทศไทยก็มีการดําเนินการอย่างน้อย 10 ขั้นตอนประกอบด้วย
1. การศึกษากฎกระทรวงศึกษาธิการ พ่อแม่จําเป็นต้องตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการตลอดเวลา
2. การขออนุญาตเปิดสถานศึกษาประเภทเรีบนที่บ้าน พ่อแม่ต้องเตรียมความพร้อมยื่นเอกสารต่อสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช)
3. การศึกษาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรที่เหมาะสมกับการเรียนที่บ้านคือหลักสูตรแบบอิงประสบการณ์ (EBC) และการเรียนการสอนที่
เหมาะสมคือการสอนแบบอิงประสบการณ์(EBA)
4. การวิเคราะห์เนื้อหา พ่อแม่ต้องนําเนื้อหาแต่ละกลุ่มวิชามาวิเคราะห์และแยกย่อยเพื่อสามารถจัดความรู้และประสบการณ์ได้อย่างครอบคลุม
5. การวางแผนการสอน ต้องวางแผนการสอนระยะยาวและระยะสั้น
6. การเตรียมแหล่งความรู้ พ่อแม่ต้องเตรียมจัดทําในรูปแผนเชิญประสบการณ์ที่มีการกําหนดประสบการณ์หลัก และประสบการณ์รอง
7. การจัดหาสื่อการสอน 5 ประเภท คือสื่อ โสตทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อแพร่ภาพและเสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล
8. การจัดสภาพแวดล้อมการเรียน ต้องจัดสภาพแวดล้อมให้มีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ ห้องเรียนที่บ้าน ศูนย์ความรู้/ ห้องสมุด มุมสืบค้นความรู้ทาง
อิเล็กทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการอย่างง่าย และห้องพักผ่อน
9. การจัดกิจกรรมการเรียน แบ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่บ้านและการจัดกิจกรรมในชุมชนหรือสังคม
10. การประเมิน สามซ่าการจัดการเรียนการสอนแล้วพ่อแม่ต้องประเมินคุณภาพการเรียนที่บ้านโดย ประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน

พัฒนาการจัดการศึกษาที่บ้านในสังคมไทย

เริ่มด้วยการจัดการศึกษาที่บ้านก่อนมีระบบการศึกษาที่เป็นแบบแผนและมีการดําเนินการอย่างเป็นทางการ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.
2542 กับการสนับสนุนการจัดการศึกษาที่บ้าน การจัดตั้งสถาบันบ้านเรียนไทย และกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว

การจัดการศึกษาที่บ้านในประเทศไทย

หลักสูตรการศึกษา 1. บิดามารดาจัดหลักสูตรเอง เน้นความรู้ที่ช่วยให้ลูกหลานสามารถดํารงตนอยู่ในสังคมปัจจุบันและเป็นการเรียนตามธรรมชาติ


2. จัดหลักสูตรแบบผสมผสานโดยยึดแนวทางจากหลักสูตรหลายแห่ง เป็นการนําหลักสูตรที่คิดว่าเหมาะสมกับลูกหลานมาใช้
รูปแบบการดําเนินการจัดการศึกษาที่บ้าน 1. จัดการศึกษาอยู่ในเฉพาะครอบครัวของตน
2. จัดการศึกษาให้มีการรวมกลุ่มครอบครัวเครือข่าย
3. จัดการศึกษาร่วมกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน
4. การจัดการศึกษาโดยกลุ่มครอบครัว
คุณลักษณะของบิดามารดาที่จัดการศึกษาที่บ้าน
• เคยได้รับประสบการณ์ใช้ชีวิตหรือศึกษาในต่างประเทศได้เห็นแบบอย่างของการศึกษาที่ดีจึงต้องการตอบสนองการเรียนของลูกที่แท้จริง
• เป็นผู้มีสถานภาพที่ดีในสังคมสามารถจัดหาสื่อการสอนและสิ่งอํานวยความสะดวกในการเรียนด้วยตนเอง
• เป็นผู้ตระหนักถึงปัญหาของระบบการศึกษาในโรงเรียน
• เป็นผู้มีอิสระทางความคิดไปจากสิ่งที่เป็นกระแสหลักของสังคม
• ได้รับแรงผลักดันจากตัวลูกที่ต้องการเรียนเป็นพิเศษกับการศึกษาที่ไม่สามารถตอบสนองได้ในปกติ
• มีอาชีพเป็นนักพัฒนาสังคมจึงต้องการ จะให้การศึกษาแก่ลูก
• มีปรัชญาความเชื่อหรือแนวทางชีวิตที่ยึดมั่นศรัทธาเป็นพิเศษโดยเฉพาะทางศาสนาและ ประเพณี

