You are on page 1of 20

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกทักษะ เรื่องโปรแกรม Excel วิชาวิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ สังกัดเทศบาลนครอุบลราชธานี
ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ความหมาย โปรแกรม Excel
2. เอกสารที่เกี่ยวข้องชุดฝึกทักษะ
2.1 ความหมายของชุดฝึกทักษะ
2.2 ความสำคัญของชุดฝึกทักษะ
2.3 ลักษณะของชุดฝึกทักษะ
2.4 ประโยชน์ของชุดฝึก
2.5 องค์ประกอบของชุดฝึกทักษะ
2.6 ขั้นตอนการสร้างชุดฝึกทักษะ
3. เอกสารเกี่ยวกับวิทยาการคำนวณระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3.1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. บริบทโรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ
4.1 ประวัติโรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
6. สมมติฐานการวิจัย
1. ความหมาย โปรแกรม Excel
โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมหนึ่ง ที่จัดอยู่ในชุด Microsoft Office โปรแกรม
MS Excel มีชื่อเสียงในด้านการคำนวณ เกี่ยวกับตัวเลข และการทำบัญชีการทำงานของโปรแกรม
Excel ใช้ตารางตามแนวนอน (rows) และแนวตั้ง (columns) เป็นหลัก ซึ่งเราเรียกโปรแกรมใน
ลักษณะนี้ว่าเป็น Spread Sheet มีความสามารถหลัก 3 ด้าน คือ การคำนวณ การสร้างแผนภูมิและ
ด้านฐานข้อมูล
2. เอกสารที่เกี่ยวข้องชุดฝึกทักษะ
2.1 ความหมายของชุดฝึกทักษะ
ชุดฝึกทักษะเป็นสื่อการเรียนอย่างหนึ่งที่สร้างขึ้น เพื่อให้เกิดทักษะ เกิดความรู้ ความ เข้าใจ
ความชำนาญในเนื้อหาที่ผู้เรียนได้เรียนในเรื่องนั้น ๆ และบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งเป็น หน้าที่โดย
ตรงที่ครูจะต้องจัดทำขึ้นมา เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับ ความหมายของ
ชุดฝึกนั้นมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2537, หน้า 490 ) ให้ความหมายของชุดฝึก หมายถึง คู่มือ นักเรียน ที่
นักเรียนต้องใช้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน มีลักษณะคล้ายกับ “แบบฝึกหัด” แต่ ครอบคลุม
กิจกรรมที่ผู้เรียนพึงกระทำมากกว่าแบบฝึกหัด อาจกำหนดแยกเป็นแต่ละหน่วยเรียกว่า
“Worksheet” หรือ “กระดาษคำตอบ” ซึ่งผู้เรียนจะต้องถือติดตัวเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ หรืออาจ
รวมเป็นเล่ม เรียกว่า "Workbook" โดยเย็บรวมเรียงลำดับตั้งแต่หน่วยที่ 1 ขึ้นไป
บงกชกร ทับเที่ยง (2546, หน้า 23 ) ได้ให้ความหมายของชุดฝึกไว้ว่า ชุดฝึก หมายถึง สื่อการ
เรียนการสอนที่จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาทำความเข้าใจและฝึกฝนจนเกิดทักษะต่อเรื่อง
ใดเรื่องหนึ่งได้อย่างคล่องแคล่วและเหมาะสม
จินดา อุ่นทอง (2549, หน้า 8 ) ได้ให้ความหมายของชุดฝึกไว้ว่า ชุดฝึกคือ สื่อการเรียน การ
สอนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะ เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความ ชำนาญ
ในเนื้อหาที่ผู้เรียนได้เรียนในเรื่องนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าชุดฝึกทักษะ หมายถึง สื่อการเรียนคณิตศาสตร์ที่ครูหรือผู้สอน
สร้างขึ้นโดยการจัดทำเป็นชุด ๆ จากเนื้อหาง่ายไปหายาก เพื่อให้นักเรียนฝึกปฏิบัติซ้ำ ๆ จนเกิดความ
ชำนาญ หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องนั้น ๆ มาบ้างแล้ว เพื่อฝึกฝนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มี
ประสบการณ์ และมีทักษะเพิ่มมากขึ้นในเนื้อหาที่ผู้เรียนได้เรียนในเรื่องนั้น ๆ อย่างกว้างขวาง ทำให้
การสอนของครูและการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ความสำคัญของชุดฝึกทักษะ
ชุดฝึกทักษะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอนดังที่สำนักงานคณะกรรมการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ( 2545 หน้า 146 ) กล่าวถึงความสำคัญของชุดฝึกดังนี้
1. เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมหนังสือเรียน
2. ช่วยเสริมทักษะให้ดียิ่งขึ้นแต่ทั้งนี้จะต้องอาศัยการส่งเสริมและความเอาใจใส่จาก ครูผู้สอน
ด้วย
3. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเพราะการที่ให้ผู้เรียนทำชุดฝึกที่เหมาะสมกับ
ความสามารถของผู้เรียนจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จ
4. ชุดฝึกทำให้นักเรียนเกิดทักษะมากยิ่งขึ้น
5. การให้นักเรียนทำชุดฝึก จะช่วยให้ครูมองเห็นจุดอ่อน หรือจุดบกพร่องของนักเรียนได้
ชัดเจน ช่วยให้ครูได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงที
6. ชุดฝึกที่จัดพิมพ์ไว้เรียบร้อย จะช่วยครูประหยัดแรงงานและเวลาที่จะเตรียมการสร้าง
แบบฝึกหัดเสริม ทำให้มีเวลาและโอกาสมากขึ้น
อนงค์ศิริ วิชาลัย (2538, หน้า 28 ) ได้กล่าวถึงความสำคัญของชุดฝึกว่า ชุดฝึกเป็นสื่อ การ
สอนที่ทำให้นักเรียนสนุกสนานอีกวิธีหนึ่งคือการให้นักเรียนได้ทำชุดฝึกมาก ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้
พัฒนาการของนักเรียนดีขึ้นด้วย เพราะนักเรียนได้นำความรู้ที่เรียนมาแล้วมาฝึกให้เกิดความเข้าใจ
กว้างขวางยิ่งขึ้น
อัมพา ปัญญาคำ (2550, หน้า 17) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการฝึกทักษะว่านักเรียนจะ
