You are on page 1of 2

ใบความรู้เรื่อง การศึกษาข้อมูลด้านอาชีพ

หน่วยที่๖ เรื่องอาชีพที่ตรงกับบุคลิกภาพของฉัน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๒ เรือ่ ง การศึกษาข้อมูลด้านอาชีพ
รายวิชา การงานอาชีพ รหัสวิชา ง๒๑๑๐๑ ภาคเรียนที่๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

การประกอบอาชีพ
การประกอบอาชีพเป็นที่มาของรายได้ เพื่อน าไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสี่ได้แก่
อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ในอดีตสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้เป็นหน้าที่ของพ่อแม่เป็นผู้จัดหาให้แก่
สมาชิก ด้ว ยการผลิตขึ้น ใช้เองในครอบครัว โดยไม่จ ำเป็นต้องใช้เงิน ซื้ อหา ปัจจุบันการดำรงชีว ิตในสัง คมได้
เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนมีการศึกษามกขึ้น ความรู้ที่ได้รับจะเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ เพื่อให้มีรายได้มาซื้อ
ปัจจัยสี่และสิ่งของอื่น ๆ ในการดำรงชีวิตและสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม อาชีพมีอยู่มากมาย
ควรพิจารณาเลือกประกอบอาชีพที่มีความถนัดและความสนใจ สุจริต มีความมั่นคงในชีวิตและมีรายได้เพียงพอความ
จำเป็นของการประกอบอาชีพ
ความสำคัญของอาชีพ
การมีอาชีพ เป็นสิ่งที่สำคัญในวิถีชีวิตและการดำรงชีพในปัจจุบัน เพราะอาชีพเป็นการสร้างรายได้เพื่อเลี้ยง
ชีพตนเองและครอบครัว อาชีพก่อให้เกิดผลผลิตและการบริการ ซึ่งสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคและที่
สำคัญคือ อาชีพมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติความสำคัญของอาชีพจึงเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนา
คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจชุมชนส่งผลถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ
ความหมายของอาชีพ
อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการที่ไม่เป็นโทษแก่สังคม และมีรายได้ตอบแทน โดยอาศัย
แรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการ แตกต่างกันไป
กลุ่มอาชีพตามลักษณะการประกอบอาชีพ มี ๒ ลักษณะ คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้าง
๑. อาชีพอิสระ หมายถึงอาชีพทุกประเภทที่ผู้ประกอบการดำเนินการด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียวหรือเป็นกลุ่ม อาชีพ
อิสระเป็นอาชีพที่ไม่ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่หากมีความจ าเป็นอาจมีการจ้างคนอื่นมาช่วยงานได้ เจ้าของกิจการเป็น
ผู้ลงทุน และจำหน่ายเอง คิดและตัดสินใจด้วยตนเองทุกเรื่อง ซึ่งช่วยให้การพัฒนางานอาชีพ เป็นไปอย่างรวดเร็วทัน
ต่อเหตุการณ์ การประกอบอาชีพอิสระ เช่น ขายอาหารขายของชำ ซ่อมรถจักรยานยนต์ ฯลฯ ในการประกอบอาชีพ
อิสระ ผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่อง การบริหาร การจัดการ เช่น การตลาด ทำเล ที่ตั้ง เงินทุน
การตรวจสอบ และประเมินผลเป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความอดทนต่องานหนัก ไม่ถ้อถอยต่อ ปัญหาอุปสรรคที่
เกิดขึ้น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมองเห็นภาพการดำเนินงาน ของตนเองได้ทะลุปรุโปร่ง
๒. อาชีพรับจ้าง หมายถึง อาชีพที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการ โดยตัวเองเป็นผู้รับจ้าง ทำงานให้ และได้รับค่าตอบแทน
เป็นค่าจ้าง หรือเงินเดือน อาชีพรับจ้างประกอบด้วย บุคคล ๒ ฝ่าย ซึ่งได้ตกลงว่ าจ้างกันบุคคลฝ่ายแรกเรียกว่า
"นายจ้าง" หรือผู้ว่าจ้าง บุคคลฝ่ายหลังเรียกว่า "ลูกจ้าง" หรือผู้รับจ้าง มีค่าตอบแทนที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่การ
ประกอบอาชีพรับจ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะ เป็นการรับจ้างท างานในสถาน ประกอบการหรือโรงงาน เป็นการรับจ้างใน
ลักษณะการขายแรงงาน โดยได้รับค่าตอบ แทนเป็นเงินเดือน หรือค่าตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ท ำได้ อัตราค่าจ้าง
ขึ้นอยู่กับการกำหนดของเจ้าของสถานประกอบการ หรือนายจ้างการทำงานผู้รับจ้างจะทำอยู่ภายในโรงงาน ตามเวลา
ที่นายจ้างกำหนด การประกอบอาชีพรับจ้างในลักษณะนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยง กับการลงทุน เพราะลูกจ้างจะใช้
เครื่องมือ อุปกรณ์ที่นายจ้างจัดไว้ให้ท ำงานตามที่นายจ้างกำหนดแต่มีข้อเสีย คือ มักจะเป็นงานที่ท ำซ้ำ ๆ เหมือนกัน
ทุกวัน และต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจ้าง ในการประกอบอาชีพรับจ้างนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้ออ านวย
ให้ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้างมีความเจริญก้าวหน้าได้เช่น ความรู้ ความชำนาญในงาน มีนิสัยการทำงานที่ดี มีความ
กระตื อ รื อ ร้ น มานะ อดทน ในการทำงาน ยอมรั บ กฎเกณฑ์ แ ละเชื ่ อ ฟั ง คำสั ่ ง มี ค วามซื ่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ความ
ขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี รวมทั้งสุขภาพอนามัยที่ดี อาชีพต่าง ๆ ในโลกมีมากมาย หลากหลาย
อาชีพ ซึ่งบุคคลสามารถจะเลือกประกอบ อาชีพได้ตามความถนัด ความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ไม่ว่าจะ
เป็นอาชีพ ประเภทใด จะเป็นอาชีพอิสระหรืออาชีพรับจ้าง ถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตย่อมจะท าให้ เกิดรายได้มาสู่
ตนเอง และครอบครัว ถ้าบุคคลผู้นั้นมีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน ตลอดจน มีความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ จะทำ
ให้มองเห็นโอกาสในการเข้าสู่อาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ
ประเภทของอาชีพ
ประเภทของของอาชีพแบบออกเป็น ๓ ด้านคือ
๑. ด้านอุตสาหกรรม หรือ หัตถกรรม จำแนกตามลักษณะของการดำเนินการได้เป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้
๑.๑ การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมหรือหัตถกรรมในครัวเรือน
๑.๒ การผลิตสินค้าในโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดเล็ก
๑.๓ การผลิตสินค้าที่ผู้ว่าจ้างนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการผลิตมาให้

๒. ด้านเกษตรกรรม จำแนกตามลักษณะการดำเนินงานเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้


๒.๑ เลี้ยงสัตว์
๒.๒ ทำไร่ ทำสวน
๒.๓ ทำนา

๓. ด้านพาณิชยกรรมและบริการ จำแนกตามลักษณะการดำเนินการเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้


๓.๑ ค้าขายสินค้า
๓.๒ บริการ
๓.๓ เป็นคนกลางรับซื้อ-ขาย

You might also like