การจัดการศึกษาที่บ้านในต่างประเทศเกี่ยวข้องกับหลักสูตร กิจกรรมเสริมการเรียนกิจกรรมเครือข่ายกลุ่มบิดามารดาที่จัดการศึกษาที่บ้าน
คุณลักษณะบิดามารดากับการจัดการศึกษาที่บ้าน โรงเรียนที่มีการจัดบริหารให้เป็นพิเศษแก่บิดามารดาที่ต้องการที่จะจัดการศึกษาที่บ้าน และ
การวัดและประเมินผลและตัวอย่างของการจัดการศึกษาที่บ้านในต่างประเทศ

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B


5 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในชุมชน

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในชุมชน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ ที่นํามาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสดงหาความรู้ของคนในชุมชน


โดยมีความสําคัญในการนําไปใช้ในชีวิตประจําวันช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาต่างๆในการดําเนินชีวิตให้มีประสิทธิภาพ
ความสําคัญ
ด้านการศึกษา เป็นเครื่องมือที่สําคัญที่นํามาใช้เพื่อจัดระบบการศึกษาและถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการต่างๆไปสู่ชุมชน
ด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจําวัน ช่วยอํานวยความสะดวกให้ชีวิตความเป็นอยู่มีคุณภาพดีขึ้น เมื่อคนในชุมชนได้รับการถ่ายทอดความรู้ รู้จักนํา
เทคโนโลยีมาใช้ เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
ด้านการติดต่อสื่อสาร ทําให้คนในชุมชนสามารถติดต่อกับคนนอกบ้าน นอกชุมชนโดยง่ายและรวดเร็ว
ด้านการสืบค้นข้อมูล ทําให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายเพราะอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ด้านการส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม เป็นเครื่องมือถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปะวัฒนธรรมไปสู่รุ่นลูก
หลาน เพื่อปลูกฝังให้รู้คุณค่าสิ่งเหล่านั้นที่มีอยู่ในท้องถิ่นโดยผ่านรายการวิทยุผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือสําเนาลงบนแผ่น cd
ประเภทและรูปแบบของเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษาในชุมชน
1. เทคโนโลยีและสื่อสารกันศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชุมชน
• เป็นเครื่องมือใช้ในการพัฒนาตนเอง
• เป็นเครื่องมือใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการศึกษาเล่าเรียน
• เป็นเครื่องมือใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการฝึกอบรม
2. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชน
• พัฒนาสภาพแวดล้อมทางชุมชนทางด้านกายภาพ
• พัฒนาสภาพแวดล้อมทางชุมชนทางด้านจิตภาพ
• พัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนทางสังคม
3. รูปแบบของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในชุมชน
• รูปแบบที่ยึดสื่อเป็นหลัก เช่น สื่อโสตทัศน์ ,สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม , สื่อมวลชน
• รูปแบบที่ยึดวิธีการเป็นหลัก ได้แก่การบรรยายการประชุมทางวิชาการ การสัมมนา การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ

ศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน หมายถึงหน่วยงานกลางที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในชุมชน เป็นแหล่งความรู้ทุกด้านที่ประชาชน