ประสบความสำเร็จควรมีการฝึกทักษะซ้ำๆ เนื่องจากการฝึกทักษะเป็นการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ดังนั้นนักเรียนจึงสามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยัง
ช่วยให้เกิดการคงทนในการจำดีขึ้นตลอดเวลา
จากที่กล่าวมาข้างต้นชุดฝึกทักษะมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เนื่องจากชุดฝึก
ทักษะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้น รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล มีระเบียบ ชัดเจน
ทำให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ช่วยตอบสนองต่อความ
แตกต่างระหว่างบุคคล นักเรียนรู้คุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สามารถนำความรู้
ความคิด ทักษะ ในการเรียนคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.3 ลักษณะของชุดฝึกทักษะ
ลักษณะของชุดฝึกที่ดี ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้ นำไป
ปฏิบัติและฝึกทักษะจนเกิดความชำนาญ ซึ่งมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับ
ลักษณะของชุดฝึกที่ดีไว้ดังนี้
จริยาภรณ์ รุจิโมระ (2548, หน้า 148) ได้กล่าวว่า ชุดฝึกหรือชุดฝึกทักษะควรกำหนด นิยาม
ของแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ แจกแจงทักษะใหญ่ออกเป็นทักษะย่อย โดย
ละเอียด นักเรียนจะต้องฝึกทักษะในขั้นย่อย ๆ เหล่านั้นทีละขั้นจนเกิดทักษะแล้ว จึงฝึกทักษะที่ยาก
ขึ้น ให้นักเรียนฝึกทักษะที่แจกแจงเป็นทักษะย่อย จนมีความชำนาญเน้นการฝึกซ้ำ ๆ มีการวัดและ
ประเมินผล หรือสังเกตพฤติกรรมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินว่านักเรียนมีทักษะเกิดขึ้นแล้ว
อัมพา ปัญญาคำ (2550, หน้า 19-20) ได้กล่าวถึง ลักษณะของชุดฝึกที่ดีว่า ต้องมี ลักษณะ
ดังนี้
1. คำสั่ง ข้อเสนอแนะและคำชี้แจงใช้คำที่เข้าใจง่ายและไม่ยาวเกินไป เพื่อให้นักเรียน เข้าใจ
และศึกษาด้วยตนเองได้ตามต้องการ
2. แจกแจงขั้นตอนการแก้ปัญหาจากทักษะใหญ่ออกเป็นทักษะย่อยโดยละเอียดให้นักเรีย ฝึก
ทักษะที่แจกแจงเป็นทักษะย่อยแล้วหลายครั้ง จนนักเรียนมีความชำนาญ เน้นการฝึกซ้ำๆ
3. ภาษาที่ใช้ในการแสดงขั้นตอนย่อยหรือทักษะย่อยของการแก้ปัญหาที่ได้จากการ วิเคราะห์
งาน จะใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย คำไม่ยาก
4. ระดับเนื้อหาหรือปัญหาเหมาะสมกับระดับพื้นฐานความสามารถของนักเรียน
5. กำหนดเวลาที่ใช้ในแบบฝึกทักษะให้เหมาะสม
6. สร้างแรงจูงใจให้กบั นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้น ที่อยากกระทำ
กิจกรรมโดยทุกครั้ง เมื่อจบการฝึกให้การเสริมแรงนักเรียน โดยชมเชยด้วยคำพูดหรือเขียนให้กำลังใจ
ในแบบฝึกทักษะ เพื่อให้นักเรียนจะได้อยากทำกิจกรรมต่อไป
7. มีการวัดและประเมินผล หรือสังเกตพฤติกรรมนักเรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินว่า
นักเรียนมีทักษะแล้ว
วิชัย เพ็ชรเรือง (2531, หน้า 73) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะของชุดฝึกที่ดีว่า
1. ชุดฝึกแต่ละชุดฝึกควรใช้จิตวิทยาเข้ามาช่วย เช่น มีการสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน เกิด
ความอยากรู้อยากเห็น และกระตือรือร้นที่อยากจะกระทำกิจกรรมนั้น ๆ และเมื่อจบการฝึกแต่ละ
งควรมีการเสริมแรงให้นักเรียนทุกครั้ง เพื่อที่นักเรียนจะได้อยากทำในกิจกรรมต่อ ๆ ไป เมื่อตนเอง
ประสบผลสำเร็จ
2. การสร้างชุดฝึกแต่ละครั้ง ควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยเพื่อเด็กจะได้เกิด
ความรู้สึกภูมิใจที่เป็นเจ้าของกิจกรรมและเต็มใจที่กระทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย
3. สำนวนภาษา ไม่ควรใช้คำยากเกินไป เพราะนักเรียนจะเกิดความท้อถอยและไม่ง่ายจน
นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย
4. ชุดฝึกควรฝึกในสิ่งที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับตัวนักเรียน มีความหมายต่อนักเรียน เพื่อนักเรียน
จะได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และนักเรียนจะสามารถปรับเข้าสู่โครงสร้างทางความคิด ของ
นักเรียนได้ง่ายขึ้น
5. คำสั่ง หรือ ตัวอย่าง ไม่ควรยาวเกินไป เพราะจะทำให้นักเรียนเข้าใจยาก ทั้งนี้เพื่อ นักเรียน
จะได้ศึกษาด้วยตนเองได้ตามต้องการ
บงกชกร ทับเที่ยง (2546, หน้า 24) ได้กล่าวถึงลักษณะของชุดฝึกที่ดีไว้ดังนี้
1. ควรมีข้อแนะนำการใช้ชุดฝึก ทั้งคำชี้แจง ที่ใช้ภาษารัดกุม และเข้าใจได้ตรงประเด็น ได้มาก
ที่สุด
2. ทั้งคำชี้แจง ไม่ควรใช้ประโยคที่ยาวจนยากแก่การเข้าใจ
3. การสร้างชุดฝึกต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการฝึกทักษะนั้น ๆ
4. ควรใช้สื่อหลาย ๆ รูปแบบเพื่อกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของนักเรียน
5. ชุดฝึกแต่ละชุดไม่ควรจะยาวมากเกินไป
6. ชุดฝึกควรสนองความคิดหลาย ๆ รูปแบบ และเปิดโอกาสให้นักเรียน คิดเห็นอย่าง
กว้างขวาง
7. ชุดฝึกที่ดีสามารถประเมินความคิด และความรู้ของนักเรียน
ดังนั้น จะเห็นว่าลักษณะของชุดฝึกที่ดีนั้น ควรมีลักษณะสำนวนภาษาง่าย ๆ เข้าใจง่าย สร้าง
แรงจูงใจให้กับนักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นและกระตือรือร้น มีคำอธิบายที่ชัดเจน และ เปิด
โอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เป็นชุดฝึกที่มีความเหมาะสมกับวัยของ
นักเรียนและความสามารถของนักเรียน ท้าทายให้นักเรียนใช้ความสามารถและฝึกด้วยตนเอง ฝึกซ้ำ ๆ
จนเกิดความชำนาญและเป็นไปตามที่กำหนด
2.4 ประโยชน์ของชุดฝึก
ประโยชน์ของชุดฝึกทักษะที่มีต่อการเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอน ซึ่งมีนักการศึกษาหลาย
ท่านได้ให้ข้อเสนอเกี่ยวกับประโยชน์ของชุดฝึกทักษะไว้ดังนี้
สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2544, หน้า 3) กล่าวถึงประโยชน์ของชุดฝึกทักษะ ดังนี้
1. เป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วย ลด
ภาระครูได้มาก เพราะเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบและมีระเบียบ
2. ช่วยเสริมทักษะ เป็นเครื่องมือที่ช่วยเด็กในการฝึกทักษะ แต่ทั้งนี้จะต้องอาศัยการ ส่งเสริม
และความเอาใจใส่จากครูผู้สอนด้วย
3. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล การให้เด็กได้ฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เด็กที่
ประสบผลสำเร็จ
นฤพันธ์ ยินดี (2551, หน้า 15) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการใช้แบบฝึกนอกจากจะทำให้
เข้าใจเนื้อหายิ่งขึ้นแล้วยังส่งผลถึงพฤติกรรมการเรียนอีกด้วย ซึ่งสรุปประโยชน์ของแบบฝึกได้ดังนี้
1. ใช้ในการปรับพฤติกรรมในการเรียนของผู้เรียน
2. ใช้ในการส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียน
3. ใช้ในการส่งเสริมและแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4. ใช้ในการส่งเสริมความชำนาญ คิดในใจ แก้ปัญหาได้เร็ว ถูกต้องและแม่นยำ
ประทีป แสงเปี่ยมสุข (2538, หน้า 45-53) ได้กล่าวว่าประโยชน์ของชุดฝึกมีดังนี้
1. เป็นอุปกรณ์ช่วยแบ่งเบาภาระครู
2. ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. ช่วยเสริมทักษะทางภาษาให้คงทน
4. เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนหลังจากเรียนบทเรียนแล้ว
5. เด็กสามารถทบทวนความรู้ได้ด้วยตนเอง
6. ครูมองเห็นปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนอย่างชัดเจน
7. นักเรียนได้ฝึกฝนเต็มที่นอกเหนือจากที่เรียนในบทเรียน
8. ผูเ้ รียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง
9. ผูเ้ รียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
จากประโยชน์ของชุดฝึกที่ได้กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า ชุดฝึกทักษะเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้
นักเรียนมีการฝึกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง สามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง ช่วยลดภาระการสอนของ
ครู นักเรียนได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างเต็มความสามารถของ แต่ละ
บุคคลและสามารถหาข้อบกพร่องของแต่ละคนได้ อีกทั้งนักเรียนเห็นความก้าวหน้าของตนเอง มี
ทัศนคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ยิ่งขึ้น
2.5 องค์ประกอบของชุดฝึกทักษะ
กรองกาญจน์ อรุณรัตน์ (2536, หน้า 195 ) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของชุดการเรียนการ สอน
ซึ่งผู้ศึกษาเห็นว่าสามารถนำมาประยุกต์ปรับใช้ในการสร้างชุดฝึกทักษะของการค้นคว้าอิสระ เรื่องนี้ได้
ซึ่งการสร้างชุดการเรียนการสอนได้กล่าวถึงองค์ประกอบของชุดการเรียนการสอนไว้ว่า ควร
ประกอบด้วย
1. หลักการและเหตุผล (Rationale)
หลักการและเหตุผลจะอธิบายถึงจุดมุ่งหมายและความสำคัญของกระบวนวิชาที่นักเรียน ต้อง
เรียน ซึ่งจะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนกับประสบการณ์ใหม่ หลักการและเหตุผลดังกล่าว
จะอธิบายด้วยว่า อะไรคือสิ่งที่ต้องเรียนและทำไมต้องเรียน
2. รายละเอียดของเนื้อหา (Content Deseription)
รายละเอียดของเนื้อหาจะชี้ให้เห็นระดับและความซับซ้อนของเนื้อหา และบอกให้ทราบถึง
ความคิดรวบยอด ทักษะ หรือทัศนคติที่นักเรียนจะต้องแสดงให้เห็นหลังจากจบชุดการสอน เนื้อหา
สาระสำคัญจะถูกจำแนกเป็นเนื้อหาย่อย ๆ
3. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะเขียนความคิดรวบยอด ทักษะและทัศนคติออกมาเป็น รูปแบบ
ที่นักเรียนสามารถอธิบายและแสดงให้เห็นได้ ภายหลังจบชุดการสอนแล้ว ซึ่งวัตถุประสงค์ เชิง
พฤติกรรมดังกล่าวจะพูดถึงสิ่งที่นักเรียนต้องกระทำ เงื่อนไขการกระทำ และเกณฑ์ขั้นต่ำของ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ดังนั้น นักเรียนจะรู้ว่าเขาต้องเรียนรู้อะไร และจะถูกทดสอบอะไรใน ตอนท้าย
ของชุดการสอน นอกจากนี้ยังใช้วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในการวางแผนการเรียนและ เลือกแหล่ง
การเรียนที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ หลังจากที่นักเรียนทราบวัตถุประสงค์แล้วสามารถ ตัดสินใจได้
ว่าวัตถุประสงค์ใดที่บรรลุแล้ว และจะไปเน้นในวัตถุประสงค์ที่ยังไม่ผ่าน เพื่อไม่ให้ เสียเวลา
4. กิจกรรมที่เป็นทางเลือก (Alternative Learning Activities)
กิจกรรมการเรียนที่จัดให้กับนักเรียนควรสอดคล้องกับลักษณะของนักเรียนแต่ละคนและ เป็น