สามารถศึกษาค้นคว้าได้ เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ส่งเสริมการพัฒนาโดยการศึกษาตลอดชีวิตสําหรับทุกคนในชุมชนทั้งผู้ใหญ่เยาวชนและเด็ก
ทุกเพศทุกวัย เป็นศูนย์เผื่อแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศของชุมชนสามารถจําแนกได้หลายประเภทตามรูปแบบการจัดการศึกษาและฝึกอบรม
ประเภทของศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน
1. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (ศรช) จัดการศึกษาสําหรับผู้ขาดโอกาสในการเข้าเรียนในระบบโรงเรียนโดยสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย จัดการศึกษาในหลักสูตรเทียบเคียงระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สําหรับจัดให้เด็กเล็กก่อนวัยเรียนได้รับการดูแลที่ถูกต้องปลอดภัย
3. ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพหรือโรงเรียนสารพัดช่าง
4. ศูนย์พัฒนาวิชาชีพและพัฒนาฝีมือแรงงาน
5. ศูนย์ถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น
หลักการสําคัญของศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน
1. เป็นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม
2. เป็นการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนสนองความต้องการของทุกคนในชุมชน
3. เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตโดยอาศัยวิธีการเรียนทั้งในระบบและนอกระบบ
พิพิธภัณฑ์ สิ่งของต่างๆที่รวบรวมไว้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา เช่น โบราณวัตถุและศิลปะวัตถุเป็นต้น พิพิธภัณฑ์ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ของหน่วยงานราชการได้แก่ พิพิธภัณฑ์ ในสังกัดกรมศิลปากรจะปรากฏอยู่ตามที่ต่างๆตามแหล่งโบราณคดี , พิพิธภัณฑ์ สังกัดสํานักบริหาร
งานการศึกษานอกโรงเรียน เช่น ท้องฟ้าจําลอง , พิพิธภัณฑ์สังกัดส่วนงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เช่น พิพิธภัณฑ์สัตว์นํ้า , พิพิธภัณฑ์ ของวัด
บางแห่ง นอกนั้นจะเป็นพิพิธภัณฑ์ของเอกชน
ความสําคัญของพิพิธภัณฑ์
1. ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง
2. เปิดโอกาสอันเท่าเทียมกันกับคนทุกเพศทุกวัย
3. ให้การศึกษานอกระบบในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
4. สนับสนุนแสวงหาความรู้ตามแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิต
5. เป็นแรงอบรมสร้างความรู้และความเข้าใจ
6. เป็นสื่อการศึกษาที่เชื่อมระหว่างอดีตและอนาคตให้เข้ากับปัจจุบัน
7. เป็นศูนย์ข่าวสารข้อมูลทางวิชาการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชน
8. ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้มากกว่าสถาบันการศึกษาในระบบเป็นการกระจายโอกาสให้ผู้สนใจศึกษาได้ศึกษาอย่างกว้างขวาง
9. ประหยัดค่าใช้จ่าย
10. ให้ความรู้และความเพลิดเพลิน
อุทยานการศึกษา
หมายถึง บริเวณซึ่งเป็นที่ ศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝนอบรมอย่างหน้ารื่นรมย์ ศ.ดร.วิจิตร ได้สรุปความหมายอุทยานการศึกษาแตกต่างกันออก
ไปสองกลุ่ม คือ กลุ่มพัฒนาการนิยม จัดอุทยานการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ สิ่งแวดล้อม , กลุ่มมนุษย
นิยม เหมือนพัฒนาการนิยมแต่เน้นมีส่วนบริเวณที่ร่มรื่นเป็นที่พักผ่อนแก่ผู้ใช้อุทยานเพิ่มขึ้น เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
ความสําคัญของอุทยานการศึกษา
1. อุทยานการศึกษาเป็นแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
2. อุทยานการศึกษาเป็นแหล่งประสบการณ์ตรงที่ให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์จากการทดลองและการมองเห็นด้วยตัวเอง
3. อุทยานการศึกษาเป็นแหล่งบันเทิงที่เป็นสาระ
4. อุทยานการศึกษาเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ
5. อุทยานการศึกษาเป็นแหล่งให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน

โบราณสถาณและศาสนสถาน

โบราณสถาน หมายถึง สถานที่อันเก่าแก่ซึ่งสร้างไว้ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษมีอายุนับ 100 ปีขึ้นไป เป็นถาวรวัตถุที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของ


บ้านเมืองในแต่ละยุคสมัย ศึกษาได้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษาวรรณคดี สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม จิตรกรรม ขนบธรรมเนียม
ประเพณี
ความสําคัญ
• เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ประชาชน
• เป็นสิ่งที่ปลูกฝังความสํานึก ความรักและความภูมิใจให้กับคนในชาติ
•เป็นสัญลักษณ์แสดงความเจริญรุ่งเรืองของ ประเทศชาติในอดีต
• เป็นแหล่งประวัติศาสให้เรียนรู้เรื่องราวในอดีตและเป็น อนุสรณ์เตือนใจคนในชุมชน
• เป็นสิ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ
ศาสนสถาน หมายถึง สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของคนในชุมชน แต่ละศาสนาจะเรียกชื่อศาสนสถานของตนแตกต่างกันไป
ความสําคัญ
• เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา • เป็นศูนย์กลางประกอบกิจกรรมพิเศษของชุมชน
• เป็นสถานที่ให้ความรู้เรื่องศาสนา • เป็นศูนย์รวมและเผยแพร่ข่าวสารในชุมชน/เป็นศูนย์กลางรวบรวมศิลปวัฒนธรรมชุมชน
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นการนําเอาวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์และสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บ ประมวลผล สร้างและจัดการกับข้อมูลข่าวสาร
ถ่ายทอดส่งจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง
ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
• เทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับระบบภูมิศาสตร์ ใช้วางแผนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ
• เทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม
• เทคโนโลยีสารสนเทศในภาคธุรกิจ (POS)
• เทคโนโลยีสารสนเทศในกิจการสาธารณสุข
• เทคโนโลยีสาระสนเทศในการให้บริการและบริหารรัฐกิจ เช่นระบบบัตรประจําตัวประชาชนแบบชิพ
• เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ความสําคัญ
1. เป็นแหล่งเรียนรู้ ข้อมูลข่าวสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตอยู่บนเว็บไซต์ต่างๆทั่วโลก
2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นการอํานวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
3. ด้านการรักษาพยาบาลทางไกล
4. ด้านธุรกิจ
5. ด้านระบบธนาคารทางไกล
6. ด้านความบันเทิง

สื่อบุคคล
หมายถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นชาวบ้านหรือบุคคลในชุมชน ซึ่งมีความรู้ความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างแท้จริง โดยได้รับการถ่ายทอดจาก
บรรพบุรุษ หรือได้มาด้วยการศึกษาค้นคว้าหาประสบการณ์ด้วยตัวเอง จนเป็นที่ยอมรับจากบุคคลทั่วไปมักเรียกกันว่า “ ปราชญ์ชาวบ้าน”
ประเภทสื่อบุคคล
1. ผู้นําทางศาสนา เช่น พระภิกษุ นักบวช
2. ผู้นําท้องถิ่น
3. นักแสดงพื้นบ้าน
ความสําคัญของสื่อบุคคล
• ด้านศาสนา คือบุคคลที่เป็นผู้นําด้านศาสนาจะเป็นผู้ให้การอบรมสั่งสอนด้านศีลธรรม เพจสรุปทุกวิชามสธ by B
• ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน สามารถเป็นผู้ชี้นําวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้เพราะว่าเป็นที่เคารพนับถือ
• ด้านการพัฒนาชุมชน เป็นการเอาความรู้ความชํานาญในหลายด้านมาช่วยพัฒนาชุมชนนั้นให้ทัดเทียมกับชุมชนอื่น
• ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น คือบุคคลจะเป็นตัวถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้กับชุมชน

สื่อพื้นบ้าน

หมายถึง สื่อที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งสะท้อนความคิดของสื่อบุคคลออกมาในรูปแบบที่เป็นรูปธรรม ได้แก่วัตถุสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ


ที่ประดิษฐ์คิดค้นตามวัสดุพื้นบ้านที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ประเภทของสื่อพื้นบ้าน
• สื่อพื้นบ้านด้านศิลปกรรม
- งานจิตรกรรม เป็นงานช่างเขียนภาพที่วาดภาพ เรื่องเล่าหรือสื่อให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ตามวัดว่า
อรามที่เก่าแก่หลายแห่งในชุมชน
- งานปติมากรรม เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการปั้น การหล่อ การแกะสลักและการขึ้นรูปโลหะ เช่น พระพุทธชินราช
- สถาปัตยกรรมไทย เช่น เรือนไทย
- งานหัตถกรรม เช่น เสื่อ การปั้นหม้อโอ่งและไห
• สื่อพื้นบ้านทางเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับ เช่น การทําเครื่องปั่นฝ้าย การทอผ้า การนําเอาเปลือกหอยเมล็ดพันธ์ุ มาทําเป็นเครื่องประดับอย่าง
สวยงาม
• สื่อพื้นบ้านด้านอาหารและยา เช่น การนําเอาสมุนไพรมาทําเป็นยารักษาโรค
• สื่อพื้นบ้านด้านดนตรีไทย
-วงปี่พาทย์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 7 ชนิด ใช้บรรเลงในงานพิธีต่างๆเช่นงานขึ้นบ้านใหม่ งานทําบุญวันเกิดเลี้ยงพระ และงานศพ
-วงเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีแปดชนิด ใช้ในงานทําบุญบ้าน
-วงมโหรี ในการนําวงปี่พาทย์และเครื่องสายมารวมกันใช้เครื่องดนตรีทุกชนิดส่วนใหญ่บรรเลงในงานใหญ่
• สื่อพื้นบ้านงานการละเล่นพื้นบ้าน เช่น การเล่นงูกินหาง
• สื่อพื้นบ้านด้านนิทานและเพลงกล่อมเด็ก
• สื่อพื้นบ้านด้านภาษิตและปริศนาคําทาย
• สื่อพื้นบ้านด้านวรรณกรรม
• สื่อพื้นบ้านด้านงานประเพณีท้องถิ่น

ความสําคัญของสื่อพื้นบ้าน
1. ให้ความรู้ ทั้งที่เป็นวัตถุสิ่งของและการแสดงออกต่างๆช่วยให้คนรุ่นหลังได้เห็นแนวคิดของบรรพบุรุษที่นํามาถ่ายทอด
2. ด้านศิลปกรรม เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถแสดงต่อชาวโลกได้อย่างน่าภาคภูมิใจไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม ประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรม
3. ด้านความบันเทิง การขับร้องเพลงพื้นบ้าน การแสดงลิเก ลําตัดและหนังตะลุง
4. ด้านความเชื่อและประเพณี
5.ด้านสังคมในชุมชน

ตรงไหนไม่เข้าใจถามได้เสมอ
Facebook สรุปทุกวิชามสธ by B

แอดมินไม่อนุญาตให้ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทําการใดใดที่ละเมิดลิขสิทธิ์นะคะ อย่าทําร้ายกันและทําให้


เจ้าของลิขสิทธิ์หมดกําลังใจในการที่จะผลิตผลงานต่อเลยค่ะ

เอกสารมีลิขสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ ส่งไฟล์ต่อ หรือกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ Facebook สรุปทุกวิชา มสธ by B

You might also like