การลำดับขั้นของการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอนนั้นจะมีทั้งการอ่าน การดู การฟัง และ การ
อภิปราย การมีส่วนร่วมหรือแบบฝึกหัดต่างๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ กิจกรรมนั้นจะมี หลาย
อย่าง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. กิจกรรมทางเลือกที่ถูกขอหรือกิจกรรมทางด้านทัศนคติ (Optional Quest หรือ
Attitudinal Activities) กิจกรรมนี้จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ค้นหา หรือศึกษากิจกรรมการเรียนที่
อยู่ในระดับลึกและละเอียด กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยขยายความคิดรวบยอด ทักษะ และทัศนคติของสิ่ง
ที่ศึกษาในชุดการสอน โดยอาจมีข้อแนะนำเพิ่มเติมจะทำให้นักเรียนได้พัฒนาทัศนคติ ความเชื่อหรือ
ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตจริง
6. เครื่องมือประเมินผลก่อนเรียน เครื่องมือประเมินผลตนเอง และเครื่องมือประเมินผลหลัง
เรียน (Pre-Evaluation, Self Evaluation, Post- Evaluation Instruments)
6.1 การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Test) เพื่อดูว่าผู้เรียนทราบเนื้อหาอะไรมาก่อน และ มี
เนื้อหาใดที่ผู้เรียนยังไม่ทราบ
6.2 การประเมินผลด้วยตนเอง (Self-Test) เพื่อให้นักเรียนประเมินความก้าวหน้าของ ตนเอง
ในระหว่างทำกิจกรรมการเรียนการสอน
6.3 การประเมินหลังเรียน (Post - Test)เพื่อวัดว่าผู้เรียนบรรลุผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำหรือไม่ ถ้า ไม่
ผ่าน จะได้รับคำแนะนำให้ย้อนกลับไปเรียนอีก
7. คู่มือครู (Teachers Guide)
ครูมือครูสร้างขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม โดยเป็นข้อมูลที่สัมพันธ์กับเนื้อหาและข้อมูล เกี่ยวกับ
การใช้ชุดการสอน ภายในคู่มือครู โดยมากมักจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่างๆ ดังนี้
7.1 คำนำ
7.2 วัตถุประสงค์
7.3 พื้นฐานความรู้เดิม
7.4 เนื้อหา
7.5 ส่วนประกอบของชุดฝึก
7.6 คำชี้แจงสำหรับครูในการใช้ชุดการสอน
7.7 สิ่งที่ครูหรือนักเรียนต้องเตรียม
7.8 บทบาทครูและนักเรียน
7.9 เนื้อหาสาระ
7.10 แบบฝึกทักษะ (พร้อมเฉลย)
7.11 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (พร้อมคำเฉลย)
2.6 ขั้นตอนการสร้างชุดฝึกทักษะ
ในการสร้างชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการหารทศนิยม ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ขึ้น
กรองกาญจน์ อรุณรัตน์ (2536, หน้า 85) กล่าวว่า ผู้สร้างชุดการสอนจะต้องคำนึงถึงระบบการ เรียน
การสอน และจะต้องมีการออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้เป็นอย่างดี โดยรูปแบบของ ระบบการ
เรียนการสอนนั้นมีหลายระบบ โดยแต่ละระบบมีจุดดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ในการ ค้นคว้าแบบ
อิสระในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้เลือกใช้การออกแบบระบบการเรียนการสอนของ ดิกส์ และ แครีย์ ( Dick
and Carey) มาใช้เป็นแนวทางในการสร้างชุดฝึกทักษะ ดังนี้
1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียน (Indentify Instructional goal)
เป้าหมายของการเรียนการสอน คือ ประโยคที่อธิบายสิ่งที่ผู้เรียนทำได้ภายหลังจากที่ นักเรียน
เรียนจบแล้ว โดยเป้าหมายดังกล่าวจะต้องบ่งบอกถึงพฤติกรรมสุดท้ายอันเป็นผลของการ เรียนภายใน
หน่วยการเรียนนั้น ๆ เป้าหมายของการเรียนการสอนนั้นอาจจะได้มาจากเป้าหมายทั้งหมด ที่ตั้งไว้
จากความต้องการของหลักสูตร จากประสบการณ์ที่ได้รับจากปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน ในชั้น
เรียน ในการกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนนั้นก็เพื่อที่ พิจารณาว่านักเรียนมีความต้องการ
การเรียนการสอนอย่างแท้จริงในเนื้อหานั้น ๆ หรือไม่ พิจารณาถึงความชำนาญของเราในขอบเขตของ
เนื้อหาที่เรากำหนด เมื่อกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอนแล้ว เป้าหมายดังกล่าวจะต้องสัมพันธ์
กับ เนื้อหา
2. การวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conducting an Instructional Analysis)
เป็นการวิเคราะห์เป้าหมายในข้อ 1 ว่าควรประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ อะไรบ้างที่นักเรียน
จะต้องเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ จัดเนื้อหาความรู้ที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้ หรือในกรณี ของ
การศึกษาขบวนการทำงานต้องให้นักเรียนได้ทราบขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำงาน เพื่อให้นักเรียน
สามารถทำตามได้อย่างถูกต้อง
3. การกำหนดพฤติกรรมก่อนการเรียนและลักษณะของนักเรียน
การกำหนดลักษณะและพฤติกรรมก่อนการเรียนของนักเรียนนี้ คือการวิเคราะห์ตัวนักเรียน
ซึ่งเป็นการกำหนดทักษะ ความรู้เฉพาะที่นักเรียนจะต้องมีก่อนที่จะเริ่มเรียน การประเมินก่อนเรียน
เป็นการทดสอบเพื่อให้ทราบว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานอะไรบ้าง และเพื่อที่เราจะต้องสอนอะไร
ให้กับนักเรียน รวมไปถึงการวิเคราะห์ลักษณะโดยทั่วไปของนักเรียน ซึ่งอาจจะมีความสำคัญสำหรับ
การที่จะนำไปพิจารณาในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย โดยกระบวนการที่ใช้ในการ
กำหนดพฤติกรรมก่อนการเรียนนี้ จะสัมพันธ์โดยตรงกับกระบวนการวิเคราะห์การเรียนการสอน
4. การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Write Performance Objectives)
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หมายถึง การอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนสามารถ
กระทำได้เมื่อเขาเรียนจบหน่วยการเรียนการสอนนั้นแล้ว สำหรับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจะได้มา
จากการวิเคราะห์การเรียนการสอน โดยอย่างน้อยนั้นวัตถุประสงค์เพียงหนึ่งวัตถุประสงค์หรือมากกว่า
นั้นสามารถที่จะนำมาเขียนสำหรับทักษะแต่ละทักษะที่กำหนดในการวิเคราะห์การเรียนการ สอนด้วย
ซึ่งอาจจะรวมไปถึงทักษะที่กำหนดในลักษณะพฤติกรรมก่อนการเรียน การเขียนวัตถุประสงค์สำหรับ
เป้าหมายของการเรียนการสอน ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ สำคัญ 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
1. ทักษะหรือพฤติกรรมที่ถูกกำหนดในการวิเคราะห์การเรียนการสอน โดยจะต้องบอกถึง สิ่ง
ที่นักเรียนสามารถทำได้
2. เงื่อนไข ซึ่งก็คือเงื่อนไขที่จะทำให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมดังกล่าว
3. เกณฑ์ ซึ่งเกณฑ์นี้จะใช้ประเมินพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนตามที่ วัตถุประสงค์
กำหนด โดยเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นนี้มักจะกำหนดในรูปของวงจำกัดหรือขอบเขตของการ
5. การสร้างข้อสอบอิงเกณฑ์ (Developing Criterion - Referenced Test Items)
เป็นการสร้างแบบทดสอบขึ้นมาเพื่อใช้วัดความสามารถของนักเรียนว่า ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ
หรือไม่ การสร้างข้อสอบจะต้องให้สัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมที่เขียนไว้ โดยมีการกำหนด
เกณฑ์ไว้ในวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้เขียนไว้ ซึ่งจะเป็นตัวชี้หรือบอกให้ทราบว่า หลังจาก สร็
จสิ้นการเรียนการสอนแล้ว นักเรียนสามารถบรรลุตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
6. การกำหนดยุทธศาสตร์การสอน (Developing an Instructional Strategy)
การกำหนดยุทธศาสตร์การสอน หมายถึง การกำหนดส่วนประกอบของวัสดุการเรียน การ
สอน และกระบวนการที่ใช้ร่วมกับวัสดุ ทั้งนี้เพื่อที่จะดึงพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนออกมา โดย
จะประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 5 ส่วน คือ served
6.1 กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน (Preinstructional Activities)
- การจูงใจ
- วัตถุประสงค์
- กิจกรรมก่อนการเรียน
6.2 การนำเสนอเนื้อหา (Information Presentation)
- ลำดับเนื้อหา
- ขนาดของหน่วยการเรียนการสอน
- การนำเสนอเนื้อหา
- ตัวอย่าง
6.3 การมีส่วนร่วมของนักเรียน (Student Participation)
- การฝึกหัด
- การให้ผลย้อนกลับ
6.4 การทดสอบ (Testing)
- พฤติกรรมก่อนการเรียน
- การทดสอบก่อนเรียน
- การทดสอบระหว่างเรียน
- การทดสอบหลังเรียน
6.5 กิจกรรมติดตามผล (Follow - Through Actives)
- การซ่อมเสริม
- การเสริมความรู้
7. การจัดทำวัสดุ - อุปกรณ์การสอน (Develop and Select Instruction)
การจัดทำและเลือกวัสดุการสอนหรือสื่อการสอน เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาข้อมูลให้แก่นักเรียน ซึ่ง
ในการเลือกสื่อการสอนนั้นมีปัจจัยอยู่หลายปัจจัยด้วยกันที่จะนำมาพิจารณา คือ
7.1 การเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับประเภทของกิจกรรมการเรียน
7.2 ความสะดวกในการใช้สื่อในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
7.3 ความสามารถของผู้ออกแบบหรือผู้เชี่ยวชาญในการที่จะผลิตสื่อที่มีรูปแบบเฉพาะ
7.4 ความยืดหยุ่น ความคงทน และความเหมาะสมของสื่อ
7.5 ความคุ้มทุน เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อการสอนชนิดอื่น
จากปัจจัยในการเลือกสื่อที่กล่าวมาทั้งหมดถือเป็นเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาเลือก สื่อการ
สอนในกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอน
8. การทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพ ( Design and Conduct Formative Evaluation)
หลังจากที่เรียนจบหน่วยแล้ว จะมีการประเมินผลเพื่อดูประสิทธิภาพของหน่วยการสอนว่า
ใช้ได้ดีหรือไม่ นอกจากนั้นจะเป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงหน่วยการสอน การ
ประเมินผลจะทำเป็น 3 ลักษณะคือ
8.1 การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Evaluation) เป็นการที่ผู้สอนให้ นักเรียน 1
- 2 คน ทำการศึกษาหน่วยการสอน ก่อนเริ่มศึกษาควรมีการทำความเข้าใจกับนักเรียน ก่อนและบอก
ให้ถึงขั้นตอนในการใช้งาน หรือชี้แจงให้ทราบว่าผู้ทำการทดลองต้องการให้นักเรียนทำ อย่างไรบ้าง
เช่นให้ช่วยกันตรวจสอบจุดบกพร่องของด้านเทคนิคการพิมพ์ หรือการลำดับการเรียนรู้ รวมทั้งวิจารณ์
แบบทดสอบว่าวัดได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ซึ่งครูผู้สอนสามารถใช้ข้อมูล เหล่านี้เพื่อปรับปรุงสื่อ
ทั้งด้านการเรียนการสอน และแบบทดสอบ ตลอดจนแก้ปัญหาอื่น ๆ ได้
8.2 การทดลองแบบกลุ่มเล็ก ( Small - Group Evaluation) จะเป็นการนำไปทดลองการใช้
กับนักเรียน 4-5 คน โดยผู้สอนจัดหน่วยการสอนให้นักเรียน เรียนในลักษณะที่จะใช้ในสถานการณ์
จริง นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามกระบวนการ ทั้งนี้ก่อนให้นักเรียนได้ศึกษาจากชุดฝึกทักษะ
ผู้ทำการทดลองจะต้องกล่าวทำความเข้าใจกับนักเรียนก่อนถึงวัตถุประสงค์ของการทดลองในครั้งนี้
ควรมีการบันทึกขั้นตอนหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในการทดลองไว้ด้วย สำหรับการทดลองแบบ
กลุ่มเล็กนี้จะเป็นการตรวจสอบข้อบกพร่องของบทเรียนและดูแนวโน้มของประสิทธิภาพก่อนนำไป
ทดสอบการใช้งานจริง
8.3 ทดสอบภาคสนาม (Field Evaluation) ภายหลังจากได้แก้ไขข้อบกพร่องของบทเรียน ใน
ขั้นการทดลองแบบกลุ่มเล็กแล้วจะนำชุดฝึกทักษะไปใช้ในสถานการณ์จริง หรือห้องเรียนจริง ก่อน
การทดสอบผู้ทำการทดลองควรมีการชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ในการทดลองด้วย
จากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนของการทดลอง เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วนำข้อมูลที่ได้ไปทำการหา
คำนวณหาประสิทธิภาพของบทเรียนต่อไป
9. การปรับปรุงแก้ไขสื่อการเรียนการสอน (Revising Instructional Materials )
การปรับปรุงแก้ไขสื่อการเรียนการสอน โดยข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลย่อยจะถูกนำมา
วิเคราะห์ เพื่อให้ทราบว่า มีอะไรที่ยังขาดตกบกพร่อง นักเรียนมีปัญหาในการเรียนอย่างไร สิ่งเหล่านี้
จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีเสียก่อนที่จะนำเอาชุดการสอนที่สร้างขึ้นไปใช้จริง
10. การประเมินผลรวม (Summative Evaluation)
การประเมินผลรวม เป็นการออกแบบ การเก็บรวบรวม และการตีความข้อมูล เพื่อนำไป
จัดการเรียนการสอนโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะดูคุณค่าของการเรียนการสอนนั้น ผู้ประเมินจะต้องมีวัสดุ
ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม และวัสดุเหล่านั้นต้องครอบคลุมเนื้อหา วัตถุประสงค์ และความสัมพันธ์ของ
เครือ่ งมือที่ใช้ในการทดสอบกับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ก็จะต้องมีการทดสอบคู่มือครู โดยผู้ ประเมิน
จะต้องจัดให้ครูผู้สอนที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการออกแบบได้ใช้ เพื่อนำมา พิจารณาในการ
ตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ต่อไป
3. เอกสารเกี่ยวกับวิทยาการคำนวณระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3.1 ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
4 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
สาระการเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีทักษะ การคิด
เชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ ด้านวิทยาการ
คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริง ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดสาระสำคัญดังนี้
วิทยาการคอมพิวเตอร์ การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้แนวคิดเชิง
คำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การบูรณาการกับวิชาอื่น การเขียนโปรแกรม การคาดการณ์
ผลลัพธ์ การตรวจหาข้อผิดพลาด การพัฒนาแอปพลิเคชันหรือพัฒนาโครงงาน อย่างสร้างสรรค์เพื่อ
แก้ปัญหาในชีวิตจริง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การประเมินผล การ
นำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง การค้นหาข้อมูลและแสวงหา ความรู้บน
อินเทอร์เน็ต การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การเลือกใช้ซอฟต์แวร์หรือ บริการบน
อินเทอร์เน็ต ข้อตกลงและข้อกำหนดในการใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หลักการ ทำงานของ
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร
การรู้ดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย การจัดการ อัตลักษณ์
การรู้เท่าทันสื่อ กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม นวัตกรรมและ
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการดำเนินชีวิต อาชีพ สังคม และวัฒนธรรม
มาตรฐานการเรียนรู้
ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และ
เป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหา ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้
1) ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการ แก้ปัญหา การ • การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นการนำกฎเกณฑ์
อธิบาย การทำงาน การคาดการณ์ ผลลัพธ์ จาก หรือเงื่อนไข ที่ครอบคลุมทุกกรณีมาใช้พิจารณา
ปัญหาอย่างง่าย ในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน หรือ
การคาดการณ์ผลลัพธ์
• สถานะเริ่มต้นของการทำงานที่แตกต่างกันจะ
ให้ผลลัพธ์ที่ แตกต่างกัน
• ตัวอย่างปัญหา เช่น เกม OX โปรแกรมที่มีการ
คำนวณ โปรแกรมที่มีตัวละครหลายตัวและมี
การสั่งงานที่แตกต่าง หรือมีการสื่อสารระหว่าง
กัน การเดินทางไปโรงเรียนโดย วิธีการต่าง ๆ

2) ออกแบบ และเขียนโปรแกรม อย่างง่าย โดย • การออกแบบโปรแกรมอย่างง่าย เช่น การ


ใช้ซอฟต์แวร์ หรือสื่อ และตรวจหา ข้อผิดพลาด ออกแบบโดยใช้ storyboard หรือการออกแบบ
และแก้ไข อัลกอริทึม

• การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลำดับของ
คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์
ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาด ให้
ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำ
ให้ผลลัพธ์ ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะ
ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

• ตัวอย่างโปรแกรมที่มีเรื่องราว เช่น นิทานที่มี


การโต้ตอบ กับผู้ใช้ การ์ตูนสั้น เล่ากิจวัตร
ประจำวัน ภาพเคลื่อนไหว

• การฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของ
ผู้อื่นจะช่วย พัฒนาทักษะการหาสาเหตุของ
ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

• ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น
Scratch, logo
3) ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาความรู้ และประเมิน • การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้
ความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล ได้ผลลัพธ์ที รวดเร็วและตรงตามความต้องการ
• การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น
พิจารณาประเภท ของเว็บไซต์ (หน่วยงาน
ราชการ สำนักข่าว องค์กร) ผู้เขียน วันที่
เผยแพร่ข้อมูล การอ้างอิง

• เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ต่าง ๆ
จะต้องนำเนื้อหา มาพิจารณา เปรียบเทียบ แล้ว
เลือกข้อมูลที่มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กัน

• การทำรายงานหรือการนำเสนอข้อมูลจะต้อง
นำข้อมูลมา เรียบเรียง สรุป เป็นภาษาของ
ตนเองที่เหมาะสมกับกลุ่ม เป้าหมายและวิธีการ
นำเสนอ (บูรณาการกับวิชาภาษาไทย)
4) รวบรวม ประเมิน นำเสนอ ข้อมูลและ •การประมวลผลอย่างง่าย เช่น เปรียบเทียบ จัด
สารสนเทศ โดย ใช้ซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย เพื่อ กลุ่ม เรียงลำดับ การหาผลรวม
แก้ปัญหาในชีวิต ประจำวัน
•วิเคราะห์ผลและสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้
ประเมินทางเลือก (เปรียบเทียบ ตัดสิน)

• การนำเสนอข้อมูลทำได้หลายลักษณะตาม
ความเหมาะสม เช่น การบอกเล่า
เอกสารรายงาน โปสเตอร์ โปรแกรมนำเสนอ

• การใช้ซอฟต์แวร์เพื่อแก้ปัญหาใน
ชีวิตประจำวัน เช่น การสำรวจเมนูอาหาร
กลางวันโดยใช้ซอฟต์แวร์สร้าง แบบสอบถาม
และเก็บข้อมูล ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เพื่อ
ประมวลผลข้อมูล รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่า
ทาง โภชนาการและสร้างรายการอาหารสำหรับ
5 วัน ใช้ซอฟต์แวร์ นำเสนอผลการสำรวจ
รายการอาหารที่เป็นทางเลือกและ ข้อมูลด้าน
โภชนาการ
5) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างปลอดภัย • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
เข้าใจสิทธิ และหน้าที่ของตน เคารพใน สิทธิ เข้าใจสิทธิและ หน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของ
ของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้อง เมื่อพบข้อมูลหรือ ผู้อื่น เช่น ไม่สร้างข้อความ เท็จและส่งให้ผู้อื่น
บุคคล ที่ไม่เหมาะสม ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อผู้อื่นโดยการ ส่ง
สแปม ข้อความลูกโซ่ ส่งต่อโพสต์ที่มีข้อมูล
ส่วนตัวของ ผู้อื่น ส่งคำเชิญเล่นเกม ไม่เข้าถึง
ข้อมูลส่วนตัวหรือ การบ้านของบุคคลอื่นโดย
ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์/ชื่อ
บัญชีของผู้อื่น

• การสื่อสารอย่างมีมารยาทและรู้กาลเทศะ

• การปกป้องข้อมูลส่วนตัว เช่น การออกจาก


ระบบ เมื่อเลิกใช้งาน ไม่บอกรหัสผ่าน ไม่บอก
เลขประจำตัวประชาชน

4. บริบทโรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ
4.1 ประวัติโรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ
โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัด
อุบลราชธานี มีชื่อเดิมว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลธาตุ ๑ (วารินวิชาชาติ) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๐ อาศัยศาลาวัดวารินทรารามเป็นที่เรียน เปิดทำการสอนระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ ครูใหญ่คนแรก คือ นายยันต์ โชคอุดม เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๗ นายอำเภอวา
รินชำราบได้ย้ายโรงเรียนจากศาลาวัดวารินทรารามมาเปิดสอนที่ใหม่บริเวณที่ทำการไปรษณีย์ปัจจุบัน
ซึ่งขณะนั้นมีครูใหญ่ชื่อ นายหมูน โสมฐิติ
พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้ย้ายเข้าสังกัดเทศบาล กระทรวงมหาดไทย และเปลี่ยนชื่อว่า โรงเรียน
เทศบาล ๑ วารินวิชาชาติ
พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้โอนกลับคืนไปสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม โดยมีครูใหญ่ชื่อ นาย
เฉลิม ไชยกาล
พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งอยู่ในสถานที่ปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้โอนกลับคืนมาสังกัดเทศบาลตำบลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับรางวัลชนะเลิศโรงเรียนขนาดใหญ่ดีเด่นของกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับวุฒิบัตรเป็นโรงเรียนที่มีกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยดีเด่น ระดับ
ประถมศึกษา เขต ๑๐ จากสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขต ๑๐
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนของ
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการโรงเรียนนำร่องการจราจรปลอดภัย
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่อง การพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีร่วมกับสถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.
๒๕๔๔
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำขยายเครือข่ายโรงเรียนโครงการโรงเรียน
ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับประถมศึกษาขนาดใหญ่ ของ
กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเหรียญทองของกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนเทศบาลต้นแบบของกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองในการประกวดห้องสมุดและสภาพบรรยากาศใน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการเทศบาลเขต ๑๐
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่องการพัฒนารูปแบบการพัฒนาโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐาน (School Based Management = SBM)
พ.ศ. ๒๕๕๔ โรงเรียนได้ผ่านการประเมินของ สมศ. รอบ ๓
พ.ศ. ๒๕๕๖ โรงเรียนได้ผ่านการประเมินเพื่อคงสภาพส่งเสริมสุขภาพดีเด่นระดับเหรียญทอง
พ.ศ. ๒๕๕๗ รางวัลชนะเลิศระดับจังหวัด ในการประกวดแข่งขันโครงงานภาษาไทย ระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้นและรางวัลชนะเลิศ ระดับประถมศึกษาปีที่ ๔–๖ การประกวดโครงงานสุขภาพ
เด็กไทยทำได้
พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการแต่งกายด้วยผ้าไทยและได้รับรางวัลชนะเลิศ
ระดับจังหวัดในการประกวดแข่งขันโครงงานภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
พ.ศ. ๒๕๖๐ โรงเรียนผ่านการประเมินโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น (LSS) ของกรมส่งเสริมการ
ปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
พ.ศ. ๒๕๖๑ โรงเรียนผ่านการประเมินสถานศึกษาพอเพียง กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๖๒ รางวัลชมเชย นักเรียนพระราชทาน ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนขนาดใหญ่
พ.ศ. ๒๕๖๒ โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๖๒ สถานศึกษาพอเพียง
พ.ศ. ๒๕๖๓ โรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นต้นแบบ
พ.ศ. ๒๕๖๔ รางวัลระดับคุณภาพดีเยี่ยม นวัตกรรมรูปแบบและแนวทาง โครงการ
Innovation For Thai Education (IFTE) นวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา จังหวัด
อุบลราชธานี กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.๒๕๖๔ รองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ การประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์
(Science show) ชั้นประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔ จัดโดย อุทธยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า
ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พ.ศ. ๒๕๖๕ การประกันคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คุณภาพดีเยี่ยม ระดับ
การศึกษาปฐมวัยระดับ ดี จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (องค์การ
มหาชน) หรือ สมศ.ในการประกันคุณภาพ รอบที่ ๔
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศ
ปิยลักษณ์ พงษ์ทวีวิวัฒน์ (2556 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนวิชาสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง microsorf Ofice 2007 โดยใช้วิธีเรียนเพิ่มเติมจากบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยการศึกษาที่ได้รับการเรียนเพิ่มเติมจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ระหว่างการสอนดังกล่าวในปีการศึกษา 2/2554 กับวิธีการสอนแบบปกติโดย
ครู ในปีการศึกษา2/2553 นอกจากนั้นได้ทำการวัดระดับความพึงพอใจในการเรียนที่มีการใช้บทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอีกด้วย
สุกัญญา วุฒิวัย (2562 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง พัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชา
คอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Excel ของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดนาค
สโมสร (โบราณญาณบำรุง) ก่อนเรียนและหลังเรียน, เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ
ใช้ สื่อ Power Point ประกอบการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนวัดนาค สโมสร (โบราณญาณบำรุง) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การพัฒนา
ความสามารถ ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Excel จำนวน 6 แผน จำนวน 6
ชั่วโมง (2) สื่อ Power Point ประกอบการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การพัฒนาความสามารถ
ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Microsoft Excel จำนวน 6 รายการ จำนวน 6 ชั่วโมง เป็น
เครื่องมือในการอธิบายวิธีการก่อน เก็บคะแนน หลังเรียนของนักเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมีดังนี้ (1)ใบกิจกรรมวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การพัฒนา
ความสามารถทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Excel ตามแผนการเรียนรู้ที่ผู้วิจัย
สร้าง ขึ้น จำนวน 6 กิจกรรม (2) แบบทดสอบ วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การพัฒนาความสามารถ
ทางการเรียนวิชา คอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Excel ปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ เก็บ
คะแนนของนักเรียนก่อน เรียนและหลังเรียน (3) แบบสังเกตพฤติกรรม วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การ
พัฒนาความสามารถทางการ เรียนวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microsoft Excel ตามแผนการเรียนรู้ที่
ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 6 ชุด (4) แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญต่อการใช้สื่อ Power Point
ประกอบการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การ พัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์
โปรแกรม Microsoft Excel จำนวน 6 ชุด ในการ จัดการเรียนการสอน (5) แบบประเมินความพึง
พอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อ Power Point ประกอบการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง การ
พัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ โปรแกรม Microsoft Excel
จีราภรณ์ จิตรมิตร (2562 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง โปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Microsoft excel) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบการเรียน การสอนทางตรงกับ
เกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง โปรแกรมซอฟต์แวร์
ประยุกต์ (Microsoft excel) ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง ก่อนเรียนและ หลังเรียน และ 3)
ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง โปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Microsoft
Excel) ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างในการ
วิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนบึงเขาย้อน (คงพันธุ์อุปถัมภ์) อำเภอคลอง
หลวง จังหวัดปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1 ภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ และแบบวัดเจตคติ
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง โปรแกรม ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Microsoft Excel) ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง โปรแกรมซอฟต์แวร์
ประยุกต์ (Microsoft excel) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน
ทางตรง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง โปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Microsoft excel) หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ
3) นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง โปรแกรมซอฟต์แวร์
ประยุกต์ (Microsoft Excel) ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง อยู่ในระดับมาก
5.2 งานวิจัยในต่างประเทศ
ไม่มี
6. สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะ เรื่อง
โปรแกรม Excel วิชาวิทยาการคำนวณ มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

You might also like